640704 การบ้าน อริยสัจ 4 (27/2564)
นักศึกษาสถาบันวิชชารามส่งการบ้าน อริยสัจ 4 ประจำวันที่ 28 มิถุนายน – 4 กรกฎาคม 2564 (อ่านที่มาและรายละเอียดเพิ่มเติมของการบ้าน)
สัปดาห์นี้มีผู้ส่งการบ้านทั้งหมด 36 ท่าน 46 เรื่อง
- รมิตา ซีบังเกิด (2)
- นฤมล ยังแช่ม
- ธัญมน หมวดเหมน(มั่นแสงธรรม)
- สุพร สุดงาม (2)
- พิเชษฐ์ บุญย์วิรุฬห์
- พรพรรณ เอ็ทสเลอร์
- นางสาวนาลี วิไลสัก
- น.ส.ทิษฏยา โภชนา (นุ้ย)(ในสายธาร) (2)
- นางพรรณทิวา เกตุกลม (2)
- อรุณรัตน์ ไกรลาศศิริ (พิมพ์ผ่องศีล)
- เสาวรี หวังประเสริฐ
- สมพงษ์ โขงรัมย์(สู่สวนสงบ) (3)
- น้องบุญพิมพ์ไพร (3)
- นางสาวสันทนา ประวงศ์
- นางศุทธินี พรมเล็ก (ป้าเนียร )
- น.ส ชรินรัตน์ ชุมจีด (น้าน้อมศีล)
- อรวิภา กริฟฟิธส์
- นางจิราภรณ์ ทองคู่
- นปภา รัตนวงศา
- น้องนาเดีย
- น.ส สำรวย รัตตนะ
- วิภาภรณ์ กอจรัญจิตต์ (เอ ใจพอแล้ว))
- พรพิทย์ สามสี
- น้องถนอม วิไลสัก (2)
- น้องสีอำไพ วิไลสัก (ปุ้ย) (2)
- น.ส.จาริยา จันทร์ภักดี
- พลัฏฐ์ รัตนวชิรินทร์
- สรสิชา สายหยุดทอง(ตรงเติมศีล)
- กิ่งแก้ว ฉัตรมณีวัฒนา
- สาวิตรี มโนวรณ์
- สำรวม แก้วแกมจันทร์
- ภาคภูมิ ยอดปรีดา (สร้างแก่นศีล)
- สุมา ไชยช่วย
- นายรวม เกตุกลม
- น.ส จรรญา ชุมจีด (สร้างกลิ่นศีล)
- ชนกนันท์ ฉัตรทอง (น้อมแสงศีล)



แนะนำบทความที่มีเนื้อหาใกล้เคียง
Post Views: 201
รมิตา ซีบังเกิด
เรื่อง : ทำดีที่สุดแล้ว
เหตุการณ์ : นัดคณะกรรมการตรวจสอบบัญชี เพื่อตรวจบัญชีและเอกสารใบสำคัญรับ – จ่ายเงิน ฯลฯ และตรวจพบว่าคณะกรรมการท่านหนึ่งได้นำรถยนต์ของสหกรณ์ไปใช้ส่วนตัว
ทุกข์ : อึดอัดใจที่คณะกรรมการนำรถยนต์ของสหกรณ์ไปใช้ส่วนตัว
สมุทัย : ชอบใจถ้าคณะกรรมการไม่นำรถยนต์ของสหกรณ์ไปใช้ ชังที่คณะกรรมการนำรถยนต์ไปใช้
นิโรธ : คณะกรรมการสหกรณ์จะแสดงพฤติกรรมอย่างใดก็ไม่ชอบไม่ชัง
มรรค : ในฐานะของคณะกรรมการฝ่ายตรวจสอบบัญชีของสหกรณ์เครดิตยูเนียน ซึ่งช่วยมาก่อนที่จะมาเป็นจิตอาสา ได้ให้คณะกรรมการทั้งหมดในฝ่ายตรวจสอบบัญชีและการทำงานของสหกรณ์ มาตรวจงานซึ่งพบว่าคณะกรรมการท่านหนึ่ง ได้นำรถยนต์ของสหกรณ์ไปใช้ส่วนตัว จึงได้ทำหนังสือแจ้งในที่ประชุมประจำเดือนให้รับทราบ แต่ไม่มีใครกล้าแสดงความคิดเห็นหรือชี้ชัดว่า คณะกรรมการท่านนั้นต้องทำอย่างไร ต่างก็ต้องการให้ฝ่ายตรวจสอบเป็นคนชี้ชัด จึงมีความอึดอัดใจมากเพราะไม่ใช่หน้าที่ จึงแจ้งให้ที่ประชุมสรุปผลการพิจารณากันเอง หลังจากประชุมได้บอกพี่สาวของคณะกรรมการท่านนั้นว่าให้เขานำรถยนต์มาคืนสหกรณ์ แต่จนปัจจุบันก็ยังไม่นำมาคืน เราจึงคิดว่าเราทำตามหน้าที่ดีที่สุดแล้วส่วนผลจะเป็นอย่างไรต่อไปก็เป็นไปตามกรรมของแต่ละคน
ดังบททบทวนธรรมข้อที่ 2 ว่า
“เราต้องรู้ว่า แต่ละคนมีฐานจิตแตกต่างกัน เราจึงควรประมาณการกระทำให้เหมาะสมกับฐานจิตของเรา และฐานจิตของผู้อื่น คิดดี พูดดี ทำดีไว้ก่อน ดีที่สุด”
เรากับคณะกรรมการท่านนั้นก็ยังมีความสัมพันธ์ส่วนตัวที่ดีต่อกัน ส่วนผลประโยชน์หรือผลเสียหายจะเกิดขึ้นกับสหกรณ์อย่างไรก็เป็นอีกเรื่อง ส่วนใจเราไม่ได้ทุกข์ ไม่อึดอัดใจแล้วหลังจากทำหน้าที่อย่างเต็มที่แล้ว
ตั้งแต่วันนั้น
อยากได้สิ่งที่ดีกว่า
ได้ซื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์มาใหม่ คือ ไมรโครโฟน เพราะตอนเข้าห้องเรียนแอดมิน แล้วเสียงเบา ได้ไปเลือกซื้อไมโครโฟนมา 1 อัน ตอนซื้อไม่ได้นำคอมพิวเตอร์ไปลองว่าใช้ได้กับเครื่องหรือเปล่า ซื้ออันที่คิดว่าถูกแล้วก็ดี พอมาลองใช้งานจริง ๆ ใช้ไม่ได้ ก็ต้องกลับไปที่ร้านคอมพิวเตอร์อีกครั้ง เจ้าหน้าที่ได้ทดสอบว่าต้องเครื่องคอมไม่ได้ลงโปรแกรมเพื่อรองรับระบบไมโครโฟนไว้ ต้องลงโปรแกรมใหม่ ไม่มีค่าใช้จ่าย วันถัดมาทางร้านคอมก็โทรมาบอกว่าเสร็จแล้ว ไปรับคอมพร้อมไมโครโฟน และมีค่าใช้จ่าย 150 บาท ในใจก็คิดว่าเมื่อวานบอกว่าไม่มี แต่ไม่เป็นไรเพราะเราก็เกรงใจเขาอยู่เหมือนกันที่ต้องลงโปรแกรมให้ ตอนเย็นเข้าประชุมงานกลุ่ม คุรุถามว่าไมโครโฟนที่ซื้อมาเป็นแบบไหน ก็เล่ารายละเอียดไมโครโฟนให้ท่านฟัง คุรุบอกว่าไมรโครโฟนแบบยูเอสบี ถ้าเสียบจะใช้งานได้เลย แต่แบบที่เราซื้อมามันต้องมีการตั้งค่าก่อนถึงจะใช้ได้
ทุกข์ คือ ทุกข์ใจที่ซื้อไมโครโฟนมาผิดแบบ
สมุทัย คือ มีความอยากจะได้โมโครโฟนแบบ ยูเอสบี เพราะแค่เสียบก็ใช้งานได้เลย ส่วนอันที่ซื้อมานั้นไม่ดีเท่ากับแบบที่เราไม่ได้ซื้อมา จึงเกิดความคิดที่จะนำไปเปลี่ยนที่ร้านคอม
นิโรธ คือ ที่ร้านจะให้เปลี่ยนก็สุขใจ ที่ร้านไม่ให้เปลี่ยนก็สุขใจได้
มรรค คือ พิจาณาเห็นอาการและความคิดที่อยากจะได้ไมโครโฟนแบบยูเอสบี เป็นสภาพทุกข์ใจ หนัก ๆ แน่น ๆ ในใจ แล้วยังเห็นอาการปรุงแต่งคำพูดขึ้นในใจที่จะไปพูดให้ทางร้านยอมให้เราเปลี่ยนไมโครโฟนได้ รู้สึกได้ถึงอาการทุกข์ใจที่มากขึ้น จากความอยาก เห็นชัดว่าความอยากได้ของเราเป็นทุกข์จริง ๆ เราอยากได้จนสามารถที่จะทำชั่วได้ทุกเรื่อง เมื่อเห็นอาการนั้นแล้วจึงพิจารณาบอกกับตัวเองว่าอยากเป็นทุกข์ ๆ เปลี่ยนความคิดแล้วบอกกับตัวเองว่าเราก็ได้ซื้อมาแล้ว มันก็ใช้งานได้ แต่ถ้าจะเปลี่ยนก็ลองถามทางร้านดูว่าเขาจะให้เปลี่ยนหรือไม่ โดยไม่ต้องสร้างเงื่อนไขว่าจะต้องได้เปลี่ยนเท่านั้นดีกว่า คิดแบบนี้อาการทุกข์ใจค่อยๆ ลดลง การได้ไมโครโฟนแบบยูเอสบีดีที่สุดเป็นสิ่งที่เราปรุงแต่งความคิดขึ้นมาเอง แต่การที่เราไม่ยึดว่าต้องได้เปลี่ยนไมโครโฟนเท่านั้น เป็นสิ่งที่ดีที่สุดต่างหาก
ชื่อเรื่อง: ยึดซ้อนวาง ทุกข์ซ้อนสุข
เนื้อเรื่อง: จากการที่ได้ทำงานร่วมกันกับพี่น้องในการทำงานกลุ่ม ในวิชาภาษาอังกฤษ ทำให้ได้เห็นกิเลสของตัวเอง ที่คิดว่าตัวเองล้างออกไปได้แล้ว เพราะเราเคยตัดความรู้สึกแบบนี้ต่อคนในครอบครัวออกมาได้แล้ว
มันกลับขึ้นมาอีก คือกิเลสตัวหวังดีอยากช่วยให้คนอื่นได้ดี (ตามใจอยากของตัวเอง) ที่มันใช้คำว่าความห่วงใย อยากให้พี่น้องได้ร่วมเรียนรู้ไปด้วยกัน เป็นคำอ้างที่ฟังดูแล้วเหมือนตัวเองเป็นคนดีสุดๆว่าเราจะไม่ทิ้งเพื่อนไว้ข้างหลัง แต่เราจะเดินไปด้วยกันมาเป็นข้ออ้างได้อย่างแนบเนียน จนเราก็ไม่ทันสังเกต ว่าเขากลับมานอนนี่งอยู่ในใจเรา(อีก)แล้ว เริ่มจากการปฏิเสธคุณอาที่ชวนไปเข้ากลุ่มกับท่านในวันที่คุรุให้งานกลุ่มมา เพราะเราเห็นว่าคุณอาและเพื่อนในกลุ่มของท่านก็มีความรู้พื้นฐานทางด้านภาษาอังกฤษที่ดีพอสมควรแล้ว จึงคิดว่าเราน่าที่จะช่วยเพื่อนคนอื่นที่ท่านยังมีพื้นฐานด้านภาษาอังกฤษไม่แข็งแรงนักให้ไปด้วยกันดีกว่า จึงขอตั้งอีกกลุ่มหนึ่งขึ้น แต่พองานกลุ่มเริ่มดำเนินไป เราก็เห็นว่าเพื่อนๆในกลุ่มที่เราคิดว่าจะร่วมเดินไปพร้อมๆกัน ท่านดูไม่ค่อยให้ความสนใจกับการทำงานกลุ่มสักเท่าไหร่ เพราะแต่ละครั้งที่มีชั่วโมงเรียนหรือต้องรวมกันเพื่อมาปรึกษาเรื่องการทำงานกลุ่ม ก็สังเกตเห็นว่าพี่น้องในกลุ่มแต่ละท่าน ก็หาเวลา ปลีกตัวจากงานที่รับผิดชอบอยู่มาร่วมไม่ได้ เราก็ไม่ได้คิดอะไร ก็ตกลงเป็นคนไปค้นคว้าข้อมูลที่จะทำการ present มาให้น้องอีกคนที่พอใช้คอมพิวเตอร์เป็นช่วยลองทำ Power Point ลองดูซึ่งงานก็ติดๆขัดๆ ไม่ค่อยราบรื่นมีอุปสรรคอยู่ตลอดเวลา ซึ่งเราก็ยังไม่มีสติเห็นมาตลีเทพ(ที่มาเตือน) ว่ามันเริ่มฝืดฝืนแล้วนะ แต่เราก็ยังไม่ละความเพียรพยายามทำต่อทั้งๆที่ใจก็เริ่มท้อแล้ว พี่น้องก็ปลีกตัวมารวมกันไม่ค่อยได้ เราจึงต้องคอยเดินถามคนนั้นทีคนนี้ทีจนรู้สึกเหนื่อยๆจึงคุยสภาวะในใจกับเพื่อนซึ่งเพื่อนก็แนะว่างานที่เราทำอยู่มันเป็นงานกลุ่มมันต้องใช้พลังหมู่กลุ่มช่วยกันทำ ไม่ใช่แยกกันทำ ทำคนเดียวหรือทีละคนสองคนมันไม่สำเร็จหรอกลองหาเวลามาคุยกันดูสิ และเราก็ต้องล้างความใจร้อนที่อยากจะได้ไวไวดั่งใจเราด้วย พอลองส่ง Power Point ให้คุรุช่วยตรวจสอบก็ยังต้องแก้ไขหลายจุด จึงขอให้พี่น้องคนอื่นลองช่วยทำ และบอกกับท่านว่าการทำงานกลุ่มบางครั้งมันต้องมาร่วมกันทำบ้างเพราะมันไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะทำให้งานกลุ่มผ่านไปได้ด้วยดี มันต้องใช้พลังหมู่กลุ่มในการทำงานร่วมกัน ท่านก็ย้อนว่าทำไมเราต้องนอยด์ท่านด้วย ลองให้เราไปช่วยทำงานที่ท่านรับผิดชอบอยู่ดูบ้าง
พอได้ยินท่านพูดแบบนั้นมันจึงทำให้เรารู้สึกไม่พอใจ รู้สึกว่าทำไมท่านไม่แยกระหว่างงานกลุ่มกับงานส่วนตัวเพราะเราเองก็มีงานอื่นที่ต้องทำเหมือนกันแต่เราก็ต้องจัดสรรเวลามารวมกลุ่มกันในเวลาที่จำเป็นบ้าง ทำให้ท่านไม่พอใจ เราเองก็รู้สึกขุ่นในใจเหมือนกันทั้งเคืองใจทั้งน้อยใจ ไม่อยากมีวิวาทะมากไปกว่านั้นจึงเดินเลี่ยงไป ในใจก็เริ่มตีตัวเองว่าถ้าเรายอมเข้ากลุ่มกับคุณอาที่ชวนแต่แรกคงไม่ต้องมาขุ่นเคืองใจ(กับความไม่ได้ดั่งใจ)อย่างนี้ กิเลสพยายามดึงเราให้คิดตามว่าไม่น่ามาห่วงคนอื่นมากกว่าตัวเองเลย จำไว้ต่อไปอย่าคิดว่าคนอื่นเขาจะเห็นความหวังดีของตัวเองอีก(น้อยใจเป็นหมาขี้เรื้อน)
จนเช้าวันถัดมาได้ฟังธรรมะพาพ้นทุกข์จากอาจารย์หมอเขียว มันทำให้ใจที่ขุ่นมัวอยู่เบาโล่งขึ้นเป็นลำดับเหมือนสิ่งที่มันติดขัดอยู่ในใจมันหลุดออกทีละเปลาะๆจนมันทะลุปรุโปร่ง โล่ง เบา สบายขึ้นได้
ทุกข์:ขุ่นใจ น้อยใจ
สมุทัย:หลงเอาใจเข้าไปยึดมั่นถือมั่นว่าอยากช่วยเพื่อนให้ได้ร่วมเรียนรู้ไปด้วยกัน แล้วไม่ได้ดั่งใจ
นิโรธ:ใจโปร่งโล่งเหมือนท่อน้ำที่ถูกกระแทกและชำระล้างเอาสิ่งที่อุดตันขวางกั้นอยู่หลุดออกไปจนหมดเกลี้ยง จนไม่เหลือความสงสัยอะไรค้างคาใจอีกเลย ในสาเหตุที่ทำให้เกิดความทุกข์ใจในคราวนี้
มรรค:เพราะพิจารณาตามธรรมะที่ได้ฟังจากอาจารย์หมอเขียวแล้วพิจารณาตามจนเห็นเหตุที่ทำให้เกิดความทุกข์ในใจตัวเองได้ตลอดสายเลยคือเรายังอยากอยู่ยังยึดอยู่ (โดยไม่รู้ตัว) เริ่มจากยึดว่าจะไม่ทิ้งเพื่อน อยากจะพาพี่น้องเรียนรู้ไปพร้อมๆกัน ก้าวไปด้วยกัน และ(หลง)เข้าใจว่าตัวเองมีใจเมตตา เอื้อเฟื้อต่อผู้อื่นอย่างสุดซึ้ง โดยไม่ดูว่าท่านเหล่านั้นมีความยินดี เต็มใจพอใจที่จะก้าวไปกับเราหรือท่านพร้อมที่จะก้าวไปกับเราหรือไม่ แต่เราใช้วิธีเดาใจท่านคิดแทนท่านเรียบร้อยว่าท่านอยากไปพร้อมๆกับเรา จึงทั้งพยายามทั้งดึงทั้งดันที่จะให้สิ่งที่ตัวเองมองว่าดีว่าถูกต้องแล้วไปสู่เป้าหมายให้ได้ ไดยไม่ดูมาตลีเทพ(ตัวแทนวิบากดีร้าย)ที่ส่งสัญญาณมาเตือน ทั้งส่งความพร่องความยุ่งยาก ฝืดฝืนมาเตือนเป็นชั้นๆอยู่ก็ยังไม่เห็น กลับมองไปที่ผู้อื่นอีกว่าทำไมเขาดูไม่ค่อยใส่ใจ(ในความอยากให้สำเร็จดั่งใจหมายของเรา)เลย พอได้ฟังธรรมะจากอาจารย์มันเหมือนได้ฟังคำเฉลยข้อสอบจนต้องร้องอ้อ อ้อ กับตัวเองในใจ กับที่อาจารย์พูดว่า “ถ้าเรายังล้างความอยาก ความยึดมั่นถือมั่นในใจเราไม่ได้ การจะช่วยคนอื่นให้เขาสูงขึ้นย่อมไม่อยู่ในฐานะที่จะเป็นได้” (คำตรัสของพพจ.) เพราะถ้าเรามีธาตุใดอยู่ก็จะเป็นพลังสนิทานเหนี่ยวนำให้ผู้อื่นเกิดธาตุนั้นตาม ถ้าเรายังยึดอยู่ยังอยากอยู่ก็จะเหนี่ยวนำให้คนอื่นยึดและอยากตามเป็นทวีคูณไปเรื่อยๆ จึงทำให้เข้าใจบททบทวนธรรมของอาจารย์ข้อที่101 ว่า ต้องไม่ยึดมั่นถือมั่นให้ได้ “จึงจะได้”
ข้อ119 “ปัญหา คือเครื่องมือฝึกใจที่ดีที่สุดในโลก” และข้อ135 ” โลกนี้มีสิ่งดีๆให้เราได้อาศัย มีอุปสรรคให้เราได้ฝึกฝน มีอุปสรรคให้เราได้ใช้วิบาก มีอุปสรรค ให้เราได้ล้างทุกข์ใจ” สาธุ
รมิตา ซีบังเกิด
เรื่อง : ความสุขอยู่ที่ความพอ
เหตุการณ์: อีกไม่กี่วันจะต้องเดินทางไปต่างจังหวัดประมาณ 10 วัน ซึ่งทุเรียนที่ดูแลอยู่ประมาณ 5 เดือนกำลังจะเก็บผลผลิตได้ หวังไว้ว่าจะเอาแจกญาติๆให้ทั่วถึงเพราะได้ประมาณ 40 กว่าลูก
เป็นของไร้สารพิษด้วย ซึ่งไม่เคยได้มากขนาดนี้มาก่อนเลย
ทุกข์ : เสียดายที่ไม่ได้อยู่เก็บทุเรียนในสวน
สมุทัย : ชอบที่จะได้เก็บทุเรียน
ชังที่จะไม่ได้เก็บทุเรียน
นิโรธ : จะได้เก็บทุเรียนหรือไม่ก็ไม่ชอบไม่ชัง
มรรค : หลายคนมาขอซื้อทุเรียนบอกว่าไม่ได้ขายเก็บไว้แจกญาติๆ แต่เมื่อถึงเวลาที่จะต้องเก็บแล้วเราไม่อยู่ ตอนแรกรู้สึกเสียดายถ้าทุเรียนจะหล่นหรือหายเพราะไม่ได้อยู่ดูแล มาคิดได้ว่าคนงานที่มากรีดยางเกือบทุกวันก็เป็นลูกศิษย์ นิสัยดี ขยันทำงาน ครอบครัวก็มีกันหลายคน
จึงส่งข้อความไปบอกไว้ว่า ให้เข้าไปดูทุเรียนท้ายสวนด้วย ถ้าหล่นก็ให้เก็บเอาไปกิน เหลือเท่าไหร่ครูค่อยเอา ตรงกับบททบทวนธรรมข้อที่ 33 ว่า”ทำเต็มที่ทุกวัน ก็สุขใจเต็มที่ได้ทุกวัน ได้เท่าไหร่ พอใจเท่านั้น พอใจเมื่อไหร่ ก็สุขใจเมื่อนั้น”
พอลูกศิษย์รับปากว่าจะเข้าไปเก็บทุเรียนมากิน แทนที่เราจะเสียดายเหมือนความรู้สึกตอนแรก กลับดีใจที่ได้ให้ของดีๆแก่เขาและครอบครัว
สุพร สุดงาม
เหตุการณ์เพื่อนชวนไปข้างนอกแล้วไม่ได้แปรงฟันหลังอาหาร ทำให้รู้สึกกลัวว่าพันจะผุ
ทุกข์ กลัวฟันจะผุเพราะไม่ได้แปรงฟันหลังอาหารทันที
สมุทัย ชอบที่จะได้แปรงฟันหลังอาหาร
นิโรธ จะได้แปรงพันหรือไม่ได้แปรงฝันก็จะสุขใจ
มรรค การที่จะพันผุหรือไม่เกี่ยวกับชอบรับประทานอาหารรสหวานและมีวิบากกรรมจากการที่เราชอบนินทาผู้อื่นหรือผิดศีลข้อ4และคราวหน้าก็ควรบอกเพื่อนตรงๆว่ายังไม่เสร็จธุระไม่ควรเกรงใจเกินไป
เรื่อง คลิปเสีย
วันที่ 28 มิถุนายน 2564 ผมกับแม่บ้านทดลองทำคลิปรายการใหม่สำหรับเสนอให้ออกอากาศในช่องหมอเขียวทีวี หลังจากที่ได้พูดคุยหารือกันถึงแนวทางและเนื้อหาของรายการกันมาหลายวัน ในที่สุดแม่บ้านก็มีแรงบันดาลใจและมีประเด็นที่จะบันทึกเทปเพื่อเป็นเทปแรกของรายการ มีปัญหาขลุกขลักในเรื่องอุปกรณ์อยู่พอสมควร ทีแรกเราคิดว่าจะใช้โทรศัพท์มือถือบันทึกเทป แต่ระบบเสียงของโทรศัพท์มีปัญหา จึงเปลี่ยนมาใช้กล้องแทน หลังจากทดสอบกล้องไปได้ช็อตหนึ่ง ปรากฏว่าแบตเตอรี่ของกล้องหมด แบตฯ สำรองก็หมดเหมือนกัน จึงเอาสายต่ออแดปเตอร์มาใช้แทนแบตเตอรี่ แล้วทำการบันทึกเทปไปจนจบ เป็นเวลาประมาณ 10 นาที รวมเวลาทำงานตั้งแต่เริ่มทดสอบจนบันทึกเทปเสร็จก็ประมาณ 1 ชั่วโมง แต่พอนำมาคลิปมาเปิดดูในคอมพิวเตอร์ ปรากฏว่ามีเสียงรบกวนดังมาก ใช้ทำงานต่อไม่ได้เลย
ทุกข์ – มีอาการขุ่นใจที่คลิปเสีย และแก้ไขอะไรไม่ได้
สมุทัย – มีความอยากให้งานสำเร็จ มีความยึดมั่นถือมั่นว่า ถ้างานสำเร็จจะยินดีพอใจ ถ้างานล้มเหลวจะไม่ยินดี ไม่พอใจ
นิโรธ – หมดอยาก ปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่น งานสำเร็จก็ยินดี พอใจ งานไม่สำเร็จก็ยินดี พอใจ
มรรค – พิจารณาให้เห็นโทษของความยึดมั่นถือมั่น ทำใจในใจให้เข้าใจชัดถึงความไม่เที่ยง ความไม่มีตัวตนของความยึดมั่นถือมั่นนั้น ต่อให้ทำคลิปได้สำเร็จสมใจก็เป็นความสุขใจแค่ชั่วคราวแล้วดับไป และสั่งสมเป็นกิเลสอยากให้ได้สมใจเพิ่มขึ้นอีกในคราวต่อ ๆ ไป กลายเป็นเหตุแห่งทุกข์ที่มากขึ้นเรื่อย ๆ พิจารณาไปจนเห็นโทษของความยึดมั่นถือมั่นอย่างชัดเจน แล้วปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่นนั้นทิ้งไปได้ จนสามารถล้างความขุ่นใจได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก และมีความยินดี พอใจที่จะทำการบันทึกเทปใหม่อีกครั้งในวันรุ่งขึ้น
อริยสัจ 4
เรื่อง เสียดายผัก
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 24 มิถุนายน ที่ผ่านมา ข้าพเจ้าไปเยี่ยมเพื่อน และเพื่อนก็ให้ผักที่ท่านปลูกเองมาเป็นผักไร้สารพิษ ได้มาเยอะมาก รู้สึกพอใจและดีใจที่จะได้กินผักสด ๆ พอกลับมาถึงบ้าน เห็นอาการกังวลใจเกิดขึ้น เพราะผักที่เยอะมากขนาดนี้จะกินอย่างไรไหว น้อ ! รู้สึกถึงอาการหน้าร้อนผ่าวเริ่มกังวลใจ เห็นอาการเสียดายผัก กลัวว่าผักจะเน่าเสีย
ทุกข์ : เสียดายผัก กลัวว่าผักจะเน่าเสีย
สมุทัย : ไม่น่าเอาผักกับเพื่อนมาเยอะขนาดนี้เลยเพราะถ้ากินไม่ทัน ก็เสียดายผักที่จะเน่าเสีย ไม่อยากให้ผักเน่าเสีย
นิโรธ : แม้นจะกินผักสด ๆ ไม่ทัน ข้าพเจ้าก็จะปรุงเป็นอาหาร และเก็บใส่ไว้ในช่องแช่แข็งก็ได้ ผักจะไม่เน่าเสีย
มรรค : พอเริ่มเห็นอาการกังวลใจก็เริ่ม คิดว่านี่ละนะความโลภ ความไม่มีสติไม่ทันคิดไปชั่วขณะ ว่าไม่น่าจะเอาผักจากเพื่อนมาเยอะขนาดนั้น คิดไปเองว่าเพื่อนก็คงอยากให้เราด้วย และเพื่อนก็ปลูกไว้เยอะคงจะกินไม่ทัน
คิดได้เช่นนั้นก็เริ่มเดินนิโรธ และมรรคทัน โดยนำผักที่คาดว่าจะเน่าเร็วมาประกอบเป็นอาหาร และส่วนที่เหลือก็เก็บเอาไว้กินเป็นผักสด ความทุกข์นั้นก็ค่อย ๆ ผ่อนลง และหายไปในที่สุด เหมือนคำสอนของท่านอาจารย์หมอเขียว ที่ว่า ล้างทุกข์ที่ใจได้แล้ว ทุกข์ทางกายก็เป็นเพียงฝุ่นปลายเล็บ ขอบพระคุณเพื่อนที่ทำให้ ข้าพเจ้าได้เห็นกิเลสและได้ล้างกิเลส เป็นบุญต่อตัวของข้าพเจ้า และเพื่อนก็ได้บำเพ็ญกุศล ด้วยค่ะ สาธุ
28/6/2564
ชื่อ นางสาวนาลี วิไลสัก
เป็นผู้คบคุ้นสวนป่านนาบุญ2
เรื่อง : จริตเราไม่ตรงกัน
เหตุการณ์ : เมื่อเช้ามีน้องคนหนึ่งส่งแชทมา เขาอยากคุยกับเรา เพราะเขาถูกกิเลสหลอก ถ้าเป็นพี่น้องท่านอื่นพอเราเปิดอ่านข้อความจบ จะคิดออกเลยว่าจะคุยกับเขาว่าย่างไร กับไอ้กิเลสตัวนั้น แต่กับน้องคนนี้เมื่อก่อนถ้าเขาแชทมาปุ๊บ ถ้าเราว่าง เราก็รีบช่วยเขาทันทีเลยนะ พอช่วงหลังๆ มานี้เรารู้ว่าเขาไม่ศรัทธาเรา เราก็เลยคิดไม่ออกว่าจะช่วยเขายังไง
ทุกข์ : แค่อ่านแชทจบพลังตกฮวบ เหนื่อยเพลีย อึดอัด คิดไม่ออก สมองมืดทึบหมดเลยไม่รู้จะช่วยน้องยังไงดี
สมุทัย: ชอบถ้าน้องตรงจริตกับเรา และเราสามารถช่วยเขาได้ ชังที่น้องไม่ตรงจริตกับเรา ก็เลยคิดไม่ออกว่าจะเอาภาษาไหนไปช่วยน้อง
นิโรธ : เราพยายามช่วยน้องเต็มที่แล้ว น้องจะมีจริตตรงกับเรา หรือไม่ เขาจะเก็บประโยชน์จากเราได้มากน้อยแค่ไหน ก็สุดแล้วแต่น้อง ส่วนเราก็ไม่ชอบไม่ชัง
มรรค : หันมาตรวจใจหลังจากอ่านข้อความจบ ทำไมพลังตกแบบฉับพลันเลย พอตรวจไปก็เจอกิเลส เราเลยมานั่งคุยกับกิเลสประมาณ 20 นาที
มาร : ฮะ! น้องคนนี้อีกแล้วหรอ จะเอาภาษาไหนมาคุยกับเขาวะ โอ๊ย!!..มันคิดไม่ออก ทำไมเราโง่ฉับพลันแบบนี้วะ
เรา : 555ต้องเป็นน้องคนนี้แหละไม่งั้นก็ไม่เห็นเอง ตอนนี้เอ็งอย่ารีบคุยกับน้อง เอ็งต้องมาคุยกับข้าให้รู้เรื่องก่อน ทำไมเอ็งจึงทำให้ข้าพลังตก
มาร : ก็น้องชังเรา ไม่ได้ศรัทธาเรา ตอนเรายังไม่รู้ เราก็พยายามช่วยน้องมาหลายเดือนแล้ว แต่วิธีการช่วยน้องแบบเดิมนั้นมันไม่ได้ผล ถ้าจะใช้วิธีการสอนน้องแบบจริตของเรา น้องบอกว่าเขาไม่ไหว ทำไมมันประมาณยากจังเลย โดยพลังที่คนไม่ศรัทธากัน ต่อให้พยายามให้ตายยังไง เขาก็ไม่เอาตามหรอก
เรา : มาร เอ็งคิดแบบนี้สิ เราเป็นเพียงผู้ชี้ทาง ส่วนการเดินทาง เป็นเรื่องของน้อง ขนาดพระพุทธเจ้าเทศน์ไปครั้งหนึ่งสาวก 60 ท่านลาสิกขา 60 ท่านกระอักเลือดตาย และ 60 ท่านบรรลุธรรม ถ้าเอ็งไม่ยึดจะเอาดีจากน้องเอ็งจะไม่ทุกข์เลย
มาร : คิดแบบพุทธะก็สบายใจดีกว่า แต่ทำไมน้องไม่เลือกคุยกับคนที่เขาศรัทธา หรือคนที่ตรงจริตกับเขาล่ะ
เรา : ก็อันนี้มันคือสมบัติของเรา จะโอนให้ไครไม่ได้ แล้วเอ็งจะโง่ดักดานไปถึงไหนล่ะฮะ มาร เขาอุตส่าห์ส่งมาให้เราได้บำเพ็ญถึงบ้านเลย เอ็งยังจะพลาดอีกหรอ แหม..เมื่อก่อนที่ไปทำชั่วนะ ขยันเชียวนะ ทีจะทำความดี มาทำเป็นท้อซะงั้น ให้รู้ไว้ซะด้วยว่า วิบากร้ายไล่ล่าคนชั่วทุกวินาที ถ้าไม่อยากพลาดโอกาสดีๆ ก็รีบคว้ากุศลไว้ในกำมือ ตรงกับ บทธ ข้อที่ 84 ล้างความยึดมั่นถือมั่นของใจได้สำเร็จ คือ ความสำเร็จที่แท้จริง
มาร : สำนึกได้แล้วค่ะ ตาสว่างแล้ว ขอเอาพุทธะเป็นที่พึ่ง
สรุป พอมารเปลี่ยนจิตเป็นพุทธะ พลังก็มาเต็มบึ้มเลย สมองโล่งปัญญามาทันทีเลย ก็ตอบแชท และโทรคุยกับน้องด้วยใจเบิกบาน ต้องขอบคุณน้องที่กระทุ้งกิเลสตัวนี้ (กิเลสตัวใหม่พึ่งค้นพบ)ให้เราล้าง สาธุค่ะ
29/06/64
ชื่อ : น.ส.ทิษฏยา โภชนา
ชื่อทางธรรม : ในสายธรรม
จิตอาสาสังกัดสวนป่านาบุญ 2
เรื่อง: ขี้เกียจทำงาน
เหตุการณ์:สัปดาห์ที่ผ่านมาเริ่มรู้สึกว่าตนเอง มีกิเลสตัวขี้เกียจเข้าครอบงำ สังเกตุเห็นว่าหลังจากที่ทำงานหลัก ๆ ที่ต้องรับผิดชอบเสร็จแล้ว จะไม่อยากทำงานอื่นอีก จะผลัดวันประกันพรุ่งไปเรื่อย ๆ โดยกิเลสมันจะอ้างว่า “ กินข้าวกลางวันเสร็จอยากนอนเล่นพักผ่อนให้สบาย ไม่อยากลุกทำงานเลย ช่วงเช้าก็ทำมาเยอะแล้ว ทำมากเกินเดี๋ยวก็เหนื่อยหมดแรงอีกหรอก(เคยเป็นอาการนี้) จะเร่งทำงานไปทำไม ก็ไม่ได้รีบไปไหน ไม่ได้แข่งกับใคร ”
ทั้ง ๆ ที่ก็พักผ่อนมานาน จนเบื่อการพักแล้ว แต่ก็ไม่อยากลุกขึ้นมาทำงาน ทำให้รู้สึกไม่ดีกับตัวเองว่า ”ทำไมเราถึงเป็นคนไม่มีประโยชน์เลย”
ทุกข์ : รู้สึกผิดที่ตนเองขี้เกียจทำงาน
สมุทัย : ชอบใจถ้าได้ทำตนให้เป็นประโยชน์มากกว่านี้ ชังที่ตนเองขี้เกียจทำงาน
นิโรธ : เมื่อได้เห็นกิเลสตัวขี้เกียจแล้วตีตัวเองว่าเราไม่ได้ทำประโยชน์ จึงยินดีที่ได้เห็น ไม่ชอบไม่ชัง เอาประโยชน์ที่สูงกว่า
มรรค : เข้าไปพิจารณาดังนี้
เรา : มาร…แกอย่ามาอ้างว่ารู้สึกผิดเลย
ไม่อยากลุกขึ้นมาทำงาน ผลัดวันประกันพรุ่ง มันก็ผิดเต็ม ๆ อยู่แล้ว พักจนหายเหนื่อยแล้ว ก็ต้องลุกมาทำงานต่อสิ…จะนั่งเล่น นอนเล่น อยู่ทำไม
นี่ขนาดยกเหตุผลร้อยแปดมาอ้างเพื่อจะได้ไม่ต้องทำงาน แต่ทำไม??? แกก็ยังทุกข์อยู่เลย
เห็นแล้วใช่มั๊ยว่าขี้เกียจนั้นผิดศีล(เป็นทุกข์) พุทธะคือต้องขยันอย่างรู้จักประมาณ
จะขยันทำน้อยทำมากก็อยู่ที่การรู้จักประมาณนี่แหละ…มาร
เอาเหตุผลแบบนี้มาพิจารณา มารมันจึงเถียงไม่ขึ้นเลย พิจารณาต่อว่า ที่ผ่านมาเราเคยขยันมากเกินไปจนหนื่อยล้าหมดแรง มาตอนนี้ก็ขี้เกียจจนเป็นทุกข์ ทำให้เห็นถึงความโต่ง 2 ด้าน ดังนั้นจึงต้องหาจุดสมดุลย์ของตนเองให้เจอ และได้ตั้งจิตลุกขึ้นมาต่อสู้กับความขี้เกียจ คือ เมื่อเริ่มจับอาการได้ว่าตนเองกำลังจะขี้เกียจก็จะฝืนลุกขึ้นไปทำงาน วางแผนงานในแต่ละวันไว้(ทั้งงานนอกงานใน) อย่างมีเป้าหมาย แต่จะไม่เร่งรีบ เร่งผล ทำไปเรื่อย ๆ อย่างรู้จักประมาณ
ตรงกับบททบทวนธรรมข้อที่ 70 “ ตั้งตนอยู่บนความลำบาก ที่ไม่ทรมานเกิน คือ หนทางแห่งการพึ่งตนและช่วยคนให้พ้นทุกข์” และข้อที่ 137 “ เวลาชีวิตมีน้อยนัก สั้นนัก อย่าปล่อยเวลาชีวิตให้สูญเปล่า จงละบาป บำเพ็ญกุศล และยินดี พอใจ เต็มใจ สุขใจ มีชีวิตชีวาในทุกเสี้ยววินาทีของชีวิต”
บทสรุป พิจารณาแบบนี้แล้วความรู้สึกผิดในใจก็ค่อย ๆ จางคลายไป กลับมาเริ่มต้นกิจกรรมการงานใหม่ได้อย่างไม่ทุกข์ใจ
เรื่อง ขอบคุณที่สะดุด
เหตุการณ์ : ขณะพักผ่อนด้วยการนั่งยืดขาทั้งสองไปข้างหน้า(นั่งขัดสมาธิไม่ได้)ในใจคิดว่านั่งอย่างนี้เกะกะคนอื่นหรือเปล่านี่ จึงเลี่ยงไปนั่งๆห่างเพราะเห็นพ่อบ้านเดินป้วนเปี้ยนอยู่แถวนั้นแค่คิดเท่านั้นพ่อบ้านก็สะดุดขาของเราอย่างแรง มารมาเร็วพอกันรู้สึกฉุนทันที
ทุกข์ : รู้สึก ฉุน ที่พ่อบ้านสะดุด
สมุทัย : ยึดว่าเรานั่งตรงที่ไม่เกะกะใครแล้ว ชอบใจที่พ่อบ้านไม่สะดุดขา จะได้นั่งสบายๆ พอพ่อบ้านสะดุดจึงรู้สึกฉุน ไม่ชอบใจ
นิโรธ : พ่อบ้านสะดุดขาก็สุขใจ ไม่สะดุดก็สุขใจ ไม่ทุกข์ใจ
มรรค : รีบดูใจทันทีเมื่อรู้สึกฉุน อ้าว นี่เราถือสาพ่อบ้านแล้วไปฉุนเขาได้อย่างไร เป็นวิบากร้ายของเราแท้ๆที่ดลใจให้พ่อบ้านมาเดินตรงที่เรานั่ง อีกอย่างนั่งยืดขาเอง หรือ พ่อบ้านอาจมองไม่เห็น ไม่ทันสังเกตว่าเรานั่งยืดขา จึงสะดุด ทั้งๆที่เราก็ระวังแล้วเพราะความเป็นจริงเราไม่สามารถควบคุมหรือกำหนดอะไรพ่อบ้านได้เลย จึงพิจารณาขจัดมารด้วยบททบทวนธรรมข้อที่ 89 ว่า”ในโลกนี้ ไม่มีอะไรเที่ยง ไม่มีอะไรที่เราควบคุมได้ ไม่มีอะไรที่เรากำหนดได้ นอกจากใจที่ไม่ทุกข์ของเราเท่านั้น ที่เรากำหนดได้”เมื่อได้พิจารณาแล้วก็เห็นจริงตามนั้น ความรู้สึกที่ฉุนพ่อบ้านหายไปทันที ต้องขอบคุณพ่อบ้านต่างหากแค่สะดุดขาก็ขุ้ยมารออกมาให้เห็นจนขจัดมันออกไปและได้ใช้วิบากร้ายจะได้มีวิบากดีเพิ่มขึ้น
ในที่สุดใจกลับมาเบิกบานและผาสุกตามเดิมเพราะเห็นมารจับมันได้แล้วล้างมันออกไปจนเราไม่ทุกข์เป็นสิ่งเดียวที่เรากำหนดได้สิ่งอื่นไม่มีอะไรที่เราควบคุมหรือกำหนดได้เพราะในโลกนี้ไม่มีอะไรเที่ยง
หงุดหงิดน้องสาว : อรุณรัตน์ ไกรลาศศิริ (พิมพ์ผ่องศีล)
เรื่อง ตื่นขึ้นมารู้สึกว่าน้องสาวพี่ ทำอะไรสิ้นเปลือง ตย.ล้างจาน ล้างผัก ล้างหลายรอบ รู้สึกใช้ของสิ้นเปลือง พอเห็นพฤติกรรมน้องแล้วไม่อยากจะทักทาย
ทุกข์ หงุดหงิดรำคาญใจ สะอาดเกินเหตุ ทั้งที่ผักก็ปลูกเอง หรือบางครั้ง เราล้างให้เรียบร้อยแล้ว ก็ต้องมาล้างอีกรอบ ทำอะไรสิ้นเปลือง และไม่ไว้ใจคนอื่น
สมุทัย อยากให้น้องคิดแบบเรา ได้ดังใจเรา แทนที่จะทิ้งน้ำ ให้เอาน้ำล้างผักนั้นไปรดต้นไม้ดีกว่า จะเป็นการใช้ประโยชน์ให้คุ้มค่า เราจะสุขใจ
นิโรธ ปล่อยน้องเขาจะทำอะไรสิ้นเปลืองหรือทำอะไรไม่ถูกใจ ก็ไม่ทุกข์ใจ ดู และเรียนรู้ เขาอย่างที่เขาเป็น
มรรค เข้าใจสไตล์ของน้อง กลับมามองอดีตอาม่าและ ป้าก็เคยบ่น เรื่องการใช้น้ำ ของพวกเราว่า พวกฌธอน้ำซักถังก็ไม่เคยหาบ ไม่รู้จักคุณค่าของน้ำ ขอบคุณน้องที่ช่วยเสียสละ สะท้อนให้เห็นเป็นmirror effect ของตัวยึด อยากให้เขา ทำอย่างที่เราคิดว่าควรทำ มองหาประโยชน์ที่ได้คือเหตุการณ์นี้ทำให้เราเรียนรู้ เรื่องทำอะไรไม่รู้จักประมาณ เราก็ต้องรู้จักประมาณในแต่ละเรื่องเหมือนกัน ทำให้เราได้ทบทวน 2สถาณการณ์เปรียบเทียบกัน วันที่น้องไม่เทน้ำทิ้งไป แต่เอาไปรดต้นไม้ต่อ เราเห็นความสุขใจเพราะเราได้ดั่งใจ กับวันที่เขาไม่ได้ทำอย่างนั้น เททิ้งไปเฉยๆ เราเห็นความไม่ได้ดั่งใจของเราซึ่งพอเอา2สถาณการณ์มาพิจารณาแล้ว มันเห็นชัดมากเลยว่า สุขใจหรือทุกข์ใจเกิดได้อย่างไรและเราอยากจะเลือกเดินทางไหน เราเลือกเองคะ
สุพร สุดงาม
ทุกข์อริยสัจ
กลัวถูกเพื่อนว่าไม่ช่วยงาน
สมุทัย
ชอบที่จะได้รับความรู้สึกว่ามีคุณค่า
นิโรธ
จะได้รับความรู้สึกว่ามีคุณค่าหรือไม่มีคุณค่าก็ได้
มรรค
ถ้าถูกเพื่อนว่ามันก็คือวิบากกรรมของเรา เพราะเราทำมามากกว่านั้น และความทุกข์ใจก็ไม่เที่ยง เกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไป เราย่อมรู้อยู่แก่ใจว่าเราทำประโยชน์อะไรบ้าง ไม่จำเป็นต้องให้ใครรู้
เรื่อง พาอาม่าไปทำแผล
อาม่าคือแม่สามีที่ป่วยด้วยโรคสมองเสื่อมและอยู่ในความดูแลของน้องสาวสามี2คน
ช่วงนี้อามาลุกนั่งลุกเดินเองไม่ได้ส่วนใหญ่จึงนอนบนเตียงตลอดทำให้มีแผลกดทับที่บริเวณสะโพกไปดูแลทำแผลให้ที่บ้านและต่อจากนั้นน้องๆทำเองทุกวันแต่มีแผลที่สะโพกด้านขวามีเนื้อตายจึงบอกให้น้องพามาโรงพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจดูอาการและทำแผลตัดเนื้อตายออกระหว่างที่มารอคุณหมอตรวจที่ห้องฉุกเฉินใช้เวลารอประมาณ3ชั่วโมงเพราะมีคนไข้มารับบริการเยอะมากและมีผู้ป่วยต้องใส่ท่อช่วยหายใจ ระหว่างรอเกิดอาการในใจอยากให้คุณหมอทำแผลให้อาม่าเร็วๆรู้สึกนั่งรอนานเกินไป
ทุกข์ : อยากให้คุณหมอมาตรวจและทำแผลให้อาม่าเร็วๆ
สมุทัย : เหตุแห่งทุกข์ชอบที่คุณหมอมาตรวจให้ อาม่าและทำแผลเร็วๆชังที่คุณหมอมาตรวจช้า
นิโรธ : สภาพดับทุกข์คุณหมอจะมาตรวจเร็วหรือช้าก็ไม่ชอบไม่ชังยอมรับได้ว่าเหตุการณ์ในห้องฉุกเฉินวันนี้ยุ่งมากคุณหมอต้องช่วยคนไข้ที่มีอาการหนักก่อน
มรรค : วิธีดับทุกข์พิจารณาเหตุการณ์ในห้องฉุกเฉินว่าตั้งแต่เราพาอาม่าเข้ามารอตรวจมีผู้ป่วยจำนวนมากและมีอาการหนักที่คุณหมอต้องดูแลช่วยชีวิตและยังต้องเข้าตึกผู้ป่วยในแก้ไขผู้ป่วยวิกฤต เรานานๆจะมารับบริการที่ห้องฉุกเฉินซึ่งห้องนี้เป็นงานบริการที่มีงานเร่งด่วนตลอดเวลา กรณีของอาม่าสำคัญจำเป็นที่แพทย์ต้องดูแต่ยังรอได้เราต้องไม่ใจร้อนและพิจารณาบททบทวนธรรม” การได้พบกับเหตุการณ์ที่ไม่ถูกใจเราไม่ได้ดั่งใจเราเป็นสุดยอดแห่งเครื่องมืออันล้ำค่าที่ทำให้ได้ฝึกล้างกิเลสคือความหลงชิงชังรังเกียจหลงยึดมั่นถือมั่นในใจเราและทำให้ได้ล้างวิบากร้ายของเรา”พิจารณาซ้ำๆจึงช่วยให้วางใจได้ นั่งรอคุณหมอด้วยใจที่เบิกบานไม่กังวลว่าจะรอนาน
สรุป อาม่ารับรับการดูแลช่วงเย็นคุณหมอมาทำแผลสั่งยาฆ่าเชื้อนัดมาทำแผลวันละ 1 ครั้ง เรารู้สึก สบายเบากายใจไร้ทุกข์ไร้กังวล
เรื่อง วิบากเราเอง
เหตุการณ์ : เกิดแผลในกระพุ้งแก้มขวามีอาการปวดหมุบๆมาสามสี่วัน ระลึกย้อนดูพบว่าโดนแปรงสีฟันกระทุ้งจนเป็นแผล จำได้วันนั้นเร่งรีบแปรงฟันเพื่อจะไปทำธุระ
ทุกข์ : มีอาการหงุดหงิด กับอาการปวดหมุบๆ
สมุทัย : อยากหายจากอาการปวดในกระพุ้งแก้ม ชอบที่ไม่มีอาการปวด พอมีอาการปวดรู้สึกหงุดหงิด จนชัง
นิโรธ : จะมีอาการปวดก็ได้ ไม่มีอาการปวดก็ได้ใจผาสุกตลอดเวลา
มรรค : วางความอยากและยอมรับความจริงที่เกิดขึ้นแล้วหันมาดูใจพร้อมปรับด้วยบททบทวนธรรมข้อที่ 109 คือ”ความเข้าใจ เชื่อ และ ชัด เรื่องกรรมอย่างแจ่มแจ้ง เป็นรหัส เป็นปัญญา ที่จำเป็นที่สุด สำคัญที่สุด มีฤทธิ์ที่สุด ในการดับทุกข์ ในการคลายความยึดมั่นถือมั่น ในการเข้าสู่ความผาสุกที่แท้จริง วิบากต้องรับ กิเลสต้องล้าง พุทธะจึงจะเกิด”หลังจากพิจารณาได้เข้าใจที่เป็นแผลขึ้นเกิดจากกรรมและวิบากของเราเอง รีบร้อน ไม่ระวังจนกระทุ้งกระพุ้งแก้ม เมื่อรู้ตัวยินดี เต็มใจรับวิบาก โดยไม่เร่งผล จะหายช้า หายเร็ว หายเมื่อไรก็ได้ เฝ้าดูอาการปวด และอยู่กับมันให้ได้ เมื่อคิดได้ดังนี้ความรู้สึกหงุดหงิด ก็หายไป อาการปวดก็ลดลงเช่นกันใจจึงโล่ง เบา สบายและผาสุก
ส่วนอาการปวดหมุบๆและแผลแก้ด้วยใช้ยา 9 เม็ดโดยการกินอาหารปรุงแต่งน้อยที่สุด อมน้ำปัสสาวะ น้ำสกัดสาบเสือ และเคี้ยวกล้วยดิบแล้วอมไว้เพื่อสมานแผล กัวซาแก้ม พอกหน้า หลังจากได้ทำตามที่กล่าวมาครึ่งวันอาการปวดก็หายไปเหลือแผลเล็กน้อย
สรุป เมื่อเราเข้าใจกรรมและผลที่เป็นวิบากก็ยินดีรับ ด้วยเต็มใจ ส่วนกิเลสใหม่ก็ล้างออกไปจนได้ใจผาสุกกลับมา
เรื่อง
รู้มากเห็นกิเลสมาก
เนื้อเรื่อง
ได้เข้าไปฟังหมู่มิตรดีเล่านิทานให้เด็กและผู้ใหญ่ฟัง กิเลสก็มาบอกว่าให้เราพูดเสริมเยอะๆเพราะเรารู้เยอะกิเลสชอบที่คน วิพากษ์วิจารณ์ เพราะเราจะได้เหลี่ยมมุมจากหมู่มิตรดี
ทุกข์
อึดอัดใจเวลาพูดเสริมแล้ว หมู่นิ่งเฉยไม่มีใครวิพากวิจารณ์
สมุทัย
ชอบ ถ้าหมู่ วิพากวิจารณ์
ชังถ้าหมู่ ไม่วิพากพากย์วิจารณ์
นิโรธ
ไม่ชอบไม่ชังหมู่จะ วิพากษ์วิจารณ์ หรือนิ่งๆ ก็ได้ใจไร้ทุกข์ไร้กังวล
มรรค
มาดูความคิดของมารที่อยากให้หมู่ วิพากษ์วิจารณ์ทั้งคำชมและคำตำหนิเพื่อจะได้เห็นความคิดต่างของเรากับกิเลส
มาร
ถ้าหมู่จะวิจารณ์เรา เราจะได้มีข้อมูลเพิ่มเพราะเราก็ไม่เก่งจับกิเลสคำพูดของเราที่พูดเสริมหมู่ไปนั้นจะเหมาะสมหรือไม่จิตตัวยึด ตัวอยาก ได้จากคนอื่น ไปทุกเรื่อง
เรา เราเอาภาระแต่ไม่ยึดไม่อยากก็จะเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับหมู่มิตรดี นี่คือสิ่งใหม่ที่เธอยังไม่เคยทำเธอลองหรือยัง
มาร
คิดแบบนี้ก็ดีเหมือนกันนะเบาสบายดี
สรุป
เรา ต้องรู้จักเอาภาระหมู่ในส่วนที่ทำได้ หมู่จะวิพากษ์วิจารณ์หรืออยู่เฉยๆ ก็ได้ใจเบาสบาย 20%
การบ้านน้องบุญพิมพ์ไพร อายุ 13 ปี นักเรียนวิชารามภาคสมทบค่ะ สวนป่านาบุญ2
เรื่อง ลดเนื้อสัตว์ แล้วพ่อชวนกินเนื้อสัตว์
เหตุการณ์ น้องบุญตั้งศีลจะลด ละ เลิก เนื้อสัตว์ พ่อทำแกงจืดหน่อไม่ ใส่ไก่ให้กิน น้องบุญไม่กิน
ทุกข์ ใจไม่เบิกบาน ที่พ่อชวนกินเนื้อสัตว์
สมุทัย ไม่ชอบที่พ่อมาชวนกินเนื้อสัตว์
นิโรธ ใจเบิกบานไม่ชังพ่อ
มรรค ใจคิดว่าที่พ่อชวนกินเพราะพ่อไม่มีเพื่อนกิน เจ้ก็ไปเรียนแล้ว จึงไม่โกรธพ่อ แต่น้องบุญก็ไม่อยากกิน เพราะถ้ากินแล้ว
จะได้ไม่ได้เข้าหมู่
เรื่อง
ยึดก็ได้วางก็ได้สบายใจจริง
เนื้อเรื่อง
มีหมู่มาอยู่จำนวนมากและใช้มติหมู่ขอรื้อค้างผักที่อยู่ข้างศาลา แต่ผมก็มีกิเลสขึ้นมาว่าจะมารื้อของกินได้ไงไม่ปลูกแต่จะมาทำลายอีกไม่ชอบคนที่อะไรก็จะรื้ออะไรก็จะถอนทั้งที่เป็นของที่ปลูกก็ยากกว่าจะโตแล้วจะเอาผักที่ใหนกิน
ทุกข์
กลัวกังวลว่า หมู่จะใช้มติหมู่รื้อค้างผัก อาการทางกายหัวใจเต้นแรง เหตุการณ์ลุ้นว่าจะทำอย่างไรดี
สมุทัย
ชอบที่หมู่ไม่รื้อค้างผักข้างศาลา ชังที่หมู่่รื้อค้างผักข้างศาลา
นิโรธ
ไม่ชอบไม่ชังหมู่จะรื้อค้างผักหรือไม่ก็ได้ใจไร้ทุกข์ไร้กังวล
มรรค
กิเลสคิดว่าหมู่ไม่ช่วยปลูกแล้วยังจะมารื้อทำไมทำแบบนี้กับเรา
มาร
แล้วเราจะเอาผักที่ไหนกินนี่คือผลงานของเรานะเรา เราเป็นคนปลูกทำไมเขาไม่มาช่วยปลุกแล้วยัง จะมารื้อ ของเราอีก
เรา
ถ้าเราไม่เอาจิตวิญญาณของหมู่เราจะเอาแค่ผักแค่วัตถุแล้วเมื่อไหร่จะเจริญเราวางดี ดีกว่าเพราะว่าเอาสิ่งที่ดีที่เจริญกว่านี้คือเอามติหมู่
มาร
ลองดูก็ได้ยึดมานานแล้วเหนื่อยเหลือเกิน
เรา
พอเราวางได้ผักที่โดนรื้อ กลับงอกขึ้นมาและมีเมล็ดพันธุ์ที่หล่นเกิดขึ้นงอกงามกว่าเดิมผลของการยึดก็ได้ว่างก็ได้สบายใจจริง
สรุป
ในเมื่อเราไม่กลัวไม่กังวลและใช้มติหมู่ในการรื้อค้างผักใจก็เบาสบาย เมล็ดพันธุ์ผักที่งอกขึ้นมาก็เจริญงอกงามอย่างไม่คาดหมาย
เรื่อง : มีเสียงอุ๊ยในใจ
เหตุการณ์ : เกิดที่ภูผาฟ้าน้ำ วันนี้ตอนเช้าเดินไปห้องม่วง ได้เห็นต้นขึ้นฉ่ายที่ปลูกไว้ ๒ ต้นแรก เหลือต้นละ ๑ ก้าน และอีก ๑ ต้นเหลือแต่ตอ ไม่มีใบเหลืออยู่เลย นึกในใจว่า “อุ๊ย” จะตายไหมนี้ และก็มีเสียงอีกเสียงหนึ่งดังขึ้นมาว่า “อ้าว! ทุกข์นี้” จับได้แล้วรู้ทุกข์แล้ว ก็ล้างทุกข์
ทุกข์ : กลัวต้นขึ้นฉ่ายที่ปลูกไว้จะตาย เมื่อได้เห็นว่าเหลือแต่ตอ
สมุทัย : เกิดจากตัณหาความอยาก (อยากได้สมใจ) จึงทำให้เกิดความกลัว ไม่อยากให้ต้นขึ้นฉ่ายตาย
ชอบ-ถ้าขึ้นฉ่ายที่ปลูกไว้ไม่ตายและเจริญเติบโตได้ดี
ชัง-ถ้าขึ้นฉ่ายตาย ไม่อยากให้ตาย
มีอุปาทานความยึดมั่นถือมั่น ยึดว่าเป็นของของเรา เราคนปลูก
นิโรธ : ต้นขึ้นฉ่ายจะตายหรือไม่ตาย ก็ไม่ทุกข์ใจ ใจสงบ เบิกบานแจ่มใสได้ตลอด
มรรค : ได้เห็นว่า ความอยากได้สมใจนั้นทำให้เกิดความกลัว ทำให้เป็นทุกข์ใจ อาการอยากได้ในสิ่งที่ชอบนี้เป็นทุกข์ รู้ว่าชอบเป็นกิเลสตัณหาความอยาก ความยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นของเราก็เป็นทุกข์ ถ้าได้สมใจ-จะสุขใจ ไม่ได้สมใจ-จะทุกข์ใจ
ชอบ อยากได้ อยากให้เกิดขึ้น อยากมี ตรงข้ามกับ ชัง ไม่อยากได้ ไม่อยากให้เกิดขึ้น ไม่เอา รู้ว่ามีชอบ-ชังเป็นทุกข์เป็นวิบากร้าย และเห็นว่าสิ่งต่าง ๆ ไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวเราของเรา ยึดไม่ได้ เกิดและดับตามกาลเวลา กิเลสเกิดดับๆ อยู่ตลอด มายากลลวงหลอกให้เราทุกข์ ไม่ชอบไม่ชังดีกว่า เบากาย เบาใจ สงบกว่า แจ่มใสกว่า เบิกบานกว่ากันเยอะเลย
ผล : วางใจได้ ยอมปล่อยให้ขึ้นฉ่ายโตก็ได้ตายได้ โดยที่ไม่ทุกข์ใจ รู้สึกเบาสบาย ใจโล่งขึ้น ความทุกข์ใจเป็น ๐ % กับเหตุการณ์นี้ สาธุค่ะ
01/07/64
ชื่อ : นางศุทธินี พรมเล็ก (ป้าเนียร )
ชื่อทางธรรม : ขวัญน้ำฟ้า
จิตอาสาสังกัดสวนป่านาบุญ 2
เรื่อง : พูดมากน่ารำคาญ
เพื่อนมานั่งคุยที่บ้านเป็นเวลานาน ๆ นำเรื่องต่าง ๆ มาพูดคุยหลายเรื่อง เป็นเรื่องไร้สาระหาประโยชน์ไม่ได้ จึงทำให้รู้สึกรำคาญใจ ไม่อยากจะทนนั่งฟัง
ทุกข์ : รำคาญที่เพื่อนพูดเรื่องไร้สาระ
สมุทัย : ชอบใจถ้าเพื่อนจะพูดเรื่องที่เป็นประโยชน์ ชังที่ต้องฟังเรื่องไร้สาระ
นิโรธ : เมื่อได้ฟังเรื่องที่เพื่อนพูดมาก็ยินดีรับฟัง ไม่รู้สึกรำคาญใจ ใจไร้ทุกข์
มรรค : ได้พิจารณาเรื่องของวิบากกรรม เราก็เคยเป็นคนที่พูดมากน่ารำคาญเช่นนี้มาก่อน แต่แทนที่จะยอมรับผิด เรากลับไปชิงชังรังเกียจเขา จนทำให้ใจเราเป็นทุกข์ ที่จริงแล้วเขาคือผู้มีพระคุณที่เป็นกระจกสะท้อนความไม่ดีของเราในอดีต แล้วเราจะไปชิงชังรังเกียจเขาทำไม ดังนั้นจึงตั้งจิตขออโหสิกรรมเพื่อนคนนั้น ขอบคุณที่เขามาให้เราได้เห็นและได้ชดใช้วิบาก
พิจารณาต่อว่า เราจะเลือกสิ่งที่เป็นประโยชน์จากเหตุการณ์นี้ โดยมองให้เห็นสิ่งที่ดีของเพื่อนคนนี้ เขาอุตส่าห์มาเยี่ยมเยียน มาเล่าสารทุกข์สุกดิบให้ฟัง เขามาหาเราก็ดีแล้วที่เขายังระลึกถึงเรา ในความพูดมากของเพื่อนคนนี้ เขาก็ยังมีข้อดีในด้านอื่นคือเขาเป็นคนมีน้ำใจที่เราหาไม่ได้จากเพื่อนคนอื่นในบางครั้ง แล้วเราจะไปรำคาญเขาทำไม
ตรงกับบททบทวนธรรมข้อที่ 8 “ สิ่งที่เราได้รับคือสิ่งที่เราทำมา ไม่มีสิ่งใดที่เราได้รับโดยที่เราไม่เคยทำมา ” และข้อที่ 47 ” เมื่อมีเรื่องไม่ชอบใจ ไม่เข้าใจและเกิดคำถามว่า ทำไมๆๆ ให้ตอบว่า ทำมาๆๆ”
สรุป ความหงุดหงิดรำคาญใจเป็นหนึ่งในอุปกิเลส 16 ที่ทำให้เราเกิดทุกข์ เบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่น ทำให้สิ้นเปลืองพลังงาน จึงต้องขจัดมันให้ออกไปจากใจเรา พิจารณาแบบนี้แล้วใจเราสบายขึ้น โล่งขึ้น
01/07/64
ชื่อ : น.ส.ทิษฏยา โภชนา
ชื่อทางธรรม : ในสายธรรม
จิตอาสาสังกัดสวนป่านาบุญ 2
เรื่อง: ล้างกิเลสหน้าเตาไฟ
มีภารกิจทำข้าวผัดธัญพืชไปร่วมปันสุขจำนวน 300 ชุด ผู้เขียนรับหน้าที่ในการผัดข้าวคนละเตากับญาติ (ซึ่งก็เป็นงานหนักพอสมควร) ญาติก็พูดบ่นโน่นบ่นนี่ตลอดเวลาที่ทำงาน ที่น่ารำคาญกว่านั้นคือในขณะที่กำลังผัดข้าวอยู่ เขาก็ยังมาใช้เรา “หยิบนั่นให้หน่อยสิ ช่วยล้างกระทะให้หน่อย ช่วยหาของให้หน่อย…” คือ เขาจะใช้ให้ทำนั่นนี่ ทั้ง ๆ ที่ก็เห็นอยู่ว่าผู้เขียนกำลังยุ่งอยู่ ทำให้รู้สึกหงุดหงิดมาก ทำงานไม่มีสมาธิเลย คิดในใจว่า “เรื่องเล็กน้อยแค่นี้เขาก็ทำเองไม่ได้” จนช่วงหนึ่งที่ผู้เขียนทนไม่ไหวเผลอหลุดปากพูดกับเขาไปแรง ๆ ว่า “ทำงานต้องทำกับมือ อย่าใช้ปากทำ ” แต่พอพูดไปแล้วแทนที่จะดี กลับก็รู้สึกผิด ว่าเราไม่น่าพูดแบบนี้ออกไปเลย เรื่องนี้มีทุกข์ 2 ประเด็น คือ
ทุกข์ : 1.รำคาญที่ญาติเรียกใช้บ่อยเกินไป
2.รู้สึกผิดที่พูดไม่ดีกับญาติ
สมุทัย : 1.ชอบใจถ้าญาติจะพึ่งตนเองบ้าง ชังที่ญาติเรียกใช้มากเกินไป
2.ชอบใจถ้าได้พูดกับญาติให้ดีกว่านี้ ชังที่พูดจาไม่ดีออกไป
นิโรธ : 1.ญาติจะใช้เราทำอะไรให้ก็ไม่รู้สึกรำคาญใจ ยินดีช่วยเหลือเขา
2.เมื่อรู้ตัวว่าพูดจาไม่ดีกับญาติออกไปก็ไม่เสียใจ ไม่โทษตัวเอง สำนึกผิดแล้ว ใจไร้ทุกข์
มรรค : เมื่อจับอาการของกิเลสได้ว่าเราเองกำลังคิดและพูดไม่ดีกับญาติจึงพิจารณาว่า
มาร : พูดอยู่นั่นแหละ ทำงานไม่มีสมาธิเลย
เอาพลังไปทุ่มเทกับงานดีกว่ามั๊ย แทนที่จะบ่น
ขยันใช้จังเลย ไม่เห็นรึไงว่าคนอื่นเขาก็กำลังยุ่ง
ถ้ารู้ว่า..มาทำงานแล้วทั้งบ่นทั้งใช้ รู้งั้นไม่บอกให้มาก็ดี
เรา : เที่ยวไปโทษญาติว่าทำให้เสียสมาธิ ถ้าแกไม่มัวไปจ้องแต่จะโทษเขา แล้วจะเสียสมาธิมั๊ย???
ถ้าเขาบ่น/เขาใช้ แล้วแกไม่เอาใจไปฟัง แกจะเสียสมาธิมั๊ย จะรำคาญเขามั๊ย???
ขยันหาแต่ข้อผิดพลาดของคนอื่น แต่ไม่เคยมองย้อนดูตัวเอง
เขาใช้นิดหน่อยแค่วันนี้วันเดียว แกก็ไม่พอใจเขา
เขามาช่วยก็ดีแล้ว ถ้าไม่ได้เขา ผัดข้าวตั้ง 300 ห่อ แกจะทำคนเดียวไหวมั๊ย???
เขาแค่บ่น แต่แกไปตอกกลับเขาเสียแรงเลย ตกลงใครร้ายกว่ากัน?
มาร : เออ!! เรานี่แหละที่ร้าย (มารสำนึกผิด)
เรา : ก็ยังดีนะ ที่ยังมีความละอายแกใจ พลาดทำผิดไปแล้ว ยังสำนึกได้
พิจารณาต่อว่า ที่จริงแล้วญาติคนนี้เขาคือผู้มีพระคุณที่อุตส่าห์เสียสละทั้งแรงกายแรงใจมาช่วยเราทั้งงานนอกงานใน ทำให้เราได้อาหารไปปันสุข ได้เห็นและได้ล้างกิเลส แต่เรากลับไปคิดไม่ดีกับเขา จึงตั้งจิตสำนึกผิดและขออโหสิกรรมต่อญาติ
ตรงกับบททบทวนธรรมข้อที่ 21 “ การได้พบกับเหตุการณ์ที่ไม่ถูกใจเรา ไม่ได้ดั่งใจเราเป็นสุดยอดแห่งเครื่องมืออันล้ำค่าที่ทำให้ได้ฝึกล้างกิเลส คือ ความหลงชิงชังรังเกียจ หลงยึดมั่นถือมั่นในใจเรา และทำให้ได้ล้างวิบากร้ายของเรา ” และข้อที่ 50 “ อดีตที่ผิดพลาดให้สำนึก ปัจจุบันที่ผิดพลาดจากกิเลส หรือ จากการประมาณที่ไม่พอเหมาะให้แก้ไข”
บทสรุป เหตุการณ์นี้ทำให้ผู้เขียนได้เห็นผลของการฝึกจิตของตนเองที่ทำมาระยะหนึ่ง คือ ญาติคนนี้เริ่มลงมือทำงานก่อนผู้เขียนประมาณ 10 นาที แต่เพราะเขาเป็นแบบที่เล่ามาข้างต้น ทำให้ผู้เขียนซึ่งเริ่มช้ากว่าแต่ได้ปริมาณงานที่มากกว่า แม้จะรู้สึกหงุดหงิดรำคาญใจบ้างในตอนแรก แต่เมื่อล้างใจได้ทัน ก็ทำให้เรามีสติ เราไม่ต้องเสียแรงไปกับกิเลส ทำให้งานเสร็จเร็วทันเวลา นอกจากนี้ตอนแรกคิดว่าญาติจะไม่พอใจคำพูดของเรา แต่เขากลับไม่โกรธ ทำงานเสร็จ ก็ไม่เหนื่อย ใจก็โล่งขึ้น
ส่งการบ้านอริยสัจ4
เรื่อง .วิบากดีอยู่เหนือวิบากร้ายถ้าใจไร้ทุกข์
เหตุการณ์.ณ.วันที่สอบอริยสัจ4 กับหมู่ใหญ่ในวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ขณะที่กำลังรอพี่ท่านอื่นสอบ เราจะเป็นคนตัดไปที่จะสอบ แต่โทรศัพท์มีปัญหา คือ ไม่สามารถตั้งแบบแนวนอนได้ และเมื่อต้องตั้งแบบแนวตั้งเราจะขยายตัวอักษรในจอได้น้อยและตัวอักษรจะตัวเล็ก จะมีผลตอนที่จะอ่านในจอโทรศัพท์ตอนที่จะสอบเพราะจะมองเห็นไม่ชัดค่ะ แต่ก็ฟังพี่น้องสอบไปเรื่อยๆพร้อมกับทำใจไปเรื่อยๆ ว่าเมื่อถึงเวลาที่จะสอบก็ทำให้เต็มที่ได้แค่ไหนแค่นั้น และไม่มีอะไรบังเอิญค่ะเมื่อคิวตัวเองแล้ว จะมีปัญหาอีกอย่างคือ เสียงจะเบาค่ะ จึงมีพี่น้องท่านเสนอว่าให้ปิดกล้องก็ได้ ฟังแต่เสียงอย่างเดียวก็ได้ เราก็ยินดีทำตามที่ท่านแนะนำค่ะ
ทุกข์. กังวลใจว่าที่จะมองและอ่านตัวอักษรในจอโทรศัพท์เห็นไม่ชัด เพราะตัวเล็ก ทำให้อ่านยากและจะทำให้พี่น้องฟังไม่ชัดเจน
สมุทัย. อยากที่จะเห็นและอ่านตัวอักษรได้ชัดเจน ผลให้พี่น้องฟังรู้เรื่องเข้าใจง่ายจะชอบใจสุขใจ ชังถ้าต้องอ่านแบบตัวอักษรตัวเล็กมองเห็นไม่ชัดเจน
นิโรธ.วางใจ เมื่อต้องอ่านแบบหน้าจอตัวอักษรตัวเล็กมองเห็นไม่ชัดหรือมองเห็นชัดเจนหรืออ่านออกมาแล้วใครจะฟังเข้าใจแค่ไหนอย่างไร เมื่อทำเต็มที่แล้วก็ยินดีพอใจไร้กังวล ไม่ชอบไม่ชัง
มรรค.มาตั้งศีลปฏิบัติให้เห็นไตรลักษณ์ ความวิปลาส ความไม่เที่ยงเป็นทุกข์ จับได้ว่ากิเลสกำลังหลอกเราให้กังวลหวั่นในสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น หลงไปยึดอยากได้สภาพดีๆ อยากได้อยากเป็นอยากมีในสิ่งที่ไม่สามารถกำหนดได้
มาพิจารณาเห็นถึงประโยชน์ของการวางใจ ล้างความอยากได้ดั่งใจได้ ทำให้เกิดอานิสงน์ เป็นรูปธรรม คือ เมื่อเริ่มถึงคิวสอบของเราแล้วเหมือนมีวิบากร้ายคือโทรศัพท์เสียงเบา พี่น้องฟังไม่ได้ยินเสียง แต่เหนือวิบากร้ายก็มีวิบากดี จึงมีพี่จิตอาสาท่านนึงพูดบอกว่าปิดกล้องเลย แล้วเอาไมค์จ่อปากเลยเสียงจะได้ชัดเจน จึงทำตามที่ท่านบอก ก็พอดีเลยค่ะ คือที่เรากำลังกัลวลว่าจะอ่านหรือมองตัวอักษรไม่เห็นแต่เมื่อวางใจทำตามที่พี่น้องบอก ก็สามารถเอาโทรศัพท์มาใกล้ปากพร้อมกับโทรศัพท์ก็ได้มาอยู่ในระดับสายตาพอดี ทำให้อ่านหน้าจอโทรศัพท์ได้ชัดเจนดีเลยค่ะ และเห็นเป็นนามธรรมคือ การวางใจได้ ใจไร้กังวลผาสุกได้ตามลำดับค่ะ ตรงกับบททบทวนธรรมข้อที่ 89 , 90
คือในโลกนี้ ไม่มีอะไรเที่ยง ไม่มีอะไรที่เราควบคุมได้ ไม่มีอะไรที่เรากำหนดได้ นอกจากใจที่ไม่ทุกข์ของเราเท่านั้นที่เรากำหนดได้
วัตถุไม่เที่ยง มีแต่ใจไร้ทุกข์เท่านั้นที่เที่ยง.
สรุปว่า.เห็นได้ชัดเจนค่ะว่าการวางใจได้ทำให้มีปัญญามาปฏิบัติได้เห็นความจริงตามความเป็นจริง เข้าใจชัดเรื่องกรรมอย่างแจ่มแจ้ง ทำให้ใจลดทุกข์ลงได้ตามลำดับ เปรียบเทียบเห็นจากเมื่อก่อนถ้ามีอุปสรรคเข้ามาหลายด้าน ทำให้ทุกข์ใจหวั่นไหวกิเลสเข้าจะทำอะไรก็จะรวนไปหมด แต่เมื่อมาปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ของอาจารย์ ทำให้ใจผาสุกขึ้นตามลำดับค่ะ สาธุค่ะ
เรื่อง เราไม่ใช่สัตบุรุษของเขา
พ่อบ้านกลุ้มใจเศร้ากับเหตุการณ์ที่ตัวเองลงทุนแล้วมีความผิดพลาดทางเทคนิค ตัวเองก็เลยอยากให้ท่านเข้าใจธรรมะ แต่ท่านก็ไม่อยากรับฟังเรา เห็นใจตัวเองมีความอยากที่จะพูดอยู่อีก จึงได้บอกกับตัวเองว่าเราไม่ใช่สุตบุรุษของเขาอย่าได้ไปพูดหรือบอกเขาเลย ปล่อยให้ทุกข์ของเขาสอนเขาแทน ก็หยุดพูดแต่ในหัวยังมีอาการไม่แช่มชื่น มีความน้อยใจ เหมือนว่าตนเองมีประโยชน์น้อย ไม่มีโอกาสได้ช่วยเหลือใครได้เลย
ทุกข์ ไม่แช่มชื่น น้อยใจ
สมุทัย อยากช่วยเหลือผู้อื่นได้ ถ้าช่วยเหลือผู้อื่นได้จะสุขใจชอบใจ
นิโรธ จะได้ช่วยเหลือผู้อื่นได้หรือไม่ได้ก็ไม่ทุกข์ใจ ทำดีที่ทำได้ด้วยใจที่ไม่ทุกข์ ถ้าดีนั้นไม่เกิดก็พร้อมวางดี
มรรค พิจารณาโทษของความอยากที่จะได้เสพอย่างใจหมาย แม้ว่าความอยากให้เกิดดีก็ตาม ถ้าเราติดดีอยู่ เมื่อดีไม่เกิดดั่งใจหมายก็ทำให้เราทุกข์ได้ เราถือว่ายังเบียดเบียนตัวเองอยู่ ยังผิดศีลอยู่แสดงว่ากิเลสยังหลอกเราได้อยู่ เมื่ออยากได้มาก ๆ ก็ทำให้เราทำชั่วได้ทุกเรื่อง เมื่อตัวเองทำไม่ได้ก็คิดชั่วขโมยจากผู้อื่น ก็จะเกี่ยวเนื่องกันไปไม่มีวันสิ้นสุด แต่ถ้าเราเข้าใจความจริงตามความเป็นจริงว่า มันไม่ใช่กุศลของเราและคนที่เกี่ยวข้อง พิจารณาเข้าไปก็พบว่าเราอยากเสพดี แต่ดีนี้มันปิดกั้นเกินฝืดฝืนเกินแล้วเส้นทางไม่โปร่งไม่โล่ง ให้เราได้บำเพ็ญแล้วเราก็ควรที่จะวางดีนั้นเสีย ถ้าดีมันเกิดไม่ได้ แสดงว่าดีนั้นไม่ใช่ของเรา เราไม่ควรทำตัวเป็นขโมย ยอมรับความจริงตามความเป็นจริง เราควรยินดีที่ได้ชดใช้วิบากกรรม เราเองก็เคยปิดกั้นไม่ให้คนอื่นได้ทำความดี ด้วยความโง่ความไม่รู้ของเรา ตอนนี้เราก็ชดใช้วิบากนั้น เราควรยินดีชดใช้ให้มันหมดไป ทำดีอื่นที่เราทำได้ คือไม่เบียดเบียนตัวเองด้วยความอยากในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ สิ่งที่ไม่ใช่ของ ๆ เรา ทำให้เราทุกข์ใจ ผิดศีลข้อ 1 เมื่อเรายังช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ เราก็จะไม่มีพลังเนกขัมมะ เพื่อช่วยเหลือผู้อื่นได้เลย เราจึงควรเริ่มต้นที่เรานับ 1 ที่เรา ทำความดีที่เรานี่คือเส้นทางเพื่อการพึ่งตนและช่วยคนให้พ้นทุกข์ (จากบททบทวนธรรม ข้อที่ 3)ไม่มีใครทำให้เราทุกข์ใจได้ นอกจากใจของเราเองทั้งนั้น ใจก็คลายความยึดมั่นถือมั่นลง ไม่สุขไม่ทุกข์เห็นความจริงตามความเป็นจริง
เรื่อง เกลียดคนไม่ตรงเวลา
เนื้อเรื่อง เราได้รับมอบหมายให้สอนนักเรียนวิชชาราม วิชาวิทยาศาสตร์แบบบูรณาการ ร่วมกับเพื่อนอีกท่านหนึ่ง เราเป็นคนตรงต่อเวลา พอถึงเวลาเราได้เข้าสอน สอนไปจนกระทั่งถึงเวลาปล่อยนักเรียนให้เป็นอิสระแล้วเพื่อนอีกท่านจึงมา พร้อมกับพูดว่า พึ่งกินข้าวเสร็จ ขอโทษนะ ที่มาช้า สอนอะไรไปบ้างหละ เด็กนักเรียนได้ตอบไปว่าคุรุสอนเสร็จแล้วกำลังจะปล่อยพวกหนูพอดีค่ะ เราไม่พูดอะไร ได้ปล่อยนักเรียน แล้วเราก็แยกตัวไปไม่ได้สนใจเพื่อนท่านนั้น แล้วก็ไปนอนในเต็นท์ทบทวนเหตุการณ์ว่าเหตุการณ์วันนี้ใครถูกใครผิด กิเลสก็บอกว่าเพื่อนผิด เพื่อนเป็นคุรุเพื่อนต้องตรงเวลาสิจึงจะสอนให้เด็กตรงต่อเวลาได้ พุทธะจึงบอกกิเลสไปว่า เรานี่แหละผิดอยู่ดี ๆ ก็ขุ่นใจแล้วใครทุกข์ หละ เธอรู้ไหมว่าเธอเคยทำมา วิบากร้ายของเธอจึงไปยื้อไปดึงเอาเขามาแสดงพฤติกรรมเช่นนี้ให้เธอเห็น เธอควรขอบคุณเพื่อนมากกว่าที่เพื่อนมาแสดงตัวตนของเธอให้เธอเห็น เธอจะได้ไม่ถีอสาหาความเพื่อน เพื่อนทำก็เป็นวิบากใหม่ของเพื่อน แล้วเธอจะยังทุกข์ใจอยู่หรือ พอกิเลสได้ฟังเช่นนั้นก็เข้าใจและสลายไปพร้อมกับเทพลังทั้งหมดให้เรา เรารู้สึกเบิกบานแจ่มใส มีเรี่ยวมีแรงขึ้นมาทันที มันกระชุ่มกระชวยขึ้น จึงออกจากเต็นท์ไปอาบน้ำเพื่อบำเพ็ญกุศลต่อไป
ทุกข์ ขุ่นเคืองใจที่ผู้ร่วมรับผิดชอบไม่มาทำหน้าที่
สมุทัย ถ้าเพื่อนมาปฏิบัติหน้าที่ตรงเวลาเราจะสุขใจแต่พอไม่เห็นเพื่อนมาเรากลับทุกข์ใจ
นิโรธ เพื่อนจะมาปฏิบัติหน้าที่หรือไม่มา เราก็สุขใจ
มรรค เราเชื่อชัดเรื่องกรรมอย่างแจ่มแจ้งว่า สิ่งที่เราได้รับคือสิ่งที่เราทำมา ไม่มีสิ่งใดที่เราได้รับโดยที่เราไม่เคยทำมา จิตก็เบาสบาย ไม่โทษใครใจไร้ทุกข์ ทำดีเรื่อยไป ใจเย็นข้ามชาติ
เรื่อง เก็บเต็นท์ล้างกิเลส
เหตุการณ์ ครั้งสุดท้ายที่ขึ้นไปที่ภูผาฟ้าน้ำ ไม่ได้เก็บเต็นท์และเก็บของใช้กลับมาด้วย น้องจิตอาสาแจ้งมาว่า จะขอเก็บเต็นท์เพื่อใช้พื้นที่ให้ท่านอื่นได้ทำประโยชน์ที่ดีกว่า ก็มีความกังวลใจเล็กๆ ทำให้น้องต้องเป็นภาระ ช่วยเก็บเต้นท์และของให้ ซึ่งของมีจำนวนมาก จึงรู้สึกเกรงใจ
ทุกข์ รู้สึกกังวลใจ เกรงใจน้องที่ต้องเป็นภาระเก็บเต้นท์ให้
สมุทัย อยาก ชอบที่ได้เก็บเต็นท์เรียบร้อย ไม่เป็นภาระกับน้อง ชังที่ไม่ได้เก็บเต็นท์ เป็นภาระกับน้อง
นิโรธ จะได้เก็บเต็นท์หรือไม่ได้เก็บเต็นท์ จะไปเป็นภาระหรือไม่เป็นภาระ ก็ไม่ไปทายใจ ไม่ชอบไม่ชัง ใจไร้ทุกข์
มรรค ตั้งศีลมาพิจารณาไตรลักษณ์ ความวิปลาส ความยึดมั่นถือมั่นที่ทำให้ใจเป็นทุกข์ เมื่อใจเป็นทุกข์จึงไม่มีปัญญา ปัญญาดับฉับพลัน ใจเต้นเร็ว เเรงขึ้น มีอาการทางกายร่วมด้วยคือ ปวดมึนศรีษะ ปวดต้นคอ หัวตื้อ ก็รู้ว่าคิดผิดทางแล้ว กิเลสมารเข้ามาให้มีความกังวลใจ หมองๆขึ้นมาแล้ว มาดูลีลามารกันค่ะ
มาร :เห็นไหม ทำไมไม่เก็บ ไม่เอาของกลับให้เรียบร้อย ไปกางเต็นท์ทิ้งไว้ กันพื้นที่คนอื่น แทนที่คนอื่นจะได้ใช้ประโยชน์ ไม่ดีเลยไม่มีความเกรงใจอาจารย์ และพี่น้องเลย น่าอายมากๆเลย
เรา : ใช่ๆ ขอโทษ ที่ไม่ได้เก็บให้เรียบร้อย ซึ่งถ้าได้เก็บเต็นท์เรียบร้อยมันดี คิดแบบนี้เหมือนจริงแต่ไม่จริง แต่ก็ดีแล้วที่ไม่ได้เก็บ เพราะถ้าได้เก็บเต็นท์เรียบร้อยก็ไม่เห็นเธอไง กิเลสมาร ฉันเห็นเธอแล้ว มาทำให้ทุกข์ใจอยู่เรื่อยเลย ดีแล้วจะได้ล้างความเกรงใจที่มีจำนวนมาก ทั้งๆที่น้องที่จะช่วยเก็บเต้นท์ ก็เต็มใจช่วยเต็มที่ ไม่ได้เป็นภาระเลย แต่เธอมาคิดปรุงเองให้มีความกังวล มาคิดเกรงใจให้ใจเป็นทุกข์ แถมยังไปทายใจน้องอีก ทำให้เกิดวิบากร้ายแล้วยังเหนี่ยวนำให้คนอื่นเป็นตาม และวิบากนั้นต้องรับอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่เอาแล้ว ฉันไม่เชื่อเธอแล้ว
มาร : อ้าว ! ไม่เชื่อแล้วหรือ ไปดีกว่า
หลังพิจารณาแล้ว มาคิดใหม่แบบพุทธะ ทำให้ปัญญากลับมา มีแต่ใจของเราเท่านั้นที่คิดเอง ฟุ้งไปเอง กังวลไปเอง ทำทุกข์ทับถมตนเอง หลังจากวางใจได้แล้วอาการกังวลใจ เกรงใจก็หายไป ใจกลับสดชื่น เบิกบาน แถมอาการทุกข์กายก็หายไปด้วย
สรุป อาการเกรงใจ กังวลใจที่มีจำนวนมาก ถ้าเป็นก่อนหน้านี้ก็คงจะวุ่นวาย ต้องโทรคุยกับน้องทันทีเพื่อจะรู้ข้อมูล หรือแจ้งข้อมูลให้ทราบ โดยไม่ได้พิจารณาว่าน้องท่านว่าง หรือสะดวกคุยหรือไม่ จะเอาให้ได้อย่างเดียว แต่หลังจากมาปฎิบัติธรรมแล้ว ได้พากเพียรลดกิเลสมาได้เป็นลำดับๆอาการกังวลใจมาแค่แว็บเดียว และได้ล้างในทันทีขอบคุณเต็นท์ที่ไม่ได้เก็บ และน้องที่เป็นสื่อให้ได้ล้างผัสสะตัวนี้ ..สาธุ
เรื่องโกรธพ่อ
เหตุการณ์พ่อใช้ให้จับแมวเพื่อไม่ให้ไปกัดกระแตแต่น้องบุญไม่จับแล้วพ่อก็ดุ
ทุกข์โกรธพ่อ
สมุทัยชอบถ้าพ่อไม่ด่า
นิโรธพ่อด่าก็ไม่โกรธใจเป็นสุข
มรรคใจคิดว่าถ้าโกรธผิดศีลไม่โกรธดีกว่า ใจก็เบิกบาน
เรื่อง : พลาดไปกินเนื้อสัตว์
เรื่องมีอยู่ว่า : ตอนนั้นหนูเดินไปในครัวด้วยความหิวแล้วหนูเห็นลูกชิ้น ปูอัด หนูเห็นแล้วหนูก็อยากกินแต่อีกใจหนึ่งก็กลัวกินแล้วจะปวดท้องไม่สบายตัวแต่ด้วยความที่หนูหิวมันทำให้หนูสู้กิเลสไม่ไหว หนูเลยไปกินแต่พอกินชิ้นที่ 5-6 ชิ้น แล้วรู้สึกปวดท้องไม่สบายตัวหนูเลยเลิกกิน
ทุกข์ : อยากกินเนื้อสัตว์แต่ก็กลัวปวดท้อง
สมุทัย : ยังชอบอยากกินเนื้อสัตว์แต่ก็ชังถ้ากินแล้วปวดท้อง
นิโรธ : การหยุดกินทำให้หายทุกข์และใจเบิกบาน
มรรค : พิจารณาแล้วผลที่ได้จากการไม่กินเนื้อสัตว์จะทำให้เราไม่เจ็บป่วย ปวดท้องและยังไม่เบียดเบียนสัตว์อีกด้วยใจเบิกบาน
เรื่อง. ไม่ยึด ไม่อยาก ไม่ทุกข์
เหตุการณ์. เมื่อไปปฏิบัติธรรมที่ภูผาฟ้าน้ำ ทำให้การเรียนใน ซูม มีปัญหากับตัวเอง เพราะเน็ตที่ไม่ค่อยมี สถานที่ไม่เหมาะที่จะเรียน พอถึงเวลาเรียนวิชาภาษาอังกฤษ ที่ต้องนำเสนองานกลุ่ม สมาชิกบางคนเขาอยากนำเสนอ แต่เราไม่มีข้อมูลอะไรเลย เพราะก่อนหน้าที่จะไปก็ตกลงกันว่า ให้กลับบ้านมาก่อนแล้วค่อยนำเสนอ แต่พอเขาเห็นหน้าเราในซูมเขาก็จะนำเสนอขึ้นมา ทำให้เรารู้สึกเป็นกังวล
ทุกข์. กังวลใจที่จะนำเสนอภาษาอังกฤษที่เรายังไม่พร้อม
สมุทัย. ชอบถ้าให้นำเสนอภาษาอังกฤษตอนที่เราพร้อมชังถ้าให้นำเสนอภาษาอังกฤษตอนที่ยังไม่พร้อม
นิโรธ. จะได้นำเสนอภาษาอังกฤษหรือไม่ได้นำเสนอ หรือจะให้นำเสนอตอนที่เราพร้อมหรือไม่พร้อมก็ยินดีไม่ชอบไม่ชัง ไร้กังวล
มรรค. มาพิจารณาเห็นว่า เมื่อให้หมู่กลุ่มจะนำเสนอภาษาอังกฤษทำให้สมองหนักอึ้ง ใจเต้นแรงขึ้น กระวนกระวาย ว้าวุ่นไปหมด ร้อนไปทั้งตัว จึงเริ่มกลับมามองตัวเองว่าเราเริ่มเดินผิดทาง ความโง่เข้ามาครอบงำแล้ว ก็เลยคิดทบทวนถึง คำพูดของอาจารย์ว่า “อะไรทำได้ก็ทำ อะไรที่ทำไม่ได้ก็พร้อมวาง พร้อมรับ พร้อมปรับพร้อมเปลี่ยนหรือหาทางแก้ไขไป”
กลับมาพิจารณาตัวเองใหม่ อุตส่าห์เดินทางไกลมาเพื่อรับธรรมะจากอาจารย์ จะได้ลดกิเลสลง แต่นี่กลับเพิ่มกิเลสให้ตัวเอง ผิดทาง ผิดทางจริงๆ ไม่อยาก ไม่ทุกข์ สิ้นอยาก
สิ้นทุกข์
สรปว่า. เมื่อคิดได้วางได้ ก็รู้สึกโล่งใจเบิกบาน
ไม่ทุกข์ไม่กังวล จนลืมวิชานี้ไปเลย ทำงานอื่นๆในปัจจุบันได้อย่างมีความสุข
เรื่อง
จะเอาดีจากคนอื่น
เนื้อเรื่อง
ช่วงนี้มีเด็ก วิชาราม มาอยู่ด้วย หนึ่งคนใจก็ มีความลังเลสงสัยว่าจะทำยังไงดีกลัวว่ากิเลสของตัวเราเองจะไปทำร้ายเด็กไปบีบคอเด็ก
ทุกข์
มึนงง ลังเลสงสัยจะอยู่กับเด็กอย่างไร
สมุทัย
ชอบที่จะไม่ลังเลสงสัยกับเด็ก วิชาราม
ชัง ที่มีอาการลังเลสงสัยกับเด็กวิชาราม
นิโรธ
ไม่ลังเลสงสัยกับเด็กวิชาราม ด้วยใจไร้ทุกข์ไร้กังวล
มรรค
กิเลสหาเรื่องได้แม้กระทั่งผั
สสะเล็กๆน้อย
มาร
เด็กวิชารามคนนี้จะคุยกับเรารู้เรื่องไหมนะ ลังเลสงสัยกับเด็กวิชารามทั้งๆที่เด็กยังไม่มีปัญหาอะไรเลยแต่กิเลสก็มาสั่งการล่วงหน้า
เรา
นี่เราไม่อยู่กับปัจจุบันเราอยู่กับอนาคตตลอดเลยเราเห็นหน้าเธอแล้วเอ็งไอ้กิเลสหน้าโง่
สรุป
ความลังเลสงสัยกับเด็กวิชาราม ลดลง เพราะว่าเราซ้อมรบกับกิเลสตลอดเวลาก็เลยเห็นหน้าฉีกหน้ากิเลสได้ทัน
การบ้านอริยสัจ 4
วิภาภรณ์ กอจรัญจิตต์ (เอ ใจพอแล้ว)
เรื่อง ของเสียหาย
เหตุการณ์ คือ จากเรื่องที่ว่าสินค้าที่สั่งซื้อจากประเทศจีนที่เคยคิดว่าสูญหายไปแล้ว มีการหาเจอและส่งมาถึงเมืองไทย วันที่เข้าไปรับสินค้า พบว่ากล่องสินค้าเสียหาย กล่องแตก และขาดเป็นทางยาว
ทุกข์ – ตกใจว่าสินค้าจะเป็นอย่างไร จะเสียหายไหม จะสูญหายไปบางส่วนไหม มีความกังวลเล็กน้อย
สมุทัย – ถ้าสินค้าไม่เสียหาย ไม่สูญหายจะชอบใจ ถ้าสินค้าเสียหาย สูญหายไปบางส่วนจะทุกข์ใจ
นิโรธ – สินค้าจะมาในสภาพไหน จะเสียหาย จะสูญหาย ก็ไม่ชอบ ไม่ชัง ไม่ทุกข์ใจ
มรรค – ก็ทุกสิ่งทุกอย่างไม่มีอะไรเที่ยง เราจะไปยึดว่าทุกครั้งที่ทำงาน จะต้องได้สภาพที่ดีตลอด ดีเสมอ ดีเยี่ยม ก็เป็นไปไม่ได้เช่นกัน อีกอย่างทุกปัญหาคือชีวิตชีวาให้เราได้ตรวจใจ ว่าเรายึด เราอยาก แล้วเราทุกข์ไหม เหตุการณ์นี้จึงเกิดขึ้นมาให้เราพิจารณาว่าวิบากนี้มาให้เราชดใช้หนี้ ชดใช้กรรม มาให้เราเรียนรู้ความไม่เที่ยงของทุกสิ่ง ฝึกให้อยู่กับความเป็นจริง ของเสียหาย ใจไม่เสียหาย นั่นแหละคือ ที่สำคัญ
สรุป – หลังจากวางใจ คลายทุกข์ลง ก็เปิดกล่องออกมาดู ตรวจสอบความเสียหายและการสูญหาย ปรากฎว่าแม้สภาพกล่องจะยับเยินและฉีกขาดอย่างมาก แต่สินค้าไม่เสียหายเลยและไม่มีอะไรสูญหายเลยเช่นกัน
เรื่อง เปิดไมค์ไม่ได้
เหตุการณ์ เข้าซูมกับลุงหมอเขียวจะเปิดไมค์พูดก็เปิดไม่ได้
ทุกข์ ใจไม่เบิกบาน
สมุทัย ชอบที่เปิดไมค์ได้ ชังที่เปิดไมค์ไม่ได้
นิโรธ ใจเบิกบานแม้จะเปิดไมค์ไม่ได้
มรรค ยึดแล้วมันทุกข์ตามที่ลุงหมอเขียวสอนไม่ยึดดีกว่าใจก็เป็นสุข
เรื่อง : หัดขายของออนไลน์
ช่วงนี้ โควิด ตลาดนัดที่เราขายของปิดบ่อย
มีญาติท่านหนึ่ง ปราถณาดีต่อเรา แนะนำเรานานแล้วว่าลองหัดขาย ออนไลน์ ดูบ้าง พูดย้ำซ้ำทวนอยู่บ่อยๆ ใจเรานะไม่ค่อยชอบขายออนไลน์ แต่เมื่อ 2-3 วันนี้ เราก็เลยลองหัดขาย ออนไลน์ ดูโดยโพสผ่านกลุ่ม สาธรณะ และ แท๊กเพื่อน หัดโพสขายครั้งแรกเมื่อวันที่
1 ก.ค. 64 พอวันที่ 2 ก.ค. 64 ก็มีพี่น้องในเฟรสท่านหนึ่ง สักเวลาประมาณ 10.10 ได้ แจ้งเตือนมาว่า มีไหมควย
เราตกใจอยู่พักหนึ่ง สักพักก็เลยตอบเขาไป
แบบสุภาพ เขาก็รีบลบคำว่า มีไหมควย ออก
ทุกข์ : ญาติพูดซ้ำๆให้หัดขายออนไลน์
สมุทัย : ชอบที่จะไม่ให้ใครมาเขียนคำไม่สุภาพในเฟรส ชังเขามาก
นิโรธ : เขาจะแสดงความคิดเห็นที่สุภาพ ไม่สุภาพ ก็ไม่เป็นไร ยินดีในความไม่ชอบไม่ชัง
มรรค : กิเลส : โกรธนะมาใช้คำแบบนี้
เรา : โกรธแล้วแกได้อะไรบ้าง โกรธแล้วเสียพลังเปล่าๆ เราเป็นลูกพุทธะ อาจารย์หมอเขียวท่านพูดรายการ ธรรมะพาพ้นทุกข์ อยู่ทุกวีทุกวัน บททบทวนธรรม ๘
สิ่งที่เราได้รับ คือสิ่งที่เราทำมา
ไม่มีสิ่งใดที่เราได้รับ โดยที่เราไม่เคยทำมา
บททบทวนธรรม ๑๒ วิบากกรรมมีจริง
ทำอะไร ได้ผลอะไร ก็เกิดจากการกระทำ
ของเราทั้งหมด เจอเรื่องดีเพราะทำดีมา
เจอเรื่องไม่ดีเพราะทำไม่ดีมา
ทั้งในปัจจุบันและอดีต
สังเคราะห์กันอย่างละ ๑ ส่วน
การที่ตลาดนัดปิด ก็เป็นวิบากของเรา เราทำมา และ การที่มีพี่น้องมาด่าเราในเฟรส ก็เราทำมาเหมือนกัน เราก็โชคดีที่ได้ใช้วิบาก เมื่อคิดได้ ใจเราก็คลาย ไม่รู้สึกโกรธเกลียด พี่น้องที่ท่านมาด่าเราในเฟรส
2/07/2564
ชื่อ น้องถนอม วิไลสัก อายุ 9 ขวบ
(ส ป ป ลาว)
นักเรียนวิชชารามภาคสมทบ
เรื่อง : ถูกแม่ด่า
เหตุการณ์ : ก่อนนอนแม่ด่าว่าหนูชอบเล่นมือถือ และไม่อยากเข้าหมู่
ทุกข์ : ไม่พอใจนิดๆ ที่แม่ด่า
สมุทัย : ไม่ชอบที่ถูกแม่ด่า
นิโรธ : ถึงแม่จะด่าก็ไม่โกรธแม่
มรรค : นึกได้ว่าตนเองชอบเล่นมือถือใช้ไฟแรง และติดมือถือจนไม่มีเวลาเข้าหมู่จริงๆ จึงไม่โกรธแม่
3/7/2564
ชื่อ น้องถนอม วิไลสัก
นักเรียนวิชชารามภาคสมทบ
เรื่อง : วิบากซัด
เหตุการณ์ : ตอนเห็นเมนูเนื้อสัตว์ก็ไม่คิดจะกิน พอเห็นน้องปุ้ยกินผักกับน้ำแกง(เจเขี่ย)ก็อยากกินด้วย เมื่อได้กินแล้ว ก็ป่วยฉับพลัน
ทุกข์ : เวียนหัว ลายตา เหนื่อย เพลีย กลัวจะไม่หายป่วย
สมุทัย : ชังที่ไปกินเจเขี่ยแล้วป่วย
นิโรธ : ถึงจะป่วยก็ยินดีใช้วิบากด้วยใจไร้กังวล
มรรค : ใจคิดว่าป่วยก็ให้มันป่วย หายเร็วก็ได้ หายช้าก็ได้ ใจก็สบายขึ้น แล้วก็มาดื่มน้ำสมุนไพร อาการป่วยก็ลดลงๆ และหายไป ขอตั้งศีล เลิกกินเนื้อสัตว์ และเลิกกินเจเขี่ย ด้วยใจเบิกบาน สาธุค่ะ
2/7/2564
ชื่อ น้องสีอำไพ วิไลสัก (ปุ้ย)
อายุ 7 ขวบ (ส ป ป ลาว)
นักเรียนวิชชารามภาคสมทบค่ะ
เรื่อง : กินเจเขี่ย
เหตุการณ์ : น้องปุ้ยไปงานเลี้ยง ที่โรงเรียนแม่ เห็นเมนูเนื้อสัตว์แล้วอยากกิน
ทุกข์ : ใจไม่เบิกบาน เพราะอยากกินเนื้อสัตว์
สมุทัย : ชอบถ้าได้กินเนื้อสัตว์ ชังที่ไม่ได้กินเนื้อสัตว์
นิโรธ : ไม่ได้กินเนื้อสัตว์ ก็ไม่ชอบ ไม่ชัง ใจเบิกบาน
มรรค : พอน้องปุ้ยนึกได้ว่า ได้ตั้งศีลไว้แล้ว ถ้าจะกินก็ต้องผิดศีล หากเนื้อหมูนั้นเป็นเนื้อพระโพธิสัตว์ เราต้องรับวิบากหนักเป็นแน่ น้องปุ้ยจึงตัดสินใจ เขี่ยเนื้อหมูออกแล้วกินแต่ผักกับน้ำแกง ด้วยใจเบิกบานเหมือนดอกไม้ 100 ดอก
3/7/2564
ชื่อ น้องสีอำไพ วิไลสัก(ปุ้ย)
นักเรียนวิชชารามภาคสมทบ
เรื่อง : ได้ใช้วิบาก
เหตุการณ์ : ในระหว่างที่เล่นกับหลาน วิบากร้ายเข้า หลานเอาของเล่นมาทุบหัวน้องน้องปุ้ย จนร้องไห้
ทุกข์ : ปวดหัว และโกรธหลาน
สมุทัย : ไม่ชอบที่หลานเอาของเล่นมาทุบ
หัว
นิโรธ : หลานเอาของเล่นทุบหัวก็ไม่โกรธหลาน ใจไร้ทุกข์
มรรค : นึกได้ว่า ตอนน้องปุ้ยยังเล็ก ก็ชอบกัด และตีคนอื่น ก็เลยหายโกรธหลาน ใจเบิกบานเหมือนดอกไม้ 1,000 ดอก
เรื่อง ด่วน!
เหตุการณ์ : วันเสาร์นี้ในขณะเรียนวิชาภาษาอังกฤษโดยปิดเสืยงปิดกล้อง เรียนไปได้ครึ่งชั่วโมงเพื่อน อสม.โทรศัพท์มาหาว่ามีงานด่วนต้องไปช่วยกันจัดสถานที่เพื่อรอรับผู้ที่กักตัวกลุ่มเสี่ยงโรคโควิด 19 ตัวเองคิดว่าขอเรียนให้จบก่อนค่อยตามไป
ทุกข์ : กังวลใจ ที่ไม่ได้ไปทำหน้าที่พร้อมกับ
เพื่อน
สมุทัย : ยึดว่าต้องทำหน้าที่พร้อมเพื่อนงานได้เสร็จเร็ว ชอบถ้าได้ทำหน้าที่พร้อมเพื่อน ชังที่ไม่ได้ไปทำพร้อมเพื่อน
นิโรธ : จะได้ไปทำหน้าที่พร้อมเพื่อน หรือไม่ ก็ได้ ไม่ชอบ ไม่ชัง
มรรค : วางความยึด พร้อมวางใจ เพราะเพื่อน อสม.ไปกันหลายคนแล้ว แต่กิเลสบอกว่าเดี๋ยวเพื่อนว่าเราได้นะที่ไม่ไปพร้อมกัน เลยสวนกิเลสว่า เพื่อนยังไม่ได้พูดสักคำแล้วเธอกังวลไปก่อนทำไม ไม่ใช่ว่าเราไม่ไป แต่เรายังมีเรียนอยู่ขอเรียนให้จบก่อน พอเรียนจบก็เตรียมตัวไปทำหน้าที่ทันทีซึ่งตรงกับบททบทวนธรรมข้อที่ 127 ว่า”แก้ปัญหาทุกข์ของชีวิตเราได้ ก็จะสามารถช่วยแก้ทุกข์ของผู้อื่นได้ ผู้ที่พ้นทุกข์เท่านั้น จึงจะช่วยผู้อื่นให้พ้นทุกข์ได้ ทำความผาสุกที่ตน ช่วยคนที่ศรัทธา” เมื่อได้พิจารณาแล้วก็คลายความกังวลใจได้ พร้อมไปทำหน้าที่ร่วมกับเพื่อนได้ด้วยความเบิกบาน
เรื่อง:ไม่รู้จะทำอย่างไรดีกับปัญหาลูกหนี้รายใหญ่
ทุกข์:ลูกหนี้รายใหญ่หลายรายไม่ชำระหนี้
สมุทัย:อยากได้รับการชำระหนี้
นิโรธ:อย่าอยากได้การชำระหนี้
มรรค:คงต้องขอคำแนะนำจากอาจารย์และหมู่มิตร
เรื่อง เหลี่ยมมุมของกล้วย
เหตุการณ์ จากการลดละเลิกการติดกล้วยสุกได้บ้างแล้ว แต่พอได้เห็นได้กลิ่นกล้วย-
ปิ้งเกิดอยากกินจนน้ำลายสอ จนต้องกลับมาพิจารณาใหม่ ก็เห็นว่าเราติด
เหลี่ยมมุมไหนเรื่องอยากกินกล้วยอีก
ทุกข์ อยากกินกล้วยปิ้ง
สมุทัย ถ้าไม่ได้กินจะทุกข์ใจ
ถ้าได้กินจะสุขใจ
นิโรธ ไม่ได้กินหรือได้กินก็สุขใจได้
มรรค พิจารณาเห็นความอยากในกล้วยปิ้ง จึงตั้งศีลในวันที่มีกล้วยปิ้ง ก็เห็นว่า
กิเลสดิ้นให้เห็นว่าอยากกิน จึงพิจารณาถึงไตรลักษณ์ และวิปลาศ4 เห็น
ถึงความทุกข์ว่ามันทุกข์ตอนอยากกิน มันทุกข์ๆๆๆ แล้วมันก็ไม่เที่ยง จน
เห็นอาการคลายความอยากลงได้มาก พอผ่านไปหลายวัน ขณะฟังราย-
การธรรมะพ้นทุกข์ ในตอนเช้าเรื่องมาคันทิยสูตร ผู้บริโภคกามเหมือนคน
เป็นโรคเรื้อน นึกถึงกล้วยปิ้งอีก ก็ยังเห็นว่ายังมีความอยากกินอยู่บ้างแม้
ไม่มากจึงได้พิจารณาซ้ำๆๆ จนรู้สึกว่าลดลงอีก แต่ก็บอกกับตัวเองว่าต้อง
รอดูตอนที่มีกล้วยปิ้งอยู่ต่อหน้าถึงจะรู้
เรื่อง : สุนัข สุนัข
ลูกสาวเป็นคนรักสัตว์ ชอบเลี้ยงสัตว์ ชอบนำสัตว์และสุนัขมาเลี้ยงแล้วเลี้ยงครั้งละ3-4 ตัวและการเลี้ยงสุนัขของลูกสาวเลี้ยงแบบสุนัขเป็นคนค่าใช้จ่ายในการดูแลและค่าอาหารมากมาย
ทุกข์ : ชังที่ลูกเลี้ยงสุนัข เสียเวลา เสียค่าใช้จ่าย
สมุทัย : ไม่ชอบที่ลูกสาวใช้เวลาและเสียทรัพย์ ไปกับการเลี้ยงสุนัข ชอบที่ลูกสาวเอาเวลาไปทำโยชน์มากกว่า
นิโรธ : ไม่ว่าลูกสาวจะเลี้ยงสุนัขหรือไม่เลี้ยงสุนัข จะเอาเวลาไปทำประโยชน์หรือไม่ทำประโยชน์ก็ไม่ทุกข์ใจ
มรรค : สิ่งที่เราต้องเผชิญหรือรับอยู่คือสิ่งที่เราเคยทำมา ส่งเสริมสนับสนุนมา เค้าคือกระจกเงาของเราแล้วทำไมเราจึงรังเกียจกระจกเงาของตัวเราเล่า ทันก็นำเสนอ ถ้าไม่ทันก็ไว้โอกาสต่อไปค่ะ
(แก้ไข)
เรื่อง เกลียดคนไม่ตรงเวลา
เนื้อเรื่อง เราได้รับมอบหมายให้สอนนักเรียนวิชชาราม วิชาวิทยาศาสตร์แบบบูรณาการ ร่วมกับเพื่อนอีกท่านหนึ่ง เราเป็นคนตรงต่อเวลา พอถึงเวลาเราได้เข้าสอน สอนไปจนกระทั่งถึงเวลาปล่อยนักเรียนให้เป็นอิสระแล้วเพื่อนอีกท่านจึงมา พร้อมกับพูดว่า พึ่งกินข้าวเสร็จ ขอโทษนะ ที่มาช้า สอนอะไรไปบ้างหละ เด็กนักเรียนได้ตอบไปว่าคุรุสอนเสร็จแล้วกำลังจะปล่อยพวกหนูพอดีค่ะ เราไม่พูดอะไร พอปล่อยนักเรียนแล้วเราก็แยกตัวไปไม่ได้สนใจเพื่อนท่านนั้น แล้วก็ไปนอนในเต็นท์ทบทวนเหตุการณ์ว่าเหตุการณ์วันนี้ใครถูกใครผิด กิเลสก็บอกว่าเพื่อนผิด เพื่อนเป็นคุรุเพื่อนต้องตรงเวลาสิจึงจะสอนให้เด็กตรงต่อเวลาได้ พุทธะจึงบอกกิเลสไปว่า เรานี่แหละผิดอยู่ดี ๆ ก็ขุ่นใจแล้วใครทุกข์ หละ เธอรู้ไหมว่าเธอเคยทำมา วิบากร้ายของเธอจึงไปยื้มไปดึงเอาเขามาแสดงพฤติกรรมเช่นนี้ให้เธอเห็น เธอควรขอบคุณเพื่อนมากกว่าที่เพื่อนมาแสดงตัวตนของเธอให้เธอเห็น เธอจะได้ไม่ถีอสาหาความเพื่อน เพื่อนทำก็เป็นวิบากใหม่ของเพื่อน แล้วเธอจะยังทุกข์ใจอยู่หรือ อีกอย่างการเพ่งโทษเพื่อนที่เป็นนักปฏิบัติธรรมด้วยกันจะได้รับวิบาก 11 ประการ พอกิเลสได้ฟังเช่นนั้นก็เข้าใจและสลายไปพร้อมกับเทพลังทั้งหมดให้เรา เรารู้สึกเบิกบานแจ่มใส มีเรี่ยวมีแรงขึ้นมาทันที มันกระชุ่มกระชวยขึ้น จึงออกจากเต็นท์ไปอาบน้ำเพื่อบำเพ็ญกุศลต่อไป
ทุกข์ ขุ่นเคืองใจที่ผู้ร่วมรับผิดชอบไม่มาทำหน้าที่
สมุทัย ถ้าเพื่อนมาปฏิบัติหน้าที่ตรงเวลาเราจะสุขใจแต่พอไม่เห็นเพื่อนมาเรากลับทุกข์ใจ
นิโรธ เพื่อนจะมาปฏิบัติหน้าที่หรือไม่มา เราก็สุขใจ
มรรค เราเชื่อชัดเรื่องกรรมทั้งกรรมเก่าที่เคยทำมาและกรรมใหม่ที่ทำในปัจจุบัน อย่างแจ่มแจ้งว่า สิ่งที่เราได้รับคือสิ่งที่เราทำมา ไม่มีสิ่งใดที่เราได้รับโดยที่เราไม่เคยทำมา จิตก็เบาสบาย ไม่โทษใครใจไร้ทุกข์ ทำดีเรื่อยไป ใจเย็นข้ามชาติ
4 กรกฎาคม 2564
ชื่อ นางสาวิตรี มโนวรณ์
ผู้บำเพ็ญคบคุ้นสวนป่านาบุญ 2
เรื่อง ขาดสารอาหาร
ได้ไปกินอาหารช่วงเวลาดึกติดต่อกันหลายวัน เพราะหิวและใจสั่น วันนี้ก็เช่นกัน พอเริ่มจะนอน มารก็ปรากฎตัว เพราะวิตกกังวลว่า เอ๊ะ เราหิวเวลานี้มาหลายคืนแล้ว เราขาดสารอาหารรึเปล่านะ
ทุกข์ กลัว กังวลว่าร่างกายขาดสารอาหาร
สมุทัย ชอบ ถ้าร่างกายไม่ขาดสารอาหาร ชัง ถ้าร่างกายขาดสารอาหาร
นิโรธ ร่างกายขาดสารอาหาร หรือไม่ขาดสารอาหาร ก็ไม่ชอบ ไม่ชัง
มรรค การพิจารณา…..
มาร : เราหิวเวลานี้มาหลายคืนแล้ว ใจก็สั่น หรือว่า…เราขาดสารอาหาร
เรา : มารเธอไม่ได้ขาดสารอาหาร แต่เธอขาดสารแห่งพุทธะ ที่เธอกินแต่ละวัน มันมากเกินไปจนร่างกายต้องเสียพลังในการขับออก กินจนปวย คราวนี้เราไม่หลงกลเธอแล้วมาร
มาร : พิจารณาตามและเห็นว่าอาหารที่ได้กินเข้าไปแต่ละวันมากเกินพอจริงๆ จึงยอมเข้านอนโดยไม่มีอาการกระสับกระส่าย เหมือนวันก่อนๆ (บททบทวนธรรมข้อที่152 เสพกิเลสมีโทษ คือ ทุกข์หนัก ทุกข์หนักมาก ทุกข์หนักที่สุด จะเสพไปทำไมให้ทุกข์)
ตื่นมาตอนเช้า ร่างกายกลับรู้สึกเบาสบายกว่าวันที่ไปเชื่อมารจนต้องไปกินอาหารมื้อดึก จึงมีพลังไปทำภารกิจต่าง ๆ ด้วยความสบายกายสบายใจ
4/07/64
ชื่อ นางสำรวม แก้วแกมจันทร์
ชื่อเล่น “ป้ารวม”
ชื่อทางธรรม “ร้อยแสงศีล”
จิตอาสา สวนป่านาบุญ 2
เรื่อง “รอน้ำพริก เห็นกิเลส”
เหตุการณ์
เมื่อปลายเดือนมิถุนายน พี่น้องจิตอาสาสวนป่านาบุญ 2 อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช ร่วมใจหลอมรวมพลังช่วยกันทำ “น้ำพริก พลิกโลก” ตามนโยบายของอาจารย์หมอ เพื่อช่วยชาติและช่วยโลกในช่วงวิกฤติโควิด ตัวเองได้สั่งน้ำพริกมากินและแบ่งปันกันในเครือญาติและเพื่อนบ้าน กว่าจะได้รับ ต้องรอน้ำพริกนาน จนเห็นกิเลส
ทุกข์ : รอน้ำพริกนาน อยากได้เร็วๆ
สมุทัย : ถ้าได้น้ำพริกเร็ว ชอบ พอใจ สุขใจ แต่รอน้ำพริกนาน ช้า ชัง ไม่พอใจ ทุกข์ใจ
นิโรธ : วางใจว่า จะได้รับน้ำพริกเร็วหรือช้า ก็รอได้ ด้วยความยินดี พอใจ เบิกบาน ไม่ทุกข์
มรรค : ตั้งสติพิจารณา ตรวจใจตัวเอง นึกถึงคำสอนในบททบทวนธรรมของอาจารย์หมอ บทที่ 90 คือ “วัตถุไม่เที่ยง มีแต่ใจไร้ทุกข์เท่านั้นที่เที่ยง”
พิจารณาซ้ำๆๆๆ จึงรู้ว่า ทั้งน้ำพริก และรถรับ-ส่งน้ำพริก ล้วนเป็นทั้งวัตถุและเหตุการณ์ ล้วนไม่เที่ยง ใจของกิเลสที่ปรุงไปเอง คิดเอาเอง ทำให้ทุกข์ มีอาการวิปลาสไปได้ต่างๆ นานา สังขารไปเรื่อย ทำให้จิตวิญญาณของพุทธะ ต้องไปเสพกามคือ อยากได้น้ำพริกเร็วๆ อยากกินน้ำพริก ถ้าได้กินน้ำพริกเร็วจะสุข แท้จริงแล้วมันเป็นสุขของกิเลส คือ สุขลวง ทุกข์จริง ถ้าไม่ได้เสพตามที่กิเลสต้องการ ใจก็เป็นทุกข์อีก “สุขลวง ทุกข์จริงๆๆๆๆ…” วนเวียนไปไม่สิ้นสุด
– ใจของพุทธะบอกใจของกิเลสว่า น้ำพริกที่สั่งนั้น เพื่อนส่งให้แล้วนะ น้ำพริกกำลังเดินทางโดยรถขนส่งสินค้า อาจจะได้รับเร็วหรือช้าก็ได้ รอได้ วางใจได้
– เหตุผลของกิเลส มันอ้างว่า อยากได้เร็วๆ อยากกินน้ำพริก
สรุปว่า สั่งน้ำพริกแล้ว ต้องรอนานหลายวัน จึงได้เห็นกิเลส การเสพกามเรื่องกินชัดๆ มันอยากได้เร็ว มันอยากกิน กว่าจะจับมันได้ แล้วล้างมันออกไปได้ ต้องเสียเวลาอยู่กับการทำทุกข์ เหนื่อยทั้งกาย-เหนื่อยทั้งใจ พิจารณาถึง “อยาก คือ โง่ + ชั่ว = ทุกข์” จึงตั้งจิตตั้งศีลเพิ่ม ฝึกล้างกิเลสไปเรื่อยๆ ทำใจให้เกิดสุขจริง ใจที่ไร้ทุกข์เท่านั้นที่เที่ยง ด้วยจิตวิญญาณที่บริสุทธิ์ของพุทธะ
“หมดอยาก หมดทุกข์” ได้จริง โง่ ชั่ว ทุกข์ ก็หายไปได้จริง ด้วยความยินดี เบิกบาน พอใจ ไม่ทุกข์
#โครงการคนละครึ่ง
เมื่อวันที่ 30/6/64 ที่ผ่านมา ผมต้องช่วยทำการยืนยันตัวตนโครงการคนละครึ่งให้กับญาติผู้ใหญ่ท่านหนึ่ง และพบว่ากระบวนการในการยืนยันตัวตนรอบนี้มีความสลับซับซ้อนมากขึ้นกว่าเดิม ด้วยสาเหตุดังกล่าวผมจึงทุกข์ใจที่รู้สึกไม่ได้ดั่งใจจากระบบการยืนยันตัวตนที่มีความสลับซับซ้อนมากขึ้นกว่าเดิม
ทุกข์ : ทุกข์ใจเพราะรู้สึกไม่ได้ดั่งใจจากระบบการยืนยันตัวตนที่มีความสลับซับซ้อนมากขึ้นกว่าเดิม
สมุทัย : จะรู้สึกทุกข์ใจถ้าระบบการยืนยันตัวตนที่มีความสลับซับซ้อนมากขึ้นกว่าเดิม แต่จะสุขใจถ้าระบบยืนยันตัวตนยังคงเหมือนเดิมหรือมีความสลับซับซ้อนน้อยลงไปกว่าเดิม
นิโรธ : สามารถผาสุกใจได้ไม่ว่าระบบการยืนยันตัวตนจะเป็นเช่นไร
มรรค : กรณีนี้ผมเดินมรรคโดยนำเรื่องวิบากกรรมมาพิจารณาว่า ในอดีตผมก็คงไปทำให้ใครต้องรู้สึกสลับซับซ้อน และยุ่งยากมาก่อน หรือไม่ก็เป็นเพราะวิบากกรรมไม่ดีในเรื่องอื่นๆ ที่ผมเคยทำไม่ดีทั้งในชาตินี้และชาติอื่นๆ ก่อนหน้านี้ ที่ส่งผลให้ผมต้องมาเจอกับความสลับซับซ้อนในครั้งนี้อย่างแน่นอน
และผมก็ยังพิจารณาถึงประโยชน์และโทษของการไม่ได้ดั่งใจว่า ระหว่างการรู้สึกไม่ได้ดั่งใจกับการทำใจให้สามารถยอมรับทุกเรื่องราวที่เกิดขึ้นในชีวิตด้วยความยินดี การทำใจแบบไหนกันแน่ที่จะทำใจผาสุกมากกว่ากัน
นอกจากนั้นผมก็ยังนำบททบทวนธรรมบางบทมาร่วมพิจารณา เช่น บทที่ 58 ที่มีเนื้อหาว่า “เย่ๆๆ ดีใจจัง ไม่ได้ดั่งใจ (วิบากหมด กิเลสตาย ได้กุศล) แย่ๆ ซวยแน่เรา ได้ดั่งใจ (วิบากเพิ่ม กิเลสพอก งอกอกุศล)”
เรื่อง บอกแล้วไม่ฟัง
เหตุการณ์ พ่อบ้านกินช้าวโพดแล้วบ่นว่าข้าวโพดกินแล้วไม่ดี ย่อยยากถ่ายแล้วยังเป็นเม็ดข้าวโพดอยู่เลย เราก็เลยบอกว่าต้องเคี้ยวให้ละเอียดๆคำหนึ่งเคี้ยวนานๆเลย อายุมากแล้วระบบย่อยไม่ค่อยดี ต้องอาศัยการเคี้ยวให้ละเอียดก่อนแล้วค่อยกลืน โดนตอกกลับว่า ใครจะมาเคี้ยวนานๆ เคยกินเร็วๆจะมาให้ค่อยๆเคี้ยวได้ยังไง ก็มันชินแบบนั้นแล้วจะให้เปลี่ยนได้ยังไง เราก็เลยต้องเงียบ
ทุกข์ ขุ่นใจพูดแล้วไม่ฟัง
สมุทัย ชอบถ้าพูดแล้วพ่อบ้านฟังและทำตาม ชังพูดแล้วไม่ฟัง
นิโรธ พูดแล้วพ่อบ้านจะฟังหรือไม่ฟังก็ได้ ไม่ทุกข์ใจ
มรรค การที่พ่อบ้านไม่ฟังเกิดอาการขุ่นใจ
มาร อุตส่าห์หวังดีนะเนี่ย ดันไม่ฟังเราอีก
เรา บอกแล้วไม่ฟัง อาการเหมือนใครกันล่ะเคยทำมา ยังมีหน้ามาบ่นอีกน่ะ สำนึกผิดด้วยน่ะ เราทำหน้าที่ที่ดีที่สุดแล้วได้บอกแล้ว แต่พ่อบ้านไม่ฟัง ก็เป็นเรื่องของท่าน ณ.เวลานี้เราไม่ใช่สัตบุรุษของท่าน ดีที่ท่านไม่ฟัง เราได้ใช้วิบาก รับแล้วก็หมดไปเราก็จะโชคดี แต่ถ้าพ่อบ้านไม่ฟังแล้วเรายังไปดื้อด้านบังคับให้ทำตามใจเรา ของเก่าก็ไม่ได้ชดใช้ จะเป็นวิบากใหม่เพิ่มขึ้นมาอีกน่ะ พุทธะจะไม่บังคับใครเด็ดขาดเข้าใจไหม
มาร เข้าใจ
บททบทวนธรรม 9
ถ้าเรายังไม่เข้าใจคนอื่น
แสดงว่าเรายังไม่เข้าใจตนเอง
สรุป อาการขุ่นใจก็คลายลง
เรื่อง เกือบเสร็จมาร
เหตุการณ์ : ในช่วงนี้ถึงรอบที่จะต้องกินข้าววันละมื้อ ตามที่ได้ตั้งศีลไว้ พอตกเย็นเดินผ่านโต๊ะอาหารมีข้าวและกับข้าวตั้งอยู่ข้างหน้า กิเลสมันชวนทันทีกินข้าวหน่อยดีไหม วันนี้ทำงานทั้งวันแล้ว กินไม่พอด้วย เมื่อได้ฟังมารกระซิบ แต่ไม่เชื่อจึงสวนกลับว่า “ไม่กิน” เพราะเราไม่หิวยังแข็งแรงดีอยู่
ทุกข์ : ใจรู้สึกอึมครึม ไม่โปร่ง ไม่โล่ง
สมุทัย : ชอบถ้าได้กินข้าวมื้อเย็น ชังที่ไม่ได้กินข้าวมื้อเย็น
นิโรธ : จะได้กินข้าวมื้อเย็นหรือไม่ ก็ไม่ชอบไม่ชัง
มรรค : เดินผ่านโต๊ะอาหารเห็นข้าวและกับข้าวตั้งอยู่ มารมากระซิบชวนกินข้าวมื้อเย็น โดยอ้างว่าวันนี้กินไม่พอ แถมทำงานหนักด้วยกินเถอะ จะได้แข็งแรง เมื่อมารมากระซิบดังนั้น เราก็กลับมาพิจารณาร่างกายและจิตใจของเรายังมีพลังดีอยู่ จึงได้ตอบมันไปว่าเราไม่หิว เราไม่อ่อนเพลีย เรายังแข็งแรงดี มีความสมดุลทางร่างกายดี แล้วจะกินอาหารไปเพื่ออะไรเมื่อมันสมบูรณ์ดีอยู่ ถ้าเรากินเข้าไปร่างกายก็จะไม่สมดุลและเกิดอาการไม่สบายต่างๆได้ ถือว่าเราทำผิดศีลด้วยเพราะเรายังเบียดเบียนตัวเองอยู่ แท้จริงแล้วมันเป็นความอยากกินของมาร เราไม่เชื่อเจ้าแล้ว เพราะเชื่อเจ้าทีไรมีแต่สุขน้อยทุกข์มากทุกที ตามบททบทวนธรรมข้อที่ 53 ว่า”ศีล คือไม่เบียดเบียนตนเอง คนอื่น สัตว์อื่น เป็นประโยชน์ ต่อตนเอง ต่อคนอื่น ต่อสัตว์อื่น”และบททบทวนธรรมข้อที่ 55 “อย่าดื้อต่อศีล ดื้อต่อศีล ทำให้ทุกข์หนัก ทุกข์หนักมาก ทุกข์หนักที่สุด” เมื่อได้พิจารณาตามบททบทวนธรรมดังกล่าวแล้ว ความรู้สึกอึมครึม ไม่โปร่ง ไม่โล่งลดลง และหายไป จิตใจก็โปร่ง โล่ง เบา สบาย ดังเดิม
เรื่อง เกือบเสร็จมาร
เหตุการณ์ : ในช่วงนี้ถึงรอบที่จะต้องกินข้าววันละมื้อ ตามที่ได้ตั้งศีลไว้ พอตกเย็นเดินผ่านโต๊ะอาหารมีข้าวและกับข้าวตั้งอยู่ข้างหน้า กิเลสมันชวนทันทีกินข้าวหน่อยดีไหม วันนี้ทำงานทั้งวันแล้ว กินไม่พอด้วย เมื่อได้ฟังมารกระซิบ แต่ไม่เชื่อจึงสวนกลับว่า “ไม่กิน” เพราะเราไม่หิวยังแข็งแรงดีอยู่
ทุกข์ : ใจรู้สึกอึมครึม ไม่โปร่ง ไม่โล่ง
สมุทัย : ชอบถ้าได้กินข้าวมื้อเย็น ชังที่ไม่ได้กินข้าวมื้อเย็น
นิโรธ : จะได้กินข้าวมื้อเย็นหรือไม่ ก็ไม่ชอบไม่ชัง
มรรค : เดินผ่านโต๊ะอาหารเห็นข้าวและกับข้าวตั้งอยู่ มารมากระซิบชวนกินข้าวมื้อเย็น โดยอ้างว่าวันนี้กินไม่พอ แถมทำงานหนักด้วยกินเถอะ จะได้แข็งแรง เมื่อมารมากระซิบดังนั้น เราก็กลับมาพิจารณาร่างกายและจิตใจของเรายังมีพลังดีอยู่ จึงได้ตอบมันไปว่าเราไม่หิว เราไม่อ่อนเพลีย เรายังแข็งแรงดี มีความสมดุลทางร่างกายดี แล้วจะกินอาหารไปเพื่ออะไรเมื่อมันสมบูรณ์ดีอยู่ ถ้าเรากินเข้าไปร่างกายก็จะไม่สมดุลและเกิดอาการไม่สบายต่างๆได้ ถือว่าเราทำผิดศีลด้วยเพราะเรายังเบียดเบียนตัวเองอยู่ แท้จริงแล้วมันเป็นความอยากกินของมาร เราไม่เชื่อเจ้าแล้ว เพราะเชื่อเจ้าทีไรมีแต่สุขน้อยทุกข์มากทุกที ตามบททบทวนธรรมข้อที่ 53 ว่า”ศีล คือไม่เบียดเบียนตนเอง คนอื่น สัตว์อื่น เป็นประโยชน์ ต่อตนเอง ต่อคนอื่น ต่อสัตว์อื่น”และบททบทวนธรรมข้อที่ 55 “อย่าดื้อต่อศีล ดื้อต่อศีล ทำให้ทุกข์หนัก ทุกข์หนักมาก ทุกข์หนักที่สุด” เมื่อได้พิจารณาตามบททบทวนธรรมดังกล่าวแล้ว ความรู้สึกอึมครึม ไม่โปร่ง ไม่โล่งลดลง และหายไป จิตใจก็โปร่ง โล่ง เบา สบาย ดังเดิม
เรื่อง ทำอื่งอ่างบาดเจ็บ
เหตุการณ์ ตอนที่กำลังทำแปลงนาอยู่เตอนขุดดินเผอิญไปขุดโดนอึ่งอ่างจนเลือดออก
พอเห็นแล้วก็รู้สึกไม่ค่อยสบายใจ
ทุกข์ ไม่สบายใจที่ทำอื่งอ่างบาดเจ็บจนเลือดออก รู้สึกว่ามันต้องเจ็บมาก
สมุทัย ใม่สบายใจที่เห็นมันบาดเจ็บมาก จะสบายใจถ้ามันไม่บาดเจ็บหรือบาดเจ็บน้อย
นิโรธ ไม่ว่ามันจะบาดเจ็บมากหรือว่าเจ็บน้อยเราก็ต้องไม่ทุกข์ใจให้ได้เพราะมันเป็นเรื่องของกรรมวิบาก
มรรค เข้าใจเรื่องกรรมว่าสิ่งที่ทุกชีวิตได้รับล้วนเกิดจ้าวิบากกรรมที่ทำมา ที่ต้องได้รับ ส่วนตัวเราเองก็ไม่ได้มีเจตนาที่จะทำร้ายเขา
สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นวิบากกรรมของเขาที่เขาต้องรับ ส่วนตัวเราถ้าจะต้องไปรับวิบากในวันข้างหน้าก็เต็มใจรับด้วยความยินดี
สรุป เมื่อคิดได้แบบนั้นก็คลายใจได้ทำงานต่อด้วยความสบายใจ
เรื่อง..ความอยาก คือ ความทุกข์
เป็นช่วงที่ต้องกลับมาทำหน้าที่ดูแลแม่ ที่ป่วยเป็นอัมพาต คิดว่าการได้ไปฝึกปฏิบัติธรรมลดละเลิก กาม ความ”อยาก”จะได้เอามาใช้กับ แม่ที่ป่วยอยู่ที่บ้าน เมื่อถึงวาระที่ได้ทำหน้าที่ อยากจะให้แม่พยายามที่จะช่วยเหลือตัวเองได้บ้าง
ทุกข์..ใจ ที่อยากบังคับให้แม่ช่วยเหลือตัวเองได้บ้าง
สมุทัย..ชอบสภาพที่แม่ได้พยายามช่วยเหลือตัวเองบ้าง ชังสภาพ..ที่แม่ไม่ยอมทำตามความหวังดีของเรา
นิโรธ..พร้อมปรับ พร้อมเปลี่ยน กระบวนการคิดดี พูดดี ทำดี ไม่ชอบ ไม่ชัง แม่จะเป็นแบบเดิมที่ช่วยตัวเองไม่ได้ ก็สุขใจ แม่ไม่อยากที่จะเปลี่ยนตัวเองใจก็ไร้ทุกข์
มรรค..ที่ทำให้รู้แจ้งเห็นจริงในเรื่องของกรรมชัดขึ้น กิเลสมารจะเข้ามาบอกให้เรา”อยาก”ให้ทุกข์ ให้ได้ดั่งใจ พอไม่สมใจอยากก็จะทุกข์ การได้มาทำหน้าที่ลูก หน้าที่ของลูกหนี้ ที่ต้องชดใช้ รับแล้วหมดไป..ฟังธรรมจาก อ.จ หมอเขียว
เราไม่สามารถกำจัดทุกข์”ความอยาก” ได้ ทำตามขั้นตอนเป็นลำดับจะล้างความอยากได้เป็นลำดับ
ชัยชนะทุกข์ในใจเรา คือ ชัยชนะที่ยั่งยืน..สาธุ
Comments are closed.