At bagon.is you can Buy webshells, phpmailer, Combo list
“สายด่วน ค่ายสุขภาพพึ่งตนวิถีธรรม วิถีไทย” – 9 ก.พ. 65 | สถาบันวิชชาราม
Skip to content

“สายด่วน ค่ายสุขภาพพึ่งตนวิถีธรรม วิถีไทย” – 9 ก.พ. 65

รายการ “สายด่วน สุขภาพพึ่งตนวิถีธรรมวิถีไทย”
ช่วง ถามตอบ ปัญหาสุขภาพ
ตามหลักการแพทย์วิถีธรรม
โดย กลุ่มแพทย์แผนไทยวิถีธรรม ค้ำจุนโลก
วันพุธ ที่ 9 กุมภาพันธ์ 2565
เวลา 15.00 – 17.45 น.

ประเด็นเด่นจากรายการ

      • “ยึด” เมื่อไหร่ “ทุกข์” มาเยือน
      • อดทน รอคอย จะดีเพียงใด “ก็ใจเย็นข้ามชาติ”
      • ทำดี “ถูกด่าให้ได้” ในอดีตไม่มีทางเป็นไปได้
      • ปัญหานั้นมีตลอดกาล จงผ่านมันไปอย่าง “มีชีวิตชีวา”
      • “ปวดขามาก” จนเหมือนจะ “หมดลมหายใจ” แก้ไขอย่างไร?
      • “กระดูกบวม” ตรงหลังเท้า เพิ่งมีอาการเจ็บวันนี้
      • หยุดกินของดิบ “พยาธิตัวตืด” จะหยุดเจริญเติบโต หรือไม่?
      • “ตุ่ม” นูนและคัน เกิดจากอะไร?
      • ดื่ม “ปัสสาวะสด” แล้วมีรสชาติ “ขม” เป็นเพราะอะไร?
      • “เส้นเลือดขอด” สามารถหายได้หรือไม่?
      • “เส้นเอ็นมืออักเสบ” หายแล้ว มาเจ็บอีกข้าง จะมีวิธีการดูแลอย่างไรบ้าง?
      • “มะเร็งเต้านม” ใช้ยาแล้ว “ปัสสาวะขม” จะดีกับร่างกายหรือไม่?

[คลิกเพื่อชมคลิปวิดีโอฉบับเต็ม]

วันนี้มีพี่น้องทั้งจิตอาสาแพทย์วิถีธรรมทั่วโลก และชาวค่ายเข้าร่วมรายการทั้งหมด 88  ท่าน ดำเนินรายการ โดย คุณกิ่งแก้ว ฉัตรมณีวัฒนา (เม) คุณอรุณรัตน์ ไกรลาศศิริ (หม่วย) และคุณวิจิตร ตันเดชานุรักษ์

รายการสายด่วนสุขภาพพึ่งตนวิถีธรรมวิถีไทย เริ่มต้นรายการด้วยยาเม็ดที่ 6 คือ มาร์ชชิ่ง [คลิกเพื่อชมคลิปวีดีโอ] และธรรมะเพื่อความผาสุก คือ การอ่านบททบทวนธรรมยาเม็ดที่ 8 ข้อ 134-140 [คลิกเพื่ออ่านบททบทวนธรรม] และข้อ 141 – 143 [คลิกเพื่ออ่านบททบทวนธรรม


“ช่วงแบ่งปันความประทับใจในบททบทวนธรรม”

“ที่ได้นำมาใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อดับทุกข์ใจ”

บททบทวนธรรม ข้อที่ 141 “ความผิดความถูกอยู่ที่ -การยึดหรือไม่ยึด- ถ้ายึดคือผิด ถ้าไม่ยึดคือถูก ผิดถูกไม่ได้อยู่ที่ เหตุผลใครเลิศยอดกว่าใคร ผิดถูกมันอยู่ที่ยึดหรือไม่ยึด!!! ยึดคือผิด ถ้าไม่ยึดคือถูก ยึด คือ ยึดมั่นถือมั่นตามความคิดของเรา เอาดีแบบเราหมายจึงจะสุขใจ ไม่เอาดีแบบเราหมายจะทุกข์ใจ นี่แหละ ยึด!!! นี่แหละกิเลส!!! นี่แหละบาป!!!”

พญ.กานดา ศักดิ์ศรชัย : เนื้อหาที่สำคัญ คือ ยึดและไม่ยึด “ถ้ายึดเมื่อไหร่ ความทุกข์ก็พร้อมจะมาหาเราเสมอ” ยึดผิด ๆ มาไม่รู้เท่าไหร่ ไม่ว่าดีหรือไม่ดี ยึดเมื่อไหร่ก็ได้แต่ความไม่ชอบใจ ไม่สบายใจ รำคาญใจ ทำงานร่วมกับหมู่กลุ่ม จึงได้รับ “ผัสสะ” เช่น เรื่องที่พี่น้องเชื่อมเสียง หากยึดว่าจะต้องเชื่อมเสียงได้สิ ก็จะทุกข์ ถ้าใจยึด ให้รู้ว่า “ผิด” แน่นอน ทำให้ถูก คือ เพียงแค่อยู่จุดเดิม แต่ “เอาความยึดออกไป” ใจก็จะผาสุก ที่ใจเราไม่สุข เพราะ “มองไม่เห็นตัวยึด” ที่เข้ามาปั่นหัว จึงไปทำให้กิเลสมี “บทบาท”
จึงมี “คาถา” ประจำตัว คือ “เห็นสิ่งใดรำคาญ เป็นความยึด” อย่าปล่อยให้เขาอยู่ ต้องรีบจัดการ แก้ไขให้ลดน้อยลง หรือหายไป ก็จะได้กำไรจากสิ่งที่เราเริ่มเห็น “ตัวยึด คือ กิเลสของเรา”

บททบทวนธรรม ข้อที่ 139 “งานล้มเหลวหรือสลาย แล้วอัตตาสลายได้ ก็คุ้มเกินคุ้ม”

คุณสวรส เลาเวอร์ : ไปฉีดวัคซีนแล้วไม่สามารถไปปลูกผักได้ เพราะมีอาการเจ็บแขน จึงรู้สึกหงุดหงิด เนื่องจากได้ทำร่องดินไว้แล้ว มาลองคิดทบทวนว่า “งานไม่สำเร็จ ก็ไม่เป็นไร สามารถวางใจได้”

บททบทวนธรรม ข้อที่ 143 “ทำดีถูกด่าให้ได้ ถูกแกล้งให้ได้ ถูกนินทาให้ได้ ถูกว่าให้ได้ ถูกดูถูกให้ได้ ถูกเข้าใจผิดให้ได้ ถูกทำไม่ดีสารพัดเรื่องให้ได้ เพราะเราทำมาทั้งนั้น”

คุณอรวิภา กริฟฟิธส์ : ทำดีถูกด่าให้ได้ เพราะเราทำมาทั้งนั้น เมื่อก่อนตนเองไม่สามารถวางใจได้เลย ถ้าเราทำดี จะรู้สึกว่า “ใครจะมาด่า นั้นไม่ได้” เพราะเราไม่เชื่อชัดเรื่อง “กรรม” แต่ในตอนนี้เราเชื่อชัดเรื่องกรรมแล้วว่า “สิ่งที่เราได้รับ คือ เราทำมา” ได้มาชัดเจน ก็ตั้งแต่เข้ามาปฏิบัติธรรม เวลาตนเองได้ทำ “ผิดศีล” ก็จะทำให้มี “สิ่งไม่ดีขึ้น” เกิดขึ้นกับเราทั้งร่างกายและจิตใจ การได้ “ปฏิบัติธรรมอยู่กับอาหาร” เมื่อรู้สึกไม่สบายท้อง หรือไม่สบายปาก ก็เกิดมาจาก “การประมาณไม่พอเหมาะ” ของตัวเราเอง หรือเวลามี “ผัสสะกับคนรอบข้าง” ในอดีตจะกดข่มเอาไว้ จนมีความเครียด และจะส่งพลังงานไม่ดีไปรอบข้าง จนคนรอบข้างสัมผัสได้ ซึ่งก็ได้เห็นสิ่งนั้น “สะท้อน” กลับมาหาเรา ที่เราได้รับ เราทำมา “ของเราทั้งนั้น” ในอดีตตนเองเป็น “คนเจ้าปัญหา เจ้าคำถาม” ไม่เคยคิดว่า “ปัญหามาจากตนเอง” และต้องการเพียงให้ “คนอื่นแก้ไข”

บททบทวนธรรม ข้อที่ 138 “จงเผชิญกับปัญหาอุปสรรค ที่มีอยู่คู่โลกตลอดกาลนาน อย่างมีชีวิตชีวาให้ได้”

คุณวิจิตร ตันเดชานุรักษ์ : ทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่มีอะไรยั่งยืน “ชีวิตคนเราเกิดมาพร้อมปัญหาตลอด” วิบากจะมาตลอดเวลา แน่นอนเราต้องเจอปัญหาในชีวิต อย่ายึดมั่นว่า “จะไม่มีปัญหาอุปสรรค” เพราะวิบากไล่ล่าเราตลอดเวลา “ปัญหา” สร้าง “ปัญญา” ให้เรา หากวางใจเช่นนี้ จะไม่หวั่นไหวเมื่อเกิดปัญหา และสามารถนำ “วิกฤต” มาเป็น “โอกาส”

คุณอรุณรัตน์ ไกรลาศศิริ : ถ้าไม่มีปัญหา เราจะแสดง “ศักยภาพ” ในตัวเราออกมาได้อย่างไร ไม่ต้องอยู่ใน “พื้นที่ปลอดภัย” ตลอดเวลา อยู่ที่มุมมอง ในอดีตตนเองในวันมาฆบูชา ก็จะไปวัด เพื่อ “ขอพรให้ชีวิตราบรื่น และไม่มีอุปสรรค” เพราะทุกสถานการณ์มี “ประโยชน์” ตอนนี้เปลี่ยนมุมมองว่า “อย่างไรชีวิตเราก็ต้องเจออุปสรรคอยู่แล้ว” ตอนนี้ “เลิกขอพร” และเปลี่ยนมา “ตั้งศีล” แทน


“ช่วงถาม-ตอบปัญหาสดในรายการ”

คำถามที่ 1 : คุณแม่เป็น “แผล” ที่มาจากการเป็น “ฝี” จนเป็นหนอง บริเวณท้องน้อยและชายโครงด้านขวา  เรื้อรังไม่หาย มาเป็นเวลา 10 ปี จนกลายเป็น “แผลติดเชื้อ” และมีปัญหา “ก้นย้อย”

หลังจากได้รู้จักแพทย์วิถีธรรม จึงได้ทำอาหารปรับสมดุล “มีอาการดีขึ้น” แต่เมื่อคืนคุณแม่มีอาการ “ปวดขาและส้นเท้ามาก” เหมือนจะ “หมดลมหายใจ” ปวดฝ่าเท้าแล้วกระตุก ช่วง 02.00 น. ได้กัวซาให้คุณแม่ ทั่วบริเวณขาทั้ง 2 ข้างและหน้าท้อง และช่วงสายได้กัวซาทั้งตัว พร้อมทั้งเช็ดตัวด้วยผ้าขนหนู แต่อาการยังไม่ดีขึ้น ซึ่งอาการปวด มีทิ้งช่วงไปให้บ้าง แต่ก็ยังปวดอย่างแรง “จับตรงขามีความร้อน” ขอคำแนะนำ

คำแนะนำจากจิตอาสาแพทย์วิถีธรรม :

    • สังเกตบริเวณที่คุณแม่มี “อาการปวด” จะมี “ความร้อน” และตรวจสอบว่า “แผลที่บริเวณก้นย้อย อยู่ใกล้ทวารหนักมากหรือไม่?”
    • ลองศึกษาในการใช้ยาเม็ดที่ 3 คือ “การสวนล้างลำไส้ใหญ่” เพราะกล้ามเนื้อที่มีอาการตึงและปวด หากได้ “ระบายความร้อน” ออกมา จะทำให้ “อาการปวดทุเลาลง”
    • ใช้ยาเม็ดที่ 2 คือ “การกัวซา” ด้วยผ้าขนหนู และใช้ยาเม็ดที่ 6 คือ “การกดจุดลมปราณ โยคะ” เพื่อทำให้เส้นเอ็นจะเข้าที่เข้าทางมากขึ้น
    • ใช้ยาเม็ดที่ 4 คือ “การแช่มือแช่เท้า” ด้วยสมุนไพรที่ถูกกัน
    • ใช้ยาเม็ดที่ 5 คือ “การพอก ทา ประคบ” โดยส่วนใหญ่แล้ว “ผู้สูงอายุ” มักมี “ภาวะร้อนเย็นพันกัน” คือ ข้างในร้อน ข้างนอกปลายมือและเท้าจะเย็น โดยแยกกัน หากบริเวณที่มี “ภาวะร้อน” ให้พอกด้วย “สมุนไพรฤทธิ์เย็น” หากที่บ้านยังไม่มีผงถ่าน ดินสอพอง ก็สามารถใช้ “ผ้าขนหนูชุบน้ำสมุนไพรฤทธิ์เย็น” บิดพอหมาด นำมาพอกจุดที่มีปัญหา บริเวณ “ก้นย้อน หรือบริเวณที่ไม่สบาย” จะช่วยทำให้อาการเบาบางลง
    • แต่หากเป็นบริเวณที่มี “ภาวะเย็น” ก็สามารถใช้ “ถุงน้ำร้อน หรือลูกประคบ” นำมาประคบ  หากทำเป็นลูกประคบ แนะนำให้ใช้ “ทั้งสมุนไพรฤทธิ์ร้อนและเย็น” ใส่ในห่อผ้า และนำไป “นึ่ง” หรือนำกากสมุนไพรที่ปั่นไปใช้ได้ เพื่อให้กล้ามเนื้อ เส้นเอ็นและเส้นเลือดขยายตัว ลมปราณ
    • ใช้ยาเม็ดที่ 7 คือ “ปรับเปลี่ยนการรับประทานอาหาร” ให้มีความสมดุล
    • ใช้ยาเม็ดที่ 8 (ยาเม็ดเลิศ) คือ การตรวจสอบดูเรื่อง “ใจ” ว่ามีความกังวลหรือไม่? ถ้าสามารถทำให้ใจไม่กลัว ไม่กังวล ก็จะทำให้การรักษาได้ “ประสิทธิผล” มากยิ่งขึ้น ระลึกถึง “กรรม” จะได้ตระหนักรู้ว่า “ชีวิตอื่นที่ผู้ป่วยเคยได้ทำร้ายมานั้น มีความทุกข์ขนาดไหน” เช่น สัตว์ ฯลฯ เราทุกคนต่างต้อง “ชดใช้” หากผู้ป่วยทุกข์ ก็รู้ว่าทุกข์ เราเคยทำร้ายชีวิตอื่นมาแบบนี้มา “ด้วยกาย วาจา ใจ” ลองตั้งจิต “ขอโทษขออโหสิกรรม” ทั้งคนและสัตว์ “วิบากจะเบาบางลง”
    • พาอ่าน “ทบทวนธรรม” โดยหาบทที่ตรงกับผู้ป่วย หรือจะ “วางร่างวางขันธ์” โดยให้ผู้ป่วยวางใจว่า จะมีชีวิตอยู่ต่อหรือไปก็ได้
    • ผู้ป่วยมักมี “พลังใจ” เพียง 50% จากทั้งหมดที่มี เพราะฉะนั้นผู้ดูแลจึงต้องมีพลังใจหนักแน่น “ต้องมีพลังใจมากกว่าผู้ป่วย” ถึง 100-200% และวางใจให้ได้ว่า “ผู้ป่วยจะเสียชีวิตหรืออยู่ต่อก็ได้” หากต้องไป ก็เพียง “เปลี่ยนร่าง” เท่านั้น หากเราไม่ตกใจมาก ผู้ป่วยจะรับรู้ได้ว่า นี่คือ “กฎแห่งกรรม” ชวนคุยแบบไม่ทุกข์ ผู้ดูแลไม่ควรทุกข์ใจ และทำเป็นตัวอย่างให้ผู้ป่วยเห็น “ผู้ดูแลไม่กลัว ไม่วิตกกังวล” หากวางใจได้ ท่านจะไปได้ดี แต่หากใจผู้ดูแลไม่ดี สิ่งไม่ดีก็จะตามมา ช่วงที่แม่ไม่สบาย เราจะไม่สบายใจ
    • การดูแลผู้สูงอายุ ต้องใช้ “การประคับประคอง” โดยให้ท่านมีสภาพชีวิตที่ดี “ศาสตร์แพทย์วิถีธรรม” จะทำให้ผู้ป่วย “สบายทั้งกายและใจ” และไม่ต้องใช้วิธีเจาะ ผ่าตัดหรือบาดเจ็บ ยกตัวอย่าง เช่น กรณีศึกษาของคุณแม่ของจิตอาสาแพทย์วิถีธรรม ผู้ป่วยเป็น “โรคเส้นเลือดตีบในสมอง” และอีกท่านป่วยเป็น “มะเร็งปอด” การดูแลรักษาใช้เวลาหลายเดือน เพื่อฟื้นฟู และในที่สุดสุขภาพของคุณแม่ก็ “หายเป็นปกติ”  ที่สำคัญมี “ค่าใช้จ่ายน้อยมาก” ในการดูแลรักษา
    • ผู้ป่วยสูงอายุ “นอนติดเตียง” มัก “ติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะ” บางครั้งติดเชื้อที่กรวยไต เพราะผู้ป่วยจะอั้น และไม่อยากปัสสาวะใส่แพมเพิส ทำให้ต้องพาไป “ฉีดยา” จึง “สกัดน้ำสมุนไพรในตัว (ปัสสาวะ)” และผสมน้ำให้ดื่ม ประมาณ 3-7 วัน ก็อาการดีขึ้น
    • ผู้ป่วยสูงอายุที่ “ติดเชื้อซิฟิลิส” (เป็นโรคติดเชื้อจากแบคทีเรีย โดยปกติจะติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์ผู้ป่วยที่ติดเชื้อชนิดนี้) เพราะไปเข้าห้องน้ำสาธารณะ จึงไปพบแพทย์ โดยแพทย์จะฉีดยาฆ่าเชื้อซิฟิลิสให้ แต่ปรากฏว่า “ตัวยาแข็ง” ผู้ป่วยจึงโดนฉีดไปถึง 8 เข็ม จนผู้ป่วยบอกว่า “ไม่ไหวแล้ว ไม่ไปแล้ว” จึงกลับมาที่บ้าน และนำ “น้ำสมุนไพรในตัว (ปัสสาวะ)” ให้ผู้ป่วยดื่มและสวนล้างช่องคลอดทั้งเช้าและเย็น ทำให้อาการป่วยหายไป โดยไม่ต้องไปพบแพทย์อีกเลย

[คลิกเพื่อชมคลิปวิดีโอ]


คำถามที่ 2 :  กระดูกบวมตรงหลังเท้า (บวมมานานแล้ว ตั้งแต่อายุ 10 ขวบ) แต่เพิ่งมีอาการเจ็บในวันนี้ ไม่ได้มีการชนอะไรมา จึงอยากสอบถามว่า เป็นโรคอะไรหรือไม่?

คำแนะนำจากจิตอาสาแพทย์วิถีธรรม :

    • จุดระหว่างข้อต่อมีอาการเคลื่อน เหมือนเป็น “หินปูน” แต่ไม่ใช่ลักษณะเนื้องอก
    • ใช้ยาเม็ดที่ 2 คือ “การกัวซา” โดย “เว้น” บริเวณที่มีอาการเจ็บ
    • ใช้ยาเม็ดที่ 5 คือ “พอก” บริเวณที่บวมขึ้นมา
    • ใช้ยาเม็ดที่ 4 คือ “แช่มือแช่เท้า” ด้วยสมุนไพรที่ถูกกัน
    • ใช้ยาเม็ดที่ 8 คือ “อ่านใจ” ว่ามีความกังวล หวั่นไหว หรือไม่? วางใจ และดูแลตามความเป็นจริง

[คลิกเพื่อชมคลิปวิดีโอ]


คำถามที่ 3 : หากมี “พยาธิตัวตืด” อยู่ในร่างกาย ถ้า “หยุด” รับประทาน “ของดิบ” พยาธิจะหยุดเจริญเติบโตหรือไม่?

คำแนะนำจากจิตอาสาแพทย์วิถีธรรม :

    • หากเป็น “พยาธิที่มาจากพืชผัก” สามารถถ่ายพยาธิด้วย “วิธีธรรมชาติ” คือ โดยการใช้ “ไส้ฟักทองดิบ และเมล็ดฟักทอง” ใส่น้ำพอท่วม และนำมาปั่น จากนั้นกรองให้เหลือแต่ “น้ำ” นำมาดื่มก่อนนอน เพื่อถ่ายพยาธิ
    • แต่หากเป็น “พยาธิตัวใหญ่ที่มาจากเนื้อสัตว์” อาจต้องใช้ยาทั่วไปขับออก
    • “หยุด” รับประทาน “ของดิบ” และเลิกการเบียดเบียนสัตว์ คือ “วิธีที่ดีที่สุด” เพราะร่างกายจะปลอดภัย

[คลิกเพื่อชมคลิปวิดีโอ]


คำถามที่ 4 : “ตุ่ม” นูน มีอาการคันรอบ ๆ ที่มีเลือดสีแดงในภาพ เพราะนำกรรไกรตัดเล็ดตัดออกมา

คำแนะนำจากจิตอาสาแพทย์วิถีธรรม :

    • บางทีอาจเป็น “หูด” เป็นติ่ง ๆ ปลายตุ่มมีอาการ แต่ไม่มีความรู้สึก หากไปตัดออก ก็อาจมีเลือดหรือน้ำเหลืองออกมา จนเป็นแผล และหาก “เกา” ก็อาจสามารถติดเชื้อได้ จึง “ไม่ควรตัดหรือผ่าตัด” หรือแกะตุ่มออกมา
    • “ตุ่ม” เป็นกลไก “การระบายพิษออก” และอาจเป็น “จุดรวมพิษ” ของร่างกายให้ไปอยู่ในจุดเดียว ปล่อยไว้จะดีกว่า เพื่อไม่ให้แพร่กระจาย
    • สำคัญที่สุด คือ การปรับสมดุลทั้งทางใจและกาย ด้วยการปรับสมดุลร้อนเย็นด้วยยา 9 เม็ด “ศาสตร์แพทย์วิถีธรรม” จะเน้นใช้พุทธศาสตร์เป็นหลัก แนะนำให้ศึกษาความรู้ของยา 9 เม็ดเพิ่มเติม [คลิกเพื่อรับชมรายละเอียด]
    • สามารถเน้นใช้ยาเม็ดที่ 5 คือ ใช้น้ำสกัดสมุนไพรฤทธิ์เย็น “ล้างแผล” และหากมีแผลเปิดแล้ว แนะนำให้ “พอก” สมุนไพรฤทธิ์เย็นรอบ ๆ แผล แต่ “ไม่พอกทับบนแผล”
    • ใช้ยาเม็ดที่ 7 คือ รับประทานอาหารปรับสมดุล พืช จืด สบาย “ลด ละ เลิกเนื้อสัตว์เท่าที่ได้ งดของหวานของมัน อาหารรสจัด”

[คลิกเพื่อชมคลิปวิดีโอ]


คำถามที่ 5 : ดื่มน้ำปัสสาวะสด แล้วมีรสชาติ “ขม” เป็นเพราะอะไร?

คำแนะนำจากจิตอาสาแพทย์วิถีธรรม :

    • รสชาติ “ขม” ของปัสสาวะ อาจบ่งชี้ว่า “หัวใจมีภาวะบกพร่อง” ไม่สมดุล
    • ย้อนกลับไปตรวจสอบว่า “เมื่อวานนี้” รับประทานอาหารอะไรเข้าไปบ้าง เพราะปัสสาวะเป็น “ตัวบ่งชี้” สามารถใช้วินิจฉัยภาวะในร่างกายได้ เป็นไปได้ว่า อาจรับประทาน “อาหารเกิน” จากที่ร่างกายต้องการ เช่น สะเดา
    • ใช้ยาเม็ดที่ 7 คือ “ปรับเปลี่ยนการรับประทานอาหาร” เพราะร่างกายไม่สมดุล

[คลิกเพื่อชมคลิปวิดีโอ]


คำถามที่ 6 : เป็น “เส้นเลือดขอด” บริเวณน่อง ใกล้ขาพับ เริ่มเป็นตั้งแต่อายุ 40 ปี ตอนนี้มองเห็นชัดเจนมากขึ้น จะสามารถหายได้หรือไม่ และทำอย่างไร?

คำแนะนำจากจิตอาสาแพทย์วิถีธรรม :

    • เนื่องจาก “หลอดเลือดดำ” มีอยู่ในระดับลึกบริเวณกล้ามเนื้อ และระดับตื้นลึกบริเวณจุดไขมันและผิวหนัง ซึ่ง “เส้นเลือดขอด” คือ ส่วนตื้น
    • “ยืนให้น้อยลง” เพราะหาก “ยืนนาน ๆ” แรงต้านจะไหลกลับ ขารับเลือดที่ใช้สู่หัวใจ
    • “เส้นเลือดขอด” เกิดจากร่างกายที่ไม่สมดุล ส่วนใหญ่จะเกิดจาก “ภาวะร้อนเกิน” จึงดันเส้นเลือดออกมา แนะนำให้ลองปรับสมดุล สามารถ “หายได้” โดยการใช้ยา 9 เม็ด เพราะ “รักษาได้ทุกโรค” ได้เช่นกัน
    • ใช้ยาเม็ดที่ 8 คือ “จิตใจ” เม็ดนี้เป็นตัวหลัก อย่าทุกข์กังวลว่า เส้นเลือดจะขอดหรือไม่? หรือ เป็นแล้วจะหายหรือไม่? วางใจเมื่อดูแลตนเองจนอาการหายแล้ว ก็ต้องเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตด้วย
    • ใช้ยาเม็ดที่ 6 คือ “โยคะ” เม็ดนี้ค่อนข้างสำคัญ ต้อง “ขยัน” ทำบ่อย ๆ เช่น ท่านอน แล้วยกขาขึ้นข้างบน จากนั้นใช้มือจับ เพราะบางครั้งร่างกายตึง ทำให้เลือดลมไม่ไหลเวียน การโยคะจะทำให้ระบบการไหลเวียนได้สะดวก การไหลเวียนเลือดดำดีขึ้น
    • “เกร็งน่อง และเขย่งเท้าบ่อย ๆ” จะช่วยเลือดไหลเวียนได้ดี ไม่มีเลือดค้าง ทำให้เลือดไม่คั่งจนขยายใหญ่
    • อีกวิธีที่ดี คือ “ใช้มือบีบนวดไปตามเส้น” ไม่ควรละเลย เพราะหากเลือดดำไหลเวียนไม่สะดวก
    • การที่ได้ “รับออกซิเจน และรับประทานอาหารไม่ดี” จะเกิดสะท้อนที่ใบหน้าด้วย
    • ใช้ยาเม็ดที่ 4 คือ “แช่มือแช่เท้า” ด้วยน้ำสมุนไพรในตัว (ปัสสาวะ) จะทำให้รู้สึกเบา เพราะส่วนที่ “ติดขัด” สามารถระบายออกไปได้ ซึ่งหลังจากแช่เสร็จแล้ว สามารถนำน้ำสมุนไพรในตัว (ปัสสาวะ) ที่แช่แล้ว ผสมน้ำ และนำไป “รดต้นไม้” ได้
    • ใช้ยาเม็ดที่ 2 คือ “กัวซา” เน้นบริเวณขา ส่วนที่มีอาการ โดย “ขูดย้อน” ขึ้นกลับมาที่ “ฝั่งหัวใจ”

[คลิกเพื่อชมคลิปวิดีโอ]


คำถามที่ 7 : เคย “เส้นเอ็นอักเสบ” บริเวณมือด้านซ้ายมาหลายปี แพทย์จ่ายยาทั้งจากทางโรงพยาบาลและยาจีน มาให้รับประทาน รวมถึงฉีดยาเข้าเส้น มาเป็นเวลา 3 ปีกว่า ไม่ทราบว่าอาการหายไปในช่วงไหน แต่ปัจจุบันกลับมา “อักเสบบริเวณมือด้านขวา” แทน จะมีวิธีการดูแลอย่างไรบ้าง?

คำแนะนำจากจิตอาสาแพทย์วิถีธรรม :

    • “เส้นเอ็นอักเสบ” ส่วนใหญ่เกิดจากการใช้งานมือ “ไม่ถูกวิธี” เมื่อร่างกายของเราใช้งาน จนผลิตความร้อนออกมา และสารที่เป็นพิษที่ร่างกายไม่สามารถระบายออกไปได้ทัน จึงทำให้ “เกิดอักเสบ”
    • เมื่อมี “ภาวะร้อนเกิน” ร่างกายจะดึงน้ำเข้ามา ทำให้เกิดอาการบวมและปวด จริง ๆ ไม่ต้องทำอะไรเลย “อาการจะหายไปเอง” แต่การแพทย์แผนทั่วไป จะใช้ยาต้านอักเสบ หากใช้ยามากดทับอาการเอาไว้ “ฤทธิ์จะเสื่อม” อ่อนแอไม่แข็งแรง และเปราะบางกว่าเดิม เราทุกคนไม่สามารถใช้ยาแบบนี้ไปได้ตลอด
    • “ศาสตร์แพทย์วิถีธรรม” เป็นการใช้วิธีนุ่มนวล ในการระบายพิษด้วยการใช้ยาเม็ดที่ 4 คือ “แช่มือแช่เท้า” หรือ ยาเม็ดที่ 2 คือ “กัวซา” หรือจะใช้วิธีไหนก็ได้ ในการระบายพิษ พร้อมทั้งไม่นำพิษเข้าร่างกาย
    • ใช้ยาเม็ดที่ 8 คือ “วางใจไม่กังวล” เพราะจะยิ่งทำให้หายช้า
    • ใช้ยาเม็ดที่ 6 คือ “ดัดมือ” และ “กดจุดเส้นลมปราณ” จะมีอาการดีขึ้น เพราะ “ลมปราณ คือ พลังชีวิต” หากลมปราณเดินสะดวก ร่างกายจะมีความสบาย เพราะร่างกายสะสมตลอด หากมีอุปกรณ์ช่วยในการทำ ก็ให้ใช้อุปกรณ์ร่วมด้วย
    • หากมีอาการ “นิ้วล็อก” สามารถใช้ยาเม็ดที่ 4 คือ “แช่มือ” และร่วมด้วยยาเม็ดที่ 2 คือ “กัวซา”

[คลิกเพื่อชมคลิปวิดีโอ]


คำถามที่ 8 : ศึกษาศาสตร์แพทย์วิถีธรรม มาเป็นเวลา 6 เดือน และไม่รับประทานเนื้อสัตว์แล้ว เพราะป่วยเป็น “มะเร็งเต้านม” โดยรักษาด้วย “ธรรมชาติบำบัด” และรับประทานยาแคปซูล ซึ่งมีรสชาติ “ขม” เมื่อดื่มปัสสาวะแล้ว “มีรสชาติขม” ด้วย ตับและไต ทำงานหนักหรือไม่? จะดีต่อร่างกายหรือไม่? ครอบครัวเป็นห่วง เนื่องจากตนเองไม่ไปพบแพทย์แผนปัจจุบันเลย

คำแนะนำจากจิตอาสาแพทย์วิถีธรรม :

    • เน้นใช้ยาเม็ดที่ 8 คือ “ใช้ธรรมะ” จะทำให้ความกลัวตายน้อยลง เมื่อฟังแล้ว จะสามารถ “สอนตนเอง” ได้ในทุกวัน บางครั้งมีอาการจุกข้างหลัง “จิตที่ไปหลงคิด” ว่า มะเร็งลามไปที่ปอด หรือไปที่กระดูกหรือไม่นะ? ให้ใช้คำสอนของอาจารย์หมอเขียวมา “ต่อสู้” จะไม่มีความเครียดหรือความกังวล ไม่ต้องกังวลว่าปัสสาวะจะขม วางใจ “ไม่กังวลกับความเจ็บป่วย” มองโลกแบบ “ร่าเริงแจ่มใส” กล้าที่จะเบิกบาน “ไม่เร่งผลว่าเมื่อไหร่จะดีขึ้น”
    • สำนึกผิด และระลึกถึง “วิบากกรรม” ที่ตนเองเคยทำมาในอดีต การมักชอบรับประทานอาหารอร่อย จึงทำให้ต้องมารับวิบากกรรมนี้ เรียกว่า “เจ้าหนี้ / ลูกหนี้” มี “มาตลี” มาเตือน ให้เราเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่ดี
    • ใช้ยาเม็ดที่ 7 คือ ปรับเปลี่ยนมารับประทานอาหาร “พืช จืด สบาย” รับประทานเพียง “มื้อเดียว” อาจมีดื่มน้ำปั่นในช่วงเช้าบ้าง
    • ใช้ยาเม็ดที่ 3 คือ “สวนล้างลำไส้ใหญ่” ทุกวัน
    • ใช้ยาเม็ดที่ 2 คือ “กัวซา”
    • ใช้ยาเม็ดที่ 1 คือ “ดื่มน้ำสมุนไพรที่ถูกกัน” หากดื่มน้ำย่านาง “แทนน้ำเปล่า” เมื่อไปปัสสาวะ จะมีลักษณะ “ใส” และทำให้อยากดื่ม
    • ตามหลัก “ศาสตร์แพทย์วิถีธรรม” อาจารย์หมอเขียวสอนว่า หากทำหรือใช้แล้ว รู้สึกเท่าเดิมหรือไม่ดีขึ้น ไม่จำเป็นต้องใช้ต่อ เพราะแสดงว่าสิ่งที่เราใช้ “ไม่ใช่สิ่งที่ถูกกับเรา” ในเวลานั้น หากครอบครัวไม่มีความทุกข์ หากจะต้องเลิกใช้ยา ก็สามารถ “เลิกใช้” ได้เลย น่าจะสบายใจมากกว่า
    • “จิตอาสาแพทย์วิถีธรรม” จำนวนหลายท่าน ในอดีต คือ “ผู้ป่วยมะเร็ง” ยกตัวอย่าง เช่น กรณีของคุณภคมน ถิระธรรมภณ อดีตผู้ป่วย “เนื้องอกที่เต้านม” ซึ่งเคยปวด จนให้แพทย์เจาะออก ภายหลัง “ปฏิเสธการผ่าตัด” และ ปฏิบัติ “ยา 9 เม็ด” อย่างเคร่งครัด อยู่ท่ามกลาง “หมู่มิตรดี” จนลืมไปว่า มีก้อนเนื้อที่เต้านม ปัจจุบันหายหมดแล้ว

[คลิกเพื่อชมคลิปวิดีโอ]

สรุปเนื้อหาสาระในวันนี้ คือ “แพทย์วิถีธรรม” เป็นวิธีการรักษาที่นุ่มนวล และเหมาะสำหรับผู้ที่สนใจศึกษา ได้ทุกเพศทุกวัย เพียงวางใจให้ “เบิกบาน” น้อมรับกับโรคที่เกิดขึ้น และปฏิบัติยา 9 เม็ด ด้วยความตั้งใจ “ทำจริง ได้ผลจริง” ซึ่งทุกผลลัพธ์ ล้วนขึ้นอยู่กับพฤติกรรมของผู้ป่วย และเป็นไปตามวิบากดีร้ายของแต่ละท่าน 

รายงานข่าวโดย :
ประภัสสร วารี (กุ้ง) / สวนป่านาบุญ ๑ สังกัดภาคอีสาน

Tags:

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *