ห้องเรียนวิชชาราม ตรวจการบ้าน วิชา อริยสัจ 4 ครั้งที่ 28 ภาคเรียนที่ 2 / 2564 ในวันอาทิตย์ที่ 11 กรกฎาคม 2564 เวลา 12.00 น. – 14.00 น.
ตรวจการบ้านวิชาอริยสัจ 4
1. เรื่อง : สุนัข สุนัข
กิ่งแก้ว ฉัตรมณีวัฒนา (ประทีปบุญ)
เนื้อเรื่อง : ลูกสาวเป็นคนรักสัตว์ ชอบเลี้ยงสัตว์ ชอบนำสัตว์และสุนัขมาเลี้ยงแล้วเลี้ยงครั้งละ 3 – 4 ตัวและการเลี้ยงสุนัขของลูกสาวเลี้ยงแบบสุนัขเป็นคนค่าใช้จ่ายในการดูแลและค่าอาหารมากมาย
ทุกข์ : ชังที่ลูกเลี้ยงสุนัข เสียเวลา เสียค่าใช้จ่าย
สมุทัย : ไม่ชอบที่ลูกสาวใช้เวลาและเสียทรัพย์ ไปกับการเลี้ยงสุนัข ชอบที่ลูกสาวเอาเวลาไปทำประโยชน์มากกว่า
นิโรธ : ไม่ว่าลูกสาวจะเลี้ยงสุนัขหรือไม่เลี้ยงสุนัข จะเอาเวลาไปทำประโยชน์หรือไม่ทำประโยชน์ก็ไม่ทุกข์ใจ
มรรค : สิ่งที่เราต้องเผชิญหรือรับอยู่คือสิ่งที่เราเคยทำมา ส่งเสริมสนับสนุนมา เค้าคือกระจกเงาของเราแล้วทำไมเราจึงรังเกียจกระจกเงาของตัวเราเล่า ทันก็นำเสนอ ถ้าไม่ทันก็ไว้โอกาสต่อไปค่ะ
2. เรื่อง : เราทำมาแน่แท้
ชวนชม คำท้วม (สู่ร่มศีล)
เนื้อเรื่อง : ได้สนใจเรียนต่อโททางด้านพระพุทธศาสนา แต่แล้วก็หาเงินไม่ทัน แล้วคิดที่จะไปยืมกู้ ที่เขาเสียดอกเบี้ย แล้วบังเอิญคุยกับจิตอาสาท่านหนึ่ง แล้วท่านก็เผลอคุยกับญาติธรรม แต่ญาติธรรมท่านนี้เป็นผู้ชาย ท่านให้ยืมเงิน โดยไม่ต้องเสียดอกเบี้ย ท่านเขายินดีมากเหมือนกับได้บำเพ็ญได้ช่วยกันเรื่องศาสนาค่ะ แล้วเราก็บอกพ่อบ้านว่าพี่ท่านให้ยืมเงินนะ แต่ว่าท่านเป็นผู้ชาย เหตุการณ์นี้ทำให้พ่อบ้านไม่ชอบใจมาก สั่งให้หนูไปกู้เงินที่เสียดอก แต่หนูก็ไม่อยากไปกู้เงินที่เสียดอก พอถึงกำหนดหนูก็ยืมตังค์ญาติธรรมเขาค่ะ ชำระค่าเทอม เป็นเหตุทำให้พ่อบ้านไม่พอใจ พ่อบ้านคิดมาก
ทุกข์ : รู้สึกข่นใจ ว่าทำไมพ่อบ้านไม่เข้าใจเรา
สมุทัย :ชอบถ้าพ่อบ้านเข้าใจเรา ชังที่พ่อบ้านไม่เข้าใจเรา
นิโรธ : พ่อบ้านจะเข้าใจเราหรือไม่เข้าใจก็ได้ ใจเราก็ไร้ทุกข์
มรรค ” ทำไมพ่อบ้านไม่เข้าใจญาติธรรมเขาเป็นผู้ชายก็จริง แต่ท่านก็ช่วยเหลือ ซึ่งกันและกันท่านเต็มใจ ท่านก็อยากบำเพ็ญท่านพร้อม เราเห็นความจริงใจ ของท่าน แต่ทำไมพ่อบ้านไม่เข้าใจ หนูต้องทำกรรมเก่าในอดีตชาติเรื่องนี้เอาไว้มากแน่นอน แต่ที่ผ่านมา หนูก็ไม่เคยมีประวัติไม่ดีเรื่องชู้สาวค่ะ แต่งงานกันมา 15 ปี ไม่เคยมีพฤติกรรมไม่ดี ให้เขาคิดมากเลยค่ะ นี่คงเป็นกรรมเก่า ก็จะรับกรรมไปค่ะ กรรมจะได้หมดไป หนูคงทำกรรมเรื่องนี้ไว้เยอะ พ่อบ้านเลยคิดมาก ช่วงนี้หนูทำอะไรพ่อบ้านก็ระแวงไปหมด บอกพ่อบ้านไม่ต้องคิดมาก ตอนแรกหนูก็ไม่ได้ คิดอะไรมาก ไม่คิดว่าพ่อบ้านจะคิดมาก เพิ่งมาทราบค่ะว่ามันไม่เหมาะ แต่ท่านเป็นญาติธรรมที่เราไม่ต้องเอ่ยปากมาก คิดว่ามันดีที่สุด โชคดีที่พี่เขาหยิบยื่นโอกาส เป็นเหตุให้พ่อบ้านคิดมาก อาจารย์ก่อนกลับบ้านว่า เกิดอะไรขึ้นมา ต้องไม่ทุกข์ใจ ให้ได้ ตรงกับบททบทวนธรรม ข้อ 120 ปัญหาไม่เคยหมดไป จากชีวิตของเรา มีแต่ทุกข์เท่านั้น ที่หมดไปจากใจของเรา ตอนแรกกิเลสก็ ไม่ให้ทำการบ้าน มันว่าอายเขา อย่าบอกเลยเป็นเรื่องส่วนตัว แต่เมื่อได้พูดคุยก็ได้หายทุกข์ใจค่ะ ใจโล่งขึ้นค่ะ สาธุค่ะ
3. เรื่อง: กิเลสตัวซ้อน
ธัญมน หมวดเหม็น (มั่นแสงธรรม)
เนื้อเรื่อง : ได้ไปเอาร่มที่ส่วนกลางมาใช้แต่คุณอาที่ดูแลอยู่บอกให้เอากลับไปให้ท่านเขียนสัญลักษณ์ก่อนว่าเป็นของส่วนกลางเพื่อป้องกันคนเห็นแก่ตัวบางท่านที่ชอบเอาของใช้ส่วนกลางไปใช้เป็นของส่วนตัว ซึ่งท่านก็บอกย้ำอยู่ 2-3 ครั้ง ทำให้เกิดความอึดอ้ดขึ้นในใจปนกับความน้อยใจขึ้นมา มีความรู้สึกว่าไม่อยากเอาร่มนั้นไปใช้แล้ว เพราะรู้สึกว่าท่านยังมีความหวงในสิ่งของนั้นอยู่ และรู้สึกเหมือนตัวเองต้องง้อต้องขอเอาจากผู้อื่นที่ดูเหมือนท่านก็ไม่เต็มใจให้เท่าไหร่(คิดเอง) มันทำให้รู้สึกหดหู่ยังไงไม่รู้ พอมีสติรู้ว่าตัวเองมีความไม่สบายใจ ไม่แช่มชื่นใจเกิดขึ้นจึงหันกลับมาพิจารณาใจตัวเอง จนเห็นว่าเรายังมีกิเลสตัวยึดมั่นถือมั่นในอีกมุมหนึ่งอยู่
ทุกข์ : อึดอัดใจ น้อยใจที่ไปเอาร่มมาใช้แล้วได้ยินพี่น้องพูดเหมือนหวงของอยู่
สมุทัย : ยึดมั่นถือมั่นในตัวตนถือดีหยิ่งในศักดิ์ศรีตัวเองว่าจะไม่ง้อใครไม่รบกวนใคร ไม่เอาของใครที่เขาไม่เต็มใจให้มาใช้
นิโรธ : ไม่ทุกข์ใจ ไม่อึดอัดใจ ไม่น้อยใจอีก ถึงท่านจะพูดหรือไม่พูดอย่างไร
มรรค : ลดความยึดมั่นถือมั่นในความถือดี ความหยิ่งในศักดิ์ศรีของตัวเองลงด้วยการทำใจให้ถูกตรง ฝึกเป็นผู้อ่อนน้อมถ่อมตนเป็นผู้ยอมในทุกเรื่องให้ได้ และการจะเป็นผู้ยอมในทุกเรื่องได้ ต้องทำใจให้เชื่อชัดและยอมรับเรื่องกรรมให้ได้จริงๆ ต้องเชื่อว่าสิ่งที่เราได้รับคือสิ่งที่เราทำมา ต้องเชื่อว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นในชีวิตเราเป็นผลจากการกระทำของเราทั้งหมดทั้งมวล เราจึงจะยอมรับทุกอย่างที่เกิดขึ้นในชีวิตได้อย่างไม่มีข้อแม้ไม่มีเงื่อนไขใดๆ เหมือนบททบทวนธรรมของอาจารย์ (ข้อที่ 94) ที่ว่า “เมื่อเกิดเรื่องที่เรารู้สึกไม่ดี โดยสัจจะแสดงว่า เราทำหรือส่งเสริมสิ่งผิดสิ่งไม่ดีมา ในชาตินี้หรือชาติก่อนๆ เมื่อทำผิดแล้วไม่ยอมรับผิด จะเป็นวิบากร้ายใหม่ ที่ทำให้วิบากร้ายเก่าที่รับก็ไม่มีวันหมดเกลี้ยงได้ง่าย ไม่มีวันหมดเกลี้ยงได้เร็ว แต่จะหมดเกลี้ยงได้ยากและหมดเกลี้ยงได้ช้า และวิบากร้ายใหม่ก็จะเพิ่มอย่างไม่มีวันสิ้นสุด” และเหมือนที่อาจารย์ได้กล่าวไว้ว่า “ศักดิ์ศรีสูงสุดของมนุษย์ คืออยู่เหนือความโลภ โกรธ หลง” เมื่อเราพากเพียรในการลดละอัตตาตัวตนของเราด้วยการยอมรับในทุกเรื่องได้จริงๆ ก็จะไม่มีอะไรมา สร้างเงื่อนไขให้ใจเราเป็นทุกข์ได้อีก
สรุป ถ้าเราลดความยึดมั่นถือมั่นในศักดิ์ศรีความถือดีของตัวเองลงได้ด้วยการฝึกเป็นผู้ยอมเราก็จะไม่รู้สึกอึดอัด น้อยใจในทุกเรื่องได้ คิดว่าตัวเองทำได้ 75-80 เปอร์เช็นแล้ว ที่เหลือก็จะพากเพียรลดละต่อไป สาธุ
4. เรื่อง “โง่รู้จบ”
คุณ นมลชนก แก้วเกษ
เนื้อเรื่อง : พี่น้องหลายท่านพากันเขียนขอชื่อทางธรรม จากท่านอาจารย์หมอเขียว ท่านก็มาชวนเราเขียนขอชื่อทางธรรม ในใจตอนนั้น มีตัวต้านเล็กๆเกิดขึ้น มีความรู้สึกยังไม่พร้อมที่จะเขียน ลึกๆก็อยากได้ แต่ทำไมไม่อยากเขียนส่ง ได้มีโอกาสเล่าสภาวะให้ท่านฟังว่ามีกิเลสตัวอยากได้ชื่อ”ดังเนื้อดิน”,”เพชรพุทธ”,”นึกนบ” พอเล่าจบ ท่านเห็นลีลากิเลสในเรา ท่านถามว่า”ที่ไม่ยอมเขียนส่งเพราะกลัวไม่ได้ชื่อตามที่อยากได้ ใช่ไหมล่ะ” ขอบคุณ มิตรดีที่ท่านชี้ขุมทรัพย์ให้ เออใช่จริงๆด้วย ได้เห็นกิเลสตัวกลัวเกิดซ้อนขึ้นมา กลัวว่าจะไม่ได้ชื่ออย่างที่ตัวเองอยากได้ บอกกิเลสว่า”เธอนี่มันน่าเกลียดจริงๆเลยแท้จริงอยากได้ดั่งใจหมาย”(วิบากเพิ่ม กิเลสพอก งอกอกุศล) ถามกิเลสต่อว่า”ตกลงเธอจะตั้งชื่อเอง หรือจะให้ท่านอาจารย์ตั้งให้” กิเลสอายม้วนต้วนเลยค่ะ พุทธะเห็นแล้ว นับจากนั้นมา ก็เห็นกิเลสตัวปรุงอยากได้ชื่อทางธรรม แว๊ปมาเป็นระยะๆให้ได้เห็น เป็นครั้งเป็นคราวๆ ทุกครั้งที่เห็นกิเลสมา ก็พิจารณาบอกสอนความจริงให้กิเลสฟังว่า”อยากเป็นทุกข์ หมดอยากหมดทุกข์จะอยากอีกสักกี่ครั้ง ทุกครั้งที่อยาก คือทุกครั้งที่ทุกข์ อยากได้ จะไม่ได้ ไม่อยากได้แล้วจะได้ อะไรที่เป็นของเรา ก็จะเป็นของเราตามกุศล อกุศลที่ทำมา เมื่อถึงเวลาอันควรก็จะได้เองตามธรรม ยินดีในความไม่ยึดมั่นถือมั่นกับสิ่งใด ๆ
ในโลกนี้ไม่มีอะไรสำคัญเท่า”การดับทุกข์ใจ…ให้ได้” พิจารณาซ้ำ ๆ ทำบ่อยๆทำเสมอๆบอกสอนกิเลสทุกครั้งที่จับอาการได้ เห็นอาการความรู้สึกอยากในใจ ที่ลดลงไปเป็นลำดับๆ พอมาถึงวันนี้ ยอมแล้วค่ะ จะชื่ออะไรก็ยอมได้หมด ตามแต่ท่านอาจารย์ท่านจะเห็นเหมาะควรเลยค่ะ
ทุกข์ : กลัวว่าจะไม่ได้ชื่อ
ตามที่อยากได้
สมุทัย:หลงไปยึดมั่นถือมั่น
คิดตามกิเลสว่าถ้า
ได้ชื่อตามที่อยาก
สุขใจ ชอบใจ ถ้าไม่
ได้ทุกข์ใจ ไม่ชอบ
ใจ
นิโรธ : จะชื่ออะไรก็ยอมได้
หมด แม้ไม่มีชื่อก็ไม่
ทุกข์ สุขสบายใจไร้
กังวล ทุกอย่างที่เกิด
ขึ้นดีที่สุดแล้วที่เป็น
ไปได้จริง ยุติธรรมที่
สุดตามกุศล อกุศล
ที่ได้ทำมา (ซื่อสัตย์
ต่อกรรม)
มรรค : สำนึกผิดที่เคยพลาด
ทำไม่ดีมา ส่งเสริม
สนับสนุน ชิงชัง ไม่
ให้ อภัยมา เหนี่ยวนำ
ทำให้คนหลงมามาก
ยินดี เต็มใจรับ ยินดี
ที่จะได้แก้ไขตัวเอง
รับแล้วก็หมดไป
ไม่โทษใครหรือสิ่ง
ใดๆในโลกใบนี้
โทษของพลังงานหลง สุขที่เกิดจากการได้สมใจอยาก เป็นทุกข์ที่ทุกข์ที่สุดในโลก เป็นสิ่งที่น่ากลัวที่สุดในโลก
พลังงานหลง ความลวงของกิเลส เกิดจากชอบ ชังในสิ่งนั่น ๆ หลงไปติดไปยึดในสิ่งที่จับต้องไม่ได้ ยกตัวอย่างเช่น เรื่องชื่อที่อยากได้ ความจริงชื่อเป็นเพียงสิ่งสมมุติที่ตั้งขึ้นมาเรียกแทนตัว เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนในการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันเท่านั้นเอง แต่พลังหลงของกิเลสที่มีอยู่จริง สามารถพาให้หลง ไปยึดไปอยากได้ในสิ่งที่จับต้องไม่ได้ ไม่มีตัวตนจริง สร้างขึ้นมาหลอกตัวเอง อยากได้ กลัวไม่ได้ พอได้ก็กลัวว่าจะหมดไปอีก วนเวียนอยู่ในทุกข์ ตลอดกาลนาน ไม่รู้จบและยังเป็นพลังเหนี่ยวนำที่ไม่ดี เติมพลังหลงให้คนอื่นทำชั่วได้ทุกเรื่อง เกิดเรื่องร้ายได้ทุกเรื่อง ชั่วกัป ชั่วกัลป์ไม่มีวันสิ้นสุด
ขอบคุณพลังงานหลงที่ทำให้เห็นความจริงตามความเป็นจริงอย่างแจ่มแจ้งในใจว่า สิ่งที่เราหลงไปดิ้นรน ไขว่คว้าหาสิ่งที่ไม่มี และสุดท้ายทุกชีวิตจะได้ในสิ่งเดียวกัน คือ ไม่ได้อะไร
พิจารณาประโยชน์ของการคิดตามพุทธะ อยากได้สิ่งใด ไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์ สุขที่เกิดจากการกำจัดความอยากแบบยึดมั่นถือมั่นได้ สุขจากการไม่ได้เสพสมใจอยาก “สุขยิ่งกว่าเสพ” เป็นความสุขที่แท้จริงของชีวิตคือไม่ทุกข์ใจ ไม่ว่าจะเกิดอะไร ในสถานการณ์ใด
ฝึกยอมรับความจริงกับสิ่งที่เกิดขึ้น อย่างสงบ ณ ปัจจุบันนั้นๆ
พุทธ จบที่ความจริง คือ ดับทุกข์ใจได้
กราบอนุโมทนา สาธุค่ะ