At bagon.is you can Buy webshells, phpmailer, Combo list
พุทธะชนะทุกข์ : ภาคใต้ (สิงหาคม 2565) [10] | สถาบันวิชชาราม
Skip to content

พุทธะชนะทุกข์ : ภาคใต้ (สิงหาคม 2565) [10]

นักศึกษาวิชชารามและจิตอาสาแพทย์วิถีธรรม ร่วมบันทึกเรื่องราวจากชีวิตจริงของตนเองที่ได้เรียนรู้และปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า หรือคำสอนของครูบาอาจารย์ …อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โจทย์ พุทธะชนะทุกข์

!สำหรับนักศึกษาสังกัดภาคใต้

นักศึกษาพิมพ์เรื่องราวหรือคัดลอกข้อมูลส่งในส่วนแสดงความคิดเห็นด้านล่าง

10 thoughts on “พุทธะชนะทุกข์ : ภาคใต้ (สิงหาคม 2565) [10]”

  1. พรพิทย์ สามสี

    @เพื่อนพิทย์ พุทธะชนะทุกข์ 210052
    รหัส 21
    ชื่อ พรพิทย์ สามสี
    สังกัด สวนป่านาบุญ 2
    อำเภอชะอวด
    จังหวัดนครศรีธรรมราช
    หมวดหมู่ จิตใจ
    เรื่อง ป่วยที่คุ้มค่า
    คำสำคัญ ย้อนนึกถึง/ ความคิดเปลี่ยน/
    พบหนทาง

    ข้าพเจ้าป่วยเป็นโรคหลายโรคอยู่ เอาโรคหลักก่อนเนาะ โรคกระเพาะ ลำไส้
    โรคเข่าเสื่อม เป็นอยู่นานพอสมควร แต่ช่วงที่ป่วยที่ผ่านมา น่าเสียดายที่ ณ ช่วงเวลานั้น ข้าพเจ้าไม่เคยได้จดบันทึกเรื่องราว
    การเจ็บป่วยลงในกระดาษ
    หรือสมุดบันทึกเลย แม้แต่ครั้งเดียว

    เป็น กระเพาะ ลำไส้ มาเกือบ 20 กว่าปี กินอะไรนิดหน่อย ก็รู้สึกแน่นอึดอัด
    ท้องอืด เรอ พายลม อยู่ตลอด ขับถ่ายก็ค่อนข้างยาก สมันนั้นเคยไป
    เอกซเรย์ ส่องกล้อง ที่โรงพยาบาลของรัฐ แพทย์ท่านนั้นบอกว่า รูปแบบ
    กล้ามเนื้อระบบขับถ่ายเขาผิดรูป เขาเป็นมาแต่กำเนิด
    แต่ก็ไม่มีอันตรายใด ๆ แต่ข้อเสียคือจะถ่ายยากหน่อย
    นาน ๆ ไปน่าจะได้ทำการผ่าตัด

    กินยา กระเพาะ ลำไส้ อยู่นานพอควร แต่อาการก็ยังอยู่รูปเดิม จะโทษยาอย่างเดียวก็ไม่ถูกนัก เพราะตอนนั้นข้าพเจ้า กินตามใจปาก
    กินอาหารรสจัด เผ็ดจัด หวานจัด กินสะเปะสะปะ ไม่มีหลักการกิน

    ประมาณปี 2560 ข้าพเจ้า
    ได้มีโอกาสเข้าค่ายสุขภาพ
    แพทย์วิถีธรรมเป็นครั้งแรก
    มีการจัดค่าย 7 วัน ได้โทรถามพี่น้องจิตอาสาว่ามาค่ายสัก 2 – 3 วันได้ไหม

    ข้าพเจ้าประกอบอาชีพค้าขาย ไม่ค่อยสะดวกที่จะมาอยู่ได้ครบ 7 วัน และประกอบกับทางบ้านไม่เอื้อ
    ณ เวลานั้นเพียงคิดว่ามาเพื่อมาเอายารักษาโรคตนเองเท่านั้น พอได้มาหลาย ๆ ครั้ง หลาย ๆ ค่าย
    ทำให้ความคิดเปลี่ยน ได้รู้หลักศาสตร์ยา 9 เม็ด ของแพทย์วิถีธรรม และได้ฟังธรรมะจากท่านอาจารย์หมอเขียว ฟังซ้ำไปซ้ำมาอยู่บ่อย ๆ จึงได้รู้และเข้าใจได้เลยว่า ยาเม็ดที่ 8 ธรรมะรักษาโรค เป็นยาเม็ดเลิศ เป็นยา รักษาโรคที่มีฤทธิ์เร็ว และแรงที่สุดในโลก
    กราบขอบพระคุณท่านอาจารย์หมอเขียว
    ที่ทำให้ข้าพเจ้าได้ เกิดใหม่ในร่างเก่า
    ยาเม็ดที่ใช้บ่อยที่สุด
    คือเม็ดที่ 3 การสวนล้างลำไส้ ทำให้สบายท้อง
    ยาเม็ดที่ 6 การออกกำลังกาย โยคะ กดจุด เม็ดที่ 1
    การดื่มน้ำสมุนไพรปรับสมดุล เม็ดที่ 7 การรับประทานอาหารปรับสมดุล

  2. ปาวิดา ทองธวัฒน์

    เธอเปลี่ยนไป

    เรื่อง เธอเปลี่ยนไป
    หมวดหมู่ จิตใจ
    คำสำคัญ ติเตียน/นินทา/ดูถูก/ทุศีล

    หลายคนบอกว่ากินเหล้าเพื่อเข้าสังคม ผู้เขียนก็เคยเห็นด้วยกับประโยคนี้ และเคยมีเพื่อนฝูงมากมาย แต่ค่อยๆลดความสัมพันธ์จนสุดท้ายก็เหลือเพื่อนน้อยลงเมื่อมาเรียนรู้กับแพทย์วิถีธรรม กระทั่งได้ยินคำกระแนะกระแหนจากเพื่อนฝูงเหล่านั้นว่า “เธอเปลี่ยนไป” บางคนบอกว่า “โต่งเกินไป” นอกจากนี้ก็ยังมีคำพูดถากถาง ติเตียน ติฉินนินทา ตามมาอีกมากมาย
    ผู้เขียนรู้ตัวดีว่ามีความเปลี่ยนไปจริงๆ จึงไม่ได้โต้เถียงใดๆ ความเปลี่ยนแปลงมีทั้งรูปลักษณ์ภายนอกและความเปลี่ยนแปลงในใจ ท่านอาจารย์หมอเขียวสอนว่า ถ้าสิ่งที่ถูกติเตียนเป็นสิ่งถูกให้เอามาปรับปรุง แต่หากเป็นสิ่งผิดให้เอามาล้างใจ การได้เรียนรู้ธรรมะแท้ที่ถูกต้องถูกตรงทำให้ผู้เขียนระลึกอยู่เสมอว่า เราเดินทางผิดมาทั้งชีวิต การเข้ามาเรียนรู้กับแพทย์วิถีธรรมคือการมาเดินให้ถูกทาง ซึ่งเป็นทางที่พาสู่ความพ้นทุกข์
    ผู้เขียนจึงพิจารณาคำวิพากษ์วิจารณ์เหล่านั้นที่ละเรื่อง เริ่มต้นจากคำวิพากษ์วิจารณ์เรื่องภาพลักษณ์ภายนอก การหยุดแต่งตัว หยุดแต่งหน้า การตัดผมสั้น ผู้เขียนบอกตัวเองว่า “กายนี้มีไว้เพื่อลดกิเลสเท่านั้น กิจอื่นนอกจากนี้ไม่มี” เราแค่แต่งตัวให้สะอาดเรียบร้อย เหมาะสมตามกาละเทศะ อยู่บนพื้นฐานที่ประหยัดเรียบง่ายที่สุด คนที่วิพากษ์วิจารณ์เขาไม่ชอบที่ไม่แต่งหน้าเลย เขาชอบให้ไว้ผมยาว แต่งทรงผมให้ดูดี ซึ่งผู้เขียนมองว่าไม่ใช่สาระสำคัญของชีวิต เมื่อพิจารณาดังนี้ผู้เขียนตกลงใจที่จะทำเช่นนี้ต่อไป นอกจากจะไม่โกรธคนที่วิพากษ์วิจารณ์แล้ว ยังเกิดความสงสารเขาด้วย เพราะการหลงในรูปลักษณ์เช่นนั้นทำให้เราเสียเวลา เสียค่าใช้จ่าย และเสียพลังชีวิตอย่างมาก เขาไม่รู้ตัวว่าเขากำลังทำให้ตัวเองทุกข์ เขายังไม่เข้าใจว่าถ้าหยุดทำแล้วจะเป็นสุขได้อย่างไร เขาอยากผาสุก อยากพ้นทุกข์ แต่เพราะเขาไม่รู้ความจริงที่พาพ้นทุกข์เป็นเช่นใด ถ้าเขารู้ความจริงเขาจะไม่ทำตามกิเลสเช่นนี้
    คำวิพากษ์วิจารณ์เรื่องการเลิกสรวลเสเฮฮา ไม่ไปท่องเที่ยว ไม่ออกไปทานอาหารอร่อยๆกับเพื่อนฝูงเหมือนที่เคยทำ ผู้เขียนพิจารณาแล้วว่ากิจกรรมเหล่านี้ทำให้กิเลสโต นำความเสื่อมมาให้ ต่อให้ฝืนทำก็ไม่มีความสุขเหมือนเดิมอีกแล้ว คนที่เราควรคบหาสมาคมด้วย ไม่จำเป็นต้องมีมาก ขอแค่เป็นมิตรดีสหายดี ชวนกันปฎิบัติดี ลดกิเลสเหตุแห่งทุกข์ แม้มีจำนวนน้อยแต่มากด้วยคุณภาพจะดีกว่า อย่างไรก็ตามหากเป็นกิจกรรมในครอบครัว พ่อแม่ ญาติพี่น้อง ผู้เขียนก็จำเป็นต้องร่วมบ้างตามสมควร
    ความเปลี่ยนแปลงที่คำวิพากษ์วิจารณ์ยังไปไม่ถึงคือความเปลี่ยนแปลงในใจ การค่อยๆลดความอยากในชีวิตลงได้แม้เพียงเล็กน้อย ก็สร้างความสุขที่อธิบายให้คนส่วนใหญ่เข้าใจได้ยากยิ่ง สิ่งที่ทำให้สุขทุกข์คือ “ใจเรา” เท่านั้น ไม่ใช่คำพูดของคนอื่น การเจ็บเพราะโดนติฉินนินทา ดูถูก เป็นโอกาสล้างเชื้อทุกข์ เชื้อทรมาน เชื้อพิษในใจเรา ซึ่งทุกชีวิตต้องถูกนินทาอยู่แล้ว ขึ้นอยู่กับว่าใครจะอยู่กับคำนินทาอย่างผาสุกให้ได้
    ท่านอาจารย์หมอเขียวสอนว่า การที่เราถูกว่ากล่าวติเตียน โดนวาจาล่วงเกิน เพราะเราเคยทุศีลมา คนทุศีลมีมาก เราก็เคยทำมา ไม่ต้องแปลกใจหากมีคนมาว่าเรา เพราะความคิดต่างกัน เมื่อรับแล้วก็หมดไป มันคือกรรมที่ต้องรับ คนไม่ถูกนินทาไม่มีในโลก เราต้องถูกลบหลู่ดูถูกแน่นอน เรากำจัดคำนินทาไม่ได้ ฝึกทำใจได้อย่างเดียว ต้องฆ่าความคิดที่ทำให้ทุกข์ ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า “คิดแล้วทุกข์คือความเพียรอันเลว”

    เขียนเมื่อ วันที่ 23 เดือนเมษายน 2565
    โดย นางสาวปาวิดา ทองธวัฒน์ (อายุ 38 ปี)
    จิตอาสาคบคุ้น สังกัดภาคใต้ สวนป่านาบุญ 2 จังหวัดนครศรีธรรมราช
    นักศึกษาสถาบันวิชชาราม หลักสูตร 7 ปี ระดับอริยปัญญาตรี
    เข้ามาเรียนรู้แพทย์วิถีธรรมเมื่อ เดือนเมษายน 2564 เข้าใจลึกซึ้งว่า “นี่คือวิชาที่ทุกชีวิตต้องเรียน”

  3. ปาวิดา ทองธวัฒน์

    ฉันเป็นใคร

    เรื่อง ฉันเป็นใคร
    หมวดหมู่ จิตใจ
    คำสำคัญ ความกลัว/ทำฟัน/ผ่าตัดฟันคุด/สมุนไพรในตัว

    การบำเพ็ญเขียนบทความพุทธะชนะทุกข์เป็นการได้ทำเหตุแห่งวิมุติ 5 การปฎิบัติอย่างต่อเนื่องช่วยให้เห็นกิเลสตัวจริงที่บงการชีวิตเราอยู่ (ข้อคิดสืบเนื่องจากบทความพุทธะชนะทุกข์เรื่อง “ใครคือผู้บงการ”) บทความนี้เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่ผู้ขียนได้พบกับตัวบงการที่อยู่เบื้องหลังเหตุผลที่ฟังดูดี เป็นเหตุผลที่ผู้เขียนใช้หลอกตัวเองและหลอกคนอื่นมาเกือบ 3 ปี
    ผู้เขียนรู้สึกดีทุกครั้งที่ได้ยินว่า “ช่วงที่โรคโควิด 19 ระบาด หมอฟันจะไม่เปิดให้บริการ” ซึ่งผู้เขียนจะเสริมคำพูดนี้ให้ดูดีขึ้นว่า หมอฟันทำถูกต้องแล้วเพราะการทำฟันเสี่ยงมาก การปิดให้บริการจะช่วยให้ปลอดภัยทั้งต่อตัวหมอเองและผู้ป่วยด้วย เมื่อคิดเช่นนี้แล้วทำให้รู้สึกสบายใจ รู้สึกว่าตัวเองเป็นคนดี รู้สึกเป็นคนมีความรับผิดชอบต่อสังคม จนกระทั่งความจริงได้ปรากฎในวันที่ 17 เมษายน 2565 ช่วงเวลาเรียนวิชาทันตกรรม ของหลักสูตรประกาศนียบัตรวิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร สาขาวิชาการดูแลสุขภาพวิถีธรรมตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งคุรุผู้สอนเป็นทันตแพทย์ที่มีความเมตตาและเชี่ยวชาญอย่างมาก ที่สำคัญคือท่านเรียนรู้ศาสตร์แพทย์วิถีธรรมและสามารถประยุกต์ใช้กับความรู้ด้านทันตกรรมได้อย่างยอดเยี่ยม ผู้เขียนได้ถามคุรุว่าจำเป็นหรือไม่ที่เราต้องผ่าตัดฟันคุดออก คุรุท่านเมตตาอธิบายโดยละเอียด และคำพูดหนึ่งที่ทำให้ผู้เขียนเห็นกิเลสตัวบงการที่ซ่อนอยู่คือ หลังผ่าตัดฟันคุดเสร็จให้อมสมุนไพรในตัวจะช่วยให้แผลหายเร็ว สามารถทานอาหารอย่างปกติได้ จนแทบไม่รู้สึกว่าเพิ่งผ่านการผ่าตัดมา เมื่อได้ฟังคำพูดนี้ผู้เขียนโล่งหัวทันที และบอกกับคุรุอย่างเบิกบานได้ว่า “หนูไม่กลัวแล้วค่ะ”
    ความจริงในใจที่ฝังรากลึกมาตลอดคือ การทำฟันเป็นสิ่งน่ากลัว โพรงประสาทฟันที่ถูกกระทบกระเทือนจะเจ็บปวดทรมานร้าวไปถึงสมอง สิ่งที่เป็นฝันร้ายและไม่อยากพบเลยในชีวิตคือตอนที่ยาชาหมดฤทธิ์ นับเป็นสุดยอดแห่งความเจ็บปวด พูดก็เจ็บ อ้าปากก็เจ็บ ขยับตัวก็เจ็บ ไม่ว่าจะยืนเดินนั่งนอน โดยเฉพาะเวลาทานอาหารจะทรมานสุดๆ ทั้งหมดนี้คือกิเลสตัวจริงที่บงการชีวิต ซึ่งเราเท่านั้นที่จะต้องหามันให้พบ และเราเท่านั้นที่จะต้องกำจัดมันให้ได้ด้วยตัวเอง
    การได้รู้จักกิเลสตัวจริงช่วยให้ได้สติว่าที่แท้แล้ว “ฉันเป็นใคร” กันแน่ จากที่เคยหลงคิดว่า “ฉันเป็นคนดี” แต่ที่แท้แล้วเลวสุดๆ นี่คือการค้นพบที่สำคัญซึ่งจะเป็นโอกาสให้เราได้ล้างสิ่งนั้น ผู้เขียนได้ล้างความกลัว กังวล ระแวง หวั่นไหวในใจ เป็นความกลัวความทรมานหลังจากยาชาหมดฤทธิ์ กลัวว่าตัวเองต้องเจ็บ กลัวหิวเพราะกินไม่ได้ กลัวว่ามันจะเจ็บหลายวัน และในครั้งนี้ความกลัวได้หายไปทันที่เมื่อได้ทราบวิธีจัดการอย่างประหยัด เรียบง่าย พึ่งตนเองได้ ผู้เขียนพบว่าการกำจัดความกลัวได้ในแต่ละเรื่อง ช่วยให้ชีวิตผาสุก สมองปลอดโปร่งขึ้นอย่างมาก และจะพากเพียรกำจัดกิเลสต่อไป เพื่อให้สามารถบอกกับกิเลสความกลัวตัวอื่นๆให้ได้ด้วยว่า “หนูไม่กลัวแล้วค่ะ”

    เขียนเมื่อ วันที่ 23 เดือนเมษายน 2565
    โดย นางสาวปาวิดา ทองธวัฒน์ (อายุ 38 ปี)
    จิตอาสาคบคุ้น สังกัดภาคใต้ สวนป่านาบุญ 2 จังหวัดนครศรีธรรมราช
    นักศึกษาสถาบันวิชชาราม หลักสูตร 7 ปี ระดับอริยปัญญาตรี
    เข้ามาเรียนรู้แพทย์วิถีธรรมเมื่อ เดือนเมษายน 2564 เข้าใจลึกซึ้งว่า “นี่คือวิชาที่ทุกชีวิตต้องเรียน”

  4. ปาวิดา ทองธวัฒน์

    พุทธะชนะทุกข์
    รหัส 07
    ชื่อ นางสาวปาวิดา ทองธวัฒน์
    สังกัดสวนป่าหน้าบุญ 2 อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช
    หมวด จิตใจ
    เรื่อง ผีบังบด
    คำสำคัญ ใจร้อน/อัตตา/ยึดดี

    “ผีบังบด” คือการมีวิบากร้ายมากั้น ทำให้คนไม่เห็นทุกข์ แต่เป็นทุกข์ ไม่สามารถมองเห็นกิเลสที่ซ่อนอยู่ได้ ผู้เขียนก็เป็นคนหนึ่งที่ถูก “ผีบังบด” หลายครั้ง แต่เพราะได้พบสัตบุรุษ และได้ฟังธรรมะแท้จากท่านอาจารย์หมอเขียว เหมือนได้ยาวิเศษเห็นทุกข์จากผัสสะที่เกิดขึ้นและสามารถล้างกิเลสเหตุแห่งทุกข์นั้น ชีวิตจึงได้พบกับความผาสุขตามลำดับ
    เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในช่วงค่ายกสิกรรมซึ่งจัดขึ้นที่สวนป่านาบุญ 2 ในระหว่างวันที่ 21 – 23 กรกฎาคม 2565 ผู้เขียนได้พบกับ “ผีบังบด” ตัวสำคัญคือความคิดที่ว่าเราคือจิตอาสาแพทย์วิถีธรรมเราต้องช่วยเผยแพร่ความรู้ศาสตร์แพทย์วิถีธรรมออกไปช่วยเหลือผู้คนให้มากที่สุด ดูเหมือนว่านี่คือความคิดที่ดีอย่างยิ่งเป็นการช่วยให้สังคมดีขึ้น แต่ไม่น่าเชื่อว่ามีผีตัวร้ายซ่อนอยู่ เมื่อกำจัดสิ่งชั่วร้ายที่บังตาออกได้จึงได้พบกับสิ่งดีต่างๆดังนี้
    1.ได้เข้าถึงคำสอนของท่านอาจารย์หมอเขียวที่ว่า “ทำความผาสุกที่ตนช่วยคนที่ศรัทธา” การไปมุ่งเน้นที่จะช่วยเหลือคนอื่นก่อนเป็นการพัฒนาเรื่อง “ภาษา” คือการจำบทเรียนแล้วไปบอกต่อโดยที่เราอาจจะรู้จริงหรือไม่ก็ได้ แต่ส่วนใหญ่มักจะทำไม่ได้ เราต้องมุ่งเน้นที่ “สภาวะ” คือการนำความรู้ไปปฏิบัติจริงหลังจากนั้นหากต้องการสอนคนอื่นก็จะสามารถ ถ่ายทอดจากประสบการณ์ได้ ซึ่งจะสามารถเข้าใจคนที่ยังทำไม่ได้ และสามารถอธิบายด้วยภาษาที่เข้าใจง่ายๆได้ หรือหากยังไม่สามารถอธิบายเป็นคำพูดได้ ก็สามารถทำให้เป็นแบบอย่างซึ่งนับเป็นการสอนที่ดีกว่าแค่การพูดความรู้อย่างไม่รู้จริง
    2.เพราะที่ผ่านมามี “ผีบังบด” ทำให้ผู้เขียนไม่เห็นความสำคัญของ “บทพิจารณาอาหาร” การได้เข้าค่ายกสิกรรมครั้งนี้ ผู้เขียนได้มีโอกาสช่วยตากข้าว และทำกสิกรรมร่วมกับหมู่มิตรดี ซึ่งพบว่า เหนื่อย ร้อน และลำบากพอสมควร ผู้เขียนเข้าใจแล้วว่า “อย่ากินอย่างเป็นทาส เหงื่อทุกหยาดของชาวนา จงกินอย่างเป็นไท กินด้วยใจที่รู้ค่า” นี่คือบทเรียนสำคัญที่ช่วยให้ผู้เขียนรู้คุณค่าของอาหาร สามารถทานอาหารได้พอดีเท่าที่ร่างกายต้องการได้ง่ายขึ้น
    3.ผู้เขียนได้เห็นสิ่งที่ซ่อนอยู่เบื้องหลังความต้องการสอนคนอื่นคือ “อยากได้การยอมรับ” เป็นอัตตาตัวสำคัญที่ต้องกำจัดออก ทันทีที่เกิดความรู้สึกนี้ขึ้นก็จะพยายามทำให้ได้มา เช่นการพูดให้คนอื่นชอบ เอาอกเอาใจคนอื่น ไม่กล้าขัดใจคนอื่น เป็นลักษณะของไม้เลื้อยต้องอาศัยคนอื่นจึงจะอยู่ได้ อ่อนแอ ไม่มีความแกล้วกล้าอาจหาญอย่างแท้จริง
    4.องค์ประกอบชีวิตของแต่ละคนต่างกัน ผู้เขียนได้เห็นข้อดีขององค์ประกอบชีวิตตนเอง แม้ขณะนี้จะยังไม่สามารถอยู่ร่วมค่ายกับหมู่กลุ่มได้นานก็ตาม แต่การเป็นคนโสด สุขภาพแข็งแรง มีความสามารถในการเรียนรู้ พร้อมลดอัตตา แค่นี้ก็ดีมากแล้ว จึงได้ตั้งใจพากเพียรให้ก้าวหน้าไปตามลำดับ
    5.ไม่ว่าตัวเราจะอยู่ที่ไหนก็ตามจิตใจของเราต้องอยู่ป่าเป็นวัตรให้ได้ นั่นคือการเดินตามมรรคมีองค์แปด หรือเรียกว่าการทำสมาธิพุทธ
    6.สืบเนื่องจากข้อ 5 เมื่อเราสามารถทำสมาธิพุทธได้อย่างต่อเนื่อง เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้เราอยู่ในศีลและลดกิเลสได้ตามลำดับ เมื่อเป็นเช่นนี้ได้เราจะสามารถประมาณการกระทำได้อย่างเหมาะสมด้วย
    7.ร่างกายที่แข็งแรง เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้ปฏิบัติบำเพ็ญบุญได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากค่ายกสิกรรมในครั้งนี้ ทำให้ผู้เขียนเข้าใจแล้วว่านอกเหนือจากการกดจุดลมปราณ โยคะกายบริหาร ที่ท่านอาจารย์หมอเขียวสอนแล้ว ก็ยังใช้การทำกสิกรรมเพื่อช่วยให้ร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
    8.เนื่องจากข้อ 4 หลายครั้งที่เรามองไม่เห็นคุณค่าของสิ่งที่มีอยู่ ดังเช่นที่ท่านอาจารย์หมอเขียวสอนว่า “เศรษฐีที่รวยมากในสมัยพุทธกาลกินข้าวกับน้ำส้มพะอูม” ช่วยให้ผู้เขียนเห็นคุณค่าของผักพื้นบ้าน (พืชวรรณะ 9) และใช้สิ่งของต่างๆที่มีอยู่ให้คุ้มค่าสูงสุดโดยไม่ต้องหาซื้ออะไรเพิ่ม
    9.ในการทำงาน เราไม่จำเป็นต้องรู้ทุกเรื่องเพราะยิ่งทำไปอย่างต่อเนื่องเราจะเห็นทางออกของแต่ละปัญหาเอง
    10.การลงมือทำกสิกรรมอย่างจริงจังกับหมู่มิตรดี ช่วยให้เข้าใจสิ่งที่เคยเรียนรู้จากท่านอาจารย์หมอเขียวสอนทำกสิกรรมผ่านออนไลน์ ผู้เขียนเข้าใจมากขึ้นว่า เราต้องอดทนพยายามนี่คือทุกข์จากการหาเลี้ยงชีพ
    11.การปฎิบัติธรรมที่ถูกต้องถูกตรง ต้องปฏิบัติให้ลาดลุ่มไปตามลำดับ อย่าใจร้อน อย่าลัดขั้นตอน การที่ผู้เขียนใจร้อนอยากมีความรู้เร็วๆ เพื่อจะได้สอนคนอื่น เป็นสิ่งที่ปิดกั้นการเรียนรู้แทนที่จะลดกิเลสของตัวเองได้เร็วกลับทำให้ช้าลงและร้ายยิ่งกว่านั้นคืออัตตาก็โตขึ้นด้วย
    เราสามารถเอาประโยชน์ในทุกที่และทุกสถานการณ์ไม่ว่าจะดีหรือเลวร้ายแค่ไหนก็ตาม ผู้เขียนจะขอพากเพียรบำเพ็ญ ให้เกิดสภาวะกับตนเอง ทั้งการลดกามและอัตตา เปิดใจรับการเรียนรู้อย่างเต็มที่ เพื่อให้สามารถทำความผาสุกที่ตนแล้วค่อยช่วยคนที่ศรัทธาต่อไป ขอกราบขอบพระคุณท่านอาจารย์หมอเขียวและหมู่มิตรดีทุกท่านเป็นอย่างสูงค่ะ

    เขียนเมื่อ วันที่ 23 เดือนกรกฎาคม 2565
    โดย นางสาวปาวิดา ทองธวัฒน์ (อายุ 38 ปี)
    จิตอาสาคบคุ้น สังกัดภาคใต้ สวนป่านาบุญ 2 จังหวัดนครศรีธรรมราช
    นักศึกษาสถาบันวิชชาราม หลักสูตร 7 ปี ระดับอริยปัญญาตรี
    เข้ามาเรียนรู้แพทย์วิถีธรรมเมื่อ เดือนเมษายน 2564 เข้าใจลึกซึ้งว่า “นี่คือวิชาที่ทุกชีวิตต้องเรียน”

  5. เอมอร ศรีทองฉิม

    พุทธะชนะทุกข์
    รหัส 22
    ชื่อ นางเอมอร ศรีทองฉิม
    ชื่อทางธรรม เย็นน้ำคำ
    สังกัดสวนป่านาบุญ 2 อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช
    หมวด จิตใจ
    เรื่อง เย็นน้ำคำ เป็นกรรมฐานในการฝึกจิต
    คำสำคัญ กรรมฐาน/ประมาณให้พอเหมาะ/ตั้งศีล

    จากการขอกรรมฐานในการฝึกปฏิบัติตน จากอาจารย์หมอเขียว ดร.ใจเพชร กล้าจน ท่านให้ชื่อทางธรรมว่า “เย็นน้ำคำ” ผู้เขียนเป็นคนใฝ่รู้ ใฝ่เรียน ชอบศึกษาหาความรู้ โดยเฉพาะเรื่องสุขภาพ เป็นนักอ่านและชอบจดบันทึกซึ่งจะทบทวนพร้อมนำมาปฏิบัติจนเกิดผล เนื่องจากเคยเจ็บป่วยด้วยโรคที่เกิดจากพฤติกรรมมากกว่า 10 โรค ทั้งๆที่ประกอบอาชีพเป็นพยาบาลเข้าใจศาสตร์แพทย์แผนปัจจุบันเป็นอย่างดี จึงได้ศึกษาการแพทย์ทางเลือกเพิ่มเติม และนำใช้ปฏิบัติกับตนเองจนโรคต่าง ๆ หายขาดมานานกว่า 20 ปีแล้ว โดยเน้นทานอาหารธรรมชาติซึ่งสามารถแก้ไขอาการผิดปกติต่างๆได้ด้วยตนเองรวมทั้งใช้ชีวิตสู่วิถีธรรมชาติทั้งหมด งดใช้สารเคมีกับร่างกาย ตั้งแต่ยาสีฟัน สบู่ ยาสระผม เครื่องสำอางทุกชนิดงดใช้อย่างจริงจัง
    ผู้เขียนเป็นคนมีความรู้ศาสตร์ที่พึ่งตนเองได้กว้างขวางเพราะศึกษาและนำมาปฏิบัติจนเห็นผลได้จริง ร่วมกับได้ศึกษาเรื่องการแพทย์แผนปัจจุบัน ซึ่งเป็นหลักวิทยาศาสตร์และทำงานด้านนี้มา 35 ปี เคยทำงานห้องไอซียูเด็ก 17 ปี และทำงานดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เบาหวาน ความดัน ไขมัน โรคทั่วไป 18 ปี จึงมีประสบการณ์ในการดูแลสุขภาพได้ชัดเจน จะมีข้อเปรียบเทียบเห็นได้ชัดว่า แนวทางไหนที่ทำให้สามารถเอาตัวรอดได้ในเรื่องสุขภาพพึ่งตน
    การเป็นคนทำอะไรจริงจัง อดทน ไม่ท้อถอย ทำจนสำเร็จในงานส่งผลให้ประสบความสำเร็จในการดูแลสุขภาพมา25 ปี ไม่ต้องใช้ยาเคมีอีกเลย การออกกำลังกายก็ทำอย่างจริงจังสม่ำเสมอ ทำโยคะ ฝึกหายใจ เดินเร็ว ทำให้ร่างกายซ่อมแซมตัวเองได้ดี เมื่อมีอาการผิดปกติจะฟื้นตัวเร็วเห็นได้ชัด ด้วยลักษณะนิสัยชอบช่วยเหลือคน โดยเฉพาะเรื่องสุขภาพ จะพูดสอนให้คำแนะนำแก่ผู้มีปัญหาสุขภาพ และมีประสบการณ์ตรง รวมถึงความรู้ ศาสตร์ต่าง ๆ มาก จึงให้ข้อมูลแก่ผู้มีปัญหาสุขภาพ โดยไม่คำนึงว่ารู้จักหรือไม่รู้จัก จะชอบไปบอกแนะนำแก่คนที่พบเห็นอยู่บ่อยครั้ง บางคนชอบ บางคนไม่ชอบ ไม่ได้ประมาณในการพูดเลย หลังจากมาพบแพทย์วิถีธรรม ก็ยังมีนิสัยแบบนี้อยู่
    อาจารย์หมอเขียวได้เตือนเรื่องประมาณในการพูด ให้พูดน้อยลง ให้พูดช้า ๆ ผู้เขียนพบว่า
    “ยากมาก” เรื่องการพูดช้า ไม่สามารถพูดช้าเหมือนคนอื่นได้ จึงได้ตั้งศีลจะไม่พูดสอนคนที่ไม่ขอให้ช่วย และจะพูดให้น้อยลง พูดวิชาการให้น้อยที่สุดที่ตนทำได้
    ผ่านมาหลายเดือน การพูดเร็วทำยากกว่าการพูดให้น้อยลง พยายามตั้งสติแต่ทำยากมากในการพูดช้า การยอมฟังผู้อื่นให้มากขึ้น ลดอัตตาในตนที่เคยมีมา สภาวะในจิตรำคาญคนน้อยลงไปด้วย รู้สึกเป็นมิตรกับคนที่เรารำคาญ จากการตรวจสอบในจิตซ้ำแล้วซ้ำอีกพบว่าจิตไม่โกรธ ไม่รำคาญเหมือนเก่า
    จากการตั้งศีล ลด ละ กาม เรื่องอาหารทำง่ายกว่า จึงตั้งศีลมาลด ละเรื่องกามจากอาหาร กินไม่ปรุง กินพืชผักท้องถิ่น กินไม่เกิน 3 ชนิด ทำได้อยู่ 4 เดือน สภาวะในจิตเกิดอาการรำคาญคนลดลงด้วย กิเลสเป็นคลื่นพลังงานตัวเดียวกันจริง ๆ ดังที่อาจารย์หมอเขียวกล่าวสอนไว้
    การลดกาม ทำให้อัตตาลดลงได้จริง จึงเพียรทำต่อเนื่องไปตามลำดับ จิตเบาสบายขึ้นไปตามลำดับ การติดยึดในรูปลดลงไปด้วย ลองตรวจเช็คโดยตัดผมสั้นสุดเกือบติดหนังศีรษะดูว่าจิตหวั่นไหวในรูปหรือไม่ ปรากฎว่าสภาวะจิตรู้สึกมั่นคงพอสมควร อ่านกิเลสได้ดีขึ้นไปตามลำดับ จึงเพียรลด ละ สักกายะของตนที่มีอยู่ โดยปฏิบัติจรณะ 15 อ่านเวทนาในปัจจุบันขณะผัสสะมากระทบแยกเป็น 2 อย่างคือ 1.เวทนาแท้ 2.เวทนาเทียม เลือกเอาหนึ่ง เอาพุทธะ ละกิเลสไปตามลำดับ
    ด้วยเหตุผลดังกล่าวผู้เขียนจึงเพียรฝึกจิตให้ลด ละ กิเลสไปตามลำดับ โดยตั้งศีลมาปฏิบัติในข้อพร่องของตัวเองอยู่ โดยเฉพาะเรื่องพูด จะพยายามฝึกต่อไป ให้สมกับคำว่า “เย็นน้ำคำ”
    ขอกราบขอบพระคุณหาที่สุดมิได้ ที่ท่านอาจารย์หมอเขียวได้คอยสั่งสอน แนะนำ ลูกศิษย์ขอปฏิบัติบูชาไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะถึงที่สุดแก่ชีวิต ไม่จบชาตินี้ก็ชาติต่อไป พากเพียรต่อจนถึงที่สุดแห่งทุกข์

    บทความนี้เขียนเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2565
    ประวัติผู้เขียนโดยย่อ
    ชื่อ นางเอมอร ศรีทองฉิม
    ชื่อเล่น เขียว
    อายุ 58 ปี
    เป็นจิตอาสาประจำสวนป่านาบุญ 2 จังหวัดนครศรีธรรมราช
    เหตุผลที่เข้ามาเรียนแพทย์วิถีธรรมเพราะ เป็นการดูสุขภาพกายใจ โดยใช้หลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้ามาปฎิบัติ เป็นการแก้ที่เหตุ ดับทุกข์ที่ใจ ใช้อริยสัจในการดับทุกข์ มีหลักการปฎิบัติที่ชัดเจนสามารถพิสูจน์ได้จริง เป็นคุณค่าที่สุดของการมีชีวิต เข้าใจวัฏฏะของชีวิตได้ เป็นทางออกทางเดียวที่ไม่วนเวียน ความทุกข์ลดลงไปตามลำดับ จึงตั้งใจเรียนและพากเพียรปฎิบัติตามคำสอนของครูบาอาจารย์

  6. เอมอร ศรีทองฉิม

    พุทธะชนะทุกข์
    รหัส 22
    ชื่อ นางเอมอร ศรีทองฉิม
    ชื่อทางธรรม เย็นน้ำคำ
    สังกัด สวนป่านาบุญ 2 อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช
    หมวด จิตใจ
    เรื่อง แกงส้ม
    คำสำคัญ ติดรสชาติ/น้ำลายปีศาจ/กามภพ

    หลังจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารมาสู่การรับประทานอาหารแบบธรรมชาติที่เรียบง่าย ไม่ปรุงแต่ง จนสามารถรักษาอาการเจ็บป่วย 10 กว่าโรคหายได้โดยไม่ต้องใช้ยาเคมีใด ๆ รู้สึกตัวเองว่าสบาย เบาตัว มีกำลัง แข็งแรงเป็นปกติ ออกกำลังกายได้ดี จะเห็นว่าอาหารเป็นหนึ่งในโลกจริง ๆ สามารถใช้อาหารมาสร้างเซลล์ สร้างเนื้อเยื่อให้แข็งแรงได้จริง ๆ ผู้เขียนได้พิสูจน์ด้วยตัวเองจนกระทั่งหายป่วยและกลับมาใช้ชีวิตอย่างปกติได้อีกครั้ง
    ขณะที่ผู้เขียนยังทำงานรับราชการอยู่ได้อาศัยอยู่กับเพื่อนสนิท ซึ่งทำงานโรงพยาบาลด้วยกัน เขาจะเอาแกงส้มโรงพยาบาล ซึ่งเป็นอาหารเวรมารับประทานที่บ้าน ระยะเวลาผ่านมาจนถึงวันนี้ความทรงจำในอดีตได้กลับมา “แกงส้มโรงพยาบาล รสชาติถูกใจผู้เขียนยิ่งนัก” ซึ่งก่อนป่วยได้ทานอาหารรสจัด มีอาการอยากรับประทานอยู่

    เมื่อเห็นแกงส้มยังจำรสชาติได้ จึงเอาน้ำแกงกับผักในแกงมารับประทาน ความรู้สึกยังอร่อยมากมีความรู้สึกเดิม ๆ ขึ้นมารู้ว่ารสจัดไม่ดีโดยในขณะนั้นไม่ได้อ่านความรู้สึกในจิตเลยเนื่องจาก
    ยังอ่านกิเลสไม่เป็น แต่ภายในจิตลึก ๆ รู้ว่ากำลังทำไม่ถูกต้อง กระทั่งเพื่อนจิตอาสาบอกว่า นั่นแหละ “น้ำลายปีศาจ” พอได้ฟังดังนั้น รู้สึกละอายใจ ตัดสินใจเลิกรับประทานน้ำแกงส้ม
    ผู้เขียนได้ระลึกถึงแกงส้ม เอามาพิจารณาล้างกิเลส ชอบมุมไหนของแกงส้มโรงพยาบาล จิตไปติดอุปาทานที่กลมกล่อม เป็นรสของแกงส้มในการปรุงแต่งอย่างนั้น แต่ใจที่ไปชอบนี่เป็นกิเลส ไปติดรสชาติ จึงพิจารณา วิปลาส 4 มันไม่เที่ยง ความอยากเป็นทุกข์ ไม่มีสาระ ไม่น่าเอา การรับประทานอาหารที่ไม่ปรุงแต่ง รับประทานอาหารธรรมชาติดีกว่า ไม่ต้องยุ่งยาก เหน็ดเหนื่อยในการปรุงอาหาร ไม่มีพิษ ร่างกายเบาสบายกว่าการกินปรุง การไม่ติดรสชาติอาหาร เป็นคนเรียบง่าย ชีวิตจะสบาย ไม่วุ่นวายหาอาหารมาเสพให้เหนื่อย จิตจะสงบได้ดีกว่ามาก
    ผู้เขียนได้ตรวจสอบว่าทำได้จริงหรือไม่ เมื่อมีแกงส้มมาวางบนโต๊ะอาหาร ก็สามารถปหาน ระดับกามภพ ไม่ตักมารับประทานแล้ว แต่ใจยังชื่นใจที่เห็นแกงส้มอยู่ จะพากเพียรล้างกิเลสตัวนี้ต่อไปให้ได้ถึงที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้

    บทความนี้เขียนเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2565
    ประวัติผู้เขียนโดยย่อ
    ชื่อ นางเอมอร ศรีทองฉิม
    ชื่อเล่น เขียว
    อายุ 58 ปี
    เป็นจิตอาสาประจำสวนป่านาบุญ 2 จังหวัดนครศรีธรรมราช
    เหตุผลที่เข้ามาเรียนแพทย์วิถีธรรมเพราะ เป็นการดูสุขภาพกายใจ โดยใช้หลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้ามาปฎิบัติ เป็นการแก้ที่เหตุ ดับทุกข์ที่ใจ ใช้อริยสัจในการดับทุกข์ มีหลักการปฎิบัติที่ชัดเจนสามารถพิสูจน์ได้จริง เป็นคุณค่าที่สุดของการมีชีวิต เข้าใจวัฏฏะของชีวิตได้ เป็นทางออกทางเดียวที่ไม่วนเวียน ความทุกข์ลดลงไปตามลำดับ จึงตั้งใจเรียนและพากเพียรปฎิบัติตามคำสอนของครูบาอาจารย์

  7. เอมอร ศรีทองฉิม

    พุทธะชนะทุกข์
    รหัส 22
    ชื่อ นางเอมอร ศรีทองฉิม
    ชื่อทางธรรม เย็นน้ำคำ
    สังกัด สวนป่านาบุญ 2 อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช
    หมวด จิตใจ
    เรื่อง เห็นทุกข์จึงเห็นธรรม
    คำสำคัญ วิบาก/ธรรมะแท้/ปฎิบัติธรรม
    ผู้เขียนเคยเจ็บป่วยเป็นโรคมากกว่า 10 โรค และได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจนหายป่วย อาการของโรคต่าง ๆ เช่น ภูมิแพ้ไม่กลับมาเป็นอีกเลย เฝ้าถามตัวเองว่า เกิดมาทำไม แล้วได้อะไรในการมีชีวิต ?
    จึงไปปฏิบัติธรรรมตามวัดต่าง ๆ ในจังหวัดที่ตัวผู้เขียนได้อาศัยอยู่ การปฏิบัติธรรมมีรูปแบบเดียวกันหมด คือ มีพิธีกรรม สวดมนต์ ไหว้พระ นั่งหลับตาทำสมาธิ เดินจงกรม อุทิศบุญกุศลให้เจ้ากรรมนายเวร
    จนระยะเวลาผ่านไปเป็น 10 ปี ในความรู้สึกลึก ๆ คิดว่าไม่ใช่ทางนี้ มันยังทุกข์อยู่ ทุกข์ใจ หนักใจ ไม่โปร่ง ไม่โล่ง ไม่สบาย อึดอัดกับคนที่อยู่ด้วย ยังรู้สึกว่าจิตมีโทสะกับเรื่องที่ไม่ได้ดั่งใจอยู่มาก
    การนั่งหลับตาทำสมาธิจะช่วยให้จิตใจสงบชั่วคราว เมื่อออกมาเจอสิ่งที่มากระทบเหตุการณ์ที่ไม่ดีก็จะรู้สึกมีอาการไม่สบายใจ โดยเฉพาะเรื่องลูก เมื่อเห็นเขามีพฤติกรรมเรื่องสุขภาพไม่ดี ก็อยากให้เขามีสุขภาพดี อยากให้เขารับประทานอาหารสุขภาพ อยากให้เขาออกกำลังกายให้ร่างกายแข็งแรง อยากให้เขาเป็นเด็กดีไม่ดื้อ ใช้จ่ายประหยัด รู้จักคิดก่อนใช้สอย เมื่อเขาไม่ทำตามก็ทุกข์ใจมาก จะทำอย่างไรดี ?
    เมื่อมาศึกษาแพทย์วิถีธรรม อาจารย์หมอเขียวได้สอนเรื่องนี้ด้วย ในบททบทวนธรรม ครั้งแรกที่อ่าน มีอยู่บทหนึ่ง ทำให้ตัวผู้เขียนถึงกับอึ้งไปเลยคือ “ทำร้ายเขามาตั้งมากตั้งมาย ยังมีหน้าไปโกรธไปเกลียดเขาอีก มันชั่วเกินไปแล้วเรา” สิ่งที่เราทำมาทั้งหมด มันชั่วหรือ? การที่เราตามใจเขาเป็นสิ่งชั่ว เราอยากให้เขาได้ดีซึ่งทางโลกเขาต้องการเช่นนี้
    เมื่อได้ทบทวนซ้ำ ๆ และน้อมใจคิดอย่างพิจารณา ใช่ ๆ ๆ ใช่เลย! เพราะเราตามใจเขา จนเขาได้ดั่งใจ พอไม่ได้ดั่งใจ เขาจะโกรธ ไม่พูดด้วย ไม่มองหน้า เป็นการเลี้ยงลูกที่ผิด อาจารย์หมอเขียวบอกว่า “ตามใจ คือนรกใหญ่” เมื่อเขาไม่ได้ดั่งใจจะทุกข์
    เมื่อรู้ธรรมะจะไปปรับทันทีก็ไม่ได้ จึงต้องใคร่ครวญว่าจะทำอย่างไร? จึงเอาคำสอนอาจารย์หมอเขียวมาปฏิบัติ สอนเท่าที่สอนได้ สอนไม่ได้ก็ไม่ต้องสอน ปล่อยให้สัตบุรุษของเขาสอน หรือทุกข์ของเขาสอนแทน
    ทุกคนไม่อยากทุกข์ ที่เขาทำเพราะเขาไม่รู้ ถ้าเขารู้เขาจะไม่ทำ อย่าได้ห่วงใคร ๆ เลย เมื่อเขาทุกข์จนเกินทน เขาจะกลับมาปฏิบัติธรรม สุดท้ายทุกคนก็จะพ้นทุกข์ได้เอง ไม่มีอะไรเป็นของใครเลย สมบัติที่แท้จริงของเรา คือความว่างเปล่า
    ที่เราต้องมาเจอกันนั่นคือ วิบากของเรา ที่ทำให้เราต้องมาพบเจอ สิ่งที่ทำได้คือทำปัจจุบันให้ดี วิบากครั้งนี้มันคืออดีตที่ผ่านมาของเราเองทั้งหมด การจะแก้ไข ดับทุกข์ ดับที่เราเท่านั้น ที่ใจเราเอง ไม่ใช่แก้ที่เหตุการณ์ ไม่ใช่แก้ที่ผู้อื่น และปฏิบัติธรรมในปัจจุบันขณะเจอผัสสะนั้นเอง ไม่ใช่ไปนั่งหลับตาคิดเอา ปัจจุบันเป็นจริงที่สุด
    ไม่ต้องส่งจิตไปคิดอดีตที่ผ่านมา และอนาคตที่ยังไม่ถึง ให้ตั้งศีลมาปฏิบัติในสิ่งที่ตัวเองติดยึด ที่ทำให้ต้องทุกข์ ทำไปเรื่อย ๆ ตามฐานจิตของตนที่พอจะทำได้อย่างเบิกบานใจ ให้มีสติระลึกรู้ตัว เมื่อเจอผัสสะ อ่านกิเลสให้ออก พิจารณาล้างกิเลส โดยใช้กฎไตรลักษณ์ วิปลาส 4 กฎแห่งกรรม ประโยชน์โทษ สนิทานแรงเหนี่ยวนำจะส่งผลอย่างไรกับตัวเอง และผู้อื่น พากเพียรทำสม่ำเสมอ ทำให้มากเจริญให้มาก
    ถ้าไม่ทุกข์ คงไม่ได้มาพบธรรมะแท้ที่ถูกตรง ปฏิบัติได้ในชีวิตประจำวัน การปฏิบัติธรรมก็ไปตามขั้นตอน เบื้องต้น ท่ามกลาง บั้นปลาย หัดล้างอบายมุขออกก่อน และไปที่กามคุณ 5 ต่อไปก็อัตตา โลกธรรมเพราะพลังงานกิเลสเชื่อมโยงกันหมด ล้างกามได้ อัตตาก็จะลดลงด้วย หลังจากปฏิบัติตามคำสอนอาจารย์ ได้พบสภาวะที่เกิดในจิตตามลำดับ เบาใจขึ้น รู้สึกโล่งในจิตมากขึ้นเป็นลำดับ ๆ
    จะขอพากเพียรล้างกิเลส โดยการตั้งศีลมาปฏิบัติทุก ๆ วัน ไปตามฐานจิตตนที่ทำได้ “ตั้งตนบนความลำบาก กุศลธรรมเจริญยิ่ง” แต่ไม่ลำบากจนทรมาน เอาที่เบิกบานผาสุก รู้สึกว่าถ้าลำบากในขีดที่ไม่ทรมาน จะทำให้แข็งแกร่งขึ้น กุศลก็มากขึ้น
    จะเห็นได้จากการทำงาน ตอนเจอวิบากร้าย จะมีวิบากดีมารองรับเกือบทุกครั้ง รู้สึกทึ่งในธรรม เช่น ไปตัดกิ่งไม้ที่จะทำแปลงกสิกรรม มีดฟันโดนมือ ถุงมือขาด แต่ไม่เป็นอะไรเลย ไม่มีบาดแผล งงมาก อีกเหตุการณ์คือกิ่งไม้ไผ่ดีดเข้าลูกตา แต่ไม่เจ็บ ไม่มีอาการใดๆ เกิดขึ้นในตาเลย
    เหตุเพราะชีวิตมีแต่ทุกข์ จึงทำให้มาพบธรรมะแท้ ขอขอบพระคุณทุกผัสสะ ที่ทำให้เห็นทุกข์ ได้ปฏิบัติสู่ความพ้นทุกข์ ขอขอบพระคุณพ่อบ้านที่ท่านจากไปแล้ว ก่อนท่านเสียชีวิต ได้ชดใช้วิบาก ขอขอบคุณลูกที่มาเป็นบททดสอบ ให้ฝึกฝนจิตใจ เห็นกิเลสในตัวผู้เขียน จึงขอพากเพียรลดกิเลสไปเรื่อย ๆ จนกว่าชีวิตจะหาไม่ ด้วยความยินดี
    ขอน้อมกราบขอบพระคุณอาจารย์หมอเขียวเป็นอย่างสูงยิ่ง ที่เมตตาสั่งสอน อบรมให้ธรรมะทุกๆ วัน อย่างไม่เห็นแก่เหน็ดเหนื่อย

    บทความนี้เขียนเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2565
    ประวัติผู้เขียนโดยย่อ
    ชื่อ นางเอมอร ศรีทองฉิม
    ชื่อเล่น เขียว
    อายุ 58 ปี
    เป็นจิตอาสาประจำสวนป่านาบุญ 2 จังหวัดนครศรีธรรมราช
    เหตุผลที่เข้ามาเรียนแพทย์วิถีธรรมเพราะ เป็นการดูสุขภาพกายใจ โดยใช้หลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้ามาปฎิบัติ เป็นการแก้ที่เหตุ ดับทุกข์ที่ใจ ใช้อริยสัจในการดับทุกข์ มีหลักการปฎิบัติที่ชัดเจนสามารถพิสูจน์ได้จริง เป็นคุณค่าที่สุดของการมีชีวิต เข้าใจวัฏฏะของชีวิตได้ เป็นทางออกทางเดียวที่ไม่วนเวียน ความทุกข์ลดลงไปตามลำดับ จึงตั้งใจเรียนและพากเพียรปฎิบัติตามคำสอนของครูบาอาจารย์

  8. เอมอร ศรีทองฉิม

    พุทธะชนะทุกข์
    รหัส 22
    ชื่อ นางเอมอร ศรีทองฉิม
    ชื่อทางธรรม เย็นน้ำคำ
    สังกัด สวนป่านาบุญ 2 อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช
    หมวด จิตใจ
    เรื่อง สมาธิพุทธ
    คำสำคัญ จิตสงบ/คลายทุกข์/อ่านเวทนา

    เมื่อก่อนอยากปฏิบัติธรรม เพราะเห็นว่าชีวิตนี้เกิดมาแล้ว ก็ต้องตาย ก่อนตายอยากปฏิบัติธรรมให้รู้เพื่อเป็นสิ่งที่ติดตัวไปหลังความตายจะได้เป็นที่พึ่ง คิดอย่างนี้มาตลอด คิดว่าทำดีจะได้ไปสวรรค์ ไม่อยากลงนรก
    จึงไปฝึกปฏิบัติธรรมตามวัดต่าง ๆ ซึ่งมีแบบการสอนคล้ายกันหมดคือ ฟังธรรมเทศนา สวดมนต์ ไหว้พระ นั่งสมาธิหลับตา เดินจงกรม กรวดน้ำอุทิศบุญกุศลให้เจ้ากรรมนายเวร
    ได้ปฏิบัติตามที่ท่านสอน และอ่านหนังสือธรรมะ เข้าใจได้ระดับหนึ่ง แต่ทำไม เมื่อเจอเรื่องร้าย ๆ ในชีวิตมันยังทุกข์มาก สามีตาย ทุกข์ใจมาก ทั้ง ๆ ที่รู้ว่าเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นของธรรมดา ไม่ควรไปยึดมั่นถือมั่น ดั่งคำพระสอน ลูกดื้อก็ทุกข์ใจแสนสาหัสธรรมะที่ไปปฏิบัติมากลับช่วยไม่ได้เลย ยังห่วงอาลัยในชีวิตตัวเองมาก
    จิตใจหวั่นไหว กวัดแกว่ง กังวล กลัวความพลัดพรากเป็นที่สุดทั้ง ๆ ที่ทำสมาธิหลับตาภาวนา ดั่งพระสอนมาทุกวันๆ จึงเกิดคำถามว่า หรือเรายังทำไม่พอ? เมื่อไม่ถึงจุดที่ปัญญาจะเกิดดั่งพระว่ามาก็ทำไปเถอะ ทำมาก ๆ นั่งสมาธิเจริญภาวนา ปัญญาจะเกิดเอง นั่งมา 10 กว่าปี จนได้สมาธิลึกขึ้น จิตสงบ นิ่ง สุข ซึ่งได้สภาวะนี้ 7 วัน หลังจากนั้นเมื่อเจอเหตุการณ์ร้ายๆ ก็ทุกข์ใจทันทีจึงระลึกได้ว่า ปฎิบัติแบบนี้ไม่ยั่งยืนเลย
    พระพุทธเจ้าตรัสว่า ธรรมะไม่เนิ่นช้า ถ้าทำได้ถูกตรง หรือเราทำไม่ถูกตรง ผิดตรงไหน ทำไมกลับไปกลับมา เดี๋ยวสงบ เดี๋ยวไม่สงบ
    หลังจากฟังอาจารย์หมอเขียวบรรยายธรรม แล้วลองปฏิบัติดู ในกิจวัตรประจำวัน ตั้งศีลมาลด ละ เลิก สิ่งที่เราติดยึด ให้สำรวมอินทรีย์ ให้ประมาณในการบริโภคใช้สอย ให้ตื่นรู้กิเลส อ่านกิเลสให้ออก จับเวทนาให้ได้ นำมาพิจารณาล้างกิเลส โดยใช้กฎไตรลักษณ์ วิปลาส 4 กฎแห่งกรรม ประโยชน์-โทษ สนิทานแรงเหนี่ยวนำ พลังคลื่นที่ส่งออกไปจากการกระทำ ต้องคอยรับผลกรรมด้วย เกิดศรัทธามากขึ้น รู้สึกเบาในจิตมากขึ้น รู้สึกละอาย ไม่กล้าทำบาปได้มากขึ้น
    เมื่อฟังอาจารย์หมอเขียวบ่อยๆ จึงเข้าใจ ได้ตั้งสติและพากเพียรปฏิบัติ เจริญให้มากขึ้นในจิตของเรา จนสามารถเกิดปัญญาได้ด้วยตัวเองว่า อ๋อ นี้คือการปฏิบัติจรณะ 15 ที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนให้ปฏิบัติแบบนี้นี่เอง ได้สมาธิพุทธ เกิดฌาณ ไฟฌาณจะไปเผาราคะ โทสะ โมหะ ในจิตเรา ทำให้ราคะ โทสะ ลดลงได้ เช่น เห็นของอร่อยที่เคยชอบ เมื่อตั้งศีลมาลด ละ เลิก เมื่อเจอของที่ชอบก็รู้สึกสงบ ไม่หวั่นไหว อยากเสพมากเหมือนเมื่อก่อน เห็นความต่างของจิตได้ชัดเจนว่า พัฒนาขึ้นทีละนิด จิตเบาขึ้น สว่างมากขึ้น เข้าใจธรรมะมากขึ้น ธรรมะสอดร้อยกันไปในทางเดียวกัน ไม่แย้งกันเลยจริง ๆ ด้วย
    ลดอบายมุขได้ ลดกามได้ ลดอัตตาได้ตามลำดับ ความทุกข์มากมายในจิต เริ่มทยอยสลายลงได้ รู้สึกได้จากที่หนักอึ้งในอดีต แต่ปัจจุบันทุกข์น้อยลงกว่าเดิมอย่างมาก
    ปัญญามาจากการปฏิบัติศีลที่ลด ละ เลิก กิเลสนี่เอง เลิกสิ่งที่ติดยึด อยากในสิ่งนั้น ๆ ออกเมื่อความอยากลดลง ความทุกข์ก็จะลดลงจริง ๆ ด้วย การเห็นกิเลสนี่ยากมากจริง ๆ เพราะกิเลสเป็นนามธรรม ยากจะรู้ได้ง่าย ๆ ถ้าไม่ตั้งศีลมาปฏิบัติ จะไม่มีทางเห็นได้เลย

    การรับฟังคำสอนจากสัตบุรุษ แล้วน้อมมาพิจารณาให้ถึงจุดที่เกิด ผลที่ได้รับคือจะทำให้เข้าใจมากขึ้น แล้วปฏิบัติดู จะเห็นผลจริง ๆ
    การมีสติระลึกรู้ตัว เมื่อเจอผัสสะมากระทบ แล้วอ่านเวทนาในจิตให้ออกว่านี่กิเลส นี่พุทธะ ก็เป็นเรื่องยากมาก ต้องทำให้มากเจริญให้มาก อยู่กับหมู่มิตรดี ที่คอยช่วยเหลือกัน การบอกกล่าว ตักเตือน เป็นเรื่องสำคัญมาก
    การเดินสายโลกุตระ จะสวนกระแสทางโลกอย่างมาก ชนิดตรงกันข้ามเลยทีเดียว ทางโลกชื่นชม ลาภ ยศ สรรเสริญ ทางธรรม โลกุตระ จะมักน้อย สันโดษ ไม่ชื่นชมในการเสพกามคุณ 5 เป็นคนวรรณะ 9 ซึ่งเป็นคุณสมบัติของการบรรลุธรรม ก้าวข้ามความทุกข์ได้ สู่จิตที่อุเบกขาพุทธ จากการปฏิบัติ จรณะ 15 วิชชา 8 คือจิตมีสมาธิพุทธนั่นเอง
    องค์คุณอุเบกขา 5 คือจิตบริสุทธิ์ จากนิวรณ์ 5 ปริโยทาตา จิตสะอาดผ่องใสขณะมีผัสสะมากระทบ ไม่หวั่นไหวตาม มุทิตาจิตละเอียดอ่อน แววไว ดัดง่าย กัมมัญญาจิตควรแก่การงาน พร้อมปรับพร้อมเปลี่ยนไร้อคติ ปภัสสราจิตผ่องใส แวววาว แม้มีผัสสะก็ผ่องใส สมาธิพุทธลักษณะจิตจะเป็นแบบนี้ จิตพร้อมจะทำงาน ฉับไว คล่องแคล่ว ว่องไว ไม่ใช่เฉย ๆ บื้อ ๆ ไม่ยินดี ยินร้าย เฉย ๆ วางเฉยไม่สนใจ สมาธิพุทธ จึงได้มาจากการปฏิบัติศีลที่ถูกตรง จนเกิดปัญญา ไม่ใช่หลับตาแล้วหนีผัสสะ
    ขอน้อมกราบพ่อครูสมณะโพธิรักษ์ สมณะทุกรูป สิกขมาตุ อาจารย์หมอเขียว ที่เคารพยิ่ง ที่คอยสั่งสอน บอกกล่าวให้ตัวผู้เขียนได้รับรู้ นำมาปฏิบัติจนได้สัมผัสธรรมะแท้ จนรู้สึกความหนักในจิตเบาลงไปตามลำดับ ๆ มีความสว่างในจิตไม่มืดมัวเหมือนแต่ก่อน นับเป็นความกรุณาหาที่สุดมิได้ ขอกราบคารวะ

    บทความนี้เขียนเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2565
    ประวัติผู้เขียนโดยย่อ
    ชื่อ นางเอมอร ศรีทองฉิม
    ชื่อเล่น เขียว
    อายุ 58 ปี
    เป็นจิตอาสาประจำสวนป่านาบุญ 2 จังหวัดนครศรีธรรมราช
    เหตุผลที่เข้ามาเรียนแพทย์วิถีธรรมเพราะ เป็นการดูสุขภาพกายใจ โดยใช้หลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้ามาปฎิบัติ เป็นการแก้ที่เหตุ ดับทุกข์ที่ใจ ใช้อริยสัจในการดับทุกข์ มีหลักการปฎิบัติที่ชัดเจนสามารถพิสูจน์ได้จริง เป็นคุณค่าที่สุดของการมีชีวิต เข้าใจวัฏฏะของชีวิตได้ เป็นทางออกทางเดียวที่ไม่วนเวียน ความทุกข์ลดลงไปตามลำดับ จึงตั้งใจเรียนและพากเพียรปฎิบัติตามคำสอนของครูบาอาจารย์

  9. โสภา หนำคอก

    พุทธะชนะทุกข์
    รหัส 12
    ชื่อ โสภา หนำคอก
    ชื่อทางธรรม ผ่องทางธรรม
    สังกัดสวนป่านาบุญ 2 อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช
    หมวด จิตใจ
    เรื่อง แช่งแม่ผี
    คำสำคัญ วางใจ/เพ่งโทษ/ติดดี/ไม่ได้ดั่งใจ

    การส่งการบ้านของนักศึกษาสถาบันวิชชาราม เป็นกิจกรรมที่มีประโยชน์อย่างมาก ผู้เขียนเห็นว่านี้คือขุมทรัพย์มหาศาลอันไม่อาจประเมินค่าได้ เพราะเป็นขุมทรัพย์ทางปัญญา ตักตวงไปใช้เท่าไหร่ก็ไม่หมด เป็นขุมทรัพย์ที่ยิ่งใช้ยิ่งเพิ่มมากขึ้นด้วย
    ผู้เขียนมีโอกาสในการรับการบ้าน และในการปฏิบัติหน้าที่ของคุรุทุกครั้งก็ตั้งใจทำหน้าที่ อย่างเต็มความสามารถที่สุด รู้สึกมีความสุขที่ได้เห็นความก้าวหน้าในฐานจิตของนักเรียนที่มาส่งการบ้าน และในขณะเดียวกัน คุรุผู้รับการบ้านก็ได้พัฒนาฐานจิต สามารถจับอาการกิเลส และล้างได้เป็นลำดับอีกด้วย
    เช้าวันหนึ่งของการส่งการบ้าน ผู้เขียนเตรียมตัวเข้า Zoom และตั้งใจปฏิบัติหน้าที่คุรุเหมือนเช่นทุกครั้ง เหตุการณ์ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้น หลังจากนั่งรับการบ้านได้ไม่นาน ไฟฟ้าดับ ! อารมณ์หงุดหงิดพุ่งสูงขึ้นทันที ผู้เขียนลืมบทเรียนที่ท่านอาจารย์หมอเขียวสอนไปชั่วขณะ ต้องล้างใจอยู่นานพอสมควร โดยใช้บททบทวนธรรม ข้อที่ 120 “ปัญหาไม่เคยหมดไปจากชีวิตของเรา มีแต่ทุกข์เท่านั้นที่หมดไปจากใจของเรา” และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นครั้งนี้ มันอยู่เหนือการควบคุมของเรา เราจะมานั่งทุกข์อยู่ทำไม ไฟดับก็ไม่ต้องเข้ารายการ จะได้ไปทำงานอย่างอื่นแทน
    หลังจากนั้นจึงได้รับรู้ความจริงว่า การไฟฟ้าเขามาเปลี่ยนเสาไฟฟ้าใหม่ ซึ่งผู้เขียนสามารถมองเห็นได้จากหน้าบ้านของผู้เขียนเอง และได้รับรู้จากน้องชายว่า เขาแจ้งแล้ว แต่ผู้เขียนไม่ทราบเอง
    เหตุการณ์ครั้งนี้ ทำให้ผู้เขียนได้เห็นความก้าวหน้าของตัวเอง โดยหากเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นก่อนที่จะได้เข้ามาเป็นลูกศิษย์ของท่านอาจารย์หมอเขียว ผู้เขียนต้องนั่ง “แช่งแม่ผี” อยู่คนเดียวอย่างแน่นอน คำนี้เป็นภาษาใต้ใช้อธิบายลักษณะของการกล่าวโทษ คือด่าไปทั่ว ทั้งคน สัตว์ สิ่งของ คนโบราณจะเรียกว่า “แช่งชักหักกระดูก” นอกจากนี้ผู้เขียนจะ “พร้อมบวก” เป็นภาษาวัยรุ่น ใช้อธิบายลักษณะของการพร้อมชน พร้อมรบ พร้อมสู้ พร้อมแลกกับทุกอย่างเพื่อให้ได้ ในสิ่งที่ใจต้องการ โดยไม่คิดถึงผลเสียที่จะตามมา โดยเหตุการณ์นี้ ผู้เขียนต้องโทรไปหาการไฟฟ้าเพื่อถามว่าทำไมไม่แจ้งล่วงหน้า หรือไม่ก็เดินไปต่อว่าเจ้าหน้าที่เลยในตอนนั้น
    ผู้เขียนได้เห็นการ “ติดดี” คือการได้นั่งรับการบ้านจะได้ดั่งใจ จะมีความสุข จะรู้สึกเบิกบาน การที่ไฟฟ้าดับ ไม่สามารถรับการบ้านได้ ทำให้เป็นทุกข์ ต้องกราบขอบพระคุณท่านอาจารย์หมอเขียวเป็นอย่างสูง ที่สอนให้ศิษย์คนนี้ สามารถวางใจได้ ใจเย็นลงได้เร็ว และหยุดการ “แช่งแม่ผี” ได้สำเร็จแล้ว สาธุค่ะ

    บทความนี้เขียนเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2565
    ประวัติผู้เขียนโดยย่อ นางโสภา หนำคอก อายุ 67 ปี
    ชื่อเล่น โส ชื่อทางธรรม ผ่องทางธรรม
    กำลังศึกษาระดับอริยปัญญาโท จิตอาสาแพทย์วิถีธรรม สังกัดสวนป่านาบุญ 2

  10. โสภา หนำคอก

    พุทธะชนะทุกข์
    รหัส 12
    ชื่อ นางโสภา หนำคอก
    ชื่อทางธรรม ผ่องทางธรรม
    สังกัด สวนป่านาบุญ 2 อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช
    หมวด : จิตใจ
    เรื่อง มะเร็งอารมณ์
    คำสำคัญ : เพ่งโทษ/เห็นแก่ตัว/สะสมกิเลส

    หลายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิต เราอาจมองว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย คงไม่ก่อโทษภัยใด ๆ แต่หารู้ไม่ว่า เรากำลังจุดชนวนระเบิดโดยไม่รู้ตัว
    เหตุการณ์ที่ทำให้ได้บทเรียนสำคัญในเรื่องนี้ เกิดขึ้นในเย็นวันหนึ่ง เมื่อผู้เขียนนึกขึ้นได้ว่า มีต้นฝรั่งกิมจูที่ปลูกเอาไว้นานแล้ว จึงตัดสินใจเดินถือตะกร้า และลุยพงหญ้าที่ขึ้นรกท่วมหัวแทบหาต้นฝรั่งกิมจูไม่เจอ เวลาผ่านไปเกือบ 1 ชั่วโมง ผู้เขียนเก็บฝรั่งกิมจูที่ออกผลในรอบแรกได้ 10 ผล เดินกลับบ้านด้วยความเหน็ดเหนื่อย แต่ก็ภาคภูมิใจในผลงานกสิกรรมไร้สารพิษของตนเอง
    ก่อนถึงบ้าน ผู้เขียนพบกับญาติผู้ใหญ่ท่านหนึ่ง
    ญาติ : ไปไหนมา ?
    ผู้เขียน : ไปเก็บฝรั่งกิมจูมา
    ญาติ : ไหน ๆ ดูซิ ได้มากี่ลูก
    ผู้เขียน : (ส่งตะกร้าให้ดู)
    ญาติ : โอ้โห้ ! ได้มาหลายลูกเลย สวย ๆ น่ากิน เพิ่งปลูกเองได้รับผลแล้ว ดีจัง
    ผู้เขียน : เอามั้ย ? (เปิดตะกร้าให้หยิบ และญาติหยิบไป 1 ลูก)
    สภาวะของผู้เขียนตอนนั้น รู้สึกยินดีที่ท่านหยิบไป ผู้เขียนเดินต่อไปอีกสักพักก็ได้พบกับป้า
    ป้า : ไหนดูซิ ได้มากี่ลูก
    ผู้เขียน : ส่งตะกร้าให้ดู แล้วถามว่าเอามั้ยกินมั้ย (เลือกฝรั่งกิมจู ลูกที่ใหญ่ที่สุด และสวยที่สุด ส่ง
    ให้ 1 ลูก)
    ป้า : (รับฝรั่งกิมจู แล้วกัดกิน 1 คำ)
    สภาวะของผู้เขียนในขณะนั้น รู้สึกยินดี ที่ป้าได้กินของที่เราปลูกเอง เมื่อผู้เขียนถึงบ้านก็ได้พบกับอา
    อา : ได้มากี่ลูก
    ผู้เขียน : (วางตะกร้าลง แล้วเดินไปล้างมือ)
    ป้า : (พูดเสียงดัง) เอ้า ๆ นั้นพรือ (ทำไม) หยิบของมัน (ผู้เขียน) ไปเกือบหมด และก็เลือกเอาแต่ลูกใหญ่ ๆ สวย ๆ เพ (สวย ๆ ทั้งนั้น)
    ผู้เขียนหันไปมอง สิ่งที่เห็นนั้นคือในมือของอามีฝรั่งกิมจู ข้างละ 2 ลูก สภาวะของผู้เขียนตอนนั้นรู้สึกขุ่นในใจ ไม่พอใจขึ้นมาทันที ด้วยเหตุผล (ของมาร) มันมีความคิดและยึดว่า
    1. ฝรั่งกิมจูนี้เป็นของเรา เราปลูกเอง
    2. นี้มันเป็นรุ่นแรก เราต้องเป็นคนเลือกก่อน
    3. เราอุตส่าห์ลุยพงหญ้ารก ๆ ไปเก็บมา (มันเหนื่อยนะ)
    4. หยิบไปแต่ลูกดี ๆ สวย ๆ แล้วก็กินไม่หมดหรอก
    แล้วผู้เขียนก็พูดกับอาว่า “เอาไปทั้งตะกร้านั้นแหละ” (พูดแบบประชด ไม่จริงใจ) ซึ่งอาได้ตอบกลับมาว่า “เอ้าเหรอ !
    แล้วตะกร้าละไม่เอากลับเหรอ” เมื่อผู้เขียนได้ยินประโยคที่อาถามกลับมาก็รู้สึกขำมาก แล้วก็หัวเราะออกมา สภาวะที่เคยขุ่นเคืองใจมันหายไปทันที เพราะรู้ทันกิเลสว่า เออหนอ เราโดนมารเล่นงานเสียหนักเลย ผิดศีลมากมายเพียงแค่ยึดว่า ของนั้นเป็นของเรา และความคิดที่ว่า ยินดีให้โดยไม่หวังสิ่งตอบแทนก็ไม่ใช่ เพราะผู้เขียนยังหวังว่า เขาต้องเอาแต่สิ่งที่เราไม่หวง อันไหนที่ยังหวง เขาจะเอาไปไม่ได้ กิเลสมันซ้อนไปซ้อนมา พอเริ่มจับมันได้ ล้างใจได้ จึงได้รู้ว่า เรานี้ก็โง่พิเศษได้ในชั่วพริบตา เหมือนดั่งที่ท่านอาจารย์หมอเขียวสอนว่า “ทำดีมาตั้งมากตั้งมาย สุดท้ายมาเทให้หมาขี้เรื้อนกินเสียเฉย ๆ “
    ผู้เขียนได้ขออโหสิกรรมอา และอาก็บอกว่า ตัวเขาเองชอบฝรั่งกิมจูและเบื่อกล้วยน้ำว้า เพราะผู้เขียนชวนให้ท่านกินมา 3 วันแล้ว (เนื่องจากผู้เขียนรับอามาดูแลที่บ้าน
    ข้อคิดสำคัญที่ได้จากเรื่องนี้คือ เราต้องพากเพียรฝึกฝนให้รู้เท่าทันความคิดที่เกิดจากการชักนำของกิเลส และรีบกำจัดมันในทันที เพราะหากปล่อยมันไว้ ก็จะกลายเป็นขยะกองสุมในจิต ไม่ต่างอะไรกับการจุดชนวนระเบิด กระทั่งมารู้ตัวก็ควบคุมอะไรไม่ได้ กลายเป็นมะเร็งร้ายในอารมณ์ ขอบคุณเหตุการณ์ในครั้งนี้ ขอบคุณความพากเพียรฝึกฝนของตนเองมาอย่างต่อเนื่อง ช่วยเปลี่ยนความรู้สึกขุ่นเคืองในใจ ให้กลายมาเป็นความเบิกบานได้ในที่สุด สาธุ

    บทความนี้เขียนขึ้นเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2565
    ประวัติผู้เขียน นางโสภา หนำคอก ชื่อเล่น โส อายุ 67 ปี
    จิตอาสาจร สังกัดสวนป่านาบุญ 2
    นักศึกษาวิชชารามระดับอริยปัญญาโท (หลักสูตร7 ปี)

Comments are closed.