เป็นแอดมินต้องทำอะไรบ้าง? Post Check list

เป็นแอดมินต้องทำอะไรบ้าง? Post Check list

ผู้เขียน ดิณห์ ไอราวัณวัฒน์

งานในส่วนของ content admin คือการทำงานอยู่กับ post + tag เป็นหลัก ซึ่งในส่วนของงานก็จะมีรายละเอียดที่ควรทำโดยลำดับดังนี้

  1. Title ชื่อเรื่อง
  2. Permalink ลิงก์ภาษาอังกฤษ
  3. Categories หมวดหมู่เนื้อหา
  4. Tag ตั้งคำค้นที่เกี่ยวข้อง
  5. Post content เนื้อหา
  6. Meta description ใน Yoast SEO ส่วนของงานสรุปเนื้อหา
  7. *featured image ภาพปก
  8. *add image ภาพประกอบในบทความ

สำหรับส่วนที่ตรวจสอบในเบื้องต้น ก็จะมี 6 ข้อ ส่วนข้อ 7 – 8 จะได้ศึกษาหลังจากได้รับการ promote ระดับ เป็น author ซึ่งจะสามารถใส่รูปประกอบและกดเผยแพร่ได้เอง ซึ่งในส่วนของแอดมินฝึกหัดนั้น ควรจะศึกษาในส่วนของเทคนิคและความเข้าใจพื้นฐานก่อนที่จะทำงานจริง

จะลงรายละเอียดของ Check list ในข้อต่าง ๆ เพื่อให้แอดมินฝึกหัดได้เข้าใจหลักการทำงานในแต่ละส่วน

1). Title ชื่อเรื่อง

เป็นชื่อที่กระชับ สื่อสารได้ชัดเจน น่าสนใจ มีความยาวค่อนข้างจำกัด (ตรวจสอบได้จาก yoast SEO menu ด้านล่างของหน้า edit) เป็นสิ่งที่จะขึ้นแสดงเป็นลำดับแรกทั้งหน้าเว็บและในผลการค้นหาของ search engine ต่าง ๆ เช่น google

2). Permalink (slug) ลิงก์ภาษาอังกฤษ

เป็นส่วนของ address หรือ url ถ้าเราหากเราไม่กำหนด ระบบจะตั้งชื่อให้เอง ซึ่งจะตั้งจาก title โดยมากจะเป็นภาษาไทยทำให้ url มีความยาวมาก ๆ แต่ถ้าเปลี่ยนเป็นภาษาอังกฤษ ก็จะลดความยาวของลิงก์นั้น ให้สั้นกระชับได้ การ rename(เปลี่ยนชื่อ) slug นี้จะต้องใช้พื้นฐานภาษาอังกฤษอยู่บ้าง และตรวจซ้ำโดยการหาข้อมูลอ้างอิงในเว็บไซต์อื่น ๆ เพิ่ม

3). Categories หมวดหมู่เนื้อหา

ส่วนนี้ก็จะเลือกตามที่ตกลงกัน โดยมากจะเป็นการเลือกหมวดหมู่แบบเดี่ยวเป็นหลัก ยกเว้นบางเนื้อหาที่มีส่วนควบหลายหมวดหมู่ ก็สามารถเลือก 2 เนื้อหาก็ได้ การใช้งานหมวดหมู่มักจะไม่มีปัญหาอะไรมาก เพราะมีกำหนดไว้อยู่แล้ว เพียงแค่เลือกตามตัวอย่าง

4). Tag ตั้งคำค้นที่เกี่ยวข้อง

การใช้ tag หรือ คำค้น ก็เหมือนใส่ที่ขั้นหนังสือ ในส่วนงานของ content admin การใส่ tag เป็นสิ่งที่ยากพอสมควร เพราะต้องทำความเข้าใจการใช้คำสากล ทั้งตามที่คนทั่วไปกำหนด และคำที่ทีมงานกำหนด การสร้าง tag มีเป้าหมายในการค้นหาเนื้อหาที่ใกล้เคียงกันได้ง่าย ๆ เช่น ถ้ามีบทความชื่อ “ข้าวต้มมังสวิรัติผักรวม” เราจะไม่ใส่ tag  “ข้าวต้มมังสวิรัติผักรวม” แต่เราจะใส่ tag เช่น “ข้าวต้ม” เป็นต้น มังสวิรัติ ไม่ใส่ เพราะเป็นพื้นฐานของ พวธ. ที่เป็นมังสวิรัติอยู่แล้ว(และใส่ใน title ไปแล้ว) ถ้าใส่ tag ที่เป็นเรื่องพื้นฐาน จะเป็นลักษณะ tag ฟุ่มเฟือย ส่วนผักรวมก็ไม่ใส่ แต่ถ้าจะขยันใส่วัตถุดิบลงไปก็ไม่มีปัญหา ส่วนของ tag ให้ศึกษาจากตัวอย่างเก่า ๆ บางทีอาจจะไม่ต้องใส่มาก แต่ใส่ให้เกี่ยวข้องและไม่ฟุ่มเฟือยจนเกินไป

ส่วนกรณีใส่ tag เพื่อทำ seo (search engine optimize) ก็เป็นอีกเทคนิคหนึ่ง ในเบื้องต้นตรงนี้ยังไม่ต้องสนใจก็ได้ ถือเป็นเทคนิค advance สำหรับผู้ที่สนใจศึกษาเพิ่มเติม

5). Post content เนื้อหา

การใส่เนื้อหา ใช้การศึกษาตามรูปแบบที่มี ทำตามตัวอย่างจะง่าย ทำใหม่จะงง สร้างรูปแบบการจัดวางให้ชัดเจน จะทำให้ทำงานร่วมกันได้ง่ายเพราะมีสัญญาเดียวกัน ถ้าทำใครทำมันก็จะงง ๆ พาปวดหัว ตรงนี้ต้องอาศัยการลอกให้เหมือน สังเกต ทำความเข้าใจ แล้วก็ลอก

6).Meta description ใน Yoast SEO ส่วนของงานสรุปเนื้อหา

ส่วนสรุปเนื้อหา สำคัญมากเช่นเดียวกับ title เพราะจะไปโผล่ใน search engine และแสดงผลเมื่อเราเอา link ผลงานไปโพสใน facebook เป็นต้น การสรุปจะมีความยาวประมาณ 1 – 1.2 บรรทัด หน้ากระดาษ A4 สามารถตรวจสอบได้เวลาพิมพ์ใน yoast seo menu

7*). featured image ภาพปก

ใส่ภาพปก เป็นภาพที่ผ่านการปรับแต่งมาแล้ว มีขนาดตามที่กำหนด เช่น กว้างไม่เกิน 650 pixel สำหรับรูปภาพทั่วไป 750 pixel สำหรับภาพที่มีรายละเอียดตัวหนังสือมาก ๆ ส่วนภาพแนวตั้งให้ปรับความสูงที่ 600 ก็เพียงพอสำหรับภาพประกอบทั่วไป

และ save for web ที่ jpeg medium(30) สำหรับภาพทั่วไป ส่วนภาพที่มีรายละเอียดตัวหนังสือ ถ้าอ่านยากไปให้ปรับเป็น jpeg high(60)

มีการ rename ชื่อรูป ตามหลักภาพสำหรับเว็บไซต์ (เช่น ใช้ – (dash, ขีดกลาง) แทน spacebar และตั้งชื่อตามหลัก SEO คือใช้ keyword เป็นหลัก ไม่ใช้คำฟุ่มเฟือย

8*). add image  ภาพประกอบในบทความ

ภาพประกอบเพิ่มเติมต่าง ๆ สามารถใส่เพิ่มได้ตามความเหมาะสม มีหลักคือการสื่อสารอย่างประหยัด คือให้มีพอเข้าใจเนื้อหา พอให้เห็นภาพ การใส่ภาพเพื่อสื่อสารทั่วไป ไม่ใช่งานพิมพ์จึงไม่ต้องเน้นคุณภาพมาก กรณีมีหลายภาพ ก็ให้ศึกษาการรวมภาพเป็นชุด เพราะการเก็บไฟล์ในเว็บไซต์นั้นจะมีการนับ inode คือ 1 ไฟล์ คือ 1 inode ถ้าทาง server เขาให้เรามา 1 แสน ก็เก็บได้ 1 แสนไฟล์ เราก็ควรจะใช้อย่างประหยัด คือสื่อสารอย่างคุ้มค่า ไม่ฟุ่มเฟือย กรณีมีรูปหรือสื่ออื่น ๆ มาก ๆ ก็อาจจะเอารูปไปใส่ใน facebook แล้วทำลิงก์ส่งไป

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *