At bagon.is you can Buy webshells, phpmailer, Combo list
“สายด่วน ค่ายสุขภาพพึ่งตนวิถีธรรม วิถีไทย” – 5 ม.ค. 65 | สถาบันวิชชาราม
Skip to content

“สายด่วน ค่ายสุขภาพพึ่งตนวิถีธรรม วิถีไทย” – 5 ม.ค. 65

รายการ “สายด่วน สุขภาพพึ่งตนวิถีธรรมวิถีไทย”
ช่วง ถามตอบ ปัญหาสุขภาพ
ตามหลักการแพทย์วิถีธรรม
โดย กลุ่มแพทย์แผนไทยวิถีธรรม ค้ำจุนโลก
วันพุธ ที่ 5 มกราคม 2565
เวลา 15.00 – 17.30 น.

ประเด็นเด่นจากรายการ

    • มันดีจริง ๆ ที่ไม่มีชีวิตใดเดือดร้อน เพราะ “เรา”
    • โรคภัยอยู่ใกล้ เตรียม “ความดี” ไว้ประจำตัว
    • เกิดอะไรขึ้น “ไม่ต้องถามใคร” และตั้งศีลเป็นของขวัญ
    • ของขวัญปีใหม่ คือ เป็นคนใหม่ที่”เลิกเอาแต่ใจ”
    • แม้แต่การอยากได้ “คำแนะนำ” ก็ยังเป็น “กิเลส”
    • ปวดเจ็บ “ทั้งตัว” เดินไม่ค่อยมีแรง
    • สุดทนกับ “คนยืมเงิน” วางใจอย่างไร
    • ต่อมลูกหมากอักเสบ เท้าร้อน บ้านหมุน รักษาอย่างไร
    • ติดเชื้อจากแผลผ่าตัดเรื้อรัง ควรรับประทานอาหารประเภทใด?
    • แผลตุ่มกลับขึ้นมาอีก ยัง “เลิกเนื้อสัตว์ไม่ได้” ขอคำแนะนำ

[คลิกเพื่อชมคลิปวิดีโอฉบับเต็ม]

วันนี้มีพี่น้องทั้งจิตอาสาแพทย์วิถีธรรมทั่วโลก และชาวค่ายเข้าร่วมรายการทั้งหมด 107 ท่าน ดำเนินรายการ โดย คุณกิ่งแก้ว ฉัตรมณีวัฒนา (เม) คุณประภัสสร วารี (กุ้ง) และคุณวิจิตร ตันเดชานุรักษ์

รายการสายด่วนสุขภาพพึ่งตนวิถีธรรมวิถีไทย เริ่มต้นรายการด้วยธรรมะเพื่อความผาสุก คือ การอ่านบททบทวนธรรมยาเม็ดที่ 8 ข้อ 42 – 54 [คลิกเพื่ออ่านบททบทวนธรรม] และพี่น้องยังร่วมกันส่ง “ของขวัญ” (แบบไม่ต้องซื้อ) มอบแด่ดร. ใจเพชร กล้าจน (อาจารย์หมอเขียว) ผ่านรายการนี้อีกด้วย


“ช่วงแบ่งปันความประทับใจในบททบทวนธรรม”
“ที่ได้นำมาใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อดับทุกข์ใจ”

บททบทวนธรรม ข้อที่ 53 “ศีล คือไม่เบียดเบียนตนเอง คนอื่น สัตว์อื่น เป็นประโยชน์ต่อตนเอง ต่อคนอื่นต่อสัตว์อื่น”

คุณจิราภรณ์ ทองคู่ : ชื่นชอบบททบทวนธรรมข้อนี้มาก ๆ โดยเฉพาะศีลข้อที่ 1 ที่เห็นได้ชัดว่า เมื่อเราไม่เบียดเบียนตนเอง ไม่ทำให้ตนเองเจ็บป่วย ต่างจากในอดีตที่ตนเองเจ็บป่วยแทบตาย หากไม่ได้พบแพทย์วิถีธรรม ตนเองคงไม่มีชีวิตอยู่ได้จนถึงทุกวันนี้ เมื่อเราไม่เบียดเบียนตนเอง เราจึงไม่เบียดเบียนผู้อื่น สัตว์อื่น ทุกชีวิตก็จะไม่ได้โดนเบียดเบียน “เพราะเรา” จึงได้ประโยชน์กันถ้วนหน้า

บททบทวนธรรม ข้อที่ 51 “ทำดีเต็มที่ทุกวัน ก็สุขใจเต็มที่ได้ทุกวัน”

เครือแก้ว คุณะวัฒนา : ในช่วงสถานการณ์โรคระบาด ก็จะได้ยินข่าวคราวการป่วยและเสียชีวิตคนรู้จัก จึงทำให้ตระหนักได้ว่า “โรคภัย” นั้นใกล้ตัวเข้ามาทุกที ต้องพากเพียรเร่งทำความดีให้เต็มที่ และทำความผาสุกที่ตนเองให้ได้ในทุกวัน

บททบทวนธรรม ข้อที่ 47 “เมื่อมีเรื่องไม่ชอบใจ ไม่เข้าใจ แล้วเกิดคำถามว่า ทำไม ๆ ๆ ให้ตอบว่า ทำมา ๆ ๆ”

คุณอนงค์ ท่าข้าม : บททบทวนธรรมข้อนี้โดนใจมาก ๆ เพราะไม่ต้องมีคำถามจากใคร เพราะทุกสิ่งมาจากตนเองทั้งนั้น ต่อจากนี้ไปจะตั้งศีลว่า “ไม่เพ่งโทษใคร” จะมาโทษตนเองและนับหนึ่งที่ตนเอง การตั้งศีลจะทำให้จับกิเลสได้ง่ายยิ่งขึ้น รู้สึกว่าจิตสงบมากขึ้น ไม่ฟุ้งซ่านและพะว้าพะวังเหมือนในอดีต
ของขวัญมอบให้อาจารย์หมอเขียว คือ ตั้งศีล “ขอรับประทานมื้อเดียวต่อไปเรื่อย ๆ”

บททบทวนธรรม ข้อ 45 “อยากได้สิ่งใด จงคิดสิ่งนั้นกับผู้อื่น”

คุณกุหลาบ ศรีชมชื่น : อยากได้ความชี้แนะจากผู้อื่น แต่อาจารย์หมอเขียวสอนให้ ไม่ต้องอยาก มีความรู้สึกอยากได้คำแนะนำจากหมู่มิตรดี และจิตอาสาทุกท่าน เพราะรู้สึกวันนี้มีสุขภาพและอาการที่ไม่ดี ปวดหัว มึนชา


“การส่ง “ของขวัญ” (แบบไม่ต้องซื้อ)”
“มอบแด่ดร. ใจเพชร กล้าจน”

คุณเวียงทอง นุ่นภักดี : ของขวัญมอบให้อาจารย์หมอเขียว คือ อยากตั้งอธิศีลรวมพลังร่วมกับหมู่มิตรดี เพื่อเพิ่มพลัง “ปีใหม่ชีวิตใหม่นี้ก็ขอลด ละ เลิกการเอาแต่ใจตนเอง ลดความโกรธ จึงพึ่งตนและช่วยเหลือตนเองให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ อะไรที่ทำได้เอง จะไม่ใช้ผู้อื่น”


“ช่วงถาม-ตอบปัญหาสดในรายการ”

คำถามที่ 1 : ไม่แน่ใจว่า เนื่องจากรับประทานของเย็นมากเกินไปหรือไม่ แต่อาหารก็ได้มีผสมแครอท (ฤทธิ์ร้อน) บ้าง จึงมีอาการปวดศีรษะด้านซ้าย มึน ชา จับส่วนใดก็เจ็บไปหมดทั้งตัว โดยเฉพาะตามข้อขาข้อแขน ฝ่าเท้าเย็น เวลาหายใจช่วงที่นอนหรือรับประทานอะไรเข้าไป จะเจ็บหน้าอกและสะบัก เดินแล้วไม่ค่อยมีแรง ตาลาย ลองชิมน้ำสมุนไพรในตัว (ปัสสาวะ) รู้สึกมีรสขม รับประทานอาหารได้ไม่เยอะ เมื่อคืนนอนไม่หลับ ปกติเป็นคนที่ชอบออกกำลังกายอยู่แล้ว
ตั้งศีลว่า “จะไม่เถียงกับพี่เขย” แต่ว่าตอบโต้ท่านไปบ้าง ไม่แรงมาก ไม่แน่ใจว่า อันนี้ถือว่า “ผิดศีล” หรือไม่? พี่เขยพูดว่า “ฟังอาจารย์ไปทำไม? ถ้าทำไม่ได้”
ขอคำแนะนำ

คำแนะนำจากจิตอาสา :

