At bagon.is you can Buy webshells, phpmailer, Combo list
วิชา อริยสัจ 4 สัปดาห์ที่ 26 l ห้องเรียนวิชชาราม | สถาบันวิชชาราม
Skip to content

วิชา อริยสัจ 4 สัปดาห์ที่ 26 l ห้องเรียนวิชชาราม

ห้องเรียนวิชชาราม ตรวจการบ้าน วิชา อริยสัจ 4 ครั้งที่ 26 ภาคเรียนที่ 2 /2564 ในวันอาทิตย์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2564 เวลา 12.00 น. – 14.00 น.

ตรวจการบ้านวิชาอริยสัจ4

1.เรื่อง ใจร้อนด่วนตัดสินใจเองเพราะความอยาก :

นวลนภา ยุคันตพรพงษ์ (จิ๋ว เย็นน้อมพุทธ)

เนื้อเรื่อง : คืนวันเสาร์หลับไปพร้อมกับเศร้าดุจเดียวกับฝนที่กระหน่ำเทลงมาช่วงหัวค่ำแรงจนต้องขอออกจากซูมที่เข้าพบปะหมู่กลุ่มไม่ได้อยู่จนจบรายการเหมือนเช่นเคย เหนื่อยอ่อนไปทั้งกายและใจที่ทำร้ายจิตใจสมาชิกในกลุ่มวิชาภาษาอังกฤษที่แจ้งจองการรายงานเสาร์ถัดไปเนื่องจากตัวเองอาจติดภารกิจการเรียนป.เอกในเดือนกรกฎาคมโดยไม่ถามความเห็นหมู่กลุ่มว่าพร้อมหรือไม่ ความอยากของตัวเองที่จะรายงานให้เสร็จหมดภาระโดยไม่รู้ตัวอีกแล้วโดยไม่รอการตัดสินใจจากมติหมู่

ทุกข์ : ขุ่นใจ ไม่ได้นำเสนอรายงานวิชาภาษาอังกฤษตามเวลาสะดวกของตัวเอง

สมุทัย : สุขใจถ้าได้นำเสนอรายงานวิชาภาษาอังกฤษตามแผนของตัวเอง ทุกข์ใจถ้าไม่ได้นำเสนอตามระยะเวลาที่คาดไว้

นิโรธ : สุขใจไม่ว่าจะได้นำเสนอรายงานตามวันที่ตัวเองสะดวกหรือไม่ก็ตาม

มรรค : ย้อนพิจารณาว่ายังมีความอยากใจร้อนทำงานให้เสร็จโดยไม่ปรึกษาหมู่กลุ่มหลังจากได้คำคมจากหมู่มิตรดีในกลุ่มที่สะท้อนให้เห็นกิเลสตัณหาความอยากในดีจนผิดศีลเบียดเบียนหมู่กลุ่มเอาแต่ใจตัวเองเหมือนเช่นเคย ขอบคุณการทำงานกลุ่มที่มาช่วยขัดเกลากิเลสความได้ดังใจหมายถ้าได้ทำงานคนเดียวก็จะมองไม่ออก ไม่มีเหตุการณ์จริงมากระแทกให้อ่านความรู้สึกเวทนาทางใจที่หมองใจ ขุ่นใจ เศร้าใจ ไม่เปล่งวาจาหยาบเหมือนเช่นเคยแต่ออกอาการมาทางใจจนน้ำตาไหลเสียใจสำนึกผิดยอมรับในการกระทำของตนเองว่าขอนำเสนอรายงานไปโดยหมู่กลุ่มไม่พร้อมจึงแจ้งเลื่อนการนำเสนอไปอย่างไม่มีกำหนด ตัดความอยากของตนเองที่จะขอนำเสนอในเวลาที่ตนเองสะดวกและวางใจว่าจะได้นำเสนอเมื่อไรก็ได้เมื่อหมู่กลุ่มพร้อมไม่ประพฤติตนเป็นขโมย เมื่อฝืดฝืนเกินทรมานเกินก็เลิกทำ เมื่อเหตุและปัจจัยพร้อมฟ้าเปิดก็คงให้ได้บำเพ็ญ แม้ในเรื่องดีเมื่อทำไม่ได้ก็พร้อมวางในความยึดดีด้วยความยินดี

