แบ่งปันการเรียนรู้อริยสัจ 4 (ตุลาคม – ธันวาคม 65) vijjaramอริยสัจ ๔October 1, 2022September 4, 202224 Commentsแบ่งปันการเรียนรู้ในชีวิตประจำวัน นักศึกษาสถาบันวิชชาราม แบ่งปันสภาวธรรมจากการเรียนรู้การใช้หลักอริยสัจ 4 ประจำเดือน ตุลาคม – ธันวาคม 2565 ?กรอกข้อมูลในช่องความคิดเห็นด้านล่าง แนะนำบทความที่มีเนื้อหาใกล้เคียงJuly 1, 2022 แบ่งปันการเรียนรู้อริยสัจ 4 (กรกฎาคม – กันยายน 65)June 1, 2022 แบ่งปันการเรียนรู้อริยสัจ 4 (มิถุนายน 65) [8]May 1, 2022 แบ่งปันการเรียนรู้อริยสัจ 4 (พฤษภาคม 65) [7]April 1, 2022 แบ่งปันการเรียนรู้อริยสัจ 4 (เมษายน 65) [17]March 1, 2022 แบ่งปันการเรียนรู้อริยสัจ 4 (ุมีนาคม 65) [28]February 1, 2022 แบ่งปันการเรียนรู้อริยสัจ 4 (ุกุมภาพันธ์ 65) [15]January 1, 2022 แบ่งปันการเรียนรู้อริยสัจ 4 (ุมกราคม 65) [35] Post Views: 231 Tags:อริยสัจอริยสัจ 4อริยสัจ 4 ในชีวิตประจําวันแบ่งปันการเรียนรู้ Leave a Reply Cancel replyYour email address will not be published. Required fields are marked *Comment * Name Email Save my name, email, and website in this browser for the next time I comment. Δ 24 thoughts on “แบ่งปันการเรียนรู้อริยสัจ 4 (ตุลาคม – ธันวาคม 65)” ประพันธ์ โพธิ์คำ เท่ ใจถึงศีล กล้าจน October 1, 2022 at 6:45 pm ชื่อเรื่อง :- แม้ไม่ได้ดั่งใจก็เป็นสุขใจได้ เนื้อเรื่อง เมื่อเวลาประมาณ 8.30 นาฬิกาของเช้าวันศุกร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ.2565 ได้ เกิดกระแสไฟฟ้าดับจนกระทั่งถึงเวลาประมาณ 9.30 นาฬิกา กระแสไฟฟ้าจึงกลับมาใช้ การได้ตามปรกติ แต่ในช่วงเวลาที่กระไฟฟ้ากระตุกและดับลงไปนั้น อยู่ในระหว่างการ บันทึกรายการแพทย์แผนไทยวิถีธรรมค้ำจุนโลก จึงทำให้การบันทึกรายการดังกล่าว ชงัก และ การบันทึกข้อความเกี่ยวกับการทำการบ้านอริยสัจ ๔ ได้รับผลกระทบกลาง คันไปด้วย ปรับสภาวะธรรมด้วยอริยสัจ ๔ และ มรรค ๘ :- 1-ทุกข์ คือ ความทุกข์ที่ได้รับคือทุกข์ที่เลี่ยงไม่ได้ เพราะเป็นทุกข์ที่อยู่เหนือความ หมายหรือคาดการณ์ใดๆได้ และทำให้สิ่งที่ต้องประสงค์จะกระทำนั้นชงักไปเป็นเวลา ถถถถถึงประมาณ 1 ชั่วโมง 2. สมุทัย คือ สาเหตุแห่งทุกข์นั้น เกิดความอยากให้กระไฟฟ้าไม่มีการดับ ความยึดมั่นถือมั่นว่ากระแสไฟฟ้าต้องมีตลอดเวลา ไม่มีการดับแต่อย่างใดทั้งสิ้น กระแสไฟฟ้าไม่ดับก็สมใจอย่างเป็นสุขใจ กระแสไฟฟ้าดับก็ทุกข์ใจ 3. นิโรธ คือ ความดับทุกข์หรือตัณหาดับโดยไม่หลือ แม้กระแสไฟฟ้วดับก็เป็นสุขใจได้ โชคดีแล้วที่กระไฟฟ้าดับ จะได้เปลี่ยนอิริยาบถของร่างกายบ้าง 4. มรรค คือ หนทางแห่งการดับทุกข์ วิธีการดับทุกข์ทั้งปวง พิจารณาวิบากกรรม ตามบททบทวนธรรม ข้อที่ ๑๑๗. ตอนหน้าไม่รู้ ตอนนี้สู้ ไม่ถอย สู้กิเลสอย่างรู้เพียรรู้พัก ข้อที่ ๑๑๘. ทุกอย่างล้มเหลวได้ แต่ “ใจ” ล้มเหลวไม่ได้ ข้อที่ ๑๑๙. ปัญหา คือ เครื่องมือฝึกใจที่ดีที่สุดในโลก ข้อที่ ๑๒๐. ปัญหาไม่เคยหมดไปจากชีวิตของเรา มีแต่ทุกข์เท่านั้น ที่หมดไปจาก ใจของเรา ข้อที่ ๑๒๑. โจทย์ทุกโจทย์ เหตุการณ์ทุกเหตุการณ์ เป็นเครื่องมือฝึกจิตของเรา ให้เป็นสุข อย่างถูกต้องตามธรรม ข้อที่ ๑๒๓. เจอผัสสะไม่ดี ได้โชค 3 ชั้น คือ ได้เห็นทุกข์ ได้ล้างทุกข์ และได้ใช้วิบาก ได้ใช้วิบากกรรมที่ไม่ดี ร้ายนั้นก็จะหมดไป ดีก็จะออกฤทธิ์ได้มากขึ้น ข้อที่ ๑๒๔. เกิดเป็นคน ต้องฝึกยิ้มรับสิ่งดีสิ่งร้ายด้วยใจที่เป็นสุขให้ได้ พิจารณาโทษ ของความอยาก ไม่ให้กระแสไฟฟ้าดับนั้น ทำให้ใจของเรากระวน กระวาย ไม่ได้ดั่งสมใจอยาก และเมื่อทุกข์ใจเกิดขึ้น ก็ทำให้มีผลกระทบต่อร่างกายไป ด้วย นั่นก็คือ กล้ามเนื้อก้านคอตึงขึ้นมาทันที แต่เมื่อใจยอมรับว่าทุกข์กรพแสไฟฟ้าดับได้ดั่งใจอยาก ก็ทำให้ผลกระทบที่มีต่อ ร่างกายนั้น ผ่อนคลาย ไม่แข็งตึง และเมื่อได้เห็นโทษอย่างแท้จริง ก็ทำให้ตัวของเรา ขจัดทุกข์นั้นๆได้ด้วยการเป็นสุขใจได้แม้ไม่ได้ดั่งใจที่อยาก พิจารณาประโยชน์ของการไม่มีความอยาก ได้รับความสบายใจ พอใจ ได้รับ โอกาสที่ใจของเราได้พักผ่อนที่จะมีกำลังใจทำงานอย่างอื่นต่อไป พิจารณาไตรลักษณ์ของสุขลวง ซึ่งโดยแท้จริงแล้วความต้องการ ความอยาก ได้ตามที่ใจต้องการนั้นก็เป็นเพียงช่วงระยเวลาสั้นๆ ไม่ยั่งยืนตลอดไปสุขใจได้ในทุกๆ ปัจจุบัน แม้ไม่ได้ดั่งใจอยาก เจริญธรรมสำนึกดี มีใจไร้ทุกข์ ให้ได้ในทุกๆปัจจุบัน Reply ประพันธ์ โพธิ์คำ เท่ ใจถึงศีล กล้าจน October 1, 2022 at 7:16 pm ชื่อเรื่อง :- เกือบไปแล้วเชียว เนื้อเรื่อง ในช่วงเวลาระหว่าง 10.30 ถึง 11.00 ของวันศุกร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ.2565 ขณะที่ขับรถยนต์เพื่อเดินทางไปทำงานตามปรกติและได้ขับรถยนต์มาถึงสี่แยก ซึ่ง สัญญาณไฟเป็นเขียวพอดี ในขณะที่กำลังจะขับรถยนต์ออกจากสี่แยกไปในทิศทาง และเส้นทางของตัวเองนั้น ก็ได้มีรถยนต์ที่ออกมาจากทางแยกตรงกันข้ามอย่างรวดเร็ว ในขณะที่สัญญาณไฟเปีนสีแดงโดบไม่ได้จอดรอสัญญาณไฟ ซึ่งตัวของเราเกือบจะ ร้องสบถออกไปและเกือบจะทำการหยุดรถยนต์ไม่ทัน ปรับสภาวะธรรมด้วยอริยสัจ ๔ และ มรรค ๘ :- 1-ทุกข์ คือ ทุกข์ใจ วิตก หวั่นเกรง ว่าจะเกิดอุบัติเหตุ 2. สมุทัย คือ สาเหตุแห่งทุกข์นั้น ไม่ได้สมใจอยากที่จะไม่ให้รถยนต์ฝ่าสัญญาณ ไฟแดง 3. นิโรธ คือ แม้ไม่ได้เป็นดั่งที่ใจเราต้องการ ก็เป็นสุขใจ เป็นสุขใจได้ในทุกๆปัจจุบัน 4. มรรค คือ หนทางแห่งการดับทุกข์ วิธีการดับทุกข์ทั้งปวง พิจารณาวิบากกรรม ตามบททบทวนธรรม ข้อที่ ๔๖. เกิดอะไร จงท่องไว้ “กู-เรา-ฉัน” ทำมา ข้อที่ ๔๗. เมื่อมีเรื่องไม่ชอบใจ ไม่เข้าใจ แล้วเกิดคำถามว่า ทำไมๆๆ ให้ตอบว่า ทำมาๆๆ พิจารณาโทษ ของความอยาก เป็นทุกข์ที่ไม่ได้ดั่งใจอยาก ที่อาจจะทำให้ ไม่มีสมาธิในการบังคับรถยนต์ และเมื่อได้เห็นโทษอย่างแท้จริง ก็ทำให้ตัวของเรา ขจัดทุกข์นั้นๆได้ด้วยการเป็นสุขใจได้แม้ไม่ได้ดั่งใจที่อยาก พิจารณาประโยชน์ของการไม่มีความอยาก ได้รับความสบายใจ พิจารณาไตรลักษณ์ของสุขลวง ซึ่งโดยแท้จริงแล้วรถยนต์ที่ขับมาถึงสี่แยกแล้ว ไม่ว่าจะในลักษณะใด ก็จะผ่านไป ไม่ได้จอดนิ่งอยู่กับที่ตรงสี่แยก แต่ใจของเราจะไป ยึดมั่นถือมั่นว่า จะให้เหตุการณ์นั้นดำรงคงอยู่ต่อไปก็ไม่ได้ ดังนั้นตัวของเราก็เป็นสุขใจ ได้ในทุกๆปัจจุบัน เจริญธรรมสำนึกดี มีใจไร้ทุกข์ ให้ได้ในทุกๆปัจจุบัน Reply ประพันธ์ โพธิ์คำ เท่ ใจถึงศีล กล้าจน October 11, 2022 at 5:48 pm สภาวธรรมประจำสัปดาห์ ณ วันจันทร์ที่ ๑๐ เดือน ตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๕ ชื่อเรื่อง :- จะอะไรกันนักกันหนานะ เนื้อเรื่อง ในการปฏิบัติงานตามหน้าที่ ที่ได้รับมอบหมายในอาชีพ คือ การเป็นไดว์- เวอร์ หรือ ขับรถส่งอาหารตามสถานที่ต่างๆ เช่น บ้าน ร้านค้า สำนักงานต่างๆ อพาร์ท *เม้นต์ คอนโดมิเนี่ยม ประการแรก ในทุกๆรอบของการส่งอาหารให้ลูกค้าในสถานที่ต่างๆ ต้องรอรับ บรรจุภัณฑ์อาหารที่พนักงานฝ่ายที่ทำการบรรจุอาหารลงในถุงหรือกล่อง ก็จะได้รับ- ความไม่สมใจ ไม่ชอบใจ ในการบรรจุอาหารลงถุงหรือหีบห่อดั่งที่ต้องการ แม้บางครั้ง จะได้แนะนำการนำอาหารบรรลงในหีบห่อหรือกล่องอย่างไร ก็ไม่เคยกระทำตามที่ตัว ของเราได้แนะนำ ประการต่อมา คือ การเดินทางไปส่งอาหารให้กับลูกค้า จะถูกทางร้านอาหาร โทรศัพท์ติดตามตัว ทั้งการตรวจสอบความสมบูรณ์ของบรรจุหีบห่อ ไต่ถามถึงการ เดินทางว่าไปถึงไหน ได้เวลาเดินทางกลับร้านอาหารหรือยัง จะต้องใช้เวลานาน เพียงใดในการเดินทางกลับถึงร้านอาหาร ซึ่งเป็นการก่อให้เกิดความไม่พอใจ ไม่ ชอบใจ หงุดหงิด อึดอัดขัดเคืองใจ ปรับสภาวะธรรมด้วยอริยสัจ ๔ และ มรรคมีองค์ ๘ :- ๑-ทุกขอริยสัจ คือ ทุกข์ใจ ไม่พอใจ ไม่ชอบใจ ที่ต้องอยากให้คนอื่นๆกระทำในสิ่งที่ เราต้องการ ๒. ทุกขสมุทยอริยสัจ ต้นเหตุแห่งทุกข์ คือ ต้องการให้คนอื่นทำในสิ่งที่เราจะได้ อย่างสมใจอยากอย่างที่เราต้องการก็จะเป็นสุขใจ ไม่ได้สมใจยาก ไม่ได้อย่างที่ ตัวเราต้องการ ก็ทุกข์ใจ ๓. ทุกขนิโรธอริยสัจ คือ ความดับทุกข์หรือตัณหาดับโดยไม่หลือ ไม่ยึดมั่นถือมั่นใน เรื่องที่ต้องการ ไม่ได้ดั่งที่ใจต้องการ ไม่ได้ดั่งสมใจอยาก ก็เป็นสุขใจ ใจไร้ทุกข์ ไร้ คงามกังวล ไม่อึดอัด แม้จะต้องกระทำในสิ่งที่ไม่ต้องการ ก็เป็นสุจใจ เบิกบาน แจ่มใส ในทุกๆการกระทำ ณ.ปัจจุบัน ๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ หรือ มรรค คือ หนทางแห่งการดับทุกข์ หรือ วิธีการ ดับทุกข์ทั้งปวง พิจารณาวิบากกรรม และผลของกรรม ตามบททบทวนธรรม ดังต่อไปนี้ ข้อที่ ๙. ถ้าเรายังไม่เข้าใจคนอื่น แสดงว่าเรายังไม่เข้าใจตนเอง ข้อที่ ๑๖. มาตลีเทพสารถี คือ วิบากดีร้ายที่สร้างสิ่งดีร้ายให้ชีวิต เป็นสิ่งเตือน- *สิ่งบอกว่า อะไรเป็นกิเลสเป็นโทษ ให้ลดละเลิก อะไรเป็นบุญกุศลเป็นประโยชน์ ให้เข้าถึง อะไรเป็นโทษ ให้เว้นเสีย พิจารณาโทษ ของความอยาก คือการผิดศีล ดื้อต่อศีล ตามบททบทวนธรรม ข้อที่ ๕๕ อย่าดื้อต่อศีล ดื้อต่อศีล ทำให้ทุกข์หนัก ทุกข์หนักมาก ทุกข์หนักที่สุด แต่เมื่อได้เห็นโทษจึงได้ใช้บททบทวนธรรมข้อที่ ๒๑. การได้พบกับเหตุการณ์ที่ไม่ ถูกใจเรา ไม่ได้ดั่งใจเรา เป็นสุดยอดแห่งเครื่องมืออันล้ำค่า ที่ทำให้ได้ฝึกล้างกิเลส คือ ความหลงชิงชังรังเกียจ หลงยึดมั่นถือมั่นในใจเรา และทำให้ได้ล้างวิบากร้าย ของเราอย่างแท้จริง ทำให้ได้ขจัดทุกข์นั้นๆได้ด้วยการเป็นสุขใจได้แม้ไม่ได้ดั่งใจ พิจารณาประโยชน์ของการไม่มีความอยากได้อะไรๆจากคนอื่นๆ ทำให้ได้รับ ความสบายใจ ไม่อึดอัดขัดใจของตัวเอง ทำให้มีความตั้งใจมั่นในการขจัดกิเลส ที่เกิด ขึ้นมาในทุกๆขณะจิตของเรา เพื่อให้กิเลสตัวที่เกิดขึ้นมานั้นถูก สละ สละคืน ปล่อยไป ไม่พัวพันอีกต่อไป พิจารณาไตรลักษณ์ของสุขลวง ซึ่งโดยแท้จริงแล้วความต้องการ ความอยาก ได้ดดั่งใจของเราที่ต้องการนั้น เราก็ได้รับความดีใจ สมใจอยาก เพียวเดี๋ยวเดียว ชั่ว ครู่ชั่วยามเท่านั้น ไม่ได้มีความดีใจ สมใจอยากตลอดไป และตัวของเราก็จะต้องสร้าง ความต้องการ สร้างความอยากได้ใคร่ดีขึ้นมาใหม่ทุกๆครั้ง สับเปลี่ยนหมุนเวียนตลอด เวลา แล้วอย่างนี้จะสร้างความสุขลวงแต่ทุกข์ใจไปทำไม สุขใจได้ในทุกๆปัจจุบัน แม้ ไม่ได้ดั่งใจอยาก เจริญธรรมสำนึกดี มีใจไร้ทุกข์ ทำดีเรื่อยไปให้ได้ในทุกๆปัจจุบัน ——————————————————————————————— Reply ประพันธ์ โพธิ์คำ เท่ ใจถึงศีล กล้าจน October 16, 2022 at 6:13 pm สภาวธรรมประจำสัปดาห์ ณ วันพฤหัสบดีที่ 13 เดือน ตุลาคม. พ.ศ.2565 ชื่อเรื่อง ขำขันในการกระทำโง่ โง่ ของตัวเอง เนื้อเรื่อง เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๕ เวลาประมาณ ๑๖.๓๐ นาฬิกา (เวลา 4.30 เอเอ็ม.ซึ่งเป็นเวลาท้องถิ่นในเมืองการ์แลนด์ เท็กซัส สหรัฐอเมริกา ใน ปฏิบัติงานขับรถยนต์ส่งอาหารให้ลูกค้าบนถนนแซ๊ทเทิร์นและกำลังจอดรอในช่องทาง ที่คิดว่าน่าจะจอดรถยนต์รอเพื่อเลี้ยวซ้ายเข้าถนนย่อยแต่ไม่อาจจะเลี้ยวเข้าถนนย่อย ในทันที เพราะรถยนต์ที่วิ่งสวนทางมามีมาก แต่ในขณะที่จอดรถยนต์รอให้เพื่อรถยนต์ ที่วิ่งสวนทางมาอยู่นั้นว่างลง ได้มีรถยนต์คันอื่นๆที่วิ่งตามมานั้นต้องหยุดชงักตามหลัง ไม่อาจจะวิ่งต่อไปได้ จึงได้กดแตรไล่อย่างต่อเนื่องจนกระทั่งสามารถเลี้ยวรถยนต์เข้าสู่ ถนนย่อยตามที่ต้องการได้สำเร็จ และเมื่อเลี้ยวรถยนต์เข้าสู่ถนนย่อยเสร็จสิ้น จึงได้ทำ การกดแตรตอบโต้ด้วยอารมณ์ที่ฉุนเฉียว ก่อการวิวาทะทางอารมณ์โกรธ ไม่พอใจ ไม่ ชอบใจ ต่อการกระทำของบุคคลอื่น แต่เมื่อได้ขับรถยนต์เข้าไปในถนนย่อก่อนที่จะถึงหน้าบ้านของลูกค้า จึงคิดได้ ว่า ตัวของเรา จะเกิดอารมณ์ ฉุนเฉียว โกรธ ไม่พอใจ ไม่ชอบใจ การกระทำของบุคคล อื่นๆไปทำไม แม้จะเกิดอารมณ์ประการใด คนอื่นๆก็ไม่อาจรับรู้ ไม่เห็น ต่ออารมรณ์ไม่ดี ของเรา ตัวของเราจะเป็นอย่างไร มีอารมร์อย่างไร ตัวของเราเองเท่านั้นที่ได้เห็น ได้รับ จึงเกิดการขำขันตัวเองขึ้นมาทันที่มีต่อการกระทำโง่ โง่ คำสำคัญ สิ่งที่ได้ คือ สิ่งที่เคยทำมา ปรับสภาวะธรรมด้วยอริยสัจ ๔ และ มรรค ๘ :- ๑-ทุกขอริยสัจ คือ สภาพของความเป็นทุกข์ใจเกิดอารมณ์ที่ฉุนเฉียว โกรธ ไม่พอใจ ไม่ชอบใจในการกระทำของบุคคลอื่น ๒. ทุกขสมุทยอริยสัจ คือ สาเหตุแห่งทุกข์นั้น เช่น เกิดความอยากให้ผู้อื่นกระทำใน สิ่งที่ต้องการก็เป็นสุขใจ ไม่ทำในสิ่งที่ต้องการตามที่สมใอยากก็ทุกข์ใจ ๓. ทุกขนิโรธอริยสัจ คือ ความดับทุกข์หรือตัณหาดับโดยไม่หลือ(วิราคะ สละ สละคืน ปล่อยไป ไม่พัวพัน) เช่น ไม่มีความอยากที่ต้องการจะเอาชนะผู้อื่นด้วยการแสดง อารมณ์กับตัวเอง ไม่มีวิวาทะลับหลังคนอื่น ไม่ยึดมั่นถือมั่นในการที่ต้องทำตามที่ตัวเรา เองต้องการ ไม่ได้สมใจอยากก็เป็นสุขใจ ใจไร้ทุกข์ ไร้กังวล ไม่อึดอัด แม้จะต้องกระทำ ในสิ่งที่ต้องการจะกระทำไม่ได้ก็เป็นสุจใจ มีความผาสุก เบิกบาน แจ่มใส ๔. ทุกขนิโรธอคามินีปฏิปทาอริยสัจ คือ หนทางแห่งการดับทุกข์ วิธีการดับทุกข์ ทั้งปวง ด้วยการวิธีการ ๔.๑-พิจารณาวิบากกรรม และผลของกรรม ตามบททบทวนธรรม ข้อที่ ๒.เราต้องรู้ว่า แต่ละคนมีฐานจิตแตกต่างกัน เราจึงควรประมาณการ กระทำ ให้เหมาะสมกับฐานจิตของเรา และฐานจิตของผู้อื่น “คิดดี พูดดี ทำดี ไว้ก่อน” ดีที่สุด ข้อที่ ๒๐. เมื่อเกิดสิ่งเลวร้ายกับเรา โลกนี้ไม่มีใครผิดต่อเรา เราเท่านั้นที่ผิด ต่อเรา คนอื่นที่ทำไม่ดีนั้น เขาผิดต่อตัวเขาเองเท่านั้น และเขาก็ต้องได้รับ วิบากร้ายนั้นเอง เขาจึงไม่ได้ผิดต่อเรา แต่เขานั้นผิดต่อตัวเขาเอง ถ้าเรายัง เห็นว่า คนที่ทำไม่ดีกับเรา เป็นคนผิดต่อเรา แสดงว่า เรานั่นแหละผิด อย่า โทษใครในโลกใบนี้ ผู้ใดที่โทษผู้อื่นว่าผิดต่อตัวเรา จะไม่มีทางบรรลุธรรม นี่ คือคนที่ไม่ยอมรับความจริง เพราะไม่เข้าใจเรื่อง “กรรม” อย่างแจ่มแจ้งว่า “ทุกสิ่งทุกอย่างที่ทุกคนได้รับ ล้วนเกิดจากการกระทำของตนเองเท่านั้น เมื่อ รับผลดีร้ายจากการกระทำแล้ว ผลนั้นก็จบดับไป และ สุดท้ายเมื่อปรินิพพาน ทุกคนก็ต้องสูญจากทั้งดีและร้ายไป ไม่มีอะไรเป็นสมบัติของใคร เพราะสุด- ท้าย ทุกสิ่งทุกอย่างก็ต้องดับไป จึงไม่ต้องยึดมั่นถือมั่น ไม่ต้องทุกข์กับอะไร” ข้อที่ ๒๑. การได้พบกับเหตุการณ์ที่ไม่ถูกใจเรา ไม่ได้ดั่งใจเรา เป็นสุดยอด แห่งเครื่องมืออันล้ำค่า ที่ทำให้ได้ฝึกล้างกิเลส คือ ความหลงชิงชังรังเกียจ หลงยึดมั่นถือมั่นในใจเรา และทำให้ได้ล้างวิบากร้ายของเรา ๔.๒-พิจารณาโทษ ของทุกข์จากความอยากให้ผู้อื่นกระทำในสิ่งที่ตัวของเราต้อง การไม่ได้นั้น ทำให้เกิดอารมณ์ที่ไม่ดี หงุดหงิด อึดอัด ขัดเคืองใจ ไม่มีสติ แต่เมื่อได้เห็นโทษของความอยากอย่างแท้จริง ก็ทำให้ตัวของเราขจัดทุกข์นั้นๆได้ด้วย การเป็นสุขใจได้แม้ไม่ได้ดั่งใจที่อยาก ก้เป็นการกระทำของผู้อื่นที่ไม่ได้เกี่ยวกับเรา และ เราก็ไม่ต้องโต้ตอบ ไม่วิวาทะทางอารมณ์ของตัวเอง ๔.๓-พิจารณาประโยชน์ของการไม่มีความอยาก ได้รับความสบายใจ ตัวเราก็ไม่ เกิดอารมณ์ฉุนเฉียว ไม่หงุดหงิด ไม่สร้างอารมณ์วิวาทะให้กับตัวเอง เป็นสุขใจแม้ไม่ได้ ดั่งใจ ๔.๔ พิจารณาไตรลักษณ์ ความไม่เที่ยงของสุขลวง ทุกข์แท้นั้น ๔.๔.๑ อนิจจัง โดยแท้จริงแล้วความต้องการ ความอยากได้ใคร่ดีที่ใจของเราต้องการ นั้น เราก็ได้รับความดีใจ สมใจอยาก เพียงชั่วครู่ชั่วยามเท่านั้น มิได้มีความสุขสมใจ อยาก ความดีใจ สมใจอยาก ตลอดไป ๔.๔.๒ ทุกขัง เมื่อเป็นดั่งนั้น ตัวของเราก็จะต้องสร้างความต้องการ สร้างความอยากได้ ใคร่ดี อันเป็นการสร้างความทุกข์ขึ้นมาใหม่ เพื่อทับถมตัวเองตลอดเวลา ณ.ปัจจุบัน แล้วอย่างนี้ตัวของเราจะสร้างความสุขลวงแต่ทุกข์ใจจริงๆขึ้นมาทำไม ๔.๔.๓ อนัตตา ความไม่ใช่ตัวตน ความไม่มีตัวตนที่แท้จริงของมันเอง สุขใจได้ในทุกๆปัจจุบันแม้ไม่ได้ดั่งสมใจอยาก เจริญธรรมสำนึกดี มีใจไร้ทุกข์ ให้ได้ใน ทุกๆปัจจุบัน —————————————————————————————— Reply ประพันธ์ โพธิ์คำ เท่ ใจถึงศีล กล้าจน October 19, 2022 at 4:57 am สภาวธรรม ณ.วันศุกร์ที่ 14 เดือน ตุลาคม. พ.ศ.2565 ชื่อเรื่อง ระบบขับเคลื่อนของรถยนต์ชำรุดเสียหาย เนื้อเรื่อง เมื่อวันศุกร์ที่ 14 ตุลาคม 2565(2022) เวลาประมาณ 16.30 นาฬิกา(4.30 พีเอ็ม) เวลาท้องถิ่นในเมืองดัลลัส มลรัฐเท็กซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา ในขณะที่กำลัง ขับรถยนต์ออกจากบ้านของลูกค้า หลังจากส่งอาหารที่ลูกค้าสั่งเรียบร้อยแล้ว ได้แวะ สถานให้บริการล้างรถยนต์อัตโนมัติ เพื่อจะกลับสู่ร้านอาหาร รถยนต์ได้มีเสียงที่เกิด จากรถยนต์มีลักษณะอาการชักกระตุก ความเร็วรถยนต์เริ่มช้าลงๆ จึงได้ตรวจสอบดูว่า รถยนต์ยังสามารถเปลี่ยนเกียร์เร่งความเร็วได้หรือไม่ ก็ปรากฎว่า รถยนต์ไม่สามารถใช้ เกียร์สัญลักษณ์ตัว ดี เลข 2 และเกียร์สำหรับถอยหลัง จะใช้ได้เฉพาะเกียร์สัญลักษณ์ ตัว แอล เท่านั้น จึงได้ค่อยๆพยายามขับรถยนต์ที่ใช้ความเร็วต่ำ เพื่อให้ถึงร้านอาหารที่ ทำงานให้ได้ และก็นำพารถยนต์จนกระทั่งถึงร้านอาหารจนได้ และเดินเข้าไปในร้าน บอกลักษณะอาการที่เกิดขึ้นกับรถยนต์ว่าเป็นอย่างไรบ้าง และเป็นที่เข้าใจกันโดยปริ- -ยายว่า ไม่สามารถทำงานได้ ต่อจากนั้นก็ได้พยายามใช้โทรศัพท์เพื่อติดต่อกับผู้ประ สานงานของอู่ซ่อมรถยนต์และผู้เป็นช่างเทคนิค แต่ทั้งสองท่านก็ไม่รับโทรศัพท์เพื่อจะ พูดคุยรายละเอียดเกี่ยวกับลักษณะอาการของรถยนต์ แต่ก้ไม่ลดละความพยายามที่จะ ใช้โทรศัพท์ติดต่อกับทั้งสองท่านให้ได้ จนกระทั่งผู้ประสานงานของอู่ซ่อมรถได้รับโทร ศัพท์ และนัดแนะสถานที่ที่รถยนต์จอด ตลอดจนเวลาที่จะมาทำตรวจดูลักษณะอาการ ของรถยนต์ว่าเป็นอย่างไร เสียหายอย่างไร ในระหว่างนั้นก็ได้นั่งรอเพื่อให้ถึงเวลานัด หมายกันเอาไว้และได้พูดคุยกับภริยาเจ้าของร้านอาหารตลอดเวลา จนกระทั่งถึงเวลา นัดหมายที่ผู้ประสานงานและช่างเทคนิคได้มาถึง ช่างเทคนิคจึงได้ลงมือใช้เครื่องมือ ทางอิเล็คทรอนิคและคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อกับระบบอิเล็คทรอนิคของรถยนต์เพื่อตรวจ จับสัญญาณสภาพการผิดปกติที่เกิดขึ้นว่า เครื่องยนต์และระบบอุปกรณ์ต่างๆมีอะไรขัด ข้องที่เป็นสาเหตุทำให้รถยนต์เกิดอาการต่างๆ ช่วงเวลาดังกล่าวมานี้ ช่างเทคนิคได้ใช้ เวลาประมาณ 2 ชั่วโมงคึ่งจึงตรวจสภาพของรตยนต์แล้วเสร็จ จึงได้ลงความเห็นว่า จะ ต้องทำการซ่อมรถยนต์ในอู่ให้แล้วเสร็จ จึงจำนำรถยนต์ไปยังอู่ เพื่อนำขึ้นคาน เพื่อ ตรวจสภาพของรถยนต์ จึงจะสามารถทราบแน่ชัดได้ว่ารถยนต์มีอะไรบ้าง ที่จะต้องทำ การจัดซ่อมอย่างแท้จริง ผู้ประสานงานและช่างเทคนิคจึงได้ลากลับไปบ้านพัก คำสำคัญ ต้องไม่ทุกข์ใจให้ได้ ในทุกๆสถานการณ์ พึงกระทำความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความไม่ย่นย่อ ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะอย่างแรงกล้า เพื่อตรัสรู้อริยสัจ ๔ ปรับสภาวะธรรมด้วยอริยสัจ 4 และ มรรค 8 :- 1-ทุกขอริยสัจ คือ สภาพของความทุกข์ใจ ความเครียด ความวิตก ความกังวล ความหวั่นไหว ของความทุกข์ต่างๆ มีดังนี้ 1.1-ทุกข์ที่เกิดจากเครื่องยนต์ของรถยนต์ที่ใช้ในชีวิตประจำวันเกิดการชำรุดเสียหาย 1.2-ทุกข์ที่เกิดจากการติดต่อกับผู้ประสานงานและช่างเทคนิค เพื่อสอบถามลักษณะ อาการชำรุดเสียของเครื่องยนต์ไม่ได้ 1.3-ทุกข์จากที่เกิดจากการไตร่ตรองว่าจะนำรถยนต์ไปยังอู่ซ่อมรถยนต์อย่างไร ใครจะเป็นผู้นำรถยนต์ไปยังอู่ซ่อมรถ เมื่อไหร่ ที่ไหน 1.4-ทุกข์ที่เกิดจากการต้องหยุดงานในระหว่างที่จะต้องรอการซ่อมรถยนต์ 1.5-ทุกข์จากการกังวลไม่มีคนช่วยทางร้านอาหารที่ทำงาน 1.6-ทุกข์จากการคาดคิดว่ารถยนต์ที่ชำรุดเสียหายตรงส่วนไหนของเครื่องยนต์ 1.7-ทุกข์ที่เกิดความกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการซ่อมรถยนต์ 1.8-ทุกข์ที่เกิดจากการคาดการณ์ว่าจะต้องหยุดงานนานเท่าไร ซึ่งความทุกข์ทั้งหมดที่ไล่เรียงที่กล่าวมาตามลำดับนั้น ล้วนเป็นความทุกข์ในการหากิน เลี้ยงชีพ 2. ทุกขสมุทยอริยสัจ คือ สาเหตุแห่งทุกข์ใจ ไม่ต้องการ ไม่อยาก ไม่ชอบใจ ที่รถยนต์ เกิดอาการขัดข้องจนไม่สามารถใช้ปฏิบัติงานได้ 3. ทุกขนิโรธอริยสัจ คือ แม้ว่าการชำรุดเสียหายของรถยนต์ จะเป็นเหตุให้ไม่สามารถทำ งานดั่งที่ใจต้องการ ก็ไม่ทุกข์ใจ เป็นสุขใจ เบิกบาน แจ่มใส 4. ทุกขนิโรธอคามินีปฏิปทาอริยสัจ คือ หนทางแห่งการดับทุกข์ วิธีการดับทุกข์ ทั้งปวง ด้วยการวิธีการ 4.1-พิจารณาวิบากกรรมและผลของกรรม ตามบททบทวนธรรม เมื่อเกิดสิ่ง เลวร้ายกับเรา ไม่มีอะไรบังเอิญ เพราะเราเคยทำเช่นนั้นมามากกว่านั้น และส่งผล ในทุกๆวินาทีให้กับชีวิต นั่นก็คือวิบากกรรม วิบากกรรมมีจริง ทำอะไร ได้ผลอะไร ก็เกิดจากการกระทำของเราเองทั้งหมด เจอเรื่องดีเพราะทำดีมา เจอเรื่องไม่ดีเพราะ ทำไม่ดีมาทั้งในปัจจุบันและอดีต สังเคราะห์กันอย่างละ 1 ส่วน จริงอยู่หากเราคิดอย่าง หยาบๆ ก็อาจะเป็นได้ว่า เป็นคนละเรื่องเดียวกัน เราเคยกระทำอย่างหนึ่ง แต่ทำไมจึง ได้รับวิบากกรมอีกอย่างหนึ่ง แต่แท้จริงแล้ว แม้เราจะมีการกระทำอย่างหนึ่งก็จริง แต่ ผลที่เราได้รับนั้นมีเป็นล้านๆเหตุที่เราจะต้องได้รับผลนั้นเป็นล้านๆผลเช่นกัน 4.2-พิจารณาโทษของทุกข์ที่เกิดจากความอยาก ทุกข์ที่ไม่ได้ดั่งใจ ทำให้เกิด ความกระวนกระวายใจ อึดอัดขัดเคืองใจ รุ่มร้อน ที่ไม่สามารถกระทำการต่างๆให้ได้ดั่ง ที่ใจต้องการ ซึ่งอาจจะทำให้เกิดความไม่สบายกายจากการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อต่างๆ ซึ่งพลังทุกข์นี้สามารถทำลายเซลล์ในร่างกาย อวัยวะภายในให้เสื่อมฉับพลันถึงตายได้ ดังนั้น เมื่อได้เห็นโทษอย่างแท้จริงแล้ว ก็ทำให้ตัวของเราสามารถขจัดทุกข์นั้นๆ ได้เป็นไปตามลำดับในแต่ละข้อด้วยสัมมาสติ ด้วยความเป็นสุขใจได้แม้ไม่ได้ดั่งใจ 4.3-พิจารณาประโยชน์ของการที่สามารถขจัดทุกข์ได้นั้น ทำให้ได้รับความสุขใจ สบายกาย ร่างกายเบา อย่างแท้จริง สามารถทำงานอย่างอื่นได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 4.4 พิจารณาไตรลักษณ์ของสุขลวง 4.4. อนิจจัง ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้น ล้วนไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่มั่นคง ไม่แน่นอน แล้วเสื่อมและสลายไป จึงไม่ควรที่จะติดยึดเอาไว้ ไม่สละ ไม่สละคืน ไม่ปล่อยไป หรือ นำเอามาพัวพันกับเราตลอดเวลา 4.4.2.ทุกขัง ภาวะที่ถูกบีบคั้นด้วยการเกิดขึ้นจากเหตุรถยนต์ชำรุดเสียหาย ก็ สามารถจัดดำเนินการซ่อมแซมให้ใช้งานได้ดังเดิม แม้จะต้องใช้เวลาบ้าง ซึ่งทำให้ทุกข์ นั้นไม่สามารถจตั้งอยู่ได้นาน นั่นก็อาจจะเป็นไปตามกลไกในการขจัดทุกข์ 4.4.3.อนัตตา อาการของสิ่งที่ไม่ใช่ตัวตน ไม่มีตัวตน ไม่ใช่ใคร ไม่อยู่ในอำนาจ การควบคุมของใคร ไม่มีอำนาจแท้จริงในตัวเลย ซึ่งโดยแท้จริงแล้วความต้องการ ความอยากได้ดั่งใจหมาย อยากใคร่ดีที่ใจของ เราต้องการนั้น เราก็ได้รับความดีใจ สมใจอยาก เพียงชั่วครู่ชั่วยามเท่านั้น ไม่ได้มีความดี ใจ สมใจอยากตลอดไป และตัวของเราก็จะต้องสร้างความต้องการ สร้างความอยากได้ ใคร่ดีขึ้นมาใหม่ สับเปลี่ยนหมุนเวียนตลอดเวลา แล้วอย่างนี้ตัวของเราจะสร้างความสุข ลวงแต่ทุกข์ใจไปทำไม สุขใจได้ในทุกๆปัจจุบันแม้ไม่ได้ดั่งใจอยาก เจริญธรรมสำนึกดี มีใจไร้ทุกข์ ให้ได้ในทุกๆปัจจุบัน Reply ประพันธ์ โพธิ์คำ เท่ ใจถึงศีล กล้าจน October 21, 2022 at 10:19 am สภาวธรรมประจำสัปดาห์ ณ วันพฤหัสบดีที่ 20 เดือน ตุลาคม. พ.ศ.2565 ชื่อเรื่อง แม้ร่างกายจะเจ็บป่วย แต่ใจมิได้เจ็บป่วยตามไปด้วย เนื้อเรื่อง เมื่อวันอาทิตย์ที่ 16 ตุลาคมพ.ศ.2565(2022)ตั้งแต่เวลา 9.30-18-00นาฬิกา (เวลาท้องถิ่นในเมืองดัลลัส มลรัฐเท็กซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา) ได้รับภาระหน้าที่ใน การบันทึกภาพถ่ายงานทอดกฐินพระราชทานของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว วัดพุทธดัลลัส ประจำปี พ.ศ.2565(2022) ซึ่งต้องเดินตระเวนถ่ายภาพทั่วทั้งวัดและทั้ง งาน ในช่วงบ่ายยังมีหน้าที่ในการควบคุมการเปิดเพลงจากเครื่องแล๊ปท๊อป เป็นเพลงที่ ใช้ประกอบการแสดงสองชุดและเพลงในระบบคาราโอเกะให้กับผู้ที่มาร่วมงานทอดกฐิน พระราทานฯจนกระทั่งงานเสร็จสิ้น เพื่อนที่ไปร่วมงานได้ช่วยเก็บอุปกรณ์ต่างๆขึ้นรถยนต์ และขับไปส่งยังบ้านพัก ก่อนหน้าที่จะถึงบ้านก็ไม่ได้สังเกตุว่ามีอะไรผิดปกติกับรางกาย หรือไม่ จนกระทั่งเพื่อนรถยนต์มาส่งถึงบ้านและช่วยกันเอาอุปกรณ์ลงจากรถยนต์ในขณะ ที่ก้าวขึ้นบรรไดหน้าบ้านจึงได้รู้สึกว่าเจ็บที่บริเวณด้านหน้าของต้นขาข้างขวา แต่มีอาการ ไม่รุนแรงนัก จนกระทั่งเข้าบ้านและได้นั่งพักบนเก้าอี้ในห้องครัว และเมื่อเวลาลุกจากเก้าอี้ ยืนขึ้นจึงได้รู้ว่ามีอาการปวดที่ต้นขาด้านหน้ามากขึ้น ในขณะนั้นจึงพิจารณาว่า ใจมีความรู้สึกบาดเจ็บไปตามอาการของต้นขาขวา ด้านหน้าหรือไม่ และเกิดอะไรขึ้นกับต้นขาขวาด้านหน้า ไปกระแทกกับอะไรหรือไม่ ต่อจากนั้นจึงได้รีบอาบน้ำชำระล้างร่างกายก่อนที่จะทำการบำบัดรักษาอาการปวดที่ต้น ขาขวาด้านหน้าเป็นลำดับๆไป คำสำคัญ เป็นสุขใจได้ แม้ร่างกายจะเป็นทุกข์ ประโยคสำคัญ ตามพระไตรปิฎกเล่มที่ 19 ข้อ 1717 “พึงกระทำความพอใจ ความ พยายาม ความอุตสาหะ ความไม่ย่นย่อ ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะอย่าง แรงกล้า เพื่อตรัสรู้อริยสัจ ๔” 1-ทุกขอริยสัจ คือ สภาพของความเป็นทุกข์ใจ ที่เกิด ความสงสัยว่าเกิดอะไรขึ้นกับต้นขาขวาด้านหน้าว่า ไปกระแทกกับอะไรหรือไม่ ความวิตกว่ามีอาการบาดเจ็บมากไปกว่าที่มีหรือเป็น หรือไม่ ความกังวลใจว่าจะเป็นจะมีอาการนานเพียงใด 2. ทุกขสมุทัยอริยสัจ คือ สาเหตุแห่งทุกข์ใจเป็นทุกข์ที่เกิดจาก ความไม่ต้องการให้ มีอาการบาดเจ็บ อยากให้อาการบาดเจ็บที่ขาขวาด้านหน้าหายโดยเร็ววัน 3. ทุกขนิโรธอริยสัจ คือ สภาพแห่งการดับทุกข์หรือตัณหาดับโดยไม่หลือ(วิราคะ สละ สละคืน ปล่อยไป ไม่พัวพัน) ไม่โกรธแม้ไม่ทราบสาเหตุท่ำให้เกิดการบาดเจ็บ ไม่กลัวว่า อาการบาดเจ็บจะเป็นอย่างไร ไม่กลัวตายหากมรอาการรุนแรงมากขึ้น อย่ากลัวโรคอย่าง อื่นๆที่อาจจะแทรกซ้อนขึ้นมา ไม่เร่งผลในการดูแลรักษาด้วยตัวเองตามลักษณะอาการ บาดจ็บ ไม่วิตกว่ามีอาการบาดเจ็บมากไปกว่าที่มีหรือเป็น ไม่กังวลแม้ว่าจะดูแลรักษานาน เพียงใด เป็นสุขใจ ใจไร้ทุกข์ ไร้กังวล ไม่สงสัย และ เป็นสุจใจ เบิกบาน แจ่มใส 4. ทุกขนิโรธอคามินีปฏิปทาอริยสัจ คือ วิถีทางแห่งการดับทุกข์ หรือวิธีการดับทุกข์ ทั้งปวง ด้วยการวิธีการ 4.1-พิจารณาวิบากกรรม ตามบททบทวนธรรม ข้อที่๑๐. เมื่อเกิดสิ่งเลวร้ายกับเรา ไม่มีอะไรบังเอิญ ทุกอย่างยุติธรรมเสมอ เพราะเราเคยทำเช่นนั้นมามากกว่านั้น กล่าวคือ ในอดีตก่อนที่จะเข้ามาเป็นจิตอาสาแพทย์ วิถีธรรมได้ใช้เท้าและขาขวาเตะสุนัขที่เลี้ยงเอาไว้เฝ้าบ้าน ใช้ขาขวา เตะเพื่อนคู่อริในระ หว่าที่ทะเลาะวิวาทกัน ชอบกินขาหมูพะโล้มากๆ ข้อที่ 46. เกิดอะไร จงท่องไว้ “กู-เรา-ฉัน” ทำมา -ผลของวิบากกรรม ตามบททบทวนธรรม ข้อที่ 11. สิ่งที่สร้างผลทุกวินาทีให้กับชีวิต คือ วิบากกรรม ที่ได้เคยทำมาดังที่กล่าวมา ข้อที่ 12 วิบากกรรมมีจริง ทำอะไร ได้ผลอะไร ก็เกิดจากการกระทำของเราเองทั้งหมด ข้อที่ 14. ไม่มีชีวิตใดหนีพ้นอำนาจแห่งกรรมไปได้ ทำกรรมดีย่อมได้รับผลดี ทำกรรมชั่ว ย่อมได้รับผลชั่ว 4.2-พิจารณาโทษ ของทุกข์ที่เกิดจากความอยากให้อาการบาดเจ็บที่ขาขวา ด้านหน้านั้นหายไปโดยเร็ว จึงมีอากาปวดถึงสามวันอาการจึงได้ทุเลาลงตามลักษณะการ ดูแล รักษา แต่เมื่อได้เห็นโทษอย่างแท้จริง จึงขอรับสารภาพตามบททบทวนธรรม ข้อที่ 22. ถ้าใครมีปัญหาหรือความเจ็บป่วยในชีวิต ให้ทำความดี 4 อย่างนี้ ด้วยความ ยินดี จริงใจ จะช่วยให้ปัญหาหรือความเจ็บป่วย ลดลงได้เร็ว 1) สำนึกผิด หรือยอมรับผิด 2) ขอรับโทษ เต็มใจรับโทษ หรือ ขออโหสิกรรม 3) ตั้งจิตหยุดสิ่งที่ไม่ดีอันนั้น 4) ตั้งจิตทำความดีให้มาก ๆ คือ ลดกิเลสให้มาก ๆ เกื้อกูลผองชนและหมู่สัตว์ ให้มาก ๆ ข้อที่ 24. เมื่อเกิดทุกข์ใจ ทุกข์กาย เรื่องร้ายเข้ามาในชีวิต เขามาเพื่อ ให้เราได้ชดใช้ ให้เราไม่ประมาท ให้เราเพิ่มอริยศีล ให้เราได้สำนึก ให้เราได้หมดวิบาก 4.3-พิจารณาประโยชน์ของการขจัดกิเลส ทำให้ไม่มีความอยากให้อาการบาด หายในเร็ววัน อาการบาดเจ็บจะหายตอนไหนชั่งหัวมัน ได้รับความสบายใจที่สามารถ ทำงานอย่างๆได้ด้วยความไม่วิตก ไม่กังวล 4.4-พิจารณาไตรลักษณ์ของสุขลวง 4.4.1 อนิจจตา (อนิจจลักษณะ) – อาการเจ็บป่วยทางร่างกาย แม้แต่ทางใจ ก็มิได้มี มิได้เป็นตลอดไป เกิดมีขึ้นได้ ก็หายไปได้ ทั้งนี้ทั้งนั้นใจต้องไม่เจ็บป่วยตาม อาการของร่างกาย 4.4.2 ทุกขตา (ทุกขลักษณะ) – อาการที่เป็นทุกข์ทางใจ เพราะปัจจัยที่ปรุง แต่งให้มีสภาพของอการเป็นอย่างนั้น อย่างนี้เปลี่ยนแปลงไป ไม่คงอยู่ในสภาพนั้น 4.4.3 อนัตตา (อนัตตลักษณะ) – อาการของอนัตตา อาการของการเจ็บป่วย ที่ไม่มีตัวตน อาการที่แสดงถึงความไม่ใช่ใคร ไม่ใช่ของใคร ไม่อยู่ในอำนาจควบคุมของ ใคร อาการเจ็บป่วยที่แสดงถึงไม่มีตัวตนที่แท้จริงของมันเอง ต้องอาศัยพึ่งพิงสิ่งอื่นๆ มากมายจึงมีอาการต่างๆเกิดขึ้นได้. โดยแท้จริงแล้วความต้องการ ความอยากได้ดั่งใจหมาย อยากได้ใคร่ดีที่ใจ ต้องการนั้น ก็ได้รับความดีใจ สมใจอยาก เพียงชั่วครู่ชั่วยามเท่านั้น ไม่ได้มีความดีใจ สมใจอยากอย่างยั่งยืนตลอดไป และจะต้องสร้างความต้องการ สร้างความอยากได้ ใคร่ดีขึ้นมาใหม่ หมุนเวียนตลอดเวลา แล้วอย่างนี้จะสร้างความสุขลวงแต่ทุกข์ใจไป ทำไม สุขใจได้ในทุกๆปัจจุบันแม้ไม่ได้ดั่งใจอยาก เจริญธรรมสำนึกดี มีใจไร้ทุกข์ ใจเย็นให้ได้ให้ได้ในทุกๆปัจจุบัน Reply อรวิภา กริฟฟิธส์ October 21, 2022 at 3:56 pm เรื่อง อยากกินอะไรหวาน ๆ ขณะที่นั่งอ่านหนังสืองานวิจัยต่าง ๆ เพื่อได้แนวทางในการเขียนงานวิจัย ป โท อยู่ ก็เกิดอาการอยากกินของหวาน เราน่าจะทำขนมกินดีมั้ย พอจับอาการได้ว่าไม่โปร่งไม่โล่งใจ ทุกข์ ไม่โปร่งไม่โล่งใจ สมุทัย อยากกินขนมหวาน ถ้าได้กินจะสุขใจชอบใจ นิโรธ จะได้กินขนมหวานหรือไม่ก็ไม่ทุกข์ใจ ยินดีได้แม้ไม่ได้ดั่งใจ มรรค ได้พิจารณาเห็นว่าความอยากกินขนมหวานเป็นทุกข์ ทุกข์ที่จะต้องแสวงหามากินมาเสพ ซึ่งสุขที่ได้จากการเสพก็ไม่มีจริง เป็นสุขแว็ปเดียว เป็นสุขลวงสุขหลอก เก็บไม่ได้ อยากใหม่ก็ต้องดิ้นรนหามาเสพอีก ได้เสพดั่งใจกิเลสก็โต อยากได้มาก ๆ ก็ทำชั่วได้ทุกเรื่อง เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น คือต้องเสียแรงงานทุุนรอนมาปรุงมาแต่ง เพื่อให้ได้มาเสพ เราก็ไม่ได้หิว เอามาเกินโลกก็ขาดแคลน และเป็นแรงเหนี่ยวนำที่ไม่ดีให้คนอื่นเป็นตามอีก เมื่อพิจารณาเห็นความจริงอย่างนี้ ความอยากกินขนมก็คลายลง ใจยินดีที่ไม่ได้ดั่งใจ Reply ประพันธ์ โพธิ์คำ เท่ ใจถึงศีล กล้าจน October 21, 2022 at 7:24 pm สภาวธรรมประจำสัปดาห์ ณ วันพฤหัสบดีที่ 20 เดือน ตุลาคม. พ.ศ.2565 ชื่อเรื่อง หายไปไหนเนี๊สะ เนื้อเรื่อง ในวันพฤหัสบดีที่ 20 ตุลาคม พ.ศ.2565 ซึ่งอยู่ในช่วงรอรถยนต์ที่จะใช้ ในการทำงาน ให้ช่งเทคนิคนำไปทำการซ่อมแซมในส่วที่ชำรุดเสียหาย จึงได้มีเวลา ทำการบ้านอริยสัจ 4 และในเวลาเดียวกันได้ติดตามการถ่ายทอดสดรายการแพทย์ แผนไทยวิถีธรรมค้ำจุนโลก ครั้งที่ 26 ด้วยการใช้คอมพิวเตอร์บ้านเครื่องเดียวกันนี้ ซึ่งในบางช่วงจะต้องทำการปิดหน้าต่างของการพิมพ์ข้อความ จึงทำให้มีการทำงาน ผิดพลาดด้วยการปิดหน้าจอของการพิมพ์ข้อความโดยไม่ได้จัดการบันทึกเก็บความจำ เอาไว้ จึงทำให้ข้อความที่ทำไว้แล้วหาย จึงทำให้โทษตัวเองในความผิดพลาด เกิด อาการผิดหวัง หงุดหงิด คำสำคัญ แม้ไม่ได้ดั่งใจ ก็เป็นสุขใจได้ ประโยคสำคัญ ตามพระไตรปิฎก เล่มที่ 19 ข้อ 1717 เจลสูตร มีใจความดังนี้ “พึงกระทำความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความไม่ย่นย่อ ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะอย่างแรงกล้า เพื่อตรัสรู้อริยสัจ ๔” 1-ทุกขอริยสัจ คือ สภาพของความเป็นทุกข์ใจ ที่ทำงานแล้วเสร็จ ไม่ได้จัดเก็บด้วย การบันทึกเอาไว้ ดั่งที่ตั้งใจเอาไว้ 2. ทุกขสมุทัยอริยสัจ คือ สาเหตุแห่งทุกข์ใจเป็นทุกข์ที่เกิดจาก ความยึดมั่นถือมั่น ไม่ได้กระทำในสิ่งที่ต้องการจะกระทำ 3. ทุกขนิโรธอริยสัจ คือ สภาพแห่งการดับทุกข์หรือตัณหาดับโดยไม่หลือ(วิราคะ สละ สละคืน ปล่อยไป ไม่พัวพัน) ถึงแม้ว่าจะไมได้กระทำในสิ่งที่ต้องการจะกระทำก็เป็นสุจ ใจได้ เบิกบาน แจ่มใส 4. ทุกขนิโรธอคามินีปฏิปทาอริยสัจ คือ วิถีทางแห่งการดับทุกข์ หรือวิธีการดับทุกข์ ทั้งปวง ด้วยการวิธีการ 4.1-พิจารณาวิบากกรรม ตามบททบทวนธรรม ข้อที่ 21. การได้พบกับ เหตุการณ์ที่ไม่ถูกใจเรา ไม่ได้ดั่งใจเรา เป็นสุดยอดแห่งเครื่องมืออันล้ำค่า ที่ทำ ให้ได้ฝึกล้างกิเลส คือ ความหลงชิงชังรังเกียจ หลงยึดมั่นถือมั่นในใจเรา และ ทำให้ได้ล้างวิบากร้ายของเรา และผลของวิบากกรรมที่กระทำไปนั้น จึงทำให้เกิดข้อผิดพลาดในการทำงาน ล้วไม่ได้ทำการบันทึกเพื่อจัดเก็บข้อมูลเอาไว้ ข้อมูลที่ทำไว้แล้วจึงหายไป 4.2-พิจารณาโทษ ของทุกข์ที่ไม่ได้ดั่งใจ ที่ต้องการจะเก็บข้อมูลแล้วได้เก็บไว้ แต่เมื่อได้เห็นโทษอย่างแท้จริง ก็ทำให้ขจัดความทุกข์นั้นๆได้ด้วยการ ตั้งใจว่า แม้ไม่ได้จัดเก็บข้อมูลเอาไว้ ก็เป็นสุขใจได้ 4.3-พิจารณาประโยชน์ของการขจัดกิเลส ทำให้เกิดความสบายใจ ไม่อึดอัดใจ และมีความตั้งใจมั่นในการที่จะจัดการทำการใหม่จนแล้วเสร็จบันทึกเอาไว้เรียบร้อย 44 พิจารณาไตรลักษณ์ของสุขลวง 4.4.1 อนิจจตา (อนิจจลักษณะ) การไม่ได้จัดเก็บข้อมูลเอาไว้ดั่งใจ เป็นอาการ ที่ ไม่เที่ยง ไม่คงที่ ไม่ยั่งยืน ที่เกิดขึ้นมาแวก็ดับไป 4.4.2 ทุกขตา (ทุกขลักษณะ) – อาการเป็นทุกข์ เพราะสร้างปัจจัยที่ปรุงแต่ง ให้มีสภาพของการผิดพลาดเกิดขึ้นมา 4.4.3 อนัตตา (อนัตตลักษณะ) – อาการของอนัตตา เป็นอาการที่เกิดขึ้นมา ในใจของเราที่ไม่มีตัวตน โดยแท้จริงแล้วความต้องการ ความอยากได้ดั่งใจหมาย ก็ได้รับความดีใจ สมใจอยาก เพียงชั่วครู่ชั่วยามเท่านั้น ไม่ได้มีความดีใจ สมใจอยากอย่างยั่งยืน ตลอดไป และจะต้องสร้างความต้องการ สร้างความอยากได้ใคร่ดีขึ้นมาใหม่ หมุน เวียนตลอดเวลา แล้วอย่างนี้จะสร้างความสุขลวงแต่ทุกข์ใจไปทำไม สุขใจได้ในทุกๆ ปัจจุบันแม้ไม่ได้ดั่งใจอยาก เจริญธรรมสำนึกดี มีใจไร้ทุกข์ ใจเย็นให้ได้ให้ได้ในทุกๆปัจจุบัน Reply ประพันธ์ โพธิ์คำ เท่ ใจถึงศีล กล้าจน October 27, 2022 at 5:40 pm สภาวธรรมประจำสัปดาห์ ณ วันพุธที่ 26 เดือน ตุลาคม พ.ศ.2565 ชื่อเรื่อง ค่าซ่อมแซมรถยนต์จะพอไหมเนี๊ยะ เนื้อเรื่อง สืบเนื่องรถยนต์ที่ใช้ได้ชำรุดเสียหายนั้น ได้ล่วงเวลามาหลายวันแล้วที่อู่ ซ่อมรถยนต์ยังไม่ได้แจ้งราคาและส่งรถยนต์มาลากเอาไปเข้าอู่ ซึ่งได้ติดต่อไปยัง อู่ฯเพื่อขอทราบรายละเอียดดังที่กล่าวมา จึงได้รับแจ้งประมาณการค่าซ่อมรถยนต์ ทำให้เกิดความวิตกกังวลว่าช่วงต้นเดือนหน้าที่จะได้เงินจากการร่วมเล่นแชร์จะพอ กับค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมรถยนต์และการสมัครสอบปรับระดับการเป็นประชาชน ของประเทศสหรัฐอเมริกาหรือไม่ คำสำคัญ แม้ประสบทุกข์ ก็ยังหาสุขพบ ประโยคสำคัญ ตามพระไตรปิฎก เล่มที่ 19 ข้อ 1717 “พึงกระทำความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความไม่ย่นย่อ ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะ อย่างแรงกล้า เพื่อตรัสรู้อริยสัจ ๔” ปรับสภาวะธรรมด้วยอริยสัจ ๔ :- 1-ทุกขอริยสัจ คือ สภาพของความเป็นทุกข์ใจที่เกิดการวิตกกังวลหวั่นไหวต่อการ ได้รับแจ้งเรื่องงบประมาณค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมรถยนต์และเตรียมสมัครสอบเป็น ประชาชนของประเทศสหรัฐอเมริกา 2. ทุกขสมุทัยอริยสัจ คือ สาเหตุแห่งทุกข์ใจเป็นทุกข์ที่เกิดจากความวิตกกังวลหวั่นไหว 3. ทุกขนิโรธอริยสัจ คือ เป็นสุขใจ ใจไร้ความทุกข์ ไร้ความกังวล ไม่หวั่นไหว แม้จะไม่ ได้รับความพึงพอใจก็เป็นสุจใจได้ เบิกบาน แจ่มใส แม้ประสบทุกข์ ก็ยังหาสุขพบ 4. ทุกขนิโรธอคามินีปฏิปทาอริยสัจ ด้วยการวิธีการ 4.1-พิจารณาวิบากกรรม ตามบททบทวนธรรม ข้อที่ ๑๒. วิบากกรรมมีจริง ทำอะไร ได้ผลอะไร ก็เกิดจากการกระทำของเราเองทั้งหมด เจอเรื่องดีเพราะทำดีมา เจอเรื่องไม่ดีเพราะทำไม่ดีมา ทั้งในปัจจุบันและอดีต สังเคราะห์กันอย่างละ 1 ส่วน และผลของวิบากกรรม ได้รับความผิดหวัง ความไม่สมหวัง ความไม่ได้ดั่งใจ ที่ปรารถนา 4.2-พิจารณาโทษ ของทุกข์ที่เกิดจากไม่ได้ดั่งใจอยาก จะเกิดอาการเร่าร้อน ใจ กระวนกระวายใจ แต่เมื่อได้เห็นโทษอย่างแท้จริงแล้วก็ทำให้ขจัดความทุกข์ใจนั้นๆได้ด้วยการ ทำใจไม่ให้ทุกข์ 4.3-พิจารณาประโยชน์ของการขจัดความทุกข์ ไม่มีความอยาก ไม่วิตกกังวลใจ ได้รับความสบายใจ ไม่อึดอัดขัดเคืองใจ เมื่อใจสบายแล้วก็ส่งผลไปยังร่างกาย ทำให้ ความสบายเนื้อ สบายตัว 4.4 พิจารณาไตรลักษณ์ของสุขลวง 4.4.1 อนิจจตา (อนิจจลักษณะ) – ความวิตก กังวล หวั่นไหว ความอึดอัด ขัด เคืองใจ เป็นอาการที่ไม่เที่ยง เมื่อเกิดขึ้นแล้วย่อมเสื่อมและสลายไป 4.4.2 ทุกขตา (ทุกขลักษณะ) – ความทุกข์จะเปลี่ยนแปลงไปไม่คงที่ ก็ไม่ควรที่ จะทำใจให้ความเป็นทุกข์ 4.4.3 อนัตตา (อนัตตลักษณะ) – โดยแท้จริงแล้วความต้องการ ความอยากได้ ดั่งใจหมาย อยากได้ใคร่ดีที่ใจต้องการนั้น มีขึ้นเพียงชั่วครู่ชั่วยามเท่านั้น ไม่ได้มีความ ดีใจสมใจอยากตลอดไป แล้วอย่างนี้จะสร้างความสุขลวงแต่ทุกข์ใจยาวนานไปทำไม สุขใจได้ในทุกๆปัจจุบันแม้จะไม่ได้ดั่งใจอยาก ดั่งผู้มีปัญญาด้วยโศลกธรรมที่ว่า “แม้ ประสบทุกข์ ก็ยังหาสุขพบ” เจริญธรรมสำนึกดี มีใจไร้ทุกข์ ใจเย็นให้ได้ให้ได้ในทุกๆปัจจุบัน Reply ประพันธ์ โพธิ์คำ เท่ ใจถึงศีล กล้าจน November 2, 2022 at 1:15 am ชื่อเรื่อง อุปสรรคและปัญหา ที่เกิดจากการเตรียมอุปกรณ์ เนื้อเรื่อง ในวันจันทร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ.2565 ช่วงเวลาบ่ายๆ ได้รับการติดต่อทาง โทรศัพท์จากประธานชมรมครูและผู้ปกครองนักเรียน เกี่ยวกับเครื่องเสียงที่จะต้องใช้ ในงานลอยกระทงของวัดพุทธดัลลัส ที่ได้จัดซื้อเอาไว้ใช้ในกิจกรรมของโรงเรียน ฯ ปรากฎว่าเมื่อสั่งซื้อไปแล้วนั้น ทั้งชื่อยี่ห้อ รุ่น ที่ต้องการนั้น ไม่มีในสต๊อก ประธาน ชมรมจึงต้องเดินทางไปที่ร้านจำหน่ายเครื่องเสียงพร้อมกับผู้ชำนาญ แต่ก็ปรากฎว่า เครื่องเสียงชุดอื่นๆทีมีในปัจจุบันก็มีรายละเอียดที่ไม่ตรงกันอีก จึงต้องดูยี่ห้ออื่นๆที่มี รายละเอียดคล้ายๆกัน จนกระทั่งได้มีการสั่งซื้อเอามาใช้ เพื่อให้ทันการใช้งานลอย กระทงฯ คำสำคัญ อุปสรรคและปัญหา คือ ชีวิตชีวา ประโยคสำคัญ ตามพระไตรปิฎก เล่มที่ 19 ข้อ 1717 “พึงกระทำความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความไม่ย่นย่อ ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะ อย่างแรงกล้า เพื่อตรัสรู้อริยสัจ ๔” :- 1-ทุกขอริยสัจ ที่เกิดจากการสั่งซื้อเครื่องเสียงสำหรับกลางแจ้ง ซึ่งเป็นชุดเครื่องเสียง ที่ไม่ตรงกับยี่ห้อและรายละเอีนดต่างๆที่ต้องการจะได้ 2. ทุกขสมุทัยอริยสัจ เครื่องเสียงชุดที่ต้องการจะได้ก็ไม่ได้ ชุดที่ได้มาก็ไม่ถูกใจ ไม่ ชอบใจ ไม่สมใจอยาก 4. ทุกขนิโรธอคามินีปฏิปทาอริยสัจ แม้ไม่ได้ชุดเครื่องเสียงดั่งที่ต้องการจะได้ ก็ไม่ เป็นไร ยินดี พอใจ กับชุดเครื่องเสียงที่จัดหามาได้ก็ดีแล้ว จะได้มีเครื่องเสียงที่จะใช้ ในงานลอบกระทง 4.1-พิจารณาวิบากกรรม ตามบททบทวนธรรม ดังต่อไปนี้ ข้อที่ 120. ปัญหาไม่เคยหมดไปจากชีวิตของเรา มีแต่ทุกข์เท่านั้น ที่หมดไป จากใจของเรา ข้อที่ 121. โจทย์ทุกโจทย์ เหตุการณ์ทุกเหตุการณ์ เป็นเครื่องมือฝึกจิตของเราให้ เป็นสุข อย่างถูกต้องตามธรรม ข้อที่ 133. อุปสรรคและปัญหา คือ ชีวิตชีวา ข้อที่ 138. จงเผชิญกับปัญหาอุปสรรค ที่มีอยู่คู่โลกตลอดกาลนาน อย่างมีชีวิตชีวาให้ได้ และผลของวิบากกรรม 4.2-พิจารณาโทษ ของการที่ได้เครื่องเสียงชุดที่ไม่ได้ดั่งใจอยาก ทำให้เกิด ทุกข์ที่มีอาการ อึดอัด หงุดหงิด ไม่พอใจ ไม่เป็นสุขใจ ไม่สมใจ แต่เมื่อได้เห็นโทษอย่างแท้จริง ก็ทำให้ขจัดความทุกข์นั้นๆได้ด้วยการทำใจให้ เป็นสุข แม้ไม่ได้ดั่งใจที่ต้องอยากจะได้ ก็พึงพอใจ 4.3-พิจารณาประโยชน์ของการขจัดกิเลสความทุกข์นั้นออกไปได้ ก็ทำให้บังเกิด ความสบายใจ คลายความอึดอัดใจผ่อนคลายความหงุดหงิด ความไม่พอใจ ออกไปได้ 4.4 พิจารณาไตรลักษณ์ของสุขลวง 4.4.1 อนิจจัง – อาการของความ หงุดหงิด อึดอัด ไม่ชอบใจ ไม่พอใจ เป็น อาการที่ไม่เที่ยง เกิดขึ้นมาก็ด้วยใจของเราที่ไม่แน่นอน ไม่มั่นคง 4.4.2 ทุกขัง – อาการเป็นทุกข์ของใจที่ปรุงแต่งให้มีสภาพเป็นอย่างนั้น และ เปลี่ยนแปลงไป ตลอดเวลาไม่คงที่. 4.4.3 อนัตตา- อาการของใจที่ไม่มีตัวตน เกิดแต่ใจที่นึกคิดไปต่างๆนานา โดยแท้จริงแล้วความทุกข์ที่เกิดจากความต้องการนั้น เกิดขึ้น ตั้งอยู่ไม่นาน แล้วก็ดับไป ด้วยการสละ สละคืน ปล่อยไป ไม่พัวพัน ก็ทำให้สุขใจได้ในทุกๆปัจจุบัน แม้ไม่ได้ดั่งใจอยาก เจริญธรรมสำนึกดี มีใจไร้ทุกข์ ใจเย็นให้ได้ให้ได้ในทุกๆปัจจุบัน Reply ประพันธ์ โพธิ์คำ เท่ ใจถึงศีล กล้าจน November 5, 2022 at 6:37 pm สถาบันวิชชาราม ใบส่งงานการบ้าน(ต่างประเทศ) ชื่อนายประพันธ์ นามสกุล โพธ์คำ ชื่อทางธรรม ใจถึงศีล กล้าจน ชื่อเล่น เท่ จิตอาสาสวนป่านาบุญ 6 ต่างประเทศ อยู่เมืองดัลลัส มลรัฐเท็กซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา นักศึกษาระดับ อริยปํญญาตรี หลักสูตร 7 ปี สาขาวิชา จิตอาสาแพทย์วิถีธรรม ปัจจุบันอายุ 73 ปี พำนักอยู่ที่ เมืองดัลลัส มลรัฐเท็กซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา ********************** สภาวธรรมประจำสัปดาห์ ณ วันพุธที่ 26 เดือน ตุลาคม พ.ศ.2565 ชื่อเรื่อง ค่าซ่อมแซมรถยนต์จะพอไหมเนี๊ยะ เนื้อเรื่อง สืบเนื่องรถยนต์ที่ใช้ได้ชำรุดเสียหายนั้น ได้ล่วงเวลามาหลายวันแล้วที่อู่ ซ่อมรถยนต์ยังไม่ได้แจ้งราคาและส่งรถยนต์มาลากเอาไปเข้าอู่ ซึ่งได้ติดต่อไปยัง อู่ฯเพื่อขอทราบรายละเอียดดังที่กล่าวมา จึงได้รับแจ้งประมาณการค่าซ่อมรถยนต์ ทำให้เกิดความวิตกกังวลว่าช่วงต้นเดือนหน้าที่จะได้เงินจากการร่วมเล่นแชร์จะพอ กับค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมรถยนต์หรือไม่ คำสำคัญ แม้ประสบทุกข์ ก็ยังหาสุขพบ ประโยคสำคัญ ตามพระไตรปิฎก เล่มที่ 19 ข้อ 1717 “พึงกระทำความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความไม่ย่นย่อ ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะ อย่างแรงกล้า เพื่อตรัสรู้อริยสัจ ๔” ปรับสภาวะธรรมด้วยอริยสัจ ๔ :- 1-ทุกขอริยสัจ คือ สภาพของความเป็นทุกข์ใจที่เกิดการวิตกกังวลหวั่นไหวต่อการ ได้รับแจ้งเรื่องงบประมาณค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมรถยนต์จะสูงเกินกว่างบประมาณ ที่ได้รับเงินค่างแชร์ 2. ทุกขสมุทัยอริยสัจ คือ สภาพความทุกข์ของจิตใจที่อยากให้ค่าใช้จ่ายในการซ่อม แซมรถยนต์ไม่สูงมากนัก 3. ทุกขนิโรธอริยสัจ คือ แม้จะประสบทุกข์จากการได้รับแจ้งเรื่องค่าใช้จ่ายในการ ซ่อมแซมรถยนต์ทู่ง ก็เป็นสุขใจได้ 4. ทุกขนิโรธอคามินีปฏิปทาอริยสัจ ด้วยการวิธีการ 4.1-พิจารณาวิบากกรรมมีจริง ทำอะไร ได้ผลอะไร ก็เกิดจากการกระทำ ของเราเองทั้งหมด เพราะในอดีตที่ผ่านมา เมื่อครั้งที่ดำเนินชีวิตในประเทศไทย ได้เคย เรียกค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดี การดำเนินการทางธุรกิจ ที่สูงเกินกว่าจะปฏิบัติการจริง ผลของวิบากกรรม ที่เคยทำในอดีต จึงส่งผลให้ในช่วงเวลาปัจจุบันนี้รับวิบากกรรม ที่เราเคยทำมา ด้วยการต้องยอมรับค่าซ่อมแซมรถยนต์ที่สูง 4.2-พิจารณาโทษ ของทุกข์ที่เกิดจากไม่ได้ดั่งใจอยาก จะเกิดอาการเร่าร้อน ใจ กระวนกระวายใจ ไม่สบายเนื้อตัว แต่เมื่อได้เห็นโทษอย่างแท้จริงแล้วก็ทำให้ขจัดด้วยการ สละ สละคืน ปล่อยไป ไม่พัวพันศึ่งความทุกข์ใจนั้นๆได้ด้วยการทำใจแม้จะประสบกับความทุกข์ ก็ยังเป็นสุขใจ 4.3-พิจารณาประโยชน์ของการขจัดความทุกข์ ไม่มีความอยาก ไม่วิตกกังวลใจ ได้รับความสบายใจ ไม่อึดอัดขัดเคืองใจ เมื่อใจสบายแล้วก็ส่งผลไปยังร่างกาย ทำให้ ความสบายเนื้อ สบายตัว 4.4 พิจารณาไตรลักษณ์ของสุขลวง 4.4.1 อนิจจลักษณะ – ความวิตก กังวล หวั่นไหว ความอึดอัด ขัด เคืองใจ ดังที่กล่าวมา เป็นอาการที่ไม่เที่ยง เมื่อเกิดขึ้นแล้วย่อมเสื่อมและสลายไป 4.4.2 ทุกขลักษณะ – ความทุกข์จะเปลี่ยนแปลงไปไม่คงที่ ก็ไม่ควรที่จะต้อง ทำใจให้เกิดความเป็นทุกข์ 4.4.3 อนัตตลักษณะ – โดยแท้จริงแล้วความต้องการ ความอยากได้ค่าใช้จ่าย การซ่อมแซมรถยนต์ในราคาที่ถูกดั่งใจหมายนั้นไม่มีตัวตน อยากได้ใคร่ดีที่ใจต้องการ นั้น เป็นการสร้างความคิดขึ้นมาเอง ไม่ใช่สิ่งที่มีอยู่เป็นอยู่ โดยสภาพที่แท้จริงแต่อย่าง ใดทั้งสิ้น ซึ่งหากมีขึ้นก็เป็นเพียงเพียงชั่วครู่ชั่วยามเท่านั้น ไม่ได้มีความมั่นคงตั้งอยู่ ตลอดไป แล้วอย่างนี้จะสร้างความสุขลวงที่อยากได้ดั่งใจหมายแต่ทุกข์ใจยาวนานไป ทำไม เป็นสุขใจได้ในทุกๆปัจจุบันแม้จะไม่ได้ดั่งใจอยาก ดั่งผู้มีปัญญาด้วยโศลกธรรม ที่ว่า “แม้ประสบทุกข์ ก็ยังหาสุขพบ” เจริญธรรมสำนึกดี มีใจไร้ทุกข์ ใจเย็น ใจเป็นสุข ให้ได้ในทุกๆปัจจุบัน Reply ประภาพรรณ โอษฐ์ยิ้มพราย November 8, 2022 at 6:56 pm พุทธะชนะทุกข์ เรื่อง อยากได้ sd.card คำคมเพชรฯของอาจารย์มาฟัง เมื่อได้ยินทีมงานสื่อเปิด คำคมเพชรฯของอาจารย์ครั้งใด ก็มีความอยากได้มาฟัง เมื่อไหร่หนอทีมงานจะจัดทำมาจำหน่ายซะที จะได้ไว้เปิดฟังเวลาก่อนเข้านอน เพราะเห็นประโยชน์ในคำคมและมีความชอบที่ได้นำมาใช้กับชีวิตประจำวันในยามทุกข์ที่ผ่านมาจนคลายทุกข์ได้จริง จนเป็นเหตุสะสมกิเลสอยากได้โตขึ้นทุกวันๆ อริยสัจ 4 ทุกข์ รู้สึกทุกข์ใจ อึดอัดใจที่ไม่ได้ฟังคำคมฯของอาจารย์ สมุทัย อยากได้ sd.card คำคมฯอาจารย์ นิโรธ จะได้สมใจอยาก หรือไม่ได้สมใจอยาก ก็ไม่ทุกข์ มรรค แม้เห็นประโยชน์ที่ได้รับฟังมีมาก แต่เมื่อยังไม่ถึงเวลาจะได้ก็ไม่ได้ เราต้องสุขสมใจที่ไม่ได้ดั่งใจนั้นให้ได้ แม้ได้สุขสมใจอยากก็เป็นสุขแว๊บเดียว แล้วก็หายไป เป็นสุขลวง สุขหลอก ไม่มีจริงเก็บไม่ได้ เรายังไม่มีกุศล ในสิ่งนั้นยังมีวิบากอยู่ อยากได้มากๆทำชั่วได้ทุกเรื่อง เหนี่ยวนำให้ผู้อื่นเป็นตาม ทุกอย่างที่เกิดขึ้นดีที่สุดแล้ว(บททบทวนธรรม ข้อ 147) เมื่อได้ทบทวนซ้ำๆได้เข้าใจ ถึงความอยากได้ จะไม่ได้ ก็เลิกจากความอยากได้นั้นและเปลี่ยนจากความอยากได้โดยหาประโยชน์ได้จากการโหลดจากคลิปคำคมฯอาจารย์ มาฟังด้วยใจที่เบิกบาน ด้วยความสุขใจที่ยินดีแม้ไม่ได้สมใจอยาก ประภาพรรณ โอษฐ์ยิ้มพราย นศ.วิชชาราม ระดับอริยะปัญญาตรีชั้นปีที่1 Reply ประพันธ์ โพธิ์คำ เท่ ใจถึงศีล กล้าจน November 13, 2022 at 6:51 pm สภาวธรรมประจำสัปดาห์ ณ วันเสาร์ที่ 12 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2565 ชื่อเรื่อง :- แม้ไม่ได้ดั่งใจ ก็เป็นสุขใจได้ เนื้อเรื่อง เมื่อวันศุกร์ที่ 11 พฤศจิกายนพ.ศ.2565 แท๊ปเล็ทที่ใช้เป็นประจำทุกๆวัน ได้เกิดเหตุไม่สามารถรับสัญญาณอินเตอร์เน็ทได้ โดยไม่ทราบสาเหตุ ได้แต่คิดไป เองว่า อาจจะเกิดจากการที่ก่อนหน้านี้ได้มีการแจ้งให้ทำการเชื่อมต่อระหว่างแท๊ป เล็ทกับแผ่นซิมการ์ดประจำเครื่องและสัญญาณอินเคอร์เน็ทภายนอก จึงได้แต่คิดไป เองว่าช่างเทคนิคของศูนย์บริการคงจะทำการเชื่อมต่อให้ผิดเครื่อง คำสำคัญ มีสุขได้ในทุกๆปัจจุบัน ประโยคสำคัญ ตามพระไตรปิฎก เล่มที่ 19 ข้อ 1717 “พึงกระทำความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความไม่ย่นย่อ ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะ อย่างแรงกล้า เพื่อตรัสรู้อริยสัจ ๔” :- 1-ทุกข์ คือ กังวลใจในต้นเหตุที่อยากให้ช่างเทคนิคของศูนย์บริการทำการเชื่อมต่อ สัญญาณอินเตอร์เน็ทให้ถูกเครื่อง 2. สมุทัย คือ สาเหตุแห่งทุกข์ที่อยากเครื่องแท๊ปเล็ทรับสัญญาณอินเตอรฺเน็ทได้ไม่ติด ขัดให้ได้สมใจจะสุขเป็นใจ 3. นิโรธ คือ แม้แท๊ปเล็ททั้งสองเครื่องจะไม่สามารถเชื่อมต่อสัญญาณอินเตอร์เน็ทได้ ก็ไม่ทุกข์ใจ เป็นสุขได้ แม้ไม่ได้ดั่งใจหวัง 4. มรรค คือ หนทางแห่งการดับทุกข์ พิจารณาวิบากกรรม ที่ได้เคยหน่วงเหนี่ยว ตัวเอง ผู้อื่น สัตว์อื่น ในอดีตที่ผ่านมา ไม่ ให้ได้รับความสะดวกด้วยประการต่างๆ พิจารณาโทษ ของความอยากได้ดั่งใจหวัง ทำให้ในปัจจุบันนี้ เราเองนั้นถูกหน่วงเหนี่ยว จนกระทั่งทำให้ไม่สามารถใช้เครื่องมือสื่อสารดั่งใจที่หวังเอาไว้ พิจารณาประโยชน์ของการไม่มีความอยาก ทำให้ไม่ทุกข์ใจ สบายใจ แม้จะเผชิญกับ ความทุกข์ ก็ยังหาความสุขใจได้ และ พิจารณาไตรลักษณ์ของสุขลวง (เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป) ทุกขัง ทุกข์ที่เกิดขึ้นนั้น เป็นสิ่งที่สร้างขึ้นมาเองจากใจที่ไม่มั่นคง ไม่มีตลอดไป อนิจจัง ความสุขเราคิดว่าจะได้ดั่งที่ตั้งใจหวังนั้น เป็นความสุขไม่มีจริงๆ แม้จะมีอยู่ ก็ ไม่ได้หมายความจะมีตลอดไป ไม่เที่ยง ต้องสร้างขึ้นมาใหม่ตลอดเวลาในทุกๆปัจจุบัน อนัตตา ความสุขที่เราต้งการได้มานั้น ไม่ตัวตน ไม่มีอยู่จริง เป็นเพียงใจของเราเท่านั้น ที่แสวงหา ไฝ่หา มาเองเพื่อให้เกิดทุกข์เท่านั้น เจริญธรรม สำนึกดี มีใจไร้ทุกข์ ใจเย็นให้ได้ให้ได้ในทุกๆปัจจุบัน Reply ประพันธ์ โพธิ์คำ เท่ ใจถึงศีล กล้าจน November 14, 2022 at 6:23 pm สภาวธรรมประจำสัปดาห์ ณ วันจันทร์ที่ 13 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2565 ชื่อเรื่อง ไม่เป็นไร ได้มาเมื่อไหร่ ก็เมื่อนั้น เนื้อเรื่อง เมื่อวันอาทิตย์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ.2565 ช่วงประมาณก่อนเที่ยงวัน ได้ ติดต่อกับช่างเทคนิคเพื่อแก้ไขข้อติดขัดในการใช้แท๊ปเล็ทที่เชื่อมต่อสัญญาณอินเตอร์ เน็ทไม่ได้ สนทนากันสักประมาณหนึ่งชั่วโมงผ่านไป จึงได้ข้อสรุปว่า ทางฝ่ายให้บริการ โทรศัพท์จะเป็นผู้ส่งซิมการ์ดใหม่ พร้อมกับส่งข้อความการตั้งค่าการใช้แท๊ปเล็ทไปให้ โดยไม่ต้องชำระค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยกำหนดระยะเวลาการส่งไปให้ที่บ้านพักประมาณ 5- 7 วัน และจะโทรศัพท์ไปหาเพื่อทบทวน แนะนำการตั้งค่าการใช้แท๊ปเล็ท คำสำคัญ แม้ไม่ได้ดั่งใจ ก็ไม่ทุกข์ใจ ประโยคสำคัญ ตามพระไตรปิฎก เล่มที่ 19 ข้อ 1717 “พึงกระทำความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความไม่ย่นย่อ ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะอย่างแรงกล้า เพื่อตรัสรู้ อริยสัจ ๔” :- 1-ทุกขอริยสัจ ศูนย์บริการไม่สามารถจัดส่งซิมการ์ดไปให้ดั่งที่ใจต้องเร็วๆ 2. ทุกขสมุทัยอริยสัจ ทุกข์ที่ได้ไม่ดั่งใจหวัง ยึดมั่น ถือมั่น ที่อยากจะได้ซิมการ์ดโดยเร็ว 3- ทุกขนิโรธอริยสัจ แม้ศูนย์บริการการใช้โทรศัพท์จะไม่สามารถส่งซิมการ์ดให้โดย เร็ว ก็ไม่เป็นไร รอได้ เป็นสุขใจได้ ไม่ยึดมั่น ไม่ถือมั่น 4. ทุกขนิโรธอคามินีปฏิปทาอริยสัจ 4.1-พิจารณาวิบากกรรม ที่ในอดีตที่ผ่านมา ได้เคยมีพฤติกรรมในการหน่วงเหนี่ยว คู่กรณ๊หรือบุคคลอื่นๆต่างฝ่ายกัน ไม่ให้รับใสสิ่งที่จะต้องได้ตามสัญญาที่ตกลงกันไว้ 4.2-พิจารณาโทษ ของวิบากกรรม กล่าวคือ ทำสิ่งใดไว้ ก็สมควรแล้วที่จะต้องได้รับ สิ่งนั้นเช่นกัน แต่เมื่อได้เห็นโทษอย่างแท้จริงแล้ว ทำให้เก็นว่าวิบากต้องรับ กิเลสต้องล้าง พุทธะ จึงจะเกิด ตลายความยึดมั่น ถือมั่น ลงไปได้มาก 4.3-พิจารณาประโยชน์ของการขจัดกิเลสความทุกข์นั้นออกไปได้ ก็ทำให้บังเกิด ความสบายใจ คลายความอึดอัดใจ ผ่อนคลายความไม่พอใจ ออกไปได้ 4.4 พิจารณาไตรลักษณ์ของสุขลวง 4.4.1 อนิจจัง –เป็นอาการที่เกิดขึ้นมาก็ด้วยใจของเราที่ไม่แน่นอน ไม่มั่นคง ไม่เที่ยง 4.4.2 ทุกขัง –เป็นอาการทุกข์ของใจ ที่สร้างขึ้นมาเพื่อทับถมตัวเอง 4.4.3 อนัตตา- อาการของใจที่ไม่ได้ดั่งใจหวังนั้น ไม่มีตัวตน เกิดแต่ใจที่นึก คิดไปต่างๆนานา โดยแท้จริงแล้วความทุกข์ที่เกิดจากความต้องการนั้น เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ไม่นานแล้วก็ดับไป ด้วยการสละ สละคืน ปล่อยไป ไม่พัวพัน ก็ทำให้สุขใจได้ในทุกๆ ปัจจุบัน แม้ไม่ได้ดั่งใจอยาก เจริญธรรมสำนึกดี มีใจไร้ทุกข์ ใจเย็นให้ได้ให้ได้ในทุกๆปัจจุบัน Reply ประพันธ์ โพธิ์คำ เท่ ใจถึงศีล กล้าจน November 17, 2022 at 8:58 pm สภาวธรรมประจำสัปดาห์ ณ วันจันทร์ที่ 15 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2565 ชื่อเรื่อง ไม่มารับกลับบ้านซะที เนื้อเรื่อง ในช่วงเช้าของวันอังคารที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ.2565 หลังจากที่ได้ส่งคืน แท๊ปเล็ทเครื่องเก่าที่สำนักงานไปรษณีย์ประจำเมืองแล้ว ได้โทรศัพท์เรียกรถแท๊กซี่จาก ศูนย์บริการ เพื่อให้มารับกลับบ้านพัก ซึ่งได้รับการตอบรับและบอกว่าจะจัดส่งรถแท๊กซี่ มารับ แต่ปรากฎว่ารออยู่ประมาณ 20 นาที ก็ยังไม่มารับ จึงได้โทรศัพท์เข้าเครื่องของรถ แท๊กซี่ ก็ได้รับการยืนยันว่าจะมารับภายในอีก 20 นาที จนกระทั่งเวลาได้ล่วงไปแล้วก็ยัง ไม่มารับ จึงต้องโทรศัพท์เรียกเพื่อนที่อาศัยอยู่บ้านเดียวกันให้มารับ ซึ่งเพื่อนมารับ ภายในเวลาประมาณ 10 นาที คำสำคัญ แม้ไม่ได้ดั่งใจ ก็เป็นสุขใจได้ ประโยคสำคัญ ตามพระไตรปิฎก เล่มที่ 19 ข้อ 1717 “พึงกระทำความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความไม่ย่นย่อ ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะ อย่างแรงกล้า เพื่อตรัสรู้อริยสัจ ๔” :- 1-ทุกขอริยสัจ ปรารถนาที่จะให้รถแท๊กซี่มารับเร็วๆ ไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์ แต่แท๊กซี่ไม่มารับกลับบ้านดั่งที่ใจจึงเป็นทุกข์ 2. ทุกขสมุทัยอริยสัจ ตัณหาอันทำให้เกิดความอยากมารับกลับบ้านเร็วๆ 3- ทุกขนิโรธอริยสัจ ดับตัณหาที่อยากให้แท๊กซี่มารับเร็วๆ ไม่เหลือด้วย วิราคะ ความ สละ ความสละคืน ความพ้น ความไม่อาลัยในตัณหาที่เกิดความอยากให้ได้ดั่งใจ ปรารถนา แม้แท๊กซี่ไม่มารับ ก็เป็นสุขใจ 4. ทุกขนิโรธอคามินีปฏิปทาอริยสัจ 4.1-พิจารณาวิบากกรรม ในช่วงเวลาที่เป็นไดว์เว่อร์ส่งอาหาร ได้มีพฤติกรรม หน่วงเหนี่ยวสินค้าอาหาร ทำให้ลูกค้าได้รับอาหารล่าช้า 4.2-พิจารณาโทษ ของวิบากกรรมที่เคยทำในช่วงเวลาที่ผ่านมาของชาตินี้ จึง ส่งผลไปดึง ไปดล ให้ผู้อื่นมากระทำเช่นนั้นด้วยการไม่มารับในช่วงเวลาปัจจุบัน แต่เมื่อได้เห็นโทษที่ได้รับจากการที่เคยมีพฤติกรรมเช่นนั้นมาอย่างแท้จริงแล้ว ทำให้บังเกิดความสุขใจ ที่ได้รับวิบากร้ายที่เคยทำมาและได้ล้างกิเลสจากความอยากให้ ได้รับการปฏิบัติดั่งใจที่มุ่งหมาย ดั่งบททบทวนธรรมที่ว่า วิบากต้องรับ กิเลสต้องล้าง พุทธะจึงจะเกิด 4.3-พิจารณาประโยชน์ของการขจัดกิเลสความทุกข์นั้นออกไปได้ ก็ทำให้คลาย ความ วิตก กังวล ผ่อนคลายความหงุดหงิด ความไม่พอใจ ออกไปได้ พุทธะก็จะเข้ามาสู่ ใจที่เป็นสุข และได้รับความเป็นสุขใจที่ยอดเยี่ยมกว่าการเป็นทุกข์ใจ 4.4 พิจารณาไตรลักษณ์ของสุขลวง 4.4.1 อนิจจัง –ความวิตก กังวล สงสัย เป็นอาการที่เกิดขึ้นมาก็ด้วยใจของเรา ที่ปรุงแต่ง ไม่แน่นอน ไม่มั่นคง ไม่เที่ยง 4.4.2 ทุกขัง – เป็นการสร้างทุกข์ของใจ ปรุงแต่ง ความ วิตก กังวล สงสัย ขึ้นมาทับถมตัวเองทั้งนั้น 4.4.3 อนัตตา- ความวิตก กังวล สงสัย เป็นอุปาทานที่เกิดขึ้นมานั้น ไม่มีตัวตน ไม่มีอยู่จริง จึงไม่ควรเข้าไปยึดมั่น ถือมั่น โดยแท้จริงแล้วความทุกข์ที่เกิดจากความต้องการนั้น เป็นการสร้างทุกข์ทับถม ตัวอง จึงต้องจัดการด้วยการสละ สละคืน ปล่อยไป ไม่พัวพัน เพื่อมิให้กิเลสและความ ทุกข์ใจนั้นๆกลับมากำเริบอีก ก็จะทำให้เป็นสุขใจได้ในทุกๆปัจจุบัน “แม้ประสบทุกข์ ก็ยังหาสุขพบ” เจริญธรรม สำนึกดี มีใจไร้ทุกข์ —————————————————————————————– Reply ประพันธ์ โพธิ์คำ เท่ ใจถึงศีล กล้าจน November 22, 2022 at 7:57 am สภาวธรรมประจำสัปดาห์ ณ วันจันทร์ที่ 21 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2565 ชื่อเรื่อง ไม่ได้ดั่งใจอีกแล้ว เนื้อเรื่อง การบ้าน พุทธชนะทุกข์-อริยสัจ 4 ซึ่งเป็นตอนที่ 3 ได้ผ่านการติดต่อจาก ช่างเทคนิคของศูนย์บริการการใช้โทรศัพท์เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 17 พฤศจิกายน 2565 ที่ผ่านมา เพื่อช่วยเหลือในการติดตั้งค่าการใช้งานของเครื่องแท๊ปเล็ท แต่ปรากฎว่า ช่างเทคนิคดังกล่าว ไม่อาจช่วยได้อีกเช่นกัน และได้คาดการณ์ว่าคงเป็นเพราะข้อบก พร่องของเครื่องแท๊ปเล็ทและศูนย์การให้บริการส่งเครื่องแท๊ปเล็ทและซิมการ์ดมาให้ ไม่ตรงตามรุ่นกัน กล่าวคือไม่สามารถเชื่อมต่อกับระบบใหญ่ได้ จึงได้ทำการติดต่อให้ ส่งเครื่องแท๊ปเล็ทไปที่ร้านจัดจำหน่ายโทรศัพท์ เพื่อให้ไปติดต่อรับเครื่องแท๊ปเล็ท และให้พนักงานของร้านฯช่วยเหลือในการตั้งค่าการใช้แท๊ปเล็ทในช่วงวันพุธที่ 23 พฤศจิกายน 2565 คำสำคัญ แม้ไม่ได้ดั่งใจ ก็ไม่ทุกข์ใจ ประโยคสำคัญ ตามพระไตรปิฎก เล่มที่ 19 ข้อ 1717 “พึงกระทำความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความไม่ย่นย่อ ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะ อย่างแรงกล้า เพื่อตรัสรู้อริยสัจ ๔” :- 1-ทุกขอริยสัจ ร้อนใจที่ช่างเทคนิคของศูนย์บริการใหญ่อุตส่าห์โทรศัพท์มาช่วยด้วย ตัวเอง ก็ยังไม่อาจจะติดตั้งการใช้ให้ได้ เป็นอะไรกันนักกันหนานะ 2. ทุกขสมุทัยอริยสัจ ไม่ได้ดั่งใจที่อยากให้แท๊ปเล็ทใช้งานได้ ยึดมั่นถือมั่นว่าช่างเทค นิคจากศูนย์บริการใหญ่ต้องช่วยเหลือได้ดั่งที่ใจต้องการ ได้สมใจจะสุขใจ ไม่ได้สมใจจะ ทุกข์ใจ 3- ทุกขนิโรธอริยสัจ ตัณหาดับโดยไม่เหลือ ด้วยการไม่ทุกข์ใจ แม้ไม่ได้ดั่งที่ใจต้องการ 4. ทุกขนิโรธอคามินีปฏิปทาอริยสัจ 4.1-พิจารณาวิบากกรรม ที่ได้เคยทำไม่ดีกับผู้อื่น ที่มีลักษณะของการหน่วงเหนี่ยว ข้อมูล หลักฐาน เอกสาร ต่างๆที่ใช้ในการดำเนินคดีและใช้ในการประสานงานกับหน่วยงาน ต่างๆ 4.2-พิจารณาโทษ ของความอยากที่ให้ได้ดั่งใจ ได้บังเกิดความไม่สบายเนื้อไม่ กาย ไม่สบายใจ เป็นทุกข์ทั้งกายและใจ แต่เมื่อได้เห็นโทษอย่างแท้จริงแล้วทำให้บังเกิดความสำนึกได้ว่า เมื่อเกิดทุกข์ใจ ทุกข์กาย เรื่องร้ายเข้ามาในชีวิต เขามาเพื่อ ให้เราได้ชดใช้ ให้เราไม่ประมาท ให้เราเพิ่ม อริยศีล ให้เราได้สำนึก ให้เราได้หมดวิบาก 4.3-พิจารณาประโยชน์ของการไม่มีความอยาก ทำให้อาการไม่สบายเนื้อไม่สบาย กาย ไม่สบายใจ ผ่อนคลายจนกระทั่งเข้าสู่สภาวะปกติของร่างกายและจิตใจ 4.4 พิจารณาไตรลักษณ์ของสุขลวง 4.4.1 อนิจจัง –เป็นอาการที่ไม่เที่ยงของความเป็นทุกข์ที่เกิดจากใจที่สร้างขึ้นมา เอง 4.4.2 ทุกขัง – อาการเป็นทุกข์ของใจเพราะสร้างทุข์ขึ้นมาเพื่อแลกกับสุขที่ไม่ ยั่งยืน ไม่มีแก่นสารใดๆทั้งสิ้น 4.4.3 อนัตตา- อาการของความสุขใจที่ไม่มีตัวตน นึก คิด ขึ้นมาเอง ด้วยการ แสวงหาในสิ่งที่ไม่นั่งยืน ไม่คงที่ โดยแท้จริงแล้วความทุกข์ที่เกิดจากความต้องการนั้น เกิดขึ้น ตั้งอยู่ไม่นาน แล้วก็ดับไป ด้วยการสละ สละคืน ปล่อยไป ไม่พัวพัน ก็ทำให้สุขใจได้ในทุกๆปัจจุบัน แม้ไม่ได้ดั่งใจอยาก เจริญธรรมสำนึกดี มีใจไร้ทุกข์ ใจเย็นให้ได้ให้ได้ในทุกๆปัจจุบัน Reply ประพันธ์ โพธิ์คำ เท่ ใจถึงศีล กล้าจน November 22, 2022 at 6:42 pm สภาวธรรมประจำสัปดาห์ ณ วันจันทร์ที่ 21 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2565 ชื่อเรื่อง ไม่เสร็จซักที เนื้อเรื่อง เมื่อวันเสารที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ.2565 ได้โทรศัพท์ไปติดต่อสอบถาม ความคืบหน้าในการซ่อมรถยนต์ส่วนตัวกับช่างเทคนิคว่า “ด้จัดการซ่อมไปถึงไหน แล้ว แต่ก็ได้รับคำตอบไม่เป็นที่พอใจเป็นยิ่งนัก และก็ไม่ยืนยันว่ารถยนต์จะทำการ ซ่อมเสร็จเมื่อไร ทั้งที่เวลาผ่านมาตั้งเกือยหนึ่ลเดือนแล้ว และยิ่งเป็นทุกข์มากยิ่งขึ้น ที่เจ้าของร้ายอาหารที่ทำงานอยู่นั้น ได้โทรศัพท์มาสอบถามว่ารถยนต์ยังซ่อมไม่เสร็จ อีกหรือ แล้วจะซ่อมเสร็จเมื่อไร ก็ทำให้ไม่สามารถยืนยันได้แน่นอน ยิ่งเป็นการเพิ่ม ความไม่พึงพอใจให้มากยิ่งขึ้นไปอีก เพราะไม่ได้ทำงานมาเกือบหนึ่งเดือนแล้ว คำสำคัญ จะเสร็จหรือไม่เสร็จ ก็ไม่เป็นไร รอได้ ประโยคสำคัญ ตาม 1-บททบทวนธรรม ข้อที่ 25 เมื่อเกิดทุกข์ใจ ทุกข์กาย เรื่องร้ายเข้ามาในชีวิต เขามาเพื่อ ให้เราได้ชดใช้ ให้เราไม่ประมาท ให้เราเพิ่มอริยศีล ให้เราได้สำนึก ให้เราได้หมดวิบาก 2- พระไตรปิฎก เล่มที่ 19 ข้อ 1717 “พึงกระทำความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความไม่ย่นย่อ ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะ อย่างแรงกล้า เพื่อตรัสรู้อริยสัจ 4” :- 1-ทุกขอริยสัจ อึดอัด รำคาญ ร้อนรุ่ม กลุ้มใจ ช่างเทคนิคซ่อมรถยนต์ไม่เสร็จซะที 2. ทุกขสมุทัยอริยสัจ ต้องการให้ช่างเทคนิคซ่อมรถยนต์เสร็จเร็วๆดั่งที่ใจต้องการ 3- ทุกขนิโรธอริยสัจ ตัณหาดับโดยไม่เหลือ เสร็จก็ชั่ง ไม่เสร็จก็ชั่ง เสร็จเมื่อไหร่ ก็เมื่อนั้น จะได้สมใจหรือไม่ได้สมใจที่อยาก ก็เป็นสุขใจ ใจที่ไร้ทุกข์ ไร้กังวล 4. ทุกขนิโรธอคามินีปฏิปทาอริยสัจ 4.1-พิจารณาวิบากกรรม ช่วงเวลานี้คงเป็นวิบากร้ายของเราที่ไปดึง ไปดล ให้ บุคคบอื่นๆเข้ามากระทำไม่ดีต่อเรา ร่วมกับวิบากร้ายของเราเองนั่นแหละ ที่ต้องรับวิบาก ร้ายและก่อให้เกิดกิเลสในใจของเรา 4.2-พิจารณาโทษ ของความอยาก ทำให้ อึดอัดขัดข้องใจ ความสมดุลร้อน-เย็น ของร่างกายบกพร่อง เครียด ขับถ่ายไม่ดีเท่าที่ควร แต่เมื่อได้เห็นโทษอย่างแท้จริง ทำให้บังเกิดการวางใจว่า ช่างเทคนิคจะซ่อม เสร็จเมื่อไหร่ ก็เมื่อนั้น ไม่โทรศัพท์ไปเร่งรัด แม้เจ้าของร้านอาหารที่ทำงาน จะโทรศัพท์ มาตอบถาม ก็ไม่ วิตก กังวล หวั่นไหว 4.3-พิจารณาประโยชน์ของการไม่มีความอยาก ไม่อึดอัดขัดใจตัวเอง ทำให้การ ปรับสมดุลร้อน-เย็น ของร่างกาย-จิตใจ ดีขึ้น ระบบการไหลเวียนของลมปราณดีขึ้น ขับ ถ่ายได้เป็นปกติดี 4.4 พิจารณาไตรลักษณ์ของสุขลวง ที่ใจของเราสร้างทุกข์ขึ้นมาทับถมตัวเอง และกับสุขที่ไม่มีจริง 4.4.1 อนิจจัง –ความสุขที่ได้จากการสร้างความอยากเป็นอาการที่ไม่เที่ยง เกิด ขึ้นมาก็ด้วยใจของเราที่ไม่แน่นอน ไม่มั่นคง 4.4.2 ทุกขัง – อาการเป็นทุกข์ของใจ 4.4.3 อนัตตา- อาการของใจที่ไม่มีตัวตน เกิดแต่ใจที่นึกคิดไปต่างๆนานา โดยแท้จริงแล้วความทุกข์ที่เกิดจากความต้องการนั้น เกิดขึ้น ตั้งอยู่ไม่นาน แล้วก็ดับไป ด้วยการสละ สละคืน ปล่อยไป ไม่พัวพัน ไม่ให้กลับมากำเริบอีก ก็ทำให้สุข ใจได้ในทุกๆปัจจุบัน แม้ไม่ได้ดั่งใจอยาก เจริญธรรมสำนึกดี มีใจไร้ทุกข์ เป็นสุขใจให้ได้ ในทุกๆปัจจุบัน Reply ประพันธ์ โพธิ์คำ เท่ ใจถึงศีล กล้าจน November 23, 2022 at 6:05 am สภาวธรรมประจำสัปดาห์ ณ วันอังคาร ที่ 22 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2565 ชื่อเรื่อง โอ้ยปวดฟันซี่เดิมอีกแล้ว ทำไงดี เนื้อเรื่อง วันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ.2565 เวลาเช้าตรู่ 3.00 นาฬิกา ตรงกับเวลา ในประเทศไทย 16.00 นาฬิกา(บ่ายสี่โมง) ซึ่งเป็นเวลาของรายการสายด่วน ถาม-ตอบ ปัญหาสุขภาพ อ่านบททบทวนธรรม แบ่งปันประสบการณ์การนำบททบทวนธรรมไป ใช้ในชีวิตประจำวัน ได้มีอาการปวดฟันซี่ที่เป็นเขี้ยวเล็กน้อย จนกระทั่งเวลาล่วงไปจนถึง เวลาประมาณ 14.00 นาฬิกา ตรงกับเวลาในประเทศไทยที่ ตี 3.00(3.00 นาฬิกาเช้า) เป็นช่วงเวลาของรายการธรรมะรับอรุณ แต่ในขณะเดียวกันต้องทำการตัดต่อวิดีโอชุดส่ง การบ้านของวันที่ 11 พฤศจิกายน 2565 เพื่อส่งให้จิตอาสานำไปถอดออกมาเป็นเอกสาร เผยแพร่ให้จิตอาสาห้องต่างๆในโปรแกรมไลน์ ทั้งนี้ ทั้งนั้น เพื่อเป็นการผ่อนคลายอาการ ปวดฟันและบำเพ็ญบุญให้กับหมู่มิตรดี แต่ดูประหนึ่งว่าอาการทางร่างกายที่ปวดฟันจะยิ่ง มีอาการปวดมากขึ้น จึงได้นำน้ำ 4 พลัง ที่ทำเอาไว้ใช้ในยามฉุกเฉินผสมกับยาสีฟันผง ของแพทย์วิถีธรรม และได้เอามาอมไว้ในปากเพื่อลดพิษร้อนในช่องปาก ลดอาการปวด ฟัน แต่ก็ยังคงบรรเทาอาการปวดฟันลงไปได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่ยังแถมด้วยอาการ หนาวสะท้านคล้ายๆจะเป็นไขั จึงได้ทำการสวนล้างลำไส้ใหญ่ด้วยน้ำสมุนไพรในตัวล้วนๆ เพื่อระบายพิษร้อนออกจากร่างกายให้เร็วที่สุด ตามที่จิตอาสาท่านอื่นๆได้แบ่งปันประสบ ให้ชม ฟัง ในรายการอพทย์แผนไทยวิถีธรรมค้ำจุนโรค ก็ทำให้อาการทุกข์ทางร่างกายได้ ทุเลาเป็นอันมาก(ในขณะที่ทำการบ้านนี้อยู่ อาการปวดฟัน ทุเลา เบาบางลงมากแล้ว ซึ่ง ในทุกช่วงเวลาที่ผ่านมานั้น ได้ทำการอมน้ำพลัง 4 ผสมกันยาสีฟัน และทำการตรวจวัดใจ ตลอดเวลาว่าทุกข์ใจหรือไม่ คำสำคัญ ถ้าเราดับทุกข์ใจได้ ก็ไม่มีทุกข์อะไรที่ดับไม่ได้ ประโยคสำคัญ ตามพระไตรปิฎก เล่มที่ 19 ข้อ 1717 “พึงกระทำความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความไม่ย่นย่อ ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะ อย่างแรงกล้า เพื่อตรัสรู้อริยสัจ ๔” :- 1-ทุกขอริยสัจ อึดอัด รำคาญ วิตก กังวล ร้อนรุ่ม กลุ้มใจ ในอาการปวดฟันซี่ดังกล่าว 2. ทุกขสมุทัยอริยสัจ ตัณหาคือความอยากให้อาการปวดฟันหายไปโดยเร็ว 3- ทุกขนิโรธอริยสัจ ตัณหาดับโดยไม่เหลือ แม้อาการปวดฟันจะทุเลาลงเพียงเล็กน้อย ก็ ไม่ทำให้ทุกข์ใจ ร่างกายมีอาการป่วยแต่ใจมิได้ป่วยตามไปด้วย 4. ทุกขนิโรธอคามินีปฏิปทาอริยสัจ 4.1-พิจารณาวิบากกรรมที่เกิดขึ้นมานี้ คงเป็นเพราะกินอาหารมากเกินไป ใช้ฟัน กัด เคี้ยวอาหารมากเกินไป และเตรี่ยมทำอาหารปรุงรส พะโล้หน่อไม้จีน 4.2-พิจารณาโทษ ของความอยาก จากการที่ผิดอริยศีลที่ได้เคยตั้งเอาไว้ อยาก กินอาหารปรุงรสจัดจึงเป็นเหตุให้วิบากร้ายและกิเลสมาเตือน ดังนั้นเมื่อมาถึง ณ.เวลานี้ ทำให้อาการปวดฟันที่ปวดมาทั้งวัน มีอาการปวดที่ทุเลาลงเป็นอย่างมาก แต่เมื่อได้เห็นโทษอย่างแท้จริง ทำให้บังเกิดความสำนึกผิดตามบททบทวนธรรม ข้อที่ 22. ถ้าใครมีปัญหาหรือความ เจ็บป่วยในชีวิต ให้ทำความดี 4 อย่างนี้ ด้วยความยินดี จริงใจ จะช่วยให้ปัญหาหรือความเจ็บป่วย ลดลงได้เร็ว ๑) สำนึกผิด หรือ ยอมรับผิด ๒) ขอรับโทษ เต็มใจรับโทษ หรือ ขออโหสิกรรม ๓) ตั้งจิตหยุดสิ่งที่ไม่ดีอันนั้น ๔) ตั้งจิตทำความดีให้มาก ๆ คือ ลดกิเลสให้มาก ๆ เกื้อกูลผองชนและหมู่สัตว์ให้มาก ๆ 4.3-พิจารณาประโยชน์ของการไม่มีความอยาก ทำให้ระลึกได้ว่าการผิดต่อศีล ดื้อต่อศีล ทำให้เกิดความ ทุกข์หนัก ทุกข์หนักมาก ทุกข์หนักที่สุด แล้วอย่างนี้จะสร้าง ทุกข์ทับถมตัวเอง และ 4.4 พิจารณาไตรลักษณ์ของสุขลวง 4.4.1 อนิจจัง –เป็นอาการของการอยากได้ความสุขเพียงชั่วครู่แค่ยัดอาหารที่ต้อง การ ที่อยากกิน เป็นความสุข ที่ไม่เที่ยง เกิดขึ้นมาก็ด้วยใจของเราที่ไม่แน่นอน ไม่มั่นคง 4.4.2 ทุกขัง – อาการเป็นทุกข์ของใจที่ต้องการจะสร้างสุขที่ไม่มีอยู่จริง 4.4.3 อนัตตา- อาการของใจเป็นสุขที่ไม่มีตัวตน เกิดแต่ใจที่นึกคิดไปต่างๆนานา เท่านั้น โดยแท้จริงแล้วความทุกข์ที่เกิดจากความต้องการนั้น เกิดขึ้น ตั้งอยู่ไม่นาน แล้วก็ดับไป ด้วยการสละ สละคืน ปล่อยไป ไม่พัวพัน ก็ทำให้สุขใจได้ในทุกๆปัจจุบัน แม้ไม่ได้ดั่งใจอยาก เจริญธรรมสำนึกดี มีใจไร้ทุกข์ ใจเย็นให้ได้ให้ได้ในทุกๆปัจจุบัน Reply ประพันธ์ โพธิ์คำ เท่ ใจถึงศีล กล้าจน November 24, 2022 at 5:43 am การบ้าน พุทธชนะทุกข์-อริยสัจ 4 ซึ่งเป็นตอนที่ 4 สภาวธรรมประจำสัปดาห์ ณ วันจันทร์ที่ 23 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2565 ชื่อเรื่อง ไม่ได้ดั่งใจอีกแล้ว เนื้อเรื่อง ได้ผ่านการติดต่ออละช่วยเหลือการตั้งค่าการใช้งานของเครื่องแท๊ปเล็ท จาก ช่างเทคนิคของศูนย์บริการการใช้โทรศัพท์เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 17 พฤศจิกายน 2565 ที่ผ่าน และให้พนักงานของร้านฯช่วยเหลือในการตั้งค่าการใช้แท๊ปเล็ทในช่วงวันพุธที่ 23 พฤศจิกายน 2565 แต่ปรากฎว่าพนักงานของศุนย์บริการก็ไม่อาจให้ความช่วยเหลือในการ ปลดล๊อคเครื่องแท๊ปเล็ทได้ และได้บอกว่าจะสั่งแท๊ปเล็ทเครื่องใหม่มาตั้งค่าการใช้งานให้ ใหม่อีกครั้งหนึ่งและให้นำแท๊ปเล็ทเครื่องที่มีปัญหาไปด้วย เพื่อจำได้ทำการตั้งค่าและถ่าย โอนข้อมูลต่างๆนำไปใส่ไว้ในเครื่องใหม่ ซึ่งต้องใช้เวลาในการสั่งแท็ปเล็ทเครื่องใหม่ ซึ่ง ต้องใช้เวลาประมาณ หนึ่งอาทิตย์กว่าๆ คำสำคัญ แม้ต้องเผชิญกับปัญหาเดิมๆ ก็เป็นสุขใจได้ ประโยคสำคัญ ตามพระไตรปิฎก เล่มที่ 19 ข้อ 1717 “พึงกระทำความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความไม่ย่นย่อ ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะ อย่างแรงกล้า เพื่อตรัสรู้อริยสัจ 4” :- 1-ทุกขอริยสัจ ร้อนใจที่พนักงานของศูนย์บริการทั้งสองท่านอุตส่าห์ช่วยเหลือในการ ตั้งค่าการใช้งาน ก็ยังไม่อาจจะติดตั้งการใช้ให้ได้ 2. ทุกขสมุทัยอริยสัจ ไม่ได้ดั่งใจที่อยากให้แท๊ปเล็ทใช้งานได้ ยึดมั่นถือมั่นว่าพนักงาน ที่ศูนย์บริการต้องช่วยเหลือได้ดั่งที่ใจต้องการ ได้สมใจจะสุขใจ ไม่ได้สมใจจะทุกข์ใจ 3- ทุกขนิโรธอริยสัจ ตัณหาดับโดยไม่เหลือ ด้วยการไม่ทุกข์ใจ แม้ไม่ได้ดั่งที่ใจต้องการ พนักงานให้บริการจะให้ความช่วยเหลือไม่ได้ ก็ไม่ทุกข์ใจ 4. ทุกขนิโรธอคามินีปฏิปทาอริยสัจ 4.1-พิจารณาวิบากกรรม ที่ได้เคยทำไม่ดีกับผู้อื่น ที่มีลักษณะของการหน่วงเหนี่ยว ข้อมูล หลักฐาน เอกสาร ต่างๆที่ใช้ในการดำเนินคดีและใช้ในการประสานงานกับหน่วยงาน ต่างๆ ซึ่งเป็นวิบากร้ายที่หนักและมีมากมาย 4.2-พิจารณาโทษ ของความอยากที่ให้ได้ดั่งใจ ได้บังเกิดความไม่สบายเนื้อไม่ กาย ไม่สบายใจ เป็นทุกข์ทั้งกายและใจ แต่เมื่อได้เห็นโทษอย่างแท้จริงแล้วทำให้บังเกิดความสำนึกได้ว่า เมื่อเกิดทุกข์ใจ ทุกข์กาย เรื่องร้ายเข้ามาในชีวิต เขามาเพื่อ ให้เราได้ชดใช้ ให้เราไม่ประมาท ให้เราเพิ่ม อริยศีล ให้เราได้สำนึก ให้เราได้หมดวิบาก 4.3-พิจารณาประโยชน์ของการไม่มีความอยาก ทำให้อาการไม่สบายเนื้อไม่สบาย กาย ไม่สบายใจ ผ่อนคลายจนกระทั่งเข้าสู่สภาวะปกติของร่างกายและจิตใจ 4.4 พิจารณาไตรลักษณ์ของสุขลวง 4.4.1 อนิจจัง –เป็นอาการที่ไม่เที่ยงของความเป็นทุกข์ที่เกิดจากใจที่สร้างขึ้นมา เอง 4.4.2 ทุกขัง – อาการเป็นทุกข์ของใจเพราะสร้างทุข์ขึ้นมาเพื่อแลกกับสุขที่ไม่ ยั่งยืน ไม่มีแก่นสารใดๆทั้งสิ้น 4.4.3 อนัตตา- อาการของความสุขใจที่ไม่มีตัวตน นึก คิด ขึ้นมาเอง ด้วยการ แสวงหาในสิ่งที่ไม่ยั่งยืน ไม่คงที่ โดยแท้จริง ความทุกข์ที่เกิดจากความต้องการนั้น เกิดขึ้น ตั้งอยู่ไม่นานก็ดับไป ด้วยการสละ สละคืน ปล่อยไป ไม่พัวพัน ก็ทำให้สุขใจได้ในทุกๆปัจจุบัน ที่ไม่ได้ดั่งใจ อยาก เจริญธรรมสำนึกดี มีใจไร้ทุกข์ ในทุกๆปัจจุบัน Reply ประภาพรรณ โอษฐ์ยิ้มพราย November 24, 2022 at 6:38 pm อริยสัจ4 เรื่อง พ่อบ้านอยากทำนา ข้าพเจ้าพูดหลายครั้งแล้วว่า อย่าอยากทำนานักเลย มาช่วยกันปลูกผัก ผลไม้กินกันดีกว่า ข้าวไม่ต้องกลัวไม่มีกินหรอก อาจารย์ท่านไม่ปล่อยให้ลูกศิษย์ไม่มีข้าวกินแน่ ซื้อที่อาจารย์กับบ้านราช ก็มีขาย ก็ไม่ฟัง ทำไปทำมาก็มาเอาที่สวนหลังบ้านทำนา ทุกข์ ไม่พอใจที่พ่อบ้านทำนา สมุทัย อยากให้ปลูกผัก ผลไม้ นิโรธ พ่อบ้านจะทำนาหรือไม่ทำ เราก็ไม่ทุกข์ใจ มรรค. เมื่อเราบอกแล้วพ่อบ้านไม่ฟังและไม่ทำตามความเห็นของเราไม่สมใจเราที่ตั้งใจไว้ก็ดีแล้วที่เราไม่ถูกกิเลสเราหลอก เวลานี้ไม่ใช่เวลาที่จะได้สมใจอยากปลูกผักตามความเห็นของเรา อยากให้สมดั่งใจหมายนั้นมันไม่เที่ยง มันเป็นทุกข์ สุขแป๊ปเดียวเดี๋ยวมันก็หายไป เมื่อพิจารณาดังนั้นก็เข้าใจ มันเป็นสุขลวง เราถูกกิเลสมันหลอก ก็เลยเปลี่ยนความคิดให้ใจเป็นสุข จะเอาทุกข์เข้าตัวทำไม ทำนาก็ได้ข้าวจะมากหรือน้อยก็สุดแท้แต่ท่านตามกุศลอกุศลของท่าน เราต้องยินดีกับท่าน ล้างความยึดมั่นถือมั่น ด้วยความสุขสบายใจไร้กังวล ไม่วิวาท ยินดีที่ท่านทำนาปลูกข้าว ตามที่ท่านตั้งใจ เมื่อใจมีความยินดีกับท่านก็เบิกบาน แจ่มใส ใจเป็นสุข ประภาพรรณ โอษฐ์ยิ้มพราย นศ.วิชชารามระดับอริยะปัญญาตรี ชั้นปีที่1 Reply ประภาพรรณ โอษฐ์ยิ้มพราย November 24, 2022 at 6:43 pm พุทธะชนะทุกข์ เรื่อง วิบากต้องรับ วันที่8 ก.ย.65 เวลาตี2 เกิดอาการคันตรงเหนือเข่าข้างขวา ธาตุไฟกำเริบ คันมาก ก็ลูบขาไม่ได้เกาแล้วหลับต่อ ตื่นมาตี3ครึ่ง ตุ่มพองขึ้นเม็ดใหญ่ เป็นกลุ่มหลายเม็ด ไม่เจ็บ วันนี้ต้องเดินทางไปสวน3ปทุม เพื่อเข้าค่ายพักค้าง3วัน ระหว่างทางก็คิดไว้แล้วว่าลงของที่แบ่งปันเสร็จก็จะกลับเพราะไม่สะดวกในหลายเรื่องและต้องมารักษาแผลพุพองที่เกิดขึ้นด้วยยา9เม็ดตรวจดูใจที่เห็นตุ่มพองก็ไม่ได้ทุกข์ใจอะไร เพราะสาเหตุที่เกิดเราเป็นคนทำเอง เพราะกินเต้าหู้ทอด เต้าหู้ซื้อมาแล้วมาทอดเองแม้น้ำมันน้อยก็ทำให้เกิดพิษแก่เราได้ ก็ใช้ผงพอกมาพอกแผลทุกวัน ดีท็อกทุกวัน ใช้น้ำปัสสาวะเช็ดและใช้สำลีโปะแผลไว้ตลอดคืน ดื่มสมุนไพรในตัว และน้ำสมุนไพรสดที่ปั่น ก่อนนอนดื่มน้ำ5พลัง ช่วงอาหารกินตามลำดับ กินผักสด ข้าวโรยเกลือผักต้ม ส่วนมากจะเป็นผักฤทธิ์เย็น มีข้าวโพดต้ม ฤทธิ์ร้อนที่กินมีมันต้มลูกเล็ก1ลูก เพื่อปรับสมดุล ถั่วที่มีฤทธิ์เย็น และลูกเดือย นอกจากนี้แล้ว เม็ดที่6ก็ทำทุกวัน และเม็ดที่เลิศสุดคือเม็ดที่8คือฟังธรรมท่านอาจารย์ และ สิ่งสำคัญอีกอย่างคือเชื่อเรื่องกรรม วิบากกรรมที่ได้รับคือเราทำมาจึงต้องรับผลกรรมที่ทำมาด้วยใจที่ไร้ทุกข์ ในการรักษาด้วยยา 9เม็ดนี้ สิ่งสำคัญที่สุดคือ ไม่เร่งผล ไม่กังวล ทำไปด้วยใจไม่ทุกข์ จะใช้เม็ดไหนๆก็แล้วแต่ที่เราสะดวก เจ็บป่วยครั้งนี้ใช้เวลาดูแลรักษา5วันแผลก็แห้งหาย อริยสัจ4 ทุกข์ กังวลใจแผลพุพองที่เกิดขึ้น สมุทัย ไม่อยากให้เกิดแผล นิโรธ แผลจะเกิดหรือไม่เกิด ก็ยินดีรับด้วยใจที่ เป็นสุข มรรค. เพราะกิเลสที่อยากกินๆแล้วตุ่มพองขึ้นทำให้ทุกข์เบียดเบียนตนเองและเหนี่ยวนำผู้อื่นเป็นตามทำให้เสียแรงเสียเวลาต้องมาดูแลตัวเองให้หายปรับสมดุลร่างกายแทนที่จะเอาเวลาไปทำกุศลวิบากร้ายที่เกิดขึ้นส่งผลให้ทุกข์ทางกาย สิ่งที่ได้รับคือสิ่งที่เราทำมา รับแล้วก็หมดไป ต้องยอมรับความจริงที่เกิดขึ้นและยอมรับผิดตั้งจิตหยุดสิ่งที่ไม่ดีนั้นและทางใจ เราต้องยินดีรับผลกรรมนั้น วิบากตัองรับกิเลสต้องล้างพุทธะจึงจะเกิดเหตุการณ์นี้ทำให้เราได้เรียนรู้ทุกข์ที่อยากกิน เราได้ใช้วิบากด้วยใจที่เป็นสุข ใจไร้ทุกข์ เราไม่ทำทุกข์ทับถมตนเชื่อในวิบากกรรมที่เราทำมาด้วยใจที่ยินดี ประภาพรรณ โอษฐ์ยิ้มพราย นศ.วิชชาราม ระดับอริยะปัญญาตรีชั้นปีที่1 Reply ประภาพรรณ โอษฐ์ยิ้มพราย November 24, 2022 at 6:49 pm พุทธะชนะทุกข์ เรื่อง พ่อบ้านรักษาแพทย์ทางเลือก พ่อบ้านกับลูกสาวพากันไปรักษาตาที่ผ่าตัดมาแล้วมองไม่ชัดกับแพทย์ทางเลือกซึ่งไม่เห็นด้วยเพราะเสียเงินมากแต่ละครั้ง เสียเวลาขับรถไปอีกการรักษามีกัวซา ครอบแก้ว บ่งต้อด้วยหนามหวายรักษาตาต้อ และโรคต่างๆ อยากให้มาดูแลแบบ พวธ.มากกว่า ทุกข์ ไม่ยินดี ไม่ชอบ ไม่เห็นด้วย ไม่สุขสมใจ ที่พ่อบ้านไปรักษาแพทย์ทางเลือก สมุทัย อยากให้พ่อบ้านรักษาแบบ พวธ.จะสุขใจ พอใจ สมใจตามที่ตั้งใจไว้ นิโรธ พ่อบ้านจะรักษาทางไหนก็ยินดี สุขใจ พอใจยินดีกับท่าน มรรค เมื่อท่านได้ตัดสินใจเลือกแล้วที่จะรักษาวิธีนั้น ตามกุศลอกุศลตามกรรม วิบากที่ทำมา แนะนำแล้ว บอกแล้ว ไม่ทำตามเพราะเราไม่ใช่สัตบุรุษของท่านเมื่อใดที่ท่านเห็นทุกข์จะเห็นธรรม พิจารณาไตรลักษณ์ เห็นความไม่เที่ยง มันเป็นทุกข์ มันไม่น่ามีไม่น่าได้ไม่น่าเป็น แม้ได้สมดั่งใจ ว่ามันมีสุข มันไม่มี สุขไม่มีจริง มันเป็นสุขลวงสุขแป๊ปเดียวก็หมดไป สุขใจที่ให้ได้ดั่งใจ ไม่มี มันมีแต่ทุกข์ มันไม่เที่ยง เหนี่ยวนำให้ผู้อื่นเป็นตาม พิจารณาซ้ำๆไป จนมันสลายหายไปล้างความยึดมั่นถือมั่น ล้างสุขใจที่ไม่ได้สมดั่งใจอยากให้ได้ ด้วยความยินดี เต็มใจ สุขใจ ด้วยใจไร้ทุกข์ ใจดีงาม ประภาพรรณ โอษฐ์ยิ้มพราย นศ.อริยะปัญญาตรี ปีที่1 Reply ประพันธ์ โพธิ์คำ เท่ ใจถึงศีล กล้าจน November 29, 2022 at 7:20 am สภาวธรรมประจำสัปดาห์ ณ วันจันทร์ที่ 28 เดือน พฤศจิกายน ศ.2565 ชื่อเรื่อง โล่งอกไปที เนื้อเรื่อง เมื่อวันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ.2565 ได้รับการติดต่อกลับมาจากอู่ซ่อม รถยนต์ที่เอารถยนต์ส่วนตัวไปทำการซ่อมส่วนที่ขำรุดเสียหายว่า การที่รถยนต์ซ่อมล่าช้า เป็นเพราะช่างเทคนิคที่ทำการซ่อมรถยนต์นั้นไม่สบายด้วยสาเหตุโรคประจำตัว จึงทำให้ ไม่สามารถทำการซ่อมรถยนต์และทำให้การซ่อมรถยนต์เสร็จล่าช้า ดังนั้นความคลาง แคลงใจที่คิดไปเองว่าทำไมจึงทำการซ่อมรถยนต์ไม่เสร็จซะที คำสำคัญ คลายความคลางแตลงใจ ประโยคสำคัญ ตามพระไตรปิฎก เล่มที่ 19 ข้อ 1717 “พึงกระทำความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความไม่ย่นย่อ ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะ อย่างแรงกล้า เพื่อตรัสรู้อริยสัจ ๔” :- 1-ทุกขอริยสัจ ความวิตก วามกังวล ความคลางแตลงใจ ที่เกิดจากรถยนต์ส่วนตัวที่ ส่งไปซ่อมนั้น ทำไมจึงซ่อมไม่เสร็จซะที 2. ทุกขสมุทัยอริยสัจ ตัณหา ความอยากให้รถยนต์ซ่อมเสร็จเร็วๆ เพื่อให้ได้สมใจจะสุข ใจ ไม่ได้สมใจจะทุกข์ใจ 3- ทุกขนิโรธอริยสัจ ตัณหาดับโดยไม่เหลือ กล่าวคือ อู่ซ่อมรถยนต์ได้แจ้งให้ทราบว่า ช่างเทคนิคที่ทำการซ่อมรถยนต์ไม่สบายด้วยสาเหตุโรคประจำตัว จึงไม่อาจซ่อมรถยนต์ ให้เสร็จในเร็ววันได้ จึงทำใจได้ว่ารถยนต์จะซ่อมเสร็จหรือยังไม่เสร็จ ก็ไม่ทุกข์ใจจะเสร็จ เมื่อไหร๋ ก็เมื่อนั้น เป็นสุขใจ ไร้ทุกข์ ไร้กังวล ไร้ความคลางแคลงใจ 4. ทุกขนิโรธอคามินีปฏิปทาอริยสัจ 4.1-พิจารณาวิบากกรรม ที่อดีตได้เคยทำไว้นั้น หนักหนาสาหัส สากรรจ์มากๆ จึง ทำให้ต้องรับวิบากร้ายในครั้งนี้อย่างต่อเนื่องมาเป็นเดือนก็ยังไม่หมดไป แม้จะทำใจให้ หายจากทุกข์มาสามถึงสี่รอบแล้วก็ตาม 4.2-พิจารณาโทษ ของความอยากให้ได้ดั่งใจ จึงเกิดความวิตก ความกังวล ความคลางแลงใจ ทั้งใจและกาย แต่เมื่อได้เห็นโทษอย่างแท้จริง ทำให้บังเกิดการคลายความวิตก ความกังวล ความคลางแคลงใจ 4.3-พิจารณาประโยชน์ของการไม่มีความอยาก กล่าวคือ ได้มีโอกาสเห็นกิเลส และวิบากร้าย ให้ได้ระลึกอดีตและปัจจุบันที่เคยกระทำผิดพลาด ตลอดจนฝึกฝนตัวเอง ในการพิจารณารับมือกับกิเลส ในแง่และเหลี่ยมมุมตางๆมากยิ่งขึ้น อีกทั้งทำให้แก้ไข สถานการณ์ เหตุการณ์ ต่างๆทั้งในด้านจิตใจและร่างกายอย่างมีประสิทธิภาพ 4.4 พิจารณาไตรลักษณ์ของสุขลวง 4.4.1 ทุกขัง – ความวิตก กังวล คลางแคลงใจ ล้วนเป็นสิ่งที่ใจปรุงแต่งขึ้นนมา ให้บังเกิดความทุกข์เองทั้งสิ้น 4.4.2 อนิจจัง –ความวิตก กังวล คลางแคลงใจ ล้วนเป็นสิ่งไม่เที่ยง เกิดขึ้นมาก็ ด้วยใจที่ไม่แน่นอนไม่มั่นคง 4.4.3 อนัตตา-ความวิตก กังวล คลางแคลงใจ ล้วนเป็นสิ่งไม่มีตัวตน เกิดแต่ใจที่ นึกคิดไปต่างๆนานา โดยแท้จริงแล้วความทุกข์ที่เกิดจากความต้องการนั้น เมื่อเกิดขึ้นมาแล้ว ต้อง เพียรพยายามอยาให้ตั้งอยู่นานและรีบเร่งขจัดให้ออกไปหมดไปโดยเร็ว ก็จะทำให้ ทุกข์ฃที่เกิดขึ้นนั้นดับไป ด้วยวิราคะ คือสละ สละคืน ปล่อยไป ไม่พัวพัน และไม่ให้ กลับมากำเริบอีก ก็ทำให้เป็นสุขใจได้ในทุกๆปัจจุบัน แม้ไม่ได้ดั่งใจที่อยาก เจริญธรรมสำนึกดี มีใจไร้ทุกข์ ในทุกๆปัจจุบัน Reply ประพันธ์+โพธิ์คำ+เท่+ใจถึงศีล+กล้าจน December 21, 2022 at 4:50 am สภาวธรรมประจำสัปดาห์ ณ วัน ศุกร์ ที่ 16 เดือน ธันวาคม พ.ศ.2565 ชื่อเรื่อง ไม่ได้ดั่งที่ใจต้องการ เนื้อเรื่อง เมื่อวันศุกร์ที่ 16 ธันวาคมพ.ศ.2565 ได้มีโอกาสช่วยงานของโรงเรียน วัดพุทธดัลลัส เกี่ยวกับการควบคุมเครื่องเสียงในด้านการใช้ไมโครโฟนและการ เชื่อมต่อระหว่างแล๊ปท๊อปเพื่อใช้ในการเปิดเพลงประกอบการแสดงชุดต่างๆกับ เครื่องควบคุมเสียง(มิกเซอร์) ในการดำเนินการนี้ ได้มีการจัดซื้อไมโครโฟนไร้สาย ชุดใหม่เพื่อนำมาใช้ในงานดังกล่าว แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ ผู้ที่ซื้อไมโครโฟนชุดใหม่ มานั้น ไม่ได้ซื้อสายเคเบิ้ลที่ใช้สำหรับเชื่อมต่อระหว่างเครื่องรับสัญญาณจากไมโคร โฟนกับเครื่องควบคุมเสียง(มิกเซอร์) คำสำคัญ ปัญหา คือ เครื่องมือฝึกใจที่ดีที่สุดในโลก ประโยคสำคัญ ตามพระไตรปิฎก เล่มที่ 19 ข้อ 1717 “พึงกระทำความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความไม่ย่นย่อ ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะ อย่างแรงกล้า เพื่อตรัสรู้อริยสัจ ๔” :- 1-ทุกขอริยสัจ อุปกรณ์ประกอบการใช้งานมีไม่ครบ ไม่ได้จัดซื้อมา 2. ทุกขสมุทัยอริยสัจ อยากได้ อยากมีอุปรณ์การใช้งานให้ครบ 3- ทุกขนิโรธอริยสัจ ตัณหาดับโดยไม่เหลือ แม้ไม่มีอุปรณ์มากับชุดไมโครโฟนที่จัดซื้อ มาใหม่ ก็ไม่ทุกข์ใจ ใช้อุปกรณ์อื่นใช้ทดแทนกัน 4. ทุกขนิโรธอคามินีปฏิปทาอริยสัจ 4.1-พิจารณาวิบากกรรม ตามบททบทวนธรรม ดังต่อไปนี้ สิ่งที่เราได้รับ คือ สิ่งที่ เราทำมา ไม่มีสิ่งใดที่เราได้รับโดยท่เราไม่เคยทำมา 4.2-พิจารณาโทษ ของความอยาก ทำให้เกิดความหงุดหงิด ไม่พอใจ ไม่ได้ ดั่งที่ใจต้องการ แต่เมื่อได้เห็นโทษอย่างแท้จริง ทำให้บังเกิด ความพึงพอใจ แม้ไม่ได้ดั่งใจ ต้องการ ก็เป็นสุขใจทีเบิกบาน แจ่มใส 4.3-พิจารณาประโยชน์ของการไม่มีความอยาก ได้เห็นทุกข์ ได้ล้างทุกข์ และ ได้ชดใช้วิบากกรรมร้ายที่เคยทำไม่ดีมาก่อน 4.4 พิจารณาไตรลักษณ์ของสุขลวง 4.4.1 ทุกขัง – อาการเป็นทุกข์ของใจ ที่ไม่ได้ดั่งใจนั้น ก่อเกิดจากใจที่คิด คำนึง สร้างขึ้นมาในใจ ไม่ใช่ทุกข์ที่ตัวอุปรณ์ที่ไม่มี 4.4.2 อนิจจัง –เป็นอาการที่เกิดขึ้นที่ไม่เที่ยง เกิดขึ้นมาก็ด้วยใจของเราที่ไม่ แน่นอน ไม่มั่นคง ซึ่งไม่ควรที่ยึดติดกับอาการเหล่านั้น 4.4.3 อนัตตา- อาการของใจเป็นทุกข์ที่ไม่มีตัวตน เกิดแต่ใจที่นึกคิดไปต่างๆ นานา โดยแท้จริงแล้วความทุกข์ที่เกิดจากความต้องการนั้น เกิดขึ้น ตั้งอยู่ไม่นาน แล้วก็ดับไป ด้วยการสละ สละคืน ปล่อยไป ไม่พัวพัน ก็ทำให้สุขใจได้ในทุกๆปัจจุบัน แม้ไม่ได้ดั่งใจอยาก เจริญธรรมสำนึกดี มีใจไร้ทุกข์ ในทุกๆปัจจุบัน Reply
ประพันธ์ โพธิ์คำ เท่ ใจถึงศีล กล้าจน October 1, 2022 at 6:45 pm ชื่อเรื่อง :- แม้ไม่ได้ดั่งใจก็เป็นสุขใจได้ เนื้อเรื่อง เมื่อเวลาประมาณ 8.30 นาฬิกาของเช้าวันศุกร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ.2565 ได้ เกิดกระแสไฟฟ้าดับจนกระทั่งถึงเวลาประมาณ 9.30 นาฬิกา กระแสไฟฟ้าจึงกลับมาใช้ การได้ตามปรกติ แต่ในช่วงเวลาที่กระไฟฟ้ากระตุกและดับลงไปนั้น อยู่ในระหว่างการ บันทึกรายการแพทย์แผนไทยวิถีธรรมค้ำจุนโลก จึงทำให้การบันทึกรายการดังกล่าว ชงัก และ การบันทึกข้อความเกี่ยวกับการทำการบ้านอริยสัจ ๔ ได้รับผลกระทบกลาง คันไปด้วย ปรับสภาวะธรรมด้วยอริยสัจ ๔ และ มรรค ๘ :- 1-ทุกข์ คือ ความทุกข์ที่ได้รับคือทุกข์ที่เลี่ยงไม่ได้ เพราะเป็นทุกข์ที่อยู่เหนือความ หมายหรือคาดการณ์ใดๆได้ และทำให้สิ่งที่ต้องประสงค์จะกระทำนั้นชงักไปเป็นเวลา ถถถถถึงประมาณ 1 ชั่วโมง 2. สมุทัย คือ สาเหตุแห่งทุกข์นั้น เกิดความอยากให้กระไฟฟ้าไม่มีการดับ ความยึดมั่นถือมั่นว่ากระแสไฟฟ้าต้องมีตลอดเวลา ไม่มีการดับแต่อย่างใดทั้งสิ้น กระแสไฟฟ้าไม่ดับก็สมใจอย่างเป็นสุขใจ กระแสไฟฟ้าดับก็ทุกข์ใจ 3. นิโรธ คือ ความดับทุกข์หรือตัณหาดับโดยไม่หลือ แม้กระแสไฟฟ้วดับก็เป็นสุขใจได้ โชคดีแล้วที่กระไฟฟ้าดับ จะได้เปลี่ยนอิริยาบถของร่างกายบ้าง 4. มรรค คือ หนทางแห่งการดับทุกข์ วิธีการดับทุกข์ทั้งปวง พิจารณาวิบากกรรม ตามบททบทวนธรรม ข้อที่ ๑๑๗. ตอนหน้าไม่รู้ ตอนนี้สู้ ไม่ถอย สู้กิเลสอย่างรู้เพียรรู้พัก ข้อที่ ๑๑๘. ทุกอย่างล้มเหลวได้ แต่ “ใจ” ล้มเหลวไม่ได้ ข้อที่ ๑๑๙. ปัญหา คือ เครื่องมือฝึกใจที่ดีที่สุดในโลก ข้อที่ ๑๒๐. ปัญหาไม่เคยหมดไปจากชีวิตของเรา มีแต่ทุกข์เท่านั้น ที่หมดไปจาก ใจของเรา ข้อที่ ๑๒๑. โจทย์ทุกโจทย์ เหตุการณ์ทุกเหตุการณ์ เป็นเครื่องมือฝึกจิตของเรา ให้เป็นสุข อย่างถูกต้องตามธรรม ข้อที่ ๑๒๓. เจอผัสสะไม่ดี ได้โชค 3 ชั้น คือ ได้เห็นทุกข์ ได้ล้างทุกข์ และได้ใช้วิบาก ได้ใช้วิบากกรรมที่ไม่ดี ร้ายนั้นก็จะหมดไป ดีก็จะออกฤทธิ์ได้มากขึ้น ข้อที่ ๑๒๔. เกิดเป็นคน ต้องฝึกยิ้มรับสิ่งดีสิ่งร้ายด้วยใจที่เป็นสุขให้ได้ พิจารณาโทษ ของความอยาก ไม่ให้กระแสไฟฟ้าดับนั้น ทำให้ใจของเรากระวน กระวาย ไม่ได้ดั่งสมใจอยาก และเมื่อทุกข์ใจเกิดขึ้น ก็ทำให้มีผลกระทบต่อร่างกายไป ด้วย นั่นก็คือ กล้ามเนื้อก้านคอตึงขึ้นมาทันที แต่เมื่อใจยอมรับว่าทุกข์กรพแสไฟฟ้าดับได้ดั่งใจอยาก ก็ทำให้ผลกระทบที่มีต่อ ร่างกายนั้น ผ่อนคลาย ไม่แข็งตึง และเมื่อได้เห็นโทษอย่างแท้จริง ก็ทำให้ตัวของเรา ขจัดทุกข์นั้นๆได้ด้วยการเป็นสุขใจได้แม้ไม่ได้ดั่งใจที่อยาก พิจารณาประโยชน์ของการไม่มีความอยาก ได้รับความสบายใจ พอใจ ได้รับ โอกาสที่ใจของเราได้พักผ่อนที่จะมีกำลังใจทำงานอย่างอื่นต่อไป พิจารณาไตรลักษณ์ของสุขลวง ซึ่งโดยแท้จริงแล้วความต้องการ ความอยาก ได้ตามที่ใจต้องการนั้นก็เป็นเพียงช่วงระยเวลาสั้นๆ ไม่ยั่งยืนตลอดไปสุขใจได้ในทุกๆ ปัจจุบัน แม้ไม่ได้ดั่งใจอยาก เจริญธรรมสำนึกดี มีใจไร้ทุกข์ ให้ได้ในทุกๆปัจจุบัน Reply
ประพันธ์ โพธิ์คำ เท่ ใจถึงศีล กล้าจน October 1, 2022 at 7:16 pm ชื่อเรื่อง :- เกือบไปแล้วเชียว เนื้อเรื่อง ในช่วงเวลาระหว่าง 10.30 ถึง 11.00 ของวันศุกร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ.2565 ขณะที่ขับรถยนต์เพื่อเดินทางไปทำงานตามปรกติและได้ขับรถยนต์มาถึงสี่แยก ซึ่ง สัญญาณไฟเป็นเขียวพอดี ในขณะที่กำลังจะขับรถยนต์ออกจากสี่แยกไปในทิศทาง และเส้นทางของตัวเองนั้น ก็ได้มีรถยนต์ที่ออกมาจากทางแยกตรงกันข้ามอย่างรวดเร็ว ในขณะที่สัญญาณไฟเปีนสีแดงโดบไม่ได้จอดรอสัญญาณไฟ ซึ่งตัวของเราเกือบจะ ร้องสบถออกไปและเกือบจะทำการหยุดรถยนต์ไม่ทัน ปรับสภาวะธรรมด้วยอริยสัจ ๔ และ มรรค ๘ :- 1-ทุกข์ คือ ทุกข์ใจ วิตก หวั่นเกรง ว่าจะเกิดอุบัติเหตุ 2. สมุทัย คือ สาเหตุแห่งทุกข์นั้น ไม่ได้สมใจอยากที่จะไม่ให้รถยนต์ฝ่าสัญญาณ ไฟแดง 3. นิโรธ คือ แม้ไม่ได้เป็นดั่งที่ใจเราต้องการ ก็เป็นสุขใจ เป็นสุขใจได้ในทุกๆปัจจุบัน 4. มรรค คือ หนทางแห่งการดับทุกข์ วิธีการดับทุกข์ทั้งปวง พิจารณาวิบากกรรม ตามบททบทวนธรรม ข้อที่ ๔๖. เกิดอะไร จงท่องไว้ “กู-เรา-ฉัน” ทำมา ข้อที่ ๔๗. เมื่อมีเรื่องไม่ชอบใจ ไม่เข้าใจ แล้วเกิดคำถามว่า ทำไมๆๆ ให้ตอบว่า ทำมาๆๆ พิจารณาโทษ ของความอยาก เป็นทุกข์ที่ไม่ได้ดั่งใจอยาก ที่อาจจะทำให้ ไม่มีสมาธิในการบังคับรถยนต์ และเมื่อได้เห็นโทษอย่างแท้จริง ก็ทำให้ตัวของเรา ขจัดทุกข์นั้นๆได้ด้วยการเป็นสุขใจได้แม้ไม่ได้ดั่งใจที่อยาก พิจารณาประโยชน์ของการไม่มีความอยาก ได้รับความสบายใจ พิจารณาไตรลักษณ์ของสุขลวง ซึ่งโดยแท้จริงแล้วรถยนต์ที่ขับมาถึงสี่แยกแล้ว ไม่ว่าจะในลักษณะใด ก็จะผ่านไป ไม่ได้จอดนิ่งอยู่กับที่ตรงสี่แยก แต่ใจของเราจะไป ยึดมั่นถือมั่นว่า จะให้เหตุการณ์นั้นดำรงคงอยู่ต่อไปก็ไม่ได้ ดังนั้นตัวของเราก็เป็นสุขใจ ได้ในทุกๆปัจจุบัน เจริญธรรมสำนึกดี มีใจไร้ทุกข์ ให้ได้ในทุกๆปัจจุบัน Reply
ประพันธ์ โพธิ์คำ เท่ ใจถึงศีล กล้าจน October 11, 2022 at 5:48 pm สภาวธรรมประจำสัปดาห์ ณ วันจันทร์ที่ ๑๐ เดือน ตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๕ ชื่อเรื่อง :- จะอะไรกันนักกันหนานะ เนื้อเรื่อง ในการปฏิบัติงานตามหน้าที่ ที่ได้รับมอบหมายในอาชีพ คือ การเป็นไดว์- เวอร์ หรือ ขับรถส่งอาหารตามสถานที่ต่างๆ เช่น บ้าน ร้านค้า สำนักงานต่างๆ อพาร์ท *เม้นต์ คอนโดมิเนี่ยม ประการแรก ในทุกๆรอบของการส่งอาหารให้ลูกค้าในสถานที่ต่างๆ ต้องรอรับ บรรจุภัณฑ์อาหารที่พนักงานฝ่ายที่ทำการบรรจุอาหารลงในถุงหรือกล่อง ก็จะได้รับ- ความไม่สมใจ ไม่ชอบใจ ในการบรรจุอาหารลงถุงหรือหีบห่อดั่งที่ต้องการ แม้บางครั้ง จะได้แนะนำการนำอาหารบรรลงในหีบห่อหรือกล่องอย่างไร ก็ไม่เคยกระทำตามที่ตัว ของเราได้แนะนำ ประการต่อมา คือ การเดินทางไปส่งอาหารให้กับลูกค้า จะถูกทางร้านอาหาร โทรศัพท์ติดตามตัว ทั้งการตรวจสอบความสมบูรณ์ของบรรจุหีบห่อ ไต่ถามถึงการ เดินทางว่าไปถึงไหน ได้เวลาเดินทางกลับร้านอาหารหรือยัง จะต้องใช้เวลานาน เพียงใดในการเดินทางกลับถึงร้านอาหาร ซึ่งเป็นการก่อให้เกิดความไม่พอใจ ไม่ ชอบใจ หงุดหงิด อึดอัดขัดเคืองใจ ปรับสภาวะธรรมด้วยอริยสัจ ๔ และ มรรคมีองค์ ๘ :- ๑-ทุกขอริยสัจ คือ ทุกข์ใจ ไม่พอใจ ไม่ชอบใจ ที่ต้องอยากให้คนอื่นๆกระทำในสิ่งที่ เราต้องการ ๒. ทุกขสมุทยอริยสัจ ต้นเหตุแห่งทุกข์ คือ ต้องการให้คนอื่นทำในสิ่งที่เราจะได้ อย่างสมใจอยากอย่างที่เราต้องการก็จะเป็นสุขใจ ไม่ได้สมใจยาก ไม่ได้อย่างที่ ตัวเราต้องการ ก็ทุกข์ใจ ๓. ทุกขนิโรธอริยสัจ คือ ความดับทุกข์หรือตัณหาดับโดยไม่หลือ ไม่ยึดมั่นถือมั่นใน เรื่องที่ต้องการ ไม่ได้ดั่งที่ใจต้องการ ไม่ได้ดั่งสมใจอยาก ก็เป็นสุขใจ ใจไร้ทุกข์ ไร้ คงามกังวล ไม่อึดอัด แม้จะต้องกระทำในสิ่งที่ไม่ต้องการ ก็เป็นสุจใจ เบิกบาน แจ่มใส ในทุกๆการกระทำ ณ.ปัจจุบัน ๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ หรือ มรรค คือ หนทางแห่งการดับทุกข์ หรือ วิธีการ ดับทุกข์ทั้งปวง พิจารณาวิบากกรรม และผลของกรรม ตามบททบทวนธรรม ดังต่อไปนี้ ข้อที่ ๙. ถ้าเรายังไม่เข้าใจคนอื่น แสดงว่าเรายังไม่เข้าใจตนเอง ข้อที่ ๑๖. มาตลีเทพสารถี คือ วิบากดีร้ายที่สร้างสิ่งดีร้ายให้ชีวิต เป็นสิ่งเตือน- *สิ่งบอกว่า อะไรเป็นกิเลสเป็นโทษ ให้ลดละเลิก อะไรเป็นบุญกุศลเป็นประโยชน์ ให้เข้าถึง อะไรเป็นโทษ ให้เว้นเสีย พิจารณาโทษ ของความอยาก คือการผิดศีล ดื้อต่อศีล ตามบททบทวนธรรม ข้อที่ ๕๕ อย่าดื้อต่อศีล ดื้อต่อศีล ทำให้ทุกข์หนัก ทุกข์หนักมาก ทุกข์หนักที่สุด แต่เมื่อได้เห็นโทษจึงได้ใช้บททบทวนธรรมข้อที่ ๒๑. การได้พบกับเหตุการณ์ที่ไม่ ถูกใจเรา ไม่ได้ดั่งใจเรา เป็นสุดยอดแห่งเครื่องมืออันล้ำค่า ที่ทำให้ได้ฝึกล้างกิเลส คือ ความหลงชิงชังรังเกียจ หลงยึดมั่นถือมั่นในใจเรา และทำให้ได้ล้างวิบากร้าย ของเราอย่างแท้จริง ทำให้ได้ขจัดทุกข์นั้นๆได้ด้วยการเป็นสุขใจได้แม้ไม่ได้ดั่งใจ พิจารณาประโยชน์ของการไม่มีความอยากได้อะไรๆจากคนอื่นๆ ทำให้ได้รับ ความสบายใจ ไม่อึดอัดขัดใจของตัวเอง ทำให้มีความตั้งใจมั่นในการขจัดกิเลส ที่เกิด ขึ้นมาในทุกๆขณะจิตของเรา เพื่อให้กิเลสตัวที่เกิดขึ้นมานั้นถูก สละ สละคืน ปล่อยไป ไม่พัวพันอีกต่อไป พิจารณาไตรลักษณ์ของสุขลวง ซึ่งโดยแท้จริงแล้วความต้องการ ความอยาก ได้ดดั่งใจของเราที่ต้องการนั้น เราก็ได้รับความดีใจ สมใจอยาก เพียวเดี๋ยวเดียว ชั่ว ครู่ชั่วยามเท่านั้น ไม่ได้มีความดีใจ สมใจอยากตลอดไป และตัวของเราก็จะต้องสร้าง ความต้องการ สร้างความอยากได้ใคร่ดีขึ้นมาใหม่ทุกๆครั้ง สับเปลี่ยนหมุนเวียนตลอด เวลา แล้วอย่างนี้จะสร้างความสุขลวงแต่ทุกข์ใจไปทำไม สุขใจได้ในทุกๆปัจจุบัน แม้ ไม่ได้ดั่งใจอยาก เจริญธรรมสำนึกดี มีใจไร้ทุกข์ ทำดีเรื่อยไปให้ได้ในทุกๆปัจจุบัน ——————————————————————————————— Reply
ประพันธ์ โพธิ์คำ เท่ ใจถึงศีล กล้าจน October 16, 2022 at 6:13 pm สภาวธรรมประจำสัปดาห์ ณ วันพฤหัสบดีที่ 13 เดือน ตุลาคม. พ.ศ.2565 ชื่อเรื่อง ขำขันในการกระทำโง่ โง่ ของตัวเอง เนื้อเรื่อง เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๕ เวลาประมาณ ๑๖.๓๐ นาฬิกา (เวลา 4.30 เอเอ็ม.ซึ่งเป็นเวลาท้องถิ่นในเมืองการ์แลนด์ เท็กซัส สหรัฐอเมริกา ใน ปฏิบัติงานขับรถยนต์ส่งอาหารให้ลูกค้าบนถนนแซ๊ทเทิร์นและกำลังจอดรอในช่องทาง ที่คิดว่าน่าจะจอดรถยนต์รอเพื่อเลี้ยวซ้ายเข้าถนนย่อยแต่ไม่อาจจะเลี้ยวเข้าถนนย่อย ในทันที เพราะรถยนต์ที่วิ่งสวนทางมามีมาก แต่ในขณะที่จอดรถยนต์รอให้เพื่อรถยนต์ ที่วิ่งสวนทางมาอยู่นั้นว่างลง ได้มีรถยนต์คันอื่นๆที่วิ่งตามมานั้นต้องหยุดชงักตามหลัง ไม่อาจจะวิ่งต่อไปได้ จึงได้กดแตรไล่อย่างต่อเนื่องจนกระทั่งสามารถเลี้ยวรถยนต์เข้าสู่ ถนนย่อยตามที่ต้องการได้สำเร็จ และเมื่อเลี้ยวรถยนต์เข้าสู่ถนนย่อยเสร็จสิ้น จึงได้ทำ การกดแตรตอบโต้ด้วยอารมณ์ที่ฉุนเฉียว ก่อการวิวาทะทางอารมณ์โกรธ ไม่พอใจ ไม่ ชอบใจ ต่อการกระทำของบุคคลอื่น แต่เมื่อได้ขับรถยนต์เข้าไปในถนนย่อก่อนที่จะถึงหน้าบ้านของลูกค้า จึงคิดได้ ว่า ตัวของเรา จะเกิดอารมณ์ ฉุนเฉียว โกรธ ไม่พอใจ ไม่ชอบใจ การกระทำของบุคคล อื่นๆไปทำไม แม้จะเกิดอารมณ์ประการใด คนอื่นๆก็ไม่อาจรับรู้ ไม่เห็น ต่ออารมรณ์ไม่ดี ของเรา ตัวของเราจะเป็นอย่างไร มีอารมร์อย่างไร ตัวของเราเองเท่านั้นที่ได้เห็น ได้รับ จึงเกิดการขำขันตัวเองขึ้นมาทันที่มีต่อการกระทำโง่ โง่ คำสำคัญ สิ่งที่ได้ คือ สิ่งที่เคยทำมา ปรับสภาวะธรรมด้วยอริยสัจ ๔ และ มรรค ๘ :- ๑-ทุกขอริยสัจ คือ สภาพของความเป็นทุกข์ใจเกิดอารมณ์ที่ฉุนเฉียว โกรธ ไม่พอใจ ไม่ชอบใจในการกระทำของบุคคลอื่น ๒. ทุกขสมุทยอริยสัจ คือ สาเหตุแห่งทุกข์นั้น เช่น เกิดความอยากให้ผู้อื่นกระทำใน สิ่งที่ต้องการก็เป็นสุขใจ ไม่ทำในสิ่งที่ต้องการตามที่สมใอยากก็ทุกข์ใจ ๓. ทุกขนิโรธอริยสัจ คือ ความดับทุกข์หรือตัณหาดับโดยไม่หลือ(วิราคะ สละ สละคืน ปล่อยไป ไม่พัวพัน) เช่น ไม่มีความอยากที่ต้องการจะเอาชนะผู้อื่นด้วยการแสดง อารมณ์กับตัวเอง ไม่มีวิวาทะลับหลังคนอื่น ไม่ยึดมั่นถือมั่นในการที่ต้องทำตามที่ตัวเรา เองต้องการ ไม่ได้สมใจอยากก็เป็นสุขใจ ใจไร้ทุกข์ ไร้กังวล ไม่อึดอัด แม้จะต้องกระทำ ในสิ่งที่ต้องการจะกระทำไม่ได้ก็เป็นสุจใจ มีความผาสุก เบิกบาน แจ่มใส ๔. ทุกขนิโรธอคามินีปฏิปทาอริยสัจ คือ หนทางแห่งการดับทุกข์ วิธีการดับทุกข์ ทั้งปวง ด้วยการวิธีการ ๔.๑-พิจารณาวิบากกรรม และผลของกรรม ตามบททบทวนธรรม ข้อที่ ๒.เราต้องรู้ว่า แต่ละคนมีฐานจิตแตกต่างกัน เราจึงควรประมาณการ กระทำ ให้เหมาะสมกับฐานจิตของเรา และฐานจิตของผู้อื่น “คิดดี พูดดี ทำดี ไว้ก่อน” ดีที่สุด ข้อที่ ๒๐. เมื่อเกิดสิ่งเลวร้ายกับเรา โลกนี้ไม่มีใครผิดต่อเรา เราเท่านั้นที่ผิด ต่อเรา คนอื่นที่ทำไม่ดีนั้น เขาผิดต่อตัวเขาเองเท่านั้น และเขาก็ต้องได้รับ วิบากร้ายนั้นเอง เขาจึงไม่ได้ผิดต่อเรา แต่เขานั้นผิดต่อตัวเขาเอง ถ้าเรายัง เห็นว่า คนที่ทำไม่ดีกับเรา เป็นคนผิดต่อเรา แสดงว่า เรานั่นแหละผิด อย่า โทษใครในโลกใบนี้ ผู้ใดที่โทษผู้อื่นว่าผิดต่อตัวเรา จะไม่มีทางบรรลุธรรม นี่ คือคนที่ไม่ยอมรับความจริง เพราะไม่เข้าใจเรื่อง “กรรม” อย่างแจ่มแจ้งว่า “ทุกสิ่งทุกอย่างที่ทุกคนได้รับ ล้วนเกิดจากการกระทำของตนเองเท่านั้น เมื่อ รับผลดีร้ายจากการกระทำแล้ว ผลนั้นก็จบดับไป และ สุดท้ายเมื่อปรินิพพาน ทุกคนก็ต้องสูญจากทั้งดีและร้ายไป ไม่มีอะไรเป็นสมบัติของใคร เพราะสุด- ท้าย ทุกสิ่งทุกอย่างก็ต้องดับไป จึงไม่ต้องยึดมั่นถือมั่น ไม่ต้องทุกข์กับอะไร” ข้อที่ ๒๑. การได้พบกับเหตุการณ์ที่ไม่ถูกใจเรา ไม่ได้ดั่งใจเรา เป็นสุดยอด แห่งเครื่องมืออันล้ำค่า ที่ทำให้ได้ฝึกล้างกิเลส คือ ความหลงชิงชังรังเกียจ หลงยึดมั่นถือมั่นในใจเรา และทำให้ได้ล้างวิบากร้ายของเรา ๔.๒-พิจารณาโทษ ของทุกข์จากความอยากให้ผู้อื่นกระทำในสิ่งที่ตัวของเราต้อง การไม่ได้นั้น ทำให้เกิดอารมณ์ที่ไม่ดี หงุดหงิด อึดอัด ขัดเคืองใจ ไม่มีสติ แต่เมื่อได้เห็นโทษของความอยากอย่างแท้จริง ก็ทำให้ตัวของเราขจัดทุกข์นั้นๆได้ด้วย การเป็นสุขใจได้แม้ไม่ได้ดั่งใจที่อยาก ก้เป็นการกระทำของผู้อื่นที่ไม่ได้เกี่ยวกับเรา และ เราก็ไม่ต้องโต้ตอบ ไม่วิวาทะทางอารมณ์ของตัวเอง ๔.๓-พิจารณาประโยชน์ของการไม่มีความอยาก ได้รับความสบายใจ ตัวเราก็ไม่ เกิดอารมณ์ฉุนเฉียว ไม่หงุดหงิด ไม่สร้างอารมณ์วิวาทะให้กับตัวเอง เป็นสุขใจแม้ไม่ได้ ดั่งใจ ๔.๔ พิจารณาไตรลักษณ์ ความไม่เที่ยงของสุขลวง ทุกข์แท้นั้น ๔.๔.๑ อนิจจัง โดยแท้จริงแล้วความต้องการ ความอยากได้ใคร่ดีที่ใจของเราต้องการ นั้น เราก็ได้รับความดีใจ สมใจอยาก เพียงชั่วครู่ชั่วยามเท่านั้น มิได้มีความสุขสมใจ อยาก ความดีใจ สมใจอยาก ตลอดไป ๔.๔.๒ ทุกขัง เมื่อเป็นดั่งนั้น ตัวของเราก็จะต้องสร้างความต้องการ สร้างความอยากได้ ใคร่ดี อันเป็นการสร้างความทุกข์ขึ้นมาใหม่ เพื่อทับถมตัวเองตลอดเวลา ณ.ปัจจุบัน แล้วอย่างนี้ตัวของเราจะสร้างความสุขลวงแต่ทุกข์ใจจริงๆขึ้นมาทำไม ๔.๔.๓ อนัตตา ความไม่ใช่ตัวตน ความไม่มีตัวตนที่แท้จริงของมันเอง สุขใจได้ในทุกๆปัจจุบันแม้ไม่ได้ดั่งสมใจอยาก เจริญธรรมสำนึกดี มีใจไร้ทุกข์ ให้ได้ใน ทุกๆปัจจุบัน —————————————————————————————— Reply
ประพันธ์ โพธิ์คำ เท่ ใจถึงศีล กล้าจน October 19, 2022 at 4:57 am สภาวธรรม ณ.วันศุกร์ที่ 14 เดือน ตุลาคม. พ.ศ.2565 ชื่อเรื่อง ระบบขับเคลื่อนของรถยนต์ชำรุดเสียหาย เนื้อเรื่อง เมื่อวันศุกร์ที่ 14 ตุลาคม 2565(2022) เวลาประมาณ 16.30 นาฬิกา(4.30 พีเอ็ม) เวลาท้องถิ่นในเมืองดัลลัส มลรัฐเท็กซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา ในขณะที่กำลัง ขับรถยนต์ออกจากบ้านของลูกค้า หลังจากส่งอาหารที่ลูกค้าสั่งเรียบร้อยแล้ว ได้แวะ สถานให้บริการล้างรถยนต์อัตโนมัติ เพื่อจะกลับสู่ร้านอาหาร รถยนต์ได้มีเสียงที่เกิด จากรถยนต์มีลักษณะอาการชักกระตุก ความเร็วรถยนต์เริ่มช้าลงๆ จึงได้ตรวจสอบดูว่า รถยนต์ยังสามารถเปลี่ยนเกียร์เร่งความเร็วได้หรือไม่ ก็ปรากฎว่า รถยนต์ไม่สามารถใช้ เกียร์สัญลักษณ์ตัว ดี เลข 2 และเกียร์สำหรับถอยหลัง จะใช้ได้เฉพาะเกียร์สัญลักษณ์ ตัว แอล เท่านั้น จึงได้ค่อยๆพยายามขับรถยนต์ที่ใช้ความเร็วต่ำ เพื่อให้ถึงร้านอาหารที่ ทำงานให้ได้ และก็นำพารถยนต์จนกระทั่งถึงร้านอาหารจนได้ และเดินเข้าไปในร้าน บอกลักษณะอาการที่เกิดขึ้นกับรถยนต์ว่าเป็นอย่างไรบ้าง และเป็นที่เข้าใจกันโดยปริ- -ยายว่า ไม่สามารถทำงานได้ ต่อจากนั้นก็ได้พยายามใช้โทรศัพท์เพื่อติดต่อกับผู้ประ สานงานของอู่ซ่อมรถยนต์และผู้เป็นช่างเทคนิค แต่ทั้งสองท่านก็ไม่รับโทรศัพท์เพื่อจะ พูดคุยรายละเอียดเกี่ยวกับลักษณะอาการของรถยนต์ แต่ก้ไม่ลดละความพยายามที่จะ ใช้โทรศัพท์ติดต่อกับทั้งสองท่านให้ได้ จนกระทั่งผู้ประสานงานของอู่ซ่อมรถได้รับโทร ศัพท์ และนัดแนะสถานที่ที่รถยนต์จอด ตลอดจนเวลาที่จะมาทำตรวจดูลักษณะอาการ ของรถยนต์ว่าเป็นอย่างไร เสียหายอย่างไร ในระหว่างนั้นก็ได้นั่งรอเพื่อให้ถึงเวลานัด หมายกันเอาไว้และได้พูดคุยกับภริยาเจ้าของร้านอาหารตลอดเวลา จนกระทั่งถึงเวลา นัดหมายที่ผู้ประสานงานและช่างเทคนิคได้มาถึง ช่างเทคนิคจึงได้ลงมือใช้เครื่องมือ ทางอิเล็คทรอนิคและคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อกับระบบอิเล็คทรอนิคของรถยนต์เพื่อตรวจ จับสัญญาณสภาพการผิดปกติที่เกิดขึ้นว่า เครื่องยนต์และระบบอุปกรณ์ต่างๆมีอะไรขัด ข้องที่เป็นสาเหตุทำให้รถยนต์เกิดอาการต่างๆ ช่วงเวลาดังกล่าวมานี้ ช่างเทคนิคได้ใช้ เวลาประมาณ 2 ชั่วโมงคึ่งจึงตรวจสภาพของรตยนต์แล้วเสร็จ จึงได้ลงความเห็นว่า จะ ต้องทำการซ่อมรถยนต์ในอู่ให้แล้วเสร็จ จึงจำนำรถยนต์ไปยังอู่ เพื่อนำขึ้นคาน เพื่อ ตรวจสภาพของรถยนต์ จึงจะสามารถทราบแน่ชัดได้ว่ารถยนต์มีอะไรบ้าง ที่จะต้องทำ การจัดซ่อมอย่างแท้จริง ผู้ประสานงานและช่างเทคนิคจึงได้ลากลับไปบ้านพัก คำสำคัญ ต้องไม่ทุกข์ใจให้ได้ ในทุกๆสถานการณ์ พึงกระทำความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความไม่ย่นย่อ ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะอย่างแรงกล้า เพื่อตรัสรู้อริยสัจ ๔ ปรับสภาวะธรรมด้วยอริยสัจ 4 และ มรรค 8 :- 1-ทุกขอริยสัจ คือ สภาพของความทุกข์ใจ ความเครียด ความวิตก ความกังวล ความหวั่นไหว ของความทุกข์ต่างๆ มีดังนี้ 1.1-ทุกข์ที่เกิดจากเครื่องยนต์ของรถยนต์ที่ใช้ในชีวิตประจำวันเกิดการชำรุดเสียหาย 1.2-ทุกข์ที่เกิดจากการติดต่อกับผู้ประสานงานและช่างเทคนิค เพื่อสอบถามลักษณะ อาการชำรุดเสียของเครื่องยนต์ไม่ได้ 1.3-ทุกข์จากที่เกิดจากการไตร่ตรองว่าจะนำรถยนต์ไปยังอู่ซ่อมรถยนต์อย่างไร ใครจะเป็นผู้นำรถยนต์ไปยังอู่ซ่อมรถ เมื่อไหร่ ที่ไหน 1.4-ทุกข์ที่เกิดจากการต้องหยุดงานในระหว่างที่จะต้องรอการซ่อมรถยนต์ 1.5-ทุกข์จากการกังวลไม่มีคนช่วยทางร้านอาหารที่ทำงาน 1.6-ทุกข์จากการคาดคิดว่ารถยนต์ที่ชำรุดเสียหายตรงส่วนไหนของเครื่องยนต์ 1.7-ทุกข์ที่เกิดความกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการซ่อมรถยนต์ 1.8-ทุกข์ที่เกิดจากการคาดการณ์ว่าจะต้องหยุดงานนานเท่าไร ซึ่งความทุกข์ทั้งหมดที่ไล่เรียงที่กล่าวมาตามลำดับนั้น ล้วนเป็นความทุกข์ในการหากิน เลี้ยงชีพ 2. ทุกขสมุทยอริยสัจ คือ สาเหตุแห่งทุกข์ใจ ไม่ต้องการ ไม่อยาก ไม่ชอบใจ ที่รถยนต์ เกิดอาการขัดข้องจนไม่สามารถใช้ปฏิบัติงานได้ 3. ทุกขนิโรธอริยสัจ คือ แม้ว่าการชำรุดเสียหายของรถยนต์ จะเป็นเหตุให้ไม่สามารถทำ งานดั่งที่ใจต้องการ ก็ไม่ทุกข์ใจ เป็นสุขใจ เบิกบาน แจ่มใส 4. ทุกขนิโรธอคามินีปฏิปทาอริยสัจ คือ หนทางแห่งการดับทุกข์ วิธีการดับทุกข์ ทั้งปวง ด้วยการวิธีการ 4.1-พิจารณาวิบากกรรมและผลของกรรม ตามบททบทวนธรรม เมื่อเกิดสิ่ง เลวร้ายกับเรา ไม่มีอะไรบังเอิญ เพราะเราเคยทำเช่นนั้นมามากกว่านั้น และส่งผล ในทุกๆวินาทีให้กับชีวิต นั่นก็คือวิบากกรรม วิบากกรรมมีจริง ทำอะไร ได้ผลอะไร ก็เกิดจากการกระทำของเราเองทั้งหมด เจอเรื่องดีเพราะทำดีมา เจอเรื่องไม่ดีเพราะ ทำไม่ดีมาทั้งในปัจจุบันและอดีต สังเคราะห์กันอย่างละ 1 ส่วน จริงอยู่หากเราคิดอย่าง หยาบๆ ก็อาจะเป็นได้ว่า เป็นคนละเรื่องเดียวกัน เราเคยกระทำอย่างหนึ่ง แต่ทำไมจึง ได้รับวิบากกรมอีกอย่างหนึ่ง แต่แท้จริงแล้ว แม้เราจะมีการกระทำอย่างหนึ่งก็จริง แต่ ผลที่เราได้รับนั้นมีเป็นล้านๆเหตุที่เราจะต้องได้รับผลนั้นเป็นล้านๆผลเช่นกัน 4.2-พิจารณาโทษของทุกข์ที่เกิดจากความอยาก ทุกข์ที่ไม่ได้ดั่งใจ ทำให้เกิด ความกระวนกระวายใจ อึดอัดขัดเคืองใจ รุ่มร้อน ที่ไม่สามารถกระทำการต่างๆให้ได้ดั่ง ที่ใจต้องการ ซึ่งอาจจะทำให้เกิดความไม่สบายกายจากการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อต่างๆ ซึ่งพลังทุกข์นี้สามารถทำลายเซลล์ในร่างกาย อวัยวะภายในให้เสื่อมฉับพลันถึงตายได้ ดังนั้น เมื่อได้เห็นโทษอย่างแท้จริงแล้ว ก็ทำให้ตัวของเราสามารถขจัดทุกข์นั้นๆ ได้เป็นไปตามลำดับในแต่ละข้อด้วยสัมมาสติ ด้วยความเป็นสุขใจได้แม้ไม่ได้ดั่งใจ 4.3-พิจารณาประโยชน์ของการที่สามารถขจัดทุกข์ได้นั้น ทำให้ได้รับความสุขใจ สบายกาย ร่างกายเบา อย่างแท้จริง สามารถทำงานอย่างอื่นได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 4.4 พิจารณาไตรลักษณ์ของสุขลวง 4.4. อนิจจัง ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้น ล้วนไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่มั่นคง ไม่แน่นอน แล้วเสื่อมและสลายไป จึงไม่ควรที่จะติดยึดเอาไว้ ไม่สละ ไม่สละคืน ไม่ปล่อยไป หรือ นำเอามาพัวพันกับเราตลอดเวลา 4.4.2.ทุกขัง ภาวะที่ถูกบีบคั้นด้วยการเกิดขึ้นจากเหตุรถยนต์ชำรุดเสียหาย ก็ สามารถจัดดำเนินการซ่อมแซมให้ใช้งานได้ดังเดิม แม้จะต้องใช้เวลาบ้าง ซึ่งทำให้ทุกข์ นั้นไม่สามารถจตั้งอยู่ได้นาน นั่นก็อาจจะเป็นไปตามกลไกในการขจัดทุกข์ 4.4.3.อนัตตา อาการของสิ่งที่ไม่ใช่ตัวตน ไม่มีตัวตน ไม่ใช่ใคร ไม่อยู่ในอำนาจ การควบคุมของใคร ไม่มีอำนาจแท้จริงในตัวเลย ซึ่งโดยแท้จริงแล้วความต้องการ ความอยากได้ดั่งใจหมาย อยากใคร่ดีที่ใจของ เราต้องการนั้น เราก็ได้รับความดีใจ สมใจอยาก เพียงชั่วครู่ชั่วยามเท่านั้น ไม่ได้มีความดี ใจ สมใจอยากตลอดไป และตัวของเราก็จะต้องสร้างความต้องการ สร้างความอยากได้ ใคร่ดีขึ้นมาใหม่ สับเปลี่ยนหมุนเวียนตลอดเวลา แล้วอย่างนี้ตัวของเราจะสร้างความสุข ลวงแต่ทุกข์ใจไปทำไม สุขใจได้ในทุกๆปัจจุบันแม้ไม่ได้ดั่งใจอยาก เจริญธรรมสำนึกดี มีใจไร้ทุกข์ ให้ได้ในทุกๆปัจจุบัน Reply
ประพันธ์ โพธิ์คำ เท่ ใจถึงศีล กล้าจน October 21, 2022 at 10:19 am สภาวธรรมประจำสัปดาห์ ณ วันพฤหัสบดีที่ 20 เดือน ตุลาคม. พ.ศ.2565 ชื่อเรื่อง แม้ร่างกายจะเจ็บป่วย แต่ใจมิได้เจ็บป่วยตามไปด้วย เนื้อเรื่อง เมื่อวันอาทิตย์ที่ 16 ตุลาคมพ.ศ.2565(2022)ตั้งแต่เวลา 9.30-18-00นาฬิกา (เวลาท้องถิ่นในเมืองดัลลัส มลรัฐเท็กซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา) ได้รับภาระหน้าที่ใน การบันทึกภาพถ่ายงานทอดกฐินพระราชทานของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว วัดพุทธดัลลัส ประจำปี พ.ศ.2565(2022) ซึ่งต้องเดินตระเวนถ่ายภาพทั่วทั้งวัดและทั้ง งาน ในช่วงบ่ายยังมีหน้าที่ในการควบคุมการเปิดเพลงจากเครื่องแล๊ปท๊อป เป็นเพลงที่ ใช้ประกอบการแสดงสองชุดและเพลงในระบบคาราโอเกะให้กับผู้ที่มาร่วมงานทอดกฐิน พระราทานฯจนกระทั่งงานเสร็จสิ้น เพื่อนที่ไปร่วมงานได้ช่วยเก็บอุปกรณ์ต่างๆขึ้นรถยนต์ และขับไปส่งยังบ้านพัก ก่อนหน้าที่จะถึงบ้านก็ไม่ได้สังเกตุว่ามีอะไรผิดปกติกับรางกาย หรือไม่ จนกระทั่งเพื่อนรถยนต์มาส่งถึงบ้านและช่วยกันเอาอุปกรณ์ลงจากรถยนต์ในขณะ ที่ก้าวขึ้นบรรไดหน้าบ้านจึงได้รู้สึกว่าเจ็บที่บริเวณด้านหน้าของต้นขาข้างขวา แต่มีอาการ ไม่รุนแรงนัก จนกระทั่งเข้าบ้านและได้นั่งพักบนเก้าอี้ในห้องครัว และเมื่อเวลาลุกจากเก้าอี้ ยืนขึ้นจึงได้รู้ว่ามีอาการปวดที่ต้นขาด้านหน้ามากขึ้น ในขณะนั้นจึงพิจารณาว่า ใจมีความรู้สึกบาดเจ็บไปตามอาการของต้นขาขวา ด้านหน้าหรือไม่ และเกิดอะไรขึ้นกับต้นขาขวาด้านหน้า ไปกระแทกกับอะไรหรือไม่ ต่อจากนั้นจึงได้รีบอาบน้ำชำระล้างร่างกายก่อนที่จะทำการบำบัดรักษาอาการปวดที่ต้น ขาขวาด้านหน้าเป็นลำดับๆไป คำสำคัญ เป็นสุขใจได้ แม้ร่างกายจะเป็นทุกข์ ประโยคสำคัญ ตามพระไตรปิฎกเล่มที่ 19 ข้อ 1717 “พึงกระทำความพอใจ ความ พยายาม ความอุตสาหะ ความไม่ย่นย่อ ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะอย่าง แรงกล้า เพื่อตรัสรู้อริยสัจ ๔” 1-ทุกขอริยสัจ คือ สภาพของความเป็นทุกข์ใจ ที่เกิด ความสงสัยว่าเกิดอะไรขึ้นกับต้นขาขวาด้านหน้าว่า ไปกระแทกกับอะไรหรือไม่ ความวิตกว่ามีอาการบาดเจ็บมากไปกว่าที่มีหรือเป็น หรือไม่ ความกังวลใจว่าจะเป็นจะมีอาการนานเพียงใด 2. ทุกขสมุทัยอริยสัจ คือ สาเหตุแห่งทุกข์ใจเป็นทุกข์ที่เกิดจาก ความไม่ต้องการให้ มีอาการบาดเจ็บ อยากให้อาการบาดเจ็บที่ขาขวาด้านหน้าหายโดยเร็ววัน 3. ทุกขนิโรธอริยสัจ คือ สภาพแห่งการดับทุกข์หรือตัณหาดับโดยไม่หลือ(วิราคะ สละ สละคืน ปล่อยไป ไม่พัวพัน) ไม่โกรธแม้ไม่ทราบสาเหตุท่ำให้เกิดการบาดเจ็บ ไม่กลัวว่า อาการบาดเจ็บจะเป็นอย่างไร ไม่กลัวตายหากมรอาการรุนแรงมากขึ้น อย่ากลัวโรคอย่าง อื่นๆที่อาจจะแทรกซ้อนขึ้นมา ไม่เร่งผลในการดูแลรักษาด้วยตัวเองตามลักษณะอาการ บาดจ็บ ไม่วิตกว่ามีอาการบาดเจ็บมากไปกว่าที่มีหรือเป็น ไม่กังวลแม้ว่าจะดูแลรักษานาน เพียงใด เป็นสุขใจ ใจไร้ทุกข์ ไร้กังวล ไม่สงสัย และ เป็นสุจใจ เบิกบาน แจ่มใส 4. ทุกขนิโรธอคามินีปฏิปทาอริยสัจ คือ วิถีทางแห่งการดับทุกข์ หรือวิธีการดับทุกข์ ทั้งปวง ด้วยการวิธีการ 4.1-พิจารณาวิบากกรรม ตามบททบทวนธรรม ข้อที่๑๐. เมื่อเกิดสิ่งเลวร้ายกับเรา ไม่มีอะไรบังเอิญ ทุกอย่างยุติธรรมเสมอ เพราะเราเคยทำเช่นนั้นมามากกว่านั้น กล่าวคือ ในอดีตก่อนที่จะเข้ามาเป็นจิตอาสาแพทย์ วิถีธรรมได้ใช้เท้าและขาขวาเตะสุนัขที่เลี้ยงเอาไว้เฝ้าบ้าน ใช้ขาขวา เตะเพื่อนคู่อริในระ หว่าที่ทะเลาะวิวาทกัน ชอบกินขาหมูพะโล้มากๆ ข้อที่ 46. เกิดอะไร จงท่องไว้ “กู-เรา-ฉัน” ทำมา -ผลของวิบากกรรม ตามบททบทวนธรรม ข้อที่ 11. สิ่งที่สร้างผลทุกวินาทีให้กับชีวิต คือ วิบากกรรม ที่ได้เคยทำมาดังที่กล่าวมา ข้อที่ 12 วิบากกรรมมีจริง ทำอะไร ได้ผลอะไร ก็เกิดจากการกระทำของเราเองทั้งหมด ข้อที่ 14. ไม่มีชีวิตใดหนีพ้นอำนาจแห่งกรรมไปได้ ทำกรรมดีย่อมได้รับผลดี ทำกรรมชั่ว ย่อมได้รับผลชั่ว 4.2-พิจารณาโทษ ของทุกข์ที่เกิดจากความอยากให้อาการบาดเจ็บที่ขาขวา ด้านหน้านั้นหายไปโดยเร็ว จึงมีอากาปวดถึงสามวันอาการจึงได้ทุเลาลงตามลักษณะการ ดูแล รักษา แต่เมื่อได้เห็นโทษอย่างแท้จริง จึงขอรับสารภาพตามบททบทวนธรรม ข้อที่ 22. ถ้าใครมีปัญหาหรือความเจ็บป่วยในชีวิต ให้ทำความดี 4 อย่างนี้ ด้วยความ ยินดี จริงใจ จะช่วยให้ปัญหาหรือความเจ็บป่วย ลดลงได้เร็ว 1) สำนึกผิด หรือยอมรับผิด 2) ขอรับโทษ เต็มใจรับโทษ หรือ ขออโหสิกรรม 3) ตั้งจิตหยุดสิ่งที่ไม่ดีอันนั้น 4) ตั้งจิตทำความดีให้มาก ๆ คือ ลดกิเลสให้มาก ๆ เกื้อกูลผองชนและหมู่สัตว์ ให้มาก ๆ ข้อที่ 24. เมื่อเกิดทุกข์ใจ ทุกข์กาย เรื่องร้ายเข้ามาในชีวิต เขามาเพื่อ ให้เราได้ชดใช้ ให้เราไม่ประมาท ให้เราเพิ่มอริยศีล ให้เราได้สำนึก ให้เราได้หมดวิบาก 4.3-พิจารณาประโยชน์ของการขจัดกิเลส ทำให้ไม่มีความอยากให้อาการบาด หายในเร็ววัน อาการบาดเจ็บจะหายตอนไหนชั่งหัวมัน ได้รับความสบายใจที่สามารถ ทำงานอย่างๆได้ด้วยความไม่วิตก ไม่กังวล 4.4-พิจารณาไตรลักษณ์ของสุขลวง 4.4.1 อนิจจตา (อนิจจลักษณะ) – อาการเจ็บป่วยทางร่างกาย แม้แต่ทางใจ ก็มิได้มี มิได้เป็นตลอดไป เกิดมีขึ้นได้ ก็หายไปได้ ทั้งนี้ทั้งนั้นใจต้องไม่เจ็บป่วยตาม อาการของร่างกาย 4.4.2 ทุกขตา (ทุกขลักษณะ) – อาการที่เป็นทุกข์ทางใจ เพราะปัจจัยที่ปรุง แต่งให้มีสภาพของอการเป็นอย่างนั้น อย่างนี้เปลี่ยนแปลงไป ไม่คงอยู่ในสภาพนั้น 4.4.3 อนัตตา (อนัตตลักษณะ) – อาการของอนัตตา อาการของการเจ็บป่วย ที่ไม่มีตัวตน อาการที่แสดงถึงความไม่ใช่ใคร ไม่ใช่ของใคร ไม่อยู่ในอำนาจควบคุมของ ใคร อาการเจ็บป่วยที่แสดงถึงไม่มีตัวตนที่แท้จริงของมันเอง ต้องอาศัยพึ่งพิงสิ่งอื่นๆ มากมายจึงมีอาการต่างๆเกิดขึ้นได้. โดยแท้จริงแล้วความต้องการ ความอยากได้ดั่งใจหมาย อยากได้ใคร่ดีที่ใจ ต้องการนั้น ก็ได้รับความดีใจ สมใจอยาก เพียงชั่วครู่ชั่วยามเท่านั้น ไม่ได้มีความดีใจ สมใจอยากอย่างยั่งยืนตลอดไป และจะต้องสร้างความต้องการ สร้างความอยากได้ ใคร่ดีขึ้นมาใหม่ หมุนเวียนตลอดเวลา แล้วอย่างนี้จะสร้างความสุขลวงแต่ทุกข์ใจไป ทำไม สุขใจได้ในทุกๆปัจจุบันแม้ไม่ได้ดั่งใจอยาก เจริญธรรมสำนึกดี มีใจไร้ทุกข์ ใจเย็นให้ได้ให้ได้ในทุกๆปัจจุบัน Reply
อรวิภา กริฟฟิธส์ October 21, 2022 at 3:56 pm เรื่อง อยากกินอะไรหวาน ๆ ขณะที่นั่งอ่านหนังสืองานวิจัยต่าง ๆ เพื่อได้แนวทางในการเขียนงานวิจัย ป โท อยู่ ก็เกิดอาการอยากกินของหวาน เราน่าจะทำขนมกินดีมั้ย พอจับอาการได้ว่าไม่โปร่งไม่โล่งใจ ทุกข์ ไม่โปร่งไม่โล่งใจ สมุทัย อยากกินขนมหวาน ถ้าได้กินจะสุขใจชอบใจ นิโรธ จะได้กินขนมหวานหรือไม่ก็ไม่ทุกข์ใจ ยินดีได้แม้ไม่ได้ดั่งใจ มรรค ได้พิจารณาเห็นว่าความอยากกินขนมหวานเป็นทุกข์ ทุกข์ที่จะต้องแสวงหามากินมาเสพ ซึ่งสุขที่ได้จากการเสพก็ไม่มีจริง เป็นสุขแว็ปเดียว เป็นสุขลวงสุขหลอก เก็บไม่ได้ อยากใหม่ก็ต้องดิ้นรนหามาเสพอีก ได้เสพดั่งใจกิเลสก็โต อยากได้มาก ๆ ก็ทำชั่วได้ทุกเรื่อง เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น คือต้องเสียแรงงานทุุนรอนมาปรุงมาแต่ง เพื่อให้ได้มาเสพ เราก็ไม่ได้หิว เอามาเกินโลกก็ขาดแคลน และเป็นแรงเหนี่ยวนำที่ไม่ดีให้คนอื่นเป็นตามอีก เมื่อพิจารณาเห็นความจริงอย่างนี้ ความอยากกินขนมก็คลายลง ใจยินดีที่ไม่ได้ดั่งใจ Reply
ประพันธ์ โพธิ์คำ เท่ ใจถึงศีล กล้าจน October 21, 2022 at 7:24 pm สภาวธรรมประจำสัปดาห์ ณ วันพฤหัสบดีที่ 20 เดือน ตุลาคม. พ.ศ.2565 ชื่อเรื่อง หายไปไหนเนี๊สะ เนื้อเรื่อง ในวันพฤหัสบดีที่ 20 ตุลาคม พ.ศ.2565 ซึ่งอยู่ในช่วงรอรถยนต์ที่จะใช้ ในการทำงาน ให้ช่งเทคนิคนำไปทำการซ่อมแซมในส่วที่ชำรุดเสียหาย จึงได้มีเวลา ทำการบ้านอริยสัจ 4 และในเวลาเดียวกันได้ติดตามการถ่ายทอดสดรายการแพทย์ แผนไทยวิถีธรรมค้ำจุนโลก ครั้งที่ 26 ด้วยการใช้คอมพิวเตอร์บ้านเครื่องเดียวกันนี้ ซึ่งในบางช่วงจะต้องทำการปิดหน้าต่างของการพิมพ์ข้อความ จึงทำให้มีการทำงาน ผิดพลาดด้วยการปิดหน้าจอของการพิมพ์ข้อความโดยไม่ได้จัดการบันทึกเก็บความจำ เอาไว้ จึงทำให้ข้อความที่ทำไว้แล้วหาย จึงทำให้โทษตัวเองในความผิดพลาด เกิด อาการผิดหวัง หงุดหงิด คำสำคัญ แม้ไม่ได้ดั่งใจ ก็เป็นสุขใจได้ ประโยคสำคัญ ตามพระไตรปิฎก เล่มที่ 19 ข้อ 1717 เจลสูตร มีใจความดังนี้ “พึงกระทำความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความไม่ย่นย่อ ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะอย่างแรงกล้า เพื่อตรัสรู้อริยสัจ ๔” 1-ทุกขอริยสัจ คือ สภาพของความเป็นทุกข์ใจ ที่ทำงานแล้วเสร็จ ไม่ได้จัดเก็บด้วย การบันทึกเอาไว้ ดั่งที่ตั้งใจเอาไว้ 2. ทุกขสมุทัยอริยสัจ คือ สาเหตุแห่งทุกข์ใจเป็นทุกข์ที่เกิดจาก ความยึดมั่นถือมั่น ไม่ได้กระทำในสิ่งที่ต้องการจะกระทำ 3. ทุกขนิโรธอริยสัจ คือ สภาพแห่งการดับทุกข์หรือตัณหาดับโดยไม่หลือ(วิราคะ สละ สละคืน ปล่อยไป ไม่พัวพัน) ถึงแม้ว่าจะไมได้กระทำในสิ่งที่ต้องการจะกระทำก็เป็นสุจ ใจได้ เบิกบาน แจ่มใส 4. ทุกขนิโรธอคามินีปฏิปทาอริยสัจ คือ วิถีทางแห่งการดับทุกข์ หรือวิธีการดับทุกข์ ทั้งปวง ด้วยการวิธีการ 4.1-พิจารณาวิบากกรรม ตามบททบทวนธรรม ข้อที่ 21. การได้พบกับ เหตุการณ์ที่ไม่ถูกใจเรา ไม่ได้ดั่งใจเรา เป็นสุดยอดแห่งเครื่องมืออันล้ำค่า ที่ทำ ให้ได้ฝึกล้างกิเลส คือ ความหลงชิงชังรังเกียจ หลงยึดมั่นถือมั่นในใจเรา และ ทำให้ได้ล้างวิบากร้ายของเรา และผลของวิบากกรรมที่กระทำไปนั้น จึงทำให้เกิดข้อผิดพลาดในการทำงาน ล้วไม่ได้ทำการบันทึกเพื่อจัดเก็บข้อมูลเอาไว้ ข้อมูลที่ทำไว้แล้วจึงหายไป 4.2-พิจารณาโทษ ของทุกข์ที่ไม่ได้ดั่งใจ ที่ต้องการจะเก็บข้อมูลแล้วได้เก็บไว้ แต่เมื่อได้เห็นโทษอย่างแท้จริง ก็ทำให้ขจัดความทุกข์นั้นๆได้ด้วยการ ตั้งใจว่า แม้ไม่ได้จัดเก็บข้อมูลเอาไว้ ก็เป็นสุขใจได้ 4.3-พิจารณาประโยชน์ของการขจัดกิเลส ทำให้เกิดความสบายใจ ไม่อึดอัดใจ และมีความตั้งใจมั่นในการที่จะจัดการทำการใหม่จนแล้วเสร็จบันทึกเอาไว้เรียบร้อย 44 พิจารณาไตรลักษณ์ของสุขลวง 4.4.1 อนิจจตา (อนิจจลักษณะ) การไม่ได้จัดเก็บข้อมูลเอาไว้ดั่งใจ เป็นอาการ ที่ ไม่เที่ยง ไม่คงที่ ไม่ยั่งยืน ที่เกิดขึ้นมาแวก็ดับไป 4.4.2 ทุกขตา (ทุกขลักษณะ) – อาการเป็นทุกข์ เพราะสร้างปัจจัยที่ปรุงแต่ง ให้มีสภาพของการผิดพลาดเกิดขึ้นมา 4.4.3 อนัตตา (อนัตตลักษณะ) – อาการของอนัตตา เป็นอาการที่เกิดขึ้นมา ในใจของเราที่ไม่มีตัวตน โดยแท้จริงแล้วความต้องการ ความอยากได้ดั่งใจหมาย ก็ได้รับความดีใจ สมใจอยาก เพียงชั่วครู่ชั่วยามเท่านั้น ไม่ได้มีความดีใจ สมใจอยากอย่างยั่งยืน ตลอดไป และจะต้องสร้างความต้องการ สร้างความอยากได้ใคร่ดีขึ้นมาใหม่ หมุน เวียนตลอดเวลา แล้วอย่างนี้จะสร้างความสุขลวงแต่ทุกข์ใจไปทำไม สุขใจได้ในทุกๆ ปัจจุบันแม้ไม่ได้ดั่งใจอยาก เจริญธรรมสำนึกดี มีใจไร้ทุกข์ ใจเย็นให้ได้ให้ได้ในทุกๆปัจจุบัน Reply
ประพันธ์ โพธิ์คำ เท่ ใจถึงศีล กล้าจน October 27, 2022 at 5:40 pm สภาวธรรมประจำสัปดาห์ ณ วันพุธที่ 26 เดือน ตุลาคม พ.ศ.2565 ชื่อเรื่อง ค่าซ่อมแซมรถยนต์จะพอไหมเนี๊ยะ เนื้อเรื่อง สืบเนื่องรถยนต์ที่ใช้ได้ชำรุดเสียหายนั้น ได้ล่วงเวลามาหลายวันแล้วที่อู่ ซ่อมรถยนต์ยังไม่ได้แจ้งราคาและส่งรถยนต์มาลากเอาไปเข้าอู่ ซึ่งได้ติดต่อไปยัง อู่ฯเพื่อขอทราบรายละเอียดดังที่กล่าวมา จึงได้รับแจ้งประมาณการค่าซ่อมรถยนต์ ทำให้เกิดความวิตกกังวลว่าช่วงต้นเดือนหน้าที่จะได้เงินจากการร่วมเล่นแชร์จะพอ กับค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมรถยนต์และการสมัครสอบปรับระดับการเป็นประชาชน ของประเทศสหรัฐอเมริกาหรือไม่ คำสำคัญ แม้ประสบทุกข์ ก็ยังหาสุขพบ ประโยคสำคัญ ตามพระไตรปิฎก เล่มที่ 19 ข้อ 1717 “พึงกระทำความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความไม่ย่นย่อ ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะ อย่างแรงกล้า เพื่อตรัสรู้อริยสัจ ๔” ปรับสภาวะธรรมด้วยอริยสัจ ๔ :- 1-ทุกขอริยสัจ คือ สภาพของความเป็นทุกข์ใจที่เกิดการวิตกกังวลหวั่นไหวต่อการ ได้รับแจ้งเรื่องงบประมาณค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมรถยนต์และเตรียมสมัครสอบเป็น ประชาชนของประเทศสหรัฐอเมริกา 2. ทุกขสมุทัยอริยสัจ คือ สาเหตุแห่งทุกข์ใจเป็นทุกข์ที่เกิดจากความวิตกกังวลหวั่นไหว 3. ทุกขนิโรธอริยสัจ คือ เป็นสุขใจ ใจไร้ความทุกข์ ไร้ความกังวล ไม่หวั่นไหว แม้จะไม่ ได้รับความพึงพอใจก็เป็นสุจใจได้ เบิกบาน แจ่มใส แม้ประสบทุกข์ ก็ยังหาสุขพบ 4. ทุกขนิโรธอคามินีปฏิปทาอริยสัจ ด้วยการวิธีการ 4.1-พิจารณาวิบากกรรม ตามบททบทวนธรรม ข้อที่ ๑๒. วิบากกรรมมีจริง ทำอะไร ได้ผลอะไร ก็เกิดจากการกระทำของเราเองทั้งหมด เจอเรื่องดีเพราะทำดีมา เจอเรื่องไม่ดีเพราะทำไม่ดีมา ทั้งในปัจจุบันและอดีต สังเคราะห์กันอย่างละ 1 ส่วน และผลของวิบากกรรม ได้รับความผิดหวัง ความไม่สมหวัง ความไม่ได้ดั่งใจ ที่ปรารถนา 4.2-พิจารณาโทษ ของทุกข์ที่เกิดจากไม่ได้ดั่งใจอยาก จะเกิดอาการเร่าร้อน ใจ กระวนกระวายใจ แต่เมื่อได้เห็นโทษอย่างแท้จริงแล้วก็ทำให้ขจัดความทุกข์ใจนั้นๆได้ด้วยการ ทำใจไม่ให้ทุกข์ 4.3-พิจารณาประโยชน์ของการขจัดความทุกข์ ไม่มีความอยาก ไม่วิตกกังวลใจ ได้รับความสบายใจ ไม่อึดอัดขัดเคืองใจ เมื่อใจสบายแล้วก็ส่งผลไปยังร่างกาย ทำให้ ความสบายเนื้อ สบายตัว 4.4 พิจารณาไตรลักษณ์ของสุขลวง 4.4.1 อนิจจตา (อนิจจลักษณะ) – ความวิตก กังวล หวั่นไหว ความอึดอัด ขัด เคืองใจ เป็นอาการที่ไม่เที่ยง เมื่อเกิดขึ้นแล้วย่อมเสื่อมและสลายไป 4.4.2 ทุกขตา (ทุกขลักษณะ) – ความทุกข์จะเปลี่ยนแปลงไปไม่คงที่ ก็ไม่ควรที่ จะทำใจให้ความเป็นทุกข์ 4.4.3 อนัตตา (อนัตตลักษณะ) – โดยแท้จริงแล้วความต้องการ ความอยากได้ ดั่งใจหมาย อยากได้ใคร่ดีที่ใจต้องการนั้น มีขึ้นเพียงชั่วครู่ชั่วยามเท่านั้น ไม่ได้มีความ ดีใจสมใจอยากตลอดไป แล้วอย่างนี้จะสร้างความสุขลวงแต่ทุกข์ใจยาวนานไปทำไม สุขใจได้ในทุกๆปัจจุบันแม้จะไม่ได้ดั่งใจอยาก ดั่งผู้มีปัญญาด้วยโศลกธรรมที่ว่า “แม้ ประสบทุกข์ ก็ยังหาสุขพบ” เจริญธรรมสำนึกดี มีใจไร้ทุกข์ ใจเย็นให้ได้ให้ได้ในทุกๆปัจจุบัน Reply
ประพันธ์ โพธิ์คำ เท่ ใจถึงศีล กล้าจน November 2, 2022 at 1:15 am ชื่อเรื่อง อุปสรรคและปัญหา ที่เกิดจากการเตรียมอุปกรณ์ เนื้อเรื่อง ในวันจันทร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ.2565 ช่วงเวลาบ่ายๆ ได้รับการติดต่อทาง โทรศัพท์จากประธานชมรมครูและผู้ปกครองนักเรียน เกี่ยวกับเครื่องเสียงที่จะต้องใช้ ในงานลอยกระทงของวัดพุทธดัลลัส ที่ได้จัดซื้อเอาไว้ใช้ในกิจกรรมของโรงเรียน ฯ ปรากฎว่าเมื่อสั่งซื้อไปแล้วนั้น ทั้งชื่อยี่ห้อ รุ่น ที่ต้องการนั้น ไม่มีในสต๊อก ประธาน ชมรมจึงต้องเดินทางไปที่ร้านจำหน่ายเครื่องเสียงพร้อมกับผู้ชำนาญ แต่ก็ปรากฎว่า เครื่องเสียงชุดอื่นๆทีมีในปัจจุบันก็มีรายละเอียดที่ไม่ตรงกันอีก จึงต้องดูยี่ห้ออื่นๆที่มี รายละเอียดคล้ายๆกัน จนกระทั่งได้มีการสั่งซื้อเอามาใช้ เพื่อให้ทันการใช้งานลอย กระทงฯ คำสำคัญ อุปสรรคและปัญหา คือ ชีวิตชีวา ประโยคสำคัญ ตามพระไตรปิฎก เล่มที่ 19 ข้อ 1717 “พึงกระทำความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความไม่ย่นย่อ ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะ อย่างแรงกล้า เพื่อตรัสรู้อริยสัจ ๔” :- 1-ทุกขอริยสัจ ที่เกิดจากการสั่งซื้อเครื่องเสียงสำหรับกลางแจ้ง ซึ่งเป็นชุดเครื่องเสียง ที่ไม่ตรงกับยี่ห้อและรายละเอีนดต่างๆที่ต้องการจะได้ 2. ทุกขสมุทัยอริยสัจ เครื่องเสียงชุดที่ต้องการจะได้ก็ไม่ได้ ชุดที่ได้มาก็ไม่ถูกใจ ไม่ ชอบใจ ไม่สมใจอยาก 4. ทุกขนิโรธอคามินีปฏิปทาอริยสัจ แม้ไม่ได้ชุดเครื่องเสียงดั่งที่ต้องการจะได้ ก็ไม่ เป็นไร ยินดี พอใจ กับชุดเครื่องเสียงที่จัดหามาได้ก็ดีแล้ว จะได้มีเครื่องเสียงที่จะใช้ ในงานลอบกระทง 4.1-พิจารณาวิบากกรรม ตามบททบทวนธรรม ดังต่อไปนี้ ข้อที่ 120. ปัญหาไม่เคยหมดไปจากชีวิตของเรา มีแต่ทุกข์เท่านั้น ที่หมดไป จากใจของเรา ข้อที่ 121. โจทย์ทุกโจทย์ เหตุการณ์ทุกเหตุการณ์ เป็นเครื่องมือฝึกจิตของเราให้ เป็นสุข อย่างถูกต้องตามธรรม ข้อที่ 133. อุปสรรคและปัญหา คือ ชีวิตชีวา ข้อที่ 138. จงเผชิญกับปัญหาอุปสรรค ที่มีอยู่คู่โลกตลอดกาลนาน อย่างมีชีวิตชีวาให้ได้ และผลของวิบากกรรม 4.2-พิจารณาโทษ ของการที่ได้เครื่องเสียงชุดที่ไม่ได้ดั่งใจอยาก ทำให้เกิด ทุกข์ที่มีอาการ อึดอัด หงุดหงิด ไม่พอใจ ไม่เป็นสุขใจ ไม่สมใจ แต่เมื่อได้เห็นโทษอย่างแท้จริง ก็ทำให้ขจัดความทุกข์นั้นๆได้ด้วยการทำใจให้ เป็นสุข แม้ไม่ได้ดั่งใจที่ต้องอยากจะได้ ก็พึงพอใจ 4.3-พิจารณาประโยชน์ของการขจัดกิเลสความทุกข์นั้นออกไปได้ ก็ทำให้บังเกิด ความสบายใจ คลายความอึดอัดใจผ่อนคลายความหงุดหงิด ความไม่พอใจ ออกไปได้ 4.4 พิจารณาไตรลักษณ์ของสุขลวง 4.4.1 อนิจจัง – อาการของความ หงุดหงิด อึดอัด ไม่ชอบใจ ไม่พอใจ เป็น อาการที่ไม่เที่ยง เกิดขึ้นมาก็ด้วยใจของเราที่ไม่แน่นอน ไม่มั่นคง 4.4.2 ทุกขัง – อาการเป็นทุกข์ของใจที่ปรุงแต่งให้มีสภาพเป็นอย่างนั้น และ เปลี่ยนแปลงไป ตลอดเวลาไม่คงที่. 4.4.3 อนัตตา- อาการของใจที่ไม่มีตัวตน เกิดแต่ใจที่นึกคิดไปต่างๆนานา โดยแท้จริงแล้วความทุกข์ที่เกิดจากความต้องการนั้น เกิดขึ้น ตั้งอยู่ไม่นาน แล้วก็ดับไป ด้วยการสละ สละคืน ปล่อยไป ไม่พัวพัน ก็ทำให้สุขใจได้ในทุกๆปัจจุบัน แม้ไม่ได้ดั่งใจอยาก เจริญธรรมสำนึกดี มีใจไร้ทุกข์ ใจเย็นให้ได้ให้ได้ในทุกๆปัจจุบัน Reply
ประพันธ์ โพธิ์คำ เท่ ใจถึงศีล กล้าจน November 5, 2022 at 6:37 pm สถาบันวิชชาราม ใบส่งงานการบ้าน(ต่างประเทศ) ชื่อนายประพันธ์ นามสกุล โพธ์คำ ชื่อทางธรรม ใจถึงศีล กล้าจน ชื่อเล่น เท่ จิตอาสาสวนป่านาบุญ 6 ต่างประเทศ อยู่เมืองดัลลัส มลรัฐเท็กซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา นักศึกษาระดับ อริยปํญญาตรี หลักสูตร 7 ปี สาขาวิชา จิตอาสาแพทย์วิถีธรรม ปัจจุบันอายุ 73 ปี พำนักอยู่ที่ เมืองดัลลัส มลรัฐเท็กซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา ********************** สภาวธรรมประจำสัปดาห์ ณ วันพุธที่ 26 เดือน ตุลาคม พ.ศ.2565 ชื่อเรื่อง ค่าซ่อมแซมรถยนต์จะพอไหมเนี๊ยะ เนื้อเรื่อง สืบเนื่องรถยนต์ที่ใช้ได้ชำรุดเสียหายนั้น ได้ล่วงเวลามาหลายวันแล้วที่อู่ ซ่อมรถยนต์ยังไม่ได้แจ้งราคาและส่งรถยนต์มาลากเอาไปเข้าอู่ ซึ่งได้ติดต่อไปยัง อู่ฯเพื่อขอทราบรายละเอียดดังที่กล่าวมา จึงได้รับแจ้งประมาณการค่าซ่อมรถยนต์ ทำให้เกิดความวิตกกังวลว่าช่วงต้นเดือนหน้าที่จะได้เงินจากการร่วมเล่นแชร์จะพอ กับค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมรถยนต์หรือไม่ คำสำคัญ แม้ประสบทุกข์ ก็ยังหาสุขพบ ประโยคสำคัญ ตามพระไตรปิฎก เล่มที่ 19 ข้อ 1717 “พึงกระทำความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความไม่ย่นย่อ ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะ อย่างแรงกล้า เพื่อตรัสรู้อริยสัจ ๔” ปรับสภาวะธรรมด้วยอริยสัจ ๔ :- 1-ทุกขอริยสัจ คือ สภาพของความเป็นทุกข์ใจที่เกิดการวิตกกังวลหวั่นไหวต่อการ ได้รับแจ้งเรื่องงบประมาณค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมรถยนต์จะสูงเกินกว่างบประมาณ ที่ได้รับเงินค่างแชร์ 2. ทุกขสมุทัยอริยสัจ คือ สภาพความทุกข์ของจิตใจที่อยากให้ค่าใช้จ่ายในการซ่อม แซมรถยนต์ไม่สูงมากนัก 3. ทุกขนิโรธอริยสัจ คือ แม้จะประสบทุกข์จากการได้รับแจ้งเรื่องค่าใช้จ่ายในการ ซ่อมแซมรถยนต์ทู่ง ก็เป็นสุขใจได้ 4. ทุกขนิโรธอคามินีปฏิปทาอริยสัจ ด้วยการวิธีการ 4.1-พิจารณาวิบากกรรมมีจริง ทำอะไร ได้ผลอะไร ก็เกิดจากการกระทำ ของเราเองทั้งหมด เพราะในอดีตที่ผ่านมา เมื่อครั้งที่ดำเนินชีวิตในประเทศไทย ได้เคย เรียกค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดี การดำเนินการทางธุรกิจ ที่สูงเกินกว่าจะปฏิบัติการจริง ผลของวิบากกรรม ที่เคยทำในอดีต จึงส่งผลให้ในช่วงเวลาปัจจุบันนี้รับวิบากกรรม ที่เราเคยทำมา ด้วยการต้องยอมรับค่าซ่อมแซมรถยนต์ที่สูง 4.2-พิจารณาโทษ ของทุกข์ที่เกิดจากไม่ได้ดั่งใจอยาก จะเกิดอาการเร่าร้อน ใจ กระวนกระวายใจ ไม่สบายเนื้อตัว แต่เมื่อได้เห็นโทษอย่างแท้จริงแล้วก็ทำให้ขจัดด้วยการ สละ สละคืน ปล่อยไป ไม่พัวพันศึ่งความทุกข์ใจนั้นๆได้ด้วยการทำใจแม้จะประสบกับความทุกข์ ก็ยังเป็นสุขใจ 4.3-พิจารณาประโยชน์ของการขจัดความทุกข์ ไม่มีความอยาก ไม่วิตกกังวลใจ ได้รับความสบายใจ ไม่อึดอัดขัดเคืองใจ เมื่อใจสบายแล้วก็ส่งผลไปยังร่างกาย ทำให้ ความสบายเนื้อ สบายตัว 4.4 พิจารณาไตรลักษณ์ของสุขลวง 4.4.1 อนิจจลักษณะ – ความวิตก กังวล หวั่นไหว ความอึดอัด ขัด เคืองใจ ดังที่กล่าวมา เป็นอาการที่ไม่เที่ยง เมื่อเกิดขึ้นแล้วย่อมเสื่อมและสลายไป 4.4.2 ทุกขลักษณะ – ความทุกข์จะเปลี่ยนแปลงไปไม่คงที่ ก็ไม่ควรที่จะต้อง ทำใจให้เกิดความเป็นทุกข์ 4.4.3 อนัตตลักษณะ – โดยแท้จริงแล้วความต้องการ ความอยากได้ค่าใช้จ่าย การซ่อมแซมรถยนต์ในราคาที่ถูกดั่งใจหมายนั้นไม่มีตัวตน อยากได้ใคร่ดีที่ใจต้องการ นั้น เป็นการสร้างความคิดขึ้นมาเอง ไม่ใช่สิ่งที่มีอยู่เป็นอยู่ โดยสภาพที่แท้จริงแต่อย่าง ใดทั้งสิ้น ซึ่งหากมีขึ้นก็เป็นเพียงเพียงชั่วครู่ชั่วยามเท่านั้น ไม่ได้มีความมั่นคงตั้งอยู่ ตลอดไป แล้วอย่างนี้จะสร้างความสุขลวงที่อยากได้ดั่งใจหมายแต่ทุกข์ใจยาวนานไป ทำไม เป็นสุขใจได้ในทุกๆปัจจุบันแม้จะไม่ได้ดั่งใจอยาก ดั่งผู้มีปัญญาด้วยโศลกธรรม ที่ว่า “แม้ประสบทุกข์ ก็ยังหาสุขพบ” เจริญธรรมสำนึกดี มีใจไร้ทุกข์ ใจเย็น ใจเป็นสุข ให้ได้ในทุกๆปัจจุบัน Reply
ประภาพรรณ โอษฐ์ยิ้มพราย November 8, 2022 at 6:56 pm พุทธะชนะทุกข์ เรื่อง อยากได้ sd.card คำคมเพชรฯของอาจารย์มาฟัง เมื่อได้ยินทีมงานสื่อเปิด คำคมเพชรฯของอาจารย์ครั้งใด ก็มีความอยากได้มาฟัง เมื่อไหร่หนอทีมงานจะจัดทำมาจำหน่ายซะที จะได้ไว้เปิดฟังเวลาก่อนเข้านอน เพราะเห็นประโยชน์ในคำคมและมีความชอบที่ได้นำมาใช้กับชีวิตประจำวันในยามทุกข์ที่ผ่านมาจนคลายทุกข์ได้จริง จนเป็นเหตุสะสมกิเลสอยากได้โตขึ้นทุกวันๆ อริยสัจ 4 ทุกข์ รู้สึกทุกข์ใจ อึดอัดใจที่ไม่ได้ฟังคำคมฯของอาจารย์ สมุทัย อยากได้ sd.card คำคมฯอาจารย์ นิโรธ จะได้สมใจอยาก หรือไม่ได้สมใจอยาก ก็ไม่ทุกข์ มรรค แม้เห็นประโยชน์ที่ได้รับฟังมีมาก แต่เมื่อยังไม่ถึงเวลาจะได้ก็ไม่ได้ เราต้องสุขสมใจที่ไม่ได้ดั่งใจนั้นให้ได้ แม้ได้สุขสมใจอยากก็เป็นสุขแว๊บเดียว แล้วก็หายไป เป็นสุขลวง สุขหลอก ไม่มีจริงเก็บไม่ได้ เรายังไม่มีกุศล ในสิ่งนั้นยังมีวิบากอยู่ อยากได้มากๆทำชั่วได้ทุกเรื่อง เหนี่ยวนำให้ผู้อื่นเป็นตาม ทุกอย่างที่เกิดขึ้นดีที่สุดแล้ว(บททบทวนธรรม ข้อ 147) เมื่อได้ทบทวนซ้ำๆได้เข้าใจ ถึงความอยากได้ จะไม่ได้ ก็เลิกจากความอยากได้นั้นและเปลี่ยนจากความอยากได้โดยหาประโยชน์ได้จากการโหลดจากคลิปคำคมฯอาจารย์ มาฟังด้วยใจที่เบิกบาน ด้วยความสุขใจที่ยินดีแม้ไม่ได้สมใจอยาก ประภาพรรณ โอษฐ์ยิ้มพราย นศ.วิชชาราม ระดับอริยะปัญญาตรีชั้นปีที่1 Reply
ประพันธ์ โพธิ์คำ เท่ ใจถึงศีล กล้าจน November 13, 2022 at 6:51 pm สภาวธรรมประจำสัปดาห์ ณ วันเสาร์ที่ 12 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2565 ชื่อเรื่อง :- แม้ไม่ได้ดั่งใจ ก็เป็นสุขใจได้ เนื้อเรื่อง เมื่อวันศุกร์ที่ 11 พฤศจิกายนพ.ศ.2565 แท๊ปเล็ทที่ใช้เป็นประจำทุกๆวัน ได้เกิดเหตุไม่สามารถรับสัญญาณอินเตอร์เน็ทได้ โดยไม่ทราบสาเหตุ ได้แต่คิดไป เองว่า อาจจะเกิดจากการที่ก่อนหน้านี้ได้มีการแจ้งให้ทำการเชื่อมต่อระหว่างแท๊ป เล็ทกับแผ่นซิมการ์ดประจำเครื่องและสัญญาณอินเคอร์เน็ทภายนอก จึงได้แต่คิดไป เองว่าช่างเทคนิคของศูนย์บริการคงจะทำการเชื่อมต่อให้ผิดเครื่อง คำสำคัญ มีสุขได้ในทุกๆปัจจุบัน ประโยคสำคัญ ตามพระไตรปิฎก เล่มที่ 19 ข้อ 1717 “พึงกระทำความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความไม่ย่นย่อ ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะ อย่างแรงกล้า เพื่อตรัสรู้อริยสัจ ๔” :- 1-ทุกข์ คือ กังวลใจในต้นเหตุที่อยากให้ช่างเทคนิคของศูนย์บริการทำการเชื่อมต่อ สัญญาณอินเตอร์เน็ทให้ถูกเครื่อง 2. สมุทัย คือ สาเหตุแห่งทุกข์ที่อยากเครื่องแท๊ปเล็ทรับสัญญาณอินเตอรฺเน็ทได้ไม่ติด ขัดให้ได้สมใจจะสุขเป็นใจ 3. นิโรธ คือ แม้แท๊ปเล็ททั้งสองเครื่องจะไม่สามารถเชื่อมต่อสัญญาณอินเตอร์เน็ทได้ ก็ไม่ทุกข์ใจ เป็นสุขได้ แม้ไม่ได้ดั่งใจหวัง 4. มรรค คือ หนทางแห่งการดับทุกข์ พิจารณาวิบากกรรม ที่ได้เคยหน่วงเหนี่ยว ตัวเอง ผู้อื่น สัตว์อื่น ในอดีตที่ผ่านมา ไม่ ให้ได้รับความสะดวกด้วยประการต่างๆ พิจารณาโทษ ของความอยากได้ดั่งใจหวัง ทำให้ในปัจจุบันนี้ เราเองนั้นถูกหน่วงเหนี่ยว จนกระทั่งทำให้ไม่สามารถใช้เครื่องมือสื่อสารดั่งใจที่หวังเอาไว้ พิจารณาประโยชน์ของการไม่มีความอยาก ทำให้ไม่ทุกข์ใจ สบายใจ แม้จะเผชิญกับ ความทุกข์ ก็ยังหาความสุขใจได้ และ พิจารณาไตรลักษณ์ของสุขลวง (เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป) ทุกขัง ทุกข์ที่เกิดขึ้นนั้น เป็นสิ่งที่สร้างขึ้นมาเองจากใจที่ไม่มั่นคง ไม่มีตลอดไป อนิจจัง ความสุขเราคิดว่าจะได้ดั่งที่ตั้งใจหวังนั้น เป็นความสุขไม่มีจริงๆ แม้จะมีอยู่ ก็ ไม่ได้หมายความจะมีตลอดไป ไม่เที่ยง ต้องสร้างขึ้นมาใหม่ตลอดเวลาในทุกๆปัจจุบัน อนัตตา ความสุขที่เราต้งการได้มานั้น ไม่ตัวตน ไม่มีอยู่จริง เป็นเพียงใจของเราเท่านั้น ที่แสวงหา ไฝ่หา มาเองเพื่อให้เกิดทุกข์เท่านั้น เจริญธรรม สำนึกดี มีใจไร้ทุกข์ ใจเย็นให้ได้ให้ได้ในทุกๆปัจจุบัน Reply
ประพันธ์ โพธิ์คำ เท่ ใจถึงศีล กล้าจน November 14, 2022 at 6:23 pm สภาวธรรมประจำสัปดาห์ ณ วันจันทร์ที่ 13 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2565 ชื่อเรื่อง ไม่เป็นไร ได้มาเมื่อไหร่ ก็เมื่อนั้น เนื้อเรื่อง เมื่อวันอาทิตย์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ.2565 ช่วงประมาณก่อนเที่ยงวัน ได้ ติดต่อกับช่างเทคนิคเพื่อแก้ไขข้อติดขัดในการใช้แท๊ปเล็ทที่เชื่อมต่อสัญญาณอินเตอร์ เน็ทไม่ได้ สนทนากันสักประมาณหนึ่งชั่วโมงผ่านไป จึงได้ข้อสรุปว่า ทางฝ่ายให้บริการ โทรศัพท์จะเป็นผู้ส่งซิมการ์ดใหม่ พร้อมกับส่งข้อความการตั้งค่าการใช้แท๊ปเล็ทไปให้ โดยไม่ต้องชำระค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยกำหนดระยะเวลาการส่งไปให้ที่บ้านพักประมาณ 5- 7 วัน และจะโทรศัพท์ไปหาเพื่อทบทวน แนะนำการตั้งค่าการใช้แท๊ปเล็ท คำสำคัญ แม้ไม่ได้ดั่งใจ ก็ไม่ทุกข์ใจ ประโยคสำคัญ ตามพระไตรปิฎก เล่มที่ 19 ข้อ 1717 “พึงกระทำความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความไม่ย่นย่อ ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะอย่างแรงกล้า เพื่อตรัสรู้ อริยสัจ ๔” :- 1-ทุกขอริยสัจ ศูนย์บริการไม่สามารถจัดส่งซิมการ์ดไปให้ดั่งที่ใจต้องเร็วๆ 2. ทุกขสมุทัยอริยสัจ ทุกข์ที่ได้ไม่ดั่งใจหวัง ยึดมั่น ถือมั่น ที่อยากจะได้ซิมการ์ดโดยเร็ว 3- ทุกขนิโรธอริยสัจ แม้ศูนย์บริการการใช้โทรศัพท์จะไม่สามารถส่งซิมการ์ดให้โดย เร็ว ก็ไม่เป็นไร รอได้ เป็นสุขใจได้ ไม่ยึดมั่น ไม่ถือมั่น 4. ทุกขนิโรธอคามินีปฏิปทาอริยสัจ 4.1-พิจารณาวิบากกรรม ที่ในอดีตที่ผ่านมา ได้เคยมีพฤติกรรมในการหน่วงเหนี่ยว คู่กรณ๊หรือบุคคลอื่นๆต่างฝ่ายกัน ไม่ให้รับใสสิ่งที่จะต้องได้ตามสัญญาที่ตกลงกันไว้ 4.2-พิจารณาโทษ ของวิบากกรรม กล่าวคือ ทำสิ่งใดไว้ ก็สมควรแล้วที่จะต้องได้รับ สิ่งนั้นเช่นกัน แต่เมื่อได้เห็นโทษอย่างแท้จริงแล้ว ทำให้เก็นว่าวิบากต้องรับ กิเลสต้องล้าง พุทธะ จึงจะเกิด ตลายความยึดมั่น ถือมั่น ลงไปได้มาก 4.3-พิจารณาประโยชน์ของการขจัดกิเลสความทุกข์นั้นออกไปได้ ก็ทำให้บังเกิด ความสบายใจ คลายความอึดอัดใจ ผ่อนคลายความไม่พอใจ ออกไปได้ 4.4 พิจารณาไตรลักษณ์ของสุขลวง 4.4.1 อนิจจัง –เป็นอาการที่เกิดขึ้นมาก็ด้วยใจของเราที่ไม่แน่นอน ไม่มั่นคง ไม่เที่ยง 4.4.2 ทุกขัง –เป็นอาการทุกข์ของใจ ที่สร้างขึ้นมาเพื่อทับถมตัวเอง 4.4.3 อนัตตา- อาการของใจที่ไม่ได้ดั่งใจหวังนั้น ไม่มีตัวตน เกิดแต่ใจที่นึก คิดไปต่างๆนานา โดยแท้จริงแล้วความทุกข์ที่เกิดจากความต้องการนั้น เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ไม่นานแล้วก็ดับไป ด้วยการสละ สละคืน ปล่อยไป ไม่พัวพัน ก็ทำให้สุขใจได้ในทุกๆ ปัจจุบัน แม้ไม่ได้ดั่งใจอยาก เจริญธรรมสำนึกดี มีใจไร้ทุกข์ ใจเย็นให้ได้ให้ได้ในทุกๆปัจจุบัน Reply
ประพันธ์ โพธิ์คำ เท่ ใจถึงศีล กล้าจน November 17, 2022 at 8:58 pm สภาวธรรมประจำสัปดาห์ ณ วันจันทร์ที่ 15 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2565 ชื่อเรื่อง ไม่มารับกลับบ้านซะที เนื้อเรื่อง ในช่วงเช้าของวันอังคารที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ.2565 หลังจากที่ได้ส่งคืน แท๊ปเล็ทเครื่องเก่าที่สำนักงานไปรษณีย์ประจำเมืองแล้ว ได้โทรศัพท์เรียกรถแท๊กซี่จาก ศูนย์บริการ เพื่อให้มารับกลับบ้านพัก ซึ่งได้รับการตอบรับและบอกว่าจะจัดส่งรถแท๊กซี่ มารับ แต่ปรากฎว่ารออยู่ประมาณ 20 นาที ก็ยังไม่มารับ จึงได้โทรศัพท์เข้าเครื่องของรถ แท๊กซี่ ก็ได้รับการยืนยันว่าจะมารับภายในอีก 20 นาที จนกระทั่งเวลาได้ล่วงไปแล้วก็ยัง ไม่มารับ จึงต้องโทรศัพท์เรียกเพื่อนที่อาศัยอยู่บ้านเดียวกันให้มารับ ซึ่งเพื่อนมารับ ภายในเวลาประมาณ 10 นาที คำสำคัญ แม้ไม่ได้ดั่งใจ ก็เป็นสุขใจได้ ประโยคสำคัญ ตามพระไตรปิฎก เล่มที่ 19 ข้อ 1717 “พึงกระทำความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความไม่ย่นย่อ ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะ อย่างแรงกล้า เพื่อตรัสรู้อริยสัจ ๔” :- 1-ทุกขอริยสัจ ปรารถนาที่จะให้รถแท๊กซี่มารับเร็วๆ ไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์ แต่แท๊กซี่ไม่มารับกลับบ้านดั่งที่ใจจึงเป็นทุกข์ 2. ทุกขสมุทัยอริยสัจ ตัณหาอันทำให้เกิดความอยากมารับกลับบ้านเร็วๆ 3- ทุกขนิโรธอริยสัจ ดับตัณหาที่อยากให้แท๊กซี่มารับเร็วๆ ไม่เหลือด้วย วิราคะ ความ สละ ความสละคืน ความพ้น ความไม่อาลัยในตัณหาที่เกิดความอยากให้ได้ดั่งใจ ปรารถนา แม้แท๊กซี่ไม่มารับ ก็เป็นสุขใจ 4. ทุกขนิโรธอคามินีปฏิปทาอริยสัจ 4.1-พิจารณาวิบากกรรม ในช่วงเวลาที่เป็นไดว์เว่อร์ส่งอาหาร ได้มีพฤติกรรม หน่วงเหนี่ยวสินค้าอาหาร ทำให้ลูกค้าได้รับอาหารล่าช้า 4.2-พิจารณาโทษ ของวิบากกรรมที่เคยทำในช่วงเวลาที่ผ่านมาของชาตินี้ จึง ส่งผลไปดึง ไปดล ให้ผู้อื่นมากระทำเช่นนั้นด้วยการไม่มารับในช่วงเวลาปัจจุบัน แต่เมื่อได้เห็นโทษที่ได้รับจากการที่เคยมีพฤติกรรมเช่นนั้นมาอย่างแท้จริงแล้ว ทำให้บังเกิดความสุขใจ ที่ได้รับวิบากร้ายที่เคยทำมาและได้ล้างกิเลสจากความอยากให้ ได้รับการปฏิบัติดั่งใจที่มุ่งหมาย ดั่งบททบทวนธรรมที่ว่า วิบากต้องรับ กิเลสต้องล้าง พุทธะจึงจะเกิด 4.3-พิจารณาประโยชน์ของการขจัดกิเลสความทุกข์นั้นออกไปได้ ก็ทำให้คลาย ความ วิตก กังวล ผ่อนคลายความหงุดหงิด ความไม่พอใจ ออกไปได้ พุทธะก็จะเข้ามาสู่ ใจที่เป็นสุข และได้รับความเป็นสุขใจที่ยอดเยี่ยมกว่าการเป็นทุกข์ใจ 4.4 พิจารณาไตรลักษณ์ของสุขลวง 4.4.1 อนิจจัง –ความวิตก กังวล สงสัย เป็นอาการที่เกิดขึ้นมาก็ด้วยใจของเรา ที่ปรุงแต่ง ไม่แน่นอน ไม่มั่นคง ไม่เที่ยง 4.4.2 ทุกขัง – เป็นการสร้างทุกข์ของใจ ปรุงแต่ง ความ วิตก กังวล สงสัย ขึ้นมาทับถมตัวเองทั้งนั้น 4.4.3 อนัตตา- ความวิตก กังวล สงสัย เป็นอุปาทานที่เกิดขึ้นมานั้น ไม่มีตัวตน ไม่มีอยู่จริง จึงไม่ควรเข้าไปยึดมั่น ถือมั่น โดยแท้จริงแล้วความทุกข์ที่เกิดจากความต้องการนั้น เป็นการสร้างทุกข์ทับถม ตัวอง จึงต้องจัดการด้วยการสละ สละคืน ปล่อยไป ไม่พัวพัน เพื่อมิให้กิเลสและความ ทุกข์ใจนั้นๆกลับมากำเริบอีก ก็จะทำให้เป็นสุขใจได้ในทุกๆปัจจุบัน “แม้ประสบทุกข์ ก็ยังหาสุขพบ” เจริญธรรม สำนึกดี มีใจไร้ทุกข์ —————————————————————————————– Reply
ประพันธ์ โพธิ์คำ เท่ ใจถึงศีล กล้าจน November 22, 2022 at 7:57 am สภาวธรรมประจำสัปดาห์ ณ วันจันทร์ที่ 21 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2565 ชื่อเรื่อง ไม่ได้ดั่งใจอีกแล้ว เนื้อเรื่อง การบ้าน พุทธชนะทุกข์-อริยสัจ 4 ซึ่งเป็นตอนที่ 3 ได้ผ่านการติดต่อจาก ช่างเทคนิคของศูนย์บริการการใช้โทรศัพท์เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 17 พฤศจิกายน 2565 ที่ผ่านมา เพื่อช่วยเหลือในการติดตั้งค่าการใช้งานของเครื่องแท๊ปเล็ท แต่ปรากฎว่า ช่างเทคนิคดังกล่าว ไม่อาจช่วยได้อีกเช่นกัน และได้คาดการณ์ว่าคงเป็นเพราะข้อบก พร่องของเครื่องแท๊ปเล็ทและศูนย์การให้บริการส่งเครื่องแท๊ปเล็ทและซิมการ์ดมาให้ ไม่ตรงตามรุ่นกัน กล่าวคือไม่สามารถเชื่อมต่อกับระบบใหญ่ได้ จึงได้ทำการติดต่อให้ ส่งเครื่องแท๊ปเล็ทไปที่ร้านจัดจำหน่ายโทรศัพท์ เพื่อให้ไปติดต่อรับเครื่องแท๊ปเล็ท และให้พนักงานของร้านฯช่วยเหลือในการตั้งค่าการใช้แท๊ปเล็ทในช่วงวันพุธที่ 23 พฤศจิกายน 2565 คำสำคัญ แม้ไม่ได้ดั่งใจ ก็ไม่ทุกข์ใจ ประโยคสำคัญ ตามพระไตรปิฎก เล่มที่ 19 ข้อ 1717 “พึงกระทำความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความไม่ย่นย่อ ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะ อย่างแรงกล้า เพื่อตรัสรู้อริยสัจ ๔” :- 1-ทุกขอริยสัจ ร้อนใจที่ช่างเทคนิคของศูนย์บริการใหญ่อุตส่าห์โทรศัพท์มาช่วยด้วย ตัวเอง ก็ยังไม่อาจจะติดตั้งการใช้ให้ได้ เป็นอะไรกันนักกันหนานะ 2. ทุกขสมุทัยอริยสัจ ไม่ได้ดั่งใจที่อยากให้แท๊ปเล็ทใช้งานได้ ยึดมั่นถือมั่นว่าช่างเทค นิคจากศูนย์บริการใหญ่ต้องช่วยเหลือได้ดั่งที่ใจต้องการ ได้สมใจจะสุขใจ ไม่ได้สมใจจะ ทุกข์ใจ 3- ทุกขนิโรธอริยสัจ ตัณหาดับโดยไม่เหลือ ด้วยการไม่ทุกข์ใจ แม้ไม่ได้ดั่งที่ใจต้องการ 4. ทุกขนิโรธอคามินีปฏิปทาอริยสัจ 4.1-พิจารณาวิบากกรรม ที่ได้เคยทำไม่ดีกับผู้อื่น ที่มีลักษณะของการหน่วงเหนี่ยว ข้อมูล หลักฐาน เอกสาร ต่างๆที่ใช้ในการดำเนินคดีและใช้ในการประสานงานกับหน่วยงาน ต่างๆ 4.2-พิจารณาโทษ ของความอยากที่ให้ได้ดั่งใจ ได้บังเกิดความไม่สบายเนื้อไม่ กาย ไม่สบายใจ เป็นทุกข์ทั้งกายและใจ แต่เมื่อได้เห็นโทษอย่างแท้จริงแล้วทำให้บังเกิดความสำนึกได้ว่า เมื่อเกิดทุกข์ใจ ทุกข์กาย เรื่องร้ายเข้ามาในชีวิต เขามาเพื่อ ให้เราได้ชดใช้ ให้เราไม่ประมาท ให้เราเพิ่ม อริยศีล ให้เราได้สำนึก ให้เราได้หมดวิบาก 4.3-พิจารณาประโยชน์ของการไม่มีความอยาก ทำให้อาการไม่สบายเนื้อไม่สบาย กาย ไม่สบายใจ ผ่อนคลายจนกระทั่งเข้าสู่สภาวะปกติของร่างกายและจิตใจ 4.4 พิจารณาไตรลักษณ์ของสุขลวง 4.4.1 อนิจจัง –เป็นอาการที่ไม่เที่ยงของความเป็นทุกข์ที่เกิดจากใจที่สร้างขึ้นมา เอง 4.4.2 ทุกขัง – อาการเป็นทุกข์ของใจเพราะสร้างทุข์ขึ้นมาเพื่อแลกกับสุขที่ไม่ ยั่งยืน ไม่มีแก่นสารใดๆทั้งสิ้น 4.4.3 อนัตตา- อาการของความสุขใจที่ไม่มีตัวตน นึก คิด ขึ้นมาเอง ด้วยการ แสวงหาในสิ่งที่ไม่นั่งยืน ไม่คงที่ โดยแท้จริงแล้วความทุกข์ที่เกิดจากความต้องการนั้น เกิดขึ้น ตั้งอยู่ไม่นาน แล้วก็ดับไป ด้วยการสละ สละคืน ปล่อยไป ไม่พัวพัน ก็ทำให้สุขใจได้ในทุกๆปัจจุบัน แม้ไม่ได้ดั่งใจอยาก เจริญธรรมสำนึกดี มีใจไร้ทุกข์ ใจเย็นให้ได้ให้ได้ในทุกๆปัจจุบัน Reply
ประพันธ์ โพธิ์คำ เท่ ใจถึงศีล กล้าจน November 22, 2022 at 6:42 pm สภาวธรรมประจำสัปดาห์ ณ วันจันทร์ที่ 21 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2565 ชื่อเรื่อง ไม่เสร็จซักที เนื้อเรื่อง เมื่อวันเสารที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ.2565 ได้โทรศัพท์ไปติดต่อสอบถาม ความคืบหน้าในการซ่อมรถยนต์ส่วนตัวกับช่างเทคนิคว่า “ด้จัดการซ่อมไปถึงไหน แล้ว แต่ก็ได้รับคำตอบไม่เป็นที่พอใจเป็นยิ่งนัก และก็ไม่ยืนยันว่ารถยนต์จะทำการ ซ่อมเสร็จเมื่อไร ทั้งที่เวลาผ่านมาตั้งเกือยหนึ่ลเดือนแล้ว และยิ่งเป็นทุกข์มากยิ่งขึ้น ที่เจ้าของร้ายอาหารที่ทำงานอยู่นั้น ได้โทรศัพท์มาสอบถามว่ารถยนต์ยังซ่อมไม่เสร็จ อีกหรือ แล้วจะซ่อมเสร็จเมื่อไร ก็ทำให้ไม่สามารถยืนยันได้แน่นอน ยิ่งเป็นการเพิ่ม ความไม่พึงพอใจให้มากยิ่งขึ้นไปอีก เพราะไม่ได้ทำงานมาเกือบหนึ่งเดือนแล้ว คำสำคัญ จะเสร็จหรือไม่เสร็จ ก็ไม่เป็นไร รอได้ ประโยคสำคัญ ตาม 1-บททบทวนธรรม ข้อที่ 25 เมื่อเกิดทุกข์ใจ ทุกข์กาย เรื่องร้ายเข้ามาในชีวิต เขามาเพื่อ ให้เราได้ชดใช้ ให้เราไม่ประมาท ให้เราเพิ่มอริยศีล ให้เราได้สำนึก ให้เราได้หมดวิบาก 2- พระไตรปิฎก เล่มที่ 19 ข้อ 1717 “พึงกระทำความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความไม่ย่นย่อ ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะ อย่างแรงกล้า เพื่อตรัสรู้อริยสัจ 4” :- 1-ทุกขอริยสัจ อึดอัด รำคาญ ร้อนรุ่ม กลุ้มใจ ช่างเทคนิคซ่อมรถยนต์ไม่เสร็จซะที 2. ทุกขสมุทัยอริยสัจ ต้องการให้ช่างเทคนิคซ่อมรถยนต์เสร็จเร็วๆดั่งที่ใจต้องการ 3- ทุกขนิโรธอริยสัจ ตัณหาดับโดยไม่เหลือ เสร็จก็ชั่ง ไม่เสร็จก็ชั่ง เสร็จเมื่อไหร่ ก็เมื่อนั้น จะได้สมใจหรือไม่ได้สมใจที่อยาก ก็เป็นสุขใจ ใจที่ไร้ทุกข์ ไร้กังวล 4. ทุกขนิโรธอคามินีปฏิปทาอริยสัจ 4.1-พิจารณาวิบากกรรม ช่วงเวลานี้คงเป็นวิบากร้ายของเราที่ไปดึง ไปดล ให้ บุคคบอื่นๆเข้ามากระทำไม่ดีต่อเรา ร่วมกับวิบากร้ายของเราเองนั่นแหละ ที่ต้องรับวิบาก ร้ายและก่อให้เกิดกิเลสในใจของเรา 4.2-พิจารณาโทษ ของความอยาก ทำให้ อึดอัดขัดข้องใจ ความสมดุลร้อน-เย็น ของร่างกายบกพร่อง เครียด ขับถ่ายไม่ดีเท่าที่ควร แต่เมื่อได้เห็นโทษอย่างแท้จริง ทำให้บังเกิดการวางใจว่า ช่างเทคนิคจะซ่อม เสร็จเมื่อไหร่ ก็เมื่อนั้น ไม่โทรศัพท์ไปเร่งรัด แม้เจ้าของร้านอาหารที่ทำงาน จะโทรศัพท์ มาตอบถาม ก็ไม่ วิตก กังวล หวั่นไหว 4.3-พิจารณาประโยชน์ของการไม่มีความอยาก ไม่อึดอัดขัดใจตัวเอง ทำให้การ ปรับสมดุลร้อน-เย็น ของร่างกาย-จิตใจ ดีขึ้น ระบบการไหลเวียนของลมปราณดีขึ้น ขับ ถ่ายได้เป็นปกติดี 4.4 พิจารณาไตรลักษณ์ของสุขลวง ที่ใจของเราสร้างทุกข์ขึ้นมาทับถมตัวเอง และกับสุขที่ไม่มีจริง 4.4.1 อนิจจัง –ความสุขที่ได้จากการสร้างความอยากเป็นอาการที่ไม่เที่ยง เกิด ขึ้นมาก็ด้วยใจของเราที่ไม่แน่นอน ไม่มั่นคง 4.4.2 ทุกขัง – อาการเป็นทุกข์ของใจ 4.4.3 อนัตตา- อาการของใจที่ไม่มีตัวตน เกิดแต่ใจที่นึกคิดไปต่างๆนานา โดยแท้จริงแล้วความทุกข์ที่เกิดจากความต้องการนั้น เกิดขึ้น ตั้งอยู่ไม่นาน แล้วก็ดับไป ด้วยการสละ สละคืน ปล่อยไป ไม่พัวพัน ไม่ให้กลับมากำเริบอีก ก็ทำให้สุข ใจได้ในทุกๆปัจจุบัน แม้ไม่ได้ดั่งใจอยาก เจริญธรรมสำนึกดี มีใจไร้ทุกข์ เป็นสุขใจให้ได้ ในทุกๆปัจจุบัน Reply
ประพันธ์ โพธิ์คำ เท่ ใจถึงศีล กล้าจน November 23, 2022 at 6:05 am สภาวธรรมประจำสัปดาห์ ณ วันอังคาร ที่ 22 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2565 ชื่อเรื่อง โอ้ยปวดฟันซี่เดิมอีกแล้ว ทำไงดี เนื้อเรื่อง วันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ.2565 เวลาเช้าตรู่ 3.00 นาฬิกา ตรงกับเวลา ในประเทศไทย 16.00 นาฬิกา(บ่ายสี่โมง) ซึ่งเป็นเวลาของรายการสายด่วน ถาม-ตอบ ปัญหาสุขภาพ อ่านบททบทวนธรรม แบ่งปันประสบการณ์การนำบททบทวนธรรมไป ใช้ในชีวิตประจำวัน ได้มีอาการปวดฟันซี่ที่เป็นเขี้ยวเล็กน้อย จนกระทั่งเวลาล่วงไปจนถึง เวลาประมาณ 14.00 นาฬิกา ตรงกับเวลาในประเทศไทยที่ ตี 3.00(3.00 นาฬิกาเช้า) เป็นช่วงเวลาของรายการธรรมะรับอรุณ แต่ในขณะเดียวกันต้องทำการตัดต่อวิดีโอชุดส่ง การบ้านของวันที่ 11 พฤศจิกายน 2565 เพื่อส่งให้จิตอาสานำไปถอดออกมาเป็นเอกสาร เผยแพร่ให้จิตอาสาห้องต่างๆในโปรแกรมไลน์ ทั้งนี้ ทั้งนั้น เพื่อเป็นการผ่อนคลายอาการ ปวดฟันและบำเพ็ญบุญให้กับหมู่มิตรดี แต่ดูประหนึ่งว่าอาการทางร่างกายที่ปวดฟันจะยิ่ง มีอาการปวดมากขึ้น จึงได้นำน้ำ 4 พลัง ที่ทำเอาไว้ใช้ในยามฉุกเฉินผสมกับยาสีฟันผง ของแพทย์วิถีธรรม และได้เอามาอมไว้ในปากเพื่อลดพิษร้อนในช่องปาก ลดอาการปวด ฟัน แต่ก็ยังคงบรรเทาอาการปวดฟันลงไปได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่ยังแถมด้วยอาการ หนาวสะท้านคล้ายๆจะเป็นไขั จึงได้ทำการสวนล้างลำไส้ใหญ่ด้วยน้ำสมุนไพรในตัวล้วนๆ เพื่อระบายพิษร้อนออกจากร่างกายให้เร็วที่สุด ตามที่จิตอาสาท่านอื่นๆได้แบ่งปันประสบ ให้ชม ฟัง ในรายการอพทย์แผนไทยวิถีธรรมค้ำจุนโรค ก็ทำให้อาการทุกข์ทางร่างกายได้ ทุเลาเป็นอันมาก(ในขณะที่ทำการบ้านนี้อยู่ อาการปวดฟัน ทุเลา เบาบางลงมากแล้ว ซึ่ง ในทุกช่วงเวลาที่ผ่านมานั้น ได้ทำการอมน้ำพลัง 4 ผสมกันยาสีฟัน และทำการตรวจวัดใจ ตลอดเวลาว่าทุกข์ใจหรือไม่ คำสำคัญ ถ้าเราดับทุกข์ใจได้ ก็ไม่มีทุกข์อะไรที่ดับไม่ได้ ประโยคสำคัญ ตามพระไตรปิฎก เล่มที่ 19 ข้อ 1717 “พึงกระทำความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความไม่ย่นย่อ ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะ อย่างแรงกล้า เพื่อตรัสรู้อริยสัจ ๔” :- 1-ทุกขอริยสัจ อึดอัด รำคาญ วิตก กังวล ร้อนรุ่ม กลุ้มใจ ในอาการปวดฟันซี่ดังกล่าว 2. ทุกขสมุทัยอริยสัจ ตัณหาคือความอยากให้อาการปวดฟันหายไปโดยเร็ว 3- ทุกขนิโรธอริยสัจ ตัณหาดับโดยไม่เหลือ แม้อาการปวดฟันจะทุเลาลงเพียงเล็กน้อย ก็ ไม่ทำให้ทุกข์ใจ ร่างกายมีอาการป่วยแต่ใจมิได้ป่วยตามไปด้วย 4. ทุกขนิโรธอคามินีปฏิปทาอริยสัจ 4.1-พิจารณาวิบากกรรมที่เกิดขึ้นมานี้ คงเป็นเพราะกินอาหารมากเกินไป ใช้ฟัน กัด เคี้ยวอาหารมากเกินไป และเตรี่ยมทำอาหารปรุงรส พะโล้หน่อไม้จีน 4.2-พิจารณาโทษ ของความอยาก จากการที่ผิดอริยศีลที่ได้เคยตั้งเอาไว้ อยาก กินอาหารปรุงรสจัดจึงเป็นเหตุให้วิบากร้ายและกิเลสมาเตือน ดังนั้นเมื่อมาถึง ณ.เวลานี้ ทำให้อาการปวดฟันที่ปวดมาทั้งวัน มีอาการปวดที่ทุเลาลงเป็นอย่างมาก แต่เมื่อได้เห็นโทษอย่างแท้จริง ทำให้บังเกิดความสำนึกผิดตามบททบทวนธรรม ข้อที่ 22. ถ้าใครมีปัญหาหรือความ เจ็บป่วยในชีวิต ให้ทำความดี 4 อย่างนี้ ด้วยความยินดี จริงใจ จะช่วยให้ปัญหาหรือความเจ็บป่วย ลดลงได้เร็ว ๑) สำนึกผิด หรือ ยอมรับผิด ๒) ขอรับโทษ เต็มใจรับโทษ หรือ ขออโหสิกรรม ๓) ตั้งจิตหยุดสิ่งที่ไม่ดีอันนั้น ๔) ตั้งจิตทำความดีให้มาก ๆ คือ ลดกิเลสให้มาก ๆ เกื้อกูลผองชนและหมู่สัตว์ให้มาก ๆ 4.3-พิจารณาประโยชน์ของการไม่มีความอยาก ทำให้ระลึกได้ว่าการผิดต่อศีล ดื้อต่อศีล ทำให้เกิดความ ทุกข์หนัก ทุกข์หนักมาก ทุกข์หนักที่สุด แล้วอย่างนี้จะสร้าง ทุกข์ทับถมตัวเอง และ 4.4 พิจารณาไตรลักษณ์ของสุขลวง 4.4.1 อนิจจัง –เป็นอาการของการอยากได้ความสุขเพียงชั่วครู่แค่ยัดอาหารที่ต้อง การ ที่อยากกิน เป็นความสุข ที่ไม่เที่ยง เกิดขึ้นมาก็ด้วยใจของเราที่ไม่แน่นอน ไม่มั่นคง 4.4.2 ทุกขัง – อาการเป็นทุกข์ของใจที่ต้องการจะสร้างสุขที่ไม่มีอยู่จริง 4.4.3 อนัตตา- อาการของใจเป็นสุขที่ไม่มีตัวตน เกิดแต่ใจที่นึกคิดไปต่างๆนานา เท่านั้น โดยแท้จริงแล้วความทุกข์ที่เกิดจากความต้องการนั้น เกิดขึ้น ตั้งอยู่ไม่นาน แล้วก็ดับไป ด้วยการสละ สละคืน ปล่อยไป ไม่พัวพัน ก็ทำให้สุขใจได้ในทุกๆปัจจุบัน แม้ไม่ได้ดั่งใจอยาก เจริญธรรมสำนึกดี มีใจไร้ทุกข์ ใจเย็นให้ได้ให้ได้ในทุกๆปัจจุบัน Reply
ประพันธ์ โพธิ์คำ เท่ ใจถึงศีล กล้าจน November 24, 2022 at 5:43 am การบ้าน พุทธชนะทุกข์-อริยสัจ 4 ซึ่งเป็นตอนที่ 4 สภาวธรรมประจำสัปดาห์ ณ วันจันทร์ที่ 23 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2565 ชื่อเรื่อง ไม่ได้ดั่งใจอีกแล้ว เนื้อเรื่อง ได้ผ่านการติดต่ออละช่วยเหลือการตั้งค่าการใช้งานของเครื่องแท๊ปเล็ท จาก ช่างเทคนิคของศูนย์บริการการใช้โทรศัพท์เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 17 พฤศจิกายน 2565 ที่ผ่าน และให้พนักงานของร้านฯช่วยเหลือในการตั้งค่าการใช้แท๊ปเล็ทในช่วงวันพุธที่ 23 พฤศจิกายน 2565 แต่ปรากฎว่าพนักงานของศุนย์บริการก็ไม่อาจให้ความช่วยเหลือในการ ปลดล๊อคเครื่องแท๊ปเล็ทได้ และได้บอกว่าจะสั่งแท๊ปเล็ทเครื่องใหม่มาตั้งค่าการใช้งานให้ ใหม่อีกครั้งหนึ่งและให้นำแท๊ปเล็ทเครื่องที่มีปัญหาไปด้วย เพื่อจำได้ทำการตั้งค่าและถ่าย โอนข้อมูลต่างๆนำไปใส่ไว้ในเครื่องใหม่ ซึ่งต้องใช้เวลาในการสั่งแท็ปเล็ทเครื่องใหม่ ซึ่ง ต้องใช้เวลาประมาณ หนึ่งอาทิตย์กว่าๆ คำสำคัญ แม้ต้องเผชิญกับปัญหาเดิมๆ ก็เป็นสุขใจได้ ประโยคสำคัญ ตามพระไตรปิฎก เล่มที่ 19 ข้อ 1717 “พึงกระทำความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความไม่ย่นย่อ ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะ อย่างแรงกล้า เพื่อตรัสรู้อริยสัจ 4” :- 1-ทุกขอริยสัจ ร้อนใจที่พนักงานของศูนย์บริการทั้งสองท่านอุตส่าห์ช่วยเหลือในการ ตั้งค่าการใช้งาน ก็ยังไม่อาจจะติดตั้งการใช้ให้ได้ 2. ทุกขสมุทัยอริยสัจ ไม่ได้ดั่งใจที่อยากให้แท๊ปเล็ทใช้งานได้ ยึดมั่นถือมั่นว่าพนักงาน ที่ศูนย์บริการต้องช่วยเหลือได้ดั่งที่ใจต้องการ ได้สมใจจะสุขใจ ไม่ได้สมใจจะทุกข์ใจ 3- ทุกขนิโรธอริยสัจ ตัณหาดับโดยไม่เหลือ ด้วยการไม่ทุกข์ใจ แม้ไม่ได้ดั่งที่ใจต้องการ พนักงานให้บริการจะให้ความช่วยเหลือไม่ได้ ก็ไม่ทุกข์ใจ 4. ทุกขนิโรธอคามินีปฏิปทาอริยสัจ 4.1-พิจารณาวิบากกรรม ที่ได้เคยทำไม่ดีกับผู้อื่น ที่มีลักษณะของการหน่วงเหนี่ยว ข้อมูล หลักฐาน เอกสาร ต่างๆที่ใช้ในการดำเนินคดีและใช้ในการประสานงานกับหน่วยงาน ต่างๆ ซึ่งเป็นวิบากร้ายที่หนักและมีมากมาย 4.2-พิจารณาโทษ ของความอยากที่ให้ได้ดั่งใจ ได้บังเกิดความไม่สบายเนื้อไม่ กาย ไม่สบายใจ เป็นทุกข์ทั้งกายและใจ แต่เมื่อได้เห็นโทษอย่างแท้จริงแล้วทำให้บังเกิดความสำนึกได้ว่า เมื่อเกิดทุกข์ใจ ทุกข์กาย เรื่องร้ายเข้ามาในชีวิต เขามาเพื่อ ให้เราได้ชดใช้ ให้เราไม่ประมาท ให้เราเพิ่ม อริยศีล ให้เราได้สำนึก ให้เราได้หมดวิบาก 4.3-พิจารณาประโยชน์ของการไม่มีความอยาก ทำให้อาการไม่สบายเนื้อไม่สบาย กาย ไม่สบายใจ ผ่อนคลายจนกระทั่งเข้าสู่สภาวะปกติของร่างกายและจิตใจ 4.4 พิจารณาไตรลักษณ์ของสุขลวง 4.4.1 อนิจจัง –เป็นอาการที่ไม่เที่ยงของความเป็นทุกข์ที่เกิดจากใจที่สร้างขึ้นมา เอง 4.4.2 ทุกขัง – อาการเป็นทุกข์ของใจเพราะสร้างทุข์ขึ้นมาเพื่อแลกกับสุขที่ไม่ ยั่งยืน ไม่มีแก่นสารใดๆทั้งสิ้น 4.4.3 อนัตตา- อาการของความสุขใจที่ไม่มีตัวตน นึก คิด ขึ้นมาเอง ด้วยการ แสวงหาในสิ่งที่ไม่ยั่งยืน ไม่คงที่ โดยแท้จริง ความทุกข์ที่เกิดจากความต้องการนั้น เกิดขึ้น ตั้งอยู่ไม่นานก็ดับไป ด้วยการสละ สละคืน ปล่อยไป ไม่พัวพัน ก็ทำให้สุขใจได้ในทุกๆปัจจุบัน ที่ไม่ได้ดั่งใจ อยาก เจริญธรรมสำนึกดี มีใจไร้ทุกข์ ในทุกๆปัจจุบัน Reply
ประภาพรรณ โอษฐ์ยิ้มพราย November 24, 2022 at 6:38 pm อริยสัจ4 เรื่อง พ่อบ้านอยากทำนา ข้าพเจ้าพูดหลายครั้งแล้วว่า อย่าอยากทำนานักเลย มาช่วยกันปลูกผัก ผลไม้กินกันดีกว่า ข้าวไม่ต้องกลัวไม่มีกินหรอก อาจารย์ท่านไม่ปล่อยให้ลูกศิษย์ไม่มีข้าวกินแน่ ซื้อที่อาจารย์กับบ้านราช ก็มีขาย ก็ไม่ฟัง ทำไปทำมาก็มาเอาที่สวนหลังบ้านทำนา ทุกข์ ไม่พอใจที่พ่อบ้านทำนา สมุทัย อยากให้ปลูกผัก ผลไม้ นิโรธ พ่อบ้านจะทำนาหรือไม่ทำ เราก็ไม่ทุกข์ใจ มรรค. เมื่อเราบอกแล้วพ่อบ้านไม่ฟังและไม่ทำตามความเห็นของเราไม่สมใจเราที่ตั้งใจไว้ก็ดีแล้วที่เราไม่ถูกกิเลสเราหลอก เวลานี้ไม่ใช่เวลาที่จะได้สมใจอยากปลูกผักตามความเห็นของเรา อยากให้สมดั่งใจหมายนั้นมันไม่เที่ยง มันเป็นทุกข์ สุขแป๊ปเดียวเดี๋ยวมันก็หายไป เมื่อพิจารณาดังนั้นก็เข้าใจ มันเป็นสุขลวง เราถูกกิเลสมันหลอก ก็เลยเปลี่ยนความคิดให้ใจเป็นสุข จะเอาทุกข์เข้าตัวทำไม ทำนาก็ได้ข้าวจะมากหรือน้อยก็สุดแท้แต่ท่านตามกุศลอกุศลของท่าน เราต้องยินดีกับท่าน ล้างความยึดมั่นถือมั่น ด้วยความสุขสบายใจไร้กังวล ไม่วิวาท ยินดีที่ท่านทำนาปลูกข้าว ตามที่ท่านตั้งใจ เมื่อใจมีความยินดีกับท่านก็เบิกบาน แจ่มใส ใจเป็นสุข ประภาพรรณ โอษฐ์ยิ้มพราย นศ.วิชชารามระดับอริยะปัญญาตรี ชั้นปีที่1 Reply
ประภาพรรณ โอษฐ์ยิ้มพราย November 24, 2022 at 6:43 pm พุทธะชนะทุกข์ เรื่อง วิบากต้องรับ วันที่8 ก.ย.65 เวลาตี2 เกิดอาการคันตรงเหนือเข่าข้างขวา ธาตุไฟกำเริบ คันมาก ก็ลูบขาไม่ได้เกาแล้วหลับต่อ ตื่นมาตี3ครึ่ง ตุ่มพองขึ้นเม็ดใหญ่ เป็นกลุ่มหลายเม็ด ไม่เจ็บ วันนี้ต้องเดินทางไปสวน3ปทุม เพื่อเข้าค่ายพักค้าง3วัน ระหว่างทางก็คิดไว้แล้วว่าลงของที่แบ่งปันเสร็จก็จะกลับเพราะไม่สะดวกในหลายเรื่องและต้องมารักษาแผลพุพองที่เกิดขึ้นด้วยยา9เม็ดตรวจดูใจที่เห็นตุ่มพองก็ไม่ได้ทุกข์ใจอะไร เพราะสาเหตุที่เกิดเราเป็นคนทำเอง เพราะกินเต้าหู้ทอด เต้าหู้ซื้อมาแล้วมาทอดเองแม้น้ำมันน้อยก็ทำให้เกิดพิษแก่เราได้ ก็ใช้ผงพอกมาพอกแผลทุกวัน ดีท็อกทุกวัน ใช้น้ำปัสสาวะเช็ดและใช้สำลีโปะแผลไว้ตลอดคืน ดื่มสมุนไพรในตัว และน้ำสมุนไพรสดที่ปั่น ก่อนนอนดื่มน้ำ5พลัง ช่วงอาหารกินตามลำดับ กินผักสด ข้าวโรยเกลือผักต้ม ส่วนมากจะเป็นผักฤทธิ์เย็น มีข้าวโพดต้ม ฤทธิ์ร้อนที่กินมีมันต้มลูกเล็ก1ลูก เพื่อปรับสมดุล ถั่วที่มีฤทธิ์เย็น และลูกเดือย นอกจากนี้แล้ว เม็ดที่6ก็ทำทุกวัน และเม็ดที่เลิศสุดคือเม็ดที่8คือฟังธรรมท่านอาจารย์ และ สิ่งสำคัญอีกอย่างคือเชื่อเรื่องกรรม วิบากกรรมที่ได้รับคือเราทำมาจึงต้องรับผลกรรมที่ทำมาด้วยใจที่ไร้ทุกข์ ในการรักษาด้วยยา 9เม็ดนี้ สิ่งสำคัญที่สุดคือ ไม่เร่งผล ไม่กังวล ทำไปด้วยใจไม่ทุกข์ จะใช้เม็ดไหนๆก็แล้วแต่ที่เราสะดวก เจ็บป่วยครั้งนี้ใช้เวลาดูแลรักษา5วันแผลก็แห้งหาย อริยสัจ4 ทุกข์ กังวลใจแผลพุพองที่เกิดขึ้น สมุทัย ไม่อยากให้เกิดแผล นิโรธ แผลจะเกิดหรือไม่เกิด ก็ยินดีรับด้วยใจที่ เป็นสุข มรรค. เพราะกิเลสที่อยากกินๆแล้วตุ่มพองขึ้นทำให้ทุกข์เบียดเบียนตนเองและเหนี่ยวนำผู้อื่นเป็นตามทำให้เสียแรงเสียเวลาต้องมาดูแลตัวเองให้หายปรับสมดุลร่างกายแทนที่จะเอาเวลาไปทำกุศลวิบากร้ายที่เกิดขึ้นส่งผลให้ทุกข์ทางกาย สิ่งที่ได้รับคือสิ่งที่เราทำมา รับแล้วก็หมดไป ต้องยอมรับความจริงที่เกิดขึ้นและยอมรับผิดตั้งจิตหยุดสิ่งที่ไม่ดีนั้นและทางใจ เราต้องยินดีรับผลกรรมนั้น วิบากตัองรับกิเลสต้องล้างพุทธะจึงจะเกิดเหตุการณ์นี้ทำให้เราได้เรียนรู้ทุกข์ที่อยากกิน เราได้ใช้วิบากด้วยใจที่เป็นสุข ใจไร้ทุกข์ เราไม่ทำทุกข์ทับถมตนเชื่อในวิบากกรรมที่เราทำมาด้วยใจที่ยินดี ประภาพรรณ โอษฐ์ยิ้มพราย นศ.วิชชาราม ระดับอริยะปัญญาตรีชั้นปีที่1 Reply
ประภาพรรณ โอษฐ์ยิ้มพราย November 24, 2022 at 6:49 pm พุทธะชนะทุกข์ เรื่อง พ่อบ้านรักษาแพทย์ทางเลือก พ่อบ้านกับลูกสาวพากันไปรักษาตาที่ผ่าตัดมาแล้วมองไม่ชัดกับแพทย์ทางเลือกซึ่งไม่เห็นด้วยเพราะเสียเงินมากแต่ละครั้ง เสียเวลาขับรถไปอีกการรักษามีกัวซา ครอบแก้ว บ่งต้อด้วยหนามหวายรักษาตาต้อ และโรคต่างๆ อยากให้มาดูแลแบบ พวธ.มากกว่า ทุกข์ ไม่ยินดี ไม่ชอบ ไม่เห็นด้วย ไม่สุขสมใจ ที่พ่อบ้านไปรักษาแพทย์ทางเลือก สมุทัย อยากให้พ่อบ้านรักษาแบบ พวธ.จะสุขใจ พอใจ สมใจตามที่ตั้งใจไว้ นิโรธ พ่อบ้านจะรักษาทางไหนก็ยินดี สุขใจ พอใจยินดีกับท่าน มรรค เมื่อท่านได้ตัดสินใจเลือกแล้วที่จะรักษาวิธีนั้น ตามกุศลอกุศลตามกรรม วิบากที่ทำมา แนะนำแล้ว บอกแล้ว ไม่ทำตามเพราะเราไม่ใช่สัตบุรุษของท่านเมื่อใดที่ท่านเห็นทุกข์จะเห็นธรรม พิจารณาไตรลักษณ์ เห็นความไม่เที่ยง มันเป็นทุกข์ มันไม่น่ามีไม่น่าได้ไม่น่าเป็น แม้ได้สมดั่งใจ ว่ามันมีสุข มันไม่มี สุขไม่มีจริง มันเป็นสุขลวงสุขแป๊ปเดียวก็หมดไป สุขใจที่ให้ได้ดั่งใจ ไม่มี มันมีแต่ทุกข์ มันไม่เที่ยง เหนี่ยวนำให้ผู้อื่นเป็นตาม พิจารณาซ้ำๆไป จนมันสลายหายไปล้างความยึดมั่นถือมั่น ล้างสุขใจที่ไม่ได้สมดั่งใจอยากให้ได้ ด้วยความยินดี เต็มใจ สุขใจ ด้วยใจไร้ทุกข์ ใจดีงาม ประภาพรรณ โอษฐ์ยิ้มพราย นศ.อริยะปัญญาตรี ปีที่1 Reply
ประพันธ์ โพธิ์คำ เท่ ใจถึงศีล กล้าจน November 29, 2022 at 7:20 am สภาวธรรมประจำสัปดาห์ ณ วันจันทร์ที่ 28 เดือน พฤศจิกายน ศ.2565 ชื่อเรื่อง โล่งอกไปที เนื้อเรื่อง เมื่อวันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ.2565 ได้รับการติดต่อกลับมาจากอู่ซ่อม รถยนต์ที่เอารถยนต์ส่วนตัวไปทำการซ่อมส่วนที่ขำรุดเสียหายว่า การที่รถยนต์ซ่อมล่าช้า เป็นเพราะช่างเทคนิคที่ทำการซ่อมรถยนต์นั้นไม่สบายด้วยสาเหตุโรคประจำตัว จึงทำให้ ไม่สามารถทำการซ่อมรถยนต์และทำให้การซ่อมรถยนต์เสร็จล่าช้า ดังนั้นความคลาง แคลงใจที่คิดไปเองว่าทำไมจึงทำการซ่อมรถยนต์ไม่เสร็จซะที คำสำคัญ คลายความคลางแตลงใจ ประโยคสำคัญ ตามพระไตรปิฎก เล่มที่ 19 ข้อ 1717 “พึงกระทำความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความไม่ย่นย่อ ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะ อย่างแรงกล้า เพื่อตรัสรู้อริยสัจ ๔” :- 1-ทุกขอริยสัจ ความวิตก วามกังวล ความคลางแตลงใจ ที่เกิดจากรถยนต์ส่วนตัวที่ ส่งไปซ่อมนั้น ทำไมจึงซ่อมไม่เสร็จซะที 2. ทุกขสมุทัยอริยสัจ ตัณหา ความอยากให้รถยนต์ซ่อมเสร็จเร็วๆ เพื่อให้ได้สมใจจะสุข ใจ ไม่ได้สมใจจะทุกข์ใจ 3- ทุกขนิโรธอริยสัจ ตัณหาดับโดยไม่เหลือ กล่าวคือ อู่ซ่อมรถยนต์ได้แจ้งให้ทราบว่า ช่างเทคนิคที่ทำการซ่อมรถยนต์ไม่สบายด้วยสาเหตุโรคประจำตัว จึงไม่อาจซ่อมรถยนต์ ให้เสร็จในเร็ววันได้ จึงทำใจได้ว่ารถยนต์จะซ่อมเสร็จหรือยังไม่เสร็จ ก็ไม่ทุกข์ใจจะเสร็จ เมื่อไหร๋ ก็เมื่อนั้น เป็นสุขใจ ไร้ทุกข์ ไร้กังวล ไร้ความคลางแคลงใจ 4. ทุกขนิโรธอคามินีปฏิปทาอริยสัจ 4.1-พิจารณาวิบากกรรม ที่อดีตได้เคยทำไว้นั้น หนักหนาสาหัส สากรรจ์มากๆ จึง ทำให้ต้องรับวิบากร้ายในครั้งนี้อย่างต่อเนื่องมาเป็นเดือนก็ยังไม่หมดไป แม้จะทำใจให้ หายจากทุกข์มาสามถึงสี่รอบแล้วก็ตาม 4.2-พิจารณาโทษ ของความอยากให้ได้ดั่งใจ จึงเกิดความวิตก ความกังวล ความคลางแลงใจ ทั้งใจและกาย แต่เมื่อได้เห็นโทษอย่างแท้จริง ทำให้บังเกิดการคลายความวิตก ความกังวล ความคลางแคลงใจ 4.3-พิจารณาประโยชน์ของการไม่มีความอยาก กล่าวคือ ได้มีโอกาสเห็นกิเลส และวิบากร้าย ให้ได้ระลึกอดีตและปัจจุบันที่เคยกระทำผิดพลาด ตลอดจนฝึกฝนตัวเอง ในการพิจารณารับมือกับกิเลส ในแง่และเหลี่ยมมุมตางๆมากยิ่งขึ้น อีกทั้งทำให้แก้ไข สถานการณ์ เหตุการณ์ ต่างๆทั้งในด้านจิตใจและร่างกายอย่างมีประสิทธิภาพ 4.4 พิจารณาไตรลักษณ์ของสุขลวง 4.4.1 ทุกขัง – ความวิตก กังวล คลางแคลงใจ ล้วนเป็นสิ่งที่ใจปรุงแต่งขึ้นนมา ให้บังเกิดความทุกข์เองทั้งสิ้น 4.4.2 อนิจจัง –ความวิตก กังวล คลางแคลงใจ ล้วนเป็นสิ่งไม่เที่ยง เกิดขึ้นมาก็ ด้วยใจที่ไม่แน่นอนไม่มั่นคง 4.4.3 อนัตตา-ความวิตก กังวล คลางแคลงใจ ล้วนเป็นสิ่งไม่มีตัวตน เกิดแต่ใจที่ นึกคิดไปต่างๆนานา โดยแท้จริงแล้วความทุกข์ที่เกิดจากความต้องการนั้น เมื่อเกิดขึ้นมาแล้ว ต้อง เพียรพยายามอยาให้ตั้งอยู่นานและรีบเร่งขจัดให้ออกไปหมดไปโดยเร็ว ก็จะทำให้ ทุกข์ฃที่เกิดขึ้นนั้นดับไป ด้วยวิราคะ คือสละ สละคืน ปล่อยไป ไม่พัวพัน และไม่ให้ กลับมากำเริบอีก ก็ทำให้เป็นสุขใจได้ในทุกๆปัจจุบัน แม้ไม่ได้ดั่งใจที่อยาก เจริญธรรมสำนึกดี มีใจไร้ทุกข์ ในทุกๆปัจจุบัน Reply
ประพันธ์+โพธิ์คำ+เท่+ใจถึงศีล+กล้าจน December 21, 2022 at 4:50 am สภาวธรรมประจำสัปดาห์ ณ วัน ศุกร์ ที่ 16 เดือน ธันวาคม พ.ศ.2565 ชื่อเรื่อง ไม่ได้ดั่งที่ใจต้องการ เนื้อเรื่อง เมื่อวันศุกร์ที่ 16 ธันวาคมพ.ศ.2565 ได้มีโอกาสช่วยงานของโรงเรียน วัดพุทธดัลลัส เกี่ยวกับการควบคุมเครื่องเสียงในด้านการใช้ไมโครโฟนและการ เชื่อมต่อระหว่างแล๊ปท๊อปเพื่อใช้ในการเปิดเพลงประกอบการแสดงชุดต่างๆกับ เครื่องควบคุมเสียง(มิกเซอร์) ในการดำเนินการนี้ ได้มีการจัดซื้อไมโครโฟนไร้สาย ชุดใหม่เพื่อนำมาใช้ในงานดังกล่าว แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ ผู้ที่ซื้อไมโครโฟนชุดใหม่ มานั้น ไม่ได้ซื้อสายเคเบิ้ลที่ใช้สำหรับเชื่อมต่อระหว่างเครื่องรับสัญญาณจากไมโคร โฟนกับเครื่องควบคุมเสียง(มิกเซอร์) คำสำคัญ ปัญหา คือ เครื่องมือฝึกใจที่ดีที่สุดในโลก ประโยคสำคัญ ตามพระไตรปิฎก เล่มที่ 19 ข้อ 1717 “พึงกระทำความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความไม่ย่นย่อ ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะ อย่างแรงกล้า เพื่อตรัสรู้อริยสัจ ๔” :- 1-ทุกขอริยสัจ อุปกรณ์ประกอบการใช้งานมีไม่ครบ ไม่ได้จัดซื้อมา 2. ทุกขสมุทัยอริยสัจ อยากได้ อยากมีอุปรณ์การใช้งานให้ครบ 3- ทุกขนิโรธอริยสัจ ตัณหาดับโดยไม่เหลือ แม้ไม่มีอุปรณ์มากับชุดไมโครโฟนที่จัดซื้อ มาใหม่ ก็ไม่ทุกข์ใจ ใช้อุปกรณ์อื่นใช้ทดแทนกัน 4. ทุกขนิโรธอคามินีปฏิปทาอริยสัจ 4.1-พิจารณาวิบากกรรม ตามบททบทวนธรรม ดังต่อไปนี้ สิ่งที่เราได้รับ คือ สิ่งที่ เราทำมา ไม่มีสิ่งใดที่เราได้รับโดยท่เราไม่เคยทำมา 4.2-พิจารณาโทษ ของความอยาก ทำให้เกิดความหงุดหงิด ไม่พอใจ ไม่ได้ ดั่งที่ใจต้องการ แต่เมื่อได้เห็นโทษอย่างแท้จริง ทำให้บังเกิด ความพึงพอใจ แม้ไม่ได้ดั่งใจ ต้องการ ก็เป็นสุขใจทีเบิกบาน แจ่มใส 4.3-พิจารณาประโยชน์ของการไม่มีความอยาก ได้เห็นทุกข์ ได้ล้างทุกข์ และ ได้ชดใช้วิบากกรรมร้ายที่เคยทำไม่ดีมาก่อน 4.4 พิจารณาไตรลักษณ์ของสุขลวง 4.4.1 ทุกขัง – อาการเป็นทุกข์ของใจ ที่ไม่ได้ดั่งใจนั้น ก่อเกิดจากใจที่คิด คำนึง สร้างขึ้นมาในใจ ไม่ใช่ทุกข์ที่ตัวอุปรณ์ที่ไม่มี 4.4.2 อนิจจัง –เป็นอาการที่เกิดขึ้นที่ไม่เที่ยง เกิดขึ้นมาก็ด้วยใจของเราที่ไม่ แน่นอน ไม่มั่นคง ซึ่งไม่ควรที่ยึดติดกับอาการเหล่านั้น 4.4.3 อนัตตา- อาการของใจเป็นทุกข์ที่ไม่มีตัวตน เกิดแต่ใจที่นึกคิดไปต่างๆ นานา โดยแท้จริงแล้วความทุกข์ที่เกิดจากความต้องการนั้น เกิดขึ้น ตั้งอยู่ไม่นาน แล้วก็ดับไป ด้วยการสละ สละคืน ปล่อยไป ไม่พัวพัน ก็ทำให้สุขใจได้ในทุกๆปัจจุบัน แม้ไม่ได้ดั่งใจอยาก เจริญธรรมสำนึกดี มีใจไร้ทุกข์ ในทุกๆปัจจุบัน Reply
ชื่อเรื่อง :- แม้ไม่ได้ดั่งใจก็เป็นสุขใจได้
เนื้อเรื่อง เมื่อเวลาประมาณ 8.30 นาฬิกาของเช้าวันศุกร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ.2565 ได้
เกิดกระแสไฟฟ้าดับจนกระทั่งถึงเวลาประมาณ 9.30 นาฬิกา กระแสไฟฟ้าจึงกลับมาใช้
การได้ตามปรกติ แต่ในช่วงเวลาที่กระไฟฟ้ากระตุกและดับลงไปนั้น อยู่ในระหว่างการ
บันทึกรายการแพทย์แผนไทยวิถีธรรมค้ำจุนโลก จึงทำให้การบันทึกรายการดังกล่าว
ชงัก และ การบันทึกข้อความเกี่ยวกับการทำการบ้านอริยสัจ ๔ ได้รับผลกระทบกลาง
คันไปด้วย
ปรับสภาวะธรรมด้วยอริยสัจ ๔ และ มรรค ๘ :-
1-ทุกข์ คือ ความทุกข์ที่ได้รับคือทุกข์ที่เลี่ยงไม่ได้ เพราะเป็นทุกข์ที่อยู่เหนือความ
หมายหรือคาดการณ์ใดๆได้ และทำให้สิ่งที่ต้องประสงค์จะกระทำนั้นชงักไปเป็นเวลา
ถถถถถึงประมาณ 1 ชั่วโมง
2. สมุทัย คือ สาเหตุแห่งทุกข์นั้น เกิดความอยากให้กระไฟฟ้าไม่มีการดับ
ความยึดมั่นถือมั่นว่ากระแสไฟฟ้าต้องมีตลอดเวลา ไม่มีการดับแต่อย่างใดทั้งสิ้น
กระแสไฟฟ้าไม่ดับก็สมใจอย่างเป็นสุขใจ กระแสไฟฟ้าดับก็ทุกข์ใจ
3. นิโรธ คือ ความดับทุกข์หรือตัณหาดับโดยไม่หลือ แม้กระแสไฟฟ้วดับก็เป็นสุขใจได้
โชคดีแล้วที่กระไฟฟ้าดับ จะได้เปลี่ยนอิริยาบถของร่างกายบ้าง
4. มรรค คือ หนทางแห่งการดับทุกข์ วิธีการดับทุกข์ทั้งปวง
พิจารณาวิบากกรรม ตามบททบทวนธรรม ข้อที่ ๑๑๗. ตอนหน้าไม่รู้ ตอนนี้สู้
ไม่ถอย สู้กิเลสอย่างรู้เพียรรู้พัก
ข้อที่ ๑๑๘. ทุกอย่างล้มเหลวได้ แต่ “ใจ” ล้มเหลวไม่ได้
ข้อที่ ๑๑๙. ปัญหา คือ เครื่องมือฝึกใจที่ดีที่สุดในโลก
ข้อที่ ๑๒๐. ปัญหาไม่เคยหมดไปจากชีวิตของเรา มีแต่ทุกข์เท่านั้น ที่หมดไปจาก
ใจของเรา
ข้อที่ ๑๒๑. โจทย์ทุกโจทย์ เหตุการณ์ทุกเหตุการณ์ เป็นเครื่องมือฝึกจิตของเรา
ให้เป็นสุข อย่างถูกต้องตามธรรม
ข้อที่ ๑๒๓. เจอผัสสะไม่ดี ได้โชค 3 ชั้น คือ ได้เห็นทุกข์ ได้ล้างทุกข์ และได้ใช้วิบาก
ได้ใช้วิบากกรรมที่ไม่ดี ร้ายนั้นก็จะหมดไป ดีก็จะออกฤทธิ์ได้มากขึ้น
ข้อที่ ๑๒๔. เกิดเป็นคน ต้องฝึกยิ้มรับสิ่งดีสิ่งร้ายด้วยใจที่เป็นสุขให้ได้
พิจารณาโทษ ของความอยาก ไม่ให้กระแสไฟฟ้าดับนั้น ทำให้ใจของเรากระวน
กระวาย ไม่ได้ดั่งสมใจอยาก และเมื่อทุกข์ใจเกิดขึ้น ก็ทำให้มีผลกระทบต่อร่างกายไป
ด้วย นั่นก็คือ กล้ามเนื้อก้านคอตึงขึ้นมาทันที
แต่เมื่อใจยอมรับว่าทุกข์กรพแสไฟฟ้าดับได้ดั่งใจอยาก ก็ทำให้ผลกระทบที่มีต่อ
ร่างกายนั้น ผ่อนคลาย ไม่แข็งตึง และเมื่อได้เห็นโทษอย่างแท้จริง ก็ทำให้ตัวของเรา
ขจัดทุกข์นั้นๆได้ด้วยการเป็นสุขใจได้แม้ไม่ได้ดั่งใจที่อยาก
พิจารณาประโยชน์ของการไม่มีความอยาก ได้รับความสบายใจ พอใจ ได้รับ
โอกาสที่ใจของเราได้พักผ่อนที่จะมีกำลังใจทำงานอย่างอื่นต่อไป
พิจารณาไตรลักษณ์ของสุขลวง ซึ่งโดยแท้จริงแล้วความต้องการ ความอยาก
ได้ตามที่ใจต้องการนั้นก็เป็นเพียงช่วงระยเวลาสั้นๆ ไม่ยั่งยืนตลอดไปสุขใจได้ในทุกๆ
ปัจจุบัน แม้ไม่ได้ดั่งใจอยาก เจริญธรรมสำนึกดี มีใจไร้ทุกข์ ให้ได้ในทุกๆปัจจุบัน
ชื่อเรื่อง :- เกือบไปแล้วเชียว
เนื้อเรื่อง ในช่วงเวลาระหว่าง 10.30 ถึง 11.00 ของวันศุกร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ.2565
ขณะที่ขับรถยนต์เพื่อเดินทางไปทำงานตามปรกติและได้ขับรถยนต์มาถึงสี่แยก ซึ่ง
สัญญาณไฟเป็นเขียวพอดี ในขณะที่กำลังจะขับรถยนต์ออกจากสี่แยกไปในทิศทาง
และเส้นทางของตัวเองนั้น ก็ได้มีรถยนต์ที่ออกมาจากทางแยกตรงกันข้ามอย่างรวดเร็ว
ในขณะที่สัญญาณไฟเปีนสีแดงโดบไม่ได้จอดรอสัญญาณไฟ ซึ่งตัวของเราเกือบจะ
ร้องสบถออกไปและเกือบจะทำการหยุดรถยนต์ไม่ทัน
ปรับสภาวะธรรมด้วยอริยสัจ ๔ และ มรรค ๘ :-
1-ทุกข์ คือ ทุกข์ใจ วิตก หวั่นเกรง ว่าจะเกิดอุบัติเหตุ
2. สมุทัย คือ สาเหตุแห่งทุกข์นั้น ไม่ได้สมใจอยากที่จะไม่ให้รถยนต์ฝ่าสัญญาณ
ไฟแดง
3. นิโรธ คือ แม้ไม่ได้เป็นดั่งที่ใจเราต้องการ ก็เป็นสุขใจ เป็นสุขใจได้ในทุกๆปัจจุบัน
4. มรรค คือ หนทางแห่งการดับทุกข์ วิธีการดับทุกข์ทั้งปวง
พิจารณาวิบากกรรม ตามบททบทวนธรรม ข้อที่ ๔๖. เกิดอะไร จงท่องไว้
“กู-เรา-ฉัน” ทำมา
ข้อที่ ๔๗. เมื่อมีเรื่องไม่ชอบใจ ไม่เข้าใจ แล้วเกิดคำถามว่า ทำไมๆๆ ให้ตอบว่า
ทำมาๆๆ
พิจารณาโทษ ของความอยาก เป็นทุกข์ที่ไม่ได้ดั่งใจอยาก ที่อาจจะทำให้
ไม่มีสมาธิในการบังคับรถยนต์ และเมื่อได้เห็นโทษอย่างแท้จริง ก็ทำให้ตัวของเรา
ขจัดทุกข์นั้นๆได้ด้วยการเป็นสุขใจได้แม้ไม่ได้ดั่งใจที่อยาก
พิจารณาประโยชน์ของการไม่มีความอยาก ได้รับความสบายใจ
พิจารณาไตรลักษณ์ของสุขลวง ซึ่งโดยแท้จริงแล้วรถยนต์ที่ขับมาถึงสี่แยกแล้ว
ไม่ว่าจะในลักษณะใด ก็จะผ่านไป ไม่ได้จอดนิ่งอยู่กับที่ตรงสี่แยก แต่ใจของเราจะไป
ยึดมั่นถือมั่นว่า จะให้เหตุการณ์นั้นดำรงคงอยู่ต่อไปก็ไม่ได้ ดังนั้นตัวของเราก็เป็นสุขใจ
ได้ในทุกๆปัจจุบัน เจริญธรรมสำนึกดี มีใจไร้ทุกข์ ให้ได้ในทุกๆปัจจุบัน
สภาวธรรมประจำสัปดาห์ ณ วันจันทร์ที่ ๑๐ เดือน ตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๕
ชื่อเรื่อง :- จะอะไรกันนักกันหนานะ
เนื้อเรื่อง ในการปฏิบัติงานตามหน้าที่ ที่ได้รับมอบหมายในอาชีพ คือ การเป็นไดว์-
เวอร์ หรือ ขับรถส่งอาหารตามสถานที่ต่างๆ เช่น บ้าน ร้านค้า สำนักงานต่างๆ อพาร์ท
*เม้นต์ คอนโดมิเนี่ยม
ประการแรก ในทุกๆรอบของการส่งอาหารให้ลูกค้าในสถานที่ต่างๆ ต้องรอรับ
บรรจุภัณฑ์อาหารที่พนักงานฝ่ายที่ทำการบรรจุอาหารลงในถุงหรือกล่อง ก็จะได้รับ-
ความไม่สมใจ ไม่ชอบใจ ในการบรรจุอาหารลงถุงหรือหีบห่อดั่งที่ต้องการ แม้บางครั้ง
จะได้แนะนำการนำอาหารบรรลงในหีบห่อหรือกล่องอย่างไร ก็ไม่เคยกระทำตามที่ตัว
ของเราได้แนะนำ
ประการต่อมา คือ การเดินทางไปส่งอาหารให้กับลูกค้า จะถูกทางร้านอาหาร
โทรศัพท์ติดตามตัว ทั้งการตรวจสอบความสมบูรณ์ของบรรจุหีบห่อ ไต่ถามถึงการ
เดินทางว่าไปถึงไหน ได้เวลาเดินทางกลับร้านอาหารหรือยัง จะต้องใช้เวลานาน
เพียงใดในการเดินทางกลับถึงร้านอาหาร ซึ่งเป็นการก่อให้เกิดความไม่พอใจ ไม่
ชอบใจ หงุดหงิด อึดอัดขัดเคืองใจ
ปรับสภาวะธรรมด้วยอริยสัจ ๔ และ มรรคมีองค์ ๘ :-
๑-ทุกขอริยสัจ คือ ทุกข์ใจ ไม่พอใจ ไม่ชอบใจ ที่ต้องอยากให้คนอื่นๆกระทำในสิ่งที่
เราต้องการ
๒. ทุกขสมุทยอริยสัจ ต้นเหตุแห่งทุกข์ คือ ต้องการให้คนอื่นทำในสิ่งที่เราจะได้
อย่างสมใจอยากอย่างที่เราต้องการก็จะเป็นสุขใจ ไม่ได้สมใจยาก ไม่ได้อย่างที่
ตัวเราต้องการ ก็ทุกข์ใจ
๓. ทุกขนิโรธอริยสัจ คือ ความดับทุกข์หรือตัณหาดับโดยไม่หลือ ไม่ยึดมั่นถือมั่นใน
เรื่องที่ต้องการ ไม่ได้ดั่งที่ใจต้องการ ไม่ได้ดั่งสมใจอยาก ก็เป็นสุขใจ ใจไร้ทุกข์ ไร้
คงามกังวล ไม่อึดอัด แม้จะต้องกระทำในสิ่งที่ไม่ต้องการ ก็เป็นสุจใจ เบิกบาน แจ่มใส
ในทุกๆการกระทำ ณ.ปัจจุบัน
๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ หรือ มรรค คือ หนทางแห่งการดับทุกข์ หรือ วิธีการ
ดับทุกข์ทั้งปวง
พิจารณาวิบากกรรม และผลของกรรม ตามบททบทวนธรรม ดังต่อไปนี้
ข้อที่ ๙. ถ้าเรายังไม่เข้าใจคนอื่น แสดงว่าเรายังไม่เข้าใจตนเอง
ข้อที่ ๑๖. มาตลีเทพสารถี คือ วิบากดีร้ายที่สร้างสิ่งดีร้ายให้ชีวิต เป็นสิ่งเตือน-
*สิ่งบอกว่า อะไรเป็นกิเลสเป็นโทษ ให้ลดละเลิก อะไรเป็นบุญกุศลเป็นประโยชน์
ให้เข้าถึง อะไรเป็นโทษ ให้เว้นเสีย
พิจารณาโทษ ของความอยาก คือการผิดศีล ดื้อต่อศีล ตามบททบทวนธรรม
ข้อที่ ๕๕ อย่าดื้อต่อศีล ดื้อต่อศีล ทำให้ทุกข์หนัก ทุกข์หนักมาก ทุกข์หนักที่สุด
แต่เมื่อได้เห็นโทษจึงได้ใช้บททบทวนธรรมข้อที่ ๒๑. การได้พบกับเหตุการณ์ที่ไม่
ถูกใจเรา ไม่ได้ดั่งใจเรา เป็นสุดยอดแห่งเครื่องมืออันล้ำค่า ที่ทำให้ได้ฝึกล้างกิเลส
คือ ความหลงชิงชังรังเกียจ หลงยึดมั่นถือมั่นในใจเรา และทำให้ได้ล้างวิบากร้าย
ของเราอย่างแท้จริง ทำให้ได้ขจัดทุกข์นั้นๆได้ด้วยการเป็นสุขใจได้แม้ไม่ได้ดั่งใจ
พิจารณาประโยชน์ของการไม่มีความอยากได้อะไรๆจากคนอื่นๆ ทำให้ได้รับ
ความสบายใจ ไม่อึดอัดขัดใจของตัวเอง ทำให้มีความตั้งใจมั่นในการขจัดกิเลส ที่เกิด
ขึ้นมาในทุกๆขณะจิตของเรา เพื่อให้กิเลสตัวที่เกิดขึ้นมานั้นถูก สละ สละคืน ปล่อยไป
ไม่พัวพันอีกต่อไป
พิจารณาไตรลักษณ์ของสุขลวง ซึ่งโดยแท้จริงแล้วความต้องการ ความอยาก
ได้ดดั่งใจของเราที่ต้องการนั้น เราก็ได้รับความดีใจ สมใจอยาก เพียวเดี๋ยวเดียว ชั่ว
ครู่ชั่วยามเท่านั้น ไม่ได้มีความดีใจ สมใจอยากตลอดไป และตัวของเราก็จะต้องสร้าง
ความต้องการ สร้างความอยากได้ใคร่ดีขึ้นมาใหม่ทุกๆครั้ง สับเปลี่ยนหมุนเวียนตลอด
เวลา แล้วอย่างนี้จะสร้างความสุขลวงแต่ทุกข์ใจไปทำไม สุขใจได้ในทุกๆปัจจุบัน แม้
ไม่ได้ดั่งใจอยาก เจริญธรรมสำนึกดี มีใจไร้ทุกข์ ทำดีเรื่อยไปให้ได้ในทุกๆปัจจุบัน
———————————————————————————————
สภาวธรรมประจำสัปดาห์ ณ วันพฤหัสบดีที่ 13 เดือน ตุลาคม. พ.ศ.2565
ชื่อเรื่อง ขำขันในการกระทำโง่ โง่ ของตัวเอง
เนื้อเรื่อง เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๕ เวลาประมาณ ๑๖.๓๐ นาฬิกา
(เวลา 4.30 เอเอ็ม.ซึ่งเป็นเวลาท้องถิ่นในเมืองการ์แลนด์ เท็กซัส สหรัฐอเมริกา ใน
ปฏิบัติงานขับรถยนต์ส่งอาหารให้ลูกค้าบนถนนแซ๊ทเทิร์นและกำลังจอดรอในช่องทาง
ที่คิดว่าน่าจะจอดรถยนต์รอเพื่อเลี้ยวซ้ายเข้าถนนย่อยแต่ไม่อาจจะเลี้ยวเข้าถนนย่อย
ในทันที เพราะรถยนต์ที่วิ่งสวนทางมามีมาก แต่ในขณะที่จอดรถยนต์รอให้เพื่อรถยนต์
ที่วิ่งสวนทางมาอยู่นั้นว่างลง ได้มีรถยนต์คันอื่นๆที่วิ่งตามมานั้นต้องหยุดชงักตามหลัง
ไม่อาจจะวิ่งต่อไปได้ จึงได้กดแตรไล่อย่างต่อเนื่องจนกระทั่งสามารถเลี้ยวรถยนต์เข้าสู่
ถนนย่อยตามที่ต้องการได้สำเร็จ และเมื่อเลี้ยวรถยนต์เข้าสู่ถนนย่อยเสร็จสิ้น จึงได้ทำ
การกดแตรตอบโต้ด้วยอารมณ์ที่ฉุนเฉียว ก่อการวิวาทะทางอารมณ์โกรธ ไม่พอใจ ไม่
ชอบใจ ต่อการกระทำของบุคคลอื่น
แต่เมื่อได้ขับรถยนต์เข้าไปในถนนย่อก่อนที่จะถึงหน้าบ้านของลูกค้า จึงคิดได้
ว่า ตัวของเรา จะเกิดอารมณ์ ฉุนเฉียว โกรธ ไม่พอใจ ไม่ชอบใจ การกระทำของบุคคล
อื่นๆไปทำไม แม้จะเกิดอารมณ์ประการใด คนอื่นๆก็ไม่อาจรับรู้ ไม่เห็น ต่ออารมรณ์ไม่ดี
ของเรา ตัวของเราจะเป็นอย่างไร มีอารมร์อย่างไร ตัวของเราเองเท่านั้นที่ได้เห็น ได้รับ
จึงเกิดการขำขันตัวเองขึ้นมาทันที่มีต่อการกระทำโง่ โง่
คำสำคัญ สิ่งที่ได้ คือ สิ่งที่เคยทำมา
ปรับสภาวะธรรมด้วยอริยสัจ ๔ และ มรรค ๘ :-
๑-ทุกขอริยสัจ คือ สภาพของความเป็นทุกข์ใจเกิดอารมณ์ที่ฉุนเฉียว โกรธ ไม่พอใจ
ไม่ชอบใจในการกระทำของบุคคลอื่น
๒. ทุกขสมุทยอริยสัจ คือ สาเหตุแห่งทุกข์นั้น เช่น เกิดความอยากให้ผู้อื่นกระทำใน
สิ่งที่ต้องการก็เป็นสุขใจ ไม่ทำในสิ่งที่ต้องการตามที่สมใอยากก็ทุกข์ใจ
๓. ทุกขนิโรธอริยสัจ คือ ความดับทุกข์หรือตัณหาดับโดยไม่หลือ(วิราคะ สละ สละคืน
ปล่อยไป ไม่พัวพัน) เช่น ไม่มีความอยากที่ต้องการจะเอาชนะผู้อื่นด้วยการแสดง
อารมณ์กับตัวเอง ไม่มีวิวาทะลับหลังคนอื่น ไม่ยึดมั่นถือมั่นในการที่ต้องทำตามที่ตัวเรา
เองต้องการ ไม่ได้สมใจอยากก็เป็นสุขใจ ใจไร้ทุกข์ ไร้กังวล ไม่อึดอัด แม้จะต้องกระทำ
ในสิ่งที่ต้องการจะกระทำไม่ได้ก็เป็นสุจใจ มีความผาสุก เบิกบาน แจ่มใส
๔. ทุกขนิโรธอคามินีปฏิปทาอริยสัจ คือ หนทางแห่งการดับทุกข์ วิธีการดับทุกข์
ทั้งปวง ด้วยการวิธีการ
๔.๑-พิจารณาวิบากกรรม และผลของกรรม ตามบททบทวนธรรม
ข้อที่ ๒.เราต้องรู้ว่า แต่ละคนมีฐานจิตแตกต่างกัน เราจึงควรประมาณการ
กระทำ ให้เหมาะสมกับฐานจิตของเรา และฐานจิตของผู้อื่น “คิดดี พูดดี ทำดี
ไว้ก่อน” ดีที่สุด
ข้อที่ ๒๐. เมื่อเกิดสิ่งเลวร้ายกับเรา โลกนี้ไม่มีใครผิดต่อเรา เราเท่านั้นที่ผิด
ต่อเรา คนอื่นที่ทำไม่ดีนั้น เขาผิดต่อตัวเขาเองเท่านั้น และเขาก็ต้องได้รับ
วิบากร้ายนั้นเอง เขาจึงไม่ได้ผิดต่อเรา แต่เขานั้นผิดต่อตัวเขาเอง ถ้าเรายัง
เห็นว่า คนที่ทำไม่ดีกับเรา เป็นคนผิดต่อเรา แสดงว่า เรานั่นแหละผิด อย่า
โทษใครในโลกใบนี้ ผู้ใดที่โทษผู้อื่นว่าผิดต่อตัวเรา จะไม่มีทางบรรลุธรรม นี่
คือคนที่ไม่ยอมรับความจริง เพราะไม่เข้าใจเรื่อง “กรรม” อย่างแจ่มแจ้งว่า
“ทุกสิ่งทุกอย่างที่ทุกคนได้รับ ล้วนเกิดจากการกระทำของตนเองเท่านั้น เมื่อ
รับผลดีร้ายจากการกระทำแล้ว ผลนั้นก็จบดับไป และ สุดท้ายเมื่อปรินิพพาน
ทุกคนก็ต้องสูญจากทั้งดีและร้ายไป ไม่มีอะไรเป็นสมบัติของใคร เพราะสุด-
ท้าย ทุกสิ่งทุกอย่างก็ต้องดับไป จึงไม่ต้องยึดมั่นถือมั่น ไม่ต้องทุกข์กับอะไร”
ข้อที่ ๒๑. การได้พบกับเหตุการณ์ที่ไม่ถูกใจเรา ไม่ได้ดั่งใจเรา เป็นสุดยอด
แห่งเครื่องมืออันล้ำค่า ที่ทำให้ได้ฝึกล้างกิเลส คือ ความหลงชิงชังรังเกียจ
หลงยึดมั่นถือมั่นในใจเรา และทำให้ได้ล้างวิบากร้ายของเรา
๔.๒-พิจารณาโทษ ของทุกข์จากความอยากให้ผู้อื่นกระทำในสิ่งที่ตัวของเราต้อง
การไม่ได้นั้น ทำให้เกิดอารมณ์ที่ไม่ดี หงุดหงิด อึดอัด ขัดเคืองใจ ไม่มีสติ
แต่เมื่อได้เห็นโทษของความอยากอย่างแท้จริง ก็ทำให้ตัวของเราขจัดทุกข์นั้นๆได้ด้วย
การเป็นสุขใจได้แม้ไม่ได้ดั่งใจที่อยาก ก้เป็นการกระทำของผู้อื่นที่ไม่ได้เกี่ยวกับเรา และ
เราก็ไม่ต้องโต้ตอบ ไม่วิวาทะทางอารมณ์ของตัวเอง
๔.๓-พิจารณาประโยชน์ของการไม่มีความอยาก ได้รับความสบายใจ ตัวเราก็ไม่
เกิดอารมณ์ฉุนเฉียว ไม่หงุดหงิด ไม่สร้างอารมณ์วิวาทะให้กับตัวเอง เป็นสุขใจแม้ไม่ได้
ดั่งใจ
๔.๔ พิจารณาไตรลักษณ์ ความไม่เที่ยงของสุขลวง ทุกข์แท้นั้น
๔.๔.๑ อนิจจัง โดยแท้จริงแล้วความต้องการ ความอยากได้ใคร่ดีที่ใจของเราต้องการ
นั้น เราก็ได้รับความดีใจ สมใจอยาก เพียงชั่วครู่ชั่วยามเท่านั้น มิได้มีความสุขสมใจ
อยาก ความดีใจ สมใจอยาก ตลอดไป
๔.๔.๒ ทุกขัง เมื่อเป็นดั่งนั้น ตัวของเราก็จะต้องสร้างความต้องการ สร้างความอยากได้
ใคร่ดี อันเป็นการสร้างความทุกข์ขึ้นมาใหม่ เพื่อทับถมตัวเองตลอดเวลา ณ.ปัจจุบัน
แล้วอย่างนี้ตัวของเราจะสร้างความสุขลวงแต่ทุกข์ใจจริงๆขึ้นมาทำไม
๔.๔.๓ อนัตตา ความไม่ใช่ตัวตน ความไม่มีตัวตนที่แท้จริงของมันเอง
สุขใจได้ในทุกๆปัจจุบันแม้ไม่ได้ดั่งสมใจอยาก เจริญธรรมสำนึกดี มีใจไร้ทุกข์ ให้ได้ใน
ทุกๆปัจจุบัน
——————————————————————————————
สภาวธรรม ณ.วันศุกร์ที่ 14 เดือน ตุลาคม. พ.ศ.2565
ชื่อเรื่อง ระบบขับเคลื่อนของรถยนต์ชำรุดเสียหาย
เนื้อเรื่อง เมื่อวันศุกร์ที่ 14 ตุลาคม 2565(2022) เวลาประมาณ 16.30 นาฬิกา(4.30
พีเอ็ม) เวลาท้องถิ่นในเมืองดัลลัส มลรัฐเท็กซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา ในขณะที่กำลัง
ขับรถยนต์ออกจากบ้านของลูกค้า หลังจากส่งอาหารที่ลูกค้าสั่งเรียบร้อยแล้ว ได้แวะ
สถานให้บริการล้างรถยนต์อัตโนมัติ เพื่อจะกลับสู่ร้านอาหาร รถยนต์ได้มีเสียงที่เกิด
จากรถยนต์มีลักษณะอาการชักกระตุก ความเร็วรถยนต์เริ่มช้าลงๆ จึงได้ตรวจสอบดูว่า
รถยนต์ยังสามารถเปลี่ยนเกียร์เร่งความเร็วได้หรือไม่ ก็ปรากฎว่า รถยนต์ไม่สามารถใช้
เกียร์สัญลักษณ์ตัว ดี เลข 2 และเกียร์สำหรับถอยหลัง จะใช้ได้เฉพาะเกียร์สัญลักษณ์
ตัว แอล เท่านั้น จึงได้ค่อยๆพยายามขับรถยนต์ที่ใช้ความเร็วต่ำ เพื่อให้ถึงร้านอาหารที่
ทำงานให้ได้ และก็นำพารถยนต์จนกระทั่งถึงร้านอาหารจนได้ และเดินเข้าไปในร้าน
บอกลักษณะอาการที่เกิดขึ้นกับรถยนต์ว่าเป็นอย่างไรบ้าง และเป็นที่เข้าใจกันโดยปริ-
-ยายว่า ไม่สามารถทำงานได้ ต่อจากนั้นก็ได้พยายามใช้โทรศัพท์เพื่อติดต่อกับผู้ประ
สานงานของอู่ซ่อมรถยนต์และผู้เป็นช่างเทคนิค แต่ทั้งสองท่านก็ไม่รับโทรศัพท์เพื่อจะ
พูดคุยรายละเอียดเกี่ยวกับลักษณะอาการของรถยนต์ แต่ก้ไม่ลดละความพยายามที่จะ
ใช้โทรศัพท์ติดต่อกับทั้งสองท่านให้ได้ จนกระทั่งผู้ประสานงานของอู่ซ่อมรถได้รับโทร
ศัพท์ และนัดแนะสถานที่ที่รถยนต์จอด ตลอดจนเวลาที่จะมาทำตรวจดูลักษณะอาการ
ของรถยนต์ว่าเป็นอย่างไร เสียหายอย่างไร ในระหว่างนั้นก็ได้นั่งรอเพื่อให้ถึงเวลานัด
หมายกันเอาไว้และได้พูดคุยกับภริยาเจ้าของร้านอาหารตลอดเวลา จนกระทั่งถึงเวลา
นัดหมายที่ผู้ประสานงานและช่างเทคนิคได้มาถึง ช่างเทคนิคจึงได้ลงมือใช้เครื่องมือ
ทางอิเล็คทรอนิคและคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อกับระบบอิเล็คทรอนิคของรถยนต์เพื่อตรวจ
จับสัญญาณสภาพการผิดปกติที่เกิดขึ้นว่า เครื่องยนต์และระบบอุปกรณ์ต่างๆมีอะไรขัด
ข้องที่เป็นสาเหตุทำให้รถยนต์เกิดอาการต่างๆ ช่วงเวลาดังกล่าวมานี้ ช่างเทคนิคได้ใช้
เวลาประมาณ 2 ชั่วโมงคึ่งจึงตรวจสภาพของรตยนต์แล้วเสร็จ จึงได้ลงความเห็นว่า จะ
ต้องทำการซ่อมรถยนต์ในอู่ให้แล้วเสร็จ จึงจำนำรถยนต์ไปยังอู่ เพื่อนำขึ้นคาน เพื่อ
ตรวจสภาพของรถยนต์ จึงจะสามารถทราบแน่ชัดได้ว่ารถยนต์มีอะไรบ้าง ที่จะต้องทำ
การจัดซ่อมอย่างแท้จริง ผู้ประสานงานและช่างเทคนิคจึงได้ลากลับไปบ้านพัก
คำสำคัญ ต้องไม่ทุกข์ใจให้ได้ ในทุกๆสถานการณ์
พึงกระทำความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความไม่ย่นย่อ ความไม่ท้อถอย
สติและสัมปชัญญะอย่างแรงกล้า เพื่อตรัสรู้อริยสัจ ๔
ปรับสภาวะธรรมด้วยอริยสัจ 4 และ มรรค 8 :-
1-ทุกขอริยสัจ คือ สภาพของความทุกข์ใจ ความเครียด ความวิตก ความกังวล
ความหวั่นไหว ของความทุกข์ต่างๆ มีดังนี้
1.1-ทุกข์ที่เกิดจากเครื่องยนต์ของรถยนต์ที่ใช้ในชีวิตประจำวันเกิดการชำรุดเสียหาย
1.2-ทุกข์ที่เกิดจากการติดต่อกับผู้ประสานงานและช่างเทคนิค เพื่อสอบถามลักษณะ
อาการชำรุดเสียของเครื่องยนต์ไม่ได้
1.3-ทุกข์จากที่เกิดจากการไตร่ตรองว่าจะนำรถยนต์ไปยังอู่ซ่อมรถยนต์อย่างไร
ใครจะเป็นผู้นำรถยนต์ไปยังอู่ซ่อมรถ เมื่อไหร่ ที่ไหน
1.4-ทุกข์ที่เกิดจากการต้องหยุดงานในระหว่างที่จะต้องรอการซ่อมรถยนต์
1.5-ทุกข์จากการกังวลไม่มีคนช่วยทางร้านอาหารที่ทำงาน
1.6-ทุกข์จากการคาดคิดว่ารถยนต์ที่ชำรุดเสียหายตรงส่วนไหนของเครื่องยนต์
1.7-ทุกข์ที่เกิดความกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการซ่อมรถยนต์
1.8-ทุกข์ที่เกิดจากการคาดการณ์ว่าจะต้องหยุดงานนานเท่าไร
ซึ่งความทุกข์ทั้งหมดที่ไล่เรียงที่กล่าวมาตามลำดับนั้น ล้วนเป็นความทุกข์ในการหากิน
เลี้ยงชีพ
2. ทุกขสมุทยอริยสัจ คือ สาเหตุแห่งทุกข์ใจ ไม่ต้องการ ไม่อยาก ไม่ชอบใจ ที่รถยนต์
เกิดอาการขัดข้องจนไม่สามารถใช้ปฏิบัติงานได้
3. ทุกขนิโรธอริยสัจ คือ แม้ว่าการชำรุดเสียหายของรถยนต์ จะเป็นเหตุให้ไม่สามารถทำ
งานดั่งที่ใจต้องการ ก็ไม่ทุกข์ใจ เป็นสุขใจ เบิกบาน แจ่มใส
4. ทุกขนิโรธอคามินีปฏิปทาอริยสัจ คือ หนทางแห่งการดับทุกข์ วิธีการดับทุกข์
ทั้งปวง ด้วยการวิธีการ
4.1-พิจารณาวิบากกรรมและผลของกรรม ตามบททบทวนธรรม เมื่อเกิดสิ่ง
เลวร้ายกับเรา ไม่มีอะไรบังเอิญ เพราะเราเคยทำเช่นนั้นมามากกว่านั้น และส่งผล
ในทุกๆวินาทีให้กับชีวิต นั่นก็คือวิบากกรรม วิบากกรรมมีจริง ทำอะไร ได้ผลอะไร
ก็เกิดจากการกระทำของเราเองทั้งหมด เจอเรื่องดีเพราะทำดีมา เจอเรื่องไม่ดีเพราะ
ทำไม่ดีมาทั้งในปัจจุบันและอดีต สังเคราะห์กันอย่างละ 1 ส่วน จริงอยู่หากเราคิดอย่าง
หยาบๆ ก็อาจะเป็นได้ว่า เป็นคนละเรื่องเดียวกัน เราเคยกระทำอย่างหนึ่ง แต่ทำไมจึง
ได้รับวิบากกรมอีกอย่างหนึ่ง แต่แท้จริงแล้ว แม้เราจะมีการกระทำอย่างหนึ่งก็จริง แต่
ผลที่เราได้รับนั้นมีเป็นล้านๆเหตุที่เราจะต้องได้รับผลนั้นเป็นล้านๆผลเช่นกัน
4.2-พิจารณาโทษของทุกข์ที่เกิดจากความอยาก ทุกข์ที่ไม่ได้ดั่งใจ ทำให้เกิด
ความกระวนกระวายใจ อึดอัดขัดเคืองใจ รุ่มร้อน ที่ไม่สามารถกระทำการต่างๆให้ได้ดั่ง
ที่ใจต้องการ ซึ่งอาจจะทำให้เกิดความไม่สบายกายจากการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อต่างๆ
ซึ่งพลังทุกข์นี้สามารถทำลายเซลล์ในร่างกาย อวัยวะภายในให้เสื่อมฉับพลันถึงตายได้
ดังนั้น เมื่อได้เห็นโทษอย่างแท้จริงแล้ว ก็ทำให้ตัวของเราสามารถขจัดทุกข์นั้นๆ
ได้เป็นไปตามลำดับในแต่ละข้อด้วยสัมมาสติ ด้วยความเป็นสุขใจได้แม้ไม่ได้ดั่งใจ
4.3-พิจารณาประโยชน์ของการที่สามารถขจัดทุกข์ได้นั้น ทำให้ได้รับความสุขใจ
สบายกาย ร่างกายเบา อย่างแท้จริง สามารถทำงานอย่างอื่นได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
4.4 พิจารณาไตรลักษณ์ของสุขลวง
4.4. อนิจจัง ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้น ล้วนไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่มั่นคง ไม่แน่นอน
แล้วเสื่อมและสลายไป จึงไม่ควรที่จะติดยึดเอาไว้ ไม่สละ ไม่สละคืน ไม่ปล่อยไป หรือ
นำเอามาพัวพันกับเราตลอดเวลา
4.4.2.ทุกขัง ภาวะที่ถูกบีบคั้นด้วยการเกิดขึ้นจากเหตุรถยนต์ชำรุดเสียหาย ก็
สามารถจัดดำเนินการซ่อมแซมให้ใช้งานได้ดังเดิม แม้จะต้องใช้เวลาบ้าง ซึ่งทำให้ทุกข์
นั้นไม่สามารถจตั้งอยู่ได้นาน นั่นก็อาจจะเป็นไปตามกลไกในการขจัดทุกข์
4.4.3.อนัตตา อาการของสิ่งที่ไม่ใช่ตัวตน ไม่มีตัวตน ไม่ใช่ใคร ไม่อยู่ในอำนาจ
การควบคุมของใคร ไม่มีอำนาจแท้จริงในตัวเลย
ซึ่งโดยแท้จริงแล้วความต้องการ ความอยากได้ดั่งใจหมาย อยากใคร่ดีที่ใจของ
เราต้องการนั้น เราก็ได้รับความดีใจ สมใจอยาก เพียงชั่วครู่ชั่วยามเท่านั้น ไม่ได้มีความดี
ใจ สมใจอยากตลอดไป และตัวของเราก็จะต้องสร้างความต้องการ สร้างความอยากได้
ใคร่ดีขึ้นมาใหม่ สับเปลี่ยนหมุนเวียนตลอดเวลา แล้วอย่างนี้ตัวของเราจะสร้างความสุข
ลวงแต่ทุกข์ใจไปทำไม สุขใจได้ในทุกๆปัจจุบันแม้ไม่ได้ดั่งใจอยาก เจริญธรรมสำนึกดี
มีใจไร้ทุกข์ ให้ได้ในทุกๆปัจจุบัน
สภาวธรรมประจำสัปดาห์ ณ วันพฤหัสบดีที่ 20 เดือน ตุลาคม. พ.ศ.2565
ชื่อเรื่อง แม้ร่างกายจะเจ็บป่วย แต่ใจมิได้เจ็บป่วยตามไปด้วย
เนื้อเรื่อง เมื่อวันอาทิตย์ที่ 16 ตุลาคมพ.ศ.2565(2022)ตั้งแต่เวลา 9.30-18-00นาฬิกา
(เวลาท้องถิ่นในเมืองดัลลัส มลรัฐเท็กซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา) ได้รับภาระหน้าที่ใน
การบันทึกภาพถ่ายงานทอดกฐินพระราชทานของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
วัดพุทธดัลลัส ประจำปี พ.ศ.2565(2022) ซึ่งต้องเดินตระเวนถ่ายภาพทั่วทั้งวัดและทั้ง
งาน ในช่วงบ่ายยังมีหน้าที่ในการควบคุมการเปิดเพลงจากเครื่องแล๊ปท๊อป เป็นเพลงที่
ใช้ประกอบการแสดงสองชุดและเพลงในระบบคาราโอเกะให้กับผู้ที่มาร่วมงานทอดกฐิน
พระราทานฯจนกระทั่งงานเสร็จสิ้น เพื่อนที่ไปร่วมงานได้ช่วยเก็บอุปกรณ์ต่างๆขึ้นรถยนต์
และขับไปส่งยังบ้านพัก ก่อนหน้าที่จะถึงบ้านก็ไม่ได้สังเกตุว่ามีอะไรผิดปกติกับรางกาย
หรือไม่ จนกระทั่งเพื่อนรถยนต์มาส่งถึงบ้านและช่วยกันเอาอุปกรณ์ลงจากรถยนต์ในขณะ
ที่ก้าวขึ้นบรรไดหน้าบ้านจึงได้รู้สึกว่าเจ็บที่บริเวณด้านหน้าของต้นขาข้างขวา แต่มีอาการ
ไม่รุนแรงนัก จนกระทั่งเข้าบ้านและได้นั่งพักบนเก้าอี้ในห้องครัว และเมื่อเวลาลุกจากเก้าอี้
ยืนขึ้นจึงได้รู้ว่ามีอาการปวดที่ต้นขาด้านหน้ามากขึ้น
ในขณะนั้นจึงพิจารณาว่า ใจมีความรู้สึกบาดเจ็บไปตามอาการของต้นขาขวา
ด้านหน้าหรือไม่ และเกิดอะไรขึ้นกับต้นขาขวาด้านหน้า ไปกระแทกกับอะไรหรือไม่
ต่อจากนั้นจึงได้รีบอาบน้ำชำระล้างร่างกายก่อนที่จะทำการบำบัดรักษาอาการปวดที่ต้น
ขาขวาด้านหน้าเป็นลำดับๆไป
คำสำคัญ เป็นสุขใจได้ แม้ร่างกายจะเป็นทุกข์
ประโยคสำคัญ ตามพระไตรปิฎกเล่มที่ 19 ข้อ 1717 “พึงกระทำความพอใจ ความ
พยายาม ความอุตสาหะ ความไม่ย่นย่อ ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะอย่าง
แรงกล้า เพื่อตรัสรู้อริยสัจ ๔”
1-ทุกขอริยสัจ คือ สภาพของความเป็นทุกข์ใจ ที่เกิด
ความสงสัยว่าเกิดอะไรขึ้นกับต้นขาขวาด้านหน้าว่า ไปกระแทกกับอะไรหรือไม่
ความวิตกว่ามีอาการบาดเจ็บมากไปกว่าที่มีหรือเป็น หรือไม่
ความกังวลใจว่าจะเป็นจะมีอาการนานเพียงใด
2. ทุกขสมุทัยอริยสัจ คือ สาเหตุแห่งทุกข์ใจเป็นทุกข์ที่เกิดจาก ความไม่ต้องการให้
มีอาการบาดเจ็บ อยากให้อาการบาดเจ็บที่ขาขวาด้านหน้าหายโดยเร็ววัน
3. ทุกขนิโรธอริยสัจ คือ สภาพแห่งการดับทุกข์หรือตัณหาดับโดยไม่หลือ(วิราคะ สละ
สละคืน ปล่อยไป ไม่พัวพัน) ไม่โกรธแม้ไม่ทราบสาเหตุท่ำให้เกิดการบาดเจ็บ ไม่กลัวว่า
อาการบาดเจ็บจะเป็นอย่างไร ไม่กลัวตายหากมรอาการรุนแรงมากขึ้น อย่ากลัวโรคอย่าง
อื่นๆที่อาจจะแทรกซ้อนขึ้นมา ไม่เร่งผลในการดูแลรักษาด้วยตัวเองตามลักษณะอาการ
บาดจ็บ ไม่วิตกว่ามีอาการบาดเจ็บมากไปกว่าที่มีหรือเป็น ไม่กังวลแม้ว่าจะดูแลรักษานาน
เพียงใด เป็นสุขใจ ใจไร้ทุกข์ ไร้กังวล ไม่สงสัย และ เป็นสุจใจ เบิกบาน แจ่มใส
4. ทุกขนิโรธอคามินีปฏิปทาอริยสัจ คือ วิถีทางแห่งการดับทุกข์ หรือวิธีการดับทุกข์
ทั้งปวง ด้วยการวิธีการ
4.1-พิจารณาวิบากกรรม ตามบททบทวนธรรม
ข้อที่๑๐. เมื่อเกิดสิ่งเลวร้ายกับเรา ไม่มีอะไรบังเอิญ ทุกอย่างยุติธรรมเสมอ
เพราะเราเคยทำเช่นนั้นมามากกว่านั้น กล่าวคือ ในอดีตก่อนที่จะเข้ามาเป็นจิตอาสาแพทย์
วิถีธรรมได้ใช้เท้าและขาขวาเตะสุนัขที่เลี้ยงเอาไว้เฝ้าบ้าน ใช้ขาขวา เตะเพื่อนคู่อริในระ
หว่าที่ทะเลาะวิวาทกัน ชอบกินขาหมูพะโล้มากๆ
ข้อที่ 46. เกิดอะไร จงท่องไว้ “กู-เรา-ฉัน” ทำมา
-ผลของวิบากกรรม ตามบททบทวนธรรม
ข้อที่ 11. สิ่งที่สร้างผลทุกวินาทีให้กับชีวิต คือ วิบากกรรม ที่ได้เคยทำมาดังที่กล่าวมา
ข้อที่ 12 วิบากกรรมมีจริง ทำอะไร ได้ผลอะไร ก็เกิดจากการกระทำของเราเองทั้งหมด
ข้อที่ 14. ไม่มีชีวิตใดหนีพ้นอำนาจแห่งกรรมไปได้ ทำกรรมดีย่อมได้รับผลดี ทำกรรมชั่ว
ย่อมได้รับผลชั่ว
4.2-พิจารณาโทษ ของทุกข์ที่เกิดจากความอยากให้อาการบาดเจ็บที่ขาขวา
ด้านหน้านั้นหายไปโดยเร็ว จึงมีอากาปวดถึงสามวันอาการจึงได้ทุเลาลงตามลักษณะการ
ดูแล รักษา
แต่เมื่อได้เห็นโทษอย่างแท้จริง จึงขอรับสารภาพตามบททบทวนธรรม
ข้อที่ 22. ถ้าใครมีปัญหาหรือความเจ็บป่วยในชีวิต ให้ทำความดี 4 อย่างนี้ ด้วยความ
ยินดี จริงใจ จะช่วยให้ปัญหาหรือความเจ็บป่วย ลดลงได้เร็ว
1) สำนึกผิด หรือยอมรับผิด
2) ขอรับโทษ เต็มใจรับโทษ หรือ ขออโหสิกรรม
3) ตั้งจิตหยุดสิ่งที่ไม่ดีอันนั้น
4) ตั้งจิตทำความดีให้มาก ๆ คือ ลดกิเลสให้มาก ๆ เกื้อกูลผองชนและหมู่สัตว์
ให้มาก ๆ
ข้อที่ 24. เมื่อเกิดทุกข์ใจ ทุกข์กาย เรื่องร้ายเข้ามาในชีวิต เขามาเพื่อ ให้เราได้ชดใช้
ให้เราไม่ประมาท ให้เราเพิ่มอริยศีล ให้เราได้สำนึก ให้เราได้หมดวิบาก
4.3-พิจารณาประโยชน์ของการขจัดกิเลส ทำให้ไม่มีความอยากให้อาการบาด
หายในเร็ววัน อาการบาดเจ็บจะหายตอนไหนชั่งหัวมัน ได้รับความสบายใจที่สามารถ
ทำงานอย่างๆได้ด้วยความไม่วิตก ไม่กังวล
4.4-พิจารณาไตรลักษณ์ของสุขลวง
4.4.1 อนิจจตา (อนิจจลักษณะ) – อาการเจ็บป่วยทางร่างกาย แม้แต่ทางใจ
ก็มิได้มี มิได้เป็นตลอดไป เกิดมีขึ้นได้ ก็หายไปได้ ทั้งนี้ทั้งนั้นใจต้องไม่เจ็บป่วยตาม
อาการของร่างกาย
4.4.2 ทุกขตา (ทุกขลักษณะ) – อาการที่เป็นทุกข์ทางใจ เพราะปัจจัยที่ปรุง
แต่งให้มีสภาพของอการเป็นอย่างนั้น อย่างนี้เปลี่ยนแปลงไป ไม่คงอยู่ในสภาพนั้น
4.4.3 อนัตตา (อนัตตลักษณะ) – อาการของอนัตตา อาการของการเจ็บป่วย
ที่ไม่มีตัวตน อาการที่แสดงถึงความไม่ใช่ใคร ไม่ใช่ของใคร ไม่อยู่ในอำนาจควบคุมของ
ใคร อาการเจ็บป่วยที่แสดงถึงไม่มีตัวตนที่แท้จริงของมันเอง ต้องอาศัยพึ่งพิงสิ่งอื่นๆ
มากมายจึงมีอาการต่างๆเกิดขึ้นได้.
โดยแท้จริงแล้วความต้องการ ความอยากได้ดั่งใจหมาย อยากได้ใคร่ดีที่ใจ
ต้องการนั้น ก็ได้รับความดีใจ สมใจอยาก เพียงชั่วครู่ชั่วยามเท่านั้น ไม่ได้มีความดีใจ
สมใจอยากอย่างยั่งยืนตลอดไป และจะต้องสร้างความต้องการ สร้างความอยากได้
ใคร่ดีขึ้นมาใหม่ หมุนเวียนตลอดเวลา แล้วอย่างนี้จะสร้างความสุขลวงแต่ทุกข์ใจไป
ทำไม สุขใจได้ในทุกๆปัจจุบันแม้ไม่ได้ดั่งใจอยาก เจริญธรรมสำนึกดี มีใจไร้ทุกข์
ใจเย็นให้ได้ให้ได้ในทุกๆปัจจุบัน
เรื่อง อยากกินอะไรหวาน ๆ
ขณะที่นั่งอ่านหนังสืองานวิจัยต่าง ๆ เพื่อได้แนวทางในการเขียนงานวิจัย ป โท อยู่ ก็เกิดอาการอยากกินของหวาน เราน่าจะทำขนมกินดีมั้ย พอจับอาการได้ว่าไม่โปร่งไม่โล่งใจ
ทุกข์ ไม่โปร่งไม่โล่งใจ
สมุทัย อยากกินขนมหวาน ถ้าได้กินจะสุขใจชอบใจ
นิโรธ จะได้กินขนมหวานหรือไม่ก็ไม่ทุกข์ใจ ยินดีได้แม้ไม่ได้ดั่งใจ
มรรค ได้พิจารณาเห็นว่าความอยากกินขนมหวานเป็นทุกข์ ทุกข์ที่จะต้องแสวงหามากินมาเสพ ซึ่งสุขที่ได้จากการเสพก็ไม่มีจริง เป็นสุขแว็ปเดียว เป็นสุขลวงสุขหลอก เก็บไม่ได้ อยากใหม่ก็ต้องดิ้นรนหามาเสพอีก ได้เสพดั่งใจกิเลสก็โต อยากได้มาก ๆ ก็ทำชั่วได้ทุกเรื่อง เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น คือต้องเสียแรงงานทุุนรอนมาปรุงมาแต่ง เพื่อให้ได้มาเสพ เราก็ไม่ได้หิว เอามาเกินโลกก็ขาดแคลน และเป็นแรงเหนี่ยวนำที่ไม่ดีให้คนอื่นเป็นตามอีก เมื่อพิจารณาเห็นความจริงอย่างนี้ ความอยากกินขนมก็คลายลง ใจยินดีที่ไม่ได้ดั่งใจ
สภาวธรรมประจำสัปดาห์ ณ วันพฤหัสบดีที่ 20 เดือน ตุลาคม. พ.ศ.2565
ชื่อเรื่อง หายไปไหนเนี๊สะ
เนื้อเรื่อง ในวันพฤหัสบดีที่ 20 ตุลาคม พ.ศ.2565 ซึ่งอยู่ในช่วงรอรถยนต์ที่จะใช้
ในการทำงาน ให้ช่งเทคนิคนำไปทำการซ่อมแซมในส่วที่ชำรุดเสียหาย จึงได้มีเวลา
ทำการบ้านอริยสัจ 4 และในเวลาเดียวกันได้ติดตามการถ่ายทอดสดรายการแพทย์
แผนไทยวิถีธรรมค้ำจุนโลก ครั้งที่ 26 ด้วยการใช้คอมพิวเตอร์บ้านเครื่องเดียวกันนี้
ซึ่งในบางช่วงจะต้องทำการปิดหน้าต่างของการพิมพ์ข้อความ จึงทำให้มีการทำงาน
ผิดพลาดด้วยการปิดหน้าจอของการพิมพ์ข้อความโดยไม่ได้จัดการบันทึกเก็บความจำ
เอาไว้ จึงทำให้ข้อความที่ทำไว้แล้วหาย จึงทำให้โทษตัวเองในความผิดพลาด เกิด
อาการผิดหวัง หงุดหงิด
คำสำคัญ แม้ไม่ได้ดั่งใจ ก็เป็นสุขใจได้
ประโยคสำคัญ ตามพระไตรปิฎก เล่มที่ 19 ข้อ 1717 เจลสูตร มีใจความดังนี้
“พึงกระทำความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความไม่ย่นย่อ
ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะอย่างแรงกล้า เพื่อตรัสรู้อริยสัจ ๔”
1-ทุกขอริยสัจ คือ สภาพของความเป็นทุกข์ใจ ที่ทำงานแล้วเสร็จ ไม่ได้จัดเก็บด้วย
การบันทึกเอาไว้ ดั่งที่ตั้งใจเอาไว้
2. ทุกขสมุทัยอริยสัจ คือ สาเหตุแห่งทุกข์ใจเป็นทุกข์ที่เกิดจาก ความยึดมั่นถือมั่น
ไม่ได้กระทำในสิ่งที่ต้องการจะกระทำ
3. ทุกขนิโรธอริยสัจ คือ สภาพแห่งการดับทุกข์หรือตัณหาดับโดยไม่หลือ(วิราคะ สละ
สละคืน ปล่อยไป ไม่พัวพัน) ถึงแม้ว่าจะไมได้กระทำในสิ่งที่ต้องการจะกระทำก็เป็นสุจ
ใจได้ เบิกบาน แจ่มใส
4. ทุกขนิโรธอคามินีปฏิปทาอริยสัจ คือ วิถีทางแห่งการดับทุกข์ หรือวิธีการดับทุกข์
ทั้งปวง ด้วยการวิธีการ
4.1-พิจารณาวิบากกรรม ตามบททบทวนธรรม ข้อที่ 21. การได้พบกับ
เหตุการณ์ที่ไม่ถูกใจเรา ไม่ได้ดั่งใจเรา เป็นสุดยอดแห่งเครื่องมืออันล้ำค่า ที่ทำ
ให้ได้ฝึกล้างกิเลส คือ ความหลงชิงชังรังเกียจ หลงยึดมั่นถือมั่นในใจเรา และ
ทำให้ได้ล้างวิบากร้ายของเรา
และผลของวิบากกรรมที่กระทำไปนั้น จึงทำให้เกิดข้อผิดพลาดในการทำงาน
ล้วไม่ได้ทำการบันทึกเพื่อจัดเก็บข้อมูลเอาไว้ ข้อมูลที่ทำไว้แล้วจึงหายไป
4.2-พิจารณาโทษ ของทุกข์ที่ไม่ได้ดั่งใจ ที่ต้องการจะเก็บข้อมูลแล้วได้เก็บไว้
แต่เมื่อได้เห็นโทษอย่างแท้จริง ก็ทำให้ขจัดความทุกข์นั้นๆได้ด้วยการ ตั้งใจว่า
แม้ไม่ได้จัดเก็บข้อมูลเอาไว้ ก็เป็นสุขใจได้
4.3-พิจารณาประโยชน์ของการขจัดกิเลส ทำให้เกิดความสบายใจ ไม่อึดอัดใจ
และมีความตั้งใจมั่นในการที่จะจัดการทำการใหม่จนแล้วเสร็จบันทึกเอาไว้เรียบร้อย
44 พิจารณาไตรลักษณ์ของสุขลวง
4.4.1 อนิจจตา (อนิจจลักษณะ) การไม่ได้จัดเก็บข้อมูลเอาไว้ดั่งใจ เป็นอาการ
ที่ ไม่เที่ยง ไม่คงที่ ไม่ยั่งยืน ที่เกิดขึ้นมาแวก็ดับไป
4.4.2 ทุกขตา (ทุกขลักษณะ) – อาการเป็นทุกข์ เพราะสร้างปัจจัยที่ปรุงแต่ง
ให้มีสภาพของการผิดพลาดเกิดขึ้นมา
4.4.3 อนัตตา (อนัตตลักษณะ) – อาการของอนัตตา เป็นอาการที่เกิดขึ้นมา
ในใจของเราที่ไม่มีตัวตน
โดยแท้จริงแล้วความต้องการ ความอยากได้ดั่งใจหมาย ก็ได้รับความดีใจ
สมใจอยาก เพียงชั่วครู่ชั่วยามเท่านั้น ไม่ได้มีความดีใจ สมใจอยากอย่างยั่งยืน
ตลอดไป และจะต้องสร้างความต้องการ สร้างความอยากได้ใคร่ดีขึ้นมาใหม่ หมุน
เวียนตลอดเวลา แล้วอย่างนี้จะสร้างความสุขลวงแต่ทุกข์ใจไปทำไม สุขใจได้ในทุกๆ
ปัจจุบันแม้ไม่ได้ดั่งใจอยาก
เจริญธรรมสำนึกดี มีใจไร้ทุกข์ ใจเย็นให้ได้ให้ได้ในทุกๆปัจจุบัน
สภาวธรรมประจำสัปดาห์ ณ วันพุธที่ 26 เดือน ตุลาคม พ.ศ.2565
ชื่อเรื่อง ค่าซ่อมแซมรถยนต์จะพอไหมเนี๊ยะ
เนื้อเรื่อง สืบเนื่องรถยนต์ที่ใช้ได้ชำรุดเสียหายนั้น ได้ล่วงเวลามาหลายวันแล้วที่อู่
ซ่อมรถยนต์ยังไม่ได้แจ้งราคาและส่งรถยนต์มาลากเอาไปเข้าอู่ ซึ่งได้ติดต่อไปยัง
อู่ฯเพื่อขอทราบรายละเอียดดังที่กล่าวมา จึงได้รับแจ้งประมาณการค่าซ่อมรถยนต์
ทำให้เกิดความวิตกกังวลว่าช่วงต้นเดือนหน้าที่จะได้เงินจากการร่วมเล่นแชร์จะพอ
กับค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมรถยนต์และการสมัครสอบปรับระดับการเป็นประชาชน
ของประเทศสหรัฐอเมริกาหรือไม่
คำสำคัญ แม้ประสบทุกข์ ก็ยังหาสุขพบ
ประโยคสำคัญ ตามพระไตรปิฎก เล่มที่ 19 ข้อ 1717 “พึงกระทำความพอใจ
ความพยายาม ความอุตสาหะ ความไม่ย่นย่อ ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะ
อย่างแรงกล้า เพื่อตรัสรู้อริยสัจ ๔”
ปรับสภาวะธรรมด้วยอริยสัจ ๔ :-
1-ทุกขอริยสัจ คือ สภาพของความเป็นทุกข์ใจที่เกิดการวิตกกังวลหวั่นไหวต่อการ
ได้รับแจ้งเรื่องงบประมาณค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมรถยนต์และเตรียมสมัครสอบเป็น
ประชาชนของประเทศสหรัฐอเมริกา
2. ทุกขสมุทัยอริยสัจ คือ สาเหตุแห่งทุกข์ใจเป็นทุกข์ที่เกิดจากความวิตกกังวลหวั่นไหว
3. ทุกขนิโรธอริยสัจ คือ เป็นสุขใจ ใจไร้ความทุกข์ ไร้ความกังวล ไม่หวั่นไหว แม้จะไม่
ได้รับความพึงพอใจก็เป็นสุจใจได้ เบิกบาน แจ่มใส แม้ประสบทุกข์ ก็ยังหาสุขพบ
4. ทุกขนิโรธอคามินีปฏิปทาอริยสัจ ด้วยการวิธีการ
4.1-พิจารณาวิบากกรรม ตามบททบทวนธรรม ข้อที่ ๑๒. วิบากกรรมมีจริง
ทำอะไร ได้ผลอะไร ก็เกิดจากการกระทำของเราเองทั้งหมด เจอเรื่องดีเพราะทำดีมา
เจอเรื่องไม่ดีเพราะทำไม่ดีมา ทั้งในปัจจุบันและอดีต สังเคราะห์กันอย่างละ 1 ส่วน
และผลของวิบากกรรม ได้รับความผิดหวัง ความไม่สมหวัง ความไม่ได้ดั่งใจ
ที่ปรารถนา
4.2-พิจารณาโทษ ของทุกข์ที่เกิดจากไม่ได้ดั่งใจอยาก จะเกิดอาการเร่าร้อน
ใจ กระวนกระวายใจ
แต่เมื่อได้เห็นโทษอย่างแท้จริงแล้วก็ทำให้ขจัดความทุกข์ใจนั้นๆได้ด้วยการ
ทำใจไม่ให้ทุกข์
4.3-พิจารณาประโยชน์ของการขจัดความทุกข์ ไม่มีความอยาก ไม่วิตกกังวลใจ
ได้รับความสบายใจ ไม่อึดอัดขัดเคืองใจ เมื่อใจสบายแล้วก็ส่งผลไปยังร่างกาย ทำให้
ความสบายเนื้อ สบายตัว
4.4 พิจารณาไตรลักษณ์ของสุขลวง
4.4.1 อนิจจตา (อนิจจลักษณะ) – ความวิตก กังวล หวั่นไหว ความอึดอัด ขัด
เคืองใจ เป็นอาการที่ไม่เที่ยง เมื่อเกิดขึ้นแล้วย่อมเสื่อมและสลายไป
4.4.2 ทุกขตา (ทุกขลักษณะ) – ความทุกข์จะเปลี่ยนแปลงไปไม่คงที่ ก็ไม่ควรที่
จะทำใจให้ความเป็นทุกข์
4.4.3 อนัตตา (อนัตตลักษณะ) – โดยแท้จริงแล้วความต้องการ ความอยากได้
ดั่งใจหมาย อยากได้ใคร่ดีที่ใจต้องการนั้น มีขึ้นเพียงชั่วครู่ชั่วยามเท่านั้น ไม่ได้มีความ
ดีใจสมใจอยากตลอดไป แล้วอย่างนี้จะสร้างความสุขลวงแต่ทุกข์ใจยาวนานไปทำไม
สุขใจได้ในทุกๆปัจจุบันแม้จะไม่ได้ดั่งใจอยาก ดั่งผู้มีปัญญาด้วยโศลกธรรมที่ว่า “แม้
ประสบทุกข์ ก็ยังหาสุขพบ”
เจริญธรรมสำนึกดี มีใจไร้ทุกข์ ใจเย็นให้ได้ให้ได้ในทุกๆปัจจุบัน
ชื่อเรื่อง อุปสรรคและปัญหา ที่เกิดจากการเตรียมอุปกรณ์
เนื้อเรื่อง ในวันจันทร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ.2565 ช่วงเวลาบ่ายๆ ได้รับการติดต่อทาง
โทรศัพท์จากประธานชมรมครูและผู้ปกครองนักเรียน เกี่ยวกับเครื่องเสียงที่จะต้องใช้
ในงานลอยกระทงของวัดพุทธดัลลัส ที่ได้จัดซื้อเอาไว้ใช้ในกิจกรรมของโรงเรียน ฯ
ปรากฎว่าเมื่อสั่งซื้อไปแล้วนั้น ทั้งชื่อยี่ห้อ รุ่น ที่ต้องการนั้น ไม่มีในสต๊อก ประธาน
ชมรมจึงต้องเดินทางไปที่ร้านจำหน่ายเครื่องเสียงพร้อมกับผู้ชำนาญ แต่ก็ปรากฎว่า
เครื่องเสียงชุดอื่นๆทีมีในปัจจุบันก็มีรายละเอียดที่ไม่ตรงกันอีก จึงต้องดูยี่ห้ออื่นๆที่มี
รายละเอียดคล้ายๆกัน จนกระทั่งได้มีการสั่งซื้อเอามาใช้ เพื่อให้ทันการใช้งานลอย
กระทงฯ
คำสำคัญ อุปสรรคและปัญหา คือ ชีวิตชีวา
ประโยคสำคัญ ตามพระไตรปิฎก เล่มที่ 19 ข้อ 1717 “พึงกระทำความพอใจ
ความพยายาม ความอุตสาหะ ความไม่ย่นย่อ ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะ
อย่างแรงกล้า เพื่อตรัสรู้อริยสัจ ๔” :-
1-ทุกขอริยสัจ ที่เกิดจากการสั่งซื้อเครื่องเสียงสำหรับกลางแจ้ง ซึ่งเป็นชุดเครื่องเสียง
ที่ไม่ตรงกับยี่ห้อและรายละเอีนดต่างๆที่ต้องการจะได้
2. ทุกขสมุทัยอริยสัจ เครื่องเสียงชุดที่ต้องการจะได้ก็ไม่ได้ ชุดที่ได้มาก็ไม่ถูกใจ ไม่
ชอบใจ ไม่สมใจอยาก
4. ทุกขนิโรธอคามินีปฏิปทาอริยสัจ แม้ไม่ได้ชุดเครื่องเสียงดั่งที่ต้องการจะได้ ก็ไม่
เป็นไร ยินดี พอใจ กับชุดเครื่องเสียงที่จัดหามาได้ก็ดีแล้ว จะได้มีเครื่องเสียงที่จะใช้
ในงานลอบกระทง
4.1-พิจารณาวิบากกรรม ตามบททบทวนธรรม ดังต่อไปนี้
ข้อที่ 120. ปัญหาไม่เคยหมดไปจากชีวิตของเรา มีแต่ทุกข์เท่านั้น ที่หมดไป
จากใจของเรา
ข้อที่ 121. โจทย์ทุกโจทย์ เหตุการณ์ทุกเหตุการณ์ เป็นเครื่องมือฝึกจิตของเราให้
เป็นสุข อย่างถูกต้องตามธรรม
ข้อที่ 133. อุปสรรคและปัญหา คือ ชีวิตชีวา
ข้อที่ 138. จงเผชิญกับปัญหาอุปสรรค ที่มีอยู่คู่โลกตลอดกาลนาน อย่างมีชีวิตชีวาให้ได้
และผลของวิบากกรรม
4.2-พิจารณาโทษ ของการที่ได้เครื่องเสียงชุดที่ไม่ได้ดั่งใจอยาก ทำให้เกิด
ทุกข์ที่มีอาการ อึดอัด หงุดหงิด ไม่พอใจ ไม่เป็นสุขใจ ไม่สมใจ
แต่เมื่อได้เห็นโทษอย่างแท้จริง ก็ทำให้ขจัดความทุกข์นั้นๆได้ด้วยการทำใจให้
เป็นสุข แม้ไม่ได้ดั่งใจที่ต้องอยากจะได้ ก็พึงพอใจ
4.3-พิจารณาประโยชน์ของการขจัดกิเลสความทุกข์นั้นออกไปได้ ก็ทำให้บังเกิด
ความสบายใจ คลายความอึดอัดใจผ่อนคลายความหงุดหงิด ความไม่พอใจ ออกไปได้
4.4 พิจารณาไตรลักษณ์ของสุขลวง
4.4.1 อนิจจัง – อาการของความ หงุดหงิด อึดอัด ไม่ชอบใจ ไม่พอใจ เป็น
อาการที่ไม่เที่ยง เกิดขึ้นมาก็ด้วยใจของเราที่ไม่แน่นอน ไม่มั่นคง
4.4.2 ทุกขัง – อาการเป็นทุกข์ของใจที่ปรุงแต่งให้มีสภาพเป็นอย่างนั้น และ
เปลี่ยนแปลงไป ตลอดเวลาไม่คงที่.
4.4.3 อนัตตา- อาการของใจที่ไม่มีตัวตน เกิดแต่ใจที่นึกคิดไปต่างๆนานา
โดยแท้จริงแล้วความทุกข์ที่เกิดจากความต้องการนั้น เกิดขึ้น ตั้งอยู่ไม่นาน
แล้วก็ดับไป ด้วยการสละ สละคืน ปล่อยไป ไม่พัวพัน ก็ทำให้สุขใจได้ในทุกๆปัจจุบัน
แม้ไม่ได้ดั่งใจอยาก
เจริญธรรมสำนึกดี มีใจไร้ทุกข์ ใจเย็นให้ได้ให้ได้ในทุกๆปัจจุบัน
สถาบันวิชชาราม ใบส่งงานการบ้าน(ต่างประเทศ)
ชื่อนายประพันธ์ นามสกุล โพธ์คำ
ชื่อทางธรรม ใจถึงศีล กล้าจน
ชื่อเล่น เท่
จิตอาสาสวนป่านาบุญ 6 ต่างประเทศ อยู่เมืองดัลลัส มลรัฐเท็กซัส
ประเทศสหรัฐอเมริกา
นักศึกษาระดับ อริยปํญญาตรี หลักสูตร 7 ปี สาขาวิชา จิตอาสาแพทย์วิถีธรรม
ปัจจุบันอายุ 73 ปี พำนักอยู่ที่ เมืองดัลลัส มลรัฐเท็กซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา
**********************
สภาวธรรมประจำสัปดาห์ ณ วันพุธที่ 26 เดือน ตุลาคม พ.ศ.2565
ชื่อเรื่อง ค่าซ่อมแซมรถยนต์จะพอไหมเนี๊ยะ
เนื้อเรื่อง สืบเนื่องรถยนต์ที่ใช้ได้ชำรุดเสียหายนั้น ได้ล่วงเวลามาหลายวันแล้วที่อู่
ซ่อมรถยนต์ยังไม่ได้แจ้งราคาและส่งรถยนต์มาลากเอาไปเข้าอู่ ซึ่งได้ติดต่อไปยัง
อู่ฯเพื่อขอทราบรายละเอียดดังที่กล่าวมา จึงได้รับแจ้งประมาณการค่าซ่อมรถยนต์
ทำให้เกิดความวิตกกังวลว่าช่วงต้นเดือนหน้าที่จะได้เงินจากการร่วมเล่นแชร์จะพอ
กับค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมรถยนต์หรือไม่
คำสำคัญ แม้ประสบทุกข์ ก็ยังหาสุขพบ
ประโยคสำคัญ ตามพระไตรปิฎก เล่มที่ 19 ข้อ 1717 “พึงกระทำความพอใจ
ความพยายาม ความอุตสาหะ ความไม่ย่นย่อ ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะ
อย่างแรงกล้า เพื่อตรัสรู้อริยสัจ ๔”
ปรับสภาวะธรรมด้วยอริยสัจ ๔ :-
1-ทุกขอริยสัจ คือ สภาพของความเป็นทุกข์ใจที่เกิดการวิตกกังวลหวั่นไหวต่อการ
ได้รับแจ้งเรื่องงบประมาณค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมรถยนต์จะสูงเกินกว่างบประมาณ
ที่ได้รับเงินค่างแชร์
2. ทุกขสมุทัยอริยสัจ คือ สภาพความทุกข์ของจิตใจที่อยากให้ค่าใช้จ่ายในการซ่อม
แซมรถยนต์ไม่สูงมากนัก
3. ทุกขนิโรธอริยสัจ คือ แม้จะประสบทุกข์จากการได้รับแจ้งเรื่องค่าใช้จ่ายในการ
ซ่อมแซมรถยนต์ทู่ง ก็เป็นสุขใจได้
4. ทุกขนิโรธอคามินีปฏิปทาอริยสัจ ด้วยการวิธีการ
4.1-พิจารณาวิบากกรรมมีจริง ทำอะไร ได้ผลอะไร ก็เกิดจากการกระทำ
ของเราเองทั้งหมด เพราะในอดีตที่ผ่านมา เมื่อครั้งที่ดำเนินชีวิตในประเทศไทย ได้เคย
เรียกค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดี การดำเนินการทางธุรกิจ ที่สูงเกินกว่าจะปฏิบัติการจริง
ผลของวิบากกรรม ที่เคยทำในอดีต จึงส่งผลให้ในช่วงเวลาปัจจุบันนี้รับวิบากกรรม
ที่เราเคยทำมา ด้วยการต้องยอมรับค่าซ่อมแซมรถยนต์ที่สูง
4.2-พิจารณาโทษ ของทุกข์ที่เกิดจากไม่ได้ดั่งใจอยาก จะเกิดอาการเร่าร้อน
ใจ กระวนกระวายใจ ไม่สบายเนื้อตัว
แต่เมื่อได้เห็นโทษอย่างแท้จริงแล้วก็ทำให้ขจัดด้วยการ สละ สละคืน ปล่อยไป
ไม่พัวพันศึ่งความทุกข์ใจนั้นๆได้ด้วยการทำใจแม้จะประสบกับความทุกข์ ก็ยังเป็นสุขใจ
4.3-พิจารณาประโยชน์ของการขจัดความทุกข์ ไม่มีความอยาก ไม่วิตกกังวลใจ
ได้รับความสบายใจ ไม่อึดอัดขัดเคืองใจ เมื่อใจสบายแล้วก็ส่งผลไปยังร่างกาย ทำให้
ความสบายเนื้อ สบายตัว
4.4 พิจารณาไตรลักษณ์ของสุขลวง
4.4.1 อนิจจลักษณะ – ความวิตก กังวล หวั่นไหว ความอึดอัด ขัด
เคืองใจ ดังที่กล่าวมา เป็นอาการที่ไม่เที่ยง เมื่อเกิดขึ้นแล้วย่อมเสื่อมและสลายไป
4.4.2 ทุกขลักษณะ – ความทุกข์จะเปลี่ยนแปลงไปไม่คงที่ ก็ไม่ควรที่จะต้อง
ทำใจให้เกิดความเป็นทุกข์
4.4.3 อนัตตลักษณะ – โดยแท้จริงแล้วความต้องการ ความอยากได้ค่าใช้จ่าย
การซ่อมแซมรถยนต์ในราคาที่ถูกดั่งใจหมายนั้นไม่มีตัวตน อยากได้ใคร่ดีที่ใจต้องการ
นั้น เป็นการสร้างความคิดขึ้นมาเอง ไม่ใช่สิ่งที่มีอยู่เป็นอยู่ โดยสภาพที่แท้จริงแต่อย่าง
ใดทั้งสิ้น ซึ่งหากมีขึ้นก็เป็นเพียงเพียงชั่วครู่ชั่วยามเท่านั้น ไม่ได้มีความมั่นคงตั้งอยู่
ตลอดไป แล้วอย่างนี้จะสร้างความสุขลวงที่อยากได้ดั่งใจหมายแต่ทุกข์ใจยาวนานไป
ทำไม เป็นสุขใจได้ในทุกๆปัจจุบันแม้จะไม่ได้ดั่งใจอยาก ดั่งผู้มีปัญญาด้วยโศลกธรรม
ที่ว่า “แม้ประสบทุกข์ ก็ยังหาสุขพบ”
เจริญธรรมสำนึกดี มีใจไร้ทุกข์ ใจเย็น ใจเป็นสุข ให้ได้ในทุกๆปัจจุบัน
พุทธะชนะทุกข์
เรื่อง อยากได้ sd.card คำคมเพชรฯของอาจารย์มาฟัง
เมื่อได้ยินทีมงานสื่อเปิด คำคมเพชรฯของอาจารย์ครั้งใด ก็มีความอยากได้มาฟัง เมื่อไหร่หนอทีมงานจะจัดทำมาจำหน่ายซะที จะได้ไว้เปิดฟังเวลาก่อนเข้านอน เพราะเห็นประโยชน์ในคำคมและมีความชอบที่ได้นำมาใช้กับชีวิตประจำวันในยามทุกข์ที่ผ่านมาจนคลายทุกข์ได้จริง จนเป็นเหตุสะสมกิเลสอยากได้โตขึ้นทุกวันๆ
อริยสัจ 4
ทุกข์ รู้สึกทุกข์ใจ อึดอัดใจที่ไม่ได้ฟังคำคมฯของอาจารย์
สมุทัย อยากได้ sd.card คำคมฯอาจารย์
นิโรธ จะได้สมใจอยาก หรือไม่ได้สมใจอยาก ก็ไม่ทุกข์
มรรค แม้เห็นประโยชน์ที่ได้รับฟังมีมาก แต่เมื่อยังไม่ถึงเวลาจะได้ก็ไม่ได้ เราต้องสุขสมใจที่ไม่ได้ดั่งใจนั้นให้ได้ แม้ได้สุขสมใจอยากก็เป็นสุขแว๊บเดียว แล้วก็หายไป เป็นสุขลวง สุขหลอก ไม่มีจริงเก็บไม่ได้ เรายังไม่มีกุศล ในสิ่งนั้นยังมีวิบากอยู่ อยากได้มากๆทำชั่วได้ทุกเรื่อง เหนี่ยวนำให้ผู้อื่นเป็นตาม ทุกอย่างที่เกิดขึ้นดีที่สุดแล้ว(บททบทวนธรรม ข้อ 147) เมื่อได้ทบทวนซ้ำๆได้เข้าใจ ถึงความอยากได้ จะไม่ได้ ก็เลิกจากความอยากได้นั้นและเปลี่ยนจากความอยากได้โดยหาประโยชน์ได้จากการโหลดจากคลิปคำคมฯอาจารย์ มาฟังด้วยใจที่เบิกบาน ด้วยความสุขใจที่ยินดีแม้ไม่ได้สมใจอยาก
ประภาพรรณ โอษฐ์ยิ้มพราย
นศ.วิชชาราม ระดับอริยะปัญญาตรีชั้นปีที่1
สภาวธรรมประจำสัปดาห์ ณ วันเสาร์ที่ 12 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2565
ชื่อเรื่อง :- แม้ไม่ได้ดั่งใจ ก็เป็นสุขใจได้
เนื้อเรื่อง เมื่อวันศุกร์ที่ 11 พฤศจิกายนพ.ศ.2565 แท๊ปเล็ทที่ใช้เป็นประจำทุกๆวัน
ได้เกิดเหตุไม่สามารถรับสัญญาณอินเตอร์เน็ทได้ โดยไม่ทราบสาเหตุ ได้แต่คิดไป
เองว่า อาจจะเกิดจากการที่ก่อนหน้านี้ได้มีการแจ้งให้ทำการเชื่อมต่อระหว่างแท๊ป
เล็ทกับแผ่นซิมการ์ดประจำเครื่องและสัญญาณอินเคอร์เน็ทภายนอก จึงได้แต่คิดไป
เองว่าช่างเทคนิคของศูนย์บริการคงจะทำการเชื่อมต่อให้ผิดเครื่อง
คำสำคัญ มีสุขได้ในทุกๆปัจจุบัน
ประโยคสำคัญ ตามพระไตรปิฎก เล่มที่ 19 ข้อ 1717 “พึงกระทำความพอใจ
ความพยายาม ความอุตสาหะ ความไม่ย่นย่อ ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะ
อย่างแรงกล้า เพื่อตรัสรู้อริยสัจ ๔” :-
1-ทุกข์ คือ กังวลใจในต้นเหตุที่อยากให้ช่างเทคนิคของศูนย์บริการทำการเชื่อมต่อ
สัญญาณอินเตอร์เน็ทให้ถูกเครื่อง
2. สมุทัย คือ สาเหตุแห่งทุกข์ที่อยากเครื่องแท๊ปเล็ทรับสัญญาณอินเตอรฺเน็ทได้ไม่ติด
ขัดให้ได้สมใจจะสุขเป็นใจ
3. นิโรธ คือ แม้แท๊ปเล็ททั้งสองเครื่องจะไม่สามารถเชื่อมต่อสัญญาณอินเตอร์เน็ทได้
ก็ไม่ทุกข์ใจ เป็นสุขได้ แม้ไม่ได้ดั่งใจหวัง
4. มรรค คือ หนทางแห่งการดับทุกข์
พิจารณาวิบากกรรม ที่ได้เคยหน่วงเหนี่ยว ตัวเอง ผู้อื่น สัตว์อื่น ในอดีตที่ผ่านมา ไม่
ให้ได้รับความสะดวกด้วยประการต่างๆ
พิจารณาโทษ ของความอยากได้ดั่งใจหวัง ทำให้ในปัจจุบันนี้ เราเองนั้นถูกหน่วงเหนี่ยว
จนกระทั่งทำให้ไม่สามารถใช้เครื่องมือสื่อสารดั่งใจที่หวังเอาไว้
พิจารณาประโยชน์ของการไม่มีความอยาก ทำให้ไม่ทุกข์ใจ สบายใจ แม้จะเผชิญกับ
ความทุกข์ ก็ยังหาความสุขใจได้ และ
พิจารณาไตรลักษณ์ของสุขลวง (เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป)
ทุกขัง ทุกข์ที่เกิดขึ้นนั้น เป็นสิ่งที่สร้างขึ้นมาเองจากใจที่ไม่มั่นคง ไม่มีตลอดไป
อนิจจัง ความสุขเราคิดว่าจะได้ดั่งที่ตั้งใจหวังนั้น เป็นความสุขไม่มีจริงๆ แม้จะมีอยู่ ก็
ไม่ได้หมายความจะมีตลอดไป ไม่เที่ยง ต้องสร้างขึ้นมาใหม่ตลอดเวลาในทุกๆปัจจุบัน
อนัตตา ความสุขที่เราต้งการได้มานั้น ไม่ตัวตน ไม่มีอยู่จริง เป็นเพียงใจของเราเท่านั้น
ที่แสวงหา ไฝ่หา มาเองเพื่อให้เกิดทุกข์เท่านั้น
เจริญธรรม สำนึกดี มีใจไร้ทุกข์ ใจเย็นให้ได้ให้ได้ในทุกๆปัจจุบัน
สภาวธรรมประจำสัปดาห์ ณ วันจันทร์ที่ 13 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2565
ชื่อเรื่อง ไม่เป็นไร ได้มาเมื่อไหร่ ก็เมื่อนั้น
เนื้อเรื่อง เมื่อวันอาทิตย์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ.2565 ช่วงประมาณก่อนเที่ยงวัน ได้
ติดต่อกับช่างเทคนิคเพื่อแก้ไขข้อติดขัดในการใช้แท๊ปเล็ทที่เชื่อมต่อสัญญาณอินเตอร์
เน็ทไม่ได้ สนทนากันสักประมาณหนึ่งชั่วโมงผ่านไป จึงได้ข้อสรุปว่า ทางฝ่ายให้บริการ
โทรศัพท์จะเป็นผู้ส่งซิมการ์ดใหม่ พร้อมกับส่งข้อความการตั้งค่าการใช้แท๊ปเล็ทไปให้
โดยไม่ต้องชำระค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยกำหนดระยะเวลาการส่งไปให้ที่บ้านพักประมาณ 5-
7 วัน และจะโทรศัพท์ไปหาเพื่อทบทวน แนะนำการตั้งค่าการใช้แท๊ปเล็ท
คำสำคัญ แม้ไม่ได้ดั่งใจ ก็ไม่ทุกข์ใจ
ประโยคสำคัญ ตามพระไตรปิฎก เล่มที่ 19 ข้อ 1717 “พึงกระทำความพอใจ ความพยายาม
ความอุตสาหะ ความไม่ย่นย่อ ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะอย่างแรงกล้า เพื่อตรัสรู้
อริยสัจ ๔” :-
1-ทุกขอริยสัจ ศูนย์บริการไม่สามารถจัดส่งซิมการ์ดไปให้ดั่งที่ใจต้องเร็วๆ
2. ทุกขสมุทัยอริยสัจ ทุกข์ที่ได้ไม่ดั่งใจหวัง ยึดมั่น ถือมั่น ที่อยากจะได้ซิมการ์ดโดยเร็ว
3- ทุกขนิโรธอริยสัจ แม้ศูนย์บริการการใช้โทรศัพท์จะไม่สามารถส่งซิมการ์ดให้โดย
เร็ว ก็ไม่เป็นไร รอได้ เป็นสุขใจได้ ไม่ยึดมั่น ไม่ถือมั่น
4. ทุกขนิโรธอคามินีปฏิปทาอริยสัจ
4.1-พิจารณาวิบากกรรม ที่ในอดีตที่ผ่านมา ได้เคยมีพฤติกรรมในการหน่วงเหนี่ยว
คู่กรณ๊หรือบุคคลอื่นๆต่างฝ่ายกัน ไม่ให้รับใสสิ่งที่จะต้องได้ตามสัญญาที่ตกลงกันไว้
4.2-พิจารณาโทษ ของวิบากกรรม กล่าวคือ ทำสิ่งใดไว้ ก็สมควรแล้วที่จะต้องได้รับ
สิ่งนั้นเช่นกัน
แต่เมื่อได้เห็นโทษอย่างแท้จริงแล้ว ทำให้เก็นว่าวิบากต้องรับ กิเลสต้องล้าง พุทธะ
จึงจะเกิด ตลายความยึดมั่น ถือมั่น ลงไปได้มาก
4.3-พิจารณาประโยชน์ของการขจัดกิเลสความทุกข์นั้นออกไปได้ ก็ทำให้บังเกิด
ความสบายใจ คลายความอึดอัดใจ ผ่อนคลายความไม่พอใจ ออกไปได้
4.4 พิจารณาไตรลักษณ์ของสุขลวง
4.4.1 อนิจจัง –เป็นอาการที่เกิดขึ้นมาก็ด้วยใจของเราที่ไม่แน่นอน ไม่มั่นคง
ไม่เที่ยง
4.4.2 ทุกขัง –เป็นอาการทุกข์ของใจ ที่สร้างขึ้นมาเพื่อทับถมตัวเอง
4.4.3 อนัตตา- อาการของใจที่ไม่ได้ดั่งใจหวังนั้น ไม่มีตัวตน เกิดแต่ใจที่นึก
คิดไปต่างๆนานา โดยแท้จริงแล้วความทุกข์ที่เกิดจากความต้องการนั้น เกิดขึ้น ตั้งอยู่
ไม่นานแล้วก็ดับไป ด้วยการสละ สละคืน ปล่อยไป ไม่พัวพัน ก็ทำให้สุขใจได้ในทุกๆ
ปัจจุบัน แม้ไม่ได้ดั่งใจอยาก
เจริญธรรมสำนึกดี มีใจไร้ทุกข์ ใจเย็นให้ได้ให้ได้ในทุกๆปัจจุบัน
สภาวธรรมประจำสัปดาห์ ณ วันจันทร์ที่ 15 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2565
ชื่อเรื่อง ไม่มารับกลับบ้านซะที
เนื้อเรื่อง ในช่วงเช้าของวันอังคารที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ.2565 หลังจากที่ได้ส่งคืน
แท๊ปเล็ทเครื่องเก่าที่สำนักงานไปรษณีย์ประจำเมืองแล้ว ได้โทรศัพท์เรียกรถแท๊กซี่จาก
ศูนย์บริการ เพื่อให้มารับกลับบ้านพัก ซึ่งได้รับการตอบรับและบอกว่าจะจัดส่งรถแท๊กซี่
มารับ แต่ปรากฎว่ารออยู่ประมาณ 20 นาที ก็ยังไม่มารับ จึงได้โทรศัพท์เข้าเครื่องของรถ
แท๊กซี่ ก็ได้รับการยืนยันว่าจะมารับภายในอีก 20 นาที จนกระทั่งเวลาได้ล่วงไปแล้วก็ยัง
ไม่มารับ จึงต้องโทรศัพท์เรียกเพื่อนที่อาศัยอยู่บ้านเดียวกันให้มารับ ซึ่งเพื่อนมารับ
ภายในเวลาประมาณ 10 นาที
คำสำคัญ แม้ไม่ได้ดั่งใจ ก็เป็นสุขใจได้
ประโยคสำคัญ ตามพระไตรปิฎก เล่มที่ 19 ข้อ 1717 “พึงกระทำความพอใจ
ความพยายาม ความอุตสาหะ ความไม่ย่นย่อ ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะ
อย่างแรงกล้า เพื่อตรัสรู้อริยสัจ ๔” :-
1-ทุกขอริยสัจ ปรารถนาที่จะให้รถแท๊กซี่มารับเร็วๆ ไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์
แต่แท๊กซี่ไม่มารับกลับบ้านดั่งที่ใจจึงเป็นทุกข์
2. ทุกขสมุทัยอริยสัจ ตัณหาอันทำให้เกิดความอยากมารับกลับบ้านเร็วๆ
3- ทุกขนิโรธอริยสัจ ดับตัณหาที่อยากให้แท๊กซี่มารับเร็วๆ ไม่เหลือด้วย วิราคะ ความ
สละ ความสละคืน ความพ้น ความไม่อาลัยในตัณหาที่เกิดความอยากให้ได้ดั่งใจ
ปรารถนา แม้แท๊กซี่ไม่มารับ ก็เป็นสุขใจ
4. ทุกขนิโรธอคามินีปฏิปทาอริยสัจ
4.1-พิจารณาวิบากกรรม ในช่วงเวลาที่เป็นไดว์เว่อร์ส่งอาหาร ได้มีพฤติกรรม
หน่วงเหนี่ยวสินค้าอาหาร ทำให้ลูกค้าได้รับอาหารล่าช้า
4.2-พิจารณาโทษ ของวิบากกรรมที่เคยทำในช่วงเวลาที่ผ่านมาของชาตินี้ จึง
ส่งผลไปดึง ไปดล ให้ผู้อื่นมากระทำเช่นนั้นด้วยการไม่มารับในช่วงเวลาปัจจุบัน
แต่เมื่อได้เห็นโทษที่ได้รับจากการที่เคยมีพฤติกรรมเช่นนั้นมาอย่างแท้จริงแล้ว
ทำให้บังเกิดความสุขใจ ที่ได้รับวิบากร้ายที่เคยทำมาและได้ล้างกิเลสจากความอยากให้
ได้รับการปฏิบัติดั่งใจที่มุ่งหมาย ดั่งบททบทวนธรรมที่ว่า วิบากต้องรับ กิเลสต้องล้าง
พุทธะจึงจะเกิด
4.3-พิจารณาประโยชน์ของการขจัดกิเลสความทุกข์นั้นออกไปได้ ก็ทำให้คลาย
ความ วิตก กังวล ผ่อนคลายความหงุดหงิด ความไม่พอใจ ออกไปได้ พุทธะก็จะเข้ามาสู่
ใจที่เป็นสุข และได้รับความเป็นสุขใจที่ยอดเยี่ยมกว่าการเป็นทุกข์ใจ
4.4 พิจารณาไตรลักษณ์ของสุขลวง
4.4.1 อนิจจัง –ความวิตก กังวล สงสัย เป็นอาการที่เกิดขึ้นมาก็ด้วยใจของเรา
ที่ปรุงแต่ง ไม่แน่นอน ไม่มั่นคง ไม่เที่ยง
4.4.2 ทุกขัง – เป็นการสร้างทุกข์ของใจ ปรุงแต่ง ความ วิตก กังวล สงสัย
ขึ้นมาทับถมตัวเองทั้งนั้น
4.4.3 อนัตตา- ความวิตก กังวล สงสัย เป็นอุปาทานที่เกิดขึ้นมานั้น ไม่มีตัวตน
ไม่มีอยู่จริง จึงไม่ควรเข้าไปยึดมั่น ถือมั่น
โดยแท้จริงแล้วความทุกข์ที่เกิดจากความต้องการนั้น เป็นการสร้างทุกข์ทับถม
ตัวอง จึงต้องจัดการด้วยการสละ สละคืน ปล่อยไป ไม่พัวพัน เพื่อมิให้กิเลสและความ
ทุกข์ใจนั้นๆกลับมากำเริบอีก ก็จะทำให้เป็นสุขใจได้ในทุกๆปัจจุบัน “แม้ประสบทุกข์
ก็ยังหาสุขพบ”
เจริญธรรม สำนึกดี มีใจไร้ทุกข์
—————————————————————————————–
สภาวธรรมประจำสัปดาห์ ณ วันจันทร์ที่ 21 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2565
ชื่อเรื่อง ไม่ได้ดั่งใจอีกแล้ว
เนื้อเรื่อง การบ้าน พุทธชนะทุกข์-อริยสัจ 4 ซึ่งเป็นตอนที่ 3 ได้ผ่านการติดต่อจาก
ช่างเทคนิคของศูนย์บริการการใช้โทรศัพท์เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 17 พฤศจิกายน 2565
ที่ผ่านมา เพื่อช่วยเหลือในการติดตั้งค่าการใช้งานของเครื่องแท๊ปเล็ท แต่ปรากฎว่า
ช่างเทคนิคดังกล่าว ไม่อาจช่วยได้อีกเช่นกัน และได้คาดการณ์ว่าคงเป็นเพราะข้อบก
พร่องของเครื่องแท๊ปเล็ทและศูนย์การให้บริการส่งเครื่องแท๊ปเล็ทและซิมการ์ดมาให้
ไม่ตรงตามรุ่นกัน กล่าวคือไม่สามารถเชื่อมต่อกับระบบใหญ่ได้ จึงได้ทำการติดต่อให้
ส่งเครื่องแท๊ปเล็ทไปที่ร้านจัดจำหน่ายโทรศัพท์ เพื่อให้ไปติดต่อรับเครื่องแท๊ปเล็ท
และให้พนักงานของร้านฯช่วยเหลือในการตั้งค่าการใช้แท๊ปเล็ทในช่วงวันพุธที่ 23
พฤศจิกายน 2565
คำสำคัญ แม้ไม่ได้ดั่งใจ ก็ไม่ทุกข์ใจ
ประโยคสำคัญ ตามพระไตรปิฎก เล่มที่ 19 ข้อ 1717 “พึงกระทำความพอใจ
ความพยายาม ความอุตสาหะ ความไม่ย่นย่อ ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะ
อย่างแรงกล้า เพื่อตรัสรู้อริยสัจ ๔” :-
1-ทุกขอริยสัจ ร้อนใจที่ช่างเทคนิคของศูนย์บริการใหญ่อุตส่าห์โทรศัพท์มาช่วยด้วย
ตัวเอง ก็ยังไม่อาจจะติดตั้งการใช้ให้ได้ เป็นอะไรกันนักกันหนานะ
2. ทุกขสมุทัยอริยสัจ ไม่ได้ดั่งใจที่อยากให้แท๊ปเล็ทใช้งานได้ ยึดมั่นถือมั่นว่าช่างเทค
นิคจากศูนย์บริการใหญ่ต้องช่วยเหลือได้ดั่งที่ใจต้องการ ได้สมใจจะสุขใจ ไม่ได้สมใจจะ
ทุกข์ใจ
3- ทุกขนิโรธอริยสัจ ตัณหาดับโดยไม่เหลือ ด้วยการไม่ทุกข์ใจ แม้ไม่ได้ดั่งที่ใจต้องการ
4. ทุกขนิโรธอคามินีปฏิปทาอริยสัจ
4.1-พิจารณาวิบากกรรม ที่ได้เคยทำไม่ดีกับผู้อื่น ที่มีลักษณะของการหน่วงเหนี่ยว
ข้อมูล หลักฐาน เอกสาร ต่างๆที่ใช้ในการดำเนินคดีและใช้ในการประสานงานกับหน่วยงาน
ต่างๆ
4.2-พิจารณาโทษ ของความอยากที่ให้ได้ดั่งใจ ได้บังเกิดความไม่สบายเนื้อไม่
กาย ไม่สบายใจ เป็นทุกข์ทั้งกายและใจ
แต่เมื่อได้เห็นโทษอย่างแท้จริงแล้วทำให้บังเกิดความสำนึกได้ว่า เมื่อเกิดทุกข์ใจ
ทุกข์กาย เรื่องร้ายเข้ามาในชีวิต เขามาเพื่อ ให้เราได้ชดใช้ ให้เราไม่ประมาท ให้เราเพิ่ม
อริยศีล ให้เราได้สำนึก ให้เราได้หมดวิบาก
4.3-พิจารณาประโยชน์ของการไม่มีความอยาก ทำให้อาการไม่สบายเนื้อไม่สบาย
กาย ไม่สบายใจ ผ่อนคลายจนกระทั่งเข้าสู่สภาวะปกติของร่างกายและจิตใจ
4.4 พิจารณาไตรลักษณ์ของสุขลวง
4.4.1 อนิจจัง –เป็นอาการที่ไม่เที่ยงของความเป็นทุกข์ที่เกิดจากใจที่สร้างขึ้นมา
เอง
4.4.2 ทุกขัง – อาการเป็นทุกข์ของใจเพราะสร้างทุข์ขึ้นมาเพื่อแลกกับสุขที่ไม่
ยั่งยืน ไม่มีแก่นสารใดๆทั้งสิ้น
4.4.3 อนัตตา- อาการของความสุขใจที่ไม่มีตัวตน นึก คิด ขึ้นมาเอง ด้วยการ
แสวงหาในสิ่งที่ไม่นั่งยืน ไม่คงที่
โดยแท้จริงแล้วความทุกข์ที่เกิดจากความต้องการนั้น เกิดขึ้น ตั้งอยู่ไม่นาน
แล้วก็ดับไป ด้วยการสละ สละคืน ปล่อยไป ไม่พัวพัน ก็ทำให้สุขใจได้ในทุกๆปัจจุบัน
แม้ไม่ได้ดั่งใจอยาก
เจริญธรรมสำนึกดี มีใจไร้ทุกข์ ใจเย็นให้ได้ให้ได้ในทุกๆปัจจุบัน
สภาวธรรมประจำสัปดาห์ ณ วันจันทร์ที่ 21 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2565
ชื่อเรื่อง ไม่เสร็จซักที
เนื้อเรื่อง เมื่อวันเสารที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ.2565 ได้โทรศัพท์ไปติดต่อสอบถาม
ความคืบหน้าในการซ่อมรถยนต์ส่วนตัวกับช่างเทคนิคว่า “ด้จัดการซ่อมไปถึงไหน
แล้ว แต่ก็ได้รับคำตอบไม่เป็นที่พอใจเป็นยิ่งนัก และก็ไม่ยืนยันว่ารถยนต์จะทำการ
ซ่อมเสร็จเมื่อไร ทั้งที่เวลาผ่านมาตั้งเกือยหนึ่ลเดือนแล้ว และยิ่งเป็นทุกข์มากยิ่งขึ้น
ที่เจ้าของร้ายอาหารที่ทำงานอยู่นั้น ได้โทรศัพท์มาสอบถามว่ารถยนต์ยังซ่อมไม่เสร็จ
อีกหรือ แล้วจะซ่อมเสร็จเมื่อไร ก็ทำให้ไม่สามารถยืนยันได้แน่นอน ยิ่งเป็นการเพิ่ม
ความไม่พึงพอใจให้มากยิ่งขึ้นไปอีก เพราะไม่ได้ทำงานมาเกือบหนึ่งเดือนแล้ว
คำสำคัญ จะเสร็จหรือไม่เสร็จ ก็ไม่เป็นไร รอได้
ประโยคสำคัญ ตาม
1-บททบทวนธรรม ข้อที่ 25 เมื่อเกิดทุกข์ใจ ทุกข์กาย เรื่องร้ายเข้ามาในชีวิต เขามาเพื่อ
ให้เราได้ชดใช้ ให้เราไม่ประมาท ให้เราเพิ่มอริยศีล ให้เราได้สำนึก ให้เราได้หมดวิบาก
2- พระไตรปิฎก เล่มที่ 19 ข้อ 1717 “พึงกระทำความพอใจ
ความพยายาม ความอุตสาหะ ความไม่ย่นย่อ ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะ
อย่างแรงกล้า เพื่อตรัสรู้อริยสัจ 4” :-
1-ทุกขอริยสัจ อึดอัด รำคาญ ร้อนรุ่ม กลุ้มใจ ช่างเทคนิคซ่อมรถยนต์ไม่เสร็จซะที
2. ทุกขสมุทัยอริยสัจ ต้องการให้ช่างเทคนิคซ่อมรถยนต์เสร็จเร็วๆดั่งที่ใจต้องการ
3- ทุกขนิโรธอริยสัจ ตัณหาดับโดยไม่เหลือ เสร็จก็ชั่ง ไม่เสร็จก็ชั่ง เสร็จเมื่อไหร่
ก็เมื่อนั้น จะได้สมใจหรือไม่ได้สมใจที่อยาก ก็เป็นสุขใจ ใจที่ไร้ทุกข์ ไร้กังวล
4. ทุกขนิโรธอคามินีปฏิปทาอริยสัจ
4.1-พิจารณาวิบากกรรม ช่วงเวลานี้คงเป็นวิบากร้ายของเราที่ไปดึง ไปดล ให้
บุคคบอื่นๆเข้ามากระทำไม่ดีต่อเรา ร่วมกับวิบากร้ายของเราเองนั่นแหละ ที่ต้องรับวิบาก
ร้ายและก่อให้เกิดกิเลสในใจของเรา
4.2-พิจารณาโทษ ของความอยาก ทำให้ อึดอัดขัดข้องใจ ความสมดุลร้อน-เย็น
ของร่างกายบกพร่อง เครียด ขับถ่ายไม่ดีเท่าที่ควร
แต่เมื่อได้เห็นโทษอย่างแท้จริง ทำให้บังเกิดการวางใจว่า ช่างเทคนิคจะซ่อม
เสร็จเมื่อไหร่ ก็เมื่อนั้น ไม่โทรศัพท์ไปเร่งรัด แม้เจ้าของร้านอาหารที่ทำงาน จะโทรศัพท์
มาตอบถาม ก็ไม่ วิตก กังวล หวั่นไหว
4.3-พิจารณาประโยชน์ของการไม่มีความอยาก ไม่อึดอัดขัดใจตัวเอง ทำให้การ
ปรับสมดุลร้อน-เย็น ของร่างกาย-จิตใจ ดีขึ้น ระบบการไหลเวียนของลมปราณดีขึ้น ขับ
ถ่ายได้เป็นปกติดี
4.4 พิจารณาไตรลักษณ์ของสุขลวง ที่ใจของเราสร้างทุกข์ขึ้นมาทับถมตัวเอง
และกับสุขที่ไม่มีจริง
4.4.1 อนิจจัง –ความสุขที่ได้จากการสร้างความอยากเป็นอาการที่ไม่เที่ยง เกิด
ขึ้นมาก็ด้วยใจของเราที่ไม่แน่นอน ไม่มั่นคง
4.4.2 ทุกขัง – อาการเป็นทุกข์ของใจ
4.4.3 อนัตตา- อาการของใจที่ไม่มีตัวตน เกิดแต่ใจที่นึกคิดไปต่างๆนานา
โดยแท้จริงแล้วความทุกข์ที่เกิดจากความต้องการนั้น เกิดขึ้น ตั้งอยู่ไม่นาน
แล้วก็ดับไป ด้วยการสละ สละคืน ปล่อยไป ไม่พัวพัน ไม่ให้กลับมากำเริบอีก ก็ทำให้สุข
ใจได้ในทุกๆปัจจุบัน แม้ไม่ได้ดั่งใจอยาก
เจริญธรรมสำนึกดี มีใจไร้ทุกข์ เป็นสุขใจให้ได้ ในทุกๆปัจจุบัน
สภาวธรรมประจำสัปดาห์ ณ วันอังคาร ที่ 22 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2565
ชื่อเรื่อง โอ้ยปวดฟันซี่เดิมอีกแล้ว ทำไงดี
เนื้อเรื่อง วันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ.2565 เวลาเช้าตรู่ 3.00 นาฬิกา ตรงกับเวลา
ในประเทศไทย 16.00 นาฬิกา(บ่ายสี่โมง) ซึ่งเป็นเวลาของรายการสายด่วน ถาม-ตอบ
ปัญหาสุขภาพ อ่านบททบทวนธรรม แบ่งปันประสบการณ์การนำบททบทวนธรรมไป
ใช้ในชีวิตประจำวัน ได้มีอาการปวดฟันซี่ที่เป็นเขี้ยวเล็กน้อย จนกระทั่งเวลาล่วงไปจนถึง
เวลาประมาณ 14.00 นาฬิกา ตรงกับเวลาในประเทศไทยที่ ตี 3.00(3.00 นาฬิกาเช้า)
เป็นช่วงเวลาของรายการธรรมะรับอรุณ แต่ในขณะเดียวกันต้องทำการตัดต่อวิดีโอชุดส่ง
การบ้านของวันที่ 11 พฤศจิกายน 2565 เพื่อส่งให้จิตอาสานำไปถอดออกมาเป็นเอกสาร
เผยแพร่ให้จิตอาสาห้องต่างๆในโปรแกรมไลน์ ทั้งนี้ ทั้งนั้น เพื่อเป็นการผ่อนคลายอาการ
ปวดฟันและบำเพ็ญบุญให้กับหมู่มิตรดี แต่ดูประหนึ่งว่าอาการทางร่างกายที่ปวดฟันจะยิ่ง
มีอาการปวดมากขึ้น จึงได้นำน้ำ 4 พลัง ที่ทำเอาไว้ใช้ในยามฉุกเฉินผสมกับยาสีฟันผง
ของแพทย์วิถีธรรม และได้เอามาอมไว้ในปากเพื่อลดพิษร้อนในช่องปาก ลดอาการปวด
ฟัน แต่ก็ยังคงบรรเทาอาการปวดฟันลงไปได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่ยังแถมด้วยอาการ
หนาวสะท้านคล้ายๆจะเป็นไขั จึงได้ทำการสวนล้างลำไส้ใหญ่ด้วยน้ำสมุนไพรในตัวล้วนๆ
เพื่อระบายพิษร้อนออกจากร่างกายให้เร็วที่สุด ตามที่จิตอาสาท่านอื่นๆได้แบ่งปันประสบ
ให้ชม ฟัง ในรายการอพทย์แผนไทยวิถีธรรมค้ำจุนโรค ก็ทำให้อาการทุกข์ทางร่างกายได้
ทุเลาเป็นอันมาก(ในขณะที่ทำการบ้านนี้อยู่ อาการปวดฟัน ทุเลา เบาบางลงมากแล้ว ซึ่ง
ในทุกช่วงเวลาที่ผ่านมานั้น ได้ทำการอมน้ำพลัง 4 ผสมกันยาสีฟัน และทำการตรวจวัดใจ
ตลอดเวลาว่าทุกข์ใจหรือไม่
คำสำคัญ ถ้าเราดับทุกข์ใจได้ ก็ไม่มีทุกข์อะไรที่ดับไม่ได้
ประโยคสำคัญ ตามพระไตรปิฎก เล่มที่ 19 ข้อ 1717 “พึงกระทำความพอใจ
ความพยายาม ความอุตสาหะ ความไม่ย่นย่อ ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะ
อย่างแรงกล้า เพื่อตรัสรู้อริยสัจ ๔” :-
1-ทุกขอริยสัจ อึดอัด รำคาญ วิตก กังวล ร้อนรุ่ม กลุ้มใจ ในอาการปวดฟันซี่ดังกล่าว
2. ทุกขสมุทัยอริยสัจ ตัณหาคือความอยากให้อาการปวดฟันหายไปโดยเร็ว
3- ทุกขนิโรธอริยสัจ ตัณหาดับโดยไม่เหลือ แม้อาการปวดฟันจะทุเลาลงเพียงเล็กน้อย ก็
ไม่ทำให้ทุกข์ใจ ร่างกายมีอาการป่วยแต่ใจมิได้ป่วยตามไปด้วย
4. ทุกขนิโรธอคามินีปฏิปทาอริยสัจ
4.1-พิจารณาวิบากกรรมที่เกิดขึ้นมานี้ คงเป็นเพราะกินอาหารมากเกินไป ใช้ฟัน
กัด เคี้ยวอาหารมากเกินไป และเตรี่ยมทำอาหารปรุงรส พะโล้หน่อไม้จีน
4.2-พิจารณาโทษ ของความอยาก จากการที่ผิดอริยศีลที่ได้เคยตั้งเอาไว้ อยาก
กินอาหารปรุงรสจัดจึงเป็นเหตุให้วิบากร้ายและกิเลสมาเตือน ดังนั้นเมื่อมาถึง ณ.เวลานี้
ทำให้อาการปวดฟันที่ปวดมาทั้งวัน มีอาการปวดที่ทุเลาลงเป็นอย่างมาก
แต่เมื่อได้เห็นโทษอย่างแท้จริง ทำให้บังเกิดความสำนึกผิดตามบททบทวนธรรม
ข้อที่ 22. ถ้าใครมีปัญหาหรือความ เจ็บป่วยในชีวิต
ให้ทำความดี 4 อย่างนี้
ด้วยความยินดี จริงใจ จะช่วยให้ปัญหาหรือความเจ็บป่วย ลดลงได้เร็ว
๑) สำนึกผิด หรือ ยอมรับผิด
๒) ขอรับโทษ เต็มใจรับโทษ หรือ ขออโหสิกรรม
๓) ตั้งจิตหยุดสิ่งที่ไม่ดีอันนั้น
๔) ตั้งจิตทำความดีให้มาก ๆ
คือ ลดกิเลสให้มาก ๆ เกื้อกูลผองชนและหมู่สัตว์ให้มาก ๆ
4.3-พิจารณาประโยชน์ของการไม่มีความอยาก ทำให้ระลึกได้ว่าการผิดต่อศีล
ดื้อต่อศีล ทำให้เกิดความ ทุกข์หนัก ทุกข์หนักมาก ทุกข์หนักที่สุด แล้วอย่างนี้จะสร้าง
ทุกข์ทับถมตัวเอง และ
4.4 พิจารณาไตรลักษณ์ของสุขลวง
4.4.1 อนิจจัง –เป็นอาการของการอยากได้ความสุขเพียงชั่วครู่แค่ยัดอาหารที่ต้อง
การ ที่อยากกิน เป็นความสุข ที่ไม่เที่ยง เกิดขึ้นมาก็ด้วยใจของเราที่ไม่แน่นอน ไม่มั่นคง
4.4.2 ทุกขัง – อาการเป็นทุกข์ของใจที่ต้องการจะสร้างสุขที่ไม่มีอยู่จริง
4.4.3 อนัตตา- อาการของใจเป็นสุขที่ไม่มีตัวตน เกิดแต่ใจที่นึกคิดไปต่างๆนานา
เท่านั้น
โดยแท้จริงแล้วความทุกข์ที่เกิดจากความต้องการนั้น เกิดขึ้น ตั้งอยู่ไม่นาน
แล้วก็ดับไป ด้วยการสละ สละคืน ปล่อยไป ไม่พัวพัน ก็ทำให้สุขใจได้ในทุกๆปัจจุบัน
แม้ไม่ได้ดั่งใจอยาก
เจริญธรรมสำนึกดี มีใจไร้ทุกข์ ใจเย็นให้ได้ให้ได้ในทุกๆปัจจุบัน
การบ้าน พุทธชนะทุกข์-อริยสัจ 4 ซึ่งเป็นตอนที่ 4
สภาวธรรมประจำสัปดาห์ ณ วันจันทร์ที่ 23 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2565
ชื่อเรื่อง ไม่ได้ดั่งใจอีกแล้ว
เนื้อเรื่อง ได้ผ่านการติดต่ออละช่วยเหลือการตั้งค่าการใช้งานของเครื่องแท๊ปเล็ท จาก
ช่างเทคนิคของศูนย์บริการการใช้โทรศัพท์เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 17 พฤศจิกายน 2565
ที่ผ่าน และให้พนักงานของร้านฯช่วยเหลือในการตั้งค่าการใช้แท๊ปเล็ทในช่วงวันพุธที่ 23
พฤศจิกายน 2565 แต่ปรากฎว่าพนักงานของศุนย์บริการก็ไม่อาจให้ความช่วยเหลือในการ
ปลดล๊อคเครื่องแท๊ปเล็ทได้ และได้บอกว่าจะสั่งแท๊ปเล็ทเครื่องใหม่มาตั้งค่าการใช้งานให้
ใหม่อีกครั้งหนึ่งและให้นำแท๊ปเล็ทเครื่องที่มีปัญหาไปด้วย เพื่อจำได้ทำการตั้งค่าและถ่าย
โอนข้อมูลต่างๆนำไปใส่ไว้ในเครื่องใหม่ ซึ่งต้องใช้เวลาในการสั่งแท็ปเล็ทเครื่องใหม่ ซึ่ง
ต้องใช้เวลาประมาณ หนึ่งอาทิตย์กว่าๆ
คำสำคัญ แม้ต้องเผชิญกับปัญหาเดิมๆ ก็เป็นสุขใจได้
ประโยคสำคัญ ตามพระไตรปิฎก เล่มที่ 19 ข้อ 1717 “พึงกระทำความพอใจ
ความพยายาม ความอุตสาหะ ความไม่ย่นย่อ ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะ
อย่างแรงกล้า เพื่อตรัสรู้อริยสัจ 4” :-
1-ทุกขอริยสัจ ร้อนใจที่พนักงานของศูนย์บริการทั้งสองท่านอุตส่าห์ช่วยเหลือในการ
ตั้งค่าการใช้งาน ก็ยังไม่อาจจะติดตั้งการใช้ให้ได้
2. ทุกขสมุทัยอริยสัจ ไม่ได้ดั่งใจที่อยากให้แท๊ปเล็ทใช้งานได้ ยึดมั่นถือมั่นว่าพนักงาน
ที่ศูนย์บริการต้องช่วยเหลือได้ดั่งที่ใจต้องการ ได้สมใจจะสุขใจ ไม่ได้สมใจจะทุกข์ใจ
3- ทุกขนิโรธอริยสัจ ตัณหาดับโดยไม่เหลือ ด้วยการไม่ทุกข์ใจ แม้ไม่ได้ดั่งที่ใจต้องการ
พนักงานให้บริการจะให้ความช่วยเหลือไม่ได้ ก็ไม่ทุกข์ใจ
4. ทุกขนิโรธอคามินีปฏิปทาอริยสัจ
4.1-พิจารณาวิบากกรรม ที่ได้เคยทำไม่ดีกับผู้อื่น ที่มีลักษณะของการหน่วงเหนี่ยว
ข้อมูล หลักฐาน เอกสาร ต่างๆที่ใช้ในการดำเนินคดีและใช้ในการประสานงานกับหน่วยงาน
ต่างๆ ซึ่งเป็นวิบากร้ายที่หนักและมีมากมาย
4.2-พิจารณาโทษ ของความอยากที่ให้ได้ดั่งใจ ได้บังเกิดความไม่สบายเนื้อไม่
กาย ไม่สบายใจ เป็นทุกข์ทั้งกายและใจ
แต่เมื่อได้เห็นโทษอย่างแท้จริงแล้วทำให้บังเกิดความสำนึกได้ว่า เมื่อเกิดทุกข์ใจ
ทุกข์กาย เรื่องร้ายเข้ามาในชีวิต เขามาเพื่อ ให้เราได้ชดใช้ ให้เราไม่ประมาท ให้เราเพิ่ม
อริยศีล ให้เราได้สำนึก ให้เราได้หมดวิบาก
4.3-พิจารณาประโยชน์ของการไม่มีความอยาก ทำให้อาการไม่สบายเนื้อไม่สบาย
กาย ไม่สบายใจ ผ่อนคลายจนกระทั่งเข้าสู่สภาวะปกติของร่างกายและจิตใจ
4.4 พิจารณาไตรลักษณ์ของสุขลวง
4.4.1 อนิจจัง –เป็นอาการที่ไม่เที่ยงของความเป็นทุกข์ที่เกิดจากใจที่สร้างขึ้นมา
เอง
4.4.2 ทุกขัง – อาการเป็นทุกข์ของใจเพราะสร้างทุข์ขึ้นมาเพื่อแลกกับสุขที่ไม่
ยั่งยืน ไม่มีแก่นสารใดๆทั้งสิ้น
4.4.3 อนัตตา- อาการของความสุขใจที่ไม่มีตัวตน นึก คิด ขึ้นมาเอง ด้วยการ
แสวงหาในสิ่งที่ไม่ยั่งยืน ไม่คงที่
โดยแท้จริง ความทุกข์ที่เกิดจากความต้องการนั้น เกิดขึ้น ตั้งอยู่ไม่นานก็ดับไป
ด้วยการสละ สละคืน ปล่อยไป ไม่พัวพัน ก็ทำให้สุขใจได้ในทุกๆปัจจุบัน ที่ไม่ได้ดั่งใจ
อยาก
เจริญธรรมสำนึกดี มีใจไร้ทุกข์ ในทุกๆปัจจุบัน
อริยสัจ4
เรื่อง พ่อบ้านอยากทำนา
ข้าพเจ้าพูดหลายครั้งแล้วว่า อย่าอยากทำนานักเลย มาช่วยกันปลูกผัก ผลไม้กินกันดีกว่า ข้าวไม่ต้องกลัวไม่มีกินหรอก อาจารย์ท่านไม่ปล่อยให้ลูกศิษย์ไม่มีข้าวกินแน่ ซื้อที่อาจารย์กับบ้านราช ก็มีขาย ก็ไม่ฟัง ทำไปทำมาก็มาเอาที่สวนหลังบ้านทำนา
ทุกข์ ไม่พอใจที่พ่อบ้านทำนา
สมุทัย อยากให้ปลูกผัก ผลไม้
นิโรธ พ่อบ้านจะทำนาหรือไม่ทำ เราก็ไม่ทุกข์ใจ
มรรค. เมื่อเราบอกแล้วพ่อบ้านไม่ฟังและไม่ทำตามความเห็นของเราไม่สมใจเราที่ตั้งใจไว้ก็ดีแล้วที่เราไม่ถูกกิเลสเราหลอก เวลานี้ไม่ใช่เวลาที่จะได้สมใจอยากปลูกผักตามความเห็นของเรา อยากให้สมดั่งใจหมายนั้นมันไม่เที่ยง มันเป็นทุกข์ สุขแป๊ปเดียวเดี๋ยวมันก็หายไป เมื่อพิจารณาดังนั้นก็เข้าใจ มันเป็นสุขลวง เราถูกกิเลสมันหลอก ก็เลยเปลี่ยนความคิดให้ใจเป็นสุข จะเอาทุกข์เข้าตัวทำไม ทำนาก็ได้ข้าวจะมากหรือน้อยก็สุดแท้แต่ท่านตามกุศลอกุศลของท่าน เราต้องยินดีกับท่าน ล้างความยึดมั่นถือมั่น ด้วยความสุขสบายใจไร้กังวล ไม่วิวาท ยินดีที่ท่านทำนาปลูกข้าว ตามที่ท่านตั้งใจ เมื่อใจมีความยินดีกับท่านก็เบิกบาน แจ่มใส ใจเป็นสุข
ประภาพรรณ โอษฐ์ยิ้มพราย
นศ.วิชชารามระดับอริยะปัญญาตรี ชั้นปีที่1
พุทธะชนะทุกข์
เรื่อง วิบากต้องรับ
วันที่8 ก.ย.65 เวลาตี2 เกิดอาการคันตรงเหนือเข่าข้างขวา ธาตุไฟกำเริบ คันมาก ก็ลูบขาไม่ได้เกาแล้วหลับต่อ ตื่นมาตี3ครึ่ง ตุ่มพองขึ้นเม็ดใหญ่ เป็นกลุ่มหลายเม็ด ไม่เจ็บ วันนี้ต้องเดินทางไปสวน3ปทุม เพื่อเข้าค่ายพักค้าง3วัน ระหว่างทางก็คิดไว้แล้วว่าลงของที่แบ่งปันเสร็จก็จะกลับเพราะไม่สะดวกในหลายเรื่องและต้องมารักษาแผลพุพองที่เกิดขึ้นด้วยยา9เม็ดตรวจดูใจที่เห็นตุ่มพองก็ไม่ได้ทุกข์ใจอะไร เพราะสาเหตุที่เกิดเราเป็นคนทำเอง เพราะกินเต้าหู้ทอด เต้าหู้ซื้อมาแล้วมาทอดเองแม้น้ำมันน้อยก็ทำให้เกิดพิษแก่เราได้ ก็ใช้ผงพอกมาพอกแผลทุกวัน ดีท็อกทุกวัน ใช้น้ำปัสสาวะเช็ดและใช้สำลีโปะแผลไว้ตลอดคืน ดื่มสมุนไพรในตัว และน้ำสมุนไพรสดที่ปั่น ก่อนนอนดื่มน้ำ5พลัง ช่วงอาหารกินตามลำดับ กินผักสด ข้าวโรยเกลือผักต้ม ส่วนมากจะเป็นผักฤทธิ์เย็น มีข้าวโพดต้ม ฤทธิ์ร้อนที่กินมีมันต้มลูกเล็ก1ลูก เพื่อปรับสมดุล ถั่วที่มีฤทธิ์เย็น และลูกเดือย นอกจากนี้แล้ว เม็ดที่6ก็ทำทุกวัน และเม็ดที่เลิศสุดคือเม็ดที่8คือฟังธรรมท่านอาจารย์ และ สิ่งสำคัญอีกอย่างคือเชื่อเรื่องกรรม วิบากกรรมที่ได้รับคือเราทำมาจึงต้องรับผลกรรมที่ทำมาด้วยใจที่ไร้ทุกข์
ในการรักษาด้วยยา 9เม็ดนี้ สิ่งสำคัญที่สุดคือ ไม่เร่งผล ไม่กังวล ทำไปด้วยใจไม่ทุกข์ จะใช้เม็ดไหนๆก็แล้วแต่ที่เราสะดวก เจ็บป่วยครั้งนี้ใช้เวลาดูแลรักษา5วันแผลก็แห้งหาย
อริยสัจ4
ทุกข์ กังวลใจแผลพุพองที่เกิดขึ้น
สมุทัย ไม่อยากให้เกิดแผล
นิโรธ แผลจะเกิดหรือไม่เกิด
ก็ยินดีรับด้วยใจที่
เป็นสุข
มรรค. เพราะกิเลสที่อยากกินๆแล้วตุ่มพองขึ้นทำให้ทุกข์เบียดเบียนตนเองและเหนี่ยวนำผู้อื่นเป็นตามทำให้เสียแรงเสียเวลาต้องมาดูแลตัวเองให้หายปรับสมดุลร่างกายแทนที่จะเอาเวลาไปทำกุศลวิบากร้ายที่เกิดขึ้นส่งผลให้ทุกข์ทางกาย สิ่งที่ได้รับคือสิ่งที่เราทำมา รับแล้วก็หมดไป ต้องยอมรับความจริงที่เกิดขึ้นและยอมรับผิดตั้งจิตหยุดสิ่งที่ไม่ดีนั้นและทางใจ เราต้องยินดีรับผลกรรมนั้น วิบากตัองรับกิเลสต้องล้างพุทธะจึงจะเกิดเหตุการณ์นี้ทำให้เราได้เรียนรู้ทุกข์ที่อยากกิน เราได้ใช้วิบากด้วยใจที่เป็นสุข ใจไร้ทุกข์ เราไม่ทำทุกข์ทับถมตนเชื่อในวิบากกรรมที่เราทำมาด้วยใจที่ยินดี
ประภาพรรณ โอษฐ์ยิ้มพราย
นศ.วิชชาราม ระดับอริยะปัญญาตรีชั้นปีที่1
พุทธะชนะทุกข์
เรื่อง พ่อบ้านรักษาแพทย์ทางเลือก
พ่อบ้านกับลูกสาวพากันไปรักษาตาที่ผ่าตัดมาแล้วมองไม่ชัดกับแพทย์ทางเลือกซึ่งไม่เห็นด้วยเพราะเสียเงินมากแต่ละครั้ง เสียเวลาขับรถไปอีกการรักษามีกัวซา ครอบแก้ว บ่งต้อด้วยหนามหวายรักษาตาต้อ และโรคต่างๆ อยากให้มาดูแลแบบ พวธ.มากกว่า
ทุกข์ ไม่ยินดี ไม่ชอบ ไม่เห็นด้วย ไม่สุขสมใจ ที่พ่อบ้านไปรักษาแพทย์ทางเลือก
สมุทัย อยากให้พ่อบ้านรักษาแบบ พวธ.จะสุขใจ พอใจ สมใจตามที่ตั้งใจไว้
นิโรธ พ่อบ้านจะรักษาทางไหนก็ยินดี สุขใจ พอใจยินดีกับท่าน
มรรค เมื่อท่านได้ตัดสินใจเลือกแล้วที่จะรักษาวิธีนั้น ตามกุศลอกุศลตามกรรม วิบากที่ทำมา แนะนำแล้ว บอกแล้ว ไม่ทำตามเพราะเราไม่ใช่สัตบุรุษของท่านเมื่อใดที่ท่านเห็นทุกข์จะเห็นธรรม พิจารณาไตรลักษณ์ เห็นความไม่เที่ยง มันเป็นทุกข์ มันไม่น่ามีไม่น่าได้ไม่น่าเป็น แม้ได้สมดั่งใจ ว่ามันมีสุข มันไม่มี สุขไม่มีจริง มันเป็นสุขลวงสุขแป๊ปเดียวก็หมดไป สุขใจที่ให้ได้ดั่งใจ ไม่มี มันมีแต่ทุกข์ มันไม่เที่ยง เหนี่ยวนำให้ผู้อื่นเป็นตาม พิจารณาซ้ำๆไป จนมันสลายหายไปล้างความยึดมั่นถือมั่น ล้างสุขใจที่ไม่ได้สมดั่งใจอยากให้ได้ ด้วยความยินดี เต็มใจ สุขใจ ด้วยใจไร้ทุกข์ ใจดีงาม
ประภาพรรณ โอษฐ์ยิ้มพราย
นศ.อริยะปัญญาตรี ปีที่1
สภาวธรรมประจำสัปดาห์ ณ วันจันทร์ที่ 28 เดือน พฤศจิกายน ศ.2565
ชื่อเรื่อง โล่งอกไปที
เนื้อเรื่อง เมื่อวันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ.2565 ได้รับการติดต่อกลับมาจากอู่ซ่อม
รถยนต์ที่เอารถยนต์ส่วนตัวไปทำการซ่อมส่วนที่ขำรุดเสียหายว่า การที่รถยนต์ซ่อมล่าช้า
เป็นเพราะช่างเทคนิคที่ทำการซ่อมรถยนต์นั้นไม่สบายด้วยสาเหตุโรคประจำตัว จึงทำให้
ไม่สามารถทำการซ่อมรถยนต์และทำให้การซ่อมรถยนต์เสร็จล่าช้า ดังนั้นความคลาง
แคลงใจที่คิดไปเองว่าทำไมจึงทำการซ่อมรถยนต์ไม่เสร็จซะที
คำสำคัญ คลายความคลางแตลงใจ
ประโยคสำคัญ ตามพระไตรปิฎก เล่มที่ 19 ข้อ 1717 “พึงกระทำความพอใจ
ความพยายาม ความอุตสาหะ ความไม่ย่นย่อ ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะ
อย่างแรงกล้า เพื่อตรัสรู้อริยสัจ ๔” :-
1-ทุกขอริยสัจ ความวิตก วามกังวล ความคลางแตลงใจ ที่เกิดจากรถยนต์ส่วนตัวที่
ส่งไปซ่อมนั้น ทำไมจึงซ่อมไม่เสร็จซะที
2. ทุกขสมุทัยอริยสัจ ตัณหา ความอยากให้รถยนต์ซ่อมเสร็จเร็วๆ เพื่อให้ได้สมใจจะสุข
ใจ ไม่ได้สมใจจะทุกข์ใจ
3- ทุกขนิโรธอริยสัจ ตัณหาดับโดยไม่เหลือ กล่าวคือ อู่ซ่อมรถยนต์ได้แจ้งให้ทราบว่า
ช่างเทคนิคที่ทำการซ่อมรถยนต์ไม่สบายด้วยสาเหตุโรคประจำตัว จึงไม่อาจซ่อมรถยนต์
ให้เสร็จในเร็ววันได้ จึงทำใจได้ว่ารถยนต์จะซ่อมเสร็จหรือยังไม่เสร็จ ก็ไม่ทุกข์ใจจะเสร็จ
เมื่อไหร๋ ก็เมื่อนั้น เป็นสุขใจ ไร้ทุกข์ ไร้กังวล ไร้ความคลางแคลงใจ
4. ทุกขนิโรธอคามินีปฏิปทาอริยสัจ
4.1-พิจารณาวิบากกรรม ที่อดีตได้เคยทำไว้นั้น หนักหนาสาหัส สากรรจ์มากๆ จึง
ทำให้ต้องรับวิบากร้ายในครั้งนี้อย่างต่อเนื่องมาเป็นเดือนก็ยังไม่หมดไป แม้จะทำใจให้
หายจากทุกข์มาสามถึงสี่รอบแล้วก็ตาม
4.2-พิจารณาโทษ ของความอยากให้ได้ดั่งใจ จึงเกิดความวิตก ความกังวล
ความคลางแลงใจ ทั้งใจและกาย
แต่เมื่อได้เห็นโทษอย่างแท้จริง ทำให้บังเกิดการคลายความวิตก ความกังวล
ความคลางแคลงใจ
4.3-พิจารณาประโยชน์ของการไม่มีความอยาก กล่าวคือ ได้มีโอกาสเห็นกิเลส
และวิบากร้าย ให้ได้ระลึกอดีตและปัจจุบันที่เคยกระทำผิดพลาด ตลอดจนฝึกฝนตัวเอง
ในการพิจารณารับมือกับกิเลส ในแง่และเหลี่ยมมุมตางๆมากยิ่งขึ้น อีกทั้งทำให้แก้ไข
สถานการณ์ เหตุการณ์ ต่างๆทั้งในด้านจิตใจและร่างกายอย่างมีประสิทธิภาพ
4.4 พิจารณาไตรลักษณ์ของสุขลวง
4.4.1 ทุกขัง – ความวิตก กังวล คลางแคลงใจ ล้วนเป็นสิ่งที่ใจปรุงแต่งขึ้นนมา
ให้บังเกิดความทุกข์เองทั้งสิ้น
4.4.2 อนิจจัง –ความวิตก กังวล คลางแคลงใจ ล้วนเป็นสิ่งไม่เที่ยง เกิดขึ้นมาก็
ด้วยใจที่ไม่แน่นอนไม่มั่นคง
4.4.3 อนัตตา-ความวิตก กังวล คลางแคลงใจ ล้วนเป็นสิ่งไม่มีตัวตน เกิดแต่ใจที่
นึกคิดไปต่างๆนานา
โดยแท้จริงแล้วความทุกข์ที่เกิดจากความต้องการนั้น เมื่อเกิดขึ้นมาแล้ว ต้อง
เพียรพยายามอยาให้ตั้งอยู่นานและรีบเร่งขจัดให้ออกไปหมดไปโดยเร็ว ก็จะทำให้
ทุกข์ฃที่เกิดขึ้นนั้นดับไป ด้วยวิราคะ คือสละ สละคืน ปล่อยไป ไม่พัวพัน และไม่ให้
กลับมากำเริบอีก ก็ทำให้เป็นสุขใจได้ในทุกๆปัจจุบัน แม้ไม่ได้ดั่งใจที่อยาก
เจริญธรรมสำนึกดี มีใจไร้ทุกข์ ในทุกๆปัจจุบัน
สภาวธรรมประจำสัปดาห์ ณ วัน ศุกร์ ที่ 16 เดือน ธันวาคม พ.ศ.2565
ชื่อเรื่อง ไม่ได้ดั่งที่ใจต้องการ
เนื้อเรื่อง เมื่อวันศุกร์ที่ 16 ธันวาคมพ.ศ.2565 ได้มีโอกาสช่วยงานของโรงเรียน
วัดพุทธดัลลัส เกี่ยวกับการควบคุมเครื่องเสียงในด้านการใช้ไมโครโฟนและการ
เชื่อมต่อระหว่างแล๊ปท๊อปเพื่อใช้ในการเปิดเพลงประกอบการแสดงชุดต่างๆกับ
เครื่องควบคุมเสียง(มิกเซอร์) ในการดำเนินการนี้ ได้มีการจัดซื้อไมโครโฟนไร้สาย
ชุดใหม่เพื่อนำมาใช้ในงานดังกล่าว แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ ผู้ที่ซื้อไมโครโฟนชุดใหม่
มานั้น ไม่ได้ซื้อสายเคเบิ้ลที่ใช้สำหรับเชื่อมต่อระหว่างเครื่องรับสัญญาณจากไมโคร
โฟนกับเครื่องควบคุมเสียง(มิกเซอร์)
คำสำคัญ ปัญหา คือ เครื่องมือฝึกใจที่ดีที่สุดในโลก
ประโยคสำคัญ ตามพระไตรปิฎก เล่มที่ 19 ข้อ 1717 “พึงกระทำความพอใจ
ความพยายาม ความอุตสาหะ ความไม่ย่นย่อ ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะ
อย่างแรงกล้า เพื่อตรัสรู้อริยสัจ ๔” :-
1-ทุกขอริยสัจ อุปกรณ์ประกอบการใช้งานมีไม่ครบ ไม่ได้จัดซื้อมา
2. ทุกขสมุทัยอริยสัจ อยากได้ อยากมีอุปรณ์การใช้งานให้ครบ
3- ทุกขนิโรธอริยสัจ ตัณหาดับโดยไม่เหลือ แม้ไม่มีอุปรณ์มากับชุดไมโครโฟนที่จัดซื้อ
มาใหม่ ก็ไม่ทุกข์ใจ ใช้อุปกรณ์อื่นใช้ทดแทนกัน
4. ทุกขนิโรธอคามินีปฏิปทาอริยสัจ
4.1-พิจารณาวิบากกรรม ตามบททบทวนธรรม ดังต่อไปนี้ สิ่งที่เราได้รับ คือ สิ่งที่
เราทำมา ไม่มีสิ่งใดที่เราได้รับโดยท่เราไม่เคยทำมา
4.2-พิจารณาโทษ ของความอยาก ทำให้เกิดความหงุดหงิด ไม่พอใจ ไม่ได้
ดั่งที่ใจต้องการ
แต่เมื่อได้เห็นโทษอย่างแท้จริง ทำให้บังเกิด ความพึงพอใจ แม้ไม่ได้ดั่งใจ
ต้องการ ก็เป็นสุขใจทีเบิกบาน แจ่มใส
4.3-พิจารณาประโยชน์ของการไม่มีความอยาก ได้เห็นทุกข์ ได้ล้างทุกข์ และ
ได้ชดใช้วิบากกรรมร้ายที่เคยทำไม่ดีมาก่อน
4.4 พิจารณาไตรลักษณ์ของสุขลวง
4.4.1 ทุกขัง – อาการเป็นทุกข์ของใจ ที่ไม่ได้ดั่งใจนั้น ก่อเกิดจากใจที่คิด
คำนึง สร้างขึ้นมาในใจ ไม่ใช่ทุกข์ที่ตัวอุปรณ์ที่ไม่มี
4.4.2 อนิจจัง –เป็นอาการที่เกิดขึ้นที่ไม่เที่ยง เกิดขึ้นมาก็ด้วยใจของเราที่ไม่
แน่นอน ไม่มั่นคง ซึ่งไม่ควรที่ยึดติดกับอาการเหล่านั้น
4.4.3 อนัตตา- อาการของใจเป็นทุกข์ที่ไม่มีตัวตน เกิดแต่ใจที่นึกคิดไปต่างๆ
นานา
โดยแท้จริงแล้วความทุกข์ที่เกิดจากความต้องการนั้น เกิดขึ้น ตั้งอยู่ไม่นาน
แล้วก็ดับไป ด้วยการสละ สละคืน ปล่อยไป ไม่พัวพัน ก็ทำให้สุขใจได้ในทุกๆปัจจุบัน
แม้ไม่ได้ดั่งใจอยาก
เจริญธรรมสำนึกดี มีใจไร้ทุกข์ ในทุกๆปัจจุบัน