วิชา อริยสัจ 4 สัปดาห์ที่ 27 l ห้องเรียนวิชชาราม

ห้องเรียนวิชชาราม ตรวจการบ้าน วิชา อริยสัจ 4 ครั้งที่ 27 ภาคเรียนที่ 2 /2564 ในวันอาทิตย์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 เวลา 12.00 น. – 14.00 น.

ตรวจการบ้านวิชาอริยสัจ4

1.เรื่อง:ไม่รู้จะทำอย่างไรดีกับปัญหาลูกหนี้รายใหญ่ 

พลัฏฐ์ รัตนวชิรินทร์

ทุกข์ : ลูกหนี้รายใหญ่หลายรายไม่ชำระหนี้

สมุทัย : อยากได้รับการชำระหนี้

นิโรธ : อย่าอยากได้การชำระหนี้

มรรค : คงต้องขอคำแนะนำจากอาจารย์และหมู่มิตร


2.เรื่อง: เกลียดคนไม่ตรงเวลา

จิราภรณ์ ทองคู่

เนื้อเรื่อง : เราได้รับมอบหมายให้สอนนักเรียนวิชชาราม วิชาวิทยาศาสตร์แบบบูรณาการ ร่วมกับเพื่อนอีกท่านหนึ่ง เราเป็นคนตรงต่อเวลา พอถึงเวลาเราได้เข้าสอน สอนไปจนกระทั่งถึงเวลาปล่อยนักเรียนให้เป็นอิสระแล้วเพื่อนอีกท่านจึงมา พร้อมกับพูดว่า พึ่งกินข้าวเสร็จ ขอโทษนะ ที่มาช้า สอนอะไรไปบ้างหล่ะ เด็กนักเรียนได้ตอบไปว่าคุรุสอนเสร็จแล้วกำลังจะปล่อยพวกหนูพอดีค่ะ เราไม่พูดอะไร ได้ปล่อยนักเรียน แล้วเราก็แยกตัวไปไม่ได้สนใจเพื่อนท่านนั้น แล้วก็ไปนอนในเต็นท์ทบทวนเหตุการณ์ว่าเหตุการณ์วันนี้ใครถูกใครผิด กิเลสก็บอกว่าเพื่อนผิด เพื่อนเป็นคุรุเพื่อนต้องตรงเวลาสิจึงจะสอนให้เด็กตรงต่อเวลาได้ พุทธะจึงบอกกิเลสไปว่า เรานี่แหละผิดอยู่ดี ๆ ก็ขุ่นใจแล้วใครทุกข์ หล่ะ เธอรู้ไหมว่าเธอเคยทำมา วิบากร้ายของเธอจึงไปยื้อไปดึงเอาเขามาแสดงพฤติกรรมเช่นนี้ให้เธอเห็น เธอควรขอบคุณเพื่อนมากกว่าที่เพื่อนมาแสดงตัวตนของเธอให้เธอเห็น เธอจะได้ไม่ถือสาหาความเพื่อน เพื่อนทำก็เป็นวิบากใหม่ของเพื่อน แล้วเธอจะยังทุกข์ใจอยู่หรือ พอกิเลสได้ฟังเช่นนั้นก็เข้าใจและสลายไปพร้อมกับเทพลังทั้งหมดให้เรา เรารู้สึกเบิกบานแจ่มใส มีเรี่ยวมีแรงขึ้นมาทันที มันกระชุ่มกระชวยขึ้น จึงออกจากเต็นท์ไปอาบน้ำเพื่อบำเพ็ญกุศลต่อไป

ทุกข์ : ขุ่นเคืองใจที่ผู้ร่วมรับผิดชอบไม่มาทำหน้าที่

สมุทัย : ถ้าเพื่อนมาปฏิบัติหน้าที่ตรงเวลาเราจะสุขใจแต่พอไม่เห็นเพื่อนมาเรากลับทุกข์ใจ

นิโรธ : เพื่อนจะมาปฏิบัติหน้าที่หรือไม่มา เราก็สุขใจ

มรรค : เราเชื่อชัดเรื่องกรรมอย่างแจ่มแจ้งว่า สิ่งที่เราได้รับคือสิ่งที่เราทำมา ไม่มีสิ่งใดที่เราได้รับโดยที่เราไม่เคยทำมา จิตก็เบาสบาย ไม่โทษใครใจไร้ทุกข์ ทำดีเรื่อยไป ใจเย็นข้ามชาติ


3.เรื่อง: พ่อป่วย

นาลี วิไลสัก

เนื้อเรื่อง : พ่อของผู้เขียนเองมีอายุประมาณ 65 ปี แต่ท่านป่วยมาได้ 4 ปีแล้ว เมื่อก่อนตอนที่ยังไม่ได้ศึกษาธรรมะ เวลาที่พ่อแม่ป่วยเรามักจะทุกข์ใจมาก ร้องไห้ทุกครั้งที่หมอตรวจพบว่า พ่อแม่เป็นโรคนั้นโรคนี้ ตั้งแต่ได้ศึกษาธรรมะกับพวธ.ความทุกข์ใจที่มีต่อเหตุการณ์เดิมๆ นั้นจะค่อยๆ ลดลงๆ เรื่อยๆ จนมาถึงช่วงนี้ พ่อก็ป่วยแบบอาการไปในทางเสื่อมลงๆ แต่ความทุกข์ใจของเรามันไม่มีเหมือนเมื่อก่อนแล้ว แต่กิเลสก็ยังมาหลอกเราอยู่

ทุกข์ : ระแวง ว่าพ่อและคนในบ้านจะว่าเราเป็นลูกอกตัญญู

สมุทัย : ชอบถ้าพ่อและญาติๆ เข้าใจ และยอมรับว่าเราเป็นลูกที่ดีของพ่อแม่ ชังถ้าพ่อและญาติๆ ไม่เข้าใจ แล้วมองว่าเราเป็นลูกอกตัญญู

นิโรธ : พ่อและญาติๆ จะเข้าใจเราหรือไม่เข้าใจ เขาจะคิดยังไงกับเรา ก็ไม่ชอบไม่ชัง

มรรค : พิจารณาอาการของกิเลสที่พาเราทุกข์ใจ
มาร : เอ๊ะ การที่เราเป็นคนเบิกบานแบบนี้ทุกวันมันก็ดีอยู่ สำหรับนักปฏิบัติธรรม แต่ช่วงนี้ญาติๆ เรา เขากำลังกังวลเคร่งเครียด เพราะพ่อไม่สบาย และมีอาการแตกต่างจากที่ผ่านๆ มาด้วย เวลาที่เราแสดงพฤติกรรมร่าเริงอยู่ต่อหน้าพ่อ (เวลาพ่อป่วย) รู้สึกว่าคนอื่นๆ เขาสังเกตพฤติกรรมเรานะ และตัวเองก็รู้สึกว่าแตกต่างจากเมื่อก่อนมากด้วย แบบนี้เขาจะว่าเราเป็นลูกอกตัญญูหรือเปล่านะ
เรา : อาการแบบนี้ เรียกว่า โง่ ได้ที่จริงๆ เรื่องไม่เป็นเรื่องก็ยังหามาปรุงให้ตัวเองทุกข์ใจอยู่ ถ้าเราบรรลุธรรมในเรื่องนี้จริง ก็ต้องไม่ระแวงไม่หวั่นไหวสิ ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น ใครจะว่าอะไรเรามันก็ไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะว่าเราก็เคยไปเข้าใจผิด เพ่งโทษคนอื่นไว้ ว่าเขาเป็นอกตัญญู ไม่รู้จักดูแลพ่อแม่ในเวลาเจ็บป่วย เพราะวิบากตรงนี้แหละ มารจึงได้เข้าใจผิด หวาดระแวงว่าคนอื่นจะเข้าใจผิดมัน แต่ตอนนี้ยังไม่มีใครว่าอะไรเราเลย ก็มีแต่มารนั่นแหละที่พยายามหาเรื่อง ให้ตัวเองโง่อยู่นี่ คิดเอง ปรุงเอง เออเอง ทุกข์เอง มารต้องหันมาทำความเข้าใจกับเราก่อน ว่าถ้ามารยังคิดระแวงแบบนี้จะทำให้ทุกข์ เป็นวิบากร้ายใหม่ เป็นโทษ ก็ให้เกิดโรคได้ทุกโรค ถ้ามารเปลี่ยนจิตเป็นพุทธะ ด้วยการคิดใหม่ว่า ตลอดเวลาที่พ่อป่วยเราก็พยายามทำหน้าที่ของลูกที่ดีเต็มที่ตามกำลังเราแล้ว เราก็จงเต็มใจพอใจในสิ่งดี (ประโยชน์มาก) ที่เราสามารถทำได้ ก็จะไม่ทุกข์ใจกับเหตุการณ์นั้น ตรงกับบททบทวนธรรมข้อที่ 75 ถ้าเราดับทุกข์ใจได้ ก็ไม่มีทุกข์อะไรที่เราดับไม่ได้
สรุป พอพิจารณาแบบนี้ ความระแวงก็หายไป ใจเบาสบาย ต้องขอบคุณพ่อที่ท่านมาเป็นเหตุปัจจัย มาเป็นผัสสะให้ลูกได้เห็นทุกข์ ได้ล้างทุกข์ในเหตุการณ์นี้มาเป็นลำดับๆ และได้ใช้วิบากด้วย ส่วนพ่อก็มีเหตุปัจจัยของท่านที่ทำให้ท่านต้องป่วยแบบนั้น ก็เพราะวิบากกรรมของท่าน ส่วนที่เราทุกข์ก็เพราะ เราเคยทำวิบากกรรมร่วมกันมา ใช้แล้วก็หมดไป จะได้โชคดีขึ้น สาธุค่ะ


4.เรื่อง:คันหัวใจ คนอื่นไม่เข้าใจ (ฉบับแก้ไข) 

มาลิน จุ้ยทรัพย์เปี่ยม (ต่าย, เมฆลมฟ้า)

เนื้อเรื่อง : ได้ร่วมจัดรายการ ชวนกันทำการบ้านอริยสัจ 4 ของภาคกลาง มีช่วงหนึ่ง ได้นำเสนอประชาสัมพันธ์ ชวนพี่น้องทำการบ้านอริยสัจ 4 เพราะเห็นภาคกลาง ทำการบ้านส่งกันน้อย ได้ยกตัวอย่างของพี่ท่านหนึ่งที่เล่าเรื่อง ลูก แล้วหายทุกข์จริง แล้วมีพี่ท่าน ท่านติงเรื่องการพูดคำว่า คนโลก ๆ แล้วเราอยู่โลกไหน โลกเดียวกันไหม มีอาการคันหัวใจ ที่พี่ท่านนั้นมีคำถาม คำตินั้น

ทุกข์ : มีอาการคันหัวใจ เคือง ๆ เหมือนจะไม่ทุกข์ แต่มีจิตคิดอยู่ บางช่วงเวลาระลึกถึงเรื่องนั้น

สมุทัย : อยากให้พี่น้องเข้าใจ ไม่มีคำถามใด ๆ ไม่โต้แย้ง จะสุขใจ มีอาการคันหัวใจ โทษตัวเอง โดนอีกแล้ว พี่น้องแย้งอีกแล้ว มีอุปาทาน ยึดมั่นถือมันว่าต้องไม่ผิดพลาด อยากที่จะไม่พลาดในทุก ๆ เรื่อง

นิโรธ : พี่น้องจะมีคำถามหรือ โต้แย้งใด ๆ หรือไม่ก็ ไม่ทุกข์ใจ เราจะพลาดบ้าง พร่องบ้างก็ผาสุกให้ได้

มรรค : ตอนแรกก็นึกว่า เอาแล้ว โดนแล้วเรา วิบากมาแล้ว เราเคยเป็น ไปยึดเอาคำนั้น มีข้อแม้ ความคิดเห็นที่ต่างไม่เหมือนใครแบบนี้ เราก็เคยเป็นในอดีต ปัจจุบันคือ ยอมรับสภาพพร่องของตนเอง จะปรับปรุงใช้คำอื่นที่พี่น้องไม่ถือสา พอคิดมาถึงตอนนี้ แต่ถ้าช่วงไหนมีวิบากเข้า จะใช้คำไหน ก็โดนอีกนั้นล่ะ เลยพิจารณาต่อไปว่า อาการที่เราเรียกว่า โดน เพราะเรารู้สึกว่าเราพร่อง เราผิดพลาด ลึก ๆ จริง ๆ คือ เราอยากที่จะไม่พลาดต่อหน้าคนอื่น พิจารณาว่าพร่อง จะพลาดบ้าง ก็ต้องยอมรับและผาสุกไม่ทุกข์ใจให้ได้ ยอมที่จะพลาดจะพร่องต่อหน้าคนอื่นให้ได้และพิจารณาความอยากจะพร่องนั้น ยิ่งเป็นไปไม่ได้อีก ทุกคนต้องมีพลาดบ้างเป็นธรรมดา ยอมรับให้ได้ว่า มันต้องมีตราบโลกแตก พิจารณาความอยากในเรื่องนี้ มันโง่จริง ๆ เสียพลังด้วย อยากไม่พร่องนี้ เป็นไปไม่ได้เลย ยอมรับว่ามันต้องมี ความพลาด ความพร่องเป็นเรื่องธรรมดา

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *