At bagon.is you can Buy webshells, phpmailer, Combo list
ข้อสอบ วิชาอริยสัจ 4 ครั้งที่ 1 (2/2564) | สถาบันวิชชาราม
Skip to content

ข้อสอบ วิชาอริยสัจ 4 ครั้งที่ 1 (2/2564)

การสอบวิชาอริยสัจ 4 ครั้งนี้เป็นการสอบครั้งที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2564 หมวดความรู้ความเข้าใจพื้นฐาน จำนวน 10 ข้อ สอบผ่านออนไลน์ด้วยกูเกิ้ลฟอร์มโดยให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่คิดว่าถูกต้องที่สุด ข้อสอบเป็นแบบเลือกคำตอบได้ 2 ตัวเลือก คือ ถูกและผิด เวลาในการทำข้อสอบ 30 นาที

Download file


ข้อสอบอริยสัจ 4

หมวดความรู้ความเข้าใจพื้นฐาน

คำชี้แจง ทำเครื่องหมายถูก หรือผิด ตามความสภาวะที่ท่านเข้าใจ

1. ทุกขอริยสัจ คือทุกข์ใจ ที่มีสภาพในจิต ในกาย ในเหตุการณ์ ได้แก่ ความเกิด ความแก่ ความเจ็บไข้ ความตาย ความประจวบด้วยสิ่งที่ไม่เป็นที่รัก ความพลัดพรากจากสิ่งที่เป็นที่รัก ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น

2. อุปาทานขันธ์5 มีอยู่ในขันธ์5 คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ(รูปมีรูปนอกรูปใน เวทนาคือความรู้สึก สัญญาคือความจำได้หมายรู้ สังขารคือการปรุงแต่ง วิญญาณคือการรับรู้)

3. สภาพทุกข์ใจ ได้แก่ ไม่เบิกบาน ไม่แจ่มใส เศร้าโศก หดหู่ ซึมเศร้า อึดอัด อัดอัน ฟุ้งซ่าน กลัว กังวล ระแวง หวั่นไหว

4. ทุกขสมุทัยอริยสัจ คือ อบายมุขตัณหา กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ควรตรวจให้เจอจึงจะล้างทุกข์ได้

5. ตัณหา คือ เหตุแห่งทุกข์ ที่เกิดจากความอยากแบบยึดมั่นถือมั่น ถ้าไม่เกิดตามที่อยากได้ก็จะทุกข์ใจ

6. การตามหาเหตุแห่งทุกข์ คือ ตามเข้าไปหาว่าทุกข์เรื่องไหน ประเด็นไหน อยากได้อะไรที่ไม่ได้ดั่งใจ ถ้าทุกข์ ซ้อนกันก็เชื่อมโยงกันว่าอยากได้อะไรแล้วมันไม่ได้ มีอะไรซักอย่างที่เรายึดที่เราอยากได้แล้วไม่ได้

7. ถ้าเหตุการณ์เดียวมีทั้งอาการกลัวเสียหน้า กลัวเสียทรัพย์ กลัวไม่ได้เสพกาม กลัวไม่ได้ดีดั่งใจ เป็นโมหะ (หลง) จะจับความรู้สึกยาก ถ้าจับได้แค่ประเด็นเดียวก็ล้างประเด็นเดียวก่อน ก็ช่วยให้เบาไปได้หนึ่งประเด็น

8. สภาพนิโรธ คือสภาพดับทุกข์ ที่ดับตัณหาความอยากแบบยึดมั่นถือมั่นโดยไม่เหลือ

9. มรรคคือวิราคะ ที่เป็นข้อปฏิบัติตามหลักมรรคมีองค์8 ทางเอกสายเดียวสู่ความพ้นทุกข์ที่คลายความชอบชัง สุขทุกข์ และอยากแบบยึดมั่นถือมั่นออกไป โดยไม่ต้องพิจารณาในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสก็ได้

10. วิธีดับทุกข์ควรตั้งศีลมากำจัดกิเลส อ่านอาการกิเลสแล้วใช้ปัญญาพิจารณาไตรลักษณ์ ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่มีตัวตนของกิเลส โทษของการมีกิเลส ประโยชน์ที่ไม่มีกิเลส และเข้าใจเรื่องกรรมดีกรรมชั่วอย่าง
แจ่มแจ้ง


เฉลยข้อสอบ

เฉลยข้อที่ถูกต้อง คือ ข้อ 1ข้อ 2 ข้อ 3 ข้อ 5 ข้อ 6 ข้อ 7 ข้อ 8 และข้อ 10

เฉลยข้อที่ผิด คือ ข้อ 4 และข้อ 9

ข้อ 4 ผิด เนื่องจากทุกขสมุทัยอริยสัจ (เหตุแห่งทุกข์) มี 3 อย่าง คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ควรตรวจให้เจอจึงจะล้างทุกข์ได้

ข้อ 9 ผิด เนื่องจากมรรค คือ การปฏิบัติให้เกิด“วิราคะ” (ความคลายกำหนัดความไม่ติดพัน ความเป็นอิสระ และปราศจากกิเลส)โดยปฏิบัติตามหลักมรรคมีองค์ 8 ที่เป็นทางเอกสายเดียวสู่ความพ้นทุกข์คลายความชอบชัง สุขทุกข์ และความอยากแบบยึดมั่นถือมั่นออกไป จำเป็นต้องพิจารณารูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสในแต่ละขณะของปัจจุบันจึงจะหลุดพ้นจากกิเลสได้เป็นลำดับ ๆ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *