At bagon.is you can Buy webshells, phpmailer, Combo list
“สายด่วน ค่ายสุขภาพพึ่งตนวิถีธรรม วิถีไทย” – 13 เม.ย. 65 | สถาบันวิชชาราม
Skip to content

“สายด่วน ค่ายสุขภาพพึ่งตนวิถีธรรม วิถีไทย” – 13 เม.ย. 65

รายการ “สายด่วน สุขภาพพึ่งตนวิถีธรรมวิถีไทย”
ช่วง ถามตอบ ปัญหาสุขภาพ
ตามหลักการแพทย์วิถีธรรม
โดย กลุ่มแพทย์แผนไทยวิถีธรรม ค้ำจุนโลก
วันพุธ ที่ 13 เมษายน 2565
เวลา 15.30 – 17.45 น.

ประเด็นเด่นจากรายการ

      • โรคทางกายนั้นเล็กน้อย “แต่โรคทางใจนั้นหนักหนาสาหัสมากกว่า”
      • “สิ่งที่เราได้เห็นจากแวดล้อมของเราเป็นเหมือนกระจกสะท้อนให้เห็นว่า เราเคยเป็นแบบนั้น เหมือนเราได้เห็นตัวเอง”
      • วิบากดีทำให้เรามาเจอธรรมะแท้ ๆ จึงทำให้ได้ “เลิกโง่ เลิกชั่ว เลิกบ้า”
      • เคยเป็นคนที่ “ยอมแพ้แค่ปาก ปัจจุบันยอมแพ้เริ่มต้นที่ใจ” ทำให้เบิกบานเบากายสบายตัว รู้สึกไม่ได้แพ้ แต่กลับได้เอาชนะกิเลส
      • “อาจารย์หมอเขียวเคยพูดว่า ถ้าเราไปดีไปเด่น แล้วอัตตาเรามันโต บางทีธรรมะยังไม่ถึง ไม่เข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง เราก็จะยึดดี แล้วติดดี”
      • “กิเลส” แม้น้อยแม้นิด “ถ้ากำจัดได้ จะได้พลังมหาศาล”
      • “เวลาชีวิต มีน้อยนัก สั้นนัก” อย่าปล่อยเวลาชีวิตให้สูญเปล่า จงละบาป บำเพ็ญกุศล
      • ตรวจ ATK ได้ผลเป็นบวก แต่ฝึกอยู่กับความพร่องมา ใจจึงไร้ทุกข์ ปฏิบัติดูแลตนด้วยยา 9 เม็ด แต่ก็มี “เคล็ดลับ” จากรุ่นน้องมาแบ่งปัน
      • “ไม่ว่าเราจะอยู่ตรงไหน เราก็บำเพ็ญได้ อย่าสันโดษในกุศล แม้แต่น้อยก็สะสมไว้”
      • เมื่อชีวิตผ่านความตายมาแล้ว ทุก ๆ วันที่ยังมีชีวิตอยู่ นั้นคือ “กำไร”
      • “ไม่ยึดมั่นถือมั่น จิตเราต้องสูงก่อน จึงจะดึงจิตคนอื่นขึ้นสูงได้”
      • “มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ” ขาบวม เลือดไหลไม่หยุด รับประทานยาสลายลิ่มเลือด อยากทราบว่า ต้องหยุดเลือดอย่างไร?
      • “นอนไม่หลับ” อ่อนเพลีย ใจสั่น ตัวเกร็ง อยากทราบว่า ต้องแก้ไขอย่างไร?
      • “หนักหัว ตัวร้อน ปวดหลัง ตั้งแต่คอ ลงไปถึงก้นกบ ปวดตา ดวงตาและในปากร้อนมาก ปากขมด้วย อาการลักษณะนี้คืออะไร?”

[คลิกเพื่อชมคลิปวิดีโอฉบับเต็ม]

วันนี้มีพี่น้องทั้งจิตอาสาแพทย์วิถีธรรมทั่วโลก และชาวค่ายเข้าร่วมรายการทั้งหมด 85  ท่าน ดำเนินรายการ โดย  คุณกมลชนก ทุมวงษ์ (แหม่ม) คุณอรุณรัตน์ ไกรลาศศิริ (หม่วย พิมพ์ผ่องศีล)และคุณวิจิตร ตันเดชานุรักษ์

รายการสายด่วนสุขภาพพึ่งตนวิถีธรรมวิถีไทย เริ่มต้นรายการด้วยยาเม็ดที่ 6 คือ มาร์ชชิ่ง [คลิกเพื่อชมคลิปวีดีโอ] และธรรมะเพื่อความผาสุก คือ การอ่านบททบทวนธรรมยาเม็ดที่ 8 ดังนี้ ข้อ 32 – 40 [คลิกเพื่ออ่านบททบทวนธรรม] และข้อ 41 – 47 [คลิกเพื่ออ่านบททบทวนธรรม


“ช่วงทำความรู้จักจิตอาสาผู้ดำเนินรายการ”
“แบ่งปันประสบการณ์แพทย์วิถีธรรมนำพ้นทุกข์”

คุณอรุณรัตน์ ไกรลาศศิริ : มารู้จักแพทย์วิถีธรรมเพราะว่า “อยากดูแลตัวเองเพื่อสู้กับโรคที่เป็น” เคยป่วยเป็นโรคไมเกรน กรดไหลย้อน ภูมิแพ้ แต่ระหว่างที่เรียนรู้ กลับได้สิ่งที่ดีกว่า คือ “เครื่องมือสำหรับสู้กับโรคทางใจ” โรคทางกายนั้นเล็กน้อย แต่โรคทางใจนั้นหนักหนาสาหัสมากกว่า


“ช่วงแบ่งปันความประทับใจในบททบทวนธรรม”

“ที่ได้นำมาใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อดับทุกข์ใจ”

บททบทวนธรรมข้อที่ 38 “กิเลสโลภ โกรธ หลง เป็นสิ่งที่คนโง่ คนชั่ว คนทุกข์ คนบ้า หวงแหนที่สุดในโลก”

คุณสุภารัตน์ จันโดน : “สมัยก่อนเรามีกิเลสมาก” เป็นคนขี้โมโห ใจร้อน ไม่มีใครสามารถตำหนิได้ หลงว่าตนเองเป็น “คนดี” หลงทุกอย่าง พอมาฟังธรรมะจากพ่อครูสมณะโพธิรักษ์ อาจารย์หมอเขียวและหมู่มิตรดีทำให้เราลดละเลิกไปตามลำดับ “ปัจจุบันเราลดความโลภ โกรธ หลง ลงได้มากแล้ว” เวลาเราอ่านบททบทวนธรรมทุกครั้งจะมาดูว่า ตนเองได้สภาวะอะไร “สิ่งที่เราได้เห็นจากแวดล้อมของเรา เป็นเหมือนกระจกสะท้อนให้เห็นว่า เราเคยเป็นแบบนั้น เหมือนเราได้เห็นตัวเอง” ซึ่ง “ตอนนี้เราไม่โง่ ไม่ชั่ว ไม่ทุกข์และไม่บ้าอีกแล้ว”

คุณอรุณรัตน์ ไกรลาศศิริ : ในอดีตเรามักหวงแหนกิเลสเหล่านี้ที่สุด คิดว่ากิเลสที่มีเป็นสิ่งที่ถูกต้อง “ทุกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับเราทุกคน คือ กระจกที่สะท้อนตัวเราเองนั่นแหละ”

คุณปัทมา ลีฬหาวงศ์ : “ธรรมะทำให้เรามองสิ่งรอบตัว เหมือนมองต้นไม้” เหมือนต้นไม้บางต้นมีหนาม ถ้าเราไปใกล้ต้นที่มีหนาม เราก็ควรระวังนิดหน่อย “เรียนรู้คน ก็เหมือนเรียนรู้ธรรมชาติ” จะทำให้เข้าใจผู้อื่นมากขึ้น “ธรรมะเป็นธรรมชาติจริง ๆ”


บททบทวนธรรม ข้อที่ 44 “ทีทำชั่ว ยังมีเวลาทำ ทีทำดี ทำไมไม่มีเวลาทำ”
และบททบทวนธรรมข้อที่ 38 “กิเลสโลภ โกรธ หลง เป็นสิ่งที่คนโง่ คนชั่ว คนทุกข์ คนบ้า หวงแหนที่สุดในโลก”

คุณเวียงทอง นุ่นภักดี : “แต่ก่อนยังไม่เจอธรรมะแท้ ๆ” แบบที่พ่อครูสมณะโพธิรักษ์ และอาจารย์หมอเขียวได้สอน “เราเคยเป็นคนบ้า” หวงแหนแต่สิ่งที่คิดเองว่าดี เช่น อยากได้อยากมีอยากเป็น หาสิ่งนอกกายมาเสพ เพื่อบำเรอตัวเอง ไม่พอใจก็โทษผู้อื่น กลายเป็น “พรหม 3 หน้า” มองกลับไปก็เห็นว่า ตนเองเป็นคนบ้า คนโง่ คนชั่วมาก ๆ “โชคยังดีที่มีวิบากดีบ้าง ทำให้เราได้มาเจอธรรมะ เราเลยได้เลิกโง่ เลิกชั่ว เลิกบ้า”

กิเลสที่หวงแหนที่สุด คือ “ไม่อยากให้ใครมาติตนเอง อยากให้คนอื่นชมอย่างเดียว” เพราะคิดว่า เราทำเต็มที่แล้ว ไม่อยากให้ติ แม้ปากเราจะบอกว่า แพ้ก็ได้ “แต่ก่อน คือ จริง ๆ แล้วยอมแพ้แค่ปาก” แต่ “ปัจจุบันตนเองมาฝึกแพ้จากใจ” ได้ทำแบบแพ้จริง ๆ “มันเบิกบานและเบาสบายตัว” ไม่เครียดไม่ขุ่นข้องหมองใจ สามารถยอมแพ้ได้ด้วยจิตด้วยใจ จริง ๆ “รู้สึกว่า ตนเองไม่ได้แพ้ แต่กลับได้เอาชนะกิเลส”

คุณกมลชนก ทุมวงษ์ : การที่ได้มาศึกษาธรรมะจากอาจารย์หมอเขียว ทำให้รู้ว่า “การที่เราหลงคำชมนั้น เป็นสิ่งที่ไม่ดี” “แต่ถ้าเราได้คำติ คำเหล่านั้นจะกลายมาเป็นขุมทรัพย์ให้ตนเองได้พัฒนาขึ้น” ทำให้ไม่หลงตัวเอง และมีปัญญามากขึ้น สามารถพัฒนาตัวเอง เมื่อตั้งศีลสู้กับกิเลสของเรา จากที่เคยชั่วเคยบ้า ให้ดีขึ้น อย่างที่ท่านอาจารย์หมอเขียวเคยพูดว่า อะไรที่ทำแล้ว จะรู้สึก “เบาสบาย โล่ง และหลุดพ้น”

คุณปัทมา ลีฬหาวงศ์ : อันนี้เป็นหลักที่แสดงให้เห็น “เหตุผลที่แพทย์วิถีธรรมต้องอยู่เป็นหมู่กลุ่ม คือ จะไม่ทำให้จิตอาสาติดดีจนเกินไป” และอยากไปทำดีคนเดียว การทำอะไรจึงต้องไปเป็นหมู่กลุ่ม “อาจารย์หมอเขียวเคยพูดว่า ถ้าเราไปดีไปเด่น แล้วอัตตาโต บางทีตัวเราเองยังไม่เข้าใจถึงธรรมะอย่างแจ่มแจ้ง เราก็จะยึดดี แล้วติดดี” จึงเกิดเป็นจิตอาสาบำเพ็ญร่วมกันกับหมู่มิตรดี

คุณอรุณรัตน์ ไกรลาศศิริ : การทำเป็นหมู่กลุ่ม จะช่วยขัดเกลาความยึดดี แต่การทำคนเดียว ความเด่นจะทำให้อัตตาโต เมื่อได้รับการชม จะเกิดอาการฟูฟ่อง “อาจารย์หมอเขียวเคยบอกว่า กิเลส แม้น้อยแม้นิด ถ้ากำจัดได้ จะได้พลังมหาศาล”


บททบทวนธรรมข้อที่ 137 “เวลาชีวิต มีน้อยนัก สั้นนัก อย่าปล่อยเวลาชีวิตให้สูญเปล่า จงละบาป บำเพ็ญกุศล และ ยินดี พอใจ เต็มใจ สุขใจ มีชีวิตชีวา ในทุกเสี้ยววินาทีของชีวิต”

คุณพรณิชา ทองหล่อ และคุณเพ็ชรรัตน์ โตจรูญ : เมื่อวานคุณยายไปเก็บผักไชยา แล้วเห็น “รังนก” ลูกชายบอกว่า มีไข่อยู่ 2 ฟอง “เราดีใจ” ว่าเดี๋ยวลูกนกจะได้ฟักเป็นตัว แล้วก็คงได้บินไปตามทางของพวกเขา แต่ต่อมาไปดู “ไข่นกหายไปหมด” มองไปเห็นที่พื้น ปรากฏว่า ไข่ตกลงไป และมดมากินหมดเลย “รู้สึกเสียใจ” และ “นึกถึงบททบทวนธรรมข้อ 137” ที่ว่า “เวลาในชีวิตนั้นน้อยนัก สั้นนัก” คุณยายเองอายุ 68 ปีแล้ว ไม่รู้จะจากไปเมื่อไหน “เตือนตนที่จะพยายามสร้างความดี ละกิเลส” เพื่อเป็นกุศลให้กับอาจารย์หมอเขียวและพ่อครูสมณะโพธิรักษ์

คุณกมลชนก ทุมวงษ์ : “ทำดีทุกวัน ก็สุขใจเต็มที่ทุกวัน” อย่างวันนี้ที่เป็นวันเทศกาลสงกรานต์ แต่พวกเราก็มาร่วมบำเพ็ญ เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นและตัวเรา “นี่แหละเป็นการทำดีของเรา”

คุณปัทมา ลีฬหาวงศ์ : “เราไม่รู้หรอกว่า เราจะอยู่ได้ไปอีกกี่วัน” ถึงแม้ไม่ป่วย ก็ยังไม่รู้หรอกว่า ออกไปข้างนอก จะเจออุบัติเหตุอะไรหรือไม่ “เพราะฉะนั้นทำให้ดีที่สุด เท่าที่มีลมหายใจอยู่”


บททบทวนธรรมข้อที่ 46 “เกิดอะไร จงท่องไว้ “กู-เรา-ฉัน” ทำมา”

คุณพิชชาภา แซ่ลิ่ม : ตัวเราเองอายุ 13 ขวบ และมีน้องอายุ 8 ขวบ “หนูมักมีกิเลส ที่ขี้เกียจเลี้ยงน้อง” กิเลสมักพูดว่า ขี้เกียจเลี้ยงน้องมาก “เลยสอนกิเลสไปว่า ถ้าไม่เลี้ยงแล้วใครจะเลี้ยง?” ถ้ากิเลสจะยังไม่เลี้ยงน้อง กิเลสต้องไปอยู่ห้องสีแดง (ทุกข์) เลยนะ “แต่หนูจะอยู่ห้องสีเขียว (สุข) ทำหน้าที่เลี้ยงน้องตามที่ควร แล้วใจหนูก็เป็นสุข”


บททบทวนธรรมข้อที่ 81 เหนือความเก่ง คือ วิบากร้าย เก่งแค่ไหนว่าแน่ ก็แพ้วิบากร้าย ร้ายแค่ไหนว่าแน่ ก็แพ้วิบากดี วิบากดีที่แน่แท้ ที่ดีที่สุด คือ ใจไร้ทุกข์ ใจดีงาม

และบททบทวนธรรมข้อที่ 82 จงฝึกอยู่กับความเป็นจริงของชีวิต ที่พร่องอยู่เป็นนิตย์ อย่างผาสุกให้ได้

ทพญ.สิริรัตน์ ธนพรไพศาล : ไปติดต่อธุระที่ธนาคารในตัวเมืองสุพรรณ กลับมา “ตรวจ ATK ได้ผล 2 ขีด” (ผลบวกเท่ากับติดเชื้อโควิด) “คนที่ไปด้วยกัน ก็ไม่ติด” ตอนแรกนึกว่าเป็นไข้หวัดธรรมดา พอกลับมาพี่น้องช่วยกันดูแลแช่ตัวแช่สมุนไพร อีกวันมีคนเข้ามาที่สวนป่านาบุญ 9 จึงได้ตรวจ ATK ด้วยอีกครั้ง ก็ยังขึ้นผลเป็นบวก 2 ขีดเหมือนเดิม “สำหรับตัวเองแล้ว ฝึกอยู่กับความพร่องมาตลอด” เรื่องติดโควิด แม้เราจะได้รับวัคซีนมาแล้ว 2 เข็ม แต่ก็สามารถวางใจได้

ส่วนตัวนั้นตั้งใจจะหยุดฉีดวัคซีนแล้ว และจะไม่รับวัคซีนเข็มที่ 3 ด้วยจากการรับรู้ข่าวสาร มองว่า “ผลกระทบ” มีมากกว่า แต่การปล่อยข้อมูลอาจจะยังถูก “ปิดกั้น” อยู่ มีความรู้สึกว่า ถ้าหากสามารถมี “ภูมิต้านทานด้วยตัวเราเอง” ทุกอย่างนั้นจะยังดีอยู่ เพราะศาสตร์แพทย์วิถีธรรม คือ “พึ่งตนและช่วยคนให้พ้นทุกข์” จากปกติตนเองไม่ค่อยจะแวะไปที่ไหน “โดยที่ไม่จำเป็น”

แม้จะระมัดระวังอย่างดีที่สุดแล้ว แต่ก็มีวันหนึ่งที่ตนเองอาจ “ประมาทไปหน่อย” เนื่องจากได้เดินทางไปทำธุระกับพี่น้อง จำนวน 3 ท่าน โดยไปที่ “ธนาคาร” ซึ่งในวันนั้นตนเองใส่ “หน้ากากอนามัยชนิดบาง” จากนั้นแวะ “ร้านกิฟต์ชอป” ตรงทางออก เพราะมีโปรโมชั่น ซึ่งเป็นจุดที่แวะค่อนข้างนานมาก

ก่อนจะกลับเข้ามาที่สวนป่านาบุญ 9 ได้ไปแวะดูบ้านให้กับตนเองด้วย เนื่องจากปัจจุบันยังนอนอาศัยอยู่ในบ้านพักของเพื่อน และได้ข้อสรุปว่า ตนเองอาจไปเบียดเบียนเพื่อน เพราะมีการนำข้าวของ เครื่องใช้ ไปวางไว้ในบ้านของเพื่อน และเวลาเพื่อนจะเข้ามา ก็จะต้องคอยเก็บออกไป เพื่อที่เวลาเพื่อนจะได้เข้ามาพัก ท่านจะได้อยู่อย่างสบายในบ้านของท่านเอง พิจารณาว่าได้ไปอยู่อาศัยบ้านหลังนี้นาน จนรู้สึกติดยึด และวางแผนจะต่อเติมบ้านของเพื่อน ให้เป็น “ห้องเก็บของ” ได้การปรึกษาช่างสร้างบ้าน และหมู่กลุ่มก็ได้อนุมัติ ทำให้ได้ข้อสรุปขยายบ้านให้ใหญ่ขึ้น ระหว่างทางจึง “แวะร้านเกี่ยวกับบ้าน” ซึ่งเป็นอีกแห่งที่ตนเองอาจได้รับเชื้อก็ได้

“แม้จะไม่รู้ว่า ติดเชื้อโควิดนี้มาจากที่ไหน” ตนเองได้รับผิดชอบด้วยการแยกจากหมู่ เวลาเดิน ก็จะเดินห่าง หรือเดินอ้อมไปเลย ระหว่างที่กักตัวอยู่ในสวนป่านาบุญ 9 พี่น้องช่วยดูแลอย่างดี ทำอาหารให้รับประทาน ซึ่งต้องมีการปรับเปลี่ยน จากรับประทานมื้อเดียว มาเป็น 3 มื้อ เพื่อเพิ่มความเข้มข้นในการดูแลสุขภาพ
แต่ที่แน่ ๆ สำคัญที่สุด คือ “ใจไร้ทุกข์” อยู่ท่ามกลางหมู่มิตรดี ไม่กลัวโรค และใจก็ไม่กังวลใด ๆ ถึงแม้จะ “ติดเชื้อโควิด” ฝึกอยู่กับความเป็นจริงที่พร่องอยู่เป็นนิตย์

“สาเหตุที่ตรวจเจอ” คิดว่าเกิดจากที่ตนเองได้รับประทานกะเพรา ที่พี่น้องทำให้ช่างรับประทาน ตามที่ทางแพทย์ในสังคมออนไลน์ได้ให้ข้อมูลไว้ว่า อาหารประเภทนี้จะกระตุ้นให้ “โควิดลุกลาม” ซึ่งตนเองได้ “รับประทานอาหารรสจัด ของทอด และของมัน” เข้าไปถึง 2 วัน ตอนตรวจเจอมีความรู้สึก “เฉย ๆ ไม่ได้ตกใจ” ถึงร่างกายจะติดเชื้อ แต่ก็รู้สึกดี เพราะจะได้มีภูมิต้านทานเพิ่มขึ้น

อาการที่มีระหว่างติดเชื้อ ดังนี้

      • วันแรก คือ “มีไข้”
      • ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และ “อาการไอ” อย่างเดียว สาเหตุเกิดจากนอนเปิดพัดลม และไม่ห่มผ้า

วิธีที่ใช้การดูแลตนเอง ระหว่างติดเชื้อ มีดังนี้

      • ใช้ยาเม็ดที่ 5 คือ “อาบ และอบในตู้อบ โดยใช้สมุนไพรผสม ๆ กันทั้งหมด” โดยส่วนใหญ่จะอบด้วย “สมุนไพรฤทธิ์ร้อน”
      • ใช้ยาเม็ดที่ 4 คือ “แช่สมุนไพร” โดยจะเน้นใช้ “สมุนไพรฤทธิ์เย็น”
      • ใช้ยาเม็ดที่ 1 คือ “รับประทานสมุนไพรปรับสมดุล” โดยใช้ยา “น้ำ 4 พลัง และน้ำถ่าน” โดยจะทยอยดื่ม แล้วก็ดื่มน้ำสมุนไพรฤทธิ์เย็น ดื่มเฉพาะ “น้ำอุ่น” และจะไม่ดื่มน้ำเย็น
      • ใช้ยาเม็ดที่ 3 คือ “การสวนล้างลำไส้ใหญ่” (ดีท็อกซ์) อาจารย์หมอเขียวบอก “อะไรทำแล้วเหมือนเดิมไม่ต้องไปทำ”
      • เน้นใช้ยาเม็ดที่ 7 คือ “เรื่องอาหาร เป็นข้าวต้มกับเกลือ อาหารที่ไม่ปรุง”
      • โดยปกติตนเองจะใช้ยาเม็ดที่ 6 เป็นประจำ คือ “เดินออกกำลังกาย รอบสวนป่านาบุญ 9 ทุกวัน และโยคะทุกเย็น” จึงเดินไม่เหนื่อย และ “ไม่มีอาการ”
      • “เคล็ดลับ” ที่รุ่นน้องท่านหนึ่งแนะนำ คือ การใช้อุปกรณ์ “ไซริงค์ และจุกล้างจมูก” ที่มีราคาประหยัดและใช้ง่าย โดยนำมา “ฉีดล้างจมูก ด้วยน้ำสมุนไพรในตัว (ปัสสาวะ)” “เพียงหนเดียว ที่ได้ล้างจมูกทั้ง 2 ด้าน ในวันรุ่งขึ้นหายเลย” จากเดิมทีใช้แก้วสูดเข้าไปในจมูก แต่การใช้ไซริงค์ และจุกล้างจมูกนี้ ปรากฏว่าได้ประสิทธิผลที่ดีมากกว่า แม้ออกนอกบ้านก็ยังใช้ได้ เพราะสะดวกในการพกพา
      • ซึ่งหลังจากที่ได้ดูแลตนเอง “ทำเพียงวันเดียว ก็มีอาการดีขึ้น”

คุณปัทมา ลีฬหาวงศ์ : การใช้ศาสตร์แพทย์วิถีธรรมใน “การล้างพิษ” จากการที่คุณหมอรัตน์ “ดื่มน้ำ 4 พลัง ออกกำลังกาย” เป็นประจำ ตรงนี้จึงทำให้ปอดขยาย และแข็งแรง และวิธี “การสูดดม อาบอบสมุนไพร” ท่านอื่นที่มีอาการ ก็สามารถเป็นตัวอย่างในการปฏิบัติตัวได้ หากท่านใดที่กำลังมีเชื้อ และมีไข้ แนะนำให้ลดไข้ ด้วยการรับประทาน “ฟ้าทะลายโจร” ซึ่งฟ้าทะลายโจรจะใช้ในเรื่อง “การบรรเทาอาการไอ” ได้ด้วยเช่นกัน ทั้งยังช่วยลดอาการอักเสบ แท้จริงแล้ว ก็เหมือนการรักษาไข้หวัดอย่างหนึ่งเท่านั้น ที่สำคัญ “ใจต้องไม่กลัว”

[คลิกเพื่อชมคลิปวิดีโอ]


“ช่วงถาม-ตอบปัญหาสดในรายการ”

คำถามที่ 1 : “ดิฉันเป็นมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ อยากสอบถามว่า แพทย์ให้รับประทานยาละลายลิ่มเลือด ขาบวม แต่ปัสสาวะเป็นเลือดไม่หยุดเลย”

คำแนะนำจากจิตอาสาแพทย์วิถีธรรม :

      • ใช้ยาเม็ดที่ 1 คือ “รับประทานสมุนไพรปรับสมดุล” จากกรณีศึกษาของผู้ป่วยหลายราย “โรคมะเร็งในลำไส้ ริดสีดวง แผลในกระเพาะ หรือแม้กระทั่งผู้หญิงที่เป็นโรคเกี่ยวกับมดลูก” แล้วมีอาการ “ภาวะเลือดออก หรือเลือดไหลไม่หยุด”
      • หลักการที่ใช้แก้ไขอาการ จะเป็นหลักเดียวกัน คือ “ปั่นใบสาบเสือ รวมกับน้ำสมุนไพรฤทธิ์เย็น แล้วนำมาดื่ม” การที่เพียงเพิ่ม “ใบสาบเสือ” เข้าไปร่วมด้วย ผู้ป่วยที่มีอาการดังกล่าว และได้ทำการทดลองใช้ ผลออกมา คือ “เลือดหยุดไหล”
      • “ใบสาบเสือ” เป็นพืชหอมระเหย ตามหลักที่อาจารย์หมอเขียวได้สอนไว้ คือ พืชชนิดใดที่มีลักษณะเป็นหอมระเหย และมีกลิ่นรุนแรงกว่าปกติ “จะไม่ใส่ปริมาณมาก” เพราะอาจทำให้เกิดอาการวิงเวียน แนะนำให้ใช้เพียง 1 ส่วน เท่านั้นคลิกเพื่อรับคลิปวิดีโอ [“หญ้าคา สาบเสือ ยอดยาสมุนไพร”]กรณีศึกษา คลิกเพื่อศึกษารายละเอียด [“การใช้สาบเสือ เพื่อหยุดเลือด” ของคุณครองศิลป์ รักภักดี] 
      • “สมุนไพรอีกชนิดหนึ่งที่สามารถใช้แก้อาการนี้ได้ คือ เสลดพังพอน” เนื่องจากมีสรรพคุณที่สามารถหยุดเลือดได้ เมื่อได้ปรับสมดุลร่างกายให้ดี โดยใช้ยาเม็ดที่ 5 คือ “พอก ด้วยกากสมุนไพร” ที่ได้จากการคั้นทำน้ำสมุนไพรทั้งสาบเสือ และเสลดพังพอน จากนั้นสามารถนำทั้งน้ำและกาก มาใช้ร่วมกับยาเม็ดที่ 4 คือ “แช่ ด้วยการนำมาผสมกับน้ำอุ่น” ก็สามารถช่วยบรรเทาอาการได้เช่นกัน และสุดท้ายอาจเพิ่มการขับพิษด้วยการใช้ยาเม็ดที่ 2 คือ “การขูดกัวซา”

[คลิกเพื่อชมคลิปวิดีโอ]


คำถามที่ 2 : “มีอาการนอนไม่หลับมา 2 คืน รู้สึกอ่อนเพลีย มือเท้าเย็นมาก ใจสั่น ตัวเกร็ง แก้ไขอย่างไร? ตอนนี้อยากหลับมาก แต่ไม่ยอมหลับ”

คำแนะนำจากจิตอาสาแพทย์วิถีธรรม :

