641003 แบ่งปันสภาวธรรม อริยสัจ 4 (40/2564)
นักศึกษาสถาบันวิชชาราม แบ่งปันสภาวธรรมการใช้หลักอริยสัจ 4 ในชีวิตประจำวัน ประจำวันที่ 27 กันยายน – 3 ตุลาคม 2564
สัปดาห์นี้มีผู้แบ่งปันสภาวธรรม 38 ท่าน 44 เรื่อง
- โยธกา รือเซ็นแบร์ก
- พรพรรณ เอ็ทสเลอร์
- นางสาวนาลี วิไลสัก
- กาญจนา คงภูชงค์
- สิรวิชญ์ ศรีอำนวย
- กาญจนา คงภูชงค์
- ด.ญ. จีระญาดา เรียนจันทร์ (2)
- ด.ช. จิรวศิน เรียนจันทร์
- ทิษฏยา โภชนา (ในสายธาร) (2)
- วันยา เรียนจันทร์
- เรือนแก้ว สว่างวงษ์ (แก้วเย็นศีล)
- ลำพึง ก๋งจิ๋ว
- รมิตา ซีบังเกิด
- JAITHUNGSILLA POKHAM
- มาลิน จุ้ยทรัพย์เปี่ยม (เมฆ ลม ฟ้า)
- สนทยา กันทะมูล (มั่นศีลขวัญ)
- จิราภรณ์ ทองคู่
- ชรินรัตน์ ชุมจีด (น้ำน้อมศีล)
- ภัคเปมิกา อินหว่าง (2)
- พรพิทย์ สามสี (เพื่อนพิทย์)
- สำรวม แก้วแกมจันทร์
- อรวิภา กริฟฟิธส์
- สุวรรณ กังวานนวกุล
- พรรณทิวา เกตุกลม
- ชวนชม คำท้วม (3)
- พวงผกา โพธิ์กลาง
- จาริยา จันทร์ภักดี
- สุมา ไชยช่วย
- สุวรรณ กังวานนวกุล
- จรรญา ชุมจีด (สร้างกลิ่นศีล)
- สำรวย รัตตนะ
- นปภา รัตนวงศา
- วิภาภรณ์ กอจรัญจิตต์
- ภาคภูมิ ยอดปรีดา (สร้างแก่นศีล)
- ชวนชม คำท้วม (2)
- RUAM KETKLOM
- ศิริพร คำวงษ์ศรี
- ชุติวรรณ แสงสำลี
ขี้เกียจเขียนเอง
ยุคโควิดและเทคโนโลยีใหม่ๆทำให้เรียนรู้อะไรใหม่ ผ่านซูม ไลน์ แม้การบ้านและทำข้อสอบ ก็ผ่าน Google form จึงทำให้ง่าย ใช้เวลาไม่นานเมื่อมีข้อสอบวิชาหนึ่งที่จะต้องเขียนเอง เห็นตัวขี้เกียจ เบื่อ มีหลายข้อมากที่ต้องตอบเห็นอาการกิเลสไม่ชอบ เซ็ง ของใจ แต่ไม่อยากเขียนด้วยลายมือ แต่ใจก็อยากทำข้อสอบเพราะน่าจะเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมในยุคปัจจุบัน แต่ไม่แน่ใจจะเขียนส่งทันหรือเปล่าต้องใช้เวลามาก
ทุกข์ : เซ็ง เบื่อ ขี้เกียจเขียน เพราะมีคำถามหลายข้อจะต้องตอบยาวๆตัวลายมือไม่สวย อ่านไม่ออก
สมุทัย: ยึดดีชอบที่จะทำแบบ Google form มากกว่า ไม่ชอบเขียนด้วยลายมือของตัวเองไม่สวยอ่านยาก และรู้จักตัวเองดีว่าต้องใช้เวลามากกกจะต้องเขียนหลายๆครั้งกว่าเขียนเสร็จ
นิโรธ : ไม่ชอบ ไม่ชังแม้จะต้องเขียนด้วยลายมือก็ไม่ทุกข์ใจ
มรรค : พิจารณา ถึงประโยชน์ตน
1,ได้ล้างตัวขี้เกียจ ขัดใจตัวเองที่ต้องทำในสิ่งที่ยาก และดีที่จะได้ฝึกสมาธิในการเขียนช้าๆยาวๆ เขียนซ้ำๆ แม้จะเวลานานก็ไม่เป็นไร
2, พิจารณา ลึกๆ ล้างความยึดดี ถ้าไม่ได้ทำข้อสอบ และทำข้อสอบอย่างไหนทุกข์กว่า
-ประโยชน์ท่านคือต่อส่วนร่วมในยุคโควิดและสานพลังหมู่มิตรดีให้ความร่วมมือกับพี่น้อง.
อริยสัจ 4
เรื่อง ขัดจังหวะฟังธรรม
เมื่อวานนี้ข้าพเจ้าและพี่น้อง กลุ่ม 6 สายด่วนได้ร่วมบำเพ็ญจัดค่าย สายด่วนตอบปัญหา ในช่วงที่รายการกำลังดำเนินไปนั้น ปรากฎว่ามีพี่น้องท่านหนึ่งส่งข้อความเข้ามาหาข้าพเจ้าในระหว่างที่ท่านอาจารย์กำลังตอบคำถามพี่น้องทางบ้านอยู่ ทำให้ฟังธรรมได้ไม่ต่อเนื่อง
ทุกข์ : ขุ่นใจ (เล็กน้อย) และเสียสมาธิในการฟังคำบรรยายของท่านอาจารย์
สมุทัย : ไม่อยากให้พี่น้องส่งข้อความมาในขณะที่กำลังฟังคำบรรยายของท่านอาจารย์
นิโรธ : พี่น้องจะส่งข้อความเข้ามาในระหว่างที่ท่านอาจารย์บรรยายธรรมอยู่ จะถือว่าเป็นวิบากกรรมของข้าพเจ้าที่จะไม่ได้ฟังธรรมอย่างต่อเนื่อง ก็จะไม่ทุกข์ใจ ยอมรับวิบากกรรมด้วยความยินดีเต็มใจ
มรรค : การที่ข้าพเจ้ายึดว่า “ในระหว่างที่ท่านอาจารย์กำลังบรรยายธรรมอยู่ ไม่ควรส่งข้อความเข้าไปแทรก นั้นว่าเป็นสิ่งที่ดี ที่ถูกต้อง
นั้น” มันคือความยึดมั่นถือมั่น และความอยากได้ดั่งใจหมายของข้าพเจ้าเอง ซึ่งเป็นกิเลส ทำให้ทุกข์ใจ และเป็นการเบียดเบียนตัวเอง ทำให้เสียพลังงาน ทำให้อวัยวะในร่างกาย ปั่นป่วน เป็นผลเสียกับตัวข้าพเจ้าเอง
เมื่อได้สำนึกผิด จึงรีบขอโทษขออโหสิกรรมแก่ตัวเอง และพี่น้องท่านนั้น และตั้งจิตว่าจะไม่คิดเข้าข้างตัวเอง และไม่กระทำพฤติกรรมแบบนี้อีก
ท่านอาจารย์หมอเขียวได้สอนและเขียนในหนังสือ บททบทวนธรรม ด้วยว่า “การการทำเดียวกันมีเหตุผลในการกระทำกว่าล้านเหตุผล จึงต้องพร้อมรับ พร้อมปรับ พร้อมเปลี่ยนตลอดเวลา” ครั้งนี้พี่น้องท่านคงมีเหตุผลของท่าน จึงได้ส่งข้อความมาขอภาพไปแทรกระหว่างที่ท่านอาจารย์บรรยาย ข้าพเจ้าจึงไม่ควร ขุ่นใจ ท่านเพราะนั้นก็คือ 1 เหตุผลของท่านเช่นกัน
เมื่อได้พิจารณาถึงจุดนี้แล้วก็ทำให้ใจที่ขุ่น และไม่พอใจนั้น หายไปในทันที และกลับมาเบิกบาน บำเพ็ญฐานงานของตัวเองต่อไปได้อย่างผาสุก ค่ะ
เรื่อง : ไก่เขี่ยจนเห็นกิเลส
เหตุการณ์ : ขณะที่ยืนอยู่หน้าบ้านเลี้ยวเห็นไก่กำลังเขี่ยในสวนกิเลสก็ขึ้น
ทุกข์ : หัวใจเต็นเร็ว หน้ามืดที่เห็นไก่ชอบเขี่ย อาละวาดในสวน
สมุทัย : ชอบที่จะไม่ให้มีสัตว์มาอาละวาดในสวนของเรา ชังที่ไก่ชอบเข้ามาอาละวาดในสวน
นิโรธ : การทำกสิกรรมไร้สารพิษ ใจก็ต้องไร้ทุกข์ แม้จะมีสัตว์อื่นมาอาศัยร่วมด้วย ก็ไม่ชอบไม่ชัง
มรรค : พอเลี้ยวเห็นไก่กำลังเขี่ย เราก็หน้ามืดรีบเดีนไปตรงจุดนั้น
มาร : ไก่ตัวนี้แหละชอบเข้ามาอาละวาดในสวนทุกวัน ทนไม่ไหวแล้วเว๊ย! จะไล่ให้เต็มที่เลยนะ เขาจะได้เข็ด
เรา : พอเดินไปถึงจุดนั้น ก็เห็นไก่แม่ลูกอ่อนมีลูกตั้งหลายตัว กำลังใช้ความพยายามเต็มที่เพื่อเขี่ยหาอาหารให้ลูกเขา มารสลายตายคาที่เลยค่ะ เพราะนึกได้ว่าเรามีลูกแค่ 2 คนเรายังดิ้นรนแทบตายเพื่อหาเลี้ยงชีพ แต่ไก่ตัวนี้สิ มีลูกตั้งหลายตัวเขาก็ต้องดิ้นรนหาเลี้ยงชีพเหมือนกัน ทุกชีวิตก็ต้องเอาตัวรอดจากความหิว ความตาย เราจะไปใจดำอำมหิตโมโหอาละวาดเพื่อนร่วมโลกไม่ได้ เมื่อก่อนเราเคยไปทำร้ายไก่ กินไก่มาหลายตัวนับไม่ถ้วน และ ตอนเป็นเด็กเราก็เคยไปเหยียบพืชที่ผู้อื่นปรูกด้วย
สรุปถ้าเป็นเมื่อก่อนเราคงไปโทษเจ้าของไก่ และ ไล่ไก่แบบโมโห แต่ตอนนี้เราเดินไปเห็นแม่ไก่มีลูกหลายตัว เลยสะดุดยืนดูเขาด้วยตาสว่าง และ อาการเต็นของหัวใจก็ค่อย ๆ เต็นปกติ ในที่สุดไก่เห็นรายึนดู เขาก็หนีไปเองค่ะ
ชื่อกาญจนา คงภูชงค์
ผู้คบคุ้นสวนป่านาบุญ2
เรื่อง..เดาใจผู้อื่นในทางผิด
เหตุการณ์..มีเหตุให้ได้ไปช่วยลูกทำกิจกรรมกลางแจ้งนอกบ้าน ใจที่กังวลกลัวพ่อบ้านจะดุก็มาก่อนแล้ว คิดไปว่าคงถูกด่าเรื่องออกไปทำไมช่วงนี้เสี่ยงโควิด
ทุกข์..กังวลกลัวถูกดุที่ออกไปร่วมกิจกรรม
สมุทัย..ชอบที่ออกไปร่วมกิจกรรมแล้วพ่อบ้านเข้าใจ ชังที่ออกไปแล้วถูกดุ
นิโรธ..จะถูกดุหรือไม่ก็ไม่ชอบไม่ชัง
มรรค..ช่วงนี้แถวบ้านใกล้เคียงคนติดโควิดกันเยอะ แต่มีเหตุให้ต้องไปช่วยลูกทำกิจกรรมกลางแจ้ง ใจก็กังวลกลัวพ่อบ้านจะดุ แต่เมื่อเราเข้ามาศึกษาธรรมะกับอาจารย์และพ่อครู รวมทั้งจิตอาสาและหมู่กลุ่มที่พร่ำสอนให้เราพ้นทุกข์ เราจึงเลิกคิดกังวลว่าพ่อบ้านจะดุก็ได้ไม่ดุก็ได้ ทำดีเรื่อยไปใจเย็นข้ามชาติ สร้างความดีให้เขาเห็นให้เขามีความสุข แล้วเมื่อถึงเวลาที่ต้องออกไปช่วยงานลูกข้างนอกเขาก็ยินดี เต็มใจส่งเสริมให้รถไปใช้และดูแลหลานให้ด้วย สรุปผิดที่เราที่คิดกังวลคิดไม่ดีกับเขาในตอนแรก ขอสำนึกผิด ขออโหสิกรรมต่อท่านที่คิดไม่ดีก่อนหน้านี้ เมื่อได้ทำดีให้เขาเห็นผลที่ตามมาคือความสบายใจ เบิกบานไร้ทุกข์คะ
ชื่อเด็กชายสิรวิชญ์ ศรีอำนวย อายุ10ขวบ
นักเรียนวิชชารามภาคสมทบ
เรื่อง..ไม่ชอบที่คุณตาสูบบุหรี่
เหตุการณ์..เวลาตาจะสูบบุหรี่ชอบใช้ผมว่า ปังปอนหยิบบุหรี่ให้หน่อย ผมไม่ชอบเลยครับ
ทุกข์..ขัดใจไม่ชอบใจที่เห็นตาสูบบุหรี่
สมุทัย..ชอบที่ตาไม่สูบบุหรี่ ชังที่ตาสูบบุหรี่
นิโรธ..ตาจะสูบบุหรี่หรือไม่ก็ไม่ชอบไม่ชัง
มรรค..เมื่อพิจารณาแล้วก็สงสารตาที่ยังสูบบุหรี่อยู่ แต่พุทธะสอนว่าเราจงยินดีในทุกเรื่องให้ได้ ในเมื่อตายังสูบบุหรี่ก็เพราะตามีวิบากของท่านเอง เราจะทุกข์ใจไปทำไม แก้ที่ตาไม่ได้ก็แก้ที่เรา ทำใจไร้ทุกข์เบิกบานดีกว่าครับ
ชื่อกาญจนา คงภูชงค์
ผู้คบคุ้นสวนป่านาบุญ2
เรื่อง..เดาใจผู้อื่นในทางผิด
เหตุการณ์..มีเหตุให้ต้องไปช่วยลูกทำกิจกรรมกลางแจ้งนอกบ้าน ใจที่กลัวกังวลว่าพ่อบ้านจะดุก็มาก่อนแล้ว คิดไปว่าคงถูกดุ เรื่องออกไปทำไมช่วงนี้เสี่ยงโควิด
ทุกข์..กังวลว่าจะถูกดุที่ออกไปร่วมกิจกรรมกับลูก
สมุทัย..ชอบที่ออกไปร่วมกิจกรรม แล้วพ่อบ้านเข้าใจ ชังที่ออกไปแล้วถูกดุ
นิโรธ..จะถูกดุหรือไม่ก็ไม่ชอบไม่ชัง
มรรค..ช่วงนี้แถวบ้านใกล้เคียง คนติดโควิดกันเยอะ แต่มีเหตุให้ต้องไปช่วยลูกทำกิจกรรมกลางแจ้ง ใจก็กังวลกลัวพ่อบ้านจะดุ แต่เมื่อเราเข้ามาศึกษาธรรมะกับอาจารย์และพ่อครู รวมทั้งจิตอาสา หมู่กลุ่มที่พร่ำสอนให้เราพ้นทุกข์ เราจึงเลิกคิดกังวลว่าพ่อบ้านจะดุก็ได้ไม่ดุก็ได้ ทำดีเรื่อยไปใจเย็นข้ามชาติ สร้างความดีให้เขาเห็น ให้เขามีความสุข แล้วเมื่อถึงเวลาที่ต้องออกไปช่วยลูกข้างนอก เขาก็ยินดีเต็มใจส่งเสริมให้รถไปใช้และดูแลหลานให้ด้วย สรุปผิดที่เราที่คิดไม่ดีกับเขาในตอนแรก ขอสำนึกผิด ขออโหสิกรรมต่อท่านที่คิดไม่ดีก่อนหน้านี้ เมื่อได้ทำดีให้เขาเห็นผลที่ตามมาคือความสบายใจ เบิกบานแจ่มใสไร้ทุกข์คะ
เรื่อง : ไม่อยากใส่เสื้อ ซับใน
เหตุการณ์ : แม่ให้ใส่ เสื้อ ซับใน แต่ไม่อยากใส่เพราะมันแน่น
ทุกข์ : อึดอัด ไม่อยากใส่เสื้อ ซับใน
สมุทัย : ชังที่ต้องใส่เสื้อ ซับใน ชอบถ้าไม่ได้ใส่เสื้อ ซับใน
นิโรธ : ไม่ชอบไม่ชัง ถ้าแม่ให้ใส่ก็ใส่ ไม่ต้องไปคิดอะไร
มรรค : พิจารณาว่า เราก็เคยสั่งคนอื่นให้ใส่อันนู้นอันนี่มาก่อน เลยถูกแม่สั่งบ้าง พอพิจารณาจบ ก็จะตั้งศีลว่าจะพยายาม ไม่สั่งคนนู้นคนนี่ให้ใส่ สิ่งที่เราต้องการให้ใส่
27/9/64
ด.ช.จิรวศิน เรียนจันทร์อายุ13ปี เป็นนักเรียน วิชชารามภาคสมทบ
เรื่อง ทุกข์ใจที่หน้าบ้านแฉะ
เหตุการณ์ รังเกียจที่หน้าบ้านแฉะ
ทุกข์ รังเกียจที่หน้าบ้านแฉะ
สมุทัย ชอบที่หน้าบ้านไม่แฉะชังที่หน้าบ้านแฉะ
มรรค ทำใจยอมรับความจริงตาม ความเป็นจริง ว่าที่หน้าบ้านแฉะเพราะ ฝนตกหนัก ใจที่รังเกียจก็ดับหายไป
28/09/64
ชื่อ : น.ส.ทิษฏยา โภชนา
ชื่อทางธรรม : ในสายธรรม
จิตอาสาสังกัดสวนป่านาบุญ 2
เรื่อง: ถามอยู่ได้
น้าของผู้เขียนเอามะพร้าวกะกล้วยไปให้ญาติข้างบ้านทำกล้วยบวชชี แต่มะพร้าวที่ให้ไปกลับเสีย ญาติจึงเดินกลับมาถามหาน้า แต่น้าไม่อยู่บ้าน จึงถามผู้เขียนถึงเรื่องมะพร้าว เพื่อจะขอเปลี่ยนลูกใหม่ นี่คือบทสนทนาระหว่างผู้เขียนกับญาติ
ญาติ : มีมะพร้าวลูกใหม่รึป่าว มะพร้าวที่น้าให้ไปเสีย
ผู้เขียน : ไม่ทราบ ลองหาดูสิ
ญาติ : แล้วเก็บไว้ตรงไหนล่ะ
ผู้เขียน : ไม่รู้เหมือนกัน ไม่ค่อยจะแกงกะทิ
ญาติ : อ้าวแล้วทำไมไม่รู้ล่ะ บ้านของตัวเองแท้ ๆ (เริ่มบ่น) แล้วก็เดินไปหาตามมุมต่าง ๆ ของบ้าน เมื่อหาไม่เจอ ก็บ่นหนักเข้าไปอีก
ผู้เขียน : ก็ไม่รู้แล้วจะให้ทำไงล่ะ ก็แล้วทำไมไม่ไปถามน้าเองล่ะ มาถามเราทำไม เราจะต้องรู้ทุกเรื่องรึป่าวล่ะ สมาชิกที่บ้านก็อยู่กันตั้งหลายคน บริเวณบ้านก็กว้างขวาง ไม่รู้ว่าใครจะเอาอะไรมาวางไว้ตรงไหน (เริ่มจะหงุดหงิด)ที่ญาติคาดคั้นจะเอาคำตอบให้ได้
ญาติก็ยังไม่ยอมจบ ยังจะยืนบ่นโวยวายอยู่ข้าง ๆ ผู้เขียนกำลังยืนทำอาหารอยู่อย่างเบิกบานในตอนแรก พอได้ยินสิ่งที่ญาติพูดก็เริ่มมีอารมณ์หงุดหงิดรำคาญ ร่างกายเริ่มร้อน ไม่มีสติที่จะตามเท่าทันผัสสะที่มากระทบ ร่างกายก็เริ่มร้อนขึ้น ใจก็ร้อนขึ้น (อยากจะตะโกนไล่ญาติให้ออกไป ที่ญาติมาทำลายความสงบ) อยากให้ญาติหยุดบ่น ไม่เข้าใจว่าทำไมญาติถึงพูดไม่รู้เรื่อง ยังจะคาดคั้นจะเอาคำตอบให้ได้
สุดท้ายแล้วญาติก็บ่นพึมพำเดินกลับบ้านไปด้วยความผิดหวังที่ไม่ได้ในสิ่งที่เขาต้องการ
ทุกข์ : หงุดหงิดรำคาญใจที่ญาติพูดไม่รู้เรื่อง อยากจะคาดคั้นเอาคำตอบจากเรา
สมุทัย : ชอบใจถ้าญาติจะเข้าใจอะไร ๆ ได้ง่าย ๆ ชังที่พูดกับญาติดี ๆ แล้วญาติไม่เข้าใจ
นิโรธ : ญาติจะเข้าใจอะไร ๆ ได้ง่าย ๆ หรือไม่ก็ได้ ญาติจะเข้าใจสิ่งที่เราพูดออกไปหรือไม่ก็ไม่ทุกข์ใจ
มรรค : พิจารณาว่า
มาร : เอ๊ะ !!! ทำไมพูดไม่รู้เรื่องนะ ก็บอกไปแล้วว่าไม่รู้ ยังจะเอาอะไรจากเราอีก
น่ารำคาญจริงๆ มายืนโวยวายอะไรอยู่ได้
เรา : แกนั่นแหละที่พูดไม่รู้เรื่อง เขาอุตส่าห์จะช่วยเอาภาระทำกล้วยบวชชีมาให้กิน
แทนที่จะขอบคุณเขา ยังจะมาบ่นรำคาญเขาอีก
มันจะยากอะไร กะแค่วางมือจากงานที่ทำอยู่ แล้วไปช่วยหาให้เขา เขาจะได้เลิกบ่น
เสียเวลาไปหาสิ่งที่เขาต้องการแค่แป๊บเดียว ถ้าเขาได้ในสิ่งที่เขาต้องการแล้วเขาก็เลิกบ่นเอง
ไม่ชอบที่เขาบ่น แต่ตัวเองก็ไปต่อปากต่อคำกับเขา ไปทำในสิ่งตรงข้ามที่ทั้งเขาและตัวเองต้องการ มันจะจบมั๊ยเนี่ย
มาร : เออใช่ จริงๆ ด้วย
พิจารณาต่อว่า เราไม่ชอบการกระทำของญาติ เราไม่เข้าใจ ว่าทำไมเขาถึงเข้าใจอะไรได้ยากเย็น นั่นเป็นเพราะเราไม่ยอมรับในเรื่องของกรรม ว่าสิ่งที่เราได้รับคือสิ่งที่เราเคยทำมา เรายังจะทำผิดศีล ไปขโมยความดีจากเขาอีก มันเลยทำให้เราทุกข์ใจ จึงตั้งจิตขออโหสิกรรมที่คิดและพูดไม่ดีต่อญาติ
ตรงกับบททบทวนธรรมข้อที่ 47 “ เมื่อมีเรื่องไม่ชอบใจ ไม่เข้าใจ แล้วเกิดคำถามว่า ทำไม ๆๆ ให้ตอบว่า ทำมา ๆ ๆ”
บทสรุป พิจารณาแบบนี้แล้วใจก็โล่งขึ้น ความสงบในใจและกายก็ค่อย ๆ กลับมาเหมือนเดิม เรื่องนี้ทำให้ผู้เขียนได้บทเรียนถึงเรื่องการมีสติในการใช้ชีวิต เราต้องเตรียมรับกับทุกสถานการณ์ที่เข้ามากระทบ จะได้ไม่เผลอไปคิดพูดทำไม่ดีกับใคร จะได้ไม่ต้องไปสร้างวิบากใหม่เพิ่ม
เรื่อง การเข้าใจผิดของเราและผู้อื่น
เล่าสู่กันฟัง ความในใจ ในการทำงาน นักพัฒนาพื้นที่ครัวเรือนต้นแบบ(นพต.)
อ.ท่าตูม
เหตุการณ์ ช่วงแรก ในการเป็นนักพัฒนาพื้นที่ ครัวเรือนต้นแบบ มีหลายเรื่องที่รู้สึกว่าเพื่อนๆไม่เข้าใจในสิ่งที่เราทำ เช่นเรื่องการไม่ทานเนื้อสัตว์ การบำเพ็ญแบ่งปันน้ำสมุนไพร การทำงาน การเขียน การส่งแผนงาน การส่งแผนผลและรายงานการปฏิบัติงานประจำเดือน
ทุกข์ อึดอัดใจ ที่เพื่อนๆไม่เข้าใจในสิ่งที่เราทำ
สมุทัย ชังที่เพื่อนๆไม่เข้าใจในสิ่งที่เราทำ ชอบถ้าเพื่อนๆเข้าใจในสิ่งที่เราทำ
นิโรธ ไม่ชอบ ไม่ชัง เพื่อนๆจะเข้าใจหรือไม่เข้าใจในสิ่งที่เราทำก็ได้
มรรค พิจารณา ยอมรับความจริงตามความเป็นจริงว่า เราก็เคยเข้าใจผิดหรือไม่เข้าใจคนอื่น เหมือนกัน เมื่อได้พยายาม อธิบายแบ่งปันข้อมูลแล้วก็วางใจ ไม่ถือสาเพื่อนๆ ตั้งจิตทำดีต่อไป ทำใจยอมรับว่า เพื่อนๆจะเข้าใจในสิ่งที่เราทำก็ได้ ไม่เข้าใจก็ได้
ดั่งบททบทวนธรรมข้อที่ 1 เรื่องการเข้าใจผิดของเรากับผู้อื่น เราต้องระลึกรู้ว่า มันคือวิบากกรรมเขา วิบากกรรมเรา แก้ไขได้ด้วยการทำดี ไม่มีถือสาไปเรื่อยๆ แล้ววันใดวันหนึ่งข้างหน้า ในชาตินี้ หรือชาติหน้า หรือชาติอื่นๆสืบไป
ความเข้าใจผิดนั้นก็จะหมดไปเอง
ขอบพระคุณ เพื่อนๆร่วมงาน นักพัฒนาพื้นที่ครัวเรือนต้นแบบ(นพต.)อ.ท่าตูม ทุกๆท่าน ที่ให้โอกาส เป็นเหตุปัจจัย เกิดเหตุการณ์จริง เป็นเครื่องมืออันล้ำค่า ในการฝึกล้างความทุกข์ในใจตน พัฒนาจิตวิญญาณ ให้เจริญและผาสุกยิ่งขึ้น
อนุโมทนา สาธุ ค่ะ
เจริญธรรม สำนึกดี มีใจไร้ทุกข์ทุกๆท่าน
28 กันยายน 2564
ทุกข์: มีความไม่เบิกบานไม่แช่มชื่นในการทำงาน
สมุทัย : พิจารณาเหตุแห่งทุกข์พบว่าเรามีความอยาก อยากได้งานที่สำเร็จ สมบูรณ์ ถ้างานสำเร็จสมบูรณ์จะมีความสุข ถ้างานไม่สำเร็จ ไม่สมบูรณ์จะทุกข์
นิโรธ : สภาพดับทุกข์ งานจะสำเร็จ สมบูรณ์หรือไม่ ก็ต้องไม่ทุกข์ ไม่ชอบไม่ชัง ไม่อยาก ไม่กลัว
มรรค : หนทางแห่งความพ้นทุกข์ พิจารณาความไม่เที่ยง อย่ายึดมั่นถือมั่น นำบททบทวนธรรมข้อ 48 คนที่แพ้ไม่ได้ พลาดไม่ได้ ทุกข์ตายเลย โง่ที่สุด คนที่แพ้ก็ได้ พลาดก็ได้ ไม่พลาดก็ได้ พร่องก็ได้ ไม่พร่องก็ได้ สบายใจจริง ฉลาดที่สุด จึงบอกกับกิเลสตัวเองว่าจะโง่ทำไม ทำงานอะไร ถ้าเราทำเต็มที่แล้ว ถ้ายังพลาด ยังพร่องก็ถือว่าเป็นวิบาก จะไปทุกข์ทำไม โง่ที่สุด พอคิดได้ก็โล่งเลย ทำงานด้วยใจที่เบิกบาน
ชื่อเรื่อง .ดูแลสุขภาพบ้างน่ะ
เนื้อเรื่อง .เห็นลูกกินแต่อาหารตามใจปาก ดูกินเยอะเกินควร ตนเองก็อดไม่ได้ที่จะบอกกินให้สมดุจร้อน เย็นน่ะเดี๋ยวเธอจะป่วย เป็นหมอดูแลตนเอง ขัดใจตนเองบ้างตามใจตนเอง มันจะมีวิบาก ตั้งศีลบ้าง
ทุกข์ .กินให้รู้ปริมาณ
สมุทัย .เห็นลูกกินอาหารตามใจปาก นึกเป็นห่วงสุขภาพเห็นทีไรก็อดที่จะพูดไม่ได้กินปรับสมดุจร้อน เย็นคุณหมอกินอะไรวันนี้ อันนี้ อันนั้นอย่ากินเยอะน่ะใจเราร้อนอยู่แล้ว อาหารก็ฤทธิ์ร้อน เดี๋ยวเธอจะป่วย
นิโรธ .ลูกจะกินปรับสมดุจหรือไม่เราก็ไม่อึดอัดใจ ไม่วังวลใจ บอกแล้วก็วางใจให้เป็นไปตามวิบากของใครก็ของใคร
มรรค .เราก็เคยเป็นเช่นยั้นมา เราแสบสุดๆอดทน รอคอยให้อภัยใจเย็นข้ามชาติให้แล้วคิดที่จะไม่เอาอะไรจากใครให้ได้
รมิตา ซีบังเกิด
เรื่อง : เตือนแล้วไม่ยอมเชื่อ
เหตุการณ์ : ได้รับหนังสือจากกรมตำรวจแจ้งให้เสียค่าปรับในการขับรถผิดกฎหมาย มาดูว่าความเร็วก็ไม่แจ้งว่าเท่าไหร่ ทำไมถูกปรับ พิจารณาอย่างละเอียดอีกที พบว่าเป็นการขับรถฝ่าสัญญาณไฟจราจร นึกออกทันทีว่าวันนั้นไปทำธุระในตัวเมือง พ่อบ้านขับรถฝ่าสัญญาณไฟจราจร เรายังพูดเตือนสติว่า ช้าไปสักนิดไม่เห็นเป็นไรเลย ซึ่งเขาก็เป็นแบบนี้หลายครั้งแล้ว เราก็รู้สึกไม่ดีมาตลอดแต่เขาไม่เชื่อ
ทุกข์ : เสียดายเงินที่จะต้องเสียค่าปรับ
สมุทัย : ไม่ต้องเสียเงินค่าปรับจะดีใจ เสียเงินค่าปรับจะทุกข์ใจ
นิโรธ : ต้องเสียเงินค่าปรับก็ไม่ทุกข์ใจ
มรรค : เมื่อได้รับหนังสือแจ้งเตือนให้เสียค่าปรับ ต้องนึกทบทวนว่าทำผิดกฎจราจรยังไงบ้าง ดูจากภาพวงจรปิดอย่างละเอียด จึงเห็นภาพว่ารถฝ่าสัญญาณไฟจราจร ได้พูดให้พ่อบ้านฟังว่า ได้รับหนังสือแจ้งให้เสียค่าปรับเรื่องขับรถฝ่าสัญญาณไฟ เขาก็ไม่พูดอะไร เราก็มาคิดได้ว่า ดีจังที่เราพูดตั้งหลายครั้งเขาไม่ยอมเชื่อ บอกว่าไม่เป็นไรหรอก วันนี้มีมาตาลีมาเตือนเป็นหนังสือราชการมาเลย ดีใจมาก คุ้มมากที่เสียเงินในครั้งนี้ อย่างน้อยเงินค่าปรับจะได้ใช้ประโยชน์กับทางราชการต่อไป วันนี้ก็ได้โอนเงินค่าปรับให้กรมตำรวจแห่งชาติไปแล้ว โดยไม่รู้สึกเสียดายเลยแม้แต่น้อย กลับดีใจที่ได้ให้พ่อบ้านได้เห็นบทลงโทษที่เราได้รับจากการกระทำด้วยความประมาทของเขา เราก็ยินดีรับด้วยเพราะเป็นวิบากร้ายของเรา
ชื่อเรื่อง คันมากๆ คันจริงๆ
เนื้อเรื่อง ช่วงเวลาที่ผ่านมา ร่างกายในส่วนของข้อพับด้านในของขาขวาได้มีอาการคัน
เมื่อลูบผิวหนังส่วนนั้น จะมีความรู้สึกลูบผิวหนังของปลาเกร็ดเล็กๆ สากๆ โดยเฉพาะ
ช่วงเวลากลางวันและยิ่งช่วงที่มีเหงื่อออก ยิ่งมีความรู้สึกคันมากขึ้นไปกว่าเวลาปกติและมี
ความต้องการที่จะต้องเกา เพื่อให้หายคันหรือให้อาการคันได้ทุเลาลง แต่ปรากฎว่า ยิ่งเกาก็
ยิ่งคัน ยิ่งคันก็ยิ่งเกา คันๆ มันๆ สลับสับเปลี่ยนอาการดังกล่าวหมุนเวียนกันตลอดเวลาที่มี
ความรู้สึกตัน
อริยสัจ ๔ และ มรรค ๘ :-
1-ทุกข์ สภาพของความเป็นทุกข์ คือ
1.1 สภาพความไม่สบายกาย ยิ่งเกาก็ยิ่งคัน ยิ่งคันก็ยิ่งเกา คันๆ มันๆ สลับสับเปลี่ยนอาการ
ดังกล่าวหมุนเวียนกันตลอดเวลาที่มีความรู้สึกตัน
1.2 สภาพของไม่สบายใจ ที่เป็นสภาพของความ หงุดหงิด กังวล รำคาญ ที่เกิดอาการ
ดังกล่าวโดยไม่ทราบสาเหตุในเบื้องต้น
2. สมุทัย สาเหตุแห่งความเป็นทุกข์ทั้งปวง คือ
-ความทุกข์ที่เกิดจากความไม่รู้ว่าสาเหตุแห่งอาการคันที่เกิดขึ้นดังกล่าวว่าเกิดจากอะไร
-ความไม่เข้าใจในโลกและโรคหรืออาการที่เกิดขึ้นว่า ทำไมจึงเกิดขึ้นได้ ทั้งๆที่ตัวของเรา
ก็รักษาความสะอาดของร่างกาย แต่ก็ยังเกิดอาการคันผิวหนัง
-ความอ่อนประสบการณ์ในชีวิต ในการอ่านกิเลสแต่ละลักษณะอาการที่เกิดขึ้นกับตัวเอง
ความหลงในอาการคันที่เกิดขึ้น ด้วยการมัวแต่รักษาด้วยการเกาบริเวณที่คัน ไม่ได้รักษา
ที่ต้นเหตุที่มาของอาการคันที่เกิดขึ้น
-อาการคันที่เกิดขึ้นกับร่างกายนั้น เป็นเพียงปลายเหคุที่ทำให้เราได้รับรู้ถึงวิบากร้ายที่เรา
เคยทำมาในอดีต ทั้งในช่วงชิวิตปัจจุบันของชาตินี้และในอดีตชาติก่อนๆที่ผ่านมา ด้วยการ
เลาะขอดเกล็ดปลา โกนขนของสัตว์ต่างๆ ถอนขนเป็ด ไก่ นก ปิ้ง ย่าง เผา สัตว์ต่างๆ เพื่อ
นำมาปรุงอาหารชนิดต่างๆ
3. นิโรธ คือ สภาพของการดับทุกข์ หรือ ความไม่มีทุกข์ ซึ่งก็หมายถึงการเข้าใจในสมุทัย
ความเข้าใจสาเหตุแห่งทุกข์นั้น ด้วยการดับทุกข์ที่ใจ อาการต่างๆที่เกิดขึ้นจะเป็นอย่างไรก็
เป็นไป จะไม่ใช้มือเกาบริเวณที่คันต่างๆ แต่จะใช้ธรรมะเกาอาการการคันที่ใจ เพื่อให้ความ
ทุกข์ที่ใจนั้นผ่อนคลาย ทุเลาเบาบางลง
4. มรรค คือ วิธีการดับทุกข์ หรือ หนทางแห่งการดับทุกข์ ซึ่งพระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า
มรรคมีองค์ 8 หรือวิธีการดับทุกข์ทั้งปวงนั้นมีอยู่ 8 ประการนั่นเอง
มรรค 8 ประกอบด้วย :-
……….1. สัมมาทิฏฐิ คือความเข้าใจที่ถูกต้อง ในอาการที่เกิดขึ้นกับร่างกายนั้น เป็นเพียง
สาเหคุที่เกิดจากใจที่วิตก กังวล หวั่นไหว
……….2. สัมมาสังกัปปะ คือความใฝ่ใจที่ถูกต้อง ในการใฝ่หาความรู้และวิธีการดับอาการ
ต่างๆด้วยธรรมะ
……….3. สัมมาวาจา คือการพูดจาที่ถูกต้อง ด้วยการบอกกับตัวเองให้รู้ตัวว่า อาการต่างๆที่
เกิดขึ้นกับร่างกายนั้นเป็นเพียงอาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นจากวิบากร้ายของเราเอง ไม่มีใครทำ
ให้เราเกิดอาการต่างๆ ตัวของเราเองนั่นแหละที่ทำให้เกิดลักษณะอาการต่างๆขึ้น
……….4. สัมมากัมมันตะ คือการกระทำที่ถูกต้อง ด้วยการประพฤติ ปฏิบัติทางด้านจิตใจตาม
แนวทางของบททบทวนธรรม เพื่อนำชีวิตให้ผาสุกถูกต้องตามธรรม
……….5. สัมมาอาชีวะ คือการดำรงชีพที่ถูกต้อง ด้วยการไม่ดำเนินชีวิตทางด้านมิจฉาอาชีวะ
และมิจฉาวาณิชชา ดำเนินชีวิตด้วยอาชีพที่ไม่เป็นโทษ ไม่เบียดเบียน ไม่เอารัดเอาเปรียบ
ตัวเอง ตนอื่นๆ สัตว์อื่นๆ อีกต่อไป
……….6. สัมมาวายามะ คือความพากเพียรที่ถูกต้อง ในการดำเนินชีวิตในสายธารแห่งธรรมะ
ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านพ่อครู สมณะ ท่านอาจารย์ และบททบทวนธรรม
……….7. สัมมาสติ คือการระลึกประจำใจที่ถูกต้อง ด้วยการประพฤติ ปฏิบัติ ให้ได้ อย่างมีสติ
ไม่ประมาท ไม่ประมาณตนมากเกินเหตุที่ตัวเองจะกระทำได้ในชีวิตประจะวัน
……….8. สัมมาสมาธิ คือการตั้งใจมั่นที่ถูกต้อง ด้วยการตั้งจิตไม่อิดเอื้อน ไม่บิดพริ้ว ในการ
หาเหตุผลสารพัดต่างๆ ที่จะละเลยในสิ่งหรือวิถีทางแห่งธรรมะที่ถูกตรง
ปรับสภาวธรรมด้วยบททบทวนธรรมที่ประทับใจกับเรื่องราวที่เกิดขึ้นมีดังต่อไปนี้ คือ
ข้อที่ ๑๙ สิ่งที่มองไม่เห็น
ที่ทำหน้าที่สร้างสิ่งที่มองเห็น
และสิ่งที่เป็นอยู่ทุกอย่างในชีวิตของคน
คือ พลังวิบากดีร้าย
ที่เกิดจากการกระทำ ทางกาย
หรือวาจา หรือใจของผู้นั้น
ในอดีตชาติ และชาตินี้
สังเคราะห์กันอย่างละหนึ่งส่วน
ข้อที่ ๒๐ เมื่อเกิดสิ่งเลวร้ายกับเรา
โลกนี้ไม่มีใครผิดต่อเรา
เราเท่านั้นที่ผิดต่อเรา
คนอื่นที่ทำไม่ดีนั้น
เขาผิดต่อตัวเขาเองเท่านั้น
และเขาก็ต้องได้รับวิบากร้ายนั้นเอง
เขาจึงไม่ได้ผิดต่อเรา
แต่เขานั้นผิดต่อตัวเขาเอง
ถ้าเรายังเห็นว่า
คนที่ทำไม่ดีกับเรา
เป็นคนผิดต่อเรา
แสดงว่า เรานั่นแหละผิด
อย่าโทษใครในโลกใบนี้
ผู้ใดที่โทษผู้อื่นว่าผิดต่อตัวเรา
จะไม่มีทางบรรลุธรรม
นี่คือคนที่ไม่ยอมรับความจริง
เพราะไม่เข้าใจเรื่อง “กรรม”
อย่างแจ่มแจ้งว่า
“ทุกสิ่งทุกอย่างที่ทุกคนได้รับ
ล้วนเกิดจากการกระทำของตนเองเท่านั้น
เมื่อรับผลดีร้ายจากการกระทไแล้ว
ผลนั้นก็จบดับไป
และสุดท้ายเมื่อปรินิพพาน
ทุกคนก็ต้องสูญจากทั้งดีและร้ายไป
ไม่มีอะไรเป็นสมบัติของใคร
เพราะสุดท้ายทุกสิ่งทุกอย่างก็ต้องดับไป
จึงไม่ต้องยึดมั่นถือมั่น
ไม่ต้องทุกข์กับอะไร”
ข้อที่ ๒๑ การได้พบกับเหตุการณ์
ที่ไม่ถูกใจเรา ไม่ได้ดั่งใจเรา
เป็นสุดยอดแห่งเครื่องมืออันล้ำค่า
ที่ทำให้ได้ฝึกล้างกิเลส
คือ ความหลงชิงชังรังเกียจ
หลงยึดมั่นถือมั่นในใจเรา
และทำให้ได้ล้างวิบากร้ายของเรา
ข้อที่ ๒๒ ถ้าใครมีปัญหา
หรือความเจ็บป่วยในชีวิต
ให้ทำความดี ๔ อย่างนี้
ด้วยความยินดี จริงใจ จะช่วยให้ปัญหา
หรือความเจ็บป่วย ลดลงได้เร็ว
๑) สำนึกผิด หรือยอมรับผิด
๒) ขอรับโทษ เต็มใจรับโทษ
หรือขออโหสิกรรม
๓) ตั้งจิตหยุดสิ่งที่ไม่ดีอันนั้น
๔) ตั้งจิตทำความดีให้มาก ๆ คือ
ลดกิเลสให้มาก ๆ
เกื้อกูลผองชนและหมู่สัตว์ให้มาก ๆ
ข้อที่ ๒๓ ความดี…จะติดตามเรา
เหมือนเงาตามตัว
ความชั่ว…จะติดตามเรา
เหมือนล้อเกวียนตามรอยเท้าโคฉันนั้น
ข้อที่ ๒๔ การกระทำ
ทางกายวาจาใจที่ดีงาม
คือกำแพงความดีที่คุ้มครองชีวิตเรา
ทั้งในชาตินี้ ชาติหน้า
และชาติอื่น ๆ สืบไป
ข้อที่ ๒๕ เมื่อเกิดทุกข์ใจ ทุกข์กาย
เรื่องร้ายเข้ามาในชีวิต
เขามาเพื่อ…ให้เราได้ชดใช้
ให้เราไม่ประมาท ให้เราเพิ่มอริยศีล
ให้เราได้สำนึก ให้เราได้หมดวิบาก
ข้อที่ ๒๖ การพิจารณาเพื่อปราบมาร คือ
ความกลัว เวลาเจ็บป่วย
หรือ พบเรื่องร้าย
จะทำให้ดับทุกข์ใจ ทุกข์กาย
และเรื่องร้าย ได้ดีที่สุด
คือ ทำใจว่า โชคดีอีกแล้ว
ร้ายหมดอีกแล้ว รับเต็ม ๆ หมดเต็ม ๆ
เจ็บ…ก็ให้มันเจ็บ ปวด…ก็ให้มันปวด
ทรมาน…ก็ให้มันทรมาน
ตาย…ก็ให้มันตาย
เป็นไงเป็นกัน รับเท่าไหร่ หมดเท่านั้น
เรา…แสบ…สุด ๆ มัน…ก็ต้องรับ…สุด ๆ
มัน…จะได้หมดไปสุด ๆ
เรา…จะได้เป็นสุข…สุด ๆ
เพราะสุดท้ายทุกอย่างก็ดับไป
ไม่มีอะไรเป็นของใคร
จะทุกข์ใจไปทำไม
ไม่มีอะไรต้องทุกข์ใจ
“เบิกบาน แจ่มใส ดีกว่า”
ข้อที่ ๒๗ เทคนิคทำใจให้หายโรคเร็ว คือ
อย่าโกรธ
อย่ากลัวเป็น อย่ากลัวตาย
อย่ากลัวโรค อย่าเร่งผล อย่ากังวล
อย่าโกรธ คือ
เราหรือใครได้รับอะไร
ผู้นั้นทำมา ส่งเสริมมา เพ่งโทษ ถือสา
ดูถูก ชิงชัง หรือไม่ให้อภัยสิ่งนั้นมา
เราหรือใครทำอะไร
ผู้นั้นต้องไปรับผลจากการกระทำนั้น
ทุกคนล้วนอยากสุข อยากสมบูรณ์
ไม่มีใครอยากทุกข์ อยากพร่อง
ที่ยังทุกข์ ยังพร่อง
เพราะไม่รู้ หรือรู้ แต่ยังทำไม่ได้
ไม่รู้ เพราะมีวิบากร้ายกั้นอยู่
หรือรู้ แต่ยังทำไม่ได้
หรือเพียรเต็มที่แล้ว
แต่ยังมีวิบากร้ายกั้นอยู่
เราทำดีสุดแล้ว พอใจทุกเรื่องให้ได้
แล้วเพียรทำดีต่อไป ด้วยใจไร้ทุกข์
อย่ากลัวเป็น อย่ากลัวตาย คือ
ตาย…ก็ไปเกิดใหม่ จะทำดีต่อ
อยู่…ก็ทำหน้าที่ต่อไป จะทำดีต่อ
อย่ากลัวโรค คือ
โรคไม่หายตอนเป็น ก็หายตอนตาย
เราสู้กับโรค
เรามีแต่ชนะ กับเสมอเท่านั้น
โรคหาย เราก็ชนะ
ถ้าโรคไม่หาย
เราตาย โรคก็ตาย ก็เสมอกัน !!!
สูตรแก้โรค คือ
ใจไร้ทุกข์ ใจดีงาม รู้เพียรรู้พัก
สมดุลร้อนเย็น
หรือใช้สิ่งที่รู้สึกสบาย
อย่าเร่งผล คือ
หายเร็วก็ได้ หายช้าก็ได้
หายตอนเป็นก็ได้ หายตอนตายก็ได้
หายตอนไหน ช่างหัวมัน
อย่ากังวล คือ
ทำดีที่ทำได้ ไม่วิวาท
อย่างรู้เพียรรู้พัก ให้ดีที่สุด
ล้างความยึดมั่นถือมั่น ให้ถึงที่สุด
สุขสบายใจ ไร้กังวล ที่สุด
ดีที่ทำได้ไม่วิวาท คือเส้นทางทำดีนั้น
ไม่ปิดกั้นเกิน ไม่ฝืดฝืนเกิน
ไม่ลำบากเกิน
ไม่ทรมานเกิน ไม่เสียหายเกิน
ไม่แตกร้าวเกิน ไม่เสี่ยงเกิน
ข้อที่ ๒๘ ความกลัว กังวล ระแวง หวั่นไหว
ทำให้เป็นได้ทุกโรค
ใจไร้ทุกข์ ใจดีงาม
เป็นสิ่งที่มีฤทธิ์มากที่สุด
ที่ทำให้หายหรือทุเลาจากโรค
เป็นยารักษาโรคที่มีฤทธิ์เร็ว
และแรงที่สุดในโลก
ข้อที่ ๒๙ วิธีการ ๕ ข้อ
ในการแก้ปัญหาทุกปัญหาในโลก คือ
๑) คบและเคารพมิตรดี
๒) มีอริยศีล
๓) ทำสมดุลร้อนเย็น
๔) พึ่งตน
๕) แบ่งปันด้วยใจที่บริสุทธ
ฝนตกแต่ไม่มีน้ำใช้
เหตุการณ์ ฝนตกทุกวัน แต่อยู่ในสภาพไม่มีน้ำใช้เพราะเดิมที่บ้านไม่ได้ต่อน้ำประปา ใช้น้ำจากแม่น้ำเพชรบุรี เพราะบ้านอยู่หน้าแม่น้ำเลยต่อท่อแบบเอาปั้มจุ่มลงแม่น้ำ จะดูดน้ำก็ประมาณอาทิตย์ละครั้ง แต่พอช่วงหน้าฝน แม้ว่าจะมีฝนตก น้ำในแม่น้ำสูง แต่ปรากฏว่าไม่สามารถดูดน้ำขึ้นมาได้เพราะท่อที่ต่อไว้จมน้ำ จนพ่อบ้านต้องบอกว่า ไม่มีน้ำใช้ต้องเสียเงินซื้อท่อสายดูดน้ำแบบแข็งมาต่อ ถึงจะมีน้ำใช้ช่วงหน้าฝน ไม่งั้นก็ต้องไปอาบน้ำที่แม่น้ำแล้วหิ้วน้ำมาคนละถังเพื่อเข้าห้องน้ำ
ทุกข์ : หงุดหงิดใจ ไม่มีน้ำใช้ (ไม่ได้ดังใจ) + กังวลใจต้องมาเสียทรัพย์ซื้อท่อ+อุปกรณ์ท่อน้ำ
สมุทัย : อยากมีน้ำใช้สมใจ ลึก ๆ ไม่อยากเสียทรัพย์ เสียเงิน
นิโรธ : จะเสียทรัพย์สินหรือเงินทอง ก็ไม่ทุกข์ใจ
มรรค : ความลวง (ตอนแรก)มีจิตเพ่งโทษพ่อบ้าน เอาอีกแล้ว ทำเสียเงินอีกแล้ว
ความจริง พ่อบ้านเป็นแค่นอมินี มาตลีมาเตือน ว่า ดูซิ ถ้าต้องเสียทรัพย์จะทุกข์ใจไหม
พิจารณาว่าเงินทอง ทรัพย์สินเป็นของนอกกาย พิจารณาประโยชน์ของการต้องเสียทรัพย์ครั้งนี้ สายดูดที่ซื้อมาสามารถนำมาใช้ต่อได้ เก็บไว้ใช้ได้เรื่อย ๆ พิจารณาประโยชน์ในการตัดสินใจซื้อแล้วว่า ควรซื้อ + พิจารณาว่า ตอนนี้ เหตุการณ์นี้เป็นสิ่งที่เราจะต้องได้รับ ถ้ามันจะต้องเสียทรัพย์ ก็ต้องเสียอยู่ดี ทรัพย์+เงินเป็นสิ่งสมมติโลกเท่านั้น จะงก จะหวงไปทำไม ไม่ได้อะไร
ถ้าต้องเสียทรัพย์แล้วทำให้เกิดประโยชน์กับตัวเราและคนข้าง ๆ พ่อบ้านก็ไม่ต้องเหนื่อย แบกปั้มน้ำ ข้ามไปข้ามมา ก็น่าจะดีกว่า
เราเองก็ได้คววมสะดวกในการใช้น้ำด้วย
เรื่อง เมื่อลูกชายต้องได้รับวัคซีน
เหตุการณ์
ได้ติดตามข่าวสารเรื่องวัคซีน covid 19 เป็นระยะระยะ ไม่ได้วิตก หวั่นไหว อะไร แต่เมื่อได้รับจดหมายจากโรงเรียนของลูกชาย ให้ตอบรับเรื่องการ ฉีดวัคซีน และแน่ใจว่าลูกชายต้องการฉีดวัคซีน เรากลับมีความกังวลใจนิดๆ ว่าลูกจะได้รับผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์จากวัคซีนนั้น
@ทุกข์ : กังวลว่าลูกจะได้รับผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์จากวัคซีนโควิด19
@ สมุทัย : ชอบที่ลูกจะมีร่างกายแข็งแรงตามธรรมชาติไม่มีเคมีเจือปน
ชังที่จะมีการเอาเคมีเจือปนใส่ในร่างกายลูก
ชอบที่ลูกจะทำตัวให้แข็งแรงตามแนวทางการพึ่งตน
ชังที่ลูกมีพฤติกรรมสุขภาพแบบไม่เป็นไปตามแนวทางการพึ่งตน
ชอบที่จะได้ทำตามใจต้องการ
ชังที่จะต้องทำในสิ่งที่ขัดใจตัวเอง
@นิโรธ : ทุกสิ่งที่เราและลูกจะต้องได้พบเจอ ต้องได้ทำ ล้วนเป็นไปตามวิบากดีร้ายของเรา ของลูก ของโลก สิ่งที่ทำได้คือ ไม่โทษใคร ใจไร้ทุกข์ ทำดีเรื่อยไป ใจเย็นข้ามชาติ
@มรรค : เมื่อลูกยินยอมต้องการฉีดวัคซีน ด้วยเหตุผลว่าถ้าไม่ได้รับวัคซีนเขาอาจจะไม่สามารถร่วมกิจกรรมการงานหลายอย่างได้ในอนาคต จึงรู้สึกว่าถูกสังคมบังคับ ให้ลูกต้องรับวัคซีน รู้สึกเป็นห่วงลูกเพราะพฤติกรรมสุขภาพของลูก คือนอนดึก อยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์นานเป็นวันๆ ขาดการออกกำลังกาย ชอบทานอาหารเนื้อสัตว์ ชอบทานขนมกรุบกรอบ มีระบบหายใจไม่ดี แพ้ฝุ่น แพ้อากาศ แต่ก็ได้ทำใจว่า เราได้ทำหน้าที่เต็มที่แล้วใ ห้ข้อมูลการดูแลสุขภาพ ช่วยส่งเสริม สนับสนุน เคยขู่เข็ญบังคับ ให้เขาดูแลสุขภาพตัวเอง เขาก็ทำเท่าที่ทำได้ ผลออกมาก็ตามธรรม ตอนนี้ถ้าเขายอมรับวัคซีนด้วยความรู้สึกยินดี ก็ดีกว่าเขารู้สึกกลัว เลยใช้จังหวะนี้พูดกับลูกว่า ถึงเวลาที่เขาต้องปรับพฤติกรรมสุขภาพ มานอนไม่เกิน 22:00 น ถ้าทำได้ควรตื่นเช้า มาออกกำลังกาย ด้วยเหตุผลหลายอย่าง แลกกับ การที่แม่ยินยอมให้เขาได้รับวัคซีน ตามที่เขาต้องการ ก็ให้กำลังใจแกมบังคับลูกไปพอประมาณ ในใจแม่ก็รู้สึกโล่ง ยินดีและเป็นห่วงพอประมาณ ความยึดมั่นถือมั่นน้อยลงกว่าเมื่อก่อนเยอะ ประมาณที่ 50% จะขอพากเพียรต่อไป ลดความยึดมั่นถือมั่น ไปตามลำดับลำดับ จะพากเพียรต่อไปด้วยความยินดีและเบิกบาน
สาธุ
เรื่อง ไม่ยึด
เนื้อเรื่อง วันหนึ่งตั้งใจจะไปปลูกผักหวานบ้านที่พี่น้องจิตอาสาลำพูนเอาขึ้นมาให้ปลูกที่ภูผาฟ้าน้ำ ปกติจะไปกับน้องจิตอาสาอีกท่านหนึ่ง แต่ว่าวันนี้ท่านไปเก็บเห็ดป่ากับทีมเก็บเห็ด จึงได้ชวนจิตอาสาท่านอื่นไปร่วมบำเพ็ญ โดยช่วยขนต้นผักหวานและช่วยปลูก ก็ได้สมาชิกมาสองท่านรวมกับตัวเองเป็นสาม ทุกคนช่วยกัน คนหนึ่งขุดหลุม คนหนึ่งใส่เศษอาหารและฉี่ อีกคนหนึ่งปลูก พอทำไปใกล้เสร็จก็มีเด็กมาเรียกจิตอาสาที่มาช่วยเราไปทำงานอื่น เราก็บอกว่าเอาตามที่สะดวกนะคะ ขอบคุณมากที่มาร่วมบำเพ็ญ ต่อมาไม่นานอีกท่านก็บอกว่าไปพักก่อนนะ เราก็บอกว่าขอบคุณนะคะที่มาร่วมบำเพ็ญ เหลือนิดเดียวไม่ต้องห่วง แล้วเราก็ทำต่อจนเสร็จ ด้วยจิตที่เบิกบาน แจ่มใส
ทุกข์ ขุ่นใจที่เด็กมาเรียกจิตอาสาที่มาช่วยงานเราไปทำงานอื่น ทั้งที่งานเรายังไม่เสร็จ
สมุทัย ถ้างานเราเสร็จจะสุขใจ แต่ถ้างานเราไม่เสร็จจะทุกข์ใจ
นิโรธ งานจะเสร็จหรือไม่เสร็จไม่สำคัญ ที่สำคัญคือใจเราไร้ทุกข์
มรรค เราไม่ยึดมั่นถือมั่นว่างานจะต้องเสร็จสมบูรณ์ ทุกอย่างขึ้นอยู่กับกุศล และอกุศลของเราจะออกฤทธิ์ ณ เวลานั้น และถ้าเราเชื่อชัดเรื่องกรรมจะเอาทุกข์มาแต่ไหน จิตก็จางคลาย ไม่หม่นหมองมีแต่สดชื่นๆ และสดชื่น
ส่งการบ้านอริยสัจ4
เรื่อง. ปลูกข้าวได้ฟาง ได้ล้างทุกข์
เหตุการณ์.เนื่องจากได้ปลูกข้าวไร้สารพิษ ด้วยความภูมิใจว่าทำแล้วได้ผลดี ข้าวออกรวงเยอะมาก ใจคิดว่าดีจังปลูกได้ข้าวเยอะจะได้มีข้าวไร้สารพิษกิน และเหลือจะได้แบ่งปันให้พี่น้องได้กินข้าวที่เราปลูกเอง แต่แล้วพอข้าวเริ่มออกรวงสมบูรณ์ นกก็มาช่วยกันกินเหลือไว้ให้เราประมาณ20% ตอนนี้เมื่อเดินไปที่ไร่เห็นแต่ฟางแทนรวงข้าว
ทุกข์.รู้สึกเสียดายข้าวที่นกมากินเหลือแค่นิดเดียว
สมุทัย.อยากได้ข้าวเยอะๆเพื่อจะได้มีข้าวไร้สารพิษที่ปลูกเองไว้กินได้นานๆและอยากเหลือแบ่งปันให้พี่น้องได้กินด้วย เมื่อได้ข้าวน้อยจึงทุกข์ใจไม่ชอบใจ
นิโรธ.เราจะได้ข้าวน้อยหรือมากก็ยินดี จะได้กินข้าวไร้สารพิษหรือไม่ได้กินก็ยินดี จะได้แบ่งปันหรือไม่ได้แบ่งปันก็ยินดี กล้ารับ กล้ายินดีไม่ชอบไม่ชัง
มรรค.ตั้งศีลมาปฏิบัติพิจารณาเห็นไตรลักษณ์
ความวิปลาสเป็นทุกข์ พิจารณาเห็นอาการของความยึดความอยาก ทำให้ทุกข์ใจ มีอัตตาความยึดดี ถ้าได้ข้าวเยอะๆมีข้าวไว้กินนานคงดีนะเหลือแบ่งปันก็ดี แต่ดีไม่จริง ถ้าดีจริงจะไม่ทุกข์ เพราะเห็นได้ว่าเมื่อมันไม่เป็นตามที่คิดแล้วยังทุกข์อยู่ เพราะฉะนั้นเราต้องกล้าวางดี มายินดีเท่าที่ได้ เพราะเราหรือใครจะได้รับอะไรแค่ไหนอย่างไร ก็เป็นไปตามกุศลอกุศลของเราและคนที่เกี่ยวข้อง ยินดีตามที่ได้ อย่าอยากได้ตามที่อยาก คิดว่าตัวเองโชคดีแล้วที่มีนกมากินและต้องกินเยอะๆ จะได้เห็นกิเลสส่วนเหลือที่ยังติดยังยึดอยู่ และได้ใช้บททบทวนธรรมข้อที่ 123 พิจารณาร่วมด้วย คือ
เจอผัสสะไม่ดี ได้โชค 3 ชั้น คือ ได้เห็นทุกข์
ได้ล้างทุกข์ และ ได้ใช้วิบาก ได้ใช้วิบากรรมที่ไม่ดี ร้ายนั้นก็จะหมดไป ดีก็จะออกฤทธิ์ได้มากขึ้น
สรุปว่า. เมื่อพิจารณาไปใจก็โล่งคลายความอยากได้ตามลำดับค่ะ กล้าที่จะยินดีรับด้วยใจไร้ทุกข์ เปรียบเทียบกับเมื่อก่อนต้องได้เยอะเท่านั้นจึงจะสมใจ แต่ตอนนี้วางใจได้มากขึ้น เข้าใจชัดเรื่องกรรมอย่างแจ่มแจ้งขึ้น ว่าเขาให้เราได้เท่านี้ก็ดีมากแล้ว ได้เท่าไหร่ก็ยินดีรับเท่านั้น ได้แค่ไหนก็ใช้แค่นั้น ใจจึงไม่ทุกข์..
ผาสุกยั่งยืน สาธุค่ะ.
เรื่อง รับเต็มๆ
วันนี้(๒๘ ก.ย.๖๔)เข้าสวนเหมือนทุกๆวัน
เพื่อเก็บไม้ฟืนที่ตัดกองไว้ ไปเตรียมเผาถ่าน รู้สึกเจ็บจี๊ดที่ปลายนิ้วมือ รู้ได้ทันทีเลยว่าจะต้องโดนทวยมัน(แมงป่อง)ต่อยแน่นอน
พลิกไม้ดู ปรากฎว่าใช่เลย
ทุกข์: กลัว ปวดมากเมื่อโดนสัตว์ชนิดนี้ต่อย
สมุทัย: ชอบหากไม่โดนทวยมันต่อยชังที่โดนทวยมันต่อย
นิโรธ:ทวยมันจะต่อยหรือไม่ ก็ไม่ชอบไม่ชัง
มรรค:เคยโดนสัตว์ชนิดนี้ต่อยมาครั้งหนึ่ง เจ็บปวดมากไม่ได้นอนไม่ได้หลับกันทั้งคืน
มาวันนี้ก็โดนอีก แต่เมื่อโดนต่อยปุ๊บก็ขว้าน้ำมันเขียวทาทันที และห่อด้วยกาบ
กล้วย ตามที่อาจาย์สอน
กลับถึงบ้าน แช่นิ้วด้วยน้ำปัสสาวะ
ตามด้วยตำเสลดพังพอน ผงถ่าน ดินสอพอง น้ำมันเขียว พอกพันด้วยผ้าห่อไว้
และทำใจว่า ปวดก็ให้มันปวด เจ็บก็ให้มันเจ็บ ทรมานก็ให้มันทรมานเป็นงัยเป็นกัน รับเท่าไหร่หมดเท่านั้นไม่ได้นอนก็ไม่ต้องนอน ยอมรับวิบากกรรมที่เคยทำให้สัตว์อื่นต้องเจ็บต้องปวดต้องทรมานต้องตายเพราะเราทำเขามา กว่านี้ เราเจ็บแค่นี้ ก็ต้องยอมรับให้ได้ ตามบท ทบทวนธรรมข้อที่๒๖ การพิจารณาเพื่อปราบมาร คือ ความกลัว เวลาเจ็บป่วย หรือพบเรื่องร้ายจะ ทำให้ดับทุกข์ใจ ทุกข์กายและเรื่องร้าย ได้ดีที่สุด คือ ทำใจว่า โชคดีอีกแล้ว ร้ายหมดอีกแล้ว รับเต็มๆ หมดเต็มๆ เจ็บ…ก็ให้มันเจ็บ ปวด…ก็ให้มันปวด ทรมาน…ก็ให้มันทรมาน ตาย…ก็ให้มันตาย เป็นไงเป็นกัน รับเท่าไหร่ หมดเท่านั้น เรา…แสบ…สุดๆ มัน…ก็ต้องรับ…สุดๆ มัน…จะได้หมดไปสุดๆ
เรา…จะได้เป็นสุข…สุดๆ เพราะสุดท้ายทุกอย่างก็ดับไป ไม่มีอะไรเป็นของใคร จะทุกข์ใจไปทำไม ไม่มีอะไรต้องทุกข์ใจ
“เบิกบาน แจ่มใส ดีกว่า”
เมื่อทำใจได้ดังนั้นอาการปวดก็ทุเลาลง เข้าซูมรายการสายด่วนฯฟังไปเรื่อย จนรายการจบ อาการปวดก็ดีขึ้นตามลำดับ จนถึงเวลาเข้านอน อาการปวดก็ยังเหลืออยู่ แต่ก็สามารถนอนหลับได้ตลอดคืน ตื่นเช้ามา อาการปวดหายไป เหลืออาการเสียวที่ปลายนิ้วมือ เมื่อเราไม่กลัวไม่หวั่นไหว ต่ออาการเจ็บปวด อาการนั้นก็ทุเลาเบาบาง และกลับมาเป็นสุขได้ดั่งเดิม
เบิกบาน แจ่มใส
เรื่อง : วันนี้รู้สึกเบื่อๆ
ตื่นขึ้นมาทำกับข้าวให้พ่อบ้าน กินก่อนไปสวน
ทำกับข้าวไปแต่ใจมันรู้สึกล้าๆไม่แช่มชื่น สองวันที่ผ่านมาเราได้ไปฉีดวัคซีนมา เมื่อวานเราก็ไปขายของได้ปรกติ เมื่อมาตรวจดูใจว่าเป็นอะไรหนอ สองวันที่ผ่านมาพ่อบ้านพูดด้วยคำพูด และแสดงพฤติกรรม ที่ทำให้เราเป็นทุกข์ใจและไม่พอใจ วันนี้เลยล้าๆเพลียๆ ก็เลยไม่ตามไปสวน
ทุกข์ : พูดให้สะเทือนใจอยู่เรื่อย
สมุทัย : ชอบที่จะให้เขาพูดและแสดงพฤติกรรมที่ดี ชังเขามาก
นิโรธ : เขาจะพูดดี พูดไม่ดี แสดงพฤติกรรมดีก็ได้ ไม่ดีก็ได้ ใจไร้ทุกข์ ไร้กังวล ยินดีในความไม่ชอบไม่ชัง
มรรค : กิเลส : มันบอกว่า เขาว่าเราสองวันผ่านมาแล้ว วันนี้แกยังเก็บคำพูดที่ทำให้ทุกข์ใจ โอ๊ยว่ามาหลายปีแล้วรู้สึกเบื่อเซ็ง
เรา : บอกกิเลส แกต้องกล้าที่จะให้หายทุกข์
หายเซ็ง ให้ได้ ต้องกล้าที่จะยอมรับว่า แกทำมา หาที่ต้นที่สุดไม่ได้ อดทน รอคอย ให้อภัย ทำดี เรื่อยไป ใจเย็นข้ามชาติ
บททบทวนธรรม ๑๒๓
เจอผัสสะไม่ดี ได้โชค ๓ ชั้น
คือได้เห็นทุกข์ ได้ล้างทุกข์
และได้ใช้วิบาก ได้ใช้วิบากกรรมที่ไม่ดี
ร้ายนั้นก็จะหมดไป ดีก็จะออกฤทธิ์ได้มากขึ้น
บททบทวนธรรม ๑๒๔ เกิดเป็นคน
ต้องฝึกยิ้มรับสิ่งดีสิ่งร้าย ด้วยใจที่เป็นสุขให้ได้
29/09/64
ชื่อ : น.ส.ทิษฏยา โภชนา
ชื่อทางธรรม : ในสายธรรม
จิตอาสาสังกัดสวนป่านาบุญ 2
เรื่อง: ทำไมไม่พูดกันดี ๆ
ช่วงนี้สมาชิกในบ้านท่านหนึ่ง มักจะอารมณ์เสียโดยไม่มีสาเหตุ เวลาถามอะไรไปดี ๆ ท่านจะตอบกลับแบบตะคอก กระแทกแดกดัน (ไม่รู้ไปกินรังแตนมาจากไหน) วันนี้ในขณะที่ผู้เขียนกำลังเดินเก็บผักอยู่นั้น ท่านก็ตะโกนมาต่อว่าผู้เขียน (ผู้เขียนไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่าไปทำอะไรให้ท่านไม่พอใจ) ครั้งนี้แม้จะไม่พอใจต่อกริยาวาจาแบบนั้น แต่ก็มีสติที่จะควบคุมอารมณ์ไม่ตอบโต้กลับได้
ในขณะรับประทานอาหารกลางวันกันอยู่ มีการพูดคุยกันถึงเรื่องญาติที่ติดเชื้อโควิด ผู้เขียนและสมาชิกอีกท่านหนึ่งก็พูดเตือนสมาชิกท่านนั้นให้ระวังตัว เพราะมี timeline ไปอยู่ใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ (ซึ่งเป็นการพูดที่แสดงความเป็นห่วง ไม่ได้มีเจตนาจะตำหนิอะไร) แต่ท่านก็มีสีหน้าไม่พอใจและตอบกลับด้วยคำพูดที่กระแทกแดกดันใส่อีก ทำให้รู้สึกไม่พอใจ ไม่เข้าใจว่าทำไมเป็นผู้ใหญ่กันแล้วยังต้องพูดจากันแบบนี้ ถามอะไรนิดหน่อยก็ตีความเป็นคำพูดตำหนิ เห็นอะไรเป็นขวางหูขวางตาไปหมด ไม่อยากจะอยู่ใกล้ ให้ใจต้องขุ่นมัว
ทุกข์ : ขุ่นมัวใจกับคำพูดของสมาชิกในครอบครัว
สมุทัย : ชอบใจทุกคนในครอบครัวพูดจาดีต่อกัน ชังต่อคำพูดตะคอก กระแทกแดกดันของสมาชิกในครอบครัว อยากให้บรรยากาศในบ้านสงบร่มเย็น ไม่ร้อนเป็นไฟ
นิโรธ : สมาชิกในครอบครัวจะพูดจาดีต่อกันก็ได้ จะตะคอกหรือกระแทกแดกดันใส่กันก็ไม่ทุกข์ใจ
มรรค : พิจารณาว่า การที่เราทุกข์ใจเพราะเราอยากจะได้ยินคำพูดที่ไพเราะหู เรายึดว่าทุกคนต้องพูดจาดีต่อกัน ครอบครัวถึงจะมีความสุข ที่จริงแล้วใครจะพูดจาแบบไหนก็ไม่ได้มีผลอะไร ถ้าใจเราไม่ไปรับเอาสิ่งนั้นมา คำพูดนั้นจะไม่สามารถทำอะไรเราได้เลย ถ้าใจเราไม่ชอบ/ชังต่อสิ่งนั้น เขาพูดออกไปแล้ว ถ้าเราไม่รับเอาคำพูดนั้นมาปรุงต่อ มันก็จบลงไปแล้ว อย่ามัวไปเสียเวลาไปจมอยู่กับอดีตที่เรียกคืนมาไม่ได้
พิจารณาต่อว่า สมาชิกในบ้านพูดจาไม่ดีกับเรา นั่นคือสิ่งที่เราทำมา ระลึกได้ว่าในอดีตเราก็ใช้คำพูดแบบนี้ไปทิ่มแทงจิตใจคนอื่นมาเยอะ พอโดนเข้าบ้างเล็ก ๆ น้อย ๆ กลับไม่พอใจ เห็นความชั่วของกิเลสที่หลอกให้เราโง่ หลอกให้เราชั่วมานาน แล้วยังไม่คิดที่จะยอมรับผิด จึงตั้งจิตขอยอมรับผิดต่อการกระทำไม่ดีในอดีต
ตรงกับบททบทวนธรรมข้อที่ 8 “ สิ่งที่เราได้รับคือสิ่งที่เราทำมา ไม่มีสิ่งใดที่เราได้รับโดยที่เราไม่เคยทำมา”
บทสรุป พิจารณาแบบนี้แล้วใจก็โล่งขึ้น ความอคติที่มีต่อสมาชิกในบ้านก็ลดลงไป
30/09/64
ชื่อ นางสำรวม แก้วแกมจันทร์
ชื่อเล่น “ป้ารวม”
ชื่อทางธรรม “ร้อยแสงศีล”
จิตอาสา สวนป่านาบุญ 2
เรื่อง “ปลวกกินสมุดทะเบียนหมด กิเลสก็หมด”
เหตุการณ์ : ผู้รับใช้ส่งข้อความมาขอข้อมูลจำนวนของจิตอาสา สวนป่านาบุญ 2 จึงโทรศัพท์ไปปรึกษาและขอให้พี่น้องจิตอาสาที่อยู่ประจำ ช่วยค้นหาข้อมูลที่บันทึกไว้ใน “สมุดทะเบียนจิตอาสา” ไม่นานเพื่อนโทรศัพท์ บอกว่า “สมุดทะเบียนจิตอาสา ปลวกกินหมดแล้ว” เหลือแต่ปก พอได้ยินน้ำเสียงของเพื่อน รับรู้ว่าข้อมูลงานทะเบียนอื่นๆ ปลวกกินหมดแล้วทุกเล่ม หมดแล้ว!.. ใจหายไปแว็บหนึ่ง พอได้สติก็คิดได้ทันทีว่า “ดีแล้วที่ปลวกกินสมุดทะเบียนหมดแล้ว กิเลสก็หมด วัตถุไม่เที่ยง เป็นเช่นนี้เอง มีแต่ใจที่ไร้ทุกข์เท่านั้นที่เที่ยง
ทุกข์ : ใจหาย
สมุทัย : ถ้าสมุดทะเบียนยังอยู่ปกติ พอใจ สุขใจ แต่ปลวกกินหมดแล้ว ใจหาย ไม่พอใจ ทุกข์ใจ
นิโรธ : ปลวกกินสมุดทะเบียนหรือไม่กิน วัตถุไม่เที่ยง ใจที่ไร้ทุกข์เท่านั้นที่เที่ยง ยินดี พอใจ เบิกบาน ไม่ทุกข์
มรรค : พอได้ยินเพื่อนบอก “ปลวกกินสมุดทะเบียนหมดแล้ว” แว็บแรก ใจหาย ประมาณ 10 วินาที วางใจได้ทันที จากที่เคยยึดความสมบูรณ์ในงานทะเบียนมานาน จึงนำคาถาที่ อ.หมอ ให้ “โลกนี้พร่องอยู่เป็นนิจ” “วัตถุไม่เที่ยง” ตอบเพื่อนไปว่า ไม่เป็นไรนะ ปลวกกินแล้ว หมดแล้ว หมดก็หมด ดีแล้ว วัตถุเสียหายได้ แต่ใจไม่เสียหาย ยิ้มได้ หัวเราะกับเพื่อนได้ คุยกันไป หัวเราะกันไป เบิกบาน ไม่ยึด ไม่ทุกข์ และข้อมูลทะเบียนส่วนหนึ่งได้พิมพ์เก็บไว้ในคอมพิวเตอร์แล้ว ใจเบา โล่งเลย
สรุปว่า : จากที่ยึดว่า ข้อมูลทะเบียนสำคัญมาก ต้องเรียบร้อยสมบูรณ์ แต่เมื่อ “ปลวกกินสมุดทะเบียนหมด กิเลสก็หมด” เพราะว่า “วางสิ่งที่ยึดได้” ไม่ยึด ไม่ทุกข์ “วัตถุไม่เที่ยง มีแต่ใจไร้ทุกข์เท่านั้นที่เที่ยง” ยินดี พอใจ เบิกบาน ไม่ทุกข์
เรื่อง รู้สึกผิด
มีโอกาสได้เป็นพิธีกรสอบสัมภาษณ์ผู้สมัครเรียนวิชชาราม ในขณะที่สัมภาษณ์พี่น้องท่านหนึ่ง ท่านเล่าถึงความสูญเสียสามีของท่านด้วยความเศร้าเสียใจ เห็นตัวเองเริ่มเศร้าตาม เกิดความรู้สึกอึดอัดไม่อยากอยู่ในสภาวะนี้นาน ๆ มีความรู้สึกอยากให้เคสนี้จบเร็ว ๆ จึงพูดตัดบทท่าน หลังจากพูดจบเกิดความรู้สึกไม่ดี มีอาการร้อนวูบไปทั้งตัว รู้ตัวทันทีว่าตัวเองประมาณผิด จึงสำนึกผิดและขอโทษในใจ จะพูดขอโทษท่านก็ไม่ทันแล้ว เพราะขณะนั้นเราได้เรียกชื่อท่านอื่นขึ้นมาสอบแล้ว
ทุกข์ รู้สึกผิด มีอาการร้อนวูบไปทั้งตัว
สมุทัย ซังที่ตัวเองประมาณผิด ทำการกระทำที่ไม่เหมาะสม ชอบถ้าตัวเองทำได้ดีและเหมาะสม อยากกลับไปแก้ไขให้ดีขึ้น ถ้าได้แก้ไขจะสุขใจชอบใจ
นิโรธ ไม่ทำทุกข์ทับถมตนเมื่อรู้ว่าทำผิดพลาด ก็กล้ายินดีรับข้อผิดพลาดนั้น แล้วนำมาปรับปรุงแก้ไขตัวเองในคราวต่อ ๆ ไป
มรรค พิจารณาบอกกับตัวเองว่ารู้ตัวว่าผิดก็ดีแล้ว ก็ควรกล้าที่จะยินดีรับในข้อผิดพลาดนั้นเสีย ไม่มีใครอยากพร่องอยากพลาดหรอก แต่ที่ยังพร่องยังพลาดก็เพราะเราโง่กว่ากิเลส และด้วยความโง่ของเราที่ไม่อยากได้สภาพที่ไม่ดี ที่เศร้า ๆ เราก็คิดแต่จะปัดเหตุการณ์นั้นออกไปเร็ว ๆ เราทำตามความอยากของเรา อยากได้มาก ๆ กลัวไม่ได้จึงทำชั่วได้ทุกเรื่อง ตัณหามาปัญญาจึงดับ ทำการกระทำที่ไม่เหมาะสม เราชัดเจนที่อาจารย์หมอเขียว ดร.ใจเพชร กล้าจน ท่านสอนเรา ใครที่ทำตามความอยากจะโง่ทันที กลัวที่จะไม่ได้ตามที่อยากก็จะเบียดเบียนตนเองและคนอื่น จึงเป็นวิบากร้ายมาสู่ตัวเรา รู้สึกสำนึกผิด จึงตั้งจิตขอโทษ ขออโหสิกรรมที่ได้ผิดพลาดทำไป ขอโทษอาจารย์และหมู่มิตรดี ตั้งจิตพากเพียรสังวรระวังการกระทำของตนเองต่อไป โชคดีที่อยู่ในหมู่มิตรดีพอท่านเห็นเราทำผิดพลาดท่านก็ชี้ขุมทรัพย์ให้ทันที น้อมรับด้วยความยินดีและสำนึกในความเมตตาของอาจารย์และพี่น้องทุกท่านค่ะ
เรื่องที่ 26
ชื่อเรื่อง อธิศีลเมื่อเกิดเรื่องร้าย
เรื่องย่อ วันหนึ่ง ไปวัดความดันโลหิตที่ห้องพยาบาล ได้ 195/110 เกิดความประหลาดใจ เพราะเบาสบายกายดีไม่ปวดศีรษะ วิตกกังวลเล็กน้อย รู้ว่านี่คือสิ่งเตือนให้เราต้องอธิศีลและปรับสมดุลร้อนเย็น มิฉะนั้นอาจมีอาการเส้นเลือดแตกได้ แต่ขนาดนี้ต้องละอาการวิตกกังวลก่อน
ทุกข์อริยสัจ__ประหลาดใจและวิตก
กังวล
สมุทัย______อยากให้ค่าความดันโลหิตตำ่กว่านี้
นิโรธ_______หมดความอยากให้ได้ ค่าความดันจะเป็นเท่าไหร่ ก็ไม่เป็นไร
มรรค_______ตั้งสตืละความอยากให้ค่าความดันโลหิตต่ำกว่านี้ ทำความยินดีพอใจพร้อมยอมรับกับความจริงณปัจจุบัน ตั้งศีล ทานผักลวกให้มากขึ้น ลดอาหารปรุง และลดปริมาณข้าวให้น้อยลง
เรื่องที่ 27
ชื่อเรื่อง กล้าทำในสิ่งที่ไม่ชอบ
เรื่องย่อ เมื่อเพื่อนทราบว่า เรามีอาการความดันโลหิตสูง เพื่อนก็แนะนำให้ทำโยคะ กดจุดลมปราณ กายบริหาร เพื่อนอีกท่านหนึ่งก็ปวารณาตัว ว่าจะกัวซาให้ ฟังแล้วรู้สึกอึดอัดใจ เพราะเราไม่ชอบกัวซา และไม่อยากถูกกัวซา และเกียจคร้านที่จะทำโยคะกดจุด แต่เมื่อนำไปพิจารณา ก็คิดว่า เราควรอธิศีล จึงทำความยินดี กล้าที่จะทำกัวซา กล้าที่จะเพียรทำโยคะกดจุด
ทุกข์อริยสัจ__อึดอัดใจ
สมุทัย______อยากให้ค่าความดันโลหิตต่ำกว่านี้ ไม่อยากกลัวกัวซา ไม่อยากทำโยคะกดจุด
นิโรธ_______เบิกบานแจ่มใสในทุกสถานการณ์
มรรค_______เห็นความกังวลใจที่รู้ว่าความดันโลหิตสูง เห็นความชังไม่อยากถูกกัวซา เห็นความเกียจคร้านไม่อยากทำโยคะกดจุด พิจารณาว่า เมื่อวิบากร้ายเป็นมาตาลีมาเตือนเราแล้ว แล้วก็มีวิบากดี เป็นมาตาลีมาบอกทางแก้ไข เราก็ควรจะลองดู เราควรอธิศีลได้แล้ว จึงรวบรวมความกล้า ที่จะทำกัวซาตัวเอง และกดจุดตัวเอง เมื่อเริ่มทำกัวซาและกดจุดไปสักระยะหนึ่ง รู้สึกสนุกกับการกัวซาและกดจุด รู้สึกเบาสบายกายขึ้น ถูกกิเลสหลอกให้ชังอยู่ตั้งนาน
เรื่องที่ 28
ชื่อเรื่อง___รับมือกับกิเลสที่เข้ามา อย่างต่อเนื่อง
เรื่องย่อ___ช่วงเข้าซูมรายการสายด่วนสุขภาพพึ่งตน มีจิตอาสาบำเพ็ญเป็นพิธีกร หลายทีม ฟังแล้วก็เกิดความชอบชัง ในลีลาต่างๆของท่านเหล่านั้น
ทุกข์อริยสัจ__จิตหวั่นไหวในลีลาต่างๆของพิธีกร
สมุทัย______อยากให้พิธีกรดำเนินรายการให้ได้ดั่งใจ
นิโรธ_______ยินดีพอใจไร้กังวลทุกลีลา
มรรค_______ทำความยินดีและอนุโมทนาในการบำเพ็ญของพี่น้องจิตอาสา ท่านมีความเสียสละ กล้าหาญ และขวนขวายทำกิจของหมู่มิตรดี น่ายกย่อง แต่กิเลสเรานี่แหละ น่าเกลียดมาก ขอบคุณที่ทำให้เห็นกิเลสเรา ขอบคุณที่ทำให้เห็นคนโง่ที่ชอบอวดฉลาด ขอตั้งจิตแก้ไขตนเอง
เรื่องที่ 29
ชื่อเรื่อง สุขอยู่ที่พอ พออยู่ที่ใจ
เรื่องย่อ ได้ทำแบบประเมินนักศึกษาวิชชาราม 2 ครั้ง ทำให้รู้ว่า เราไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรมของสถาบันวิชชารามมากพอ จัดว่าเป็นนักเรียนที่หนีเรียนบ่อย (จิตรู้สึกหมองๆ ) เวลาเห็นเพื่อนๆเพียรส่งการบ้าน หรือร่วมโหวตให้คะแนนสอบอริยสัจ 4 หน้าชั้นเรียน เราก็อนุโมทนากับเขา แต่ก็รู้สึกหมองๆที่เราทำแบบเขาไม่ได้ เมื่อได้สติก็ทำความยินดีล้างความหมองในจิต พอใจเท่าที่เราทำได้จริง ตั้งจิตพากเพียรแก้ไขตนเองต่อไป
ทุกข์อริยสัจ__ความหมองใจ
สมุทัย______อยากเป็นนักเรียนที่ดี ไม่อยากเป็นนักเรียนเกเร
นิโรธ_______พอใจได้ตามที่เป็นจริง
มรรค_______ดับทุกข์ใจดับความหมองใจก่อน เราทำได้แค่นี้ก็ดีแล้ว พิงเชือกอยู่กับหมู่ให้ได้ ดีใจจังที่ทำให้เห็นความหมองในจิตเรา ทำให้ล้างความหมองได้ ขอบคุณที่มาเตือนให้เราได้อธิศีล ให้เรากล้าและพากเพียรส่งการบ้าน และร่วมกิจกรรมอื่นๆ สาธุค่ะ
เรื่องที่ 30
ชื่อเรื่อง ความก้าวหน้าในการล้างความชัง
เรื่องย่อ หลังจากที่ได้เห็นความชังที่จิตอาสาบางท่านต่อปัญหาไม่ได้ดั่งใจ และได้พากเพียรล้างความชังมาเป็นระยะๆ ต่อมาสังเกตเห็นว่า เวลาฟังจิตอาสาท่านนั้น( ท่านที่เราเคยชัง) ตอบปัญหาอีก จิตไม่ได้ชังแบบเดิม แต่เป็นอาการที่จิตลุ้นว่าท่านจะตอบปัญหาอย่างไร เห็นอาการนี้แล้วรู้สึกดีใจ ที่แม้ว่าจะล้างความจำไม่หมดแต่ก็ลดความรุนแรง กลายเป็นความลุ้นให้ท่านตอบดีๆ และเห็นว่าอาการลุ้นเป็นความหวั่นไหวเป็นความทุกข์อยู่ จึงพึ่งความยินดีเมื่อเห็นความทุกข์นี้
ทุกข์อริยสัจ__ความลุ้นในจิต
สมุทัย______อยากให้ตอบปัญหาได้ดีดั่งใจหมาย
นิโรธ_______อุเบกขาในทุกสถานการณ์
มรรค_______มีปัญญาเห็นความลุ้นความเคลื่อนไหวในจิต รู้ว่านี่เป็นความทุกข์ จากความยึดมั่นถือมั่นของเรา เก่งสร้างความยินดี ความเมตตาขึ้นมาแทน ขอบคุณทุกผัสสะที่ทำให้เราเห็นกิเลสมีโอกาสล้างกิเลส อนุโมทนาในกุศลที่ท่านจิตอาสาได้บำเพ็ญ ขอโทษขออโหสิกรรมที่เกิดจิตที่เบียดเบียนตนเอง คนอื่น ขอตั้งจิตพากเพียรและกิเลสต่อไป
เรื่อง กรรมติดจรวด
เหตุการณ์ :ในขณะฟังรายการผ่านซูมพร้อมรับประทานอาหารไปด้วย มีท่านหนึ่งพูดในรายการ ตัวเองฟังแล้วรู้สึกย้อนแย้งกับสิ่งที่เห็น รู้สึกคันหัวใจ พร้อมมีคำถามว่า ใช่หรือ เท่านั้นเองฟันที่เคี้ยวอาหารอยู่กัดเข้าที่ลิ้นจนเลือดออก
ทุกข์ : รู้สึกคันหัวใจ กับสิ่งที่ได้ฟัง
สมุทัย : ไม่ได้ดั่งใจที่ตัวเองหมาย เพ่งโทษ ถ้าเขาพูดตรงที่ตัวเองเห็นจะชอบใจ แต่เขาพูดตรงข้ามกันจึงเกิดคันหัวใจ ไม่ชอบใจ
นิโรธ : เขาจะพูดตรงตามสิ่งที่เราเห็น หรือไม่ ก็ได้ ใจไร้ทุกข์ ไม่ชอบ ไม่ชัง
มรรค : รู้ตัวทันทีที่กัดโดนลิ้น ว่าทำผิดศีลเต็มๆ ฟังแล้วเพ่งโทษ คิดอคติ เดาว่าเขาไม่ได้ทำตามที่พูด ความจริง เขาจะทำหรือไม่ทำตามที่พูดก็ได้ ไม่เกี่ยวอะไรกับเราเลย เราไปอยากให้ได้ดั่งใจเราเท่านั้น เป็นการสร้างวิบากชัดๆเป็นการเข้าใจผิด และคาดเดาของเราเอง กรรมไม่อาจหวนคืน ได้แต่ยอมรับผิดในสิ่งที่คิด ขอโทษ ขออโหสิกรรม พร้อมรับ ยินดีเต็มใจรับ แค่กัดลิ้นยังน้อยไป สำนึกผิดแล้วจึงใช้บททบทวนธรรมมาพิจารณาล้างความรู้สึกคันหัวใจ ตามข้อ 6 ที่ว่า”การกระทำเดียวกัน มีเหตุผลในการกระทำ กว่าล้านเหตุผล ต้องระวัง “อคติ หรือ ความเข้าใจผิด จากการคาดเดาที่ผิดของเรา” หลังจากพิจารณา ความรู้สึกคันหัวใจก็หายไป ใจกลับมาสดชื่น เบิกบาน ไร้ทุกข์ เป็นปกติดังเดิม
เรื่อง ได้เฉยเลย
แอบคิดอยู่ในใจว่าเราเป็นจิตอาสาคบคุ้น เราคงจะทำดีไม่มากพอ เราถึงไม่ค่อยมีโอากาสได้บำเพ็ญช่วยหมู่กลุ่มในการที่จะช่วยคนอื่นให้พ้นทุกข์ได้
ทกข์: อยากบำเพ็ญช่วยหมู่กลุ่ม
สมุทัย: สุขใจที่ได้ช่วยหมู่กลุ่ม
เหว้าใจแหว่งใจที่ไม่ได้ช่วยหมู่กลุ่ม
นิโรธ: จะได้ช่วยหมู่กลุ่มหรือไม่ ก็ไม่สุขไม่เหว้าใจไม่แหว่งใจ
มรรค: เมื่อเรามาคิดทบทวน ถึงความอยากที่จะช่วยหมู่กลุ่ม เราก็เหว้าใจแหว่งใจอยู่ เราคงทำดีไม่มากพอ เราผิดศีลอยู่บ่อยครั้ง เราถึงไม่มีโอกาสได้บำเพ็ญที่จะไปช่วยผู้อื่นให้พ้นทุกข์ได้ เมื่อไหร่เรามีความดีพอเราคงได้ช่วยหมู่กลุ่มในการบำเพ็ญเป็นพี่เลี้ยงผู้เข้าอบรม ” เราก็วางใจ “จะได้เป็นพี่เลี้ยงหรือไม่ได้เป็น ก็ไม่สุขไม่ทุกข์
เมื่อไหร่ก็เมื่อนั้น อดทนรอคอยทำดีเรื่อยไปใจเย็นข้ามชาติ
และได้ใช้บททบทวนธรรมข้อที่๑๕ มาตลีเทพสารถี คือวิบากดีร้ายของแต่ละชีวิต เราทำดี มาตลีเทพสารถี ก็จะพาไปสวรรค์ คือสุข สงบ เบา สบาย ได้สิ่งดี
เราทำชั่ว มาตลีเทพสารถี ก็จะพาไปนรก คือ ทุกข์ เร่าร้อน เดือดเนื้อ ร้อนใจ ได้สิ่งร้าย เมื่อเราคิดได้ เราเร่งทำดี มีอริยศีล ช่วยผู้อื่นให้พ้นทุกข์เพราะเราจะไปสวรรค์ และวางใจได้ว่า จะได้ช่วยหมู่กลุ่มหรือไม่ ก็ได้
เช้าวันนี้(1/10/64)
มีพี่จิตอาสาท่านหนึ่งโทรมาให้เราช่วยเป็นพี่เลี้ยงให้กับผู้เข้าอบรมแพทย์แผนไทยวิถีธรรมค้ำจุนโลกรุ่นที่2
เรารู้สึกปิติขึ้นมาทันทีเลยว่า เมื่อเราทำดีมีอริยศีลเพิ่ม หมดอยากมันก็หมดทุกข์ เราก็ได้ในสิ่งที่เราไม่อยาก และพร้อมที่จะบำเพ็ญกับหมู่กลุ่มด้วยความเบิกบาน
ส่งการบ้าน
นางชวนชม คำท้วม
ชื่อทางธรรม สู่ร่มศีล
จิตอาสา สวนป่านาบุญ 2
ชื่อเรื่อง ทำไมแม่พูดแบบนี้
เหตุการณ์ ก็พูดคุยกับแม่เป็นประจำ แต่ครั้งนี้แม่พูด ประชดเรา ว่าของกินมีเยอะแยะ ของดีๆไม่กิน เวรแท้ๆ
ทุกข์ ไม่ชอบใจที่แม่พูดแบบนี้
สมุทัย ชอบที่แม่ไม่พูดแบบนี้ชังที่แม่พูดแบบนี้
นิโรธ แม่จะพูดแบบนี้หรือไม่พูดแบบนี้ เราก็ไม่ชอบไม่ชัง ใจไร้ทุกข์
มรรค แม่เขาคิดว่าพวกเนื้อสัตว์ เป็นของดีๆ ที่เขานิยมทานกัน แม่เขาไม่เข้าใจ การปฏิบัติธรรม ต้องลดการเบียดเบียนสัตว์ก่อน เราต้องให้อภัยแม่ เพราะเราเคยไปพูดประชดประชัน กระแทกแดกดัน นักปฏิบัติธรรมเขาไว้เยอะ ตรงกับบททบทวนธรรม สิ่งที่เราได้รับ คือสิ่งที่เราทำมา ไม่มีสิ่งใด ที่เราได้รับโดย ไม่เคยทำมา เราก็ยินดีรับผลกรรม ใจเราก็ไร้ทุกข์
เรื่อง : ขี้เกียจ ล้างอุปกรณ์ทำอาหา
เหตุการณ์ : กินข้าวเสร็จแม่ให้ล้างอุปกรณ์ทำอาหาร แต่ขี้เกียจล้าง
สมุทัย : ชังที่ต้องล้างอุปกรณ์ทำอาหาร ชอบถ้าไม่ได้ล้างอุปกรณ์ทำอาหาร
นิโรธ : ไม่ชอบไม่ชัง ถ้าล้างก็จะมีอุปกรณ์ทำอาหารใช้ต่อ
มรรค : พิจารณาว่า ถ้าล้างอุปกรณ์ทำอาหาร ก็จะมีอุปกรณ์ทำอาหารใช้ เวลาจะทำอาหารก็ไม่ต้องเสียเวลาไปล้าง พอพิจารณาจบ ก็ล้างอุปกรณ์ทำอาหารด้วยใจที่เบิกบาน
เรื่อง อยากได้เลยไม่ได้
เนื้อเรื่อง ขณะที่นั่งกินข้าวอยู่ มีน้องคนหนึ่งเดินมาแจกเห็ดย่าง ตากระรูปแค่แว๊บเดียวใจก็พยาบาทไว้แล้วว่าอยากกิน แต่ไม่ได้แสดงอาการออกมาทางกาย แต่นั่งลุ้นในใจว่าฉันจะได้ไหมน้อ วิบากดีร้ายสังเคราะห์กันแล้วว่าให้เธอ 1 ดอกเล็ก ๆ พอได้กินเห็ดก็เห็นจิตที่ชอบในรสของเห็ดที่มีความกลมกล่อม เกิดอาการอยากได้เพิ่ม
สักพักเด็กคนเดิมเดินมาแจกอีก ตอนนั้นเราเดินออกไปตักอาหารอีกด้านหนึ่ง
ลุ้นว่าจะได้ไหมน้อ ตั้งศีลปัจจุบันว่าถ้าอยากได้จะไม่เดินไปหยิบ ถ้าจะได้น้องเขาจะเดินมาแจกทางเราเอง ดูว่ากุศลหรืออกุศลจะออกฤทธิ์ สุดท้ายน้องเขาก็เดินสวนทางกับเราไปคนละทาง สรุปก็ไม่ได้เห็ดเพิ่ม
ทุกข์ ใจไม่สงบลุ้นอยู่ตลอดว่าจะได้หรือไม่ได้เห็ด
สมุทัยเหตุแห่งทุกข์ ยึดว่าถ้าได้เห็ดเพิ่มสมใจอยากจะสุขใจชอบใจ แต่พอไม่ได้เห็ดสมใจอยากก็ทุกข์ใจไม่ชอบใจ
นิโรธ แม้ไม่ได้เห็ดสมใจอยากก็สุขใจไม่ทุกข์ใจ
มรรค พิจารณาไตรลักษณ์มันเป็นทุกข์มันไม่ใช่สุข มันไม่เที่ยงไม่มีตัวตน มันคือสุขปลอมทุกข์จริง อยากได้มาก็ทุกข์ใจเพราะกลัวจะไม่ได้เห็ด พอได้มาก็กลัวจะหมดไปเพราะไม่อยากให้ความรู้สึกว่ารสกลมกล่อมหายไปอยากให้อยู่กับเรานาน ๆ พอได้มาก็สุขใจแค่แว็บเดียว หลังจากนั้นก็หายไป เดียวก็อยากใหม่อีก อยากแรงกว่าเดิม เสียพลังงานแทนที่จะเอาพลังงานไปทำประโยชน์ กลับต้องมาหมกมุ่นอยู่กับกิเลส ไม่เชื่อคำสอนของพระพุทธเจ้า ก็เป็นบาป 11 ประการ ทำให้ปัญญาดับ อยากออกจากทุกข์แต่ทำกลับหัวคือหามาเสพให้สมใจตัวเอง ได้ดั่งใจกิเลสตัวกว่าเดิม
ชอบอะไรในเห็ดชอบรสชาติที่กลมกล่อม ความจริงเห็ดเขาก็มีรสอย่างนี้ของเขา แต่ใจที่ไปชอบว่ามันกลมกล่อมนี่มันวิปลาส เพราะถูกอวิชาครอบงำมาหลายภพหลายชาติแล้ว เปลี่ยนความคิดใหม่ได้แล้วมาเชื่อพุทธะได้แล้วจะหลงไปอีกกี่ชาติ ชาตินี้มีโอกาสแล้วต้องแกล้วกล้าอาจหาญกำจัดกิเลสตัวอยากเห็ดให้ได้ เพราะล้างความอยากครอบครองเห็ดได้ก็จะล้างความอยากอย่างอื่นได้เพราะเป็นตัวตัวกัน หมดอยากหมดทุกข์ ผาสุกยั่งยืน
เรื่อง ครบจำนวน
ดิฉันทำหน้าที่โทรตามน้องเลี้ยงในเขตรับผิดชอบของตนเอง มี7ท่านที่รับ บำเพ็ญเสร็จแล้ว ทราบข่าวว่าพี่จิตอาสาอีกท่านนอนรพ.ซึ่งพี่เค้ามีน้องเลี้ยงที่ต้องโทรตามจำนวน 6ท่านเลยอาสาทำหน้าที่โทรหา
น้องเลี้ยงแทนโทรติดต่อได้5ท่าน อีก1ท่านโทรไม่รับสาย เลยทำให้กังวลใจ
ทุกข์ : กังวลใจ
สมุทัย: ยึดว่าต้องโทรตามน้องเลี้ยงให้ครบจำนวน
ชอบถ้าโทรตามน้องเลี้ยงแทนพี่เขาได้ครบจำนวน
ชังที่โทรหาน้องเลี้ยงได้ไม่ครบจำนวน
ทุกท่าน
นิโรธ : จะโทรหาน้องเลี้ยงแทนพี่เขา ครบจำนวนทุกท่านหรือไม่ ก็จะไม่ชอบ ไม่ชัง
มรรค : ได้ปรับใจตนเอง เราทำหน้าที่เต็มกำลังแล้วนี่ กิเลสอยากได้ครบทุกท่าน อ้าว ในเมื่อเราทำเต็มที่เต็มกำลังแล้วจะคิดงอแงทำให้กังวลใจทำไม เรามาชวนพี่น้องลดกิเลส แล้วเธอเป็นใคร ชวนให้เราคิดกังวลใจ ไม่เอาหรอกเราลูกพุทธะ จะไม่ยึดมั่นถือมั่นให้ได้
ได้มาเทียบเคียงกลับบททบทวนธรรมข้อที่ 142″ยึดที่ไม่ผิด” คือ” ยึดความไม่ยึดมั่นถือมั่น”
ได้นำมาพิจารณาแล้ว ทำให้หาย ความกังวล ใจกลับมาเบิกบาน
เรื่อง ถามเยอะจัง
เหตุการณ์ เข้าซุมถามตอบปัญหาสุขภาพ มีน้องท่านหนึ่งถามเยอะมาก ถามบ่อย
ทุกข์ คันหัวใจถามเยอะจัง
สมุทัย ชอบถ้าน้องถามแต่พอดีๆ ชังน้องถามเยอะจัง
นิโรธ น้องถามเยอะหรือไม่ ก็ไม่ทุกข์ใจ
มรรค น้องท่านนั้นมีคำถามทุกวัน ถามทุกวัน จะถามอะไรกันนักกันหนาจึงมีอาการตื่นเช้า ปวดเมื่อยตัวอย่างมาก ก็มานั่งพิจารณาว่าเราทำอะไรผิดศีลอะไร ตรวจดูว่า อ๋อเราไปเพ่งโทษน้องท่านนั้น เราผิดศีลนี่เอง และผิดศีลในหมู่ใหญ่ด้วย จึงสำนึกผิดทันที ต้องขอบคุณผัสสะ จากน้องท่านนั้น จริงๆคำถามทุกคำถามและทุกคำตอบมีประโยชน์หมด ถ้าเราน้อมฟังด้วยความยินดี นับแต่นี้จะตั้งใจฟังและยินดีต่อคำถามของทุกๆท่านด้วยความยินดี
บททบทวนธรรม9
ถ้าเรายังไม่เข้าใจคนอื่น
แสดงว่าเรายัง ไม่เข้าใจตัวเอง
สรุป วางใจได้เข้าใจน้องท่านนั้น
เรื่องที่ 31
ชื่อเรื่อง อธิศีลเป็นระยะๆ
เรื่องย่อ ในช่วงที่มีอาการป่วยกายและแก้ไขอาการป่วยไม่สำเร็จอยู่นานหลายเดือน พอได้สติจึงตั้งอธิศีล จะทานมื้อเดียว วันนี้เดินเข้าไปในครัวเขากำลังทอดไข่นกกระทาอยู่ พิจารณาเห็นโทษของของทอด ก็ตัดความอยากเสพได้ มีประสบการณ์มาแล้วว่าเวลาทานของทอดแล้วความดันโลหิตจะขึ้นและใช้เวลานานกว่าความดันจะลด มีอีกเมนูหนึ่งเป็นอาหารที่ปรุงด้วยเครื่องเทศฤทธิ์ร้อน(ผงกะหรี่) และปรุงรสเข้ม เป็นรสที่ชอบและคุ้นเคย เกิดความอยากเสพ อีกจิตหนึ่งก็พิจารณาว่า มีฤทธิ์ร้อน มีรสจัด มีโทษ ถ้าลองได้เสพจะต้องทานมากแน่ จะหยุดตัวเองไม่ได้ ขณะนั้นก็ไปเพ่งดูอาการของจิต เห็นความดิ้นรนอยากเสพ จึงสอนตัวเองว่านี่ไง กำลังทุกข์อยู่ เป็นทุกข์จริงๆ แต่ความอร่อยของมัน เป็นสุขลวง
ทุกข์อริยสัจ__ความดิ้นรนอยากเสพ
สมุทัย______อยากเสพรสที่คุ้นเคย
นิโรธ_______ยินดีพอใจแม้ได้เสพหรือไม่ได้เสพ
มรรค_______พิจารณาเห็นความทุกข์ณปัจจุบันเฉพาะหน้าเห็นจิตดิ้นรน ถ้าเราทำตามมัน เราก็ต้องทุกข์เพิ่มอีก เพราะต้องไปหามาเสพ ทำให้กิเลสตัวใหญ่ขึ้น แก้ไขได้ยากขึ้น แต่ถ้าเรากล้า ที่จะออกจากทุกข์เฉพาะหน้า กล้าให้มันทุกข์ กล้าให้มันดิ้นรน แต่จะไม่ทำตามมัน มันก็ดับไป จบสิ้นสำหรับกิเลสตัวนี้ เราไม่สร้างกรรมเพิ่ม สบายใจกว่ากันเยอะเลย
เรื่องที่32
ชื่อเรื่อง เห็นอยู่โต้งๆ
เรื่องย่อ วันหนึ่งเห็นพี่น้องหลายท่านกำลังชิมอาหารที่เพิ่งทำเสร็จเป็นเมนูที่พึ่งทำเป็นครั้งแรก เขาทำเส้นก๋วยเตี๋ยวเองแล้วเอามาผัด เราก็เข้าไปชิมกับเขาด้วย คิดพิจารณาแล้วก็ไม่ตักมาทานเพราะเห็นว่าเขาทำเส้นจากแป้งข้าวเจ้าและแป้งมัน เราทานข้าวดีกว่า ทานข้าวมีประโยชน์มากกว่า พอเดินออกมารู้สึกหนักๆที่ใจจึงมองเข้าไปดูเห็นจิตกำลังเกาะอยู่ที่เส้นก๋วยเตี๋ยว กิเลสกำลังยึดเกาะเส้นก๋วยเตี๋ยวมันชอบทานก๋วยเตี๋ยว นี่แหละความยึดเป็นความทุกข์ เห็นโต้งๆเลย ถ้าอยากสุขต้องปล่อยวางความยึด
ทุกอริยสัจ__หนักใจ
สมุทัย_____ยึดมั่นถือมั่น อยากเสพก๋วยเตี๋ยว
นิโรธ______สุขใจแม้จะได้เสพหรือไม่ได้เสพก๋วยเตี๋ยว
มรรค______เมื่อเห็นความทุกข์ความหนักใจณปัจจุบัน และเห็นอาการยึดของกิเลส ทำให้ชัดเจนว่า นี่คือทุกข์จริง แต่กิเลสมันต้องการสุขลวง อย่าไปโง่ตามมัน สอนตัวเองว่า อย่าห่างใจ ต้องเพ่งดูที่ใจบ่อยๆ ดูปรากฏการณ์จริงที่เกิดที่ใจ อย่าคิดเอาเอง อย่ามโนเอง มันเป็นความลวง
เรื่องที่ 33
ชื่อเรื่อง หลักการทำดีอย่างมีสุข
เรื่องย่อ ครึ่งปีที่ผ่านมา ได้ปรับพฤติกรรมการทานอาหารของตนเองหลายอย่าง เช่น ลดละของทอด ของหวาน ของแปรรูป และอาหารรสจัด และได้เพิ่มการทานอาหารวรรณะ 9 ได้แก่ผักสด ผักลวก ผักพื้นบ้าน และลดชนิด ลดความหลากหลายของอาหารในแต่ละมื้อ แต่มีส่วนที่ยังทำไม่ได้คือ การทานมื้อเดียว การกะปริมาณอาหารที่ชอบ มักจะทานเกินอิ่มทุกครั้ง เกิดความทุกข์ใจ หลังจากที่ได้เพลิดเพลินทานจนเกินอิ่ม จึงได้ใช้บททบทวนธรรมข้อที่ 32 มาสอนตนเอง เพื่อคลายความทุกข์ใจ
ทุกข์อริยสัจ__ทุกข์ใจที่ทานอาหารมื้อเดียวไม่ได้และลดปริมาณอาหารที่ชอบไม่ได้
สมุทัย______อยากทานอาหารมื้อเดียวได้ อยากทานอาหารพอดีอิ่ม
นิโรธ_______ยินดีที่ได้ทำให้ดีที่สุดแล้ว
มรรค_______ได้พิจารณาย้อนไป ตั้งแต่ฝึกทานมื้อเดียวในค่ายพระไตรปิฎกครั้งก่อนๆ ประมาณ 5 ค่าย รู้สึกว่าการทานมื้อเดียวของเราทำได้ยาก ต้องกดข่มมาก กำลังจิต กำลังปัญญาไม่พอ มาในค่ายพระไตรปิฎกครั้งที่ 32 นี้ แม้จะลดละอาหารที่เป็นโทษ เพิ่มการทานอาหารที่เป็นประโยชน์ได้ดีกว่าเดิมมาก แต่การทานมื้อเดียวก็ยังบกพร่องอยู่มาก และการกะปริมาณอาหาร ก็ทำไม่ได้ ตัณหาล้ำหน้าเสมอ เห็นความทุกข์ที่ตำหนิตัวเอง จึงเปิดดูบททบทวนธรรมข้อที่ 32 มาสอนตนเองว่า
____รู้ว่าการทานมื้อเดียวนั้นดีที่สุด
____เราก็ปรารถนาจะทานมื้อเดียวให้ได้
____และเราก็ได้ลงมือทำแล้ว
____เมื่อยังมีความบกพร่อง เราก็ยินดีที่ได้ทำให้ดีที่สุดแล้ว
____ไม่ยึดมั่นถือมั่นว่าต้องทานมื้อเดียวให้ได้ตอนนี้และตลอดไป
____นั่นแหละดีที่สุดแล้วตามเหตุปัจจัยอย่าโลภที่จะได้มากกว่านี้ เพราะเรามีกำลังเท่านี้
เรื่องที่34
ชื่อเรื่อง เคยชังงานสื่อ
เรื่องย่อ มีปัญหาในการส่งการบ้าน การเข้าซูม การเป็นพี่เลี้ยงผู้เข้ารับการอบรม เพราะไม่มีความรู้ ไม่มีทักษะในการใช้โทรศัพท์มือถือ เพิ่งจะซื้อโทรศัพท์มือถือมาได้ไม่นาน ซื้อมาแล้วก็ไม่ได้ใช้ ก็ยังใช้ไม่เป็น มีอุปสรรคมากมาย รำพันในใจว่า เส้นทางบำเพ็ญทำไมลำบากเกิน ฝืดฝืนเกิน ทั้งๆที่ใจก็มีฉันทะอยากบำเพ็ญช่วยผู้อื่น พิจารณาพบว่า เราเคยชังงานสื่ออย่างมาก ในช่วงที่ขึ้นมาภูผาฟ้าน้ำใหม่ๆ ไม่ชอบที่สื่อมาให้เราตั้งท่าถ่ายรูป, มาสัมภาษณ์, แล้วมายืนขวางพี่น้องที่กำลังทำงานอยู่ พิจารณาได้ดังนี้จึงสำนึกผิด ยอมรับผิด ยินดีใช้วิบาก เพราะเราทำมาจริงๆ ขอขอบคุณงานสื่อ และขออนุโมทนา ในความเสียสละของพี่น้องงานสื่อทุกท่าน ที่ได้ช่วยเข็นกงล้อพระธรรมจักร ในยุคที่เทคโนโลยีเจริญ และกิเลสก็เจริญด้วย ขอตั้งจิตร่วมบำเพ็ญเข็นกงล้อพระธรรมจักร ด้วยการละกิเลสที่ตนก่อน
เรื่องที่ 35
ชื่อเรื่อง ชังสิ่งที่เคยชอบ
เรื่องย่อ ไปตักอาหารในตู้ เห็นเมนูหนึ่ง เข้าใจว่าเป็นหัวปลีที่สับละเอียด จึงลองชิมดู ขณะลิ้นได้รับรส เห็นความชังในจิต มันเป็นรสของแหนม ซึ่งเป็นอาหารที่เคยชอบมาก แต่เมื่อได้เพียรลดละอาหารปุรงมาเรื่อยๆ วันนี้พบว่า จิตเปลี่ยนจากความชอบมาเป็นความชัง เมื่อเห็นความชัง ความชังก็ดับไป รู้สึกยินดีที่สามารถเปลี่ยนความอยากเสพ เป็นจิตที่เห็นโทษภัย ของอาหารชนิดนี้ และยินดีที่จะไม่เสพไม่เบียดเบียนตนเองด้วยการเสพอาหารปรุง
ทุกข์อริยสัจ__ทุกข์จากการสัมผัสอาหารที่รสจัดจ้าน
สมุทัย______ไม่อยากเสพอาหารที่รสจัดจ้าน อาหารที่มีโทษภัย
นิโรธ_______ยินดีพอใจไร้กังวลไม่ว่าจะเจอผัสสะอะไร
มรรค_______เมื่อได้เพียรพิจารณาโทษภัยของอาหารรสจัดจ้าน มาเป็นระยะๆ ทำให้ละความอยากเสพได้เป็นลำดับ แต่มีกิเลสตัวชังมาแทรก จึงล้างความชัง สร้างความยินดีที่ได้เห็นความชัง และละความชังได้
เรื่องที่ 36
ชื่อเรื่อง ใจร้อนอยากบำเพ็ญกุศลมากๆ
เรื่องย่อ ในช่วงที่ท่านอาจารย์หมอเขียวพาจิตอาสาสานพลังกับแพทย์แผนไทย จัดอบรมค่ายพระไตรปิฎกครั้งที่ 32,33 เห็นพี่น้องลูกหลานพุทธะมาสมัครอบรมกันมาก มีความยินดี และอยากบำเพ็ญช่วยเหลือผู้อื่น จึงพยายามเข้าร่วมฟังการประชุม และการอบรมทุกครั้งที่มีโอกาส แต่มีวิบากกรรมกั้นทำให้เส้นทางบำเพ็ญมีอุปสรรคหลายอย่าง รู้สึกหงุดหงิด เบื่อหน่ายกับการติดตามข่าวสารทางไลน์ซึ่งมีมากมายจับต้นชนปลายไม่ถูก เมื่อเห็นความหงุดหงิดความเบื่อหน่ายจึงทำความยินดี ทำเท่าที่ทำได้เขาให้เราทำได้แค่ไหนก็ยินดีแค่นั้น ยังไม่ถึงเวลาที่จะทำได้มากกว่านี้ สิ่งที่ทำได้ตอนนี้คือละความหงุดหงิด ความเบื่อหน่ายละกิเลสของเราเรื่อยไป ใจเย็นข้ามชาติ อธิศีลไปเรื่อยๆ นี่คือกิจที่สำคัญที่สุดของเรา
ทุกข์อริยสัจ__หงุดหงิด เบื่อหน่าย
สมุทัย______อยากให้เส้นทางบำเพ็ญราบรื่น อยากช่วยผู้อื่นมากๆ
นิโรธ_______ยินดีพอใจ ทำได้แค่ไหนก็พอใจแค่นั้น
มรรค_______เมื่อเกิดทุกข์ใจเขามาเพื่อให้เราได้ชดใช้ ให้เราไม่ประมาท ให้เราเพิ่มอริยศีล ให้เราได้สำนึก ให้เราได้หมดวิบาก สำนึกได้ว่าเคยเพ่งโทษงานสื่อ เคยชังการใช้โทรศัพท์มือถือ ขอสำนึกผิด ยอมรับผิด และตั้งจิตพากเพียรเรียนรู้ การใช้เทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์ในการเข็นกงล้อพระธรรมจักร ถ้าละกิเลสได้ ความรู้อื่นๆก็สามารถเรียนรู้ได้ เพราะมันง่ายกว่าการละกิเลส
เรื่องที่ 37
ชื่อเรื่อง ไม่กล้าละสิ่งที่ชอบ
เรื่องย่อ อาหารที่ทานมาตั้งแต่เด็กคือเต้าหู้ มีความคุ้นเคย เมื่อต้องมาละการกินเนื้อนมไข่ จิตก็มายึดการกินเต้าหู้ และปรุงแต่งเป็นความชอบ เห็นเมื่อไหร่ต้องทานทุกครั้ง และทานในปริมาณมาก เพราะจะได้ทานนานๆครั้ง วันหนึ่งได้ตักเต้าหู้มาทานในปริมาณมาก รู้สึกทุกข์ใจที่มีความโลภ เบียดเบียนผู้อื่นทำให้ผู้อื่นไม่ได้ทาน จึงดำริในใจว่า เราจะต้องเลิกทานเต้าหู้ให้ได้ และระลึกได้ว่า เคยวิจารณ์ต่อต้านการทำเต้าหู้ เคยถือดีอวดดีว่า ทานถั่วเหลืองต้มธรรมดาๆ ได้ประโยชน์มากกว่า เรียบง่ายไม่เสียเวลา เอาเวลาในการทำเต้าหู้ไปทำประโยชน์อย่างอื่นดีกว่า
ทุกข์อริยสัจ__ทุกข์ใจที่มีความโลภเบียดเบียนผู้อื่น
สมุทัย______อยากเป็นคนดีไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่โลภ
นิโรธ_______ยินดีที่ทำได้ตามกำลัง
มรรค_______ขอสารภาพผิด ยอมรับผิดที่เคยเพ่งโทษ ต่อต้านการทำเต้าหู้ ขอขอบคุณทุกเหตุการณ์ ที่ทำให้เราเห็นกิเลสเห็นผลของกรรมวิบากกรรม ขอตั้งจิตพากเพียรให้เกิดความกล้าที่จะละความชอบชังต่อไป
เรื่องที่ 38
ชื่อเรื่อง ในโลกนี้ไม่มีอะไรสำคัญ
เรื่องย่อ กิเลสมักจะบอกเราว่านี่คือเรื่องสำคัญ เช่น ต้องโทรไปบอกแม่นะ ว่าต้องเตรียมตัวอย่างไรก่อนที่จะไปฉีดวัคซีน, ต้องย้ำกับน้องสาวนะว่าติดเชื้อโควิดแล้วอย่าไปรักษาในโรงพยาบาล ให้รักษาตัวเองดีกว่า, ต้องเข้าไปฟังท่านอาจารย์ตอบปัญหาในซูมให้ได้ เพื่อศึกษาว่าท่านอาจารย์ตอบปัญหาอย่างไร, ต้องส่งข้าวไร้สารพิษไปให้น้องนะ เขาจะได้กินข้าวไร้สารพิษ ไม่ต้องออกไปเสี่ยงรับเชื้อโควิด เวลาจิตปรุงแต่งอย่างนี้ เราจะเห็นความทุกข์ ความวิตกกังวล ความยึด ความอยากได้ตามที่กิเลสบอก เราแก้ลำกิเลสโดย นำบททบทวนธรรมมาใช้ ข้อที่77,93, 118
ทุกข์อริยสัจ__ทุกข์ใจ วิตกกังวล
สมุทัย______ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งที่สำคัญ อยากได้ตามที่กิเลสบอก
นิโรธ_______อุเบกขาในทุกสถานการณ์ ไม่มีอะไรสำคัญเท่าการดับทุกข์ใจ
มรรค_______เมื่อเห็นความทุกข์ เห็นความยึดมั่นถือมั่น และ0เห็นความอยากได้ตามที่ยึดมั่นถือมั่น ได้ใช้ปัญญาพิจารณาหักลำกิเลส โดยใช้บททบทวนธรรมข้อที่ 77
__ระวังกิเลส มักจะหลอกให้ยึดมั่นถือมั่น ในสิ่งที่สำคัญยิ่งๆขึ้นไป
บททบทวนธรรมข้อที่ 93
__ในโลกนี้ ไม่มีอะไรสำคัญเท่า การดับทุกข์ใจ ให้ได้
บททบทวนธรรมข้อที่ 118
__ทุกอย่างล้มเหลวได้ แต่ใจล้มเหลวไม่ได้
เรื่องที่ 39
ชื่อเรื่อง อาหารเจมีพิษไม่ต่างจากอาหารทั่วไป
เรื่องย่อ วันหนึ่งมีพิซซ่าเจในตู้อาหาร เราเคยชอบทานพิซซ่า วันนั้นแม้จะทานข้าวอิ่มแล้ว ก็ยังตักพิซซ่าเจมาทาน 1 ชิ้น ขนาดเท่าขนมปังครึ่งแผ่น พิซซ่าชิ้นนั้นมีไส้กรอกเจ และซอสมะเขือเทศ รสชาติธรรมดาๆ แต่มีกลิ่นที่เป็นเคมีจากไส้กรอกเจ มันไม่อร่อยอย่างที่คิด คืนนั้น มีอาการนอนไม่หลับ ทั้งๆที่ก่อนหน้านี้ หลับได้ดีมาตลอด เห็นชัดว่าเป็นพิษร้อนจากพิซซ่าเจ ประสบการณ์นี้ ทำให้ต่อมา สามารถละความอยากทานลูกชิ้นเจ หมูยอเจ หมูแดงเจ ปลาเค็มเจ
ทุกข์อริยสัจ_จิตดีดดิ้น ไปตักพิซซ่าเจ
สมุทัย_____อยากเสพในสิ่งที่ชอบ
นิโรธ______อุเบกขาได้ทุกผัสสะ
มรรค______เห็นโทษภัยคืออาการนอนไม่หลับจากการเสพตามกิเลส ทำความยินดี ยอมรับวิบาก เราโง่ รู้ไม่ทันกิเลส พิจารณาสอนตนเองถึงโทษภัยของอาหารปรุง อาหารผ่านโรงงาน อาหารแปรรูป มีพิษร้อนมาก คนที่ทานอาหารเจก็ยังป่วยกันมาก ที่สำคัญคือ โทษภัยของการเชื่อตามกิเลส ทำให้กิเลสโต เกิดวิบากร้าย
เรื่องที่ 40
ชื่อเรื่อง กิเลสหลอกว่าต้องปรับสมดุลร่างกาย
เรื่องย่อ ฝนตกหนักมากตอน 14:00 น ทานข้าวอิ่มแล้วตั้งใจจะทานมื้อหลักมื้อเดียว ปรากฏว่าภายใน 1 ชั่วโมง ไปปัสสาวะแล้ว 3 ครั้ง ปัสสาวะสีใส จึงพิจารณาว่าเราทานฤทธิ์เย็นมากเกินไป ควรปรับสมดุล จึงเดินไปในครัว เห็นเพื่อนกำลังอุ่นข้าวต้ม เกิดความดีใจไปตักข้าวต้มร้อนๆมาทานหวังจะปรับสมดุล ลืมไปว่าจะทานมื้อเดียว พอนึกได้ก็เสียใจ สำนึกผิดยอมรับผิด เห็นข้อผิดพลาดของตนเองที่ไปให้ความสำคัญกับการปรับสมดุลร่างกายมากกว่าการรักษาศีล
ทุกข์อริยสัจ__เสียใจที่ผิดศีล
สมุทัย______อยากไม่ผิดศีล
นิโรธ_______อุเบกขาในทุกผัสสะ
มรรค_______ใช้ปัญญาพิจารณาว่า ร่างกายจะไม่สมดุลก็ไม่สำคัญ ต้องยอมใช้วิบากอย่างเป็นสุข ต้องกล้าที่จะให้ไม่สมดุล ต้องกล้าที่จะให้ปัสสาวะบ่อย เมื่อรับแล้ววิบากร้ายก็หมดไป แต่ถ้าเราผิดศีล ต้องรับวิบากอีกหลายชาติ ขอสำนึกผิดยอมรับผิด ขอตั้งจิตสำรวมในศีลต่อไป ยินดีพอใจ ทำได้แค่นี้ก็ดีแล้ว ตามฐานตามอินทรีย์พละของตนเอง ใจไร้ทุกข์ใจดีงาม ทําดีเรื่อยไปใจเย็นข้ามชาติ
เรื่อง ไม่อยากรบกวนคนอื่น
เหตุการณ์ โทรศัพท์ชาร์จไม่เข้าเราจะเอาไปซ่อมแต่มีพี่น้องมาบอกว่าไปเอาไปให้ช่างที่อยู่ที่นี่ ( ภูผาฟ้าน้ำ) ดูให้ก่อนเผื่อท่านจะซ่อมได้
แต่เรามีความรู้สึกไม่อยากไปรบกวน รู้สึกว่าถ้าตัวเองส่งไปซ่อมที่ศูนย์จะสบายใจกว่าไม่อยากรบกวนพี่น้อง
ทุกข์ ไม่สบายใจที่จะไปรบกวนพี่น้อง
สมุทัย รู้สึกไม่สบายใจถ้าหากต้องไปรบกวนคนอื่น จะรู้สึกสบายใจกว่าถ้าหากไม่ต้องไปรบกวนคนอื่น
นิโรธ ถ้าหากเราจะต้องไปรบกวนคนอื่นให้ช่วยเราก็ต้องยินดีสุขใจได้
มรรค ตั้งศีลมาเพื่อล้างความทุกข์ใจที่เกิดจากความเกรงใจที่ไม่อยากจะรบกวนคนอื่น
ให้เห็นว่าความรู้สึกอยากที่จะไม่ต้องรบกวนคนอื่นความคิดของกิเลส ให้รู้ว่าคนอื่นที่เราจะเคลื่อนไปขอความช่วยเหลือไม่ใช่คนอื่นแต่เป็นกุศลและอกุศลของเรา เมื่อเราเคลื่อนไปขอความช่วยเหลือแล้วเขาช่วยได้ก็เป็นกุศลของเราเขาช่วยไม่ได้ก็เป็นอกุศลของเรา อะไรที่เราทำเองไม่ได้เราต้องอาศัยคนอื่นให้ช่วยก็ต้องยอมด้วยความยินดีช่วยได้ไม่ได้ก็อยู่ที่กุศลและอกุศลของเรา
สรุป ปัจจุบันเราเห็นความเกรงใจแล้วทุกข์ใจไม่สบายใจแต่พอเราใช้ปัญญาที่จะกล้าออกไป
เราเข้าใจในกุศลและอกุศล แล้วก็เห็นสภาพของใจที่สบายกว่า ถ้าเป็นเมื่อก่อนเราก็คงจะไม่ไปขอความช่วยเหลือใครเก็บความกลัวและความพึงใจเอาไว้แล้วก็เพิ่งตัวเองไม่ได้ล้างกิเลส
เรื่อง ด้อยไอที
เหตุการณ์ เมื่อมาเป็นนักศึกษาวิชชารามมีงานมีการบ้านที่ต้องส่ง ทำได้บ้างไม่ได้บ้าง มีส่งผิดพลาดบ้าง เนื่องจากไม่เก่งไอที
ทำให้รู้สึกหวั่นไหวเล็กน้อยทุกครั้งที่จะส่งงาน
ทุกข์ หวั่นไหวเมื่อส่งงานไม่ได้หรือผิดพลาด
สมุทัย ชอบที่ส่งงานได้ดีชังที่ส่งงานไม่ได้หรือผิดพลาด
นิโรธ จะส่งงานได้ ไม่ได้หรือผิดพลาดบ้างก็ไม่ชอบไม่ชัง
มรรค พิจารณาไตรลักษณ์ ดูความจริง ตามความเป็นจริง ในเมื่อตนเองไม่เก่งไอที ยินดี ยอมรับ ในข้อพลาดข้อพร่อง
ต้องพยายามศึกษาเรียนรู้ให้เพิ่มมากขึ้นได้เท่าไหร่ก็พอใจเท่านั้นยินดี พอใจเท่าที่ได้จากบททบทวนธรรมข้อที่ 82
จึงฝึกอยู่กับความเป็นจริงของชีวิตที่พร่องอยู่เป็นนิตย์อย่างผาสุกให้ได้และข้อที่ 78 ความสมบูรณ์หรือความสำเร็จของกิจกรรมการงานคือความลวง ลวงให้ยึด ลวงให้ทุกข์ ส่วนความสำเร็จของใจที่พ้นทุกข์พ้นความยึดมั่นถือมั่น คือความจริงสรุป วางใจจะได้ส่งงานหรือไม่ได้ส่ง ผิดพลาดบ้างก็ไม่ทุกข์เมื่อเราทำเต็มที่แล้ว
เรื่อง ของเสียหายแต่ใจไม่เสียหาย
เหตุการณ์ มีการปรับเรื่องฝ้าเพดานใหม่ เนื่องจากกระเบื้องที่ปูพื้นบ้านชั้น 2แตกมีน้ำรั่วซึม จึงรื้อเทปูน ปูกระเบื้องใหม่ ขณะที่ยังปูไม่เสร็จเจอฝนตกหนัก น้ำเลยเทเข้าในห้องทำงาน ลงไปถูกเครื่องคอมพิวเตอร์ของลูกชาย ใจ กลัว กังวล ว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ จะเสียหาย
ทุกข์ กลัว กังวล ระแวง หวั่นไหวกลัวเครื่องคอมพิวเตอร์จะเสียหาย
สมุทัย ชอบถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์ยังใช้งานได้ปกติ ชังถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์เสียหาย
นิโรธ เครื่องคอมพิวเตอร์จะยังใช้งานได้ปกติหรือใช้งานไม่ได้ ก็ไม่ชอบไม่ชัง ใจไร้ทุกข์
มรรค ตั้งศีลมาพิจารณาไตรลักษณ์ ความวิปลาส ความยึดมั่นถือมั่นว่า ของใช้จะใช้งานได้ปกติอยู่ตลอดไป ไม่ชำรุดเสียหายย่อมเป็นไปไม่ได้ ทุกสรรพสิ่งในโลกนี้ ย่อมมีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปเป็นธรรมดา ของจะเสียหายเอง หรือมีอะไรทำให้เสียหายก็ได้ ตามวิบากดีร้ายของเรา ของโลกที่สังเคราะห์กันดีที่สุดแล้ว แล้วจะทุกข์ใจไปทำไมให้โง่ ให้ชั่ว ให้บ้า ให้ทุกข์ ยินดีรับ ยินดีให้เกิดความเสียหาย รับเท่าไหร่หมดเท่านั้น เสียหายมากก็หมดไปมาก โชคดี”เสีย” “หาย”ไปหมดแล้ว เย้ เย้ เย้ รับเต็มๆ หมดเต็มๆ
ใช้บททบทวนธรรมข้อที่ 90 วัตถุไม่เที่ยง มีแต่ใจไร้ทุกข์เท่านั้นที่เที่ยง
หลังจากแก้เรื่องจิตใจได้แล้ว ก็มาพูดคุยกับลูกชายที่เป็นเจ้าของเครื่องคอมพิวเตลลอร์ เมื่อเห็นแม่ใจเย็น ลูกชายก็ใจเย็นตาม ไม่ร้อนรน ไม่ลนลาน ของจะเสียหายก็ยอมรับได้ เมื่อแก้ที่ใจกันได้แล้วก็มาแก้ที่สิ่งของ เช็ดน้ำออกเท่าที่ทำได้ เปิดพัดลมช่วยเป่าอีกแรง
สรุป หลังพิจารณาแล้ว เห็นชัดในพลังสันนิทานที่ส่งถึงกัน ถ้าเป็นเมื่อก่อนคงจะโวยวายโทษช่าง ทำไมไม่ทำให้เสร็จเหลืออีกนิดเดียว ทำไมๆๆ แต่ครั้งนี้ทำที่ใจตัวเอง ยอมรับในวิบากที่ได้รับ มาตาลีเทพมาเตือนให้เราเพิ่มศีลอีกแล้ว ทำมาๆๆ เครื่องคอมพิวเตอร์ก็ยังใช้งานได้ปกติ ที่สำคัญไม่เกิดความเสียหายทางจิตวิญญาณด้วย..สาธุ
การบ้านอริยสัจ 4
วิภาภรณ์ กอจรัญจิตต์ (เอ ใจพอแล้ว)
เรื่อง วางใจได้คืน
เหตุการณ์ คือ วันก่อนได้อัดเสียงเพื่อจะทำคลิปเข่าว ก่อนอัดเสียงก็มีการทดสอบคอมพิวเตอร์ว่าใช้งานได้ปกติ หลังจากอัดเสียงเสร็จ ก็กดบันทึกไฟล์เสียง ปรากฏว่า เครื่องคอมไม่ยอมบันทึกให้ ซักพักเครื่องคอมก็นิ่งไป กดปุ่มอะไรก็ไม่ตอบสนอง สุดท้ายก็ต้องปิดคอมพิวเตอร์ไปโดยไม่ได้บันทึกไฟล์เสียงนั้น
ทุกข์ – ตกใจว่าเครื่องคอมจะมาแฮงค์ตอนนี้ไม่ได้นะ หงุดหงิดใจ (เล็กน้อย) ว่างานต้องส่งวันรุ่งขึ้น ไม่อยากเสียเวลามาอัดเสียงใหม่
สมุทัย – ชอบถ้าโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทำงานตามปกติ ชังถ้าโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทำงานไม่เป็นปกติ
นิโรธ – คลิปเสียงไม่ได้บันทึกไว้ ต้องอัดใหม่ ก็ใจไร้ทุกข์ กล้ายินดีที่ไม่ได้ตามใจอยาก
มรรค – พิจารณาที่จิตตัวเองก่อนว่ากลัวอะไร หลังจากตรวจก็พบว่า คือกลัวไม่ได้ดั่งใจนั่นเอง เราอยากได้สภาพดีตามที่ใจคิด ไม่อยากเสียเวลา เมื่อเรามองเห็นโทษของการมีกิเลสตัวนี้ว่าทำให้เราตกใจ หงุดหงิดใจ ร่างกายเสียพลังงาน ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่ได้ทำให้อะไรดีขึ้นนอกจากเพิ่มทุกข์ใจ เราอัดคลิปเสียงนี้เป็นการบำเพ็ญด้วยความเต็มใจ อุปสรรคที่เกิดขึ้นคือรางวัลที่ให้เราได้บำเพ็ญเพิ่มอีกเรื่อง คือได้ล้างกิเลสด้วย แล้วจะทุกข์ไปทำไม ในอดีตเราเองก็เคยไปขัดขวางเวลาคนอื่นทำงาน ทำให้เสียหายมาตั้งเท่าไหร่ เรื่องแค่นี้เรายินดีมากที่ได้ชดใช้ คิดตามนี้ก็คลายใจ ปิดคอมพิวเตอร์ไป ไฟล์เสียงจะหายไป ก็ไร้ทุกข์ใจ
สรุป – หลังจากนั้นเราก็พักไปทำงานอย่างอื่นก่อน พอพ่อบ้านมาเปิดคอมพิวเตอร์อีกที ก็บอกเราว่าไฟล์ที่ไม่ได้บันทึกยังอยู่นะ ระบบคอมสามารถกู้ไฟล์คืนมาได้ พ่อบ้านก็บันทึกไฟล์เสียงให้ แค่ล้างความอยากในใจลงได้ วิบากดีก็ส่งผลให้พ่อบ้านกู้ไฟล์คืนมาให้ได้
#แอร์รถยนต์เสีย
เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา ผมรู้สึกว่าแอร์รถยนต์ไม่ค่อยเย็น ก็เลยลองเอารถไปเช็คที่ร้านซ่อมแอร์รถยนต์ดู พอช่างเช็คดู ก็ประเมินว่าถ้าอาการประมาณนี้ก็น่าจะเกิดมาจากสาเหตุหนึ่ง ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายในการซ่อมอยู่ที่ประมาณ 3,800 บาท และเมื่อได้รู้ค่าซ่อมผมก็สามารถสัมผัสได้ถึงความทุกข์ใจขึ้นมาทันที เนื่องจากมีความกังวลว่าช่างจะหลอกเราในเรื่องค่าซ่อมโดยการบอกค่าซ่อมที่มากกว่าความเป็นจริงหรือเปล่า
ทุกข์ : ทุกข์ใจเพราะรู้สึกกังวลว่าช่างจะหลอกเราในเรื่องค่าซ่อมโดยการบอกค่าซ่อมที่มากกว่าความเป็นจริงหรือเปล่า
สมุทัย : จะรู้สึกทุกข์ใจถ้าช่างบอกค่าซ่อมมากกว่าความเป็นจริง แต่จะรู้สึกสุขใจถ้าช่างบอกค่าซ่อมตามความเป็นจริง
นิโรธ : สามารถผาสุกใจได้ไม่ว่าช่างจะบอกค่าซ่อมตามความเป็นจริงหรือไม่
มรรค : กรณีนี้ผมเดินมรรคโดยการนำคำสอนเรื่องวิบากกรรมเข้ามาพิจารณาโดยพิจารณาว่าถ้าช่างบอกราคาตามความเป็นจริง ก็ยินดีที่วิบากดีออกฤทธิ์ให้ได้เจอช่างที่มีความจริงใจ แต่ถ้าช่างบอกราคาเกินความเป็นจริง ก็ยินดีที่จะได้ใช้วิบากไม่ดีให้หมดไปอีกชุดหนึ่ง
และทั้งนี้ผมก็ยังได้นำบททบทวนธรรมบางบทมาร่วมพิจารณา เช่น บทที่ 106 ที่มีเนื้อหาว่า “ผู้ที่ยังไม่เข้าใจ ไม่เชื่อ ไม่ชัด เรื่องกรรมอย่างแจ่มแจ้ง จะยังโง่อยู่ ชั่วอยู่ ทุกข์อยู่”
ส่งการบ้าน
นางชวนชม คำท้วม
ชื่อทางธรรม สู่ร่มศีล
จิตอาสา ส่วนป่านาบุญ 2 ชื่อเรื่อง ทำไมต้องไม่ชอบด้วย
เหตุการณ์ คือหนูมีบ้าน 2 หลังใกล้กัน ถ้าหนูจะฟังหมอเขียว ฟังธรรมะ ก็ต้องมาบ้านอีกหลังนึง พ่อบ้านเขาไม่ชอบให้เราฟังธรรมะร่วมกับเขา และถ้าหนูจะฟังธรรม จะทำการบ้านอะไรก็จะมาบ้านอีกหลังนึง แล้วคือเราอยู่ในห้องค่ะ มันจะกลัวพ่อบ้านเปิดประตู เหมือนเขาก็ชอบมาดูว่าเราทำอะไรอยู่ เรากลัวพ่อบ้านมาขัดจังหวะของเรา ขณะที่เราใช้โทรศัพท์ เพราะเขาจะพูดเสียงดัง คือเสียงโวยวายมาก่อน ยิ่งเวลาพ่อบ้านเมากลัวเสียงจะเข้าขณะใช้โทรศัพท์ค่ะ
ทุกข์ ไม่ชอบและกลัวที่พ่อบ้าน มาขัดจังหวะขณะเราใช้โทรศัพท์
สมุทัย ชอบที่พ่อบ้านไม่มาขัดจังหวะขณะเราใช้โทรศัพท์ ชังที่พ่อบ้านมาขัดจังหวะขณะที่เราใช้โทรศัพท์
นิโรธ พ่อบ้านจะมาขัดจังหวะเรา ขณะใช้โทรศัพท์ก็ได้ เราไม่ชอบไม่ชังใจไร้ทุกข์
มรรค ก็ต้องรับผลกรรม เพราะเราไปจับผิด ระแวงระวังพ่อบ้านเขา เราเหมือนคอยจ้องพ่อบ้าน ต้องอยู่ในสายตา ทำให้เราเป็นแรงเหนี่ยวนำ ที่ทำให้เหมือนพ่อบ้านมาคอยดูเรา คอยเช็คเราค่ะว่าเราทำไรอยู่ ตรงกับบททบทวนธรรม ทำร้ายเขามาตั้งมากตั้งมาย ยังมีหน้ามาโกรธ มาเกลียด เขาอีกมันชั่วเกินไปแล้วเรา และอีกบทหนึ่งคือ อยากได้สิ่งใด จงคิดสิ่งนั้นกับผู้อื่น บอกกิเลสไม่ต้องกลัว เพราะเเราทำไว้เยอะ ต่อไปก็จะเลิกกลัว อะไรจะเกิดก็ให้มันเกิด เราก็ไม่กลัว ใจเราไร้ทุกข์ สาธุค่ะ
ส่งการบ้าน
นางชวนชม คำท้วม
ชื่อทางธรรม สู่ร่มศีล
จิตอาสา ส่วนป่านาบุญ 2 ชื่อเรื่อง พ่อบ้านไม่เกรงใจเพื่อนบ้าน
เหตุการณ์ วันนี้พ่อบ้านเมา เปิดเสียงเพลงเกือบทั้งวัน เราเกรงใจเพื่อนบ้านไม่อยากให้พ่อบ้านทำความรำคาญให้กับเพื่อนบ้าน บอกพ่อบ้าน ว่าอย่าเปิดเพลงเสียงดังมาก พ่อบ้านบอกว่านานๆทีหรอก
ทุกข์ ไม่ชอบใจที่พ่อบ้านเปิดเพลงเสียงดัง
สมุทัย ชอบพ่อบ้านเปิดเพลงเสียงเบา ชังพ่อบ้านเปิดเพลงเสียงดัง
นิโรธ พ่อบ้านจะเปิดเพลงเสียงดัง หรือเสียงเบา เราก็ไม่ชอบไม่ชัง ใจไร้ทุกข์
มรรค เราเกรงใจเพื่อนบ้าน ไม่ชอบที่พ่อบ้าน ไม่เกรงใจเพื่อนบ้าน เปิดเพลงเสียงดังอาจทำให้เขารำคาญได้ ก็ต้องวางใจ เป็นเพราะเรานี่แหละ ที่ยังชอบเสียงเพลงอยู่ หนูก็จะตั้งใจเพิ่มศีล ทำที่ตัวเรานี่แหละ ใจก็ไร้ทุกข์ค่ะ
เรื่อง หลังฉีดวัคซีน
เหตุการณ์ :ไปฉีดวัคซีนเข็มแรกเป็นชิโนแวก ด้วยอาการไม่กลัวไม่กังวล ภายหลังฉีดร่างกายเป็นปกติ หลังจากนั้นอีก 20กว่าวัน ต้องไปฉีดเข็มสอง ก่อนฉีดมีอาการกังวลใจ เนื่องจากมีกระแสข่าวว่า เข็มที่สองเป็นเอสต้าซีเนก้า ซึ่งเป็นวัคซีนเชื้อเป็น มีคนจำนวนมากแพ้วัคซีนยี่ห้อนี้ จึงเกิดอาการกังวลใจ แต่สุดท้ายภายหลังฉีดก็ไม่ได้แพ้ มีเพียงอาการเจ็บบริเวณที่ฉีดวัคซีนเท่านั้น
ทุกข์ : กังวลใจเล็กน้อย
สมุทัย : ยึดมั่นถือมั่นว่า ชอบใจถ้าไม่แพ้วัคซีน ชังถ้าแพ้วัคซีน
นิโรธ : จะแพ้วัคซีนหรือไม่ เราก็ยินดี ไม่ชอบไม่ชัง ไม่กังวลใจ
มรรค : ปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่นว่า เราจะไม่แพ้วัคซีนออกไปเสียจากใจ ซึ่งถ้าเราไม่แพ้ ก็ถือว่าวิบากดีออกฤทธิ์คุ้มครอง แต่ถ้าแพ้เราก็ยินดีรับ ยินดีชดใช้วิบากร้าย ที่เคยพลาดทำมาในชาตินี้หรือชาติก่อนๆ เมื่อได้รับแล้วร้ายก็หมดไป เราก็จะโชคดีขึ้น ความกังวลใจเป็นการเบียดเบียนตัวเองผิดศีล ส่วนความไม่กังวลใจเป็นการยอมรับไม่ว่าจะเกิดดีหรือร้ายด้วยความเบิกบานถูกศีล ความกังวลใจก่อโรคร้าย ความไม่กังวลใจลดโรคร้าย เมื่อดับทุกข์ใจ คือทุกข์ทั้งแผ่นดินได้ ทุกข์อื่นนอกจากนี้ แก้ได้บ้างไม่ได้บ้าง หรือแก้ไม่ได้เลย ซึ่งมีผลเท่ากับฝุ่นปลายเล็บก็เป็นเรื่องเล็กน้อย ตรงตามบททบทวนธรรมข้อที่75 ว่า “ถ้าเราดับทุกข์ใจได้ ก็ไม่มีทุกข์อะไรที่ดับไม่ได้ ” เมื่อได้ปฏิบัติตามบททบทวนธรรมดังกล่าวมาแล้ว ความกังวลใจก็หายไป จิตใจกลับมาเบิกบาน แจ่มใสเหมือนเดิม
ชื่อเรื่อง : อยากให้ทุกคนผ่าน
ได้มีโอกาสบำเพ็ญช่วยรวบรวมข้อสอบของนักศึกษาวชช. และต้องมีการตัดรอบคะแนนเพื่อส่งให้กับทางวิทยาลัย ช่วงแรกไม่ได้มีจุดประสงค์ที่จะต้องติดตามเก็บข้อสอบพี่น้องที่สมัครเรียนเลย เพราะตนเองไม่ใช่คนดีขนาดนั้น คิดว่าใครจะส่งก็ส่ง ไม่ส่งก็เป็นสิทธิ์ของแต่ละท่าน แต่ด้วยเมื่อได้ทราบความตั้งใจของคณะผู้จัดสอนและผู้ประสานงานการศึกษา จึงทำให้เปลี่ยนใจและปรึกษาทีมที่ทำงานด้วยกัน ในการที่จะติดต่อหานักศึกษาแต่ละท่านที่ยังไม่ส่งข้อสอบ ในการติดต่อไปนั้น ก็ได้ทราบถึงความยากลำบากในการติดตามข้อมูลของการเรียน หรือเทคโนโลยี หรือปัญหา หรือภารกิจต่าง ๆ ที่นักศึกษาแต่ละท่านต้องเผชิญ มีความเห็นใจเป็นกำลัง เพราะทุกท่านยุ่งจริง ๆ แต่ใจก็อยากจะให้พี่น้องทุกท่านได้ส่งข้อสอบกันครบทุกท่าน จึงมีความรู้สึกทุกข์ขึ้นมาในความอยากของตนเอง
ทุกข์ คือ นักศึกษาที่ส่งข้อสอบไม่ครบ ทำให้รู้สึกกังวลใจ กลัวว่าพี่น้องนักศึกษาจะไม่ผ่านการเรียน
สมุทัย (เหตุแห่งทุกข์) คือ อยากให้พี่น้องนักศึกษาส่งข้อสอบให้ครบ เพื่อที่จะได้ผ่านวิชาการเรียน ดั่งใจเราหมาย
นิโรธ (สภาพดับทุกข์) คือ ไม่ชอบไม่ชังพี่น้องนักศึกษาจะส่งข้อสอบให้ครบหรือไม่ครบก็ได้ จะผ่านการเรียนหรือไม่ก็ได้ ก็ให้เป็นไปตามธรรม ยินดี พอใจ ไร้กังวล
มรรค (ทางเดินสู่ความพ้นทุกข์) คือ พิจารณาวิบากกรรมที่ตนเองเคยเป็นนักเรียนที่ไม่สามารถส่งงานได้ครบถ้วน หรืออาจเคยทำให้ผู้อื่นต้องคอยติดตาม จนทุกข์ที่เราไม่ส่งข้อมูล หรือเหตุการณ์ใด ๆ ที่อาจเป็นเหตุที่ทำให้ผู้อื่นต้องทุกข์ใจ การได้เอาภาระในครั้งนี้ทำให้มองเห็นประโยชน์ได้หลายอย่าง เพราะเมื่อได้ติดต่อทุกฝ่าย จึงทำให้เข้าใจในแง่มุมเหตุผลของหน้าที่และสิ่งที่ทุกท่านต้องเผชิญ ซึ่งเราเองก็เคยต้องเผชิญหรือกระทำเช่นกัน และได้ชดใช้วิบากที่เคยไม่เช้าใจคณะผู้สอนในความยากลำบากของการจัดการเรียนการสอน การทำคะแนนว่ามีมากเพียงใด วันนี้เข้าใจแล้ว ทุกอย่างมีขั้นตอน มีเหตุผล ได้ซาบซึ้ง และสังเกตว่าบางท่านที่เราเพียรเฝ้าตามให้ช่วยส่งข้อสอบ ด้วยวิบาก “ความอยากให้ท่านส่งการบ้านของตนเอง” จึงยิ่งมีวิบากมากั้นท่านนั้น ๆ ให้มีเหตุต้องส่งช้าไปกันใหญ่ สำนึกผิดในความโลภของตนเอง ในทางกลับกัน บางท่านที่เราแจ้งแค่ครั้งเดียว แต่ไม่มีความยึดมั่นถือมั่นว่าจะต้องส่ง ท่านนั้นจะส่งข้อสอบได้ตรงเวลา พิจารณาเปรียบเทียบโทษของความอยากได้เห็นชัดเจนมาก และการที่นักศึกษาจะส่งข้อสอบหรือไม่ ไม่ใช่หน้าที่ของเราที่จะไปทำให้เกิดขึ้น เพียงเราทำหน้าที่อย่างดีที่สุดในการติดตามแล้ว พร้อมวางใจ ท่านใดจะส่งหรือมีฉันทะ ท่านจะติดตามเอง เราไม่ควรเอาตนเองไปพัวพันเกินหน้าที่ เมื่อคิดได้ ก็รู้สึกดีขึ้น แต่ก็ยังไม่แน่ใจว่าจะยังยึดอีกหรือไม่ แต่ก็จะพากเพียรพร้อมยึดพร้อมวางไปเรื่อย ๆ สาธุค่ะ
ชื่อเรื่อง ยึดดีแต่ไม่ทำดีที่แท้จริง
เหตุการณ์ ช่วงค่ายพระไตรปิฎกครั้งที่32 ได้มีฉันทะบำเพ็ญถอดเทปหรือบันทึกย่อจากการฟังธรรมะบรรยายของท่านอาจารย์หมอเขียวให้ได้ทุกวันช่วงฝนชุกสัญญาณเนตจะหลุดบ่อยจึงทำให้ 2 วันถอดเทปไม่ได้ก็เลยสรุปเนื้อหาให้สั้นลงบางคำเป็นคำพูดของเราเอง แต่ก็ไม่สามารถถอดเทปหรือบันทึกย่อให้สำเร็จได้
ทุกข์ : กลัวว่าจะไม่ได้ตามที่อยากให้ถอดเทปสำเร็จให้ได้ดั่งใจหมาย
สมุทัย : กลัวว่าจะไม่ได้ตามที่อยากให้ถอดเทปสำเร็จให้ได้ดั่งใจหมายจะสุขใจพอใจ ถ้าถอดเทปไม่สำเร็จให้ได้ดั่งใจหมายจะไม่พอใจ
นิโรธ : กล้าว่าจะไม่ได้ตามที่อยากถ้าถอดเทปไม่สำเร็จให้ได้ดั่งใจหมายหรือถอดเทปสำเร็จให้ได้ดั่งใจหมายก็พอใจสุขใจ
มรรค : ทำเต็มที่แล้ว ยอมรับเหตุการณ์องค์ประกอบที่พร่องให้การบำเพ็ญไม่สำเร็จก็ได้ประโยชน์มากกว่าโทษได้เห็นกิเลสตัวยึดดีหลงดี ละโมบอยากได้เกินความเป็นจริง ล้างกิเลสได้ใจผาสุกผ่องใสปล่อยวางได้มีความยินดีเราทำได้เท่านี้ก็ดีมากแล้ว และเข้าใจชัดในวิบากตามที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่าไม่ให้เปลี่ยนแปลงคำสอนที่เราตรัสไว้ดีแล้ว แบะได้สำนึกผิดต่อพระพุทธเจ้า และท่านอาจารย์ เราก็ยินดีพอใจสุขใจที่จะถอดเทปบันทึกสาระธรรมที่อาจารย์บรรยายตามที่ท่านพูดท่านแปลให้ถูกตรงไม่เปลี่ยนแปลงให้เป็นคำพูดของเราเองจะมีวิบากร้าย แม้จะบันทึกสาระ
ธรรมยาวๆๆก็เป็นประโยชน์มากในคำดีคำสอนของท่านที่เป็นจริงตามความเป็นจริงที่เราต้องปฏิบัติ ค่ายพระไตรปิฎกเป็นค่ายที่ศักดิ์สิทธิ์ เราควรบูชาเคารพพระพุทธเจ้าและเคารพสัตบุรุษผู้อธิบายธรรมะให้เข้าใจง่าย
สรุป เข้าใจชัดในคำสอนเราเป็นลูกหลานพระพุทธเจ้าควรรักษาคำสอนของพระองค์ในการบันทึกคำแปลให้ถูกตรงสืบทอดต่อไป
Comments are closed.