วิชา โภชนปฏิบัติ (Integrative Nutrition)

วิชา โภชนปฏิบัติ (Integrative Nutrition)

วิชาโภชนปฎิบัตินี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาเฉพาะ กลุ่มวิชาชีพ หลักสูตรประกาศนียบัตรวิทยาลัยชุมชน การดูแลสุขภาพวิถีธรรมตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงรุ่นที่ 2 หลักสูตรนี้จัดโดยวิทยาลัยชุมชนมุกดาหารร่วมกับสถาบันวิชชาราม

[สามารถดูเอกสารฉบับเต็มได้ที่ google docs]

อาจารย์ผู้สอน

ดร.ผุสดี เจริญไวยเจตน์   และ  ดร.ภูเพียรธรรม กล้าจน

จุดมุ่งหมายของรายวิชา

เมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนรายวิชานี้แล้ว ผู้เรียนสามารถ:

1.1 อธิบายแนวคิดและหลักการของโภชนปฏิบัติได้

1.2 ระบุถึงวิธีการใช้โภชนปฏิบัติในการดูแลตนเองและผู้อื่นได้

1.3 สาธิตวิธีการใช้โภชนปฏิบัติในการดูแลตนเองและผู้อื่นได้

คำอธิบายรายวิชา

ความหมาย ความสำคัญของโภชนปฏิบัติ สาเหตุของการเกิดโรค กลไกการเกิดและการหายของโรค ภาวะร้อนเย็นไม่สมดุลของร่างกาย กลไกการทำให้สุขภาพดีของการรับประทานอาหารและน้ำสมุนไพร เพื่อปรับสมดุลของชีวิต การแยกอาหารและสมุนไพรฤทธิ์ร้อนเย็น สรรพคุณและข้อควรระมัดระวัง  ของอาหารและสมุนไพรฤทธิ์ร้อนเย็น การทำอาหารและน้ำสมุนไพรฤทธิ์ร้อนเย็นเพื่อปรับสมดุลร้อนเย็นของร่างกาย

จำนวนชั่วโมงที่ใช้ต่อภาคเรียน

บรรยาย    15 ชั่วโมง    การปฏิบัติ    60 ชั่วโมง    การศึกษาด้วยตนเอง 60 ชั่วโมง
จำนวนหน่วยกิต     3(1-4-4) หน่วยกิต

การจัดการเรียนการสอน 

การเข้าชั้นเรียน

  • บรรยายอย่างมีส่วนร่วม ทุกวันจันทร์ เวลา 20:00 น. – 21:00น. โดยประมาณ
  • เรียนออนไลน์ผ่านโปรแกรม Zoom รับลิงค์ได้ในห้อง Line “นักศึกษา ส. วิชชาราม”
  • สามารถดูรายการย้อนหลังได้ที่ ลิงค์ด้านล่าง หรือที่ Youtube Playlist วิชาโภชนปฎิบัติ

การฝึกปฎิบัติและศึกษาด้วยตนเอง

งานส่วนบุคคล

  • ฝึกปฏิบัติ การทำอาหารสุขภาพแพทย์วิถีธรรม อย่างน้อยสัปดาห์ละ 4 ชั่วโมง
  • คัดสรร 1 เมนูต่อสัปดาห์ รวมอย่างน้อย 10 ครั้ง นำเสนอผ่าน Google Form (คลิ๊กเพื่อส่งการบ้าน)
  • เมนูที่คัดสรร  ประกอบด้วย
    • น้ำสมุนไพรฤทธิ์ร้อน/ฤทธิ์เย็น อย่างน้อย 1 เมนู
    • อาหารพลังพุทธย่ำยีมาร อย่างน้อย 1 เมนู
    • อาหารปั่น อย่างน้อย 1 เมนู
  • คะแนนเต็ม 10 คะแนน
    การบ้านที่ได้เผยแพร่ผ่านเว็บไซต์สถาบันวิชชาราม ได้คะแนนครั้งละ 1 คะแนน

งานกลุ่ม

  • นำเสนอวิดีโอสั้นเรื่อง การทำอาหารสุขภาพ สูตรอาหารปรับสมดุล (ความยาววิดีโอ 4-5 นาที) พร้อมทั้งรายงานสภาวธรรมในการทำงานกลุ่ม (รวมเวลาการนำเสนอประมาณ 25-30 นาที)
  • สามารถนำเสนอได้ท้ายชั่วโมงเรียนแต่ละครั้ง
  • คะแนนเต็ม 25 คะแนน
    • คะแนนทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ  (15 คะแนน)
      • ประเมินด้วยตนเอง 5 คะแนน
      • ประเมินโดยเพื่อนในกลุ่ม 5 คะแนน
      • ประเมินโดยอาจารย์และเพื่อนนักศึกษา 5 คะแนน
    • คะแนนด้านอื่นๆ ประเมินโดยอาจารย์และเพื่อนนักศึกษา  (10 คะแนน)

เนื้อหา

 

1.ปฐมนิเทศรายวิชา

 

ลิงก์วิดีโอบันทึกการสอน

 

2.ความหมาย ความสำคัญของโภชนปฎิบัติ

 

3.สาเหตุของการเกิดโรค กลไกการเกิดและการหายของโรค

 

4.ภาวะร้อนเย็นไม่สมดุลของร่างกาย

 

5.กลไกการทำให้สุขภาพดีของการรับประทานอาหารและน้ำสมุนไพร เพื่อปรับสมดุลของชีวิต

 

6.การแยกอาหารและสมุนไพรฤทธิ์ร้อนเย็น สรรพคุณและข้อควรระมัดระวัง  ของอาหารและสมุนไพรฤทธิ์ร้อนเย็น

 

7.การทำน้ำสมุนไพรฤทธิ์ร้อนเย็นเพื่อปรับสมดุลร้อนเย็นของร่างกาย

 

8.สอบกลางภาค 31 พ.ค. 2564 (25 คะแนน)

 

9.อาหารตามหลักการแพทย์วิถีธรรม อาหารสูตร 1 พลังพุทธย่ำยีมาร

 

10.อาหารตามหลักการแพทย์วิถีธรรม อาหารปรับสมดุล

 

11.อาหารตามหลักการแพทย์วิถีธรรม อาหารปั่น

 

12.เทคนิคการรับประทานอาหารตามหลักการแพทย์วิถีธรรม – การลดละเลิกเนื้อสัตว์

 

13.เทคนิคการรับประทานอาหารตามหลักการแพทย์วิถีธรรม –  การรับประทานอาหารตามลำดับ และความสำคัญของการเคี้ยวอาหาร

 

14.สรุปถึงวิธีการและประสบการณ์การนำหลักโภชนปฎิบัติมาใช้ในวิถีชีวิตประจำวัน

 

15.สอบปลายภาค 28  มิ.ย. 2564 (30 คะแนน)

 

ทรัพยากรประกอบการเรียนการสอน

1.  เอกสารและตำราหลัก

เอกสารประกอบคำบรรยายรายวิชาโภชนปฏิบัติ

ใจเพชร กล้าจน. (2562). คู่มืออาหารสุขภาพหมอเขียวแพทย์วิถีธรรมพลังพุทธย่ำยีมาร วรรณะ 9. พิมพ์ครั้งที่ 1. สมุทรสาคร: พิมพ์ดี.

 

———. (2562). อาหารปรับสมดุลแพทย์วิถีธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 1. สมุทรสาคร: พิมพ์ดี.

 

2. เอกสารและข้อมูลสำคัญ

ใจเพชร กล้าจน. ไขรหัสลับสุดขอบฟ้า ๒ ผ่าตัดโรคภัยโดยใช้สมดุลร้อนเย็น. พิมพ์ครั้งที่ 1. สมุทรสาคร: พิมพ์ดี.

———. (2560).  ถอดรหัสสุขภาพ เล่ม ๓ มาเป็นหมอดูแลตัวเองกันเถอะ. พิมพ์ครั้งที่ 20. กรุงเทพฯ: : อุษาการพิมพ์

 

3. วิทยานิพนธ์/รายงานวิจัย

ใจเพชร กล้าจน. (2553). ความเจ็บป่วยกับการดูแลสุขภาพแนวเศรษฐกิจพอเพียงตามหลักแพทย์ทางเลือกวิถีพุทธของศูนย์เรียนรู้สุขภาพพึ่งตนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง  สวนป่านาบุญ  อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร.  วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาวิชาพัฒนบูรณาการศาสตร์  คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

 

———. (2558). ยุทธศาสตร์การสร้างจิตอาสาแพทย์วิถีพุทธเพื่อมวลมนุษยชาติ.  วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค (สาธารณสุขชุมชน). มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.

 

ดินแสงธรรม กล้าจน. (2561). ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขภาพตามหลักการแพทย์วิถีธรรมต่อภาวะสุขภาพของผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน ในค่ายสุขภาพสวนป่านาบุญ อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร.  วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์.  มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.

ทาริกาณ์ แขมโคกกรวด. (2561).  คุณค่าทางโภชนาการของอาหารที่พุทธศาสนิกชนนิยมนำมาถวายพระสงฆ์.  วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์.  มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.

 

นิตยาภรณ์  สุระสาย (2563). รูปแบบการบูรณาการวัฒนธรรมการดูแลสุขภาพด้วยการแพทย์วิถีธรรม.วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

 

ผุสดี เจริญไวยเจตน์. (2561). เภสัชวัตถุพรรณนาในสวน ป่า นา ที่สัมพันธ์กับบุญของผู้สูงอายุในประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว.  วิทยานิพนธ์ หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค (สาธารณสุขชุมชน). มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.

 

ภูเพียรธรรม กล้าจน. (2561). ภูมิปัญญาการเคี้ยวกวฬิงการาหารเพื่อสุขภาวะในประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว.  วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค (สาธารณสุขชุมชน). มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.

 

สุชาทิพย์ โคตรท่าค้อ. (2561).  ผลของโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพด้วยการดื่มน้ำสมุนไพรปรับสมดุลตามหลักการแพทย์วิถีธรรมต่อพฤติกรรมสุขภาพและสุขภาวะของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ตำบลค้อเหนือ อำเภอเมืองยโสธร จังหวัดยโสธร.  วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์.  มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.

 

อรุณรัตน์ ไกรลาศศิริ. (2561).  ผลของการรับประทานอาหารปรับสมดุลตามหลักการแพทย์วิถีธรรมต่อการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน.  วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์.  มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.

 

เอมอร แซ่ลิ้ม. (2561).  ผลของการเสริมพลังต่อพฤติกรรมการลด ละ เลิก บริโภคเนื้อสัตว์และภาวะสุขภาพของผู้เข้าอบรมแพทย์วิถีธรรม.  วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์.  มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

1 thought on “วิชา โภชนปฏิบัติ (Integrative Nutrition)”

  1. ธัญมน หมวดเหมน(มั่นแสงธรรม)

    ชื่อเรื่อง:ส้มตำวรรณะ 9(ปรับสมดุล)
    วัตถุดิบ
    1)เส้นมะละดิบหรือห่าม(ฤทธิ์เย็น)ประมาณ=2-3 ทัพพี
    2)มะเขือเทศลูกเล็ก(ฤทธิ์เย็น)ประมาณ=5-10ลูกหรือมากน้อยกว่านั้นตามชอบ
    3)ถั่วถั่วลิสงหรือถั่วอื่นๆคั่ว(ขาว,เขียว,เหลือง,แดง,ดำ)ฤทธิ์ร้อน ประมาณ=1-3ช้อนโต๊ะ
    4เกลือ(ฤทธิ์ร้อน)ประมาณ=ครึ่งช้อนชา(หรือปรับเอาตามพอดีสมดุลของแต่ละท่าน)
    วิธีทำ
    1)ปอกเปลือกมะละกอแล้วล้างให้สะอาดนำไปสับด้วยมีดหรือขูดด้วยที่ขูดให้เป็นเส้นยาวประมาณ1-3ซม.(เอาตามที่เราเคี้ยวหรือกินได้ง่าย)
    2)หั่นมะเขือเทศ โรยด้วยถั่วคั่วและเกลือที่เตรียมไว้แล้วคลุกให้เข้ากัน
    3)นำเสิร์ฟหรือรับประทานพร้อมผักสดฤทธิ์ร้อน เย็น(ตามชอบหรือถูกสมดุล)
    เวลาในการทำ
    ประมาณ 5-10นาที
    ประโยชน์
    1)เรียบง่ายคือทำได้ง่าย ใช้วัตถุดิบที่หาได้ง่าย(ไร้สารพิษ)
    2)ใช้เวลาในการทำน้อย ปรุงแต่งรสน้อยทำให้มีโรคน้อย
    3)ทำให้ได้ล้างกิเลสความชอบ ชังความติดยึดในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสในอาหาร
    สภาวะธรรม
    ได้ล้างความชัง ความไม่ยินดีในการที่ต้องทำอาหารและได้ล้างกิเลสตัวขี้เกียจในการทำสื่อเรื่องต่างๆ ได้ฝึกสร้างความยินดีด้วยการทำใจให้ถูกตรง คิดให้ถูกตรงคือคือคิดแล้วต้องไม่ทุกข์ น้อมใจให้เห็นคุณค่าประโยชน์ในสิ่งที่ทำ