ผลการใช้การแพทย์วิถีธรรมกับการรักษาโรคไต

Download งานวิจัยผลการใช้การแพทย์วิถีธรรมกับการรักษาโรคไต

(http://vijjaram.ac.th/download/research/620320-kidney-failure.pdf)

ขนาดไฟด์ 579 kb จำนวนหน้า 30 หน้า อัพเดท วันที่ 26/8/2019

 


ผลการใช้การแพทย์วิถีธรรมกับการรักษาโรคไต

ดร.ใจเพชร กล้าจน (หมอเขียว)
ผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ทางเลือกวิถีธรรม
สำนักการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข
นักวิชาการอิสระ

บทนำ

ในปัจจุบันโรคไตเรื้อรัง (chronic kidney disease,CKD) เป็นปัญหาสาธารณสุขระดับโลกรวมทั้งในประเทศไทยด้วยสถานการณ์โรคไตในประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆปัจจุบันค่าใช้จ่ายในการบำบัดทดแทนไตโดยการล้างไตทางช่องท้องหรือการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมเฉลี่ยประมาณ 240,000 บาท/คน/ปีซึ่งค่าใช้จ่ายนี้ยังไม่รวมค่ายา และค่าใช้จ่ายทางอ้อมอื่นๆ

ในวงการสุขภาพกระแสหลัก โรคไตเรื้อรังไม่สามารถรักษาให้หายขาดและไม่สามารถฟื้นฟูสมรรถภาพของไตให้ดีขึ้นได้ส่งผลให้สังคมและครอบครัวต้องรับภาระดูแลผู้ป่วยคุณภาพชีวิตแย่ลง ถ้าการดูแลผู้ป่วยใช้เวลายาวนานจะทำให้สูญเสียทั้งทรัพยากรบุคคลและส่งผลต่อเศรษฐกิจโดยภาพรวม

การแพทย์วิถีธรรมถือเป็นการแพทย์ทางเลือกที่มุ่งเน้นไปที่การสนับสนุนการจัดการตนเองด้วยการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมโดยเป็นการแพทย์ที่บูรณาการองค์ความรู้โดยเอาจุดดีของวิทยาศาสตร์สุขภาพการแพทย์แผนปัจจุบันการแพทย์แผนไทยการแพทย์ทางเลือกและการแพทย์พื้นบ้านรวมถึงหลัก 8 อ. เพื่อสุขภาพดีของสถาบันบุญนิยมมาบริหารจัดการองค์ความรู้ประยุกต์ผสมผสานบูรณาการด้วยพุทธะธรรมะ และปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างเหมาะสม ทำให้สามารถแก้ไขหรือลดปัญหาสุขภาพ ณ สภาพสังคมสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันและใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นเป็นหลักในการดูแลสุขภาพ จึงเป็นวิธีที่ประหยัด เรียบง่าย พึ่งตนเองได้ โดยเรียกเทคนิคปฏิบัติตามหลักการแพทย์วิถีธรรมว่า “เทคนิค 9 ข้อหรือยา 9 เม็ด” (ใจเพชรกล้าจน. 2558: 22)

กลไกการเกิดการหายของโรค

การเป็นไตวาย เกิดจากการมีพิษร้อนเย็นไม่สมดุล อาจเป็นพิษของสารหรือพลังงานที่มีฤทธิ์ร้อนเกิน หรือร้อนเย็นพันกัน หรือเย็นเกินก็ได้ ตกค้างอยู่ที่บริเวณไต เมื่อพิษมีมากเกินจนทำให้ กล้ามเนื้อไตเกิดการเกร็งตัวค้างและผลิตพลังงานมาดันพิษออก ทำให้เลือดลมไหลเวียนไม่สะดวก และเนื้อเยื่อของไตผิดโครงสร้างโครงรูป ผิดอุณหภูมิ ส่งผลให้ไตเสียหน้าที่ ไตเสื่อม ไตวาย ดังนั้น
ถ้าเรามีวิธีการระบายพิษร้อนเย็นไม่สมดุลนั้นออก ใส่สิ่งที่สมดุลร้อนเย็นเข้าไป ไม่เพิ่มพิษร้อนเย็นไม่สมดุลเข้าไป กล้ามเนื้อไตก็จะคลายตัว เพราะไม่ต้องผลิตพลังงานมาผลักดันและเกร็งตัวขับพิษออก ทำให้เลือดลมไหลเวียนสะดวก พลังชีวิตจะดูดสารและพลังงานที่สมดุลร้อนเย็นไปดับพิษที่ไตและหล่อเลี้ยงไต ไตก็จะฟื้นกลับมาทำงานได้ดีขึ้นจนเข้าสู่ปกติได้เป็นลำดับ ตามประสิทธิภาพของสมดุลร้อนเย็นและพลังชีวิต(ใจเพชร กล้าจน. 2558 : 292)

การดับทุกข์ (โรคหรือปัญหา) ต้องดับที่ต้นเหตุแห่งทุกข์ (โรคหรือปัญหา)

ปัจจุบันนี้มีผู้ป่วยไตวายจำนวนมากที่แพทย์แผนปัจจุบันทั่วโลกบอกว่าไม่มีทางรักษาให้หายได้ เพราะไม่รู้ต้นเหตุที่แท้จริงของไตวายและไม่ได้ดับที่ต้นเหตุ และที่สำคัญในการรักษายังห้ามผู้ป่วยไม่ให้กินสิ่งที่จะที่รักษาโรคได้ (ผัก ผลไม้ สมุนไพร) แต่มีผู้ป่วยไตวายจำนวนมากที่มารักษาด้วยแพทย์วิถีธรรมแล้วไม่ต้องฟอกไต และมีค่าอัตราการกรองของไต (GFR) ดีขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากการแพทย์วิถีธรรมรู้ว่าโรคไตวายเกิดจากภาวะร่างกายที่ร้อนมากๆ แล้วร่างกายระบายพิษร้อนไปที่ไต สังเกตง่ายๆ ว่าปัสสาวะออกมาจะร้อนมาก คนที่มีภาวะร้อนมาก ไตก็จะร้อนเมื่อไตร้อน ความร้อนก็จะเผาไตให้เสียสภาพ เซลล์ผิดรูปไม่ทำงาน ไตก็วายวิธีแก้ภาวะไตวาย ก็คือ ทำให้ไตที่ร้อนนั้นเย็นลง ด้วยวิธีการรับประทานผัก ผลไม้ และสมุนไพรฤทธิ์เย็น อาหารฤทธิ์เย็นต่าง ๆ รวมถึงผักใบเขียว สิ่งที่มีฤทธิ์เย็นเหล่านี้จะเข้าไปซ่อมสร้างไตให้ฟื้นขึ้นมาทำงานตามปกติ ตามหลักพุทธศาสตร์ที่ว่า ชีวิต
กอร์ปก่อมาด้วยสมดุลร้อนเย็นการระบายร้อนออก แล้วใส่เย็นเข้าไป ร่างกายก็จะดูดเข้าไปเพื่อซ่อมสร้างไต ไตก็จะสามารถฟื้นฟูตนเองจนกลับมาแข็งแรงและทำหน้าที่ได้ตามปกติ หลักการง่าย ๆ ก็มีเพียงเท่านี้ อย่างไรก็ดี สิ่งที่ผู้ป่วยไตวายหรือโรคไตเรื้อรังต้องระวังมี 2 อย่างคือ

1.หากร่างกายมีภาวะแบบร้อนเกินอย่างเดียว ให้แก้ด้วยการใส่สิ่งที่มีฤทธิ์เย็นอย่างเดียวเข้าไปแก้ไตก็จะฟื้น

2.บางครั้งผู้ป่วยโรคไตมีภาวะร่างกายร้อน ๆ หนาว ๆ ก็มี ถ้าร้อนเย็นเกิดขึ้นพร้อมกันอย่างนี้ ให้ใช้สิ่งที่มีฤทธิ์ร้อนและเย็นผสมกันในการแก้ไขอาการ

แต่แพทย์แผนปัจจุบันมักจะบอกว่า“ห้ามกินผักผลไม้ โดยเฉพาะผักใบเขียวเพราะมีโพแทสเซียมสูง”ซึ่งนั่นหมายความว่า แพทย์ห้ามคนไข้โรคไตไม่ให้กินยารักษาโรคไต จึงรักษาโรคไตไม่ได้ เพราะตัวที่รักษาได้แท้จริงคือ ผักและผลไม้ ทั้งนี้ในผักและผลไม้นั้น  ถ้ากินผักและผลไม้ฤทธิ์ร้อน ก็จะมีโพแทสเซียมร้อน ถ้ากินผักและผลไม้ฤทธิ์เย็นก็จะมีโพแทสเซียมเย็นผักผลไม้มีทั้งชนิดที่กินได้และกินไม่ได้ ดังนี้

1.ผักและผลไม้ฤทธิ์ร้อน มีโพแทสเซียมร้อน ไตจะวายหนักเร็ว และตายเร็วยิ่งกว่าเดิม

2.ผักและผลไม้ฤทธิ์เย็นมีโพแทสเซียมเย็น กินเข้าไปแล้วไตก็จะดีขึ้น

คุณหมอแผนปัจจุบันจะเห็นแต่ว่าผู้ป่วยส่วนมากกินผักผลไม้แล้วอาการแย่ลงโดยไม่ดูว่าเป็นผักผลไม้นั้นมีฤทธิ์ร้อนหรือฤทธิ์เย็นท่านรู้แต่ว่ากินผักและผลไม้แล้วมันแย่ ท่านจะเลยห้ามไม่ให้กินทั้งหมดเลย เพราะว่าผักและผลไม้มีโพแทสเซียมสูง ในความเป็นจริงแล้วร่างกายคนเราต้องการโพแทสเซียมตลอดเวลา แต่ควรจะเป็นโพแทสเซียมเย็น แต่สิ่งที่ล้นเกินและเกิดผลเสียคือโพแทสเซียมร้อน เพราะฉะนั้นคนไข้ไตห้ามกินผักและผลไม้ฤทธิ์ร้อน

ผักและผลไม้ฤทธิ์เย็นกินได้ เพราะมีคนกินมาแล้ว และหายมาแล้วจำนวนมาก ที่ต้องกินผักและผลไม้ฤทธิ์เย็น เพราะร่างกายคนเราต้องการโพแทสเซียมไปช่วยในกระบวนการโซเดียมโพแทสเซียมปั้มของหัวใจ รวมทั้งเซลล์อื่น ๆ ก็ต้องใช้โพแทสเซียมทั้งนั้น ร่างกายในขณะที่ร้อน จะต้องการโพแทสเซียมเย็น พอใส่โพแทสเซียมเย็นเข้าไป เดี๋ยวเขาจะขับโพแทสเซียมร้อนออกไปเอง เพราะมันจะไปดับพิษกันเอง ไปทำความสมดุลมให้ไตเอง แต่ด้วยความไม่รู้ความสำคัญของสมดุลร้อนเย็น จึงห้ามกินผักและผลไม้ ซึ่งมันรักษาโรคไตได้

เชื่อไหมว่ามีมีคนไข้ไตวายอายุ 90 กว่าปี มีอาการบวมใหญ่มากแล้ว คุณหมอบอกรักษาไม่ได้แล้ว บอกคนไข้ว่าต้องตายแน่นอน เพราะอายุมาก และไตวายหมดแล้ว (ปัสสาวะขุ่นมาก และไม่ค่อยถ่ายปัสสาวะ) คุณหมอจึงให้เลือกว่าจะตายที่โรงพยาบาลหรือจะกลับไปตายที่บ้าน ญาติก็เลยตัดสินใจว่าให้อยู่โรงพยาบาลก่อน เพราะกลับบ้านก็ยังไม่รู้ว่าจะทำอย่างไร ระหว่างนั้นก็ได้อ่านเจอหนังสือยา 9 เม็ดของแพทย์วิถีธรรม และเริ่มดื่มน้ำสกัดสมุนไพรฤทธิ์เย็น กินแค่วันเดียวเขาก็ยุบบวม ปัสสาวะได้ และปัสสาวะใส ภายในวันเดียวคนไข้ก็สบายขึ้นและสามารถกลับบ้านได้ ซึ่งคนไข้รีบโทรมาขอบคุณ และแจ้งข่าวให้ทราบว่าเขารู้สึกมหัศจรรย์กับตัวเองเป็นอย่างมากว่าดื่มน้ำสกัดแล้วดีขึ้นภายในวันเดียว

นอกจากนั้น ในประเด็นของโปรตีน การแพทย์วิถีธรรมจะแนะนำผู้ป่วยโรคไตว่าให้รับประทานโปรตีนจากถั่ว โดยเฉพาะถั่วที่มีฤทธิ์เย็น ไม่จำเป็นต้องกินไข่ขาว ที่แม้จะดีกว่าโปรตีนอื่น ๆ หรือเชื่อว่าไข่ขาวจะสามารถลดบวมได้ แต่ไข่ขาวก็ยังเป็นโปรตีนที่มีฤทธิ์ร้อน ดังนั้น จึงแนะนำให้กินโปรตีนฤทธิ์เย็นจากถั่ว เหตุที่ร่างกายผู้ป่วยไตรั่ว ไม่เก็บโปรตีน ก็เพราะร่างกายของผู้ป่วยโรคร้อนมาก เมื่อร่างกายร้อนเขาจะไม่ย่อยโปรตีน เพราะจะยิ่งทำให้ร่างกายร้อนมากขึ้น เพราะกระบวนการย่อยสลายโปรตีนจะเกิดกรดและความร้อนสูงมาก โปรตีน 1 กรัมให้พลังงาน 4 กิโลแคลอรี่ ถ้าคนไข้กินโปรตีนเข้าไปร่างกายก็จะไม่รับ เพราะของเดิมก็ร้อนมากอยู่แล้ว ร่างกายจึงดันออกมาทางไต เพราะไม่ต้องการไปย่อยสลายอีก จึงมีเกิดภาวะไตรั่วขึ้น ไม่ว่าจะอัดโปรตีนเข้าไปมากเท่าไหร่ ร่างกายก็ไม่รับ เข้าไปปุ๊บก็ถูกดันออก ๆ ก็ยังเกิดภาวะไตรั่วอยู่ตลอดเวลา เนื่องจากไม่ทราบต้นเหตุที่แท้จริง เพราะไม่เข้าใจความจริงของวิญญาณ ก็เลยพยายามอัดโปรตีนเข้าไปมาก ๆ ร่างกายก็ขาดโปรตีน เพราะร่างกายไม่รับโปรตีนร้อน  ดังนั้นตอนที่ร่างกายร้อนจึงต้องงดโปรตีนกลุ่มร้อน แต่ให้โปรตีนฤทธิ์เย็นได้เช่น โปรตีนจากถั่วเขียว ถั่วขาว ถั่วเหลือง ลูกเดือย เป็นต้น แต่การใส่โปรตีนที่ถูกกันก็ยังต้องดูด้วยว่า หากมีภาวะโปรตีนล้นเกิน  แม้แต่โปรตีนฤทธิ์เย็นก็ไม่ควรทาน แต่ควรระบายพิษร้อนออกก่อน เมื่อร่างกายดีขึ้นร่ากายก็จะรับโปรตีนเอง ตอนนั้นจึงจะให้โปรตีนฤทธิ์เย็นในปริมาณที่เหมาะสมต่อไป

วิธีตรวจดูว่าตอนนั้นร่างกายรับโปรตีนไหมสามารถพิสูจน์ด้วยตนเองได้ โดยการทดลองใช้ถั่วเขียว (มีฤทธิ์เย็น) ที่ต้มแบบไม่ใส่น้ำตาล นำมาใส่แก้วแล้วใช้มือหนึ่งจับไว้ จากนั้นให้นำก้อนหินใส่ถุง (ไม่จับก้อนหินโดยตรง เพราะก้อนหินมีฤทธิ์เย็น)หรือวัตถุอะไรก็ได้ที่หนักนิดหนึ่งมาใส่ถุง แล้วใช้อีกมือหนึ่งหิ้วถุงไว้ แล้วให้ดูว่าถ้าร่างกายแข็งแรง มีพลังหรือไม่ถ้าร่างกายต้องการรับต้มถั่วเขียว ร่างกายก็จะมีพลังยกถุงที่ใส่หินได้แสดงว่ากินโปรตีนฤทธิ์เย็นได้ แต่ถ้าคนไข้ไม่มีพลังยกถุงหินเราก็สามารถพิสูจน์ได้ โดยให้นำต้มถั่วเขียวไปวางไว้บนร่างกายคนไข้ แล้วญาติเป็นคนยกถุงหินเอง เพื่อดูว่าญาติมีแรงหรือไม่ ถ้าญาติมีพลังยกถุงหิน ก็แสดงว่าสามารถให้คนไข้กินต้มถั่วเขียวได้ ถ้าญาติไม่มีพลัง ก็อย่าให้กิน อย่างนี้ก็จะรักษาโรคไตวายได้ ดังนี้ ผู้ป่วยไตวายบางจังหวะก็ต้องกินโปรตีน บางจังหวะก็ต้องหยุดโปรตีนต้องดูว่าตอนนั้นร่างกายต้องการหรือไม่ต้องการ ขึ้นอยู่กับอาการ ณ เวลานั้น ๆเพราะหมอที่ดีที่สุดในโลก คือตัวเราเอง เราจะต้องพิจารณาสังเกตอาการและเลือกใช้อาหารให้เป็นยารักษาโรคให้เหมาะสมกับตนเอง ณ เวลานั้น ๆ(ใจเพชร กล้าจน. 2555, กันยายน 5)

อ่านเนื้อหาฉบับเต็มต่อได้ที่

ไฟด์  pdf (http://vijjaram.ac.th/download/research/620320-kidney-failure.pdf)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *