สรุปข่าวห้องเรียน วิชา อริยสัจ 4 สัปดาห์ที่ 26

สรุปข่าวห้องเรียน วิชา อริยสัจ 4 สัปดาห์ที่ 26

วันอาทิตย์ที่ 27 มิถุนายน 2564 เวลา 12.00-15.30 น.

บรรยากาศในห้องเรียนวันนี้เต็มไปความเบิกบานยินดี มีนักศึกษาเข้าร่วมบำเพ็ญออนไลน์ผ่านซูม จำนวน 55 ท่านด้วยกัน ในช่วงแรก ดร. วรางคณา ไตรยสุทธิ์ (คุรุพุทธพรฟ้า) ได้ชี้แจงรายละเอียดหลักเกณฑ์ การให้คะแนน วิชา อริยสัจ 4 ดังนี้

    • การนำเสนอตรวจการบ้าน อริยสัจ 4 60 เปอร์เซ็นต์
    • การสอบภาคทฤษฎี                           20 เปอร์เซ็นต์
    • การส่งการบ้านรายสัปดาห์                10 เปอร์เซ็นต์
    • การมีส่วนร่วมในชั้นเรียน                    10 เปอร์เซ็นต์

จากนั้นคุณปิ่น คำเพียงเพชร ได้แจ้ง หลักการโหวตให้คะแนน สำหรับนักศึกษาที่มาเสนอการบ้านในชั้นเรียน ดังนี้

    1. ความเบิกบานระหว่างการนำเสนอ
    2. การนำเสนอที่กระชับ เข้าใจได้ง่าย
    3. การเขียนถูกต้องตามหัวข้อ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
    4. การบ้านที่นำเสนอ สามารถปฏิบัติสู่ความพ้นทุกข์ได้ตามลำดับ

วันนี้มีนักศึกษานำเสนอการบ้าน เพื่อบำเพ็ญทั้งหมด 6 ท่าน ดังนี้

  1. คุณนวลนภา ยุคันตพรพงษ์ (เย็นน้อมพุทธ) เรื่อง ใจร้อนด่วนตัดสินเองเพราะความอยาก
    ทุกข์ของท่านเกิดจากความที่ไม่ได้ดังใจหมาย ในการทำงานกลุ่ม ใจร้อนอยากทำงานให้เสร็จโดยไม่ถามความพร้อมของหมู่กลุ่ม พอท่านเห็นทุกข์ท่านก็ได้ใช้หลักอริยสัจ 4 ในการดับทุกข์ใจของท่าน ได้พิจารณาเห็นกิเลสตัณหาความอยากในดีจนผิดศีลเบียดเบียนหมู่กลุ่มเอาแต่ใจตัวเอง
  2. คุณชรินรัตน์ ชุมจีด (น้ำน้อมศีล) เรื่อง ขึ้นพูดลดกิเลส
    ทุกข์ของท่านคือมีความกลัว มีความประหม่า ตื่นเต้นที่จะพูดเป็นคนแรกหรือต่อหน้าผู้คนเยอะๆ เพราะท่านยึดว่าจะต้องพูดออกมาดี ๆ ไม่ตะกุกตะกัก คนฟังเข้าใจดีแล้วเราจะชอบใจสุขใจ ท่านได้ใช้อริยสัจ 4 ในการล้างทุกข์ใจของท่าน พิจารณาโทษของความยึดมั่นถือมั่นที่อยากให้เป็นดั่งใจหมาย อยากได้เมื่อไม่ได้ก็ทุกข์ ทำให้เกิดอาการทางกาย คือ หัวใจเต้นแรง มือสั่น พูดตะกุกตะกัก อาการทางใจคือ กลัว กังวลใจหวั่นไหว ประหม่า เมื่อพิจารณาอาการของกิเลสไปเรื่อยๆใจก็โล่งลงได้ตามลำดับ
  3. คุณจรรญา ชุมจีด (สร้างกลิ่นศีล) เรื่อง ความอยากในความไม่อยาก
    ทุกข์ของท่านคือ รู้สึกขุ่นใจไม่พอใจที่เพื่อนเข้าใจผิดว่าท่านมีความอยาก ท่านได้ใช้หลักไตรลักษณ์ และพิจารณาวิปลาส 4 จากความอยากอย่างยึดมั่นถือมั่น และได้พิจารณาเรื่องกรรม ท่านก็สามารถยินดีเบิกบานได้
  4. คุณศิริพร ไตรยสุทธิ์ เรื่อง รู้สึกผิด
    รู้สึกผิดที่ตัวเองเป็นสาเหตุทำให้เพื่อนไม่ได้นำเสนองานกลุ่ม แต่ท่านก็ได้สารภาพผิดและหมู่กลุ่มก็ให้อภัยแล้ว พี่น้องจึงให้ท่านพิจารณาโทษของการทำทุกข์ทับถมตน เป็นการเบียดเบียนตนเองและให้ท่านได้พิจารณาเรื่องกรรมอย่างแจ่มแจ้ง พิจารณากุศลอกุศลที่ออกฤทธิ์ในเวลานั้นด้วย
  5. คุณอุบล พลรบ (เกื้อบัวแก้ว) เรื่อง ชังน้ำผักปั่น
    ท่านรู้สึกทุกข์ใจที่จะต้องกินน้ำผักปั่นทั้ง ๆ ที่ไม่อยากกิน แต่ท่านได้พิจารณาให้เห็นโทษของความคิดแบบมีกิเลส  พิจารณาให้เห็นประโยชน์ของความคิดแบบพุทธะ โดยพิจารณาให้เห็นประโยชน์ของน้ำผักปั่น ไม่ต้องเคี้ยวเยอะไม่ต้องปรุงเยอะ ได้ล้างภพของการติดรูปติดรสในอาหาร  เมื่อพิจารณาตามนั้น แล้วล้างความชอบชังของน้ำผักปั่นได้ กินด้วยความยินดีไม่ชอบไม่ชัง พอกินแล้วก็รู้สึกดีไม่ได้รู้สึกเหมือนตอนแรกที่คิดว่าน่าจะกินไม่ได้
  6. คุณสำรวม แก้วแกมจันทร์ (ร้อยแสงศีล) เรื่อง อยากให้เพื่อนเข้าใจถูก
    อยากให้เพื่อนเข้าใจถูก ไม่อยากให้เพื่อนเข้าใจผิด เนื่องจากช่วงนี้ท่านไม่สบายที่ตาจึงหยุดพัก เพื่อรักษาอาการไม่สบายที่ตา จึงหายหน้าไปจากที่ประชุมหมู่ไม่ค่อยได้เห็นหน้า แต่ก็ไม่ได้บอกให้หมู่ทราบ เห็นอาการไม่แช่มชื่นในใจ จึงได้ล้างทุกขอริยสัจของท่าน อาจารย์ ดร.ใจเพชร กล้าจน ได้กล่าวว่า คนเรามีทุกข์ได้หลายแบบหลายลีลา ทุกข์อยู่ตรงที่ความอยาก อยากให้เขาเข้าใจถูกไม่เข้าใจผิด ทำดีสำเร็จก็ระงับทุกข์ชั่วคราว ความอยากทำให้เป็นทุกข์ เป็นตัวยึดมั่นถือมั่น

ในช่วงสุดท้ายคุรุได้แจ้งนักศึกษา ที่สามารถเขียนอริยสัจ 4 ได้คล่องแคล่วแล้วสามารถต่อยอด โดยการเขียนบทความวิจัยตัวเองได้ จากกันด้วยสโลแกน พูดคุยภาษา โลกุตระ อริยสัจ 4 

อนุโมทนาสาธุกับพี่น้องนักศึกษาทุกท่าน

เจริญธรรม สำนึกดี มีใจไร้ทุกข์
อรวิภา กริฟฟิธส์ : รายงาน

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *