ห้องเรียนวิชชาราม ตรวจการบ้าน วิชา อริยสัจ 4 “รวมพลัง ภาคกลางสู้กิเลส” ครั้งที่ 15 ในวันพุธที่ 11 สิงหาคม 2564 เวลาประมาณ 19.00 น. – 21.00 น.
ตรวจการบ้าน
1.เรื่อง น้อยใจลูก
จิตรา พรหมโคตร (มั่นแก่นพุทธ)
เมื่อเช้าผัดมะละกอใส่โหระพา ลูกถามว่าใส่โหระพาเหรอ เราก็ตอบว่าใช่แล้วพูดต่อว่าเห็นมะละกอเป็นฤทธิ์เย็นก็เลยใส่โหระพาฤทธิ์ร้อนใส่มาด้วย ลูกก็บอกว่ามันไม่เข้ากัน แล้วพูดต่อว่าเต้ยังทำแบบแม่ไม่ได้หรอก รู้สึกน้อยใจขึ้นมาทันที
ทุกข์: รู้สึกน้อยใจกับคำพูดที่ลูกบอกว่ายังทำไม่ได้เหมือนแม่หรอก
สมุทัย: ใจร้อน อยากให้ลูกทานอาหารแบบเราได้ สุขใจถ้าลูกทานอาหารแบบเราได้ทุกข์ใจถ้าลูกทานอาหารแบบเราไม่ได้ ลึกๆ มีตัวใจร้อน สมุทัย มีความใจร้อน อยากให้ลูกเข้าใจว่าเราหวังดี อาหารที่เราทำให้เป็นสิ่งดี
นิโรธ: ลูกจะทานอาหารแบบเราได้หรือไม่ได้ก็ไม่ทุกข์ใจ และลูกจะเข้าใจหรือไม่ ก็ไม่ทุกข์ใจ ไม่บังคับลูกให้กินแบบเรา
มรรค: เมื่อได้สติก็กลับมาพิจารณาทบทวนตัวเองว่ามีความอยากให้ลูกทานอาหารได้เหมือนเรา ระลึกถึงว่าเรามาพบอาจารย์หมอเขียวเรื่องอาหารเราก็ยังปฏิบัติไม่ได้เท่าไหร่เลย ถ้าลูกไม่มีอาการเสี่ยงจากเพื่อนที่ทำงานติดโควิด เขาก็ยังไม่มากินอาหารที่เราทำ นี่ลูกก็ยอมปฏิบัติตามศาสตร์ของแพทย์วิถีธรรม เท่าที่เขารับได้ก็ดีมากแล้ว โลภอยากได้มากเกินกว่าที่เป็นไปได้จริง ซึ่งตรงกับบททบทวนธรรมข้อที่ 2 ว่า “เราต้องรู้ว่าแต่ละคนมีฐานจิตแตกต่างกัน เราจึงควรประมาณการกระทำให้เหมาะสมกับฐานจิตของเราและฐานจิตของผู้อื่น “คิดดี พูดดี ทำดีไว้ก่อน” ดีที่สุด
การที่เราทำอาหารแบบเรา ลูกยังรับไม่ได้ ลูกเรียกว่า มั่ว แม่เรียกว่า ปกติ สัญญาแม่กับลูกไม่ตรงกัน ความจริง-ความลวง สิ่งนี้ไม่เข้ากันจริงๆ ลูกมองว่ามั่ว แต่ถึงลูกจะบอกยังไง เราก็ไม่ต้องหวั่นไหว
สรุปผลของการน้อยใจลูกก็ผ่อนคลายไปได้แล้วรู้สึกโล่งใจเมื่อมานึกถึงว่าตัวเองว่าเมื่อไม่มีความอยากก็ไม่ทุกข์ แล้วจะอยากไปทำไมก็มันโง่ไง
2.เริ่มใหม่ได้ทุกวัน
มาลิน จุ้ยทรัพย์เปี่ยม (เมฆ ลม ฟ้า)
เนื้อเรื่อง ตั้งศีลถวายพ่อครูและอาจารย์ตั้งแต่มิถุนายนเรื่องการออกกำลังกายและการนอนหัวค่ำ ประมาณ 4 ทุ่ม ตั้งแต่ตอนนั้น ทำได้น้อยมาก พอใกล้ๆช่วง 4-5 ทุ่มจะเป็นช่วงที่มีสมาธิมากที่สุดและองค์ประกอบรอบ ๆ ก็เป็นใจให้นอนดึก เพราะพ่อบ้านทำงานกลางคืน เพราะช่วงกลางคืนอากาศเย็น การระบายสีจะทำได้ง่าย เพราะสีแห้งช้า
ทุกข์ : รู้สึกผิด ตีตัวเอง ทำไมทำไม่ได้สักที ทำไมทำสิ่งที่ตั้งใจไว้ ไม่ได้สักที
สมุทัย : ถ้าทำได้จะสุขใจ ทุกข์ใจที่ทำไม่ได้ อุปาทานอยากได้ดังใจหมาย อยากทำได้ เหมือนใจที่เราตั้งไว้
นิโรธ : จะทำได้หรือไม่ได้ก็ไม่ทุกข์ใจ พอทำไม่ได้ ก็ตั้งใหม่พรุ่งนี้ ด้วยใจที่เบิกบาน
มรรค :
ภายนอก-เหตุการณ์
-เริ่มใหม่ ตั้งเป็นวันๆ
– พิจารณาโทษของการนอนดึก โทษของการไม่ออกกำลังกาย
– ลดความเสี่ยงที่จะพลาด โดยพิจารณาองค์ประกอบที่ทำให้พลาด ทำไม่ได้ เพื่อเป็นบทเรียน ตอบกับกิเลส รอบต่อไป
องค์ประกอบอื่นๆ หรือสิ่งแวดล้อมนั้นไม่เกี่ยว กิเลสหลอก
ใจ
– พิจารณา อาการสุขใจที่ทำได้ มันก็ดี เพราะเป็นสิ่งดีที่ควรยึดอาศัย แต่ถ้าไม่ได้ ก็ดี ทำความเข้าใจว่า เราก็ทำไม่ได้บ้าง ไม่เป็นไร เริ่มใหม่พรุ่งนี้ ให้กำลังใจตัวเอง ทำที่ใจ ไม่ทุกข์ถ้าทำไม่ได้
– พิจารณาโทษของการตีตัวเอง ไม่มีดี เสียพลัง ทำให้ตนหมดกำลังใจ ไม่มีประโยชน์อะไร ตัดรอบเวทนา ไม่ร่ำไร วันนี้ทำไม่ได้ พรุ่งนี้เราเริ่มใหม่
– ความลวงคือ พอเราทำไม่ได้ กิเลสหลอกให้ต้องตีตัวเอง เราด้อย เราทำไม่ได้ ไม่ดีเลย
ความจริงคือ ยอมรับความจริง ตามความเป็นจริงว่า ไม่ใช่ทุกอย่างที่เราหวัง จะทำได้ นี่ขนาดเรื่องง่าย ๆ เราก็ยังทำไม่ได้เลย ยอมรับว่าเป็นไปได้
3.เรื่อง ใบสั่งยังไงดี
ศิรินภา คำวงษ์ศรี
ทุกข์: ไปเจอใบสั่งที่มีชื่อเอกสารเป็นชื่อของเรา
สมุทัย: หงุดหงิดที่มีคนแกะเอกสารใบสั่งโดยไม่เอามาให้เรา และมีความสงสัยในเหตุผลของคนที่ขับรถแล้วได้ใบสั่ง แต่ไม่อยากไปจ่ายค่าปรับ
นิโรธ: เหตุการณ์จะเป็นอย่างไรก็ได้ เป็นไปตามวิบากของเราและผู้ที่เกี่ยวข้อง
มรรค: ปรึกษาหมู่กลุ่ม