สรุปข่าวห้องเรียน วิชา อริยสัจ 4 สัปดาห์ที่ 36
วันอาทิตย์ที่ 5 กันยายน 2564 เวลา 12.00-15.30 น.
วันนี้มีนักศึกษาให้ความสนใจเข้าร่วมศึกษาเรียนรู้ทั้งหมด 59 ท่าน บรรยากาศในห้องเรียนเต็มไปความเบิกบาน คุณแพรลายไม้ กล้าจน ผู้ดำเนินรายการ เปิดห้องเรียนด้วยสโลแกน พูดคุยภาษาโลกุตระ อริยสัจ 4 จากนั้น ดร. วรางคณา ไตรยสุทธิ์ (คุรุพุทธพรฟ้า) ได้ชี้แจงรายละเอียดหลักเกณฑ์ การให้คะแนน วิชา อริยสัจ 4 60 เปอร์เซ็นต์ ดังนี้
-
- ควรปรับปรุง 7 คะแนน
- พอใช้ 10 คะแนน
- ดี 13 คะแนน
- ดีมาก 15 คะแนน
หลักการโหวตให้คะแนน สำหรับนักศึกษาที่มาเสนอการบ้านในชั้นเรียน ดังนี้
-
- ความเบิกบานระหว่างการนำเสนอ
- การนำเสนอที่กระชับ เข้าใจได้ง่าย
- การเขียนถูกต้องตามหัวข้อ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
- การบ้านที่นำเสนอ สามารถปฏิบัติสู่ความพ้นทุกข์ได้ตามลำดับ
วันนี้มีนักศึกษานำเสนอการบ้าน เพื่อบำเพ็ญทั้งหมด 6 ท่าน
- คุณมาลิน จุ้ยทรัพย์เปี่ยม เรื่อง กลัวจะหายไป
ท่านมีทุกข์ กังวลใจ กลัวไม่มีรายการนี้ของภาคกลาง กลัวไม่ได้ทำการบ้านอริยสัจ กลัวกิจกรรมนี้จะหายไปจากภาคกลาง ท่านได้พิจารณาค้นหาว่าตัวเองยึดอะไร ถ้าไม่มีรายการนี้ในภาคกลาง เราก็ไปรวมหมู่กับหมู่ใหญ่อยู่ดี หรือแม้แต่หมู่ใหญ่ไม่มี ถ้าเรายังทำอยู่ เราก็จะได้เอง ไม่มีใครเอาไป การบ้านอริยสัจคือสัจจะยังอยู่กับเรา แม้ว่าเรารู้ว่าสิ่งนี้เป็นสิ่งดี ณ วินาทีนั้น เราไม่ได้ทำ ก็แสดงว่าไม่ใช่สมบัติของเรา ยอมรับและพากเพียรต่อไป - คุณนปภา รัตนวงศา เรื่อง กิเลสดีใจ
ท่านมีทุกข์ ขุ่นใจเล็ก ๆ ที่ยังต้องจัดรายการต่อ ท่านพิจารณาเห็นความยึดมั่นถือมั่นว่า ถ้ายังได้จัดรายการร่วมกับน้องที่เคยจัดมาจะดี เพราะเริ่มจะลื่นไหล รับส่งกันได้มากขึ้น พอต้องจัดรายการกับคนใหม่ก็กลัวความไม่ลื่นไหล กลัวพลาด กลัวพร่อง ท่านเห็นกิเลสเอาทุกข์มาขู่ ซึ่งเหมือนจริงแต่ไม่จริง ก็พิจารณาในโลกนี้พร่องอยู่เป็นนิตย์ ทุกอย่างมีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไปเป็นธรรมดา จะพลาดจะพร่องก็ดีแล้ว มีใครบ้างที่ไม่เคยพลาด และใช้บททบทวนธรรม ทำดีเต็มที่ทุกวัน ก็สุขใจเต็มที่ได้ทุกวัน ได้เท่าไหร่พอใจเท่านั้น พอใจเมื่อไหร่ ก็สุขใจเมื่อนั้น ใจท่านก็โปร่งโล่ง เบา สบาย - นางพรรณทิวา เกตุกลม เรื่อง อย่างนี้ก็มี
เนื่องจากท่านได้บำเพ็ญแนะนำอาหารในค่าย แต่คนสื่อข้อมูลไม่ตรงดังที่ท่านต้องการสื่อ ท่านมีทุกข์รู้สึก ขุ่นใจเล็ก ๆ ที่เขาสื่อข้อมูลผิด เราหลงยึดมั่นถือว่าเขาจะสื่อสิ่งที่ถูกต้องออกไป ชอบถ้าเขาสื่อสิ่งที่ถูก แต่เขาส่งไปแบบผิด ๆ จึงไม่ชอบ เมื่อท่านเห็นกิเลสความไม่ชอบใจ ท่านจึงพิจารณาวางความยึดมั่นถือมั่นแล้วมาปรับใจตัวเองว่าเราจะขุ่นใจทำไม เมื่อได้ทำดีเต็มที่แล้วเราก็สุขเต็มที่ได้แล้ว ส่วนคนอื่นที่เอาไปสื่อสารต่อแบบผิด ๆ มันก็ไม่ใช่ความผิดของเรา ๆ จะขุ่นใจไปทำไม แล้วพิจารณาล้างใจด้วยการใช้ บททบทวนธรรม มาช่วยพิจารณาคือข้อที่ 84 ว่า ล้างความยึดมั่นถือมั่นของใจได้สำเร็จคือ ความสำเร็จที่แท้จริง หลังจากพิจารณาแล้วความรู้สึกขุ่นใจก็หายไป ใจเราก็กลับมาผาสุกอย่างเคย - คุณลาย ชัยวิทย์ (แม่นแก่นพุทธ) เรื่อง เหงือกบวม
ทุกข์ เหงือกบวมเนื่องจากภาวะร้อนเกิน ทำให้ เกิดอาการเหงือกบวม เหงือกอักเสบ ท่านได้พิจารณาอ่านเวทนาทางกาย ทางใจ ท่านเห็นทุกข์ทางใจคือ เกิดความทุกข์เคี้ยวอาหารไม่ได้สมใจ วางใจ ปรับเปลี่ยนวิธีการรับประทานอาหารด้วยการปั่นผักสดและผลไม้ ทดแทนการเคี้ยวอาหาร ก็คลายทุกข์กังวลไป เมื่อคลายความวิตกกังวลได้ก็เห็นความไม่เที่ยงของเวทนาภายในจิตที่เปลี่ยนไปได้ตลอดเวลา ความทุกข์เท่าแผ่นดินนั้นคลายลง มีเพียง เวทนาทางกายคือเหงือกบวมซึ่งเทียบกับฝุ่นปลายเล็บ เพียงเล็กน้อย อาศัยการปรับสมดุลทางกายช่วยเสริม จนเหงือกที่บวมนั้นยุบลงภายใน 2-3 วัน และตั้งศีลเป็นหลักในการลดกิเลส - คุณปิ่น คำเพียงเพชร เรื่อง อยากให้ วิชา อริยสัจ 4 อยู่คู่สถาบันวิชชารามตลอดไป
ท่านมีความไม่ยินดี ไม่เห็นด้วยที่พี่น้องเสนอสลายกิจกรรมชวนทำการบ้าน อริยสัจ 4 เพื่อไปเทพลังทั้งหมดให้กับงานค่ายอย่างเดียว ท่านพิจารณาเห็นโทษของความยึดมั่นถือมั่น แม้ในสิ่งที่ดีที่สุดก็ไม่ดี มันคือกิเลสเรา มันทำให้เราทุกข์ใจ มันทำให้เรามีวิบากจากการเป็นแรงเหนี่ยวนำให้คนอื่นเป็นตามทุกข์ตาม เพราะมันผิดสัจจะ พระพุทธเจ้าตรัสว่าโลกนี้ไม่มีอะไรเที่ยง แม้แต่พระองค์เองคือผู้ค้นพบวิชาอริยสัจ 4 ท่านก็ยังมีวันที่ต้องเสื่อมสลายไปเลย ถ้าเราทำดีที่ทำได้อย่างเต็มที่แล้ว และเราก็วางดีวางใจให้ทุกอย่างเป็นไปตามธรรมโดยไม่ยึดมั่นถือมั่น ไม่ว่าสิ่งดีนั้นจะไม่คงอยู่ จะเสื่อมสลายไป เราก็ไม่ต้องทุกข์ใจ ทุกข์ของท่านก็สลายไป - คุณนาลี วิไลสัก เรื่อง อยากไปอยู่กับหมู่กลุ่มที่ภูผาฟ้าน้ำ
รู้สึกน้อยใจ ร่างกายอ่อนแรง เศร้าใจที่ตนเองไม่ได้ไปรวมพลังกับหมู่กลุ่มใหญ่ ท่านได้พิจารณาความอยากเป็นทุกข์ วิบากของเรา วิบากของโลกหมดเมื่อไหร่โควิดก็จะหาย ตอนนี้ยังไม่ได้ไปก็บำเพ็ญด้วยการลดกิเลสอยู่ตรงนี้แหละ พุทธะอยู่ที่ไหนก็สุขใจได้ ถ้าไม่มีกิเลส
คุณศิริพร ไตรยสุทธิ์ ได้มีการประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้นักศึกษาที่ยังไม่สอบ มีเวลาอีก 3 สัปดาห์เท่านั้น ขอให้นักศึกษาจัดสรรเวลามาสอบปลายภาคด้วย
จากลากันด้วย สโลแกน พูดคุยภาษาโลกุตระ อริยสัจ 4
อนุโมทนาสาธุกับพี่น้องนักศึกษาทุกท่าน
เจริญธรรม สำนึกดี มีใจไร้ทุกข์
อรวิภา กริฟฟิธส์ : รายงาน