At bagon.is you can Buy webshells, phpmailer, Combo list
ข่าวการเรียนวิชา กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาพื้นฐาน ครั้งที่ 7 | สถาบันวิชชาราม
Skip to content

ข่าวการเรียนวิชา กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาพื้นฐาน ครั้งที่ 7

รายการ วิชา กายวิภาคศาสตร์ และสรีรวิทยาพื้นฐาน ครั้งที่ 7 : เรื่อง ระบบทางเดินหายใจ

วันพฤหัสบดีที่ 17 มิถุนายน 2564 เวลา 20.00 -21.30 น.

มีนักศึกษาเข้าเรียนผ่านระบบออนไลน์ทั่วโลกมากกว่า 50 ท่าน ดำเนินการสอน โดย แพทย์หญิงกานดา ศักดิ์ศรชัย เรื่อง ระบบทางเดินหายใจ (Respiratory System)

บรรยากาศในห้องเรียนออนไลน์ที่นักศึกษาวิทยาลัยชุมชน จังหวัดมุกดาหาร และ สถาบันวิชชาราม มาเข้าเรียนกันเป็นปกติตามนัดหมายมีความเป็นกันเอง สบาย ๆ ไม่เคร่งเครียด ผู้สอนมีความชำนาญในการอธิบายและสอนเนื้อหาสาระได้กระชับ ฟังแล้วเข้าใจง่าย มีตารางสรุปเพื่อให้เข้าใจเนื้อหาได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

ระบบทางเดินหายใจ (Respiratory System)

เป้าหมายวัตถุประสงค์ในการเรียนรู้ มี 4 ข้อ

ข้อ 1 นักศึกษาได้เรียนรู้เรื่องระบบทางเดินหายใจ

ข้อ 2 นักศึกษาสามารถบอกอวัยวะหลักของระบบทางเดินหายใจ

ข้อ 3 นักศึกษาสามารถอธิบายหน้าที่ของแต่ละอวัยวะในระบบทางเดินหายใจได้

ข้อ 4 นักศึกษาสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ของระบบทางเดินหายใจกับการดูแลสุขภาพแพทย์วิถีธรรมได้

มีการทำแบบฝึกหัดในช่วงท้าย 10 ข้อก่อนจบรายการและจากกันไป เมื่อได้เรียนรู้เนื้อหาในเรื่อง ระบบทางเดินหายใจ ที่ทำหน้าที่สำคัญในการแลกเปลี่ยนออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ในกระแสเลือด ผ่านโครงสร้างของอวัยวะหลักต่าง ๆ ในระบบนี้ โดยมีการทำงานร่วมกันของ ระบบทางเดินหายใจส่วนบน จมูกและปาก คอหอย และระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง หลอดลมคอ หลอดลมเล็กหรือขั้วปอด หลอดลมฝอย ท่อลม ปอด ถุงลมและถุงลมย่อย กระบังลม

ตลอดจน เรียนรู้ กระบวนการแลกเปลี่ยนแก๊ส ที่เกิดจาก ความเข้มข้นที่ต่างกันของแก๊สระหว่างบรรยากาศและในเส้นเลือด ทำให้เกิดการซึมผ่านเยื่อเมือก ผ่านที่ผนังของถุงลมและหลอดเลือด และเข้าไปในเลือด การหายใจเข้าและการหายใจออก ค่าปกติการวัดการหายใจ และเรียนรู้โรคที่เกิดจากระบบทางเดินหายใจมีความผิดปกติ คือสูญเสียหน้าที่ของอวัยวะนั้น ๆ ของระบบที่ส่งผลให้

-การเดินทางของอากาศเข้าสู่ปอดขัดข้อง

-การแลกเปลี่ยนแก๊สไม่ปกติ

-มีสารคัดหลั่งเกิดขึ้นในทางเดินหายใจ มากเกิน ทำให้เกิดอาการไอ และมีเสมหะ

เรียนรู้โรคต่าง ๆ ที่เกิดจากระบบทางเดินหายใจ ตั้งแต่ ไข้หวัด มะเร็งปอด ไปจนถึงโรคที่กำลังระบาดหนักอยู่ทั้งในประเทศไทยและทั่วโลกในขณะนี้ คือ โรค COVID-19 ทั้งสาเหตุ การปฏิบัติตัวให้หายจากโรค การป้องกันเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรค ตลอดจนอุบัติการของโรค การดูแลรักษาให้หายได้หรือไม่ อย่างไร

และการประยุกต์หลักการแพทย์วิถีธรรม มาใช้ในการปรับสมดุลร่างกาย เพื่อป้องกัน ดูแลรักษา บรรเทาเบาบางลดอาการที่เกิดความไม่สมดุล ในระบบทางเดินหายใจ เช่น การโยคะกดจุดลมปราณเพื่อปรับสมดุล และถอนพิษจากอวัยวะภายใน เป็นต้น

อาการเจ็บป่วย แก้ไขได้ด้วยการปรับสมดุลร้อนเย็น ใช้แก่นหลักของการดูแลสุขภาพตาม หลักแพทย์วิถีธรรม ดังนี้

    • เม็ดเลิศ (แต่ละชีวิตควรพากเพียรทำให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะเป็นการดูแลสุขภาพด้านนามธรรมมีฤทธิ์เลิศยอดที่สุดกว่าทุกวิธีในโลก ซึ่งด้านนามธรรมของพุทธะนั้น มีฤทธิ์ประมาณ 70 % + เกิน 100 % ส่วนด้านรูปธรรมหรือด้านวัตถุ มีฤทธิ์ประมาณ 30 %)

เม็ดที่ 8 ใช้ธรรมะ ละบาป บำเพ็ญบุญกุศล ทำจิตใจให้ผ่องใส

คบมิตรดีสหายดีสร้างสังคมสิ่งแวดล้อมที่ดี คือ สานพลังกับหมู่มิตรดี ลดกิเลส และช่วยเหลือผู้อื่น

เม็ดที่ 9 คือรู้เพียรรู้พักให้พอดี

    • เม็ดหลัก (แต่ละชีวิตควรทำเป็นหลัก ทำเป็นประจำ ให้สม่ำเสมอ จนเป็นปกติของชีวิต เพราะเป็นการดูแลสุขภาพที่มีฤทธิ์สูงที่สุดด้านรูปธรรมหรือด้านวัตถุ ซึ่งต้องทำเป็นหลักควบคู่กับด้านนามธรรม)

เม็ดที่ 7 การรับประทานอาหารปรับสมดุล ตามภาวะร้อนเย็นของร่างกาย

เม็ดที่ 6 การออกกำลังกาย กดจุดลมปราณ โยคะ กายบริหาร ที่ถูกต้อง

    • เม็ดเสริม (ใช้เสริมในการปรับสมดุลร้อนเย็น เมื่อเกิดโรคหรืออาการไม่สบาย โดยเลือกใช้เฉพาะวิธีที่ใช้แล้ว สบาย เบากาย มีกำลัง เป็นอยู่ผาสุก ต่อผู้นั้น ณ เวลานั้น

เม็ดที่ 1 การรับประทานสมุนไพรปรับสมดุลร้อนเย็น

เม็ดที่ 2 การกัวซาหรือขูดซาหรือขูดพิษหรือขูดลม (การขูดระบายพิษทางผิวหนัง)

เม็ดที่ 3 การสวนล้างพิษออกจากลำไส้ใหญ่ด้วยสมุนไพรที่ถูกกัน (ดีท็อกซ์)

เม็ดที่ 4 การแช่มือแช่เท้าหรือส่วนที่ไม่สบายในน้ำสมุนไพร ตามภาวะร้อนเย็นของร่างกาย

เม็ดที่ 5 การพอก ทา หยอด ประคบ อบ อาบ เช็ด ด้วยสมุนไพร ตามภาวะร้อนเย็นของร่างกาย

สรุปเนื้อหาของวันนี้ คือ

1. เรียนรู้ระบบทางเดินหายใจ หน้าที่ของอวัยวะที่สำคัญในระบบ และความเชื่อมโยงกับศาสตร์แพทย์วิถีธรรม
2. เรียนรู้กับหมู่มิตรดีด้วยความผาสุก ร่วมทำบททดสอบอย่างไม่ยึดมั่นถือมั่น ว่าจะได้คะแนนเท่าไร เพียงได้คะแนนความพ้นทุกข์เต็มที่ ยินดี พอใจ ไร้กังวล

[ติดตามรับชมวีดีโอ เพิ่มเติมได้]

เจริญธรรม สำนึกดี มีอภัย ใจไร้ทุกข์
บันทึกรายงานโดย : ณัฐพร คงประเสริฐ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *