รายการ “วิชาสุขภาพองค์รวม” ครั้งที่ 5

รายการ “วิชาสุขภาพองค์รวม” ครั้งที่ 5
วันศุกร์ที่ 25 มิถุนายน 2564 เวลา 20.00 น.- 21.15 น.

ประเด็นเด่นจากรายการ

    • การวิเคราะห์ปัญหาสุขภาพตาม “ธาตุเจ้าเรือน”
    • ธาตุเจ้าเรือน เคลื่อนตามพฤติกรรม
    • รู้รสยา รู้การใช้
    • ผดุงครรภ์ บำรุงหลังคลอด
    • รู้เส้นจุดลมปราณ สะท้อนอวัยวะของร่างกาย
    • เจ็บ คือ ไม่ตาย ตายจึงไม่เจ็บ

[คลิกเพื่อรับชมคลิปวีดีโอ]

ครั้งนี้มีนักศึกษาเข้าเรียนผ่านระบบออนไลน์ทั่วโลกมากกว่า 36 ท่าน ดำเนินการสอน โดย ดร.ธนวันต์ ศรีอมรรัตนกุล เรื่อง เวชกรรมไทย และเภสัชกรรมไทย


บรรยากาศในห้องเรียนออนไลน์เต็มไปด้วยความเบิกบาน คุรุสอนด้วยรอยยิ้มและมีการแลกเปลี่ยนความรู้ข้อมูลระหว่างคุรุและนักศึกษา แต่ละท่านตั้งใจร่วมเรียนและมีความผาสุกไปด้วยกัน

“เวชกรรมไทย”

ธาตุเจ้าเรือน คือ การวิเคราะห์ปัญหาสุขภาพตามแนวโน้มของบุคลิกภาพและกายภาพ ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงได้ด้วยวิธีการรับประทานอาหาร การปรับสมดุล การสวนล้างลำไส้ และการดื่มน้ำปัสสาวะ ร่างกายไม่มีธาตุคงแบบเดิมถาวร
– ดิน (ตัวหลัก) คือ ร่างกายใหญ่ คล้ำ ผมดกดำ เสียงดังชัด / แนวโน้มปัญหา คือ ก้อนในกล้ามเนื้อหรืออวัยวะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ มะเร็งกล้ามเนื้อตามจุดที่มีปัญหา ปรับสมดุลโดยเน้นอาหารจากธรรมชาติ ที่มีรสฝาด มัน เค็ม งดอาหารหรือขนมสำเร็จรูป
– น้ำ คือ ร่างกายสมบูรณ์ อิ่มเอิบ ผิวสดใส / แนวโน้มปัญหา คือ อาการภูมิแพ้ ความผิดปกติของเลือด และน้ำเหลือง ขับน้ำผิดปกติ เช่น น้ำมูก ท้องเสีย มะเร็งเม็ดเลือด ปรับสมดุลโดยเน้นอาหารจากธรรมชาติ ที่มีรสเปรี้ยว และขมเล็กน้อย เช่น ตระกูลส้ม
– ลม คือ ร่างกายผอมโปร่ง กระดูกลั่น เวลาเคลื่อนไหว ขี้กลัว ขี้น้อยใจ / แนวโน้มปัญหา คือ การผิดปกติของความดัน ปวดตามข้อหรือกระดูกต่าง ๆ ปรับสมดุลโดยเน้นอาหารจากธรรมชาติฤทธิ์ร้อน เช่น ขิง ข่า ใบมะกรูด
– ไฟ คือ ร่างกายปานกลาง หิวบ่อย ผมขนหงอก / แนวโน้มปัญหา คือ การเผาผลาญที่ผิดปกติ ไทรอยด์ เบาหวาน บำรุงโดยเน้นอาหารจากธรรมชาติ ที่มีรสเปรี้ยว และขมเล็กน้อย เช่น ตระกูลส้ม ปรับสมดุลโดยเน้นอาหารฤทธิ์เย็น เช่น แตงโม ย่านาง เบญจรงค์ มะระ

ซึ่งธาตุเจ้าเรือนจะบ่งบอกปัญหาสุขภาพ ที่มักสอดคล้องมีแนวโน้มร่วมกับ “สมุฏฐานวนิจฉัย” ในแต่ละด้าน ดังนี้

    1. ธาตุสมุฏฐาน – ตามวันเดือนปีเกิด
    2. อุตุสมุฏฐาน – ตามฤดูกาล คือ ฤดูร้อน = ไฟ, ฤดุฝน = ลม, ฤดูหนาว = น้ำ
    3. อายุสมุฏฐาน – ตามอายุ คือ ปฐมวัย (แรกเกิด – 16 ปี) = น้ำ, มัชฉิมวัย (16-35 ปี) = ไฟ, ปัจฉิมวัน (32 ปีขึ้นไป) = ลม
    4. กาลสมุฏฐาน – ตามเวลา คือ 06.00 – 10.00 และ 18.00 – 22.00 น. = น้ำ, 10.00 – 14.00 และ 22.00 – 02.00 น. = ไฟ, 02.00 – 06.00 และ 14.00 – 18.00 น. = ลม
    5. ประเทศสมุฏฐาน – ตามถิ่นที่อยู่ คือ ภูเขาสูง เนินเขา (ภาคเหนือ) = ไฟ, น้ำฝน โคลนตม ฝนตกชุก (ภาคกลาง) = ลม, น้ำฝน กรวดทราย เก็บน้ำไม่อยู่ (ภาคอีสาน) = น้ำ, น้ำเค็ม โคลนตม ชื้นแฉะ (ภาคใต้) = น้ำ

“เภสัชกรรมไทย”

เภสัชวัตถุ คือ พืชวัตถุ สัตว์วัตถุ ธาตุวัตถุ

(**ข้อมูลส่วนนี้ ออกข้อสอบ**)
สรรพคุณเภสัช คือ รู้รสยา จึงจะทราบสรรพคุณของสิ่งที่นำมาใช้เป็นยา
มี 9+1 (10) รส ดังนี้

    1. ยารสฝาด เช่น ใบฝรั่ง เปลือกผลมังคุด สีเสียดเทศ เปลือกทับทิม เบญกานี มีแทนนิน ใช้รักษาอาการท้องร่วง แก้บิด สมานแผล แผลเปื่อย ห้ามใช้ช่วงท้องผูก
    2. ยารสหวาน เช่น ชะเอมเทศ ชะเอมไทย น้ำตาลกรวด หญ้าหวาน อ้อย มีคาร์โบไฮเดรต ช่วยบำรุงกำลัง แก้อ่อนเพลีย ห้ามใช้กับโรคเบาหวาน น้ำเหลืองเสีย ทำให้แผลชื้น
    3. ยารสมัน เช่น เมล็ดบัว แห้วหมู หัวกระเทียม ผักกะเฉด เมล็ดถั่ว มีไขมัน โปรตีน กลัยไคไซด์ ใช้บำรุงเส้นเอ็น ข้อ แก้ปวดเมื่อย ห้ามใช้กับโรคหอบ ไอ มีเสมหะ มีไข้ กระหายน้ำ
    4. ยารสเมาเบื่อ (ไม่นิยมใช้) เช่น สะแกนา สลอด มะเกลือ หัวข้าวเย็น กลอย ขันทองพยาบาท หนอนตายอยาก ทองพันชั่ง มีกลัยโคไซด์ และอัลคาลอยด์ ใช้แก้พิษ ขับพยาธิ แก้โรคมะเร็ง ห้ามใช้กับโรคไอ หัวใจพิการ
    5. ยารสหอมเย็น เช่น มะลิ สารภี พิกุล บุนนาค เกสรบัวหลวง เปลือกชะลูด เตยหอม มีกลัยโคไซด์ ใช้บำรุงหัวใจ โลหิต แก้อ่อนเพลีย ห้ามใช้กับโรคธาตุพิการ ลมป่วง ดีซ่าน ร้อนใน กระหายน้ำ
    6. ยารสขม เช่น บอระเพ็ด ฟ้าทะลายโจร ดีบัว ขี้เหล็ก ระย่อม บวบขม กะดอม มีสารกลัยโคไซด์และอัลคาลอยด์ มีฤทธิ์แก้ไข้ เจริญอาหาร แก้ร้อนใน บำรุงน้ำดี ช่วยย่อยอาหาร ห้ามใช้กับโรคลมในลำไส้ จุกเสียดแน่น โรคหัวใจ
    7. ยารสเค็ม เช่น เกลือสินเธาว์ ดินประสิว มะเกลือป่า เกลือแกง เหงือกปลาหมอ ชลู่ ใช้แก้โรคผัวหนัง ชำระเมือกมันในลำไส้ ฟอกโลหิต ดับพิษร้อน แก้รำมะนาด เสมหะเหนียว น้ำเหลืองเสีย ห้ามใช้กับโรคไตพิการ อุจจาระพิการ โรคบิดมูกเลือด
    8. ยารสเปรี้ยว เช่น ผักส้มป่อย มะขาม สมอไทย มะขามป้อม มะขามแขก มีกรด ใช้แก้เสมหะ / กระหายน้ำ / ไอ กัดเสมหะ ฟอกโลหิตระดู สตรี บำรุงเลือด ห้ามใช้กับโรค ท้องเสีย แก้ไข้ต่าง ๆ
    9. ยารสเผ็ดร้อน เช่น ดีปลี พริกไทย ขมิ้นชัน ขิง ข่า ไพล กระวาน กานพลู อบเชย สะค้าน ตะไคร้ กระชาย มีสารน้ำมันหอมระเหย ใช้แก้โรคลม ขับระดู ขับเหงื่อ บำรุงไฟธาตุ แก้ปวดท้อง ท้องอืด จุกเสียด ช่วยย่อยอาหาร ห้ามใช้กับโรคไอ ไข้พิษ ไข้เพื่อโลหิต
    10. ยารสจืด ใช้แก้ในทางเตโช ขับปัสสาวะ ดับพิษร้อน แก้ไข้

