At bagon.is you can Buy webshells, phpmailer, Combo list
สรุปข่าวห้องเรียน วิชา อริยสัจ 4 สัปดาห์ที่ 21 | สถาบันวิชชาราม
Skip to content

สรุปข่าวห้องเรียน วิชา อริยสัจ 4 สัปดาห์ที่ 21

สรุปข่าวห้องเรียน วิชา อริยสัจ 4 สัปดาห์ที่ 21

วันอาทิตย์ที่ 23 พฤษภาคม 2564 เวลา 12:00 – 14:00 น.
โดยคุรุประจำวิชานี้ คือ อาจารย์หมอเขียว ดร.ใจเพชร กล้าจน วิชชาธิการบดี (อธิการบดี) สถาบันวิชชาราม
ดร. วรางคณา ไตรยสุทธิ์ (คุรุพุทธพรฟ้า) รองวิชชาธิการบดี (อธิการบดี) ฝ่ายกิจการนักศึกษา

วันนี้มีพี่น้องเข้ามาร่วมกิจกรรมทาง Zoom รวมทั้งหมด 55 แอคเคาท์ ประกอบไปด้วย อาจารย์หมอเขียว และพี่น้องจากพุทธสถานภูผาฟ้าน้ำ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ และนักศึกษาที่อยู่ทางบ้านทั้งในและต่างประเทศ เช่นนักศึกษาจากประเทศเยอรมนี มาเลเซีย ฮ่องกง และ สปป.ลาว เป็นต้น

วิชาอริยสัจ 4 ห้องเรียนใหญ่ เป็นเวทีที่เปิดโอกาสให้พี่น้องนักศึกษาที่สนใจวิชานี้ ได้มาร่วมกันเรียนรู้และฝึกฝนความแม่นยำยิ่ง ๆ ขึ้นไปด้วยกัน โดยจะมีนักศึกษานำเสนอการบ้านอริยสัจ 4 รายสัปดาห์ของท่านให้คุรุตรวจ ซึ่งบรรยากาศก็จะเข้มข้นเต็มรูปแบบกว่าห้องย่อยอีกที เนื่องจากจะมีทั้งคุรุคอยซักถามพร้อมกับแนะนำในจุดที่ยังไม่ชัดเจนพอ เช่น อาการทุกข์ ว่ามีอาการหรือเวทนาทุกข์เกิดขึ้นทางใจอย่างไร หรือ สมุทัย คือเหตุแห่งทุกข์ ว่ามันเกิดจากอะไร ทำไม่ถึงทุกข์ กำลังยึดมั่นถือมั่นอะไรอยู่ หรือว่านิโรธ คือสภาพดับทุกข์ ว่าการตั้งนิโรธแบบนี้จะสามารถทำให้ดับทุกข์ได้หรือไม่ เป็นต้น ในขณะเดียวกัน หากมีพี่น้องนักศึกษาท่านไหนมีข้อสงสัยหรือความคิดเห็นอะไรก็จะขอโอกาสสอบถามหรือแสดงความคิดเห็นได้เรื่อย ๆ จนกว่าจะหายสงสัยหรือหมดข้อคิดเห็นกันเลยทีเดียว ซึ่งคำถามและข้อคิดเห็นต่าง ๆ เหล่านี้จะเป็นประโยชน์กับนักศึกท่านที่นำเสนอให้ตรวจการบ้านของตัวเองมาก ๆ เพราะจะช่วยให้ท่านสามารถอ่านอาการทุกข์ได้ชัดขึ้น สามารถหาสมุทัยได้ถูกตัวมากขึ้น และวางนิโรธ และเดินมรรค ที่จะพาให้พ้นทุกข์ใจในครั้งนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นนั่นเอง เรียกว่ากิจกรรมนี้เกิดทั้งประโยชน์ตนและประโยชน์ท่านเลยจริง ๆ

ซึ่งวันนี้มีนักศึกษาสนใจนำเสนอการบ้านอริยสัจ 4 ของตนเองให้คุรุถตรวจ ถึง 8 ท่านด้วยกัน แต่เนื่องจากหมดเวลาก่อน จึงสามารถตรวจการบ้านได้เพียง 4 ท่านเท่านั้น ส่วนอีก 4 ท่านต้องยกยอดไปสัปดาห์ถัดไป

และในช่วงสุดท้ายหลังห้องเรียน มีนักศึกษาท่านหนึ่งมีข้อสงสัยว่า ระหว่าง นิโรธ กับ มรรค มรรคน่าจะมาก่อน จึงจะไปถึงนิโรธได้ มีใครสามารถอธิบายให้ท่านเข้าใจได้บ้าง อาจารย์หมอเขียวท่านจึงเมตตาอธิบายให้ท่านเข้าใจก่อนที่จะแยกย้ายกันไปพักผ่อนในวันนี้


นักศึกษาที่นำเสนอการบ้านให้คุรุตรวจและเปิดโอกาสให้พี่น้องร่วมแสดงความคิดเห็นมีดังนี้…

1. สุนทรา เอี่ยมสุข (ดีบุญ) เรื่อง ความกังวล
ท่านเล่าว่าช่วงนี้อยู่แต่บ้านไปไหนไม่ได้ก็เลยคิดไปต่าง ๆ นา ๆ มีความกังวลห่วงลูก ๆ คนนั้นคนนี้ อยากให้เป็นอย่างใจหมาย ว่าถ้าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้น่าจะดีกว่านี้ ซึ่งส่งผลทำให้ท่านเองนอนหลับได้ยาก โดยสภาวะ ท่านสามารถเล่าได้เข้าใจไม่ยากนัก แต่เนื่องจากเป็นการเขียนบ้านส่งครั้งแรกของท่าน ในส่วนของรูปแบบการเขียนยังไม่ถูก คือท่านไม่ได้แยกเนื้อเรื่องไว้ส่วนหนึ่งต่างหากในช่วงต้นก่อน จึงทำให้เนื้อเรื่องไปกระจายอยูในทุกข์ สมุยทัย นิโรธ ซึ่งทำให้ทั้ง 3 ส่วนนี้ไม่ชัดและกระชับ คุรุก็เลยแนะนำให้กลับไปดูตัวอย่างจากการบ้านเก่า ๆ ของนักศึกษาท่านอื่นที่ส่งการบ้านไว้ในเว็บไซต์วิชชารามเพิ่มเติม (การบ้าน อริยสัจขจัดมาร ครั้งที่ 21)

2. นางก้าน ไตรยสุทธิ์ (ใกล้พร)  เรื่อง กลัวสวนไม่สะอาด
ท่านเล่าว่าในขณะที่กำลังช่วยกันทำความสะอาดสวนกับน้องอีกคนหนึ่งอยู่ ก็มีพี่น้องมาคุยกับน้องคนนั้น จึงทำให้จิตท่านปรุงไปว่า พี่น้องท่านนั้นต้องมาชวนน้องคนนี้ไปช่วยงานแน่เลย ซึ่งทำให้ท่านทุกข์ใจ เพราะกลัวว่าจะไม่มีคนช่วยทำความสะอาดสวน แต่เนื่องจาก ช่วงทุกข์ สมุทัย นิโรธของท่านไม่ชัด คุรุก็ได้แนะนำไปตามสมควร และมีพี่น้องร่วมแสดงความคิดเห็นกัน 2-3 ท่าน และสุดท้ายท่านก็ว่า ท่านได้พยายามทำดีเต็มที่แล้ว ตอนนี้ทำได้เท่านี้ท่านพอใจแล้ว และจะพยายามทำให้ดีขึ้นในคราวต่อ ๆ ไป แม่ก้านก็เป็นอีกท่านหนึ่งที่มีฉันทะในการเขียนการบ้าน วิชา อริยสัจ 4 ส่งอยู่เสมอ และได้นำเสนอการบ้านตรวจมาเรื่อย ๆ อนุโมทนากับท่านจริง ๆ ที่มาเป็นพลังร่วมให้กันและกัน (การบ้าน อริยสัจขมัดมาร สัปดาห์ที่ 21)

3. พิเชษฐ์ บุญย์วิรุฬห์ (ชุน จางคลาย) เรื่อง เผือกร้อน ๆ ไม่จำเป็นต้องเป็น “เผือกร้อน” เสมอไป
ท่านเล่าว่า ช่วงนี้จะมีปัญหาหรือการงานหลาย ๆ อย่างเข้ามาพร้อมกัน จนรู้สึกกังวลใจเล็ก ๆ ว่าจะทำงานไม่ทัน การงานที่อาสาบำเพ็ญไว้จะคั่งค้าง ท่านจึงปรับใจใหม่ และนึกถึงเรื่องเผือกที่กำลังร้อน ๆ อยู่ ว่าถ้าเราไม่รีบเอาเข้าปาก คือปล่อยเผือกที่กำลังร้อน ๆ นั้น ให้เย็นลงก่อน แล้วค่อยเอาเข้าปาก ก็จะไม่ทำให้ปากพอง การงานก็เช่นกัน แม้จะมีปัญหานู่นนี่นั่นเข้ามาหรือมีงานหลายอย่างเข้ามาให้ทำให้สะสางพร้อมกัน ถ้าเราไม่ไปเร่งรีบตาม เราก็ไม่ต้องทุกข์ใจ แต่เนื่องจากส่วนของสมุทัยท่านไม่ได้ระบุชัดเจนว่าเกิดจากอะไร ท่านจะบอกไว้แค่ว่ายึด แต่ไม่ชัดว่ายึดอะไร คุรุก็เลยแนะนำว่าหากสามารถลงให้ชัดขึ้นได้ก็จะดี ให้ชัดว่ามันยึดอะไรยึดตัวไหนอยู่ ก็จะทำให้เราหาตัวการใหญ่ที่ทำให้เราทุกข์ได้ชัดยิ่งขึ้น จะทำให้เราล้างทุกข์ได้ถูกตัวยิ่งขึ้น (การบ้าน อริยสัจขจัดมาร ครั้งที่ 21)

4. กิรณา สุขสุดกุลธน (น้อง สวน 2 ) เรื่อง อยากได้ดั่งใจ
ท่านเล่าว่าขณะที่ท่านกำลังทำความสะอาดเก็บกวาดศาลาเสร็จเรียบร้อยแล้วนั้น ทันใดนั้นก็มีพี่น้องจิตอาสาที่อยู่ประจำ ขับรถเข้ามาจอดอในจุดที่ท่านยึดว่าไม่ควรจอด คือ ด้านหน้าพระพุทธรูปที่ตั้งอยู่ในศาลา ท่านก็เลยรู้สึกทุกข์ เพราะอยากได้ดั่งใจคือ ไม่อยากให้ท่านขับรถมาจอตรงหน้าพระพุทธรูป ยึดว่าเป็นจุดที่ไม่เหมาะสม แต่เนื่องจากว่าตอนที่ท่านเล่า ในส่วนของสมุทัยไม่ชัดเจน จึงมีคำถามจากคุรุและพี่น้องนักศึกษาไปหลายท่าน ถามไปถามมาจึงทำให้ท่านรู้ว่าท่านกำลังยึดเรื่องนี้อยู่ ในการบ้านท่านสุดท้ายนี้นับว่ามีคำถามและข้อคิดเห็นจากพี่น้องหลายท่านมากกว่า 3 ท่านก่อนหน้ากันเลย
(การบ้านอริยสัจขจัดมารสัปดาห์ที่ 21)

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ เข้มข้นอย่างที่เกริ่นไว้ข้างต้นเลยจริง ๆ ใช่ไหมคะ ที่นำเสนอมานี้เป็นเนื้อหาเพียงบางส่วนเท่านั้น หากท่านสนใจ สามารถเข้าไปอ่านเนื้อหาทั้งหมดเพิ่มเติมได้จากลิงก์ที่แนบมานี้ หรือสามารถรับชม คลิปวีดีโอ ห้องเรียนวิชา อริยสัจ 4 ครั้งที่ 21 และครั้งก่อน ๆ ทางเว็บไซต์สถาบันวิชชาราม หรือ ทางยูทูป ช่อง วิชชาราม channel ย้อนหลังได้ค่ะ

เจริญธรรมสำนึกดี
ปิ่น คำเพียงเพชร รายงาน

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *