ห้องเรียนวิชชาราม ตรวจการบ้าน วิชา อริยสัจ 4 ครั้งที่ 33 ในวันอาทิตย์ที่ 15 สิงหาคม 2564 เวลาประมาณ 12.00 น. – 14.00 น.
ตรวจการบ้านอริยสัจ 4
1.เรื่อง รู้เพียรรู้พัก
อรวิภา กริฟฟิธส์
ขณะทำรายการนักศึกษาชวนทำการบ้าน อริยสัจ 4 เกิดอาการตาลายพล่ามัว เห็นตัวหนังสือไม่ชัดเจน ก็เลยถามพ่อบ้านว่าเป็นที่เราหรือเครื่องคอมพิวเตอร์ ท่านก็บอกว่าทุกอย่างปกติดี แสดงว่าเป็นที่ตาของเราเอง พอจบชั่วโมงนักศึกษาชวนทำการบ้านก็เลยไปปรับสมดุล ดื่มน้ำพระพุทธเจ้าและหยอดตา ดีขึ้นก็มานั่งทำงานที่ค้างไว้ เห็นพี่น้องส่งลิงค์รายการอื่น เกิดอาการลังเลใจ แต่รู้สึกเหนื่อย ๆ ก็เลยตัดสินใจว่าเราน่าจะพักดีกว่า
ทุกข์ : เกิดอาการลังเลใจ ร่างกายรู้สึกเหนื่อย ๆ อ่อนเพลียสายตาพล่ามัว
สมุทัย : อยากเข้าร่วมบำเพ็ญกับพี่น้อง ถ้าได้ร่วมบำเพ็ญจะสุขใจชอบใจ
นิโรธ : ได้เข้าร่วมบำเพ็ญหรือไม่ ก็ไม่ชอบไม่ชัง บำเพ็ญเท่าที่เหตุปัจจัยเอื้ออำนวยให้
มรรค : พิจารณาโทษของความอยาก อยากมาก ๆ ก็ทำชั่วได้ทุกเรื่อง เรากำลังเบียดเบียนตนเอง ตอนนี้ร่างกายเขาเตือนเราแล้วว่าไม่ไหว มันฝึดฝืนเกิน เราจะเอาอะไรเพราะสุดท้ายก็ไม่มีอะไรเป็นของใคร เราจะไม่เบียดเบียนใครเพื่อให้สมอยากของเรา การพักผ่อนก็คือการบำเพ็ญของเรา ณ เวลานี้ ทำดีที่ทำได้ด้วยใจไร้ทุกข์ อย่างรู้เพียรรู้พัก
2.เรื่อง กลัวตาย
ประคอง เก็บนาค
เนื้อเรื่อง : ได้เข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 ครบทั้ง 2 เข็มแล้ว แต่ผลข้างเคียงของแต่เข้มช่างแตกต่างกันเหลือเกิน คือเข็มแรกมีอาการเพียงเล็กน้อยเจ็บบริเวณที่ถูกฉีดเท่านั้น ยังสามารถไปทำงานประจำและใช้ชีวิตตามปกติได้ แต่เข็มที่ 2 ซึ่งเป็นวัคซีนคนยี่ห้อกัน กลับมีอาการผลข้างเคียงมากมายเหลือเกิน เป็นทุกอาการที่คนอื่น ๆ ที่เขาฉีดวัคซีนแล้วมาเล่าให้เราฟัง เช่น ไข้ขึ้นสูง ปวดศีรษะ วิงเวียน คลื่นไส้ อาเจียน มีผื่นแดง เป็นจุดจ้ำเลือด และที่ทรมานมากที่สุด คือ การปวดบั้นเอว ซึ่งระดับการปวดนี่เหมือนจะปวดเข้าไปถึงกระดูกเลยเชียว ดังนั้นจิตจึงแว๊บคิดถึงเรื่องความตายเข้ามา
ทุกข์ : กลัวว่าตนเองจะตาย
สมุทัย : ไม่อยากตายด้วยความทรมาน
นิโรธ : จะตายอย่างสงบหรือทุกข์ทรมาน เราก็ไม่ควรกลัวหรือทุกข์ใจ
มรรค : พิจารณาเห็นเวทนาทางกายที่หนักหน่วงจนถึงขั้นที่เราอาจจะตายได้เลยหรือนี่ ความเจ็บปวดนี้มีสาเหตุเกิดจากอะไรหนอ พิจารณาเห็นเหตุมาจากการกระทำในปัจจุบันของเราเองนั่นแหละ ที่ประมาทไม่ยอมเตรียมพืชผัก สมุนไพร วัสดุอุปกรณ์การถอนพิษไว้เลย เราจึงควรยอมรับผลกรรมครั้งนี้ เราทำเองเราก็ต้องรับเองสิ พิจารณาต่อไปว่าตายก็ได้นะ ก็ได้เตรียมตัวไว้แล้วนี่นา ทรัพย์สิน/หนี้สินก็เขียนบอกรายละเอียดไว้แล้ว รหัสโทรศัพท์ รหัสแอปพลิเคชันธนาคารออนไลน์ก็บอกพ่อบ้านไว้แล้ว ลูกชายก็โตพอสามารถช่วยเหลือดูแลตัวเองได้แล้ว ไม่มีอะไรต้องห่วงแล้วนี่ การบำเพ็ญกับครูบาอาจารย์หมู่มิตรดี เราก็ทำเต็มที่ดีเท่าที่เราทำได้แล้ว ไม่มีเราท่านอื่น ๆ ก็ยังบำเพ็ญกันต่อไปได้ กุศลวิบากดีร้ายเราจะมีเท่านี้ก็รับเท่านี้ล่ะ ได้เท่านี้ก็ดีมากแล้ว ใจเริ่มผ่อนคลายมากขึ้น ตั้งสติอยู่กับลมหายใจ ณ ปัจจุบัน จนผลอยหลับไปได้ในที่สุด แม้ตื่นขึ้นมาอีกครั้งอาการเวทนาทางกายจะไม่ลดน้อยลง แต่ใจเราที่ยินดีพร้อมรับวิบากร้ายครั้งนี้ด้วยความเต็มใจ วางใจกับลมหายใจ ณ ปัจจุบัน เวทนาทางกายก็เป็นแค่กับกายขันธ์ ไม่สามารถสร้างเวทนาให้เกิดขึ้นในใจเราได้ ความกลัวตาย ความหวั่นไหวก็หายไปได้ในที่สุดค่ะ
3.เรื่อง รางวัลของนักบำเพ็ญ 2
ปิ่น คำเพียงเพชร
จากที่ได้ร่วมบำเพ็ญกับทีมคุรุวิชาอริยสัจ 4 เวลามีข้อผิดพลาดในงานหรือเรื่องกิเลสก็จะได้รับการชี้ขุมทรัพย์ให้ได้กลับมาปรับปรุงแก้ไขเสมอ ซึ่งก็รู้สึกยินดีที่ท่านเอาภาระช่วยขัดเกลา แต่ตัวเองจะมีจุดอ่อนที่ยังล้างไม่ได้คือ เวลามีพี่น้องมาพูดในเชิงปลอบหรือเข้าใจ กิเลสตัวอ่อนไหวก็จะทำงานทันที คือ น้ำตาจะไหลทุกที และครั้งนี้ก็เช่นกัน คือมีคุรุบางท่านพูดเชิงเข้าใจหรือปลอบอีก ก็ทำให้น้ำตาไหลอีก แต่ก็ยังไม่รู้สึกว่าทุกข์ใจ จนนำไปเล่าให้พี่น้องกลุ่มย่อยแอดมินฟังว่าถูกชี้ขุมทรัพเรื่องความพร่องในงาน และมีน้ำตาไหลอีกแล้ว
พี่น้องจึงพูดประมาณว่าถ้าเป็นท่าน ท่านคงจะออกมาดีกว่า น่าจะไม่เหมาะกับท่าน อีกท่านก็พูดประมาณว่าดีนะที่ท่านบำเพ็ญอยู่แต่เบื้องหลังท่านก็เลยสบาย ตอนนั้นเราได้ฟังพี่น้องแล้วก็รู้สึกเออออไปกับพี่น้องว่าก็น่าจะจริง และได้มาทบทวนว่าน่าจะไม่เหมาะกับเรา น่าจะเกินความสามารถของเราจริง ๆ น่าจะหนักไปสำหรับเรา
ทุกข์ : อัดอั้นใจ ท้อใจ น้อยใจ จนถอดใจคิดจะถอนตัวออกจากทีม หลังจากที่ได้ฟังความคิดเห็นจากพี่น้อง
สมุทัย : ยึดว่าในเมื่อทำเต็มที่แล้วแต่ก็ยังพร่องยังพลาดอยู่ ก็แปลว่างานนี้ไม่เหมาะกับเรา เกินฐานเกินความสามารถของเรา ในเมื่อเกินฐานเกินความสามารถของเรา ก็ไม่ควรฝืน ควรถอยออกมาดีกว่า จะทนคำติต่ออยู่ทำไม ยึดอีกว่า ฐานจิตคุรุกับเรามันคนละฐาน ฐานท่านละเอียดกว่าเรา เราตามไม่ทัน ไม่อยากทนรับคำติ
มรรค : พิจารณาเห็นความจริงว่า อาการอัดอั้นใจ ท้อใจน้อยใจ ไม่อยากทนรับคำตินี่มันคือกิเลส มันคืออัตตาของเรา การที่เรายึดว่าเกินฐานเกินความสามารถเรา มันทำให้เราเป็นทุกข์ มันทำให้เราอ่อนแอ มันทำให้เราไม่อยากสู้ มันทำให้เราไม่อยากทนคำติ จนถอดใจคิดถอยออกจากทีม ซึ่งมันเป็นการตัดโอกาสในการบำเพ็ญงานนอกงานในของเรา ตัดโอกาสในการเจริญในธรรมของเรา และยังเป็นแรงเหนี่ยวให้คนในโลกเป็นตามทุกข์ตามอีก
ถ้าเราไม่มีกิเลสตัวนี้ เวลาเราจะทำผิดพลาดบ้าง ถูกติ ทุกที่ขุมทรัพย์ หรือไม่ เราก็ไม่ต้องมาทุกข์ใจ ไม่ต้องมาท้อใจ น้อยใจ อัดอั้นใจ เราก็จะเจริญในธรรม ไปได้ตามลำดับตามฐานของเรา ไม่ต้องเป็นแรงเหนี่ยวนำให้คนอื่นต้องเป็นตามทุกข์ตาม อาการท้อใจน้อยใจ พ่อครูสมณะโพธิรักษ์ท่านสอนเอาไว้ว่าเป็นหมาขี้เรื้อน การรับคำติได้ จะทำให้เราเจริญ ทำให้เราได้แก้ไขข้อผิดพลาดข้อพร่องของเรา
อาจารย์หมอเขียว ดร.ใจเพชร กล้าจน ท่านสอนว่า คำติคำชี้ขุมทรัพย์จากพี่น้องหมูมิตินี่แหละ เป็นรางวัลของนักบำเพ็ญ ที่จะทำให้เราเจริญในธรรม เป็นองค์ประกอบเป็นเครื่องมือให้เราได้เห็นกิเลสและได้ฝึกล้างกิเลสไปตามลำดับ คำตินี่แหละจะขัดเกลาให้แข็งแกร่ง มีคุรุและพี่น้องหมู่มิตรดีคอยเอาภาระขนาดนี้ ไม่เอาก็โง่แล้ว ถ้าหลุดออกจากหมู่มิตรดีนี้ไป จะหาโอกาสแบบนี้ได้ที่ไหนอีกหรือ
ที่บอกว่าเกินฐานน่ะ ได้พยายามเต็มที่หรือยัง ได้ฝึกล้างกิเลสเต็มที่แล้วหรือยัง ลองพากเพียรให้เต็มที่เต็มกำลังก่อน ถ้าไม่ไหวจริง ๆ ค่อยถอยออกมาก็ได้
เมื่อพิจารณาดังนี้ อาการน้อยใจอัดอั้นใจ ขอใจ ก็สลายไปและกลับมามีพลัง มีกำลังใจที่จะฮึดสู้กับกิเลสต่อขึ้นมาได้อีกครั้
4.เรื่อง หยุด (อยากดี)ได้ไหม
วิภาภรณ์ กอจรัญจิตต์ (เอ ใจพอแล้ว)
เหตุการณ์ คือ ระหว่างที่ประชุมงานกันอยู่ ทุกคนก็ร่วมพูดคุยในเรื่องประชุมที่เตรียมกันมา พอหัวข้อประชุมเรื่องแรกจบไป เข้าหัวข้อที่สอง ก็มีเพื่อนอีกท่านกดซูมเข้ามาร่วมประชุม ซักพักท่านก็เริ่มพูดนอกเรื่อง พูดเรื่อยเปื่อย จนเริ่มมีพี่น้องในที่ประชุม พูดเบรคท่านบ้างเล็กน้อย แล้วดึงกลับเข้าร่วมประชุมอยู่หลายครั้ง แต่เหมือนท่านยังไม่รู้สึกตัว จนเวลาผ่านไป หัวข้อที่สอง ก็ยังพูดกันไปไม่ถึงไหน
ทุกข์ : เกิดความรู้สึกหงุดหงิด รำคาญใจ มีความอยากให้ท่านหยุดพูดนอกเรื่อง พูดเรื่อยเปื่อย และพูดเรื่องประชุมให้เสร็จสิ้นก่อน
สมุทัย : มีความยึดดีว่าท่านพูดเรื่องที่ประชุมกันจะชอบใจ พอท่านพูดนอกเรื่อง พูดเรื่อยเปื่อยก็เลยทุกข์ใจ
นิโรธ : ท่านจะพูดเรื่องประชุม ก็ไม่ต้องชอบ ท่านจะพูดเรื่อยเปื่อย จะพูดนอกเรื่องก็ไม่ต้องชัง
มรรค : พิจารณาโทษของการมีความอยากได้ดั่งใจ ว่ามันเป็นทุกข์ มันทำให้เราหงุดหงิด ฟังประชุมไม่ค่อยรู้เรื่อง โทษของการมีความยึด มันทำให้เราไปเพ่งโทษผู้อื่น สร้างวิบากกรรมใหม่ พอย้อนมองกลับมาที่ตัวเรา เราเองก็มักจะพูดเล่น พูดเย้าแหย่ พูดเรื่อยเปื่อย ให้สนุกสนานเหมือนกัน มาครั้งนี้ได้ชดใช้วิบากนี้ที่เราเองก็เคยทำไว้ ก็สงบใจลงได้ เริ่มขอโทษท่านในใจ ยอมรับผิดที่เผลอเพ่งโทษท่าน ตั้งจิตหยุดเพ่งโทษท่าน และยินดีชดใช้วิบากนั้นอย่างเต็มใจ
สรุป – ระหว่างฟังท่านพูดไปเกือบชั่วโมง ฟังไปก็พยายามล้างใจไป แต่เสียงท่านที่ดังแทรกเป็นระยะๆ ก็ทำให้ใจแกว่งไปมาตลอดเวลา จนมานึกถึงคำอาจารย์ที่พูดว่า “ถ้าเค้ารู้ เค้าไม่ทำอย่างนั้นหรอก เค้าทำเพราะเค้าไม่รู้” แต่เราที่รู้ตัวแล้วว่ามีทุกข์ จับกิเลสตัวอยาก ตัวยึดได้แล้ว เราจึงหันมาล้างกิเลสในใจ ใจก็คลายลง และก็ร่วมประชุมต่อไปใจเบิกบาน