รายการ “สายด่วน สุขภาพพึ่งตนวิถีธรรมวิถีไทย”
ช่วง ถามตอบ ปัญหาสุขภาพ
ตามหลักการแพทย์วิถีธรรม
โดย กลุ่มแพทย์แผนไทยวิถีธรรม ค้ำจุนโลก
วันพุธ ที่ 16 มีนาคม 2565
เวลา 15.00 – 17.45 น.
ประเด็นเด่นจากรายการ
-
- “ศิโรราบ” กับสิ่งที่ตนเองทำ วิบากดีเข้ามา
- เคย “ยึดดี” จนปวดหัว เพราะ “เพ่งโทษไปทั่ว”
- “หยุดหลง” ด้วยใจ จึง “หยุดโลภ”
- “อยากได้” จะไม่ได้ “วางใจแล้ว” จึงจะได้
- “งาน” ทางวัตถุน้อยลง รายได้ลดลง แต่ “สุข” มากขึ้น
- “วิบากกรรม” ของหลาน จึงทำให้ใจกังวล
- “ฟันหลอ” ยังไม่ขึ้น กลัวโดนเพื่อนล้อ
- “เริม” บริเวณข้างแก้ม และเหมือนบวมร้อนใน ดูแลรักษาอย่างไรดี?
- “มดลูก” มีก้อนแตกมีเลือดไหล ไม่ผ่าตัด ได้หริอไม่?
[คลิกเพื่อชมคลิปวิดีโอฉบับเต็ม]
วันนี้มีพี่น้องทั้งจิตอาสาแพทย์วิถีธรรมทั่วโลก และชาวค่ายเข้าร่วมรายการทั้งหมด 83 ท่าน ดำเนินรายการ โดย คุณกมลชนก ทุมวงษ์ (แหม่ม) คุณประภัสสร วารี (กุ้ง) และคุณวิจิตร ตันเดชานุรักษ์
รายการสายด่วนสุขภาพพึ่งตนวิถีธรรมวิถีไทย เริ่มต้นรายการด้วยยาเม็ดที่ 6 คือ มาร์ชชิ่ง [คลิกเพื่อชมคลิปวีดีโอ] และธรรมะเพื่อความผาสุก คือ การอ่านบททบทวนธรรมยาเม็ดที่ 8 ข้อ 91-100 [คลิกเพื่ออ่านบททบทวนธรรม] และข้อ 101 – 104 [คลิกเพื่ออ่านบททบทวนธรรม]
“ช่วงแบ่งปันความประทับใจในบททบทวนธรรม”
“ที่ได้นำมาใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อดับทุกข์ใจ”
บททบทวนธรรม ข้อที่ 91 – 104 ทุกข้อ
คุณจั๊กจั่น : “บททบทวนธรรมที่ได้ฟังข้างต้นทั้งหมด เป็นสิ่งที่สอดคล้องกับทุกดวงจิตวิญญาณ” และบททบทวนธรรมเป็นสิ่งที่ควรจะปฏิบัติตาม เพราะทำให้สุขใจ หากยอมรับความเป็นจริงของทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่เราเคยทำผิดพลาดไป หรือสิ่งที่ทำไม่ดี “เพียงแค่ยอมรับ ทุกข์ใจมันก็ลดลง” ทุกอย่างเป็นไปตามวิบากดีหรือวิบากร้าย หากยอมรับด้วยใจอย่าง “ศิโรราบ” ก็จะทำให้วิบากดีเข้ามา
บททบทวนธรรม ข้อที่ 99 “ยึดมั่นถือมั่น ทำให้ “ใจเป็นทุกข์” จะมีวิบากร้ายมาทำลาย ทำให้ไม่สำเร็จหรือสำเร็จช้า หรือสำเร็จเร็วแต่มีเรื่องร้าย เป็นบาป มีวิบากร้ายเจือ ผลไม่สมบูรณ์ จะสำเร็จความผาสุกทางจิตวิญญาณ ที่ยอดเยี่ยมยั่งยืนช้าที่สุด ทำให้เกิดการบาดเจ็บปวดร้าว ทางจิตวิญญาณได้มากที่สุด และเป็นพลังที่ทำให้ตน หรือผู้อื่นทำชั่วได้ทุกเรื่อง”
คุณปภาพิศา มงคลธนาวุฒิ : ในอดีตช่วงแรกที่เพิ่งได้เข้ามาศึกษาแพทย์วิถีธรรมใหม่ ๆ จะมี “ความกังวลในการใช้โปรแกรมซูม (Zoom) และการใช้โทรศัพท์” มีความรู้สึกว่าตนเองมุ่งมั่น และตั้งใจมาก จนเกิดความเครียด จึงมีผลต่อเนื่อง คือ “ปวดหัว” ทำให้เพ่งโทษลูกว่า “โทรศัพท์ไม่ได้เรื่อง ทำไมจึงทำให้พลาดทุกครั้งในการใช้งาน” และก็ไป “เพ่งโทษสุนัข” ต่ออีก เป็นไปเรื่อย ๆ จนทำให้มี “วิบากร้ายเข้ามา” คือ อุ่นอาหารให้สุนัข และมีควันขึ้นจากไมโครเวฟ จึงคิดกับตนเองว่า “การเรียนธรรมะของอาจารย์หมอเขียวในช่วงแรก แล้วทำไมตนเองจึงไม่ได้อะไรเลยหรือ?” จนเรียนรู้ไปเรื่อย ๆ จึงทราบว่านี่คือ “การยึดมั่นถือมั่น ที่ทำให้ใจเป็นทุกข์” สิ่งที่ต้องทำ คือ “ไม่ยึดมั่นถือมั่น และปล่อยวาง จึงจะทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างดีขึ้น” หลังจากที่วางได้แล้ว คิดว่า “จะเข้าโปรแกรมซูม (Zoom)ได้ก็ได้ ไม่ได้ก็ได้” หากเข้าไม่ได้ ก็ไม่เป็นไร ก็สามารถเข้าไปดูจากช่อง YouTube ได้ เมื่อคิดได้แบบนี้ ก็ตอบตนเองได้ว่า “เราก็ทำได้!”
คุณประภัสสร วารี : วิบากกรรมในการเพ่งโทษนั้น ลามไปจนถึงลูก ต่อไปถึงสุนัข จนไปถึงไมโครเวฟ “จิตในการเพ่งโทษนั้น ไม่ได้เป็นความยึดในโทรศัพท์เพียงเรื่องเดียว” แต่เป็นสามารถสร้างทุกข์ให้เกิดขึ้นได้มากขนาดนี้
บททบทวนธรรม ข้อที่ 101 “ต้องไม่ยึดมั่นถือมั่นให้ได้…จึงจะได้”
คุณดวงใจ นวลดี : เนื่องจากคุณแม่มีที่ดินทั้งหมด 3 แปลง ซึ่งคุณแม่จะแบ่งให้ลูกทั้ง 3 พี่น้อง แต่ตนเอง “หลงยึด” ในอดีตทำให้เป็น “คนโลภ” เพราะพี่น้องท่านอื่นได้เรียนจบปริญญาตรีทั้งหมด แต่ตนเองต้องเป็นผู้ที่ทำงานหนักหาเลี้ยงครอบครัวมากับคุณพ่อคุณแม่โดยตลอด หลงคิดว่าตนเองได้สละ และทำทุกอย่าง จึงอยากให้ที่ดินเป็นของตนเองทั้งหมด และตนเองมีความอยากได้ที่ดินแปลงด้านหน้า ในเวลานั้นจึงรู้สึก “น้อยใจมาก” ที่คุณแม่มอบที่ดินแปลงนั้นให้กับพี่สาว
พี่น้องในครอบครัวคุณแม่ให้โอนที่ดินเสียที เพราะหากถ้าคุณแม่เสียชีวิตแล้ว จะทำให้มีความยุ่งยากในการโอน หากดำเนินการเรียบร้อยแล้ว จะได้สามารถทำสิ่งอื่น ๆ ได้
หลังจากที่ได้พบแพทย์วิถีธรรมและอาจารย์หมอเขียว และได้ศึกษา การใช้ชีวิตแบบ “เศรษฐกิจพอเพียง” กินน้อย ใช้น้อย มาจนถึงทุกวันนี้ ตนเองรู้สึกว่า “เฉย ๆ” อยู่ได้ก็ได้ ไม่ได้ก็ไม่เป็นไร หากคุณแม่เสียชีวิตไป ก็คงเป็นไปตามนั้น ตอนนี้ไม่มีความอยากจะได้อะไรเลย กลายเป็นว่าคุณแม่นัดหมายให้โอนที่ดินทันที ทั้ง ๆ ที่ตอนนี้ตนเองไม่ได้อยากได้แล้ว
คุณประภัสสร วารี : เป็นตัวอย่างที่ดีในเรื่อง “การวางใจ ไม่อยากได้ หรืออยากได้” เหมือนกับเรื่องการหาโทรศัพท์ตามที่อาจารย์หมอเขียวเคยสอนว่า “ตอนอยากหาให้เจอ ก็ไม่เจอ แต่ตอนวางใจว่า ไม่เจอก็ได้ กลับหาเจอทันที”
คุณอรุณรัตน์ ไกรลาศศิริ : “ใจผาสุกได้ทันที ตั้งแต่คิดวางใจได้” เชื่อว่าเราทุกคนล้วนมีสภาวะนี้กัน ที่หลงคิดว่า “สถานะของตนเองน่าจะได้เท่านั้น แต่ทำไมตนเองจึงได้เท่านี้” คิดไปว่าผู้อื่นมีเยอะแล้ว สิ่งนี้น่าจะพอเหมาะกัน แต่อย่างที่อาจารย์หมอเขียวสอนไว้ว่า “ไม่มีความถูกหรือความผิด มีแต่ความสุขหรือความทุกข์ ถูกหรือผิดนั้นไม่มีจริง” แต่ละท่านก็มีมุมมองในแง่ของตัวเอง สุดท้ายทุกอย่างก็จะมาเองจริง ๆ
บททบทวนธรรม ข้อที่ 103 “ทุกข์ย่อมไม่ตกถึง ผู้ที่เข้าใจ เชื่อ และ ชัด เรื่องกรรมอย่างแจ่มแจ้ง”
คุณธมกร พลสุวรรณ : มีความเชื่อมั่นในเรื่อง “กรรม” มากที่สุด ไม่ว่าอะไรที่จะเกิดขึ้นในชีวิตก็ตาม “ทุกสิ่งล้วนมีเหตุปัจจัย เป็นทั้งกรรมดีและไม่ดีที่ได้สะสมสร้างไว้ จึงส่งผลมาในภพนี้ รวมถึงกรรมปัจจุบันที่ได้กระทำไว้ ก็ยังส่งผล” ตามที่อาจารย์หมอเขียว ได้กล่าวไว้ คือ “กรรมมี 2 ส่วน ส่วนหนึ่งมาจากกรรมเก่า อีกส่วนหนึ่งมาจากกรรมใหม่ผสมกัน”
ตามประสบการณ์ที่ได้พบเจอ คือ ก่อนหน้าที่จะได้พบอาจารย์หมอเขียว และแพทย์วิถีธรรม เคยสนใจซื้อที่ดินแปลงหนึ่ง จึงได้ไปทาบทามขอซื้อกับทางเจ้าของที่ดินแปลงนั้น เพื่อที่จะนำมาทำกสิกรรม และปลูกผัก จะได้มีกิจกรรมทำในวันพักผ่อนช่วงเสาร์อาทิตย์ แต่เจ้าของที่ดินไม่ยินดีที่จะขาย เพราะต้องการจะเก็บไว้ให้ทายาทของตนเอง เนื่องจากเมื่อได้ศึกษาธรรมะแล้ว ได้เห็นท่านอื่นปลูกนั่นปลูกนี่ แล้วทำไมตนเองจะไม่ปลูกบ้าง ที่ผ่านมาตนเองปลูกดอกไม้ที่ให้ “เพียงความสวยงามเท่านั้น” แต่อยู่ดี ๆ เดือนที่แล้ว เจ้าของที่ดินแปลงตกลงจะขายที่ดินให้ พอได้ยิน ก็รู้สึกดีใจมาก “จึงยิ่งเชื่อชัดเรื่องของกรรมในสิ่งที่ตนเองได้ทำไว้” และส่งผลให้สามารถซื้อที่ดินได้ โดยเจ้าของที่ดินยินยอมขายในราคาที่ตนเองรับได้ด้วย และอีกเหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้นในสัปดาห์ที่แล้ว มีผู้ใหญ่ท่านหนึ่งแจ้งมาว่า จะแบ่งที่ดินย่านปทุมธานีให้ เพื่อที่จะได้อยู่ใกล้ ๆ กัน เพราะท่านมีที่ดินจำนวนมาก ซึ่งได้ซื้อมานานแล้ว และซื้อมาในราคาถูกมาก “เรื่องนี้คงเป็นวิบากกรรมที่ตนเองได้ทำความดีกับผู้ใหญ่ท่านนี้ไว้ จึงได้ส่งผลมาในปัจจุบัน” โดยเริ่มทำกสิกรรม ช่วยกันกับผู้ที่ดูแลที่ดินแปลงนั้น เนื่องจากได้รับเมล็ดพันธุ์จากพี่น้องหมู่มิตรดีในเฟซบุ๊ก จึงลองมาปลูกในกระบะ บริเวณใต้ต้นไม้ ปลูกมาแล้วหลายเดือน แต่ยังปลูกไม่ขึ้น หลังจากนั้นคนรู้จักได้มาเยี่ยมที่บ้าน จึงแนะนำว่าให้ปลูกกลางแดด จึงจะขึ้น จากนั้นจึงย้ายไปในวงบ่อที่มีแดด ปรากฏว่าตอนนี้พืชออกรวงแล้ว แต่ยังออกไม่มาก
คุณประภัสสร วารี : นอกจากเชื่อชัดในเรื่องกรรมแล้ว และด้วยใจที่ไม่ยึดมั่นถือมั่นในความอยากได้ที่ดิน เพราะหากมีความยึดมั่นถือมั่น เจ้าของที่ดินก็อาจจะยังไม่ขายให้ก็ได้ มีพี่น้องท่านหนึ่งได้มาส่งการบ้านเรื่องกสิกรรม ท่านเล่าว่า ท่านได้ขุดดินด้วยตนเอง เป็นเวลา 2 ชั่วโมง และหากคุณธมกรต้องการศึกษาข้อมูลกสิกรรม ก็สามารถเข้าไปเยี่ยมชมในเฟซบุ๊กได้ ชื่อกลุ่ม “กสิกรรมไร้สารพิษชีวิตผาสุก” ในกลุ่มพี่น้องจะมาแจกจ่ายปัญญาในการทำกสิกรรม ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ “ใบข้าว” หากปลูกข้าวได้สูงประมาณ 1 คืบแล้ว ก็สามารถนำมาปั่นทำเป็น “น้ำสมุนไพรฤทธิ์เย็น” ได้เลย ซึ่งจะใช้ใบอ่อนหรือใบแก่ก็ได้
คุณอรุณรัตน์ ไกรลาศศิริ : เมื่อวางใจหยุดอยากได้ ก็จะได้ทันที ตอนนี้พวกเราก็มีสมาชิกท่านใหม่เพิ่มอีก 1 ท่าน ในด้านการทำกสิกรรมไร้สารพิษ ก็จะได้มีผลงานเพื่อนำมาส่งเป็นการบ้าน “หัวข้อกสิกรรม” ต่อไปใน “สถาบันวิชาราม” หรือ “หมอเขียวดอทเน็ต” หรือจะส่งมาทางไลน์โอเพนแชท “กสิกรรมไร้สารพิษชีวิตผาสุก” ก็ได้เช่นกัน ตามรายละเอียดด้านล่างนี้
[คลิกลิงก์เพื่อศึกษา “กสิกรรมไร้สารพิษ” ใน “หมอเขียวดอทเน็ต”]
[คลิกลิงก์เพื่อแบ่งปันการบ้าน ของ “สถาบันวิชาราม”]
[คลิกลิงก์เพื่อเข้าร่วมเฟซบุ๊ก “กสิกรรมไร้สารพิษชีวิตผาสุก”]
[คลิกลิงก์เพื่อเข้าร่วมไลน์โอเพนแชท “6.กสิกรรมไร้สารพิษ ชีวิตผาสุก”]
บททบทวนธรรม ข้อที่ 102 “ทำตามจริงที่เป็นไปได้จริง ชีวิตก็ไม่มีอะไรทุกข์”
คุณเพิ่มพูล ชมภูรัตน์ : เนื่องจากมีอาการป่วย “จึงได้ปรับการทำงานให้น้อยลง” จะทำงานเพียงวันเว้นวัน ซึ่งลักษณะงาน คือ ทำถึงจะได้เงิน ช่วงที่เว้นการทำงานไป ตนเองก็จะไม่ได้รับเงินเลย “รายได้ลดน้อยลงไปประมาณครึ่งต่อครึ่ง” ในช่วงแรกรู้สึกทุกข์ใจ ไม่แน่ใจว่าตนเองจะทำได้หรือไม่? เพราะค่าใช้จ่ายของตนเองก็เยอะ แต่ภายหลังก็สามารถปรับตัวได้ ทำความเข้าใจว่า เป็นระยะที่ตนเองต้องพักผ่อนก่อน เพราะร่างกายก็ไม่ได้ปกติ มีความเครียดเข้ามา ก็พยายามทำใจกับ “เงินที่เหลืออยู่เพียงครึ่งเดียว หากจะให้อยู่ได้ ต้องทำอย่างไร?” ยอมรับว่าต้องปรับตนเองเยอะเลย พอคิดได้อย่างนั้นก็จัดสรรว่าจใช้เงินเท่าไหร่ หรือจะใช้กินเท่าไหร่ ตอนนี้ก็ไม่มีอะไรที่จะต้องคิดมากแล้ว สบายใจขึ้นเยอะมาก ตอนนี้มีความสุขดี เนื่องจากตนเองก็ไม่ค่อยได้ไปไหน จึงทำให้สิ้นเปลืองน้อยที่สุด เพราะพยายามอยู่กับที่ จะไปเฉพาะวันที่ทำงานเท่านั้น ซึ่งตนเองก็จะมีสวนครัวมุมเล็ก ๆ บริเวณหลังบ้าน พืชอาจไม่ค่อยได้โดนแดด แต่ก็มีพืชที่ปลูกไว้แล้ว จนตอนนี้ “ไม่ต้องซื้อ” เช่น คะน้าเม็กซิกัน (ไชยา) วอเตอร์เครส ย่านางจะปลูกให้เลื้อยไปเรื่อย ๆ จิงจูฉ่ายก็ได้นำเอามาใส่ต้มจืดเป็นประจำ และเพาะถั่วงอกเองนำมารับประทานหลายครั้งแล้ว จะมีปัญหาที่ดินโปร่ง หรือแน่นเกินไป
คุณประภัสสร วารี : ในอดีตเคยเห็นคุณเพิ่มพูลจะมักเข้ามาสอบถามเรื่องสุขภาพ แต่ตอนนี้เปลี่ยนมาแบ่งปันประสบการณ์ของตัวเอง สิ่งสำคัญที่สุด คือ “ใจ” ช่วงนี้หากมองในมุมเหมือน “เหรียญที่มีสองด้าน” ตอนนี้สุขภาพไม่ดี ช่วงนี้ก็จะได้พักผ่อน หากคิดแบบนี้ก็จะทำให้สบายใจมากขึ้น ในส่วนของการทำกสิกรรม ก็สามารถนำเศษอาหารมาใส่ถัง หมักกับน้ำจุลินทรีย์ หรือน้ำสมุนไพรในตัว (ปัสสาวะ) หมักไว้สักประมาณ 1-2 วันหรือ 1-2 สัปดาห์ จากนั้นนำมารดพืช เพื่อบำรุงดิน เมื่อละลายแล้ว พืชจะโตไวมาก “เคล็ดลับ คือ ปรุงดินให้ดีตั้งแต่เริ่มต้น ก็จะทำให้พืชออกมามีผลดีด้วยเช่นกัน” และก้านของ “คะน้าเม็กซิกัน (ไชยา)” ยิ่งตัดยิ่งแตก อย่าปล่อยให้สูง มากกว่านั้นในช่วงโควิด หากมือของเราได้ไปคอยเด็ดไม้ใบไม้ จับดิน และต้นไม้ พิษก็จะระบายออกมาจากร่างกาย “โดยที่ไม่ต้องไปเสียเงิน”
คุณอรุณรัตน์ ไกรลาศศิริ : “เมื่อทำกสิกรรม ปลูกพืชผักเองให้มากขึ้น ก็จะเป็นประโยชน์ในหลายด้าน ไม่ใช่เพียงในเรื่องเศรษฐกิจ และการลดค่าใช้จ่ายในบ้านไปได้เยอะเพียงอย่างเดียว แต่เป็นเรื่องสุขภาพด้วยเช่นกัน เพราะเมื่อที่ปลูกพืชปลูกผัก ใจก็จะผ่อนคลาย สบายใจ ทำให้สุขภาพร่างกายแข็งแรงด้วย” มาถูกทางแล้ว ที่ให้ชีวิตของตนเองมีความเรียบง่าย ไม่ต้องไปซื้อพืชมาทำอาหาร เป็นสิ่งที่ดีที่สุด
บททบทวนธรรม ข้อที่ 104 “ผู้ที่เข้าใจเชื่อ และชัดเรื่องกรรมอย่างแจ่มแจ้ง จะเอาทุกข์มาแต่ไหน”
คุณเพ็ชรรัตน์ โตจรูญ : ในช่วงที่หลานสาวยังมีอายุน้อยกว่านี้ เคยมีเหตุการณ์ที่มีเด็กขี่จักรยานมาชนหลาน จน “ฟันหลุด” คู่กรณีได้มาขอโทษแล้ว แพทย์แจ้งว่า ฟันอาจจะขึ้นช่วงอายุ 7-8 ขวบ แต่ตอนนี้ผ่านไปมากกว่า 4 ปีแล้ว ปัจจุบัน “ฟันก็ยังไม่ขึ้น” นี่คือวิบากร้ายของหลานที่ต้องได้รับหรือไม่?
“ช่วงถาม-ตอบปัญหาสดในรายการ”
คุณเพ็ชรรัตน์ โตจรูญ
คำถามที่ 1 : ในช่วงที่หลานสาวอายุ 3 ขวบ เคยได้รับอุบัติเหตุ คือ มีเด็กขี่จักรยานมาชน จน “ฟันน้ำนม” ด้านหน้าที่เป็นฟันเขี้ยวหักและหลุดออกไป มีอาการเลือดไหลเยอะมาก นำไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาล แพทย์แจ้งว่า “ไม่ยืนยันว่า ฟันจะขึ้นเมื่อไหร่” แต่ฟันอาจจะขึ้นช่วงอายุ 7-8 ขวบ ปัจจุบันหลานสาวอายุจะครบ 8 ขวบแล้ว แต่ฟันที่หลุดออกไป “ก็ยังไม่ขึ้น” ปกติจะไปพบคลินิกทันตกรรมเด็กเป็นประจำในทุกปี แต่ตั้งแต่ช่วงมีโรคระบาด คลินิกปิด จึงไม่ได้ไปพบแพทย์มาเป็นเวลา 2 ปีแล้ว “ไม่รู้ว่าจะไปพบแพทย์ได้อย่างไร?” “และช่วงไปโรงเรียน หากหลานสาวต้องเปิดหน้ากากอนามัยออกมา ในเวลารับประทานอาหาร เพื่อนอาจมองเห็นว่า “ฟันหลอ” ทำให้หลานสาว “กลัวโดนเพื่อนล้อ” มีความกังวล และกลุ้มใจว่า ทำอย่างไรฟันจึงจะขึ้น?
คำแนะนำจากจิตอาสาแพทย์วิถีธรรม :
-
-
- ต้องพบ “ทันตแพทย์เด็ก” อีกครั้ง ว่าการกระแทกแรง ๆ อาจเกิดความผิดปกติอะไรมากกว่าเดิมหรือไม่?
- แนะนำให้ผู้ถามเข้ามาสอบถามอีกครั้งกับ “ทพญ.สิริรัตน์ ธนพรไพศาล (หมอรัตน์ ผ่องพิมพ์พุทธ) ทันตแพทย์ ซึ่งเป็นจิตอาสาแพทย์วิถีธรรม” อีกครั้ง ในรายการสายด่วน สุขภาพพึ่งตนวิถีธรรมวิถีไทย ในวันศุกร์
- ไม่ต้องกังวลในเรื่องว่า “ฟันห่าง” เมื่ออายุมากขึ้น ฟันก็สามารถขยับเข้าได้ สิ่งที่ได้รับฟังจากทันตแพทย์ เป็นเพียง “ค่าเฉลี่ย” เท่านั้น
- เป็น “ปกติ” ที่ฟันจะขึ้นตามลำดับอยู่แล้ว “ฟันมี 2 ชุด คือ ฟันน้ำนม และฟันแท้” โดยพัฒนาจากฟันน้ำนม หลังจากฟันน้ำนมหมดไป ฟันแท้จึงจะมา
- “การดูแลรักษา” ให้ฟันแท้อยู่ได้นาน ๆ ด้วยการแปรงฟัน ไม่รับประทานขนม
- การที่เพื่อนล้อ เพียงเพราะอยาก “สนุก” หากไม่เอาความรู้สึกอายเข้ามาไว้ในใจ และ “อยู่เฉย ๆ ไว้” ไม่นานเพื่อน ๆ อาจเบื่อ ก็จะ “เลิกล้อ” ไปเอง
- ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า “ความอาย คือ ความทุกข์” หากยิ่งกลัว ก็ต้องปิดหน้ากากอนามัยไปตลอดเวลา จึงต้องฝึก “พูดความจริงกับกิเลส” เอาความกล้าไปสวนกิเลส ให้ไม่มีความอาย และไม่มีความกลัว วันหลังกิเลสหลอกให้ฟัง ก็อย่าปล่อยให้กิเลสหลอกว่า เพื่อนล้อ และจะต้องอาย บอกกิเลสว่า “เมื่อฟันหลุดไปแล้ว แต่หากดูแลรักษาให้ดี ฟันก็จะแข็งแรง อยู่ได้นาน ฉันไม่เชื่อเธอหรอก กิเลส” และตั้งศีลขึ้นมา ใครจะล้อ ก็ไม่จำเป็นต้องกลัว จะกลัวไปทำไม หากไม่ได้เป็นอย่างที่เพื่อนล้อ และ “เป็นสิ่งที่ดีแล้วที่หลานไม่เคยล้อเพื่อน เพราะการล้อเพื่อนเป็นสิ่งที่ไม่ดี”
- กิเลสชอบที่เพื่อนไม่ล้อ และชังที่เพื่อนล้อ “กลัวไปเอง” จนทำให้อายในเรื่องที่ไม่จริง จริง ๆ เพื่อนยังไม่ได้ล้อเลย แสดงว่าไม่ใช่ของจริง ทำไมจึงไปเชื่อกิเลส? กิเลสทำให้เหมือนเป็นจริง จึงทำให้หลานรู้สึกกลัว “จะเสียพลังไปกับกิเลสทำไม?” ลองกลับไปสู้ใหม่ ต้องไล่ให้กิเลสไปอยู่ห้องแดง (ทุกข์) ส่วนตนเองจะอยู่ห้องเขียว (พุทธะ) แต่ถ้าเพื่อนมาล้อจริง ๆ ในตอนนั้นแล้วค่อยมาว่ากัน
- “หากยิ่งกลัวเพื่อนล้อ ก็จะดึงให้เพื่อนมาล้อ” เพราะฉะนั้น “วางใจไม่ต้องกลัว แต่ให้กล้ารับไปเลย”
- คำว่า “ฟันหลอ” นั้น ไม่ได้น่าเกลียด ฟันหลอ หมายถึง ฟันที่เรียงติดกันแล้ว มีฟันที่หายไป แหว่งไป มีเพียงชื่อเรียกว่า “หลอ” ไม่ได้เรียกว่า “น่าเกลียด” ซึ่งหากเปรียบเทียบกับการโยนโบว์ลิ่ง หากโยนแล้วห่างกันไป ก็ยังเรียกว่า “หลอ” ได้เช่นกัน
-
คุณบุษกร วรรธนะภูติ
คำถามที่ 2 : คุณแม่อายุ 95 มีอาการเป็น “เริม” บริเวณข้างแก้ม และเหมือนบวมร้อนใน คุณแม่พูดออกเสียงไม่ค่อยได้ และหูดับไป 1 ข้าง จึงไม่ค่อยได้ยินเสียง ปัจจุบันไม่ได้เป็นผู้ป่วยติดเตียง ยังสามารถขึ้นมานั่งคุย และรับประทานอาหารได้ แต่ต้องมีคนคอยช่วยเหลือ ดูแลรักษาอย่างไรดี? สามารถใช้น้ำสกัดฤทธิ์เย็นฉีดเข้าไปในปากได้หรือไม่?
ซึ่งข้อมูลของคุณแม่ มีดังนี้
การรับประทานอาหารของคุณแม่:
- คุณแม่ไม่มีฟันแล้ว ทำอาหารทั้งแบบบดหรือปั่น แต่ไม่ได้ปั่นให้รับประทานทุกมื้อ
- เมื่อวานนี้ ผู้ดูแลให้คุณแม่รับประทาน “ต้มสายบัว” ซึ่งมีส่วนผสมของ “กะทิ” และต้มข้าวชนิดหัก ไร้สารพิษ ผสมกับผักคะน้าแม็กซิกัน (ไชยา) ที่ได้ซื้อมาจาก “สวนป่านาบุญ 3”
- เมื่อ 2 วันที่ผ่านมา คุณแม่รับประทาน “ขนมปังแยมโรล” 1 มื้อ
- ในทุกวัน “การปรุงอาหาร” จะใส่ “น้ำมัน” เป็นส่วนผสมให้คุณแม่รับประทาน
- คุณแม่ยังรับประทานเนื้อสัตว์อยู่ เช่น ปลาทู ปลานิล กุ้ง
- “ปั่นผลไม้” ให้คุณแม่ดื่มเป็นประจำ ส่วนใหญ่จะปั่นผสม เช่น กล้วย องุ่น สับปะรด ส้ม
- เนื่องจากที่บ้านได้มีปลูกผักคะน้าแม็กซิกัน (ไชยา) วอเตอร์เครส และอ่อมแซบด้วย จึงมีให้ได้รับประทานบางครั้ง
การดูแลรักษาคุณแม่ และสภาพกายใจ :
- ทา “น้ำมันเขียว” บริเวณคอให้คุณแม่
- คุณแม่สามารถขับถ่ายได้สบาย จากการรับประทาน “ยาระบาย” ที่ทางแพทย์จ่ายยาให้ แต่ในช่วง 2-3 วัน ที่ผ่านมา ยาระบาย “หมด”
- ปัจจุบันยัง “ไม่กล้าสวนล้างลำไส้ใหญ่” ให้คุณแม่ เพราะตนเองเพิ่งเคยทำไปเพียง 2 ครั้ง
- ก่อนหน้าคุณแม่ “ไม่ได้นอนหลับทั้งช่วงกลางวัน และกลางคืน มาเป็นเวลา 3 วันแล้ว” โดยปกติจะไม่นอนพักผ่อนช่วงใดช่วงหนึ่ง อาจเป็นกลางวัน หรือกลางคืน
- ในอดีตคุณแม่เลี้ยงลูก 7 คน และเคยไหล่หลุด แต่คุณแม่ก็ดูแลตัวเองได้ดี
คำแนะนำจากจิตอาสาแพทย์วิถีธรรม :
-
-
- วิเคราะห์จากอาการ จะเป็น “ภาวะร้อนเกิน” แนะนำให้ผู้ดูแลคอยสังเกต และตามดูอาการของท่าน เนื่องจากตอนนี้คุณแม่คงจะพูดไม่สะดวก และอาจสื่อสารค่อนข้างยาก ที่จะทำให้ทราบถึงสภาวะร่างกายของท่าน
- “ยาที่ใช้ทา” หากใช้แล้วดีขึ้น ก็สามารถใช้ทาไปก่อนได้
- สามารถใช้ “น้ำสกัดย่านาง” ในการฉีดบริเวณที่มีอาการร้อนเกิน ในตอนนี้ยังไม่จำเป็นต้องใช้น้ำสมุนไพรในตัว (ปัสสาวะ) และยังสามารถใช้ “น้ำมันเขียว” ต่อได้ เท่าที่สบายได้ตามปกติ แต่หากอาการไม่ดีขึ้น แนะนำให้ “หยุดใช้” ได้ตลอด
- แนะนำให้ลองพาผู้ป่วย “ตั้งศีล” เนื่องจากมีกรณีศึกษาของผู้ป่วยที่ติดเตียง ซึ่งได้มีการแนะนำให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารฤทธิ์เย็น และงดเนื้อสัตว์ใหญ่ หลังจากที่ผู้ป่วยได้ลองปฏิบัติตาม ปรากฏว่าในวันรุ่งขึ้นปาฏิหาริย์เกิดขึ้น คือ ผู้ป่วยสามารถลุกขึ้นจากเตียงได้ จากเดิมที่นอนได้เพียงอย่างเดียว ลูกสาวของผู้ป่วยเล่าว่า “เกิดจากการตั้งศีล”
- ผู้ดูแลมีความใส่ใจในคุณแม่เป็นอย่างดี แนะนำให้ “ลองเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารให้กับคุณแม่” งดรับประทานเนื้อสัตว์ เพราะทำให้ย่อยยาก ทำอาหารตามที่เคยได้เรียนโภชนาการมา “โดยปั่นอาหารให้ละเอียด” ปั่นรวมข้าวต้ม ผักลวก ถั่ว หรือน้ำนมธัญพืช เพิ่มรสชาติด้วยดอกเกลือ ไม่ต้องน้ำตาล แต่หากต้องใส่น้ำตาล ก็ใส่เพียงเล็กน้อย ลดการปรุงด้วยน้ำมันลงมาเล็กน้อย ปรุงให้เป็นลักษณะคล้าย “โจ๊ก” แต่มีสีเขียวของผัก หากลองปฏิบัติวิธีนี้ เป็นเวลาประมาณ 5 วัน “ร่างกายก็จะย่อยอาหารได้ดียิ่งขึ้น” เพราะกลืนง่ายมากยิ่งขึ้น อยู่ท้อง อิ่มสบายดี เหมาะกับผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับช่องปาก เช่น ฟัน ผู้ที่มีปัญหาทางสายตายาว ผู้ป่วยติดเตียง หรือผู้ที่ต้องรับอาหารทางสายยาง
คลิกเพื่อรับชมคลิปวิดีโอ [อาหารปั่นฟื้นฟูเซลล์ 3 สูตร] - “อาการนอนไม่หลับ” สามารถใช้เมนู “แกงขี้เหล็ก” ก็สามารถนำมาให้ผู้ป่วยรับประทานได้ เนื่องจากแกงขี้เหล็กเป็น “ยานอนหลับที่ดี” โดยให้รับประทานช่วงเช้า เย็น หรือก่อนนอนก็ได้ หากทำออกมาแล้ว รับประทานไม่หมด ก็สามารถแช่ตู้เย็น และนำมาอุ่นใหม่ได้ ลักษณะการทำเมนูนี้ จะเหมือน “แกงอ่อมอีสาน”
- “หลีกเลี่ยงและลดการรับประทานผลไม้หวาน หรืออาหารที่เป็นพิษมากไปก่อน” เช่น องุ่น ของหวาน อาหารปรุงแต่งทุกชนิด ฯลฯ เพราะเป็น “ฤทธิ์ร้อน และมีการฉีดสารเคมีค่อนข้างเยอะ ต้องระมัดระวังและราคาแพงด้วย” แนะนำให้ปรับเปลี่ยนเป็นรับประทาน “กล้วยน้ำว้า สับปะรด มะละกอห่าม หรืออาจเป็นมะละกอสุก ก็อาจพอได้ และหากสามารถใช้ผักที่ปลูกเองได้ จะยิ่งเป็นผลดีต่อผู้ป่วย”
- “รางจืด” สามารถนำมาขยี้ หรือคั้นเอาแต่น้ำ หรืออาจจะนำมาต้มกับใบเตย หรือเคี้ยวรับประทานสดก็ได้ โดยรับประทานในช่วงเช้า เย็น หรือก่อนนอน หรือจะทั้ง 3 เวลาก็ได้ หลังจากรับประทานไป สักพักจะมีอาการ “ง่วง” มีสรรพคุณในการปรับสมดุลร่างกาย สามารถแก้อาการเป็นไข้ ตัวร้อน ลดอาการกระหายน้ำ
- “อ่านบททบทวนธรรม” ให้ผู้ป่วยฟัง จะทำให้สามารถวางใจยอมรับ และสำนึกผิดในสิ่งที่ตนเองได้ทำ โดยอาจลองค้นหาดูว่า น่าจะมีบททบทวนธรรมข้อใดที่ตรงกับชีวิตของผู้ป่วย เช่น เคยได้สร้างกรรมทำให้ผู้อื่นนอนไม่หลับเอาไว้ในอดีต ฯลฯ และที่สำคัญคือ “หาความยินดีมาให้ผู้ป่วย”
- อาการ “ปัสสาวะไม่ออก” บางครั้งอาจไม่ต้องทำอะไรเลย เพียงวางใจเฉย ๆ ในวันถัดไปปัสสาวะต้องจะออกมาเอง และเยอะมาก
- ใช้ยาเม็ดที่ 5 คือ “พอก” โดยใช้ “ใบย่านางหรือรางจืด” นำมาขยี้ ทุกครั้งบนจุดบริเวณที่มีอาการคัน
- ไม่ว่าจะเป็น “รางจืด” หรือสมุนไพรใดก็ตาม “สามารถใช้ติดต่อกันได้ไม่เกิน 1 สัปดาห์” และต้องเว้นระยะ หากต้องการการใช้สมุนไพรชนิดนั้นอีกในครั้งต่อไป
- การดูแลคุณแม่ ซึ่งเป็น “พระอรหันต์องค์แรก” ที่ลูกทุกท่านต้องคอยดูแลให้ดี
-
คุณนาลี วิไลสัก
คำถามที่ 3 : คุณน้าป่วย มีอาการ “มดลูก” มีเลือดออกมาเยอะ และมีก้อนเนื้อเป็นเม็ดเล็ก 3 เม็ดบริเวณตรงโพรงมดลูก ซึ่งก้อนแตกมีเลือดไหลออกมา
เนื่องจากลูกเขยทำงานเป็น “เจ้าหน้าที่สุขภาพทางการแพทย์แผนปัจจุบัน” ต้องการให้ผู้ป่วย “ผ่าตัดมดลูก” ออกไป เมื่อผู้ป่วยได้ยิน จึงมี “ความกลัว” และกังวลว่าจะต้องมีอาการเจ็บจากการผ่าตัด ปัจจุบันผู้ป่วยยังรับประทานเนื้อสัตว์อยู่ จะนำสมุนไพรให้ผู้ป่วยดื่ม ก็รู้สึกเกรงใจลูกเขย ครั้งนี้อาจเป็นวิบากร่วม
ลูกสาวของผู้ป่วยจึงอยากทราบว่า “หากไม่ผ่าตัดออก จะสามารถรักษาคุณแม่ด้วยศาสตร์แพทย์วิถีธรรม ได้หรือไม่?”
คำแนะนำจากจิตอาสาแพทย์วิถีธรรม :
-
-
- “ใบสาบเสือ” มีสรรพคุณในการช่วยให้ “เลือดหยุดไหล” หากที่บ้านมีการทำ “น้ำสมุนไพรฤทธิ์เย็น หรืออาจเป็นน้ำมะพร้าว (ไม่ใช้เนื้อมะพร้าว)” แนะนำให้เพิ่มใบสาบเสือเข้าไปด้วย มีกรณีศึกษาจากต่างประเทศของผู้ป่วยเป็น “มะเร็งมดลูก” ซึ่งมีเลือดออกที่มดลูก มารักษาในประเทศไทย หลังจากที่ใช้ใบสาบเสือผสมในน้ำสมุนไพรฤทธิ์เย็น แล้วนำมาดื่ม เลือดจึงหยุดไหลเพราะสาบเสือเข้าไปช่วยห้ามเลือดได้
- ดูองค์ประกอบที่มาจากผู้ป่วย และญาติรอบข้างเป็นหลัก ไม่จำเป็นต้องเลือกแผนใดแผนหนึ่ง “สามารถใช้ควบคู่กันได้” ทำความเข้าใจทางฝั่งลูกเขยที่มีความหวังดี และไม่อยากให้คุณแม่มีอาการเลือดไหลไม่หยุดเช่นกัน เพื่อที่จะได้ลดความขัดแย้ง และไม่มีปัญหากันในครอบครัว ใช้แผนปัจจุบัน และก็เสริมในส่วนของแพทย์วิถีธรรมเข้าไป ซึ่งผู้ถามมีประสบการณ์ในการใช้ยา 9 เม็ดอยู่แล้ว จึงสามารถแนะนำได้ตามที่เรียนรู้มา เช่น การดื่มน้ำสมุนไพรฤทธิ์เย็น น้ำสมุนไพรในตัว (ปัสสาวะ) ลองพิจารณาดูว่าผู้ป่วยสามารถปรับลดรับประทานเนื้อสัตว์ได้หรือไม่?
- แนะนำให้ขอ “ยื้อเวลาการผ่าตัด” กับทางลูกเขยออกไปก่อน ด้วยการลองดูแลตนเองปรับสมดุลว่า จะมีอาการดีขึ้นหรือไม่? หากไม่หาย จึงค่อยยอมให้ผ่าตัด แต่หาก “มดลูกเบียดและมีอันตรายเกินไป อาจจะต้องยอมให้ผ่าตัด” ซึ่งหากต้องผ่าตัดออกจริง ๆ ก็สามารถตัดออกไปก่อน และจากนั้นค่อยมาเสริมด้วยศาสตร์แพทย์วิถีธรรม
- ทุกอย่างขึ้นอยู่กับ “การวางใจของผู้ถาม” การมีความหวังดีกับคุณแม่นั้นสามารถทำได้ แต่คุณแม่จะเห็นด้วยหรือไม่นั้น ก็เป็นไปตามกุศลและอกุศลของท่านและตัวเราเอง หากคุณแม่ยอมรับ ก็ถือโอกาสที่จะได้บำเพ็ญ ยิ่งวางใจได้มากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งทำให้คุณแม่ได้รับกุศลนั้น ส่งผลทำให้กุศลของท่านถึงรอบพอดี “วางใจช่วย เท่าที่ช่วยได้”
- ตรวจสอบหากเป็น “วิบากดี” จะมีสภาพราบรื่น โล่ง โปร่ง แสดงว่าเป็นสิ่งที่ทำได้ในเวลานั้น “ก็เสนอดี วางดี และสลายอัตตา” แต่หากผู้เสนอดี “มีกิเลส” จะมีอาการยัดเยียดข้อมูลเข้าไป เราทุกคนต่างผิดพลาดกันมาหลายครั้งแล้ว ให้นำประสบการณ์เหล่านั้นมาเป็นสิ่งเรียนรู้และฝึกวางใจ
- “หากผู้ป่วยต้องการวิธีการศาสตร์แพทย์วิถีธรรม ก็สามารถใช้ได้เต็มที่เลย” ก็จะมีโอกาสได้ดูแลทั้งร่างกายและจิตใจของผู้ป่วย
- ใช้ยาเม็ดที่ 6 คือ “กดจุดลมปราณ” และใช้ยาเม็ดที่ 8 คือ “ส่งกำลังใจ” ให้กับผู้ป่วย เพื่อที่ท่านจะได้มีความสบายกายและสบายใจ “ยิ้มแย้มแจ่มใส” และไม่ต้องหัวเราะมากเกินไป ไปช่วยผู้ป่วยในการเช็ดเนื้อเช็ดตัว “ส่งความปรารถนาดีให้แก่กันและกัน ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นวิบากร้ายของผู้ป่วยเท่านั้น คิดแต่สิ่งที่ดี เพราะหากคิดไม่ดี ก็จะเป็นผลเสียต่อตัวเราเอง”
- ใช้โอกาสนี้ใน “การฝึกยอม” ให้ทุกสิ่งเป็นไปตามวิบากดีร้ายของแต่ละชีวิต และได้ตรวจสอบว่าตนเองยัง “ยึด” ในเหลี่ยมมุมใดอยู่บ้าง
-
สรุปเนื้อหาสาระในวันนี้ คือ การใช้ศิลปะในการอยู่ร่วมกันของทุกศาสตร์แพทย์ที่เป็นประโยชน์เอื้อกัน แต่สิ่งที่สำคัญมากที่สุดสำหรับผู้ป่วย คือ “ความสบายใจ” เพราะจะส่งผลดีต่อร่างกายและใจ ทำให้มีอาการที่ดีขึ้น ผู้ดูแลได้มีโอกาสฝึกวางใจอย่างผาสุก ไม่ต้องยึดในวิธีการที่ตนเองเห็นว่าดี แต่ดีจริง “ต้องวางดีได้ นี่คือพุทธะอย่างแท้จริง”
รายงานข่าวโดย :
ศิริพร คำวงษ์ศรี (มั่นผ่องพุทธ) / สวนป่านาบุญ ๙ สังกัดภาคกลาง