ข้อสอบกลางภาควิชาอริยสัจ 4 ที่เปิดให้สอบในวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 จึงนำมาเผยแพร่เพื่อส่งเสริมการศึกษาและต่อยอดในหมวดวิชาพุทธศาสนาต่อไป
เป็นข้อสอบปรนัย 30 ข้อ ให้เวลานักศึกษาทำข้อสอบ 1:30 ชั่วโมง
ข้อสอบแบ่งเป็น 2 หมวด
1. ความรู้ความเข้าใจพื้นฐานอริยสัจ 18 ข้อ
2. สภาวธรรมตามหลักอริยสัจ 12 ข้อ
ทดลองทำข้อสอบออนไลน์ ใน Google form
ดาวน์โหลดข้อสอบวิชา อริยสัจ 4 (ไฟล์ไม่รวมเฉลย)
-
-
-
- ดาวน์โหลดไฟล์ word
- ดาวน์โหลดไฟล์ pdf
- ดาวน์โหลดเฉลยข้อสอบ
- ดาวน์โหลดไฟล์ jpeg | หน้า 1, หน้า 2, หน้า 3, หน้า 4, หน้า 5, หน้า 6, หน้า 7
-
-
*(แก้ไขครั้งที่ 1 วันที่ 9 พฤษภาคม 2564)
ข้อสอบวิชา อริยสัจ 4 (กลางภาค)
คำชี้แจงข้อสอบมีทั้งหมด 30 ข้อ ข้อละ 1 คะแนน รวมเป็น 30 คะแนน ปรนัยทั้งหมด เวลาทำข้อสอบไม่เกิน 1 ชั่วโมง 30 นาที
แบ่งเป็น 2 หมวด1. ความรู้ความเข้าใจพื้นฐานอริยสัจ 18 ข้อ2. สภาวธรรมตามหลักอริยสัจ 12 ข้อ
วันที่เริ่มสอบ 10 พฤษภาคม พ.ศ.2564 (ปิดรับก่อนวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ.2564 ตามเวลาในประเทศไทย)
ความรู้ความเข้าใจพื้นฐานอริยสัจ 18 ข้อ (1 – 18)
- ทุกขสมุทัยอริยสัจ รู้แจ้งเหตุให้เกิดทุกข์ มีอะไรเป็นเหตุ
ก. ตัณหา 3
ข. กิเลส 3
ค. เวทนา 3
ง. อุปาทานขันธ์ 5
- ทุกขอริยสัจรู้แจ้งทุกข์ในข้อใด
ก. นิวรณ์ 5
ข. อุปาทานขันธ์ 5
ค. ไตรลักษณ์ 3
ง. ตัณหา 3
- ข้อใดคือ ทุกขอริยสัจ
ก. ความทุกข์ใจ
ข. ความทุกข์ทางร่างกาย
ค. ความทุกข์จากเหตุการณ์
ง. ถูกทุกข้อ
- ข้อใด คือ สมุทัย ตามหลักอริยสัจ 4
ก. อยากให้เกิดดีดั่งใจหมาย
ข. ความยึดมั่นถือมั่น
ค. ชอบที่เกิดเรื่องดี ชังที่เกิดเรื่องร้าย
ง. ถูกทุกข้อ
- ข้อใดคือความหมายของอริยสัจ 4
ก. ทรัพย์อันประเสริฐ 4 ประการ
ข. ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ
ค. บุคคลผู้ประเสริฐ 4 ประเภท
ง. หลักธรรมที่จะนำพาไปสู่ความสำเร็จ 4 ประการ
- อริยสัจ 4 ข้อใดที่เราควรปฏิบัติไปให้ถึง
ก. สมุทัย
ข. นิโรธ
ค. มรรค
ง. นิโรธ และมรรค
- เราจะสามารถรู้ “ทุกขอริยสัจ” ได้อย่างไร
ก. กระทบผัสสะ
ข. อ่านอาการเวทนาในใจ
ค. มีสติรู้ตัวทั่วพร้อม
ง. มีสมาธิ จิตตั้งมั่น
- เมื่อรู้ทุกขอริยสัจแล้ว ควรจะรู้ชัดในเรื่องใด เพื่อที่จะดับทุกข์ได้
ก. ทุกข์
ข. สมุทัย
ค. นิโรธ
ง. มรรค
- ทุกขอริยสัจ คือทุกข์ใจ จะเกิดขึ้นในชีวิตจากสภาพใดบ้าง
ก. เกิดในจิตอย่างเดียว
ข. เกิดในจิตและในร่างกายเท่านั้น
ค. เกิดในจิต ในร่างกาย ในเหตุการณ์
ง. เกิดขึ้นโดยไม่เจาะจง
- ข้อใดคือทุกข์ใจที่เกิดกับจิต โดยไม่เกี่ยวข้องกับร่างกายและเหตุการณ์
ก. มันบรรลุตามใจไม่เร็วอย่างใจหมาย
ข. ใจมันทำไม่ได้ดั่งใจหมาย
ค. ทำไมยังทุกข์อยู่ ทำไมยังคิดไม่ออก ทำไมมันลืม
ง. ถูกทุกข้อ
- เหตุแห่งทุกข์ (สมุทัย) ในขั้นกามตัณหามีอาการอย่างไร
ก. มีอาการอยู่ภายในใจไม่แสดงออกมาทางคำพูด สีหน้า ท่าทาง
ข. มีอาการละเมิดทางกาย ทางวาจา หยุดยั้งกาย วาจา ไม่ได้
ค. มีอาการอยากให้เกิดดีแล้วพูดออกไป แต่ก็วางใจที่จะพูดหรือไม่พูดก็ได้
ง. มีอาการอยากเกิดขึ้นแว็บหนึ่งแล้วหายไป
- เหตุแห่งทุกข์ (สมุทัย) ในขั้นภวตัณหามีสภาวะอย่างไร
ก. ไม่ละเมิดทางกาย ทางวาจาอาการอยากอยู่ข้างในสามารถกำจัดกิเลสได้ ลดกิเลสได้เป็นลำดับ
ข. อาการอยากเกิดขึ้นแว็บหนึ่งแล้วหายไป จับได้ยาก แต่ก็ยังสบายใจดี
ค. อาการอยากได้แล้วไม่ได้อยู่ข้างในยังไม่สดชื่นไม่เบิกบานเท่าที่ควร แต่ก็กำจัดกิเลสได้เป็นลำดับ
ง. ข้อ ก. และ ค. ถูกต้อง
- เหตุแห่งทุกข์ (สมุทัย) ในขั้นวิภวตัณหามีสภาพอย่างไร
ก. อยากให้เกิดดีอยู่ข้างในแบบมีกิเลสคือยึดมั่นถือมั่นเล็กน้อย แบบไม่มีกิเลสคือทำเต็มที่แล้วไม่ยึดมั่นถือมั่น
ข. อยากให้เกิดดีอยู่ข้างในพากเพียรทำเต็มที่ ทำเท่าที่ทำได้ แล้วไม่ยึดมั่นถือมั่น
ค. อยากให้เกิดดีอยู่ข้างในพากเพียรทำเต็มที่ ทำเท่าที่ทำได้ แต่ยังยึดมั่นถือมั่นอยู่มาก
ง. ผิดทุกข้อ
- ทุกขนิโรธเป็นสภาพดับทุกข์ที่เกิดจากการอะไร
ก. การดับอุปาทาน (ความยึด) ในกิเลสของเราและคนอื่น
ข. การดับตัณหา (ความอยาก) ในกิเลสของเราและคนอื่น
ค. การดับอุปาทาน (ความยึด) และตัณหา (ความอยาก) ในกิเลสของเรา
ง.การดับอุปาทาน (ความยึด) และตัณหา (ความอยาก) ในกิเลสของคนอื่น
- อาการอยากให้เกิดดีแต่ไม่ยึดมั่นถือมั่นข้อใดถูกต้องที่สุด
ก. เห็นคนทำผิดศีลแล้วคิดว่า ควรรีบบอกให้แก้ไขและบอกบ่อย ๆ จะได้ทำผิดน้อยลง
ข. เห็นคนทำผิดศีลแล้วคิดว่า ถ้าเขาศรัทธาเราก็ควรบอกเขาแก้ไขได้เท่าไหร่ก็ไม่เป็นไร เราก็สบายใจ
ไร้กังวล
ค. เห็นคนทำผิดศีลแล้วคิดว่า ถ้าเขาศรัทธาเราก็ควรบอกกัน ถ้าเขาแก้ไขไม่ได้ก็จะช่วยจนแก้ได้
ง. เห็นคนทำผิดศีลแล้วคิดว่า เขาไม่ได้ศรัทธาเราแต่เราก็ควรบอกกัน เขาแก้ไขได้เท่าไหร่ก็ไม่เป็นไร
- การตั้งศีลมากำจัดกิเลส เพื่อให้อ่านอาการกิเลสออก ควรตั้งอย่างไร
ก. ตั้งตามที่อยากเราตั้ง
ข. ตั้งตามเพื่อน ๆ หมู่มิตรดี
ค. ตั้งตามครูบาอาจารย์บอก
ง. ตั้งตามกิเลสที่เราติดยึด
- การพิจารณาจนสลายกิเลสได้ และสลายวิปลาส4 ได้ ข้อใดถูกต้องที่สุด
ก. พิจารณาเรื่องกรรมดีกรรมชั่วในอดีตอย่างแจ่มแจ้ง
ข. พิจารณาโทษของกิเลส ประโยชน์ที่ไม่มีกิเลส เข้าใจกรรมดีกรรมชั่วในอดีตและปัจจุบันอย่างแจ่มแจ้ง
ค. พิจารณาไตรลักษณ์ ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่มีตัวตนของกิเลสที่กำลังยึดมั่นอยู่
ง. ข้อ ข. และ ค. ถูก
- การล้างทุกข์เป็นลำดับ และทำไปทีละเรื่องมีผลดีอย่างไร
ก. ทำให้ไม่หลงตัวเอง ไม่โลภดีเกินความจริงที่ทำได้ เล่าสภาวะการล้างกิเลสให้คนอื่นเข้าใจได้ง่าย
ข. เก่งกว่าคนอื่น มีบารมีมาก อยากทำอะไรก็ได้ตามที่ใจหวังตลอดเวลา
ค. ผู้คนชื่นชม ช่วยคนได้มาก พูดอะไรคนก็เชื่อใจ ไม่ระแวงสงสัย
ง. ไม่มีข้อใดถูก
สภาวธรรมตามหลักอริยสัจ 12 ข้อ (19 – 30)
การเลือกทุกข์ สมุทัย นิโรค มรรค ให้ถูกต้อง
- ข้อใดคือทุกขอริยสัจ
ก. พ่อบ้านพูดมากไม่หยุดสักที
ข. มีอาการเหนื่อย ๆ เพลีย ๆ ล้า ๆ
ค. อาการหงุดหงิดใจ เมื่อเห็นความไม่เรียบร้อย
ง. ถูกทุกข้อ
- ข้อใดคือทุกขอริยสัจ
ก. หิว เลยกินอาหารเย็น
ข. ขุ่นใจที่จะถูกเอาเปรียบ
ค. จำคำตอบไม่ได้ เพราะไม่ได้อ่านหนังสือเลย
ง. ถูกทุกข้อ
- ข้อใด “ไม่ใช่” ทุกขอริยสัจ
ก. ความไม่ได้ดั่งใจ ทุกข์ใจเขียนการบ้านได้ไม่ดีดั่งใจ
ข. ใจร้อน อยากได้เร็ว ๆ
ค. ไม่ได้ทำการบ้าน
ง. กังวล กลัวว่า เพื่อนไม่มีเวลาตรวจการบ้านให้เรา
- ข้อใดเป็นสมุทัย (เหตุแห่งทุกข์) ที่ “ไม่ชัดเจน”
ก. กลัวจะไปขายของสาย
ข. ยึด อยากให้เกิดดีดั่งใจตนเอง
ค. ยึดว่าจะได้ร่วมกิจกรรมสำคัญของจิตอาสาทุกกิจกรรม
ง. ความอยากได้ดั่งใจหวัง พอไม่ได้ก็ชัง
- ข้อใด “ไม่ใช่” สมุทัย
ก.รักษาดูแลตนเองใช้ยา 9 เม็ดแล้ว แต่มือยังไม่หายชา ทำใจเฉยๆ
ข. ชอบถ้าใช้อินเตอร์เน็ตได้ ชังถ้าใช้อินเตอร์เน็ตไม่ได้
ค. อยากให้หมู่เข้าใจว่าเราไม่ได้เป็นคนแบบนั้น ยึดว่า ถ้าเราไม่ทำพฤติกรรมแบบนั้น และหมู่เข้าใจจะดี
ง. ชอบให้ได้ดั่งใจ ชอบให้น้องมาช่วยอย่างเต็มที่ ชังที่ไม่ได้ดั่งใจที่น้องมาช่วยไม่เต็มที่
- ข้อใดมีสมุทัย (เหตุแห่งทุกข์) แตกต่างจากข้ออื่น
ก. เห็นตัวยึดที่อยากสอบพร้อมเพื่อนจะสุขใจ ไม่ได้สอบพร้อมเพื่อนจะทุกข์ใจ
ข. ยึดมั่นถือมั่นว่า ชอบถ้าได้ส่งการบ้าน ชังที่ไม่ได้ส่งการบ้าน
ค. อยากให้หมู่เข้าใจว่าเราไม่ได้เป็นคนแบบนั้น ยึดว่า ถ้าเราไม่ทำพฤติกรรมแบบนั้น และหมู่เข้าใจ จะดี
ง.ถ้าได้กินข้าวต้มมัดเพิ่ม ตามที่กิเลสต้องการ จะพอใจ สุขใจ แต่ไม่ได้กินเพิ่ม ตามที่อยาก ไม่พอใจ ทุกข์ใจ
- ข้อใดเป็นสภาพนิโรธที่ไม่สามารถรู้แจ้งการดับทุกข์ได้
ก. สภาพปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่น ช่วยเขาได้ก็สุขใจ ช่วยไม่ได้ก็สุขใจ ยินดี พอใจ ไร้กังวล
ข. สามารถผาสุกที่ใจได้ไม่ว่าจะสามารถบันทึกเนื้อทั้งหมดของรายการที่ถ่ายทำมาได้หรือไม่ ถ้าได้พยายามทำให้ดีที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้แล้ว
ค. เพื่อนจะเข้าใจได้แค่ไหนก็ไม่ทุกข์ใจ
ง. ไม่ต้องไปคิดอะไรปล่อยวางให้ทุกอย่างเป็นไปตามธรรม
- ข้อใด“ไม่ใช่” นิโรธ (สภาพความดับทุกข์)
ก. พ่อบ้านจะแสดงสีหน้าหรือน้ำเสียงแสดงความพอใจหรือไม่พอใจ เราก็ไม่ควรทุกข์ใจ
ข. ยินดีที่มีสภาพนิ้วมือเป็นปกติ ไม่อยากให้มีสภาพนิ้วมือเกร็ง แข็ง ขยับลำบาก
ค. แมลงจะอยู่ข้างในก็ได้ จะต่อยซ้ำอีกก็ได้ ยินดีได้ เมื่อระวังแล้วจะโดนยังไงก็ต้องโดน
ง. ข้อ ข. และ ข้อ ค.
- การตั้งนิโรธ (สภาพความดับทุกข์) แบบใดแล้ว “ไม่พ้นทุกข์”
ก. ตั้งจิต“ขอให้เพื่อนคิดดีได้เร็วๆนะ ขอให้เพื่อนคิดถูกต้องได้เร็วๆนะ”
ข. ทำกิจกรรมร่วมกับหมู่มิตรดี เป็นสิ่งดีแต่ไม่ควรยึดว่าจะต้องทำได้มาก ทำเท่าที่ทำได้ เมื่อเราได้ทำอย่างเต็มที่แล้ว ไม่ทุกข์ใจ
ค. ไปรวมญาติก็มีประโยชน์เหมือนกัน ใจที่พร้อมทำและพร้อมจะวางดี ไปทำดีอีกแบบมันพ้นทุกข์กว่า
ง.กิจกรรมที่พากันลดกิเลสของหมู่มิตรดีนั้นเป็นเรื่องที่ดี แต่ถ้ามีคนไม่เห็นคุณค่าไม่ให้ความสำคัญเหมือนเรา เราก็ไม่ควรทุกข์ใจ
- “ทุกข์เกิดจากความรำคาญคนพูดเสียงดัง” การปฏิบัติมรรค (การปฏิบัติถึงความดับทุกข์) แบบใด “ไม่พ้นทุกข์”
ก. เห็นโทษจากกิเลสที่เราไปเอาความได้ดั่งใจ ตามใจที่เราอยากได้ ว่าเป็นการสะสมกิเลส เป็นวิบากร้ายไม่สิ้นสุด
ข. แกล้งทำเป็นไม่สนใจ เขาจะเสียงดังก็ปล่อยเขาไปแล้วก็ปล่อยวางไป เดี๋ยวก็เงียบเอง
ค. พิจารณากิเลสเราเองที่ไปไม่ชอบใจ ไม่ชอบกิริยาท่าทาง เสียงของคนพูดเสียงดัง
ง. นึกถึงตนเองในอดีตก็เสียงดังแบบนี้ เพราะบรรยากาศพาไป อยากให้มีความเป็นกันเองนั้นเป็นสิ่งที่เราทำมา
- ข้อใดเป็นการปฏิบัติมรรค(การปฏิบัติถึงความดับทุกข์) “ที่ผิด”
ก. เข้าใจความจริงตามความเป็นจริงว่า ฐานจิตของแต่ละคนต่างคน คนทุกคนอยู่ตามฐานของตัวเอง
ข. พิจารณาถึงประโยชน์ของอาหารปั่นข้อดีของการรับประทานอาหารปั่น
ค. พิจารณาเพื่อแก้ให้คนอื่นเข้าใจในสิ่งดี แก้ให้เกิดสภาพที่ดี ๆ เมื่อสิ่งดีเกิดจะเป็นประโยชน์มาก
ง. ใช้บททบทวนธรรมอาจารย์ที่ว่า เมื่อได้มุ่งหมายให้เกิดสิ่งดีและพยายามทำอย่างเต็มที่แล้ว แต่ดีนั้น
ไม่สมบูรณ์ไม่สำเร็จดังใจหมาย
- วิธีการการปฏิบัติถึงความดับทุกข์ (มรรค) ต้องทำอย่างไร
ก. พิจารณาโทษของการมีกิเลสเรื่องนั้น
ข. พิจารณาประโยชน์ของการหลุดพ้น การไม่มีกิเลสเรื่องนั้น
ค. พิจารณาความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์ ความไม่มีตัวตนของกิเลส
ง. ถูกทุกข้อ
เฉลยข้อสอบวิชาอริยสัจ 4 กลางภาค
1 ก
2 ข
3 ก
4 ง
5 ข
6 ข
7 ข
8 ข
9 ค
10 ง
11 ข
12 ง
13 ก
14 ค
15 ข
16 ง
17 ง
18 ก
19 ค
20 ข
21 ค
22 ก
23 ก
24 ง
25 ง
26 ข
27 ก
28 ข
29 ค
30 ง