At bagon.is you can Buy webshells, phpmailer, Combo list
ข่าวการเรียนวิชากายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาพื้นฐาน ครั้งที่ 9 | สถาบันวิชชาราม
Skip to content

ข่าวการเรียนวิชากายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาพื้นฐาน ครั้งที่ 9

รายการ วิชา กายวิภาคศาสตร์ และสรีรวิทยาพื้นฐาน ครั้งที่ 9 : เรื่อง ระบบประสาท

วันพฤหัสบดีที่ 15 กรกฎาคม 2564 เวลา 20.00 -21.30 น.

มีนักศึกษาเข้าเรียนผ่านระบบออนไลน์ทั่วโลกมากกว่า 40 ท่าน ดำเนินการสอน โดย แพทย์หญิงกานดา ศักดิ์ศรชัย เรื่อง ระบบประสาท (Nervous System)

บรรยากาศในห้องเรียนออนไลน์ที่นักศึกษาวิทยาลัยชุมชน จังหวัดมุกดาหาร และ สถาบันวิชชาราม มาเข้าเรียนกันเป็นปกติตามนัดหมายมีความเป็นกันเอง สบาย ๆ ไม่เคร่งเครียด ผู้สอนมีความชำนาญในการอธิบายและสอนเนื้อหาสาระได้กระชับ ฟังแล้วเข้าใจง่าย มีตารางสรุปเพื่อให้เข้าใจเนื้อหาได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

ระบบประสาท (Nervous System)

เป้าหมายวัตถุประสงค์ในการเรียนรู้ มี 4 ข้อ

    1.  นักศึกษาได้เรียนรู้เรื่องระบบประสาท
    2.  นักศึกษาสามารถบอกอวัยวะหลักของระบบประสาท
    3.  นักศึกษาสามารถอธิบายหน้าที่ของแต่ละอวัยวะในระบบประสาทได้
    4.  นักศึกษาสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ของระบบประสาทกับการดูแลสุขภาพแพทย์วิถีธรรมได้

มีการทำแบบฝึกหัดในช่วงท้าย 10 ข้อก่อนจบรายการและจากกันไป เมื่อได้เรียนรู้เนื้อหาในเรื่อง ระบบประสาททำหน้าที่ ในการรับความรู้สึกผ่านทางอวัยวะรับสัมผัสได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น ผิวหนัง ควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายทั้งใต้อำนาจจิตใจและการเคลื่อนไหวแบบรีเฟล็กซ์ และควบคุมอวัยะภายในผ่านระบบประสาทอัตโนมัติ

ประกอบด้วยอวัยวะหลัก

    1. ระบบประสาทส่วนกลาง ซึ่งประกอบด้วย สมองและไขสันหลัง
    2. ระบบประสาทรอบนอก มีเส้นประสาทที่มาจากสมองและเส้นประสาทที่มาจากไขสันหลัง

1 ระบบประสาทส่วนกลางจะประกอบด้วย

1.1 สมองซึ่งจะถูกแบ่งออกมา 3 ส่วนได้แก่

1.1.1 สมองส่วนหน้าเจริญไปเป็น

    • ซีรีบรัม ทำหน้าที่ควบคุมความคิด ความจำ ความรู้สึกต่าง ๆ
    • ทาลามัส เป็นศูนย์รวมกระแสประสาทที่มาจากส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเข้าสู่สมองและไขสันหลัง
    • ไฮโพทาลามัส ทำหน้าที่ควบคุมการหลั่งฮอร์โมน การนอนหลับ ความหิว การรักษาสมดุลของร่างกาย

1.1.2 สมองส่วนกลาง เจริญไปเป็น บางส่วนของก้านสมอง ซึ่งอยู่บริเวณของสมองส่วนหลังและมิดเบรนเป็นส่วนที่อยู่เหนือก้านสมองซึ่งควบคุมการเคลื่อนไหวของลูกตา

1.1.3 สมองส่วนหลัง เจริญไปเป็น

    • พอนส์ ควบคุมการเคี้ยว การกลืน การหลั่งน้ำลายและการแสดงสีหน้า
    • เมดัลลาออบลองกาตา ทำหน้าที่ควบคุมการหายใจ การเต้นของหัวใจและเป็นศูนย์กลางของระบบอัตโนมัติ
    • ซีรีเบลลัม ทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย การทรงตัว

1.2 ไขสันหลัง(spinal cord) มีลักษณะคล้ายผีเสื้อ โดยแบ่งบริเวณออกเป็น 2 บริเวณ

    •  ส่วนที่เป็นเนื้อสีเทาซึ่งเป็นบริเวณที่มีเซลล์ประสาทจำนวนมากอยู่รวมกันที่ด้านในของไขสันหลัง
    • ส่วนที่เป็นเนื้อสีขาวซึ่งเป็นบริเวณที่มีเส้นประสาทหุ้มด้วยเยื่อไมอิลินอยู่เป็นจำนวนมาก

2. ระบบประสาทรอบนอก (Peripheral Nervous System ,PNS) ประกอบไปด้วย

    1.  cranial nerve  12 คู่ ซึ่งเป็นเส้นประสาทที่มาจากสมอง
    2.  spinal nerve 31 คู่ ซึ่งเป็นเส้นประสาทที่มาจากไขสันหลัง

ระบบประสาทรอบนอกนี้แบ่งการทำงานออกเป็น

    • ระบบประสาททำงานภายใต้อำนาจจิตใจ ซึ่งจะมีเส้นประสาทเชื่อมต่อไปถึงผิวหนัง ข้อต่อ กล้ามเนื้อ
    • ระบบประสาททำงานภายนอกอำนาจจิตใจหรือระบบประสาทอัตโนมัต ซึ่งจะมีเส้นประสาทเชื่อมต่อไปถึงอวัยวะภายใน เส้นเลือดและต่อมต่าง ๆ โดยการทำงานของระบบประสาทภายนอกอำนาจจิตใจ

โรคระบบประสาทที่พบบ่อย

    1. โรคหลอดเลือดสมองหรือโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต เป็นอาการของแขนหรือใบหน้าซีกใดซีกหนึ่งชา อ่อนแรง เคลื่อนไหวลำบาก หรือเคลื่อนไหวไม่ได้
    2. โรคปวดศีรษะ อาการปวดศีรษะอย่างรุนแรง และเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน
    3. โรคอัลไซเมอร์ เป็นอาการสมองเสื่อมชนิดหนึ่ง ซึ่งเกิดจากการตายของเซลล์สมอง ทำให้การทำงานของสมองเสื่อมลง
    4. เส้นประสาทถูกกดทับ บริเวณหลัง อาการปวดหลัง ร้าวลงขาข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้ง2ข้าง

ประยุกต์เข้ากับการแพทย์วิถีธรรม

แพทย์วิถีธรรม พบว่าความกังวลเป็นโรคเนื่องจากมีผลทำให้กล้ามเนื้องเกร็งตัว เส้นลมปราณติดขัด เกิดพิษสะสม สมองและระบบประสาทอ่อนแอลง

วิธีแก้ไขเพื่อให้ระบบคุ้มกันแข็งแรงทำได้โดย

    1. ลดความกังวล โดยการปรับสมดุลจิตใจด้วยยาเม็ดเลิศ
    2. ลดการนำพิษเข้า,ปรับสมดุลร่างกายด้วยยาเม็ดหลัก
    3. ระบายพิษสะสมและปรับสมดุลร่างกายด้วยยาเม็ดเสริม

สรุปเนื้อหาของวันนี้ คือ

    1.  เรียนรู้ระบบทางประสาท หน้าที่ของอวัยวะที่สำคัญในระบบ และความเชื่อมโยงกับศาสตร์แพทย์วิถีธรรม
    2.  เรียนรู้กับหมู่มิตรดีด้วยความผาสุก ร่วมทำบททดสอบอย่างไม่ยึดมั่นถือมั่น ว่าจะได้คะแนนเท่าไร เพียงได้คะแนนความพ้นทุกข์เต็มที่ ยินดี พอใจ ไร้กังวล

[ติดตามรับชม วีดีโอเพิ่มเติมได้]

เจริญธรรม สำนึกดี มีอภัย ใจไร้ทุกข์
บันทึกรายงานโดย : สุดใจ โสะหาบ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *