อาหารรสจัดทุกชนิดทำลายเซลล์เนื้อเยื่อในร่างกาย ;เอมอร แซ่ลิ้ม
ผู้คนส่วนใหญ่ติดอาหารรสจัด และมีแนวโน้มส่งเสริมการหลงติดในรสอาหารที่จัดจ้านมากขึ้น ๆ ทุกวัน ๆ นับเป็นภัยจากราคะกามคุณอันน่าสะพรึงกลัวยิ่งต่อมวลมนุษยชาติ เพราะอาหารรสจัดทุกชนิด จะกระตุ้นให้เกิดการเผาผลาญสร้างพลังงานความร้อนในร่างกายอย่างล้นเกิน จนทำลายเซลล์เนื้อเยื่อในร่างกายของตัวเอง สะสมวันแล้ววันเล่า นานเข้าก็จะเกิดอาการเจ็บป่วย
ผู้ป่วยส่วนใหญ่ ก็จะนิยมกินยาเพื่อกดระงับอาการหรือขับพิษจากออกจากร่างกาย โดยไม่ได้ใส่ใจหยุดการสะสมพิษเลย กลับหลงระเริงตั้งหน้าตั้งตาทุ่มโถมอวดเบ่งแข่งขันการสะสมพิษในร่างกายให้ มากขึ้น ๆ รอวันเจ็บป่วยทุกข์ทรมานในร่างกายอีกครั้ง แล้วก็ใช้วิธีการเดิมในการแก้ปัญหา หลายครั้งเข้า ยาตัวเดิมก็จะแก้ปัญหาไม่ได้ ต้องเปลี่ยนยาใหม่ที่แรงกว่าเดิมจึงจะแก้ปัญหาได้ เพราะตัวเองก็อายุมากขึ้นทุกวันๆ ร่างกายก็จะเริ่มชำรุดทรุดโทรมอ่อนแอลงไปทุกวัน ๆ แต่ตัวเองกลับสะสมพิษให้มากฝังลึกแน่นในเซลล์เนื้อเยื่อยิ่งขึ้น ๆ เมื่อแสดงอาการเจ็บป่วย ก็จะเริ่มรุนแรงมากขึ้น ๆ ยาเดิมใช้ไม่ได้ผล ต้องใช้ยาที่แรงมากขึ้น ๆ
การใช้ยาที่แรงขึ้นเพื่อกดโรคหรือกระทุ้งขับพิษในแต่ละครั้งเป็นการทำให้เกิดความบอบช้ำบาดเจ็บเสื่อมโทรมกับเซลล์เนื้อเยื่อในร่างกาย บางครั้งอาการข้างเคียงของยาก็แสดงออกมาให้เห็น ดังนั้น การกินยาทุกครั้ง ก็คือการสะสมความบอบช้ำบาดเจ็บเสื่อมโทรมในร่างกาย ถึงวันหนึ่ง ก็จะไม่มียาตัวใดกดอาการหรือขับพิษนั้นออกไปได้ ความทุกข์ทรมานอันหนักหนาสาหัส โหดร้ายทารุณที่ตนเองเป็นต้นเหตุกระทำ ก็จะออกฤทธิ์ออกเดช จนสุดท้ายก็พรากเอาชีวิตผู้นั้นไป ไม่ว่าจะเป็นเด็ก คนหนุ่ม คนแก่ ผู้เขียนพบความเป็นไปอย่างนี้จำนวนมากขึ้นทุก ๆ วัน สาเหตุที่ผู้เขียนและทีมงานมั่นใจว่า อาหารรสจัด มีผลเสียอย่างมากต่อสุขภาพ เพราะหลังจากที่ทำค่ายสุขภาพมาหลายรุ่นหลายปี มีผู้มาศึกษาฝึกฝน ไม่ต่ำกว่าพันคน พบว่า การกินอาหารรสไม่จัดที่สมดุลกับร่างกาย ทำให้สุขภาพดีขึ้นอย่างรวดเร็ว ช่วยชะลอความเสื่อม ช่วยให้โรคภัยไข้เจ็บทั้งร้ายแรงและไม่ร้ายแรงทุเลาเบาบางหรือหายไปได้ ในขณะที่เมื่อกลับไปกินอาหารที่รสจัดมากเกินไปอีก อาการไม่สบายก็เกิดให้เห็น พอกลับมากินอาหารรสไม่จัดที่สมดุลกับร่างกายอีก อาการไม่สบายก็ทุเลาลง เมื่อพิสูจน์ด้วยตัวเอง รวมทั้งเก็บข้อมูลในวิถีชีวิตและในค่ายสุขภาพดังกล่าว จึงทำให้ผู้เขียนชัดเจนและหมดสงสัยในอาหารรสจัดหรือรสไม่จัด ว่ามีผลต่อสุขภาพอย่างไรแค่ไหน สำหรับท่านผู้อ่าน ผู้เขียนก็ขอเชิญชวนท่านพิสูจน์ความจริงด้วยตัวของท่านเองเถิด ท่านก็จะหมดสงสัยเช่นกัน (ใจเพชร กล้าจน. 2553 :1)
อาหารย่ำยีมาร
อาหารย่ำยีมาร สูตร 1 พลังพุทธ
อาหารย่ำยีมาร สูตร 1 พลังพุทธ คือ การฝึกรับประทานอาหารสุขภาพแบบเข้มข้น (ไม่ทำเป็นกับข้าว มีน้ำสมุนไพร ผลไม้ ผักสด ผักลวก ข้าว ถั่วต้ม น้ำต้มผักและเกลือเล็กน้อย)
เป็นอาหารที่ไม่ปรุง และกินแยกทีละอย่าง แม้แต่ผักก็กินทีละชนิดไป เป็นการฝึกความแข็งแกร่งของจิตวิญญาณและทำให้หายโรคเร็ว เมื่อฝึกจิตวิญญาณให้แข็งแกร่งได้แล้วชีวิตจะสบายมาก เพราะไม่ว่าจะไปที่ไหนก็ไม่ต้องกลัวว่าจะไม่มีอะไรกิน มีแค่ข้าวเปล่าก็กินได้แล้ว หรือบางทีข้าวกับผักกับเกลือแค่นี้ก็ชื่นใจมากแล้ว ชีวิตจะเรียบง่าย จะไม่กลัว ไม่หวั่นไหว ไปไหนจะมั่นคงมั่นใจ ต่อให้ต้องไปกินกับข้าวปรุงก็สบาย (แต่ถ้าฝึกกินปรุงไว้ พอจะมากินพลังพุทธสูตร 1 มาฝึกกินแยกจะหืดขึ้นคอ จะกินยากมาก) โดยการทานตามลำดับ ดังนี้
- ดื่มน้ำสมุนไพรปรับสมดุล
- กินผลไม้ มะละกอสดหรือห่าม ในคนที่ถูกกัน ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ ส่วนคนที่ไม่ถูกกันบางท่าน บางคราวก็ไม่ต้องทาน
- ผักสด
- ผักลวก
- ข้าว
- ต้มถั่ว ธัญพืช
- แกงจืด หรือน้ำอุ่น หรือน้ำเปล่า ผสมเกลือประมาณ 1 ช้อนชา
อาหารย่ำยีมารสูตร 1 พลังพุทธ มี 4 แบบ
- ถ้ามีภาวะร้อนเกิน กินอาหารกลุ่มฤทธิ์เย็น แยกทีละชนิด จะรู้สึกเบา สบาย และมีพลัง
- ถ้ามีภาวะเย็นเกิน กินอาหารกลุ่มฤทธิ์ร้อน แยกทีละชนิด จะรู้สึกเบา สลาย และมีพลัง
- ถ้ามีภาวะร้อนเย็นพันกัน ให้เอาทั้งร้อนและเย็นผสมกันในคำเดียวกัน จะรู้สึก เบา สบาย และมีพลัง เช่น การรับประทานผลไม้ ให้กินผลไม้ทั้งร้อนทั้งเ็นผสมกันใน 1 คำ หรือผลไม้ฤทธิ์เย็นผ่านไฟ เป็นต้น การรับประทานผักสดผักลวก อาจจะต้องผสมเกลือ พริก ขมิ้น ขิง ข่า ตะไคร้ เมล็ดธัญพืชมัน ๆ หรือบางทีอาจจะต้องผสมข้าว หรือการรับประทานข้าว อาจจะต้องผสมผักสด ผักลวด เป็นต้น เพราะบางครั้งกินชนิดเดียว แล้วรู้สึกไม่สบาย
- ถ้าเจ็บป่วย หรือเป็นไข้สันนิบาต คือสภาร่างกายรวน เป็นความเจ็บป่วยแบบร้อนเย็นพันกันแปรปรวนในช่วงเวลาสั้น ๆ บางคำจะต้องกินแบบแยก บางคำจะต้องกินแบบรวม ๆ ปน ๆ ไม่แน่นอน ให้ดูเอาเองว่าแบบไหนที่เรารู้สึกสบายและมีพลังที่สุด
อาหารย่ำยีมาร สูตร 2 น้องพุทธ
เริ่มกินอาหารตามลำดับเหมือนเดิม โดยเริ่มจาก
- ดื่มน้ำสมุนไพรปรับสมดุล
- ผลไม้
- ผักสดและส้มตำหรืออื่น ๆ ที่ทำให้กินผักสดได้
- กินข้าวพร้อมกับที่ปรุงรสไม่จัด คือ ปรุงรสประมาณ 5-30 เปอร์เซ็นต์
- ต้มถั่ว ธัญพืช
- แกงจืด หรือน้ำอุ่น หรือน้ำเปล่า (น้ำเปล่าให้อมไว้ในปาก 10 -20 วินาทีแล้วค่อยกลืน)
ครัวแพทย์วิถีธรรม
ยำมังคุด (สูตร 2 น้องพุทธ ปรุง 30 % )
เครื่องปรุง : วัตถุดิบฤทธิ์เย็น
1.มังคุดแกะเปลือก 1 ถ้วย
2. ถั่วงอก 1 ถ้วย
3. ก้านผักบุ้ง 1 ถ้วย
4. มะเขือเทศ 3 ลูก
5. มะนาว
วัตถุดิบฤทธิ์ร้อน
1. หอมแดง 5-10 หัว(ใส่ตามใจชอบ)
2. เกลือ
3. น้ำตาลทราย
4. พริกขี้หนู
5. ถั่วลิสงคั่ว
วิธีทำ ใส่มังคุดที่แกะเปลือก ใส่หอมแดงตามชอบ ใส่ถั่วงอก ก้านผักบุ้ง มะเขือเทศ ใส่เกลือ น้ำตาล พริกขี้หนู เล็กน้อย คลุก แล้วชิมดู หากยังไม่ออกเปรี้ยวเราก็สามารถเติมมะนาวเพิ่มได้ แล้วก็คลุก ถ้ารสชาติใช้ได้แล้วใส่ถั่วลิสงลงไป ตักเสิร์ฟ