“ผดุงครรภ์”

    1. นวดหลังคลอด คือ ดูแลด้วยการนวดเชิงกรานให้ยกขึ้นกระชับ
    2. การทับหม้อเกลือ (เป็นที่นิยม) คือ ดูแลด้วยการวางหม้อเกลือหรือสมุนไพรบนท้อง ไม่หนอะหนะ ไม่เหมาะกับจุดที่มีแผล
    3. การประคบ / อบสมุนไพร คือ การดูแลด้วยลูกประคบ / อบในตู้ หรือ กระโจมผ้า และวางหม้อสมุนไพรไว้บนพื้น
    4. การนั่งถ่าน คือ การนั่งบนเก้าอี้ โดยต้มสมุนไพร เช่น หญ้าฮียุ่ม หรือรีแพร์ บนเตาถ่าน ซึ่งอยู่ด้านล่างเก้าอี้ เพื่ออังช่องคลอดให้กระชับ

“การนวดแผนไทย”

เส้นสิบ / กายวิภาคศาสตร์ คือ การรักษาด้วยวิธีนวดกดจุดเส้นลมปราณตามร่างกาย และฝ่าเท้า ซึ่งร่างกายและฝ่าเท้า (หงาย) จะสะท้อนตรงจุดเดียวกันตามร่างกายตั้งแต่หัวจรดเท้า
หลายท่านที่ได้กดจุดเส้น จะบ่นว่าเจ็บ จึงมีแนวคิด คือ “เจ็บ คือ ไม่ตาย ตายจึงไม่เจ็บ”

สรุปเนื้อหาของวันนี้ คือ

    1. ศาสตร์แพทย์วิถีธรรมดีที่สุดของการรักษา คือ “ยา 9 เม็ด” ของการรักษา เพราะได้ควบรวมองค์ความรู้ของทุกศาสตร์ที่เป็นประโยชน์สูงสุด เช่น แพทย์พื้นบ้าน แพทย์แผนไทย และแพทย์ทางเลือก
    2. การวิเคราะห์ปัญหาสุขภาพโดย “ธาตุเจ้าเรือน” ซึ่งบ่งบอกด้วยแนวโน้มตามบุคลิกภาพและกายภาพ สามารถเปลี่ยนแปลงเสมอได้ตามวิถีการใช้ชีวิตประจำวัน ได้เรียนรู้วิธีการผดุงครรภ์ และจุดเส้นลมปราณในการนวดแผนไทย

รายงานข่าวโดย :
ศิริพร คำวงษ์ศรี (มั่นผ่องพุทธ) / สวนป่านาบุญ ๙ สังกัดภาคกลาง

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *