At bagon.is you can Buy webshells, phpmailer, Combo list
รายการ "วิชาสุขภาพองค์รวม" ครั้งที่ 10 | สถาบันวิชชาราม
Skip to content

รายการ “วิชาสุขภาพองค์รวม” ครั้งที่ 10

รายการ “วิชาสุขภาพองค์รวม” ครั้งที่ 10
วันศุกร์ที่ 30 กรกฎาคม 2564
เวลา 20.00 น.- 22.05 น.

ประเด็นเด่นจากรายการ

    • สันติสุขของผู้ให้
    • ช่วยตนเองให้มีพลังที่ดีงามก่อนช่วยผู้อื่นเสมอ
    • การประนีประนอมนำมาสู่ความเข้าใจ
    • บอกตนเองให้ได้ เหมือนที่เราคอยบอกผู้อื่น

[คลิกชมคลิปวีดีโอ]

ครั้งนี้มีนักศึกษาเข้าเรียนผ่านระบบออนไลน์ทั่วโลกมากกว่า 46 ท่าน ดำเนินการสอน โดย ดร. พรรณทิพา ชเนศร์ (ทิพา) เรื่อง วิถีสันติสุขแห่งใจ ยุค New Normal ในสไตล์แพทย์แผนไทย


บรรยากาศในห้องเรียนออนไลน์ เบิกบานไปด้วยรอยยิ้มของคุรุเช่นเดิม เริ่มต้นด้วยคุรุได้ชวนนักศึกษาร่วมวิเคราะห์ “ภาพมือพ้นจากน้ำ” ว่ามีมุมมองอย่างไร ทุกท่านต่างให้ความคิดเห็นกันอย่างเบิกบาน

สันติสุขจะอยู่ตรงข้ามกับความแตกแยก ด้วยเกิดจากการเปิดใจ แม้บางอย่างจะขัดหูขัดใจเรา แต่อย่างน้อยก็เป็นการเริ่มต้นที่ดี

“สันติสุข – ยุคของการเปลี่ยนแปลง”

ตั้งคำถามกับตนเอง : สันติในใจของเรา คืออะไร ?

สันติ คือ ความสงบใจ
สุข หรือสุขัง ในภาษาบาลี คือ ความสบาย ความสำราญ ความปราศจากโรค
สุขในทางพุทธศาสนา มี 2 แบบ คือ กามสุข และ ฌานสุข

“ความสำคัญในการสร้างสันติสุขในใจ”

ตั้งคำถามกับตนเอง : ให้ความสำคัญ ต้องทำอย่างไร ?

หากเราเป็นหมอ หรือบุคคลที่ต้องดูแลผู้คน ต้องสร้างสันติสุขให้แก่ ตัวเอง (สำคัญที่สุด) ครอบครัว คนรอบข้าง และสังคม โดยการเป็นตัวอย่างที่ดีให้ได้ก่อน โดยการที่หากเราสามารถพึ่งตนได้ให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้ ก็จะทำให้เรามีความเชื่อมั่นในตนเอง จึงสามารถส่งต่อพลังงานนี้ให้กับสังคมและผู้อื่นได้ เพราะทำให้ผู้ที่เราช่วยเหลือนั้นวางใจและสบายใจที่จะบอกความทุกข์กับเรา เมื่อเราทำหน้าที่ของเราเต็มที่ ผู้ได้รับความช่วยเหลือนั้น จะทำหรือไม่ ย่อมเป็นหน้าที่ของเขาเอง และวิบากดีร้ายของเขา

ตั้งคำถามกับตนเอง : สิ่งที่ง่ายที่สุด ทีจะเริ่มสร้างสันติสุข คืออะไร ? อย่างไร ?

การสร้างสันติสุขและความสมานฉันท์ เป็นศาสตร์ และศิลป์ที่สำคัญยิ่งของมวลมนุษย์

(ท่านติช นัท ฮันห์)

“วิธีการบริหารสันติสุขในใจ”

การพัฒนาตนเอง
ศีลข้อที่ 1 คือ ละเว้นจากการเบียดเบียนตนเอง ผู้อื่น และสัตว์อื่น รวมถึงการดูแลสุขภาพตนเอง ให้อภัยตนเอง ซึ่งจะสอดคล้องกับหลักเบญจธรรม

เคล็ดลับ คือ เมื่อเราทำพลาด ส่วนใหญ่แล้วสิ่งที่เรามักจะพูดกับตนเองอย่างแรก คือ “ไม่น่าเลย” “เสียดาย” “ไม่น่าทำให้ยุ่งยากเลย” “พลาดอีกแล้ว” “ว่าแล้วเชียว”
แต่หากเพื่อนของเราทำผิดพลาด ส่วนใหญ่เราจะบอกกับเพื่อนว่า “ไม่เป็นไร” “เริ่มต้นใหม่” “เดี๋ยวก็ผ่านไป”
ความสำคัญ คือ สิ่งที่เราบอกกับเพื่อนหรือคนที่เรารัก เราจะนำมาบอกตนเองด้วยได้หรือไม่ ?

การดูแลผู้ป่วยจึงเป็นสิ่งสำคัญ ในการที่เราจะต้องเพียรกลับมาดูใจตนเอง และยกระดับใจตนเองให้ได้ ด้วยการเข้าใจในที่มาของตนเองและผู้อื่นอย่างลึกซึ้ง รักตนเองแบบไม่เห็นแก่ตัว และพากเพียรในการขอบคุณตนเองเสมอ ซึ่งทุกศาสนาพูดในเรื่องนี้ตรงกัน

ตั้งคำถามกับตนเอง : ประยุกต์ใช้กับตนเองอย่างไร ?

“วิธีการบริหารสันติสุขในใจ”

การพัฒนาความสัมพันธ์ที่ดีของมนุษย์ (ระหว่างกับตนเอง ต่อครอบครัวและผู้ป่วย)
หลักการ คือ ทุกชีวิตมีศักยภาพเท่าเทียมกัน
หลักแห่งธรรม คือ ใช้ไตรลักษณ์ในการพิจารณาความสัมพันธ์ ไม่มีอะไรเที่ยงและยั่งยืน มีมาก็มีไปในวันหนึ่ง (อนิจจัง / ทุกขัง / อนัตตา) โดยวางจิตให้เป็นอุเบกขา และมีความเมตตากรุณาให้แก่ผู้อื่น พลังดีนั้นสามารถสัมผัสถึงกันได้

ตั้งคำถามกับตนเอง : ประยุกต์ใช้กับงานแพทย์แผนไทยอย่างไร ?

“วิธีการบริหารสันติสุขในใจ ทางจิตวิทยา”

(จอห์นสัน และเดวิค จอห์นสัน)

แนวคิดของการจัดการความขัดแย้ง คือ การทำให้ทุกฝ่ายได้ประโยชน์ร่วมกัน (win win) มิให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเสียเปรียบ โดยใช้วิธีประนีประนอมด้วยการพูดคุย และไม่จำเป็นต้องให้คนรอบข้างหรือผู้ป่วยทำทุกวิธีการให้ครบ ปล่อยให้ท่านทำเท่าที่สบายใจและสามารถทำได้

หลักการ คือ ให้ทำความเข้าใจในบุคลิกผู้อื่นหรือผู้ป่วย ตามรูปแบบของสัตว์ 5 ประเภท ได้แก่

เรียงการให้ความสำคัญต่อผู้อื่น จาก สูง —-> ต่ำ  ดังนี้

แบบเอื้ออำนวย (ตุ๊กตาหมี)

แบบร่วมมือร่วมใจ  (นกฮูก)

แบบประนีประนอม (หมาจิ้งจอก)

แบบหลักเลี่ยง (เต่า)

แบบบังคับ (ฉลาม)

เรียงการให้ความสำคัญต่อตนเอง จาก สูง —-> ต่ำ  ดังนี้

แบบบังคับ (ฉลาม)     

แบบหลักเลี่ยง (เต่า)

แบบประนีประนอม (หมาจิ้งจอก)        

แบบเอื้ออำนวย (ตุ๊กตาหมี)

แบบร่วมมือร่วมใจ  (นกฮูก)

ให้บริหารด้วยการปรับวิธีสื่อสารจากรูปแบบสัตว์อื่น ให้ไปสู่วิธีการ “แบบสุนัขจิ้งจอก” ให้ได้
เช่น ผู้ป่วยมีลักษณะแบบปลาฉลาม เราก็ดึงวิธีการใช้จัดการด้วยแบบเต่า แบบหมี แบบนกฮูก และทำให้ประนีประนอมให้ได้แบบสุนัขจิ้งจอก

“การพัฒนาธรรมะ สำหรับการลดความขัดแย้ง”

หลักการ คือ “ความแตกต่าง” นั้นคือ “ความงดงาม”
หลักแห่งพุทธจิตวิทยา คือ ทาน ปิยวาจา อัตถจริยา สมานัตตา

สรุปเนื้อหาของวันนี้ คือ

    1. การสร้างพลังทั้งใจกายในการช่วยเหลือผู้อื่น ต้องเริ่มจากที่ตนเองก่อนเสมอ เมื่อเราสามารถพึ่งตนได้ และมีพลังความสุขในจิตวิญญาณ ก็จะสามารถส่งต่อพลังนี้ให้กับผู้อื่นได้อย่างผาสุก
    2. การประมาณการช่วยเหลือ ใช้หลักการวิเคราะห์บุคลิกของผู้รับการช่วยเหลือ ซึ่งหลักการคือให้นำมาสู่การประนีประนอมให้ได้ เพื่อความสบายใจและเบาใจของผู้รับเป็นที่ตั้ง ไม่ยึดมั่นถือมั่นสิ่งใด

รายงานข่าวโดย :
ศิริพร คำวงษ์ศรี (มั่นผ่องพุทธ) / สวนป่านาบุญ ๙ สังกัดภาคกลาง

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *