At bagon.is you can Buy webshells, phpmailer, Combo list
รายการ "รวมพลังภาคกลางสู้กิเลส" ครั้งที่ 21 | สถาบันวิชชาราม
Skip to content

รายการ “รวมพลังภาคกลางสู้กิเลส” ครั้งที่ 21

รายการ “รวมพลังภาคกลางสู้กิเลส” ครั้งที่ 21
วันพุธที่ 14 กรกฎาคม 2564
เวลา 19.00 – 21.17 น.

ประเด็นเด่นจากรายการ

    • ฉีดเพราะรัก
    • การเมืองต่างกัน แต่ความห่วงใยเหมือนเดิม
    • กาแฟแสนทุกข์

วันนี้มีจิตอาสาแพทย์วิถีธรรม ภาคกลาง เข้าร่วมรายการทั้งหมด 33 ท่าน ดำเนินรายการ โดย คุณจาริณี กวีวิวิธชัย (เอ๋) และคุณมาลิน จุ้ยทรัพย์เปี่ยม (ต่าย)


บรรยากาศยังคงอบอุ่นเช่นเคย พี่น้องช่วยกันทำการบ้าน เพื่อให้สามารถเข้าใจอาริยสัจ 4 ได้ดียิ่งขึ้น ผู้รับฟังก็ร่วมมีใจเบิกบานกับการบ้านของเพื่อน ๆ ครั้งนี้จิตอาสาได้กลับมาทบทวนการบ้านอาริยสัจ 4 ที่ได้เคยนำเสนอไปแล้ว เพื่อนำมาให้พี่น้องได้ดูการสรุปที่ชัดเจนยิ่งขึ้นในรอบนี้ มีจำนวน 2 ท่าน ได้แก่ คุณสำรวย เดชดี (รักศีล) และ คุณภคมน ถิระธรรมภณ (ษา) ดังนี้

    1. เรื่อง ทุกข์จริงหรือไม่? (คุณสำรวย เดชดี) [คลิกเพื่อรับชมคลิป
    2. เรื่อง ทำอาหารแจกแก่บุคลากรทางการแพทย์ ( คุณภคมน ถิระธรรมภณ) [คลิกเพื่อรับชมคลิป]

และมีผู้ร่วมแบ่งปันการบ้านอาริยสัจ 4 เรื่องใหม่ จำนวน 3 ท่าน ได้แก่ คุณจิราวรรณ ดาโรจน์ (หน่อง) คุณเรือนแก้ว สว่างวงษ์ (นก) และคุณจิตรา พรหมโคตร (ตา)

เรื่อง ไม่อยากฉีดวัคซีน (คุณจิราวรรณ ดาโรจน์) :

[คลิกเพื่อรับชมคลิป]

ทุกข์ คือ มีอาการกลัวเล็กน้อยกับผลข้างเคียงของวัคซีนที่ผลิตมาแบบเร่งด่วน ตนเองเคยเป็นเภสัชกร และมีข้อมูลเรื่องอาการข้างเคียง วัคซีนแต่ละตัว ต้องผ่านการทดสอบหลายปี แต่วัคซีนโควิด-19 ผลิตแบบเร่งด่วน กังวลว่าพ่อบ้านต้องถามเรื่องนี้อีกแน่นอน เพราะท่านเป็นบุคลากรทางการแพทย์ ทำงานในรพ.รัฐบาลแห่งหนึ่ง ถ้าตนเองไม่ฉีด ท่านคงลำบากใจ พิจารณาว่า ทำไมถึงกลัวผลข้างเคียง ทั้ง ๆ ที่ก็ไม่ได้น่ากลัวมากมาย เรายังยึดมีความกลัวผลข้างเคียงของยา ข้อมูลที่เคยได้รู้ได้เห็นมามากกับอาการข้างเคียงของยา เรามีข้อมูล แบบเรียกว่า ยิ่งรู้มาก เห็นมาก ยิ่งกลัวมาก ทำให้ใช้ยาเมื่อมีความจำเป็นจริง ๆ เท่านั้น เมื่อได้พบการแพทย์วิถีธรรม รู้สึกประทับใจมาก และตระหนักว่า นี่คือทางรอดของการไม่ใช้ยาแผนปัจจุบัน ซึ่งไม่สามารถรักษาโรคได้ถึงสาเหตุที่แท้จริง แต่สุดท้ายได้ฉีดวัคซีนไป 2 เข็ม เพื่อให้เกิดความสบายใจภายในบ้าน

สรุปการวิพากย์และสังเคราะห์ โดย หมู่มิตรดี :

    1. สำคัญที่สุด คือ ใจที่ไม่กลัว และยอมรับในสิ่งที่เกิดขึ้น
    2. การบ้านอาริสัจ 4 เรื่องการฉีดวัคซีน สามารถเป็นประโยชน์ให้กับพี่น้องที่ต้องเจอสถานการณ์ในการต้องฉีดวัคซีน เพื่อให้คนในครอบครัวสบายใจ

เรื่อง ขัดแย้งเพราะการเมือง (คุณเรือนแก้ว สว่างวงษ์) :

[คลิกเพื่อรับชมคลิป]

ทุกข์ คือ เป็นห่วงลูก เตือนลูกที่ออกความคิดเห็นทางการเมืองอย่างรุนแรง ขอให้ลูกเห็นใจคนทำงาน และขัดแย้งกันว่าข้อมูลของแต่ละฝ่ายต่างไม่เป็นความจริง จึงสร้างความหงุดหงิดใจให้ทั้งสองฝ่าย เป็นห่วงที่ลูกหลงผิด โดนล้างสมอง ทบทวนพิจารณาว่าต่างฝ่ายก็เพียงเห็นต่าง ถ้าลูกไม่เห็นด้วย เป็นเรื่องธรรมดา พยายามหาบททบทวนธรรมมาช่วยยกจิตใจให้พ้นทุกข์ ได้แนะนำในฐานะของคนเป็น “แม่” แล้ว ทำดีที่สุดแล้ว ก็ “วาง” ปล่อยให้เป็นไปตามวิบากดีร้ายของลูก

สรุปการวิพากย์และสังเคราะห์ โดย หมู่มิตรดี :

    1. เป็นธรรมดาของหลาย ๆ ครอบครัวที่ต้องเจอปัญหาความขัดแย้งเรื่องนี้
    2. ลูกเป็นกระจกของเรา ระลึกกรรมได้ ตอนที่เคยเถียงกับแม่ของตนในอดีต เป็นเงาสะท้อนที่ตนเองไม่เคยเชื่อแม่เช่นกัน วันนี้ลูกจึงไม่เชื่อเรา ต่างฝ่ายต่างมีเหตุผลของตนเอง
    3. พยายามเอาความจริงมาคุยกัน ด้วยเหตุและผล สุดท้ายก็ต้องวางใจ ปล่อยให้ต่างฝ่ายต่างมีความคิดของตนเอง
    4. ลูกยังวัยรุ่น นำข้อมูลมาวิเคราะห์ แต่ยังขาดประสบการณ์ บางครั้งต้องเลี่ยงการพูดเรื่องการเมือง
    5. ไม่ควรดูถูกกัน เคารพกันและกัน ทุกท่านมีมุมดีของตนเอง อย่านำอารมณ์มาเป็นตัวตั้ง
    6. อย่าปะทะ เพราะโมหะจะเอาออกจากจิตวิญญาณยากมาก
    7. ล้างความยึดในความคิดของตนเอง ที่คิดว่าลูกไม่ดีอย่างนั้นอย่างนี้
    8. อาจเป็นเรื่องดีที่ลูกได้เริ่มมองเห็นแก่ความเป็นส่วนรวม หรือประโยชน์ของบ้านเมืองมากขึ้นกว่าเมื่อยังเด็กกว่านี้ ที่อาจไม่สนใจอะไรเลย
    9. เราต่างก็ยึด “ดี” ในคนละมุม และต่างก็เห็นแก่ประโยชน์สูงสุดในมุมแบบฉบับของตนเองทั้งนั้น
    10. ต่างความเห็น แต่ต่างก็ยังมีความรัก ความห่วงใย และปรารถนาดีต่อกัน

เรื่อง ดูหมิ่นพ่อบ้านว่าขี้เกียจ (คุณจิตรา พรหมโคตร) :

[คลิกเพื่อรับชมคลิป]

ทุกข์ คือ รู้สึกไม่พอใจ ขุ่นอยู่ในใจ ที่สามีฝากซื้อกาแฟ ไม่อยากรับฝากเพราะดูหมิ่นเขาว่าขี้เกียจ ใจจริงอยากให้สามีไปซื้อด้วยกัน เพื่อช่วยกัน เมื่อได้พิจารณาจิตปรุงแต่งของตนเองที่ไปดูหมิ่นว่าที่เขาใช้เราเพราะเขาขี้เกียจ สามีเพียงเห็นว่าตนเองกำลังจะออกไปอยู่แล้ว จึงฝากซื้อ หากใจยังคิดแบบนี้ จะทำให้เป็นแรงเหนี่ยวนำให้ผู้อื่นทำตาม เป็นวิบากร้ายต่อตนเองและผู้อื่น ไม่แจ่มใสเบิกบาน เมื่อคิดได้ ใจค่อย ๆ ผ่อนคลายความทุกข์ใจไปได้ 50%

สรุปการวิพากย์และสังเคราะห์ โดย หมู่มิตรดี :

    1. ต้องแก้กิเลสในใจที่ซ่อนอยู่ลึก ๆ และยังยึด และก็ยังไม่สามารถล้างได้ ยังยอมไม่จริง
    2. เพียรทำการบ้านให้มากขึ้น ไม่อยากให้เพียงมาระบาย แต่หากทบทวนถึงกรรมอย่างลึกซึ้ง จะสามารถให้อภัยสามีได้อย่างสุดใจ
    3. คิดว่าตนเองเป็นลูกหนี้ เพียงมาใช้หนี้ให้หมดในชาตินี้
    4. หากออกไปข้างนอกอยู่แล้ว การรับฝากซื้อของให้สมาชิกในครอบครัว จะยิ่งทำให้ประหยัด และปลอดภัยจากโควิดมากขึ้น
    5. มองประโยชน์ในการได้บำเพ็ญและทำสิ่งที่ดีให้กับสมาชิกในครอบครัว
    6. การกล้านำกิเลสที่ตนเองอายมาเปิดเผยให้กับหมู่กลุ่มนั้น เป็นสิ่งที่ดีและทำได้ยาก ซึ่งจะทำให้ค่อย ๆ ขัดเกลาจิตวิญญาณตนเองไปในทางที่ดีขึ้นทุกครั้ง

เป้าหมายของการทำการบ้านอาริยสัจ 4 คือ “การพ้นจากทุกข์” ในส่วนเรื่องภาษาในการเขียนข้อความการบ้านนั้น เป็นเรื่องรองลงมา พระพุทธเจ้าทรงได้ฝากคำสอนที่ดีที่สุดในโลกให้แก่มนุษยชาติ เพียงแต่เราจะนำมาใช้หรือไม่

สรุปเนื้อหาของวันนี้ คือ

    1. หลายครั้งยามทุกข์ใจจะยังไม่สามารถนึกหนทางการพ้นทุกข์ได้ง่าย แต่เมื่อเริ่มเขียนการบ้านอาริยสัจ 4 จะค่อยเริ่มเห็นว่าความทุกข์ของเรานั้นไม่ได้มีสิ่งใดเลย นอกจากความ “ยึด” ของตนเอง จึงสามารถยกจิตใจได้จนคลายจากทุกข์ และกลับมาผาสุกตามธรรม
    2. เราหลงเชื่อว่ากิเลสนั้น คือ “เรา” แต่จริง ๆ แล้วไม่ใช่ เราจึงต้องมีหมู่มิตรดีมาช่วยกันให้ปัญญาให้ถูกตรง จิตที่แท้จริงของเรา คือ “พุทธะ” ใจที่ผาสุกยั่งยืน

รายงานข่าวโดย :
ศิริพร คำวงษ์ศรี (มั่นผ่องพุทธ) / สวนป่านาบุญ ๙ สังกัดภาคกลาง

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *