วิชา อริยสัจ 4 ครั้งที่ 17 l ห้องเรียนวิชชาราม

ห้องเรียนวิชชาราม ตรวจการบ้าน วิชา อริยสัจ 4  ครั้งที่ 17 ในวันเสาร์ที่ 18 กันยายน 2564 เวลาประมาณ 12.00 น. – 14.00 น.

ตรวจการบ้าน อริยสัจ 4

1.เรื่อง น้ำร้อนลวกแขนแต่ไม่ลวกใจ

วิภาวัลย์ ถนัดธรรมกุล (ประณีตบุญ)

เนื้อเรื่อง ที่บ้านหุงข้าวด้วยซึ้งนึ่งข้าว ในวันนั่นด้วยความประมาทยกน้ำ ซึ้งชั้นล่างพลาดพลิกกลับน้ำร้อนเดือดลวกมาที่ข้อมือขวา

ทุกข์ : น้ำร้อนลวกข้อมือ ปวดแสบปวดร้อน ทำให้ทำงานไม่ถนัด

สมุทัย : ตนเองประมาททำให้ถูกน้ำร้อนลวกข้อมือขวา ทำให้เห็นวิบากกรรมที่เคยทำมาในอดีต

นิโรธ : วางใจที่แขนเจ็บทำอะไรไม่ถนัด ไม่กลัวว่ามันจะเจ็บปวด ไม่หวั่นไหว กล้าที่จะรับผลกรรมนั่น ให้วิบากกรรมนั้นผ่านไป

มรรค : เมื่อไม่กลัวความทุกข์ ทรมานกาย มันไม่ทรมานที่ใจ มันอยู่แค่ข้อมือ มันจะหายเจ็บเมื่อไรก็ได้ กล้าที่จะรับผลให้วิบากผ่านไปได้ชดใช้เวรกรรมด้วยใจไร้ทุกข์ ดังบททบทวนธรรมข้อ25 เมื่อเกิดทุกข์ใจทุกข์กาย เรื่องร้ายเข้ามาในชีวิต เข้ามาเพื่อให้เราได้ชดใช้ ให้เราไม่ประมาท ให้เราเพิ่มอริยศีล ให้เราได้สำนึก ให้เราได้หมดวิบาก


2.เรื่อง มะเร็ง

ประภัสสร ชาญชัยชูจิต (เพียรพิมพ์พุทธ)

เรื่อง พี่สาวเป็นมะเร็ง ได้กลับบ้านที่ต่างจังหวัดและได้เห็นพี่สาวผิดปกติ เช่นเวลาเดินต้องเกาะผนัง หรือเก้าอี้ น้ำหนัก ลด เมื่อกลับกรุงเทพฯจึงได้ปรึกษากับพี่น้องที่อยู่กรุงเทพฯ และมติส่วนใหญ่ให้ไปรับมาดูแลที่ กรุงเทพฯ จึงให้พี่ชายไปรับมาในช่วงสงกรานต์ เพื่อที่จะหาสถานพยาบาลในการตรวจรักษาเนื่องด้วยเป็นยุคโควิดจึงไม่มีโรงพยาบาลใดที่จะ ไปตรวจ ทุกที่พูดเหมือนกันหมดคือไม่รับผู้

ป่วยใหม่ รับเฉพาะผู้ป่วยฉุกเฉินเท่านั้น โดยทาง โรงพยาบาลแจ้งว่าต้องเป็นแบบยื้อชีวิตเท่านั้น ต่อมามีเพื่อนรุ่นพี่แนะนำให้ไปที่ศูนย์การแพทย์ พระรามเก้า เมื่อไปพบแพทย์ที่นัดไว้ ก็มีการซักถามท่านจึงส่งไปพบแพทย์เฉพาะทางอีกท่านซึ่ง เมื่อมีการพบท่านนี้ได้มีการซักถามพี่สาว ท่านก็เรียกญาติไปพบและแจ้งว่าให้ไปโรงพยาบาลที่ ใหญ่ ๆ เดี๋ยวนี้ เช่น ร.พ. รามา ร.พ.ราชวิถี ร.พ.พระมงกุฎ ในที่สุดท่านก็ได้แนะนะให้ไปที่ สถาบันประสาทวิทยา เมื่อไปถึงทางสถาบันก็มีพยาบาลมาซักถามพูดคุยด้วยและบอกว่าไม่ เข้าข่ายผู้ป่วยฉุกเฉิน ให้กลับบ้านค่ะ บนความโชคร้ายมีความโชคดีคุณหมอที่ศูนย์พระรามเก้า เขียนด้วยลายมือให้อ่านว่า ตอนนี้มะเร็งลุกลามไปทั่วร่างกายแล้วจึงยื่นกระดาษแผ่นนั้นให้ พยาบาล ซึ่งพยาบาลท่านนี้บอกให้คอยสักครู่ ประมาณ 10 นาที ก็มาบอกว่าคุณหมอจะเข้ามา ตอน 16.00 น. เป็ นคลีนิกนอกเวลา (ขณะนั้นเวลา 14.00 น. คือต้องรออีก 2 ชั่วโมง) วันนั้นได้ คิวที่ 50 ระหว่างที่รอก็มีการเรียกคิว 48..49..51..52..-57 เอ๊ะทำไมไม่มี 50 จึงเดินไปถาม พยาบาลก็ได้คำตอบว่าคุณหมอเป็นผู้กดคิวเองท่านมีเหตุผลของท่าน ทำไงล่ะ ก็รอต่อไป จนถึง 18.00 น.ได้เข้าพบคุณหมอ และเปิดไลน์ผลเลือดที่ได้มีการตรวจและผลออกวันนี้พอดีให้ คุณหมอดู) คุณหมอท่านก็ซักถามพี่สาวพูดคุยนานมากในที่สุดก็บอกว่าให้แอดมิดนะ จึงถาม ความสมัครใจพี่สาวซึ่งพี่ก็โอเคที่จะแอดมิด ก็เข้าขบวนการรักษาของทางสถาบันคือตรวจโควิด เอ็กซ์เรย์ ทำ MRI คุณหมอให้พวกเรากลับบ้านและพรุ่งนี้ท่านจะโทรไปคุยด้วย และท่านก็โทรมาแจ้งผลว่าพี่สาวเป็นมะเร็งขั้นสี่ ระยะลุกลาม ตามหลักการวินิจฉัยจะอยู่ได้ 6 เดือน และเข้าไขสันหลังแล้ว ที่สำาคัญคือมีก้อนเนื้อไปทับไขสันหลังอีกที เร่งด่วนสุดคือต้อง ผ่าตัดก้อนเนื้อที่ทับไขสันหลังออกก่อน

ทุกข์ : เมื่อคุณหมอบอกพี่สาวเป็มะเร็งขั้นสี่ ระยะลุกลาม อยู่ได้ 6 เดือน

สมุทัย : สุขใจหากคุณหมอไม่พูดว่าพี่อยู่ได้ 6 เดือน ชังที่คุณหมอพูดว่าพี่อยู่ได้ 6 เดือน

นิโรธ : คุณหมอจะพูดอย่างไรเราก็ไม่ทุกข์ เพราะไม่ว่าพี่สาวจะอยู่ได้แค่ 6 เดือน หรือนานกว่า นั้นก็ยอมรับตามความเป็นจริง

มรรค : เอาประโยชน์จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ยินดีที่ได้ดูแลพี่ในช่วงหนึ่งของชีวิต และจะดูแลให้ ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ด้วยใจผาสุก


3. เรื่อง มันเรื่องของเค้า

สริตา บัวแก้ว

คนงานไม่สบาย บีก็ขอให้เค้าไปหาหมอเพื่อตรวจว่าติดโควิดหรือเป็นอะไรเปล่า แต่เค้าก็ไม่ยอมไป บีก็เลยให้สมุนไพรฟ้าทะลายโจร + ทำน้ำพลังให้ดื่ม แต่เขาก็ยังไม่ อาการไม่ดีขึ้น มาทราบทีหลังว่าไม่กินยาอะไรเลย แต่ไปซื้อยาชุดมากิน อาการก็หนักขึ้น ก็แอบไปหาหมอคลีนิค ฉีดยา วันรุ่งขึ้น ก็เดินมาบอกไม่ไหวแล้ว

