At bagon.is you can Buy webshells, phpmailer, Combo list
วิชา อริยสัจ 4 ครั้งที่ 34 l ห้องเรียนวิชชาราม | สถาบันวิชชาราม
Skip to content

วิชา อริยสัจ 4 ครั้งที่ 34 l ห้องเรียนวิชชาราม

ห้องเรียนวิชชาราม ตรวจการบ้าน วิชา อริยสัจ 4  ครั้งที่ 34 ในวันอาทิตย์ที่ 22 สิงหาคม 2564 เวลาประมาณ 12.00 น. – 14.00 น.

ตรวจการบ้านอริยสัจ 4

1.เรื่อง เห็นตนเอง

พิมพ์พศินา สิทธิประเสริฐ

เหตุการณ์ : วันหนึ่งไปเดินออกกำลังกายที่สวนสาธารณะหลังบ้าน พอเดินไปได้สักระยะหนึ่ง สายตาเหลือบไปเห็นถุงลูกชิ้น เขากินแล้วเหลืออยู่ในถุง ประมาณ 5-6 ไม้ แขวนทิ้งไว้ทางลงบันไดหรือราวบันได มีมดลงเต็มไปหมด เป็นสาย

ทุกข์ : คันหัวใจไม่เบิกบาน

สมุทัย : ไม่ชอบที่เขาทิ้งขยะไม่เป็นที่เป็นทาง ชอบที่จะให้เขาทิ้งให้เป็นที่เป็นทาง

นิโรธ : ใครจะทิ้งขยะหรือไม่ทิ้งขยะให้เป็นที่เป็นทางเราก็มีความสุข ดีเราก็จะได้บำเพ็ญ บุญเพื่อประโยชน์ตนและประโยชน์ท่าน

มรรค : เราได้เห็นตนเอง ภพก่อนหรือชาติไหนๆ เราก็เป็นคน เบียดเบียนตนเบียดเบียนผู้อื่นให้เดือดร้อนแบบนี้มาก่อน เราก็ต้องมาชดใช้หนี้กรรมในสิ่งที่เราทำมา ทำมาและทำมา ไม่มีสิ่งใดที่เราได้รับโดยที่เราไม่เคยทำมา คิดแบบพุทธะเราเข้าใจเรื่องกรรมอย่างแจ่มแจ้ง คือได้เห็นทุกข์ ได้


2.เรื่อง โดนกิเลสหลอกซะเนียนเลย

สรสิชา สายหยุดทอง 

เหตุการณ์ : ขณะที่ช่วยจิตอาสาท่านหนึ่งทำความสะอาดชั้นแบ่งปันก็เกิดอาการสั่น ทั้งตัว ดูมือก็สั่น เหงื่อเริ่มซึมเหมือนจะเป็นลม เกิดการกลัวตายขึ้นมาทันที แล้วเริ่มสงสัยว่าเป็นอาการของโรคอะไร เมื่อพิจารณาเห็นว่าเหมือนอาการหิวข้าวจัดๆ คิดว่าถ้าไปกินข้าวน่าจะหาย แต่สงสัยว่าท้องไม่ได้มีอาการหิว ตอนเช้าก็กิน ขณะนั้นเพิ่งจะประมาณ11.10น. พออาการเริ่มดีขึ้น  จึงไปทำดีท็อกซ์ตามที่ตั้งใจไว้ ก็เริ่มเห็นกิเลสชัดขึ้น

ทุกข์ : กลัวตาย

สมุทัย : ยังไม่อยากตาย

นิโรธ : จะอยู่หรือจะตายก็สุขใจได้

มรรค : เริ่มคุยกับกิเลส

กิเลส  : เป็นโรคอะไรก็ไม่รู้ต้องลองไปกินข้าวดูน่าจะหาย

ตอบ : ไม่รู้ก็ไม่เป็นไรไม่ต้องเสียเวลาค้นหา วิบากมาก็ต้องรับๆแล้วก็จะหมดไป ยินดีที่ได้ชำระชดใช้วิบาก เริ่มสงสัยจึงถามกิเลสกลับไป

: แล้วจะรีบกินไปไหน ถ้าอย่างนั้นจะไม่รีบ เดี๋ยวดีท็อกซ์ 3ขวดเลย

กิเลส : กลัวตาย

ตอบ : ไม่เป็นไรถ้าตาย อาจารย์ก็เผาศพเองแหละ  แล้วก็ทำดีท็อกซ์ต่อ พอพิจารณาอีกที หายเงียบทั้งอาการทั้งกิเลส เมื่อมาเล่าให้จิตอาสาท่านนั้นฟัง ท่านบอกว่าน่าจะถูกกิเลสหลอก พอมีโอกาสจึงถามอาจารย์หมอเขียว ท่านก็ยืนยันว่า  ” ใช่ ”   โอ้โห…หลอกได้เนียนขนาดนี้เลย

สรุป

ความอยาก ความไม่อยาก ความยึดมั่นถือมั่น ความกลัวเป็นกลัวตายทำให้ เราหวั่นไหวง่าย ปรุงแต่งมากขึ้นทุกข์มากขึ้น แต่ถ้าเรารักษาศีล ลด ละ เลิกกิเลสให้มากขึ้นมีสติให้มากขึ้น ไม่กลัว ไม่ยึดมั่นถือมั่น เชื่อชัดในวิบากกรรม ยอมรับและยินดีชดใช้วิบาก อะไรจะเกิดขึ้น จิตใจก็จะไม่หวั่นไหวง่าย  ตรงกับบททบทวนธรรมข้อที่ ๒๗ เทคนิคทำใจให้หายโรคเร็วคือ อย่าโกรธ อย่ากลัวเป็น อย่ากลัวตาย อย่ากลัวโรค อย่าเร่งผล อย่ากังวล … “อย่ากลัวเป็น อย่ากลัวตายคือ ตาย…ก็ไปเกิดใหม่จะทำดีต่อ อยู่…ก็ทำหน้าที่ต่อไป จะทำดีต่อ…..”


3.เรื่อง : อยากทำให้ได้เหมือนเพื่อน

นาลี วิไลสัก 

เหตุการณ์ : คุรุพานักศึกษาทำข้อสอบเกี่ยวกับการป้องกันโรคโควิด-19 ตัวเองก็อยากทำด้วย แต่มันมีข้อเขียนหลายข้อ แล้วตนเองมีอุปสรรคในการเขียนภาษาไทย

ทุกข์ : รู้สึกเหนื่อยหมดแรง น้อยใจ เสียดายที่ไม่ได้บำเพ็ญทำข้อสอบกับเพื่อน

สมุทัย : ชอบถ้าเราเขียนภาษาไทยถนัด และสามารถร่วมทำกิจกรรมต่างๆของนักศึกษา ชังที่เขียนภาษไทยไม่ถนัด และพลาดไม่ได้บำเพ็ญในการทำข้อสอบ

นิโรธ : แม้จะเขียนภาษาไทยไม่ถนัด และไม่ได้บำเพ็ญในการทำข้อสอบ ก็ไม่ชอบไม่ชัง ไปเอาดีที่ 11

มรรค : ในเมื่อมันมีอุปสรรคงานนี้เราฝึกตัดรอบแล้วแต่กิเลสยังเสียดายว่า เราอยู่รอบนอก ไม่ค่อยมีโอกาสบำเพ็ญเหมือนเพื่อน งานนี้เหมาะที่สุดสำหรับนักศึกษาที่อยู่รอบนอกอย่างเรา ก็พิจารณาว่า การอยากทำสิ่งที่ดีนั้นก็ดีแล้ว แต่ถ้าเราอยากแบบยึดมั่นถือมั่นทั้งๆที่เราไม่สามารถทำได้นั้นไม่ดี เป็นการเบียดเบียนตนเอง และเพิ่มภาระแก่ครูบาอาจารย์ด้วย งานทำกุศลสูงสุดคือการล้างกิเลสในใจเรา ในขณะที่กระทบกับผัสสะนั้นๆ ในเมื่องานนี้เราทำไม่ได้แสดงว่าไม่ไช่กุศลของเรา และคนที่เกี่ยวข้อง ถ้าเราฝืนมากเกินไปทั้งๆที่องค์ประกอบยังไม่พร้อมอาจก่อให้เกิดวิบากร้ายใหม่

สรุปเมื่อเปรียบเทียบกับวันก่อนเรายึดที่ตอบแบบสอบถามงานวิจัยจนได้(เพิ่มภาระให้พี่น้องที่รับผิดชอบงานนั้น)แต่งานนี้พอเราล้างใจได้แรงก็กลับมา และสามารถตัดรอบด้วยใจที่ทุกข์น้อยลง ต้องขอบคุณเหตุการณ์ที่ทำให้เราได้ฝึกล้างใจ สาธุค่ะ


4.เรื่อง ความจริงตามความเป็นจริง

ปิ่น คำเพียงเพชร

เหตุการณ์ : เนื่องจากมีกิเลสตัวหวั่นไหว เวลา มีคนพูดปลอบใจหรือพูดเหมือนเข้าใจ น้ำตาก็จะไหลออกมา ต่อมน้ำตาจะแตกทุกที ซึ่งเรารู้สึกว่าการร้องไห้ทำให้เราดูอ่อนแอ แต่ก็ยังหาเหตุไม่เจอ ไม่รู้ว่าเป็นกิเลสตัวไหน หมู่มิตรดีเลยแนะนำให้ลองเสนอการบ้านเรื่องนี้ดู ก็เลยแจ้งนำเสนอการบ้านอริยสัจ 4 เรื่องความท้อใจน้อยใจไป เพื่อจะหาว่าเราติดตัวไหนกันแน่ ปรากฏว่ามีพี่น้องหลายท่านมีน้ำใจ ต่างก็ให้กำลังใจมากมาย แต่ยังไม่ทันได้หาสมุทัยของกิเลสตัวหวั่นไหวเจอ กลับได้กิเลสตัวใหม่จากคำพูดให้กำลังใจของพี่น้องแทน เพราะกิเลสความยึดมั่นถือมั่นของเรา

ทุกข์ : อึดอัดใจ เมื่อมีพี่น้องหลายท่านพูดให้กำลังใจ

สมุทัย : อยากให้พี่น้องเข้าใจว่าที่เรามานำเสนอการบ้าน ไม่ใช่เพราะอยากได้กำลังใจ ยึดว่าถ้าพี่น้องให้กำลังใจจะทำให้เราดูเป็นคนอ่อนแอ ไม่อยากให้พี่น้องเข้าใจว่าเราอ่อนแอ

ยึดต่อไปอีกว่า การที่น้ำตาไหลเวลามีคนปลอบนั้น เป็นเพราะความอ่อนแอ ไม่อยากเป็นคนอ่อนแอ ยึดว่าความอ่อนแอไม่ดี ชังความอ่อนแอ ยึดมั่นถือมั่นว่าน้ำตาคือสัญลักษณ์ของความอ่อนแอ ไม่ยอมรับความจริงว่าเราอ่อนแอ

นิโรธ : ไม่ยึดมั่นถือมั่น ไม่ว่าพี่น้องจะพูดให้กำลังใจหรือไม่ ไม่ว่าน้ำตาจะไหลเวลาได้รับคำปลอบหรือไม่ ก็ไม่ชังและไม่ทุกข์ใจ ยอมรับความจริงตามความเป็นจริง อ่อนแอก็ไม่เป็นไร จะไม่ทำทุกข์ทับถมตน

มรรค : พิจารณาเห็นโทษของการมีกิเลสตัวยึดมั่นถือมั่นว่าความอ่อนแอไม่ดี ชังความอ่อนแอของเรา มันทำให้เราเป็นทุกข์ มันทำให้เรามีวิบาก ทำให้สัญญาเราวิปลาสจนรวนไปหมด จนมองไม่เห็นความจริงตามความเป็นจริง ทำให้เรามองข้ามน้ำใจของพี่น้อง และยังเป็นแรงเหนี่ยวนำให้คนอื่นเป็นตามทุกข์อีกด้วย

ถ้าเราไม่มีกิเลสตัวยึดมั่นถือมั่นว่าน้ำตาคือสัญลักษณ์ของความอ่อนแอ ไม่ยึดว่าความอ่อนแอไม่ดี ไม่ชังความอ่อนแอ เวลามีพี่น้องให้กำลังใจ เวลามีคนปลอบใจ เวลาน้ำตาไหล เราก็จะมองเห็นความจริงตามความเป็นจริง เราก็ไม่ต้องชัง ไม่ต้องทุกข์ใจ และไม่ต้องเป็นแรงเหนี่ยวนำให้คนอื่นเป็นตามทุกข์ตาม

การที่พี่น้องพูดให้กำลังใจ มันก็เป็นน้ำใจ เป็นกุศลจิตของพี่น้อง และเป็นกุศลของเราเป็นสมบัติของเราที่เราจะต้องได้รับสิ่งดีอันนี้ตามธรรม

ส่วนการที่เรามีน้ำตาเวลามีคนปลอบ ก็ไม่เป็นไร แม้จะดูอ่อนแอก็ไม่เป็นไร ยอมรับความจริงตามความเป็นจริงว่าเรายังมีมุมที่อ่อนแออยู่ ก็เพราะว่าเราล้างชอบล้างชังกิเลสในเหลี่ยมนี้ยังไม่หมด เมื่อเราพยายามพากเพียรลดละล้างกิเลส ความชอบความชังในเหลี่ยมมุม ต่าง ๆ ไปเรื่อย ๆ ตามลำดับตามภูมิ วันใดวันหนึ่ง หรือชาติใดชาติหนึ่ง ความอ่อนแอก็จะลดลงไปตามลำดับ เราก็จะเข้มแข็งขึ้นไปตามลำดับตามจริงเท่าที่เราปฏิบัติได้เอง สำคัญคือ ไม่เร่งผล ไม่ใจร้อน ไม่ทำทุกข์ทับถมตน

สรุป : เมื่อพิจารณาดังนี้ ความอึดอัดใจ ความชังความทุกข์ใจ คาใจ จากความยึดมั่นถือมั่นในครั้งนี้ ก็สลายไป รู้สึกโปร่งโล่งสบายใจได้ สาธุ


5.เรื่อง ชีวิตติดซูม

อรวิภา กริฟฟิธส์
เหตุการณ์ : ในขณะเข้าซูมงานสัมมนาอยู่นั้น เราได้เห็นภาพพี่น้องท่านหนึ่งแต่งตัวไม่เรียบร้อย คิดว่าท่านคงลืมไปว่ากล้องเปิดอยู่ พอเข้ากลุ่มบำเพ็ญกับพี่น้องก็ถามพี่น้องว่าเห็นอะไรมั้ย ปรากฏว่าไม่มีใครเห็นอะไร แต่คุรุเสนอว่าควรจะนำไปพูดเพื่อให้พี่น้องได้ระมัดระวัง แต่พอเราคิดว่าเราต้องไปพูดต่อหน้าหมู่ เกิดความกลัวกังวลว่าพี่น้องท่านนั้นจะอายเรา

ทุกข์ : เกิดกลัวกังวลว่าพี่น้องท่านนั้นรู้ตัวแล้วจะอายเรา

สมุทัย : ไม่อยากไปพูดต่อหน้าหมู่ กลัวกังวลว่าถ้าพี่น้องรู้ตัวแล้วจะอายเรา

นิโรธ : ไปพูดต่อหน้าหมู่หรือไม่ก็ไม่ทุกข์ใจ และพี่น้องจะอายเราหรือไม่ก็ไม่ทุกข์ใจ

มรรค : พิจารณาถึงประโยชน์ว่าสิ่งที่เราจะไปทำเป็นสิ่งดี เป็นประโยชน์ต่อหมู่กลุ่ม ความกลัวเป็นมารยาของกิเลสมาหลอก ไม่ให้เรากล้าทำความดี พี่น้องท่านนั้นจะรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ได้ หรือท่านจะอายหรือไม่อายก็ได้ ที่จริงเราสามารถใช้คำพูดที่ไม่ได้ระบุอะไร พูดไปกลาง ๆ เพื่อว่าเวลาเข้าซูมให้พี่น้องได้สำรวจความเรียบร้อย และระมัดระวังการแต่งตัว ให้ระลึกอยู่เสมอว่าเราอยู่ต่อหน้าสาธารณะ ถ้าพี่น้องท่านจะรู้ตัวก็จะเป็นประโยชน์ต่อท่าน เรามีหน้าที่เสนอดีสลายอัตตา เมื่อคิดได้อย่างนี้ใจก็คลายความกลัวกังวล


6.เรื่อง กังวลใจ เที่ยวบินถูกยกเลิก

ศิริพร ไตรยสุทธิ์ (ก้อย)

ทุกข์ : กังวลใจเมื่อได้รับข้อมูลว่าเที่ยวบินถูกยกเลิก ครั้งที่ 2 แต่ครั้งแรกไม่กังวลใจ

สมุทัย : อยากให้เที่ยวบินเป็นไปอย่างที่เราวางแผนไว้

นิโรธ : จะถูกยกเลิกหรือเปลี่ยนเที่ยวบิน ก็จะไม่ทุกข์ใจ ยอมรับวิบาก

มรรค : ขณะที่ได้รับอีเมลล์ครั้งแรก ยังไม่มีความกังวล ครั้งแรกก็วางใจ พอมาครั้งที่สองเกิดความกังลใจแต่ไม่มากเพราะก่อนมาเมืองไทยก็ได้เตรียมตัวและเตรียมใจไว้แล้วบ้าง ได้นึกถึงวิบากกรรมที่เคยทำมา พอได้พิจารณาวิบากกรรม ทุกข์ก็ลดลง แต่ไม่ได้หายไป หลังจากนั้นได้พยายามหาคำตอบต่อไป

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *