แบ่งปันการเรียนรู้อริยสัจ 4 (พฤษภาคม 65) [7]

แบ่งปันการเรียนรู้ในชีวิตประจำวัน

นักศึกษาสถาบันวิชชาราม แบ่งปันสภาวธรรมจากการเรียนรู้การใช้หลักอริยสัจ 4 ประจำวันที่ 1-31 พฤษภาคม 2565

!?ปิดรับบทความในวันที่ 31 พฤษภาคม 2565 เที่ยงคืน ตามเวลาในประเทศไทย

?กรอกข้อมูลในช่องความคิดเห็นด้านล่าง

7 thoughts on “แบ่งปันการเรียนรู้อริยสัจ 4 (พฤษภาคม 65) [7]”

  1. วันเพ็ญ ตั้งสกุลวงศ์

    ส่งการบ้าน อริยสัจสี่ วันที่ 9|5|2565

    เรื่อง ชังแดดร้อนตอนออกไปทำกสิกรรม

    เหตุการณ์ เวลาต้องออกไปทำกสิกรรม ถ้าแดดร่มจะมีกำลังทำงาน และทำงานไปได้เรื่อยๆ แต่พอมีแสงแดดร้อนๆ แรงจะตก อึดอัด หมดแรงที่จะทำงาน และจะต้องหาร่มเข้าบังแดด

    ทุกข์ ชังเมื่อแดดร้อนตอนต้องออกไปทำงานกลางแดด

    สมุทัย ชอบเมื่อแดดร่มตอนต้องออกไปทำงาน

    นิโรธ ไม่ชอบไม่ชังว่าแดดจะร้อนหรือจะร่มตอนออกไปทำงาน

    มรรค แดดเขาก็มีทั้งร้อนทั้งร่มของเขาอยู่อย่างนั้นเอง เราก็สอนเจ้ากิเลสว่า แต่มีแกเจ้ากิเลส ทำให้เราต้องร้อนทั้งกายทั้งใจ มีทุกข์ทั้งหมดทั้งมวลหาที่ต้นที่สุดไม่ได้ เราจึงใช้บททบทวนธรรมข้อที่ 89 มาพิจารณา ว่า ในโลกนี้ ไม่มีอะไรเที่ยง ไม่มีอะไรที่เราควบคุมได้ ไม่มีอะไรที่เรากำหนดได้ นอกจากใจที่ไร้ทุกข์ของเราเท่านั้น เราจึงคลายใจในความชังลงไปได้

    สรุป ใช่ ในโลกนี้ไม่มีอะไรที่เราควบคุมได้ ไม่มีอะไรที่เรากำหนดได้ นอกจากใจที่ไร้ทุกข์เท่านั้น

  2. วันเพ็ญ ตั้งสกุลวงศ์

    ส่งการบ้านอริยสัจสี่ วันอังคารที่ 10|05|2565

    เรื่อง เพื่อนสอนให้ล้างกิเลสกลัวทากเกาะ

    เหตุการณ์ ขึ้นไปทำกสิกรรมที่ภูผาฟ้าน้ำในตอนบ่าย พอตอนเย็นลงมาอาบน้ำ เห็นมีอะไรสีดำๆเหมือนก้อนดินติดอยู่ที่หน้าขา แต่จิตแว๊บไปถึงว่าเป็นตัวทาก จึงร้องออกมาลั่นห้องน้ำเลย และได้กั้นใจเอาเสื้อหยิบดึงเขาออก เขาเกาะแน่นมาก ต้องดึงถึง 2-3 ครั้ง เขาถึงจะออก เราจะรู้สึกหวาดระแวง และขยะแขยง อยู่เนืองๆ พอมีความรู้สึก แป๊ปป๊าป ตามร่างกายจะต้อง ตรวจดู อยู่เนืองๆ เหมือนคนเป็นโรคจิต จนเพื่อนบอกว่า ให้ล้างกิเลสตัวนี้เสีย เพื่อนจึงพาสอนว่าล้างอย่างไร

    ทุกข์ ชังเมื่อทากเกาะ

    สมุทัย ชอบเมื่อทากไม่เกาะ

    นิโรธ ไม่ชอบไม่ชังเมื่อทากจะเกาะหรือไม่เกาะ

    มรรค เพื่อนได้สอนให้ล้างกิเลสตัวนี้ว่า เขาเป็นแค่สัตว์ตัวเล็กๆเท่านั้น เป็นเพราะว่าเขาทำผิดศีล เขาถึงได้เป็นอย่างนี้ เขาไม่อยากเป็นอย่างนี้หรอก ถ้าเราเกลียดเขาเราจะต้องไปเป็นแบบเขา ให้เมตตา อุเบกขากับเขา และจงเพิ่มศีลขึ้นเรื่อยๆ เพื่อช่วยเขา และบอกเขาว่าขอให้เขาคิดถูกเร็วๆ ทำถูกเร็วๆ และให้เขาไปเกิดในภพภูมิที่ดีๆ และมีศีลดีๆ และเราได้ใช้ ญาณ 7 พระโสดาบัน สำนึกผิด ยอมรับผิด ขอโทษ ขออโหสิกรรม เต็มใจรับโทษ จะตั้งจิตหยุดสิ่งที่ไม่ดีจะทำแต่สิ่งที่ดี ช่วยเหลือ เกื้อกูล ผู้อื่น เราจึงคลายความกลัวลงไปบ้าง

    สรุป เมื่อผิดศีล ก็จะทำให้เป็นทุกข์ และไปเกิดในอบายภูมิ เราต้องรีบปฎิบัติศีล และลด ละ เลิก ล้างกิเลสให้หมดไปเป็นลำดับๆ จะได้พ้นทุกข์ในที่สุด

  3. วันเพ็ญ ตั้งสกุลวงศ์

    ส่งการบ้านอริยสัจสี่ วันพฤหัสบดีที่ 12|05|2565

    เรื่อง ป่วยครั้งนี้สาเหตุมาจากป่วยใจ

    เหตุการณ์ เกิดอาการป่วยทางร่างกายมาหลายวันแล้ว ก็มาคิดพิจารณาดูแล้วว่า เราหาวิธีแก้ไข ภายนอกใช้ยา 9 เม็ดบ้าง แก้ไขเรื่องการกินอาหารบ้าง นอนพักหยุดทำงานก็แล้ว ก็ยิ่งรู้สึกเพลีย และมึนหัว แรงตก เหนื่อยง่าย แต่เราลืมมาพิจารณาที่จิตใจเลยว่า เป็นเพราะใจนี่เองที่ทำให้เราทุกข์ ทั้งๆที่ฟังธรรมะจากท่านอาจารย์ทุกวัน ก็ยังไม่มีปัญญา เหมือนปัญญาดับ มันกลัว กังวล ระแวง หวั่นไหว ไม่ได้ดั่งใจไปหมด เช่นกลัวทาก กลัวเห็บ ชังแมลงต่างๆ กินอาหาร หรือผลไม้ ก็กลัวแพ้กลัวป่วยไปหมด วันนี้เลยมาใช้โยนิโสมนสิการ ตรวจดูถึงเหตุ จึงได้รู้ชัด

    ทุกข์ ชังที่ป่วยไม่หาย

    สมุทัย ชอบที่จะหายป่วย

    นิโรธ ไม่ชอบไม่ชังว่าจะหายป่วยหรือไม่หายป่วย

    มรรค เมื่อเรารู้สาเหตุว่าป่วยครั้งนี้มาจากใจ เราก็ได้นำคำสอนของท่านอาจารย์มาใช้ คือให้กล้า 8 ประการเลย อะไรจะเกิดก็เกิดเถอะ แม้เหตุการณ์ดี หรือ เหตุการณ์ร้ายจะเกิด ก็กล้าเลย เลิกความกลัว กังวล ระแวง หวั่นไหว จะหายป่วยก็ได้ ไม่หายก็ได้ เราทำชั่วมาหาที่ต้นที่สุดไม่ได้ ยินดีให้ได้ทุกสถานการณ์ จึงได้ใช้ญาณ 7 พระโสดาบัน สำนึกผิด ยอมรับผิด รับโทษ ขออโหสิกรรม จะตั้งจุดหยุดสิ่งไม่ดี จะทำแต่สิ่งที่ดี ช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่น

    สรุป พระพุทธเจ้า และท่านอาจารย์หมอเขียว ได้สอนว่า ทุกข์กายเท่ากับฝุ่นปลายเล็บ ทุกข์ใจเท่ากับดินทั้งแผ่นดิน

  4. วันเพ็ญ ตั้งสกุลวงศ์

    ส่งการบ้านอริยสัจสี่ วันศุกร์ที่ 20|05|2565

    เรื่อง ไม่ชอบอ่านหนังสือ

    เหตุการณ์ ข้าพเจ้าเป็นคนไม่ชอบอ่านหนังสือ และไม่ชอบงานเรื่องเอกสาร(วิทยานิพนธ์) ข้าพเจ้าได้ตั้งใจไว้ตลอดว่าจะไม่เรียนต่อ แต่วันนี้พี่น้องได้มาพูดเรื่องท่านอาจารย์มีนโยบายให้จิตอาสาเรียนต่อได้ เราก็ยังยืนยันเหมือนเดิมว่าไม่ชอบอ่านหนังสือ ไม่ชอบทำงานเอกสาร พี่น้องพูดว่าให้ล้างเสีย ไม่เรียนชาตินี้ก็ต้องเรียนชาติหน้า และเรียนครั้งนี้เพื่อเอาความรู้มาช่วยงานอาจารย์ เพื่อช่วยเหลือคน เราก็เริ่มเปลี่ยนใจ และคิดว่าถ้ามีเพื่อนเรียนด้วยกันก็จะเรียนก็ได้

    ทุกข์ ชังที่จะต้องอ่านหนังสือ

    สมุทัย ชอบที่ไม่ต้องอ่านหนังสือ

    นิโรธ ไม่ชอบไม่ชังที่จะอ่านหนังสือหรือไม่

    มรรค จิตเราไม่ชอบอ่านหนังสือ ไม่ชอบทำงานเรื่องเอกสาร เพื่อนบอกว่าต้องล้างนะ ไม่เรียนชาตินี้ก็ต้องเรียนชาติหน้า และเพื่อนบอกว่า เราเรียนครั้งนี้เพื่อที่จะมาช่วยท่านอาจารย์ทำงานช่วยเหลือผู้อื่นและช่วยเหลือสังคม จิตเราก็มีพลังที่คิดว่าจะเรียนก็ได้ไม่เรียนก็ได้ และกิเลสการไม่ชอบอ่านหนังสือ และไม่ชอบงานเอกสาร ก็คลายลง เบาลง

    สรุป ทุกอย่างไม่เที่ยง จิตเราสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา โดยเฉพาะถ้าเราอยู่ในหมู่มิตรดี สังคมดี สิ่งแวดล้อมดี และมีครูบาอาจารย์ที่ดี จิตเราก็จะสูงขึ้นเรื่อยๆ คือ คิดดี พูดดี ทำดี ไปสู่ที่ดีๆ

  5. อรวิภา กริฟฟิธส์

    เรื่อง รอยอาลัย
    เรื่องกินแต่พอดียังเป็นเรื่องที่ยังต้องสังวรณ์ระวังอยู่มาก และในเช้านี้ก็เหมือนกันพอกินข้าวอิ่มแล้ว ย้งอยากกินต่อแต่ก็รู้แล้วว่าถ้ากินต่อจะเป็นการเอามาเกิน เป็นวิบากร้าย เป็นจิตที่โลภเอามาเกินโลกขาดแคลน จึงได้หยุดกินเสีย

    ทุกข์ ใจไม่แช่มชื่น

    สมุทัย อยากกินต่อ แต่ก็รู้ว่ากินต่อจะเบียดเบียนตนเองและผู้อื่น

    นิโรธ ยินดีกินแต่พอดี ยินดีหยุดเมื่ออิ่มแล้ว ยินดีไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น

    มรรค ได้ฝึกการประมาณการกินแต่พอดี เพราะรู้ว่าการกินเกินพอดีนั้นจะมีวิบากร้าย เพราะเชื่อและชัดเรื่องกรรม เคยทำตามกิเลสกินมากเกิน เพราะคิดว่าได้กินจะสุขใจชอบใจ แต่พอทำตามกลับได้ความทุกข์ทรมานร่างกาย จึงสำรวมการกินของตนเอง ตอนนี้หยุดกินได้ไม่กินเกิน แต่ยังเห็นอาการจิตที่ยังอยากกินอยู่ แต่รู้ว่าเป็นกิเลสจึงไม่ได้ทำตามที่อยาก เพราะรู้ว่าเรากำลังโลภอยู่ อยากได้มากเกินที่ร่างกายต้องการ เป็นการสร้างแรงเหนี่ยวนำที่ไม่ดี อยากได้มาก ๆ เบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่น ทำชั่วหาที่ต้นที่สุดไม่ได้ ร่างกายต้องทำงานหนัก ที่ต้องมากำจัดสิ่งที่กินเกินเข้ามา เป็นความโง่ หลงผิด ทำตามกิเลสที่หลอกว่าถ้าได้ตามที่อยากแล้วจะเป็นสุข ซึ่งเป็นสุขลวง สุขหลอก สุขปลอม สุขแว๊บเดียว สุขที่ไม่มีจริง ไม่เที่ยง ที่เหลือมีแต่ทุกข์ ทุกข์ที่ต้องหามา ทุกข์ที่ร่างกายต้องกำจัดออกเพราะมากเกิน ร่างกายไม่ได้ใช้ เสียพลังแรงงาน ทุนรอนและเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์ เป็นความโง่ ความไม่เชื่อไม่ชัดในโทษภัยที่หาประมาณไม่ได้

    เมื่อพิจารณาซ้ำ ๆ เห็นความจริงตามความเป็นจริงว่าเรากินอาหารนี้ ก็เพื่อกินกันหิว กินเอาประโยชน์ กินปรับสมดุลร้อนเย็นให้กับร่างกายเท่านั้น ไม่ได้กินเพื่อความอร่อยเพลิดเพลิน หลงไปกับสุขลวงทุกข์จริง ใจก็คลายจากความอาลัยอาวรณ์ ไม่แช่มชื่น มีความยินดีขึ้นมาแทน ยินดีที่ได้หยุดโลภ หยุดอยาก หยุดชั่วนั้น ยินดีที่ได้เป็นแรงเหนี่ยวนำที่ดี

    ได้ใช้บททบทวนธรรม ของอาจารย์หมอเขียว ดร.ใจเพชร กล้าจน จากหนังสือบททบทวนธรรม ข้อที่ 4 ที่ว่า “ต้องกล้าในการทำสิ่งที่ดี ละอายและเกรงกลัวในการทำสิ่งชั่ว ชีวิตจึงจะพ้นทุกข์ได้” และข้อที่ 5 ที่ว่า “ชีวิตที่ไม่ได้หยุดชั่ว ไม่ได้ทำดี ไม่ได้ทำจิตใจให้ผ่องใส คือชีวิตที่ผิดพลาด คือชีวิตที่ขาดทุน คือชีวิตที่สูญเปล่า”

  6. วันเพ็ญ ตั้งสกุลวงศ์

    ส่งการบ้านอริยสัจสี่วันศุกร์ที่ 27|05|2565

    เรื่อง เห็นทุกข์สนุกดี

    เหตุการณ์ เมื่อวันพุธที่ 25|05|2565 ได้มีผัสสะกับเพื่อน ได้เห็นความโกรธที่รุนแรงมาก เห็นกล้ามเนื้อที่กลางอกบีบตัวแรงมาก และเห็นมีพลังสีดำเหมือนภูเขาระเบิดกระจายทั่วอก ทุกข์มาก(ภายหลังเกิดสภาวะว่านี่แหละที่คนฆ่ากันได้) ก็ได้ทำการล้างเพื่อนก็ช่วยล้าง แต่ก็ไม่คลายลง และเมื่อลงฐานงานก็ได้คุยกับพี่น้องอีก ท่านก็ได้ให้สัมมาทิฏฐิและช่วยล้างอีกเราโล่งเลย พลิกกลับจากหน้ามือเป็นหลังมือเลยว่า เขาเป็นผู้มีพระคุณมากเลย ทำให้เราได้เห็นสภาวะนี้ชัดเจนมาก และเราก็ล้างทุกข์นี้ได้(เพราะถ้าอยู่โลกภายนอกเราคงระเบิดพูดจาไม่ดีออกไปมากมาย เราก็จะไม่เห็นทุกข์นี้เลย)หมู่กลุ่มได้พาเราเห็นกิเลสหลายตัวมาก ต้องล้างให้หมด วันต่อมาได้เจอกับเพื่อนที่มีผัสสะกันและได้เจริญธรรมกันอย่างสนิทใจ และคุยกันแบบสุขมากความชังไม่มีเลย มีแต่ความรักพี่น้องหมู่กลุ่มมากขึ้นและเห็นสภาวะที่อาจารย์สอนมาเป็นลำดับๆว่าเห็นทุกข์สนุกดี และคนที่ทำให้เราเห็นทุกข์นี้เขาเป็นผู้มีพระคุณกับเรามาก ๆและทำให้เราได้ใช้วิบาก ใช้แล้วก็หมดไป

    ทุกข์ ชังที่เพื่อนมาว่า

    สมุทัย ชอบที่เพื่อนไม่ว่า

    นิโรธ ไม่ชอบไม่ชังเพื่อนจะว่าหรือไม่ว่า

    มรรค เมื่อเห็นทุกข์แล้วเราก็ได้สอนเขาว่า เราทำมา รับแล้วหมดไป เขาจะว่าหรือไม่ว่าเราก็ไม่ทุกข์แต่ความทุกข์มันก็ยังไม่หมดไป ไปคุยกับหมู่กลุ่มอีกหมู่กลุ่มช่วยล้างว่า เห็นทุกข์แล้วเรายังจะเก็บมันไว้อีกหรือ เราเก็บสะสมความทุกข์และความชั่วมาหลายภพหลายชาติ เราต้องขอบพระคุณเขาที่ทำให้เราได้เห็นทุกข์ ได้ล้างทุกข์ ได้ใช้วิบาก ความทุกข์ของเราก็คลายออกมากกลายเป็นความยินดีและสภาวะคำสอนของท่านอาจารย์ได้ออกมาให้เราเห็นสัจจะทั้งหมด ความทุกข์เราหายสิ้นเลย

    สรุป ต้องขอบพระคุณ ท่านอาจารย์หมอเขียว และหมู่กลุ่มที่ทำให้เราได้เห็นสภาวะนี้และดับทุกข์ได้อย่างสิ้นเชิง

  7. วันเพ็ญ ตั้งสกุลวงศ์

    ส่งการบ้านอริยสัจสี่ วันอาทิตย์ที่ 29|05|2565

    เรื่อง เจ็บตา

    เหตุการณ์ วันพฤหัสบดีเย็นที่ 27|05|2565 ไปตัดไม้ไผ่มาทำแนวกันนก มีน้ำที่ไม้ไผ่กระเด็นเข้าตา ก็ไม่ระคายเคืองมาก พอวันศุกร์สายๆนั่งอยู่เฉยๆ ก็เหมือนมีอะไรเข้าตา และเกิดความระคายเคืองมาก ใช้น้ำปัสสาวะหยอดตา และ กลิ้งลูกตาด้วย ก็ดีขึ้นเป็นพักๆ เรารู้สึกรำคาญมาก อยากหาย และก็มาตรวจใจดูเมื่อรู้สึกว่าทุกข์ ก็จึงได้ล้างทุกข์ ว่าเราคงไปเพ่งโทษหมู่กลุ่มไว้ และคงกินตาสัตว์ไว้มาก จึงต้องมารับวิบาก จึงตั้งจิตสำนึกผิดยอมรับผิดขอโทษเต็มใจรับโทษขออโหสิกรรม และคิดว่าหายก็ได้ไม่หายก็ได้ หายเมื่อไหร่ก็ได้ใจไม่ทุกข์

    ทุกข์ รำคาญที่เจ็บตา

    สมุทัย ไม่รำคาญเมื่อไม่เจ็บตา

    นิโรธ ตาจะเจ็บไม่เจ็บก็ไม่รำคาญ

    มรรค เราได้เอาคำสั่งสอนของท่านอาจารย์มาพิจารณาว่าไม่มีอะไรบังเอิญ ทุกสิ่งทุกอย่างยุติธรรมเสมอ เราทำเขามามากกว่านี้ เราได้พยายามดูแลรักษาแล้ว และ สำนึกผิดแล้ว จะหายเมื่อไหร่ก็ได้ไม่ทุกข์ วิบากรับแล้วหมดไป

    สรุป ไม่มีอะไรบังเอิญทุกสิ่งทุกอย่างยุติธรรมเสมอ วิบากรับแล้วหมดไป

Comments are closed.