การบ้าน อริยสัจ 4 (36/2564) [20:22]

640905 การบ้าน อริยสัจ 4 (36/2564)

นักศึกษาสถาบันวิชชารามส่งการบ้าน อริยสัจ 4 ประจำวันที่ 30 สิงหาคม – 5 กันยายน 2564 (อ่านที่มาและรายละเอียดเพิ่มเติมของการบ้าน)

สัปดาห์นี้มีผู้ส่งการบ้านทั้งหมด 20 ท่าน 22 เรื่อง

  1. น.ส ชรินรัตน์ ชุมจีด (น้ำน้อมศีล)
  2. พรพรรณ เอ็ทสเลอร์
  3. รมิตา ซีบังเกิด
  4. พิเชษฐ์ บุญย์วิรุฬห์
  5. นางพรรณทิวา เกตุกลม
  6. นปภา รัตนวงศา
  7. พรพิทย์ สามสี (เพื่อนพิทย์)
  8. รักใจ โปวอนุสรณ์
  9. นางสาวนาลี วิไลสัก (นาดี) (3)
  10. มาลิน จุ้ยทรัพย์เปี่ยม
  11. จิตรา พรหมโคตร (มั่นแก่นพุทธ)
  12. ศิริพร ไตรยสุทธิ์
  13. ภาคภูมิ ยอดปรีดา (สร้างแก่นศีล)
  14. ชลิตา แลงค์
  15. ปิ่น คำเพียงเพชร
  16. สุมา ไชยช่วย
  17. ณ้ฐพร คงประเสริฐ
  18. ศิริพร คำวงษ์ศรี
  19. น.ส จรรญา ชุมจีด (สร้างกลิ่นศีล)
  20. Ruam Ketklom

22 thoughts on “การบ้าน อริยสัจ 4 (36/2564) [20:22]”

  1. น.ส ชรินรัตน์ ชุมจีด (น้ำน้อมศีล)

    ส่งการบ้านอริยสัจ4
    เรื่อง.ทำดี ถูกเข้าใจผิดให้ได้
    เหตุการณ์.เนื่องจากเรื่องที่เพื่อนมาพูดคุยขอคำปรึกษาจากเราตอนที่เพื่อนมีความทุกข์ ทำให้เพื่อนได้เล่าเรื่องที่เพื่อนไปทำผิดศีลมา และเราก็ได้ให้คำปรึกษาให้เขาลดละเลิกแล้วก็บอกวิธีทางที่ดีๆที่เป็นประโยชน์ที่สุดกับผู้ที่เกี่ยวข้อง เท่าที่ได้ตามฐานของเรา และจะรับฟังและแนะนำอย่างเดิมมาตลอด จนเรื่องราวมาถึงตอนที่เพื่อนได้สารภาพผิดกับหมู่กลุ่ม ทำให้หมู่กลุ่มบ้างท่านบอกว่าเรารู้เรื่องราวมาตลอดแล้วทำไมไม่บอกตอนนั้นเลย

    ทุกข์.ทุกข์ใจจากความกลัวโดนถูกเพ่งโทษจากหมู่กลุ่ม

    สมุทัย.อยากได้สภาพดีๆ อยากให้พี่น้องเข้าใจเจตนาของเราและไม่เพ่งโทษจะชอบใจสุขใจเมื่อโดนพี่น้องเพ่งโทษรู้สึกไม่ชอบใจทุกข์ใจ

    นิโรธ.พี่น้องจะเข้าใจหรือไม่เข้าใจ จะมาเพ่งโทษหรือไม่เพ่งโทษก็ยินดีรับไม่ชอบไม่ชัง

    มรรค.ตั้งศีลมาปฏิบัติพิจารณาเห็นไตรลักษณ์ ความวิปลาส ความไม่เที่ยงของอาการกิเลสที่ทำให้เราทุกข์ใจไม่ชอบใจ พิจารณาโทษของกิเลสที่ทำให้ปัญญาดับไม่สามารถจะแก้ปัญหาทุกข์ใจขณะที่มีผัสสะได้ แล้วมาตั้งศีลล้างความชอบชังความยึดมั่นถือมั่น เห็นประโยชน์เมื่อวางใจล้างใจได้จึงทำให้มีปัญญารู้เท่าทันกิเลสและออกจากทุกข์นั้นได้ตามลำดับค่ะ
    และได้ใช้บททบทวนธรรมข้อที่ 143 มาพิจารณาร่วมด้วย คือ ทำดีถูกด่าให้ ถูกแกล้งให้ได้ ถูกนินทาให้ได้ ถูกว่าให้ได้ ถูกเข้าใจผิดให้ได้ ถูกทำไม่ดีสารพัดเรื่องให้ได้ เพราะเราทำมาทั้งนั้น เราห้ามความคิดใครไม่ได้ แต่ห้ามความคิดตัวเองได้ ทำดีไม่มีถือสาไปเรื่อยๆ ไม่โทษใครใจไร้ทุกข์ค่ะ

    สรุปว่า.สิ่งที่กลัวและคิดว่าเราล้างได้แล้ว แต่พอเมื่อวานได้มีการประชุมหมู่กลุ่มพูดถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้น ได้มีพี่ท่านนึงได้ถามอาจารย์ว่า คนที่รับรู้เรื่องราวมาก่อนคนอื่นและเอ่ยชื่อเรากับพี่อีกท่านนึง ว่าต้องรับวิบากอะไรหรือต้องโดนอะไรรึปล่าว อาจารย์ก็เมตตาได้ตอบคำถามให้สัมมาทิฏฐิกับทุกท่าน และจึงได้มาตรวจใจดูว่าเราทุกข์มั้ย ก็รู้ว่ายังมีความทุกข์อยู่ แต่มาเปรียบเทียบกับเมื่อก่อน ก่อนได้มาเจออาจารย์ถ้าเจอเหตุการณ์อย่างนี้ อาการทางกาย คือหัวใจจะเต้นแรงมาก มือไม้สั่น ใจก็จะทุกข์มากและจมอยู่ความทุกข์นั้นอยู่หลายวัน แต่ครั้งนี้ตรวจใจตัวเองว่าลดลงได้มากค่ะและเข้าใจชัดถึงวิบากกรรม มองทุกอย่างกลับมาหาตัวเองก่อนและแก้ไขส่วนพร่อง ไม่โทษใครใจไร้ทุกข์จริงๆค่ะ สาธุค่ะ

  2. พรพรรณ เอ็ทสเลอร์

    ทุกขอริยสัจ 4

    เรื่อง เลื่อนการกลับเมืองไทย
    วันนี้เพื่อนมาเยี่ยม และได้นำผักที่พวกท่านได้ปลูกเองในสวนมาแบ่งปันให้ด้วย จากนั้นก็ได้ร่วมกันรับประทานอาหารเช้าร่พร้อมทั้งเข้าห้องเรียนอริยสัจ 4 ร่วมกับพี่น้องผ่านซูมไปพร้อม ๆ กัน

    หลังจากห้องเรียนอริยสัจ 4 จบลงไปแล้วพวกเราก็ได้ปรึกษาหารือกันว่าจะกลับเมืองไทยเดือนพฤศจิกายน นี้ไหมหรือว่าพวกเราจะเลื่อนออกไปก่อนเพราะช่วงนี้วิกฤตโควิดที่เมืองไทยก็กำลังระบาดอย่างหนัก

    เพื่อนท่านหนึ่งท่านบอกว่าน่าจะเลื่อนออกไปเพราะว่าพ่อบ้านท่านขอร้องว่าน่าจะกลับปีหน้า (2565) เหตุการณ์ต่าง ๆ ก็น่าจะคลี่คลายลงกว่านี้ ซึ่งท่านก็เห็นด้วยกับพ่อบ้านของ พอพี่น้องท่านนั้นกล่าวจบก็ใจหายวูบทันที หน้าร้อนผ่าว และรู้สึกเสียดายที่เพื่อนไม่สะดวกที่จะกลับภายในเดือนพฤศจิกายน นี้เพราะพวกเราตั้งใจว่าจะบินกลับพร้อมกัน

    ทุกข์ : ใจแป้ว และเสียดายที่เพื่อนไม่สะดวกจะบินกลับเมืองไทยภายในปีนี้

    สมุทัย : อยากจะให้เพื่อนบินกลับเมืองไทยพร้อมกันในเดือนตุลาคมนี้ ถ้าเพื่อนไม่สามารถบินกลับเมืองไทยพร้อมกับตัวเองจะทุกข์ใจ

    นิโรธ: ถึงแม้เพื่อนจะไม่สามารถบินกลับเมืองไทยได้ภายในเดือนพฤศจิกายน นี้ก็จะไม่ทุกข์ใจ

    มรรค : กิเลสความอยากได้อย่างใจของตัวเอง และอยากได้ในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ มันทำให้ทุกข์ ซึ่งมันไม่ใช่สมบัติของตัวเองในเวลานั้น อยากได้อย่างไรก็ไม่ได้ เหมือนท่านอาจารย์หมอเขียวท่านกล่าวไว้ว่า “อย่าไปอยากได้ในสิ่งที่ไม่ใช่สมบัติของเราในเวลานั้นเพราะมันจะทำให้เป็นทุกข์ และทำให้เบียดเบียนตัวเอง ซึ่งมันผิดศีลข้อ 1 ด้วย”

    ทุกข์ที่เกิดขึ้นถึงแม้ว่าจะเป็นเพียงเสี้ยววินาที ทำให้ตัวเองจับทุกข์ได้ แต่มันก็กินพลังทำให้เสียพลัง และเป็นการเบียดเบียนตัวเองด้วย พอคิดได้เช่นนั้นก็เลยคิดว่า ถ้าเราจะบินกลับคนเดียวเราก็กลับได้ แต่ว่าหากบินกลับกับเพื่อนก็ดีกว่ากลับคนเดียวอย่างน้อยก็มีเพื่อนเดินทางและอบอุ่นใจมากกว่า เลยบอกกับตัวเองว่าไม่เป็นไร รอกลับปีหน้าพร้อมเพื่อนเราดีกว่า เพราะพี่น้องทางเมืองไทยท่านก็คงไม่สบายใจเช่นกัน หากตัวเองต้องกลับในช่วงที่โรคไวรัสกำลังระบาดเหมือนในขณะนี้

    พอคิดได้เช่นนั้นก็เห็นใจเริ่มผ่อนคลาย โล่ง โปร่ง เบาสบาย อย่างเห็นได้ชัด ทุกข์ที่มีก็หายสิ้นเกลี้ยงภายในพริบตาเลยค่ะ สาธุ

    ขอบพระคุณเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ทำให้ตัวเองได้เห็นกิเลสที่ยังหลงเหลืออยู่ภายในและได้ล้างทุกข์นั้นได้ทัน ค่ะ

  3. รมิตา ซีบังเกิด

    รมิตา ซีบังเกิด
    เรื่อง : ปัญหาแก้ไขได้ด้วยธรรม
    เหตุการณ์: ช่วงนี้กิจกรรมแพทย์วิถีธรรมมีหลายอย่างที่ต้องเข้าร่วมรายการ ทำให้ไม่ค่อยมีเวลาดูแลสวนยาง ลูกจ้างจึงทำงานบกพร่องหลายอย่าง รายได้จึงไม่ค่อยได้รับเท่าที่ควรจะได้ ลูกจ้างก็เป็นลูกศิษย์ จะตำหนิแรงๆก็สงสาร แต่ถ้าปล่อยไปเรื่อยๆงานก็จะเสียหายเหมือนกัน จึงตัดสินใจให้มาหาที่บ้านเพื่อตกลงงานว่าจะแก้ปัญหาอย่างไรได้
    ทุกข์ : อยากให้ลูกจ้างทำงานได้ดีตามที่ได้ตกลงกันไว้
    สมุทัย : ชอบเมื่อลูกจ้างทำงานดี ชังเมื่อลูกจ้างทำงานได้ไม่ดี
    นิโรธ : ลูกจ้างจะทำงานได้ดีหรือไม่ก็ไม่ชอบไม่ชังเพราะยึดหลักธรรม
    มรรค : เมื่อพอจะมีเวลาว่างจากกิจกรรมแพทย์วิถีธรรม จึงเข้าไปดูแลสวนยางพารา ปรากฎว่าลูกจ้างไม่ค่อยได้กรีดยาง ทั้งที่ฝนก็ไม่ได้ตกจนกรีดไม่ได้ แต่กลับไปทำงานรับจ้างอย่างอื่นแทน งานส่วนที่เกี่ยวกับสวนก็บกพร่องหลายอย่าง จึงโทรให้มาแก้ไขแต่ก็ทำไม่ทัน เพราะทำงานหลายอย่างในเวลาเดียวกัน เกิดความอึดอัดใจว่าจะเอาอย่างไรดี จะให้ออกก็รุนแรงไป แต่ถ้าปล่อยแบบนี้เรื่อยๆก็ไม่ได้แน่นอน จึงตัดสินใจให้มาหาเพื่อพูดตกลงให้แน่นอนว่าจะเอาย่างไรที่เขาก็ไม่เดือดร้อน งานเราก็ไม่เสียหาย ทั้งนี้ทั้งนั้น เราก็ต้องยึดหลักของความเมตตา กรุณาเป็นที่ตั้ง แต่จะวางเฉยในเรื่องงานก็คงไม่ได้ จะวางเฉยได้เฉพาะเรื่องที่มีทุกข์อึดอัดใจและความอยากได้ดั่งใจของเราเท่านั้น ดังบททบทวนธรรมข้อที่ 82 ว่า “จึงฝึกอยู่กับความจริงของชีวิต ทีพร่องอยู่เป็นนิตย์ อย่างผาสุกให้ได้”
    ลูกจ้างมาพบได้พูดคุยกันด้วยเหตุผล หาข้อบกพร่องและปัญหาที่เกิดขึ้น จนเข้าใจว่ามีสาเหตุเกิดจากอะไร และควรแก้ไขอย่างไร โดยไม่มีคำตำหนิและโกรธเคืองกัน เป็นที่เข้าใจอย่างดี ถ้าเราใช้แต่อารมณ์และความอยากให้ได้ดั่งใจเรื่องคงไม่จบลงอย่างราบรื่นแน่นอน ดังนั้นการได้นำหลักคำสอนของครู อาจารย์มาใช้ สามารถแก้ปัญหาคลายความวิตกได้เป็นอย่างดี

  4. พิเชษฐ์ บุญย์วิรุฬห์

    เรื่อง ทุกข์กายแต่ไม่จำเป็นต้องทุกข์ใจ

    ช่วงสัปดาห์สุดท้ายของเดือนสิงหาคม ผมต้องอดทนกับความเจ็บปวดและอึดอัดรำคาญในช่องปากเป็นอย่างมาก เนื่องจากปัญหาสองเรื่องพร้อม ๆ กันคือ หนึ่ง กัดโดนเนื้อในกระพุ้งแก้มตัวเองระหว่างเคี้ยวอาหารจนเป็นแผลใหญ่ในปาก สอง วัสดุอุดฟันแตกทำให้เกิดหลุมขนาดใหญ่ที่ฟันกรามซี่บน เวลากินอาหารจะมีเศษอาหารเข้าไปอุดอยู่ในหลุมนั้นทุกครั้ง และเอาออกยากมาก ด้วยเหตุสองอย่างนี้ที่เกิดขึ้นในเวลาใกล้เคียงกัน ทำให้ทุกครั้งที่กินอาหารผมจะได้รับความยากลำบากพอสมควร คือทั้งเจ็บแผลที่กระพุ้งแก้มและอึดอัดรำคาญที่มีเศษอาหารติดอยู่ในหลุมอุดฟันที่แตกไปแล้ว

    ทุกข์ – ทุกข์ทางกายคือ ความเจ็บปวดที่แผลในกระพุ้งแก้มและความยากลำบากในการพยายามเอาเศษอาหารออกจากหลุมอุดฟันที่แตก ส่วนทุกข์ทางใจหรือทุกข์อริยสัจคือ อึดอัดรำคาญใจกับอาการทางกายที่เกิดขึ้น รู้สึกเหนื่อยหน่ายกับความทุกข์ทรมานในช่องปากที่เกิดขึ้นเป็นระยะ ๆ ทั้งจากครั้งนี้และครั้งก่อน ๆ ที่ผ่านมา

    สมุทัย – เหตุแห่งทุกข์ทางกายคือ การกัดปากตัวเองและการเคี้ยวอาหารจนที่อุดฟันแตก ส่วนเหตุแห่งทุกข์ทางใจ หรือทุกขสมุทัยคือ ความอยากได้สภาพดี ๆ ตลอดเวลา อยากให้ช่องปากมีความสบาย ไม่เจ็บ ไม่ปวด ไม่มีความอึดอัดขัดข้องใด ๆ ทั้งเวลากินอาหารและเวลาพูด

    นิโรธ – สภาพดับทุกข์คือ ความไม่อยากในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เป็นสภาพที่หมดจากความอยากแบบยึดมั่นถือมั่นว่า ต้องได้สภาพดี ๆ ตลอดเวลาเท่านั้นจึงจะสุขใจ หรือสภาพในช่องปากจะสบายหรือไม่สบายก็ไม่ทุกข์ใจ

    มรรค – ทบทวนคำสอนของพระพุทธเจ้าเรื่องทุกข์ที่เลี่ยงไม่ได้กับทุกข์ที่เลี่ยงได้ แยกแยะให้ชัดเจนก่อนว่าอะไรเป็นทุกข์ที่เลี่ยงไมได้ ในเหตุการณ์นี้ ความทุกข์ทางกายที่เกิดขึ้นนั้น มันคือทุกข์ที่เลี่ยงไม่ได้ มันเกิดขึ้นแล้วตามเหตุปัจจัยคือการกัดปากตัวเองและวัสดุอุดฟันแตก เมื่อมันเกิดขึ้นแล้วก็เป็นเหตุให้เราได้รับความทุกข์ทรมานทางกายเป็นธรรมดา เราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงความจริงข้อนี้ได้ สิ่งที่เราทำได้มีเพียงการอดทนและดูแลรักษา ฟื้นฟูให้มันดีขึ้น เท่าที่เราจะทำได้เท่านั้น

    ส่วนทุกข์ที่เลี่ยงได้คือ ทุกข์ใจ เป็นความรู้สึกอึดอัดรำคาญใจกับสภาพในช่องปากที่มันเกิดขึ้น เราสามารถพิจารณาความจริงตามความเป็นจริงจนมันจางคลายและสลายหายไปได้ ด้วยหลักอริยสัจสี่ตามที่ครูบาอาจารย์ได้สอนไว้

    ในครั้งนี้ผมใช้วิธีพิจารณาให้เห็นถึงเหตุที่แท้จริงของความทุกข์ใจว่า มันคือความอยากแบบยึดมั่นถือมั่นของเราเอง ที่ไปยึดว่าเราต้องได้สภาพดี ๆ เท่านั้นจึงจะสุขใจ หรือเราต้องมีช่องปากที่สบายตลอดเวลาเท่านั้นจึงจะพอใจ ซึ่งโดยสัจจะแล้วมันเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ทุกคนเกิดมาย่อมมีความเจ็บป่วยเป็นธรรมดา ต้องพบกับสภาพที่มันเป็นทุกข์ที่เลี่ยงไม่ได้ในเรื่องนั้นบ้าง เรื่องนี้บ้างเป็นธรรมดา เมื่อได้พิจารณาจนเห็นจริงตามสัจจะแล้ว ความยึดมั่นถือมั่นก็คลายลง ความอยากที่จะเอาแต่สภาพดี ๆ อย่างเดียวก็เบาบางลง ยอมรับความเจ็บปวดและความยากลำบากที่เกิดขึ้นได้ด้วยความยินดี ทุกข์ก็หายไป

  5. นางพรรณทิวา เกตุกลม

    เรื่อง อย่างนี้ก็มี
    เหตุการณ์ : จากการที่ได้ให้คำแนะนำการทำอาหารในค่ายแพทย์แผนไทยช่วยไทยด้วยการส่งภาพเมนูอาหารและวิธีทำเพื่อเป็นตัวอย่างให้ทีมครัวของแต่ละชุมชนได้ทำอาหาร เป็นไปได้ด้วยดี แต่รู้สึกขุ่นใจเล็กๆเมื่อมีผู้ที่นำภาพเมนูอาหารและส่วนผสม วิธีทำ ทำโน้ตลงเฟส สื่อสารออกไปแบบผิดๆ

    ทุกข์ : รู้สึก ขุ่นใจเล็กๆ ที่เขาสื่อข้อมูลผิด

    สมุทัย : เราหลงยึดมั่นถือว่าเขาจะสื่อสิ่งที่ถูกต้องออกไป ชอบถ้าเขาสื่อสิ่งที่ถูก แต่เขาส่งไปแบบผิดๆ
    จึงไม่ชอบ

    นิโรธ : แม้เขาจะสื่อไปแบบผิดๆหรือถูก ก็ไม่ชอบ ไม่ชัง

    มรรค : วางความยึดมั่นถือมั่นแล้วมาปรับใจตัวเองว่าเราจะขุ่นใจทำไม เมื่อได้ทำดีเต็มที่แล้วเราก็สุขเต็มที่ได้แล้ว ส่วนคนอื่นที่เอาไปสื่อสารต่อแบบผิดๆ มันก็ไม่ใช่ความผิดของเราๆจะขุ่นใจไปทำไม แล้วพิจารณาล้างใจด้วยการใช้บททบทวนธรรมมาช่วยพิจารณาคือข้อที่ 84 ว่า”ล้างความยึดมั่นถือมั่นของใจได้สำเร็จคือ ความสำเร็จที่แท้จริง” หลังจากพิจารณาแล้วความรู้สึกขุ่นใจก็หายไป ใจเราก็กลับมาผาสุกอย่างเคย ส่วนเขาจะเอาข้อมูลของเราสื่อออกไปผิดๆก็อยู่ที่ตัวเขาเอง เราไปควบคุมเขาไม่ได้ ไม่มีโอกาสบอกข้อมูลที่ถูกแก่เขา จึงหันมาวางใจที่เราดีที่สุด
    สรุป พอเราวางความยึดมั่นถือมั่นลงได้ใจเราก็ผาสุก

  6. นปภา รัตนวงศา

    เรื่อง กิเลสดีใจ

    เหตุการณ์ ตอนนี้ได้ฝึกบำเพ็ญ เป็นพิธีกรร่วม ในรายการ “ค่ายสุขภาพพึ่งตน วิถีธรรมวิถีไทย” น้องโทรมาแจ้งว่า “วันนี้ไม่สะดวก พี่จัดคนเดียวหรือหาใครช่วยได้ไหม”
    กิเลสดีใจ หลังแจ้งให้ผู้รับใช้ภาคทราบ ท่านคงจะหาคนอื่นหรือ พี่น้องคู่อื่นมาทำรายการแทน แต่เมื่อท่านแจ้งมาว่า เดี่ยวน้อง…ช่วยครับ
    จึงมีอาการ ทุกข์ใจเล็กๆที่ยังต้องจัดรายการต่อ

    ทุกข์ ขุ่นใจเล็กๆ ที่ยังต้องจัดรายการต่อ

    สมุทัย ชอบใจถ้าไม่ต้องจัดรายการ มีท่านอื่น หรือคู่อื่นมาจัดรายการแทน ชอบที่ได้จัดรายการกับน้องที่ใจต้องการ ไม่ชอบใจที่ต้องจัดรายการ ไม่มีพิธีกรท่านอื่นมาทำงานแทน ไม่ชอบที่ไม่ได้จัดรายการกับน้องที่ใจต้องการ

    นิโรธ จะยังได้เป็นหรือไม่ได้เป็นพิธีกรร่วม จะมีพิธีกรคู่อื่นมาจัดรายการแทน หรือได้จัดรายการร่วมกับพิธีกรท่านไหนก็ยินดี พอใจ เต็มใจ สุขใจให้ได้

    มรรค ตั้งศีลมาพิจารณาไตรลักษณ์ ความวิปลาส ความยึดมั่นถือมั่นว่า ถ้ายังได้จัดรายการร่วมกับน้องที่เคยจัดมาจะดี เพราะเริ่มจะลื่นไหล รับส่งกันได้มากขึ้น ได้พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันหลังจบรายการ เริ่มปรับตัวได้บ้างแล้ว ถ้าจัดร่วมกับคนอื่นที่ไม่เคยทำงานร่วมกันก็ต้องมาปรับตัว ปรับจิตปรับใจอีก กลัวความไม่ลื่นไหล กลัวพลาด กลัวพร่อง กิเลสเอาทุกข์มาขู่ ซึ่งเหมือนจริงแต่ไม่จริง ในโลกนี้พร่องอยู่เป็นนิตย์ ทุกอย่างมีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไปเป็นธรรมดา จะพลาดจะพร่องก็ดีแล้ว มีใครบ้างที่ไม่เคยพลาดแม้แต่พระพุทธเจ้า ไม่วันใดก็วันหนึ่งทุกคนก็ต้องมีความจำเป็น ก็ต้องพร้อมรับพร้อมปรับ พร้อมเปลี่ยนตลอดเวลาให้ได้ เมื่อใจเป็นทุกข์แม้จะเล็กน้อยมาก ก็รู้ว่าผิดทางพุทธะแล้ว ก็มาวิปัสสนาใหม่ว่า โชคดีที่สุดแล้วที่ได้ฝึกฝนการหัดทำงานพิธีกรร่วม จะได้ออกจากความกลัวการพูดคุยในที่สาธารณะเสียที ได้จัดร่วมกับท่านอื่นก็ดีแล้ว ได้ออกจากความยึดมั่นถือมั่นว่าท่านนี้เท่านั้น จะจัดกับท่านใดก็ได้ แสดงว่าณ.เวลานั้นวิบากดีร้ายของเรา ของโลกจัดสรรให้ดีที่สุดแล้วทุกอย่างอยู่ที่เรา ที่ใจเรา ทำให้ดีที่สุด ตามภูมิปัญญาตัวเองที่มี ส่วนที่เหลือเราอยู่ในหมู่มิตรดี มีพี่น้องทั่วโลก มีท่านอาจารย์ที่พร้อมจะช่วย มาฝึกถ้าไม่ฝึกแล้วเมื่อไหร่จะทำได้ แล้วจะกังวลไปทำไมให้ทุกข์
    ใช้บททบทวนธรรมข้อที่ 33″ทำดีเต็มที่ทุกวัน ก็สุขใจเต็มที่ได้ทุกวัน ได้เท่าไหร่พอใจเท่านั้น พอใจเมื่อไหร่ ก็สุขใจเมื่อนั้น”

    สรุป หลังพิจารณาแล้วใจโปร่งโล่ง เบา สบายถ้าเป็นเมื่อก่อนคงจะทุกข์ใจ ไม่พอใจอย่างมาก แต่เมื่อวางใจ ยินดี พอใจ เต็มใจรับในสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะดีจะร้ายด้วยใจไร้ทุกข์ โชคดีที่สุดแล้วที่พี่น้องไว้วางใจให้ลองจัดรายการดู ก็ดีมากแล้ว หลังจากวางใจก็ได้จัดรายการกับน้องอีกท่านที่ใจอยากร่วมบำเพ็ญด้วย ซึ่งก็ผ่านไปด้วยความเรียบร้อยตามภูมิที่มี ซึ่งก็ดีที่สุดแล้ว..สาธุ

    1. นปภา รัตนวงศา

      เรื่อง กิเลสดีใจ

      เหตุการณ์ ตอนนี้ได้ฝึกบำเพ็ญ เป็นพิธีกรร่วม ในรายการ “ค่ายสุขภาพพึ่งตน วิถีธรรมวิถีไทย” น้องโทรมาแจ้งว่า “วันนี้ไม่สะดวก พี่จัดคนเดียวหรือหาใครช่วยได้ไหม”
      กิเลสดีใจ หลังแจ้งให้ผู้รับใช้ภาคทราบ ท่านคงจะหาคนอื่นหรือ พี่น้องคู่อื่นมาทำรายการแทน แต่เมื่อท่านแจ้งมาว่า เดี่ยวน้อง…ช่วยครับ
      จึงมีอาการ ทุกข์ใจเล็กๆที่ยังต้องจัดรายการต่อ

      ทุกข์ ขุ่นใจเล็กๆ ที่ยังต้องจัดรายการต่อ

      สมุทัย ชอบใจถ้าไม่ต้องจัดรายการ มีท่านอื่น หรือคู่อื่นมาจัดรายการแทน ชอบที่ได้จัดรายการกับน้องที่ใจต้องการ ไม่ชอบใจที่ต้องจัดรายการ ไม่มีพิธีกรท่านอื่นมาทำงานแทน ไม่ชอบที่ไม่ได้จัดรายการกับน้องที่ใจต้องการ

      นิโรธ จะยังได้เป็นหรือไม่ได้เป็นพิธีกรร่วม จะมีพิธีกรคู่อื่นมาจัดรายการแทน หรือได้จัดรายการร่วมกับพิธีกรท่านไหนก็ยินดี พอใจ เต็มใจ สุขใจให้ได้

      มรรค ตั้งศีลมาพิจารณาไตรลักษณ์ ความวิปลาส ความยึดมั่นถือมั่นว่า ถ้ายังได้จัดรายการร่วมกับน้องที่เคยจัดมาจะดี เพราะเริ่มจะลื่นไหล รับส่งกันได้มากขึ้น ได้พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันหลังจบรายการ เริ่มปรับตัวได้บ้างแล้ว ถ้าจัดร่วมกับคนอื่นที่ไม่เคยทำงานร่วมกันก็ต้องมาปรับตัว ปรับจิตปรับใจอีก กลัวความไม่ลื่นไหล กลัวพลาด กลัวพร่อง กิเลสเอาทุกข์มาขู่ ซึ่งเหมือนจริงแต่ไม่จริง ในโลกนี้พร่องอยู่เป็นนิตย์ ทุกอย่างมีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไปเป็นธรรมดา จะพลาดจะพร่องก็ดีแล้ว มีใครบ้างที่ไม่เคยพลาดแม้แต่พระพุทธเจ้า ไม่วันใดก็วันหนึ่งทุกคนก็ต้องมีความจำเป็น ก็ต้องพร้อมรับพร้อมปรับ พร้อมเปลี่ยนตลอดเวลาให้ได้ เมื่อใจเป็นทุกข์แม้จะเล็กน้อยมาก ก็รู้ว่าผิดทางพุทธะแล้ว ก็มาวิปัสสนาใหม่ว่า โชคดีที่สุดแล้วที่ได้ฝึกฝนการหัดทำงานพิธีกรร่วม จะได้ออกจากความกลัวการพูดคุยในที่สาธารณะเสียที ได้จัดร่วมกับท่านอื่นก็ดีแล้ว ได้ออกจากความยึดมั่นถือมั่นว่าท่านนี้เท่านั้น จะจัดกับท่านใดก็ได้ แสดงว่าณ.เวลานั้นวิบากดีร้ายของเรา ของโลกจัดสรรให้ดีที่สุดแล้วทุกอย่างอยู่ที่เรา ที่ใจเรา ทำให้ดีที่สุด ตามภูมิปัญญาตัวเองที่มี ส่วนที่เหลือเราอยู่ในหมู่มิตรดี มีพี่น้องทั่วโลก มีท่านอาจารย์ที่พร้อมจะช่วย มาฝึกถ้าไม่ฝึกแล้วเมื่อไหร่จะทำได้ แล้วจะกังวลไปทำไมให้ทุกข์
      ใช้บททบทวนธรรมข้อที่ 33″ทำดีเต็มที่ทุกวัน ก็สุขใจเต็มที่ได้ทุกวัน ได้เท่าไหร่พอใจเท่านั้น พอใจเมื่อไหร่ ก็สุขใจเมื่อนั้น”

      สรุป หลังพิจารณาแล้วใจโปร่งโล่ง เบา สบายถ้าเป็นเมื่อก่อนคงจะทุกข์ใจ ไม่พอใจอย่างมาก แต่เมื่อวางใจ ยินดี พอใจ เต็มใจรับในสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะดีจะร้ายด้วยใจไร้ทุกข์ โชคดีที่สุดแล้วที่พี่น้องไว้วางใจให้ลองจัดรายการดู ก็ดีมากแล้ว หลังจากวางใจก็ได้จัดรายการกับน้องอีกท่านที่ใจอยากร่วมบำเพ็ญด้วย ซึ่งก็ผ่านไปด้วยความเรียบร้อยตามภูมิที่มี ซึ่งก็ดีที่สุดแล้ว..สาธุ

  7. พรพิทย์ สามสี (เพื่อนพิทย์)

    เรื่อง : เล่นโทรศัพท์
    ช่วงวันสองวันนี้ เราได้ไปซื้อของมาขาย ตอนขาไปไปรถแท๊กซี ตอนขากลับเราจะกลับกับรถไฟ พอเลือกของเสร็จ ก็บอกลูกน้องร้านนั้นว่า ช่วยรีบทำบิลให้หน่อยนะ ถ้าไม่ทันรถไฟเที่ยวนั้นก็จะลำบากอยู่ เพราะต้องย้อนกลับไปที่รถแท๊กซี่ ด้วยสถานะการณ์โควิด 19 รถแท๊กซี่ก็เพิ่งเปิดวิ่งเมื่อวันที่ 1 ก.ย 64 และผู้สารก็มีน้อย หรืออาจไม่มีเลย ถ้าเราไม่มีทางเลือก เราก็ต้องจ่ายค่าแท๊กซี่เพิ่มมากขึ้น เราจึงต้องเลือกทางรถไฟ ซึ่งจะประหยัดค่าใช้จ่ายมากกว่าแท๊กซี่ จึงได้พูดย้ำกับลูกน้องร้านนั้นอีกครั้งว่า ขออภัยนะช่วยรีบทำบิลให้หน่อยนะ ปัาจะไม่ทันรถไฟ ตอนนั้นไม่มีลูกค้าคนอื่นนอกจากเรา ลูกน้องคนนั้นก็ว่างอยู่ เขานั่งเล่นโทรศัพทเฉย เราก็ชักฉุน
    ทุกข์ : ไม่รีบเขียนบิลให้
    สมุทัย : ชอบที่จะให้รีบเขียนบิลให้ด่วน ชังที่ไม่ใส่ใจต่อคำพูดลูกค้าที่ร้องขอความเห็นใจ
    นิโรธ : เขาจะเขียนบิลช้า เร็ว ใส่ใจ ไม่ใส่ใจ ยินดี พอใจ ไม่ชอบไม่ชัง
    มรรค : กิเลส : ไม่พอใจลูกน้องร้านนั้น จึงพูดไปว่า เอาเงินมาซื้อของ แต่ต้องมาขอโทษ ขออภัย เกือบหลายครั้งแล้วนะ เรา : ก็บอกกิเลสไปว่า ที่แกไม่ได้รับความสะดวกสบายนะ

    ก็แกทำมาไม่ใช่หรือ เงาของแก ดีแล้วจะได้ใช้วิบาก คนที่ไม่มีปัญหาคือคนทีซวยที่สุดในโลก
    บททบทวนธรรม ๘
    สิ่งที่เราได้รับ คือสิ่งที่เราทำมา
    ไม่มีสิ่งใดที่เราได้รับ โดยที่เราไม่เคยทำมา
    บททบทวนธรรม ๔๒
    ยินดีในความไม่ชอบไม่ชัง
    ได้พลังสุด ๆ ได้สุขสุด ๆ
    ยินดีในความชอบชัง
    เสียพลังสุด ๆ ได้ทุกข์สุด ๆ
    แล้วกิเลสเขาก็ยอมเชื่อฟังบ้างแต่ยังไม่หมด
    ค่อยพากเพียรล้างต่อไป

  8. รักใจ โปวอนุสรณ์

    เรื่อง น้อยใจที่แม่เลือกน้อง
    เหตุการณ์เกิดขึ้น วันที่ 15 สค ที่ผ่านมา วันดังกล่าวนัดแนะกับแม่ว่าจะพาเค้าไปหาหมอฟัน เหมือนในครั้งก่อนๆ ที่เราพาเค้าไป เวลานัดคือ เที่ยงวัน ฉะนั้น เราจึง รีบรับประทานอาหาร และ รีบร้อนทำกิจธุระส่วนตัว เพื่อจะเตรียมตัวเดินทางไป แต่พอเดินมาถึงที่รถ แม่บอก น้องจะพาไป เราเลยงง และ อดน้อยใจว่า นัดแนะกันมาอย่างดี แล้ว มาเปลี่ยนแปลงกระทันหัน แบบตั้งตัวไม่ติด

    ทุกข์ – น้อยใจ จากเหตุการณ์
    สมุทัย – ยึดติดว่า แม่ต้องไปกับเรา ยึดว่า ตกลงกันเรียบร้อยมั่นเหมาะแล้ว จะไม่เปลี่ยนแปลง
    นิโรธ – เบาใจ หลังจาก พิจารณา และ พูดคุยกับแม่อย่างตรงไปตรงมา
    มรรค – พิจารณา ถึงสาเหตุ คือ การยึดมั่น ถือมั่น ว่า แม่เค้ามีสิทธิ์เลือก จะไปกับคนอื่นได้ ไม่จำเป็นต้อง ไปกับเรา เราอย่าทำตัวเป็น “ขโมย “ ไปยึดว่า เค้า เป็นของเรา และ ต้อง ทำอย่างที่เราต้องการ เค้าไปกับใคร รูปแบบใด ก็ได้ ถ้า ผลลัพธ์คือ สุขภาพฟันของเค้าดีขึ้น ก็คือสิ่งที่เราควรยินดี และ ขยันหมั่น พิจารณาแบบนี้ ความขุ่นหมองในจิต ก็ค่อยๆ จางไป

  9. นางสาวนาลี วิไลสัก (นาดี)

    4/9/2564
    ชื่อ น้องสีอำไพ วิไลสัก(ปุ้ย) อายุ 7 ขวบ
    นักเรียนวิชชารามภาคสมทบ

    เรื่อง : เห็นทุกข์จึงเลิกกินไข่

    เหตุการณ์ : น้องปุ้ยลดการกินไข่มาได้ประมาณเดือนกว่าแล้ว แต่วันนั้นพลาดผิดศีลไปกินไข่ พอตกเย็นก็เลยเป็นไข้อย่างแรง 4 วัน

    ทุกข์ : ใจไม่เบิกบาน กินไข่แล้วนอนป่วยหลายวัน

    สมุทัย : อยากหายป่วยเร็วๆ

    นิโรธ : ไม่เร่งผล เพราะเราผิดศีลมา ยินดีใช้วิบาก ใจจะเบิกบาน

    มรรค : ที่ป่วยอยู่ตอนนี้ก็เพราะเราผิดศีล ถ้ายังกินไข่ต่อไปอาจจะป่วยหนักกว่านี้ พอวันที่ 4 น้องปุ้ยก็สารภาพบาปกับหมูมิตรดี และตั้งศีลเลิกกินไข่ด้วยใจเบิกบาน อาการป่วยก็ลดลงๆ และหายไปภายในวันนั้นเลยค่ะ

  10. นางสาวนาลี วิไลสัก(นาดี)

    4/9/2564
    ชื่อ น้องถนอม วิไลสัก อายุ 9 ขวบ
    นักเรียนวิชชารามภาคสมทบ

    เรื่อง : ลดการกินผงชูรส

    เหตุการณ์ : จากที่หนูได้ฟังลุงหมอเขียวแล้วก็เชื่อว่าการกินผงชูรสไม่ดี เป็นโทษต่อสุขภาพ และเห็นแม่เลิกกินผงชูรส หนูก็อยากเลิกตามแต่กิเลสไม่ยอมให้เลิก

    ทุกข์ : ใจไม่แช่มชื่น กินผงชูรสแล้วเวียนหัวจะอาเจียน

    สมุทัย : ชอบถ้ากินผงชูรสแล้วไม่ป่วย ชังทีกินผงชูรสแล้วไม่สบาย

    นิโรธ : ตั้งศีลเลิกกินผงชูรสใจจะเบิกบาน และหายป่วยด้วย

    มรรค : ใจที่ติดผงชูรสเป็นกิเลส จะพาให้เราป่วย เป็นทุกข์ ลุงหมอเขียวสอนว่าวิบากร้ายเอาโควิด -19 มาไล่ล่าคนทีเสพกิเลสทุกวินาที งั้นหนูจะลดกิเลส ลดการกินผงชูรส ให้เหลือสัปดาห์ละ 3 ครั้ง และจะใส่น้อยที่สุด สาธุค่ะ

  11. มาลิน จุ้ยทรัพย์เปี่ยม

    เรื่อง กลัวจะหายไป

    เนื่องจากช่วงนี้ มีงานบำเพ็ญตามนโยบายอ.หมอเขียว เลยทำให้รายการการบ้านอริยสัจภาคกลาง เลื่อนไป ไม่ได้ทำมาแล้ว 1 ครั้ง ตรวจดูตัวเองพบว่าไม่ได้ทุกข์ ห่อเหี่ยวเหมือนแต่ก่อน แต่มีจิต คิดวนกลับไปกลับมา หลายรอบอยู่ คิดถึงถ้าสถานการณ์เลวร้ายสุด รายการนี้ไม่มี จะเป็นอย่างไร

    ทุกข์ กังวลใจ กลัวไม่มีรายการนี้ของภาคกลาง กลัวไม่ได้ทำการบ้านอริยสัจ กลัวกิจกรรมนี้จะหายไปจากภาคกลาง

    สมุทัย อยากจะให้มีรายการนี้ อยากให้พี่น้องยังร่วมทำกิจกรรมนี้อยู่

    นิโรธ จะมีหรือไม่มีรายการนี้ ก็ไม่ทุกข์ใจ

    มรรค ค้นหาว่าตัวเองยึดอะไร ถ้าไม่มีรายการนี้ในภาคกลาง เราก็ไปรวมหมู่กับหมู่ใหญ่อยู่ดี หรือแม้แต่หมู่ใหญ่ไม่มี ถ้าเรายังทำอยู่ เราก็จะได้เอง ไม่มีใครเอาไป การบ้านอริยสัจคือสัจจะยังอยู่กับเรา แม้ว่าเรารู้ว่าสิ่งนี้เป็นสิ่งดี ณ วินาทีนั้น เราไม่ได้ทำ ก็แสดงว่าไม่ใช่สมบัติของเรา ยอมรับและพากเพียรต่อไป

  12. จิตรา พรหมโคตร (มั่นแก่นพุทธ)

    เรื่อง ไม่ชอบกลิ่นลูกเหม็น

    เนื้อเรื่อง ขณะกำลังทำโยคะอยู่หน้าบ้าน ได้กลิ่นลูกเหม็นที่เพื่อนข้างบ้านให้พ่อบ้านนำมาใส่ในกล่องรีโมทประตูเพื่อดับกลิ่นแมวตาย รู้สึกไม่ชอบแต่ก็สามารถล้างความชอบได้ทันที

    ทุกข์: ไม่ชอบกลิ่นลูกเหม็น กลิ่นของลูกเหม็นก็กลิ่นปกติ แต่จิตที่ไม่ชอบคือเวทนาเทียม ถ้าไม่มีจิตนี้ กลิ่นก็แรงปกติ

    สมุทัย: ไม่อยากได้กลิ่นลูกเหม็น เพราะไม่ชอบกลิ่นและกลัวว่ามันจะทำให้เสียสุขภาพ ชอบถ้าไม่ได้กลิ่นลูกเหม็น ชังถ้าได้กลิ่นลูกเหม็น

    นิโรธ: ไม่ชอบไม่ชังในวัตถุต่อลูกเหม็น ไม่กลัวถ้าเราจะต้องเสียสุขภาพเพราะสิ่งนี้ กลิ่นนี้

    มรรค: เชื่อชัดเรื่องกรรมถ้าสิ่งนี้จะทำให้เราเสียสุขภาพ พิจารณาโทษของความกลัวทำให้เสียพลัง เป็นแรงเหนี่ยวนำให้ผู้อื่นทำตามเป็นวิบากร้ายกลับมาหาตัวเรา

  13. ศิริพร ไตรยสุทธิ์

    ชื่อเรื่อง ตอนนี้ เดี๋ยวนี้

    หลังจากครบกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีผ่านไป (4 สัปดาห์) กลับไปทำงานอีกครั้งและเห็นว่าทางคลินิกได้ขึ้นราคาค่าบริการกายภาพบำบัด ก็มีอาการตกใจเล็กน้อยแล้วเกิดความอยากรู้เหตุผลว่า เพราะอะไร ทำไมขึ้นราคา

    ทุกข์ : มีอาการตกใจ หัวใจเต้นแรง ร่างกายไม่นิ่ง มีความใจร้อนเพราะต้องการถามและพูดคุยกับเจ้าของร้าน

    สมุทัย : ไม่ยินดีกับการขึ้นค่าบริการกายภาพบำบัด อยากรู้เหตุผล มีความยึดมั่นถือมั่นว่าจะต้องรู้วันนี้ ตอนนี้ เดี๋ยวนี้

    นิโรธ : จะรู้เหตุผลวันนี้ ตอนนี้ เดี๋ยวนี้หรือไม่ก็ตาม จะไม่ทุกข์ใจ

    มรรค : ได้ถามตัวเองว่า รู้เหตุผลแล้วจะยังไง ขณะนั้นร่างกายก็นิ่งไปครู่นึง ก็มีสติรู้ทันกิเลสว่า กิเลสมันมาหลอกให้ยึดมั่นถือมั่นว่าจะต้องรู้ให้ได้ตอนนี้ เดี๋ยวนี้
    ทำให้เห็นโทษของความอยากรู้ทันที ความใจร้อน ความไม่นิ่ง ทำให้ไม่มีสมาธิในการทำงาน ส่งผลให้การบำบัดไม่มีประสิทธิภาพ และยังผิดศีล เพราะเราไม่ทำหน้าที่ของเราอย่างเต็มที่ ก็เท่ากับเราเบียดเบียนผู้อื่น เป็นการสร้างวิบากร้ายเพิ่มขึ้นไปอีก ความทุกข์นั้นก็ลดลง และสู้กับกิเลสด้วยการไม่ถาม
    เมื่อกลับมาถึงบ้าน ก็เปิดหนังสือบททบทวนธรรม และได้นำ “บททบทวนธรรมข้อที่ 89 ในโลกใบนี้ ไม่มีอะไรเที่ยง มีอะไรที่เราควบคุมได้ ไม่มีอะไรที่เรากำหนดได้ นอกจากใจที่ไม่ทุกข์ของเราเท่านั้น” มาใช้ร่วมพิจารณา แล้วก็บอกกับตัวเองว่าแล้วจะทุกข์ใจไปทำไม จะเบียดเบียนตัวเองไปทำไม เมื่อพิจาณาอย่างนั้นความทุกข์ก็หมดไป วางใจได้ (ผ่านไป 3 เมื่อเจ้าของคลินิกมาทำงาน เขาก็มาอธิบายเหตุผลเราฟังโดยที่เราไม่ต้องถาม)

  14. ภาคภูมิ ยอดปรีดา (สร้างแก่นศีล)

    #ใจร้อนอยากหายเร็วๆ

    ผมรู้สึกเจ็บด้านในจมูกด้านซ้ายมาตั้งแต่ช่วงปลายเดือนที่แล้ว อาการคล้ายๆ กับเป็นสิวด้านในจมูก แต่คราวนี้เป็นในตำแหน่งที่ลึกพอสมควรจนไม่สามารถมองเห็นและเข้าไปสัมผัสได้ ซึ่งอาการเจ็บก็ค่อยๆ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยในช่วงที่เจ็บมากที่สุด จะเจ็บระบมจนไม่สามารถสัมผัสบริเวณจมูกด้านซ้ายได้เลย ด้วยเหตุดังกล่าว ในช่วงนั้นผมจึงทุกข์ใจเพราะรู้สึกอยากจะให้อาการเจ็บจมูกหายไปเร็วๆ

    ทุกข์ : ทุกข์ใจเพราะรู้สึกอยากจะให้อาการเจ็บจมูกหายไปเร็วๆ

    สมุทัย : จะรู้สึกทุกข์ใจถ้าอาการเจ็บจมูกไม่หายไปเร็วตามที่ใจหมาย แต่จะสุขใจถ้าอาการเจ็บจมูกหายไปเร็วตามที่ใจหมาย

    นิโรธ : สามารถผาสุกใจได้ไม่ว่าอาการเจ็บจะหายไปเร็วเพียงใด

    มรรค : กรณีผมเดินมรรคโดยพิจารณาว่า การที่อยากหายเร็วมันเป็นการกระทำที่ผิดศีล เพราะโลภมากเกินกว่าที่จะเป็นไปได้จริง และก็ยังไปเบียดเบียนตัวเองเพราะการอยากหายเร็วมันทำให้ใจร้อน เครียด ซึ่งในที่สุดก็จะทำให้ใจเป็นทุกข์

    ดังนั้นผมเลยกำจัดความอยากหายเร็วโดยการบอกตัวเองว่า หน้าที่ของผมคือการทำใจให้ไร้ทุกข์ไม่ว่าจะหายเร็วหรือช้าเพียงใด ถ้าได้พยายามดูแลตัวเองให้ดีที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้แล้ว

    และผมก็ยังนำบททบทวนธรรมบางบทมาพิจารณา เช่น เนื้อหาส่วนหนึ่งในข้อที่ 27 ที่มีเนื้อหาว่า “หายเร็วก็ได้ หายช้าก็ได้ หายตอนเป็นก็ได้ หายตอนตายก็ได้ หายตอนไหน ช่างหัวมัน”

  15. ชลิตา แลงค์

    เรื่อง : ใครยอมก่อนคนนั้นชนะ

    ข้าพเจ้าเดินทางไปพักร้อนกับครอบครัว โดยมีพ่อปู่แม่ย่าและครอบครัวพี่ชายของคุณพ่อบ้านไปด้วย เราเช่าบ้านหลังหนึ่งอยู่ด้วยกัน วันนี้สายแล้วเวลาผ่านไป 10 โมงกว่า ๆ เรามีโปรแกรมจะออกไปข้างนอกเดินตลาดนัดและซื้อของมาทำกับข้าวด้วย แต่ข้าพเจ้ามีผ้าปูที่นอนที่ต้องซักเหตุผลที่ต้องซักก็คือข้าพเจ้ารู้สึกว่าผ้าไม่สะอาดมีฝุ่นทำให้มีอาการแพ้คันทั้งคืนนอนไม่สุขเลย เลยบอกทุกคนว่าจะเอาผ้าไปใส่เครื่องซักผ้าปั่นทิ้งไว้กลับมาจะได้ตากพอดี พอคุณแม่ย่าได้ยินอย่างนั้นก็พูดคัดค้านเสียงแข็งขึ้นมาทันที ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งที่จะเปิดเครื่องซักผ้าทิ้งไว้โดยที่ไม่มีใครอยู่บ้าน และบอกว่า “ฉันไม่เคยทำ ถ้าเกิดเครื่องมีปัญหาเป็นอันตรายขึ้นมาจะทำยังไง” และก็พูดต่ออีกหลายคำที่ไม่เห็นด้วย แต่พี่ชายเข้าข้างข้าพเจ้าพี่บอกว่า “ใครจะมานั่งเฝ้าดูเครื่องซักผ้าเป็นชั่วโมงสองชั่วโมงเสียเวลาไม่ได้ไปไหนพอดี” ยิ่งทำให้แม่ย่าไม่พอใจและพูดเสียงดังมากขึ้นไม่เห็นด้วยอย่างเดียว ข้าพเจ้ารู้สึกรำคาญใจที่เห็นอาการของแม่ย่า เลยเดินหลบหอบผ้าลงไปใส่เครื่องที่อยู่ชั้นล่างอย่างไม่สนใจ

    ทุกข์ : ไม่พอใจที่แม่ย่าห้ามไม่ให้ซักผ้า

    สมุทัย : ถ้าแม่ย่าให้ซักผ้าจะสุขใจ ถ้าแม่ย่าไม่ให้ซักผ้าจะทุกข์ใจ

    นิโรธ : จะได้ซักผ้าหรือไม่ได้ซักผ้าก็ไม่ทุกข์ใจ

    มรรค : นึกถึงอาการของแม่ย่าแล้วถ้าขัดแย้งกันขนาดนี้คงไม่ดีแน่ถ้าเราฝืนทำตามใจตัวเอง ทันทีก็นึกถึงบททบทวนธรรมที่ว่า “ใครยอมก่อนคนนนั้นชนะ” เห็นอาการของใจดีขึ้นมาทันทีกว่า 90 % ยังเหลืออีก 10% ที่ยังขุ่นๆ อยู่ หลังจากเอาผ้าใส่เครื่องทิ้งไว้เฉยๆ ข้าพเจ้าเดินกลับไปที่ห้องตัวเอง ทันใดนั้นได้ยินเสียงแม่ย่ากับพี่ชายและคุณพ่อบ้านของข้าพเจ้าเถียงกันเรื่องซักผ้าเสียงดังขึ้นมาอีกโดยเฉพาะเสียงแม่ย่าไม่พอใจมาก ได้ยินเสียงแม่ย่าที่แสดงถึงความกังวล กลัว โกรธ แล้วข้าพเจ้ารู้สึกนึกผิดว่าไม่อยากทำวิบากรรมทำให้ท่านเป็นทุกข์ต่อไปอีก พิจารณาต่อไปอีกว่าที่แม่ย่าพูดก็มีเหตุผล บ้านหลังนี้ไม่ใช่บ้านเราเครื่องซักผ้าเราก็ไม่รู้ว่าสภาพเป็นยังไง ป้องกันไว้ดีแล้วเราออกไปข้างนอกกลับมายังมีพอมีแดดอยู่ก็น่าจะตากแห้งอยู่หรอก ใจที่ขุ่นๆอยู่ 10% คลายลงอีกเกือบหมดมีอาการงอน ๆ บางเหลืออยู่ เดินลงไปบอกแม่ย่าว่าผ้ายังไม่ซักใส่เครื่องเตรียมไว้เฉย ๆ เห็นสีหน้าของแม่ย่าคลายกังวลและยิ้มออกมาได้ ธรรมะข้อเดิมที่ว่า “ใครยอมก่อนคนนั้นชนะ” ก็ผุดขึ้นมา อีก ใจที่ข้าพเจ้าทุกข์อยู่เล็กน้อยก็คลายหายหมดทันที กราบสาธุค่ะ

  16. สุมา ไชยช่วย

    เรื่อง จะได้รับหรือไม่ได้รับก็ได้

    เหตุการณ์ ได้สั่งผลไม้ทางเฟส โอนเงินเรียบร้อย รอรับของ เกินจากกำหนดก็ยังไม่มาไปถามบอกขอโทษทำตกหล่น ก็รออีกทักไปใหม่บอกขอโทษลืมส่ง เดี๋ยวส่งให้

    ทุกข์ กังวลว่าจะได้รับของไหม

    สมุทัย ชอบถ้าได้รับของตามกำหนด ชังไม่ได้รับของ

    นิโรธ จะได้รับของหรือไม่ได้รับก็ไม่ทุกข์ใจ

    มรรค เกินเวลาที่ได้รับของ ทักไปถามบอกขอโทษ ตกหล่น พรุ่งนี้ส่งให้ ปรากฏว่าใกล้วันจะได้รับของเลยทักไปใหม่ ว่าส่งของมายัง ปรากฏบอกว่า เขาขอโทษอีกว่าลืมส่งค่ะ ถามถึงสามรอบ เลยวางใจว่าไม่ได้แน่ ย้อนกลับมาดูตัวเอง ว่าเราก็เคยผิดนัดหลายๆครั้ง หลายๆเรื่อง รับปากใครทำอะไรแล้วไม่ได้ทำหรือลืมก็มี จึงสำนึกผิด ยอมรับผิด ต้องขอบคุณแม่ค้าที่เขาไม่ส่งของให้ตามกำหนด หรือจะไม่ส่งให้ ได้ใช้วิบาก ได้เห็นกิเลส
    บททบทวนธรรม 8
    สิ่งที่เราได้รับคือสิ่งที่เราทำมา
    ไม่มีสิ่งใดที่เราได้รับ โดยที่เราไม่เคยทำมา
    สรุป วางใจได้ เลยว่าจะได้รับของหรือไม่ได้รับก็ได้ ปรากฏว่าเขาขอเลขบัญชี โอนเงินคืนมาให้

  17. ณ้ฐพร คงประเสริฐ

    เรื่อง ร่างกายเพลียล้า

    เหตุการณ์ : จากการที่ได้ร่วมกิจกรรมบำเพ็ญกุศลกับหมู่มิตรดีมา ทำให้การแบ่งเวลาในชีวิตดูจะไม่สมดุลในบางเหลื่ยมมมุม ในเรื่องการรู้เพียรรู้พัก จึงทำให้เกิดอาการง่วง ตื่นนอนมาแล้วไม่สดชื่น รู้สึกเพลียล้าอยากนอนต่อ และมีความรู้สึกว่าไม่น่านอนดึกเลย
    ทุกข์ : รู้สึก ขุ่นใจเล็กๆ ที่ตื่นนอน แล้วเพลียล้า อยากนอนต่อ ตำหนิตนเองที่เมื่อคืนไม่ตัดรอบเข้านอนให้เร็วกว่านี้ ทำให้ร่างกายเพลียล้าในตอนตื่นนอนเช้านี้

    สมุทัย : เราหลงยึดมั่นถือสภาพดี ๆ ที่เคยมีเคยเป็น เช่นคราวนี้ ตื่นนอนต้องสดชื่น แจ่มใสตลอด อาการเพลียล้าจะหายไปทุกครั้งที่เราตื่นมา จึงไม่ชอบกับสภาพเพลียล้าที่เกิดขึ้นได้

    นิโรธ : แม้ร่างกายจะตื่นมาแล้วมีอาการเพลียล้า ก็ไม่ชอบ ไม่ชัง เหตุการณ์ ร่างกาย ไม่เที่ยง มีแต่ใจที่ไม่ทุกข์เท่านั้นที่ผาสุกแท้

    มรรค : วางความยึดมั่นถือมั่นแล้วมาปรับใจตัวเองว่าเราจะขุ่นใจทำไม เมื่อได้ทำดีเต็มที่แล้วเราก็สุขเต็มที่ได้แล้ว ส่วนการประมาณในการทำสมดุลชีวิต ก็ฝึกประมาณไปเรื่อย ๆ วันนี้เป็นโอกาสดีที่ทำให้เราได้เห็นผลของร่างกายที่แสดงอาการเพียงน้อยนิด คืออาการเพลียล้า เมื่อตื่นนอน และได้เห็นอาการกิเลส ชอบให้เกิดสภาพดี ๆ ตลอด ชังถ้าสภาพดี ๆ ไม่เกิดขึ้น และพรรคพวกกิเลสที่ตามออกมา พิจารณาว่า หากสภาพเพลียล้าไม่เกิด มาเตือนให้รู้ในวันนี้เราก็จะประมาทต่อไป ไม่ทำสมดุลชีวิตให้ดีขึ้นได้ เห็นประโยชน์ที่นอนตื่นมาแล้วร่างกายเพลียล้าในวันนี้ ทำให้มาทบทวนการกระทำที่ผ่านมาให้รอบถ้วนมากยิ่งขึ้น

    สรุป พอเราวางความยึดมั่นถือมั่นลงได้ใจเราก็ผาสุก ไม่เสียพลังให้กิเลสอีก ทำให้ร่างกายสดชื่นขึ้น มีพลังตื่นนอนไปบำเพ็ญบุญกุศลได้ต่อไปได้อย่างสดชื่น แจ่มใส

  18. นางสาวนาลี วิำลสัก(นาดี)

    เรื่อง : อยากไปอยู่กับหมู่กลุ่มที่ภูผาฟ้าน้ำ

    เหตุการณ์ : เมื่อตัวเองได้ศึกษาตามแนวทางของแพทย์วิถีธรรมประมาณ 1 ปี ก็คิดอยากไปเข้าค่ายอยากไปอยู่กับองค์กรแพทย์วิถีธรรม แต่วิบากร้ายเอาโควิด -19 มากั้น ก็เลยไม่ได้ไปตอนนั้นทุกข์ใจมาก พยายามล้างใจมาเป็นปีกว่า ความทุกข์ใจก็ลดลง ๆ เรื่อย ๆ มาถึงช่วงนี้กิเลสตัวนี้กลับมาอีกเวลาที่ฟังเพลงรวมพลคนดีก็คิดอยากไปภูผาฟ้าน้ำอีก

    ทุกข์ : รู้สึกน้อยใจ ร่างกายอ่อนแรง เศร้าใจที่ตนเองไม่ได้ไปรวมพลังกับหมู่กลุ่มใหญ่
    สมุทัย : ชอบถ้าโควิดไม่ระบาดเราจะได้ไปภูผาฟ้าน้ำ ชังที่เราไม่สามารถฝ่าอกุศลไปอยู่กับหมู่มิตรดีได้
    นิโรธ : โควิดจะระบาดหรือไม่ เราจะได้ไปอยู่กับหมูมิตรดี หรือไม่ได้ไปก็ไม่ชอบไม่ชัง ปล่อยไปตามกุศล อกุศลของเรา

    มรรค : มาตรวจใจพบว่ามารยังลุ้นที่จะไปอยู่กับครูบาอาจารย์อยู่
    มาร : (ฟังเพลงรวมพลคนดีแล้ว)เศร้าใจเมื่อไหร่โควิดจะหมดไปน้อ ! เมื่อไหร่จะได้ไปบำเพ็ญอยู่กับครูบาอาจารย์น้อ ! อยากไปจังเลย
    เรา : เลิกลุ้น เลิกอยากเถอะ อยากไปก็ได้แต่ทุกข์ วิบากของเรา วิบากของโลกหมดเมื่อไหร่โควิดก็จะหาย ตอนนี้ยังไม่ได้ไปก็บำเพ็ญด้วยการลดกิเลสอยู่ตรงนี้แหละ
    มาร : รู้สึกว่าตนเองทำบาปไว้เยอะ การลดกิเลส การบำเพ็ญอยู่รอบนอกก็จะมีฤทธิ์ประมาณหนึ่ง แต่ถ้าได้ไปรวมตัวกับครูบาอาจารย์ กับหมูกลุ่มใหญ่จะได้รับพลังกุศลเยอะกว่านี้

    เรา : โอ้โห ! มารคิดให้ทุกข์ใจนี่ ถนัดนะ พุทธะอยู่ที่ไหนก็สุขใจได้เว้ย ถ้าไม่มีเอ็ง ที่ข้าหมดพลังก็เพราะมีเอ็งนี่แหละ เอาเนื้อเพลงของอาจารย์หมอเขียวมาสอนมาร “คนที่เข้าศูนย์มีต้นทุนคือคุณความดี” เรายังไม่มีความดีมากพอก็ต้องอดทนลดกิเลส รอคอยให้วิบากเบาบางทำแต่วิบากดีเพิ่ม วิบากร้ายใหม่อย่าไปก่อเพิ่มให้โอกาสตนเองได้ใช้วิบากร้ายที่เคยพลาดทำมาก่อน ใจเย็นข้ามชาติ เมื่อไหร่วิบากเบาบางก็จะได้ไป ถ้าไม่ได้ไปชาตินี้ ก็ไปชาติหน้า เวลาใดวิบากจัดสรรให้เราอยู่ตรงไหน ตรงนั้นคือตรงที่เราจะเจริญที่สุดในเวลานั้น อย่าโลภจะเอาให้ได้ดีเกินอกุศลของตน
    สรุปความเศร้าใจความอยากตัวนี้ก็ลดลงเยอะแล้วถ้าเปรียบเทียบกับปีที่แล้ว แต่เวลาเราฟังเพลงรวมพลคนดีกิเลสมักจะมากวน ๆ ค่ะ

  19. ศิริพร คำวงษ์ศรี

    ชื่อเรื่อง : นี่หรือคนกินมังฯ

    มีแมลงสาบ 1 ตัวเล็ก เข้าไปอยู่ในบริเวณจุดเก็บอาหารในตู้ จึงรื้อข้าวของออกมาทั้งหมดจากตู้ เพื่อจะได้จับแมลงสาบตัวนี้ออกไปปล่อย แต่พอรื้อทุกอย่างออกมาแล้ว กลับไม่พบในตอนแรก พลิกแผ่นไม้ของชั้นตู้ไปมา จึงพบว่าน้องแมลงสาบได้ถึงแก่กรรมแล้วคาข้างแผ่นไม้ แทนที่ใจจะมีความเมตตาสงสารสัตว์ แต่กลับมีจิตยินดีที่แมลงสาบตาย แต่พุทธะในจิตเร็วมาก พูดว่า “นี่หรือผู้ฝึกตนและไม่กินเนื้อสัตว์ แต่ยินดีที่สัตว์ตาย”

    ทุกข์ คือ ไม่ชอบที่มีแมลงเข้ามาในตู้เก็บอาหาร

    สมุทัย (เหตุแห่งทุกข์) คือ ไม่อยากให้แมลงสาบเข้ามาในตู้ ชังเพราะรู้สึกว่าแมลงสาบสกปรก ไม่ควรเข้ามาในจุดที่มีอาหาร ยินดีในการตายของแมลงสาบด้วยแรงพยาบาทลึก ๆ ไร้เมตตา หลงยึดติดอยากได้สภาพดีคงอยู่ตลอดไป คือ ไม่มีแมลงสาบเข้ารบกวน

    นิโรธ (สภาพดับทุกข์) คือ ไม่ชอบไม่ชังที่แมลงสาบเข้ามาในตู้ ยินดี พอใจ ไร้กังวล น้อมรับวิบากคู่บารมี คือ แมลงสาบ ที่เข้าทดสอบเรื่อย ๆ

    มรรค (ทางเดินสู่ความพ้นทุกข์) คือ พิจารณาโทษของความชังและพยาบาทไม่ว่าจะเป็นต่อสิ่งใด ก็ส่งผลร้ายทางจิตวิญญาณเสมอ เพราะทำให้ใจไร้ความเมตตาเป็นทุกข์ หลงยึดอยากได้สภาพดี ๆ ตลอดไป ทั้ง ๆ ที่ตนเองก็ทำวิบากร้ายมาไม่รู้กี่พบชาติ เมตตาสัตว์ทุกชนิดได้ ยกเว้น “แมลงสาบ” ไม่มีความยุติธรรมใด ๆ ได้ เมตตาไม่เท่าเทียม เมตตายังไม่จริง ยังชอบสิ่งนั้นชังสิ่งนี้อยู่ จิตวิญญาณที่ยึดไม่อยากให้เกิดที่ตนเองไม่ชอบใจ จึงสามารถไปหลงยินดีในการตายของแมลงสาบได้ สร้างวิบากร้ายให้กับตนเองและผู้อื่นบนโลก ให้มีแรงพยาบาทในสิ่งที่ชังตาม ตั้งจิตพากเพียรฝึกยินดีน้อมรับที่จะเผชิญในสิ่งที่ไม่ชอบใจเท่าที่ทำได้ เพื่อไม่ให้เกิดผลร้ายต่อชีวิตอื่น การที่มีวิบากกรรมกับแมลงสาบ เพื่อให้ได้มาฝึกใช้ความเมตตากับสิ่งที่ตนเองรังเกียจ ว่าการที่แมลงสาบนั้นได้เกิดมาเป็นสัตว์เดรัชฉานนั้น เขาก็ทุกข์มากอยู่แล้ว แทนที่จะเมตตาสงสาร กลับไปพยาบาทชังเขาอีก การคิดเช่นนี้อาจทำให้เราต้องไปเข้าใจแมลงสาบ โดยการต้องไปเกิดเป็น “แมลงสาบ” ก็ได้ มันคือผลของการผูกวิบากกรรมกัน เพื่อทำให้เราเข้าใจชีวิตอื่นให้มากขึ้น กิเลสได้ยินแล้วเกรงกลัว ไม่อยากวางใจผิดทาง มาวางใจแบบพุทธะ มีใจบริสุทธิ์ให้กับทุกชีวิตนั้น ดีที่สุด

  20. น.ส จรรญา ชุมจีด (สร้างกลิ่นศีล)

    เรื่อง กลัวโทรศัพท์เสีย

    เหตุการณ์ ชาร์จโทรศัพท์เอาไว้ตอนนั้นเปอร์เซ็นแบตเตอรี่โทรศัพท์อยู่ที่ 36 เปอร์เซ็นต์
    แต่พอชาร์จไปเรื่อยเปอร์เซ็นต์กลับลดลง
    พอเห็นแบบนั้นก็รู้สึกตกใจกลัวว่าโทรศัพท์จะเสียใช้งานไม่ได้

    ทุกข์ กลัวว่าโทรศัพท์จะเสียใช้งานไม่ได้

    สมุทัย ถ้าโทรศัพท์มันเสียใช้งานได้เราจะสุขใจ ถ้าโทรศัพท์เสียใช้งานไม่ได้เราจะทุกข์ใจ

    นิโรธ โทรศัพท์จะเสียหรือไม่เสียจะใช้งานได้หรือใช้งานไม่ได้เราก็ต้องสุขใจได้

    มรรค ตั้งศีลมาปฏิบัติพิจารณาไตรลักษณ์ความไม่เที่ยงว่าเที่ยง ทุกข์ใจที่เกิดจากความยึดมั่นถือมั่นว่าจะต้องเป็นอย่างใจเราหมาย เราถึงจะสุขใจ ถ้าโทรศัพท์ไม่เสียเราก็ได้ใช้ต่อแต่ถ้าโทรศัพท์เสียเราก็วางใจแล้วก็ค่อยหาวิธีแก้ไขกันต่อไป

    สรุป พิจารณาได้ตามนั้นเราก็สามารถวางใจได้ แล้วก็ชาร์จแบตไปเรื่อยๆแล้ว แบตเตอรี่ขึ้นและใช้ได้เหมือนเดิม
    วันต่อมาแบตเตอรี่ก็ชาร์จไม่เข้าอีกแต่เราก็ไม่ทกข์ใจเหมือนเดิม รู้สึกว่าอะไรจะเกิดมันก็ต้องเกิด มีก็ใช้ไม่มีก็ไม่ใช้ไม่ทุกข์ใจสุขใจได้

  21. เรื่อง :ไม่อยากเข้าอปริหานิยธรรม
    เหตุการณ์ : ไปทำงานในสวนที่ท่าชนะมา วันนี้คิดว่าจะเข้าร่วมอปริหานิยธรรม แต่น้องจิตอาสาบอกว่าให้เข้าอปริหานิยธรรมด่วน เพื่อปรึกษาหารือที่จะช่วยกันในเรื่องการทำค่ายทางออนไลน์ครั้งต่อไป ในใจก็ไม่อยากเข้า เพราะเหนื่อยจากการทำงานมาตลอดทั้งวัน
    ทุกข์ : รู้สึกไม่เบิกบานในขณะประชุม
    สมุทัย : ยึดมั่นถือมั่นว่า ชอบใจที่ไม่ต้องเข้าอปริหานิยธรรม ชังที่ต้องเข้าอปริหานิยธรรม
    นิโรธ : จะต้องเข้าอปริหานิยธรรมหรือไม่เข้า เราก็เบิกบานใจ ไม่ชอบไม่ชัง
    มรรค : ปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่น แล้วลงมือทำในปัจจุบันให้ดีที่สุด การทำอปริหานิยธรรม พระพุทธเจ้าตรัสว่า มีแต่ความเจริญอย่างเดียวไม่มีเสื่อมเลย ถ้าเราต้องการให้ชีวิตของเรามีแต่ความเจริญฝ่ายเดียวไม่มีเสื่อมเลย เราก็ต้องเข้าทำปริหานิยธรรมกับหมู่กลุ่มมิตรดี สหายดี สังคมสิ่งแวดล้อมดี จึงจะทำให้ชีวิตของเราเจริญขึ้นทั้งทาง ทั้งทางร่างกายและจิตใจ ส่วนความขี้เกียจก็เป็นอบายมุข เป็นการเดินทางไปสู่ความเสื่อม เราก็ควรที่จะเลือกเส้นทางที่จะทำให้เราเจริญขึ้น เราต้องมีความแววไว พร้อมปรับพร้อมเปลี่ยนในการที่จะเลือกสิ่งที่ดีที่สุดในชีวิตให้กับตัวเราเอง ปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่นตามบททบทวนธรรมข้อที่ 56 “ทุกเสี้ยววินาที ทุกอย่างไม่เที่ยง อย่ายึดมั่นถือมั่น ต้องพร้อมรับพร้อมปรับพร้อมเปลี่ยนตลอดเวลา”เมื่อได้พิจารณาตามบททบทวนธรรมดังกล่าวแล้ว ความไม่เบิกบานใจก็หายไป กลับมาเบิกบานแจ่มใส เหมือนเดิม

Comments are closed.