การบ้าน อริยสัจ 4 (33/2564) [23:27]

640815 การบ้าน อริยสัจ 4 (33/2564)

นักศึกษาสถาบันวิชชารามส่งการบ้าน อริยสัจ 4 ประจำวันที่ 9-15 สิงหาคม 2564 (อ่านที่มาและรายละเอียดเพิ่มเติมของการบ้าน)

สรุปสัปดาห์นี้มีผู้ส่งการบ้าน 23 ท่าน 27 เรื่อง

  1. พรพรรณ เอ็ทสเลอร์
  2. น.ส.ทิษฏยา โภชนา (นุ้ย)(ในสายธาร) (2)
  3. น.ส ชรินรัตน์ ชุมจีด (น้ำน้อมศีล)
  4. ด.ช.จิรวศิน เรียนจันทร์
  5. วิภาภรณ์ กอจรัญจิตต์ (เอ ใจพอแล้ว))
  6. ชวนชม คำท้วม (2)
  7. รมิตา ซีบังเกิด
  8. มาลิน จุ้ยทรัพย์เปี่ยม (เมฆ ลม ฟ้า)
  9. จิตรา พรหมโคตร (มั่นแก่นพุทธ)
  10. อรวิภา กริฟฟิธส์
  11. พรพิทย์ สามสี (เพื่อนพิทย์)
  12. นปภา รัตนวงศา (2)
  13. นางพรรณทิวา เกตุกลม
  14. น.ส.จาริยา จันทร์ภักดี
  15. นางสาวนาลี​ วิไลสัก
  16. พิมพ์พศินา สิทธิประเสริฐ (น้าหมู-เพียรเย็นพุทธ)
  17. ปิ่น คำเพียงเพชร
  18. ภาคภูมิ ยอดปรีดา (สร้างแก่นศีล)
  19. นางสาวิตรี​ มโนวรณ์
  20. นางสาวศิริรักษ์ พรมเล็ก
  21. Ruam Ketklom
  22. สุมา ไชยช่วย (2)
  23. ณ้ฐพร คงประเสริฐ

27 thoughts on “การบ้าน อริยสัจ 4 (33/2564) [23:27]”

  1. พรพรรณ เอ็ทสเลอร์

    อริยสัจ 4

    เรื่อง อยากได้ทุกภาพเลย

    สัปดาห์นี้ข้าพเจ้าได้ทำงานภาพประกอบคำคมเพื่อจะส่งให้พี่น้องในกลุ่มได้ช่วยสังเคราะห์ และชี้แนะก่อนที่จะส่งให้คุรุ และพี่น้องในห้องเรียนได้ตรวจอีกครั้งก่อนส่งออกเผยแพร่

    ครั้งนี้มีคำคมหลายคำคมที่โดนใจ และอยากจะนำมาประกอบภาพให้หมดทุกคำคมเลย เพราะเห็นว่าน่าจะเป็นประโยชน์ต่อท่านที่ได้เห็นและได้อ่าน พอเริ่มทำงานไปก็เริ่มเห็นว่าตนเองอยากทำภาพให้เป็นอย่างที่ต้องการ แต่ทำไม่สำเร็จเพราะประสบการณ์และความรู้ทักษะในการทำภาพยังมีไม่มากพอ ทำให้เกิดอาการอึดอัด หายใจไม่ทั่วท้อง และหัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ

    ทุกข์ : อึดอัดใจ ที่ทำภาพประกอบคำคมไม่ได้ดั่งที่ต้องการ

    สมุทัย : ปรารถนาอยากจะทำภาพให้ได้อย่างที่ตนเองต้องการ จะมีความยินดีและพอใจหากตนเองสามารถทำภาพประกอบคำคมได้สำเร็จสมดั่งที่ต้องการ

    นิโรธ : จะทำภาพประกอบคำคมไม่ได้อย่างที่ต้องการ ก็จะไม่ทุกข์ใจ

    มรรค : พิจารณาว่าชั่วโมงบิน (ประสบการณ์) ในการทำภาพตนเองยังน้อย คงจะต้องเรียนรู้และฝึกฝนไปเรื่อย ๆ ก่อน อย่าใจร้อนใจเย็น ๆ เด๋วสักวัน (ไม่ชาตินี้ก็ชาติหน้า) ก็คงจะทำได้เอง ไม่มีใครเก่งมาตั้งแต่เกิด ทุกคนล้วนแต่ต้องมาเรียนรู้และฝึกฝนกันทั้งนั้น
    เหมือนท่านอาจารย์หมอเขียวท่านสอนไว้ว่าอย่าอยากได้ในสิ่งที่ไม่ใช่เวลา เพราะมันจะนำทุกข์มาใส่ตัว ทำให้เสียพลังไปเปล่า ๆ

    เมื่อคิดได้เช่นนั้นอาการของใจที่อึดอัด หายใจไม่ทั่วท้อง ก็เริ่มรู้สึกได้ว่าเบาขึ้น และค่อย ๆ หายไปเป็นปกติภายในไม่กี่นาที

    จึงถือโอกาสพักจากการทำงานชั่วคราวเพื่อไปปรับสมดุล และไปผ่อนคลายอริยบท แล้วจึงกลับมาทำงานต่อ รู้สึกได้ว่าร่างกายเบาสบาย และสมองโปร่งโล่ง มีพลังในการทำภาพจนเสร็จเรียบร้อย ค่ะ

  2. น.ส.ทิษฏยา โภชนา (นุ้ย)(ในสายธาร)

    08/08/64
    ชื่อ : น.ส.ทิษฏยา โภชนา
    ชื่อทางธรรม : ในสายธรรม
    จิตอาสาสังกัดสวนป่านาบุญ 2

    เรื่อง: ทำไมพูดไม่รู้เรื่อง

    เหตุการณ์:ได้คุยกับสมาชิกที่บ้านให้ช่วยเก็บผักฟูหมักมาเพื่อจะเอามาผัด แต่คนเก็บผักก็เก็บมาให้เพียงนิดเดียวไม่พอที่จะผัด (ทั้ง ๆที่ปลูกไว้หลายแปลง) และเขาก็เก็บผักชนิดอื่นมาเยอะเกินทั้ง ๆ ที่ไม่ได้บอกให้เก็บมา เมื่อเห็นแบบนี้ก็เกิดอาการไม่พอใจขึ้นมา

    ทุกข์ : ไม่พอใจที่คนเก็บผักได้ไม่ตรงกับที่คุยกันไว้

    สมุทัย : ยึดมั่นถือมั่นว่าเขาต้องทำให้ถูกต้องตามที่เราบอก ชอบถ้าเขาเก็บผักได้ตามที่เราบอก ชังที่เขาเก็บผักชนิดที่เราต้องการมาให้น้อยเกิน

    นิโรธ : เขาจะเก็บผักมาให้ได้ตามที่เราต้องการหรือไม่ก็ไม่ทุกข์ใจ

    มรรค : พิจารณาว่า
    มาร : ทำไมพูดไม่รู้เรื่องนะ ที่บอกให้เก็บก็เก็บมาน้อยเกิน บอกไปแล้วว่าจะผัดฟูหมัก เก็บมาแค่นี้จะพอกินกันมั๊ยเนี่ย ไอ้ที่ไม่ได้บอกก็เก็บมาเยอะเชียว ….เฮ้อ!!!
    เรา : เขาอุตส่าห์ไปเก็บให้แล้วก็ยังจะเรื่องมากอีก
    อยากได้อย่างนั้นอย่างนี้ แล้วทำไมไม่ไปเก็บเองล่ะ
    แกนั่นแหละที่พูดไม่รู้เรื่อง ในเมื่อผักฟูหมักมีน้อย ก็เปลี่ยนเป็นทำอย่างอื่นซะสิ ผักอย่างอื่นที่เก็บมาก็เยอะแยะ จะไปยากอะไร
    มาร : เออ… ใช่ ก็แค่เปลี่ยนไปทำอย่างอื่น
    ตรงกับบททบทวนธรรมข้อที่ 136 “ ชีวิตที่ลงตัวคือชีวิตที่มีแต่ความเสื่อม ชีวิตที่ไม่ลงตัวคือชีวิตที่มีแต่ความเจริญ ”
    บทสรุป พิจารณาแบบนี้แล้วใจก็คลายความไม่พอใจคนเก็บผักลงได้ สบายใจขึ้น เอาสมองไปคิดแก้ไขปัญหาดีกว่าไปเพ่งโทษคนอื่น

  3. น.ส ชรินรัตน์ ชุมจีด (น้ำน้อมศีล)

    ส่งการบ้าน อริยสัจ4
    เรื่อง. ต้องรักกัน

    เหตุการณ์.เนื่องจากช่วงนี้อากับป้าท่านไม่ค่อยคุยกัน เพราะมีปัญหาเข้าใจผิดกัน

    ทุกข์.ไม่สบายใจที่อากับป้าผิดใจกัน ไม่พูดคุยกัน

    สมุทัย.อยากให้อากับป้าสมัครสมานกลมเกลียวกัน เป็นพี่น้องต้องรักกันให้อภัยกัน ชอบถ้าท่านพูดคุยกันเหมือนเดิมชังและไม่สบายใจเมื่อเห็นท่านไม่พูดคุยกัน

    นิโรธ.ไม่กังวลว่าท่านจะพูดคุยกันหรือไม่พูดคุยกัน จะเข้าใจกันหรือไม่เข้าใจกันก็ไม่ชอบไม่ชัง

    มรรค.มาพิจารณาอาการกิเลส ความอยากของเราที่ทำให้ไม่สบายใจ เพราะเราหลงไปยึดอยากได้สภาพดีๆ หลงยึดมั่นถือมั่นในใจเราว่า พี่น้องต้องรักกันสิ มีอะไรก็ได้ช่วยเหลือกัน มีปัณหาเข้าใจผิดกันก็มาพูดคุยกันถามกัน คิดเหมือนจริงแต่คิดผิด เพราะคิดแล้วทุกข์ เพราะเราไม่เข้าใจเรื่องกรรม เพราะทุกสิ่งที่เกิดขึ้นมันดีที่สุดแล้ว ท่านจะรู้สึกอย่างไรก็ปล่อยให้เป็นไปตามวิบากของแต่ละท่าน
    และได้ใช้บททบทวนธรรม ข้อที่ 32 มาพิจารณาคือ หลักการทำดีอย่างมีสุข 6 ข้อ คือ
    1. รู้ว่าอะไรดีที่สุด ก็รู้ว่าพี่น้องรักกันดีที่สุด
    2.ปราถนาให้เกิดสิ่งที่ดีที่สุด เราก็ปราถนาดีด้วยใจที่บริสุทธิ์ ที่จะให้พี่น้องรักกัน
    3.ปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่นและลงมือทำให้ดีที่สุด วางใจเมื่อเราพูดคุยให้ท่านได้คลายใจกัน ทำดีที่สุดเท่าทำได้
    4.ยินดีเมื่อได้ทำดีที่สุดแล้ว..
    5.ไม่ติดไม่ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งที่ดีที่สุด ก็ไม่ยึดว่าท่านจะดีหรือจะไม่ดีกัน ก็วางใจได้
    6.นั้นแหละคือ สิ่งที่ดี่ที่สุด
    สรุปว่า เมื่อวางใจได้คือสิ่งที่ดีที่สุดค่ะ ใจไร้ทุกข์ได้ค่ะ สาธุค่ะ.

  4. ด.ช.จิรวศิน เรียนจันทร์

    9/8/64

    ด.ช.จิรวศิน เรียนจันทร์อายุ13ปี เป็นนักเรียนวิชชารามภาคสมทบ

    เรื่องไม่อยากลุกจากที่นอน

    เหตุการณ์:แม่ปลุกให้ตื่นแต่ไม่อยากตื่นจึงหงุดหงิด

    ทุกข์:หงุดหงิดที่ต้องตื่น

    สมุทัย:ชัง ที่ต้องตื่นชอบที่ได้นอนต่อ

    นิโรธ:ไม่ชอบ ไม่ชังที่ต้องตื่น

    มรรค: พิจารณาประโยชน์ของการที่ แม่ปลุกให้ตื่นคือมีเวลาจัดเตรียมของก่อนไปนา หลังจากพิจารณาได้แล้วก็ตื่นทันทีด้วยใจที่เบิกบาน

  5. วิภาภรณ์ กอจรัญจิตต์ (เอ ใจพอแล้ว))

    วิภาภรณ์ กอจรัญจิตต์ (เอ ใจพอแล้ว)
    เรื่อง หยุด (อยากดี)ได้ไหม

    เหตุการณ์ คือ ระหว่างที่ประชุมงานกันอยู่ ทุกคนก็ร่วมพูดคุยในเรื่องประชุมที่เตรียมกันมา พอหัวข้อประชุมเรื่องแรกจบไป เข้าหัวข้อที่สอง ก็มีเพื่อนอีกท่านกดซูมเข้ามาร่วมประชุม ซักพักท่านก็เริ่มพูดนอกเรื่อง พูดเรื่อยเปื่อย จนเริ่มมีพี่น้องในที่ประชุม พูดเบรคท่านบ้างเล็กน้อย แล้วดึงกลับเข้าร่วมประชุมอยู่หลายครั้ง แต่เหมือนท่านยังไม่รู้สึกตัว จนเวลาผ่านไป หัวข้อที่สอง ก็ยังพูดกันไปไม่ถึงไหน

    ทุกข์ – เกิดความรู้สึกหงุดหงิด รำคาญใจ มีความอยากให้ท่านหยุดพูดนอกเรื่อง พูดเรื่อยเปื่อย และพูดเรื่องประชุมให้เสร็จสิ้นก่อน

    สมุทัย – มีความยึดดีว่าท่านพูดเรื่องที่ประชุมกันจะชอบใจ พอท่านพูดนอกเรื่อง พูดเรื่อยเปื่อยก็เลยทุกข์ใจ

    นิโรธ – ท่านจะพูดเรื่องประชุม ก็ไม่ต้องชอบ ท่านจะพูดเรื่อยเปื่อย จะพูดนอกเรื่องก็ไม่ต้องชัง

    มรรค – พิจารณาโทษของการมีความอยากได้ดั่งใจ ว่ามันเป็นทุกข์ มันทำให้เราหงุดหงิด ฟังประชุมไม่ค่อยรู้เรื่อง โทษของการมีความยึด มันทำให้เราไปเพ่งโทษผู้อื่น สร้างวิบากกรรมใหม่ พอย้อนมองกลับมาที่ตัวเรา เราเองก็มักจะพูดเล่น พูดเย้าแหย่ พูดเรื่อยเปื่อย ให้สนุกสนานเหมือนกัน มาครั้งนี้ได้ชดใช้วิบากนี้ที่เราเองก็เคยทำไว้ ก็สงบใจลงได้ เริ่มขอโทษท่านในใจ ยอมรับผิดที่เผลอเพ่งโทษท่าน ตั้งจิตหยุดเพ่งโทษท่าน และยินดีชดใช้วิบากนั้นอย่างเต็มใจ

    สรุป – ระหว่างฟังท่านพูดไปเกือบชั่วโมง ฟังไปก็พยายามล้างใจไป แต่เสียงท่านที่ดังแทรกเป็นระยะๆ ก็ทำให้ใจแกว่งไปมาตลอดเวลา จนมานึกถึงคำอาจารย์ที่พูดว่า “ถ้าเค้ารู้ เค้าไม่ทำอย่างนั้นหรอก เค้าทำเพราะเค้าไม่รู้” แต่เราที่รู้ตัวแล้วว่ามีทุกข์ จับกิเลสตัวอยาก ตัวยึดได้แล้ว เราจึงหันมาล้างกิเลสในใจ ใจก็คลายลง และก็ร่วมประชุมต่อไปใจเบิกบาน

  6. ชวนชม คำท้วม

    ส่งการบ้าน
    นางชวนชม คำท้วม
    ชื่อทางธรรม สู่ร่มศีล
    จิตอาสา ส่วนป่านาบุญ 2
    ชื่อเรื่อง บ่นแล้วได้อะไรเหตุการณ์ มีเพื่อนของพ่อบ้าน มาที่บ้าน แล้วเราก็รู้ว่า คนนี้คือคนขายหวย เราก็รู้ได้ทันที ว่าเขาต้องมาทวงค่าหวยพ่อบ้าน ซึ่งเราไม่ชอบใจ ผ่านไปสักพัก ก็คุยเรื่องนี้ กับพ่อบ้าน ว่าเขามาทวงเงินใช่ไหม ก็บ่นกับพ่อบ้าน ทำไมไม่หยุดซิ้อหวย ไม่เบื่อบ้างเหรอ ที่ค้างเขา เป็นหนี้เพราะชอบซื้อหวย มีเงินก็ต้องไปปลดหนี้ ไม่ได้กิน ไม่ได้ใช้ เงินหมด ไปกับการจ่ายค่าหวย ไม่เบื่อบ้างหรือ เราก็บ่นๆ บ่นว่าเขา ยังมีความอยากอีกมากนัก บ่นว่าเขาชิปหายไม่ว่าขอให้ได้ซื้อ เขาหวังว่าสักวันเขาต้องถูก
    ทุกข์ ไม่ชอบใจที่พ่อบ้านยังไม่เลิกซื้อหวยที่เขายังมีความโลภอยู่อีก
    สมุทัย ชอบที่พ่อบ้านเลิกซื้อหวย ชังที่บ้านไม่เลิกซื้อหวย ที่เขายังมีความโลภอยู่อีก
    นิโรธ พ่อบ้านจะเลิกหรือไม่เลิกซื้อหวย ใจเราต้องไร้ทุกข์
    มรรค เราคงไปห้าม ไม่ให้ใครโลภ ในความอยากซื้อหวยเขา ก็ปรับใจ ที่ผ่านมาเราก็โลภ คืออยากมีเงินเยอะๆ อยากรวย นี่คงเป็นวิบากกรรมร้ายที่ส่งผลให้เราทุกข์ใจ ขึ้นมา ก็ใช้บททบทวน ทำสิ่งที่เราได้รับคือ สิ่งที่เราทำมา ไม่มีสิ่งใดที่เราได้รับ โดยที่เราไม่เคยทำมา ก็จะพยายามเพิ่มศีล จะไม่บ่นพ่อบ้านมากนัก ใจไร้ทุกข์ และไม่ชังพ่อบ้านค่ะ สาธุค่ะ

  7. น.ส.ทิษฏยา โภชนา (นุ้ย)(ในสายธาร)

    09/08/64
    ชื่อ : น.ส.ทิษฏยา โภชนา
    ชื่อทางธรรม : ในสายธรรม
    จิตอาสาสังกัดสวนป่านาบุญ 2
    เรื่อง: ทำไมคิดเยอะขนาดนี้
    ในระหว่างเตรียมวัตถุดิบเพื่อทำเมนูน้ำปั่นผักผลไม้สด และถ่ายรูปไว้เพื่อจะไปออกรายการสายด่วนฯ ก็มีผู้ช่วยมาบอกว่า “ ถ้าปั่นเสร็จแล้วควรจะใส่เป็น 2 แก้ว” จึงถามกลับไปว่าทำไมต้อง 2 แก้ว? ท่านก็ให้เหตุผลว่า “ปกติคนส่วนใหญ่จะไม่ได้อยู่คนเดียว จึงเราก็ควรถ่ายรูปน้ำผัก 2 แก้ว เพื่อที่จะได้เข้าถึงความรู้สึกของคนที่เข้ามาดู” เมื่อได้ยินคำตอบก็รู้สึกไม่พอใจขึ้นมาว่าทำไมต้องคิดเยอะ คิดละเอียดขนาดนั้น เราถ่ายภาพไว้เพื่อที่จะให้ผู้ชมรายการได้เข้าใจถึงวิธีการทำแค่พอสังเขป ไม่ต้องถึงขนาดเข้าถึงใจความรู้สึกของคนดูขนาดนั้นก็ได้ จะต้องมาเตรียมวัตถุดิบและจัดหาภาชนะเพิ่มให้ยุ่งยากทำไม
    ทุกข์ : รำคาญคนคิดละเอียด คิดรอบคอบมากเกินไป
    สมุทัย : ชอบถ้าเขาไม่ต้องคิดรายละเอียดให้ซับซ้อนมากเกินไป ชังที่เขาคิดละเอียด คิดรอบคอบมากเกินไป จะทำให้งานยุ่งยากขึ้น
    นิโรธ : ใครเขาจะคิดอะไรยังไงก็ได้ จะคิดละเอียดคิดรอบคอบก็ไม่ชอบไม่ชัง ใจไร้ทุกข์
    มรรค : พิจารณาว่า ตัวเราเองนั่นแหละที่น่ารำคาญ เอาแต่ใจตัวเอง แล้วยังชิงชังความคิดเห็นของคนอื่น คิดว่าความคิดของตัวเองถูกต้อง คิดว่าเราคิดดีกว่าคนอื่น เขามาช่วยคิดช่วยทำก็ดีแล้ว ดีกว่าต้องมานั่งทำคนเดียว เขาคิดละเอียด ก็ดีกว่าคิดแบบผ่าน ๆ ไป งานจะได้ออกมาดี คนที่เข้ามาชมก็อาจจะได้แง่มุมที่เป็นประโยชน์บ้างก็ได้ ภาพน้ำผักปั่นที่ถ่ายออกมาในเฟรมเดียวกัน 2 แก้ว ก็อาจจะดูดีกว่ามีเพียงแก้วเดียวก็ได้ ดีแล้วที่เขามาช่วยคิด จึงตั้งจิตสำนึกผิดที่คิดไม่ดีกับเขา และขอบคุณที่เขามาช่วยให้งานเราสำเร็จลุ่ล่วงไปด้วยดี

    ตรงกับบททบทวนธรรมข้อที่ 84 “ ล้างความยึดมั่นถือมั่นของใจได้ คือ ความสำเร็จที่แท้จริง”

    บทสรุป พิจารณาแบบนี้แล้วใจก็โล่งขึ้น ยอมลดความถือมั่นของตัวเองได้ ยอมหาภาชนะมาเพิ่มและได้ถ่ายรูปน้ำผักผลไม้ปั่น 2 แก้ว ตามที่เขาเสนอมา

  8. รมิตา ซีบังเกิด

    รมิตา ซีบังเกิด
    เรื่อง : ไม่ได้ดั่งใจ
    เหตุการณ์ : หลังจากเผาศพน้องชายได้แนะนำน้องสะใภ้ว่า ให้ติดต่อธนาคารที่น้องชายผ่อนรถอยู่ ว่าต้องการคืนรถไม่ต้องการผ่อนต่อ เนื่องจากไม่มีความสามารถจะผ่อนต่อได้ ผ่านไปเดือนพอดี เพิ่งโทรมาหาให้ช่วยติดต่อคนโน้น คนนี้ เราก็ต้องไปปรึกษาผู้รู้เรื่องทำนองนี้ ในที่สุดทุกอย่างน้องสะใภ้ก็ต้องจัดการเอง ไม่มีใครสามารถทำธุรกรรมต่างๆแทนได้ เราก็ต้องย้ำแล้วย้ำอีกว่าอย่าช้าเดี๋ยวจะมีปัญหาอื่นตามมาอีก เรื่องเงินจำนวนมากๆเราก็คงช่วยไม่ได้ จึงอยากให้ดำเนินเรื่องให้เร็วจะได้ไม่ต้องเสียเงินจำนวนมาก
    ทุกข์ : ขัดใจที่น้องสะใภ้ไม่กระตือรือล้นในการทำธุรกรรมเรื่องรถยนต์
    สมุทัย : ชอบที่น้องสะใภ้ทำธุรกรรมเรื่องรถยนต์ ชังที่น้องสะใภ้ไม่ทำธุรกรรมเรื่องรถยนต์
    นิโรธ : น้องสะใภ้จะทำธุรกรรมเรื่องรถยนต์หรือไม่ก็ไม่ชอบไม่ชัง
    มรรค: เมื่อเดือนก่อนได้แนะนำน้องสะใภ้ไปหลายเรื่อง หลายวิธีว่าต้องติดต่อใคร ทำอย่างไร ต้องเตรียมอะไรบ้างในการทำธุรกรรม เพื่อจะได้ไม่ต้องเสียเงินจำนวนมากๆในการดำเนินเรื่อง พูดคุยกันอยู่นาน รับปากว่าจะรีบทำ ในตอนแรกที่น้องสะใภ้โทรมาหาเพื่อปรึกษาเรื่องรถยนต์ที่ผ่อนอยู่ เกิดความรู้สึกขัดใจทันที เหตุการณ์ผ่านมาเป็นเดือนยังไม่ดำเนินเรื่องให้เรียบร้อย จนจวนตัวถึงจะโทรมาปรึกษาอีกครั้ง เราก็ต้องกลับมาคิดทบทวนดูจึงสรุปได้ว่า “จงฝึกอยู่กับความเป็นจริงของชีวิต ที่พร่องอยู่เป็นนิตย์ อย่างผาสุกให้ได้” ในเมื่อเราพอจะเป็นผู้ให้คำแนะนำและการช่วยเหลือได้ก็ทำไป ทีคนอื่นเรายังช่วยเหลือเขามาตั้งมากมายจะเป็นอะไรไปกับน้องสะใภ้และหลานๆ
    ถ้าเหตุการณ์นี้ผ่านไปด้วยดีน้องสะใภ้กับหลานๆคงจะมีความสุขกาย สบายใจกันขึ้นมาบ้าง เราในฐานะป้าของหลาน ก็คงสบายใจไปด้วย วันนี้ทำให้ดีที่สุดพรุ่งนี้จะเป็นอะไรก็ปล่อยให้เป็นไปตามวิบากดีหรือร้ายของแต่ละคนก็แล้วกัน

  9. มาลิน จุ้ยทรัพย์เปี่ยม (เมฆ ลม ฟ้า)

    เริ่มใหม่ได้ทุกวัน

    เนื้อเรื่อง ตั้งศีลถวายพ่อครูและอาจารย์ตั้งแต่มิถุนายนเรื่องการออกกำลังกายและการนอนหัวค่ำ ประมาณ 4 ทุ่ม ตั้งแต่ตอนนั้น ทำได้น้อยมาก พอใกล้ๆช่วง 4-5 ทุ่มจะเป็นช่วงที่มีสมาธิมากที่สุดและองค์ประกอบรอบ ๆ ก็เป็นใจให้นอนดึก เพราะพ่อบ้านทำงานกลางคืน เพราะช่วงกลางคืนอากาศเย็น การระบายสีจะทำได้ง่าย เพราะสีแห้งช้า

    ทุกข์ : รู้สึกผิด ตีตัวเอง ทำไมทำไม่ได้สักที ทำไมทำสิ่งที่ตั้งใจไว้ ไม่ได้สักที

    สมุทัย : ถ้าทำได้จะสุขใจ ทุกข์ใจที่ทำไม่ได้ อุปาทานอยากได้ดังใจหมาย อยากทำได้ เหมือนใจที่เราตั้งไว้

    นิโรธ : จะทำได้หรือไม่ได้ก็ไม่ทุกข์ใจ พอทำไม่ได้ ก็ตั้งใหม่พรุ่งนี้ ด้วยใจที่เบิกบาน

    มรรค :
    ภายนอก-เหตุการณ์
    -เริ่มใหม่ ตั้งเป็นวันๆ
    – พิจารณาโทษของการนอนดึก โทษของการไม่ออกกำลังกาย
    – ลดความเสี่ยงที่จะพลาด โดยพิจารณาองค์ประกอบที่ทำให้พลาด ทำไม่ได้ เพื่อเป็นบทเรียน ตอบกับกิเลส รอบต่อไป
    องค์ประกอบอื่นๆ หรือสิ่งแวดล้อมนั้นไม่เกี่ยว เป็นข้ออ้างกิเลสหลอก
    ใจ
    – พิจารณา อาการสุขใจที่ทำได้ มันก็ดี เพราะเป็นสิ่งดีที่ควรยึดอาศัย แต่ถ้าไม่ได้ ก็ดี ทำความเข้าใจว่า เราก็ทำไม่ได้บ้าง ไม่เป็นไร เริ่มใหม่พรุ่งนี้ ให้กำลังใจตัวเอง ทำที่ใจ ไม่ทุกข์ถ้าทำไม่ได้
    – พิจารณาโทษของการตีตัวเอง ไม่มีดี เสียพลัง ทำให้ตนหมดกำลังใจ ไม่มีประโยชน์อะไร ตัดรอบเวทนา ไม่ร่ำไร วันนี้ทำไม่ได้ พรุ่งนี้เราเริ่มใหม่
    – ความลวงคือ พอเราทำไม่ได้ กิเลสหลอกให้ต้องตีตัวเอง เราด้อย เราทำไม่ได้ ไม่ดีเลย
    ความจริงคือ ยอมรับความจริง ตามความเป็นจริงว่า ไม่ใช่ทุกอย่างที่เราหวัง จะทำได้ นี่ขนาดเรื่องง่าย ๆ เราก็ยังทำไม่ได้เลย ยอมรับว่าเป็นไปได้

  10. จิตรา พรหมโคตร (มั่นแก่นพุทธ)

    น้อยใจลูก

    เมื่อเช้าผัดมะละกอใส่โหระพา ลูกถามว่าใส่โหระพาเหรอ เราก็ตอบว่าใช่แล้วพูดต่อว่าเห็นมะละกอเป็นฤทธิ์เย็นก็เลยใส่โหระพาฤทธิ์ร้อนใส่มาด้วย ลูกก็บอกว่ามันไม่เข้ากัน แล้วพูดต่อว่าเต้ยังทำแบบแม่ไม่ได้หรอก รู้สึกน้อยใจขึ้นมาทันที

    ทุกข์: รู้สึกน้อยใจกับคำพูดที่ลูกบอกว่ายังทำไม่ได้เหมือนแม่หริอก

    สมุทัย: อยากให้ลูกทานอาหารแบบเราได้ สุขใจถ้าลูกทานอาหารแบบเราได้ทุกข์ใจถ้าลูกทานอาหารแบบเราไม่ได้ ลึก ๆ มีตัวใจร้อน สมุทัย มีความใจร้อน อยากให้ลูกเข้าใจว่าเราหวังดี อาหารที่เราทำให้เป็นสิ่งดี

    นิโรธ: ลูกจะทานอาหารแบบเราได้หรือไม่ได้ก็ไม่ทุกข์ใจ และลูกจะเข้าใจหรือไม่ ก็ไม่ทุกข์ใจ ไม่บังคับลูกให้กินแบบเรา

    มรรค: เมื่อได้สติก็กลับมาพิจารณาทบทวนตัวเองว่ามีความอยากให้ลูกทานอาหารได้เหมือนเรา ระลึกถึงว่าเรามาพบอาจารย์หมอเขียวเรื่องอาหารเราก็ยังปฏิบัติไม่ได้เท่าไหร่เลย ถ้าลูกไม่มีอาการเสี่ยงจากเพื่อนที่ทำงานติดโควิด เขาก็ยังไม่มากินอาหารที่เราทำ นี่ลูกก็ยอมปฏิบัติตามศาสตร์ของพวธ.เท่าที่เขารับได้ก็ดีมากแล้ว โลภอยากได้มากเกินกว่าที่เป็นไปได้จริง ซึ่งตรงกับบททบทวนธรรมข้อที่ 2 ว่า “เราต้องรู้ว่าแต่ละคนมีฐานจิตแตกต่างกัน เราจึงควรประมาณการกระทำให้เหมาะสมกับฐานจิตของเราและฐานจิตของผู้อื่น “คิดดี พูดดี ทำดีไว้ก่อน” ดีที่สุด

    การที่เราทำอาหารแบบเรา ลูกยังรับไม่ได้ ลูกเรียกว่า มั่ว แม่เรียกว่า ปกติ สัญญาแม่กับลูกไม่ตรงกัน ความจริง-ความลวง สิ่งนี้ไม่เข้ากันจริงๆ ลูกมองว่ามั่ว แต่ถึงลูกจะบอกยังไง เราก็ไม่ต้องหวั่นไหว

    สรุปผลของการน้อยใจลูกก็ผ่อนคลายไปได้แล้วรู้สึกโล่งใจเมื่อมานึกถึงว่าตัวเองว่าเมื่อไม่มีความอยากก็ไม่ทุกข์ แล้วจะอยากไปทำไมก็มันโง่ไง

  11. อรวิภา กริฟฟิธส์

    เรื่อง รู้เพียรรู้พัก
    ขณะทำรายการนักศึกษาชวนทำการบ้าน อริยสัจ 4 เกิดอาการตาลายพล่ามัว เห็นตัวหนังสือไม่ชัดเจน ก็เลยถามพ่อบ้านว่าเป็นที่เราหรือเครื่องคอมพิวเตอร์ ท่านก็บอกว่าทุกอย่างปกติดี แสดงว่าเป็นที่ตาของเราเอง พอจบชั่วโมงนักศึกษาชวนทำการบ้านก็เลยไปปรับสมดุล ดื่มน้ำพระพุทธเจ้าและหยอดตา ดีขึ้นก็มานั่งทำงานที่ค้างไว้ เห็นพี่น้องส่งลิงค์รายการอื่น เกิดอาการลังเลใจ แต่รู้สึกเหนื่อย ๆ ก็เลยตัดสินใจว่าเราน่าจะพักดีกว่า
    ทุกข์ เกิดอาการลังเลใจ ร่างกายรู้สึกเหนื่อย ๆ อ่อนเพลียสายตาพล่ามัว

    สมุทัย อยากเข้าร่วมบำเพ็ญกับพี่น้อง ถ้าได้ร่วมบำเพ็ญจะสุขใจชอบใจ

    นิโรธ ได้เข้าร่วมบำเพ็ญหรือไม่ ก็ไม่ชอบไม่ชัง บำเพ็ญเท่าที่เหตุปัจจัยเอื้ออำนวยให้

    มรรค พิจารณาโทษของความอยาก อยากมาก ๆ ก็ทำชั่วได้ทุกเรื่อง เรากำลังเบียดเบียนตนเอง ตอนนี้ร่างกายเขาเตือนเราแล้วว่าไม่ไหว มันฝึดฝืนเกิน เราจะเอาอะไรเพราะสุดท้ายก็ไม่มีอะไรเป็นของใคร เราจะไม่เบียดเบียนใครเพื่อให้สมอยากของเรา การพักผ่อนก็คือการบำเพ็ญของเรา ณ เวลานี้ ทำดีที่ทำได้ด้วยใจไร้ทุกข์ อย่างรู้เพียรรู้พัก

  12. พรพิทย์ สามสี (เพื่อนพิทย์)

    เรื่อง : เสียผีดิน
    เพื่อนบ้านคนหนึ่ง เขาบอกเขาเจ็บโน้นเจ็บนี่
    เข็ดเหมื่อย ล้มรถบ้าง ในครอบครัวมีคนติด
    โควิด บ้าง เขาว่าเย็นนี้นัด หมอมาเสียผีดิน
    เผื่ออะไรๆจะดีขึ้น ตามความเชื่อของเขา และตามความเชื่อ หนาคน ในหมู่บ้าน การหาหมอมาเสีย ผีดิน ที่ว่า ต้องจ่ายเงิน ให้หมอด้วย
    ทุกข์ : เพื่อนบ้านยังไม่ชัดเรื่องกฏแห่งกรรม
    สมุทัย : ชอบที่จะให้เเพื่อนบ้านเข้าใจธรรมะที่ถูกต้อง ถูกตรง รวมทั้งหมอบ้านที่เรียกว่ามา
    เสียผีดิน ด้วย
    นิโรธ : เขาทั้งสองคน หรือหลายๆคน จะเห็นต่างจากเรา ยินดีในความไม่ชอบไม่ชัง
    มรรค : กิเลส : แกจะขุ่นใจไปใย ก็เมื่อก่อนแกก็ไม่เข้าใจเรื่องแบบนี้ มาเหมือนกันใช่ก็ นี่ถ้าเราไม่พบ แพทย์วิถีธรรม เราก็คงไม่เข้าใจ
    ธรรมมะ ที่ถูกต้อง ถูกตรง ไม่มีปัญญาแยกแยะ อันไหนถูก อันไหนผิด พี่น้องบ้านเราเวลามี วิบากไม่ดีเข้ามา เขาจะแก้ด้วยการ ถวายสังฆทานบ้าง ทำพิธีเสดาะเคราะห์บ้าง
    ทำศาลพระภูมิบ้าง ไหว้เจ้าที่เจ้าทางที่บ้านบ้าง(ไหว้เจ้าที่บ้านต้องมี อาหารเนื้อสัตว์ มาไหว้ด้วย และหาหมอบ้านมาไหว้ด้วย)
    ไหว้ตายายบ้าง ไหว้ทางบ้าง ตามความเชื่อของพวกเขา อันนี้ไม่ได้ทำให้พ้นทุกข์ และลดกิเลสได้ แม้นเราจะอยู่ในละแวกเดียว เราต้องวางใจใหัได้ ในเมื่อเราไม่สามารถบอกพวกเขาได้ ณ เวลานั้น
    บททบทวนธรรม ๓๕ ยึดอาศัย ดี
    ที่สามารถทำให้เกิดขึ้นได้จริง นั้นดี
    แต่ยึดมั่นถือมั่นว่า
    ต้องเกิด ดี ดั่งใจหมาย
    ทั้ง ๆ ที่องค์ประกอบเหตุปัจจัย
    ณ เวลานั้น
    ไม่สามารถทำให้ดีนั้นเกิดขึ้นได้จริง
    นั้นไม่ดี
    บททบทวนธรรม ๔๒
    ยินดีในความไม่ชอบไม่ชัง
    ได้พลังสุดๆ ได้สุขสุดๆ
    ยินดีในความชอบชัง
    เสียพลังสุดๆ ได้ทุกข์สุดๆ
    อยู่กับพี่น้องเพื่อนบ้านให้ได้ อย่างไร้ทุกข์ไร้กังวล ทำตัวเราให้เป็นตัวอย่างที่ดีให้ได้

  13. นปภา รัตนวงศา

    เรื่อง พิธีกรร่วม

    เหตุการณ์ เนื่องจากมีรายการ ฝ่าวิกฤติโควิด 19 ซึ่งทางสวนป่านาบุญ 2 รับเป็นผู้จัดรายการในวันอังคาร และวันพฤหัสบดี พี่น้องจิตอาสาได้เปิดโอกาสให้ได้ลองร่วมจัดรายการดู ขณะทำรายการได้มีโอกาสพูดคุยได้น้อยกว่าที่ตั้งใจจะพูด

    ทุกข์ ขุ่นใจ กังวลใจเล็กๆที่ได้พูดคุยน้อยกว่าที่ตั้งใจ

    สมุทัย ชอบใจถ้าได้พูดคุยตามที่ตั้งใจ ชังถ้าไม่ได้พูดคุยตามที่ตั้งใจ

    นิโรธ จะได้พูดคุยหรือไม่ได้พูดคุยตามที่ตั้งใจไว้ก็ไม่ชอบไม่ชัง ใจไร้ทุกข์

    มรรค ตั้งศีลมาพิจารณาไตรลักษณ์ ความวิปลาส ความยึดมั่นถือมั่นว่า ถ้าได้พูดคุยในรายการตามที่ตั้งใจไว้จะชอบใจ สุขใจ ซึ่งดูเหมือนจริง แต่ก็ไม่จริง ซึ่งเป็นไปไม่ได้ เพราะทุกอย่างไม่เที่ยง เป็นไปตามกุศล อกุศลของเราและผู้ที่เกี่ยวข้อง ณ.เวลานั้นๆ แล้วเราจะโง่จะทุกข์ไปทำไม ถึงแม้จะเป็นแค่เล็กๆสั้นๆ ก็ผิดทางพุทธะแล้ว พุทธะต้องไม่ทุกข์ ก็มาคิดใหม่ก็ในเมื่อพิธีกรร่วมได้จัดทำรายการได้ดีลื่นไหลก็ดีแล้ว และพี่น้องจิตอาสาก็ช่วยกันเต็มที่ เราจะไม่ได้พูดเลย หรือได้พูดน้อยก็สุขใจให้ได้ ยินดีที่ได้รับเกียรติจากหมู่มิตรดี ยินดีที่ได้ร่วมช่วยเข็นกงล้อพระธรรมจักร ยินดีที่ได้เป็นส่วนหนึ่งก็ดีที่สุดแล้ว ทุกอย่างที่เกิดขึ้นดีที่สุดแล้ว ก็ยินดี พอใจในสิ่งที่เกิดขึ้น ณ.เวลานั้น
    พิจารณาในเรื่องวิบากกรรม เชื่อชัดว่าสิ่งที่เราได้รับคือสิ่งที่เราทำมา และเราทำมามากกว่านั้นโดยเฉพาะตอนทำงานพยาบาล พูดไปโดยไม่ใส่ใจผู้รับบริการว่าท่านจะได้ประโยชน์มากน้อยแค่ไหน
    และก่อนหน้านี้ยังพูดจาเพ้อเจ้อ พูดโกหก พูดหลอกลวงอีกมากมาย ก็ขอสำนึกผิด ยอมรับผิด ขอโทษ ขออโหสิกรรม โชคดีแล้วที่ได้พูดคุยแม้น้อยก็ดีที่สุดแล้วให้เป็นไปตามเหตุปัจจัยที่เกิดขึ้น

    สรุป หลังพิจารณาแล้ว ถ้าเป็นก่อนหน้านี้ คงจะไม่พอใจมาก คงจะไม่ขอรับเป็นพิธีกรอีก แต่ครั้งนี้เข้าใจแจ่มแจ้งในวิบากกรรมที่จัดสรรให้ตามกุศลอกุศล และเข้าใจในความพร้อมของน้องพิธีกรร่วมที่ใช้คอมพิวเตอร์ทำให้เห็นชัดในทุกมุมที่เกิดขึ้นจึงสามารถแก้สถานการณ์ได้ดี ก็ยอมรับ ยินดีที่ได้พูดคุยแค่นั้นซึ่งก็ดีที่สุดแล้ว..สาธุ

  14. นางพรรณทิวา เกตุกลม

    เรื่อง เราทำมา
    เหตุการณ์ : ช่วงนี้ได้รับผัสสะจากการพูดคุยกับพ่อบ้านบ่อยมาก รู้สึกขัดใจ เพราะฟังไม่ได้ยินที่พ่อบ้านพูด ต้องถามซ้ำหลายๆครั้ง บางทีพ่อบ้านเงียบไปเลย

    ทุกข์ : รู้สึกขัดใจ ที่พ่อบ้านพูดไม่ได้ยินไม่ชัด

    สมุทัย : อยากให้พ่อบ้านพูดเสียงดังฟังชัด ชอบถ้าพ่อบ้านพูดแล้วได้ยินชัด ชังที่พ่อบ้านพูดได้ยินไม่ชัด

    นิโรธ : พ่อบ้านจะพูดได้ยินชัด หรือไม่ ก็สุขใจ ไม่ชอบ ไม่ชัง

    มรรค : พิจารณาล้างความอยากด้วยการหันมาปรับใจด้วยการใช้บททบทวนธรรมข้อ 8 ที่ว่า”สิ่งที่เราได้รับ คือ สิ่งที่เราทำมา ไม่มีสิ่งใดที่เราได้รับ โดยที่เราไม่เคยทำมา” เป็นจริงตามกล่าวเพราะเป็นสิ่งที่เราทำมาจริงๆ แถมทำมามากกว่านี้ด้วยซ้ำ เนื่องจากพ่อบ้านบอกบ่อยๆว่าฟังเราพูดไม่ได้ยินเพราะเราพูดเบามาก พูดอยู่ในลำคอ จะได้ยินอย่างไร แต่ก่อนเราถือสาพ่อบ้านมากพาลไปว่า ไม่สนใจคำพูดของเราบ้าง พูดแล้วไม่ตอบ สารพัด พอตัวเองได้รับบ้าง คราวนี้ไม่มีอาการถือสาพ่อบ้านเลย มีแต่ยอมรับผิด สำนึกผิด ด้วยความยินดี เต็มใจรับสิ่งที่ทำมาด้วยใจเบิกบาน ใจไร้ทุกข์ ความรู้สึกขัดใจ จึงหายไป
    สรุป เมื่อล้างความอยากแล้วยอมรับความจริงว่าสิ่งที่เราได้รับเป็นสิ่งที่เราทำมาความรู้สึกขัดใจหายไป ได้ใจไร้ทุกข์ เบิกบานกลับมาดังเดิม

  15. น.ส.จาริยา จันทร์ภักดี

    เรื่อง เงินเป็นเหตุ
    เหตุการณ์ : น้องสาวชวนลงทุนขาย วัสดุการแพทย์ ซึ่งตัวเองอยู่แบบเรียบง่าย พอเพียง ไม่คิดลงทุนอะไรที่มุ่งไปหาเงินให้มากๆ จึงโดนน้องสาว พูดให้ว่า ไม่รู้จักบริหารเงินให้เป็นประโยชน์จะได้มีเงินเพิ่มขึ้น จึงรู้สึกขุ่นใจ

    ทุกข์ : รู้สึกขุ่นใจ ที่โดนน้องว่า เรื่องไม่รู้จักใช้เงิน

    สมุทัย : ยึดว่าน้องไม่ว่าเรา ชอบถ้าน้องสาวไม่ว่า ชังที่น้องมาว่า

    นิโรธ : น้องสาวจะว่าเรา.หรือไม่ ก็ได้ ไม่ชอบ ไม่ชัง

    มรรค : วางความยึดที่เรา และเข้าใจน้องสาวเพราะเขาไม่ได้มาฝึกลด ละ กินน้อย ใช้น้ออย่างเรา เป็นธรรมดาที่เขาจะคิดหาเงินให้ได้มากๆด้วยการลงทุนโน่นนี่นั่นเพื่อจะได้เงินเพิ่ม ต้องขอบคุณน้องที่มาชวนลงทุนมาตรวจใจว่าเรายังมีความโลภหรือไม่ แต่ก็พบว่าไม่มี และได้บอกน้องว่าอยู่แบบนี้เราก็เพียงพอดีแล้ว จะขุ่นใจทำไม เรื่องนี้มาให้เราได้ฝึกใจจริงๆ ซึ่งตรงกับบททบทวนธรรมข้อที่ 119 ว่า”ปัญหา คือ เครื่องมือฝึกใจที่ดีที่สุดในโลก” เมื่อได้พิจารณาแล้วความรู้สึกขุ่นใจก็หายไป ใจกลับมาเบิกบาน ตามเดิม

  16. นางสาวนาลี​ วิไลสัก

    14/8/2564
    ชื่อ นางสาวนาลี วิไลสัก
    ผู้บำเพ็ญคบคุ้นสวนป่านาบุญ 2
    Email​nalyvilaysack1989@gmail.com
    เรื่อง : ปรับสมดุลกายใจให้ถูก จึงจะหายป่วย

    เหตุการณ์ : พ่อไม่สบาย อาเจียนอย่างแรง 2 วัน 2 คืน จากนั้นก็มีอาการเพลียล้า ปวดศีรษะ ปวดตาอีก 2 วัน 1 คืน ตนเองก็คอยดูแลประคบประหงม ไม่ได้หลับติดต่อกันหลายคืน กิเลสก็มา

    ทุกข์ : เพลียล้า ใจร้อน อยากให้พ่อหายป่วยเร็วๆ

    สมุทัย : ชอบถ้าพ่อหายป่วยเร็ว ๆ ชัง ที่พ่อป่วยนาน แล้วตนเองก็อดหลับอดนอน

    นิโรธ : พ่อจะหายป่วยเร็ว หรือช้า ก็ไม่ชอบไม่ชัง ยินดีที่จะอดหลับอดนอนเพื่อตอบแทนพระคุณพ่อ

    มรรค : หันมาตรวจใจดู ทำไมถึงใจร้อน

    มาร : พ่อหนะป่วยทีไรนานมาก กว่าจะหาย เราก็พยายามช่วยปรับสมดุลให้เท่าไหร่ก็ยังไม่หายซะที

    เรา : ก็เพราะปรับสมดุลผิดทางงัย พยายามปรับแต่วัตถุ แต่ไม่ยอมปรับใจ เอาใจไปเร่งผล ก็ยิ่งเป็นแรงเหนี่ยวนำไปเติมให้พ่อกลัว กังวล เร่งผล อยากหายเร็ว ๆ ก็กลายเป็นหายช้า นี่งัยฝีมือเอ็ง

    มาร : แล้วเมื่อไหร่เราจะได้นอนตามปกติซะทีวะ ทั้งพ่อทั้งเราลำบากกันทั้งคู่เลย

    เรา : นี่แหละ การเกิดเป็นทุกข์ ได้เกิดมาเป็นพ่อเป็นลูกกัน ก็เคยไปร่วมมือกัน สร้างวิบากร้าย เอาชีวิตสัตว์มาเลี้ยงกัน กอบโกยวัตถุสิ่งของมาบำรุงบำเรอกันและกันมาเยอะ ทำให้คนอื่นสัตว์อื่น และโลกเดือดร้อน ขาดแคลน วิบากอันนี้ คือสมบัติของพวกเรา พ่อลูกจะต้องได้เสวยทุกข์ อีกอย่าง ญาติเคยเล่าให้ฟังว่า ตอนเป็นเด็ก เราชอบร้องไห้และป่วยบ่อย ทำให้พ่อแม่และคนรอบข้างลำบาก ไม่ได้หลับ ไม่ได้นอน เท่าที่เราได้รับ ถือว่าน้อยไปด้วยซ้ำ ตรงกับบททบทวนธรรมข้อที่ 8 สิ่งที่เราได้รับคือสิ่งที่เราทำมา ไม่มีสิ่งใดที่เราได้รับโดยที่เราไม่เคยทำมา
    สรุป ในระหว่างที่รักษาพ่อมาหลายวัน เราก็ทำงานไปด้วย รักษาพ่อและทุกข์ใจไปด้วย พอมาวันหลัง เราตัดสินใจมานั่งคุยกับกิเลสประมาณ 30 นาที จนกิเลสเข้าใจเรื่องกรรมและไม่ใจร้อน สมองก็โล่ง จึงคิดได้ว่าจะปรึกษาพี่ขวัญ พอได้รับความเมตตาจากพี่ขวัญ เราก็นำวิธีการนั้นมาใช้กับพ่อ ปรากฏว่าพ่อฟื้นเร็วมาก และอาการปวดศีรษะ ปวดตาก็หายไป
    ต้องขอบพระคุณเหตุการณ์นี้ที่ทำให้เราได้เรียนรู้การปรับสมดุลกายใจ สาธุค่ะ

  17. พิมพ์พศินา สิทธิประเสริฐ (น้าหมู-เพียรเย็นพุทธ)

    เรื่อง : เห็นตนเอง
    เนื้อเรื่อง : วันหนึ่งไปเดินออกกำลังกายที่สวนสาธารณะหลังบ้าน พอเดินไปได้สักระยะหนึ่ง สายตาเหลือบไปเห็นถุงลูกชิ้น เขากินแล้วเหลืออยู่ในถุง ประมาณ 5-6 ไม้ แขวนทิ้งไว้ทางลงบันไดหรือราวบันได มีมดลงเต็มไปหมด เป็นสาย

    ทุกข์ : คันหัวใจไม่เบิกบาน

    สมุทัย : ไม่ชอบที่เขาทิ้งขยะไม่เป็นที่เป็นทาง ชอบที่จะให้เขาทิ้งให้เป็นที่เป็นทาง

    นิโรธ : ใครจะทิ้งขยะหรือไม่ทิ้งขยะให้เป็นที่เป็นทางเราก็มีความสุข ดีเราก็จะได้บำเพ็ญ บุญเพื่อประโยชน์ตนและประโยชน์ท่าน

    มรรค : เราได้เห็นตนเอง ภพก่อนหรือชาติไหนๆ เราก็เป็นคน เบียดเบียนตนเบียดเบียนผู้อื่นให้เดือดร้อนแบบนี้มาก่อน เราก็ต้องมาชดใช้หนี้กรรมในสิ่งที่เราทำมา ทำมาและทำมา ไม่มีสิ่งใดที่เราได้รับโดยที่เราไม่เคยทำมา คิดแบบพุทธะเราเข้าใจเรื่องกรรมอย่างแจ่มแจ้ง คือได้เห็นทุกข์ ได้ใช้วิบาก และได้ล้างทุกข์ ใจก็จางคลาย เป็นเบิกบานแช่มชื่นใจไม่เบิกบูด

    เจริญธรรมสำนึกดีมีใจไร้ทุกข์สาธุ

  18. ชวนชม คำท้วม

    ส่งการบ้าน
    นางชวนชม คำท้วม
    ชื่อทางธรรม สู่ร่มศีล
    จิตอาสาสวนป่านาบุญ 2
    ชื่อเรื่อง ก็เรานั่นแหละ
    เหตุการณ์ ปกติพ่อบ้านจะดื่มเหล้าบางเวลา หลายวันมานี้ พ่อบ้านดื่มเหล้าตลอด ทั้งวันทั้งคืน หลับเท่านั้น ที่ไม่ดื่มเหล้า รู้สึกไม่ชอบใจที่พ่อบ้านดื่มเหล้าทั้งวัน
    ทุกข์ รู้สึกไม่ชอบใจที่พ่อบ้านดื่มเหล้าทั้งวัน
    สมุทัย ชอบถ้าพ่อบ้านดื่มเหล้าบางเวลา ไม่ใช่ทั้งวัน ชังพ่อบ้านดื่มเหล้าทั้งวัน ไม่เว้นวรรคการดื่มเหล้า
    นิโรธ พ่อบ้านจะดื่มเหล้าทั้งวัน หรือบางเวลา เราก็ต้องทำใจให้ไร้ทุกข์
    มรรค เราก็วางใจไม่ค่อยได้ เขาดื่มก็ตัวของเขาเอง สุขภาพเขาเอง ไม่ต้องไปกังวลใจกับเขา เขามีความสุขที่ได้ดื่มเหล้า เราก็ต้องวางใจให้ได้ ต้องไม่ชอบไม่ชังเขา สิ่งที่เราได้รับคือสิ่งที่เราทำมา ชาติก่อนเราไปรังเกียจ ไปดูถูกคนดื่มเหล้ามา ก็จะเต็มใจรับ โชคดีแล้ว รับเต็มๆ หมดเต็มเต็มๆ เราก็จะโชคดีขึ้น รับเท่าไหร่หมดเท่านั้น เราแสบสุดๆ มันก็ต้องรับสุดๆ มันจะได้หมดไป เราจะได้เป็นสุขสุดๆ พอปรับใจ เราก็หายทุกข์ สาธุค่ะ

  19. ปิ่น คำเพียงเพชร

    รางวัลของนักบำเพ็ญ 2

    จากที่ได้ร่วมบำเพ็ญกับทีมคุรุวิชาอริยสัจ 4 เวลามีข้อผิดพลาดในงานหรือเรื่องกิเลสก็จะได้รับการชี้ขุมทรัพย์ให้ได้กลับมาปรับปรุงแก้ไขเสมอ ซึ่งก็รู้สึกยินดีที่ท่านเอาภาระช่วยขัดเกลา แต่ตัวเองจะมีจุดอ่อนที่ยังล้างไม่ได้คือ เวลามีพี่น้องมาพูดในเชิงปลอบหรือเข้าใจ กิเลสตัวอ่อนไหวก็จะทำงานทันที คือ น้ำตาจะไหลทุกที และครั้งนี้ก็เช่นกัน คือมีคุรุบางท่านพูดเชิงเข้าใจหรือปลอบอีก ก็ทำให้น้ำตาไหลอีก แต่ก็ยังไม่รู้สึกว่าทุกข์ใจ จนนำไปเล่าให้พี่น้องกลุ่มย่อยแอดมินฟังว่าถูกชี้ขุมทรัพเรื่องความพร่องในงาน และมีน้ำตาไหลอีกแล้ว

    พี่น้องจึงพูดประมาณว่าถ้าเป็นท่านท่านคงจะออกมาดีกว่า น่าจะไม่เหมาะกับท่าน อีกท่านก็พูดประมาณว่าดีนะที่ท่านบำเพ็ญอยู่แต่เบื้องหลังท่านก็เลยสบาย ตอนนั้นเราได้ฟังพี่น้องแล้วก็รู้สึกเออออไปกับพี่น้องว่าก็น่าจะจริง และได้มาทบทวนว่าน่าจะไม่เหมาะกับเรา น่าจะเกินความสามารถของเราจริง ๆ น่าจะหนักไปสำหรับเรา

    ทุกข์ : อัดอั้นใจ ท้อใจ น้อยใจ จนถอดใจคิดจะถอนตัวออกจากทีม หลังจากที่ได้ฟังความคิดเห็นจากพี่น้อง

    สมุทัย : ยึดว่าในเมื่อทำเต็มที่แล้วแต่ก็ยังพร่องยังพลาดอยู่ ก็แปลว่างานนี้ไม่เหมาะกับเรา เกินฐานเกินความสามารถของเรา ในเมื่อเกินฐานเกินความสามารถของเรา ก็ไม่ควรฝืน ควรถอยออกมาดีกว่า จะทนคำติต่ออยู่ทำไม ยึดอีกว่า ฐานจิตคุรุกับเรามันคนละฐาน ฐานท่านละเอียดกว่าเรา เราตามไม่ทัน ไม่อยากทนรับคำติ

    มรรค : พิจารณาเห็นความจริงว่า อาการอัดอั้นใจ ท้อใจน้อยใจ ไม่อยากทนรับคำตินี่มันคือกิเลส มันคืออัตตาของเรา การที่เรายึดว่าเกินฐานเกินความสามารถเรา มันทำให้เราเป็นทุกข์ มันทำให้เราอ่อนแอ มันทำให้เราไม่อยากสู้ มันทำให้เราไม่อยากทนคำติ จนถอดใจคิดถอยออกจากทีม ซึ่งมันเป็นการตัดโอกาสในการบำเพ็ญงานนอกงานในของเรา ตัดโอกาสในการเจริญในธรรมของเรา และยังเป็นแรงเหนี่ยวให้คนในโลกเป็นตามทุกข์ตามอีก

    ถ้าเราไม่มีกิเลสตัวนี้ เวลาเราจะทำผิดพลาดบ้าง ถูกติ ทุกที่ขุมทรัพย์ หรือไม่ เราก็ไม่ต้องมาทุกข์ใจ ไม่ต้องมาท้อใจ น้อยใจ อัดอั้นใจ เราก็จะเจริญในธรรม ไปได้ตามลำดับตามฐานของเรา ไม่ต้องเป็นแรงเหนี่ยวนำให้คนอื่นต้องเป็นตามทุกข์ตาม อาการท้อใจน้อยใจ พ่อครูสมณะโพธิรักษ์ท่านสอนเอาไว้ว่าเป็นหมาขี้เรื้อน การรับคำติได้ จะทำให้เราเจริญ ทำให้เราได้แก้ไขข้อผิดพลาดข้อพร่องของเรา

    อาจารย์หมอเขียว ดร.ใจเพชร กล้าจน ท่านสอนว่า คำติคำชี้ขุมทรัพย์จากพี่น้องหมูมิตินี่แหละ เป็นรางวัลของนักบำเพ็ญ ที่จะทำให้เราเจริญในธรรม เป็นองค์ประกอบเป็นเครื่องมือให้เราได้เห็นกิเลสและได้ฝึกล้างกิเลสไปตามลำดับ คำตินี่แหละจะขัดเกลาให้แข็งแกร่ง มีคุรุและพี่น้องหมู่มิตรดีคอยเอาภาระขนาดนี้ ไม่เอาก็โง่แล้ว ถ้าหลุดออกจากหมู่มิตรดีนี้ไป จะหาโอกาสแบบนี้ได้ที่ไหนอีกหรือ

    ที่บอกว่าเกินฐานน่ะ ได้พยายามเต็มที่หรือยัง ได้ฝึกล้างกิเลสเต็มที่แล้วหรือยัง ลองพากเพียรให้เต็มที่เต็มกำลังก่อน ถ้าไม่ไหวจริง ๆ ค่อยถอยออกมาก็ได้

    เมื่อพิจารณาดังนี้ อาการน้อยใจอัดอั้นใจ ขอใจ ก็สลายไปและกลับมามีพลัง มีกำลังใจที่จะฮึดสู้กับกิเลสต่อขึ้นมาได้อีกครั้ง

  20. นปภา รัตนวงศา

    เรื่อง มังคุดทำเหตุ

    เหตุการณ์ เนื่องจากมีมังคุดอยู่ติดกับของน้องชายต้นสูงใหญ่ แก้ปัญหาด้วยการขายเหมาสวน จน3วันมานี้ น้าที่ช่วยงานในสวนได้ทำการสอยมังคุดโดยที่ไม่ได้บอกกล่าวให้ทราบจึงไม่พอใจไม่ชอบใจ ขุ่นใจ

    ทุกข์ ไม่พอใจ ไม่ชอบใจ ขุ่นใจที่น้ามาสอยมังคุดโดยพลการ

    สมุทัย ชอบถ้าน้าได้มาบอกให้พ่อ ตัวเรา หรือน้องรับทราบ ชังถ้าน้าไม่ได้บอกกล่าว และสอยมังคุดโดยพลการ

    นิโรธ น้าจะได้บอกกล่าว หรือไม่ได้บอกกล่าวก็ไม่ชอบไม่ชัง ใจไร้ทุกข์

    มรรค ตั้งศีลมาพิจารณาความยึดมั่นถือมั่น ความวิปลาสว่า ถ้าน้าจะทำอะไรในสวนก็น่าจะมาบอกกล่าวให้รับทราบก่อน เพราะได้ขายยกสวนไปแล้ว ถ้าคนรับซื้อทราบ เจ้าของก็ต้องรับผิดชอบ ซึ่งเหมือนจะจริงแต่ก็ไม่จริง ซึ่งกิเลสมารมาหลอกว่า นั่นมันเป็นของเรา เราต้องรับรู้ จึงเกิดความไม่พอใจ ไม่ชอบใจ ขุ่นใจ ซึ่งผิดทางพุทธะแล้ว ก็มาคิดใหม่ว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นดีที่สุดแล้ว ก็ดีแล้วที่น้าช่วยสอยมังคุดต่อให้ เราจะได้ไม่ต้องเก็บเอง เพราะถ้ามันหล่นไม่ได้เก็บผลมันจะแข็ง จะยุ่งยากมากกว่านี้ หรือถ้าปล่อยให้มันหล่นเราก็สามารถนำมาเผาถ่านใช้ได้ หาประโยชน์ในทุกเรื่องให้ได้ ความขุ่นใจก็ลดลง
    พิจารณาความจริงว่า นั้นคือตัวเรา เราเคยทำมา และทำมามากกว่านั้น ทำอะไรโดยพลการ ไม่ได้บอกกล่าว เคยหนีพ่อแม่ไปเที่ยวจนเกือบเสียชีวิต หรือเกือบเกิดเหตุร้ายแรง จึงขอสำนึกผิด ยอมรับผิด ขอโทษ ขออโหสิกรรม และก็ขอขอบคุณน้าท่านที่ทำให้ได้เห็นว่า ยังยึดมั่นถือมั่นในของนอกตัว ยังวางไม่ได้ยังมีความไม่พอใจ ไม่ชอบใจ ขุ่นใจอยู่

    สรุป หลังพิจารณาแล้ว เห็นชัดเรื่องความไม่พอใจ ขุ่นใจถึงแม้ว่าถ้าเป็นเมื่อก่อน คงจะเกิดการวิวาทะกันใหญ่โต แต่ครั้งนี้ถึงจะมีพูดคุยเสียงดังบ้างแต่ก็สามารถควบคุมได้ หันกลับมาดูที่ใจตัวเองไม่มองออกไปด้านนอก
    “เอาเข้าไปความชั่วของเรา”ๆๆ
    “เราแสบสุดๆ มันจึงต้องรับสุดๆ”
    กิเลสครั้งนี้ล้างได้ไม่หมด ยังมีอีก 30%ให้ได้ล้าง จะพากเพียรต่อไปค่ะ..สาธุ

  21. ภาคภูมิ ยอดปรีดา (สร้างแก่นศีล)

    #ยึดว่าต้นไม้เป็นของเรา

    ช่วงนี้ผมสังเหตเห็นว่า ต้นไม้ชนิดต่างๆ ที่ปลูกไว้บริเวณต่างๆ ของบ้าน มีมดคันไฟมากผิดปกติ และเมื่อมีมดคันไฟมาก สิ่งที่ตามมาด้วยก็คือ เพลี้ยอ่อน ด้วยเหตุนี้ต้นไม้ที่ผมปลูกไว้และหลงไปยึดว่า ต้นไม้ที่ผมปลูกไว้เป็นของผม จึงมีสภาพที่ทรุดโทรมลงไปมากกว่าเดิม ด้วยเหตุทั้งหมดผมจึงทุกข์ใจเพราะรู้สึกไม่ได้ดั่งใจที่มดคันไฟ และ เพลี้ยอ่อน มาขึ้นต้นไม้ที่ผมปลูกไว้

    ทุกข์ : ทุกข์ใจเพราะรู้สึกไม่ได้ดั่งใจที่มดคันไฟ และ เพลี้ยอ่อน มาขึ้นต้นไม้ที่ปลูกไว้

    สมุทัย : จะรู้สึกทุกข์ใจถ้ามดคันไฟ และ เพลี้ยอ่อน มาขึ้นต้นไม้ที่ปลูกไว้ และจะสุขใจถ้ามดคันไฟ และ เพลี้ยอ่อน ไม่มาขึ้นต้นไม้ที่ปลูกกไว้

    นิโรธ : สามารถผาสุกใจได้ไม่ว่ามดคันไฟ และ เพลี้ยอ่อน จะมาขึ้นต้นไม้ที่ปลูกไว้หรือไม่

    มรรค : กรณีนี้ผมเดินมรรคโดยการนำคำสอนเรื่องวิบากกรรมเข้ามาพิจารณาโดยพิจารณาว่า ทุกเหตุการณ์ไม่ว่าจะดีหรือร้ายที่เกิดขึ้นในชีวิตผมก็ล้วนแล้วเกิดมาจากสิ่งที่ผมเคยทำมาเองทั้งในชาตินี้และชาติอื่นๆ ก่อนหน้านี้ ดังนั้นการที่มดคันไฟและเพลี้ยอ่อนมาขึ้นต้นไม้ที่ผมปลูกไว้ ก็เป็นเพราะวิบากกรรมไม่ดีที่ผมเคยทำมาไปยืมมดคันไฟและเพลี้ยอ่อนมาให้ผมต้องชดใช้วิบากกรรมไม่ดีชุดนี้ และสิ่งที่ผมต้องทำคือ ต้องย้อมรับวิบากกรรมชุดนี้ด้วยความยินดี ไม่ใช่รับด้วยความจำนน และไม่ต่อวิบากกรรมใหม่ด้วยการไปเบียดเบียนทั้งตนเองด้วยการทำใจให้เป็นทุกข์ และไปใช้วิธีต่างๆ ที่จะไปเบียดเบียนชีวิตของมดคันไฟและเพลี้ยอ่อน

    นอกจากนี้ในเรื่องที่ผมไปหลงยึดว่าต้นไม้ที่ผมปลูกนั้นเป็นของผม ผมก็ได้นำคำสอนของพระพุทธเจ้าที่มีเนื้อหาใจความว่า “สิ่งใดที่เข้าไปยึดมั่นถือมั่น ไม่ทุกข์เป็นไม่มี” มาร่วมพิจารณา

    และก็ได้นำบททบทวนธรรมบางบทมาร่วมพิจารณา เช่น บทที่ 84 ที่มีเนื้อหาใจความว่า “ล้างความยึดมั่นถือมั่นของใจได้สำเร็จ คือ ความสำเร็จที่แท้จริง”

  22. นางสาวิตรี​ มโนวรณ์

    15 สิงหาคม 2564
    ชื่อ นางสาวิตรี มโนวรณ์
    ผู้บำเพ็ญคบคุ้นสวนป่านาบุญ 2
    เรื่อง เสียดาย

    ตอนเช้าไปซื้อทุเรียนที่ตลาดใกล้บ้านส่งไปให้ญาติที่ต่างจังหวัด หลังจากนั้น เดินทางไปทำงาน ปรากฏว่าระหว่างทางเจอทุเรียนคนรู้จัก สอบถามราคาถูกกว่าที่ซื้อที่ตลาด 30 บาทต่อกิโลกรัม พอได้ทราบราคาทุเรียน มารถึงกับอึ้ง เพราะรู้สึกเสียดายเงินในส่วนที่ได้ซื้อของที่แพงกว่า

    ทุกข์ เสียดายเงิน ที่ไป​ ซื้อของแพง

    สมุทัย ชอบ ถ้าได้ซื้อของที่ถูก ชัง ที่ซื้อของแพง

    นิโรธ จะได้ซื้อของที่ถูก หรือซื้อของที่แพง ก็ไม่ชอบไม่ชัง เบิกบานใจได้

    มรรค มารถึงกับอึ้ง เมื่อรู้ว่าได้ซื้อทุเรียนราคาแพงกว่า ที่มาเจอระหว่างทาง จึงอออกอาการ

    มาร : โห ถ้ามาซื้อตรงนี้ จะเสียเงินน้อยกว่าตั้ง 300 บาท ไม่น่าใจร้อนเลยเรา น่าจะถามข้อมูลจากเพื่อน​ ๆ ก่อน

    เรา : ไม่หรอกมาร อันไหนที่เป็นสมบัติของเรา เราก็จะได้รับอันนั้นแหละ เธอก็คิดดีแล้วนี่ก่อนจะไปซื้อ นี่เธอยังไม่เชื่อเรื่องกรรมอีกเหรอมาร

    มาร : ก็จริงนะ (แล้วความทุกข์จากความเสียดายเงินก็ลดลงไปประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์)

    อาการเสียดายได้ลดลงไปเยอะแล้ว ได้นำเรื่องนี้ไปสารภาพกับหมู่ หมู่ได้ให้ปัญญาเพิ่มว่า ทั้งคุ้มและถูกมาก ที่เสียเงินไป 300 บาท แล้วได้เห็นกิเลสตัวนี้เพื่อที่จะได้ล้างใจ คนทั่วไปเสียเงินเป็นหมื่น เป็นแสน หรือเป็นล้าน ก็ไม่สามารถเห็นกิเลสได้ หลังจากได้ปัญญาเพิ่มจากหมู่แล้ว สำรวจใจ พบว่าอาการเสียดายได้หายไปจนหมดแล้วค่ะ
    (บททบทวนธรรมข้อที่ 90 วัตถุไม่เที่ยง มีแต่ใจไร้ทุกข์เท่านั้นที่เที่ยง

  23. นางสาวศิริรักษ์ พรมเล็ก

    15 สิงหาคม 2564
    ชื่อ นางสาวศิริรักษ์ พรมเล็ก ชื่อเล่น ป้าแต๋ว
    ชื่อทางธรรม เกษตรศิลป์
    จิตอาสาสวนป่านาบุญ 2

    เรื่อง การเสียเปรียบ

    เมื่อต้นปี 2563 ครอบครัวของข้าพเจ้า ได้รับพี่สาวคนโตซึ่งอยู่กันคนละหมู่บ้านมาดูแล เพราะเห็นว่า ลูก ๆ ของพี่สาวไม่ดูแลเอาใจใส่เท่าที่ควร พี่สาวคนโตมีอายุได้ 85 ปีแล้ว การกินอาหารก็ลำบากต้องป้อนให้กิน ส่วนการเดินนั้นไม่สะดวก ต้องใช้รถเข็นไม่ว่าจะอาบน้ำ หรือเข้าห้องน้ำ
    ความรู้สึกที่เกิดขึ้นเมื่อเวลาที่ลูกของพี่สาวมาเยี่ยมแม่ เหมือนคนทั่วไปมาเยี่ยมญาติผู้ใหญ่ ทำตัวเหมือนไม่ใช่ลูก ภาระทุกอย่างตกอยู่กับคนในครอบครัวของข้าพเจ้า ทำให้รู้สึกไม่ชอบใจ ไม่พอใจ ในพฤติกรรมที่เขากระทำ เขาเอาเปรียบพวกเราทุกอย่าง เขาคิดได้อย่างไรที่ไม่รู้จักคำว่าแม่ผู้ให้ทุกสิ่งแก่เขา แต่เวลาที่แม่อ่อนแอ เขากลับไม่ต้องการ ไม่ดูแล อะไรทำให้เขาเป็นคนเห็นแก่ตัวขนาดนั้น เขาไม่เชื่อฟังใคร ในครอบครัวจึงต้องยอมให้เขาเอาเปรียบ เห็นแก่ตัวกับพวกเรา

    ทุกข์ โกรธ ไม่พอใจที่ลูก ๆ ของพี่สาวไม่ดูแลแม่ที่แก่ชรา

    สมุทัย ชอบ ถ้าลูก ๆ ของพี่สาวดูแลเอาใจใส่แม่ของเขา ชัง ลูก ๆ ของพี่สาว ไม่ดูแลเอาใจใส่แม่ของเขา

    นิโรธ ลูก ๆ ของพี่สาว จะดูแลเอาใจใส่แม่ของเขาหรือไม่ ก็ไม่ชอบไม่ชัง ใจไม่ทุกข์

    มรรค : การที่เราคิดเรื่องได้เปรียบเสียเปรียบอยู่อีก เป็นความคิดที่ชั่วของมารที่อยู่ในใจเรา เรามีโอกาสล้างมารตัวนี้แล้ว โดยมีพี่สาวเป็นโจทย์ให้ แต่เรากลับหลงประเด็น ยังคิดจะไปเอาดีจากลูก ๆ ของเขาอีก เพราะขาดสติไม่รู้เท่ากันเล่ห์เหลี่ยมของมาร ถึงวันนี้ จึงรู้ว่า ที่ผ่านมาเราผิดทาง จนทำให้เกิดทุกข์สะสมในใจ มันเป็นบทเรียนที่มีคุณค่ามาก ๆ สำหรับการปฏิบัติธรรม ได้เห็นกิเลส และก็ได้ล้างกิเลสตัวนี้ แล้ว ใจเราก็เบาสบายแล้วค่ะ
    จากบททบทวนธรรม… ข้อที่ 112 สุขจากการให้ด้วยใจ…ที่บริสุทธิ์ ยอดเยี่ยมยิ่งใหญ่กว่าการเอา

  24. เรื่อง อยากอยู่จึงทุกข์อยู่
    เหตุการณ์: ตั้งใจไว้ว่า กินข้าวแต่ละมื้อจะกำหนดอาหารให้อิ่มพอดี แต่ส่วนใหญ่ที่ปรากฎ เราแพ้กิเลส กินเกินพอดี ทำให้เกิดอาการขุ่นใจ
    ทุกข์: ขุ่นใจ
    สมุทัย: ชอบใจถ้ากินอหารได้พอดี ชังที่กินอาหารเกินพอดี
    นิโรธ: จะกินอาหารพอดีหรือไม่ ก็ไม่ชอบไม่ชัง
    มรรค: ตั้งเป้าหมายไว้ได้ แต่ จะไปถึงเป้าหมายหรือไม่ เราต้องไม่ยึดมั่นถือมั่น เมื่อได้พยายามทำอย่างเต็มที่แล้ว แต่เราก็ไม่สามารถทำได้ตามที่ตั้งเป้าไว้ เราก็มักจะลงโทษตัวเอง ทำให้เกิดอาการขุ่นใจ เพราะเราจะผ่านด่านนี้ไปได้ เราจะต้องมีการสะสมสร้างฐานจิตให้แข็งแกร่งมากพอ จึงจะบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้ การที่เรายังทำไม่ได้ เพราะว่ามันยังไม่ถึงรอบที่เราจะชนะได้เด็ดขาด เพียงแต่ชนะได้เป็นครั้งคราวเท่านั้น แค่นี้ก็ถือว่าดีแล้ว ได้ต่อสู้ดีกว่าไม่ได้สู้ ถึงแพ้เราก็จะได้รู้สาเหตุว่า เราแพ้เพราะอะไร แล้วเริ่มต้นสู้ใหม่ด้วยใจที่มุ่งมั่น บนพื้นฐานของความไม่ยึดมั่นถือมั่น ตามบททบทวนธรรมข้อที่ 80″เมื่อได้มุ่งหมายให้เกิดดี และพยายามทำเต็มที่แล้ว แต่ดีนั้นไม่สมบูรณ์ ไม่สำเร็จดั่งใจหมาย กิเลสมักจะหลอกบอกว่า ถ้าไม่สมบูรณ์ ไม่สำเร็จจะเสียหาย จะไม่สบายใจ เป็นความลวง ให้ใช้ปัญญาหักลำกิเลส โดยบอกกับกิเลสว่า ถ้าได้มากกว่านี้ ถ้าสมบูรณ์หรือสำเร็จกว่านี้ จะเสียหาย เพราะในขณะนั้น…ยังไม่ใช่เวลาที่จะได้มากกว่านี้…ยังไม่ใช่เวลาที่จะสมบูรณ์หรือสำเร็จกว่านี้…ในครั้งนั้นไม่สมบูรณ์ ไม่สำเร็จจะดีที่สุด ยุติธรรมที่สุด ตามกุศลอกุศลของเรา และคนที่เกี่ยวข้อง”เมื่อได้พิจารณาตามบททบทวนธรรมดังกล่าวแล้ว ได้ปล่อยใจไม่ยึดว่าจะได้เมื่อไหร่ ได้เมื่อไหร่ก็เมื่อนั้น อาการขุ่นใจก็หายไป

  25. สุมา ไชยช่วย

    เรื่อง ต้นไม้โดนตัดทิ้ง

    เหตุการณ์ พ่อบ้านตัดต้นไชยาทิ้งขยะ

    ทุกข เสียดายต้นไชยาโดนตัดทิ้งขยะ

    สมุทัย ชอบถ้าต้นไชยาไม่โดนตัดทิ้งขยะ ชังต้นไชยาถูกตัดทิ้งขยะ

    นิโรธ ต้นไชยาจะถูกทิ้งขยะหรือไม่ก็ไม่ทุกข์ใจ

    มรรค พ่อบ้านตัดต้นไชยาทิ้งขยะ จึงความเสียดายมาก แทนที่จะเอาไปทำประโยชน์หรือให้ใครก็ได้ จะได้เป็นประโยชน์มากกว่า การที่เราไปเสียดายมันไม่ได้เกิดประโยชน์อะไร มีแต่โทษเป็นทุกข์ ผิดศีล ต้องขอบคุณพ่อบ้านที่มาตัดทิ้งขยะ เราถึงได้เห็นกิเลส ตัวเสียดายนี้ผุดขึ้นมา ทำให้ได้ล้างใจ ดีเสียอีกพ่อบ้านตัดให้ เราไม่ต้องเสียแรงตัดเอง ต้นไม้โดนตัดเดี๋ยวก็งอกขึ้นใหม่ได้ วัตถุเสียหายได้แต่ใจต้องไม่เสียหาย
    บททบทวนธรรม75
    ถ้าเราดับทุกข์ใจได้
    ก็ไม่มีทุกข์อะไรที่ดับไม่ได้
    สรุปใจคลายจากความเสียดายได้

  26. สุมา ไชยช่วย

    เรื่อง เรียกกิเลส

    เหตุการณ์ มีการอปริหาริยธรรมทั้งเด็กและผู้ใหญ่ มีเด็กน้อยเรียกเราว่า ยายสุมา กิเลสถึงกับสะดุ้ง

    ทุกข์ สะดุ้งเมื่อถูกเรียกยายสุมา

    สมุทัย ชอบถ้าเรียกยายเฉยๆ ชังเรียกยายสุมา

    นิโรธ เรียกยายหรือยายสุมาก็ได้ไม่ทุกข์ใจ

    มรรค พอมารได้ยินคำว่ายายสุมา เกิดสะดุ้งเพราะ ไม่เคยได้ยิน จึงสอนมารว่าเขาเรียกยายถูกแล้วเพราะแม่ของเด็กน้อย อายุเท่าลูกชายคนเล็กเรา ส่วนต่อท้ายด้วยชื่อก็ดีซิเป็นการทบทวนความจำเราด้วย ว่าเราชื่อสุมา เพราะเริ่มอายุเยอะ อาจหลงลืมชื่อตัวเองได้
    การได้เรียนรู้ไม่ว่ากับเด็กหรือผู้ใหญ่ เราได้ประโยชน์หมด ยิ่งเด็กเขาใสซื่อคิดอย่างไร
    พูดอย่างนั้น ทำให้เราลดอัตตา สามารถเป็นเพื่อนและเป็นมิตรกับเด็ก ได้อย่างสบายๆ ต้องขอบคุณเด็กน้อยท่านนั้นที่ทำให้เรา ได้เห็นกิเลสตัวนี้ และ
    ล้างใจได้อย่างไม่มีข้อสงสัย โดยที่เด็กคนอื่นๆก็พากันเรียกยายสุมากันหมด ได้ตรวจดูใจก็ไม่หวั่นไหวใดๆ ขนาดตัวเราเองยังแทนตัวเราว่ายายสุมาได้อย่างไม่มีข้อสงสัย
    บททบทวนธรรม68
    ไม่คบไม่เคารพมิตรดี
    ไม่มีทางพ้นทุกข์
    สรุปใจคลายเบาสบาย

  27. ณ้ฐพร คงประเสริฐ

    พร้อมพังจริงหรือ
    กลุ่มพี่น้องนักศึกษาวิชชารามเหล่าจิตอาสามารวมตัวกันเป็นกลุ่มเพื่อฝึกฝนการทำค่ายออนไลน์ถามตอบปัญหาซักถามให้กับพี่น้องชาวค่ายที่สนใจมาศึกษาศาสตร์แพทย์วิถีธรรมในรายการ สายด่วนฝ่าวิกฤตโควิด 19 กลุ่มที่เราอยู่ก็ได้มีการนัดหมายประชุมหารือกับพี่น้องในการซักซ้อมบทบาทหน้าที่เพื่อให้แต่ละท่านได้ฝึกฝนการทำงานร่วมกันในหมู่มิตรดี เพื่อให้ได้ทั้งประโยชน์ตนประโยชน์ท่านเท่าที่จะเป้นได้ การรวมพี่รวมน้องในครั้งนี้ ได้พลังความร่วมมือจากหมู่มิตรดี อบอุ่นทุกครั้งที่มาเจอกัน ในการทำงานครั้งนี้ได้นำประสบการณ์จากคุรุมาปรับใช้ บอกพี่น้องว่าแม้จะเป็นภาระกิจใหม่ในยุค New normal ที่พวกเราต้องปรับตัว เรามีสโลแกนการทำงานกลุ่มว่า พร้อมพัง เพิ่อเตือนสติตนเองว่า ทุกอย่างพร่องเป็นนิตย์ ทำเต็มที่ สุขเต็มที่ให้ได้

    ทุกข์ ; เห็นความไม่แช่มชื่นในใจ ที่ไม่ยอมรับสภาพที่พร้อมพัง

    สมุทัย ; เห็นตัวกังวล ที่ไม่อยากให้มีข้อพร่อง กิเลสตัวยึดความสำเร็จของงานว่าต้องออกมาดี กำลังออกมาแสดงอาการ ถ้างานไม่พร่องจะสุขใจ งานพร่องจะทุกข์ใจ

    นิโรธ ; การได้มีโอกาสทำงานร่วมกับหมู่มิตรดี ถือเป็นโอกาสที่ดี ที่ได้ฝึกฝนการอยู่กับสภาพความเป็นจริงของโลกที่พร่องอยู่เป็นนิตย์ให้ใจผาสุกแท้จริงให้ได้

    มรรค; ปัญหาและอุปสรรคไม่เคยหมดไปจากโลก มีแต่ทุกข์ใจเท่านั้นที่หมดไปจากเราได้ เมื่อเห็นอาการไม่แช่มชื่นที่ทำให้ใจหมอง ๆ ไม่เบิกบาน รู้ว่าเป็นอาการของกิเลสที่โผล่ขึ้นมาแล้ว ก็รีบเข้าหาหมู่รวมพี่รวมน้องมาพูดคุยเพื่อวางแผนงานการทำงาน โดยไม่รอไม่หวังแต่ลงมือทำ การรวมพลังหมู่มิตรดีทำให้ได้พลังได้คิดต่อ ไปต่อ ได้พลังสามัคคีของพี่น้อง

    คุยกับกิเลสว่าเราไม่ได้ทำงานแต่เพียงผู้เดียวแม้มีปัจจัยที่เราควบคุมไม่ได้มากมายจะเข้ามาก็ตาม เราจะไม่หวั่นไหวใด ๆ เพราะเราสามัคคีกัน ทำเต็มที่เท่าที่องค์ประกอบต่าง ๆ จะเกิดขึ้นอย่างไรก็ตาม เป็นค่ารวมที่เกิดจากทุกพลังชีวิตที่จะมาพบเจอกัน รู้สึกขอบคุณครูบาอาจารย์ที่ทำให้ได้มีโอกาสบำเพ็ญบุญกุศลร่วมกับหมู่มิตรดี และฝึกทำใจในใจยอมรับความจริงที่พร่องอยู่เป็นนิตย์ให้ได้แท้จริง ความไม่สมบูรณ์คือความจริงแท้ ความพร่องของเหตุการณ์เป็นของเที่ยง ไปยึดว่าไม่พร่องก็ทุกข์แน่ เมื่อเข้าใจในสัจจะความจริงได้ชัดเจน ทำให้ใจที่หมอง ๆ หายไป กลับมีพลัง เบิกบาน แจ่มใสกลับมาแทนที่ ทำให้ใจหายทุกข์ ผลงานก็มีข้อพร่องให้ได้พัฒนาฝึกฝนต่อไป สิ่งที่ดีที่สุดในโลก คือ คบและเคารพมิตรดี ไม่โทษใคร ใจไร้ทุกข์ ทำดีเรื่อยไป ใจเย็นข้ามชาติ สาธุ

Comments are closed.