ขอบคุณหมู่มิตรดีสหายดีเป็นเครื่องมือตรวจทุกข์ว่าวางใจเป็นอุเบกขาได้จริงหรือไม่ ถ้าเป็นแต่ก่อนก็จะโทษแต่คนอื่น พอตอนนี้เมื่อเกิดความหมองในใจก็มาตรวจตัวเองด้วยธรรมวิจัยว่าผิดศีลอีกแล้วเกิดผลเสียทั้งต่อตนเองและผู้อื่น พบว่ายังมีความอยากยึดมั่นถือในความที่เคยได้ดังใจหมาย การได้มาเขียนทำให้มองเห็นกิเลสที่ยังนอนเนื่องอยู่ในตัวเองชัดขึ้นคลายความเศร้าใจเข้าใจกฏไตรลักษณ์ความไม่เที่ยงให้พร้อมรับปรับเปลี่ยนตลอดเวลาตามที่หมู่กลุ่มให้สัมมาทิฏฐิ จนเกิดความสุขใจได้กับทุกสถานการณ์พร้อมลุยต่อไป สิ้นอยาก สิ้นทุกข์ สุขยั่งยืน


2.เรื่อง.ขึ้นพูดลดกิเลส

ชรินรัตน์ ชุมจีด (แทม น้ำน้อมศีล)

เนื้อเรื่อง : เนื่องจากเมื่อวันพุธที่ผ่านมาได้เข้าซูมร่วมรายการ นักศึกษาชวนกันทำการบ้าน
หลังจากจบการบันทึกรายการแล้ว พี่จิตอาสาก็ถามว่าสัปดาห์ต่อไปมีใครจะจองคิวเพื่อนำเสนอการบ้านของตัวเองให้พี่น้องช่วยกันวิพากษ์บ้าง ตัวเองจึงขอโอกาสจองคิวด้วย แต่ก็พูดต่อไปว่า แทมไม่ขอพูดคนแรกนะคะ ณ ตอนนั้นจับได้ทันทีเลยว่ามันเป็นกิเลสของเรา ตัวเองก็มีฉันทะ ยินดีที่จะขึ้นพูดอยู่นะคะ แต่กิเลสมาหลอกว่า ไม่ต้องพูดคนแรกก็ได้ พูดคิวหลังๆก็ได้ ดูพี่ๆท่านอื่นก่อน เผื่อจะลดอาการตื่นเต้นลงได้บ้างก็ได้นะ เพราะทุกครั้งที่จะพูดต่อหน้าคนเยอะๆตัวเองจะมีอาการตื่นเต้น ประหม่า จึงรู้ว่าตัวเองยังมีส่วนเหลือของกิเลสตัวนี้อยู่และจะพากเพียรฝึกฝนล้างกิเลสตัวนี้ต่อไปค่ะ แล้วจึงมีพี่จิตอาสาท่านหนึ่งพูดบอกว่า เดี๋ยวพี่เป็นคิวแรกให้เอง รับรู้ได้ว่าพี่ๆทุกท่านก็เมตตานะคะ แล้วกิเลสจะเอาอะไรอีกละ ก็รอถึงวันพุธว่าอาการตื่นเต้นจะลดลงระดับไหนค่ะ

ทุกข์ : มีความกลัว มีความประหม่า ตื่นเต้นที่จะพูดเป็นคนแรกหรือต่อหน้าผู้คนเยอะ ๆ

สมุทัย : ที่เรากลัวเพราะเรายึดที่จะพูดออกมาดี ๆ ไม่ตะกุกตะกัก คนฟังเข้าใจดีแล้วเราจะชอบใจสุขใจ และเมื่อกลัวประหม่าตื่นเต้นมากๆก็ทำให้พูดออกมาฟังยาก ตะกุกตะกักไปหมด จึงทำให้เราทุกข์ใจไม่ชอบใจ

นิโรธ : เราจะพูดคนแรกหรือพูดตอนไหน พูดออกมาอย่างไร ใครจะฟังเข้าใจได้แค่ไหน หรือจะฟังไม่เข้าใจ ก็ยินดีพอใจไร้กังวลไม่ชอบไม่ชัง

มรรค : ตั้งศีลมาปฏิบัติ พิจารณาเห็นไตรลักษณ์ ความวิปลาส ความไม่มีตัวตนของกิเลส ที่กำลังหลอกเรา ที่ทำให้เราทุกข์ใจอยู่ พิจารณาโทษของความยึดมั่นถือมั่นที่อยากให้เป็นดั่งใจหมาย อยากได้เมื่อไม่ได้ก็ทุกข์ ทำให้เกิดอาการทางกาย คือ หัวใจเต้นแรง มือสั่น พูดตะกุกตะกัก อาการทางใจคือ กลัว กังวลใจหวั่นไหว ประหม่า เพราะยึดว่าต้องดีต้องเป๊ะ ติดในโลกธรรมอัตตา อยากพูดออกมาดีแล้วจะดี เพราะจิตเราไปปรุงแต่งว่าต้องพูดให้ดีให้ชัด ให้ทุกคนฟังเข้าใจง่าย ถ้าเราพูดผิดพูดไม่ชัดนี่คนจะไม่ชอบ ยิ่งอยู่ในองค์ประกอบของหมู่มิตรดีด้วยนะ มันคิดเหมือนจริงแต่ไม่จริง เพราะคิดแล้วทุกข์ แล้วมาพิจารณาประโยชน์ของการวางใจ ล้างความยึดมั่นถือมั่นได้ ทำให้มีสติใช้ปัญญาส่องให้เห็นความจริงตามความเป็นจริงว่าเราจะพูดออกมาแบบไหนอย่างไร ใครจะได้รับประโยชน์จากการออกมาพูดของเราแค่ไหนอย่างไร มันก็เป็นไปตามกุศลอกุศลของเราของผู้อื่นและคนที่เกี่ยวข้อง ได้แค่ไหนแค่นั้น สำคัญคือ มาล้างทุกข์ใจของเราให้ได้ก่อน และโชคดีที่มีผัสสะกับเหตุการณ์นี้ ได้ใช้บททบทวนธรรมข้อที่ 82 คือ จงฝึกอยู่กับความเป็นจริงของชีวิต ที่พร่องอยู่เป็นนิตย์ อย่างผาสุกให้ได้ และระลึกได้ว่าที่เราต้องมาใช้วิบากเรื่องนี้อยู่ เพราะเราเคยไปเพ่งโทษเรื่องการพูดของพี่น้องท่านอื่นมาเหมือนกัน จึงตั้งจิตสำนึกผิดหรือยอมรับผิด ขอรับโทษเต็มใจรับโทษ หรือขออโหสิกรรม ตั้งจิตหยุดที่สิ่งไม่ดีอันนั้น ตั้งจิตทำความดีให้มาก ๆ คือลดกิเลสให้มากๆ เกื้อกูลผองชนและหมู่สัตว์ให้มากๆ สรุปว่า.เมื่อพิจารณาอาการของกิเลสไปเรื่อยๆใจก็โล่งลงได้ตามลำดับค่ะ เปรียบเทียบกับเมื่อก่อนเห็นได้ชัดเจนว่าลดลงค่ะ ถ้าเป็นเมื่อก่อนไม่คิดเลยค่ะว่าจะขึ้นพูดเพราะไม่มีใครบังคับ อยู่ที่ตัวเองที่จะประมาณว่ามีความยินดี
ที่จะทำดีแค่ไหน แต่ตอนนี้ยินดี และจะฝึกฝนตัวเองต่อไปเรื่อยๆค่ะ สาธุค่ะ


3.เรื่อง ความอยากในความไม่อยาก

จรรญา ชุมจีด (เจี๊ยบ สร้างกลิ่นศีล)

เนื้อเรื่อง : ตอนที่เรากำลังล้างผักอยู่ก็มีพี่น้องท่านหนึ่งพูดขึ้นว่าไม่รู้ใครเอาตะกร้าใบเล็กไปใช้หมด แล้วเดินมาที่เรากำลังล้างผักอยู่
แล้วบอกกับเราว่าตะกร้าใบที่เราใช้อยู่ท่านซื้อมาไว้ใช้ เราก็ไปหยิบใบอื่นมาให้ท่านแทน ท่านก็พูดว่าแล้วทำไมเราไม่เอาใบนั้นไปใช้ เราก็คิดในใจว่าตอนที่จะเอามาใช้เราไม่ได้เลือกว่าจะเอาใบไหนเห็นใบไหนก็หยิบใบนั้นมาใช้ ก่อนจะไปท่านก็พูดว่าถ้าเราอยากได้ให้บอกท่านจะซื้อมาให้
พอได้ยินแบบนั้นเราก็รู้สึกขุ่นใจไม่พอใจทำไมต้องพูดว่าเราอยากได้ที่เราเอามาใช้เพราะคิดว่าเป็นของส่วนรวมไม่ได้ตั้งใจที่จะเอาของท่านมาใช้

ทุกข์ : รู้สึกขุ่นใจไม่พอใจที่ท่านพูดเหมือนว่าเราอยากได้ทั้งๆที่เราไม่ได้คิดแบบนั้น

สมุทัย : ไม่ชอบใจที่ท่านพูดว่าเราอยากได้ชอบใจถ้าท่านใช้คำอื่นที่ดีกว่านั้น ไม่ใช่คำว่าอยากได้ซึ่งเราไม่ได้เป็นแบบนั้น

นิโรธ : วางใจไม่ว่าท่านจะใช้คำพูดแบบไหนเราต้องไม่ชอบไม่ชังไม่ทุกข์ใจได้

มรรค : ตั้งศีลมาปฏิบัติพิจารณาไตรลักษณ์ให้เห็นความวิปลาสของความคิดแบบกิเลส ที่ทำให้เราทุกข์ใจ ความอยากแบบยึดมั่นถือมั่นว่าท่านจะต้องเข้าใจเรา พูดในสิ่งที่ตรงกับใจเรา เราถึงจะสุขใจชอบใจ พิจารณาให้เห็นความจริงตามความเป็นจริงว่าสิ่งที่เราได้รับเกิดจากกรรมและผลของกรรมที่เราเคยทำมาก่อน เราเคยใช้วาจาทำให้คนอื่นต้องทุกข์ใจไม่ชอบมาเราก็ต้องได้รับ ส่วนท่านเป็นเพียงกระจกที่ส่องให้เห็นในสิ่งที่ตัวเราเคยทำมา และให้เราได้เห็นกิเลสและได้ใช้วิบากเท่านั้น

ใช้บททบทวนธรรมข้อที่8
สิ่งที่เราได้รับคือสิ่งที่เราทำมา ไม่มีสิ่งใดที่เราได้รับโดยที่เราไม่เคยทำมา

สรุป หลังจากพิจารณาแล้ว ก็รู้สึกเบาใจโล่งใจ ต้องขอบคุณท่านที่เข้ามาเป็นผัสสะ ให้เราได้เห็นกิเลส ได้ล้างกิเลส และได้ใช้วิบากสาธุค่ะ


4.เรื่อง รู้สึกผิด

ศิริพร ไตรยสุทธิ์ (ก้อย เยอรมนี)

เนื้อเรื่อง : เนื่องจากวันเสาร์ที่ 26 มิถุนายน 2564 กลุ่มต้นกล้าได้นัดหมายที่จะนำเสนองาน PowerPoint วิชาภาษาอังกฤษ แต่ข้าพเจ้าตื่นสายเพราะนอนดึกและไม่รอบคอบ ในการตั้งนาฬิกาปลุก ลืมกดปุ่มปลุกทำให้นาฬิกาไม่ปลุกตามเวลาที่ตั้งไว้ เมื่อสะดุ้งตื่นก็เห็นว่า สายมากแล้ว จึงรีบเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อเข้าห้องเรียน และเขียนข้อความขออภัยหมู่กลุ่ม แล้วรีบทำธุระส่วนตัวให้เสร็จให้เร็วที่สุด เมื่อพร้อมที่จะนำเสนองาน จึงได้เขียนข้อความเข้าไปในห้องแชทของห้องเรียนและในกลุ่มไลน์ ปรากฏว่าสมาชิกท่านหนึ่ง ท่านไม่สะดวกแล้ว ท่านต้องไปทำธุระ และเวลาในการเรียนก็เหลือไม่มาก ทำให้ไม่สามารถนำเสนองานได้ในวันนี้

ทุกข์ : รู้สึกผิดที่ตัวเองเป็นสาเหตุทำให้ไม่ได้นำเสนองานกลุ่ม

สมุทัย : ไม่ชอบที่ตัวเองตื่นสาย

นิโรธ : จะได้นำเสนองานกลุ่มหรือไม่ได้นำเสนอก็จะไม่ทุกข์ใจ ไม่ทำทุกข์ทับถมตน

มรรค : เมื่อรู้ว่า วันนี้ไม่มีโอกาสนำเสนองานกลุ่มแล้ว จึงแจ้งให้พี่น้องท่านหนึ่งในกลุ่มช่วยเปิดห้องซูมให้ หลังจากจบการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ เพื่อขออภัยหมู่กลุ่มด้วยตนเองอีกครั้ง พี่น้องหมู่มิตรดีก็ปลอบใจ ทำให้ทุกข์คลายลง ได้พิจารณาโทษของการตื่นสายว่า “ทำให้กลุ่มไม่ได้นำเสนองานตามที่กำหนดไว้ ทำให้ตัวเองรู้สึกผิดและเป็นทุกข์” ส่วนประโยชน์ที่ได้จากการตื่นสายในครั้งนี้คือ “ต่อไปจะระมัดระวังให้มากขึ้นในการตั้งนาฬิกาปลุก จะไม่ปิดมือถือ เผื่อเพื่อนโทรศัพท์มาตาม เพื่อที่จะไม่ให้ตื่นสายอีกในครั้งต่อไป”


5.เรื่อง ชังน้ำผักปั่น

อุบล พลรบ (ป้าบล เกื้อบัวแก้ว)

เนื้อเรื่อง : เนื่องจากที่อาจารย์มีดำริให้กินน้ำผักปั่นตัวเองรู้สึกชังขยะแขยงรู้สึกพะอืดพะอมไม่อยากกิน

ทุกข์ : รู้สึกทุกข์ใจที่เราจะต้องกินน้ำผักปั่นทั้งๆที่เราไม่อยากกิน

สมุทัย : ถ้าต้องกินจะทุกข์ใจ ถ้าไม่ต้องกินจะสุขใจ

นิโรธ : คือวางใจว่าต้องกินก็สุขใจ ไม่กินก็สุขใจได้

มรรค : พิจารณาให้เห็นโทษของความคิดแบบมีกิเลส ว่าถ้าต้องกินน้ำผักปั่นเราจะกลืนลำบากพะอืดพะอม พิจารณาให้เห็นประโยชน์ของความคิดแบบพุทธะ โดยพิจารณาให้เห็นประโยชน์ของน้ำผักปั่น คือเราไม่ต้องเคี้ยวเยอะไม่ต้องปรุงเยอะได้ล้างภพของการติดรูปติดรสในอาหาร สรุป เมื่อพิจารณาตามนั้น แล้วล้างความชอบจังของน้ำผักปั่นได้เราก็ได้ไปทดลองกิน กินด้วยความยินดีไม่ชอบไม่ชังพอกินแล้วก็รู้สึกดีไม่ได้รู้สึกเหมือนตอนแรกที่คิดว่าน่าจะกินไม่ได้


6.อยากให้เพื่อนเข้าใจถูก

สำรวม แก้วแกมจันทร์ (ร้อยแสงศีล)

เนื้อเรื่อง : เพื่อนโทรศัพท์มา ถามว่า ทำไมไม่พูดบ้าง เงียบไปนะ  ตามปกติเวลาประชุมผ่านซูม ตัวเองแสดงความคิดเห็นบ่อย  2-3 เดือนนี้ ปิดกล้อง ปิดไมค์ พูดน้อย/ไม่พูด แต่ก็ไม่ได้บอกสาเหตุให้เพื่อนทราบ มีความกังวลอยู่ ที่ต้องปิดกล้อง ปิดไมค์ ไม่พูด เพราะ “ตาป่วยมาก” ตาทำงานหนักมาตลอด ร่างกายดันพิษร้อนออกมาทางตาทั้งสองข้าง กลายเป็นต้อเนื้อขยายแผ่กว้าง หนาขึ้น ตาแดงบ่อย ต้องดูแล ถนอมสายตาให้ใช้งานได้เป็นปกติ ช่วงนี้ต้องสวมแว่นตาตลอด  ถ้าไม่สวมจะมองไม่เห็น เห็นไม่ชัด  จึงต้องหลีกเลี่ยงการใช้โทรศัพท์โน๊ตบุ๊ค ถ้าจำเป็นต้องใช้ก็ต้องปิดกล้อง ปิดไมค์  ฟังอย่างเดียว  การเพ่งจ้องมองหน้าจอ ทำให้น้อยลง เป็นลำดับๆ แต่ยังไม่ได้แจ้งให้เพื่อนในหมู่กลุ่มทราบ ยังทุกข์อยู่  เพราะ “อยากให้เพื่อนเข้าใจถูก” ไม่อยากให้เพื่อนเข้าใจผิด

ทุกข์ : อยากให้เพื่อนเข้าใจถูก ไม่อยากให้เพื่อนเข้าใจผิด กังวลที่ไม่ได้บอกความจริงให้เพื่อนทราบ

สมุทัย : ยึดว่า อยากให้เพื่อนเข้าใจถูก ถ้าเพื่อนเข้าใจถูก ชอบ พอใจ สุขใจ ถ้าเพื่อนเข้าใจผิด ชัง ไม่พอใจ ทุกข์ใจ

นิโรธ :  เพื่อนจะเข้าใจถูก -เข้าใจผิด ก็วางใจได้ ไม่ยึดมั่นถือมั่น ปล่อยวางได้ หมดอยาก หมดทุกข์ ด้วยความยินดี พอใจ ไม่อยาก ไม่ชอบ-ไม่ชัง ไม่กังวล เบิกบาน ผาสุก ไร้ทุกข์

มรรค :  พิจารณา ถึงความจริงตามความเป็นจริง ด้วยความที่มีความศรัทธาและเชื่อมั่นในคำสอนของพระพุทธเจ้า ของอาจารย์หมอเขียว  ด้วยจิตวิญญาณที่บริสุทธิ์ จึงไม่ยอมปล่อยให้เป็นไปตามใจอยากของกิเลส  ตามความต้องการของมารร้าย  แม้ว่าจะได้บอกความจริงให้เพื่อนรู้ก็ได้ ไม่ได้บอกก็ได้ ใครเข้าใจถูก-เข้าใจผิด ไม่สำคัญ สำคัญที่สุด คือ ใจที่ไม่ทุกข์ ใจที่รู้ตื่น รู้เบิกบาน ซึ่งตอนแรกๆ ทำใจในใจได้ เบิกบานได้ แต่ทำได้เพียงบางครั้งบางคราว ใจยังหม่นหมองอยู่ ยังไม่สบายใจอยู่  จึงได้ใคร่ครวญซ้ำ ๆ อีก คุยกับตัวเอง ถามตัวเองด้วยใช้ปัญญาว่า ทำไมลึก ๆ ยังทุกข์อยู่ ยังมีความอยากให้เพื่อนเข้าใจถูก ยังกังวลว่า ควรต้องบอกเหตุผล ความเป็นจริงให้เพื่อนทราบ เพื่อไม่ให้เพื่อนเข้าใจผิด ใคร่ครวญซ้ำทวนอยู่นานเป็นเดือน ๆ ขังทุกข์อยู่ได้ตั้งนาน แม้วางได้แล้วระดับหนึ่ง แต่ยังไม่สิ้นเกลี้ยง ยังมีความกังวลลึก ๆ อยู่นิด ๆ คือ อยากให้เพื่อนเข้าใจถูก “กิเลสแม้น้อย ก็เหม็นมาก” ใจหมอง ๆ อยู่  ยังไม่โล่ง ไม่โปร่ง ไม่แช่มชื่น ไม่เบิกบาน เพราะกิเลสมารร้ายตัวยึดมั่นถือมั่นอยู่ในความคิดที่ผิดๆ จะเบิกบานได้อย่างไร  ถึงวันนี้ได้ยินเสียงธรรมที่อาจารย์หมอสอน ลอยมากระทบหูตรงๆ  ฟังได้ยินชัดเจนว่า “หมดอยาก หมดทุกข์” เปิดฟังซ้ำๆ อีก 3-4 รอบ พุทธะคุยกับกิเลสอยู่นาน ปัญญาญาณของพุทธะจึงเกิดขึ้น  สามารถรู้แจ้งได้ด้วยตัวเองว่า สาเหตุแห่งทุกข์ ก็เพราะในใจลึก ๆ คือ ในใจชั่วกิเลสมารร้าย + อัตตาตัวยึดมั่นถือมั่น ที่ต้องการให้เพื่อนเข้าใจถูก ยังยึดอยู่ ยังวางไม่ได้จริง นั้นคือ การคิด พูด เขียน ที่ผ่านมาเป็นเดือน ๆ ได้แค่ภาษาเท่านั้น  สภาวะยังไม่เกิดขึ้นได้จริง  แต่วันนี้ ได้สภาวะนั้นมาเต็ม ๆ เพราะ “วิบากหมด หมดวิบาก” จึงเชื่อและชัดในวิบากกรรม ตรงกับ บทบททวนธรรม

บทที่ 1 : เรื่องการเข้าใจผิดของเรากับผู้อื่น มันเป็นวิบากกรรมเขา วิบากกรรมเรา  แก้ไขด้วยการทำดีไม่มีถือสาไปเรื่อยๆ  วันใดวันหนึ่ง ในชาตินี้  หรือชาติหน้า หรือชาติอื่นๆ สืบไป  ความเข้าใจผิดนั้น ก็จะหมดไปเอง”

บทที่ 75 : ถ้าเราดับทุกข์ใจได้ ก็ไม่มีทุกข์อะไรที่ดับไม่ได้ สรุปว่าเพื่อนจะเข้าใจถูก -เข้าใจผิด วางใจได้ ไม่ยึดไม่ถือแล้ว ปล่อยวางได้ หมดอยาก หมดทุกข์ ด้วยความยินดี พอใจ ไม่อยาก ไม่ชอบ-ไม่ชัง ไม่กังวล เบิกบาน ผาสุก แต่ก็ยังไม่สิ้นเกลี้ยงเสียที่เดียว เห็นความทุกข์ลดลงได้มากเป็นลำดับ ๆ ได้แล้ว สามารถทำใจไม่ให้ทุกข์ได้แล้ว ประมาณ 95 เปอร์เซ็นต์

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *