รายการ “วิชาสุขภาพองค์รวม” ครั้งที่ 6

รายการ “วิชาสุขภาพองค์รวม” ครั้งที่ 6
วันศุกร์ที่ 2 กรกฎาคม 2564
เวลา 20.00 น.- 22.09 น.

ประเด็นเด่นจากรายการ

    • เส้นสิบ / กายวิภาคศาสตร์
    • การนวดบำบัด
    • การแพทย์ทางเลือกศาสตร์ต่าง ๆ 
    • พลังแห่งการกอด
    • ผลข้างเคียงของยาและวัคซีน
    • การบำบัดด้วยน้ำปัสสาวะ

[คลิกเพื่อรับชมคลิปวีดีโอ]

ครั้งนี้มีนักศึกษาเข้าเรียนผ่านระบบออนไลน์ทั่วโลกมากกว่า 45 ท่าน ดำเนินการสอน โดย ดร.ธนวันต์ ศรีอมรรัตนกุล เรื่อง เส้นสิบ / กายวิภาคศาสตร์ และระบบการแพทย์ทางเลือก


บรรยากาศในห้องเรียนออนไลน์นั้น คุรุได้สอนบทเรียน พร้อมทั้งชวนนักศึกษามาร่วมแลกเปลี่ยนและแบ่งปันประสบการณ์การแพทย์าทางเลือกศาสตร์ต่าง ๆ รวมถึงใช้ยา การฉีดวัคซีน และผลข้างเคียง

“เส้นสิบ / กายวิภาคศาสตร์”

เส้นประธาน 10 คือ
1. อิทา                    6. ทุวารี
2. ปิงคลา               7. รุทัง
3. สุมนา                 8. จันทภูสัง
4. กาลธารี             9. สิขินี
5. สหัสรังสี          10. สุขุมัง

“การนวดบำบัด” คือ การนวดกดเส้นลมประธาน10 และเส้นต่าง ๆ ตามร่างกาย รวมกึงฝ่ามือฝ่าเท้า

    1. การนวดแบบราชสำนัก คือ การนวดตามโบราณ โดยต้องนวดให้สุภาพ เพื่อนวดให้กับกษัตริย์
    2. การนวดแบบพื้นบ้านหรือเชลยศักดิ์ คือ การนวดผ่อนคลายในครอบครัว หรือคนทั่วไป

“ประโยชน์ของการนวดตัว / เท้า”

    1. ส่งเสริมป้องกันทางร่างกาย จากอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ กระตุ้นระบบต่าง ๆ และป้องกันจิตใจ ไม่ให้เครียด ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย และวิตกกังวล
    2. รักษาฟื้นฟูร่างกาย จากการเจ็บปวดของร่างกาย เช่น ไหล่ติด คอเคล็ด อัมพาต ฯลฯ

“ข้อห้ามและข้อควรระวังการนวดตัว/ เท้า”

    1. โรคติดเชื้อ มีไข้ ปวด บวม แดง ร้อน โรคผิวหนัง
    2. บริเวณที่มีบาดแผล บริเวณที่เป็นมะเร็ง
    3. หลังจากรับประทานอาหารใหม่ ๆ หรืออ่อนเพลีย
    4. ตั้งครรภ์ไตรมาศแรกและสุดท้าย
    5. ในช่วงที่กระดูกหัก หรือดามเหล็ก โรคหลอดเลือด
    6. หลอดน้ำเหลืองอุดตัน เส้นเลือดดำอักเสบ / อุดตัน

“ระบบการแพทย์ทางเลือก”

องค์กรอนามัยโลก (WHO) ให้คำจำกัดความของการแพทย์เสริมและการแพทย์ทางเลือก (Complementary and Alternative Medicine หรือ CAM) / ธรรมชาติบำบัด (Natural Medicine) การดูแลสุขภาพแบบองค์รวม (Holistic Medicine) ว่าเป็นการดูแลรักษาสุขภาพที่มิได้อยู่ในรูปแบบการรักษากระแสหลักของประเทศนั้น ๆ (Conventional Medicine)

(**ออกข้อสอบ**)
ศาสตร์การแพทย์ทางเลือก จำแนกตามการนำไปใช้ได้ 2 วิธี ดังนี้

1. Complementary Medicine คือ การแพทย์ทางเลือกที่นำไปใช้เสริมหรือใช้ร่วมกับการแพทย์แผนปัจจุบัน เช่น การใช้น้ำมันหอมระเหย เพื่อให้คนไข้มีอาการผ่อนคลายก่อนเข้ารับการผ่าตัด

2. Alternative Medicine คือ การแพทย์ทางเลือกที่สามารถนำไปใช้ทดแทนการแพทย์แผนปัจจุบันได้ โดยไม่ต้องอาศัยการแพทย์แผนปัจจุบัน เช่น คนไข้เลือกใช้วิธีการฝังเข็มและประคบร้อนเพื่อรักษาอาการกล้ามเนื้ออักเสบแทนการรับประทานยาคลายกล้ามเนื้อ

สำหรับประเทศไทย โดยกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
แบ่งการแพทย์ทางเลือก เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่

    1. กลุ่มศาสตร์เพื่อการปรับสมดุลของธาตุ /สารชีวภาพในร่างกาย (ชีวเคมี) ได้แก่ การใช้สมุนไพร และสูตรอาหารในการบำบัดรักษา เช่น อาหารเจ อาหารมังสวิรัติ อาหารแมคโครไบโอไบโอติกส์ (Macrobiatics) วิตามินบำบัด การล้างพิษ การขับสารพิษ โฮมิโอพาธี (Homeopathy)
    2. กลุ่มศาสตร์ เพื่อปรับสมดุลของโครงสร้างร่างกาย (กระดูก และกล้ามเนื้อ) ได้แก่ การดัด และดึงในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การจัดกระดูกสันหลัง การออกกำลังกายแบบต่างๆ เช่น โยคะ ชี่กง วารีบำบัด
    3. กลุ่มศาสตร์ เพื่อปรับสมดุลของพลังงานในร่างกาย ความสัมพันธ์ของกายและจิต (ชีวจิต ได้แก่ การบำบัดรักษาด้วยการใช้พลังงานต่าง ๆ ได้แก่ SKT ตรีลัญจกร พลังกายทิพย์ โยเร ซี่กง ฝังเข็มสะกดจิต กลิ่นบำบัด ดนตรีบำบัด

“เทคนิคการผ่อนคลายความเครียด”
เน้นการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ และทำจิตใจให้สงบเป็นหลัก เช่น การฝึกเกร็งและคลายกล้ามเนื้อ การฝึกหายใจ การทำสมาธิ การใช้จินตนาการ การทำงานศิลปะ การใช้เสียงเพลง การใช้เทปเสียงคลาย เครียดด้วยตัวเอง

“พลังแห่งการกอด”

“ความสำคัญของการกอด”

    • Dolores Krieger กล่าวว่า บุคคลที่ได้รับการกอด หรือ กอดผู้อื่น จะทำให้เกิดการกระตุ้นการทำงานของระบบไหลเวียนโลหิต ทำให้การลำเลียงออกซิเจนไปเลี้ยงเนื้อเยื่อส่วนต่าง ๆ
    • Virginia Satir นักจิตบำบัดชาวอเมริกัน กล่าวว่า คนเราต้องการการกอด คือ 4 ครั้ง / วัน เพื่อการดำรงชีวิต, 8 ครั้ง / วัน วันเพื่อพลังในการดำเนินชีวิต และ 12 ครั้ง / วัน เพื่อการเจริญเติบโต/เพื่อสุขภาพ

การกอดจะช่วยให้ระบบภูมิต้านทานในร่างกายทำงานได้ดีขึ้นได้ สุขภาพจะดีขึ้น รักษาภาวะซึมเศร้า ลดความตึงเครียด ทำให้มีชีวิตชีวา เป็นยาที่วิเศษที่ไม่มีผลข้างเคียง แต่ต้องเป็นกอดที่ออกมาจากใจ ทำด้วยความรักและเมตตา จึงจะเป็นความอ่อนโยนที่เป็นธรรมชาติ

“ฝ่ามือบำบัด หัตถ์แบบพระพุทธองค์” คือ การบำบัดด้วยการบริหารฝ่ามือเพื่อป้องกันโรค โดยทำการกด รัด ทับ เชื่อม ตรงจุดต่างๆในมือ เพื่อดึงพลังงานธรรมชาติทั้ง 3 เข้ามาสู่ร่างกาย

ข้อจำกัดของการแพทย์ทางเลือก

    1. บางศาสตร์ยังไม่มีหลักฐานพิสูจน์อย่างเพียงพอ ถึงแม้จะมีต้นกำเนิดมานาน
    2. มีการโฆษณาเกินความจริง และไม่บอกถึงผลข้างเคียง
    3. อาจมีค่าใช้จ่ายที่สูงมาก
    4. สารบางอย่างจากต่างประเทศ อาจไม่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมต่อผู้ป่วยในประเทศที่ใช้การแพทย์ทางเลือกนั้น ๆ
    5. ความผิดพลาดจากแพทย์ทางเลือกที่ขาดความเชี่ยวชาญ

**จากข้อจำกัดข้างต้น จึงทำให้อาจารย์หมอเขียว เลือกนำบางอย่างมาใช้ใน “ยา 9 เม็ด”**

สาเหตุการเลือกใช้การแพทย์ทั้ง 3 ระบบ มีดังนี้

    • อันตรายจากยาแผนปัจจุบัน (สถิติในอเมริกา)
    • ยาโรคหัวใจ Digoxin มีพิษต่อหัวใจในผู้ป่วยปีละ 28,000 ท่าน
    • ผู้สูงอายุเกิดแผลในกระเพาะอาหาร จากยาแก้ข้ออักเสบถูกส่ง รพ. ปีละ 41,000 ท่าน และเสียชีวิตถึง 3,300 ท่าน
    • ความจำเสื่อมปีละ 163,000 คน สาเหตุจาก “ยา” พบ 46% เกิดจากยากล่อมประสาท/ยานอนหลับ 14% เกิดจากยาลดความดัน และ 11% เกิดจากยาจิตเวช
    • พบว่า 42% ของสารก่อมะเร็ง มาจากยาแผนปัจจุบัน คือ Cancer drugs, Allergy -Claritin, Anti-ulcer drugs
      Estrogens, Cholesterol-lowering (statins), Psychotropic drugs (60%) และAntibiotic (50%)
    • ผลข้างเคียงวัคซีน “มีทุกยี่ห้อ” แต่น้อยมาก เช่น Pfizer มีอาการช๊อก, Astra -Johnson & Johnson ลิ่มเลือดผิดปกติ และ Sinovac มีภาวะ Stoke

การบำบัดรักษาด้วยน้ำปัสสาวะ

ส่วนประกอบในน้ำปัสสาวะ คือ น้ำ 95%, ยูเรีย 25 g/d, กรดยูริก 1g/d, ครีเอตินิน 1.5g/d, แร่ธาตุต่าง ๆ 10 g/d, ฟอสเฟตและกรดอินทรีย์3 g/d (ส่วนใหญ่เป็นเกลือโซเดียม), โปรตีนเล็กน้อย 40-80 mg/d เช่น อัลบูมิน กลูโคส วิตามินที่ละลายน้ำ

“การวิจัยการใช้น้ำปัสสาวะ”
วิจัยเชิงสำรวจ คือ ผู้เข้ารับการอบรมค่ายสุขภาพแพทย์วิถีธรรม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 – 2559 จำนวน 305, 187 คน กลุ่มตัวอย่าง เป็นการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 25,648 คน เก็บข้อมูล โดยการ

    1. ทบทวนเวชระเบียนที่มีการบันทึกผลการใช้น้ำปัสสาวะ ในการบำบัดอาการเจ็บป่วย จำนวน 20,202 คน
      วีดีโอที่บันทึกการแบ่งปันประสบการณ์การใช้น้ำปัสสาวะจำนวน 2.442 คน
    2. เครื่องบันทึกเสียงที่บันทึกการสัมภาษณ์กรณีศึกษาที่น่าสนใจ

ผลการศึกษา พบว่า วิธีการนำน้ำปัสสาวะมาใช้ ได้แก่ ดื่ม อม กลั้วคอ สูดดมฉีดพ่น ทาผิวหนัง หมักผม หยอดตาหยอดหู เช็ดแผล แช่มือแช่เท้า พอก นวดตัว สวนล้างลำไส้ใหญ่ สวนล้างช่องคลอด และใช้ได้กับทุกส่วนของร่างกาย

ผลจากการใช้น้ำปัสสาวะในการบำบัด คือ กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 100 มีความพอใจในผลการบำบัด มีอาการดีขึ้น หรือหายสนิทได้อย่างรวดเร็วเมื่อเทียบกับวิธีเดิมที่เคยใช้กับอาการเดียวกัน

นอกจากนี้ปัสสาวะยังหาได้ง่าย ไม่ต้องซื้อ จึงประหยัดค่าใช้จ่าย และสามารถพึ่งตนเองได้ ทำให้รู้สึกอุ่นใจ ลดความกังวล ไม่พบว่ามีอาการข้างเคียงจากการใช้

สิ่งที่ไม่พึงประสงค์ เช่น ปัสสาวะมีกลิ่นฉุน (ในผู้ที่ยังรับประทานเนื้อสัตว์) รสจัด (ในผู้ที่รับประทานอาหารรสจัด) ความรู้สึกชิงชังรังเกียจในการใช้น้ำปัสสาวะ ซึ่งกลุ่มตัวอย่างจะพยายามล้างความชิงชังรังเกียจจากจิต โดยถือว่าเป็นการปฏิบัติธรรม ลดกิเลส จึงกล้ารับประทานปัสสาวะได้

สรุปเนื้อหาของวันนี้ คือ

    1. การเรียนรู้ผสานพลังประโยชน์จากแพทย์ทางเลือกต่าง ๆ และแพทย์ปัจจุบัน เพื่อให้เหมาะสมต่ออาการป่วยของร่างกาย
    2. ศาสตร์แพทย์วิถีธรรม คือ ศาสตร์การแพทย์ที่ดีที่สุด ในการนำข้อดีของแพทย์ศาสตร์ต่าง ๆ มาบำบัดรักษาอาการป่วยได้อย่างเหมาะสมและสมดุล

รายงานข่าวโดย :
ศิริพร คำวงษ์ศรี (มั่นผ่องพุทธ) / สวนป่านาบุญ ๙ สังกัดภาคกลาง

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *