พุทธะชนะทุกข์ : ภาคอื่น ๆ (กันยายน 2565)

นักศึกษาวิชชารามและจิตอาสาแพทย์วิถีธรรม ร่วมบันทึกเรื่องราวจากชีวิตจริงของตนเองที่ได้เรียนรู้และปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า หรือคำสอนของครูบาอาจารย์ …อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โจทย์ พุทธะชนะทุกข์

!สำหรับนักศึกษาสังกัดภาคอื่น ๆ คือ

  1. ภาคเหนือ สวนป่านาบุญ8 ชุมชนภูผาฟ้าน้ำ ฯลฯ
  2. ภาคอีสาน สวนป่านาบุญ1 สวนป่านาบุญ4
  3. ต่างประเทศ
  4. ฯลฯ

นักศึกษาพิมพ์เรื่องราวหรือคัดลอกข้อมูลส่งในส่วนแสดงความคิดเห็นด้านล่าง

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

4 thoughts on “พุทธะชนะทุกข์ : ภาคอื่น ๆ (กันยายน 2565)”

  1. ประพันธ์ โพธิ์คำ เท่ ใจถึงศีล กล้าจน

    สถาบันวิชชาราม ใบส่งงานการบ้านอริยสัจ ๔
    ชื่อนายประพันธ์ นามสกุล โพธ์คำ ชื่อทางธรรม ใจถึงศีล อายุ 73 ปี
    E-Mail :- jaithungsilla@gmail.com
    รหัส นศ. 61 1 5 008 087
    ชื่อเล่น เท่
    เบอร์โทรติดต่อ 1+214-435-0648
    สภาวธรรมประจำสัปดาห์ ณ วันอาทิตย์ที่ 5 กันยายน พ.ศ.2565
    ชื่อเรื่อง เหงือก รากฟัน อักเสบ ใบหน้าซีกขวามือบวม
    เนื้อเรื่อง หรือ เมื่อวันศุกร์ที่ 2 กันยายา พ.ศ.2565 ตั้งแต่เวลาประมาณ 15.00 นาฬิกา
    ได้เริ่มมีอาการปวดฟันซี่ที่เป็นเขี้ยวข้างขวามือและลุกลามไปยังซี่อื่นๆ จนกระทั่งถึงเวลา
    ประมาณ 21.30 นาฬิกาซึ่งเป็นเวลาใกล้จะเลิกงาน จึงได้สังเกตุเห็นว่าใบหน้าซีกขวามือ
    บริเวณร่องจมูกและแก้มเริ่มมีอาการบวมขึ้นแต่ไม่มากนัก เมื่อเดินทางกลับถึงบ้านแล้ว
    ร่างกายเริ่มมีอาการไข้หนาวสะท้านเล็กน้อย จึงได้เปลี่ยนเครื่องแต่งกายเพ่อนอนพักผ่อน
    จนกระทั่งรุ่งเช้า(วันเสาร์ที่ 3 กันยายน 2565) ตื่นขึ้นจึงได้รู้ว่าใบหน้าซีกขวามือบวมขึ้น
    มากกว่าวันก่อน แต่อาการปวดเหงือก รากฟัน ลดลงเล็กน้อย ซึ่งตลอดระยะเวลาดังกล่าว
    ได้ทำการรักษาด้วนการอมน้ำสมุมไพรในตัว ส่วนใบหน้าส่วนที่บวมนั้นใช้น้ำมันเขียวชะโลม
    และยาหม่องฤทธิ์เย็นทา ในช่วงเวลาที่เกิดอาการตึงใบหน้า เพื่อลดอาการบวม และทำการ
    สวนล้างลำไส้ใหญ่เพื่อลดพิษร้อนในร่างกายด้วยน้ำสมุนไพรในตัว จนกระทั่งตื่นนอนใน
    ช่วงเวลาประมาณ 4.30 นาฬิกาของวันอาทิตย์ที่ 4 กันยายน พ.ศ.2565 ได้เข้าห้องซูม
    มีตติ้ง ซึ่งตรงกับช่วงอ่านบททบทวนธรรมและแบ่งปันประสบการณ์ในการนำบททบทวน
    ธรรมมาใช้ในชีวิตประจำวัน ในช่วงที่ตัวเองแบ่งปันประสบการณ์ในการใช้บททบทวนธรรม
    ในการดูแลรักษาอาการที่ตัวเองป่วยอยู่นั้น มีความรู้สึกว่า สวมแว่นแล้วไม่ตึงตรงส่วนขอบ
    ตาด้านล่าง จึงได้รู้ว่าอาการบวมที่ใบหน้าลดลงอย่างมากมาย แต่อาการไข้ที่เกิดจากอักเสบ
    นั้นก็ลดลงด้วยเช่นกัน แต่ก็ยังคงมีอาการหนาวในบางคราวที่กระทบกับความเย็นตรงช่อง
    ปรับอากาศและเจ็บปวดเวลาเอาอาหารใส่ปาก จะรู้สึกตึงรมฝีปากบริเวณที่มีอาการบวม
    แต่โดยรวมแล้วอาการต่างๆดีขึ้นมากและสามารถกินข้าวต้มได้มากขึ้นกว่าวันก่อนๆ ที่กิน
    ได้เฉพาะน้ำข้าวต้ม ซึ่งเหตุการณ์เจ็บป่วยนั้นเป็นทุกข์ที่เลี่ยงไม่ได้ พยาธิทุกข์(ทุกข์จาก
    ความเจ็บป่วย) แม้จะเป็นอาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้น ก็เป็นเพียงอาการเจ็บป่วยที่ร่างกาย

    การใช้อริยสัจ ๔ และ มรรคมีองค์ ๘ เพื่อปรับสภาวะของใจและรักษาอาการเจ็บป่วยทาง
    กาย ที่เกิดขึ้น:-
    ๑-อริยสัจ ๔
    ๑.๑-ทุกขอริยสัจ(รู้แจ้งทุกข์) คือ สภาพของความทุกข์ที่ทนได้ยาก ภาวะที่ทนอยู่ใน
    สภาพเดิมไม่ได้ สภาพที่บีบคั้น แม้จะเป็นอาการเจ็บป่วยที่ร่างกาย ก็เป็นเพียงฝุ่นที่ปลาย
    เล็บเท่านั้น ส่วนทุกข์ทางจิตใจ ซึ่งเป็นอาการในส่วนที่เป็นดินทั้งแผ้นดินนั้น ก็เป็นเพียง
    ความกังวลใจเพียงเล็กที่ไม่สามารถจะทำงานและทำกิจกรรมบางอย่าง
    ๑.๒-ทุกขสมุทัยอริยสัจ(รู้แจ้งเหตุให้เกิดทุกข์ ) คือ สาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ ได้แก่
    ความอยาก ในเรื่องของอาหารการกิน ทั้งอาหารประจำมื้อ อาหารของขบเคี้ยว
    อื่นๆที่กระทบกับเหงือกและรากฟัน
    ความอยาก ที่ไม่ต้องการให้เกิดอาการเจ็บป่วยทางร่างกาย
    วิบากร้ายต่างๆที่สำนึกได้จากกระทำมาในอดีตของชาตินี้ก่อนที่เปลี่ยนแนวความคิด
    กลับตัว กลับใจ ประพฤติ ปฏิบัติตัว ตามแนวทางของแพทย์วิถีธรรม กล่าวคือ
    วิบากร้ายที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ คงสืบเนื่องมาจากในอดีต เคยใช้หอกปากนี้
    พูดจาทำร้าย พูดจาส่อเสียด เหยียดหยาม ดูถูก ดูหมิ่น ใส่ร้ายป้ายสี กล่าวร้าย กล่าว
    โทษ โจมตีในระหว่างการปราศรัยต่างๆ ต่อผู้อื่น ใช้วาจาในการที่ต้องการเอาชนะใน
    อรรถคดีต่างๆในชั้นศาล ตลอดจนการใช้ปาก วิพากษ์ วิจารณ์ นักการเมืองทั้งหลาย
    วิบากร้ายที่เกิดจากใช้ปากนี้ กินปากเป็ด ปากไก่ ปากห่าน ลิ้นหมู ลิ้นวัว ลิ้นควาย
    ตลอดจนกระทั่งเนื้อสัตว์ต่างๆ ทั้ง สัตว์เลี้ยง สัตว์บ้าน สัตว์ป่า เพื่อเป็นเครื่องแกล้ม
    เครื่องดองของเมาชนิดต่างๆ ในอดีตที่ผ่านมา
    วิบากร้ายที่อาจจะเกิดจากการใช้ไม้จิ้มฟันโดยไม่ระมัดระวัง จึงทำให้เหงือกและ
    รากฟัน ทำให้เกิดการติดเชื้อโรค ทำให้เหงือกและรากฟันอักเสบอย่างรุนแรง ปวดบวม
    ตั้งแต่ ฟัน เหงือก รากฟัน จนกระทั่งถึงเส้นประสาทของรากฟัน
    ๑.๓-ทุกขนิโรธอริยสัจ(รู้แจ้งความดับทุกข์ ) คือ สภาพแห่งความดับทุกข์ ได้แก่
    การดับสาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ กล่าวคือ
    การใช้บททบทวนธรรม พระไตรปิฎก ที่เกี่ยวกับพฤติกรรมที่ผ่านๆมาของตัวเราเอง
    ทั้งในอดีตชาติก่อนๆและชาติปัจจุบัน
    บททบทวนธรรมที่นำมาใช้ในการดับทุกข์ใจ คือ
    ข้อที่ ๗.หลัก 5 ข้อ ที่นำพาชีวิต พ้นจากนรกตลอดกาลนาน
    ๑.อย่าทายใจผู้อื่น
    ๒.อย่าใส่ร้ายผู้อื่น
    ๓.อย่าโกหกผู้อื่น
    ๔.อย่าชิงชังผู้อื่น
    ๕.อย่าเบียดเบียนผู้อื่น
    ข้อที่ ๘. สิ่งที่เราได้รับ คือสิ่งที่เราทำมา ไม่มีสิ่งใดที่เราได้รับ
    โดยที่เราไม่เคยทำมา
    ข้อที่ ๒๒. ถ้าใครมีปัญหาหรือความเจ็บป่วยในชีวิต ให้ทำความดี ๔ อย่างนี้
    ด้วยความยินดี จริงใจ จะช่วยให้ปัญหาหรือความเจ็บป่วย ลดลงได้เร็ว
    ๑) สำนึกผิด หรือยอมรับผิด
    ๒) ขอรับโทษ เต็มใจรับโทษ หรือ ขออโหสิกรรม
    ๓) ตั้งจิตหยุดสิ่งที่ไม่ดีอันนั้น
    ๔) ตั้งจิตทำความดีให้มาก ๆ คือ ลดกิเลสให้มาก ๆ เกื้อกูลผองชนและ
    หมู่สัตว์ให้มาก ๆ
    ข้อที่ ๒๗. เทคนิคทำใจให้หายโรคเร็ว คือ อย่าโกรธ อย่ากลัวเป็น อย่ากลัวตาย
    อย่ากลัวโรค อย่าเร่งผล อย่ากังวล
    พระไตรปิฎกที่ใช้ในการดับทุกข์ใจ คือ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก
    เล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เจลสูตร “ให้รีบเพียรเพื่อตรัสรู้ เหมือนรีบดับไฟ
    บนศีรษะ”
    [๑๗๑๗] พระผู้มีพระภาคตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    เมื่อผ้าหรือศีรษะถูกไฟไหม้แล้ว จะควรกระทำอย่างไร? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า
    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อผ้าหรือศีรษะถูกไฟไหม้แล้ว ควรจะกระทำความพอใจ
    ความพยายาม ความอุตสาหะ ความไม่ย่นย่อ ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะ
    อย่างแรงกล้า เพื่อดับผ้าหรือศีรษะนั้น.
    พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลพึงวางเฉย ไม่ใส่ใจถึงผ้าหรือศีรษะที่ถูกไฟไหม้
    แล้ว พึงกระทำความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความไม่ย่นย่อ ความไม่ท้อถอย
    สติและสัมปชัญญะอย่างแรงกล้า เพื่อตรัสรู้อริยสัจ ๔ ที่ยังไม่ตรัสรู้ตามความเป็นจริง อริยสัจ
    ๔ เป็นไฉน? คือ ทุกขอริยสัจ ฯลฯ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ
    นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา จบ สูตรที่ ๔
    การบำบัดทุกข์ทางกายที่มีอาการปวดบวมเหงือก รากฟัน แก้มซีกขวามมือของใบหน้า
    ด้วยการใช้น้ำสมุนไพรในตัว เพื่อ อม ทำความสะอาด และ สวนล้างลำไส้ และ ใช้ขี้ผึ่ง
    มรกตย่านาง-เบญจรงค์ทาที่ใบหน้าซีกขวามือในส่วนมีอาการบวม สลับกับการใช้น้ำมันเขียว
    ตรีมรกตชะโลมใบหน้าซีกขวามือในส่วนมีอาการบวม
    ๑.๔-ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ(รู้แจ้งข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ )
    วิธีปฏิบัติสู่ความพ้นทุกข์ คือ มรรคมีองค์ ๘ อันประเสริฐ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ
    สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ
    สัมมาทิฏฐิ ความรู้ในทุกข์ แนวคิดที่ถูกต้อง ความเห็นชอบตามทำนองคลอง
    ธรรม เช่น เห็นว่า “ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว” ถือเป็นองค์แรกในมรรคมีองค์แปด อันเป็น
    แนวทางสู่การหลุดพ้นจากทุกข์
    สัมมาสังกัปปะ ความดำริในอันไม่เบียดเบียน พิจารณาตั้งอธิฐานจิตที่จะไม่
    เบียดเบียน หรือ ทำร้าย คนอื่น สัตว์อื่น และขอตั้งอธิฐานจิตกล้าไม่กินเนื้อสัตว์ทุกๆชนิด
    ตลอดจนผลิตภัณฑ์ต่างๆที่มาจากสัตว์ทุกๆชนิด
    สัมมาวาจา การงดเว้นจากการพูดเท็จ งดเว้นจากการพูดส่อเสียด งดเว้นจาก
    การพูดคำหยาบ งดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ และขอตั้งอธิฐานจิตกล้าที่จะ
    ๑.ไม่ทายใจผู้อื่น
    ๒.ไม่ใส่ร้ายผู้อื่น
    ๓.ไม่โกหกผู้อื่น
    ๔.ไม่ชิงชังผู้อื่น
    ๕.ไม่เบียดเบียนผู้อื่น
    ๖.ไม่วิพากษ์ วิจารณ์ ผู้อื่น ในกาลอันไม่สมควร
    สัมมากัมมันตะ การงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ งดเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เขา
    มิได้ให้ งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม และขอตั้งอธิฐานจิตกล้าที่จะ งดเว้นการฆ่าสัตว์
    ตัดชีวิต ผู้อื่น สัตว์อื่น ไม่ต้องการสิ่งที่ผู้อื่นไม่ได้ให้เรา ไม่รับในสิ่งที่ผู้ไม่ได้ให้เรา และ ไม่
    ประพฤติผิดในกามต่างๆ
    สัมมาอาชีวะ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ละการเลี้ยงชีพที่ผิดเสีย สำเร็จการเลี้ยง
    ชีพด้วยการเลี้ยงชีพที่ชอบ และขอตั้งอธิฐานจิตกล้าที่จะดำเนินชีวิตในศีลธรรม จริยธรรม
    คุณธรรม ที่ดี มีประโยชน์ต่อ ผู้อื่น สัตว์อื่น และตัวเอง
    สัมมาวายามะ เกิดฉันทะพยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้
    เพื่อมิให้อกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่เกิดบังเกิดขึ้น เพื่อละอกุศลธรรมอันลามกที่บังเกิดขึ้น
    แล้ว เพื่อให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดบังเกิดขึ้น เพื่อความตั้งอยู่ไม่เลือนหาย เจริญยิ่ง ไพบูลย์
    มีขึ้น เต็มเปี่ยมแห่งกุศลธรรมที่บังเกิดขึ้นแล้ว
    สัมมาสติ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด
    อภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียได้พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นจิต
    ในจิตอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา
    และโทมนัสในโลกเสียได้
    สัมมาสมาธิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร
    มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เธอบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรม
    เอกผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่ เธอ
    มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน
    ที่พระอริยทั้งหลาย สรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข
    เธอบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัส
    โทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่
    ———————————————————————————

  2. พุทธะชนะทุกข์ เรื่อง นิ่่ง สงบ สยบสถานการณ์ เนื้อเรื่อง เมื่อสายๆ ของวันหนึ่งในเดือนกรกฎาคม 2565 ผู้เขียนกับพ่อบ้านได้ขับรถที่เช่าจากสนามบินสุวรรณภูมิ ประเทศไทย ไปยังศุูนย์การค้าแห่งหนึ่ง ผู้เขียนเป็นผู้ขับและได้จอดในที่จอดรถที่ศูนย์การค้าจ้ดไว้ให้เหมือนกับรถอีกหลายๆ คัน ยังจำได้ดีว่าด้านซ้ายมือที่จอดอยู่นั้นมีรถกระบะปิคอัพสีขาวได้จอดอยู่ก่อนแล้ว หลังจากที่พ่อบ้านกับผู้เขียนทำธุระเสร็จแล้วก็อออกมาจากศูนย์การค้าเพื่อที่จะมายังรถที่จอดไว้ ผู้เขียนก็เปิดรถเพื่อเก็บของ ขณะนั้นพ่อบ้านไม่ได้มาช่วยขนของเหมือนเคย เขายืนเงียบและสายตาเพ่งตรงไปยังรถในตำแหน่งเหนือล้อหน้าด้านซ้ายเล็กน้อย จนกระทั่งผู้เขียนจัดของใส่รถเสร็จแล้วพ่อบ้านจึงส่งเสียงดังว่า “ใครถอยรถมาเบียดรถเราจนเป็นรอยถลอกแผลใหญ่ เห็นชัดว่ามีรอยชิ้นส่วนที่เป็นสีขาวร่วงอยู่บนแผลที่ถลอกและมีบางส่วนตกอยู่ที่พื้นด้วย” พ่อบ้านเสียงดังมาก โกรธ และมองหาคนที่ก่อเหตุ แต่ก็ไม่มีใครอยู่ตรงนั้น ทำให้พ่อบ้านยิ่งหัวเสียขึ้นไปอีกว่าไม่มีใครรับผิดชอบต่อการกระทำเลย รถที่ผู้เขียนใช้อยู่นั้นก็ไม่ใช่รถส่วนตัว เป็นรถที่พ่อบ้านเช่ามาใช้ในช่วงที่อยู่ประเทศไทย และตอนจะกลับอเมริกาเขาจะต้องเอารถไปส่ง และเขาคาดว่าน่าจะเป็นเรื่องใหญ่ ประมาณว่า เขาจะถูกคิดค่าเสียหายเป็นจำนวนเงินที่ขึ้นอยู่กับบริษัทให้เช่ารถจะกำหนดราคาขึ้นมาเอง ซึ่งเขาจะไม่สามารถต่อรองใดๆ ได้เลย และคาดว่าน่าจะเป็นเงินจำนวนมาก ซึ่งเขาต้องจำใจ จำนนต่อสิ่งที่เกิดขึ้น และใช้คำพูดที่ไม่น่าฟังเอาซะเลย เหตุการณ์นี้ใช้เวลาประมาณ 5 นาที ที่พ่อบ้านมีอาการงุ่นง่านอยู่ไม่สุข ฉุนเฉียว เดินไปเดินมา ไม่รู้จะทำยังไง ช่วงเวลานั้นผู้เขียนไม่ได้พูดอะไรที่เป็นการตอบโต้กับพ่อบ้านเลย เงียบ ได้แต่ยืนข้างๆ เป็นเพื่อนเขา มองสบตาเขาบ้าง มองรถบ้าง ตั้งใจฟังเขาตามควรด้วยเกรงว่าการออกความคิดเห็นใดๆ ออกไปจะเป็นการใส่ไฟให้เขาเดือดพล่านมากขึ้นไปอีก เพราะเหตุว่า ทันทีที่ผู้เขียนเห็นรอยถลอกที่พ่อบ้านชี้ให้ดู มันทำให้นึกถึงบททบทวนธรรมที่ท่านอาจารย์หมอเขียว ดร ใจเพชร กล้าจน ได้ให้ไว้ว่า สิ่งที่เราได้รับคือสิ่งที่เราทำมา ตอนที่ผู้เขียนได้รับใบอนุญาติขับขี่ใหม่ๆ ที่อเมริกา ตนเองก็ขับรถแบบระมัดระวัง แต่ก็ไม่พ้นที่จะถอยหลังไปชนท้ายรถอีกคันซึ่งจอดอยู่ที่ลานจอดรถแห่งหนึ่งที่ Boston, Massachusetts. USA และด้วยความตระหนกตกใจมากจึงได้ขับรถหนีหายไปเลย ไม่ได้ไปสนใจว่าจะมีรอยหรือเสียหายอะไรไหม ประจวบกับว่าตอนนั้นไม่มีใครอยู่ตรงนั้นเลย และผู้เขียนไม่เคยบอกเรื่องนี้กับใครเลย เก็บเป็นความลับสุดยอดมาหลายปี เหตุการณ์ในวันนั้นที่ผู้เขียนก่อขึ้นมันช่างเป็นอะไรที่คล้ายๆ กันกับเหตุการณ์วันนี้ที่พ่อบ้านกับผู้เขียนกำลังประสบอยู่อย่างเหมาะเจาะ ทำให้นึกถึงคำที่ท่านอาจารย์หมอเขียวสอนว่า เราเป็นทายาทของกรรม เราทำอะไรไว้ เราต้องเป็นผู้รับผลของการกรำทำนั้นเสมอ ไม่สามารถโอนไปให้ใครหรือปฏิเสธกฏแห่งกรรมได้ ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดในโลก จะเห็นได้ว่า ผู้เขียนได่ก่อเหตุไว้ที่ อเมริกา และต้องมารับผลนั้นที่ไทย ผู้เขียนจึงทำใจน้อมรับวิบาก ยอมเป็นผู้เสียหาย คือ เสียน่ะมันหายไป เต็มใจให้ทุกอย่างเกิดขึ้น ส่งผล แล้วก็หมดไป ท่านอาจารย์บอกว่า เมื่อเรารับร้ายแล้ว ร้ายก็จะหมดไป ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นมันดีที่สุดแล้ว มันยุติธรรมมากแล้ว เสียหายเท่านี้ก็ดีมากแล้ว ตอนที่เราก่อเหตุ เราเองก็ไม่ได้แสดงความรับผิดชอบอะไร ตอนนี้จะให้ใครมารับผิดชอบหล่ะ มันสาสมแล้ว perfect! ผู้เขียนนึก และท่องอยู่ในใจ บอกตัวเอง ไม่เป็นไร ดีแล้ว เหมาะสมแล้ว ถูกต้องแล้ว จากนั้นผู้เขียนก็ทำหน้าที่ขับรถออกมาจากสถานที่นั้นกับพ่อบ้านซึ่งเขาเองก็นั่งเงียบกริบเหมือนกัน พอขับไปสักพัก ประมาณ 5 นาที พ่อบ้านก็เริ่มพูดคุยด้วยนำ้เสียงปกติ ไม่ขุ่นมัว ไม่หงุดหงิด ซึ่งผู้เขียนประทับใจมากกับคำพูดของท่านโดยมีใจความว่า “อืมมม ไม่เป็นไรนะ ไม่ใช่ความผิดของเธอ ไม่ใช่ความผิดของฉัน ก็แค่เสียเงินเท่านั้นเอง ไม่ใช่เรื่องใหญ่” และบอกกับผู้เขียนที่กำลังขับรถอยู่ว่า “ทำใจให้สบายนะ ไม่มีอะไรต้องกังวล” เมื่อผู้เขียนได้ฟังอย่างนั้นก็ยิ้มในใจขึ้นมาอย่างโล่งอกทันที ถึงแม้ว่าผูเขียนจะยังคงมีสีหน้าสงบ ราบเรียบอยู่ก็ตาม แต่ในใจ ผู้เขียนซาบซึ้งกับธรรมะที่ท่านอาจารย์ได้พรำสอนว่า “บางสิ่งบางอย่างที่เราประเมิณดูแล้วว่าสามารถอธิบายหรือแก้ไขได้ให้ทำ แต่ถ้าไม่ได้ ก็ไม่ต้องทำ ง่ายจะตาย” ซึ่งเหตุการณ์นี้ผู้เขียนก็ทำอย่างนั้น ปล่อยให้เหตุการณ์เล่าเรื่ิองราวและดำเนินไปตามธรรมชาติโดยไม่ยึดว่าต้องเป็นแบบนั้นหรือต้องเป็นแบบนี้ ได้แต่เฝ้าสังเกตุดูใจของตัวเอง และก็พอที่จะสรุปกับสิ่งที่เกิดขึ้นได้ว่า ในขณะที่เราเคารพและเต็มใจให้เหตุการณ์เกิดขึ้นตามวิบากดี ร้าย บวก ลบ คูณ หาร แล้วยอมรับด้วยความเข้าใจ ไม่หนี ไม่ต่อรอง ไม่บ่น ยินดีให้วิบากทำหน้าที่โดยอิสระ ผู้เขียนรู้สึกได้ว่า บรรยากาศรอบตัวเราก็อยู่ในสภาพที่สบายๆ สังเกตุว่าตัวเองไม่มีอาการเดือดเนื้อร้อนใจ กลายเป็นคนใจเย็น นิ่ง เป็นผู้สังเกตุการณ์และเป็ผู้ฟังที่ดีได้ อีกประการหนึ่งที่ผู้เขียนสัมผัสได้ถึงพลังแห่งการเหนี่ยวนำคือ ในขณะที่พ่อบ้านขุ่นเคืองอยู่ แต่ผู้เขียนไม่่มีอาการทุกข์ใจ รู้สึกขอบคุณต่อสิ่งที่เกิดขึ้น ขอบคุณที่ได้ชดใช้วิบากร้ายที่หลงพลาดทำมาเองกับมือ ขอบคุณที่วิบากกำลังส่งผลและกำลังจะหมดไป รู้สึกถึงความโชคดีของตัวเองที่สามารถเห็นความจริงตามความเป็นจริง ขอบคุณที่เป็นผู้ที่ยอมได้ ใจเย็นรอให้เหตุการณ์คลี่คลายผ่านไปได้ ขอบคุณโอกาสนี้ที่ทำให้ได้มีการสำนึกผิด สารภาพผิด ยอมรับโทษ เต็มใจรับโทษโดยไมาถือสา ชิงชังรังเกียจ เป็นการล้างใจที่เยี่ยมมาก ขอบคุณที่ตัวเองได้มองเห็นสิ่งต่างๆ ว่าน่าขอบคุณผ่านเรื่องราวที่ดูเหมือนร้ายแต่ผู้เขียนได้มองเห็นถึงข้อดีแทน ซึ่ง สิ่งนี้นอกจากจะทำให้ผู้เขียนมีใจไร้ทุกข์ได้แล้ว มันยังเป็นคลื่นพลังความถี่ไปยังพ่อบ้าน ทำให้เขามีจิตใจที่ปล่อยวาง ไม่เอาเรื่อง ไม่หาคนผิดมารับผิดชอบซึ่งก็ไม่สามารถหาได้อยู่แล้ว เพราะท่านอาจารย์สอนว่า เมื่อเกิดสิ่งเลวร้ายกับเรา โลกนี้ไม่มีใครผิดต่อเรา มีแต่เราเท่านั้นที่ผิดต่อตัวเราเอง อย่าโทษใครในโลกใบนี้ ทำให้พ่อบ้านพลอยได้รับพลังงานที่สงบเย็น ยอมรับในความเสียหายได้โดยไม่ยากไม่ลำบาก ทั้งๆ ที่เขาไม่ได้ทราบถึงที่มาของเหตุการณ์นี้เหมือนผู้เขียนเสียด้วยซำ้ เรื่องราวนี้เป็นอีกบทเรียนหนึ่งที่ทำให้ผู้เขียนได้พิสูจน์ผลของการนำธรรมะอันประเสริฐยิ่งแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ท่านอาจารย์หมอเขียว ดร ใจเพชร กล้าจนได้เป็นตัวแทนของพระองค์และถ่ายทอดในแบบที่เข้าใจง่ายๆ ที่ผู้เขียนสามารถนำมาทำใจในใจ จึงได้เข้าสู่กระบวนการยอม นิ่ง เบิกบาน และสว่างไสวได้ในที่สุด อย่างมีความสุขจากข้างในจริงๆ ขอขอบพระคุณครูบาอาจารย์ ดร ใจเพชร กล้าจน ที่ได้เมตตานำเอาคลังแห่งอาริยะปัญญาจากพระไตรปิฎกแห่งพระสัมมาสัมพุทธธเจ้า ทำให้ผู้เขียนซึ่งไม่มีความเข้าใจในภาษาบาลี สามารถนำคำสอนอันทรงพลังนี้มาใช้ในชีวิตประจำวันส่งผลให้มีจิตใจยินดีในการชดใช้หนี้บาป จึงได้ลดทุกข์กาย ทุกข์ใจ ทุกข์เหตุการณ์โดยแท้ น้อมกราบคุณครูบาอาจารย์ด้วยความเคารพและบูชาอย่างสุดซึ้ง จุฑามาศ วรรณา วอล์กเกอร์ ชื่อทางธรรม กล้าพ้นทุกข์ อายุ 51 ปี นักศึกษาสถาบันวิชชาราม อริยปัญญาตรี หลักสูตร 7 ปีชั้นปีที่หนึ่ง และเป็นผู้สำเร็จ/นักศึกษาหลักสูตร 6 เดือน แพทย์แผนไทยวิถีธรรมคำ้จุนโลก จิตอาสาคบคุ้นสวนป่านาบุญ 6 ประเทศสหรัฐอเมริกา

  3. ประพันธ์ โพธิ์คำ เท่ ใจถึงศีล กล้าจน

    ชื่อเรื่อง หงุดหงิดจริงๆ (กิเลส-มาร ไม่ได้ดั่งใจ ไม่ชอบใจ)
    เนื้อเรื่อง หรือ เหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น – เมื่อ วันอังคารที่ 19 กรกฎาคม 2565 ช่วง
    เวลาประมาณ 07.00 นาฬิกา(7 โมงเช้า) ได้ออกไปบริเวณหน้าบ้าน เพื่อรดน้ำต้นไม้ต่างๆ
    ในระหว่างที่กำลังโรยสายยางน้ำเพื่อเตรียมการฉีดน้ำให้กับต้นไม้ ทันใดนั้นก็ได้เห็นความ
    ผิดปกติตรงบริเวณที่ตรงกับห้องพักอยู่อาศัยและเป็นบริเวณเดียวกันกับที่เก็บสายยาง ได้
    เห็นกิ่งของต้นกฐินณรงค์ถูกหักเลี่ยลาดโดยไม่เห็นและไม่ทราบว่าผู้ใดเป้นผู้กระทำเช่นนั้น
    และไม่ตัดกิ่งกฐินณรงค์ให้เป็นระเบียบเรียบร้อยอย่างที่ตัวเองต้องการ
    การปรับสภาวะที่เกิดขึ้นด้วยการใช้อริยสัจ ๔ และ มรรคมีองค์ ๘ :-
    ๑-อริยสัจ ๔
    ๑.๑-ทุกขอริยสัจ คือ
    อารมณ์เสีย หงุดหงิดทันที ที่ได้เห็นกิ่งกฐินณรงค์ถูกหักเลี่ยลาด ไม่เป็นระเบียบ
    เรียบร้อยนั้ เป็นเพราะ
    1-ไม่ทราบผู้หักกิ่งกฐินณรงค์ เนื่องจากไม่ได้เห็นตอนที่มีการหักกิ่งกฐินณรงค์
    2-การที่กิ่งกฐินณรงค์ถูกหักอย่างไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย
    3-ไม่มีการบอกล่าว ไต่ถาม ปรึกษา หารือ ในระหว่างผู้อยู่อาศัยร่วมกัน
    4-ความเสียดายที่ไม่มีกิ่งกฐินณรงค์คอยซับความร้อนและแรงจ้า จากแสงอาทิตย์
    ๑.๒-ทุกขสมุทัยอริยสัจ คือ สาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ คือ อยากให้ผู้ที่หักกิ่นกฐินณรงค์
    เลี่ยลาดนั้น ตัดแต่งกิ่งกฐินณรงค์หรือกิ่งไม้อื่นๆ ให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ไม่ปล่อยให้
    กิ่งกฐินณรงค์หรือกิ่งไม้อื่นๆที่หักลงมานั้นเกะกะรกตา

    ๑.๓-ทุกขนิโรธอริยสัจ คือ ความดับทุกข์ (สภาพของการดับทุกข์) ได้แก่ ดับสาเหตุที่
    ทำให้เกิดทุกข์ กล่าวคือ ดับตัณหาทั้ง 3 (กามตัณหา ภวคัณหา วิภวตัณหา) ได้อย่าง
    สิ้นเชิง ด้วยการใช้บททบทวนธรรม
    ข้อที่ ๑. เรื่องการเข้าใจผิดของเรากับผู้อื่น เราต้องระลึกรู้ว่า มันคือวิบากกรรมเขา
    วิบากกรรมเรา แก้ไขได้ด้วยการทำดี ไม่มีถือสาไปเรื่อย ๆ แล้ววันใดวันหนึ่งข้างหน้า ใน
    ชาตินี้ หรือชาติหน้า หรือชาติอื่น ๆ สืบไป ความเข้าใจผิดนั้นก็จะหมดไปเอง
    ตัวของเรามีความเข้าใจผิดต่อผู้อื่นตลอดเวลา ทั้งๆที่ ไม่เห็น ไม่ทราบ ไม่รู้ ว่า ผู้ใด
    เป็นผู้กระทำการตัดกิ่งต้นกฐินณรงค์ ด้วยการ ต้องล้างความความเข้าใจผิดด้วยการ เลิก
    ความเข้าใจผิด สลัดออกไปเพราะไม่ว่าเหตุการณ์หรือการกระทำของผู้อื่นนั้นๆ จะเป็นเช่นไร
    ไม่ใช่เหตุการณ์และการกระทำของเรา วิบากกรรมเขา เราไม่สามารถก้าวล่วงเข้าไปกระทำ
    ใดๆได้ทั้งสิ้น ส่วนวิบากกรรมของเรา เราต้องระมัดระวังหมั่นตรวจสอบการกระทำของเรา
    ตลอดเวลา แก้ไขให้อยู่ในกรอบหรือคุณงามความดี ในแวดวงของ มิตรดี สหายดี สังคมดี
    สิ่งแวดล้อมดี เป็นทั้งสิ้นทั้งปวงของการปฏิบัติสู่การพ้นทุกข์
    ข้อที่ ๒.เราต้องรู้ว่า แต่ละคนมีฐานจิตแตกต่างกัน เราจึงควรประมาณการกระทำ ให้
    เหมาะสมกับฐานจิตของเรา และฐานจิตของผู้อื่น “คิดดี พูดดี ทำดี ไว้ก่อน” ดีที่สุด เรา
    ต้องประคับ ประคองใจของเราไม่ให้เกิดความอยาก ด้วยการเลิกอยาก ดับความอยาก ที่จะ
    ให้ผู้อื่นกระทำการ ดูแล ตัดแต่ง กิ่งไม้ ต้นไม้ อย่างที่เราต้องการและดับความอยากที่ต้อง
    การ ด้วย
    -เลิกคิด ให้ผู้อื่นกระทำในแบบอย่างที่ตัวของเราต้องการ ด้วยการกล้าไม่คิดให้ผู้อื่นเหมือน
    กับเรา กล้าที่จะระงับความคิด ไม่ให้คิดในทางที่ไม่ดีกับผู้อื่น
    -ไม่พูด หรือ ไม่ว่ากล่าวตักเตือน ผู้อื่น ที่จะให้กระทำในแบบอย่างที่เรารต้องการ ด้วยการ
    กล้าที่จะไม่พูดกับผู้อื่นให้รู้ถึงการกระทำของเขาเอง เพื่อเป็นรักษาน้ำใจ ไม่ก่อให้เกิดการ
    วิวาทะซึ่งกันและกัน ถนอมน้ำใจกัน เพื่อให้เกิดการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน ในการอยู่
    ร่วมกัน พึ่งพาอาศัย ใช้ประโยชน์จากการ ปลูก ดูแล รักษา ต้นไม้ในบริเวณบ้นร่วมกัน
    -กระทำการต้ดแต่ง ดูแล ต้นไม้ต่างๆในบ้านด้วยตัวเองตามความสามารถ กล้ายอมรับ
    ในการกระทำของผู้อื่น แม้สิ่งนั้น จะไม่เป็นที่พึงพอใจ ไม่ต้องการ ของเรา ตัวของเราก็
    สามารถปรับ เปลี่ยน ให้รูปทรงของต้นไม้ เป็นไปตามความต้องการของทุกๆคนที่ร่วม
    อยู่อาศัยในบ้านเดียวกัน

    ๑.๔-ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ คือ มรรคมีองค์ ๘ อันประเสริฐ แนวปฏิบัติที่นำไปสู่
    หรือนำไปถึงความดับทุกข์(วิธีการดับทุกข์)
    สัมมาทิฏฐิ ความรู้ในทุกข์ แนวคิดที่ถูกต้อง ความเห็นชอบตามทำนองคลอง
    ธรรม เช่น เห็นว่าทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่ว ถือเป็นองค์แรกในมรรคมีองค์แปด อันเป็นแนวทาง
    สู่การหลุดพ้นจากทุกข์
    สัมมาสังกัปปะ ความดำริในอันไม่เบียดเบียน พิจารณาตั้งอธิฐานจิตที่จะไม่
    เบียดเบียน หรือ ทำร้าย คนอื่น สัตว์อื่น ไม่กระทำการให้ผู้อื่นเสียความรู้สึกที่ดี
    สัมมาวาจา การงดเว้นจากการพูดเท็จ งดเว้นจากการพูดส่อเสียด งดเว้นจาก
    การพูดคำหยาบ งดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ ติเตียน ใส่ร้าย ดูถูก ดูหมื่น เหยียดหยาม ผู้อื่น
    สัมมาอาชีวะ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ละการเลี้ยงชีพที่ผิดเสีย สำเร็จการเลี้ยง
    ชีพด้วยการเลี้ยงชีพที่ชอบ กระทำการในสิ่งสอดคล้องกับความต้องการของผู้อื่นมากกว่า
    ความต้องกาของตัวเอง กล่าวคือ เอาความต้องการของผู้อื่นเป็นที่ตั้ง ปรับเปลี่ยน ความ
    ต้องการของเรา ให้สอดคล้องตามไป
    สัมมาวายามะ เกิดฉันทะพยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้
    เพื่อมิให้อกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่เกิดบังเกิดขึ้น เพื่อละอกุศลธรรมอันลามกที่บังเกิดขึ้น
    แล้ว เพื่อให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดบังเกิดขึ้น เพื่อความตั้งอยู่ไม่เลือนหาย เจริญยิ่ง ไพบูลย์
    มีขึ้น เต็มเปี่ยมแห่งกุศลธรรมที่บังเกิดขึ้นแล้ว
    สัมมาสติ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด
    อภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียได้พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นจิต
    ในจิตอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา
    และโทมนัสในโลกเสียได้
    สัมมาสมาธิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร
    มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เธอบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรม
    เอกผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่ เธอ
    มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริย
    ทั้งหลาย สรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข เธอบรรลุจตุตถฌาน ไม่มี
    ทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัส โทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติ
    บริสุทธิ์อยู่
    ———————————————————————————

  4. พุทธะชนะทุกข์ เรื่อง วิกฤต ณ ที่ทำงาน เนื้อเรื่อง ผู้เขียนประกอบอาชีพเป็นช่างเสื้อสตรี มีประสบการณ์มายาวนานกว่า 30 ปี ได้รับการโหวดให้เป็นผู้เชี่ยวชาญ ชุดวิวาห์-ราตรี วันหนึ่งในเดือนธันวาคม 2564 ณ ที่ทำงานซึ่งตั้งอยู่ที่เมือง Boston, Massachusetts, USA มีลูกค้าสุภาพสตรีท่านนึง อายุประมาณ 45 ปี ได้เข้ามาลองชุดวิวาห์ที่ผู้เขียนได้ทำการแก้ไขในจุดต่างๆ ซึ่งได้ตกลงเห็นชอบอนุญาตให้ทำ และมีกำหนดรับชุดไปวันนั้นเลย เมื่อลูกค้าได้ลองชุดก็หันซ้ายหันขวา และถอนหายใจ แล้วบอกผู้เขียนว่า ไม่พอใจที่ชุดของเธอออกมาเป็นแบบนี้ ผู้เขียนซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบงานชิ้นนี้โดยตรง ก็เลยได้บอกท่านไปว่า ตนได้ลงมือเฉพาะในส่วนที่ตกลงกันไว้เท่านั้น ไม่ได้แตะต้องส่วนอื่นเลย อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนก็ได้เสนอลูกค้าไปว่า ถ้ายังไม่ชอบก็จะทำการแก้ไขให้เสร็จเรียบร้อย ถึงแม้ว่าจะได้เวลาเลิกงานแล้วก็ตาม ลูกค้าก็โอเคและออกไปเดินเล่นเพื่อฆ่าเวลา เมื่อท่านกลับมาอีกครั้งก็ได้ลองชุดเป็นครั้งสุดท้ายก่อนจะรับชุดกลับไป และเมื่อได้ลองแล้วก็บอกว่าไม่สวย ไม่ดี บอกว่า วันแต่งงานของเขา เขาอยากให้ทุกอย่างออกมา perfect ที่สุด มันเป็นวันสำคัญของเขา รู้สึกผิดหวังมากที่ออกมาเป็นแบบนี้และคงไม่มีความสุขแน่ๆ ถ้าสวมชุดนี้ พูดแล้วก็ทำสีหน้า แววตา แบบไม่สบอารมณ์ ผู้เขียนบอกตามตรงว่าตอนนั้นหนักใจเอามากๆ หยุดคิดว่าจะแก้ไขเหตุการณ์นี้ยังไง ปากก็พูดไปว่า จะเก็บงานในส่วนที่ลูกค้ายังไม่ชอบ และเนื่องจากตอนนั้นเริ่มมือคำ่แล้วจึงได้บอกให้ลูกค้ากลับไปได้โดยเสนอว่าจะให้รถของบริษัทนำจัดส่งให้โดยที่ท่านไม่ต้องเสียเวลามารับชุดเอง เป็นการบริการพิเศษให้ ฟรี ลูกค้านิ่งไปพักนึง แล้วเอ่ยคำถามที่ทำให้ผู้เขียนถึงกับ สะอึก หนักอึ้งขึ้นมาทันทีชนิดที่ไม่เคยเป็นมาก่อน คำถามนั้นก็คือ “ถ้าในที่สุดแล้วชุดนี้ยังไม่เป็นที่พอใจของเขาหล่ะ จะทำยังไง” เมื่อได้ฟังดังนั้น ผู้เขียนก็ใจไม่ดีเอาซะเลย คิดในใจ “นี่มันหาเรื่องกันนี่หว่า” เกิดอาการขุ่นมัว ฟุ้งซ่าน หงุดหงิด ตัวร้อน พาลโกรธลูกค้าไป คิดในใจ “ทำไมเป็นคนจู้จี้ ขี้บ่น เรื่องมากขนาดนี้นะ นี่เราก็พยายามทำดีที่สุดแล้วนะ นี่ก็ได้เวลาเลิกงานตั้งนานแล้วแต่เราก็ยังอยู่ดูแลให้เวลาเค้ามากกว่าใดรๆ ที่เคยเป็นมาซะอีก ทำไมไม่รู้จักเกรงอกเกรงใจคนอื่นเสียบ้างเลย แย่มากจริงๆ ฯลฯ” เมื่อความคิดของผู้เขียนเป็นแบบนั้น สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ผู้เขียนเริ่มที่จะไม่อยากเข้าใกล้ลูกค้า ไม่อยากมอง ไม่อยากพูดด้วย ไม่อยากได้ยินว่าเค้าจะบ่นอะไรบ้าง เลยบอกท่านไปว่า “จะให้เวลาเค้าได้ตกลงกับตัวเองว่าจะเอายังไง อยู่ตามลำพังสักพักนึง แล้วค่อยมาคุยกันใหม่” จากนั้นผู้เขียนก็รีบหันหลังให้ลูกค้าทันที มุ่งไปโทรศัพท์หาผู้จัดการเพื่อขอความช่วยเหลือ แตเนื่องจากขณะนั้นเป็นเวลาเลิกงานนานมากแล้วท่านจึงไม่ได้รับสาย ผู้เขียนจึงได้แต่ฝากข้อความ “please call me back as soon as possible” ซึ่งจริงๆ แล้วผู้เขียนรู้ซึ้งในใจว่า ไม่มีใครช่วยเราได้เลย ความกลัวอย่างรุนแรงเริ่่มคืบคลานเข้ามาในใจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ สมองก็คิด มันจะเป็นยังไงต่อไป ถ้าลูกค้าไม่พอใจจนถึงกับไปฟ้องต่อศาลเพื่อเรียกร้องค่าเสียหาย แล้าเราจะทำยังไง ซึ่งอีกสองวันจะเป็นวันแต่งงานของเขา คงต้องตกงานกระทันหันก็คราวนี้เชียว ระหว่างนั้นความวิคกกังวลประเดประดังเข้ามาเป็นระลอกๆ ค่าใช้จ่ายต่างๆ ก็เริ่มผุดขึ้นมาในหัวสมองโน่น นี่ นั่น กลัวเหมือนโดนหอกสามร้อยเล่มทิ่มแทงในเวลาเดียวกัน เกิดอาการระแวง หวั่นไหวขนาดหนัก หัวตื้อ คิดอะไรไม่ออก จนตรอกอย่างสิ้นเชิง แวบนึงในใจก็คิดมองหาที่พึ่ง จำได้ดีว่า ผู้เขียนได้หยุดทุกการกระทำในขณะนั้น ตั้งจิตระลึกถึงคุณงามความดีของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและ ท่านอาจารย์หมอเขียว ดร ใจเพชร กล้าจน เพื่อขอสมาทานเป็นที่พึ่งทางจิตใจ ลูกจนด้วยปัญญา หมดหนทางสิ้นเกลี้ยงแล้ว บัดนั้นเองก็เกิดมีเสียงดังก้องกังวาลในหู พร้อมกันนั้นเกิดเห็นภาพในหัวสมองของตนเอง เป็นเหตุการณ์อดีคในวัยเด็ก ที่ผู้เขียนขี้อ้อน เอาแต่ใจ ไม่เคยคิดว่าใครเขาจะเดือดร้อนจากความเรื่องมากของตัวเองยังไง ทำคนรอบข้างปวดหัวเป็นประจำ ประกอบกับคำพูดของท่านอาจารย์หมอเขียวดังกรอกหูว่า “กล้าทำ กล้ารับ รับเท่าไหร่ หมดเท่านั้น เราแสบสุดๆ มันก็ต้องรับไปสุดๆ” เพียงเท่านั้นเอง ผู้เขียนกลับกลายเป็นว่ามีจิตใจ เบิกบาน แจ่มใส ยิ้มออกมาได้โดยอัตโนมัติ คิดขึ้นมาได้ทันทีว่า “โอ…นี่เราเองนี่หว่า เราเคยเป็นแบบนี้มาก่อนนี่นา ลูกค้าท่านนี้คือเราเมื่อตอนเด็กๆ นี่เรากำลังถูกวิบากร้ายทีเคยทำมาสมัยเด็กเอาคืนอยู่” เท่านั้นเอง ผู้เขียนก็เกิดอาการ สว่างไสว เริ่มทำใจให้กล้าที่จะรับวิบาก กล้าเผชิญหน้าชดใช้วิบากร้ายที่กำลังส่งผลอยู่ กล้าให้วิบากหมดไป เราจะได้โชคดีขึ้น ขณะนั้น ผู้เขียนคิดอย่างนั้น สังเกตุจิตใจตัวเองที่ขุ่นมัวและคิดโทษโยนความผิดให้ลูกค้าก่อนหน้านี้ เปลี่ยนเป็น สมนำ้หน้าตัวเอง ทำเขามาตั้งมากตั้งมายยังมีหน้ามาโกรธมาเกลียดเขาอีก มันชั่วเกินไปแล้วเรา สิ่งที่เกิดขึ้นมันเหมาะสมที่สุดแล้ว มันยุติธรรมแล้ว everything happens for the best โสลกธรรมของท่านอาจารย์หมอเขียวดังกึกก้องในหู ซำ้ๆ ต่อๆ ถี่ๆ เป็นฉากๆ ฉากๆ ฉากๆ เวลาได้ผ่านไปเพียงอึดใจเดียวก็ปรากฏมีท่านสุภาพบุรุษท่านหนึ่งเข้ามาในบริษัท ซึ่งจริงๆ ตามปกติแล้ว แผนกที่ผู้เขียนทำงานอยู่จะไม่อนุญาตให้คุณผู้ชายทั้งหลายผ่านเข้ามาได้ แต่พอท่านแจ้งว่าเป็นคู่หมั้นของลูกค้าจึงได้อนุญาตให้เข้าพบกันซึ่งกำลังสวมชุดอยู่พอดี เมื่อท่านได้เปิดห้องเข้าไปหาว่าที่เจ้าสาว ท่านก็อุทานออกมาดังๆ ว่า “Hi Babi you look soooo beautiful look so great!!! I love it I don’t see anything wrong with the dress at all” ประมาณว่า เธอดูสวยมาก ดูดีมาก เค้าชอบชุดมากๆ เค้าไม่เห็นว่าจะมีที่ไหนเป็นตำหนิเลย สมบูรณ์แบบ Perfect!!! เท่านั้นเอง ว่าที่เจ้าสาวก็ถามว่า “You think so? you like it?” เธอคิดว่าอย่างนั้นเหรอ เธอชอบชุดเหรอ ว่าที่เจ้าบ่าวตอบกลับว่า “Absolutely babi! You look like my angle.” ใช่แล้ว เธอดูเหมือนเป็นนางฟ้าของฉัน และแล้วทุกอย่างก็ลงเอยด้วยดี happy at the end ผู้เขียนได้ให้เวลาทั้งสองต่อสักพักจึงได้เข้าไปถามว่า “How is your feeling? Are you okay? คุณลูกค้าหันหน้ามาตอบกลับด้วยสีหน้ายิ้มแย้มอย่างมีความสุขทั้งนำ้ตาว่า “I am very very happy. My fiance loved it! I’m taking it home with me now.” และแล้วก็หมดหน้าที่ในวันทำงานอันหนักหน่วงไป ผู้เขียนพบว่า ร่างกายตัวเองเกร็งแข็ง ปวด เมื่ิอย ล้าอย่างมาก เมื่อกลับถึงบ้านจึงอานนำ้อุ่นและเข้านอน แตเมื่อล้มตัวลงนอนผู้เขียนเกิดอาการเจ็บๆ บริเวณใต้หูขวา พอจับดูก็พบก้อนปูดออกมามีขนาดใหญ่เท่าใข่ไก่ ผู้เขียนทราบได้ทันทีว่าร่างกายต้องมารับผลแห่งความเครียดอันหนักหน่วงจึงพยายามดันเอาพิษที่เกิดจากความเตรียดออก ตอนนั้นผู้เขียนเข้าใจอย่างนั้นจึงวางใจและหลับไปเพราะเหนื่อยล้ามาทั้งวันแล้ว พอรุ่งเช้าก็พบว่าอาการเจ็บได้หายไป แต่ก้อนยังอยู่จึงได้ดูแลตัวเอง ด้วยการดื่มนำ้สมุนไพรและรับประทานอาหาร พืช จืด สบาย ร่วมกับ colon detoxification หลังผ่านไปสามวันพบว่าไม่มีก้อนแล้ว ไม่ทราบว่าหายไปตอนไหนด้วยซำ้ จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นวิกฤตใหญ่ ณ ที่ทำงานที่ทำให้ผู้เขียนได้ทบทวนตัวเอง เรื่องผลของการกระทำว่าสิ่งที่เราได้รับคือสิ่งที่เราทำมาเสมอ ไม่เร็ว ก็ช้า ไม่ชาตินี้ ก็ชาติหน้าและชาติอื่นๆ สืบไป จริง นอกจากนี้ผู้เขียนได้มาสำนึกว่า อาชีพที่ตัวเองทำอยู่ เป็นอาชีพที่สุจริต ถูกศีล เคยภูมิใจตัวเองมาก แต่ตอนนี้ เชื่อ และชัด ว่ามันเป็นอาชีพที่ส่งเสริมกิเลสคน กิเลสเรื่องเดียวสามารถแตกตัวได้สารพัดเรื่อง ส่งผลให้เป็นทุกข์ได้สารพัดมิติ มีประเด็นที่ผู้เขียนให้ความสนใจมากคือ เมื่อมีเหตุการณ์ร้ายๆ แบบนี้แล้วผู้เขียนใช้หลักธรรมะที่ถูกตรงของท่านอาจารย์หมอเขียวมายึดถือใช้ปฏิบัติให้ตรงจุด ทำใจในใจ แก้ไขที่ตัวเรา ไม่เพ่งโทษถือสาผู้อื่น พบว่า สิ่งที่เกิดขึ้นคือ เหตุการณ์ร้ายกลับพลิกได้ในเสี้ยววินาที เมื่อได้ล้างใจ ได้ฝึกจิตใจให้ถูกสัมมาทิฐฐิแล้ว ทำให้วิบากร้ายจางคลาย ทุกข์จากเหตุการณ์ก็หายไปโดยพลัน เป็นปาฏิหารย์อย่างน่าอัศจรรย์ ทำให้ผู้เขียนได้นำมาสอนตัวเองว่า อย่าดื้อต่อศีล ดื้อต่อศีลทุกข์หนัก ทุกข์หนักมาก ทุกข์หนักที่สุด เป็นเหตุให้ผู้เขียนตั้งศีลต่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและท่านอาจารย์หมอเขียว ดร ใจเพชร กล้าจน ขอ ลด ละ เลิกจากอาชีพที่ส่งเสริมกิเลส จะไม่มอบตนในทางผิดอีกต่อไป และก็ได้ลาออกจากงานนี้หลังจากนั้นต่อมาในเวลา 6 เดือน ปัจจุบันผู้เขียนหักเหชีวิตมาทำกสิกรรมไร้สารพิษแบบแพทย์วิถีธรรม ปลูกอยู่ ปลูกกิน พึ่งตนเอง ทำอาหารเป็นยา กินน้อย อยู่น้อย ใช้น้อย ทำให้ชีวิตมีความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย มีร่างกายแข็งแรง ครอบครัวมีความผาสุกขึ้นตามลำดับๆ เมื่อได้ประกอบอาชีพที่ถูกศีลก็ไม่มีความกังวล ระแวง หวั่นไหว จากวิบากที่เกิดขึ้นจากอาชีพการงานเหมือนที่เคย ตั้งใจบำเพ็ญทำความผาสุกที่ตนและช่วยคนที่ศรัทรา ทำให้ชีวิตไม่ยุ่งยาก เกิดความมั่นคงในใจว่า จากนี้ต่อไปจะไม่มีวิบากร้ายจากการทำงานอีก ในอนาคตถ้ามีเหตุร้ายใดๆ ขึ้น ก็เข้าใจได้ว่ามันไม่ได้เกิดขึ้นจากอาชีพการงานในปัจจุบัน จึงทำให้วางใจ ผ่อนคลายความวิตกกังวลได้อย่างง่ายๆ โดยปริยาย ท้ายนี้ ผู้เขียนขอขอบพระคุณต่อ ท่านอาจารย์หมอเขียว ดร ใจเพชร กล้าจน ผู้มีพระคุณอย่างหาที่สุดมิได้ ที่ได้เมตตา ชี้ทางแก่คนหลงทาง ได้เห็นความจริงตามความเป็นจริง ได้เรียนรู้และกลับตัวกลับใจได้ทัน ได้ปฏิบัติและเห็นผล พ้นจากทุกข์กาย ทุกข์ใจ ทุกข์เหตุการณ์ ที่เกิดขึ้นที่ที่ทำงานดังที่กล่าวมาโดยสัจจริง กราบขอบพระคุณครูบาอาจารย์ด้วยความเคารพและบูชาอย่างสุดซึ้ง จุฑามาศ วรรณา วอล์กเกอร์ ประวัติโดยย่อ นักศึกษาสถาบันวิชชาราม หลักสูตร แพทย์แผนไทยวิถีธรรมคำ้จุนโลก 6 เดือน และหลักสูตรจิตอาสาสาขาแพทย์วิถีธรรม อริยปัญญาตรี ระยะเวลา 7 ปี ชั้นปีที่ 1 อดีต ช่างเสื้อสตรี specialist ชุดวิวาห์-ราตรี ปัจจุบัน อาชีพ กสิกรรมไร้สารพิษชีวิตผาสุก อายุ 51 ปี ชื่อทางธรรม กล้าพ้นทุกข์ ชื่อเล่น สา