ทุกข์ : มันเซ็งในชั่วขณะ แล้วรู้สึกว่าทำไมเค้าไม่ฟังเราแต่แรก อยากให้ฟังเรา เชื่อเราจะได้ไม่เป็นหนักขนาดนี้
สมุทัย : เพราะเราอยากและยึดดี และคิดว่าเค้าเป็นลูกน้องเรา ต้องฟังคือยึดว่าเป็นเรา เป็นของๆเรา
นิโรธ : คนงานอยากจะรักษาวิธีไหนก็เป็นสิทธิ์ของเขา เราไม่ควรไปชังในสิ่งเขาตัดสินใจเพราะมันเป็นฐานและวิบากของเขา
มรรค 1. ล้างความยึดมั่นถือมั่นของใจได้สำเร็จ คือความสำเร็จที่แท้จริง
2. ตัวเรายังไม่เข้าใจคนอื่น แสดงว่า เรายังไม่เข้าใจตัวเอง
3. เราต้องรู้ว่าแต่ละคนมีฐานจิตแตกต่างกัน (ข้อ2)


4.เรื่อง  กลัวพูดผิดในการออกสื่อ

พิมพ์ใจ ชาตะศิริ       

เหตุการณ์ ได้มีโอกาสเข้าไปตอบ คำถามในกลุ่มแอดมิน สายด่วน ก็มีจิตอาสาแต่ละท่านตอบเก่งๆทั้งนั้น ค่ายออนไลน์ครั้งที่ 3 ได้มีโอกาสเข้าไปร่วมตอบ 2 3 เคส แรกๆ พี่น้องจิตอาสาชวนให้เข้าไปร่วมแต่ไม่กล้าค่ะ ยกตัวอย่าง ผู้เข้าค่ายถามนอนไม่หลับก็จะตอบ คำถามว่าต้องปรับสมดุลร้อนเย็นสวนล้างลำไส้ดื่มน้ำใบขี้เหล็กก่อนนอนและทำสมาธิก่อนนอนค่ะ บอกเสร็จแล้วก็ยังหวั่นไหวอยู่ว่าเราตอบถูกหรือเปล่า พอดีมีคำคอมเม้นจากผู้ชมทางบ้านอานกได้นำมาสื่ออ่านให้พวกเราฟังในหมู่กลุ่มและมีท่านอาจารย์อยู่ด้วย ผู้ชมทางบ้านได้คอมเม้นว่าให้อาจารย์หมอเขียว คัดกรองจิตอาสาที่มาตอบคำถามด้วย เอาที่มีคุณภาพ หลังจากนั้นมาท่าน อาจารย์ก็มาร่วมตอบคำถามทุกครั้งค่ะ ช่วงหลังพี่พิมพ์ก็ไม่กล้า เข้าตอบคำถาม และไม่เปิดหน้ากล้อง ก็คอยหยิบเอาความรู้จากในหมู่กลุ่ม เพื่อนำมาพัฒนาตัวเอง

ทุกข์ : รู้สึกตื่นเต้น กลัว กังวลหวั่นไหว กลัวพูดผิด ขณะออกสื่อ

สมุทัย : ไม่อยากพูดผิดอยากพูดให้ได้ดีที่สุด

นิโรธ : แม้เราจะพูดผิดก็ได้หรือไม่ผิดก็ได้ไม่หวั่นไหวใจเป็นสุข

มรรค : พิจารณาตัวเองล้างกิเลสความกลัวระแวงหวั่นไหวด้วยใจผาสุกและสุดท้ายอาการ กลัวระแวงหวั่นไหวก็จะสลายไปเอง


5.เรื่อง ต้องอปริหานิยธรรม หรือไม่?

ศิริพร คำวงษ์ศรี (มั่นผ่องพุทธ)

การได้มาทำงานทางธรรมร่วมกับพี่น้องหมู่มิตรดี และสานพลังสืบสานงานของครูบาอาจารย์ที่เคารพรัก ถือเป็นโชคดีของการได้เกิดมาเป็นมนุษย์บนโลกนี้ แต่เมื่อได้ทำงานหลากหลายกลุ่ม บางกลุ่มสามารถมีเวลาได้อปริหานิยธรรมกันอย่างลงตัว บางกลุ่มทีมงานก็มีจุดเวลาที่ว่างไม่ตรงกัน บวกกับวิบากที่ให้มีข้อพร่อง และไม่สามารถอปริหานิยธรรมพร้อมกันได้ ได้เห็นพี่น้องท่านกลุ่มอื่นอปริหานิยธรรมในหมู่ใหญ่ จึงมีกิเลสอยากทำบ้าง แต่องค์ประกอบไม่พร้อมทั้งตนเองและท่านอื่น ๆ ในทีม มีวิบากไม่สามารถเข้าห้องสนทนาได้ แต่ใจก็คิดว่าเราอปริหานิยธรรมกันเองก่อนหน้านี้มามากแล้วนะ บวกกับว่าพี่น้องท่านอื่นมีเรื่องสำคัญที่ต้องอปริหานิยธรรมในหมู่ใหญ่ ซึ่งมีเวลาจำกัดให้ไปรู้เพียรรู้พัก กิเลสสงสัยว่าจำเป็นต้องอปริหานิยธรรมต่อหน้าหมู่หรือไม่? ใจไม่ได้ยึดว่าจะต้องอปริหานิยธรรมเท่านั้น หรือไม่อปริหานิยธรรม จะทำก็ได้ ไม่ทำก็ได้ แต่ใจไปปรุงยึดคิดว่า พี่น้องส่วนใหญ่น่าจะคิดว่าเราควรอปริหานิยธรรมต่อหน้าหมู่ใหญ่ แต่ตนเองก็ยังไม่พร้อมอปริหา

ทุกข์ : ใจกังวล ว่าควรหรือไม่ควรอปริหานิยธรรม

สมุทัย (เหตุแห่งทุกข์) : ใจปรุงแต่ง กังวลกลัวว่าพี่น้องส่วนใหญ่น่าจะคิดว่าเราควรอปริหานิยธรรมต่อหน้าหมู่ใหญ่

นิโรธ (สภาพดับทุกข์) : ไม่ชอบไม่ชังพี่น้องส่วนใหญ่จะคิดว่าเราควรอปริหานิยธรรมต่อหน้าหมู่ใหญ่หรือไม่ ไม่ใช่เรื่องของเรา ยินดี พอใจ ไร้กังวล ใจเบาสบาย ปล่อยให้เป็นไปตามธรรม จะอปริหานิยธรรมหรือไม่ก็ได้ ทุกอย่างมีเหตุปัจจัยตามธรรม

มรรค (ทางเดินสู่ความพ้นทุกข์) : หนทางการพ้นทุกข์อย่างแรกที่ทำ คือ บอกหมู่มิตรดีใกล้ตัว (น้องสาว) ทันที ว่ามีกิเลสทำให้มีความรู้สึกและความคิดแบบนี้ พิจารณาตามคำแนะนำว่า หากเราไม่มีสภาวธรรม เราไม่จำเป็นต้องอปริหานิยธรรมต่อหน้าหมู่ใหญ่ก็ได้ เป็นสิ่งที่ดีถูกต้องตามธรรมแล้ว กลุ่มที่เราทำงานด้วยนั้น ได้อปริหานิยธรรมเตรียมงาน และพูดคุยกันมาเยอะมากแล้ว จึงไม่มีปัญหาอะไรต้องคุยเพิ่ม จะหลงยึดว่าต้องคุยอปริหานิยธรรมพร้อมกันต่อหน้าหมู่ใหญ่ ให้ทุกข์ใจไปทำไม? ทั้ง ๆ ที่ องค์ประกอบของเราก็ไม่พร้อมในเวลานั้น ๆ เช่น ตัวเราเองก็กำลังทำหน้าอื่นอยู่ รู้สึกว่ายังไม่พร้อม แต่ย้อนแย้งอยากให้ตนเองและสมาชิกพร้อมอปริหานิยธรรม และหลังจากวันนั้นได้สนทนากับหมู่มิตรดีท่านอื่นในทีมเพิ่มเติม ปรากฏว่า สมาชิกส่วนใหญ่ในทีมงานมองว่าทุกอย่างลงตัวตามที่เราได้ประชุมไว้แล้ว และได้รู้ว่าสมาชิกหลายท่านไม่สามารถเข้าห้องสนทนาโปรแกรมซูมได้ในเวลาที่มีอปริหานิยธรรมต่อหน้าหมู่ใหญ่ จึงพิจารณาเห็นวิบากของความโลภความอยาก ที่อยากจะได้การอปริหานิยธรรมแบบสมบูรณ์ แบบพร้อมหน้า วิบากจึงยิ่งกั้นทำให้ไม่ได้อปริหานิยธรรม พิจารณาโทษของความยึดติดดีของตนเอง ถึงการอปริหานิยธรรมจะเป็นสิ่งที่ดีสูงสุดของการทำงานร่วมกัน แต่สุดท้ายก็ต้องทิ้งได้ สละได้ หากเหตุปัจจัยไม่อำนวย พร้อมวางพร้อมปรับพร้อมเปลี่ยน เป้าหมายของการอปริหานิยธรรม คือ การพ้นทุกข์ ลดความยัดแย้งในการทำงาน ซึ่งหากเราก็ได้ทำหน้าที่นั้นอย่างเต็มที่แล้ว วางใจ ทิ้งโลกธรรม ใครจะคิดอย่างไร เป็นสิทธิ์ของแต่ละท่าน เราไม่ควรเดาใจผู้อื่น เพราะเป็นผิดศีล และทุกสิ่งย่อมเกิดขึ้นจากวิบากดีร้ายของเรา จะต้องไปยึดติดใน “รูป” ว่าต้องมีการอปริหานิยธรรมต่อหน้าหมู่ใหญ่ไปเพื่ออะไร เพียงเพราะอยากต้องทำเหมือนกลุ่มอื่น และให้ได้สภาพสมใจตนเอง อย่างนั้นหรือ? น้อมสำนึกผิด ระลึกได้ที่ในอดีตเมื่อปีก่อน เพื่อนในกลุ่มไม่อปริหานิยธรรม ก็ไปเพ่งโทษและไม่เข้าใจเพื่อน ทั้ง ๆ ที่เพื่อนไม่พร้อม วันนี้วิบากเลยให้มาเพ่งโทษที่ตนเองไม่สามารถอปริหานิยธรรมได้เช่นกัน โลกนี้พร่องอยู่เป็นนิจ จะหลงเอาความสมบูรณ์อะไรนักหนา กิเลสนี่โง่จริง ๆ สุดท้ายแล้วองค์ประกอบ คือ การไม่อปริหานิยธรรมในรอบนี้ลงตัวตามธรรมแล้ว  ตั้งจิตจะพากเพียรไม่เพ่งโทษผู้อื่นเท่าที่จะทำได้ สาธุ


6.เรื่อง ไม่ชอบที่ทรมาน​

พรเพียรพุทธ โพธิ์กลาง (ทิพย์)

เนื้อเรื่อง​ ​เกิดอาการปวดหัวหนักมาก​เส้นประสาทที่อยู่ไกล้หูกระตุกทรมานมาก​ แก้ตามอาการ​ เป็นอยู่​ 3​ วัน​ ได้ซาบซึ้งกับอาการที่ปวด​ เลยรู้ว่าความตายไม่ได้น่ากลัวเท่ากับความทรมาน​

ทุกข์ : ​ที่​ไม่​ชอบความทรมาน​หัวใจเต้นเร็วผิดปกติจิตใจกระสับกระส่าย​

สมุทัยเหตุแห่งทุกข์ : ยึดว่าถ้าปวดหัวธรรมดาไม่ปวดมากจนถึงขั้นทรมานจะสุขใจจะชอบใจพอมีอาการปวดหัวที่รุนแรงมากจนถึงขั้นทรมานก็ทุกข์ใจไม่ชอบใจ​

นิโรธ​ : จะปวดทรมานแค่ไหนก็ไม่ทุกข์ใจยินดีรับยินดีให้หมดไปใจไร้ทุกข์ใจดีงาม​

มรรค : พิจารณาไตรลักษณ์ความทรมานไม่เที่ยงมันเกิดขึ้นตั้งอยู่แล้วดับไป​มันไม่ใช่ตัวเราของเราบังคับไม่ได้พิจารณากรรมใหม่มีกิเลสชอบรูปรสของอาหารและยังเสพตามกิเลสบอกอยู่ทำให้ร่างกายไม่สมดุลโต่งไปทางร้อนพิจารณากรรมเก่าเคยทุบหัวปลาหัวไก่เคยตบที่หัวคนทำให้ต้องมารับวิบากปวดหัวในครั้งนี้ ตั้งจิตขอโทษขออโหสิกรรมจะไม่ทำให้ชีวิตใดต้องมาเจ็บปวดเพราะเราอีก​ชั่วไม่ทำทำแต่ดีที่ทำได้

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *