การเก็บเมล็ดพันธุ์ผักกวางตุ้ง : ประคอง เก็บนาค
การเก็บเมล็ดพันธุ์ผักกวางตุ้ง สามารถทำได้เองด้วยวิธีการที่ง่ายและไม่ยุ่งยาก เกิดความยั่งยืนและมั่นคงทางอาหาร สามารถพึ่งตนได้อย่างแท้จริง
พื้นที่ดำเนินการในอำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ประเทศไทย
วิธีทำ
-
- คัดเลือกต้นผักกวางตุ้งที่มีความสมบูรณ์ เข็งแรง ต้นอวบเขียวสดดี ปลูกทิ้งไว้จนออกดอกและติดฝัก
- เมื่อฝักเริ่มแก่เปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีน้ำตาล และเมื่อแกะดูเมล็ดข้างในฝักจะมีสีดำ จึงเลือกเก็บฝักที่มีขนาดใหญ่ สมบูรณ์ ตรงโคนก้านดอก ส่วนตรงปลายก้านดอกที่มีฝักขนาดเล็กให้คัดไว้อีกส่วนหนึ่ง
- นำฝักของเมล็ดพันธุ์ผักกวางตุ้งไปวางไว้ในกระด้งหรือภาชนะที่สามารถถ่ายเออากาศได้ดี ผึ่งในที่ร่มจนฝักแห้งและแตกออก จะมีเมล็ดร่วงออกมา จึงนำไปเก็บไว้ในภาชนะที่แห้งไม่มีความชื้น หากต้องการเก็บไว้นาน ๆ เกิน 1 ปี ควรเก็บไว้ในตู้เย็น
- เมล็ดพันธุ์ที่ได้จากฝักปลายก้านของดอก สามารถนำไปเพาะงอก ทานเป็นต้นอ่อนผักกวางตุ้งได
สภาวธรรม
ในสวนปูลกผักกวางตุ้งไว้รับประทานเองในครอบครัว พอผักโตเราก็เลาะใบมาทำอาหารรับประทาน ผักกวางตุ้งเป็นผักฤทธิ์เย็นสามารถทานได้ทั้งแบบสดและปรุงสุก เมื่อรับประทานจะเกิดความรู้สึกสดชื่น เบากายมีกำลัง ระหว่างที่ปลูกเราก็มีเหตุต้องไปทำงานที่ต่างจังหวัดประมาณ 4 – 5 วัน กลับมา อ้าวผักกวางออกดอกสีเหลืองสวยงามเต็มสวนเลย เอาไงดีล่ะทีนี้ คิดถึงคำสอนของท่านอาจารย์หมอเขียว ว่าเราควรฝึกฝนการพึ่งตน ควรเก็บเมล็ดพันธุ์ผักไว้ปลูกได้เองบ้าง ไม่ควรซื้อเมล็ดพันธุ์ทุกครั้งที่เราปลูก เพราะเมล็ดพันธุ์ของแต่ละพื้นถิ่นจะมีความแข็งแรงและเหมาะสมกับสภาพพื้นที่และสมดุลกับสภายรา่งกายของคนที่อยู่ในพื้นที่นั้น ๆ อีกทั้งยังสร้างความยั่งยืนและมั่นคงทางอาหารให้กับตนเองด้วย จึงได้เริ่มศึกษาและเก็บเมล็ดพันธุ์ผักกวางตุ้งด้วยตัวเอง และได้เรียนรู้ว่าเราสามารถนำเมล็ดพันธุ์นั้นไปเพาะงอกทานเป็นต้นอ่อนผักกวางตุ้งได้อีกด้วย