การบ้าน อริยสัจ 4 (31/2564) [28:35]

640801 การบ้าน อริยสัจ 4 (31/2564)

นักศึกษาสถาบันวิชชารามส่งการบ้าน อริยสัจ 4 ประจำวันที่ 26 กรกฎาคม – 1 สิงหาคม 2564 (อ่านที่มาและรายละเอียดเพิ่มเติมของการบ้าน)

สรุปสัปดาห์นี้มีผู้ส่งการบ้าน 28 ท่าน 35 เรื่อง

  1. ด.ญ. กานติมา รัตนนิรันดร (เจด้า)
  2. ด.ญ.กันติชา รัตนนิรันดร (นาเดีย)
  3. สมพงษ์ โขงรัมย์(สู่สวนสงบ) (3)
  4. พรพรรณ เอ็ทสเลอร์
  5. สุดใจ โสะหาบ (2)
  6. นางสาวนิตยา สุเมธากุลวัฒน์
  7. รมิตา ซีบังเกิด
  8. นางสาวนาลี วิไลสัก (2)
  9. นางสาวสันทนา ประวงศ์
  10. สุมา ไชยช่วย (2)
  11. น.ส ชรินรัตน์ ชุมจีด (น้ำน้อมศีล)
  12. นางศุทธินี พรมเล็ก (ขวัญน้ำฟ้า)ป้าเนียร (2)
  13. น.ส.ทิษฏยา โภชนา (นุ้ย)(ในสายธาร)
  14. นปภา รัตนวงศา
  15. ธัญมน หมวดเหมน(มั่นแสงธรรม)
  16. จิตรา พรหมโคตร
  17. ภคมน ถิรธรรมภณ (ษา พิมพ์น้ำคำ)
  18. จำเนียร ศิริธนะ
  19. ปรีชา รุ่งรุจิไพศาล
  20. พิเชษฐ์ บุญย์วิรุฬห์
  21. โยธกา รือเซ็นแบร์ก
  22. ภาคภูมิ ยอดปรีดา (สร้างแก่นศีล)
  23. พรพิทย์ สามสี (เพื่อนพิทย์)
  24. นางพรรณทิวา เกตุกลม
  25. วิภาภรณ์ กอจรัญจิตต์ (เอ ใจพอแล้ว))
  26. น.ส.จาริยา จันทร์ภักดี (2)
  27. Ruam Ketklom
  28. เสาวรี หวังประเสริฐ

Tags:

35 thoughts on “การบ้าน อริยสัจ 4 (31/2564) [28:35]”

  1. ด.ญ. กานติมา รัตนนิรันดร (เจด้า)

    26/7/64
    ด.ญ กานติมา รัตนนิรันดร (เจด้า) นักเรียนวิชชารามภาคสมทบ

    เรื่อง พลาดไปกินเนื้อสัตว์
    เหตุการณ์ : หนูไปกินลูกชิ้นและขนมจีบหนูรู้สึกปวดท้องค่ะ
    ทุกข์ : หนูพลาดไปกินเนื้อสัตว์หนูเลยปวดท้อง
    สมุทัย : ชอบไปกินเนื้อสัตว์ชังไปกินเนื้อสัตว์และใจเบิกบาน
    นิโรธ : ผลจากการไม่กินเนื้อสัตว์ด้วยใจเบิกบานจะทำให้เราไม่ปวดท้องและใจเบิกบาน
    มรรค : พิจารณาแล้วผลจากการไม่กินเนื้อสัตว์จะทำให้เราไม่เบียดเบียนสัตว์ สัตว์ไม่ต้องตายไม่ทุกข์ มีความสุขและใจเบิกบาน สาธุค่ะ

  2. ด.ญ.กันติชา รัตนนิรันดร (นาเดีย)

    26/7/64
    ด.ญ กันติชา รัตนนิรันดร (นาเดีย)
    นักเรียนวิชชารวมภาคสมทบ

    เรื่อง เรื่องมากในการกิน
    เหตุการณ์ : หนูเดินลงมาจากชั้นบนแล้วเห็นแต่ผักลวก หนูรู้สึกไม่อยากกินผักลวก ชังผักลวกใจไม่เบิกบานแต่อยากกินแกงผักมากกว่าแต่ก็ต้องกิน กินไปใจก็ไม่เบิกบาน แม่เห็นหนูกินแบบไม่ตั้งใจกินแม่เลยดุหนูเรื่อง เรื่องมากในการกิน
    ทุกข์ : ไม่อยากกินผักลวก
    สมุทัย : ชังผักลวก
    นิโรธ : กินผักลวกและไม่เรื่องมากในการกินด้วยใจดีเบิกบานไม่ชอบไม่ชัง
    มรรค : พิจารณาแล้วผลจากการไม่เรื่องมากในการกินจะทำให้เราไม่ทุกข์ มีความสุขไม่ชังในสิ่งที่เราไม่อยากกินและไม่โดนคนอื่นว่าและใจเบิกบานผาสุข สาธุค่ะ

  3. สมพงษ์ โขงรัมย์(สู่สวนสงบ)

    เรื่อง
    ตามองไม่ชัด แต่ตาปัญญาเห็นกิเลส
    เนื้อเรื่อง
    2 ปีมานี้สายตาไม่ค่อยดีมองไม่ค่อยเห็นตัวหนังสือต้องเป็นกังวลตลอดเวลาว่าแว่นสายตาอยู่ไหนเพราะจะต้องอ่านหนังสือเวลาส่งข้อมูลทำให้มีความกลัวกังวลกลัวว่าจะส่งข้อมูลผิดพลาดเพราะต้องมีแว่นตาติดตัวตลอดเวลา
    ทุกข์
    กลัวกังวล สายตามองไม่เห็นตัวหนังสือทำอะไรก็ผิดๆ
    สมุทัย
    ชอบที่สายตามองเห็นตัวหนังสือจะได้ไม่ผิดพลาด
    ชังที่สายตามองไม่ชัดทำให้ส่งข้อมูลผิดพลาดเป็นประจำ
    นิโรธ
    สายตาจะมองชัดหรือไม่ชัดก็ใจไร้ทุกข์ไร้กังวล
    มรรค
    กิเลสอยากมองเห็นตัวหนังสือ แต่ใจมองไม่เห็นพุทธะ
    มาร
    ช่วงนี้สายตาไม่ดีเราก็กังวลว่าจะส่งข้อมูลผิดพลาดหรือทำอะไรก็เป็นกังวลเพราะหาแว่นไม่เจอ
    เรา
    พอเพิ่มศีลมากเข้าก็คิดออกว่าเคยอบสมุนไพรแล้วใส่พิมเสนการบูรเข้าไปอบที่สายตาทำให้ตามองเห็นชัดเจนขึ้น
    สรุป
    ถ้าเราปล่อยวางได้ไม่ยึดไม่อยากก็ทำให้คลายความกังวลกับสายตาทำให้มีญาณปัญญาคิดออกว่าวัตถุเราจะใช้อะไรมารักษาหรือดูแลตัวเองเท่าที่หาได้ง่ายๆแต่ทางนามธรรมเราก็ทำดีกับหมู่มิตรดีเข้าไปให้มากๆก็จะคิดออกว่าจะต้องใช้สมุนไพรอบตา ทำให้ดวงตาชัดเจนขึ้น
    เรื่อง
    ตามองไม่ชัด แต่ตาปัญญาเห็นกิเลส
    เนื้อเรื่อง
    2 ปีมานี้สายตาไม่ค่อยดีมองไม่ค่อยเห็นตัวหนังสือต้องเป็นกังวลตลอดเวลาว่าแว่นสายตาอยู่ไหนเพราะจะต้องอ่านหนังสือเวลาส่งข้อมูลทำให้มีความกลัวกังวลกลัวว่าจะส่งข้อมูลผิดพลาดเพราะไม่มีแว่น
    ทุกข์
    กลัวกังวล สายตามองไม่เห็นตัวหนังสือทำอะไรก็ผิดๆ
    สมุทัย
    ชอบที่สายตามองเห็นตัวหนังสือจะได้ไม่ผิดพลาด
    ชังที่สายตามองไม่ชัดทำให้ส่งข้อมูลผิดพลาดเป็นประจำ
    นิโรธ
    สายตาจะมองชัดหรือไม่ชัดก็ใจไร้ทุกข์ไร้กังวล
    มรรค
    กิเลสอยากมองเห็นตัวหนังสือ แต่ใจมองไม่เห็นพุทธะ
    มาร
    ช่วงนี้สายตาไม่ดีเราก็กังวลว่าจะส่งข้อมูลผิดพลาดหรือทำอะไรก็เป็นกังวลเพราะหาแว่นไม่เจอ
    เรา
    พอเพิ่มศีลมากเข้าก็คิดออกว่าเคยอบสมุนไพรแล้วใส่พิมเสนการบูรเข้าไปอบที่สายตาทำให้ตามองเห็นชัดเจนขึ้น
    สรุป
    ถ้าเราปล่อยวางได้ไม่ยึดไม่อยากก็ทำให้คลายความกังวลกับสายตาทำให้มีญาณปัญญาคิดออกว่าวัตถุเราจะใช้อะไรมารักษาหรือดูแลแต่ทางนามธรรมเราก็ทำดีกับหมู่มิตรดีเข้าไปก็จะคิดออกว่าจะต้องใช้สมุนไพรอบตา ทำให้ดวงตาชัดเจนขึ้น

  4. พรพรรณ เอ็ทสเลอร์

    อริยสัจ 4

    เรื่อง กังวลผลข้างเคียงหลังจากฉีดวัคซีน covid-19 เข็มที่ 2

    เมื่อ 2 วันที่ผ่านมาพี่น้องท่านหนึ่งได้แบ่งปันถึงผลข้างเคียงหลังจากฉีดวัคซีน covid-19 เข็มที่ 2
    ให้ฟัง เมื่อได้ฟังแล้วทำให้เกิดความกังวลและหวั่นไหวเล็กน้อย เห็นอาการใจสั่น รู้สึกเจ็บที่ต้นแขนซ้ายทันทีเหมือนโดนฉีดยาอย่างนั้นเลย ฟังท่านพูดไปใจก็คิดไปว่า เราก็ฉีดเข็มที่ 1 มาแล้วก็ไม่มีอาการข้างเคียงมาก สงสัยเข็ม 2 ของเราอาจจะมีผลข้างเคียงเหมือนพี่น้องท่านนี้ก็ได้นะ (กิเลสตัวกังวล หวันไหว บอก)

    ทุกข์ : กลัว กังวลใจ และหวั่นไหว ว่าตัวเองจะมีผลข้างเคียงเมื่อได้รับวัคซีน covid-19 เข็มที่ 2

    สมุทัย : ฟังพี่น้องท่านนั้นเล่าถึงผลที่เกิดหลังจากที่ได้รับวัคซีนแล้ว ทำให้กลัว กังวลใจ ถึงผลข้างเคียงที่จะเกิดกับตัวเอง หากเกิดผลข้างเคียงเหมือนพี่น้องท่านนั้นตัวเองก็คงแย่แน่เลย ไม่อยากให้ตัวเองเป็นเหมือนพี่น้องท่านนั้นเลย ถ้าไม่มีผลข้างเคียงเหมือนท่านก็คงจะดี

    นิโรธ : จะเกิดผลข้างเคียงจากการได้รับวัคซีน covid-19 แบบไหนก็จะยินดีรับ และจะไม่คิดล่วงหน้าที่ทำทุกข์ใจ

    มรรค : ท่านอาจารย์หมอเขียวสอนว่า ความกลัว กังวลใจ ความหวั่นไหว มันคือกิเลสซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เจ็บป่วยไม่สบาย และเป็นแรงเหนี่ยวนำดึงสิ่งไม่ดีและเรื่องร้ายต่าง ๆ เข้ามาใส่ตัว ดังนั้นจึงไม่ควรทุกข์กับเรื่องที่ยังไม่เกิดขึ้น ไม่ควรสร้างทุกข์ขึ้นมาทำให้ทุกข์ อยู่ดี ๆ ก็ดีอยู่แล้ว

    ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นกับแต่ละคนก็น่าจะแตกต่างกัน จึงไม่ควรที่จะคิดปรุงแต่งไปมากให้เกิดความไม่สบายใจ สู้เตรียม กาย ใจ ให้พร้อม ก่อนที่จะได้รับวัคซีน เข็มที่ 2 จะดีกว่า คือ ไม่กลัว ไม่กังวล และไม่หวั่น เพราะยังงัยก็จะได้รู้อย่างแน่นอนอยู่แล้วว่าผลข้างเคียงจะเป็นอย่างไร

    จะเตรียมยา 9 เม็ด พร้อมสมุนไพรทั้งในตัว และใกล้ตัว ไว้ให้พร้อม ก่อนจะไปรับวัคซีน พอพูดถึงยา 9 เม็ดก็มีความรู้สึกดี และอุ่นใจขึ้นมาทันที เห็นอาการทุกข์ใจเริ่มคลายลง และเห็นว่าพลังเริ่มกลับมา รู้สึกสดชื่นขึ้นมาทันที ท่านอาจารย์หมอเขียวได้สอนไว้ว่า อะไรจะเกิดกับเราทั้งดีและร้ายมันก็คือสิ่งที่เราได้ทำมาทั้งนั้น ดังนั้นจึงไม่ต้องไปกลัว เพราะถึงกลัวหรือไม่กลัวถ้าวิบากกรรมนั้นมาถึงก็ต้องได้รับอยู่แล้ว เมื่อคิดได้เช่นนั้น ความทุกข์ที่มีอยู่ก็หายไปสิ้นเกลี้ยง มีแต่ความเบิกบานหัวใจเข้ามาแทนที่ค่ะ สาธุ

  5. สุดใจ โสะหาบ

    เรื่อง​ ไม่มีความมั่นใจในตัวเอง

    เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นกลับตัวเองทุกครั้งที่ได้มีโอกาสพูดต่อหน้าผู้คนเยอะ ๆ เมื่อมีใครบอกให้พูดก็จะมีความกลัวเกิดอาการกิริยาเปลี่ยนไปทันทีตื่นเต้น ใจสั่นเต้นแรงพูดสียงสั่น มือสั่นนึกคำพูดไม่ออกว่าจะพูดอะไร เป็นแบบนี้ทุกครั้งที่ได้แสดงความคิดเห็นต่อหน้าคนอื่นจึงไม่มีความมั่นใจในตัวเองที่จะพูดทั้งที่ความจริงตัวเองมีเรื่องจะพูดมากมายแต่เอาเข้าจริงจัง​นึกคำพูดไม่ออก

