ห้องเรียนวิชา ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ครั้งที่ 23
English for Communication
วันเสาร์ ที่ 14 สิงหาคม 2564 เวลา 10.00 – 12.30 น.
เนื้อหาที่เรียน : Memory Techniques เทคนิคการจำ
วันนี้มีนักศึกษาเข้าเรียนประมาณ 40 ท่าน คุรุเบญจวรรณ ภูมิแสน กล่าวเจริญธรรมสำนึกดี ต้อนรับเข้าสู่ course ใหม่ในหัวข้อที่ชื่อว่า Memory Techniques เทคนิคการจำ เป็นเทคนิคที่มีอยู่แล้ว ที่หลายคนใช้กันทั่วโลก แต่ได้สรุปมาเพื่อให้พี่น้องที่ประเทศไทยได้ใช้กันนะคะ เป็นบทเรียนส่วนตัวที่ได้เรียบเรียงไว้ทั้งภาษาอังกฤษ และภาษาไทย มาแนะนำพี่น้องให้ได้เรียนรู้เทคนิค เพื่อนำไปจดจำข้อมูลต่าง ๆ ในระยะสั้นและระยะยาว
เทคนิคการจำเป็นอย่างไรบ้างและมีอะไรบ้าง ดังนี้
-อุปกรณ์มี ปากกา ดินสอ สมุด แว่นตา คอมพิวเตอร์ ในการจด มีโทรศัพท์มือถือด้วยเพราะต้องใช้แอปในการช่วยจำ
เทคนิคการจำ
-
-
- Focus on it เอาใจใส่ มีสมาธิ เอาใจไปใส่ในสิ่งที่ต้องการจะจำ เราจะจำได้
- Repeat it ทำซ้ำ
- Smell, touch, taste, hear, and see it ใช้ทุกประสาทสัมผัส ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ช่วยในการจำ
- Chunk it แบ่งข้อมูลเป็นกลุ่ม
- Organize it จัดระบบข้อมูล ให้เรียบร้อยสามารถนำมาใช้ได้ไว
- Review it ทบทวน เป็นกุญแจสำคัญของการเก็บข้อมูลไว้ในระยะยาว เน้นตัวนี้มากกว่าทำซ้ำ
- Output it พยายามแสดงสิ่งที่เราได้เรียนรู้ออกไป จะเป็นการ review กระตุ้นสมองให้จดจำได้มากขึ้น
- Connect it เชื่อมโยงข้อมูลเก่ากับข้อมูลใหม่
- Do not rush for result อย่าเร่งผล บางคนมี background ต่างกัน บางคนอาจจะเรียนช้า บางคนอาจจะเรียนเร็ว
-
บางอันเราอาจจะใช้ 1 หรือ 2 หรือใช้ 3 เทคนิค หรือหลายอย่างรวมกัน แล้วแต่จะใช้ในการช่วยจำข้อมูล
เครื่องช่วยจำ Using Mnemonic Devices ไม่ได้ใช้อุปกรณ์แต่จะใช้ Sound + Imagination +Link Information เสียงของคำพูด การจินตนาการ นำ 2 สิ่งนี้ไป link เชื่อมต่อกับข้อมูลที่เราจะจำ ใช้ภาพช่วยในการจำ ทำให้จำได้ดี จำได้ไว เป็นภาพถาวร
Memory Effects มีหลาย effectมาก ที่ใช้ในการจินตนาการช่วยการจำ
1. ตัวเลข 7 หลัก บวก ลบ 2 คือ คนทั่วไปจะสามารถจำข้อมูลได้ 7 หน่วย สมองซีกซ้ายคือข้อมูลต่าง ๆ มีข้อจำกัดจำได้จำกัด 7 บวก ลบ 2 สมองซีกขาวเป็นการจินตนาการ สามารถจำข้อมูลได้ไม่จำกัด
2. เป็นเรื่องที่ผิดปกติ เรื่องที่เราทำซ้ำ ๆ เราจะไม่จำ เราจะจำสิ่งที่ไม่ปกติ ไม่เหมือนที่เราทำทุกวัน ยิ่งพิเศษมากจะยิ่งจำได้ เช่น มีคนนำผักผลไม้มาให้ หรือขับรถไปประสบอุบัติเหตุ เพื่อนที่เรียนเก่ง คนที่สวยที่สุดในclass อะไรที่โดดเด่นขึ้นมาเราจะจำได้ เช่น
-
-
- ภาพที่บาดตาบาดใจ ทำให้เราเจ็บช้ำน้ำใจ
- เป็นไปไม่ได้
- ตลก เป็น moment ที่เราคิดแล้วเราก็หัวเราะไปด้วย
- จำนวนมาก
- ขนาดใหญ่ไม่ธรรมชาติ
- มีความรุนแรงแบบการ์ตูน
-
3. การทบทวน เป็นสิ่งสำคัญมาก ถ้าไม่ทบทวนจะลืม 70% ของข้อมูลที่เรียนไปในวันรุ่งขึ้น ก่อนที่เราจะไปเรียนรู้สิ่งใหม่ หรือทำกิจกรรมใหม่เราควรจะนั่งทบทวนสิ่งที่เราได้เรียนมา ใช้เวลาประมาณ 5 – 10 นาที ทบทวนบทเรียนก่อนจะทำให้เราจำข้อมูลได้ดีขึ้น วันรุ่งขึ้นมาทบทวนอีก 5 นาที อาทิตย์ต่อมาอีก 5 นาที เดือนต่อมา การทบทวนภายใน 24 ชั่วโมง เป็นเทคนิคการทำซ้ำ ๆ โดยเว้นระยะห่าง ถ้าเราอยากจำได้ถาวร 5 – 6 เดือนให้ทบทวนอีก ต่อจากนั้นมา review อีก หรือทบทวนต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าข้อมูลนั้นจะอยู่ในความจำระยะยาวของเรา และเป็นความรู้เดิม
ถ้าเรามีความสนใจ ตื่นเต้นที่เรียนรู้สิ่งใหม่ เราจะมี energy มีฉันทะ มีความกระตือรือร้น พยามที่จะเรียนรู้ ต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเอง มีแรงจูงใจ มีเป้าหมาย มีทัศนคติคิดว่าเราทำได้ you can do it คุณต้องเชื่อตัวเองว่าสามารถที่จะทำได้
การบ้าน ฝึกเล่นเกมส์ช่วยในการจำ Seterra Geography ข้อมูลทางภูมิศาสตร์ ให้แต่ละกลุ่มเลือกทวีป 1 ใน 7 ทวีป โดยเริ่มจำตำแหน่งประะเทศ และเมืองหลวง ของทวีปที่เราได้เลือก ในอาทิตย์หน้าส่งตัวแทนมา present การเล่นเกมส์ให้เพื่อนดู เพื่อประยุกต์ใช้ในการจำ
สรุป การมีฉันทะ จะทำให้เกิดพลังที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ ซึ่งมีแรงจูงใจ เพื่อไปถึงเป้าหมาย โดยมีทัศนดติที่ดีกับตัวเองว่า you can do it
เจริญธรรมสำนึกดี มีใจไร้ทุกข์ค่ะ
นฤมล ยังแช่ม (เข้มแสงศีล)
ผู้จดบันทึก