At bagon.is you can Buy webshells, phpmailer, Combo list
การรับประทานเนื้อสัตว์ กับ โรคมะเร็ง | สถาบันวิชชาราม
Skip to content

การรับประทานเนื้อสัตว์ กับ โรคมะเร็ง

สาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งนั้น เกิดจากสารพิษในอาหารมากถึง 50 % ของผู้ป่วยทั้งหมด จากการสำรวจล่าสุดพบว่าอายุของผู้ป่วยโรคมะเร็งมีอายุเฉลี่ยลดลง จากเดิมผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอายุประมาณ 60 ปีขึ้นไป แต่ปัจจุบันมีอายุเฉลี่ย 30-40 ปีเท่านั้น การบริโภคเนื้อสัตว์เป็นประจำ จะก่อให้เกิดโรคมะเร็งบริเวณลำไส้ใหญ่ เต้านม ตับ และต่อมลูกหมาก ปัจจุบันมีสารอันตรายปนเปื้อนอยู่ในปริมาณสูงมาก ไม่ว่าจะเป็นสารเร่งเนื้อแดง ซึ่งอันตรายมาก หากบริโภคเป็นประจำ สถาบันโภชนาการ ระบุว่า ไตของคนกินเนื้อต้องทำงานมากกว่าคนกินผักถึง 3 เท่าเพื่อขับสิ่งสกปรก (ยูเรีย แอมโมเนีย กรดยูริค) และสารพิษในเนื้อที่กินเข้าไป เนื้อวัวพบสารอันตรายนานาชนิด โดยเฉพาะสารฟอกขาว  อาหารอีกประเภทที่กระทรวงสาธารณสุขเตือนให้ผู้บริโภคควรหลีกเลี่ยงคือ อาหารรมควัน อาหารจำพวกนี้ พบว่ามีสารโพลีไซคลิก อโรมาติก และ ไฮโดรคาร์บอน ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญทำให้เกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร สารก่อมะเร็งจากอาหารปิ้ง ย่าง ทอด คือสารไนไตรซามีน  ซึ่งอาจเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดมะเร็งในตับ มะเร็งหลอดอาหาร และมะเร็งกระเพาะอาหารในคน อาหารที่พบไนไตรซามีนได้แก่ ปลาหมึกย่าง ปลาทะเลย่าง สารกลุ่มพัยโรลัยเซต (Pyrolysates) เป็นสารอินทรีย์ที่มีโมเลกุลเป็นวงแหวน ได้แก่ พวกกรดอะมิโน ถูกทำลายด้วยความร้อนสูงจนกลายเป็นสารใหม่ พบมากในส่วนที่ไหม้เกรียมของอาหารปิ้ง ย่าง สารกลุ่มนี้มีฤทธิ์ทำให้เกิดการกลายพันธุ์สูงมากมากกว่าสารอะฟลาทอกซินตั้งแต่ 60-100 เท่า การบริโภคเนื้อสัตว์มาก มีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งลำไส้

วารสารสมาคมแพทย์อเมริกันเปิดเผย โรคมะเร็งลำไส้กับการรับประทานเนื้อ จากการติดตามข้อมูลสุขภาพจำนวน 148,610 คน อายุระหว่าง 50-70 ปี เป็นเวลานาน 10 ปี พบว่าผู้ที่ชอบกินเนื้อแดงมากเกินระดับมีโอกาสเสี่ยงเป็นมะเร็งลำไส้เล็กมากกว่าผู้ไม่ค่อยรับประทานเนื้อ (กองการแพทย์ทางเลือก.  2549 : 59-63) จากข้อมูลที่ทำการวิจัยในสัตว์ทดลองในระบาดวิทยา เป็นที่ยอมรับว่าอาหารจากพืชผัก ผลไม้ที่มีสีเขียว เหลือง  ส้ม และมีเส้นใยสามารถป้องกันหรือลดอัตราการเกิดมะเร็งหลายชนิด ได้เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ มะเร็งถุงน้ำดี และมะเร็งปากมดลูก จากการศึกษาที่มหาวิทยาลัยบัฟฟาโล รัฐนิยอร์ค สหรัฐฯ พบว่าผู้ที่บริโภคผักตระกูลกำหล่ำ ได้แก่ กะหล่ำปลี ดอกกะหล่ำ บร็อคโคลี ผักกาด ผักโขม เป็นประจำ จะไม่เป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งทวารหนัก และโรคทางเดินอาหาร โดยในผักเหล่านี้มีสารประกอบพวก อินโดลซึ่งกระตุ้นเอมไซน์บางชนิดในเซลล์ตับให้ช่วยทำลายสารก่อมะเร็งและยับยั้งการเกิดเซลล์มะเร็งได้ (Griffiths K, Adlercreutz H. 1996 : 16-21)

เนื้อสัตว์นั้นเป็นอาหารอันตรายที่เราอาจคาดไม่ถึง ไม่ว่าจะเป็นเนื้อวัว เนื้อหมู เนื้อไก่ เนื้อปลา จะมีสารพิษต่าง ๆ มากมาย ที่ก่อให้เกิดอันตรายกับร่างกาย ปัจจุบัน เนื้อสัตว์ที่เรารับประทานอยู่ทุกวันนี้มีสารปนเปื้อนที่เป็นอันตรายอยู่มากมาย เช่น สารเร่งเนื้อแดง สาเหตุของโรคหัวใจ ยาปฏิชีวนะประเภท คลอแรมแฟนิคอล(Chloramphenicon) และยาในกลุ่มในโตรฟูแลม(Nitrofurams) ที่เป็นสาเหตุของโรคมะเร็ง นอกจากนี้ยังมีสารเคมีอื่น ๆ อีกมากมายที่เกิดขึ้นเองจาก สัตว์ขณะที่พวกมันกำลังถูกฆ่า ซึ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็ง ด้วยเช่นกัน อาหารแปรรูปหลาย ๆ ชนิดที่ทำมาจากเนื้อสัตว์ ไม่ว่าจะเป็น ไส้กรอกที่มีสารไนไตรท์ ช่วยให้ไส้กรอกเหนียวนุ่ม หากรับประทานเข้าไปมาก ๆ ก็จะเกิดการสะสมในร่างกายจนคุณเป็นโรคมะเร็ง ได้แก่ มะเร็งในเม็ดเลือด มะเร็งในกระเพาะอาหาร มะเร็งในกระเพาะปัสสาวะ และเนื้องอกในสมอง ตามท้องตลาดจะมีไส้กรอกอยู่หลายชนิด แต่ละชนิดก็มีส่วนผสมที่แตกต่างกันไป รวมไปถึงส่วนผสมที่เป็นวัสดุสังเคราะห์ที่รวมอยู่ด้วยหลายชนิด เช่น สารกันบูดที่มีไว้เพื่อยืดอายุของไส้กรอกให้นานยิ่งขึ้น การบรรจุไส้กรอก”ถุงหลอด” ผลิตมาจากคอลลาเจนสังเคราะห์ ซึ่งมีสารที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง เนื่องจากมีไขมันเป็นส่วนประกอบอยู่มาก เมื่อนำไปย่างหรือปิ้ง จะทำให้เกิดสารพิษที่เรียกว่า “อะคริลิไมด์” (Acrylimides) ซึ่งก็เป็นสารก่อมะเร็ง

ส่วนทางด้านศาสนา ในหลายศาสนา เช่น ศาสนาพุทธ ศาสนาซิกซ์นิกายนามธารี คริสเตียน นิกายคริสตจักรวันเสาร์ และนิกายโบสถ์ออร์โธดอกซ์ตะวันตก (Eastern Orthodox Church) จึงสอนศาสนิกชนให้มีอหิงสาหรือไม่เบียดเบียนชีวิต คือ ไม่ให้ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต เช่น ศีลข้อที่หนึ่ง ในศาสนาพุทธ เป็นต้นและบางศาสนาไม่ส่งเสริมการบริโภคเนื้อสัตว์ ซึ่งเป็นการลดการฆ่าสัตว์โดยทางอ้อม  นักบวชและศาสนิกชนที่ปฏิบัติเคร่งครัดจึงบริโภคอาหารมังสวิรัติเนื่องจากเหตุผลทางจริยธรรมและศีลธรรมทางศาสนา เพราะว่าจิตใจเขามีความสงสารและเมตตาต่อสัตว์ ผู้ตกทุกข์ได้ยากทั้งหลาย ไม่ต้องการให้มีการฆ่าและเบียดเบียนสรรพสัตว์ ในอดีตมีผู้นำทางจิตวิญญาณ  นักคิด
จิตรกร นักเขียน นักปราชญ์ที่มีชื่อเสียงระดับโลกหลายท่านที่ส่งเสริมและปฏิบัติตนเป็นนักมังสวิรัติ เช่น พระพุทธเจ้า พลาโต (Plato) โสเครตีส (Socrates) ปิธาโกรัส จอร์จ เบอร์นาร์ด ชอว์ (George-Bernard Shaw) มาร์ติน ลูเธอร์ (Martin Luther) และมหาตมะ คานธี รวมทั้งนักวิทยาศาสตร์ดัง ๆ เช่น เซอร์ไอแซค นิวตัน (Albert Einstein) และชุร์ลส์ ดาร์วิน (Charies Darwin) เป็นต้น ต่างก็เป็นนักมังสวิรัติด้วย

 

เนื่องจากเมื่อสัตว์ถูกฆ่าและมีความเจ็บปวดอย่างรุนแรง มันจะตกใจ หวาดกลัว แล้วจะหลั่งอะดรีนาลิน (adrenaline) และสารแห่งความเครียดอื่นๆ ออกมาในปริมาณสูงมาก อย่างอัตโนมัติในเนื้อสัตว์ หากรับประทานเนื้อสัตว์ที่มีฮอร์โมนอะดรีนาลินที่ตกค้างประจำ ผู้บริโภคจะ ได้รับฮอร์โมนอะดรีนาลินเพิ่มด้วย ฮอร์โมนในอาหารมีผลกระตุ้นที่อาจจะทำให้ควบคุมจิตใจได้ยาก ผู้ละเว้นการบริโภคเนื้อสัตว์จะไม่ได้รับฮอร์โมนอะดรีนาลินซึ่งหลั่งออกมาและติดมากับเนื้อสัตว์ ศาสดาทุกศาสนาได้สอนให้มนุษย์เรารักผู้อื่น มีเมตตา ลดความเห็นแก่ตัว และเสียสละเพื่อผู้อื่น พุทธศาสนาได้สรรเสริญการไม่เบียดเบียนสัตว์เป็นธรรมอันยอดเยี่ยม (สังคสูตร คาถา) และเมตตาเป็นธรรมคํ้าจุนโลก ถ้าเราอยู่ด้วยความรู้ว่าควรได้รับอะไรเท่าไรจึงจะพอ ก็ย่อมอิ่มกาย อิ่มใจ เจริญเติบโตสมบูรณ์ แข็งแรง มีสติปัญญาดี สามารถทำประโยชน์และความดีได้เต็มที่ (กองการแพทย์ทางเลือก. 2549 : 147-153)

จากคำตรัสของพระพุทธเจ้าในพระไตรปิฏกเล่มที่ 19  “เวฬุทวารสูตร” ข้อที่ 1459 ที่ทรงบัญญัติศีลข้อที่ 1 ไว้ ว่า ห้ามฆ่าสัตว์ เพื่อสร้างความเมตตากรุณาให้เกิดผลแก่มนุษยชาติ โดยต้องการให้เกิดการกระทำเมตตากรุณา เอ็นดูต่อผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นคนด้วยกัน หรือเป็นสัตว์ทั้งหลายก็ตาม ทรงมุ่งหมายไม่ให้เบียดเบียนกัน เว้นขาดจากความรุนแรงโหดร้าย ไม่ฆ่า ไม่ทำลายชีวิตผู้อื่น แต่ให้รักและปรานีชีวิตผู้อื่น เหมือนกันกับที่รักและปรานีชีวิตตัวเอง  ศีลข้อนี้จึงเป็นบทแผ่เมตตาที่ถูกต้องแท้จริง แผ่เมตตาให้แก่สัตว์โลกทั้งหลาย ด้วยการกระทำทั้งทางกาย วาจา ใจ ไม่ใช่แค่เมตตาโดยการสวดมนต์ภาวนาปากเปล่าเท่านั้น แต่ที่จริงยังเคี้ยวกินเนื้อของเขาอยู่ ดังนั้นเพื่อความบริสุทธิ์ในศีลข้อที่ 1 นี้ เราจึงไม่ฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง และไม่ต้องให้ใครฆ่าสัตว์แทนเราด้วย ทั้งทางตรง  ทั้งทางอ้อม การแสวงบุญ การชำระกิเลส ด้วยการถือศีลข้อนี้ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ จะปฏิบัติให้บริสุทธิ์ทั้งกาย วาจา ใจ จนเราเกิดเมตตากรุณาขึ้นจริง ๆ ศีลข้อ 1 นี้จะสร้างมรรคผลได้จริง สมกับที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้  นอกจากเรื่องที่ทรงห้ามการฆ่าสัตว์แล้ว พระพุทธเจ้ายังทรงห้ามถึงเรื่อง “การค้าขายสัตว์” ทั้งสัตว์ที่มีชีวิตอยู่เป็น ๆ ทั้งสัตว์ที่ตายแล้วกลายเป็นเนื้อ หนัง ตับ ไต ไส้พุงต่าง ๆ ที่โดนนำมาประกอบอาหารกิน จากพระไตรปิฏกเล่มที่ 22 “วณิชชสูตร” ข้อ177 (ณวมพุทธ.  2560 ; 7-20)

ในการเบียดเบียนชีวิตสัตว์มาเป็นอาหารของมนุษย์ จึงทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ตามมามากมาย สอดคล้องกับ คำตรัสพระพุทธเจ้าที่ว่า การเบียดเบียนตนเองและผู้อื่นด้วยการปฏิบัติผิดศีลธรรมมีผลทำให้เกิดทุกข์ภัย มีโรคมากและอายุสั้น แต่เมื่อไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่นด้วยการปฏิบัติศีลธรรมให้มากยิ่งขึ้น ๆ มีผลทำให้แข็งแรงอายุยืน เมื่อปฏิบัติศีลธรรมต่อเนื่องได้มากจะส่งผลถึงขั้นโรคต่าง ๆ ลดลงหายไปเหลือเพียง 3 โรค คือ ความอยากกิน ความไม่อยากกิน และความแก่ (แก่ช้า) เท่านั้น ในพระไตรปิฏกที่กล่าวว่า

“ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้ จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม เป็นผู้มักทำชีวิตสัตว์
ให้ตกล่วง เป็นคนเหี้ยมโหด มีมือเปื้อนเลือดหมกมุ่นในการประหัตประหาร ไม่เอ็นดูในเหล่าสัตว์มีชีวิต … จะเป็นคนมีอายุสั้น … ดูกรมาณพ ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม ละปาณาติบาตแล้ว เป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต วางอาชญา วางศาตรา (อาวุธหรือวิชาหรือความรู้หรือวิธีที่เบียดเบียน) ได้ มีความละอาย ถึงความเอ็นดู อนุเคราะห์ด้วยความเกื้อกูลในสรรพสัตว์และภูตอยู่ … จะเป็นคนมีอายุยืน … บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม เป็นผู้มีปรกติ เบียดเบียนสัตว์ (ทำให้ตนเอง หรือคนอื่น หรือสัตว์อื่น ได้รับความทุกข์ทรมาน เดือดร้อน ไม่สบาย บาดเจ็บ ล้มตาย) ด้วยฝ่ามือ หรือก้อนดิน หรือท่อนไม้ หรือศาตรา (อาวุธหรือวิชาหรือความรู้หรือวิธีการต่าง ๆ) … จะเป็นคนมีโรคมาก … ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม เป็นผู้มีปรกติ ไม่เบียดเบียนสัตว์ (ไม่ทำให้ตนเอง หรือคนอื่น หรือสัตว์อื่น ได้รับความทุกข์ทรมาน เดือดร้อน ไม่สบาย บาดเจ็บ หรือล้มตาย) ด้วยฝ่ามือ หรือก้อนดิน หรือท่อนไม้ หรือศาตรา (อาวุธหรือวิชาหรือความรู้หรือวิธีการต่าง ๆ) … จะเป็นคนมีโรคน้อย ….” (ม.อุ.14/582 – 585), “ผู้ใดแสวงหาความสุขเพื่อตนย่อมไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งหลาย (การไม่ทำให้ตนเอง หรือคนอื่น หรือ
สัตว์อื่น ได้รับความทุกข์ทรมาน เดือดร้อน ไม่สบาย บาดเจ็บ หรือล้มตาย)” (ขุ.ขุ.25/20)

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเคยเป็นมนุษย์ในชาติก่อนภพก่อนกำเนิดก่อน ละปาณาติบาตแล้ว เว้นขาดจากปาณาติบาตแล้ววางทัณฑะ วางศาตราแล้ว มีความละอาย มีความกรุณาหวังประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวงอยู่ ตถาคตย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เพราะกรรมนั้น อันตนทำสั่งสมพอกพูนไพบูลย์ … เมื่อเป็นพระราชาได้ผลข้อนี้ คือ มีพระชนมายุยืนดำรงอยู่นาน อภิบาลพระชนมายุยืนยาว ไม่มีใคร ๆ ที่เป็นมนุษย์ซึ่งเป็นข้าศึกศัตรู สามารถปลงพระชนม์ชีพในระหว่างได้ … เมื่อเป็นพระพุทธเจ้าจึงได้ผลข้อนี้ คือ มีพระชนมายุยืนดำรงอยู่นาน ทรงอภิบาลพระชนมายุยืนยาว ไม่มีข้าศึกศัตรู จะเป็นสมณะ พราหมณ์  เทวดา พรหม มาร ใคร ๆ ในโลก สามารถปลงพระชนม์ชีพในระหว่างได้” (ที.ปา.11/136)

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเคยเป็นมนุษย์ในชาติก่อน ภพก่อนกำเนิดก่อน เป็นผู้
ไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งหลายด้วยฝ่ามือ ก้อนดิน ท่อนไม้ หรือศาตรา ตถาคตย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เพราะกรรมนั้น อันตนทำสั่งสมพอกพูนไพบูลย์ ฯลฯ  … เมื่อเป็นพระพุทธเจ้าได้จึงรับผลข้อนี้ คือ มีพระโรคาพาธน้อย มีความลำบากน้อย สมบูรณ์ด้วยพระเตโชธาตุ

อันยังอาหาร ให้ย่อยดี ไม่เย็นนัก ไม่ร้อนนัก อันควรแก่พระปธานเป็นปานกลาง” (ที.ปา.11/156)
จากงานวิจัยของนายใจเพชร กล้าจน (2559: 381-393) ผู้ป่วยที่ดูแลสุขภาพด้วยหลักการแพทย์วิถีธรรม ได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารจากเดิมเคยบริโภคเนื้อสัตว์ มาลด ละ เลิกการบริโภคเนื้อสัตว์ จนอาการเจ็บป่วย ได้ทุกเลาและหายจากโรคที่เป็นอยู่ ตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยมะเร็งตับ ซึ่งเป็นศัลยแพทย์ ป่วยหนัก จนเกือบเสียชีวิต (เตรียมจองวัด) ได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินอาหาร และปรับสมดุลร่างกายด้วยเทคนิค 9 ข้อ ใช้เวลาประมาณ​ 5  เดือน จนร่างกายฟื้นตัวขึ้น ทุกวันนี้ หันมากินผักฤทธิ์เย็น แทบจะไม่กินเนื้อสัตว์ ปัจจุบันสามารถทำงานตรวจรักษาคนไข้ได้ปกติ (ชัยพร กันกา สัมภาษณ์ 2555 มิถุนายน 22 กรณีศึกษา 17 ภาคผนวก ก หน้า 381 ใจเพชร กล้าจน จิตอาสาแพทย์วิถีพุทธเพื่อมวลมนุษย์ชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ พ.ศ. 2558) สอดคล้องกับงานวิจัยของนางเอมอร แซ่ลิ้ม (2561 : 154-15) พบว่า กลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ ลด ละ เลิกการบริโภคเนื้อสัตว์ เพราะไม่ต้องการเบียดเบียนสัตว์ ร้อยละ 62.22 และ 60.55 ตามลำดับ มีความผาสุกมากขึ้น จิตใจเบิกบาน ไม่เครียด ไม่เร่งผล ไม่กังวล ในการดูแลสุขภาพ ฟังธรรมะทำให้ใจเป็นสุข สงบ สบายใจ เข้าใจในเรื่องของกรรม และศีลข้อที่ 1 เรื่องของการไม่เบียดเบียนสัตว์ ซึ่งตรงงานวิจัยของใจเพชร กล้าจน.  (2559 : 177) กับหลักการถอนพิษที่สะสมจนทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยไม่สบายต่าง ๆ ออกจากร่างกายของแพทย์วิถีพุทธ คือ การรับประทานอาหารปรับสมดุลร่างกาย โดยแนะนำให้เพิ่มการรับประทานผักและผลไม้ที่ไม่หวานจัดรวมถึงโปรตีนจากถั่วเป็นหลัก แต่ในท่านที่ไม่งดเนื้อสัตว์ได้จริง ๆ ก็อนุโลมให้รับประทานปลากับไข่ได้ เพื่อหลีกเลี่ยงสารพิษสารเคมีที่อยู่ในเนื้อสัตว์และวิบากบาปในการเบียดเบียนสัตว์ ที่เป็นสาเหตุสำคัญในการเจ็บป่วยและอาการไม่สบายต่าง ๆ ซึ่งจากการเก็บข้อมูลเชิงลึกในงานวิจัยของ ใจเพชร กล้าจน.  (2560 : 22) พบว่าจิตอาสาแพทย์วิถีธรรม จำนวน 300 คน ในอดีตส่วนใหญ่รับประทานเนื้อสัตว์ ร้อยละ 90 ของจำนวนจิตอาสาแพทย์วิถีธรรม ทำให้มีความเจ็บป่วยด้วยโรคหรืออาการไม่สบายต่าง ๆ เมื่อหยุดกินเนื้อสัตว์หรือกินเนื้อสัตว์น้อยลง กินอาหารให้ถูกสมดุลร้อนเย็น และดูแลสุขภาพตามหลักการแพทย์วิถีธรรมข้ออื่น ๆ ต่อเนื่องกัน 3 ปีขึ้นไป พบว่าร้อยละ 90 ของจำนวนจิตอาสาแพทย์วิถีธรรม อาการเจ็บป่วยด้วยโรคหรืออาการไม่สบายต่าง ๆ ลดน้อยลงถึงขั้นที่ไม่ต้องใช้วิธีการรักษาแผนอื่นเลย

เช่นตัวอย่างผู้ป่วยมะเร็งช่องท้องรายหนึ่งงดกินเนื้อสัตว์ 3เดือน ให้ข้อมูลว่า เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2560 หลังการให้ คีโมเข็มแรก รู้สึกร่างกายไม่ไหว ไม่สบาย ไม่มีแรง ท้องบวมแขน ขามีอาการชาตึง หลังเลิกกินเนื้อสัตว์  อาการดีขึ้น ท้องบวมยุบลง พอเกิดความเครียดท้องบวมกลับมา ฟังธรรมะทำใจ โดยใช้หลัก ไม่เร่งผล ไม่กังวล และปรับสมดุลร้อนเย็นวันต่อวัน ลดเนื้อสัตว์ 3 เดือนท้องบวมยุบ เหลือประมาณ 20 % ผู้ป่วยเต้านม 3 ราย ก่อนงดเนื้อสัตว์ มีอาการแขน ขามีอาการชาตึง

เมื่อก่อนกินเนื้อสัตว์เข้าไปทำให้แน่นท้อง อึดอัด ไม่สบายกาย และมีอาการร้อนใน เดิน ลุก นั่ง นอน ไม่ค่อยสบายกาย เจ็บตรงนั้น ตรงนี้เป็นประจำ หลังได้รับการอบรมผ่านไป ได้รู้การปฏิบัติรักษาตัว อาการปวดเมื่อยตามแขนขา ทุเลา  แล้วทำให้รู้สึกสบายกาย สบายใจเป็นอย่างมาก เมื่อรับประทานอาหารที่ไม่มีเนื้อสัตว์ปรับสมดุลอาหารด้วยการกินอาหารตามหลักแพทย์วิถีธรรม ประมาณ 3 เดือน เข้าไปไม่รู้สึกอึดอัด ไม่ร้อนใน ลุก เดิน นั่ง นอน สบายกาย ไม่เจ็บปวด น้ำหนักลดลง เบากาย สบายตัว แผลแห้ง สบายใจไม่กังวล  สอดคล้องกับงานวิจัยของแลป ไต เลอ และ โจน ซาเบท (Lap Tai Le and Joan Sabaté.  2014 : 2131-2147) พบว่าผู้ที่ทานมังสวิรัติมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคมะเร็งต่าง ๆ ลดลง เช่น มีความเสี่ยงลดลงในโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งทางเดินอาหาร และมะเร็งต่อมลูกหมาก  ร้อยละ 50, 23 และ 35 ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มผู้ที่ไม่กินมังสวิรัติ

บทสรุป

            จะเห็นว่า การกินเนื้อสัตว์มีผลกับโรคมะเร็งโดยตรง จากงานวิจัยในหลายฉบับเป็นไปในทิศทางเดียวกันโดยส่วนใหญ่ จากผลงานวิจัยเมื่อผู้ป่วย ได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทั้งทางกายและทางใจ แก้ไขที่ต้นเหตุ ปรับการกินที่สมดุล ลดการเบียดเบียนตนเอง ชีวิตอื่น สัตว์อื่น (ทำศีลข้อ ​​​​1 ให้บริบูรณ์) ก็ทำให้โรคที่เป็นอยู่ดีขึ้น และหายจากโรคได้ ตรงกับคำตรัสขององค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ว่า​ “การเบียดเบียนทำให้มีโรคมากและอายุสั้น” “การไม่เบียดเบียนทำให้มีโรคน้อยและอายุยืน”

อ้างอิง

กองการแพทย์ทางเลือก.  (2549).  ตำราวิชาการ อาหารเพื่อสุขภาพ.  พิมพ์ครั้งที่ กรุงเทพมหานคร : สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

ใจเพชร กล้าจน.  (2553).  ความเจ็บป่วยกับการดูแลสุขภาพแนวเศรษฐกิจพอเพียง ตามหลัก

แพทย์ทางเลือก วิถีพุทธ ของศูนย์เรียนรู้สุขภาพพึ่งตนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง สวนป่านาบุญ อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร.  วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหบัณฑิต มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

ใจเพชร.  (2559).  จิตอาสาแพทย์วิถีพุทธเพื่อมวลมนุษยชาติ.  ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค (สาธารณสุขชุมชน)  คณะกรรมการบัณฑิตศึกษา  มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.

ใจเพชร กล้าจน.  (2560).  การกินหรือไม่กินเนื้อสัตว์กับพุทธ.  กรุงเทพฯ : บริษัทพิมพ์ดี.

ณวมพุทธ.  (2560).  พระพุทธเจ้ากับมังสวิรัติ.  กรุงเทพฯ : อุษาการพิมพ์.

เอมอร  แซ่ลิ้ม.  (2561).  ผลของการเสริมพลังต่อพฤติกรรมการลด ละ เลิกการบริโภคเนื้อสัตว์และภาวะสุขภาพ ของผู้เข้าอบรมแพทย์วิถีธรรม, วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาสาธารณสุขศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.

Gfiffiths K, Adlercreutz H, Boyle P, Denis L, Nichoison Rl, Morton MS.  (1996).    Nutrition and Cancer.  Isis Medical Media : Oxford.

ที่มา : วารสารวิชชาราม ปีที่ 1 ฉบับที่ 2

เดือนพฤษภาคม ถึง สิงหาคม 2561

หน้า 51  ถึง 58

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *