กระดานแบ่งปัน สังคมแห่งการเรียนรู้วิชชาราม (vijjaram learning society)
สัปดาห์ที่ 4/2564 ประจำวันที่ 25-31 ตุลาคม พ.ศ.2564 นักศึกษาวิชชารามทุกชั้นปี ทุกหลักสูตร นักศึกษาเก่า นักศึกษาใหม่ สามารถแบ่งปันการเรียนรู้ได้ตามอัธยาศัย โดยพิมพ์ ชื่อ นามสกุล (รหัสนักศึกษา หรือ (ภาคสมทบ) หรือ (นักศึกษาเก่า) หรือ ฯลฯ) หรือจะใช้นามปากกาก็ได้เช่นกัน
โดยสามารถแบ่งปันเรื่องราวได้มากมายหลากหลาย เช่นดังต่อไปนี้…
- แบ่งปันสภาวธรรม
- สรุปสาระธรรม
- เรื่องราวในชีวิต
- การดูแลสุขภาพ
- การเรียนรู้สิ่งใหม่
- การทบทวนเรื่องเก่า
- ร้องเรียน ร้องทุกข์
- บันทึกประจำวัน
- ทบทวนธรรม
- ฯลฯ
โดยจะเปิดพื้นที่นี้ใหม่ทุกสัปดาห์และจะไม่สามารถย้อนไปบันทึกหรือแบ่งปันในสัปดาห์เก่าได้
คำติที่เราจะไขว่คว้ามาเพื่อเตือนตน
บางครั้ง เวลาที่เรารู้สึกว่าเราอยู่ในฐานะสมมติที่สูงกว่าผู้อื่น ทำให้เขาไม่ค่อยกล้าติติงตักเตือนเรา ในกลุ่มเล็ก ๆ ที่เรามีบทบาทในการขับเคลื่อนงานอยู่ เราจะตกอยู่ในวงล้อมที่ขาดแคลนคำตำหนิ มีแต่คำชื่นชม สภาพแบบนี้ดูเผิน ๆ มันดูเหมือนจะน่าปลาบปลื้มดี แต่ถ้ามองในมุมกลับโดยสมมติว่าเราเป็นคนอื่น แล้วมองกลับเข้ามาที่ตัวเราเองที่มีบทบาทอยู่ การที่มีแต่คำชม และไม่มีใครที่จะกล้าตำหนิติติงอะไรเลยนั้น มันกลับดูว้าเหว่และน่าสงสารมาก เพราะสภาพที่เราอยู่แบบที่คนอื่นไม่กล้าตำหนิหรือบอกกล่าวข้อบกพร่องแก่เรานั้น เท่ากับเราแทบจะไม่มีโอกาสได้รู้ข้อบกพร่องที่ยังเหลืออยู่ในตัวเราเลย และถ้าไม่มีคนอื่นมาบอก เราก็ไม่มีทางได้เห็นข้อบกพร่องของตัวเองเลย เมื่อไม่ได้รู้ ไม่ได้เห็น เราก็จะทำแบบผิด ๆ พร่อง ๆ อย่างนั้นต่อไปเรื่อย ๆ กิเลสก็โตขึ้นไปเรื่อย ๆ
ดังนั้น เมื่อมีโอกาสแม้เพียงน้อยนิด เราควรที่จะน้อมนำเอาคำพูด หรือความคิดเห็นต่าง ๆ ที่แม้ไม่ใช่คำติติง ตักเตือน แต่เป็นเพียงความคิดเห็นที่แตกต่าง หรือข้อเสนอแนะที่เราคิดไม่ถึง มองไม่เห็น นำมาพิจารณาให้เป็นคำเตือนคำติงบ้าง หรือบางครั้งถ้ามันมีแง่มุมที่เราจะหยิบเอามาใช้ปรับปรุงพฤติกรรมของเราได้ ก็ควรไขว่คว้าโอกาสแบบนั้นไว้ อย่าปล่อยให้มันหลุดลอยไปโดยเปล่าประโยชน์
ในเมื่อไม่ค่อยมีคนมาเตือนเรา เราก็ควรไขว่คว้าหาธรรมหรือความเห็นอื่นมาเป็นคำเตือนเราเองอยู่เสมอ ๆ
สาระธรรมะจากรายการแสงธรรมนำชีวิตเช้าวันที่ 31 ตุลาคม 64
เรื่องผลของการทำกรรมดี กรรมชั่ว คิดพูดทำแบบหนึ่งเกิดผลอย่างไร
ทำดีเต็มที่แล้วในองค์ประกอบดีๆ แล้วเกิดเรื่องร้ายเฉยเลย เราจะไม่สบายใจในครั้งใหม่นั้น แต่เราเชื่อกรรมดีกรรมชั่วที่เราทำมา เราก็มีความไม่ทุกข์ใจ ไม่กลัว ไม่ระแวง ไม่หวั่นไหว เราไม่ชอบไม่ชัง มันจะเกิดก็เกิดไป ไม่ยึดมั่นถือมั่นอะไรเป็นตัวเราของเรา มันจะเกิดจะดับก็ปล่อยไป ถ้าเราไม่เชื่อเรื่องกรรม เราจะรู้สึกว่าทำไมๆๆๆๆ ต้องได้รับเรื่องร้าย แต่ถ้าเราเชื่อเรื่องกรรมดีกรรมชั่วที่เราทำมาเราจะรู้สึกว่าเราทำมาๆๆๆ ถ้าเราไม่ชัดเรื่องกรรม
เราจะรู้สึกกังวล สิ่งที่มาทำลายเรา มาเบียดเบียดเบียนเราทำให้เราไม่ชอบใจ เมื่อคิดเช่นนี้จะทำให้กายเจ็บป่วย และเป็นแรงเหนี่ยวนำให้คนอื่นทำไม่ดีตอบ ฉะนั้นเราจะไม่พ้นทุกข์ ยังไม่รูัว่าตนเองทำชั่วอะไร ทำไมตัวเองต้องโดนด้วย ถ้าเรารู้กรรมดีกรรมชั่ว เราจะตั้งศีลมาปฏิบัติ คิดถูกศีลเกิดเรื่องดีได้ทุกเรื่องไม่ว่าเรื่องใจกายเหตุการณ์ต่างๆ แต่ถ้าคิดผิดศีล เกิดเรื่องไม่ดี ใจ กาย และเหตุการณ์ต่างๆ มันก็มีเท่านี้ มีแต่กุศล กับอกุศล สิ่งที่เราได้รับคือสิ่งที่เราทำมา สิ่งที่คนอื่นได้รับคือสิ่งที่คนอื่นทำมา ใครหลงชอบชังผิดศีล ต้องพิสูจน์คิดให้เป็นนักวิทยาศาสตร์ คิดพูดทำแบบไหนเกิดผลอย่างไร แล้วก็ตัดสิ่นว่าจะทำแบบไหน พิสูจน์ผลทางจิตใจชัดมากมาก่อน คิดสุขก็เป็นสุขในโลก คิดทุกข์ก็ทุกข์ที่สุดในโลก
Comments are closed.