    • อาการเดิมที่เกิดขึ้น ดีแล้วที่ผู้ถามสามารถ “จับอาการ” ตนเองได้ โดยการตรวจสอบจากร่างกายและการรับประทานอาหาร ผู้ถามอาจจะทราบดีแล้วว่า แพทย์วิถีธรรมไม่ใช่ศาสตร์ที่ให้รับประทานแต่อาหารฤทธิ์เย็นอย่างเดียว
    • เรียนรู้และทำความเข้าใจ “ยาเม็ดเลิศ ยาเม็ดหลัก ยาเม็ดเสริม” ที่พระพุทธเจ้าและครูบาอาจารย์ได้สอนพวกเรา โดยพร้อมปรับพร้อมเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ ตามสิ่งที่เป็นในปัจจุบัน คอยเฝ้าดูอาการตลอดเวลา ตรวจสอบว่า สาเหตุของโรคเกิดมาจากทางกายหรือใจ
    • วิธีใดที่ปฏิบัติแล้ว พิจารณาว่าตนเองไม่สามารถทำได้ หรือรู้สึกทรมาน ก็สามารถเปลี่ยนไปใช้วิธีรักษาอื่นได้ เช่น กดจุดลมปราณเท่าที่ทำได้ หรือหากรู้สึกว่า ไม่สามารถขูดกัวซาได้ เพราะมีอาการเจ็บ ก็ไม่จำเป็นต้องใช้วิธีนี้ สามารถอนพิษด้วยวิธีอื่นแทน
    • การอยากได้ “ร่างกายให้อยู่ในสภาพที่ดี แล้วจะสุขใจ พอได้สภาพร่างกายที่ไม่ดี แล้วทุกข์ใจ” สิ่งนี้ คือ “ผิดทาง”
    • “กิเลสที่อยากให้ได้สภาพดีดั่งใจหมาย” จะพาตนเองไปทำชั่วได้ทุกเรื่อง ทำผิดศีลได้ทุกข้อ ต้องเสียพลังไปสร้างความทุกข์ และก็ต้องเสียพลังงานไปเพื่อ “การดับทุกข์”
    • เราได้เรียนรู้มากแล้วว่า “ใจคือประธานของสิ่งทั้งปวง” มีฤทธิ์ถึง 70% หรือมากกว่านั้นในการรักษาโรค เพราะการปรับสมดุลก็ยังไม่ใช่การรักษาที่ทำให้หายโรคได้ 100% โดยผู้ถามก็ได้ปฏิบัติตามแนวทางนี้มา แล้วเปรียบเทียบดูผลด้วยตนเองแล้วว่าดีขึ้น และหากมีอาการแล้ว จะต้องปรับอย่างไร
    • “กายนี้ไม่ใช่ของเรา” เพราะในอดีตเราก็ต่างรับประทานอาหารที่เบียดเบียนร่างกายตนเองมาทั้งนั้น
    • เมื่อ “วิบากร้าย” เข้ามา หรือหากร่างกายมีสมดุลที่ไม่ดี ก็เพียงกล้าเรียนรู้และปรับใหม่ ไม่มีวิธีใดที่ตายตัว ต้องตรวจสอบร่างกาย อากาศ และภาวะในเวลานั้น ๆ ว่าเป็นอย่างไร คลายความยึดมั่นถือมั่นกับร่างกายที่ไม่สบาย ตรวจใจว่า ยังกลัวตาย กลัวเจ็บ กลัวโรคอยู่หรือไม่? “นี่คืออาริยสัจ 4”
    • สิ่งที่พี่เขยได้พูดกับผู้ถามนั้น ก็ถูกต้องเช่นกัน ถือว่า “เป็นกุศลและวิบากดี” เพราะเป็นเรื่องจริงที่เราพูดว่า ศรัทธาอาจารย์หมอเขียวมาก “แต่ทำไมยังไม่กล้าปฏิบัติตามอาจารย์สอน?”
    • ต้อง “กล้าปรับสมดุลร้อนเย็น” เพราะรู้แล้วว่า รับประทานแบบเดิมนั้นไม่ดี มีภาวะร้อนเกิน ก็แก้ไขด้วยอาหารฤทธิ์เย็น แต่หากมีภาวะเย็นเกิน ก็แก้ไขด้วยอาหารฤทธิ์เย็น หาก “ตั้งศีล” จะทำให้รู้ร้อนรู้เย็นทางร่างกายมากขึ้น ศีลจะทำให้รู้สมดุลของร่างกายได่ง่ายขึ้น เพื่อทำให้ร่างกายสมดุล
    • “กล้าสำนึกผิดและยอมรับ” ในผลของการกระทำตนเอง เอาประโยชน์ได้ทุกการกระทำ แม้เราพลาด เช่น ถึงหากได้รับประทานของหวาน อาหารพิษเข้าไป ก็สามารถพิจารณาเรียนรู้ว่า “สิ่งที่รับประทานเข้าไปนั้นไม่ดี”
    • “ทุกครั้งที่มีความกล้า คือ การสำนึกผิดทุกครั้ง” จะทำให้ใจสงบ เพราะเป็นวิบากดีใหม่ที่สร้างขึ้น แต่หากมีความคิดที่ไม่ดี ก็จะไปดึงวิบากร้ายในอดีตมาด้วย ฉะนั้นยิ่งตัดความอยาก และน้อมรับในสิ่งที่ไม่อยากได้ ยิ่งน้อมรับมากเท่าไร ก็จะสร้างความกล้าได้มากขึ้นเช่นกัน
    • หาก “ทำถูกศีล จะไม่มีความกลัว” ความกลัว คือ การยึดดีหรือยึดชั่ว เมื่อใจอยากที่จะสุข พอมีอาการหายป่วยเข้ามา ก็จะทำให้ทุกข์ทุกครั้ง สะสมเป็นวิบากร้ายเหมือนเดิม แต่หากมีความกล้า ก็จะสร้างผลของพลังแห่งวิบากดี “ต้องสร้างความกล้าที่จะไม่อยาก”
    • จิตอาสาหลายท่านก็ “ยังไม่ได้หายโรค” แต่ไม่ทุกข์ เพราะสามารถยอมรับโรคที่เกิดขึ้นกับร่างกายได้
    • อาจารย์หมอเขียวสอนว่า “ชีวิตเดี๋ยวก็ดี เดี๋ยวก็ร้าย” เมื่อวิบากร้ายออกฤทธิ์ เมื่อเกิดอะไรจงท่องไว้ “กู เรา ฉันทำมา”
    • การรักษาด้วยการดูแลตนเองอย่างดีที่สุด แต่ไม่ยึดมั่นถือมั่นว่า “จะต้องหาย” ไม่ว่าจะป่วยอีกกี่วัน ก็พากเพียรไม่หยุดที่จะตั้งศีล “วางใจไร้ทุกข์” ไปเรื่อย ๆ
    • เพียงใจสู้ “เต็มที่” หากยังมีอาการเจ็บป่วยทางร่างกายอยู่ แต่ใจก็จะไม่ทุกข์ ทำดีที่เรา “เริ่มต้นที่เรา” ลดกิเลส เหตุแห้งทุกข์ทั้งปวง ปล่อยให้ทุกอย่างเกิดขึ้นแบบที่จะต้องเกิด ใจก็จะสบาย
    • การเปิดธรรมะในบ้าน แม้คนในครอบครัวจะยังไม่เข้าใจ แต่จริง ๆ แล้ว “หูของท่านได้ฟังอยู่”
    • นอนไม่หลับก็ถือว่าเป็น “สิ่งที่ดี” วางใจกล้าที่จะนอนไม่หลับ ตื่นมาฟังธรรมะของพ่อครูสมณะโพธิรักษ์และอาจารย์หมอเขียว หรืออ่านบททบทวนธรรมก็ได้ จะทำให้หลับสบาย
    • พากเพียรกดจุดลมปราณ และทำโยคะ ดื่มน้ำอุ่นผสมสมุนไพรฤทธิ์เย็น หรืออาจผสมรากหญ้าคาก็ได้

[คลิกเพื่อชมคลิปวีดีโอ]


คำถามที่ 2 : รบกวนสอบถาม ว่าควรทำอย่างไร กับคนที่มักจะยืมเงินเราบ่อย ๆ แต่ละครั้งยืมจำนวนไม่มาก บางครั้งหลักพัน หรือบางครั้งหลักร้อย แต่รวม ๆ กันแล้ว เป็นหลักหมื่น
มีบางครั้งเราบอกไปแล้วว่า “ไม่มีเงิน” ก็ยังขอยืม แค่ 30-50 บาท ก็เอา ช่วงหลัง ๆ ใช้วิธีไม่รับการติดต่อ คือ ไม่อ่านไลน์ ไม่รับโทรศัพท์

คำแนะนำจากจิตอาสา :

    • โชคดีมากที่ได้ใช้วิบาก จริง ๆ แล้วนั้นชาติใดชาติหนึ่งเราเคยได้เอาเปรียบหรือทำไม่ดีกับผู้อื่นเอาไว้ ไม่ว่าจะเป็นวิธีใดก็ตาม ในความคิดที่จะเอาเปรียบผู้อื่นเพื่อตนเอง หรือทำความรำคาญใจให้กับผู้อื่นมา แต่กรรมจะส่งผลในรูปแบบที่แตกต่างกัน หากกล้าเต็มใจยอมรับวิบากร้ายที่เกิดขึ้น สิ่งนี้จะกลับกลายเป็น “พลังวิบากดีและกุศลเกิดขึ้นทันที” เมื่อได้ใช้หนี้ไปแล้ว สุดท้ายเราก็จะได้ช่วยเหลือเกื้อกูลกันเท่าที่ทำได้
    • ในชาตินี้ตัวเราเองก็มีได้ผิดศีล และเบียดเบียนผู้อื่นไว้เยอะ เมื่อเรามีความคิดอยากเอาเปรียบ ก็จะผิดศีลได้ทุกข้อ และทำชั่วได้ทุกเรื่อง เช่น ไปโมโหและกระชากเอาสิ่งต่าง ๆ จากผู้อื่นมา กรณีตัวอย่าง เช่น มีพี่น้องท่านหนึ่งเลี้ยงสัตว์ เลี้ยงนก เลี้ยงกระต่าย หรือเลี้ยงกระรอกบิน ก็อนุโมทนาบุญกับใจที่มีเมตตาของท่านที่มีต่อสัตว์ แต่ปรากฏว่าร่างกายท่านเจ็บป่วยบ่อยมาก มีปัญหากันภายในครอบครัว จึงลองตั้งคำถามกับท่านว่า หากเลี้ยงแล้วดีจริง ทำไมจึงไม่เลี้ยงงู และแมลงสาบด้วยล่ะ? ท่านก็ตอบว่า “เลี้ยงไม่ได้ เพราะสัตว์เหล่านี้สกปรก” นี่คือสภาพความชัง “ไม่อยากเอามาเพื่อตน” แต่อะไรท่านชอบ ไม่ว่าจะเป็นสัตว์หรืออะไรก็ได้ เราก็จะอยากได้มาครอบครองให้สมดั่งใจหมาย จึงกล้าพรากเอาชีวิตของสัตว์ที่เราชอบมาเลี้ยง
    • “ทำใจในใจ” เงินที่ถูกยืมเพียงเท่านี้ วิบากที่ถูกขอยืม 50 บาท ก็ยังดีกว่า 5,000,000 บาท ถือว่า “รับวิบากกรรมน้อยมากแล้ว” ไม่คุ้มที่จะทุกข์ใจ เพราะความทุกข์จะยิ่งก่อโรคภัยไข้เจ็บให้กับเรา
    • พระพุทธเจ้าก็ต้องรับวิบากเช่นกัน “พระมหาโมคคัลลานะก็ต้องตาย ยอมให้คนตีจนตาย จึงจะหมดวิบาก”
    • ยินดี ยอมรับ ชดใช้ และ “กล้าที่ปฏิเสธได้ ด้วยใจไร้ทุกข์” เราไม่ข่มเหงใคร และไม่ให้ใครข่มเหงเราเช่นกัน

[คลิกเพื่อชมคลิปวิดีโอ]


คำถามที่ 3 : ผู้ป่วยมีอาการเบาหวาน ความดัน มีลิ้นหัวใจรั่ว ทุกโรคมีอาการเล็กน้อย แพทย์ไม่ทำอะไรหักโหม แต่ปัจจุบันยังรับประทานเนื้อสัตว์อยู่ เพราะครอบครัวประกอบอาชีพเปิด “ร้านหมูกระทะ” แต่จะพยายามหักห้ามใจตนเองไม่ให้รับประทาน และหาวิธีพาตนเองเข้าสู่ “แพทย์วิถีธรรม” ให้ได้ สอบถามทั้งหมด 3 อาการ ดังนี้
1. ป่วยเป็น “ต่อมลูกหมากอักเสบ” มีค่า PHA คือ 10 จึงมีผู้แนะนำให้รับประทานอาหารเสริมต่าง ๆ จึงทดลองซื้อใช้ ผลออกมา “ไม่ดี” จึงไปตรวจอีกครั้ง กำลังรอผล มีอาการปัสสาวะเล็ดและมีการขับปัสสาวะบ่อย แต่ไม่เจ็บแสบ ควรรักษาอย่างไร?
2. อาการ “เท้าร้อน” จะรักษาอย่างไร?
3. อาการ “เวียนหัว บ้านหมุน” ตอนนี้ใช้ยาแก้เมารถและยาละลายไขมันทุกคืน มีอาการดีขึ้น แต่บางครั้งก็ยินเดินเซ ๆ แก้ไขอย่างไร?

คำแนะนำจากจิตอาสา :

    • ในการใช้ยา 9 เม็ดรักษาต่อมลูกหมากโต หากเพิ่ง “เข้ามาเรียนรู้ครั้งแรก” แนะนำให้สมัครมาเข้าค่ายหลักสูตร 10 วัน และมีการส่งการบ้านอีก 4 วัน ว่าเรียนรู้แล้วเป็นอย่างไร การอบรมไม่เสียค่าใช้จ่าย ศึกษาเท่าที่สะดวก [คลิกเพื่อลงทะเบียน
    • ลองศึกษา ยา 9 เม็ดทั้งหมดก่อน [คลิกเพื่อรับชมรายละเอียด] และยังสามารถรับชมได้ตามช่องทางอื่น ดังนี้
      Youtube หมอเขียวทีวี : https://shorturl.at/tDGT9
      Facebook หมอเขียว แฟนคลับ : https://www.facebook.com/morkeawfansclub

**หากมีข้อสงสัย สามารถเข้ามาสอบถามได้ 2 ช่องทาง ดังนี้

      1. แอด LINE OPENCHAT “0.สายด่วนสุขภาพพึ่งตนวิถีธรรม วิถีไทย” [คลิกเพื่อเข้าร่วมกลุ่มไลน์]
      2. ทางโปรแกรมซูม ในรายการสายด่วน สุขภาพพึ่งตนวิถีธรรมวิถีไทย”
        **หากท่านไม่สะดวกเปิดเผยตัวตน**
        **ท่านสามารถปิดกล้อง และใช้นามแฝงได้ตลอดในการพูดคุย**
        สอบถามได้ “ทุกวัน”
        เวลา 15.00-17.30 น. โดยประมาณ
        ทางโปรแกรม Zoom
        จากลิงก์นี้ https://us02web.zoom.us/j/87543128959?pwd=cDQ4UFltODBSS1htQlV0T25aQXVuZz09Meeting ID: 875 4312 8959
        Passcode: 110615
    • สำหรับอาการ “เท้าร้อน” แนะนำให้ใช้ยาเม็ดที่ 4 คือ แช่มือแช่เท้า โดยผู้ป่วยต้องทราบภาวะร่างกายของตนเองก่อน ว่าเป็น “ภาวะร้อนเกิน ภาวะเย็นเกิน หรือภาวะร้อนเย็นพันกัน” จึงจะสามารถเลือกสมุนไพรในการแช่ได้ถูกต้อง ที่ถูกกับตนเอง เพื่อประสิทธิภาพในการรักษา ตรวจสอบว่าแต่ละสาเหตุของโรค เกิดจากสาเหตุอะไร
    • “เกลือ” ไม่เหมาะกับ “ภาวะร้อนเกิน” เหลือจะเหมาะกับอากาศหนาว และผู้ที่มีภาวะเย็นเกิน และอาการเท้าร้อนเกิดจาการมีความร้อนมาก หากต้องการแช่มือแช่เท้า แนะนำให้ลองใช้สมุนไพรฤทธิ์เย็น เช่น เถ้าตำลึง ผักบุ้งแก่ เปลือกสับปะรด กล้วย
    • ทุกโรครักษาเหมือนกัน บางครั้งเราอาจเน้นการรักษาโรคที่ร้ายแรง เราจะวางเป้าหมายไว้เป็นการรักษาอันดับหนึ่ง แต่หากเราปรับสมดุลร่างกายแล้ว “เมื่อโรคร้ายแรงหายแล้ว อาการอื่น ๆ ก็จะหายตามไปเองด้วยทันที”
    • เลิกรับประทานอาหาร “ตามใจฉัน” โดยงดรับประทานเนื้อสัตว์ และเปลี่ยนเป็นพืช จืด สบาย อาการเบาหวาน ความดัน โรคหัวใจ จะลดลงทันที “แต่ไม่จำเป็นต้องหักดิบวันนี้” เพียงค่อย ๆ ลด ละ เลิก ในบางวัน บางมื้อ หรือบางครั้งก่อน อาการจะทุเลาเบาบางได้เช่นกัน เพราะศาสตร์แพทยืวิถีธรรม “ลดกิเลสรักษาได้ทุกโรค”
    • แพทย์วิถีธรรมจะเชื่อมโยงกับ “ธรรมะ” พิจารณาโทษและประโยชน์ที่มีต่อตัวเราและครอบครัวมากน้อยเพียงใด จึงจะทำให้เราสามารถตัดสินใจเลิกในสิ่งที่ไม่ดีได้ เช่น เมื่อเราทราบว่า การรับประทานเนื้อสัตว์จะทำให้ร่างกายป่วย และหากเลิกรับประทานเนื้อสัตว์ก็จะทำให้ลดการเบียดเบียนชีวิตอื่น
    •  มนุษย์มีฟันแบบเดียวกับ “วัวและควาย” ต่างจากสัตว์รับประทานเนื้อ เช่น เสือ
    • การปฏิบัติ “ศีล 5 “ โดยเฉพาะ “ศีลข้อที่ 1” มีความสำคัญมาก คือ การไม่เบียดเบียนชีวิต
    • พิจารณา “รถขนสัตว์” ที่เรามักพบบนท้องถนน ทุกชีวิตน่าสงสาร และมีความรู้สึกเช่นกัน
    • “เนื้อสัตว์ไม่ได้ให้โปรตีน” ได้อย่างเดียว เราสามารถบริโภคโปรตีนจากถั่วได้เช่นกัน
    • หากร่วมรับประทานกับครอบครัว และยังเลี่ยงเมนูจากเนื้อสัตว์ไม่ได้ ก็สามารถ “เขี่ยเนื้อสัตว์” ออกได้
    • ค่อย ๆ เรียนรู้ไป จะรู้สึกสนุก เพราะจะสามารถดูแลรักษาตนเองได้ “ไม่ควรใจร้อน” สามารถมีสุขภาพแข็งแรง เบากาย
    • จิตอาสาทุกท่านต่างเคยรับประทานเนื้อสัตว์กันทั้งนั้น เมื่อได้ศึกษาการทำปศุสัตว์ คือ การเลี้ยงสัตว์ต้องใช้ทรัพยากรเยอะมาก เช่น น้ำ และพลังงานต่าง ๆ จึงเป็น “การเบียดเบียนโลกมาก”
    • “น้ำขิง” เป็นฤทธิ์ร้อน และ “การแช่ตู้เย็น” ไม่ได้สามารถทำให้ฤทธิ์ของอาหารเย็นลง
    • หลักการแพทย์วิถีธรรม ไม่ได้ใช้ “ยา” แต่ใช้ “ปัญญา” แต่เป็นการตรวจสอบกายใจ และเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการใช้ชีวิตประจำวันของแต่ละท่าน ตรวจสอบการติดยึดในสิ่งต่าง ๆ ว่าเป็นอย่างไร เช่น หากได้รับคำแนะนำว่า เลิกรับประทานเนื้อสัตว์ ใจเราทุกข์หรือไม่
    • ยาเม็ดที่ 8 คือ ยาเม็ดเลิศ โดยการใช้ “ศีล” เป็นการตรวจสอบ และใช้เทคนิคทำใจให้หายโรคเร็ว คือ “อย่าโกรธ อย่ากลัวเป็น อย่ากลัวตาย อย่าเร่งผล อย่ากังวล” มาทำความโกรธให้หมดไป เพื่อให้ทุกข์ไป เพราะความทุกข์จะทำให้เกิดโรค
    • มาเรียนรู้การ “ทำใจในใจ” ว่าพระพุทธเจ้า ครูบาอาจารย์ และจิตอาสาปฏิบัติอย่างไร เพื่อเปลี่ยนวิธีคิด วิธีการรักษา โดยให้เปรียบเทียบด้วยตนเอง ทดลองทั้ง 2 ด้าน เพื่อให้ชัดเจนด้วยตนเอง
    • “พิสูจน์” ด้วยตนเองในทุกเรื่อง ว่าสิ่งใดดีหรือไม่ดี เพราะข้อมูลและประสบการณ์ของแต่ละท่านไม่เหมือนกัน เช่น น้ำปัสสาวะ จะมีทั้งผู้ที่หายป่วยจากปัสสาวะ และผู้ที่ชิงชังรังเกียจ
    • เมื่อเราดูแลตนเองจนดีขึ้น และหายป่วยแล้ว โดยเริ่มต้นจากตนเองก่อน ก็จะสามารถนำไปแบ่งปันให้กับผู้อื่นได้ เพราะเราจะมี “ความเชื่อมั่นและความมั่นใจ” ในการไปบอกต่อ มีความรู้เท่าใด บอกเท่านั้น
    • ผู้ถามเป็นผู้ที่มีความเมตตาและเสียสละ เพราะทดลองวิธีการต่าง ๆ เพื่อช่วยผู้อื่น แต่ไม่มีการทดลอง มีเพียง “ใจที่จะเข้ามาเรียนรู้” ด้วยการเลือกสิ่งที่ดีกับตนเอง เป็นนักวิทยาศาสตร์พิสูจน์ด้วยตนเอง
    • “การหายโรคได้” ขึ้นอยู่กับว่า “เราทำได้ หรือเรายังไม่ทำ หรือองค์ประกอบทำให้ไม่ทำไม่ได้” เพราะไม่มีใครบังคับให้เราทำหรือไม่ทำอะไร เพราะปัจจัยแต่ละท่านไม่เหมือนกัน
    • แนะนำเพียงแต่ “ผู้ที่ศรัทธา” เมื่อไม่บังคับ “ก็ไม่เหนื่อยพูด”
    • หากมี “กิเลสที่ไม่อยากฟังธรรมะ” ก็ลองสู้กับใจตนเอง ให้มาลองฟังสิ่งที่ “เป็นประโยชน์” ก็เป็นการฝึกลดกิเลสเช่นกัน

[คลิกเพื่อชมคลิปวิดีโอ]


คำถามที่ 4 : คุณแม่มีอาการติดเชื้อเยอะมาก จากแผลเรื้อรังที่ได้ผ่าตัด จึงติดตามแพทย์วิถีธรรมมาหลายวันแล้ว และได้นำยา 9 เม็ดไปดูแลคุณแม่แล้ว โดยทำอาหารปรับสมดุลตามในคลิปให้คุณแม่รับประทาน นำผักไชยามาคั้นน้ำ แล้วแช่ตัวให้คุณแม่ จนมีอาการดีขึ้น
วันนี้ช่วงเช้าได้ทำ “เมนูต้มยำ” ใส่เห็ดนางฟ้า เห็ดฟาง แครอท และผักไชยา งดใส่เนื้อสัตว์เป็นเวลา 2 เดือนแล้ว
แต่วันนี้คุณแม่มีอาการตัวร้อน จึงได้เช็ดตัวให้แม่ จนมีอาการดีขึ้น ไม่แน่ใจข้อมูลเกี่ยวกับฤทธิ์ของอาหาร อยากขอคำแนะนำว่า ควรทำอาหารให้คุณแม่ เป็นประเภทใด?

คำแนะนำจากจิตอาสา :

    • งดรับประทานอาหารรสจัดไปก่อน เช่น ประเภทยำ เนื่องจากคุณแม่ยังมีพิษร้อนอยู่ แนะนำให้รับประทาน “ข้าวต้มปรับสมดุล” [คลิกเพื่อรับชมวิดีโอ] พยายามไม่ใส่เกลือลงไปในข้าว แต่ให้นำเกลือมาแตะที่ “ปาก” เพื่อให้เค็มพอดี
    • ต้มน้ำสมุนไพรที่ถูกกันให้คุณแม่อาบ แนะนำสมุนไพรอื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น ย่านาง ใบเตย ผักบุ้ง เบญจรงค์ (อ่อมแซ่บ) วอเตอร์เครส หรือใบมะขาม จะใช้เป็นแบบสดหรือต้มก็ได้ ตรวจสอบว่าเหมาะกับแบบใด นำมาต้มให้เดือน 5 -10 นาที และให้คุณแม่อาบหรือเช็ดตัวก็ได้ หรือหากที่บ้านมีอะไรก็ใช้แบบนั้น จะใช้เปลือกผลไม้ฤทธิ์เย็นก็ได้ ทำเท่าที่ได้ และนำมา “ดื่ม” ด้วย

[คลิกเพื่อชมคลิปวิดีโอ]


คำถามที่ 5 : จากที่เคยได้ปรึกษาไป ในเรื่องของคุณน้าที่มีภาวะตับเหลือเพียง 50% และเคยใช้วิธีกัวซาบริเวณที่ไม่มีแผล เนื่องจากบริเวณใต้ท้องแขน มีแผลและเกิดเม็ดตุ่มน้ำใสขึ้นมาเยอะมาก ลักษณะเหมือนมดกัด จึงให้พอกและแช่สมุนไพรฤทธิ์เย็น อาการหายไปแล้วช่วงหนึ่ง แต่ไม่หายขาด ยังกลับขึ้นอีก พอเกา จึงมีอาการอักเสบและมีหนอง คุณน้ายังไม่สามารถเลิกรับประทานเนื้อสัตว์ได้ ยังมีภาวะอารมณ์ขึ้น ๆ ลง ๆ อยากขอคำแนะนำในการดูแลรักษา

คำแนะนำจากจิตอาสา:

    • ผู้ถามได้ดูแลตนเองได้อย่างดีตามศาสตร์แพทย์วิถีธรรมแล้ว จึงมีความเข้าใจในการรักษาตามหลักการนี้ดี เมื่อได้ไปดูแลผู้ป่วย และอาจมีพิษจากผู้ป่วยเข้าตัวบ้าง ก็สามารถเรียนรู้แก้ไขได้ เพราะเน้นเรื่องแก้จุดที่สำคัญที่สุด คือ “ใจ” เป็นหลัก แต่ผู้ป่วยยังไม่เข้าใจเท่ากับผู้ถาม จึงต้องใจเย็น เน้นให้ผู้ป่วยทำเท่าที่มี “ความสบายใจ”
    • ใจที่ได้คลายและไม่มีความทุกข์ หวังดีโดยพูดให้ผู้ป่วยสบายใจ ไม่เร่งผู้ป่วย ปลอบใจผู้ป่วย จะทำให้เกิดความสบายใจทั้งผู้ถามและผู้ป่วย และ “ไม่เผาใจผู้ป่วยและตนเอง”
    • แนะนำให้ผู้ป่วยลอง “เปรียบเทียบ” พิสูจน์การรักษาด้วยตัวท่านเอง และในแต่ละการรักษา ให้ท่านเต็มใจทำยา 9 เม็ดเท่าที่ทำได้ ปรับเปลี่ยนไปเรื่อย คอยดูจังหวะ แต่ไม่ให้ตึงเครียด จึงจะเป็น “จุดที่ดีที่สุดสำหรับท่าน”
    • ให้ข้อมูลผู้ป่วยว่า อาหารและการรักษาภายนอกเป็น “เพียงแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น” หากจะใช้ได้ผลการรักษาเพิ่มอีก 70% ต้องฟังธรรมะ ทบทวนธรรม และปรับใจด้วย สิ่งนี้ผู้ป่วยต้องทำด้วยตัวเอง ผู้อื่นทำให้ไม่ได้
    • พยายามให้ผู้ป่วยพึ่งตนเองให้ได้ หากรอแต่ให้ผู้อื่นไปดูแล เมื่อถึงวันหนึ่งที่ไม่มีใครสามารถดูแลผู้ป่วยได้ จะทำให้ผู้ป่วยยิ่งทุกข์ จากการไม่เคยรู้จักฝึกช่วยเหลือตนเอง ตามที่อาจารย์หมอเขียวเคยกล่าวไว้ “ถ้าสุขภาพพึ่งตนเกิดไม่ได้ หมอและคนไข้จะพากันป่วยตาย”

[คลิกเพื่อชมคลิปวิดีโอ]

สรุปเนื้อหาสาระในวันนี้ คือ หมั่นทบทวนธรรม เพื่อสะสมขุมทรัพย์ทางปัญญา หมั่นดูใจ สังเกตความคิดที่ทำให้เราเป็นทุกข์ บททบทวนธรรมจะช่วยจับความทุกข์ในใจได้ทันการณ์ และช่วยฆ่ากิเลสที่มาหลอกให้เราหลงตามมัน

รายงานข่าวโดย :
ศิริพร คำวงษ์ศรี (มั่นผ่องพุทธ) / สวนป่านาบุญ ๙ สังกัดภาคกลาง

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *