การแบ่งหน้าที่ และการทำงานเป็นทีม | Content admin

Content admin การแบ่งหน้าที่ และการทำงานเป็นทีม

ผู้เขียน : ดิณห์ ไอราวัณวัฒน์

การแบ่งงานตามหน้าที่

การทำงานเป็นกลุ่ม คือการรวมคนที่มีความสามารถหลากหลายมาร่วมกันทำดี การหาจุดที่ตนเองบำเพ็ญให้เกิดประโยชน์สูงสุด ใช้ความสามารถได้สูงสุด พัฒนาตนเองได้มากที่สุด ขัดเกลากิเลสได้มากที่สุด ก็เป็นหน้าที่การงานที่พาเจริญ

หมวดเนื้อหา

  • นักเขียน : สร้างเนื้อหาด้วยตนเอง มีทักษะในการเล่าเรื่อง ถ่ายทอดเนื้อหาได้อย่างน่าสนใจ
  • นักข่าว (ตัวแทน) : สามารถนำข้อมูล ข่าวสาร เรื่องราวของผู้อื่น มาสรุปและถ่ายทอดเป็นเนื้อหาที่สมบูรณ์ขึ้นได้

หมวดศิลปะ

  • ถ่ายภาพ : สามารถจัดวาง จัดแสง บันทึกภาพที่เหมาะกับการใช้งาน มีความน่าสนใจ
  • ทำภาพประกอบ : ตัดแต่ง ปรับแสง ใส่ตัวอักษร ใส่ข้อมูลที่น่าสนใจอื่น ๆ จัดการไฟล์ให้เหมาะแก่การเผยแพร่

หมวดภาษา

  • ผู้ตรวจสอบความถูกต้องของภาษา : ตรวจสอบภาษาที่ใช้ ให้ถูกต้องตามหลักสากล
  • ผู้ใช้ภาษาอังกฤษ : ใช้สำหรับตั้งชื่อบทความเป็นภาษาอังกฤษ

หมวดเทคนิค

  • ผู้ใช้งาน wordpress : สร้าง post ใส่รูป จัดหน้า แก้ไข เผยแพร่ ฯลฯ
  • ผู้มีความถนัดในทำสื่อออนไลน์(เว็บไซต์), มีความเข้าใจ SEO, เขียน title, permalink, tag ,description การจัดหน้าแบบ SEO, การใส่ภาพประกอบแบบ SEO

หมวดธรรมะ

  • ผู้รับใช้ : คอยดูแลสมาชิกในทีม นัดประชุม นำปัญหามาช่วยกันแก้ นำเสนอวิธีการแก้ปัญหาต่าง ๆ
  • ผู้ปฏิบัติธรรม : คิดดี พูดดี ทำดี เสนอดี สลายอัตตา สามัคคี เป็นอยู่ให้ผาสุก ช่วยเท่าที่ช่วยได้ ช่วยงานนอกไม่ได้ ก็ช่วยงานในกัน เข้ามาเป็นพลังร่วม ทำดีร่วมกัน เพิ่ม coefficient (สัมประสิทธิ์)

การแบ่งหน้าที่นั้น ควรแบ่งตามฉันทะ(ความยินดี เต็มใจ พอใจ) ตามความรู้ ตามบารมีของท่านนั้น ๆ หรือท่านใดจะฝึกเพิ่มงาน เพื่อฝึกฝนทักษะในงานที่ตนเองยังไม่ถนัดก็สามารถทำได้ แม้ในทางปฏิบัติ คนคนเดียวอาจจะทำได้ทุกหน้าที่ แต่ก็จะไม่ดีเท่าแบ่งหน้าที่กันทำ สานพลังทำดี เพิ่มบารมีร่วม

การทำงานเป็นทีม (กลุ่ม)

สิ่งที่เอื้อให้การปฏิบัติธรรมได้ผลดีที่สุด คือการอยู่ในองค์ประกอบของ มิตรดี สหายดี สังคมสิ่งแวดล้อมดี การทำงานเป็นทีมก็เช่นกัน เมื่อมีคนหลากหลาย ความคิดเห็นก็หลากหลาย เราจะได้ใช้ความเห็นต่างเหล่านั้น เพื่อขัดเกลาความกลัว, ความยึดมั่นถือมั่น และกิเลสอื่น ๆ ของเรา

1). เป้าหมายของการทำงานเป็นกลุ่ม

เป้าหมายหลักก็คือหลุดพ้นจากกิเลส เป้าหมายรองคือได้ทำประโยชน์มากขึ้น สานพลังกับหมู่มิตรดีมากขึ้น สร้างกลุ่มทำงานที่จะมีศักยภาพในการทำงานที่มากกว่าทำคนเดียว สรุปเป้าหมาย คือ สร้างทั้งประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่น

2). ปัญหาที่มักจะพบในการทำงานเป็นกลุ่ม

ความคิดเห็นที่ไม่ตรงกัน ความเข้าใจผิด การเดาใจกัน อคติ ลำเอียง ชอบ ชัง กิเลส วิบากกรรม ฯลฯ สารพัดเหตุที่จะทำให้การงานในกลุ่มเกิดความพร่อง แม้อะไรนี่ไม่น่าพร่อง ก็พร่องได้ พลาดได้ ปัญหามีอยู่เสมอ ปัญหาอยู่กับเราตลอดชีวิต

3). การแก้ไขปัญหาในการทำงานเป็นกลุ่ม

การมุ่งล้างกิเลสในตน ล้างความหลงชอบ  หลงชัง ยึดติดเป็นตัวเราของเรา เช่นอาการที่ว่า “เราถูกที่สุด คนอื่นผิดหมด” ถ้าเราแก้ปัญหาในตัวเราได้แล้ว ปัญหาข้างนอกก็คือปัญหาข้างนอก แก้ได้ก็แก้ แก้ไม่ได้ก็ไม่ต้องแก้ให้ปวดหัว แต่ปัญหาในใจเรานี่แหละ แก้ได้แน่นอน และแก้ปัญหาได้อย่างยั่งยืนอีกด้วย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *