การใช้ภาพถ่ายกับงานภาพประกอบสาระธรรม

งานภาพประกอบสาระธรรมนั้นโดยมากทางจิตอาสาแพทย์วิถีธรรม จะใช้ภาพถ่าย เพราะสามารถสร้างได้ง่าย หาได้ง่าย ใช้งานได้ง่ายกว่าภาพประกอบชนิดอื่น ๆ

ในบทความนี้ก็จะมานำเสนอประเภทของภาพถ่ายต่าง ๆ ที่นิยมนำมาใช้ทำภาพประกอบในงานสาระธรรม เพื่อที่จะให้นักศึกษาได้ศึกษาแนวทางการเก็บรวบรวมและถ่ายภาพประกอบที่ต้องการ เนื่องจากในสมัยนี้เทคโนโลยีดีขึ้นมาก กล้องที่ติดมากับโทรศัพท์มือถือราคาไม่แพงนักก็ยังสามารถถ่ายภาพสวย ๆ คม ๆ เก็บไว้ได้ ดังนั้นเราก็จะมาแนะนำกันในบทความนี้กัน

การวางสาระธรรมในภาพถ่ายนั้นก็ไม่ได้ยุ่งยากอะไรมาก โดยพื้นฐานก็จะมี 2 ส่วน 1. คือพื้นที่ของสาระธรรม 2. ข้อมูลอ้างอิง

ในส่วนแรกก็แล้วแต่จะนำสาระธรรมบทไหน ข้อไหน เรื่องไหนมา ซึ่งจะมีความสั้นความยาวแตกต่างกันไป ในส่วนที่สองคือข้อมูลอ้างอิง ว่าใครเป็นคนพูด เนื่องในโอกาสอะไร วันที่เท่าไหร่ สถานที่ใด เป็นต้น รวมทั้งใส่ลิงก์เว็บเครือข่ายเพื่อให้ผู้ที่สนใจได้สามารถติดตามกลับมายังส่วนหลักของเราได้ หากกรณีภาพสาระธรรมที่เราได้ผลิตนั้นได้ถูกเผยแพร่ไปหลายต่อหลายทอด การใส่ข้อมูลอ้างอิงจะเป็นตัวช่วยให้สามารถสืบค้นที่มาของสาระธรรมนั้น ๆ รวมทั้งยังสามารถนำพาคนให้มาพบกับเครือข่ายของเราได้อีกด้วย

ภาพถ่ายบุคคล

ภาพบุคคลเป็นภาพที่เสริมพลังในการสื่อสารได้มาก ยิ่งถ้าเป็นบุคคลที่มีพลังเหนี่ยวนำมาก มีชื่อเสียงมาก ก็ยิ่งจะทำให้สาระธรรมนั้น ๆ เข้าถึงใจผู้ที่ศรัทธาได้ง่ายยิ่งขึ้น แต่ในทางกลับกัน ถ้าใครไม่ได้ศรัทธาในบุคคลนั้น ภาพบุคคลก็จะเป็นสิ่งที่สกัดกั้นการเข้าถึงสาระธรรมได้เช่นกัน ดังนั้นการใช้ภาพบุคคลจึงมีข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกันมาก

ภาพถ่ายวิว

ภาพวิวเป็นภาพกลาง ๆ ที่ใช้งาน สวยงาม เข้าถึงบุคคลได้โดยทั่วไป การใช้งานก็มักจะไม่ยากนัก มีพื้นที่ให้วางข้อความได้สะดวกกว่าภาพบุคคล ในตัวอย่างภาพวิวนี้ก็จะแนะนำการวางกรอบ เพื่อแนะนำการมองภาพรวมของรูปถ่ายก่อนที่จะนำมาใช้งาน

ภาพถ่ายพื้นผิว

ภาพถ่ายพื้นผิว เป็นภาพที่ใช้งานง่าย แต่มีมิติน้อย เหมาะกับใช้เน้นคำ อาจจะเป็นพื้นผิวเรียบหรือสีพื้นเลยก็ได้เช่นกัน สามารถวางสาระธรรมได้ง่ายกว่าภาพวิว

ภาพถ่ายวัตถุที่มีลักษณะซ้ำ ๆ (pattern)

ภาพแพทเทิน จะเพิ่มมิติได้มากกว่าภาพพื้นผิวทั่วไป จะมีจังหวะมากกว่า สื่ออารมณ์ได้มากกว่า การวางสาระธรรมบนภาพเหล่านี้อาจจะเจอกับปัญหาฟอนต์จมไปกับภาพ หรือโดนภาพแย่งความเด่น ดังนั้นจึงต้องศึกษาเทคนิคที่จะคัดตัวอักษรขึ้นมาให้เด่นกว่าพื้นหลัง

ภาพถ่ายแสงเงา/โบเก้

เป็นภาพที่ช่วยสร้างจังหวะที่แปลกใหม่ สามารถนำมาซ้อนเพื่อเพิ่มลูกเล่นให้กับภาพอื่น ๆ ให้มีความน่าสนใจเพิ่มขึ้นได้

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *