At bagon.is you can Buy webshells, phpmailer, Combo list
วิชา "กายวิภาคศาสตร์ และสรีรวิทยาพื้นฐาน” ครั้งที่ 4 | สถาบันวิชชาราม
Skip to content

วิชา “กายวิภาคศาสตร์ และสรีรวิทยาพื้นฐาน” ครั้งที่ 4

รายการ “วิชากายวิภาคศาสตร์ และสรีรวิทยาพื้นฐาน” ครั้งที่ 4
วันพฤหัสบดีที่ 6 พฤษภาคม 2564
เวลา 20.00 -21.28 น.

ประเด็นเด่นจากรายการ

    • การเรียนและการสอบ ตอบถูกหรือผิด ก็ไม่ทุกข์ใจ
    • รูปแบบการย่อยอาหาร
    • อวัยวะและการทำหน้าที่ในระบบย่อยอาหาร
    • ตำแหน่งและการย่อยสารอาหาร
    • ประเภทอาหารและการใช้เวลาย่อยอาหาร
    • ฮอร์โมนที่ควบคุมความหิวและความอิ่ม
    • การประยุกต์เข้ากับการแพทย์วิถีธรรม
    • ระบบย่อยอาหารและความเชื่อมโยงกับยา 9 เม็ด

วันนี้มีนักศึกษาเข้าเรียนทั้งหมด 57 ท่าน ดำเนินรายการ โดย ดร.นิดหน่อย นิตยาภรณ์ เนื้อหาที่เรียนในครั้งนี้ คือ ระบบย่อยอาหาร (Digestive System) ดำเนินการสอน โดย แพทย์หญิงกานดา ศักดิ์ศรชัย

บรรยากาศในห้องเรียนออนไลน์เต็มไปด้วยความเบาสบาย ไม่เคร่งเครียด แพทย์หญิงกานดาอธิบายและสอนเนื้อหาสาระได้มีความกระชับครบถ้วน ฟังแล้วเข้าใจง่าย มีตารางสรุประบบการย่อยอาหาร เพื่อให้เห็นความเชื่อมโยง และหน้าที่ของอวัยวะนั้น ๆ ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

รูปแบบการย่อยอาหาร มี 2 ประเภท คือ
1.การย่อยเชิงกล เป็นกระบวนการทำให้อาหารมีขนาดเล็กลง โดยการบดเคี้ยว รวมทั้งการบีบตัวของทางเดินอาหาร แต่ไม่สามารถทำให้อาหารมีขนาดเล็กที่สุด จึงไม่สามารถดูดซึมเข้าเซลล์ได้
2.การย่อยเชิงเคมี เป็นการย่อยอาหารให้มีขนาดเล็กที่สุด โดยการเกิดปฏิกิริยาเคมีระหว่างอาหารกับน้ำโดยตรง และจะใช้เอนไซม์เข้าเร่งปฏิกิริยา จะได้สารโมเลกุลเล็กที่สุดที่สามารถดูดซึมเข้าสู่เซลล์ได้ ซึ่งสารอาหารที่ได้รับการย่อย ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน ส่วนเกลือแร่และวิตามินจะดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้โดยตรง อาศัยน้ำย่อยหรือเอ็นไซม์ต่างๆดังนี้
– อะไมเลส จากต่อมน้ำลาย ย่อยอาหารประเภทแป้ง
– เป็ปซิน และเร็นนิน จากกระเพาะอาหารย่อยอาหารประเภทโปรตีนจากพืช/สัตว์ และนม ตามลำดับ
– โปรตีเอส ย่อยโปรตีน อะไมเลส ย่อยแป้ง ไลเปส ย่อยไขมัน สร้างจากตับอ่อน

ร่างกายมีทั้งหมด 17 อวัยวะ ซึ่งมีการทำหน้าที่ในระบบย่อยอาหารทั้งโดยเชิงกลและเชิงเคมี ให้เป็นสารอาหารและดูดซึมเข้ากระแสเลือด ประกอบด้วย
– ‘ปาก’ และ ‘ฟัน’ บดอาหาร
– ‘ลิ้น’ รับรสและคลุกเค้าให้เป็นก้อน
– ‘ต่อมน้ำลาย’ สร้างน้ำลายซึ่งมีน้ำย่อย
– ‘คอหอย’ และ ‘หลอดอาหาร’ เป็นทางผ่านของอาหารสู่กระเพาะซึ่งจะมีหูรูดตรงส่วนปลายเพื่อป้องกันอาหารไหลย้อนจากกระเพาะ
– ‘กระเพาะอาหาร’ บดอาหาร สร้างน้ำย่อย
– ‘ตับอ่อน’ สร้างน้ำย่อย
– ‘ตับ’ สร้างน้ำดีและรับสารอาหารที่ดูดซึม เก็บไว้ที่ ‘ถุงน้ำดี’ และส่งน้ำดีไปที่ลำไส้
– ‘ลำไส้เล็ก’ สร้างน้ำย่อย รับน้ำดีและดูดซึมสารอาหาร
– ‘ลำไส้ใหญ่’ ดูดซึมน้ำและสารอาหาร ส่งไปยังช่องทวาร
– ‘ทวารหนัก’ ช่วยขับถ่ายกากอาหารออกมาเป็นอุจจาระ

ตำแหน่งและการย่อยสารอาหาร
– ปาก ย่อยแป้ง เป็นคาร์โบไฮเดรตโมเลกุลเล็ก
– กระเพาะ ย่อยโปรตีน เป็นกรดอะมิโน
– ลำไส้เล็ก ย่อยแป้ง เป็นน้ำตาลโมเลกุลคู่ / ย่อยน้ำตาลโมเลกุลคู่ เป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว / ย่อยโปรตีน/พอลิเปปไทด์ เป็นเปปไทด์/กรดอะมิโน / ย่อยเปปไทด์ เป็นกรดอะมิโน / ย่อยไขมัน เป็นกรดไขมัน/กลีเซอรอล

ประเภทอาหารและการใช้เวลาย่อยอาหาร
ผักหรือผลไม้ 15-20 นาที / ผักสด 30-40 นาที
สลัดที่ใส่น้ำสลัด 1 ชั่วโมง / พืชผักจำพวกแป้ง 2 ชั่วโมง
ธัญพืช (ข้าว บัควีท กีนัว) 2 ชั่วโมง / นม 2 ชั่วโมง
เนื้อไก่ 2 ชั่วโมง / เนื้อวัว 3 ชั่วโมง
เนื้อหมู 6 ชั่วโมง (ใช้เวลาย่อยนานมากที่สุด)

ฮอร์โมนที่ควบคุมความหิวและความอิ่ม ทำหน้าที่ส่งสัญญาณไปยังสมองให้รู้สึกหิวหรืออิ่ม ได้แก่
1. เลปติน หรือฮอร์โมนความอิ่ม ทำหน้าที่ควบคุมความอยากอาหาร ผลิตจากเซลล์ไขมัน จะผลิตน้อยลงเมื่อพักผ่อนไม่เพียงพอ
2. เกรลิน หรือฮอร์โมนความหิว เป็นฮอร์โมนที่ถูกหลั่งจากเซลล์กระเพาะอาหาร จะหลั่งมาก หากรู้สึกเครียดหรือกังวล ทำงานหนัก นอนดึก หรือพักผ่อนน้อย จึงรู้สึกหิวง่าย อยากกินตลอดเวลา ทั้งๆที่อิ่มแล้ว

การประยุกต์เข้ากับการแพทย์วิถีธรรม
1. ถ้าถูกสมดุลร้อน-เย็น ชีวิตจะย่อยและกลายเป็นพลังของชีวิต จะทำให้เรารู้สึกสบาย (เบาท้อง-สบาย-เบากาย-มีกำลัง-อิ่มนาน)
2. ถ้าอาหารไม่สมดุลกับชีวิต เป็นโทษต่อร่างกาย (หนักท้อง-ไม่สบาย-ไม่เบากาย-ไม่มีกำลัง-หิวเร็ว) เกิดเป็นกลไกลก่อโรค

ระบบย่อยอาหารมีความเชื่อมโยงกับยา 9 เม็ด ดังต่อไปนี้
– ยาเม็ดที่ 3 คือ การสวนล้างลำไส้
– ยาเม็ดที่ 7 คือ การรับประทานอาหารปรับสมดุล
– ยาเม็ดที่ 8 คือ ใช้ธรรมะละบาปบำเพ็ญกุศล ทำจิตใจให้ผ่องใส
– ยาเม็ดที่ 9 คือ “รู้เพียร รู้พัก ให้พอดี”

พระพุทธเจ้าตรัสว่า “อาหาร” เป็นหนึ่งในโลก มีฤทธิ์ที่สุดในโลก ทำให้เราแข็งแรงอายุยืน บรรลุธรรมได้มากที่สุดในโลก และวัตถุดิบหรืออาหาร มีฤทธิ์ที่สุดในโลก ต่อร่างกายและจิตใจ

ในช่วงท้ายของการเรียนการสอน มีการทำข้อสอบร่วมกัน โดยไม่มีคะแนนเก็บ ไม่มีการแข่งขันกัน เพียงแข่งกับใจที่มีกิเลสให้ทัน ไม่ว่าจะตอบถูกหรือผิด ใจก็ไม่ทุกข์ เพราะทำข้อสอบเพื่อทดสอบความเข้าใจเท่านั้น บรรยากาศจึงมีความสนุกเบิกบาน เต็มไปด้วยรอยยิ้ม

สรุปเนื้อหาของวันนี้ คือ
1. เรียนรู้ระบบการย่อยอาหาร หน้าที่ของอวัยวะที่สำคัญในระบบการย่อยอาหาร และความเชื่อมโยงกับศาสตร์แพทย์วิถีธรรม
2. เรียนรู้กับหมู่มิตรดีด้วยความผาสุก ร่วมทำบททดสอบอย่างไม่ยึดมั่นถือมั่น ว่าจะได้คะแนนเท่าไร เพียงได้คะแนนความพ้นทุกข์เต็มที่ ยินดี พอใจ ไร้กังวล

รายงานข่าวโดย :
ศิริพร คำวงษ์ศรี (หมู) / สวนป่านาบุญ ๙ สังกัดภาคกลาง

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *