แบ่งปันสภาวธรรม อริยสัจ 4 (42/2564) [30:42]

641017 แบ่งปันสภาวธรรม อริยสัจ 4 (42/2564)

นักศึกษาสถาบันวิชชาราม แบ่งปันสภาวธรรมการใช้หลักอริยสัจ 4 ในชีวิตประจำวัน ประจำวันที่ 11 – 17 ตุลาคม 2564

สัปดาห์นี้มีผู้แบ่งปันสภาวธรรม 30 ท่าน 42 เรื่อง

  1. เพิ่มสุข สังคมศิลป์ (5)
  2. จิตรา พรหมโคตร
  3. จิรานันท์ จำปานวน (2)
  4. จาริยา จันทร์ภักดี (2)
  5. ชวนชม คำท้วม (2)
  6. นาลี​ ​วิไลสัก (3)
  7. นฤมล วงศา
  8. พิเชษฐ์ บุญย์วิรุฬห์
  9. พรพรรณ เอ็ทสเลอร์
  10. สุวรรณ กังวานนวกุล
  11. สุพร สุดงาม
  12. ทัศนีย์​ จันทา
  13. สุมา ไชยช่วย (2)
  14. พริมรัศมิ์ จิวเลิศเลขา
  15. ภัคเปมิกา อินหว่าง (2)
  16. จิราภรณ์ ทองคู่
  17. นปภา รัตนวงศา
  18. ทัศนีย์​ จันทา
  19. ชรินรัตน์ ชุมจีด (น้ำน้อมศีล)
  20. สำรวม แก้วแกมจันทร์
  21. พรพิทย์ สามสี (เพื่อนพิทย์)
  22. เสริมศรี ชวานิสากุล
  23. ศศิกาญจน์ กาพย์ไกรแก้ว (2)
  24. วันเพ็ญ ตั้งสกุลวงศ์
  25. RUAM KETKLOM
  26. พรรณทิวา เกตุกลม
  27. ศิริรักษ์​ พรมเล็ก
  28. นปภา รัตนวงศา
  29. กิรณา สุขสุดกุลธน
  30. สุรีนารถ ราชแป้น

Tags:

42 thoughts on “แบ่งปันสภาวธรรม อริยสัจ 4 (42/2564) [30:42]”

  1. เพิ่มสุข สังคมศิลป์ 6111008035

    เมื่อไหร่จะรู้สักที
    เรื่องราว แม้จะเกษียณอายุราชการมา 6 ปีแล้ว ก็มีความปรารถนาดี ห่วงใย ระลึกถึงบุคลากรที่เคยทำงานร่วมกันมา การระบาดของโควิด19 มีความห่วงใยมากขึ้นอยากให้บุคลากรขององค์กรมีความรู้ที่จะนำไปใช้ประโยชน์ต่อตนเอง ครอบครัวและนำไปใช้ในการปฏิบัติงานที่ต้องรับผิดชอบชีวิตประชาชน
    ทุกข์ ทุกข์ใจ อยากให้บุคลากรที่เคยทำงานด้วยมีองค์ความรู้ยา 9 เม็ด
    สมุทัย ชอบที่เขามี่องค์ความรู้ยา 9 เม็ด
    ชังที่เขาไม่มีองค์ความรู้ยา 9 เม็ด
    นิโรธ เขาจะมีหรือไม่มีก็ไม่ทุกข์ใจ
    มรรค นึกถึงธรรมะที่อาจารย์หมอเขียวสอน
    คนจะมีองค์ความรู้นี้ได้ต้องมีบุญสัมพันธ์ เป็นวิบากเรา วิบากเขา วิบากโลก งูกินเขียดอย่าไปยุ่ง

  2. เพิ่มสุข สังคมศิลป์ 6111008035

    เพื่อนพืช
    เรื่องราว ทีมงานครัวดอยฟ้า รับผิดชอบงานกสิกรรมไร้สารพิษ ในพืี้นที่แปลงผาสุกเรามีการประชุมและตกลงกันว่าปลูกพืชวรรณะ 9 เพราะมีเวลาน้อยในการดูแล อาจารย์หมอเขียวสอนเรื่อง โคก หนอง นา โมเดล ทีมงานก็มองแปลงในรูปพื้นที่ตาม โดยส่วนที่เป็น โคก ปลูก กล้วย ข่า ตะไคร้ พื้นที่ชุ่มน้ำทดลองปลูกผักบุ้ง ฟักทอง ไม่ได้ผล ทีมกสิกรรมได้มาปรับปรุงเป็นนาแปลงเล็กและดำนาเรียบร้อยแล้ว ส่วนบริเวณปลูกพืชหญ้ารกมากรู้สึกเป็นทุกข์
    ทุกข์ ไม่อยากให้หญ้ารก
    สมุทัย ชอบ ทีหญ้าไม่รก ชัง ท่ีหญ้ารก
    นิโรธ หญ้ารกไม่ทุกข์ใจ
    มรรค นึกถึงธรรมะอาจารย์หมอเขียว คุณไม่มีวันทำให้หญ้าหมดไปจากโลกนี้
    พิจารณาประโยชน์ของหญ้าช่วยคลุมดินให้ชุ่มชื้น เป็นปุ๋ยที่ดีของพืช เป็นเพื่อนพืช ไม่ใช่ศัตรูพืช
    นำความรู้จากการเรียนกสิกรรมไร้สารพิษมาใช้ เอาไวนิลหรือลังกระดาษคลุม

  3. จิตรา พรหมโคตร

    เรื่อง:ไม่ชอบถูกใช้

    เหตุการณ์
    ก่อนเข้านอน พ่อบ้านบอกว่าพรุ่งนี้ไปซื้อสลัด ขนมปังมาให้ลูก แว๊บหนึ่ง!ไม่พอใจเล็กน้อย แต่อาการดังกล่าวหายไปเพราะเข้านอน พอตื่นเช้าพ่อบ้านก็บอกอีกครั้ง คราวนี้อาการไม่พอใจก็พลุ่งพล่าน กระฟัดกระเฟียด ฝาดงวงฝาดงา แต่อยู่ในใจไม่แสดงออกมา

    ทุกข์:ขุ่นใจเมื่อถูกใช้(ไม่ได้ดั่งใจ) กังวลใจต้องมาเสียเงินซื้อสลัดและขนมปัง

    สมุทัย:ไม่อยากให้ถูกใช้ ลึกๆไม่อยากเสียเงิน

    นิโรธ:จะถูกใช้หรือไม่ถูกใช้ และจะเสียเงินหรือไม่เสียเงิน ก็ไม่ทุกข์ใจ

    มรรค:ความลวง(ตอนแรก)มีจิตเพ่งโทษพ่อบ้านใช้อีกแล้ว และยังเสียเงินอีก
    ความจริง พ่อบ้านเป็นแค่นอมินี นาตาลีมาเตือนว่าถูกใช้และต้องมาเสียเงินจะทุกข์ใจไหม!
    พิจารณาว่า การถูกพ่อบ้านใช้เป็นการใช้กรรมที่เคยใช้ท่านได้ดั่งใจมาตลอด มาถูกพ่อบ้านใช้ได้ชดใช้ โชคดีอีกแล้วร้ายหมดไปอีกแล้ว
    พิจาราณาเรื่องเงินว่า”เงินทองเป็นของนอกกาย”
    ประโยชน์ของการต้องเสียเงินซื้อสลัดขนมปังว่า เรายังมีความชอบกินสลัด ขนมปังอยู่ใจที่เรายังชอบกินอยู่เป็นพลังเหนี่ยวนำให้พ่อบ้านทำตาม
    พิจารณาประโยชน์ในเหตุการณ์ครั้งนี้เป็นสิ่งที่เราจะต้องได้รับ ถ้าต้องเสียเงินก็ต้องเสียอยู่ดี เงินเป็นสมมุติโลกเท่านั้น จะงก จะหวงไปทำไมไม่ดีอะไร ถ้าต้องเสียเงินแล้วทำให้เกิดประโยชน์กับตัวเราเองคือไม่ไปวิวาทะกับพ่อบ้านให้เกิดวิบากกรรมใหม่อีก

  4. จิรานันท์ จำปานวน

    เรื่อง : เลี้ยงสุนัข

    เหตุการณ์ : พ่อขับรถมอเตอร์ไซค์มาจอด เราก็มองเห็นสุนัขที่อยู่ในตะกร้าหน้ารถ และพ่อก็พูดว่าจะเอามาเลี้ยงนะ เลี้ยงไว้จะได้เห่าเวลาที่มีคนเข้ามาในสวน จะได้ปลอดภัย

    ทุกข์ : อึดอัดใจที่พ่อเอาสุนัขมาเลี้ยง

    สมุทัย : ชอบถ้าพ่อไม่เอาสุนัขมาเลี้ยง ชังถ้าพ่อเอาสุนัขมาเลี้ยง

    นิโรธ : พ่อจะเลี้ยงสุนัข หรือไม่เลี้ยงก็ไม่ชอบไม่ชัง

    มรรค : แค่ตามองเห็นเจ้าสุนัขตัวน้อยๆ อยู่ในตะกร้าหน้ารถเท่านั้นแหละ กิเลสก็ทำงานทันทีเลย

    มาร : จะเอามาเลี้ยงทำไมเนี่ยเป็นภาระจะตาย ไหนจะหาข้าว หาน้ำให้กิน กว่าจะโต
    เรา : อ้าว แล้วไปยุ่งอะไรด้วยเนี่ย ใครเอามาเลี้ยงคนนั่นก็รับภาระไปสิ
    มาร : แต่ว่าการเลี้ยงสัตว์มันบาปนะ ทำให้สัตว์อ่อนแอ ทำให้ต้องเกี่ยวข้องผูกพันกับสัตว์ด้วย
    เรา : ก็พ่อไม่รู้หนิว่ามันบาป พ่อเข้าใจว่าสุนัขจะช่วยเห่าเวลามีคนเข้ามาในสวน ครอบครัวจะได้ปลอดภัย พ่อก็หวังดีนะ ดูสิพ่อทุกข์มั้ยที่ต้องเลี้ยงสุนัข
    มาร : ไม่ทุกข์เลย พ่อมีความยินดีที่จะเลี้ยงสุนัขดูสิยิ้มเชียว
    เรา : ใช่ นั่นไง ที่ถามนี่จะบอกว่าพ่อไม่ทุกข์ แต่ฉันนี่สิกำลังทุกข์ใจอยู่ เพราะมีกิเลสไปชังที่พ่อเอาสุนัขมาเลี้ยง ใครกันที่กำลังทำบาป ใครกันที่กำลังผิดศีลข้อ 1 เบียดเบียนตัวเองด้วยความทุกข์ใจ
    มาร : เข้าใจล่ะ

    สรุป ใจคลายจากความอึดอัด เริ่มปรับไปสู่ใจที่โล่ง สาธุค่ะ

  5. น.ส.จาริยา จันทร์ภักดี

    เรื่อง ประมาท
    เหตุการณ์ ตัวเองได้ไปฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 ตัวเองก็เตรียมร่างกายพอสมควร และคิดว่าจะไม่มีอาการอะไรหรอก แค่วัคซีนเข็มที่ 2 เองตอนไปนัดรถเพื่อนที่จะฉีดวัคซีนไปด้วยกันปรากฏว่าเพื่อนขับรถเลยบ้านประมาณ 800 เมตรตัวเองวิ่งไปที่รถเพราะรถมันแน่นถอยยาก
    พอไปถึงศาลาประชาคม ไปถึงที่ฉีดวัคซีนก็ได้ฉีดยาขณะเดี๋ยวนั้นเลย กลับมาถึงบ้านก็ไม่คิดอะไรมาก ได้รับประทานขนมลากับขนมลอดช่องน้ำกะทิ พอถึงช่วงบ่ายๆก็มีไข้ขึ้น ตั้งแต่ช่วงบ่ายนั่งฟังสายด่วนจนถึงช่วงตอนกลางคืนก็ไข้ไม่ลดไข้ขึ้นสูงสุด 38.5
    ทุกข์ : คันใจ
    สมุทัย: ยึดว่าตัวเองจะไม่มีอาการไข้อะไรจากวัคซีนเข็มที่ 2
    ชอบถ้าตัวเองฉีดวัคซีนจะไม่มีอาการไข้หรืออาการข้างเคียง

    ชังที่มีอาการไข้ขึ้นสูงและมีอาการข้างเคียงจากการฉีดวัคซีน
    นิโรธ : จะมีอาการไข้ขึ้นสูงหลังจากฉีดวัคซีนหรือไม่มีอาการข้างเคียง ก็จะไม่ชอบ ไม่ชัง
    มรรค : ได้หันมาอ่านเวทนาทางใจก็ไม่หวั่นไหว เวทนาทางกายทุกอาการขณะ ไข้ขึ้นวัดได้36.5-36.7-36.8 -38.4-38.5-กิเลสบอกว่าถ้ารู้ก่อนจะไม่ไปฉีดวัคชีนเลย ตัวเองบอกกิเลสว่าอ้าวมีอาการแบบนี้บ้างแหละดี เราได้เห็นเวทนาไหมล่ะคุ้มนะ เราได้พิสูจน์ และได้ใช้วิชาที่เรียนมานี่ไงพุทธศาสตร์รักษาโรค ได้ใช้บททบทวนธรรมข้อที่ 155″หมอที่ดีที่สุดคือตัวเราเอง’ได้นำใช้ปรับสมดุลและพิจารณา อาการคันใจก็หายไป และอาการไข้ก็ลดลงและหายไป ตามลำดับใจกลับมาเบิกบานแจ่มใส

  6. ชวนชม คำท้วม

    ส่งการบ้าน
    นางชวนชม คำท้วม
    ชื่อทางธรรม สู่ร่มศีล
    จิตอาสา ส่วนป่านาบุญ 2
    ชื่อเรื่อง เรานั่นแหละเยอะ
    เหตุการณ์ มีการประชุมผู้ปกครองทางออนไลน์ ของโรงเรียนสัมมาสิกขาปฐมอโศก เรื่องจะให้เด็กกลับหรือไม่กลับ ช่วงปิดเทอม มีการประชุม 2 ครั้ง ครั้งแรกครูถามผู้ปกครอง ผู้ปกครองไม่อยากให้เด็กกลับ ครั้งที่ 2 สภานักเรียนประชุมผู้ปกครองเอง รอบนี้ผู้ปกครองให้กลับ และมีผู้ปกครองครั้งแรกท่านคัดค้านไม่ให้กลับ พอครั้งที่ 2 ท่านก็อยากให้เด็กกลับ เราก็เผลอไปเพ่งโทษท่าน ดูจากการประชุมผู้ปกครองท่านกลัวโควิดกันมากๆๆอยากให้กลับบ้าง ไม่ให้กลับบ้าง หนูก็คันหัวใจ ใจมันคิดแต่ไม่ได้พูด ว่าคนมีศีลจะเคล้วคลาดจากโควิด ไม่ติดกันง่ายๆหรอก ยกตัวอย่าง หนูไปหมอเขียว ได้ 2-3 วันโควิดก็เข้าหมู่บ้าน อีกเหตุการณ์ หนูไปเยี่ยมลูกชาย โควิดก็เข้าแถวร้านค้า ที่หนูขายของ กิเลสมันอยากให้ผู้ปกครอง ให้คณะครูเห็นด้วย อยากให้เด็กปิดเทอม เพราะสงสารเด็ก ม 1 เขาไปครึ่งปีกว่า เด็กๆ ทุกคนเขาประชุมสภานักเรียน เด็กทุกคนอยากกลับบ้านบ้าน และหนูก็อยากให้กลับ กิเลสมันเห็นแก่ตัว ไม่คิดถึงอันตรายจากโควิด
    ทุกข์ รำคาญผู้ปกครอง ที่คิดเยอะ มากเรื่อง
    สมุทัย ชอบที่ผู้ปกครองไม่คิดเยอะ มากเรื่อง ชังที่ผู้ปกครองคิดเยอะ มากเรื่อง
    นิโรธ ผู้ปกครองจะคิดเยอะ มากเรื่อง เราก็ไม่ชอบไม่ชัง ใจไร้ทุกข์
    มรรค หันกลับมาด่าตัวเอง เรานี่แหละ ที่คิดเยอะ เรื่องเยอะ เห็นแก่ตัวมากๆ คิดแต่จะให้ลูกกลับ ไม่คิดถึงอันตรายจากโควิด กิเลสเรานี่แหละน่ากลัวที่สุด สกปรกที่สุด คิดแล้วรู้สึกรำคาญกิเลสจริงๆ ที่คอยหาเรื่อง ให้คิดแต่สิ่งไม่ดี คิดเห็นแก่ตัวสุดๆ ด่ากิเลส ถ้าลูกกลับมาน่ะ เกิดนำโควิดไปติด คนในชุมชนจะทุกข์ใจหนักกว่านี้นะ ลองคิดดูเจ้ากิเลส ลูกอยู่ที่โน่น ก็ดีแล้วปลอดภัยจากโควิด เขาได้ฝึกความอดทน ด่ากิเลสมึงไม่ต้องมาทำให้บอกว่า รักลูกอยากอยู่กับลูก กิเลสมึงเห็นแก่ตัวชัดๆ มึงจะให้ได้ดั่งใจล่ะซิ เราไม่ทำตามมึงหรอกเจ้ากิเลส ไปมึงไปไกลๆ หน่อย ตรงกับบททบทวนธรรม ถ้าเราไม่เข้าใจคนอื่น แสดงว่าเราไม่เข้าใจตัวเอง เด็กจะได้กลับ หรือไม่ได้กลับก็เป็นวิบากเขา พิจารณาแล้วใจไร้ทุกข์ ใจเบิกบาน สาธุค่ะ

  7. นางสาวนาลี​ ​ วิไลสัก

    เรื่อง : จำขันธ์ 5 ไม่ได้ต้องมาทำอริยสัจ 4

    เหตุการณ์ : มีน้องท่านหนึ่งชวนเราเข้าไปร่วมฟังการบรรยายธรรมอริยสัจ 4 ในกลุ่มของเขา (เป็นกลุ่มที่ปฏิบัติธรรมอีกสายหนึ่ง) เราก็ยินดีร่วมฟัง พอฟังจบเขาก็เปิดโอกาสให้แต่ละท่านแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ส่วนเราก็แนะนำตัวเองว่าได้ปฏิบัติธรรมสายแพทย์วิถีธรรม ก็ได้เรียนอริยสัจ 4 ได้ทำการบ้านอริยสัจ 4 ด้วย แล้วท่านที่บรรยายธรรมนั้นก็ถามเราว่า ขันธ์ 5 คืออะไร เราก็ตอบไปตรง ๆ ว่าเราเคยได้ฟังแต่จำไม่ได้ ยังไม่เก่งภาษาธรรม แล้วท่านก็บรรยายให้ฟัง เราก็ยินดีที่จะฟัง แต่พอท่านบอกว่า ให้เราต้องจำนะถ้าจำขันธ์ 5 ไม่ได้จะทำอริยสัจ 4 ไม่ได้นะ กิเลสเราก็ทำงานทันทีเลยค่ะ

    ทุกข์ : ไม่พอใจ เครียดที่จะต้องจำ ภาษาบาลีที่ยาก ๆ

    สมุทัย : ชอบที่จะเรียนอะไรตามฐานของตนเองฝึกเอาสภาวะธรรมไปก่อน ชังที่จะต้องท่องจำภาษาธรรม (บาลี) ที่ยาก ๆ เพราะตนเองยังไม่มีความพร้อม

    นิโรธ : เราจะได้เรียนอะไรตามฐานของตัวเอง หรือไม่ก็ไม่ชอบไม่ชัง หรือเราจะต้องถูกให้ท่องจำอะไรที่ดูยาก ๆ ก็ยินดีเต็มใจรับอย่างเบิกบาน

    มรรค : ตอนที่ท่านบรรยายขันธ์ 5 เราสนใจมาก ตั้งใจฟังเพื่อจะได้จำซักข้อ 2 ข้อก็ยังดี พอได้ยินท่านบอกให้เราต้องจำเท่านั้นแหละขันธ์ 5 ที่ได้ฟัง และจำไว้นั้นถูกลบออกจากสมองแบบอัตโนมัติเลย

    มาร : ทำไมต้องให้เราจำสิ่งที่ยาก ๆ แบบนี้ด้วย ไม่อยากฟังแล้ว อยากออกจากห้องนี้ ที่ผ่านมาเราก็จำขันธ์ 5 ไม่ได้แต่เราก็พากเพียรทำอริยสัจ 4 มาตลอด ครูบาอาจรย์ที่สอนเราทุกวันมาไม่เห็นจะบังคับให้เราต้องจำภาษาที่ยาก ๆ แบบนี้เลย ท่านให้อิสระทุกคนฝึกทำตามกำลังที่ทำได้ ถ้าเราเป็นสมาชิกของกลุ่มนั้นเราต้องเครียดตายแน่ ๆ เลย

    เรา : คนที่จะเครียดตายได้ก็คือสมาชิกของมารเท่านั้น อย่าไปเพ่งโทษกลุ่มโน้น กลุ่มนี้เลย นี้แหละวิบากที่เคยไปบังคับใหนักเรียนต้องทำการบ้าน ต้องท่องข้อสอบ ทำให้เขาทุกข์ใจ เครียด ก่อให้เกิดโรคหลายโรค และเคยไปยึดดีจากคนอื่นมาด้วย กลายเป็นแรงเหนี่ยวนำให้คนในโลกเป็นตามด้วย ฉะนั้นเราก็ต้องได้รับวิบาก รับแล้วก็หมดไป ส่วนที่ท่านสอนให้เราจำนั้นท่านมีเจตนาดี ท่านตั้งใจมาเอาภาระสอนเรา มันเป็นสิ่งที่ดีมากเลยหาซื้อที่ไหนไม่ได้ แต่เราไปเพ่งโทษท่านนั้นจะถูกบันทึกเป็นวิบากร้ายใหม่ สิ่งท่านสอนเรานั้นก็เป็นสิ่งที่ดี เราก็ต้องเลือกทำอันที่ถูกต้องที่เราสามารถทำได้ อันไหนที่เกินฐานเราก็วาง อย่าไปแบกทั้งหมดก็ไม่มีอะไรให้ทุกข์ใจ

    สรุป ถ้าเป็นเมื่อก่อนเราคงเครียดไปอีกหลายวัน แต่ตอนนี้พอจับได้ว่ากิเลสเข้าเราก็รีบปิดไมค์ ประมาณไม่เกิน 10 นาทีเพื่อล้างใจ พอล้างใจได้แล้วจึงเปิดไมค์ พูดคุยกันด้วยความเป็นมิตรกัน ขอสำนึกผิด ยอมรับผิด ขอโทษ ขออโหสิกรรมที่เคยไปบังคับให้คนอื่นทำสิ่งยาก ๆ และได้พลาดไปเพ่งโทษท่านที่สอนเรา จะตั้งจิตหยุดทำ และจะเคารพส่วนดีของท่าน

  8. นฤมล วงศา

    เรื่อง สิงห์รมควัน
    ตนเป็นคนไม่ชอบคนสูบบุหรี่ เพราะคิดว่าควันจากการสูบมันทำร้ายผู้คนรอบข้าง มากกว่าตัวคนสูบเสียอีก อยากสูบนักก็รมควันสูดกันเข้าไปสิ ไม่ควรพ่นควันออกมาให้ผู้อื่นเดือดร้อนไปด้วย
    แต่จะด้วยวิบากกรรมในอดีตหรือไม่ ไม่แน่ชัด แม้ตนและคนในครอบครัวไม่มีใครสูบบุหรี่ ก็มักได้รับกลิ่นและควันจากการสูบของเพื่อนบ้านโดยรอบมาตลอด โดยเฉพาะช่วงกลางวัน เย็น และมันเป็นเรื่องที่ชวนหงุดหงิด รำคาญและเคืองใจมาโดยตลอด จะวิวาทะ ว่ากล่าวหนักไปก็ไม่ดี เพราะเขาก็สูบในบริเวณบ้านเขาเอง ตนและครอบครัวก็ได้แต่หลบเลี่ยงหรือปิดจมูกเวลาลมพัดควันเข้าบ้านมาทำลายสุขภาพ

    ทุกข์ : หงุดหงิด โกรธ ไม่ชอบใจเวลาคนสูบบุหรี่ และได้กลิ่นบุหรี่โชยมา
    สมุทัย : ถ้าไม่ได้กลิ่นบุหรี่ จะมีความสุข ถ้าได้กลิ่นจะไม่ชอบ ไม่มึความสุข
    นิโรธ : กลิ่นบุหรี่จะโชยมาหรือไม่ ก็ไม่ทุกข์ใจ ไม่ชอบใจ
    มรรค : พิจารณาเหตุว่าเขาไม่ตั้งใจ เขาเสพติดเพราะความไม่รู้ มันน่าสงสาร และอาจเป็นวิบากกรรมที่ตนทำสิ่งไม่ดีไว้ต่างหาก มาตอนนี้เราจึงเลี่ยงไม่ออก ต้องรับผล (เมื่อคิดแบบนี้ ก็ควรเต็มใจรับ เต็มใจให้หมด) จะว่าไปเวลาเขาสูบหรือกลิ่นโชยเข้ามาเราเองสามารถป้องกันโดยปิดจมูก เคลื่อนย้ายหลบไปที่อื่น หรือเพิกเฉยไม่สนใจ เดี่ยวสักพักกลิ่นก็หมดไป การหงุดหงิดเอาแต่ใจ มันเสียสุขภาพจิตไม่ดี เมื่อตนพยายามพิจารณากิเลส ในช่วงหลังๆนี้มา ก็ลดความหงุดหงิดรำคาญลงได้เป็นลำดับ

  9. พิเชษฐ์ บุญย์วิรุฬห์

    เรื่อง ความสะดุ้งในยามหลับ

    วันที่ 12 ตุลาคม 2564 ผมลุกจากที่นอนประมาณตีสองครึ่ง รู้สึกร้อนในหัวจึงเข้าห้องน้ำเอาน้ำราดหัวให้เย็นลง ออกมานั่งดื่มน้ำแก้วนึง เปิดคอมพิวเตอร์นั่งทำงานที่คั่งค้างไปได้สักชั่วโมงกว่า จนเริ่มง่วงนอนอีกครั้ง นั่งสัปหงกหน้าคอมพิวเตอร์อยู่พักนึง จึงลุกเดินกลับไปที่นอน นอนไปได้ประมาณ 1 ชั่วโมง ประมาณตีห้าเศษ ฝันเห็นหัวจระเข้โผล่ขึ้นมาจากท่อซีเมนต์เก่าที่ไหนสักแห่ง จากนั้นไม่นาน ขณะที่กำลังนอนสะลึมสะลือ รู้สึกเหมือนมีตัวอะไรมาแลบลิ้นเลียฝ่าเท้า ชั่วขณะนั้นเองที่ผมคิดแวบไปถึงหัวจระเข้ที่เห็นในฝัน ก็สะดุ้งตื่นด้วยความหวาดผวา พอตื่นขึ้นมาตั้งสติได้ก็รู้สึกได้อย่างชัดเจนว่า ความกลัวที่มันครอบงำจิตใจเรานี้มันน่ากลัวจริง ๆ ในสภาวะครึ่งหลับครึ่งตื่น แค่เพียงคิดว่ามีจระเข้มาเลียฝ่าเท้าเราเท่านั้น ก็ถึงกับสะดุ้งผวาเลยทีเดียว

    ทุกข์ – กลัวจระเข้งับเท้า แม้ในความฝัน ความกลัวก็ทำให้เราสะดุ้งหวาดผวาได้

    สมุทัย – มีตัณหา อยากปลอดภัย ไม่อยากมีภัยใด ๆ มีความยึดมั่นถือมั่นอยู่ว่า ไม่อยากถูกจระเข้งับเท้า ถ้าถูกจระเข้งับเท้าเราจะทุกข์ใจ แค่คิดว่าจะถูกจระเข้งับเท้าเราก็ทุกข์ใจแล้ว

    นิโรธ – ตัณหาดับ ไม่ยึดมั่นถือมั่น จระเข้งับเท้าเราก็ไม่ทุกข์ใจ กล้าและยินดีรับถ้ามันจะเกิดขึ้นจริง

    มรรค – ทบทวนธรรมที่ว่า “สิ่งใดที่เข้าไปยึดมั่นถือมั่นจะไม่ทุกข์เป็นไม่มี” แม้เป็นเพียงความฝันในยามครึ่งหลับครึ่งตื่น มีสติไม่เต็มร้อย แต่เหตุการณ์นี้ก็สะท้อนให้เราเห็นได้อย่างชัดเจนว่า เรายังมีความกลัว กังวล หวั่นไหวอยู่ในจิต กลัวภัยอันตราย กลัวสูญเสียอวัยวะ กลัวความเจ็บปวด หากเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นจริง นอกจากความเจ็บปวดทางร่างกายแล้ว เราคงจะสะดุ้งหวาดกลัวไปด้วยจริง ๆ

    เราอาจจะรู้สึกโล่งอกที่มันเป็นแค่ความฝัน แต่ในความเป็นจริงก็คือว่า เรายังกลัวเหตุการณ์แบบนี้อยู่ และเหตุการณ์ทำนองนี้ก็อาจจะเกิดขึ้นได้จริง ๆ เพราะเราไม่มีทางรู้ได้เลยว่าวิบากร้ายที่เราเคยทำมา หาที่ต้นที่สุดไม่ได้นั้น จะตามมาให้ผลเมื่อไหร่ ให้ผลร้ายแรงหรือเบาบางอย่างไร กลไกการทำงานของวิบากกรรมนั้นไม่มีใครบอกได้ว่ามันจะเกิดขึ้นอย่างไร ช้าหรือเร็ว หนักหรือเบา ไม่มีใครรู้ล่วงหน้าได้

    ดังนั้น ตราบใดที่เรายังมีความยึดมั่นถือมั่นอยู่ ว่าเราต้องปลอดภัยถึงจะเป็นสุข ถ้าเจอเรื่องร้ายแล้วจะเป็นทุกข์ ตราบนั้นเรายังคงต้องหวาดผวาอยู่เนือง ๆ เพราะไม่มีใครที่จะปลอดภัยไปตลอดนิรันดร์กาล ไม่มีใครที่จะไม่เจอเรื่องร้ายในชีวิตเลย ความหวาดผวาจึงพร้อมที่จะเข้าครอบงำจิตเราอยู่เสมอ หนทางเดียวที่เราจะหลุดพ้นจากความหวาดกลัวนี้ได้คือ ปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่นเสีย ไม่ยึดว่าเราจะต้องปลอดภัยเท่านั้นจึงจะเป็นสุข ไม่ยึดว่าเราจะต้องทุกข์ใจหากเกิดเรื่องร้าย

    นอกจากนี้ เราก็พยายามทำความเชื่อชัดเรื่องกรรมให้แจ่มแจ้งด้วยว่า ถ้าเรามีวิบากร้ายที่ยังไม่ให้ผล ซึ่งเราเคยทำมาหาที่ต้นที่สุดไม่ได้ วันใดวันหนึ่ง วิบากร้ายนั้นย่อมให้ผลแก่เราอย่างแน่นอน ดังนั้น เมื่อเกิดเหตุการณ์ร้ายอะไรแก่เรา นั่นคือสิ่งที่เราต้องยอมรับด้วยความยินดี กล้ารับ กล้าให้มันหมดไป จึงไม่มีความจำเป็นใด ๆ ที่เราจะต้องหวาดผวากับเรื่องร้าย ๆ ที่เข้ามาในชีวิต เรามีหน้าที่ทำแต่ละสิ่งแต่ละอย่างให้อยู่ในสภาพที่ดีที่สุด เท่าที่จะเป็นไปได้เท่านั้น ดีจะเกิดเราก็ยินดีรับ ร้ายจะเกิดเราก็ไม่ต้องหวั่นไหวอะไร

    สรุป เหตุจากความฝัน ทำให้เราเห็นชัดว่าในจิตเรายังมีความยึดมั่นถือมั่นอยู่ ยังมีเหตุให้เรากลัว กังวล ระแวง หวั่นไหวอยู่ แม้เราจะได้พยายามทบทวนและพิจารณาธรรมะที่ได้เรียนรู้มาแล้ว แม้ความยึดมั่นถือมั่นนั้นจะเบาบางลงไปบางส่วนแล้ว แต่มันก็ยังหลงเหลืออยู่ หน้าที่เราจึงไม่มีอื่น มีแต่พากเพียรในการล้างกิเลส ล้างความยึดมั่นถือมั่นให้สิ้นเกลี้ยงไปเท่านั้น เราจึงจะรู้สึกปลอดภัยได้อย่างแท้จริง ไม่ว่าในยามตื่นหรือยามหลับ

  10. เพิ่มสุข สังคมศิลป์ 6111008035

    สมุดการบ้านหาย
    เรื่องราว การเรียนวิชาอริยสัจ 4 ไม่ค่อยได้ส่งการบ้านแต่สอบมาตลอดทุกค่ายพระไตรปิฎก วันหนึงฟังธรรมะอาจารย์บอกว่า เป็นความเพียรอันเลว ก็พยายามจะเขียนๆไม่ได้เล่าให้เพื่อนฟัง เพื่อนให้อ่านการบ้านที่เพือนส่งและขึ้นสอบมาแล้ว ก็น่าจะเขียนได้
    ลองเขียนวันแรกได้ 3 บรรทัด เวลาผ่านไปอีกจนใกล้ปิดเทอม จึงค้นหาความทุกข์ที่มีอยู่และใช้คำที่ฟังจากธรรมะอาจารย์เป็นหัวข้อ
    ใช้เวลา 3 วันเขียนได้ 7 เรื่อง หมู่มิตรดีให้ความอนุเคราะห์ จะพิมพ์เองก็ไม่เก่งเอาสมุดการบ้านให้แพนขณะที่แพนทำงานครัว วันต่อมาถามว่าพิมพ์ให้หรือยัง แพนบอกสมุดการบ้านลืมเก็บหาไม่เจอ วิบากมาแล้วบอกตัวเองใช้ปัญญาๆ
    ทุกข์ สมุดการบ้านหาย ไม่มีการบ้านส่ง
    สมุทัย ชัง ที่สมุดการบ้านหาย ชอบ ที่สมุดการบ้านได้คืน
    นิโรธ จะได้คืนหรือไม่ได้คืน ไม่ทุกข์ใจ
    มรรค สมุดการบ้านเขียนชื่อไว้ถ้ามีวิบากดีคงได้คืน ไม่ได้คืนเป็นวิบากกรรมของเรา ขอบคุณที่มีเรื่ื่องให้เขียนการบ้าน
    ใช้บททบทวนธรรม บทที่ 8 สิ่งที่เราได้รับ คือ สิ่งที่เราทำมา ไม่มีสิ่งใดที่เราได้รับ โดยที่เราไม่เคยทำมา
    บทที่ 10 เมื่อเกิดสิ่งเลวร้ายกับเรา ไม่มีอะไรบังเอิญ ทุกอย่างยุติธรรมเสมอเพราะเราเคยทำ
    เช่นนั้นมามามากกว่านั้น เมื่อไดัรับแล้วก็หมดไป เราก็จะโชคดีขึ้น

  11. พรพรรณ เอ็ทสเลอร์

    อริยสัจ 4

    เรื่อง ความดีของพลังหมู่มิตรดี
    เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาข้าพเจ้าได้ร่วมจัดรายการค่ายสายด่วนสุขภาพพึ่งตน วิถีธรรมวิถีไทยกับหมู่มิตรดี บำเพ็ญในฐานบันทึกรายการ ก่อนหน้านั้นหนึ่งวัน อินเตอร์เน็ตที่บ้านมีปัญหา มาวันนี้ก่อนจะเริ่มรายการก็มีความกังวลใจเล็กน้อยว่าอินเตอร์เน็ตจะมีปัญหาเหมือนวันที่ผ่านหรือไม่

    ในระหว่างรายการข้าพเจ้าก็ทำหน้าที่อย่างมีสติกับการทำงาน จนลืมเรื่องที่กังวลใจก่อนหน้านั้นไปเลย เหตุการณ์ก็ดำเนินไปตามปกติ ไม่มีปัญหาอะไรเลยสามารถบันทึกเทปจนจบรายการ แต่พอพวกเรามาร่วมอปริหานิยธรรมหลังจากจัดค่ายเสร็จแล้ว ปรากฎว่าอินเตอร์เน็ตหลุด ไม่สามารถร่วมอปริหานิยธรรมกับพี่น้องได้ต่อเนื่อง ทำให้กังวลใจ และหวั่นไหวเล็กน้อย แต่ก็เห็นอาการดีใจเล็ก ๆ ที่อินเตอร์เน็ตไม่หลุดในช่วงที่ทำการอัดรายการสายด่วน

    ทุกข์ : กังวลใจกลัวอินเตอร์เน็ตจะหลุดในช่วงบันทึกรายการ

    สมุทัย : ไม่อยากให้อินเตอร์เน็ตหลุดในช่วงที่บำเพ็ญกิจกรรมกับหมู่มิตรดี ชอบที่จะให้อินเตอร์เน็ตเสถียร ไม่ชอบที่อินเตอร์เน็ตไม่เสถียร

    นิโรธ : ถึงแม้นว่าอินเตอร์เน็ตจะไม่เสถียรก็จะไม่ทุกข์ใจ เพราะเชื่อในคำสอนของ ท่านอาจารย์หมอเขียวว่า “เก่งแค่ไหนที่ว่าแน่ก็แพ้วิบากร้าย ร้ายแค่ไหนที่ว่าแน่ก็แพ้วิบากดี”

    มรรค : เมื่อทุกข์ครั้งนี้เกิดขึ้นกับข้าพเจ้า จึงทำให้เห็นว่าเพราะยึดดี และอยากให้เกิดดีดั่งใจหมาย จึงทำให้ต้องทุกข์ พอข้าพเจ้าไม่ยึดงานจึงสามารถบันทึกภาพสำเร็จไปได้ด้วยดี และวิบากกรรมดีของหมู่กลุ่มที่มาร่วมสานพลังกันบำเพ็ญในครั้งนี้จึงส่งผลทำให้ข้าพเจ้าบันทึกรายการได้จนจบโดยไม่มีอุปสรรใด ๆ นี้แหละคือผลของการที่ข้าพเจ้าวางใจไม่กังวล ไม่หวั่นไหว ในขณะทำงาน และอยู่กับปุจจุบันขณะทำงาน ทุกข์จึงสลายไปโดยไม่รู้ตัว

    เหมือนท่านอาจารย์ได้สอนไว้ไม่มีผิดว่า “เก่งแค่ไหนที่ว่าแน่ก็แพ้วิบากร้าย ร้ายแค่ไหนที่ว่าแน่ก็แพ้วิบากดี” หากครั้งนี้ทำงานคนเดียวโดยไม่ได้ไปสานพลังกับหมู่กลุ่ม ไม่แน่ว่าอินเตอร์เน็ตที่บ้านของข้าพเจ้าอาจจะหลุดไม่สามารถเข้าร่วมรายการกับพี่น้องเลยก็ได้
    กราบขอบพระคุณท่านอาจารย์ที่ได้นำธรรมะพระพุทธเจ้ามาเผยแพร่และสั่งสอนพวกเราให้พึ่งตน และพ้นทุกข์ได้ ค่ะ สาธุ

  12. เพิ่มสุข สังคมศิลป์ 6111008035

    แม้ครั้งที่ 3
    เรื่องราว ดินที่ ภูผาฟ้าน้ำ เป็นดินปราบเซียนถูกน้ำจะเหลว ไม่มีน้ำจะแข็งเหมือนปูนซิเมนต์ พืชเจริญเติบโตได้ยากอาจารย์หมอเขียวได้ให้ความรู้โดยก่อนปลูกพืช ใส่ปุ๋ยเช่นเศษอาหาร,เพื่อนพืช และมีการบริหารจัดการน้ำโดยประยุกต์ใช้องค์ความรู้จาก
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ทำฝาย ทำแก้มลิงซ้อนอยู่ในฝาย มีจุดเบี่ยงไม่ให้น้ำมาทางตรงเพื่อลดความแรง ฝาย จะได้ไม่พังทั้งเป็นการกักเก็บน้ำไว้ใช้ในหน้าแล้งและทำกสิกรรมไร้สารพิษ
    ที่แปลงพ้นทุกข์หลังจากทำฝาย มีการนำ แฝก มาปลูกที่ด้านนอกของคันฝายป้องกันการฟังทลายของดิน พี่น้องช่วยกันปลูกใช้เวลา1วัน ต่อมาเมื่อถึงหน้าฝนมีการปรับปรุงคันฝายโดยการถมดิน แฝก ที่ปลูกไว้ถูกดินทับถมไปเกือบหมด ต้องไปหาแฝกมาปลูกทดแทนหลายครั้ง รู้สึกเป็นทุกข์
    ทุกข์ กังวลใจที่ต้องปลูกแฝกหลายครั้ง
    สมุทัย ชอบ ที่ไม่ต้องปลูกแฝกหลายครั้ง ชัง ที่ต้องปลูกแฝกหลายครั้ง
    นิโรธ จะปลูกแฝกหลายครั้งก็เป็นสุขได้
    มรรค พิจารณาประโยชน์การปรับปรุงคันฝาย ถ้าไม่ทำอาจเกิดการสูญเสีย แฝกหาปลูกใหม่ได้
    บททบทวนธรรม ใช้บทที่ 133 อุปสรรค และปัญหา คือ ชีวิตชีวา

  13. จิรานันท์ จำปานวน

    เรื่อง : จะได้ขุดคลองไหม

    เหตุการณ์ : วันนี้เราตั้งใจจะขุดคลองไส้ไก่เพิ่มเพราะน้ำยังมาไม่ถึงบริเวณนี้ จึงเดินหาจอบ เดินหาเท่าไหร่ก็ไม่เจอ ถ้าหาไม่เจอ ก็ไม่ได้ขุดวันนี้ต้องรออีกหลายวันเลยนะค่อยจะได้มาขุด

    ทุกข์ : ใจกลัวว่าจะไม่ได้ขุดคลองไส้ไก่ในวันนี้
    สมุทัย : ชอบถ้าวันนี้ได้ขุดคลองไส้ไก่ ชังถ้าวันนี้ไม่ได้ขุดคลองไส้ไก่

    นิโรธ : จะได้ขุดคลองไส้ไก่ในวันนี้ หรือไม่ ก็ไม่ชอบไม่ชัง

    มรรค : เมื่อเริ่มเดินหารอบที่ 2 กิเลสก็บ่นไปเรื่อยเลยทีนี้

    มาร : อยู่ไหนเนี่ย หายากหาเย็น ปกติก็วางไว้ตรงนี้นะ ใครเอาไปใช้หรือเปล่า
    เรา : ถ้าหาไม่เจอก็ยังไม่ต้องขุดก็ได้ พอจะนึกออกแล้ว แม่เป็นคนที่ใช้ล่าสุดหนิ เลยถามแม่ว่า แม่เห็นจอบไหม แม่ตอบว่า ไม่เห็น แล้วแม่ก็ตัดไม้ไผ่ต่อ
    มาร : เป็นไปได้ไง ก็แม่เป็นคนที่ใช้ล่าสุดจริงๆ นะ เฮ้อ เซ็งเลย
    เรา : ก็เป็นไปแล้ว วางใจเถอะ ไม่ได้ขุดวันนี้ ก็ขุดวันหลังสิ จะกลัวที่จะไม่ได้ขุดวันนี้ทำไม กล้าเลยสิ กล้าที่จะไม่ได้ขุดวันนี้ ยิ่งหายิ่งไม่เจอนะ จะยึดวันอะไรกันนักหนา แล้วที่ยึดว่าต้องได้ขุดวันนี้ทุกข์ไหม
    มาร : ทุกข์สิ แรงก็ไม่มีแล้ว ห่อเหี่ยวไปหมด
    เรา : เห็นไหมล่ะ ทางออกคือ วางใจ จะได้ขุดวันนี้หรือไม่ได้ขุดก็ได้ พร้อมปรับเปลี่ยน ตกลงมั้ย
    มาร : ตกลง

    สรุป ใจโล่งขึ้น หลังจากที่ใจโล่งแล้วก็มีปาฏิหาริย์แห่งพุทธะในระหว่างที่เราเดินกลับมา แม่ก็เดินมาพร้อมจอบ นี่ไงแม่หาเจอแล้ว สาธุค่ะ

  14. สุวรรณ กังวานนวกุล

    เรื่องที่ 42
    ชื่อเรื่อง ล้างทุกข์ใจให้ได้ก่อน อย่างอื่นไม่สำคัญ
    เรื่องย่อ ไปบำเพ็ญที่ภูผาฟ้าน้ำครบ 1 ปี กลับมาบ้านที่กรุงเทพฯ ญาติพี่น้องก็กระตือรือร้นที่จะให้เราได้ฉีดวัคซีน เราได้เตรียมใจมาก่อนแล้วว่า ฉีดก็ได้ไม่ฉีดก็ได้ เวลามีผัสสะจริงๆคือต้องไปจองคิวฉีดวัคซีน ต้องเดินทางไปฉีดที่สถานีกลางบางซื่อ ต้องต่อคิวเป็นทอดๆกว่าจะได้ฉีดจริง เรามีความยินดีพร้อมเรียนรู้ พร้อมใช้วิบากกรรม ไม่หงุดหงิด ไม่เบื่อหน่าย ไม่กลัว ไม่หวั่นไหว มีใจเมตตาต่อผู้คนรอบข้าง รู้สึกเห็นใจเข้าใจ และขอบใจผู้ที่บำเพ็ญงานด้วยความขยันขันแข็งและอารมณ์ดี ในวันนั้นการฉีดวัคซีนเรียบร้อยดีไม่เจ็บไม่ปวดไม่มีอาการแพ้ยา ขอบคุณศีลของเราและศีลของบุคคลที่เกี่ยวข้อง
    ทุกข์อริยสัจ__เตรียมฝึกวางใจเมื่อต้องไปฉีดวัคซีน
    สมุทัย______กลัวเล็กน้อยว่าจะวางใจได้หรือไม่ถ้าต้องไปฉีดวัคซีน
    นิโรธ_______ยินดีพอใจผาสุขได้ทุกเมื่อ
    มรรค_______หมั่นพิจารณาเรื่องความกลัว ความกล้า ความอยากความยึดที่จะได้ดั่งใจ ต้องเข้าใจว่าเหตุการณ์ใดๆภายนอกไม่มีอะไรสำคัญ สิ่งที่สำคัญที่เราจะต้องทำให้ได้ก่อน คือล้างความกลัวความอยากความยึด ต้องกล้าที่จะได้รับเรื่องร้ายๆที่สุดให้ได้ จิตที่มีความยินดีมีความเมตตาเป็นจิตที่มีศีลที่คุ้มครองเราได้

  15. สุพร สุดงาม

    ทุกข์ใจเรื่องรถ
    สมุทัยเนื่องจากรถยนต์ถูกจอดทิ้งไว้ ได้คิดว่าจะขายหรือไม่ขายดี มีผู้หวังดีบอกว่าถ้าชายก็จะหมดภาระ แต่เราก็ลังเลว่าควรเก็บไว้เพื่อใช้ประโยชน์ในอนาคต
    นิโรธ ขายหรือไม่ขายก็สุขใจให้ได้
    มรรค ให้พิจารณาว่าความทุกข์ใจไม่มีประโยชน์เพราะถ้าเรายังไม่พร้อมหรือฐานยังไม่ถึงก็ไม่ควรทำใจให้ทุกข์เพราะคนเราฐานจิตไม่เท่ากัน ฐานจิตของเราก็ยังไม่ถึงก็จะยังสละไม่ได้เมื่อเราปฏิบัติธรรมลดละกิเลสเพิ่มอริยศีล6ไปเรื่อยๆเราก็จะสามารถวางหรือเกิดปัญญาในการลดภาระเรื่องรถได้เองไม่ต้องใจร้อนเพราะมันเป็นการเพิ่มทุกข์ใจ

  16. ทัศนีย์​ จันทา

    13/10/64
    ทัศนีย์​ จั​นทา​ (แตงไทย)
    อายุ49ปี​ 64086
    เรื่อง:รู้สึกผิด
    วันก่อนที่เราเขียนการบ้านคิดล่วงเกินพี่จิตอาสาท่านนั้น ส่งไปแล้วก็รู้สึกผิดไม่สบายใจอยากจะขอโทษ​พี่จิตอาสาท่านนั้นที่ได้ล่วงเกินเพราะท่านเปรียบเสมือนครูบาอาจารย์​ของเรา

    ทุกข์​:รู้สึกผิดไม่สบายใจที่เราพาดพิงคิดล่วงเกินพี่จิตอาสา​ท่านนั้นซึ่งพี่เขาก็ตั้งใจที่จะช่วยให้น้องๆตั้งศีลลดกิเลส​ งานท่านก็เยอะแต่ท่านก็ยังสละเวลามาเอาภาระของน้องๆในกลุ่ม​ แค่ท่านไม่อธิบายให้เราเข้าใจเรากลับไปคิดล่วงเกินท่าน

    สมุทัย​: ชอบหากเราไม่กล่าวโทษ​พาดพิงพี่เค้า​ ชังที่เราพลาดไปล่วงเกินท่าน

    นิโรธ​:ถึงแม้เราจะกล่าวโทษ​ล่วงเกินพี่จิตอาสาไปแล้ว​ เราก็ไม่ชอบไม่ชัง​

    มรรค:เมื่อเราทำผิดแล้วกล้าที่จะขอโทษ​ ยอมรับผิด​ ต่อไปจะระวังคำพูดไม่ล่วงเกินลบลู่พี่เขาอีก​
    เมื่อได้ขอโทษ​พี่เขาแล้ว​จิตใจก็เบิกบานเเจ่มใส

  17. สุมา ไชยช่วย

    เรื่อง วางใจได้

    เหคุการณ์ มีช่างมาขอซื้อเครื่องเชื่อมเก่า กับพ่อบ้านพอดีเราได้ยิน แล้วบอกพรุ่งนี้จะเอาเงินมาให้ ปรากฏว่าไม่เอาเงิน มาให้ตามที่บอก

    ทุกข์ กลัวเขาไม่จ่ายเงิน

    สมุทัย ชอบถ้าเขาจ่ายตามกำหนด ชังเขาไม่จ่ายตามกำหนด

    นิโรธ เขาจะจ่ายเงินตามกำหนดหรือไม่จ่าย ก็ไม่ทุกข์ใจ

    มรรค เมื่อถึงกำหนด ไม่เห็นเอาเงินมาจ่าย เราก็เกิดความกลัว ว่าเขาจะไม่จ่าย จริงๆ พ่อบ้านก็ไม่เห็น เดือดร้อนอะไรเลย มีแต่เราเนี่ยแหละเดือดร้อน พ่อบ้านก็บอกว่าเขาไม่จ่ายก็ไม่เป็นไร เขาเอาไปทำมาหากิน และเวลาเรามีอะไร เราก็จะไหว้วานเขาทำประจำ เขาก็ยินดีทำทุกครั้ง โดยไม่เรียกค่าจ้าง แล้วแต่เราจะให้จริงๆเราก็เคยผิดนัด ในเรื่องต่างๆมามากมาย เราเคยทำมา ต้องขอบคุณพ่อบ้าน ที่เตือนสติและต้องขอบคุณท่านนั้น ที่ทำให้เราเห็นกิเลสตัวกลัวไม่ได้เงิน เราจึงสำนึกผิด ยอมรับผิด เห็นความดีของเขา ถ้าเขาไม่จ่าย เราจริงๆ แสดงว่าเรา ได้ใช้วิบากเก่า ส่วนเขา สร้างวิบากใหม่ เราจึงวางใจได้ หลังจากวันนั้น สองวันเขาก็นำเงินมาจ่าย
    บททบทวนธรรมข้อ 9
    ถ้าเรายังไม่เข้าคนอื่น
    แสดงว่า เรายังไม่เข้าใจตนเอง
    สรุป วางใจได้ทุกอย่างก็คลี่คลาย

  18. สุมา ไชยช่วย

    เรื่อง สงสารใคร

    เหตุการณ์ เข้าซูมถามตอบปัญหา มีน้องเลี้ยงจะขอเปลี่ยนพี่เลี้ยง เกิดความสงสารพี่เลี้ยงท่านนั้น กลัวท่านเสียหน้า

    ทุกข์ กังวลพี่เลี้ยงท่านนั้นจะเสียหน้า

    สมุทัย ชอบถ้าไม่มีการเปลี่ยนพี่เลี้ยง ชังมีการขอเปลี่ยนพี่เลี้ยง

    นิโรธ จะมีการขอเปลี่ยนพี่เลี้ยงหรือไม่ ก็ไม่ชอบไม่ชัง

    มรรค เกิดความสงสารพี่เลี้ยงท่านนั้น ขึ้นมาทำให้ใจกังวล กลัวท่านจะเสียหน้า คิดแบบนี้แล้วใจเป็นทุกข์ขึ้นมา เพราะเราคิดตามกิเลสจึงทุกข์ จึงหันกลับมาคิดแบบพุทธะ ขอสำนึกผิด ยอมรับผิด ที่ไปทายใจท่าน พุทธะไม่มีเสียหน้า พุทธะหาประโยชน์ ได้ในทุกเหตุการณ์ การที่น้องเลี้ยง ขอเปลี่ยนตัวพี่เลี้ยง เป็นเรื่องที่ดีมาก ท่านทั้งสองได้รับประโยชน์ ต่างได้ศึกษา ข้อมูล ซึ่งกันและกันและได้ประสบ การณ์ใหม่ และได้รับผัสสะใหม่ๆ ด้วย น้องเลี้ยงท่านนั้นก็จะได้ เปรียบเทียบระหว่าง พี่เลี้ยงท่านใหม่ และท่านเก่า มีแต่ประโยชน์ทั้งนั้น
    บททบทวนธรรม147
    ทุกอย่างที่เกิดขึ้น ดีที่สุดแล้ว
    (Everything happens for the best)
    สรุปใจก็คลายความกังวล ถ้าเป็นเมื่อก่อนก็คงจะกอดความทุกข์นี้ไว้ แต่ณ.ปัจจุบันมีสัตบุรุษ และหมู่มิตรดีพาให้เราพ้นทุกข์ คลายทุกข์ได้จริง สาธุค่ะ

  19. พริมรัศมิ์ จิวเลิศเลขา (64179)

    เรื่อง หัวใจไร้ทุกข์ด้วยอริยสัจ4

    อริยสัจ4 เป็นหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ใช้กับสรรพสัตว์ทั้งหลาย ใช้ยึดปฏิบัติในการดำรงชีวิตและความหมายที่แท้จริงคือความจริงอันประเสริฐ จากประสบการณ์ของตนเองที่ผ่านมาต้องผ่านเรื่องราวมากมายในการเรียนรู้และซึมซับในหลักธรรมทั้ง 4 ข้อนี้ เริ่มจาก

    – ทุกข์ คือ การจัดการทุกข์ที่เข้ามากระทบในชีวิตประจำวันยกตัวอย่างเช่นปัญหาการทำงานในอดีต การกระทบกันกับเพื่อนร่วมงาน จะใช้วิธีจัดการทุกข์ด้วยการวางเฉย ไม่โต้ตอบแต่หันมาจัดการกับอารมณ์ของตนเองเพื่อปล่อยวางให้ได้มากที่สุด จากการปฏิบัติธรรมและเดินทางสายธรรมอย่างตั้งใจและเริ่มปล่อยวางและเข้าใจเพื่อนมนุษย์มากขี้น ปัญหาและการกระทำที่เกิดจากอีกฝ่ายไม่ได้ส่งผลต่อเรา หากเราไม่มองว่าเป็นปัญหาและรับหรือดึงเข้ามาให้เป็นปัญหาของตัวเอง

    – สมุทัย ที่เป็นสาเหตุให้เกิดทุกข์คือตัวเราเอง จริงอยู่ว่าองค์ประกอบปัจจัยต่างๆล้วนมีผลส่งให้เราเกิดความทุกข์ แต่ทุกความทุกข์ล้วนเป็นประสบการณ์ให้เราเติบโตและแข็งแกร่ง เมื่อความทุกข์มากระทบเรารู้จักเรียนรู้และปล่อยวาง สาเหตุแห่งทุกข์ก็จะค่อยๆลดลงและดับไป

    -นิโรธ การความดับทุกข์ เมื่อหาสาเหตุและเข้าใจปัญหาของทุกข์ และเรียนรู้ปล่อยวางจากเหตุของสมุทัย ทุกอย่างก็จะเบาบางและดับไปตามคำสอนของพระุทธเจ้าว่า ทุกอย่างล้วนเกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไป

    -มรรค หากเรานำแนวทางแห่งมรรคมีองค์แปดมาใช้ในการดำเนินชีวิตคือ
    1.สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นที่ถูกต้อง) คือความรู้ในอริยสัจ 4
    2.สัมมาสังกัปปะ (ความคิดที่ถูกต้อง) คิดปฏิบัติในสิ่งที่ถูกต้องไม่เบียดเบียนผู้อื่น
    3. สัมมาวาจา (วาจาที่ถูกต้อง) ไม่พูดเท็จ หยาบคาย ส่อเสียด และเพ้อเจ้อ
    4.สัมมากัมมันตะ (การปฏิบัติที่ถูกต้อง)
    5.สัมมาอาชีวะ (การหาเลี้ยงชีพที่ถูกต้อง)
    6.สัมมาวายามะ (ความเพียรที่ถูกต้อง)
    7.สัมมาสติ (การมีสติที่ถูกต้อง)
    8.สัมมาสมาธิ (การมีสมาธิที่ถูกต้อง)

    เมื่อเราปฏิบัติตนได้ตามอริยสัจ 4 ตามที่กล่าวไว้แล้วเบื้องต้นย่อมมีแต่หัวใจที่ไร้ทุกข์ ก้าวข้ามปัญหาต่างๆและอุปสรรค ซึ่งตนเองยืนยันว่าได้ผ่านตรงจุดนั้นมาแล้ว แม้ว่าบางเรื่องจะไม่สามารถก้าวข้ามได้ทั้งหมด แต่ก็ไม่ย่อท้อที่จะเจริญรอยตามหลักขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ขอเป็นกำลังใจให้ทุกๆท่านค่ะ

  20. นางภัคเปมิกา อินหว่าง

    เรื่อง:ติดตามสถานะนักศึกษาวิชชาราม

    เหตุการณ์:เคยสมัครเรียนนักศึกษาวิชชาราม ที่ภูผาฟ้าน้ำในค่ายพระไตรปิฏกครั้งที่ 30 แต่เมื่อทางสวนป่าฯ2 จิตอาสาท่านมาทบทวนสถานะนักศึกษาแต่ละปีว่าท่านใดยังมีสถานะเป็นนักศึกษาอยู่หรือไม่
    ปรากฎว่าเราไม่มีรายชื่อเป็นนักศึกษา
    และได้ปรึกษาถามจิตอาสา ให้ช่วยติดตามสถานะนักศึกษาให้ด้วย แต่เวลาผ่านไปร่วมเดือน ยังไม่ได้รับคำตอบ

    ทุกข์: ข้องใจ ที่ยังไม่ได้รับคำตอบ

    สมุทัย: ชอบใจหากได้รับคำตอบเร็ว
    ชังที่ไม่ได้รับคำตอบ

    นิโรธ: จะได้รับคำตอบหรือไม่ ก็ไม่สุขไม่ทุกข์ไม่ชอบไม่ชังได้

    มรรค: เมื่อมาพิจารณา และทบทวนถึงเหตุการณ์ที่เราเคยบอกกล่าวให้ท่านจิตอาสา ช่วยติดตามเรื่องราวให้ด้วย แต่เมื่อยังไม่ได้รับคำตอบ เราก็วางใจได้”ว่า จะได้รับคำตอบหรือไม่ ก็ได้ จิตอาสาท่านมีภาระเยอะอาจจะหลงลืม หรือด้วยเหตุผลอะไรก็แล้วแต่ เราจะยังมีชื่อหรือไม่มีชื่อก็ได้ให้เป็นไปตามธรรมะจัดสรร ด้วยบททบทวนธรรมข้อ.๘๒ จงฝึกอยู่กับความเป็นจริงของชีวิต ที่พร่องอยู่เป็นนิตย์อย่างผาสุกให้ได้
    เมื่อพิจารณาได้ดังนั้น ใจเบาสบายคลายทุกข์จะมีชื่อหรือไม่มีก็ได้ แต่เรามีสภาวะสามารถดับทุกข์กายทุกข์ใจได้ด้วย “ทุกข์อริยสัจ” หมดอยากหมดทุกข์ผาสุกยั่งยืน

  21. นางจิราภรณ์ ทองคู่

    เรื่อง มีหนี้ต้องใช้

    เนื้อเรื่อง มีอยู่วันหนึ่งช่วงบ่ายแก่ๆได้มีอาการปวดที่กลางฝ่าเท้าขวามาก จึงทำกัวซาแล้วไปแช่มือแช่เท้าเพื่อระบายพิษออก หลังจากนั้นก็มานั่งคิดหาเหตุว่าทำไมเราจึงมีอาการปวดกลางฝ่าเท้ามากเช่นนี้พอคิดทบทวนไปมาก็นึกขึ้นมาได้ว่าอ๋อเราไปกินตีนสัตว์ต่างๆมามากเช่น เป็ด ไก่ หมู วัว ควาย ทำให้เขาต้องตาย ต้องพลัดพรากจากสิ่งที่เขารัก ทั้งในชาตินี้และชาติก่อนๆ ถึงเวลาของเราแล้วที่เราต้องมารับวิบากกรรมที่เราทำมา พอนึกได้ดังนั้นจึงรีบน้อมจิตถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกข์พระองค์ พระอริยเจ้า พ่อครู อาจารย์หมอเขียว ผู้บำเพ็ญคุณงามความดีทุกท่านตลอดจนตนเอง คนอื่น สัตว์อื่นที่เราทำไม่ดีต่อท่านมาในชาติปัจจุบันและในอดีต ทั้งที่เจตนาหรือไม่ได้เจตนา โดยการสำนึกผิด ยอมรับผิด ขอโทษเต็มใจรับโทษขออโหสิกรรม ต่อสิ่งที่เราทำไม่ดีต่อท่านทั้งหลายนั้นและตั้งจิตหยุดทำสิ่งที่ไม่ดีอันนั้น ตั้งจิตทำความดีให้มากๆคือลดกิเลสให้มากๆ เกื้อกูลผองชนและหมู่สัตว์ให้มากๆ พอนอนตื่นขึ้นตอนเช้าปรากฏว่าอาการที่เป็นหายไป 80 % ที่เหลืออยู่ก็ค่อยๆหายไปใน 1 วัน

    ทุกข์ เร่าร้อนใจว่าทำไมอยู่ดีๆจึงปวดกลางฝ่าเท้าขวามาก

    สมุทัย ถ้าไม่มีอาการเจ็บปวดใดๆจะสุขใจแต่ถ้ามีอาการเจ็บปวดจะทุกข์ใจ

    นิโรธ จะเจ็บปวดหรือไม่เจ็บปวดก็สุขใจ

    มรรค เราเชื่อชัดเรื่องกรรมอย่าแจ่มแจ้งและรู้ว่า ได้ทำชั่วมาหาที่ต้นที่สุดไม่ได้ ชีวิตจะดีอย่างเดียวเป็นไปไม่ได้ ถ้าวิบากดีออกฤทธิ์มันก็ดี แต่เมื่อใดวิบากร้ายออกฤทธิ์มันก็ไม่ดี ชีวิตเดี๋ยวก็ดีเดี๋ยวก็ร้าย ยินดีใช้หนี้ หนี้จะได้หมดไป เราจะโชคดีขึ้นแล้วจะมาทุกข์ใจไปทำไม เบิกบานแจ่มใส ดีกว่า

  22. เพิ่มสุข สังคมศิลป์6111008035

    เรื่องคิดให้ทุกข์ทำไม
    เหตุการณ์คือ มีเพื่อนเป็นคนขยันทำกิจกรรมการงานหลายอย่าง บางงานทำให้รู้สึกว่าเพื่อนไม่ควรทำเช่นนั้นเลย ทำให้สิ้นเปลืองและไม่ช่วยกันดูแลเครื่องมือเครื่องใช้ส่วนกลาง ได้มีการอปริหารในกลุ่มใหญ่หลายครั้งก็ยังไม่มีการปรับปรุงตัวเอง
    ทุกข์:รู้สึกอึดอัดใจที่เพื่อนไม่แก้ไขตัวเอง
    สมุทัย:ถ้าท่านแก้ไขตัวเองจะสุขใจชอบใจถ้าท่านไม่แก้ไขจะทุกข์ใจชอบใจ
    นิโรธ:ท่านจะแก้ไขหรือไม่แก้ไข เราก็สุขสบายใจและกังวล
    มรรค:ตั้งศีลยอมให้ท่านเป็นอย่างที่ท่านเป็นขอบคุณท่านที่ทำให้เราได้เห็นทุกข์และเราได้ใช้วิบากร้ายได้น้อมนำธรรมะคำสอนที่อาจารย์สอนมาพิจารณาจะโง่เอาความพร่องความชั่วของคนอื่นมาหนักหัวกะบาลเราทำไมจงเมตตาและอุเบกขา ใช้บททบทวนธรรมบทที่ 3 นับหนึ่งที่เราเริ่มต้นที่เราทำความดีที่เรานี่คือเส้นทางเพื่อการพึ่งตนและช่วยคนให้พ้นทุกข์ บทที่ 21 การได้พบกับเหตุการณ์ที่ไม่ถูกใจเราไม่ได้ดั่งใจเราเป็นสุดยอดแห่งเครื่องมืออันล้ำค่าที่ทำให้ได้ฝึกล้างกิเลสคือความหลงชิงชังรังเกียจความหลงยึดมั่นถือมั่นในใจเรา และทำให้ได้ล้างวิบากร้ายของเรา ทำให้ใจโล่งเลยค่ะ สาธุค่ะ

  23. นปภา รัตนวงศา

    เรื่อง เพราะไม่ชอบจึงได้รับ

    เหตุการณ์ “ลูกชายแจ้งให้ทราบว่า แม่ นัฐไปสักลายมาด้วยครับ พร้อมถอดเสื้อและถามว่า สวยไหม” ได้แต่ส่ายหน้าแต่ไม่ได้พูดตอบอะไรไป เพราะเรื่องสักลายตามตัวลูกเคยถามมา 3-4 ปีแล้วว่า ถ้าลูกจะสักลายได้ไหม ก็เคยตอบไปว่า แม่ไม่อยากให้สักลาย

    ทุกข์ ขุ่นใจ ไม่พอใจลูกไปสักลายที่หลังมา

    สมุทัย ชอบถ้าลูกไม่ไปสักลาย และเชื่อฟัง ชังถ้าลูกไปสักลายและไม่เชื่อฟัง

    นิโรธ ลูกจะไปสักหรือไม่ไปสักลาย ลูกจะเชื่อฟังหรือไม่เชื่อฟังก็ไม่ชอบไม่ชัง ใจไร้ทุกข์

    มรรค ตั้งศีลพิจารณาไตรลักษณ์ ความวิปลาส ความยึดมั่นถือมั่นว่าลูกจะไม่ไปสักลายตามที่แม่แนะนำ เพราะเห็นว่ามันไร้สาระ ดูไม่สะอาดบนร่างกาย ซึ่งเหมือนจะจริงแต่ไม่จริง ทุกอย่างบนโลกใบนี้เราไม่สามารถควบคุมได้แม้แต่ตัวเองบางครั้งยังควบคุมตัวเองยังไม่ได้เลย จะไปควบคุมคนอื่นได้อย่างไร เมื่อใจเริ่มทุกข์ ขุ่นใจ ไม่พอใจแม้จะเล็กน้อย มองออกไปนอกตัวอีกแล้ว ผิดทางพุทธะแล้ว ก็มาคิดใหม่ว่า เราแค่เป็นผู้ให้กำเนิดส่วนการกระทำเป็นเรื่องของเขา เมื่อเราบอกแล้ว สอนแล้วส่วนที่เหลือเป็นเรื่องของลูก เราก็ควรเคารพการตัดสินใจการกระทำของเขา วิบากใหม่ของเขาที่เขาทำก็ต้องรับ ส่วนเราก็อย่าทำวิบากใหม่เพิ่ม
    มาพิจารณาเรื่องที่เกิดขึ้นนั่นคือตัวเรา เราดื้อไม่ทำตาม เอาแต่ใจตัวเองมามากกว่านั้น ที่ได้รับยังน้อยกว่าที่ทำมาก็ขอสำนึกผิด ยอมรับผิด ขอโทษ ขออโหสิกรรมในสิ่งที่ทำมา และยอมรับ เชื่อชัดในวิบากกรรมที่ทำมาด้วยความเต็มใจ
    ใช้บททบทวนธรรมบทที่ 8 สิ่งที่เราได้รับ คือสิ่งที่เราทำมา ไม่มีสิ่งใดที่เราได้รับ โดยที่เราไม่เคยทำมา
    ขอตั้งศีลพากเพียรล้างสิ่งที่เอาแต่ใจ ได้ดั่งใจลงเป็นลำดับๆ
    สรุป หลังจากที่พิจารณาแล้ว เชื่อชัดในวิบากกรรมมีจริง และยอมรับในวิบากกรรมนั้นด้วยความยินดี วางใจได้พูดคุยกับลูกชายด้วยความเข้าใจ ถ้าเป็นเมื่อก่อนจะโกรธ แสดงออกทางสีหน้า ออกทางวาจา และคงจะไม่พูดคุยกับลูกไปหลายวัน แต่เมื่อเชื่อชัดในสิ่งที่ทำมา และได้รับน้อยกว่าที่ทำมาด้วย ก็ยินดี เต็มใจ พอใจ จิตใจก็เบิกบาน แจ่มใส..สาธุ

  24. ทัศนีย์​ จันทา

    15​ ต.ค.64
    ชื่อ​ ทัศนีย์ จันทา (แตงไทย)​64087
    อายุ 49 ปี

    เรื่อง:กิเลสมันฟุ้ง
    ตั้งแต่วันแรกที่ตัดสินใจลงสมัครเรียนวิชารามร่วมกับเพื่อนๆความทุกข์​ก็เข้ามาเยือนเลย

    ทุกข์​: สมัครเรียนแล้วกลัวทำไม่ได้​ กลัวไม่มีเวลาทำการบ้าน​ กลัวไม่ได้ฟังอาจารย์ครบ​ทุกหัวข้อ

    สมุทัย​:ชอบที่จะฟังหมู่เฉยๆ​ ไม่ชอบที่จะได้ทำการบ้าน

    นิโรธ​: จะได้ทำการบ้านหรือไม่ได้ทำการบ้านก็ไม่ชอบไม่ชัง

    มรรค: เมื่อมั่นใจแล้วว่านี่คือทางเดินที่ถูกต้องก็ต้องไม่ทุกข์​ตั้งใจทำวันนี้​ให้​ดี​ที่สุด
    คิดได้ดังนั้นความทุกข์​ความกังวล​ก็คลายลงตั้งใจทำวันนี้ให้ดีที่สุดตามฐานของเรา

  25. น.ส ชรินรัตน์ ชุมจีด (น้ำน้อมศีล)

    ส่งการบ้านอริยสัจ4
    เรื่อง.กล้ายินดี รอ…
    เหตุการณ์.เนื่องจากได้อาสาไปส่งน้องที่สนามบิน เนื่องจากเป็นช่วงเช้าจึงไม่ได้กินข้าวไปก่อน เพราะคิดว่าไปส่งใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมงคงสบายๆ แต่พอไปถึงสนามบิน อาบอกว่าขออยู่ส่งน้องขึ้นเครื่องก่อนได้ไหม ตอบว่าได้ค่ะ ตัวเองก็นั่งรออยู่ที่รถ ผ่านไป 1-2 ชั่วโมง อายังยังไม่ออกมา จับได้เริ่มขุ่นนิดๆ แต่ก็รอไปเรื่อยๆ พร้อมกับเปิดซูมฟังรายการไปพลางๆพร้อมกับวางใจสักพักอาก็โทรมาบอกว่าเรากลับกันก่อนดีกว่า เพราะเที่ยวบินเกิดความล่าช้า รอก็ยังไม่รู้จัได้ขึ้นเครื่องตอนไหน จึงตัดสินใจกลับบ้านก่อน ขับรถถึงบ้านแล้วน้องก็ยังไม่ได้ขึ้นเครื่องบินเลยค่ะ

    ทุกข์.ขุ่นใจ ไม่พอใจนิดๆเมื่ออาขออยู่ส่งน้องขึ้นเครื่องก่อน ที่ต้องรอนาน

    สมุทัย.ไม่ชอบที่จะต้องรอนาน เพราะอยากกลับบ้านเร็วๆเพื่อจะได้ทำภารกิจส่วนตัวเร็วๆ
    ชอบถ้าได้กลับบ้านเลยโดยไม่ต้องรอนานจะสุขใจ

    นิโรธ.ยินดีที่จะต้องรอนานก็ได้ ได้กลับบ้านเลยก็ได้ก็ไม่ชอบไม่ชัง

    มรรค.ตั้งศีลมาปฏิบัติพิจารณาเห็นไตรลักษณ์ ความไม่เที่ยงเป็นทุกข์ เห็นถึงความอยากเมื่อไม่ได้ตามที่อยากก็เป็นทุกข์ พิจารณาโทษของความอยากความยึดมั่นถือมั่น ไม่ชอบการรอเมื่อต้องรอนานทำให้เป็นทุกข์ เกิดความรู้สึกทางกาย กิเลสบอกว่ารอนานอยู่ในรถร้อนมาก แล้วมาพิจารณาประโยชน์ของการวางใจ การกล้ายินดี ทำให้มีปัญญาแก้ปัญหาได้ วางได้เมื่อไหร่เป็นสุขทันที ถือว่าตัวเองโชคดี ที่ได้เห็นกิเลสส่วนเหลือตัวที่ยังติดอยู่ได้ล้างทุกข์ได้ใช้วิบากกรรม ได้สำนึกผิดว่าเราก็เคยให้คนอื่นรอมาก็มาก ทำให้คนอื่นร้อนทั้งกายร้อนทั้งใจมาก่อน ตั้งศีล สำนึกผิด ขอโทษ ขออโหสิกรรม หยุดสิ่งไม่ดีอันนั้น ตั้งจิตทำความดีให้มากๆช่วยเหลือผู้อืนให้มากๆ เพื่อจะให้ดีชิงออกฤทธิ์แทนร้ายเราจะโชคดีขึ้น
    สรุปว่า.เมื่อพิจารณาอาการของกิเลสไปเรื่อยๆก็ทำให้ใจโล่งสบาย เปรียบเทียบถ้าเป็นเมื่อก่อนจะแสดงพฤติกรรมให้เค้ารู้ออกมาเลยว่าเราไม่พอใจ แต่ตอนนี้เมื่อเราเข้าใจชัดเรื่องกรรมอย่างแจ่มแจ้ง เมื่อจิตให้แบบวางใจไม่เอาอะไร เราจะได้รับสิ่งดีร้ายอะไรอย่างไรเท่าไหร่ก็ต้องวางใจให้มันเป็นไปตามธรรม ตามกุศลอกุศลของเราและคนที่เกี่ยวข้อง กล้ายินดีที่จะรออย่างใจไร้ทุกข์ให้ได้ อากาศที่ร้อนก็เปิดประตูรถลมก็โชยเข้ามาทำให้เราไม่ร้อนยินดีรอพร้อมกับนั่งฟังรายการในซูมไป เมื่อวางใจได้อาจึงโทรมาบอกว่าเรากลับก่อนดีกว่า จึงตัดสินใจกลับด้วยใจไร้ทุกข์ สาธุค่ะ..

  26. สำรวม แก้วแกมจันทร์

    15/10/64
    ชื่อ : สำรวม แก้วแกมจันทร์
    ชื่อเล่น : ป้ารวม
    ชื่อทางธรรม : ร้อยแสงศีล
    จิตอาสา : สวนป่านาบุญ 2

    เรื่อง : ไม่พบเชื้อโควิด พบแต่ “เชื้อกิเลส…”

    เหตุการณ์ : บ่ายวันอังคาร ที่ 11 ตุลาคม 2564 ตัวเองไปตามนัด “ตรวจเชื้อโควิด” ด้วยมีความยินดี พอใจ เต็มใจ เพื่อให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ตรวจหาเชื้อโควิด โดยวิธีการแหย่จมูก โดยที่ไม่กลัวเจ็บ ไม่กังวล ไม่หวั่นไหว เตรียมตัวเตรียมใจ พร้อมให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ แต่พอไปถึงสถานที่ ตามนัด รู้สึกขัดใจ ไม่พอใจ เพราะเจ้าหน้าที่คนที่ประสานงานให้ไปตรวจนั้น เขาไม่ได้บอกให้เอาสำเนาบัตรประชาชนไปด้วย จึงทำให้เสียเวลาต้องไปหาร้านถ่ายสำเนาบัตรประชาชน รอคิวนาน กว่า 3 ชั่วโมง กว่าจะได้ตรวจ ผลการตรวจปรากฏว่า ไม่พบเชื้อโควิด พบแต่ “เชื้อกิเลส….”

    ทุกข์ : รอนาน ขัดใจ ไม่ได้ดั่งใจ ไม่พอใจ

    สมุทัย : ถ้าเจ้าหน้าที่บอกให้เราเตรียมถ่ายสำเนาบัตรประชาชนไปด้วย ได้ดั่งใจ พอใจ สุขใจ แต่เขาไม่ได้บอก ต้องรอนาน ขัดใจ ไม่ได้ดั่งใจ ไม่พอใจ ทุกข์ใจ

    นิโรธ : เขาจะบอกหรือไม่บอก ก็ยินดี พอใจ เอาประโยชน์ให้ได้ทุกสถานการณ์ เบิกบาน ไร้กังวล ไม่ทุกข์

    มรรค : ได้ตั้งอธิศีลไว้ว่า “จะไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น” คือไม่อยากให้คนอื่นดี โดยไปขโมยดีของผู้อื่น แต่พอเจอเหตุการณ์ครั้งนี้ ลืมอธิศีลไปเลย ต้องรอนาน ขัดใจ ไม่ได้ดั่งใจ ไม่พอใจ เป็นการเบียดเบียนตนเองและผู้อื่นทันที ทุกข์อยู่ประมาณ 30 วินาที จึงรู้ว่า ผิดศีลทุกข้อ พอรู้ว่าผิด ทำใจในใจ เกิดปัญญาพุทธะ เริ่มมีสติขึ้น การสื่อสารที่ผิดพลาดนั้น ตรงกับบททบทวนธรรม บทที่ 1 คือ
    “…มันเป็นวิบากกรรมเขา วิบากกรรมเรา ที่เราเคยพลาดทำมา… แก้ไขได้ด้วยการทำดี ไม่มีถือสาไปเรื่อยๆ …. ความเข้าใจผิดนั้นจะหมดไปเอง” ในใจขอบคุณเจ้าหน้าที่ จากจิตที่บริสุทธิ์ เป็นความเมตตา ให้อภัย ไม่ถือสา สำนึกผิด ขอโทษ ขออภัย หยุดคิดสิ่งที่ไม่ดี ทำให้โล่งใจ เบา สบาย ยินดี พอใจ เอาประโยชน์ได้ทุกสถานการณ์ เบิกบาน ไร้กังวล ไม่ทุกข์

    สรุป : ตรวจเชื้อโควิดไม่พบ พบแต่เชื้อกิเลส ..รอนาน ..ขัดใจ ..ไม่พอใจ เมื่อได้สำนึกผิด เกิดความยินดี พอใจ เอาประโยชน์ได้ทุกสถานการณ์ เบิกบาน ไร้กังวล ไม่ทุกข์

  27. พรพิทย์ สามสี (เพื่อนพิทย์)

    เรื่อง : เจ็บเข่า และนิ้วหัวแม่โป้งข้างขวาล๊อก
    มีที่ดินที่อยู่ใกล้บ้านที่พอจะปลูกพืชผักกินได้ 1 แห่ง แต่ไม่ได้ปลูกผัก แต่ได้ปลูกกล้วย ที่บ้านก็ปลูกพืชผักทั้งลงดิน ทั้งใส่กระถาง อีกแห่งหนึ่งอยู่ไกลบ้านนิดหนึ่ง ไปปลูกพืชผักที่สวนตรงนั้นเป็นหลัก เพราะพ่อบ้านจะลงไปสวนตรงนั้นเกือบจะทุกวัน และพ่อบ้านก็อยากให้เราลงไปปลูกพืชผักในสวนตรงนั้นด้วย เราไปปลูกได้รับผลแล้วไม่เยอะ แต่ได้แจกบ้าง เอาไปขายบ้าง นี่ก็กำลังถากหญ้าเพื่อจะปลูกสานต่อไม่ให้ผักเขาหมดรุ่น แต่ช่วงนี้รู้สึกเจ็บเข่า เจ็บแขน อย่างแรง แต่ที่จริงเราเจ็บออดๆแอดๆมาตั้งนานแล้ว ตั้งแต่เราได้เจอแพทย์วิถีธรรม เราชอบทำกสิกรรม ชอบต้นไม้ มีที่ดิน 3 แห่ง ต้องดูแล งานเขาหนักอยู่สำหรับผู้มีอายุยาวอย่างเราต้องรู้เพียร รู้พักเอาเอง
    ทุกข์ : เจ็บร่างกายทรมาน
    สมุทัย : ชอบที่จะร่างกายแข็งแรง ไม่เจ็บออดๆแอดๆ
    นิโรธ : ยินดี ยอมรับ ที่จะกล้าเจ็บให้ได้ กล้าที่จะหายทุกข์ใจกับการเจ็บให้ได้
    มรรค : ก็เมื่อก่อนนึกถึงตอนที่เรายังกินเนื้อสัตว์อยู่ สัตว์เขาต้องทุกข์ทรมานมากๆด้วยความเจ็บปวด ที่เราเจ็บปวดณตอนนี้ เราต้องทำมาแน่ๆ
    บททบทวนธรรม ๒๒
    ถ้าใครมีปัญหา หรือความเจ็บป๋วยในชีวิต
    ให้ทำความดี ๔ อย่างนี้
    ด้วยความยินดี จริงใจ จะช่วยให้ปัญหา
    หรือความเจ็บป๋วย ลงลงได้เร็ว
    ๑ สำนึกผิด หรือยอมรับผิด
    ๒ ขอรับโทษ เต็มใจรับโทษ
    หรือขออโหสิกรรม
    ๓ ตั้งจิตหยุดสิ่งที่ไม่ดีอันนั้น
    ๔ ตั้งจิตทำความดีให้มาก ๆ คือลดกิเลสให้
    มาก ๆ เกื้อกูลผองชนและหมู่สัตว์ให้มาก ๆ

  28. นางสาวเสริมศรี ชวานิสากุล

    อาการไหวของใจจากความอยาก ๑๖ ต.ค. ๒๕๖๔
    เหตุการณ์ เมื่อทราบว่าพี่สาวคนที่ ๓ ไปลงทุนทำธุรกิจใหม่ที่เกี่ยวข้องกับสัตว์ เราก็เกิดความทุกข์ เพราะที่จริงแล้วธุรกิจที่เขาทำอยู่ในปัจจุบันนี้ก็ดีอยู่แล้ว มีรายได้เพียงพอที่จะเลี้ยงครอบครัวไปได้อย่างไม่ยากไม่ลำบากในชาตินี้ โดยที่เขาไม่จำเป็นต้องไปลงทุนอะไรเพิ่ม ยิ่งต้องไปยุ่งเกี่ยวกับชีวิตสัตว์ด้วยแล้วยิ่งเป็นการไปสร้างวิบากร้ายใหม่เพิ่มให้ยิ่งหนักกว่าเดิม อีกไม่กี่เดือนต่อมาได้ทราบข่าวว่าพี่สาวคนที่ ๒ จะลงทุนในธุรกิจเดียวกันเกี่ยวกับสัตว์เพิ่มอีกหนึ่งแห่ง ทั้งที่พี่สาวคนนี้ก็มีธุระกิจที่ดีมีรายได้เหลือพอเลี้ยงตัวเองได้สบายไปในชาตินี้ จึงเกิดแรงกระเพื่อมในใจอยากบอกพี่สาวให้รู้ว่า “การธุรกิจที่เกี่ยวกับสัตว์นั้นจะเป็นการเบียดเบียนชีวิตอื่น เป็นการสร้างวิบากร้ายใหม่ จะนำทุกข์มากให้”
    ทุกข์ เห็นอาการไหวของใจที่ไม่นิ่งเหมือนปกติ เป็นอาการของความทุกข์
    สมุทัย อยากบอกให้พี่รู้ว่าการทำธุรกิจเกี่ยวกับสัตว์เป็นการเบียดเบียนชีวิตอื่นจะเกิดวิบากร้าย ไม่อยากให้พี่สร้างวิบากร้ายใหม่
    นิโรธ พี่สาวจะทำธุรกิจเกี่ยวกับสัตว์หรือไม่ ใจก็ไม่หวั่นไหว
    มรรค เส้นทางของความอยากพูดของเราเกิดจาก “การยึดว่าเป็นพี่สาวของเรา” เป็นทุกข์ “เพราะทำให้เกิดความห่วงใย” เป็นทุกข์ จึงทำให้เกิดความอยากให้เขาไม่ไปทำในสิ่งที่จะสร้างความทุกข์ เราจึงเป็นทุกข์ที่เขาจะต้องเป็นทุกข์ เพราะเราไม่อยากเป็นทุกข์ เราจึงอยากพูดอยากบอกในสิ่งที่เราคิดว่า “ดี” (สำหรับเรา แต่อาจจะไม่ดีสำหรับเขา) เพราะเมื่อเรามีพลังงานอยาก(พูด/บอก)เป็นกิเลส อยากทำให้ได้ดังใจเราจึงมีวิบากร้ายเราจึงเนิ่นช้า และพลังงานความอยาก(กิเลส)ของเรา ยังทำให้เขารู้สึกได้ว่าเรามีรังสีแห่งความกดดัน บีบคั้น บีบบังคับ ถ้าเขายังมีกิเลสเขาก็จะชังจะเพ่งโทษเรา เขาก็จะมีวิบากร้ายทำให้เขาเนิ่นช้าในการบรรลุธรรมเช่นกัน
    จึงได้เห็นว่าการอยากพูดอะไรที่เราคิดว่าดีก็พูด แต่พูดด้วยกิเลสความอยากได้ดังใจหมาย มันคือการผิดศีลคือพูดจาหว่านล้อมเพื่อให้เขาทำตามที่ใจเราอยากให้เป็น จะทำให้เกิดการประมาณผิดทำให้เกิดการเบียดเบียนจิตวิญญาณ
    ดังนั้นจึงตั้งศีลว่า “เราจะรับแต่ของที่เขาให้ ต้องการแต่ของที่เขาให้” รับ “การที่ใครจะเราพูด” “ตอบท่านที่ถาม” “ตอบให้ตรงคำถามไม่ตอบในสิ่งที่เราอยากพูด/อยากตอบ”

    เพียรไพรพุทธ พุทธสถานภูผาฟ้าน้ำ

  29. นางภัคเปมิกา อินหว่าง

    เรื่อง : ปัญหา คือ เครื่องมือฝึกจิต

    เหตุการณ์: สมัครเป็นนักศึกษาวิชชารามตั้งแต่ค่ายพระไตรปิฎกครั้งที่ 30 ที่ภูผาฟ้าน้ำ เมื่อปี 2563 แต่เมื่อทางคุรุแจ้งทะเบียนนักศึกษา ปรากฎว่าเราไม่มีชื่อ
    และได้ติดต่อประสานไปยังคุรุ
    คุรุให้เราสมัครเป็นนักศึกษาใหม่ในรอบนี้(ช่วงขยายเวลารับนักศึกษาใหม่ 11-15 ตค.64)

    ทุกข์: เศร้าใจ หลงคิดว่าตัวเองเป็นนักศึกษามาตั้งแต่ปี 63

    สมุทัย: ชอบใจ ที่ได้เป็นนักศึกษาตั้งแต่ปี 63 ไม่ชอบใจ ที่ไม่ได้เป็นนักศึกษา ตั้งแต่ปี63

    นิโรธ: จะได้เป็นนักศึกษาปีไหน เมื่อไหร่หรือไม่ได้เป็น ก็ได้ ไม่ชอบไม่ชัง ได้

    มรรค: เมื่อได้รับรู้เรื่องราวความพร่องความพลาดที่เกิดขึ้นกับตัวเรา ในสถานะไม่มีชื่อในทะเบียนนักศึกษาปี 63
    ก็ทำใจว่า จะมีชื่อหรือไม่มี ก็ไม่เป็นไร
    หากไม่มีก็สมัครใหม่ พิจารณาที่ใจว่าเราต้องการอะไร เรามีความอยากได้ อยากมี อยากเป็น หรือไม่ มีทุกข์ใจอย่างไร กิเลสมันดิ้นประมาณไหน พอจับได้ว่ากิเลสมันทำให้เร่าร้อน ที่ไม่ได้ดั่งใจหมาย เมื่อเป็นเช่นนั้น เราจะไม่ตามใจมาร ต้องไล่มารให้พ้นจากเราให้ได้ ด้วย บททบทวนธรรมข้อ.๑๒๑ โจทย์ทุกโจทย์ เหตุการณ์ทุกเหตุการณ์ เป็นเครื่องมือฝึกจิตของเรา ให้เป็นสุขอย่างถูกต้องตามธรรม
    เมื่อวางใจ ฝึกจิตได้ ประสานไปยังสถาบันวิชชาราม คุรุให้เราสมัครเป็นนักศึกษาใหม่
    ก็ได้กรอกใบสมัครเป็นนักศึกษาอีกรอบ
    และได้รหัส นักศึกษาเรียบร้อย ตามที่คุรุแจ้งมา รู้สึกปลื้มปิติที่ได้เป็นนักศึกษาเต็มรูปแบบที่มีทะเบียนถูกต้อง
    ตอนหน้าไม่รู้
    ตอนนี้สู้ไม่ถอย

  30. นางสาวนาลี​ วิไลสัก

    12/10/2564
    เรื่อง : ขอบคุณที่เพื่อนมาเอาภาระ

    เหตุการณ์ : มีพี่ที่โรงเรียนท่านหนึ่งมาปรึกษาว่าท่านปวดข้อเท้า จะมีวิธีแก้อย่างไร เราเริ่มคุยกันไม่ถึง 1 นาที ก็มีเพื่อนอีกท่านหนึ่งเดินเข้ามา พูดว่าวิธีแก้ไม่ยาก…ท่านก็พูด ๆ อยู่ เวลาที่เหลือก็เป็นท่านทั้งหมด ส่วนเราสองคนก็ไม่มีโอกาสพูดเลย

    ทุกข์ : รู้สึกขุ่นใจ มึนหัว ที่ต้องทนฟังเพื่อนท่านนั้นพูด แต่เราไม่ได้พูด

    สมุทัย : ชอบถ้าเราได้ให้ข้อมูลดี ๆ แก่พี่ท่านนั้น ชังที่เพื่อนท่านนั้นมาขวางโอกาสดี ๆ ที่เราจะได้ทำกุศล

    นิโรธ : เราจะได้ให้ข้อมูลดี ๆ แก่พี่ท่านนั้นหรือไม่ ก็ไม่ชอบไม่ชัง ยินดีใช้วิบากด้วยใจไร้ทุกข์

    มรรค : เมื่อรู้สึกขุ่นใจก็หันมาตรวจอาการความยึดมั่นถือมั่นของมารที่อยู่ในใจเรา
    มาร : อะไรหวา พี่ท่านมาปรึกษาเรา ไม่ได้ถามเพื่อนท่านนั้นซะหน่อย แต่เพื่อนก็พูด ๆ มากเหมือนเขาเก่งมากซะงั้น ทำไมไม่รู้จักดูตาม้าตาเรือหน่อย
    เรา : โอ้โหเพื่อนเราฝีมือเยี่ยมมาก ต้องเป็นเพื่อนคนนี้เท่านั้น จึงจะสามารถงัดกิเลสตัวนี้ออกมาได้ ไม่งั้นเราคงยังคลุกคลีกับมารตัวนี้อีกนาน ลีลาแบบนี้เราเคยเป็นมาหมดแล้ว นี้แหละวิบากชุดที่เราเคยไปพูดมากไม่ได้ดูตาม้าตาเรือ มาให้เราได้ชดใช้ โชคดีอีกแล้วร้ายหมดอีกแล้ว ขอบคุณเพื่อนที่เอาภาระเรา
    มาร : (เถียงขึ้นมาทันที) เพื่อนเอาภาระที่ไหนท่านจะแก้แต่ปัญหาที่ปลายเหตุเท่านั้น เราต่างหากที่จะช่วยแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ แบบนี้เสียโอกาสหมดเลย แทนที่จะได้ทำกุศล แต่กลับไม่ได้ทำ
    เรา : นึกได้ว่าพี่ขวัญเคยสอนว่า คนที่ไม่มีศีลย่อมได้รับการรักษาจากคนที่ไม่มีศีล ใครจะได้รับอะไรก็ขึ้นอยู่กับกุศล อกุศลของคนคนนั้น ส่วนเราก็ต้องดูตาม้าตาเรือหน่อย ตอนนี้อกุศลมาขวาง ก็ต้องรู้จักปล่อยวางบ้าง เพราะมันยังไม่ใช่กาละที่เราจะได้ทำกุศล แต่เป็นโอกาสที่เราจะได้ทำบุญ ช่วยเหลือตัวเองออกจากหมู่มารก่อน กิจที่สำคัญที่สุดของนักปฏิบัติธรรมคือ การทำบุญ ถ้าเราลดกิเลสได้โอกาสที่จะทำกุศลมีเยอะมาก หากเรากับพี่ท่านนั้นยังมีกุศลที่สัมพันธ์กันเราคงมีโอกาสที่จะได้ช่วยเหลือกันในคราวต่อไป ใช้บททบทวนธรรมข้อที่ 9 ถ้าเรายังไม่เข้าใจคนอื่น แสดงว่า เรายังไม่เข้าใจตนเอง

    สรุป ถ้าเป็นเมื่อก่อนเราคงไม่พอใจ โกรธเพื่อนท่านนั้น แต่ตอนนี้เรายังเหลือความขุ่นใจ พอเราเข้าใจเรื่องกุศล และอกุศลของเขา ของเราแล้ว เราก็นั่งยิ้มฟังเพื่อนท่านนั้นพูด ใจก็โล่ง หัวก็เบาสบาย และค่อย ๆ ลุกจากที่นั่ง แล้วเดินออกไปทำภาระกิจอื่น เมื่อเราแบ่งปันปัญญาให้พี่ท่านนั้นไม่ได้ เราก็เอาผลไม้ไร้สารพิษที่มีมาแบ่งปันให้พี่ท่านนั้น ในที่สุดเราก็ปรารถนาให้เพื่อนเราคิดดี คิดถูกได้เร็ว ๆ นะ และขอสำนึกผิด ยอมรับผิด ขอโทษ ขออโหสิกรรม ที่เคยไปพูดมากไม่รู้จักดูตาม้าตาเรือ ขอตั้งศีลว่าต่อไปนี้จะประมาณในการพูด หรือการให้ข้อมูลต่าง ๆ สาธุค่ะ

  31. นางสาวนาลี​ วิไลสัก

    13/10/2564
    การบ้านอริยสัจ 4
    เรื่อง : ไม่อยากให้ลูกไปโรงเรียน

    เหตุการณ์ : เริ่มเปิดเรียนได้แค่สัปดาห์กว่าก็ต้องปิดโรงเรียนอีกเพราะมีผู้ติดเชื้อโควิดในหมู่บ้านของเรา

    ทุกข์ : รู้สึกกังวลใจ กล้ามเนื้อเกร็งตัวปวดตึงที่เอว กลัวสภาพไม่ดีจะเกิดขึ้นกับคนที่เรารัก เราห่วงใย

    สมุทัย : ชอบถ้าลูกไม่ต้องไปโรงเรียนก็ไม่เสี่ยงที่จะติดเชื้อโควิด ชังที่ลูกจะต้องไปโรงเรียนเพราะเสี่ยงที่จะติดเชื้อโควิด

    นิโรธ : ลูกจะต้องไปโรงเรียน และเสี่ยงที่จะติดเชื้อโควิดหรือไม่ ก็ไม่ชอบไม่ชัง ใจไร้กังวล

    มรรค : เมื่อรู้สึกว่าในใจมีแต่ความขุ่นมัวก็เลยตรวจเข้าไปลึก ๆ พบว่ามารสะกดจิตให้เรากังวล

    เรา : เอ่! มาร วันนี้เธอเป็นอะไร ทำไมในใจมีแต่ความขุ่นมัว เธอกลัวติดโควิดหรือเปล่า
    มาร : ไม่ได้กลัวติดโควิด แต่รู้สึกว่าข้างนอกไม่ปลอดภัย เดี๋ยวถึงเวลาคลายล็อกดาวน์ลูกก็ต้องไปโรงเรียนมันเสี่ยงที่ติดเชื้อ
    เรา : ในเมื่อลูกจำเป็นต้องไปโรงเรียนเราต้องเข้าใจเรื่องวิบากกรรม คนทุกคนเคยทำวิบากดีร้ายมาหาที่ต้นที่สุดไม่ได้ ใครจะรับสิ่งดี สิ่งร้ายอะไร ก็ล้วนแล้วแต่มาจากผลที่ตนเองกระทำมาทั้งนั้น โควิดไม่ได้ร้ายไปมากกว่าใจที่กังวลหรอก เราก็สอนลูกให้ระมัดระวังแต่ไม่ระแวงจนเป็นทุกข์ ถ้ามันถึงเวลาที่ใครสักคนจะต้องได้รับวิบาก คนคนนั้นจะหลบหนีไปอยู่ซอกไหนก็หนีไม่พ้น เห็นไหมตอนนี้ญาติเรายังไม่มีใครติดโควิด แต่เรายังได้รับวิบากที่เคยทำมา ด้วยการเสวยความทุกข์ใจเพราะกังวลอยู่นี่ กังวลแล้วช่วยให้อะไรดีขึ้นบ้างล่ะ
    มาร : ก็ ช่วยอะไรไม่ได้หรอก แต่เราคิดว่าถ้าจะให้ลูกเรียนหนังสือแบบโลก ๆ เราสอนเองที่บ้านก็ได้ ไม่จำเป็นต้องไปเรียนในพื้นที่เสี่ยงติดเชื้อโควิดหรอก ลองถามหมู่กลุ่มดูสิถ้าจะให้เด็กเรียน แบบนักเรียนวิชชาราม ที่อยู่ภูผาฟ้าน้ำจะได้ไหม
    เรา : เออ! ความคิดแบบนี้มันแคบหวา เห็นแก่ตัวเป็นห่วงแต่คนรอบข้าง เด็กคนอื่น ๆ เขาก็เคยเป็นญาติเรามาทั้งนั้น ทำไมไม่เห็นจะเป็นห่วงเขาเลย ลูกเรายังไม่มีกุศลมากพอที่ได้สภาพดี ๆ เหมือนนักเรียน วิชชาราม เรายังอยู่กับคนทางโลกก็ต้องทำเหมือนคนทางโลก เข้าเมืองตาหลิ่วต้องหลิ่วตาตาม เอ่! ถ้าลูกติดเชื้อมันจะทุกข์อะไรในนั้น
    มาร : ก็กลัวจะมีการแพร่เชื้อให้พ่อแม่เพราะท่านมีโรคประจำตัวหลายโรค ส่วนเรากับลูกมีสุขภาพแข็งแรงอยู่ไม่น่าเป็นห่วงเท่าไหร่
    เรา : เรื่องยังไม่ทันเกิดเลย ก็มัวแต่กังวล ฟุ้งซ่าน ก็จะเป็นทุกข์ เบียดเบียนทั้งตนเอง และผู้อื่น แถมยังเป็นแรงเหนี่ยวนำให้คนทั้งโลกเป็นตาม จนก่อเรื่องร้าย ก่อโรคได้ทุกโรค กังวลแค่ 1 ครั้งก็นรกมหาศาล เลิกกังวลดีกว่า ใช้บททบทวนธรรมข้อที่ 110 ความเข้าใจ ความเชื่อ และ ชัด เรื่องกรรมเท่านั้น จึงจะคลายความยึดมั่นถือมั่นได้

    สรุป ถ้าเป็นเมื่อก่อนเราคงทุกข์มากกลัวระแวงหวั่นไหวตั้งแต่โควิดเริ่มระบาดจนกว่าโควิดจะหายไปจากโลก และอาจจะปรุงต่อว่าพวกเราไปพื้นที่เสี่ยงมาอาจจะติดเชื้อหรือเปล่า แต่ตอนนี้เรายังเหลือความกังวลนิดหน่อยแต่ในภาพรวมเราสามารถใช้ชีวิตอยู่กับสภาพแวดล้อมที่มีโรคระบาดได้แบบสบาย ๆ พอเราชัดเรื่องวิบากกรรม ใจก็คลายความกังวล กล้ามเนื้อคลายตัวอาการปวดเอวหายไป ต้องขอบคุณโควิดที่มาให้เราได้เห็นทุกข์ ได้ล้างทุกข์ใจ ได้ใช้วิบาก

  32. ศศิกาญจน์ กาพย์ไกรแก้ว 64176

    เรื่อง สวยศีล vs สวยใส
    (แม้หน้าเป็นสิว ขอให้ใจมีศีล)

    เหตุการณ์ : เมื่อต้นปีที่ผ่านมา ตั้งใจตั้งศีลไว้ว่า จะไม่อะไรกับใบหน้า ลด-ละ-เลิก การใช้เครื่องสำอางค์ ไม่ทาครีม ไม่ทาแป้ง ไม่แต่งตัวสวย
    ลดละเลิกการแต่งตัวสวยงาม ตัดผมสั้น(มาก)จนมีแต่คนถามว่า ไปบวชมาหรอ?😅 ตั้งใจ ไม่ติดไม่ยึดในรูปกาย (ประมาณว่า บวชใจ ) ทำใจได้จริง หรือแค่กดข่มเกิดคำถามในตัวเอง 🤔

    ปล่อยวางกายใจมาได้ซักระยะ จนหย่อนยาน กินอาหารไม่สมดุล ตามใจกิเลส กินรสอร่อย ไม่ปฏิบัติยา9เม็ด ไม่ได้ทำสมดุลร้อน-เย็น,กาย-ใจ สิวกลับมาเยอะกว่าปกติ

    ทุกข์ : รำคาญใจ ขุ่นใจ (ตอนเป็นสิวยังไม่ทุกข์ เกิดทุกข์ตอนถูกทัก) เพื่อนร่วมงานทักว่าทำไมสิวเยอะ

    สมุทัย : ชอบ ถ้าเพื่อนเฉยๆ ไม่ต้องทัก ชัง ที่เพื่อนทัก ขี้เกียจอธิบายขยายความเป็นมา

    นิโรธ : เพื่อนจะทักก็ได้ ไม่ทักก็ได้ ยินดีปล่อยหน้าเป็นสิวด้วยใจไร้ทุกข์ และยินดีอธิบายที่มาของปัญหาด้วยใจที่สบายๆ

    มรรค : เมื่อมีอาการรำคาญๆในใจ ก็กลับไปพิจารณาว่า ต้นเรื่องคือทำไมเป็นสิว
    แนนแนน : อ๋อ..ก็แนนตั้งใจตั้งศีลไม่อยากสวยนี่ เลยไม่ได้พยายามสวย จะทุกข์ทำไมเนี่ย?
    มาร : รำคาญ ทักอยู่ได้ถามอยู่นั่น
    แนนแนน : โอ้โห้!! หน้าตาขี้เหร่แล้วยังจะพาใจอัปลักษณ์ไปด้วยอีกนะ ร้ายจริงๆเธอนี่!!
    มาร : *”‘:;!?#฿& รู้สึกมึนชาที่หน้า ที่ถูกด่า
    แนนแนน : เธอกลับไปกับเรานะ ไปทางที่เราเคยไปด้วยกันมา เมตตาเพื่อนเถอะ เขาไม่รู้ ก็อธิบายไปตามจริง ใจเย็นๆ เราก็ไม่ได้-ไม่เสียอะไร เขาจะทักหรือไม่ทักหน้าเราก็ไม่หายเป็นสิวหรอก ทุกอย่างอยู่ที่เรา เราทำมาไง กลับไปทำสมดุลร้อนเย็น ตามหลักยา9เม็ดเทคนิค9ข้อกันเถอะ ทำใจร่มๆไว้ นะเธอนะ
    กล้าทำทุกข์ ก็ให้กล้ารับทุกข์ แล้วเราจะหมดทุกข์ไปด้วยกัน
    หายเป็นสิวก็ดี ไม่หายเป็นสิวก็ดี (ได้ใช้วิบาก รับเท่าไหร่หมดเท่านั้น)
    มีแต่ดีกับดี

    เมื่อพิจารณาได้ตามที่พิมพ์มาแล้ว ใจก็สบาย กล้าโพสรูปหน้าสิวด้วยใจที่ไม่กลัวและไม่กังวล

    ตั้งศีลไม่แต่งสวย
    ไม่มีสวย ขอให้มีศีล

    เจริญธรรมสำนึกดี มีใจไร้ทุกข์ค่ะ
    🙏🙏🙏

  33. ศศิกาญจน์ กาพย์ไกรแก้ว 64176

    เรื่อง กลัวผิด

    เหตุการณ์ : ก่อนส่งการบ้านได้ฝึกเขียนสภาวธรรม และเข้าอ่านข้อแนะนำรวมถึงตัวอย่างการเขียนและการส่งการบ้านของนักศึกษา ในหน้าเวปไซต์
    สังเกตุว่า ภาษาที่ตัวเองฝึกเขียนไว้ ดูไม่สำรวม ไม่เรียบร้อย มีลีลากิเลสแฝง ใช้คำไม่เหมาะควรแก่กาละเทศะ กลัวว่าเมื่อโพสส่งการบ้านแล้ว จะถูกตำหนิ

    ทุกข์ : กลัวผิด กังวลว่าการบ้านที่เขียนส่งจะสื่อสารไม่ดี ใช้ภาษาไม่ดี

    สมุทัย : อยากให้การบ้านที่เขียนดูดี ใช้ภาษาและสื่อสารได้ดี

    นิโรธ : การบ้านจะดูดีก็ได้ ไม่ดูดีก็ได้ เมื่อตั้งใจเขียนและตรวจทานอย่างละเอียดถี่ถ้วนแล้ว จะไม่ทุกข์ใจกับผลนั้น

    มรรค : เมื่อมีความกลัว ความกังวลเกิดขึ้นในใจ
    ทำให้นึกถึงบททบทวนธรรม (เปิดเล่มอ่าน หาข้อที่สอดคล้องใกล้เคียงกับปัญหา) นำมาปรับใช้กับเหตุการณ์ คือ
    ข้อ 87.แต่ละชีวิตจะมีสภาพ กลัวเท่าที่โง่ โง่เท่าที่กลัว
    ไม่กลัวเท่าที่ฉลาด ฉลาดเท่าที่ไม่กลัว
    ข้อ 80. เมื่อได้มุ่งหมายให้เกิดดีและพยายามทำอย่างเต็มที่แล้ว แต่ดีนั้นไม่สมบูรณ์ไม่สำเร็จดังใจหมายกิเลสมักจะหลอก บอกว่า ถ้าไม่สมบูรณ์ไม่สำเร็จจะเสียหาย จะไม่สบายใจเป็นความลวง ให้ใช้ปัญญาหักลำกิเลสโดยบอกกับกิเลสว่าถ้าได้มากกว่านี้ ถ้าสมบูรณ์หรือสำเร็จกว่านี้ จะเสียหาย เพราะในขณะนั้นยังไม่ใช่เวลาที่จะได้มากกว่านี้ ยังไม่ใช่เวลาที่จะสมบูรณ์หรือสำเร็จกว่านี้ ในครั้งนั้นไม่สมบูรณ์ไม่สำเร็จจะดีที่สุด ยุติธรรมที่สุด ตามกุศลอกุศลของเราและคนที่เกี่ยวข้อง
    ข้อง
    ข้อ 83. ความยึดมั่นถือมั่น จะทำให้เกิดความพร่อง ความพลาด ความทุกข์

    เมื่อพาใจฝึกพิจารณาตาม ทำให้คลายความกลัว ความกังวลใจ ลงได้ดีมาก

    จะหมั่นทบทวน ฝึกพิจารณาบ่อยๆซ้ำๆ เพื่อให้ความทุกข์ใจค่อยๆลดลงเรื่อยๆตามลำดับ ตามกำลังฐานจิตที่ทำได้

    เจริญธรรม สำนึกดี มีใจไร้ทุกข์ ค่ะ

  34. วันเพ็ญ ตั้งสกุลวงศ์

    ส่งการบ้านอริยสัจ ไปครั้งที่ 7 วันที่16|10|64

    เรื่อง ไม่อยากใจร้อน

    เหตุการณ์ โดยปกติเรามีนิสัยใจร้อน เลยทำให้เราป่วยทั้งกายและใจ และเราไม่รู้ว่าจะแก้ทุกข์นั้นไปได้ยังไง จนมาได้ฟังธรรมะ ของท่านอาจารย์หมอเขียว เราเห็นแล้วว่าทุกข์ที่เกิดขึ้นนั้นมาจากใจร้อน ชอบทำอะไรเร่งอยู่ตลอดเวลา

    ทุกข์ เครียด หงุดหงิด กังวลที่ตัวเองใจร้อน

    สมุทัย ชอบรีบ ใจร้อนให้งานเสร็จเร็วๆ ชังที่งานเสร็จช้า

    นิโรธ เมื่อเราเห็นความใจร้อน เราก็ยินดีที่เห็นความใจร้อน ยินดีที่เห็นทุกข์จากความใจร้อน จะได้แก้ไข เมื่อเห็นความใจร้อนของตัวเองก็ไม่ชอบ ไม่ชัง ไม่สุข ไม่ทุกข์

    มรรค เมื่อเราเห็นตัวเองใจร้อน แล้วเริ่มทำให้กรดไหลออกมาเยอะ ทำให้เราเริ่มป่วยกายและใจ ทำให้โง่ แทนที่จะพ้นทุกข์ กลับทำให้เพิ่มทุกข์ พอได้พิจารณามันก็คลายลง แต่ความใจร้อน มันก็ยังคงอยู่ในจิต เพราะเราสั่งสมมานาน แต่เราก็จะสู้ต่อไป และนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวัน เราจะสอนมันซ้ำๆ ไปเรื่อยๆบ่อยๆ เมื่อเริ่มใจร้อนและเร่งรีบ ว่า กิเลส มันไม่มีมือมีเท้านะ มันมายืมเรา และทำให้เราทุกข์ และสอนว่า เมื่อไหร่ที่ใจร้อนหรือรีบๆ กรดเราจะไหลออกมาเยอะอีก เดี๋ยวเราก็จะป่วยอีกนะ แล้วเราจะรีบไปทำไม จะโง่ไปทำไม

    สรุป เราได้รํบประโยชน์ จากการเรียนรู้ อริยสัจสี่ ในครั้งคือ ได้เห็นทุกข์จากการใจร้อน และทำให้เราใจเย็นลง เพราะใจจะเริ่มเร่งรีบ เราก็จะเริ่มรู้ และปรับให้ใจเย็นลง

  35. เรื่อง กลัวแล้วทุกข์
    เหตุการณ์ : กำลังเข้าzoom ฟังอาจารย์บรรยาย มีฝนตกลงมาอย่างแรง จะออกไปรองน้ำฝน ใจหนึ่งก็กลัวหนาว อีกใจหนึ่งก็นึกเสียดายน้ำฝน เพราะโดนน้ำฝนแล้วมันหนาว แต่ก็ต้องออกไปรองน้ำด้วยอาการไม่เต็มใจ
    ทุกข์ : ไม่เบิกบานใจ
    สมุทัย : ชอบใจถ้าไม่ต้องโดนฝน ชังที่ต้องโดนฝน
    นิโรธ : จะโดนฝนหรือไม่ ก็ไม่ชอบไม่ชัง
    มรรค : ยินดีกับความหนาวเย็นของน้ำฝนให้ได้ กล้าที่จะเดินเข้าไปหาอาการที่เราไม่ชอบ ปรับใจใหม่เอาประโยชน์จากสิ่งที่เราชังเปลี่ยนมาเป็นชอบใจ สุดท้ายก็เปลี่ยนมาเป็นไม่ชอบไม่ชัง เพราะถ้าเราชอบ ใจ เราก็กลัวจะหมดไป ซึ่งก็ยังทุกข์ใจอยู่ ส่วนอาการชัง ใจเราก็กลัวว่าสิ่งนั้นจะเข้าๆ มาแล้วกลัวจะไม่ออกไป ซึ่งใจก็ยังทุกข์อยู่ แต่ถ้าเราทำใจใหม่ยินดีรับและยินดีให้หมดไป เราจะไม่สุขไม่ทุกข์ สิ่งต่างๆที่ผ่านเข้ามาในชีวิตของเรา เป็นเครื่องมือที่ทำให้ได้ฝึกล้างความชอบชังตามบททวนธรรมข้อที่121 “โจทย์ทุกโจทย์เหตุการณ์ทุกเหตุการณ์ เป็นเครื่องมือฝึกจิตของเรา ให้เป็นสุขอย่างถูกต้องตามธรรม”เมื่อได้พิจารณาตามบททบทวนทำดังกล่าวแล้วอาการไม่เบิกบานทางใจก็หายไป จิตใจก็กลับมาเบิกบาน แจ่มใสเหมือนเดิม

  36. นางพรรณทิวา เกตุกลม

    เรื่อง โจทย์เดิม
    เหตุการณ์ : ช่วงนี้เวลาที่จะลงทำงานกสิกรรมน้อยมาก รู้สึกกังวลเล็กๆขึ้นในใจเนื่องจากไม่ค่อยได้ดูแลต้นพืชผักในสวนเท่าที่ควร พอมีเวลาลงสวนอยากทำงานให้ได้หลายๆอย่างมองไปทางไหนก็เห็นงานทีต้องทำ ควรทำ จำเป็น ทั้งนั้น
    ทุกข์ : กังวลใจ ที่ทำงานได้ไม่ทันใจ

    สมุทัย : อยากทำงานได้หลายๆอย่างในเวลาเดียวกัน ชอบถ้าได้ทำงานหลายอย่าง ชังที่ทำงานได้ไม่มาก

    นิโรธ : จะทำงานได้น้อยหรือมาก ก็ไม่เป็นไร ไม่ชอบ ไม่ชัง ใจไร้ทุกข์

    มรรค : มองความจริงในปัจจุบันถึงอยากได้งานมากอย่างไรก็เป็นไปไม่ได้เพราะเหตุปัจจัยมันได้แค่นี้ด้วยเวลาและกำลังของตัวเองแถมสภาพธรรมชาติที่มีฝนตกเกือบตลอดเวลาเพราะเราจะได้อะไรเกินกว่ากำลังของเราที่ทำได้เป็นไปได้แน่ๆแล้วเราจะกังวลให้ทุกข์ทำไม ที่เป็นอยู่เราก็ได้บำเพ็ญร่วมกับหมู่กลุ่ม ทำดีเต็มที่ทุกวัน งานจะได้มากได้น้อย จะได้แค่ไหน ก็ พอใจ สุขใจได้แล้วนี่ จึงพิจารณาล้างความอยากความกังวลใจออกไปตามบททบทวนธรรมข้อที่ 33 ที่ว่า”ทำดีเต็มที่ทุกวัน ก็สุขใจเต็มที่ได้ทุกวัน ได้เท่าไหร่พอใจเท่านั้น พอใจเมื่อไหร่ ก็สุขใจเมื่อนั้น” ในที่สุดความรู้สึกกังวลใจก็หายไป ใจกลับมาเบิกบานไร้ทุกข์เหมือนเดิม

  37. นางสาวศิริรักษ์​ พรมเล็ก

    ส่งการบ้านอริยสัจ 4
    เรื่อง สมาชิกในบ้านป่วย
    สมาชิกที่บ้านคนหนึ่งป่วย เรากำลังกัวซาให้เขาบังเอิญมีคนมาธุระ เอาเงินมาให้เรา เราก็เอาเงินไปเก็บในที่เรียบร้อยแล้วจะกัวซาให้เขาต่อ แต่เขาบอกว่าให้ไปล้างมือก่อน เพราะกลัวโรคโควิดที่อาจจะติดมากับมือ
    ทุกข์ – ทำไมเขาไม่หัดวางใจเสียบ้าง กลัวอะไรกันนักกันหนา ใจเกิดความรำคาญ
    สมุทัย – อยากให้เขารู้จักการประมาณ ไม่กลัวเกินเหตุ
    นิโรธ – เขาจะกลัวเชื้อโควิด ที่อาจจะติดมากับเงินหรือไม่ เราก็จะไม่ไปทุกข์ใจ ขัดเคืองใจ
    มรรค – การที่เขาให้เราไปล้างมือก่อนจะขูดกัวซาให้เขา ทำให้เรารู้สึกขุ่นเคืองใจ รำคาญใจ แต่ก็ต้องทำตามที่เขาบอก ทั้งๆที่ไม่อยากทำตามในตอนแรก แต่เมื่อมาพิจารณาดู เขาหรือเรากันแน่ ที่ไม่รู้จักวางใจ ก็เขากลัวโควิด เขาก็อยากป้องกันตัว โดยให้เราไปล้างมือ ส่วนเราก็น่าจะต้องหัดวางใจ ให้รู้จักยอมรับสภาพต่างๆให้ได้ นั้นคือเขา จะมาให้เป็นแบบเราก็ย่อมเป็นไปไม่ได้ ถ้าเรามีสติเสียหน่อย เราก็คงไม่ไปขุ่นเคืองหรือรำคาญเขา เขาเป็นผู้มาชี้แนะให้เรารู้จักวาง รู้จักคุมสติ หัดให้ใช้ปัญญาในแต่ละสถานะการณ์ เราน่าจะชอบคุณเขาด้วยซ้ำ ที่หัดให้เราวางให้เป็น ยอมให้ ได้ ไม่ต้องยึดว่าถูกหรือผิด เมื่อเราเข้าใจเหตุการณ์ที่มากระทบ และคิดได้ว่าเป็นประโยชน์ ในการปฏิบัติธรรมสู่การพ้นทุกข์ ก็ให้รู้สึกขอบคุณเขา ที่มาเป็นครูชี้แนะให้เห็นกิเลสของเรา เราจะได้ล้างกิเลสไปเสียบ้าง ไม่ให้กิเลสเกาะติดมากเกินไป และใจเราก็เป็นสุข
    จากบททบทวนธรรมข้อที่ 141 ความผิดความถูกอยู่ที่การยึดหรือไม่ยึด ถ้ายึดคือผิด ถ้าไม่ยึดคือถูก ผิดถูกไม่ได้อยู่ที่เหตุผล ใครเลิศยอดกว่าใคร ผิด – ถูก มันอยู่ที่ยึดหรือไม่ยึด ยึดคือผิด ถ้าไม่ยึดคือถูก ยึดคือยึดมั่นถือมั่นตามความคิดของเรา เอาดีแบบเราหมายจึงจะสุขใจ ไม่เอาดีแบบเราหมายจะทุกข์ใจ นี่แหละยึด นี่แหละกิเลส นี่แหละบาป

  38. นปภา รัตนวงศา

    เรื่อง จะเอามากไปไหม

    เหตุการณ์ ช่วงนี้พ่อไม่สบาย ไอมีเสมหะมาก เหนื่อยหอบ พ่นยาด้วยเครื่องพ่นทุก 4ชม อาการก็ไม่ดีขึ้นจึงต้องฉีดยาร่วมด้วย ดูท่านจะกังวล กลัวที่มีเสมหะมาก ถ้ารู้สึกเหนื่อยจะพ่นยาตลอดเวลา บางครั้งร้องขอให้เติมยาให้หรือบางทีก็เติมยาเอง จนต้องเก็บยาแยกต่างหาก เพราะพ่อจะมีอาการอัลไซเมอร์ร่วมด้วย พ่นยาแล้วก็ลืม พ่นแล้วพ่นอีก ถ้ามีอาการไอก็พ่นยาตลอดเวลา

    ทุกข์ กังวล กลัวพ่อจะได้ยาเกินขนาด

    สมุทัย ชอบถ้าพ่อได้รับยาถูกขนาด ไม่มากเกิน ชังถ้าพ่อรับยาเกินขนาด มากเกินไป

    นิโรธ พ่อจะได้รับยาถูกหรือผิดขนาด ได้รับยาเกินไปบ้างก็ไม่ชอบไม่ชัง ใจไร้กังวล ไม่กลัว

    มรรค ตั้งศีลมาพิจารณาไตรลักษณ์ ความวิปลาส ความยึดมั่นถือมั่นว่า พ่อจะได้รับยาที่ได้จัดใส่ให้ตามขนาดนั่นดี แต่ถ้าได้เกินไปก็เป็นกังวลเป็นทุกข์ ซึ่งพอจะรู้อาการข้างเคียงของยาอยู่บ้าง ซึ่งเหมือนจะจริงแต่ก็ไม่จริง เมื่อใจเริ่มทุกข์ก็ผิดทางพุทธะ มาตั้งศีลใหม่คิดใหม่ว่า กล้าที่จะให้เกิดอะไรขึ้นก็ได้ พ่อจะได้รับยาเกินขนาดจนมีอาการแพ้ยา หรือจนท่านเสียชีวิตก็กล้าที่จะรับได้ เพราะทุกอย่างขึ้นอยู่กับวิบากกรรม วิบากดีร้ายสังเคราะห์กันดีที่สุดแล้ว ให้เชื่อชัดเรื่องกรรมและยินดีในทุกเรื่องทั้งดีร้ายให้ได้ ในเมื่อพ่อยังกินเนื้อสัตว์ ยังกินอาหารรสจัด ยังปรับสมดุลย์ร้อนเย็นไม่ค่อยได้ ก็ต้องมีอาการไอ มีเสมหะและเหนื่อยหอบก็ต้องพึ่งยาพ่น ยากิน ยาฉีดของแผนปัจจุบัน สิ่งที่ท่านปฎิบัติได้ณ.ปัจจุบันดีที่สุดแล้ว เราต้องไม่เอาเกินกุศล อกุศลที่จะได้รับ เมื่อล้างใจได้แล้วก็มาจัดการใส่ยาพ่นสลับกับน้ำสกัดสมุนไพรให้ตามเวลา พร้อมพูดคุยกับท่านให้บ่อยขึ้นเมื่อท่านซักถาม
    ยอมรับในวิบากกรรมที่ทำมา ที่ได้จ่ายยา ยัดเยียดยาให้ผู้ป่วยเกินความจำเป็นเพราะอยากให้กินยาแล้วหายและอยากได้เงินทองจากท่านในช่วงที่ยังเปิดร้านขายยาอยู่ ขอสำนึกผิดยอมรับผิด ขอโทษขออโหสิกรรม ตอนนี้หยุดปิดร้านมา 2 ปีแล้ว และขอรับในวิบากกรรมที่ทำมา ซึ่งที่รับน้อยกว่าที่ทำมาด้วย
    ใช้บททบทวนธรรมข้อที่ 9 ถ้าเรายังไม่เข้าใจคนอื่น แสดงว่า เรายังไม่เข้าใจตนเอง

    สรุป หลังพิจารณาแล้ว เชื่อชัดในวิบากกรรมที่ทำมา สิ่งที่เกิดขึ้นดีที่สุดแล้ว ใครทำอะไรก็ย่อมได้รับผลแบบนั้น มาเพิ่มศีลที่ตัวเองให้สูงขึ้น มาทำที่เรา ไม่ใช่จะเอาที่พ่อ ถ้าเป็นเมื่อก่อนคงจะดุ ว่า พ่อที่พ่นยาตลอดเวลา แต่ครั้งนี้เข้าใจตัวเองถ้ายังไม่ศึกษาธรรมะให้เข้าใจ เวลาหายใจไม่ออกก็คงใช้วิธีที่ท่านใช้อยู่เช่นกัน ทำให้เข้าใจท่านมากขึ้น พ่อปฎิบัติแบบไหนก็ยอมรับได้ทุกเรื่อง ใจเราไร้ทุกข์ก็พอ ใจก็สุขสงบ เบาสบาย..สาธุ

  39. ชวนชม คำท้วม

    ส่งการบ้าน
    นางชวนชม คำท้วม
    ชื่อทางธรรม สู่ร่มศีล
    จิตอาสา สวนป่านาบุญ 2 ชื่อเรื่อง อีตอแหล ยอมไม่จริง
    เหตุการณ์ วันนี้เป็นการประชุมรอบที่ 3 ของเรื่องการให้นักเรียนปิดเทอม หรือไม่ ก็เป็นคนเสนอว่าเอาตามมติหมู่กลุ่ม เด็กอยู่ที่นู่นปลอดภัยดีแล้ว ก็ห่วงเรื่องเนื้อสัตว์เด็ก ไปอยู่แค่ 6 เดือนกลับมา คงจะไม่เข้มแข็งพอในการเลิกเนื้อสัตว์ และที่โรงเรียนก็เป็นที่สัปปายะแล้ว ก็เลยเห็นด้วยที่จะให้เด็กอยู่ที่นู่น แต่แล้วก็พูดรอบสองว่าเด็กๆทุกคนนะคะ อยากจะกลับบ้านเราก็เห็นใจเด็ก เพราะลูกชายบอกหนู ไว้ว่าแม่ต้องยกมือนะ ให้เขาได้กลับบ้าน ก็บอกครูไปจะไม่สงสารเด็ก จะยังยืนยันที่จะให้เด็กอยู่ที่นู่น ตามมติหมู่กลุ่ม
    ทุกข์ มีอาการเว้าใจสัก 10 เปอร์เซ็นต์ ที่มันยังไม่ยอมจริง
    สมุทัย ชอบที่เราไม่มีอาการเว้าใจ หลังจากประชุมเสร็จชังที่มีอาการเว้าใจหลังจากประชุมเสร็จ
    นิโรธ เราจะมีอาการเว้าใจหรือไม่ เราก็ไม่ชอบไม่ชังใจไร้ทุกข์
    มรรค กว่าจะมาถึงวันนี้ หนูก็พูดคุยกับหมู่กลุ่ม ถึง 2 ครั้ง เรื่องอยากให้ลูกกลับบ้าน กิเลสไม่ยอม ทำให้ทุกข์ใจมาก การที่มีกิเลสมาครอบงำ ให้มีอาการเว้าใจ ุอาลัยอาวรเสียดาย ที่ลูกไม่ได้กลับบ้าน ก็แต่ต้องมาพูดคุยกับกิเลส ไหนบอกว่าจะทำตามมติของกลุ่ม ทำไมถึงมาเว้าใจอยู่ได้ เราอยากเจริญเราก็ต้องตามมติหมู่กลุ่ม ฟังธรรมก็แล้ว ไม่รู้กี่รอบ ยังมาโดนกิเลสตัวนี้หรอก น่าอายจริงๆค่ะ กราบขอบพระคุณหมูกลุ่ม ที่ทำให้ลดความอยากให้ลูกกลับบ้าน ลงไปได้เยอะมาก 90 เปอร์เซ็นต์ค่ะ ถ้าไม่มีมติหมู่กลุ่มคงจะทุกข์ใจมากกิเลสยังไงมันก็ไม่ยอม จะให้ได้ดั่งใจอย่างเดียวเท่านั้น ซึ่งมันเห็นแก่ตัวมาก ไม่เกรงกลัวโควิด ไม่คิดถึงผลกระทบต่างๆ ก็ขอบพระคุณหมู่กลุ่มและจะอยู่ในกลุ่ม จะพิงเชือกตลอดค่ะ บอกกิเลสเอาแต่ใจตัว ชั่วโดยอัตโนมัติ บอกกิเลสทุกคนมีวิบากร้ายไล่ล่าอยู่อย่าเนิ่นช้าอยู่ ในการปฏิบัติธรรม บอกว่ากิเลสให้ยอมรับมติหมู่ สาธุค่ะใจไร้ทุกข์ค่ะ ใจยอมค่ะ ดีที่ลูกอยู่ที่ๆทำให้ลูกเจริญค่ะ

  40. กิรณา สุขสุดกุลธน

    เรื่อง ไม่ชอบข้อมูลที่ชับซ้อนในการใช้โทรศัพท์
    เหตุการณ์ช่วงนี้มีการใช้อิเล็กทรอนิกส์สื่อสารกันทำให้รู้สึกรำคาญในความชับซ้อนข้อมูลการใช้โทรศัพท์ด้วยใจที่ไม่ชอบต้องมานั่งก้มหน้าอยู่กับการใช้โทรศัพท์เพื่อเรียนรู้การใช้โทรศัพท์สื่อสารทางไลน์และชูม

    ทุกข์ : ขุ่นใจรำคาญ

    สมุทัย : ชอบถ้าข้อมูลในการใช้โทรศัพท์ไม่ขับซ้อน
    ชังข้อมูลโทรศัพท์ชับซ้อน

    นิโรธ : ข้อมูลการใช้โทรศัพท์ชับซ้อนหรือไม่ชับซ้อนก็สุขใจ

    มรรค : มาพิจารณาประโยชน์และโทษเห็นว่ามีประโยชน์เพราะทำให้กล้าจะเรียนรู้ข้อมูลการใช้โทรศัพท์แม้จะขับซ้อน กล้าชอบในสิ่งที่ชังได้รับพลังจากอาจารย์และหมู่กลุ่มพี่น้องทำให้มีพลังในการบำเพ็ญร่วมกันรู้จักปรับเปลี่ยนให้อยู่ได้ทั้งทางโลกและทางธรรมพิจารณาแล้วมีประโยชน์มากกว่าจึงรู้ค่าการเรียนรู้ด้วยใจที่ผาสุกโดยไม่ชอบไม่ชังสาธุ

  41. น.ส.จาริยา จันทร์ภักดี

    เรื่อง วันเดียวกัน
    เหตุการณ์ วันศุกร์ที่ผ่านมา ตัวเองไปทำหน้าที่อสม.ประจำหมู่บ้านคัดกรองนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิค ตั้งแต่เวลา 7.30 น. ซึ่งตรงกับวันที่จะไปเป็นเพื่อนพ่อฉีดยาวัคซีนโควิดเข็ม1 พอดีตัวเองคิดว่าน่าจะทำหน้าที่คัดกรองเสร็จนะ แต่ก็ไม่ได้ตามที่คิดไว้ คัดกรองได้ยืดเวลาไปถึง13.30น. ตัวเองเลยหวั่นใจเป็นห่วงพ่อ
    ทุกข์ : หวั่นใจที่
    ไม่ได้ไปเป็นเพื่อนพ่อฉีดวัคซีน
    สมุทัย : ยึดว่า
    จะได้ไปเป็นเพื่อนพ่อฉีดวัคซีนทัน
    ชอบถ้าได้ไปเป็นเพื่อนพ่อฉีดวัคซีนจะได้ช่วยเหลือกัน
    ชังที่ไม่ได้ไปเป็นเพื่อนพ่อฉีดวัคชีน
    นิโรธ : จะได้ไปเป็นเพื่อนพ่อฉีดวัคชีนหรือไม่ ก็จะ ไม่ชอบ ไม่ชัง
    มรรค : ในเมื่อเราตั้งใจไว้จะไปทำหน้าที่พาพ่อไปฉีดวัคชีนแต่เหตุการณ์เปลี่ยนเราก็ต้องปรับ กิเลสบอกว่าไหนว่าเป็นห่วงพ่อแล้วเราทำอะไรอยู่นิ ได้ตอบว่า เราก็ทำหน้าที่เช่นกันนี่นะเป็นลูกที่ดีเช่นกันได้ช่วยเหลือผู้อื่นได้หลายคน ส่วนพ่อพี่สาวไปเพื่อนแทนก็ได้นี่ แล้วเราจะหวั่นใจยึดทำไม ให้โง่ได้มาเทียบเคียงกับบททบทวนธรรมข้อที่77 “ระวังกิเลสมักจะหลอก ให้ยึดมั่นถือมั่น ในสิ่งที่สำคัญยิ่งๆ ขึ้นไป” ได้มาพิจารณาทำให้ความหวั่นใจหายไป ใจกลับมาเบิกบาน

  42. สุรีนารถ ราชแป้น

    การบ้านอริยสัจ4

    ชื่อ: สุรีนารถ ราชแป้น จิตอาสาสวนป่านาบุญ2 อ. ชะอวด จ. นครศรีธรรมราช

    เรื่อง: แว่นสายตาหาย หาไม่เจอ

    เหตุการณ์: เมื่อถึงเวลาที่ต้องใช้สายตาอ่านหนังสือ ถ้าไม่มีแว่นก็จะอ่านหนังสือได้ไม่ชัดเจน เที่ยวเดินหาแว่นวนไป ในที่ๆเคยวางไว้ หาก็ยังไม่พบ รื้อทุกที่ ที่คิดว่าจะเก็บไว้ ก็ยังไม่เจอ ก็ยังเดินวนหาอีกรอบ ถามคนโน้นคนนี้ว่าเห็นแว่นตัวเองมั้ยก็ยังไม่มีใครเห็น เริ่มมีอาการขุ่นใจ พึมพำในใจว่ามันไม่น่าจะหาย แล้วจะทำอะไรได้อ่านหนังสือไม่เห็น ไม่มีแว่นสายตา เกิดอาการทุกข์ใจขึ้นมาทันที

    ทุกข์: รู้สึกขุ่นใจ ไม่เบิกบาน ที่หาแว่นไม่เจอ ทำงานไม่สะดวก มองตัวหนังสือไม่ชัด

    สมุทัย:ชอบ แช่มชื่น เบิกบาน ถ้ามีแว่นตาทำงาน อ่านหนังสือได้ชัด
    ชัง ขุ่นใจ ไม่เบิกบาน ที่แว่นตาหาย ทำงานได้ยาก

    นิโรธ: จะหาแว่นตาเจอหรือไม่เจอ จะอยู่หรือจะหาย ไม่ชอบไม่ชังเบิกบานแจ่มใส

    มรรค: ตั้งศีลมาพิจารณา ไตรลักษณ์ ความวิปลาส ความยึดมั่น ถือมั่น ในสิ่งของต่างๆว่าเป็นของเรา ต้องอยู่กับเราตลอดกาล เป็นการผิดศีล ยังรู้สึกเสียดาย เป็นทุกข์ ทำให้จิตใจไม่เบิกบาน เหนี่ยวนำให้คนอื่นเป็นตาม เมื่อจับอาการได้ว่ามีมารเกิดขึ้นในใจ เกิดทุกข์ สร้างวิบากใหม่จึงรีบกลับมาพิจารณาคิดใหม่คิดแบบพุทธ สลายความยึดมั่นถือมั่น เมื่อมีเหตุการณ์ หรือสิ่งร้ายเกิดขึ้นกับเรามีอกุศลมาให้เราได้ใช้วิบาก ยินดีรับ ยินดีชดใช้ เมื่อได้ใช้วิบากร้ายแล้วก็หมดไป เป็นสิ่งที่เราทำไม่ดีมาทั้งนั้นกล้าให้แว่นตาหาย ก็ไม่เป็นไร ไม่เชื่อมารแล้ว
    จึงใช้ บททบทวนธรรม ปราบมาร ในบทที่12 วิบากกรรมมีจริง ทำอะไร ได้ ผลอะไรก็เกิดจากการกระทำของเราเองทั้งหมด เจอเรื่องดี…เพราะทำดีมา เจอเรื่องไม่ดี… เพราะทำไม่ดีมา ทั้งในปัจจุบันและอดีตสังเคราะห์กันอย่างละ1ส่วน เราคงทำให้คนอื่นต้องเสียทรัพย์มา เลยมีวิบากให้เราชดใช้ ต้องขอบคุณที่มีเหตุการณ์ ทำให้ได้เห็นทุกข์ ได้ล้างทุกข์ ได้ใช้วิบาก เมื่อพิจารณาได้แบบนี้จึงไล่มาร(ทุกข์) ออกจากใจ กลับมาเบิกบาน หาแว่นอันอื่นมาใช้แทน

Comments are closed.