    ทุกข์ : มีความตื่นเต้นกลัวที่จะพูดต่อหน้าผู้คนเยอะ ๆ

    สมุทัย : เวลาพูดจะตื่นเต้นทุกครั้งทำให้เสียงสั่น​นึกคำพูดไม่ออกทำให้ไม่มีความมั่นใจในตัวเองไม่อยากตื่นเต้น อยากมีความมั่นใจในตัวเอง

    นิโรธ : เวลาพูดจะตื่นเต้นหรือไม่ตื่นเต้นก็ไม่ทุกข์ใจ คิดว่าอย่างน้อยเราก็เริ่มนับหนึ่งแล้ว ก็จะขอฝึกฝนพูดบ่อย ๆ เพื่อความมั่นใจและช่วยให้ตัวเองพ้นทุกข์ใจได้ตามลำดับ

    มรรค : พิจารณาถึงกิเลสตัวเองที่เกิดขึ้นในแต่ละครั้งที่มีโอกาสได้พูด เกิดอาการทางใจคือ กลัว กังวลใจ ประหม่าตื่นเต้นและทำให้เกิดอาการทางกาย ใจเต้นแรง มือสั่น พูดตะกุกตะกัก พูดหน้าลืมหลัง นึกคำพูดไม่ออกว่าจะพูดต่อไปอย่างไรซึ่งอาการเหล่านี้เป็นอาการที่เกิดขึ้นของกิเลสที่กำลังหลอกทำให้เราทุกข์ใจ

    จึงพิจารณาถึงความไม่มีตัวตนมันเกิดขึ้นมาก็ดับไป ทำไมต้องทุกข์ใจปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่นที่จะทำให้ได้ดั่งใจหมายจะทำได้หรือไม่ได้ก็ไม่ทุกข์ใจทำได้แค่ไหนก็แค่นั้นเห็นประโยชน์ของการวางใจให้เป็นไปตามวิบากกรรมของตัวเองจึงใช้บททบทวนธรรม ข้อที่ 4​ ต้องกล้า ในการทำสิ่งดี ละอายและเกรงกลัวในการทำสิ่งชั่วชีวิตจึงจะพ้นทุกข์ได้​ และใช้บททบทวนธรรมข้อที่ 82 จงฝึกอยู่กับความเป็นจริงของชีวิต ที่พร่องอยู่เป็นนิตย์อย่างผาสุกให้ได้” เพราะที่เราได้รับวิบากเรื่องนี้เพราะเราเคยทำมาก่อนสำนึกผิดยอมรับผิดให้อภัยตัวเองขอรับโทษเต็มใจรับโทษไม่ทำทุกข์ทับถมตนตั้งจิตหยุดสิ่งไม่ดีและตั้งจิตทำดีให้มาก ๆ เพื่อจะได้มีสิ่งดี ๆ ให้เราได้ใช้ได้อาศัยก่อนที่ทุกสิ่งทุกอย่างจะจากไป
    สรุป
    ช่วงนี้ประทับใจในการฟังธรรมะจากอาจารย์หมอเขียวตอนหนึ่งว่า”คนเรามีความพลาด​  ความพร่อง​ เป็นเรื่องธรรมดาของชีวิต”  ไม่มีใครในโลกนี้ที่ไม่มีความพลาด​  ความพร่อง​ มันเป็นวิบากร้ายที่เราทำมา​ เพราะฉะนั้นเราต้องรับมันจะได้หมดไป​ ให้อภัยตัวเอง​ มันเป็นสิ่งที่ดี​ จะไม่ทำทุกข์ทับถมตนต่อไป​ จะให้อภัย​ ตัวเองเมื่อคิดได้แบบนี้ก็รู้สึกสบายใจและมีความมั่นใจความกล้าเพิ่มขึ้น​  และที่สำคัญอีกอย่างได้มาฝึกการพูดการทำงานร่วมกับหมู่มิตรดีทำให้ได้รับพลังเหนี่ยวนำทำให้ตัวเองมีความมั่นใจมากขึ้นกล้าที่จะพูดกล้าที่จะแสดงออกในสิ่งที่ดีและถูกต้องมากขึ้น จะขอพากเพียรสู้กับกิเลสและฝึกพัฒนาตัวเองต่อไปเรื่อย ๆ เท่าที่จะทำได้ สาธุค่ะ

  6. นางสาวนิตยา สุเมธากุลวัฒน์

    เรื่อง ส้มโอของใคร
    เหตุการณ์ เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาได้เข้าไปที่สวนซึ่งอยู่คนละแห่งกับบ้านแล้วสังเกตุเห็นเหมือนผลส้มโอหายไปจากสัปดาห์ก่อน

    ทุกข์ : ไม่พอใจที่เห็นเหมือนว่าผลส้มโอหายไป

    สมุทัย : ชอบถ้าผลส้มโออยู่ครบตามที่เคยเห็นสัปดาห์ก่อน ชังถ้าผลส้มโอหายไป

    นิโรธ : ไม่ชอบ ไม่ชัง ไม่ว่าผลส้มโอจะอยู่ครบหรือไม่ครบ

    มรรค : พิจารณาความคิดที่ชอบใจ สุขใจ พอใจที่ผลส้มโออยู่ครบจากที่เคยเห็นสัปดาห์ก่อนเป็นกิเลส ความลวง เป็นสุขปลอม ทุกข์จริง นอกจากนี้ยังคิดปรุงว่าอาจมีคนอื่นมาเด็ดเอาไป เกิดจากความโลภ ความอยากได้มากกว่าที่เป็นไปได้จริง ไม่ใช่พุทธะ ผิดศีล นี้เป็นเหตุแห่งทุกข์ทั้งหมดทั้งมวลทำให้แตกตัวเป็นกิเลสอื่น เหนี่ยวนำให้ผู้อื่นทำตามเกิดเป็นวิบากร้ายต่อตนเองและผู้อื่น ร่วมกับพิจารณาตามบททบทวนธรรมข้อที่ 8 “สิ่งที่เราได้รับคือสิ่งที่เราทำมา ไม่มีสิ่งที่เราได้รับโดยที่เราไม่เคยทำมา” และขอสำนึกผิดในความคิดโลภ ความอยาก การเพ่งโทษ ยินดี เต็มใจ รับโทษ ตั้งจิตหยุดสิ่งที่ไม่ดี ตั้งจิตทำสิ่งที่ดีตามบททบทวนธรรมข้อที่ 22
    สรุป ยินดี พอใจ กับสิ่งที่ได้รับตามกุศล อกุศลที่ทำมา หยุดอยากได้มากกว่าที่เป็นไปได้จริง

  7. รมิตา ซีบังเกิด

    รมิตา ซีบังเกิด
    เรื่อง : พี่สาวทะเลาะกัน
    เหตุการณ์ : ประมาณตี 4 พี่สาวคนโตจาก กทมฯ ส่งข้อความมาบ่นเรื่องจ้างคนมาทำราวตากผ้าแต่ไม่ถูกใจตามที่ต้องการ โดยตอนแรกให้เราอธิบายกับช่างไว้ แต่เราต้องเดินทางกลับใต้ จึงไม่ได้อยู่ดูแลให้ ซึ่งเราได้อธิบายช่างและพี่สาวคนรองไว้ เป็นที่เข้าใจกันอย่างดี พอถึงวันที่ช่างมาทำงาน ไม่มีพี่สาวคนไหนมาดูงานตอนที่ช่างมาทำ พอทำเสร็จงานไม่ถูกต้องตามที่ตกลงไว้ พี่สองคนจึงทะเลาะกัน
    ทุกข์ : เบื่อที่พี่สาวทะเลาะกัน
    สมุทัย : ชอบใจถ้าพี่สาวไม่ทะเลาะกัน ชังที่พี่สาวทะเลาะกัน
    นิโรธ : พี่สาวจะทะเลาะกันหรือไม่ก็ไม่ชอบไม่ชัง
    มรรค : มีความไม่สบายใจและเบื่อทุกครั้งที่เห็นพี่สาวทะเลาะกันและไม่ค่อยยอมพูดกันดีๆ ใช้อารมณ์เข้าใส่กันตลอด เราเป็นคนกลางพยายามไกล่เกลี่ยให้แต่ก็ไม่ค่อยได้ผลเท่าไหร่ ในที่สุดก็ต้องปลงว่าเราเป็นน้องสอนเขาไม่ได้ และจะอ้างว่าเราปฎิบัติธรรมมาจากครูอาจารย์ จะยิ่งไปกันใหญ่ จึงนิ่งไว้ดีกว่าปล่อยให้เป็นไปตามวิบากดีร้ายของแต่ละคน ดังบททบทวนธรรมข้อที่ 128 ว่า”ถ้าเราสอนเขาให้ดีขึ้นไม่ได้ ก็ไม่ต้องสอนแสดงว่า ณ เวลานั้น เราไม่ใช่สัตบุรุษของเขา ก็ให้ สัตบุรุษของเขาหรือให้ ทุกข์ของเขาสอนแทน” หลังจากวันนั้นจึงโทรไปหาพี่สาวให้คำแนะนำว่า เรียกช่างมาใหม่อธิบายช่างให้เข้าใจ และให้ช่างทำตามที่เราต้องการ แต่ต้องจ่ายค่าแรงเพิ่มให้เขาไปอีกเพราะต้องแก้ไขงานที่ทำไปแล้ว พี่สาวก็เข้าใจและทำตามที่บอก อีกสองวันต่อมาก็โทรมาบอกพร้อมกับส่งรูปงานที่ทำเสร็จแล้วให้ดูด้วยความสบายใจ เมื่อพี่สาวหายโกรธช่างและลดความโกรธต่างๆลงได้เราก็สบายใจที่เหตุการณ์ต่างๆผ่านไปด้วยดี โดยเฉพาะการเลิกทะเลาะกันของพี่สาวทั้งสองคน
    ในการทำงานบางครั้งก็อาจพบปัญหา แต่ถ้าเราทำอย่างรอบคอบแล้วยังมีปัญหา เราก็ต้องหาทางแก้ไขให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ “เพราะปัญหาคือเครื่องมือฝึกใจที่ดีที่สุด”

  8. นางสาวนาลี วิไลสัก

    ชื่อ : นางสาวนาลี วิไลสัก
    เป็นผู้คบคุ้นสวนป่านาบุญ2

    เรื่อง : เขาดูเราถูก

    เหตุการณ์ : มีผู้ใหญ่ท่านหนึ่ง ท่านเป็นที่เคารพศรัทธาของผู้คนส่วนใหญ่ในชุมชนนั้น ช่วงแรกๆที่เรากำลังฝึกปฏิบัติธรรม ผู้ใหญ่ท่านนั้นเคยด่าว่าเรา ไม่ใช่พุทธ แต่เป็นพวกบ้าศาสนา พุทธที่ไหนใครสั่งใครสอนให้กินพืชกินหญ้าเหมือนวัวเหมือนควาย…

    ทุกข์ : มีอาการร้อนขึ้นที่ใบหน้า ท่วมหัว หน้ามืด โกรธ ชิงชังที่ผู้ใหญ่ท่านนั้นมาว่าเรา

    สมุทัย : ชอบถ้าผู้ใหญ่ท่านนั้นเข้าใจแนวทางการปฏิบัติของเรา ชังที่เขามาดูถูก ดูหมิ่นเรา

    นิโรธ : ผู้ใหญ่ท่านนั้นจะเข้าใจเราหรือไม่ เขาจะดูถูก ดูหมิ่นเรายังไงก็ไม่ชอบไม่ชัง ใจไร้ทุกข์

    มรรค : มาดูความชั่วของมารที่สะกดจิตให้เราทุกข์กับเรื่องนี้มาเป็นปี เพราะต้องเจอเขาแทบทุกๆวัน

    มาร : โอ้โห…ทำไมด่ากันแรงขนาดนี้

    เรา : เอ็งนั่นแหละที่เคยไปด่าคนอื่นมาเยอะ แหม่…ถูกเขาด่าคืนบ้าง ก็ทำเป็นรับไม่ได้

    มาร : ก็ๆ..เขาด่าเราต่อหน้าผู้คนเยอะหนิ แบบนี้น่าอายมากเลย ถ้าเราเป็นน้ำแข็ง เราจะละลายหายไปต่อหน้าต่อตาเขาเลยนะ

    เรา : ตั้งใจฟังนะมาร ที่เอ็งอายก็เพราะเอ็งโง่ ที่เขาด่าเราต่อหน้าคนเยอะน่ะดีแล้ว เราจะได้ใช้วิบากชุดใหญ่ให้หมดไปเป็นส่วนๆ มันจะเสียหายตรงไหน โชคดีจังเลยหว่ะ

    มาร : อ้าว…โชคดีตรงไหน เวลาคนมาดูถูกดูหมิ่นเรา รู้สึกเจ็บปวดเหลือเกิน หัวเราเหมือนจะหลุดออกจากบ่าตกลงที่พื้นเลย

    เรา : ใช่ ผู้ใหญ่ท่านนั้นดูเราถูกแล้ว ท่านไม่ได้ดูเราผิดซะหน่อย ตอนนี้เราก็กินผัก กินหญ้าจริงๆ(ไม่กินเนื้อสัตว์)ที่ท่านว่าเรา “บ้า” ถ้าเอ็งยังอยู่เราก็จะบ้าตามที่ท่านว่าจริงๆ ที่ท่านว่ามานั้นผิดตรงไหน
    มาร : เออ…ก็จริงอย่างที่ท่านว่านะ ขอบคุณๆๆ

    เรา : คนอื่นเขาจะว่าเรายังไง ถ้าเรายังทุกข์ใจอยู่ก็แสดงว่าเราโง่ เราบ้า พุทธะแท้จะไม่เก็บเอาคำพูดของคนอื่นมาเผาตัวเองหรอก พิจารณาด้วย บททบทวนธรรม ข้อที่ 8 สิ่งที่เราได้รับ คือสิ่งที่เราทำมา ไม่มีสิ่งใดที่เราได้รับ โดยที่เราไม่เคยทำมา

    สรุป ตอนเกิดเหตุการณ์นี้ เรายังไม่รู้จักกิเลสและยังล้างกิเลสไม่เป็น จึงทุกข์นานมาเป็นปี แต่ก็พยายามล้างมาเป็นลำดับๆ จนได้คบคุ้นกับพี่ขวัญ จึงล้างกิเลสตัวนี้ได้ ต้องขอบคุณผู้ใหญ่ท่านนั้น ที่มาทำให้เราเห็นทุกข์จึงเห็นธรรม ตอนนี้เลิกโง่ เลิกบ้า แล้วค่ะ

  9. นางสาวนาลี วิไลสัก

    26/7/2564
    ชื่อ : นางสาวนาลี วิไลสัก
    เป็นผู้คบคุ้นสวนป่านาบุญ2

    เรื่อง : อยากให้แม่เข้าใจ

    เหตุการณ์ : แม่บ่นว่าเราบ้า เพราะว่าวันๆ เอาแต่คุยโทรศัพท์กับคนต่างประเทศ คุยทั้งกลางวัน และกลางคืน แถมยังไม่รู้จักหารายได้เพิ่มเหมือนเมื่อก่อน ยิ่งรายได้น้อยก็ยิ่งมีรายจ่ายซื้อบัตรเติมเงินเพื่อโทรหาคนต่างประเทศ

    ทุกข์ : ขุ่นใจ อยากให้แม่เข้าใจ เรื่องค่าใช้จ่ายของเรา

    สมุทัย : ชอบถ้าแม่เข้าใจเรื่องค่าใช้จ่ายของเรา ชังที่แม่ไม่เข้าใจเรา

    นิโรธ : แม่จะเข้าใจเรา หรือไม่เข้าใจ ก็ไม่ชอบไม่ชัง

    มรรค : มาดูลีลามารจะเอาดีจากแม่ค่ะ

    มาร : เฮ้ย แบบนี้ไม่ได้นะ ต้องรีบอธิบายให้แม่เข้าใจ ว่าเราไม่มีค่าใช้จ่ายเยอะเหมือนเมื่อก่อน เราอยู่ในจุดที่พอเพียงแล้ว ถ้าปล่อยให้แม่เข้าใจผิดแบบนี้ เดี๋ยวแม่จะทุกข์หนัก

    เรา : เออนะ..แม่จะทุกข์หนัก ทุกข์เบาก็ยังไม่แน่ใจ แต่ที่แน่ๆ ตอนนี้ คือ มารทุกข์หนัก ถ้าจะพูดอะไรกับแม่ก็ต้องดูตาม้าตาเรือหน่อย ไม่งั้นจะเป็นเรื่อง

    มาร : งั้นจะอธิบายให้แม่ฟัง จะดีไหมน้อ ถ้าอธิบายไป แม่ก็หาว่าเรา เป็นคนหาทางแก้ตัว

    เรา : ผิดทางแล้วมาร มุ่งจะแก้แต่เหตุการณ์ ที่แม่ไม่เข้าใจหน่ะ ถูกต้องแล้ว ขนาดเราเรียนธรรมะมาเยอะ ก็ยังไม่เข้าใจตนเองเลย แล้วจะให้คนอื่นเข้าใจเราได้ยังไง คนเป็นแม่เขาจะหวังดีกับลูก ตามภาษาของคนทั่วๆ ไป อยากให้ลูกขยันหาเงินหาทอง เพื่อให้ลูกได้มีกินมีใช้…เราจะไปชังท่านไม่ได้ เพราะมันจะเกิดวิบากร้ายใหม่ เมื่อก่อนเราก็คิดเหมือนแม่นั่นแหละ ที่เห็นนั้นคือ ลีลาเราทั้งนั้น แถมเรายังเคยดูถูก ดูหมิ่นพี่น้องบางคน ว่าเขาไม่รู้จักหาเงินมาเลี้ยงดูครอบครัวของเขาด้วย ตรงกับบททบทวนธรรม ข้อที่ 9 ถ้าเรายังไม่เข้าใจคนอื่น แสดงว่าเรายังไม่เข้าใจตนเอง

    มาร : อ๋อ คิดแบบเรามันผิดทางจริงด้วย งั้นจะไม่แก้ที่แม่ล่ะ หันมาเปลี่ยนเป็นพุทธะดีกว่า

    สรุป : พอมารสลายกลายเป็นพุทธะ ความขุ่นใจก็คลายลง ขอตั้งศีลจะไม่คาดหวังให้ใครต้องเข้าใจเรา สาธุค่ะ

  10. นางสาวสันทนา ประวงศ์

    เรื่อง : ขอบคุณค่ะ ที่ทำให้เราได้ล้างกิเลสเรา

    เหตุการณ์ : เพื่อนยืนตักอาหารอยู่ เรามายืนรอตักคนต่อไป เห็นเพื่อนท่านนั้นเลือกตักอาหาร ตักแบบเลือกหา ควานหาตักอาหาร เรารู้สึกมีอาการไม่ชอบ เกิดอาการขุ่นๆ ขึ้นในใจ ชังขึ้นมาเลย อ้าว ! กิเลสนี้ ขอบคุณค่ะ ทำให้เราเห็นกิเลสเรา

    ทุกข์ : ไม่ชอบพฤติกรรมการตัดอาหารของเพื่อน เกิดอาการขุ่นใจ ชัง ไม่ชอบ

    สมุทัย : เกิดจากตัณหาความอยาก อยากให้เพื่อนตักอาหารเลย ไม่ต้องเลือก อยากให้เพื่อนทำอย่างใจเราหมาย ว่าตักเลยไม่ต้องเลือกนั้นดี มีความยึดมั่นถือมั่นว่าอย่างเราดี
    ถ้าเพื่อนตักไปเลย ไม่ต้องมายืนเลือก เราชอบใจ ถูกใจ
    ถ้าเพื่อนตักอาหารแล้วเลือก เราชัง ไม่ชอบใจ

    นิโรธ : เพื่อนจะทำพฤติกรรมตักแบบไหน เลือกหรือไม่เลือกอาหาร เราก็ไม่ทุกข์ใจ

    มรรค : รู้ว่าอาการไม่ชอบที่เกิดขึ้นใจนั้น เป็นกิเลส พิจารณาโทษของกิเลส ความอยากให้คนอื่นเป็นอย่างใจเราหมาย เป็นกิเลสเป็นทุกข์ อยากได้ในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เราควบคุมไม่ได้ ไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน ไล่จับอากาศ ปั้นอากาศให้เป็นตัวนั้นทุกข์ เห็นทุกข์ใจ ที่ไม่ควรมีในตัวเรา เพื่อนทำพฤติกรรมอย่างนั้น ก็เรื่องของเขา ใจเราที่ไปชัง ไปไม่ชอบนี้ละน่าชังยิ่งกว่า สกปรกยิ่งกว่า น่าขยะแขยงกว่า ไม่ควรมีความทุกข์ความสกปรกนี้ในใจเรา เธอเป็นกิเลส ชังแล้วฉันทุกข์ ขุ่นใจ ใจไม่สะอาด ไม่เอา เอาใจที่สงบ เบิกบาน แจ่มใสดีกว่า
    ขอบคุณกับพฤติกรรมของเพื่อน กับเหตุการณ์นี้ที่ทำให้เราได้เห็นกิเลสในใจเรา ว่าเรายังมีสิ่งสกปรก มีขยะในใจอยู่ ที่เราจะต้องล้างทำความสะอาด ถ้าไม่เกิดเหตุการณ์นี้เราคงไม่ได้รู้

    ผล : รู้สึกยินดี เบิกบานแจ่มใส ยิ้มกับตัวเองได้ ความทุกข์ใจคลายหายไปเป็น ๐ % กับเหตุการณ์นี้ สาธุค่ะ

  11. สมพงษ์ โขงรัมย์(สู่สวนสงบ)

    เรื่อง
    ด่ากิเลส
    เนื้อเรื่อง
    ช่วงนี้ได้เป็นคนฝึกให้หมู่ช่วยด่ากิเลสและขัดเกลาตัวเอง ในห้องซูมและห้องไลน์ต่างๆ ทำให้ได้เห็นตัวเอง ว่าอดีตที่เคยพลาดอยากพูดมากก็ทำให้กิเลสโตตอนนี้เข้าใจแล้วว่าต้องให้คนอื่นพูดกับเรามากๆเราจะได้เห็นกิเลส และมีหูไว้สองหูเพื่อไว้ฟังคนอื่นมากๆมีปากเดียวคือพูดให้น้อยลง มีความคิดว่าเราโง่ตั้งนานไม่ยอมฟังหมู่มิตรดี
    ทุกข์
    หลงโง่เชื่อกิเลสมาตั้งนานนึกว่าเพื่อนด่าเราที่ไหนได้เพื่อนด่ากิเลส
    สมุทัย ชอบที่่ หมู่มิตรดีด่ากิเลส ชังที่หลงว่าหมู่มิตรดีด่าเรา
    นิโรธ
    ไม่ชอบไม่ชังหมู่จะด่าเราหรือด่ากิเลสเราก็ใจไร้ทุกข์ไร้กังวล
    มรรค เราหลงเชื่อกิเลสว่าเป็นเราแยกกิเลสไม่ออกจากจิตตัวเองเพราะมันพันกัน
    มาร
    ทำไมเขามาด่าเราเขาพูดอะไรก็ไม่รู้ เราขอพูดก็พูดดักคอเราไปหมด(หมู่พูดชนะเราตลอด)
    เรา
    แต่ก็สงสัยนะก็มีแต่คนมีศีลแต่ทำไมเขาไม่อยากให้เราพูดเยอะ(ตอนนั้นเรามีศีลน้อย)
    มาร
    เขากลัวเราเก่งกว่าพูดได้เยอะกว่า
    เรา
    พออยู่กับหมู่และให้หมู่ตำหนิได้ หลายปีเข้าจึงเข้าใจว่า(ทำดียังดีไม่มากพอ) การอยู่กับหมู่ต้องฟังให้มากเพราะเรามี 2 หูปากมี 1 ปากก็คือพูดให้น้อยลง
    สรุป
    หมู่ได้ด่ากิเลสช่วยเราทำให้กิเลสเราลดลงและไม่หลงยึด หลงเชื่อตามความคิดมาร เชื่อกิเลสว่าหมู่ด่าเรา

  12. สุมา ไชยช่วย

    เรื่อง คืนก็ได้ไม่คืนก็ได้

    เหตุการณ์ มีคนมาขอยืมเงินไปก้อนหนึ่งป่าน
    นี้ยังไม่คืนเลย ทั้งๆที่บอกจะคืนแล้วก็เงียบไปเลยจึงเกิดความเสียดาย อยากได้คืน

    ทุกข์ เสียดายป่านนี้ยังไม่ได้เงินคืน

    สมุทัย ชอบถ้าได้เงินคืน ชังยังไม่ได้เงินคืน

    นิโรธ เงินจะได้คืนหรือไม่ได้คืนก็เป็นสุขได้

    มรรค เมื่อคิดว่ายังไม่ได้เงินคืนเกิดความเสีย
    ดาย อยากได้เงินคืน ตอนที่เขามายืม เงินก็อยู่
    กับเรา ถ้าเราไม่ให้เขาๆก็เอาไปไม่ได้ ในเมื่อเรายินยอมให้เขาเอง แล้วคิดที่จะช่วยเหลือเขา เพราะเขากำลังเดือดร้อนแล้วทำไม ยังอยากได้คืนอีกล่ะ เขาก็คงเดือดร้อนอยู่ การที่เขามายืมแล้วบอกจะคืนแล้วไม่คืน เขาก็ผิดศีลเอง แล้วเรายังอยากได้เงินคืน เราก็ผิดศีล ต่างคนต่างผิดศีล เป็นแรงเหนี่ยวนำให้ คนทั้งโลกที่เป็นเจ้าหนี้ลูกหนี้ ทวงหนี้กันแบบรุนแรง เพราะ เจ้าหนี้อยากได้เงินคืน แต่ลูกหนี้ไม่มีเงินคืน จึงเกิดการฆ่ากันตาย บาดเจ็บ กันมากมายเลย เพราะฝีมือเรา จึงตั้งจิตสำนึกผิด ยอมรับผิด ขอโทษขออโหสิกรรม ตั้งจิตหยุดทำในสิ่งที่ไม่ดี และขอเพิ่มศีลเขาจะคืนเงินหรือไม่คืนก็ได้จะไม่โกรธ และไม่เสียดายเงินอีก เราต้องขอบคุณเขาด้วยซ้ำไป ที่เขามาเป็นผัสสะให้เราได้เห็นกิเลสหลายตัวในเรื่องนี้ คุ้มมากๆเลยทำให้เราได้ใช้วิบาก และได้ล้างใจเพราะสิ่งที่เราได้รับ คือสิ่งที่เราทำมาทั้งนั้น
    บททบทวนธรรม9
    ถ้าเรายังไม่เข้าใจคนอื่น
    แสดงว่าเรายังไม่เข้าใจตนเอง

    สรุปได้นำเรื่องนี้เข้าอปริหาริยธรรมทั้งเด็ก และผู้ใหญ่ได้ให้ปัญญา จึงเข้าใจและโล่งใจๆ
    เบิกบาน ผิดกับตอนที่ยังไม่ได้นำเรื่องเข้าหมู่
    ต้องขอขอบคุณทั้งเด็ก และผู้ใหญ่มากๆคะ สาธุคะ
    บททบทวนธรรม68
    ไม่คบไม่เคารพมิตรดี
    ไม่มีทางพ้นทุกข์

  13. สุมา ไชยช่วย

    เรื่อง ทำไมไม่ปอก

    เหตุการณ์ ไปตลาดซื้อหน่อไม้ ธรรมดาพ่อค้าจะปอกเปลือกให้ เที่ยวนี้บอกไม่ปอกเปลือกให้น่ะ

    ทุกข์ ขุ่นใจทำไมไม่ปอกเปลือกให้

    สมุทัย ชอบถ้าพ่อค้าปอกเปลือกหน่อไม้ให้ ชัง ไม่ยอมปอกเปลือก

    นิโรธ พ่อค้าจะปอกเปลือกหรือไม่ ก็ไม่ทุกข์ใจ

    มรรค ขุ่นใจเมื่อพ่อค้าบอก ไม่ปอกเปลือกหน่อไม้ให้
    มาร ทุกทีก็ปอกนี่น่า เที่ยวนี้ดันไม่ปอกให้
    เรา พ่อค้าไม่ปอกเราก็มาปอกเอง ก็ได้ เพราะ อยู่บนความลำบากทำให้ กุศลธรรมเจริญยิ่ง ถ้าพ่อค้าปอกเปลือกให้ เราก็ไม่ได้เห็นความขุ่นใจน่ะซิ โชคดีอีกแล้ว ร้ายหมดอีกแล้ว
    สิ่งที่เราได้รับคือสิ่งที่เราทำ รับแล้วก็หมดไป
    เราก็จะโชคดีขึ้น
    บททบทวนธรรม136
    ชีวิตที่ลงตัว
    คือ ชีวิตที่มีแต่ความเสื่อม
    ชีวิตที่ไม่ลงตัว
    คือ ชีวิตที่มีแต่ความเจริญ
    สรุป ปอกเปลือกหน่อไม้ด้วยใจเป็นสุข

  14. สมพงษ์ โขงรัมย์(สู่สวนสงบ)

    เรื่อง
    ตั้งศีลออกกำลังกาย
    เนื้อเรื่อง
    จะออกมาเดินเร็วเป็นประจำแต่กิเลสก็มาขัดขวางโดยปรุงแต่งความคิดว่าไม่ต้องวิ่งเยอะหรอกวันละรอบสองรอบก็พอแล้วเราก็อึดอัดใจที่กิเลสมาขัดขวางการออกกำลังกาย
    ทุกข์
    กลัวกังวลว่าออกกำลังกายน้อยไปจะมีปัญหาด้านสุขภาพ
    สมุทัย
    ชอบออกกำลังกายมากๆ จะได้สุขภาพดี
    ชังที่ออกกำลังกายได้น้อย
    นิโรธ
    ไม่ชอบไม่ชังจะออกกำลังกายได้เท่าที่มีแรงยินดีพอใจไร้กังวล
    มรรค
    พิจารณาว่าเราต้องเถียงกิเลสให้เป็นตอนออกกำลังกาย เพราะมันเถียงเก่งตลอดเวลา
    มาร
    ออกกำลังกาย 1 รอบก็พอแล้วไม่ต้องออกกำลังกายเยอะเดี๋ยวบาดเจ็บ
    เรา การตั้งศีลต้องตั้งสูงไว้ก่อนส่วนจะทำได้เท่าไหร่ก็ดูปัจจุบันนั้นเรามีแรงสู้ไหวแค่ไหนต้อง ฝึก
    ฝืนอดทนกับความลำบากกุศลธรรมเจริญยิ่ง
    มาร
    ออกกำลังกายไม่เห็นได้ลดกิเลสตรงไหนเลย
    เรา
    ไอ้มารหน้าโง่ก็เราเห็นหน้าแกนี่ไงโง่แสดงตัวออกมาให้เราเห็นความคิดไม่ดีที่โกหกไม่อยากให้เราฝึกพึ่งตนเองด้วยการเดินเร็วบ่อยๆจนเหงื่อออกก็ได้เห็นกิเลสตลอดการออกกำลังกาย
    สรุป
    จะได้ออกกำลังกายมาก ออกกำลังกายน้อยก็ได้ ไม่กลัว ไม่กังวล

  15. น.ส ชรินรัตน์ ชุมจีด (น้ำน้อมศีล)

    ส่งการบ้านอริยสัจ4
    เรื่อง.คำพูด …ล้างใจ
    เหตุการณ์.ขณะที่กำลังนั่งสนทนากับป้าคนหนึ่งอยู่ เพื่อจะสั่งซื้อของจากท่าน แล้วตอนนั้นเราปิดแมสอยู่ท่านจำไม่ได้ว่าเป็นใครจึงถามว่าบ้านอยู่ไหน แล้วมีพี่อีกท่านพูดสวนมาว่า (ลูก”ไอ้….ต่อด้วยชื่อพ่อของเรา)ไม่รู้จักเหรอ จับได้ทันทีเลยว่ามันมีความรู้สึกไม่พอใจเมื่อได้ยินในคำพูดนั้น จึงนั่งวิปัสสนาไปเรื่อยๆจนใจโล่งลงได้ตามลำดับ

    ทุกข์.รู้สึกไม่พอใจคำพูดที่คิดว่าไม่ให้เกียรติพ่อของเรา

    สมุทัย.อยากได้พฤติกรรมดีๆคำพูดดีๆที่เหมาะสมต่อบุคคลที่มีความสำคัญที่สุดของเรา ถ้าเขาไม่พูดคำนั้นเราจะชอบใจสุขใจ แต่เมื่อเขาพูดคำๆนั้นที่เรายึดว่าไม่เหมาะไม่ควรถึงพ่อเรา เราจึงทุกข์ใจไม่ชอบใจ

    นิโรธ.วางใจได้ว่าเขาจะพูดคำพูดไหนอย่างไรต่อบุคคลที่เราเคารพรัก เราก็ยินดีไม่ชอบไม่ชัง

    มรรค.ตั้งศีลมาปฏิบัติพิจารณาเห็นไตรลักษณ์
    ความไม่เที่ยงของอาการกิเลสที่ทำให้เราทุกข์ใจ มาพิจารณาเห็นได้ว่าเมื่อเรามีกิเลส ทำให้ปัญญาดับ หลงไปยึดมั่นถือมั่นว่า เขาไม่ควรพูดคำๆนั้นเพราะคิดว่ามันหยาบมันไม่ควร และเราคิดว่าพี่คนนั้นก็อายุน้อยกว่าพ่อเรานะ น่าจะให้เกียรติกัน มันคิดเหมือนจริง แต่ไม่จริง เพราะคิดแล้วทุกข์ ทุกข์เพราะความยึดมั่นถือมั่น ความควรไม่ควร แล้วมาทำใจในใจได้ว่าคำพูดนั้นเป็นคำพูดที่มาให้เราได้มาใช้วิบากที่เราเคยหลงพลาดมาส่งเสริมมา เบียดเบียนจิตใจผู้อื่นมา จึงตั้งศีลมาล้างความชอบความชังความยึดมั่นถือมั่น ตั้งจิตสำนึกผิด ยอมรับผิด ขอรับโทษเต็มใจรับโทษ ขออโหสิกรรม ตั้งจิตหยุดสิ่งไม่ดีอันนั้น ตั้งจิตทำความดีให้มากๆช่วยเหลือผู้อืนให้มากๆ เพื่อจะให้ดีชิงออกฤทธิ์แทนร้าย ทำให้เราโชคดีขึ้น และทำให้ลดความชอบชังลดความใจได้ตามลำดับค่ะ

    สรุปว่า.เมื่อมาพิจารณาทำใจในใจได้ ทำให้มีปัญญาต่อสู้กับกิเลสได้ และเปรียบเทียบได้ถ้าเมื่อก่อนเราไม่ยอมแน่ ต้องคิดหาคำพูดสวนกลับแน่นอน แต่เมื่อเราได้มาปฏิบัติตามคำสั่งสอนของอาจารย์หมอเขียว ทำให้เห็นความต่างได้อย่างชัดเจนว่า ณ.ตอนนี้มันไม่ได้ออกมาทางวาจาแล้ว เหลือแค่อยู่ในใจ และทุกข์ลดน้อยลงจากก่อนที่ไม่ได้เจอแพทย์วิถีธรรมมากค่ะ ถึงจะทุกข์ก็อยู่กับเราไม่นาน ทำให้ชีวิตผาสุกมากขึ้นค่ะ

  16. นางศุทธินี พรมเล็ก (ขวัญน้ำฟ้า)ป้าเนียร

    26/07/64
    ชื่อ : นางศุทธินี พรมเล็ก (ป้าเนียร )
    ชื่อทางธรรม : ขวัญน้ำฟ้า
    จิตอาสาสังกัดสวนป่านาบุญ 2
    เรื่อง : ทำอะไรไม่ปรึกษาหมู่
    ได้ทำศาลาขนาดเล็กเพื่อวางผลิตผลกสิกรรมไร้สารพิษมาจำหน่าย เมื่อศาลาเสร็จเราจะเก็บงานเพื่อความเรียบร้อยและสวยงาม(ในสายตาของเรา) แต่สมาชิกในครอบครัวเห็นเข้าก็หัวเราะเยาะเรา ขำในความคิดที่ไม่ทันสมัย ไม่มีศิลปะ ทำให้เรารู้สึกเสียใจมาก
    ทุกข์ : เสียใจที่ถูกหมู่กลุ่มหัวเราะเยาะ
    สมุทัย : ชอบที่ทำงานสำเร็จโดยไม่มีใครคอยตำหนิ ชังที่ถูกคนอื่นหัวเราะเยาะ
    นิโรธ : ใครจะหัวเราะเยาะหรือตำหนิ ใจเราก็ไม่เป็นทุกข์
    มรรค : เมื่อหมู่กลุ่มหัวเราะเยาะเราก็ได้อธิบายจุดประสงค์ของเราให้เขาได้เข้าใจ และได้มาพิจารณาใจที่เป็นทุกข์ของเรา หมู่เห็นพ้องต้องกันว่าสิ่งที่เราทำมันดูล้าสมัย เมื่อคนส่วนใหญ่เห็นดังนี้ เราก็ต้องยอมรับ จะไปยึดมั่นถือมั่นทำไม เมื่อทำได้ก็แก้ไขได้ จึงยอมแก้ไขตามที่หมู่กลุ่มแนะนำ
    ตรงกับบททบทวนธรรมข้อที่ 21 “ การที่ได้พบกับเหตุการณ์ที่ไม่ถูกใจเรา ไม่ได้ดั่งใจเรา เป็นสุดยอดแห่งเครื่องมืออันล้ำค่า ที่ทำให้เราได้ฝึกล้างกิเลส คือ ความหลงชิงชังรังเกียจ หลงยึดมั่นถือมั่นในใจเรา และทำให้ได้ล้างวิบากร้ายของเรา”
    สรุป พิจารณาแบบนี้แล้วใจเราก็สลายความทุกข์นั่นไปได้ ใจเบิกบาน พอเรายอมแก้ไขตามที่หมู่กลุ่มแนะนำแล้วก็ได้ศาลาที่เป็นที่น่าพอใจของทุกคน

  17. ศุทธินี พรมเล็ก (ขวัญน้ำฟ้า)ป้าเนียร

    25/07/64
    ชื่อ : นางศุทธินี พรมเล็ก (ป้าเนียร )
    ชื่อทางธรรม : ขวัญน้ำฟ้า
    จิตอาสาสังกัดสวนป่านาบุญ 2
    เรื่อง : ไม่มั่นใจในการทำหน้าที่
    ได้รับเชิญให้เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิประเมินครูผู้ช่วยในสถานศึกษาแห่งหนึ่ง ทำให้รู้สึกไม่มั่นใจ ก่อนที่เข้าห้องประชุม ว่าตนเองจะทำหน้าที่ได้ไม่ดีพอ
    ทุกข์ : ไม่มั่นใจว่าจะทำหน้าที่ได้ไม่ดีพอ
    สมุทัย : ชอบถ้าตนเองมั่นใจในการปฏิบัติหน้าที่ ชังที่ตนเองไม่มั่นใจในการทำงาน
    นิโรธ : จะทำหน้าที่ได้ดีแค่ไหนก็ไม่กังวลใจ เชื่อมั่นในศักยภาพที่เรามี
    มรรค : สาเหตุแห่งความไม่มั่นใจ คือ เราร้างลาจากการทำงานวิชาการด้านการศึกษามานาน จึงพิจารณาว่า ทางสถานศึกษาและชุมนยังเห็นศักยภาพในตัวเรา เขาให้ความเชื่อมั่นในเราขนาดนี้แล้ว ทำไมเราถึงไม่เห็นคุณค่าในตนเอง เรามีประสบการณ์ด้านนี้กว่า 30 ปี แม้จะร้างลามานาน แต่มันก็ฝังลึกลงไปในจิตวิญญาณ รื้อฟื้นคงไม่ยาก การที่เขาเลือกเราก็เป็นผลดี ที่เราก็ได้บำเพ็ญกุศลตอบแทนสังคม และยังเป็นโอกาสดีที่ได้นำธรรมะที่เราปฏิบัติมาแนะนำคณะครูและผู้ที่ถูกประเมิน
    ตรงกับบททบทวนธรรมข้อที่ 4 “ ต้องกล้าในการทำสิ่งที่ดี ละอายเกรงกลีวในการทำสิ่งชั่ว ชีวิตจึงจะพ้นทุกข์ได้”
    สรุป พิจารณาแบบนี้แล้ว ใจเราก็คลายความไม่มั่นใจลงไปได้

  18. น.ส.ทิษฏยา โภชนา (นุ้ย)(ในสายธาร)

    29/07/64
    ชื่อ : น.ส.ทิษฏยา โภชนา
    ชื่อทางธรรม : ในสายธรรม
    จิตอาสาสังกัดสวนป่านาบุญ 2
    เรื่อง: ผลของการผิดศีล
    ผู้เขียนตั้งศีลการกินมื้อเดียวไว้ แต่ช่วงนี้มีงานต้องรับผิดชอบหลายอย่าง บางวันเร่งรีบจนไม่มีเวลากินข้าว กินได้แป๊บเดียวยังไม่ทันอิ่มก็ต้องไปทำธุระให้เสร็จแข่งกับเวลา พอเป็นแบบนี้ก็เลยเข้าทางกิเลส ที่จะหาเรื่องไม่ต้องกินมื้อเดียว กิเลสมันจะอ้างว่า “ กินยังไม่อิ่มเลย ร่างกายก็ดูเพลีย ๆ พลังไม่เต็ม ต้องกินมื้อเย็นเพิ่มอีกถึงจะดีอ” แรก ๆ มันก็ดีจริง ๆ แต่พอหลาย ๆ วันเข้ามันก็เริ่มจะไม่ดีแล้ว กิเลสมันหลอกให้กินมื้อเย็น และเกินเลยไปจนถึงกินของอร่อย จนทำให้เกิดอาการท้องอืดไม่สบายตัวขึ้นมา พอเป็นแบบนี้ก็รู้เลยว่าเราผิดศีลแล้ว
    ทุกข์ : รู้สึกผิดที่ตนเองทำผิดศีล
    สมุทัย : ชอบใจถ้าได้ปฏิบัติถูกศีลที่ตั้งไว้ ชังที่ทำผิดศีลจนเป็นเหตุให้ร่างกายเจ็บป่วย
    นิโรธ : เมื่อรู้ว่าตนเองทำผิดศีลไปแล้วก็ไม่ทุกข์ใจ มีความยินดีในการแก้ไขตนเองใหม่ด้วยใจที่เบิกบาน
    มรรค : พิจารณาว่า การที่เราทำผิดศีลเราก็ได้รับวิบากไปแล้วคืออาการท้องอืดไม่สบายกายอย่างที่เป็น เราก็ได้เรียนรู้ว่าการผิดศีลมันก็ได้รับผลคือความทุกข์ใจทุกข์กายเช่นนี้ แล้วเอามาเปรียบเทียบกับเมื่อก่อนที่เราปฏิบัติตามศีลที่ตั้งไว้อย่างเคร่งครัด ผลที่ได้รับคือความสุขความไม่เดือดเนื้อร้อนใจ เราก็ได้รับรู้อย่างชัดเจนแล้ว จึงไม่ต้องไปซ้ำเติมตัวเอง ดังนั้นจึงตั้งจิตสำนึกผิด และจะปฏิบัติตามศีลที่ตั้งไว้ให้เคร่งครัดกว่านี้
    ตรงกับบททบทวนธรรมข้อที่ 97 “ การยอมรับความจริงตามความเป็นจริงด้วยการสำนึกผิด สารภาพผิด ยอมรับผิด เต็มใจรับโทษ ขอโทษ ขออโหสิกรรม ตั้งจิตหยุดสิ่งที่ไม่ดี ตั้งจิตทำสิ่งที่ดี คือลดกิเลส และช่วยเหลือผู้อื่นให้ได้มากที่สุด เท่าที่จะทำได้ ด้วยความยินดี จริงใจ เป็นสุดยอดแห่งพลังความดีที่ทำให้ใจไม่ทุกข์ ดันเรื่องร้ายออกไป ได้มากที่สุด ดูดสิ่งดีเข้ามาสู่ชีวิต ได้มากที่สุด รับร้ายแล้ว ร้ายก็หมดไป เราก็จะโชคดีขึ้น ได้เป็นตัวอย่าง และแรงเหนี่ยวนำในการปฏิบัติที่ดี ที่ถูกตรง สู่ความพ้นทุกข์เพื่อประโยชน์สุขที่แท้จริง อันยอดเยี่ยมยั่งยืนที่สุดต่อตนเองและมวลมนุษยชาติ”

    บทสรุป พิจารณาแบบนี้แล้วอาการทุกข์ใจก็ค่อย ๆ คลี่คลายไป และหลังจากตั้งจิตสำนึกผิดได้ไม่นาน ก็คิดขึ้นมาได้ว่าให้เอาปลายนิ้วมือกดต้องท้องบริเวณที่รู้สึกไม่สบาย พร้อมกับหายใจออก ทำแบบนี้เพียงแค่ 3-4 ครั้ง ก็รู้สึกว่าอาการท้องอืดค่อย ๆ คลายไปจนเป็นปกติในเวลาเพียงไม่นาน

  19. นปภา รัตนวงศา

    เรื่อง กลัวลูกติดโควิด

    เหตุการณ์ ลูกชายยังทำงานที่กรุงเทพ ต้องเดินทางระหว่างบ้านกับโรงงาน รับประทานอาหารร่วมกันในที่ทำงาน ส่วนตอนเย็นต้องแวะซื้อมารับประทานที่บ้าน แต่เนื่องจากมีกันหลายครอบครัวที่ยังทำมาหาเลี้ยงชีพยังไม่ได้หยุดกิจกรรม มีผู้ร่วมงานนำเชื้อมาติดบุคคลในที่ทำงาน ทำให้ทุกคนมีความเสี่ยงสูงจากโรคโควิด

    ทุกข์ ไม่สุขใจ กลัวลูกจะติดเชื้อโควิด

    สมุทัย สุขใจถ้าลูกสุขสบายดี ไม่มีอาการติดเชื้อโควิด ไม่สุขใจถ้าลูกไม่สบาย ติดเชื้อโควิด

    นิโรธ ลูกจะสุขสบายหรือไม่สุขสบาย จะติดเชื้อโควิดหรือไม่ติดเชื้อโควิดก็สุขใจให้ได้

    มรรค ตั้งศีลมาพิจารณาไตรลักษณ์ ความวิปลาส ความยึดมั่นถือมั่นว่า ถ้าลูกสุขสบายดี ร่างกายแข็งแรง ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ ไม่มีเรื่องร้ายจะดี ดูเหมือนจะจริง แต่ไม่จริงเพราะทุกสิ่งอย่างจะราบเรียบ ราบรื่นตลอดเป็นไปไม่ได้ ทุกอย่างเป็นไปตามกุศล อกุศลของลูก ของเรา ของบุคคลที่เกี่ยวข้อง ชีวิตเราเดี่ยวก็ดี เดี่ยวก็ร้าย เดี่ยวก็ดี เดี่ยวก็ร้าย เราจะอยากให้เกิดสิ่งดีไม่เกิดสิ่งร้ายเลยเป็นไปไม่ได้ เมื่ออยากเป็นทุกข์ ไม่อยากไม่ทุกข์ แล้วจะอยากให้ทุกข์ทำไม ให้โง่
    ตั้งศีลมาพิจารณาโทษของการมีกิเลสตัวฟุ้งซ่านที่มาคิดปรุงให้ใจเป็นทุกข์ ทั้งที่ยังไม่เกิดเหตุการณ์อะไรเลย แต่ใจที่ไม่อยู่กับปัจจุบัน ไม่สุขใจแม้เพียงสั้นๆ ก็ผิดทางแล้ว พิจารณาประโยชน์ของการคิดแบบพุทธะก็ในเมื่อลูกยังสุขสบายดี ยังไม่ติดเชื้อเลย คิดไปทำไมให้ทุกข์
    ต้องขอบคุณเหตุการณ์นี้มาให้ได้ล้าง เรื่องลูกชายได้ล้างมาเป็นลำดับๆ ครั้งนี้ก็เช่นกันเมื่อลูกส่งข่าว “น้าที่โรงงานติดโควิด” ใจก็คิด ใกล้เข้ามาอีกแล้วนะ เราจะมัวชักช้า อืดอาดอยู่ไม่ได้แล้ว รีบเพิ่มศีล เร่งทำกุศลเพื่อดันวิบากร้ายออกไปให้ไกลสุด แต่เมื่อได้ทำเต็มที่แล้วก็ยอม ยอมรับทุกเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นให้ได้
    ใช้บททบทวนธรรมข้อที่ 147 “ทุกอย่างที่จะเกิดขึ้นดีที่สุดแล้ว (Everything happens for the best)”
    สรุป หลังพิจารณาแล้ว ถ้าเป็นอดีตจะกังวลมาก แต่เมื่อชีวิตมาศึกษาแพทย์วิถีธรรม ทำให้เข้าใจเรื่องกรรมอย่างแจ่มแจ้ง ลูกจะเป็นอย่างไรนั้นมันเรื่องของลูก จะเกิดอะไรขึ้นยอมรับได้ในทุกสถานการณ์ เรามีหน้าที่ทำดีเรื่อยไป ใจเย็นข้ามชาติ สุขใจในทุกๆเรื่องให้ได้..สาธุ

  20. ธัญมน หมวดเหมน(มั่นแสงธรรม)

    ชื่อเรื่อง:กิเลสหลอก
    เนื้อหา:เวลาบำเพ็ญทำงานร่วมกับหมู่กลุ่มที่ไม่มีอาจารย์ไปร่วมทำด้วย ได้สังเกตุเห็นกิเลสตัวหนึ่งของตัวเองโผล่ออกมาบ่อยครั้งได้เห็นว่ามีอาการต้องฝืนใจตัวเองที่ต้องไปทำตามสิ่งที่คนอื่นที่ไม่ใช่อาจารย์พาทำ โดยกิเลสเขาหลอกให้เข้าใจผิดอ้างว่าที่เราไม่อยากทำตามเพื่อนเพราะเป็นสิ่งที่ไม่ตรงกับคำสั่งหรือขัดกับสิ่งที่อาจารย์ได้บอกหรือมอบหมายไว้ มันเห็นอาการอึดอัดที่เกิดจากการต่อสู้กับใจตัวเองที่จะยอมรับในความคิดต่างของเพื่อนให้ได้แต่มันทำไม่ได้ในทันทีในขณะปัจจุบันนั้น มันจึงเกิดอาการที่ใจมันต้านไม่อยากทำตามหรือปรับใจให้ยอมทำตามได้ยาก(มันอึดอัดไม่ยินดีที่จะปรับใจให้คล้อยตามได้โดยง่าย)ทั้งที่สุดท้ายแล้วก็ยอมไปทำตามกลุ่มอยู่ดี และพอทำใจไปทำตามกลุ่มได้ งานก็ออกมาดีตามที่เป็นไปได้จริงในตอนนั้นเกือบทุกครั้งด้วยซ้ำ
    ทุกข์:รู้สึกใจต่อต้าน ไม่ยินดีที่จะทำตามในสิ่งที่เพื่อนพาทำ เพราะรู้สึกว่าเป็นการขัดกับสิ่งที่อาจารย์ได้บอกหรือมอบหมายไว้
    สมุทัย:หลงเข้าใจว่าตัวเองยึดมั่นในคำพูดของอาจารย์ แต่จริงๆมันเป็นข้ออ้างของกิเลส เพราะความจริงคือสิ่งที่เพื่อนเสนอมันไม่ตรงใจ ไม่ถูกใจตัวเราเองต่างหาก
    นิโรธ:เพื่อนจะมีความเห็นต่างหรือเห็นตามอาจารย์เราก็จะไม่ทุกข์ จะปรับเปลี่ยนทำตามเพื่อนด้วยใจที่เป็นสุขให้ได้
    มรรค: พอเห็นว่าเป็นกิเลสของเราที่มันซ่อนอยู่ ที่มันหลอกเราอยู่ว่า เพราะเพื่อนไม่ทำตามสิ่งที่อาจารย์บอกทำให้เราไม่อยากทำตามในสิ่งที่เขาพาทำ
    จึงพิจารณาและคุยกับ(กิเลส)ตัวเองว่า
    เรา:เธออยากได้อะไรเหรอ จริงๆแล้วเธอแค่อยากให้เพื่อนทำตามความคิดของเธอที่เธอเห็นว่าน่าจะดีกว่าสิ่งที่เพื่อนเสนอมาใช่ไหมล่ะ
    กิเลส:ก็ใช่อยู่ แต่อาจารย์ท่านก็สั่งไว้แบบที่เราคิดนี่นา
    เรา:แต่ตอนนี้เราทำงานอยู่กับเพื่อนไม่ใช่หรือ และถึงแม้อาจารย์จะมาด้วยท่านก็ทำตัวอย่างให้เห็นอยู่นี่นาว่าแม้แต่ท่านเองก็วางความคิดของท่านลงเพื่อที่จะทำตาม
    ที่ลูกศิษย์เสนอมาอยู่บ่อยครั้งทั้งที่เราก็เห็นด้วยว่าสิ่งที่อาจารย์เสนอนั้นน่าจะดีกว่าแต่อาจารย์ก็ยอมวางสิ่งดีนั้นลงได้ ท่านทำให้เห็นว่าท่านยอมวางดีที่สิบ(คือดีทางโลก คือดีที่เกิดจากความสำเร็จที่ได้ดั่งใจ)ลงเพื่อที่จะเอาดีที่สิบเอ็ดที่มีประโยชน์สูงสุดมากกว่าคือดีที่ไม่มีอัตตา คือดีที่อยู่เหนือความยึดมั่นถือมั่นได้ เหมือนบททบทวนธรรมข้อที่ 141 ว่า ความผิด ความถูกอยู่ที่การยึดหรือไม่ยึด ถ้ายึดคือผิด ถ้าไม่ยึดคือถูก ผิดถูกไม่ได้อยู่ที่เหตุผลใครเลิศยอดกว่าใคร ผิดถูกมันอยู่ที่ยึดหรือไม่ยึด ยึดคือผิด ถ้าไม่ยึดคือถูก ยึดคือยึดมั่นถือมั่นตามความคิดของเราเอาดีแบบเราหมาย จึงจะสุขใจ ไม่เอาดีแบบเราหมายจะทุกข์ใจ นี่แหละยึด นี่แหละกิเลสนี่แหละบาป และข้อ 142 ว่า “ยึดที่ไม่ผิด” คือ “ยึดความไม่ยึดมั่นถือมั่น” การพิจารณาเพื่อล้างความยึดมั่นถือมั่นก็คือพิจารณาถึงโทษของความยึดมั่นถือมั่นว่ามันทำให้เกิดความทุกข์ ความพลาดความพร่อง ถ้าไม่อยากพลาด ไม่อยากพร่อง ไม่อยากทุกข์ก็อย่ายึดมั่นถือมั่นในทุกเรื่องให้ได้

  21. จิตรา พรหมโคตร

    เรื่อง กลัวพูดไม่ถูกกาลเทศะ

    ขณะมีพี่น้องจิตอาสาแชร์เรื่องใช้น้ำปัสสาวะสูดโพรงจมูกโดยใช้หลอดฉีดแล้วมีพี่น้องอีกท่านว่าไม่ชอบมันแรงไปใช้ทำให้สำลักได้ เราก็มีข้อมูลเรื่องการใช้น้ำปัสสาวะล้างโพรงจมูกจนทำให้เลือดที่คั่งในโพรงจมูกออกมาแต่ไม่ตกใจ ในที่สุดโรคภูมิแพ้ก็หายเมื่อได้แชร์ประสบการณ์มาแล้ว รู้สึกกลัวพูดไม่ถูกกาละเทศะ

    ทุกข์: กังวลใจว่าไม่น่าพูดแชร์ประสบการณ์ของตัวเองเรื่องการใช้น้ำปัสสาวะ

    สมุทัย: กลัวจะพูดไม่ถูกกาละเทศะ สุขใจถ้าพูดถูกกาละเทศะ ทุกข์ใจถ้าพูดไม่ถูกกาละเทศะ

    นิโรธ: จะพูดถูกกาละเทศะหรือไม่พูดถูกกาละเทศะก็ไม่ทุกข์ใจ

    มรรค: ความจริงคือการที่เราได้พูดบอกข้อมูล ด้วยจิตที่บริสุทธิ์ ปรารถนาดีอย่างแท้จริงก็เป็นสิ่งดีแล้ว
    ความลวงคือ กิเลสหลอกว่า เราพูดไม่ถูกกาลเทศะ เพิ่มเติมการพิจารณาโทษของมัน ทำให้เสียพลัง เสียเวลา

  22. ภคมน ถิรธรรมภณ (ษา พิมพ์น้ำคำ)

    เรื่อง ซ่อมแล้วก็รั่วอีก!

    เรามีบ้านหลังหนึ่งที่ซื้อทิ้งไว้ 7-8 ปีแล้ว ไม่ได้เข้าอยู่อาศัยและเคยต่อเติมชายคาบ้าน ส่วนต่อเติมนี้น้ำรั่วนานแล้ว แต่เมื่อไม่ได้ไปอยู่จึงไม่ได้ซ่อมแซม ประกอบกับไม่มีเวลาด้วย
    ในช่วงโควิดระบาดนี้เรามีเวลาอยู่บ้าน จึงคิดทบทวนและได้ข้อสรุปว่าน่าจะขายบ้านหลังนี้ดีกว่า ถึงจะเก็บไว้ก็ไม่มีประโยชน์
    จึงติดต่อช่างให้ซ่อมแซมจุดน้ำรั่วจนงานเสร็จเรียบร้อย แต่พอฝนตกรอยรั่วที่ซ่อมแล้วน้ำรั่วเหมือนเดิม

    ทุกข์ : รู้สึกไม่สบายใจที่น้ำรั่วเหมือนเดิมเหมือนก่อนที่ช่างมาซ่อม

    สมุทัย : อยากให้รอยรั่วที่ช่างมาทำแล้วไม่รั่วอีก สุขใจถ้าไม่เกิดรอยรั่ว

    นิโรธ : ช่างมาซ่อมรอยรั่วแล้ว จะรั่วหรือไม่รั่วก็ไม่ทุกข์ใจ

    มรรค : เมื่อพิจารณาประโยชน์และโทษของความชอบชัง “เรื่องน้ำรั่ว” ว่ามันเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้ว ทำให้ใจเราทุกข์แต่พอมาทบทวน เฮ้ย….เราเกือบโง่เพราะกิเลสพาคิดให้ทุกข์
    เมื่อตั้งสติคิดแบบพุทธะไม่เอาทุกข์ใส่ตัว กิเลสไม่ได้กินค่ะ…… บอกไปว่าจะรั่วกี่ครั้ง ข้าก็ไม่ทุกข์ใจ…. ฮ่าๆๆ
    มีอะไรเกิดขึ้นเราต้องยอมรับมัน มีปัญหาก็แก้ไป จะทุกข์ทำไมให้โง่ หาช่างชุดใหม่มาแก้ก็เท่านั้นเอง…
    บททบทวนธรรมข้อที่ 93 โลกนี้ไม่มีอะไรสำคัญเท่าดับทุกข์ใจให้ได้

  23. จำเนียร ศิริธนะ

    เรื่อง ต่อหน้าอย่างลับหลังอย่าง

    ลูกค้ามาซื้อน้ำอัดลมเราแล้ว จะขอยืมขวดกับลังด้วย เราก็บอกไปว่าถ้ายืมลัง ห้ามไปซื้อที่อื่นและจากราคาเดิมจะบวกเพิ่มอีก 10 บาท ซึ่งเขาก็โอเคยินดี

    ทุกข์ : ไม่พอใจเขาไม่ชอบนิสัยเขาว่าทำไมเป็นคนแบบนี้
    เราเริ่มรู้สึกว่าเขาไม่ทำตามที่เขาพูด มันเริ่มผิดสังเกตุคิดว่าเขาคงไปซื้อที่อื่น

    สมุทัย : ไม่ชอบใจถ้าเขาไปซื้อที่อื่น สุขใจถ้าเขามาซื้อที่ร้านเราเท่านั้น

    นิโรธ : เขาจะซื้อที่ไหนก็ได้ แล้วแต่เขาสะดวก เราก็ไม่ทุกข์ใจ เขาอาจจะไม่อยากเสียเพิ่มอีก 10 บาท

    มรรค : เมื่อเรามาพิจารณาว่าอย่างน้อยเราก็มีส่วนช่วยให้เขามีเครื่องมือทำมาหากิน ปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่นว่าเขาต้องทำตามที่พูดไว้ ให้เป็นวิบากดีร้ายของเขาเอง นึกถึง ข้อดีของเขา คือ เขาทำมาหากิน

  24. ปรีชา รุ่งรุจิไพศาล

    ช่วงโควิดต้องอยู่บ้านทำงาน Work From Home พออยู่บ้านทำงานก็จะมีอะไรหลายอย่างให้ต้องทำ ทั้งงานที่ทำงาน และงานบ้าน การทำจึงทำถูกกับจริตตัวเองและไม่ถูกกับจริตคนอื่น จึงมีเสียงบ่น เสียงคอยกำกับให้ทำอย่างนู้นอย่างนี้ ทำให้เกิดความชอบความชัง เกิดความทุกข์

    ทุกข์ ไม่ชอบคนมาคอยบ่นทำไม่ถูกใจเขา ไม่ชอบคนมาคอยจู้จี้ ให้ทำอย่างโน้นอย่างนี้

    สมุทัย มีความชังคนมาบ่นมาจู้จี้ ให้ทำตามจริตเขา ชอบให้ไม่มีใครมาบ่น มาจู้จี้ ชอบทำตามจริตเรา

    นิโรธ ยินดีที่มีคนมาบ่น มาจู้จี้ พอใจที่ไม่มีใครมาบ่น มาจู้จี้ ยินดีที่ได้ทำตามจริตเรา พอใจที่ต้องทำตามจริตเขา มีคนมาบ่นก็ยินดี ไม่มีคนมาบ่นก็ยินดี

    มรรค พิจารณาให้เห็นว่า เราเคยทำมา เราเคยบ่น เคยจู้จี้คนอื่นมา ไม่ชาตินี้ก็ชาติก่อนๆ เราเคยบ่น เคยจู้จี้มามากกว่านี้ ยอมรับผิด ทุกข์ก็จะคลาย เหมือนจากบททบทวนธรรม
    ข้อที่ 11 “สิ่งที่สร้างผลทุกวินาทีให้กับชีวิตคือ วิบากกรรม” และ
    ข้อที่ 12 “วิบากกรรมมีจริง ทำอะไร ได้ผลอะไร ก็เกิดจากการกระทำของเราเองทั้งหมด เจอเรื่องดีเพราะทำดีมา เจอเรื่องไม่ดีเพราะทำไม่ดีมา ทั้งในปัจจุบันและอดีต สังเคราะห์กันอย่างละ 1 ส่วน”

  25. สุดใจ โสะหาบ

    เรื่อง​ ไม่มีความมั่นใจในตัวเอง(ฉบับแก้ไข)

    เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นกลับตัวเองทุกครั้งที่ได้มีโอกาสพูดต่อหน้าผู้คนเยอะ ๆ เมื่อมีใครบอกให้พูดก็จะมีความกลัว เกิดอาการกิริยาเปลี่ยนไปทันที​ ตื่นเต้น ใจสั่นเต้นแรงพูดเสียงสั่น นึกคำพูดไม่ออกว่าจะพูดอะไร เป็นแบบนี้ทุกครั้งที่ได้แสดงความคิดเห็นต่อหน้าคนอื่นจึงไม่มีความมั่นใจในตัวเองที่จะพูดทั้งที่ความจริงตัวเองมีเรื่องจะพูดมากมายแต่เอาเข้าจริงนึกคำพูดไม่ออก

    ทุกข์ : มีความตื่นเต้นกลัวที่จะพูดต่อหน้าผู้คนเยอะ ๆ เวลาพูดจะตื่นเต้นทุกครั้งทำให้เสียงสั่นนึกคำพูดไม่ออก

    สมุทัย :ไม่มีความมั่นใจในตัวเอง ไม่อยากตื่นเต้น อยากมีความมั่นใจในตัวเอง

    นิโรธ : เวลาพูดจะตื่นเต้นหรือไม่ตื่นเต้นก็ไม่ทุกข์ใจ คิดว่าอย่างน้อยเราก็เริ่มนับหนึ่งแล้ว ก็จะขอฝึกฝนพูดบ่อย ๆ เพื่อความมั่นใจและช่วยให้ตัวเองพ้นทุกข์ใจได้ตามลำดับ

    มรรค : พิจารณาถึงกิเลสตัวเองที่เกิดขึ้นในแต่ละครั้งที่มีโอกาสได้พูด เกิดอาการทางใจคือ กลัว กังวลใจ ประหม่าตื่นเต้นและทำให้เกิดอาการทางกาย ใจเต้นแรง มือสั่น พูดตะกุกตะกัก พูดหน้าลืมหลัง นึกคำพูดไม่ออกว่าจะพูดต่อไปอย่างไรซึ่งอาการเหล่านี้เป็นอาการที่เกิดขึ้นของกิเลสที่กำลังหลอกทำให้เราทุกข์ใจ

    จึงพิจารณาถึงความไม่มีตัวตนมันเกิดขึ้นมาก็ดับไป ทำไมต้องทุกข์ใจปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่นที่จะทำให้ได้ดั่งใจหมาย จะทำได้หรือไม่ได้ก็ไม่ทุกข์ใจ ทำได้แค่ไหนก็แค่นั้นเห็นประโยชน์ของการวางใจให้เป็นไปตามวิบากกรรมของตัวเอง จึงใช้บททบทวนธรรม ข้อที่ 4​ “ต้องกล้า ในการทำสิ่งดี ละอายและเกรงกลัวในการทำสิ่งชั่ว ชีวิตจึงจะพ้นทุกข์ได้​” และใช้บททบทวนธรรมข้อที่ 82 ” จงฝึกอยู่กับความเป็นจริงของชีวิต ที่พร่องอยู่เป็นนิตย์อย่างผาสุกให้ได้” เพราะที่เราได้รับวิบากเรื่องนี้เพราะเราเคยทำมาก่อนสำนึกผิดยอมรับผิดให้อภัยตัวเองขอรับโทษเต็มใจรับโทษไม่ทำทุกข์ทับถมตนตั้งจิตหยุดสิ่งไม่ดีและตั้งจิตทำดีให้มาก ๆ เพื่อจะได้มีสิ่งดี ๆ ให้เราได้ใช้ได้อาศัยก่อนที่ทุกสิ่งทุกอย่างจะจากไป
    สรุป
    ช่วงนี้ประทับใจในการฟังธรรมะจากอาจารย์หมอเขียวตอนหนึ่งว่า”คนเรามีความพลาด​  ความพร่อง​ เป็นเรื่องธรรมดาของชีวิตไม่มีใครในโลกนี้ที่ไม่มีความพลาด​  ความพร่อง​ มันเป็นวิบากร้ายที่เราทำมา​” เพราะฉะนั้นเราต้องรับ​ มันจะได้หมดไป​ให้อภัยตัวเอง​ มันเป็นสิ่งที่ดี​ จะไม่ทำทุกข์ทับถมตนต่อไป​ จะให้อภัย​ตัวเอง เมื่อคิดได้แบบนี้ก็รู้สึกสบายใจและมีความมั่นใจความกล้าเพิ่มขึ้น​  และที่สำคัญอีกอย่างได้มาฝึกการพูดการทำงานร่วมกับหมู่มิตรดีทำให้ได้รับพลังเหนี่ยวนำทำให้ตัวเองมีความมั่นใจมากขึ้นกล้าที่จะพูดกล้าที่จะแสดงออกในสิ่งที่ดีและถูกต้องมากขึ้น จะขอพากเพียรสู้กับกิเลสและฝึกพัฒนาตัวเองต่อไปเรื่อย ๆ เท่าที่จะทำได้ สาธุค่ะ

  26. พิเชษฐ์ บุญย์วิรุฬห์

    ยอมให้เขาเข้าใจผิดได้ มันสุขอย่างนี้นี่เอง

    วันที่ 22 กรกฎาคม 2564 หลังจากบันทึกรายการ “บททบทวนธรรมกับการนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน” ร่วมกับพี่น้องจิตอาสาในตอนค่ำเสร็จแล้ว ผมกับแม่บ้านได้นำปัญหาเรื่องหนึ่งไปหารือกับพี่น้องบางท่านที่ยังคงอยู่ในห้องประชุมออนไลน์ด้วยกัน เพื่อขอรับฟังข้อมูลเพิ่มเติมและความคิดเห็นของพี่น้องว่าเราควรจะร่วมกันแก้ไขปัญหานั้นอย่างไร

    การพูดคุยหารือกันในช่วงแรกก็ดูเหมือนจะผ่านไปด้วยดี มีพี่น้องช่วยกันให้ข้อมูลและคำแนะนำในการรับมือกับปัญหานั้นพอสมควร แต่ในช่วงสุดท้ายมีพี่น้องท่านหนึ่งเสนอให้ผมทำอะไรบางอย่างที่ผมยังไม่ได้ทำ จากนั้นก็มีพี่น้องอีกสองสามท่านเสนอแนะไปในทำนองเดียวกัน เวลานั้นเองผมรับรู้ได้ว่า พี่น้องบางท่านยังไม่เข้าใจว่าจริง ๆ แล้วผมมีความรู้สึกอย่างไรกับปัญหาที่เกิดขึ้น ถึงแม้ว่าผมจะได้บอกไปบ้างแล้วในระหว่างที่นำเสนอปัญหาไปในตอนแรก แต่พอมีคนพูดไปอีกทางหนึ่ง ก็เริ่มมีคนคิดตามและเห็นคล้อยไปในทางเดียวกัน

    ในตอนนั้นผมรู้แล้วว่าพวกเขายังไม่เชื่อในสิ่งที่ผมได้บอกไปทั้งหมด และกำลังเข้าใจบางอย่างผิดไปจากความจริง แต่มันเป็นเรื่องของความรู้สึกที่ละเอียดอ่อนเกินกว่าจะอธิบายให้เข้าใจได้ในเวลานั้น พอพี่น้องพูดจบผมก็ขอโอกาสอธิบายเพียงสั้น ๆ เท่านั้น แล้วปล่อยวาง ทำใจเลยว่าเขาจะเข้าใจหรือไม่เข้าใจก็ได้ สุดท้ายเราก็เลิกประชุมกันไปโดยไม่มีการพูดถึงเรื่องนี้อีก

    ทุกข์ – กลัว กังวล หวั่นไหวว่าพี่น้องจะเข้าใจเราผิด

    สมุทัย – ตัณหา อยากให้พี่น้องเข้าใจเราถูกไปทั้งหมด ไม่อยากให้พี่น้องเข้าใจเราผิด แม้แค่เพียงบางส่วน ยึดมั่นถือมั่นว่าถ้าเขาเข้าใจเราอย่างที่เราเป็นจริง ๆ จะสุขใจ ถ้าเขาเข้าใจเราผิดไปจากที่เราเป็นจะทุกข์ใจ

    นิโรธ – ตัณหาดับ สิ้นอยาก สิ้นยึด พี่น้องจะเข้าใจเราถูกหรือไม่ถูก เราก็ไม่ทุกข์ใจ

    มรรค – เห็นความจริงตามความเป็นจริง ณ วินาทีนั้นเลยว่า กิเลสหรือความอยากแบบยึดมั่นถือมั่นกำลังโผล่หน้ามาเพื่อหลอกหลอนเรา เป็นกิเลสหน้าเดิมที่เราเคยเห็นมาแล้ว เคยตะเพิดไล่มันไปแล้ว คราวนี้มันเหมือนจะแอบสอดหน้าเข้ามาใหม่อีก มันมากระซิบเบา ๆ ว่า “เห็นมั้ยล่ะ พวกเขาเข้าใจแกผิดแล้วนะ ยอมไม่ได้หรอก เสียหายนะ รีบอธิบาย รีบแก้ซะ” โธ่ กิเลสเอ๋ย ไม่ได้แอ้มหรอก คราวนี้เราเห็นแกชัดเจน ไสหัวไปซะ

    ผมไม่ทันได้พิจารณาอะไรเลย แค่เห็นว่าเราถูกกระทบด้วยความรู้สึกว่ามีพี่น้องกำลังเข้าใจเราผิด ถ้าเป็นเมื่อก่อนผมต้องพยายามอธิบายอย่างเร่งด่วน ต้องพยายามทำให้เขาเข้าใจเราถูกให้ได้ แต่ครั้งนี้ผมเห็นชัดเจนว่ามันเป็นกิเลส คือความอยากให้เขาเข้าใจเราถูกทั้งหมด และสุดท้ายในเหตุการณ์นี้ หลังจากที่กิเลสหายหน้าไปแล้ว ผมก็ได้อธิบายบางอย่างไปเพียงสั้น ๆ เท่าที่คิดว่าพี่น้องพอจะเข้าใจได้เท่านั้น และคิดในใจว่า พี่น้องจะเข้าใจหรือไม่เข้าใจก็ได้ ไม่เป็นไรเลย ถ้าเข้าใจก็เป็นเพราะวิบากดีออกฤทธิ์ ถ้าไม่เข้าใจก็เป็นเพราะวิบากร้ายออกฤทธิ์ พอพูดจบก็ปล่อยวางทันที มีอารมณ์แช่มชื่นเบิกบาน ยินดีที่ได้เห็นกิเลส ยินดีที่ได้สลายกิเลสไปต่อหน้าต่อตา พูดคุยกับพี่น้องจนจบการประชุมได้อย่างผาสุก ผ่องใส ปิดประชุมไปแล้วยังได้คุยกับแม่บ้านต่ออย่างสบายใจ จนดึกจนดื่น เลยเวลานอนปกติไปเกือบชั่วโมง แต่ก็ยังเบิกบานและนอนหลับได้อย่างเป็นสุข

    จับกิเลสได้ ฆ่ากิเลสเป็น มันสุขอย่างนี้นี่เอง

  27. โยธกา รือเซ็นแบร์ก

    เรื่อง คำศัพท์ที่น่าสนใจ

    หลังจากทำข้อสอบอริยสัจ 4 ปลายภาค ที่มีคำถามข้อหนึ่งที่น่าสนใจ เกี่ยวกับพลังงานนิ่งและพลังงานเคลื่อนมีความสัมพันธ์กับอริยสัจ ๔ อย่างไร ชึ่งข้าพเจ้าตอบผิด และมีความสนใจ และอยากรู้ว่าคำนี้มีความหมายว่าอย่างไร จนอยากจะโทรหาเพื่อนเพื่อที่จะให้ท่านขยายให้ฟัง แต่ก็ยังไม่ได้โทร แต่ก็ยังมีความอยากรู้อยู่เป็นเวลานานประมาณ 15 นาที

    ทุกข์ : กระวนกระวายใจ ใจร้อน

    สมุทัย : ยึดดีอยากจะรู้คำตอบและความหมายเร็วๆ ถ้ารู้คำตอบและความหมายเร็วจะสุขใจ ถ้ารู้คำตอบและความหมายช้าจะทุกข์ใจ

    นิโรธ : วางใจจะรู้คำตอบและความหมายเร็วหรือช้า หรือรู้ตอนไหนก็สุขใจได้

    มรรค : พอได้คุยสภาวธรรมกับพี่น้องท่านหนึ่งแล้วได้ถามท่านไปและขอให้ท่านขยายความหมายให้ฟัง ท่านก็ได้ขยายให้ฟังตามภูมิของท่านและท่านก็ได้ถามข้าพเจ้ากลับมาว่าอาการนี้เป็นทุกข์อริยสัจ 4 รึเปล่า เราลืมไปแล้วเหรอว่าเราเรียนอะไรอยู่ ข้าพเจ้าเลยได้สติ หัวเราะออกมา ความใจร้อนที่อยากรู้เร็ว ๆ หายไปเลย
    เหตุการณ์นี้ทำให้ข้าพเจ้าน้อมระลึกถึงพระธรรมคำสอนขององค์สมเด็จสัมสัมพุทธเจ้าที่ว่า หมู่มิตรดี คือ ทั้งหมดทั้งสิ้นของพรหมจรรย์และความพ้นทุกข์ เห็นทุกข์จึงเห็นธรรม กราบสาธุค่ะ

  28. ภาคภูมิ ยอดปรีดา (สร้างแก่นศีล)

    #โกรธหมาก็ไม่ต่างอะไรกับหมา

    เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (26/7/64) ขณะกำลังเดินรดน้ำอยู่หน้าบ้าน ก็พบว่าในกระถางต้นไม้ใบหนึ่งที่ปลูกใบเตย อ่อมแซบเอาไว้ มีอุจจาระของหมาอยู่หนึ่ง ด้วยเหตุดังกล่าวจึงทุกข์ใจเพราะรู้สึกโกรธที่หมามาอุจจาระใส่กระถางต้นไม้ที่ปลูกต้นไม้ไว้หน้าบ้าน

    ทุกข์ : ทุกข์ใจเพราะรู้สึกโกรธที่หมามาอุจจาระใส่กระถางต้นไม้ที่ปลูกต้นไม้ไว้หน้าบ้าน

    สมุทัย : จะรู้สึกทุกข์ใจถ้าหมามาอุจจาระใส่กระถางต้นไม้ที่ผมปลูกต้นไม้ไว้หน้าบ้าน แต่จะสุขใจถ้าหมาไม่มาอุจจาระใส่กระถางต้นไม้ที่ผมปลูกไว้ หรือไปอุจจาระบริเวณอื่น หรือไปอุจจาระใส่กระถางต้นไม้ของผู้อื่น

    นิโรธ : สามารถผาสุกใจได้ไม่ว่าหมาจะมาอุจจาระใส่กระถางต้นไม้ที่ผมปลูกต้นไม้ไว้หน้าบ้านหรือไม่ก็ตาม

    มรรค : กรณีนี้ผมเดินมรรคโดยการนำคำสอนเรื่องเทคนิคทำใจให้หายโรคเร็วในส่วนของ “อย่าโกรธ” มาพิจารณา และนำเรื่อง “วิบากกรรม” มาพิจารณาว่า ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ดีหรือร้ายที่เกิดขึ้นในชีวิตผม ก็ล้วนแต่เกิดมาจากวิบากกรรมที่ผมเคยทำมาในอดีตทั้งในชาตินี้และชาติอื่นๆ ก่อนหน้านี้ อีกทั้งผมยังด่ากิเลสที่ไปโกรธหมาด้วยว่า “ถ้าผมไปโกรธหมา ผมก็ไม่ต่างอะไรกับหมา”

    และผมก็ยังได้นำบททบทวนธรรมบางบทมาพิจารณา เช่น บทที่ 149 ที่มีเนื้อหาใจความว่า “ความสุขแท้ คือ ไม่ทุกข์ใจ ไม่ว่าจะเกิดอะไร ในสถานการณ์ใด”

  29. พรพิทย์ สามสี (เพื่อนพิทย์)

    เรื่อง : เนื้อหมู
    เราออกไปซื้อเนื้อหมูให้พ่อบ้าน พอไปถึงเนื้อหมด พี่น้องหลายๆคนที่ออกไปซื้อก็ไม่ได้เนื้อ
    หลายๆคนพากันสั่งเนื้อหมู คนนั้นคนนี้เอาเนื้ออะไรเอากี่ ก.ก. คนขายก็จดใส่สมุดเอาไว้ เพื่อเตรียมจัดให้ลูกค้าในวันพรุ่งนี้ หลายๆคนพากันพูดว่า ถ้าไม่สั้งเนื้อ จะไม่ได้เนื้อหมู เพราะช่วงนี้เนื้อขายดีมาก เรายืนฟังนิ่ง รู้สึกสลดใจมาก ที่หมูจะต้องเจ็บและ ทรมานอีกหลายๆตัว
    ขนาดเราโดนมีดบาด หรือโดนของมีคม เรายังกลัว เอามากๆเลย โอ้เจ้าหมูน้อย และสัตว์อื่นๆ เจ้าน่าสงสารมาก นี่แหละเราโชคดีมากๆ ที่เราได้เจอ แพทย์วิถีธรรม เราจึงหันมากิน
    อาหารมังสวิรัติ จนถึงปัจจุบันนี้
    ทุกข์ : สงสารเจ้าหมูน้อย
    สมุทัย : ชอบที่จะให้พี่น้องไม่กินเนื้อสัตว์ และไม่ฆ่าสัตว์
    นิโรธ : ไม่สามารถห้ามหรือพูดได้ในเวลานั้น ก็ให้เป็นไปตามวิบากดีร้ายของแต่ละบุคล
    มรรค : เรื่องราวที่เราได้ยินได้ฟังมา เราเคยกินเนื้อสัตว์มา เราเคยส่งเสริมมาแน่ๆ บัดนี้เราชี้ชัดเรื่องของ กรรม แล้ว อาจารย์หมอเขียว
    ท่านพูดอยู่บ่อยว่า ตอนที่ท่านเลิกกินเนื้อสัตว์ใหม่ๆ ท่านว่าจะไม่มีสัตว์ใดๆเดือดร้อน และตายเพราะเรา เราก็ลอกอาจารย์มา และเราก็โชคดี ที่เราได้พบ แพทย์วิถีธรรม ทำให้เราได้ฝึก การกินน้อยใช้น้อย ซี้อเท่าที่จำเป็น กินผัก
    ปลูกเอง กินพืชผักที่หาได้ง่ายและไม่มีโทษ
    กินพืชผัก ที่เขาเกิดขึ้นใกล้ตัว ตามฤดูกาล
    ที่ไม่มีโทษ เขาให้พลังชีวิตที่ดีมาก (เรามีอาชีพค้าขาย ช่วงโควิด เขาสั่งปิดตลาด ไม่ได้ไปขายของเกือบ เดือนกว่าๆ แล้ว ไม่มีกำหนดว่าจะเปิดตลาดเมื่อไหร่ ไม่มีรายได้เข้ามา)
    เราได้แนวทาง แพทย์วิถีธรรม นี่แหละเอามาใช้ช่วง ขาดรายได้ และช่วงโควิดระบาดหนัก โดยไม่สะทกสะท้านมากหนัก ส่วนพ่อบ้านก็เป็นไปตามฐาน เขายังกินเนื้อสัตว์อยู่
    บททบทวนธรรม บท ๑๗
    เรามีหน้าที่ทำแต่ละสิ่งแต่ละย่าง
    ให้อยู่สภาพที่ดีที่สุด เท่าที่พึงจะทำได้
    ให้โลกและเราได้อาศัย
    ก่อนที่ทุกสิ่งทุกอย่างจะดับไปเท่านั้น
    บท ๑๒๑
    โจทย์ทุกโจทย์ เหตุการณ์ทุกเหตุการณ์
    เป็นเครื่องมือฝึกจิตของเรา
    ให้เป็นสุขอย่างถูกต้องตามธรรม

  30. นางพรรณทิวา เกตุกลม

    เรื่อง ร้ายกลายเป็นดี
    เหตุการณ์ : เนื่องจากน้ำในบ้านไม่ไหลจึงช่วยกันหาสาเหตุ พบว่ารถแม็คโครเหยียบท่อน้ำแตก พอรู้อย่างนั้น รู้สึกขุ่นใจ ทั้งๆที่บอกคนขับรถให้ไปอีกทาง แต่เขาบอกว่าผ่านทางนี้ได้
    ทุกข์ : ขุ่นใจ ที่คนขับแม็คโคร ไม่เชื่อเรา

    สมุทัย : ยึดมั่นถือมั่นว่าแม็คโครผ่านโดยที่ไม่ทำอะไรเสียหาย สุขใจถ้า คนขับ แม็คโครเชื่อเรา ทุกข์ใจ ที่คนขับแม็คโครไม่เชื่อเรา จนเหยียบท่อน้ำแตก

    นิโรธ : คนขับแม็คโครจะเชื่อที่เราบอก หรือไม่ ก็สุขใจ ไม่ทุกข์ใจ

    มรรค : วางความยึดมั่นถือมั่นที่จะให้คนขับแม็คโครเชื่อเรา ในเมื่อเขามั่นใจว่าได้ เราก็ยินยอมโดยนึกไม่ได้เลยว่ามีท่อน้ำที่เข้าบ้านอยู่ตรงทางรถแม็คโครผ่านคนขับเองก็ไม่รู้ เป็นวิบากของเราแท้ๆ ที่รู้ทั้งรู้แต่นึกไม่ออก ยังมีหน้าไปขุ่นใจเขาอีก มันชั่วเกินไปแล้วเรา คิดได้ดังนี้แล้วยอมรับผิดที่ไปขุ่นใจต้องขอบคุณเขาเป็นอย่างมากที่ทำให้เราไม่ถูกใจ ไม่ได้ดั่งใจ ทำให้เราได้เห็นกิเลสตัวยึดมั่นถือมั่นและได้ล้างออกไปจนความรู้สึกขุ่นใจหายไปความสุขใจ สบายใจกลับมา
    ส่วนท่อน้ำก็ช่วยกันขุด รื้อ แล้วตัดต่อได้สำเร็จจนน้ำไหลตามปกติแถมแรงกว่าแต่ก่อนที่ไหลค่อยมาก เหตุการณ์ครั้งนี้พิจารณาล้างความขุ่นใจด้วยบททบทวนธรรมข้อที่ 22 คือ”การที่ได้พบกับเหตุการณ์ที่ไม่ถูกใจเรา ไม่ได้ดั่งใจเรา เป็นสุดยอดแห่งเครื่องมืออันล้ำค่า ที่ทำให้ได้ฝึกล้างกิเลส คือ ความหลงชิงชังรังเกียจ หลงยึดมั่นถือมั่นในใจเรา และทำให้ได้ล้างวิบากร้ายของเรา”
    สรุป เมื่อวางความยึดมั่นถือมั่นลงได้ ความรู้สึกขุ่นใจหายไป ใจก็เป็นสุข วิบากร้ายหมดไป กลายมาเป็นวิบากดีขึ้น

  31. วิภาภรณ์ กอจรัญจิตต์ (เอ ใจพอแล้ว))

    วิภาภรณ์ กอจรัญจิตต์ (เอ ใจพอแล้ว)
    เรื่อง ลาก่อนขนมครก
    เหตุการณ์ คือ ไม่ได้กินขนมครกมาหลายเดือนแล้ว เกินครึ่งปี ตอนกินครั้งล่าสุดรู้สึกว่าขนมครกมีรสหวานมาก ได้ถามคนขายว่าปรับสูตรไหม เจ้าของร้านว่าไม่ได้ปรับอะไรเลย ผ่านมาอีกหลายเดือน วันก่อนขับรถผ่านร้านขนมครกคุยกับพ่อบ้านว่า ขอลองซื้ออีกครั้ง เพื่อตรวจใจว่าถึงเวลาเลิกขนมอีกชนิดแล้วหรือไม่

    ทุกข์ – ลังเลใจว่าถ้าวันนี้กินขนมครกแล้วหวาน กังวลว่าจะถึงเวลาเลิกขนมครก อดกินขนมอีกชนิด

    สมุทัย – ไม่อยากเลิกกินขนมครก ชังถ้าต้องเลิกกินขนมครก

    นิโรธ – เลิกกินขนมครกก็ไม่ชัง กินขนมครกต่อไปก็ไม่ชอบ

    มรรค – พิจารณาโทษของการที่เรายังติดขนมอยู่ เหมือนเรายังมีเศษกิเลสที่รู้อยู่ว่าไม่ดี แต่ยังอาลัยอาวรณ์ไม่ยอมเลิกเด็ดขาด คราวนี้เมื่อเราได้ลด ละ เลิกขนมตัวอื่นๆ (กิเลสตัวเล็กๆ) มาตามลำดับ ทำให้เรามีพลังมากพอที่จะเลิกขนมครกได้อย่างสบายใจ มองเห็นความลวงของการติดขนม ที่เคยสร้างว่าสุขที่ได้เสพ แท้จริงไม่มีอะไรที่สุขจริง แม้ขนมแบบเดียวกัน สูตรเดียวกัน เมื่อก่อนอร่อย ตอนนี้หวานเกิน มองเห็นความจริงว่ารสอร่อยคือเราปรุงขึ้นมาเอง แล้วเราจะเสียเวลาไปกับสุขลวงอีกทำไม พิจารณามาถึงตรงนี้ จึงวางใจและยินดีที่สามารถเลิกติดสุขลวงของขนมหวาน แป้ง กะทิ น้ำตาลลงอีกอย่างได้

    สรุป – หลังจากได้ชิมขนมครกแล้ว ก็พบว่ายังมีรสหวานมากเกินอยู่ กินแล้วแซบคอ ทำให้รู้ว่าร่างกายไม่ต้องการธาตุอาหารที่มากเกินแบบนี้แล้ว จึงพูดคุยกับพ่อบ้านว่า ถึงเวลาเลิกขนมชนิดนี้อย่างเด็ดขาด ใจเบิกบาน ที่เลิกขนมได้อีกชนิดหนึ่ง (จนถึงตอนนี้สามารถเลิกข้าวเหนียวหน้าต่างๆ ขนมเชื่อมราดกะทิ ขนมทอด และขนมอบได้)

  32. น.ส.จาริยา จันทร์ภักดี

    เรื่อง คิดแทนเขา
    เหตุการณ์ : เนื่องจากพี่ที่ทำงานห้องชันสูตรบอกว่าจะไปส่งที่บ้านตอนเย็นได้ตอบตกลงแต่คิดได้ว่าพี่เขากลับคนละทางกับบ้านเราจึงบอกเลิก เพราะน้องที่ห้องผ่าตัดต้องกลับบ้านผ่านบ้านเราจึงไปกับเขาแทน รู้สึกกังวลใจ ว่าพี่เขาจะเสียความตั้งใจที่จะไปส่งเลยขอโทษและบอกว่าโอกาสหน้าค่อยรบกวนพี่ไปส่ง

    ทุกข์ : กังวลใจ ว่าพี่เขาจะเสียความตั้งใจ

    สมุทัย : ยึดว่าพี่เขาจะเสียความตั้งใจ ชอบถ้าไม่บอกเลิกให้พี่เขาเสียความตั้งใจ ชังที่บอกเลิก

    นิโรธ : จะได้บอกเลิกพี่เขา หรือไม่ ก็ไม่ชอบ ไม่ชัง

    มรรค : วางความยึด ความกังวลใจเสียเพราะพี่เขากลับคนละทางกับบ้านเราจึงเกรงใจและบอกพี่เขาว่าไม่ต้องเป็นห่วงมีน้องที่ทำงานห้องผ่าตัดขับรถผ่านหน้าบ้านเราอยู่แล้วไปส่งโอกาสหน้าขอรบกวนพี่แล้วกัน ที่สำคัญเราไปคิดแทนพี่เขาหรือเปล่าพี่เขาจะคิดอย่างไรก็ไม่เป็นไรเราได้ทำดีที่สุดแล้ว ซึ่งตรงกับบททบทวนธรรมข้อที่ 147 ว่า”ทุกอย่างเกิดขึ้น ดีที่สุดแล้ว” เมื่อได้พิจารณาแล้วความกังวลใจก็หายไป รู้สึกโล่ง โปร่ง ใจสบาย

  33. เรื่อง ทำทีละอย่าง
    เหตุการณ์ : ในขณะที่กำลังเรียนภาษาอังกฤษอยู่ในบ้าน แม่บ้านก็วานให้ไปช่วยงานอื่น เกิดความคิดไม่ดีเเว็บขึ้นมาในใจ ทำไมต้องวานให้ช่วยตอนนี้ ก็น่าจะรู้ว่าเรายังกำลังเรียนอยู่ เกิดอาการขุ่นใจทันที
    ทุกข์ : ขุ่นใจ ที่แม่บ้านวานให้ช่วยงาน
    สมุทัย : ชอบใจถ้าแม่บ้านไม่วานให้ไปช่วยทำงานอื่น ชังที่แม่บ้านวานให้ไปช่วยทำงานอื่น
    นิโรธ : แม่บ้านจะวานให้ช่วยทำงานอื่น หรือไม่ ก็ได้ ไม่ชอบไม่ชัง
    มรรค : ปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่น ที่ยึดว่าจะต้องทำงานชิ้นนี้ให้เสร็จก่อนจึงจะเป็นสุข ยึดว่าถ้างานไม่สำเร็จจะเป็นทุกข์ แท้จริงงานจะเสร็จหรือไม่เสร็จเราก็ไม่สุขไม่ทุกข์ให้ได้ต้องพร้อมปรับพร้อมเปลี่ยนด้วยใจที่เบิกบานตลอดเวลา การที่แม่บ้านวานให้ไปช่วยทำงานอื่น ทั้งที่งานที่เราทำอยู่ยังทำไม่เสร็จ ไม่มีอะไรบังเอิญ ทุกอย่างยุติธรรมเสมอ เราเคยทำมามากกว่าที่เราได้รับ มันเป็นวิบากไม่ดีของเรา เราต้องชดใช้ ต้องยอมรับโดยไม่ มีเงื่อนไขให้ได้ ตามบททบทวนธรรมข้อที่ 10 ว่า “เมื่อเกิดสิ่งเลวร้ายกับเรา ไม่มีอะไรบังเอิญทุกอย่างยุติธรรมเสมอ เพราะเราเคยทำเช่นนั้นมามากกว่านั้นเมื่อได้รับแล้วก็หมดไป เราก็จะโชคดีขึ้น” เมื่อได้พิจารณาตามบททบทวนธรรมดังกล่าวแล้ว อาการขุ่นใจก็หายไป มีความยินดีเต็มใจในการทำงานด้วยความเบิกบานใจ และต้องขอบคุณแม่บ้านที่คุ้ยกิเลสตัวยึดของเราขึ้นมาให้ได้ล้างออกไป

  34. น.ส.จาริยา จันทร์ภักดี

    เรื่อง คิดแทนเขา
    เหตุการณ์ : เนื่องจากพี่ที่ทำงานห้องชันสูตรบอกว่าจะไปส่งที่บ้านตอนเย็นได้ตอบตกลงแต่คิดได้ว่าพี่เขากลับคนละทางกับบ้านเราจึงบอกเลิก เพราะน้องที่ห้องผ่าตัดต้องกลับบ้านผ่านบ้านเราจึงไปกับเขาแทน รู้สึกกังวลใจ ว่าพี่เขาจะเสียความตั้งใจที่จะไปส่งเลยขอโทษและบอกว่าโอกาสหน้าค่อยรบกวนพี่ไปส่ง

    ทุกข์ : กังวลใจ ว่าพี่เขาจะเสียความตั้งใจ

    สมุทัย : ยึดว่าพี่เขาจะเสียความตั้งใจ ชอบถ้าไม่บอกเลิกให้พี่เขาเสียความตั้งใจ ชังที่บอกเลิก

    นิโรธ : จะได้บอกเลิกพี่เขา หรือไม่ ก็ไม่ชอบ ไม่ชัง

    มรรค : วางความยึด ความกังวลใจเสียเพราะพี่เขากลับคนละทางกับบ้านเราจึงเกรงใจและบอกพี่เขาว่าไม่ต้องเป็นห่วงมีน้องที่ทำงานห้องผ่าตัดขับรถผ่านหน้าบ้านเราอยู่แล้วไปส่งโอกาสหน้าขอรบกวนพี่แล้วกัน ที่สำคัญเราไปคิดแทนพี่เขาหรือเปล่าพี่เขาจะคิดอย่างไรก็ไม่เป็นไรเราได้ทำดีที่สุดแล้ว ซึ่งตรงกับบททบทวนธรรมข้อที่ 147 ว่า”ทุกอย่างเกิดขึ้น ดีที่สุดแล้ว” เมื่อได้พิจารณาแล้วความกังวลใจก็หายไป รู้สึกโล่ง โปร่ง ใจสบาย

  35. เสาวรี หวังประเสริฐ

    เรื่อง ที่พึ่งทางใจยามเจ็บป่วย
    สัปดาห์ที่ผ่านมาได้รับการติดต่อจากเพื่อนที่อยู่ต่างประเทศว่าพี่ชายมีอาการวิงเวียนเดินเซกำลังมารอรับการตรวจที่ตึกผู้ป่วยนอก ต้องการให้ช่วยดูแล
    ทำให้รู้สึกไม่สบายใจที่ออกไปดูพี่ชายเพื่อนไม่ได้เนื่องจากขณะนั้นกำลังอยู่ระหว่างการคัดกรอง
    พระสงฆ์เพื่อฉีดวัคซีนโควิด
    ทุกข์ : อยากไปดูแลพี่ชายเพื่อนแต่ต้องทำงานที่ยังค้างคัดกรองพระซักประวัติความเสี่ยงก่อนเข้ารับการฉีดวัคซีน
    สมุทัย: เหตุแห่งทุกข์ชอบที่จะออกไปดูแลพี่ชายเพื่อนที่ป่วยกำลังมารอรับการตรวจและพบแพทย์ชังที่ไม่ได้ไปดูแลพี่ชายเพื่อน
    นิโรธ: สภาพดับทุกข์ไม่ชอบไม่ชังที่จะได้ไปดูแลพี่ชายเพื่อนที่ป่วยกำลังมารอรับการตรวจและพบแพทย์หรือจะไม่ได้ไปดูแลพี่ชายเพื่อน
    มรรค :พิจารณเหตุการณ์ในครั้งนี้ถึงประโยชน์ที่จะได้ทำงานทั้ง2อย่างโดยที่ยังคัดกรองพระภิกษุที่กำลังจะมารับการฉีดวัคซีน และขณะเดียวกันก็ได้ดูแลให้พี่ชายเพื่อนได้พบแพทย์และให้คำแนะโดยติดต่อทางโทรศัพท์ทำให้รู้สึกความอยากที่จะต้องไปดูแลพี่ชายเพื่อนลดลงไม่รู้สึกกังวลหวั่นไหวว่าเพื่อนจะโกรธที่ไม่ออกไปดูแลเนื่องจากเราติดงานสำคัญ ทบทวนธรรม”จงทำดีเต็มที่เหนื่อยเต็มที่สุขเต็มที่ไม่มีอะไรคาใจไม่เอาอะไรคือสุดยอดแห่งความอิ่มเอิบเบิกบานแจ่มใส สาธุ”

Comments are closed.