At bagon.is you can Buy webshells, phpmailer, Combo list
แบ่งปันสภาวธรรม อริยสัจ 4 (45/2564) [19:22] | สถาบันวิชชาราม
Skip to content

แบ่งปันสภาวธรรม อริยสัจ 4 (45/2564) [19:22]

641107 แบ่งปันสภาวธรรม อริยสัจ 4 (45/2564)

นักศึกษาสถาบันวิชชาราม แบ่งปันสภาวธรรมการใช้หลักอริยสัจ 4 ในชีวิตประจำวัน ประจำวันที่ 1-7 พฤศจิกายน 2564

สัปดาห์นี้มีผู้แบ่งปันทั้งหมด 19 ท่าน 22 เรื่อง

  1. พรทิพย์ ไทยเอียด
  2. พรพรรณ เอ็ทสเลอร์
  3. ภัคเปมิกา อินหว่าง (2)
  4. สุรีนารถ ราชแป้น
  5. อรอุมา ภูบังดาว (2)
  6. นาลี วิไลสัก (2)
  7. อรวิภา กริฟฟิธส์
  8. พรพิทย์ สามสี
  9. สำรวม แก้วแกมจันทร์
  10. ศิริพร คำวงษ์ศรี
  11. นปภา รัตนวงศา
  12. นฤมล ยังแช่ม
  13. ศศิกาญจน์ กาพย์ไกรแก้ว
  14. จาริยา จันทร์ภักดี
  15. พรรณทิวา เกตุกลม
  16. วิภาภรณ์ กอจรัญจิตต์
  17. จรรญา ชุมจีด (สร้างกลิ่นศีล)
  18. RUAM KETKLOM
  19. เสาวรี หวังประเสริฐ ( สืบสานศีล )

22 thoughts on “แบ่งปันสภาวธรรม อริยสัจ 4 (45/2564) [19:22]”

  1. พรทิพย์ ไทยเอียด

    เรื่อง ตีหัวเขา เขาก็ทุบหัวเรากลับ

    จากการที่เราเป็นลูกสาวคนเดียวของบ้านที่มีหน้าที่ต้องทำกับข้าวให้กับทุกคนในบ้านกินและเราก็อาศัยอยู่ในชนบท การจะหากุ้งหอยปูปลามาทำอาหารนั้นก็เป็นเรื่องง่าย และสิ่งนี้นี่เองที่ทำให้เราได้ทำกรรมไม่ดีไว้กับเหล่าสัตว์ที่เรานำมาปรุงอาหารทั้งหมดทุกชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทุบหัวปลา ซึ่งส่งผลให้เราเริ่มมีอาการไม่สบาย คือมีอาการมึนศรีษะเป็นประจำ และยังส่งผลไปถึงสายตาที่เริ่มมองเห็นได้ไม่ชัด พยายามกดจุด กัวซา นวด อาการก็ไม่ดีขึ้น
    จนกระทั่งเรามานั่งทบทวนคิดหาสาเหตุว่าเกิดจากอะไร จึงได้คิดขึ้นได้ที่เราไปทุบตีหัว เหล่าปลาทั้งหลาย เพื่อนำมาทำอาหารกิน เบียดเบียนเขา เขาก็เอาคืน หลังจากรู้สาเหตุแแล้ว เราก็ตั้งศีลแก้ไข โดยตั้งสัจจะว่านับจากวันนี้เป็นต้นไปทั้งในชาตินี้และทุกๆชาติในวันข้างหน้า เราจะไม่กิน ไม่เบียดเบียบชีวิตปลาตัวใดๆอีก ในขณะตั้งศีล จิตเราก็คิดไปถึงความเจ็บปวดที่ปลาเหล่านั้นได้รับจากการกระทำที่ชั่วร้าย โหดเหี้ยมของเรา โดยไม่สำนึกสักนิดว่าเขาก็มีชีวิต มีความรู้สึกเจ็บปวด กลัวตายเหมือนเรา ถามกลับมาที่ตัวเอง พร้อมกับน้ำตาไหล เราเป็นคนได้อย่างไรหนอ ทำไมชั่วช้าอย่างนี้ ฆ่าแกง กิน ชีวิตสัตว์อื่น โดยไม่เห็นคุณค่าในชีวิตของเขาเลย
    หลังจากที่สำนึกอย่างนี้ได้ อาการมึนศรีษะมันก็คลายหายไป ใจก็เบาสบายขึ้นในทันที

    ทุกข์ : มีอาการมึนศรีษะ ตามองเห็นได้ไม่ชัด

    สมุทัย : ทุบหัวปลา มาทำอาหาร

    นิโรธ: ได้ความเข้าใจในผลของวิบากที่ตนเองทำ ไ้ดสร้างสภาวะใจในการยอมรับ ยอมชดใช้ด้วยใจที่ยินดี ไม่หนีหนี้ที่ตัวเองก่อขึ้น ได้ฝึกการตั้งศีลที่ถูกตรง ทำให้ได้จิตใจที่โปร่งโล่งสบาย ตัวเบาขึ้นในที่สุด

    มรรค: เรียนรู้และทำความเข้าใจในเรื่องวิบากกรรม เชื่อและชัดในผลของวิบากกรรมที่มีจริงส่งผลจริงต่อชีวิต สัมผัสได้จริงในปัจจุบันจริงๆ เรียนรู้อริยสัจ 4 แล้วนำมาปฎิบัติ โดยหาเหตุแห่งทุกข์ที่เรามีให้เจอ เมื่อรู้แล้วก็สร้างความกล้าและความยินดีในการที่จะรับผลจากวิบากแห่งทุกข์ที่เราทำมา แก้ไขตนเองโดยการตั้งศีลหยุดการฆ่าปลาทุกชนิดอย่างเด็ดขาด ตลอดกาล

    สรุป 1. กรรมยุติธรรมเสมอ
    2. สิ่งที่เราได้รับ คือสิ่งที่เราทำมา
    3. สิ่งที่สร้างผลให้กับชีวิต คือผลแห่งวิบากดีร้ายที่เราทำมาทั้งสิ้นตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน สังเคราะห็กัน แล้วให้ผลกับชีวิตเราจริงๆ

  2. พรพรรณ เอ็ทสเลอร์

    อริยสัจ 4

    เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาเพื่อนโทรมาขอให้ข้าพเจ้าไปทำงานแทนช่วงที่เพื่อนกลับเมืองไทย 6 สัปดาห์

    ขณะที่เพื่อนกำลังพูด ก็เริ่มเห็นอาการทางกายคือ หายใจไม่ทั่วท้อง แน่นหน้าอก ส่วนทางใจ คือ รู้สึกอึดอัด ใจหวิว ๆ และเห็นอาการชอบชังที่ไม่อยากไปทำงานแทนเพื่อน เพราะยึดว่าเวลานั้นได้กุศลน้อย สู้บำเพ็ญกับหมู่มิตรดีจะได้กุศลมากกว่า แต่สุดท้ายก็ตอบตกลงไปทำงานแทนเพื่อน

    ทุกข์ : อึดอัดใจ สงสารและเห็นใจเพื่อน

    สมุทัย : ไม่อยากไปทำงานแทนเพื่อนเพราะอยากที่จะใช้เวลานั้นมาบำเพ็ญกุศลร่วมกับหมู่มิตรดีมากกว่า คิดว่าถ้าได้ใช้เวลานั้นมาบำเพ็ญกุศลกับหมู่มิตรดีที่มีอุดมการณ์และแนวทางปฎิบัติในแนวเดียวกัน จะชอบใจและสุขใจ

    นิโรธ : แม้ครั้งนี้จะไม่ได้บำเพ็ญกุศลร่วมกับหมู่ใหญ่ก็ไม่เป็นไร ไปบำเพ็ญกุศลกับเพื่อนที่ท่านมาขอความช่วยเหลือก็จะสุขใจ ไม่ทุกข์ใจ

    มรรค : พอข้าพเจ้าได้เห็นอาการทุกข์ทางกายและใจที่เกิดขึ้น จึงได้ทำการดับทุกข์นั้นด้วยการพิจารณาถึงโทษ คือการเบียดเบียนตัวเองและกำลังสร้างวิบากกรรมใหม่ไม่ยอมรับกับวิบากกรรมที่กำลังได้รับอยู่ จึงได้ขอโทษ ขออโหสิกรรม ยอมรับผิด และจะขอยอมรับวิบากกรรมด้วยใจที่เป็นสุข เหมือนที่ท่านอาจารย์หมอเขียวได้สอนว่า “วิบากต้องรับกิเลสต้องล้าง พุทธจึงจะเกิด”

    พอนึกได้เช่นนั้นอาการที่กำลังเป็นอยู่ก็หายไปในฉับพลัน และสามารถพูดกับเพื่อนด้วยใจที่เบิกบานและเป็นสุข และยินดีเต็มใจที่จะไปทำงานแทนเพื่อนโดยไม่มีอาการอึดอัดใจ แต่อย่างใด ค่ะ สาธุ

  3. นางภัคเปมิกา อินหว่าง

    เรื่อง: จะหัวเราะหรือว่าร้องไห้

    เหตุการณ์: วันนี้พ่อบ้าน ทำกับข้าวเอง(นานๆที) เราได้แช่ถั่วไว้
    แต่ยังไม่ได้ต้ม พ่อบ้านตำน้ำพริก โดยใช้ถั่วดิบที่ยังไม่ได้ต้ม

    ทุกข์: คันหัวใจที่พ่อบ้านตำน้ำพริกด้วยถั่วดิบ

    สมุทัย: ชอบหากพ่อบ้านต้มถั่วก่อนตำน้ำพริก ชังที่พ่อบ้านเอาถั่วดิบมาตำน้ำพริก

    นิโรธ: พ่อบ้านจะตำน้ำพริกแบบไหนก็ได้ ไม่ชอบ ไม่ชัง

    มรรค: เมื่อเราเห็นถ้วยน้ำพริกที่ตั้งบนโต๊ะอาหาร เห็นแล้วลองชิมดูว่าพ่อบ้านใส่อะไรลงไปบ้าง พิจารณาว่าน่าจะเป็นถั่วดิบที่เราแช่ไว้แน่ๆ
    เมื่อถามพ่อบ้าน เขาก็ตอบมา ตามที่เราคิดจริงๆ พอแน่ชัดว่าใช้ถั่วดิบ ใจมันรู้สึกทันที”ว่า”ไม่รู้จะหัวเราะหรือร้องไห้ดี จิตมันก็ปรุงไปต่างๆ ว่า พ่อบ้านน่าจะต้มถั่วก่อนเอาไปตำน้ำพริก หรือว่าพ่อบ้านไม่รู้ว่าต้องต้มก่อน จึงค่อยเอามาตำ
    เราคิดไปชังไป หัวเราะไปด้วย
    แต่ เมื่อได้สติมา ปัญญา ก็เกิด
    แล้วเราจะไปเอาดีอะไรกับเขาหนักหนา เขาจะตำแบบไหน หากเขากินได้ก็ดีแล้วนี่ เรากินไม่ได้ เราก็ไม่ต้องกิน กินอย่างอื่นก็ได้ กินข้าวกับผักสด ผักลวกก็พอ จะได้ฆ่ากิเลสไปด้วย
    ดังบททบทวนธรรมข้อที่.๙๒
    คนมีปัญญา
    จะไม่มีปัญญาหาเหตุผล
    ให้ตน กลัว ชั่ว ทุกข์
    แต่จะมีปัญญาหาเหตุผล
    ให้ตน พ้นกลัว พ้นชั่ว พ้นทุกข์
    คนไม่มีปัญญา
    จะมีปัญญาหาเหตุผล
    ให้ตน กลัว ชั่ว ทุกข์
    แต่จะไม่มีปัญญาหาเหตุผล
    ให้ตน พ้นกลัว พ้นชั่ว พ้นทุกข์
    เมื่อคิดได้เช่นนั้น ใจก็หายคัน
    หายชัง กลับมากินข้าวด้วยความเบิกบาน ผาสุกได้

  4. สุรีนารถ ราชแป้น

    การบ้านอริยสัจ4

    ชื่อ: สุรีนารถ ราชแป้น จิตอาสาสังกัดสวนป่านาบุญ2 จังหวัด นครศรีธรรมราช

    ชื่อเรื่อง: พลาด ทำกรรมเกิดวิบากร้ายโดยไม่ได้ตั้งใจ

    เหตุการณ์: ได้ทำการเก็บไม้เผาถ่านในถังเผาที่เคยเผาอยู่ก่อนหน้านี้แล้ว ใส่ไม้เสร็จก็ทำการจุดไฟ พอพ่อบ้านได้กลิ่นจึงถามว่าทำอะไร จุดไฟหรือ ตัวเองตอบว่าใช่ เขาก็ถามต่อทันทีว่า แล้วไข่ไก่อยู่ในถังเผา 4ฟอง เห็นมั้ย ไก่มันไข่อยู่ในนั้น พอได้ยินแบบนั้น ตกใจเลย ตัวเองไม่เห็นไข่ไก่ และตอนนี้ไฟก็ลุก เกินกว่าที่จะเอาไข่ออกมาได้แล้ว ทุกข์ใจเกิดขึ้นทันที ได้ทำบาปแล้วโดยไม่ตั้งใจ กลัวบาปจากการกระทำที่ผิดพลาดไป กลัวต้องรับวิบากร้าย

    ทุกข์: กลัวบาป มีวิบากร้าย ที่ไปเผาไข่ไก่ ซึ่งเป็นของรักของหวงของแม่ไก่

    สมุทัย: ชอบถ้าไม่ได้ เผาไข่ไก่ ทำให้สัตว์เดือดร้อน เสียหาย
    :ชัง ที่ เผาไข่ไก่ ทำให้สัตว์อื่นเดือดร้อน เสียหาย เป็นบาป เกิดวิบากร้าย อยากได้แต่วิบากดีๆ

    นิโรธ: ยินดีรับ กล้ารับ หากจะเกิด วิบากดี หรือร้าย ด้วยใจที่ ไร้ทุกข์

    มรรค: มาพิจารณาที่ใจ เมื่อเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นด้วยความไม่ตั้งใจ แต่เกิดจากความไม่รอบคอบ ทำให้เกิดเหตุร้ายกับผู้อื่น เกิดทุกข์ใจเพราะกลัวว่าจะเกิดวิบากร้ายขึ้นกับตนเอง อยากได้แต่วิบากดีๆซึ่งกิเลส มาร มาหลอกให้เราหลงเชื่อไปชั่วขณะ เมื่อจับอาการได้ จึงต้องมาล้างความทุกข์ใจด้วยพุทธะ ยอมรับผิด ขอโทษ ขออโหสิกรรม ถือว่าได้ใช้วิบากกรรมต่อกัน เพราะการทุกข์ใจที่เกิดขึ้น เกิดจากความกลัว และการตีตัวเองซำ้ ยิ่งผิดศีลอีก ทำให้เกิดเรื่องร้ายกับตนเอง ทำให้ร่างกายต้องเสียพลังในการขับออก ป่วยได้ทุกโรค ทำให้เกิดทุกข์ และยังเหนี่ยวนำให้คนอื่นเป็นตาม จึงยินดีรับ กล้ารับ ไม่ว่าจะเกิดวิบากดี หรือวิบากร้าย ไม่ต้องเสียพลังไปสร้างทุกข์ และได้ใช้ บททบทวนธรรมข้อที่ 60 “ใจที่เป็นสุข สุขที่สุดในโลก ใจที่เป็นทุกข์ ทุกข์ที่สุดในโลก” เมื่อได้พิจารณดั่งนี้แล้วก็เบิกบานแจ่ม ใจไร้ทุกข์
    จากเหตุการณ์ครั้งนี้ ถ้าเราได้มีการคุยร่วมกันกับพ่อบ้าน ก่อนลงมือทำงาน เราจะรู้ว่ามีไก่ไปไข่อยู่ในนั้น เราก็จะไม่พลาดไปทำกรรม
    ถ้าจะเทียบ ปัจจุบัน กับอดีต จะแตกต่างกัน เมื่อตอนที่ยังทานเนื้อสัตว์ ทานไข่อยู จะไม่ได้รู้สึกว่าทำบาป แต่ปัจจุบันเรามารู้จัก ธรรมะที่ถูกตรง จะรู้ถึงการเบียดเบียน รู้ถึงศีลข้อที่1อย่างแจ่มแจ้ง เราจึงไม่ต้องการทำวิบากร้ายเพิ่ม

  5. อรอุมา ภูบังดาว

    ส่งการบ้านอริยสัจ4 วันที่ 2 พฤศจิกายน 2564
    ชื่อ อรอุมา ภูบังดาว ชื่อทางธรรม เพ็ญแสงฟ้า
    เรื่อง เห็นแก่ตัวกลัวไปทำงานไม่ทัน
    เหตุการณ์.เนื่องจากออกจากบ้านช้าและมีการทำถนนทำให้รถติด จึงเกิดความกังวลใจกลัวไปทำงานไม่ทัน จึงรีบเร่งในการขับรถมาก และเห็นแก่ตัวในการขับรถ โดยไม่ชะลอให้รถที่คอยจะเลี้ยว หรือออกจากซอย เพราะกลัวว่าตนเองจะไปทำงานไม่ทันเวลา

    ทุกข์. กลัว กังวล ที่จะไปทำงาน แสกนหน้าเข้าทำงานไม่ทันเวลา กลัวเพื่อนว่ามาทำงานสาย

    สมุทัย.รู้สึกชอบถ้าไปทำงานทันเวลา รู้สึกชังถ้าไปทำงานไม่ทันเวลา

    นิโรธ จะไปทำงานทันหรือไม่ทันเวลา ก็ไม่ทุกข์ใจ

    มรรค.พิจารณาว่าจะไปทำงานทันหรือไม่ทันเวลาก็ได้ เพราะการที่เพียงแค่ต้องการไปทำงาน ให้ทันเวลา ทำให้ต้องสร้างวิบาก มากมาย เพราะทำให้เห็นแก่ตัว ไม่มีน้ำใจแก่ผู้ร่วมทาง และขับรถเร็วกว่าปกติ อาจเกิดอุบัติเหตุได้ และก็ต้องได้รับวิบากร้ายนี้ คือต้องเจอคนที่เห็นแก่ตัวกับเรา และทำกับเราอย่างนี้ เพราะสิ่งที่เราได้รับคือสิ่งที่เราทำมา ไม่มีสิ่งใดที่เราได้รับโดยที่เราไม่ได้ทำมา เมื่อเราทำอย่างนี้กับผู้อื่น เราก็ต้องได้รับวิบากนี้ เราก็เต็มใจรับวิบากด้วยความเบิกบาน

  6. อรอุมา ภูบังดาว

    ส่งการบ้านอริยสัจ4 วันที่ 3 พฤศจิกายน 2564
    ชื่อ อรอุมา ภูบังดาว ชื่อทางธรรม เพ็ญแสงฟ้า
    เรื่อง ชังที่เขาพูดไม่ดี
    เหตุการณ์.เนื่องจากต้องเดินทางไปติดต่อราชการที่ สนง.ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ที่ จ.นนทบุรี หลังจากกลับมาคุณหมอให้ ตรวจโควิด-19 ก่อนเข้าทำงาน เมื่อมาตรวจ ได้เจอพยาบาลและเจ้าหน้าที่ ที่สื่อสารกันผิดพลาด ทำให้เข้าใจผิดกัน จึงได้รับคำพูดไม่ดี และทำกิริยาไม่ดี เราจึงรู้สึกโกรธ ไม่พอใจที่เขาทำไม่ดีใส่ เลยแสดงกิริยา และคำพูดที่ไม่ดีกลับไปด้วยทันที

    ทุกข์. ไม่ชอบใจ ทุกข์ใจ ที่เขาพูดจาไม่ดีกับเรา แสดงกิริยาที่ไม่ดีกับเรา

    สมุทัย.ชอบถ้าเขาพูดดีดี ทำกิริยาที่ดีดี ชังที่เขาพูดจาไม่ดี ทำกิริยาที่ไม่ดี

    นิโรธ. เขาจะพูดดี ทำกิริยาที่ดี หรือไม่ดี ก็ไม่ชอบไม่ชัง

    มรรค.พิจารณาว่าสิ่งที่เราได้รับคำพูดที่ดีหรือไม่ดี นั้น ล้วนเกิดจากสิ่งที่เราทำมาทั้งนั้น เพราะสิ่งที่เราได้รับคือสิ่งที่เราทำมา ไม่มีสิ่งใดที่เราได้รับโดยที่เราไม่ได้ทำมา คำพูดที่ไม่ดี กิริยาที่ไม่ดีที่เขาทำกับเรานั้น ก็เกิดมาจากที่เราเคยทำ หรือส่งเสริมมาก่อน ส่วนกิริยาไม่ดีที่เราแสดงกลับไปนั้น เราก็ต้องได้รับวิบาก พิจารณาแล้วใจก็เบิกบาน คลายทุกข์ใจ และหายโกรธ ที่เขาทำไม่ดีใส่ ค่ะ

  7. นางสาวนาลี​ วิไลสัก

    2/11/2564
    เรื่อง : ป่วยเพราะโง่

    เหตุการณ์ : หลังจากฝนตกมันเป็นเวลาช่วงบ่าย 3 แล้ว เราก็รีบไปตักดินออก คาดว่าจะตักดินบริเวณนั้นออกให้เสร็จภายในวันนั้น แต่พอทำไปได้ 3 ชั่วโมง งานยังไม่เสร็จ เราเกิดป่วยฉับพลัน

    ทุกข์ : ใจร้อนมาก จนหมดแรงเกือบจะเป็นลม เพราะอยากตักดินออกให้เสร็จเร็ว ๆ
    สมุทัย : ชอบถ้าได้ตักดินเสร็จภายในวันนั้น ชังถ้าเราตักดินไม่เสร็จภายในวันนั้น
    นิโรธ : จะตักดินเสร็จภายในวันนั้นหรือไม่ ก็ไม่ชอบไม่ชัง ทำเท่าที่ได้ แบบสบาย ๆ

    มรรค : ตอนมารมาหลอกให้เรารีบ วิบากก็บังตาไม่ให้เราเห็นมัน พอมารู้ตัวว่าโดนมารหลอกเราก็ป่วยเกือบจะเป็นลม
    มาร : หลังจากฝนตกแบบนี้ดินจะอ่อนมากเหมาะกับการขุดดิน งั้นวันนี้เราต้องตักดินบริเวณนี้ออกให้เสร็จภายในวันนี้เลย เพราะว่าพรุ่งนี้เรามีภารกิจที่โรงเรียน
    เรา : ตอนนั้นก็หลงเชื่อมาร ในระยะเวลาประมาณ 3 ชั่วโมงที่เร่งรีบตักดินออก ก็รู้สึกเหนื่อยนะ แต่ไม่มีเวลาพักผ่อนแม้แต่ 1 นาที ก็ไม่ได้พัก รู้สึกหิวน้ำ​ ก็ไม่มีเวลาพักดื่มน้ำ จนลูกเอาน้ำมาป้อนให้เราดื่มกับที่ ในที่สุดก็รู้สึกมีอาการร้อนขึ้นในช่องท้อง ก็ยังทำงานต่อ จนตัวสั่น และเกือบจะเป็นลมคาที่

    สรุป ที่ผ่านมาเราก็เคยพลาดมาหลายครั้งแต่ก็รู้สึกตัวบ้าง ไม่รู้สึกตัวบ้าง แต่ครั้งนี้แม้เราจะรู้สึกตัวช้า ก็ดีนะที่พลาด จะได้สำนึก และแก้ไขตนเองใหม่ ขอสำนึกผิด ที่ผิดศีล โลภ ใจร้อน เร่งรีบ ยอมรับผิด ขอโทษ ขออโหสิกรรม และจะตั้งศีลลดความโลภ ใจร้อน เร่งรีบ​ ลงเรื่อย ๆ พอเราเข้าใจเรื่องกรรมในอดีต และกรรมปัจจุบัน เราก็มาปรับสมดุลตนเองด้วยใจไร้ทุกข์ อาการป่วยก็หาย นี้คือบทเรียนที่ต้องจดจำ เพราะเราเคยเร่งรีบมาทั้งชีวิต แต่ไม่พ้นทุกข์ ต่อไปจะพยายามทำงานตามเหตุปัจจัย ตามองค์ประกอบ ตามกุศล และอกุศลที่ออกฤทธิ์ ให้เราควรได้สิ่งใด ในเวลานั้น

  8. นางสาวนาลี​ วิไลสัก

    2/11/2564
    เรื่อง : ความกล้า ทำให้หายป่วยฉับพลัน

    เหตุการณ์ : เมื่อวานตนเองเร่งรีบ​ตักดินจนป่วยกับที่ มีอาการตัวสั่น หมดแรง ไม่มีแรงจะหายใจ เราก็รีบทำใจ และดื่มน้ำกลั่นปัสสาวะ อาการหายจนเป็นปกติ ภายใน 1 ชั่วโมง

    ทุกข์ : ร่างกายรู้สึกหมดแรงจนเกือบจะเป็นลม ใจกลัวว่าอนาคตของลูกจะไม่มีโอกาสคบคุ้นกับเครือข่ายแพทย์วิถีธรรม
    สมุทัย : ชอบถ้าลูกได้เรียนรู้ข้อมูลต่าง ๆ จากแพทย์วิถีธรรม ชังถ้าเราไม่อยู่แล้วลูก ๆ อาจจะไม่ได้คบคุ้นกับแพทย์วิถีธรรม
    นิโรธ : ลูกจะได้เรียนรู้ข้อมูลต่าง ๆ และคบคุ้นกับแพทย์วิถีธรรมต่อไป หรือไม่ ก็ไม่ชอบไม่ชัง สุดแล้วแต่บารมีของใครของเรา

    มรรค : พอมารู้สึกว่าตัวเองป่วยอาการเหมือนคนใกล้ตายก็รีบตรวจใจ
    เรา : มารเอ็งกลัว กังวลอะไรกับเหตุการณ์นี้ ทำไมเอ็งไม่ยอมยิ้มก่อนตาย
    มาร : ป่วยแรงขนาดนี้จะให้เอาแรงที่ไหนมายิ้ม
    เรา : เฮ้ย! มารเอ็งกลัวตายหรือเปล่า
    มาร : ไม่ได้กลัวตาย เพราะทุกคนเกิดมาต้องตายอยู่แล้ว ตอนนี้กล้าตายแล้ว
    เรา : เอ่! มาร หรือว่าเอ็งยังห่วงพ่อ แม่ ลูก
    มาร : ไม่ได้ห่วง​ พ่อแม่มีคนเลี้องดูอยู่แล้ว ส่วนลูกถ้าเราตายจริง ๆ ญาติจะเอาไปเลี้ยงหรือไม่ พ่อเขาก็จะเอาไปเลี้ยงเองแหละ
    เรา : ถ้าไม่ได้ติดอะไรแล้วก็ต้องกล้าตายด้วยดีสิ
    มาร : รู้สึกสงสารลูกนะ เพราะว่าช่วงนี้ลูกกำลังใฝ่หาในธรรม ถ้าเราตายจริง ๆ ญาติเราต้องปิดกั้นไม่ให้ลูกได้คบคุ้นกับหมู่กลุ่มแพทย์วิถีธรรมแน่ ๆ เลย งั้นขอเรียกลูกมาสั่งเสียก่อน
    เรา : หลังจากมารได้สั่งเสียลูกเสร็จ เราสอนมารไปว่า ธรรมทั้งหลายย่อมหลั่งไหลหาธรรมทั้งหลาย เราได้สร้างองค์ประกอบนี้ให้ลูกแล้ว ก็จงพอใจที่สุด ไม่มีใครทำอะไรใครได้ หรือไม่มีใครปิดกั้นอะไรกับใครได้ นอกจากวิบากดีร้ายของคนคนนั้นเอง ถ้าลูกเรามีบารมีมากพอเขาก็จะอยู่ในกระแสธรรมะนี้แหละ แต่ถ้าหากบารมีเขายังไม่เต็มรอบ เขาย่อมถูกวิบากร้ายลากลงไปสู่นรกเป็นเรื่องปกติของคนพาล แต่เรากล้าที่จะให้ดีเกิดกับลูก​ หากวิบากดีออกฤทธิ์ และกล้าให้ลูกต้องถูกพลัดพรากจากแพทย์วิถีธรรมหากวิบากร้ายออกฤทธิ์

    สรุป​ ถ้าเป็นเมื่อก่อนเราคงกลัวตาย กลัวพลัดพรากจากทุกอย่าง​ ติดยึด ต้องเป็นห่วงลูกและญาติด้วย แต่ตอนนี้เรายังเหลือความกลัวว่าลูกจะพลัดพรากจากเส้นทางแห่งพุทธะ พอเราเข้าใจเรื่องวิบากกรรม เราสามารถรวบรวมความกล้าทั้งหมดได้ แล้วก็ยอมวางร่างวางขันธ์ด้วยความกล้า​ ปรากฎว่าแรงกลับมา ร่างกายฟื้น ตอนนั้นเราทุกข์กับอาการป่วย ประมาณ 20 นาที พอเราวางใจได้ อาการที่ป่วยหนัก ๆ ก็เริ่มฟื้นขึ้นมาตามลำดับ ๆ ในที่สุดก็หายป่วยฉับพลันภายใน 1 ชั่วโมง แรงเต็ม และแข็งแรงปกติทุกอย่าง ขอสำนึกผิด ยอมรับผิด ที่เคยเพ่งโทษว่าทำไมแม่จึงทำงานจนป่วยกับที่ ทำไมแม่จึงไม่รู้จักรักษาสุขภาพบ้าง ตอนนี้เข้าใจแม่แล้ว ขอโทษ ขออโหสิกรรม จะตั้งจิตหยุดเพ่งโทษแม่ สาธุค่ะ

  9. อรวิภา กริฟฟิธส์

    เรื่อง กล้าฝึกการประมาณ
    เมื่อวานฝนตก เช้านี้ออกไปสวนเห็นต้นผักชีที่เราเก็บไว้เพื่อว่าจะเก็บเมล็ดพันธุ์หักหมดเลย เสียดายแต่มีจิตว่าเราจะหาวิธีถนอมอาหารอย่างไร อีกใจก็คิดว่าตัดทำปุ๋ยซะก็ง่ายดี จิตวนอยู่เป็นปุ๋ยหรือเก็บไว้กินไว้ใช้ เดินวนไปวนมาอยู่อย่างนั้น เห็นใจที่ลังเลของเรา
    ทุกข์ เกิดลังเลใจ ไม่โปร่งไม่โล่ง ไม่กล้าตัดสินใจ

    สมุทัย เราไม่อยากประมาณผิด กลัวว่าเราจะไม่ประหยัดประณีต และเกิดความเสียหาย

    นิโรธ จะเก็บใว้กินไว้ใช้หรือทำปุ๋ยก็ไม่ทุกข์ใจ อยู่ที่ว่าเวลานั้นอะไรเหมาะสมกว่าว่าจะทำอะไร

    มรรค เมื่อพิจารณาเห็นจิตที่ไม่มีความกล้าในการตัดสินใจ กลัวการประมาณผิด เราจึงได้ทุกข์จากความลังเล ไม่โปร่งไม่โล่ง เราเบียดเบียนตัวเองอยู่ ผิดศีล เป็นแรงเหนี่ยวนำที่ไม่ดี เราก็ต้องกล้าตัดสินใจและกล้ายอมรับผลการตัดสินใจเลย พอคิดได้อย่างนี้ใจโล่งเลย ยินยอมรับได้ไม่ว่าผลจะออกมาอย่างไร จึงตัดสินใจนำผักชีมาทำน้ำสกัดไว้ใช้ ถือว่าเป็นการเรียนรู้สิ่งใหม่ เพราะไม่เคยทำน้ำสกัดจากผักชีมาก่อนเลย

  10. พรพิทย์ สามสี (เพื่อนพิทย์)

    เรื่อง : เสียบหูโทรศัพท์
    เสียบหูโทรศัพท์แต่เช้า ตี 5 กว่าๆ ฟังพี่น้องหมู่มิตรดีคุยเรื่องกิเลสกัน เราก็ทำงานครัวไปด้วย เราฟังแล้วได้สาระ ได้ประโยชน์มากๆเลย
    คุ้มจริงๆ งานธรรมก็ได้ประโยชน์ งานครัว งานบ้านก็ไม่ทิ้ง พ่อบ้านนั่งจิบกาแฟอยู่ข้างๆครัว ก็แสดงอาการไม่พอใจ อึอะ ร้อนรนในใจ ขนาดเราเป็นเพียงผู้ฟังพี่น้องโทรคุยกันในหลายกลุ่มอย่างเดียว เราไม่ได้พูดแสดงความคิดเห็นเลยเพราะมีคนอยู่ใกล้ ขนาดเราบ่พูดพ่อบ้านก็ยังแสดงความไม่พอใจ
    ทุกข์ : น่าจะเปลี่ยนยาก
    สมุทัย : ชอบที่จะให้พ่อบ้านไม่แสดงอาการไม่พอใจ ชังขนาดเขาไม่ได้ยินเสียงพี่น้องคุยกันเขายังแสดงอาการไม่พอใจ
    นิโรธ : เขาจะพอใจ ไม่พอใจ จะชอบ ไม่ชอบ ยินดีในความไม่ชอบไม่ชัง
    มรรค : เราบอกกิเลส ไปว่าก็แกมันอยากนิ แกอยากได้พฤติกรรมดีๆ จากเขา แกอยากให้เขาเข้าใจว่า ฟังพี่น้องหมู่มิตรดีคุยกันได้ประโยชน์ ได้สาระนะ อาจารย์หมอเขียวสอนว่า กล้าที่จะไม่อยาก กล้ารับ กล้าให้ได้ กล้าหายทุกข์ โชคดีร้ายหมดอีกแล้ว
    บททบทวนธรรม ๑๒
    วิบากกรรมมีจริง ทำอะไร
    ได้ผลอะไร ก็เกิดจากการกระทำ
    ของเราเองทั้งหมด เจอเรื่องดีเพราะทำดีมา
    เจอเรื่องไม่ดีเพราะทำไม่ดีมา
    ทั้งในปัจจุบันและอดีต
    สังเคราะห์กันอย่างละ ๑ ส่วน

  11. สำรวม แก้วแกมจันทร์

    5/11/64
    ชื่อ : สำรวม แก้วแกมจันทร์
    ชื่อเล่น : ป้ารวม
    ชื่อทางธรรม : ร้อยแสงศีล
    จิตอาสา : สวนป่านาบุญ 2

    เรื่อง : “กล้าที่จะถูกโกง ปาฏิหาริย์เกิดขึ้น” (ตอนที่ 2)

    เหตุการณ์ :
    ต่อเนื่องจากตอนที่ 1 ในการทำสัญญาซื้อขายคอนโดฯ ซึ่งตอนแรกนั้นยังไม่มั่นใจ หวั่นไหว เพราะยังกลัวว่าจะถูกโกง แต่พอวางใจได้ ทำใจในใจ มีสติ เกิดญาณปัญญา มีพลังใจ กล้าที่จะถูกโกงได้ แต่ยังต้องทำสัญญาตามเงื่อนไขที่นัดหมายไว้ จำเป็นต้องเดินทางระหว่างสนามบินดอนเมือง ถึงที่นัดหมาย (ใกล้สี่แยกบางพลัด) ให้เสร็จภายในเวลา 2 ชั่วโมงครึ่ง เพื่อกลับมาให้ทันขึ้นเครื่องบินกลับบ้าน (เช็คอินแล้ว) วางแผนเดินทางไป-กลับ พร้อมแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ใจเต็มร้อย ได้พบเจอแต่สิ่งดีๆ โชเฟอร์แท็กซี่ทั้ง 2 ราย ที่ช่วยเอาภาระขับรถรับส่ง เป็นผู้มีศีล ปฏิบัติธรรมสูง ท่านเล่าว่า มีประสบการณ์ในใช้โอสถพระพุทธเจ้าด้วย ความกลัวที่ยังมีอยู่แค่ฝุ่นปลายเล็บนั้น หายไปเหมือนปลิดทิ้ง กล้าที่จะเผชิญหน้ากับปัญหาอุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้น ทำให้การพูดคุยและตกลงตามเงื่อนไขต่างๆ พร้อมเอกสารหลักฐานและเขียนหนังสือสัญญาซื้อขายประมาณ 15 นาที เสร็จสมบูรณ์ เรียบร้อย ผู้ที่เกี่ยวข้องในการทำสัญญาซื้อขายวันนั้น ทุกคนต่างพอใจ มีแต่รอยยิ้มให้กัน ประทับใจซึ่งกันและกัน ตอนกลับถึงดอนเมืองแล้ว เหลือเวลาอีก 5 นาที เครื่องบินจะบินแล้ว แต่ลงจากรถแท็กซี่ไม่ได้ เพราะรถติดมากๆ ลูกก็โทรมาให้กำลังใจ โชเฟอร์ช่วยขับรถทำเวลาให้เต็มที่ วางใจได้ถึงใจ เกิดภาวะจิตว่าง ไม่กลัว ไม่สุขไม่ทุกข์ เฉยๆ ในใจระลึกว่า ทันเครื่องบินก็ได้ ไม่ทันก็ได้ พอลงจากรถแท็กซี่ปั๊บ รีบเดินเร็วและวิ่งเต็มที่ ภายใน 5 นาที ในระยะทางที่ไกลมาก ระหว่างประตูทางเข้าสนามบิน กับทางออกขึ้นเครื่อง เหนื่อยจนหอบ จึงได้ทันขึ้นเครื่องบินเป็นคนสุดท้าย ไม่น่าเชื่อว่า ความกล้าที่ไม่กลัว มีปาฏิหาริย์ เกิดขึ้นได้จริง

    ทุกข์ : กลัว กังวล หวั่นไหว เครียด

    สมุทัย : ถ้าไม่ถูกโกง จะพอใจ สุขใจ แต่กังวล หวั่นไหว เครียด เพราะกลัวว่าจะถูกโกง จึงทุกข์

    นิโรธ : ไม่กลัว ว่า เขาจะโกงหรือไม่โกง ยอมรับ เต็มใจยอมรับวิบากกรรม ผาสุก ทุกสถานการณ์

    มรรค : มีสติ ใคร่ครวญ ไตร่ตรอง ด้วยญาณปัญญาของพุทธะ หาสาเหตุที่แท้จริง ลำดับเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น เต็มใจยอมรับวิบากกรรม ที่อาจเคยพลาดทำมา อาจไปโกงเขามา ไม่เรื่องใดเรื่องหนึ่ง ในชาติใดชาติหนึ่ง ขอยอมรับผิด เต็มใจรับผิด รับเต็มๆ “เป็นไง เป็นกัน” วางใจได้ถึงจิตลึกๆ ให้กำลังใจตัวเอง “ยอมได้” ไม่ยึดติดแล้ว อะไรจะเกิดขึ้นก็ได้ กล้าที่ไม่กลัว จิตวิญญาณที่บริสุทธิ์เท่านั้นที่จะแก้ปัญหาทุกอย่างในโลกได้ การยึดเป็นอัตตา และถูกกิเลสครอบไว้ โง่ กลัว ชั่ว ทุกข์ คิดเอาเอง เพ่งโทษ ผิดศีลทุกข้อ วางใจ ทำใจในใจ มีสติ เกิดญาณปัญญา มีพลังพุทธะ กล้าที่จะถูกโกงได้จริง สามารถแก้ปัญญาได้อย่างเบิกบาน ความทุกข์ทั้งมวล เหลือแค่ฝุ่นปลายเล็บ วางใจ ไม่กลัว ไม่สุขไม่ทุกข์ เฉยๆ รู้ตื่น รู้เบิกบานได้ ไม่น่าเชื่อว่า เกิดปาฏิหาริย์ได้จริง

    สรุปว่า :
    ความกล้าที่จะไม่กลัวในทุกเรื่องให้ได้ จะเกิดความเบิกบาน ผาสุกได้ เกิดปาฏิหาริย์ได้จริง เพราะพลังงานที่มองไม่เห็น สามารถสร้างสิ่งที่มองเห็นได้จริง อาจินไตย เช่นนี้เอง ความกลัว กังวล หวั่นไหว เครียด หายับ

  12. ศิริพร คำวงษ์ศรี

    ชื่อเรื่อง : เขา “ยัง” เข้าใจผิด vs เรา “ยัง”ไม่ยอมรับและชัดเรื่องกรรม

    ช่วงที่ผ่านมา กำลังพากเพียรฝึกที่จะทำดี โดยกล้าให้ผู้อื่นจะคิดอย่างไรก็ได้กับตนเอง จะเข้าใจผิดหรือถูกก็ได้ แต่เมื่อมีโจทย์เข้ามา เราก็ยังมีอัตตาขึ้นทุกครั้ง ถึงจะไม่ได้แสดงลีลาชัดเจนขนาดนั้น แต่ข้างในเราเห็นว่ามันติดค้าง ยังลงได้ไม่ง่ายเท่าไร และมักจะส่งโจทย์ที่เรายึดติดแรง ๆ มาให้ได้จุกเลยทีเดียว เช่น ไม่ชอบคนที่ไม่ทำตามมติหมู่ และไม่ชอบคนที่มักไปโชว์เดี่ยวทำงานคนเดียว เพราะจะทำให้อัตตาโต
    การร่วมงานกับหมู่มิตรดีจึงได้ส่งผู้ที่จะมาช่วยในเรื่องนี้ทันที ช่วงที่ผ่านมาก็ดึงดูดแวะเวียนกันมาหลายคน โดยที่หมู่มิตรดีบางท่านก็จะปรุงแต่ง คิดเข้าใจว่า เราไม่ทำตามมติหมู่บ้าง ทั้ง ๆ ที่หลายท่านที่รู้จักตัวเราดี จะทราบว่าตนเองยึดมติหมู่มาก จนบางครั้งทำให้ผู้ร่วมงานกับเราทุกข์มากด้วยซ้ำ หรือบางท่านเห็นว่ามีหน้าของเราออกสื่อบ่อย หรือเอาภาระบางเรื่อง และท่านเองก็ไม่ได้มาเวลามากพอจะมาร่วมงานกับเรา จะมีการตัดสินใจจากรูปที่เห็นเท่านั้น และไม่ทราบว่า เราไม่เคยทำงานคนเดียว ตนเองได้เชื้อเชิญท่านอื่น ๆ ให้ช่วยนำเสนอออกสื่อเสมอ เพราะไม่ได้มีความมั่นใจในการออกสื่อขนาดนั้น ที่ทำออกมา ก็ไม่รู้กี่เทค กว่าจะผ่าน และตนเองก็ได้นำเรื่องเข้าหมู่แล้ว ไม่งั้นก็คงไม่กล้าทำ หมู่สรุปให้เราดำเนินงานเรื่องนั้นเอง โดยก็ยังมีหมู่มิตรดีท่านอื่น ๆ ที่เราต้องทำงานร่วมกันทุกครั้งเสมอ
    แต่ในทางกลับกัน หากมีหมู่มิตรดีมาเข้าใจผิดว่า เราทำดีทำถูก ทั้ง ๆ ที่เราไม่ได้ทำ และได้แก้ข้อมูลในการชื่นชมนั้น ๆ ว่าเรื่องนี้ไม่จริง ใจเรากลับไม่ทุกข์ เพราะตัวเรานั้นไม่ได้โดนมองในแง่ไม่ดี จึงได้เห็น “ความลำเอียง” ทางจิตวิญญาณ
    กิเลสที่เห็นเพิ่มเติม คือ หากหมู่มิตรดีมาให้ขุมทรัพย์ตนเองในสิ่งที่ตนเอง “ทำผิดจริง” ใจจะรับได้ ไม่ชัง เพราะมันคือเรื่องที่เราทำจริง ใครมาพูดไม่จริงในสิ่งที่เรา “ไม่ได้ทำ” ใจยังชังอยู่ กิเลสยังเลือกชอบ เลือกชัง

    ทุกข์ คือ ไม่พอใจ ปั่นป่วน กระวนกระวาย ที่มีใครมาเข้าใจผิดว่า ตนเองคิด พูด ทำ ในแบบที่เขาคิดของเขาเอง ในสิ่งที่เราไม่ได้ทำ
    สมุทัย (เหตุแห่งทุกข์) คือ ไม่อยากให้ใครมาเข้าใจผิดว่า ตนเองคิด พูด ทำ ในแบบที่เขาคิดของเขาเอง ในสิ่งที่เราไม่ได้ทำ
    นิโรธ (สภาพดับทุกข์) คือ ไม่ชอบไม่ชัง ใครจะเข้าใจในตัวเราแบบไหนอย่างไร ถูกหรือผิด ดีหรือชั่ว จริงหรือไม่จริง ใจเราก็ยินดี พอใจ ไร้กังวล ใจเบาสบาย น้อมรับทุกสิ่งที่ทุกท่านจะคิดกับเรา
    มรรค (ทางเดินสู่ความพ้นทุกข์) คือ “ขอบคุณ” ทุกโจทย์ที่เข้ามา ทำให้รู้ว่า ตนเองยังคงต้องฝึกฝนอีกมาก เพื่อว่าในวันหนึ่งข้างหน้า เมื่อมีท่านใดเข้าใจผิดหรือถูกไม่ว่าในทางไหน ใจก็จะมั่นคง เชื่อมั่นว่าในสิ่งที่เราทำหรือไม่ทำในทุกการกระทำ โดยไม่ต้องรอให้ใครมายืนยัน “โชคดี”ที่มีคนเข้าใจผิดเรา ทำให้เห็นความยึดอยู่ โง่อยู่ของตนเอง จึงต้องมีโจทย์เข้ามาช่วยขัดเกลาจิตวิญญาณให้สามารถก้าวข้ามโลกธรรมที่หนาแน่นออกไปเป็นลำดับได้ และพิจารณาวิบากกรรมที่ตนเองเคยไปเดา ไปตัดสินผู้อื่นว่าเขาทำ เป็น หรือคิดสิ่งนั้นสิ่งนี้ โดยที่ไม่ได้ไปสอบถามความจริงจากท่านนั้น ๆ ก่อน ทำให้ดึงดูดผู้ที่เข้าใจผิด เพื่อให้ได้ “สำนึกผิด” และ “เชื่อชัดในกรรม” ชัดเจนให้มากยิ่งขึ้นว่า “เราทำมา” “ก็ต้องรับวิบาก” และมาพากเพียรล้างกิเลสในใจ ไม่ยึดมั่นถือมั่นในความคิดของใครหรือแม้กระทั่งตนเอง ไม่มีอะไรเที่ยง ทำดีเรื่อยไป ใจเย็นข้าม สุดท้ายไม่มีใครได้อะไรทั้งนั้น จะทุกข์ใจไปทำไม?

  13. นปภา รัตนวงศา

    เรื่อง ทำมาเอง ต้องรับเอง

    เหตุการณ์ ปกติได้ร่วมออกกำลังกายร่วมกับพี่น้องในระบบซูมเกือบจะทุกวัน วันนี้มีวิบากร่วมมีพี่น้องท่านหนึ่งลืมปิดไมล์ ท่านคงจะไม่สบายด้วยเพราะมีเสียงคล้ายเสมหะติดคอ และเสียงรบกวนตลอดเวลา ได้ส่งไลน์ส่วนตัวไปให้พี่จิตอาสาให้ทราบจะได้ปิดไมล์แต่ท่านไม่ได้อ่าน

    ทุกข์ รู้สึกรำคาญ หงุดหงิดที่มีเสียงรบกวนจากการเข้ารายการซูม

    สมุทัย ชอบถ้าขณะเข้ารายการซูมไม่มีเสียงแทรกรบกวน ชังถ้าขณะเข้ารายการซูมมีเสียงแทรกรบกวน

    นิโรธ ขณะเข้ารายการจะไม่มีเสียงแทรกหรือมีเสียงแทรกรบกวนก็ไม่ชอบไม่ชัง ไม่รำคาญไม่หงุดหงิด

    มรรค ตั้งศีลมาพิจารณาไตรลักษณ์ ความวิปลาส ความยึดมั่นถือมั่นว่าถ้าอยู่ในรายการ แต่ละครั้งจะราบรื่นไม่มีเสียงอะไรรบกวน ซึ่งเหมือนจะจริงแต่ไม่จริง ทุกครั้งจะราบรื่น ไม่ติดขัดเลยเป็นไปไม่ได้ ยิ่งรายการทางแพทย์วิถีธรรมยิ่งรายงานความจริง ทุกอย่างมีพลาดมีพร่องเป็นธรรมดา แต่เมื่อใจเริ่มรู้สึกรำคาญมันต้องใช้พลังเพื่อขับพิษออก ของดีเข้าไม่ได้ของเสียออกไม่ได้ผิดทางพุทธะแล้ว ก็คิดใหม่ว่าเราทำมาอีกแล้วเพราะเราทำชั่วมาหาที่ต้นที่สุดไม่ได้ ดีแล้วที่มีเสียงรบกวน กล้ารับด้วยความยินดีถ้ามีวิบากร้ายขวาง วิบากมาเพื่อที่จะหมดไป โชคดีอีกแล้วร้ายหมดไปอีกแล้ว แถมวิบากร้ายร่วมครั้งนี้มาพร้อมกับผู้ที่มีศีลอีกหลายท่านก็ยิ่งยินดีรับด้วยความเต็มใจ สิ่งที่เราได้รับคือสิ่งที่เราทำมา เราก็เคยลืมปิดไมล์ ไปรบกวนพี่น้องมาเช่นกันก็รีบสำนึกผิด ยอมรับผิด เชื่อชัดในวิบากกรรมมีจริง
    ใช้บททบทวนธรรม บทที่12 วิบากกรรมมีจริง ทำอะไร ได้ผลอะไรก็เกิดจากการกระทำของเราเองทั้งหมด เจอเรื่องดีเพราะทำดีมา เจอเรื่องไม่ดีเพราะทำไม่ดีมาทั้งในปัจจุบันและอดีตสังเคราะห์กันอย่างละ 1 ส่วน

    สรุป หลังพิจารณาแล้ว ย้ำชัดว่าวิบากกรรมมีจริง ผลเกิดจากการกระทำของเราเองทั้งหมด พอยินดีรับด้วยความเต็มใจ ยังทำกิจกรรมร่วมกับพี่น้องไปอย่างยินดี ก็มีพี่น้องช่วยกันแจ้งทางสื่อก็ได้รับการแก้ไข ถ้าเป็นเมื่อก่อนคงจะวุ่นวายโทรศัพท์ไปทุกที่ที่สามารถติดต่อได้ แต่ครั้งนี้วางใจได้เร็ว ประมาณได้เร็ว พอวางใจได้เร็วเหตุการณ์ก็แก้ไขได้เร็วสามารถร่วมกิจกรรมจนเสร็จด้วยใจไร้ทุกข์..สาธุ

  14. นางภัคเปมิกา อินหว่าง

    เรื่อง: มะเม่าเป็นเหตุ

    เหตุการณ์: พ่อบ้านเก็บลูกมะเม่ามาเยอะแยะ เราถามพ่อบ้านว่า เอามาทำอะไร เขาตอบว่า เอามาทำไวน์
    เขาก็นั่งเด็ดนั่งรูดลูกมะเม่า แล้วทำความสะอาด เอามาปั่น ปั่นเสร็จเอามาต้ม ต้มแล้วก็ต้องกรองเอากากออก ขั้นตอนมากมาย

    ทุกข์: ชัง “พ่อบ้าน” ที่ทำไวน์ ผิดศีล

    สมุทัย: ชอบ หากพ่อบ้านไม่ทำไวน์ ชัง ที่พ่อบ้านทำไวน์

    นิโรธ: พ่อบ้านจะทำไวน์หรือไม่ ก็ได้ ไม่ชอบ ไม่ชัง

    มรรค: พอรู้คำตอบจากพ่อบ้าน ว่า”ทำไวน์ ใจเรามันชังขึ้นมาทันที
    ไวน์มันเป็นของหมัก เพื่อให้เกิดแอลกอฮอล์ ผิดศีล ด้วย
    เขาก็พูดต่อว่า ทำไว้ให้ลูก ลูกกลับบ้านมาจะได้ดื่มไวน์ และเอาไปฝากเพื่อนด้วย เขาก็พูดต่อไปว่า
    คงไม่ผิดศีลมั้ง เราตอบไปทันทีว่า
    ทำไมจะไม่ผิด มันเป็นของหมัก เพื่อให้เกิดแอลกอฮอล์ เมื่อเสพแล้วจะรู้สึกมึนเมา เสพตามกิเลส
    เราบอกเขาว่า การให้ของผู้อื่น ต้องให้ในสิ่งที่ดี มีประโยชน์และไม่ผิดศีล เราพูดไปเขาก็ยังก้มหน้าก้มตาทำต่อไป เมื่อเราบอกแล้ว เขาจะทำตามหรือไม่ เราก็วาง แล้วแต่วิบากเขา วิบากลูกแล้วกัน ที่จะต้องมาใช้วิบากร่วมกัน
    ตามบททบทวนธรรมข้อที่.๒
    เราต้องรู้ว่า
    แต่ละคนมีฐานจิตแตกต่างกัน
    เราจึงควรประมาณการกระทำ
    ให้เหมาะสมกับฐานจิตของเรา
    และฐานจิตของผู้อื่น
    “คิดดี พูดดี ทำดีไว้ก่อน” ดีที่สุด
    เมื่อ เราวางได้ ใจคลายหายชอบชัง เบิกบานได้ด้วยบททบทวนธรรม

  15. นฤมล ยังแช่ม

    หงุดหงิดเพราะไม่ได้ทำตามใจ

    ปกติแล้วจะเป็นคนกินข้าวแต่เช้า กิเลสมีความได้ดั่งใจมานานแล้ว มีโอกาสได้ไปบำเพ็ญในห้องเรียนส่งการบ้านนักศึกษาวิชชาราม แล้วก็มีความเห็นว่าน่าจะมากินข้าวด้วยกัน คุยกันไปด้วย ในห้องเรียนมีเด็ก ๆ ที่ขยันตั้งศีลกันทุกวัน คนละหลายข้อ แล้วสามารถจับกิเลสได้ ฆ่ากิเลสเป็น ได้ประโยชน์จากเด็ก ๆ มาก หันกลับมาพิจารณาตนเองแล้ว น่าอายเด็ก เด็กยังตั้งศีลสู้กิเลสเลย แล้วเราละมัวทำอะไรอยู่ จริง ๆ เกิดความคิดจะเปลี่ยนเวลากินข้าวไปกินพร้อมเด็ก ๆ ดีกว่า น่าจะประมาณเที่ยง ทำได้ 3 วัน แต่แล้ววันนี้กิเลสก็ไปเปิดตู้เย็นเห็นมีผลไม้อยากจะกิน แต่ยังไม่ใช่เวลา พ่อโทรศัพท์มาให้ทำเอกสารบางอย่าง จะใช้ในวันพรุ่งนี้ ก็รู้สึกหงุดหงิดใจอีก กิเลสพากันมาเต็มเลย

    ทุกข์ คือ ทุกข์ใจที่ไม่ได้กินอาหารในเวลาที่ตามใจตัวเอง

    สมุทัย คือ ความอยากที่จะกินอาหารในเวลาตามใจตัวเอง

    นิโรธ คือ กล้าที่จะไม่กินอาหารในเวลาที่ตามใจตัวเอง

    มรรค คือ พิจารณาว่าความอยากเป็นทุกข์ พอไม่ได้ตามที่อยากก็ทุกข์ ถึงแม้จะได้กินอาหารในเวลาที่ตนเองต้องการก็แค่สุขชั่วคราวที่เก็บไม่ได้ไม่มีตัวตน ทำตามใจตัวชั่วอัตโนมัติ จากการที่ไม่ได้ดั่งใจอย่างเดียวก็เป็นคนพาล พาลหงุดหงุดคนโน้น คนนี้ หน้าบูด ไม่เบิกบาน ดูซิ ๆ ทุกข์อยู่ ที่กล้าคิดให้ทุกข์ยังกล้าคิด ทีกล้าคิดให้พ้นทุกข์ไม่กล้าคิด ร่างกาย ณ ขณะที่มีกิเลสก็อึดอัด แน่น ๆ หนัก ๆ ใจก็ไม่ผ่องใส เกิดการทำผิดศีลทั้งกาย วาจา ใจ สะสมเป็นวิบากร้ายที่ให้ผลชาตินี้ และชาติอื่น ๆ สืบไป จะทำต่อไปอีกหรือ ยังทุกข์ไม่พอใช่ไหม ขนาดทุกข์เวลายังขนาดนี้ แล้วถ้าทุกข์ต่อไปอีกคงจะไม่ไหวแล้ว

    หลังจากได้พิจารณาแล้วกิเลสก็ลดระดับความรุนแรงของความหงุดหงิดลง แต่ยังไม่หมด กิเลสมีหน้าที่ให้เราทุุกข์

  16. ศศิกาญจน์ กาพย์ไกรแก้ว 64176

    เรื่อง : ซักผ้าล้างกิเลส

    เหตุการณ์ : วันหยุดพ่อบ้าน อาสาซักเสื้อผ้าทั้งของแนนและพ่อบ้านเอง เพราะถ้าแนนซักมักบ่นว่าแนนซักเปลืองน้ำ
    พอซักเสร็จตอนตาก พ่อบ้านไม่ชอบบิดผ้าให้หมาดก่อนตากบอกว่าผ้ายับ ส่วนเสื้อแนนบอกแนนแล้วว่า บิดให้แล้วนะ แนนนั่งมองยังเห็นน้ำหยดจากเสื้อ แล้วบอกพ่อบ้านว่า เดี๋ยวแยกของแนนไว้ จะปั่นหมาดก่อนแล้วจะตากเอง แนนกลัวเสื้อผ้ามีกลิ่นอับ
    และก็โต้เถียงกันไปมา จบลงด้วยการที่แนนยอม

    ทุกข์ : กังวนใจ กลัวเสื้อผ้าเหม็นอับ

    สมุทัย : ชอบให้พ่อบ้านปั่นผ้าให้หมาดก่อนตาก ไม่ชอบให้ตากผ้าแบบมีน้ำหยดติ๋งๆ

    นิโรธ : พ่อบ้านจะตากผ้าแบบบิดหมาดมีน้ำหยดๆก็ได้ หรือปั่นหมาดก่อนตากก็ได้ ไม่กังวนใจ ไม่กลัว

    มรรค : จากเหตุการณ์ที่เกิดครั้งนี้ นำบททบทวนธรรมมาพิจารณาเพื่อล้างความทุกข์ใจ คือ

    ข้อ 21. การได้พบกับเหตุการณ์ที่ไม่ถูกใจเรา ไม่ได้ดั่งใจเรา
    เป็นสุดยอดแห่งเครื่องมืออันล้ำค่า ที่ทำให้ได้ฝึกล้างกิเลส
    คือ ความหลงชิงชังรังเกียจ หลงยึดมั่นถือมั่นในใจเรา
    และทำให้ได้ล้างวิบากร้ายของเรา

    ข้อ 123. เจอผัสสะไม่ดี ได้โชค 3 ชั้น คือ
    ได้เห็นทุกข์
    ได้ล้างทุกข์
    และได้ใช้วิบาก
    ได้ใช้วิบากกรรมที่ไม่ดี ร้ายนั้นก็จะหมดไป ดีก็จะออกฤทธิ์ได้มากขึ้น

    เมื่อใจเย็นลง ก็เห็นความจริงตามความเป็นจริงว่า แม้จะแยกกันอยู่มาเกือบเป็นปี พ่อบ้านก็ไม่ได้เปลี่ยนไปเลย ยังเหมือนเดิม สิ่งที่แนนเปลี่ยนแปลงและควบคุมได้อย่างเดียว ก็คือตัวแนนและจิตใจแนนเองที่จะทุกข์น้อยลง หมดทุกข์ พ้นทุกข์ ณ จุดนี้ให้ได้

    มีสติแล้ว พิจารณาทุกข์แล้ว พิจารณาธรรมแล้ว จิตดีแล้ว ก็ผ่อนคลาย เบาใจ วางใจได้ จิตใจเข้าสู่สภาพปกติ

    สาธุค่ะ

  17. น.ส.จาริยา จันทร์ภักดี

    เรื่อง งานซ้อน
    เนื่องด้วยตัวเองมีงานค้างติดต่อ และก็มีงานคัดกรองโควิด แถมงานไม่ระบุวันที่จะเข้ารับการอบรม ของทางอำเภอ ภารกิจอีกหลายอย่างมีงานเข้าเพิ่มขึ้นตรงกับวันที่เรียนภาษาอังกฤษเทคนิคการจำตอนเช้ามีงานคัดกรองเจาะเลือดประจำปีเบาหวานเลยเลือกงานส่วนรวมไว้ก่อนใจเลยไม่แช่มชื่น
    ทุกข์ : ใจไม่แช่มชี่น
    สมุทัย : ชอบถ้าได้เรียนเทคนิคการจำและภาษาอังกฤษ
    ชังที่ไม่ได้เรียนเทคนิคการจำและภาษาอังกฤษ
    นิโรธ : จะได้เรียนเทคนิคการจำและภาษาอังกฤษได้หรือไม่ ก็จะไม่ชอบ ไม่ชัง
    มรรค : ได้คุยกับกิเลสตัวที่ไม่แช่มชื่นว่า เราเป็นจิตอาสาในพระราชา เราต้องทำประโยชน์ส่วนรวมก่อนจะประโยชน์ส่วนตัวเสมอรู้สึกว่ากิเลสเชื่อนะ ภาษาอังกฤษและเทคนิคการจำเรียนเมื่อไหร่ก็ได้ เราจะไม่แช่มชื่นอะไรอีกเราสามารถเรียนย้อนหลังได้เรียนหรือไม่เรียนไม่สำคัญแต่ที่สำคัญยิ่งใหญ่กว่าที่ได้เสียสละเพื่อช่วยประชาชนของพระราชา รายการตรวจเช็คเลือดประจำปีให้บรรลุร่วงตามเจตนาให้กับทางร พ ส ต.ตามกำหนด ได้มาเทียบเคียงบททบทวนธรรมข้อที่112 สุขจากการให้ ด้วยใจที่บริสุทธิ์ ยอดเยี่ยมยิ่งใหญ่กว่าการเอา
    ได้มาพิจารณาแล้ว ทำให้อาการไม่แช่มชื่นหายไปใจกลับมาเบิกบานทำหน้าที่คัดกรองได้ต่อไป

  18. นางพรรณทิวา เกตุกลม

    เรื่อง ดังได้ดังไป
    เหตุการณ์ : เช้าวันหนึ่งกลางสัปดาห์นี้ขณะทำธุระบุญอยู่ มีเสียงเหมือนจิ้งหรีดดังขึ้นในหูข้างซ้าย ฟังดูข้างนอกก็เงียบสงบ ไม่มีอะไรส่งเสียง แรกๆใจสงบอยู่เพราะ คิดว่าดังได้ต้องหายได้ สักพักคงหายแต่ไม่หาย มารมาแทนพร้อมความรู้สึกรำคาญพยายามใช้สมุนไพรในตัวหยอดก็แล้ว น้ำสกัดหยอดก็แล้วยังดังอยู่

    ทุกข์ : รู้สึกรำคาญที่มีเสียงดังในหู

    สมุทัย : กลัวเสียงไม่หายอยากให้เสียงหายไป ชอบถ้าไม่มีเสียงดังในหู ชังที่มีเสียงดังในหู

    นิโรธ : จะมีเสียงดังในหู หรือไม่ ก็ได้ ไม่ชอบไม่ชัง

    มรรค : พิจารณาล้างความกลัวด้วยความกล้าที่จะให้มีเสียงดังในหู ยินดีรับ เต็มใจรับสิ่งที่เกิดขึ้น มันจะดังก็ให้ดัง จะหายหรือไม่หาย จะหายช้า หายเร็ว หรือไม่หายเลย ช่างมันเถอะ กล้าที่จะรับสภาพที่มีเสียงดังให้ได้ พอทำใจวางใจได้อย่างนี้แล้วพิจารณาล้างใจด้วยบททบทวนธรรมข้อที่ 40 ที่ว่า ” วิธีแก้ปัญหาง่ายนิดเดียว อันไหนแก้ได้ก็แก้ อันไหนแก้ไม่ได้ก็ไม่ต้องแก้ ” หลังจากพิจารณาแล้วคิดได้ว่าในเมื่อพยายามแก้แล้วแต่ไม่หายจึงวางใจดังได้ดังไปอยู่กันแบบนี้แหละ ความรู้สึกรำคาญหายไปทันที ใจกลับมาเบิกบาน ผ่องใส ส่วนเสียงที่ดังยังมีแต่ไม่รู้สึกรำคาญอีกเลย และแล้วก็หายไป
    สรุป เมื่อเรากล้าจะรับสิ่งร้ายที่เกิดขึ้น จากความกลัวจะเกิดร้าย กลัวร้ายไม่หมดไป ด้วยใจไร้ทุกข์ได้ใจก็เบิกบาน ผ่องใส

  19. วิภาภรณ์ กอจรัญจิตต์

    สภาวธรรมประจำวัน
    วิภาภรณ์ กอจรัญจิตต์ (เอ ใจพอแล้ว)
    เรื่อง เสียงที่ไม่อยากฟัง

    เหตุการณ์ คือ ช่วงนี้ทำงานตัดต่อคลิปหลายงาน ทำให้บางครั้งพ่อบ้านก็เปิดเสียงคลิปเพื่อฟังหรือบางทีเราก็เปิดเสียงคลิปเพื่อฟังจะได้ตัดต่องานได้ และในการเปิดเสียงคลิปนั้น ก็จะเปิดซ้ำๆ ในบางท่อน บางช่วง ที่ต้องฟังให้ชัด ว่าจะตัดส่วนไหนออก เชื่อมส่วนไหนเข้าด้วยกัน พอตัด/เชื่อมแล้ว ก็มาฟังซ้ำว่าเรียบร้อยไหม ซึ่งกระบวนการนี้เกิดขึ้นซ้ำๆ ทุกวัน บางวันเราก็ฟังเสียงจากยูทูปที่เปิดอยู่ไม่ชัด เพราะพ่อบ้านกำลังตัดคลิปอยู่เหมือนกัน เสียงเลยตีกัน เกิดเป็นเสียงที่ไม่อยากฟัง

    ทุกข์ – รำคาญที่เสียงตีกัน จนเราทำงานอยู่หลังบ้าน ฟังแล้วจับความไม่ได้เลยว่าเรื่องไหนเป็นเรื่องไหน

    สมุทัย – อยากจะฟังเพียงเสียงเดียว จะเสียงอันไหนก็ได้ ถ้าได้ฟังรู้เรื่อง จะสุขใจ

    นิโรธ – กล้าที่จะวางใจให้สภาพที่ดีไม่เกิด เสียงจะเป็นเสียงเดียว หลายเสียงตีกัน หรือไม่มีเสียงเลย ก็ยินดี

    มรรค – ความรู้สึกรำคาญเกิดจากความยึดที่อยากได้สภาพที่ดีตามที่เราคาดหวัง พอเรายึด เราอยาก กิเลสก็ทำงานทันทีว่า ได้ยินไหมเสียงตีกัน ฟังไม่รู้เรื่องเลย เนี่ยเสียงอาจารย์บรรยายอยู่นะ นั่นเสียงเพื่อนกำลังแชร์ประสบการณ์อยู่ โน่นอีกคนกำลังจะเสริม เราพลาดหมดเลย ฟังไม่รู้เรื่อง กิเลสจะหลอกให้เราทุกข์ เราหงุดหงิด และกำลังจะปูเส้นทางความโกรธ การเพ่งโทษให้เราผิดศีลเพิ่มขึ้นตามลำดับ

    แต่ในความเป็นจริง สภาพที่ไม่ได้เป็นตามใจเราหวัง เกิดที่ใจเราเอง เราคิดเอง ปรุงเอง รำคาญเอง เราไม่ได้มองเห็นว่า ทีเมื่อก่อนเราเปิดเพลงที่เราชอบฟังเสียงดัง ซึ่งคนอื่นเค้าอาจไม่ชอบเหมือนเรา เราชอบพูดแทรกคนอื่น ทำให้คนอื่นฟังเรื่องอื่นไม่รู้เรื่องเหมือนกัน เราชอบพูดซ้ำๆ ย้ำๆ จนคนอื่นเค้ารำคาญมาเหมือนกัน

    เหตุการณ์ในปัจจุบันนี้ คือ วิบากกรรมที่เราเคยทำมาทั้งนั้น วิบากกรรมย้อนมาให้เราได้ชดใช้ ให้เราได้เรียนรู้และเข้าใจคนอื่นมากขึ้น ได้สอนให้เราเห็นผลของกรรมและสอนให้เราระวังเพิ่มอธิศีลในเรื่องวาจามากขึ้น พอเรามองเห็นประโยชน์ในเหตุการณ์นี้ ใจก็คลาย สลายความยึดมั่น จะฟังรู้เรื่องหรือไม่รู้เรื่องก็ไม่เป็นไร เพราะเรากล้าที่จะวางใจให้สภาพที่ไม่ดีเกิดได้อย่างเบิกบานใจ

  20. น.ส จรรญา ชุมจีด (สร้างกลิ่นศีล)

    เรื่อง รู้สึกไม่สบายใจที่เห็นพี่น้องมีผัสสะกัน

    เหตุการณ์ วันนี้ตอนที่ทำทำอาหารอยู่มีพี่น้องท่านหนึ่งไปหยิบเอาไชยาที่อยู่ในกะละมังล้างผักมาทำกับข้าวเพื่อถวายสมณะพอท่านไปหยิบมาก็มีพี่น้องท่านนึงทักว่ามันเป็นผักที่ท่านเตรียมไว้จะปั่นก่อนจะเอาไปทำไมไม่ถามก่อน
    ตัวท่านเวลาจะหยิบอะไรก็จะถามก่อนทุกครั้ง
    พ่อพี่คนจะคืนพักให้ทำก็เลยบอกว่าไม่เป็นไรท่านใช้เท่าที่มีได้ เรารู้ว่าแต่ละคนก็เข้าใจถึงเรื่องกรรมของตัวเองแต่พอผัสสะเข้ามาก็มีบ้างที่ไม่ทันกิเลสแต่พอเห็นท่านมีผัสสะเสียงดังเราก็เลยรู้สึกไม่ค่อยสบายใจ เพราะในตอนนั้นเราเองก็รู้ไม่ทันกิเลสว่าที่ท่านทั้งสองต้องมีผัสสะต่อกันเพราะเป็นวิบากของท่านทั้งสองคน

    ทุกข์ มีความรู้สึกไม่ค่อยสบายใจไม่เข้าใจกัน

    สมุทัย ถ้าท่านเข้าใจกันดีไม่มีผัสสะต่อกันเราก็จะรู้สึกสบายใจ แต่พอท่านไม่เข้าใจกันมีผัสสะต่อกันเราเลยรู้สึกไม่ค่อยสบายใจ

    นิโรธ ท่านจะเข้าใจกันหรือไม่เข้าใจกันจะมีผัสสะต่อกันหรือไม่เราก็ต้องยินดีสุขใจให้ได้

    มรรค เมื่อมีความไม่สบายใจเกิดขึ้นให้เรารู้ว่ามันเป็นความลวงของกิเลสที่กิเลสมันหลอกเราให้คิดว่าพี่น้องทั้งสองคนจะต้องเข้าใจกันและไม่มีผัสสะต่อกันถึงจะดี เห็นความวิปลาสของกิเลสที่ยึดมั่นถือมั่นว่าต้องเกิดดีดังใจหมายถึงจะสุขใจ พอไม่เกิดดีดั่งใจหมายก็ทุกข์ใจ
    เห็นว่าสิ่งที่ทุกคนต้องเจอและได้รับเป็นสิ่งที่ทุกคนร่วมทำกันมาก็ต้องชดใช้ ส่วนตัวเราก็ต้องล้างกิเลสตัวยึดดีตัวอยากได้ดีดั่งใจหมายของตัวเอง

    สรุป ถ้าเป็นเมื่อก่อนเราก็คงจะรู้สึกไม่สบายใจกว่านี้แล้วก็ต้องไปเพ่งพี่น้องว่าทำไมถึงยังยึดมั่นถือมั่นไม่ปล่อยวาง ทั้งๆที่ตัวเราเองนั่นแหละที่ยึดมั่นถือมั่นแต่ไม่รู้ตัวไม่รู้ทันกิเลสพอรู้ทันกิเลสเข้าใจเรื่องกรรมอย่างแจ่มแจ้งก็รู้สึกโลงใจแล้วก็สบายใจ เข้าใจว่าทุกอย่างที่เกิดขึ้นดีที่สุดแล้วเพราะมันเป็นวิบากที่ทุกคนทำร่วมกัน

  21. เรื่อง ชนประตูกระจกใส
    เหตุการณ์: กำลังเร่งทำงานอย่างหนึ่งอยู่ที่เป็นปัจจุบัน แต่จิตก็ปรุงไปทำงานอีกอย่างที่ยังมาไม่ถึงเป็นอนาคต ทำให้ขาดสติไม่อยู่กับปัจจุบัน ทำให้เดินชนประตูกระจกใส คิ้วแตกปากแตกเลือดสึมออกมาเล็กน้อย
    ทุกข์: คิ้วแตกปากแตก ทุกข์ใจ
    สมุทัย: มีความอยากให้งานเสร็จเร็วๆเพื่อจะได้ทำงานอื่นต่อไป ชอบถ้างานเสร็จเร็ว ชังที่งานเสร็จช้า
    นิโรธ: งานจะเสร็จเร็วหรือช้า ก็ไม่ทุกข์ใจ
    มรรค: สำนึกผิดหรือยอมรับผิด เต็มใจรับโทษและขอโหสิกรรม เนื่องจากเรามีความคิดที่จะเร่งทำงานหลายอย่างในเวลาเดียวกัน ทำให้ไม่มีสติอยู่กับงานปัจจุบัน วิบากดีจึงเข้ามาเตือน ให้เราอยู่กับงานที่ทำอยู่ให้เสร็จก่อน ยินดีเต็มใจรับวิบากร้ายที่เกิดขึ้น กล้ารับกับความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นด้วยใจที่ผาสุก รับแล้วก็หมดไป ตามบททบทวนธรรมข้อที่66″กายนี้มีไว้เพื่อดับทุกข์ใจเท่านั้น กิจอื่น…นอกจากนี้…ไม่มี…”เมื่อได้พิจารณาตามบททบทวนธรรมดังกล่าวแล้ว ความเจ็บปวดทางร่างกายก็เบาลง ส่วนทุกข์ทางใจก็คลายลง เบิกบานแจ่มใสเช่นเคย

  22. เสาวรี หวังประเสริฐ ( สืบสานศีล )

    เรื่อง หยุดกลัว หยุดทุกข์
    วันนี้มีอาการปวด เสียวฟันบริเวณที่ขูดหินปูนเมื่อวันพฤหัสที่ 4 พ.ย.เ64 เช้าจึงตั้งใจหยุดการเคี้ยวอาหารเพราะกลัวว่าจะเกิดการอักเสบติดเชื้อในช่องปาก
    ทุกข์ :กลัวกังวลว่าจะเกิดการอักเสบติดเชื้อในช่องปาก
    สมุทัย: เหตุแห่งทุกข์ชังอาการปวดและอาการเสียวฟันไม่กล้าเคี้ยวอาหารชอบที่จะไม่มีอาการปวดและเสียวฟัน
    นิโรธ: สภาพดับทุกข์ไม่ชอบไม่ชังที่มี
    อาการปวดและอาการเสียวฟันไม่กล้าเคี้ยวอาหาร
    มรรค: วิธีดับทุกข์ กล้าที่จะทุกข์กล้าให้หมดไป ไม่กลัวกังวลใดๆเพราะสุดท้ายทุกอย่างก็ต้องดับไป สำรวจใจตนเอง กล้ารับกล้าให้หมดไปทุกอย่างเราทำมาทั้งนั้น ทำความเข้าใจเรื่องกรรมอย่างแจ่มแจ้งว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่เราได้รับล้วนเป็นสิ่งที่เราทำมา รับแล้วก็หมดไปเราก็จะโชคดีขึ้น ทุกกายเท่ากับฝุ่นปลายเล็บ พิจารณาซ๊ำๆจนอาการกลัวกังวลในใจหายไป เบิกบานแจ่มใส ใจไร้ทุกข์ได้ฉับพลัน

Comments are closed.