      • จริง ๆ แล้วหากคนเรามีอาการ “นอนไม่หลับ” นั้นสามารถเกิดขึ้นได้จากภาวะหลายอย่าง ซึ่งจากการวิเคราะห์ตามอาการของผู้ถามในเบื้องต้น น่าจะเป็น “ภาวะเครียดและกังวล” ผู้ถามอาจจะเป็น “คนคิดเยอะ คิดไม่หยุด” ถ้าสะสมไปนาน ๆ อาจจะมี “อาการซึมเศร้า หรือ แพนิก” เข้ามาร่วมด้วย เป็นสาเหตุทำให้ร่างกายเกิด “ภาวะร้อน และเกิดอาการเกร็ง” อีกด้วย
      • ใช้ยาเม็ดที่ 6 คือ “วิ่งออกกำลังกาย กดจุดลมปราณ และฝึกโยคะ” ลักษณะจุดต่าง ๆ ที่กดลงไป ก็จะเหมือนกับ “การฝังเข็ม” จะทำให้เส้นลมปราณหมุนเวียน เลือดลมดี ร่างกายไม่แข็งเกร็ง ยังจะทำให้ “นอนหลับสบาย” อีกด้วย
        มากกว่านั้นการฝึกกดจุดลมปราณ และโยคะ คือ “การพักจิต” อย่างหนึ่ง ทำให้ “หยุดคิด” จากสิ่งที่เร่งเร้าในใจ หากฝึกอย่างน้อย 2 ชั่วโมง ก็จะได้พักจิตถึง 2 ชั่วโมง
      • เน้นการใช้ยาเม็ดที่ 8 คือ “ธรรมะ” จิตจะสงบขึ้น “เมื่อคนเรามองโลกจากความจริง ตามความเป็นจริง จะทำให้มีความทุกข์น้อยลง ความเครียดก็จะน้อยลงด้วย”
      • “วิธีการวางความกังวล คือ อาจจะต้องหากิจกรรมทำ โดยให้ไปอยู่กับกิจกรรมที่พาตนเองออกจากความคิด” เช่น ลองทำกิจกรรมตั้งแต่ช่วงเช้า จนถึงดึกดื่น ก็จะทำให้มีอาการง่วง “กิจกรรมของเรา คือ การงาน” การที่ได้ทำอะไรอยู่ตรงหน้า ก็จะทำให้ “เราอยู่กับปัจจุบัน ไม่มีเวลาไปคิดถึงอนาคตเลย”

[คลิกเพื่อชมคลิปวิดีโอ]


คำถามที่ 3 : “หนักหัว ตัวร้อน ปวดหลังตั้งแต่คอ ลงไปถึงก้นกบ มีอาการปวดตา ดวงตาและในปากร้อนมาก และปากขม อาการลักษณะนี้คืออะไร?”

คำแนะนำจากจิตอาสาแพทย์วิถีธรรม :

      • “แพทย์วิถีธรรมมีการจำแนกโรคไม่เยอะ คือ โรคร้อนเกิน โรคเย็นเกิน และโรคร้อนเย็นพันกัน” วิเคราะห์จากอาการ “น่าจะเป็นภาวะร้อนเกิน”
      • “การแก้ไขอาการ” ตามหลักแพทย์วิถีธรรมแบบง่าย ๆ โดยวิธีการเอาพิษออกนั้น มีหลากหลายวิธีด้วยกัน ที่ทำได้เลย คือ ยาเม็ดที่ 2 “กัวซา” หลักการกัวซาไม่มีท่าที่ยาก แม้แต่คนที่อยู่ในดง หรือบนเขาก็ยังสามารถทำตามได้ “ขูดตามแนวเส้น” ได้เลย ร่างกายจะเบา “ผ่อนคลาย เริ่มจากกัวซา แล้วจึงเรียนรู้วิธีอื่น ๆ ร่วมด้วย” [คลิกเพื่อรับชมรายละเอียด ยาเม็ดที่ 2 “กัวซา”]

[คลิกเพื่อชมคลิปวิดีโอ]

สรุปเนื้อหาสาระในวันนี้ คือ “ถ้าคนคนนั้นยังเห็นข้อบกพร่องตัวเองอยู่ คนนั้นจึงจะยอมรับการแก้ไขได้ แต่ถ้าเขารู้สึกว่า ฉันดีแล้วจะไปแก้ไขทำไม คนแบบนี้ไม่ต้องหวังว่า เขาจะแก้ไขอะไรได้เลย” คือ โศลกธรรมของ “พ่อครูสมณะโพธิรักษ์” เป็นคำที่ค่อนข้างจะลึกซึ้งมาก เพราะคนเราถ้ายังไม่เห็นข้อบกพร่องตัวเอง ข้อบกพร่องนั้นก็จะไม่ได้รับการแก้ไขได้ แล้วจะทำให้เกิด “การจมปลัก” อยู่กับข้อบกพร่องไปตลอด “ถ้าเราแก้ไขได้ เราก็จะพบกับความผาสุกยิ่ง ๆ ขึ้นไป”

รายงานข่าวโดย :

สมหทัย สินก่อเกียรติ (หมวยหลิน) / ผู้บำเพ็ญ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *