640620 การบ้าน อริยสัจ 4 (25/2564)
นักศึกษาสถาบันวิชชารามส่งการบ้าน อริยสัจ 4 ประจำวันที่ 14 – 20 มิถุนายน 2564 (อ่านที่มาและรายละเอียดเพิ่มเติมของการบ้าน)
สัปดาห์นี้มีผู้ส่งการบ้านทั้งหมด 39 ท่าน 44 เรื่อง
- นางสาวสันทนา ประวงศ์
- นายจรูญ สุยะ (ชาติพุทธ)
- พรพรรณ เอ็ทสเลอร์
- น.ส.จาริยา จันทร์ภักดี
- Savitree manovorn
- พิเชษฐ์ บุญย์วิรุฬห์
- Anonymous
- ธัญมน หมวดเหมน(มั่นแสงธรรม)
- นวลนภา ยุคันตพรพงษ์
- นางสาวนิตยา สุเมธากุลวัฒน์
- นปภา รัตนวงศา (3)
- จาริณี กวีวิวิธชัย
- วิจิตร ตันเดชานุรัตน์
- จิตรา พรหมโคตร (มั่นแก่นพุทธ)
- น.ส ชรินรัตน์ ชุมจีด (น้าน้อมศีล)
- รมิตา ซีบังเกิด (2)
- สุมา ไชยช่วย (2)
- นางพรรณทิวา เกตุกลม (2)
- สำรวม แก้วแกมจันทร์
- น.ส.ทิษฏยา โภชนา (นุ้ย)(ในสายธาร)
- สมศรี ศิริสุวรรณรัตน์
- พรพิทย์ สามสี
- โยธกา รือเซ็นแบร์ก
- น.ส.นมลชนก แก้วเกษ
- วิภาภรณ์ กอจรัญจิตต์ (เอ ใจพอแล้ว))
- อัญชลี พุ่มแย้ม (เย็นแสงธรรม)
- พลัฏฐ์
- อรวิภา กริฟฟิธส์
- สิริรัตน์ ธนพรไพศาล (ผ่องพิมพ์พุทธ )
- พิมพ์พศินา สิทธอประเสริฐ
- สุวรรณา ทิพวรรณ (ร้อยเรือนธรรม)
- Ruam Ketklom
- นางสาวนาลี วิไลสัก
- น.ส จรรญา ชุมจีด (สร้างกลิ่นศีล)
- ภาคภูมิ ยอดปรีดา (สร้างแก่นศีล)
- ศิริรักษ์ พรมเล็ก
- สรสิชา สายหยุดทอง(ตรงเติมศีล)
- เสาวรี หวังประเสริฐ
- ปิ่น คำเพียงเพชร



แนะนำบทความที่มีเนื้อหาใกล้เคียง
Post Views: 259
เรื่อง : ทำได้-อยาก ทำไม่ได้-เลิกอยาก
เหตุการณ์ : เนื่องในวันครบรอบ ๑ ปี หมอเขียวทีวี พี่น้องหมู่มิตรดีได้คิดจะทำคลิปสั้นๆ ของรายการ ตนเองรู้สึกยินดี มีอาการในใจ พอง ฟู ตื่นเต้นน้อยๆ อยู่ในใจ ที่ได้ทำงานตัดต่อที่ชอบทำ รู้ว่าชอบเป็นกิเลสตัณหาความอยาก อยากทำดี ยึดมั่นถือมั่นว่าทำดีได้สมใจ-จะสุขใจ ทำดีไม่ได้สมใจ-จะทุกข์ใจ ชอบ อยากทำ อยากได้ อยากให้เข้ามา อยากมี ตรงข้ามกับ ชัง ไม่อยากทำ ไม่อยากได้ ไม่อยากให้เข้ามา ไม่เอา รู้ว่ามีชอบ-ชังเป็นทุกข์เป็นวิบากร้าย ไม่ชอบไม่ชังดีกว่าเบากายเบาใจสบายกว่า
จึงสังวร สำรวมระมัดระวังในจิตตนเอง ไม่ให้หลงชอบอยู่ระหว่างทำ การทำงานตัดต่อคลิปครั้งนี้ ได้ขอให้พี่น้องให้มาช่วยกันดู มาช่วยกันพิจารณา ตนเองรู้สึกว่าการตัดงานครั้งนี้ เบา สบาย ที่สุด เท่าที่เคยตัดงานมาก่อน ใช้พลังหมู่ ทำตามหมู่บอก ไม่ยึดในความต้องการของเราเป็นหลักเหมือนเมื่อก่อน เมื่อตัดเสร็จก็ได้วางใจอีกว่า งานนั้นถูกนำไปใช้หรือไม่ก็ได้ โดยได้ถามพี่น้องหมู่มิตรดี ว่างานเสร็จแล้วน่ะ จะให้ส่งไปให้ใครอย่างไร พี่น้องก็ยังไม่มีข้อสรุปมาก็ เราก็วางได้
ครั้งนี้เราวางใจได้จริงๆ ไม่มุ่งเอางานสำเร็จ ว่าต้องออกมาทัน เพื่อฉายให้พี่น้องได้ดูกันเหมือนก่อนใจวางได้จริง รู้สึกเบา สบาย เพราะเราทำเสร็จแล้ว ก็จบแล้ว
ทุกข์ : ทุกข์ใจ อยากทำงานที่ชอบ มีอาการในใจ พอง ฟู ตื่นเต้นน้อยๆ อยู่ในใจ
สมุทัย : เกิดจากตัณหา ความอยาก (ชอบ-ชัง อยากทำดี อยากได้ดี อุปาทานยึดมั่นถือมั่นว่า ทำดีได้สมใจ-จะสุขใจ ทำดีไม่ได้สมใจ-จะทุกข์ใจ)
นิโรธ : ดีเกิดก็ได้ ดีไม่เกิดก็ได้ ก็ไม่ทุกข์ใจ ถ้าทำดีได้ก็ให้อยากทำ ถ้าทำดีไม่ได้ก็ให้เลิกอยากทำ (ทำได้-อยาก ทำไม่ได้-เลิกอยาก ทำได้ก็ทำ ทำไม่ได้ก็ไม่ทำ เลิกอยากเลิกทุกข์ หยุดอยากหยุดทุกข์) ไม่ต้องอยาก
มรรค : ได้เห็นว่าความอยากเป็นทุกข์ อาการอยากทำงานที่ชอบ มีอาการในใจ พอง ฟู ตื่นเต้นน้อยๆ นี้เป็นทุกข์ รู้ว่าชอบเป็นกิเลสตัณหาความอยาก อยากทำดี ยึดมั่นถือมั่นว่าทำดีได้สมใจ-จะสุขใจ ทำดีไม่ได้สมใจ-จะทุกข์ใจ ชอบ อยากทำ อยากได้ อยากให้เข้ามา อยากมี ตรงข้ามกับ ชัง ไม่อยากทำ ไม่อยากได้ ไม่อยากให้เข้ามา ไม่เอา รู้ว่ามีชอบ-ชังเป็นทุกข์เป็นวิบากร้าย ไม่ชอบไม่ชังดีกว่าเบากายเบาใจสบายกว่า ทำได้-อยาก ทำไม่ได้-เลิกอยาก อยากเพราะเห็นประโยชน์เห็นคุณค่า เลิกอยากเพราะเห็นทุกข์ เห็นโทษภัย เลิกทุกข์ เลิกอยาก หายทุกข์ ไม่มีความอยากเบาสบายกว่า สงบกว่า แจ่มใส เบิกบานกว่ากันเยอะเลย
ผล : ครั้งนี้เราวางใจได้จริงๆ ไม่มุ่งเอางานสำเร็จ ว่าต้องออกมาทัน เพื่อฉายให้พี่น้องได้ดูกันเหมือนก่อนแล้ว ใจวางได้จริง รู้สึกเบา สบาย ทำให้ใจเราโล่งขึ้น เบาสบายขึ้น ทำให้ความอยากลดหายไป เป็น ๐ % ในครั้งนี้กับเหตุการณ์นี้ สาธุค่ะ
ใครดื้อ (แก้ไข)
อยากขึ้นภูผาใจแทบจะขาด เนื่องในวันสำคัญของครูบาอาจารย์ วางแผนไว้และติดต่อฝ่ายตรวจสอบก่อนล่วงหน้า 20 วัน วันที่จะขึ้นภูผา แจ้งไว้คือ 9-13 มิ.ย.นี้
พอดีช่วงก่อนขึ้นโควิด 19 ระบาดหนักสายพันธุ์ใหม่เข้ามามากมาย
ทางฝ่ายตรวจสอบก็ขอไทไลน์ 14 วัน พอเราตรวจสอบตัวเองแล้วเราเองยังคงไปขายพวงมาลัยตลาดในอำเภออยู่ทุกวัน ตรวจสอบตัวเองแล้วว่าไม่ผ่าน เลยส่งไลน์หาฝ่ายตรวจสอบว่าขอยกเลิกการเดินทางขึ้นภูผา แต่ใจลึกๆก็เกิดอาการทุกข์ใจขึ้นมาทันที วันสำคัญิย่างนี้เราจะพลาดได้อย่างไร ถ้าขึ้นภูผาเราก็ผิดศีล พอวันที่ 3 มิ.ย.ใจมันยังไม่ยอม ยังดื้ออยู่ จึงก็ส่งไลน์ไปหาทีมตรวจสอบอีกว่าขอขึ้นภูผาวันเดียวได้ไหม ไปเช้าเย็นกลับก็ได้ สวมแมสเว้นระยะห่างก็ได้ ในใจก็ยังลุ้นรอคำตอบกลับ ชคอยเช็คแต่ไลน์ ทีมตรวจสอบได้อ่านไลน์เราแล้วแต่ยังไม่ตอบกลับ ขณะที่รอคำตอบ ก็คิดทบทวนตัวเอง เรามันเก็นแก่ตัวเอาแต่ใจตัวเอง ดื้อมากๆ ยอมผิดศีลเลยหรือนี่ ทั้งๆที่รู้ว่าตัวเองมันเสี่ยงต่อครูบาอาจารย์และหมู่มิตรดีอันเป็นที่รักของเรา เราจะยอมผิดศีลไม่ได้นะสอนตัวเอง เลยตัดสินใจส่งไลน์ไปขอยกเลิกอีกครั้งว่า ขอตัดรอบการเดินทางครับ สุดท้ายฝ่ายตรวจสอบก็ส่งข้อความมาว่า ขึ้นภูผาได้นะแต่กักตัวอยู่ด้านล่าง สวมแมสเว้นระยะห่าง ส่งไทไลน์ 14 วัน สุดท้ายเรายอมแพ้เราซื่อสัตย์ต่อศีลดีกว่า เรานี่ดื้อจริงๆ
ทุกข์
อยากขึ้นภูผามากจึงทุกข์ใจ
สมุทัย
ได้ขึ้นภูผาแล้วได้กราบอาจารย์จึงจะสุขใจ ไม่ได้ขึ้นภูผาไม่ได้กราบอาจารย์จึงทุกข์ใจ
นิโรษ
ได้ขึ้นภูผาก็สุขใจ ไม่ได้ขึ้นภูผาก็ไม่ทุกข์ใจ อยู่ที่บ้านก็ปฎิบัติบูชาได้ เลยตั้งศีลเพื่อถวายครูบาอาจารย์ว่าจะไม่เบียดเบียนตนเอง คนอื่น สัตว์อื่น
มรรค
อยู่ที่ไหน ตรงไหน ก็ปฎิบัติธรรมได้ อาจารย์เคยสอนอยู่เสมอว่า แม้อยู่ไกลถ้าปฎิบัติธรรมได้ดีก็เหมือนอยู่ใกล้ ถ้าเราอยู่ใกล้แต่ไม่ปฎิบัติธรรมและผิดศีลอยู่เรื่อยไปก็เหมือนอยู่ไกล พอคิดถึงคำอาจารย์สอน ทุกข์ที่อยู่ในใจ ก็จางคลายมลายหายไปพอไปอ่านบททวนธรรมข้อที่ 55 อย่าดื้อต่อศีล ดื้อต่อศีล ทำให้ทุกข์หนัก ทุกข์หนักมาก ทุกข์หนักที่สุด และข้อที่ 82 จงฝึกอยู่กับ ความจริงของชีวิต ที่พร่องอยู่เป็นนิตย์ อย่างผาสุขให้ได้ แค่นี้แหละก็สบายใจไร้กังวล สาธุครับ
อริยสัจ
คล้ายวันเกิดของคุณแม่ของพ่อบ้าน เมื่อวานเลยเข้าไปดูของขวัญให้ท่าน ทาง online shop ช่วงที่กำลังเลือกของขวัญอยู่นั้นเอง ตาเหลือบไปเห็นเสื้อกันหนาวลดราคา โอ้..โฮ้ ลดตั้งเยอะ เห็นกิเลสดิ้น ๆ ใจเต้นรัว อาการนี้เหมือนสมัยเป็นเด็กที่พอแม่ตามใจซื้อขนมให้ก็ดีใจ
ทุกข์ : อยากซื้อเสื้อกันหนาวที่ลดราคา
สมุทัย : ถ้าได้ซื้อเสื้อกันหนาวตัวนั้น ตัวที่ลดราคา จะยินดีพอใจ ถ้าไม่ได้ซื้อเสื้อกันหนาวตัวนั้นจะทุกข์ใจไม่ชอบใจ
นิโรธ : แม้ไม่ได้ซื้อเสื้อกันหนาวตัวนั้นก็จะสุขใจได้
มรรค : ช่วงเวลาที่ตาเหลือบไปเห็นเสื้อกันหนาวตัวนั้น ก็เห็นอาการใจเต้นอย่างชัดเจน และเห็นอาการอยากได้เสื้อตัวนั้นมาก กิเลสบอกว่า ซื้อเลย ๆ ปีหนึ่งจะลดราคาเพียงครั้งเดียว ช่วงเวลาที่กำลังจะคลิกเข้าไปดู ก็เริ่มได้สติ หู ตา เริ่มสว่าง หยุด ! เลยนะ พุทธะบอกกิเลส เธอมีอยู่แล้วตั้งหลายตัว จะซื้อมาทำไมอีก ไหนบอกว่าจะลด ละ เลิก การซื้อเสื้อผ้าแล้วอย่างไรล่ะ แล้วทำไมตอนนี้ถึงไม่ถึอโอกาสนี้ลด ละ จะปฏิบัติตัวให้อยู่แบบเรียบง่าย ไม่ฟุ่มเฟือย ลืมแล้วเหรอ ! ถ้าซื้อเพิ่มมันก็จะทำให้โลกต้องสิ้นเปลืองพลังงาน ไม่ว่าจะเป็น ทรัพยากร การผลิต และแรงงานของคนที่ต้องมาออกแบบและตัดเย็บให้เธอ..
ทำที่ตัวเรา ประหยัด อยู่แบบเรียบง่ายเพื่อเป็นแรงเหนี่ยวนำให้คนอื่น ทำตาม น่าจะดีกว่าไหม ?
พอพิจารณามาถึงคำสอนของท่านอาจารย์หมอเขียว ก็เห็นอาการใจที่เต้น แรง ๆ รัว ๆ นั้น ได้แผ่วลง ๆ ตามลำดับ ๆ และอาการที่อยากซื้อเสื้อกันหนาวตัวนั้นก็ สลายหายไปได้ ไม่ซื้อแล้วเข้าใจแล้ว เจ้าค่ะเชื่อพุทธะ ไม่เชื่อกิเลสแล้ว สาธุ
กราบขอบพระคุณท่านครูบาอาจารย์ทุกท่าน และขออนุโมทนาบุญกับตัวเองที่ชนะกิเลสในครั้งนี้ได้อย่างไม่ต้องคุยกันนานค่ะ
เรื่อง ยึดดี
เหตุการณ์ : พ่อมีโรคประจำตัวคือไขมันความดัน เส้นเลือดตีบ แต่ยังรับประทานอาหารทั่วไป รับประทานเนื้อสัตว์ตลอดและชอบรับประทานขนมหวานทุกวันไม่เว้นเลย
ทุกข์ : กังวลใจ เรื่องสุขภาพของพ่อ
สมุทัย : ยึดว่าพ่อน่าจะลดขนทหวานได้ ชอบถ้าพ่อลดขนมหวานได้จะได้ลดความเสี่ยงของอาการของโรคได้ ชังที่พ่อลดขนมหวานไม่ได้
นิโรธ : พ่อจะลดขนมหวานได้ หรือไม่ได้ ก็ไม่กังวลใจ
มรรค : ในเมื่อพ่อยังไม่ลดขนมหวานไม่ได้เราก็ให้พ่อรู้จักพิษภัยของการกินขนมก่อน ขนมหวานยังน้อยกว่ากิเลสตัวยึดดีของเรา พ่อยังทำไม่ได้บอกว่าเป็นห่วงพ่อ เราโง่จริงๆไม่ยอมถามพ่อสักคำว่าพ่อยินดีหรือเปล่าที่จะลดขนมหวาน ถ้าพ่อยังทำไม่ได้กิเลสติดดีนี้ ที่ไปทำร้ายพ่อเราชั่วจริงๆเลยสำนึกผิดจะไม่เอาดีที่พ่อยังไม่พร้อมจะรับ ทั้งที่พ่อได้เป็นตัวแทนมาตลีเทพชี้ให้เราได้เห็นได้เห็นตัวยึดดีที่ทำให้ทุกข์ กังวลทำให้เราได้มองเห็นกิเลสตัวยึดดีได้ล้างกิเลสเลยตั้งจิตขออภัยพ่อที่จะให้พ่อลดทั้งที่พ่อยังไม่ตอบรับเลย มันยังไม่ถึงเวลาที่พ่อทำได้ตรงกับบททบทวนตามข้อที่ 35 ” ยึดอาศัย”ดี”ที่สามารถทำให้เกิดขึ้นได้จริง”นั้นดี”แต่ยึดมั่นถือมั่นว่าต้องเกิด”ดี”ดั่งใจหมายทั้งๆที่องค์ประกอบเหตุปัจจัย ณ เวลานั้น ไม่สามารถทำให้ดีนั้นเกิดขึ้นได้จริง”นั้นไม่ดี”
เลิกยึดใจก็จางคลายแล้วความกังวลก็หายไปกลับมาไร้ทุกข์
14 มิถุนายน 2564
ชื่อ นางสาวิตรี มโนวรณ์
ผู้บำเพ็ญคบคุ้นสวนป่านาบุญ 2
เรื่อง สายตาพร่ามัว แต่ใจไม่มัว
ระยะหลัง ๆ มานี้ เริ่มมีปัญหาสายตามองระยะไกลไม่ชัดเจนเหมือนเดิม สร้างความอึดอัดในการใช้ชีวิตไม่น้อย มารไม่ยอมรับความเปลี่ยนแปลง จึงเกิดความทุกข์
ทุกข์ อึดอัด ไม่ได้ดั่งใจ ที่สายตาพร่ามัว มองไม่ชัด
สมุทัย ชอบ ถ้าสายตามองชัดเจน ชัง สายตามองไม่ชัดเจนเหมือนเดิม
นิโรธ สายตาจะมองชัดเจน หรือพร่ามัว ก็ไม่ชอบไม่ชัง ไม่ทุกข์ใจ
มรรค มารรู้สึกอึดอัด ไม่ได้ดั่งใจ ที่สายตามองเห็นไม่ชัดเจนเหมือนเดิม จึงออกอาการ
มาร : เมื่อไหร่จะกลับมาดีเหมือนเดิมซะที มองตัวหนังสือใกล้ๆ ไม่ชัด ก็พอจะทำใจได้ นี่มองไกลยังจะไม่ชัดอีก
เรา : ไม่หรอกมาร เราเห็นเธอชัด เธออยากให้สายตากลับมาดีเหมือนเมื่อก่อน ตอนนี้อายุเธอปาเข้าไปเท่าไหร่แล้ว จะให้สายตามองชัดแจ๋วเหมือนสมัยสาว ๆ เป็นไปได้มั้ยมาร
มาร : เป็นไปไม่ได้
เรา : รู้ว่าเป็นไปไม่ได้ แต่อยากจะให้เป็นอยู่นั่นแหละ โง่ หรือฉลาด
มาร : โง่ ทุกข์
เรา : ดีมั้ยมาร สภาพโง่ และทุกข์
มาร : ไม่ดีเลย ทุกข์ ทรมาน
เรา : สายตาพร่าไม่น่ากังวลใจ ดูแลรักษาไปตามเหตุปัจจัยเท่าที่ทำได้ แต่ให้เพียรทำตาในให้ชัดเถอะมาร ทุกข์จะได้ลดลง (ใช้บททบทวนธรรมข้อที่ 137 เวลาชีวิต มีน้อยนัก สั้นนัก อย่าปล่อยเวลาชีวิต ให้สูญเปล่า จงละบาป บำเพ็ญกุศล และยินดี พอใจ เต็มใจ สุขใจ มีชีวิตชีวา ในทุกเสี้ยววินาทีของชีวิต)
พิจารณาอย่างนี้ มารก็ยอมสลายไป อาการ ความอึดอัด ไม่ได้ดั่งใจ ที่สายตามองเห็นไม่ชัดเจนเหมือนเดิม ก็จางคลายลงไปเกือบ 80 %
เรื่อง เจ็บก็ให้มันเจ็บ
ช่วงต้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ผมต้องโหมงานมากกว่าปกติ พักผ่อนน้อยกว่าปกติ ซ้ำยังผิดพลาดในการประมาณในการกินอาหาร เผลอกินอาหารฤทธิ์ร้อนและขนมเข้าไปมากกว่าปกติ สรุปว่าได้กระทำในสิ่งที่ผิดพลาดไปจากปกติหลายอย่างหลายเรื่อง ผลก็คือเกิดความเจ็บป่วย ริดสีดวงทวารกำเริบ เป็นแผลร้อนในที่ริมฝีปาก ตอนนี้กำลังปรับสมดุลและฟื้นฟูตนเองอยู่
ทุกข์ – รู้สึกเสียใจที่ตนเองได้ทำผิดพลาดไปหลายเรื่อง
สมุทัย – อยากทำทุกอย่างให้สมดุลเป็นปกติไปตลอดกาลนาน ไม่อยากให้ตัวเองทำผิดพลาดเลยแม้แต่น้อย
นิโรธ – หมดอยาก แม้จะทำผิดพลาดไปบ้างก็ไม่ทุกข์ใจ ยอมรับด้วยใจที่ยินดี แล้วแก้ไขสิ่งที่ยังผิดพลาดอยู่ไปเรื่อย ๆ ด้วยใจที่เป็นสุข
มรรค – ทำความเข้าใจว่าต้นตอของความทุกข์ใจก็คือความอยากนี่แหละ ต่อให้ผิดพลาดจนร่างกายเจ็บป่วยขนาดไหน ถ้าเราไม่มีความอยากว่าเราต้องได้สภาพร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ตลอดกาลนาน เราก็สามารถยอมรับความผิดพลาดและแก้ไขความเจ็บป่วยไปตามเหตุปัจจัยได้ โดยไม่จำเป็นต้องทุกข์ใจเลย ทุกข์แค่ร่างกายเท่านั้น
สรุปว่าเมื่อเห็นชัดเจนแล้วว่าทุกข์ใจนั้นเกิดจากความอยาก เข้าใจชัดว่าหมดอยากก็หมดทุกข์ ทุกข์ใจนั้นก็หายไปทันที ส่วนความเจ็บป่วยทางร่างกายนั้น หลังจากได้พยายามปรับสมดุลในอาหารและการพักผ่อนแล้ว อาการเจ็บป่วยก็ทุเลาลงเรื่อย ๆ จนใกล้จะหายดีแล้ว
เรื่อง ผีในใจ (อคติ)
เหตุการณ์คือ มีผีเสื้อตัวน้อยเข้ามาในเต็นท์ แว๊ปแรกที่เห็น เกิดความรู้สึกว่า ผีเสื้อตัวน้อยน่ารักจัง สีขาวสลับสีทองแซมเล็กน้อย มองด้วยความชื่นชมในความน่ารักน่าเอ็นดู
มีความคิดว่าควรจะต้องจับไปปล่อยนอกเต็นท์เพราะว่าถ้าอยู่ในนี้อาจไม่ปลอดภัย อาจได้รับอันตรายได้ ก็พยายามจับเค้า แต่ก็จับเขาไม่ได้ เขาบินหนีหายไป พยายามหาตัวเขาแต่ก็หาไม่เจอ ถึงเวลานอนแล้ว แต่ยังหาผีเสื้อไม่เจอ มีความห่วงผีเสื้อตัวน้อย แต่ก็ต้องจำนนด้วยเวลา จะทำอย่างไรได้ในเมื่อสุดวิสัยแล้วหาไม่เจอจริงๆ ตัดสินใจเอนกายลงนอนหลับไป พอตื่นมาตอนเช้ามีใจนึกถึง ผีเสื้อตัวน้อยนั้นขึ้นมาอีก พยายามมองหาอย่างมีความหวังว่าเค้าจะมีชีวิตอยู่รอดปลอดภัยดี มีความกลัว กังวลเกิดขึ้นในใจ อ้าวนี่ทุกข์ใจเกิดขึ้นแล้ว ทำใจในใจว่าทุกอย่างที่เกิดขึ้นดีที่สุดแล้วตามกุศล อกุศล ของแต่ละชีวิต เราปรารถนาดีให้เขามีชีวิตอยู่รอดปลอดภัย ส่วนเขาจะรอดหรือต้องตาย ก็เป็นไปตามวิบากดีร้ายของผีเสื้อน้อยตัวนั้น ยอมรับความจริงกับสิ่งที่เกิดขึ้น พอทำใจคิดได้อย่างนี้ อยู่ดีๆผีเสื้อก็บินออกมาจากไหนไม่รู้ ให้เราเห็นเขา ก็เลยใช้ผ้าค่อยๆจับเขาแล้วเอาไปปล่อยนอกเต็นท์ ก็มาตรวจใจตัวเองกับเหตุการณ์ในครั้งนี้ว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้างเห็นว่าสิ่งที่เรากระทบรูป (ผีเสื้อ)แล้วเกิดหลงไหลในรูปที่น่ารัก เกิดความลำเอียงในใจ (อคติ) มีความเป็นห่วง กลัวว่าเขาจะได้รับอันตราย เกิดวิปลาสขึ้น จิตที่ไม่ซื่อสัตย์ต่อกรรม การเกิดเป็นทุกข์ การมีใจไปข้องแวะชื่นชอบในสิ่งนั้นๆ แม้แค่แว๊ปเดียวก็พาให้ เกิดความห่วงใยในสิ่งนั้นขึ้นมาในใจ พอเกิดอาการดังกล่าวมา ทำให้เห็นความทุกข์เกิดตามมาทันที ความทุกข์ใจ กลัว กังวล เป็นห่วง เป็นความลวงของกิเลสหลอกให้คิดตาม ทำตาม ผลคือทุกข์ใจ ไม่สบายใจ เปลี่ยนความคิดผิดมาฝึกคิดใหม่
คิดตามพุทธะ สอนให้เชื่อชัดเรื่องกรรม รู้ความจริงตามความเป็นจริงอย่างแจ่มแจ้งว่าความรักความผูกพันที่เกิดขึ้นในใจแม้เล็กแม้น้อยก็ไม่ควรมี ไม่ควรเหลือไว้ในจิตเลย ด้วยการพิจารณาเรื่องกรรมอย่างแจ่มแจ้ง ปล่อยวางให้เป็นไปตามวิบากดี ร้ายของแต่ละชีวิต เมื่อเราได้พยายามช่วยแล้วปรารถนาให้เขาอยู่รอดปลอดภัยน่ะดีแล้ว แต่อย่ามี อคติในใจ มีความลำเอียงในใจอยากให้เขามีชีวิตอยู่รอดดั่งใจหมาย(เจตนา แต่อย่าอยาก)
ทุกข์: อยากให้ผีเสื้อมีชีวิต. อยู่รอดปลอดภัย (เป็นห่วง กลัว กังวลใจ)
สมุทัย: หลงยึดมั่นถือมั่นตามความคิดตัวเองว่า ผีเสื้อต้องมีขีวิตอยู่รอดปลอดภัยเท่านั้นจึงจะสุขใจ
นิโรธ: ผีเสื้อจะมีชีวิตอยู่หรือตายก็ไม่ทุกข์ ทุกอย่างเกิด-ดับ เป็นธรรมดาใครหรือเราจะได้รับสิ่งใด ตามกุศล อกุศล ยุติธรรมที่สุดแล้วที่เป็นไปได้จริง
มรรค: สำนึกผิดยอมรับผิดขอรับโทษ เต็มใจรับโทษ เราเคยเหนี่ยวนำ ทำเรื่องไม่เหมาะไม่ควรมา ชื่อสัตย์ต่อกรรมยินดียอมรับความจริงกับสิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนั้นๆ
ความลวงของกิเลสลวงให้หลง ให้ทุกข์ กลัว กังวลโดยใช้ความมีน้ำใจ ความเมตตา ความห่วงใยรักใคร่ปรารถนาดีมาหลอกให้เกิดทุกข์ใจเหตุผลเหมือนจริงแต่พอคิดตามทำตามแล้วเกิดผลทุกข์ใจแสดงว่าคิดผิด คิดผิดคิดใหม่คิดตามพุทธะดีกว่า เราหรือใครได้รับอะไรเกิดจากเราทำมาทั้งนั้นทำดีได้รับสิ่งดี ทำไม่ดีได้รับสิ่งไม่ดี วิบากกรรมเขา วิบากกรรมเรา
เจตนาแต่อยาก จงพากเพียรให้เต็มบริสุทธิ์เพราะความบริสุทธิ์เท่านั้นที่จะชนะทุกสิ่งทั้งโลก
ขอบคุณผีเสื้อที่มาทำให้เห็นผีกิเลสในใจตัวเองความหลงในกามคุณ 5
ได้รู้ว่ายังเหลือพลังงานหลงในจิตเหลืออยู่เพื่อที่จะได้พากเพียรทำพลังงานหลงนั้นให้มารู้ความจริงตามความเป็นจริงอย่างแจ่มแจ้ง พุทธะสอนให้เชื่อชัดเรื่องกรรม
“กรรมคือความจริง
ความจริงคือกรรม
เชื่อชัดเรื่องกรรม
คือเชื่อชัดความจริง
เชื่อชัดความจริง
จึงจะหลุดพ้นจากทุกข์ได้”
“เราจะทำกรรมอันใดไว้ดีก็ตามชั่วก็ตามเราจะเป็นผู้ได้รับผลนั้นอย่างแน่นอน”
ไม่โทษใคร ในโลกใบนี้
กราบอนุโมทนา สาธุค่ะ
ชื่อเรื่อง: กลัวติดโควิด-19
เนื้อหา:สืบเนื่องมาจากก่อนวันเกิดท่านอาจารย์ ที่มีพี่น้องขึ้นมาบำเพ็ญจากข้างล่าง แล้วก็มาพักอยู่ในเต๊นท์บริเวณเดียวกับที่พวกเราพัก โดยท่านเองก็ยืนยันว่าตัวท่านอยู่ที่บ้านตลอดในช่วงที่อยู่ข้างล่าง และแน่ใจว่าตัวท่านปลอดภัย ไม่มีการเสี่ยงต่อการติดโควิดแน่นอน เพราะไม่ใด้ไปในที่เสี่ยง ไม่ได้คลุกคลีหรือว่าใกล้ชิดคนที่เป็นโรคโควิดแต่อย่างใด โดยที่ท่านก็ใช้การปิดจมูกด้วยแมสค์ตลอดเวลา เพื่อป้องกันการเพ่งโทษจากพี่น้องและเพื่อความสบายใจของพี่น้องและตัวท่านเองด้วย และท่านก็ได้อยู่ร่วมบำเพ็ญจนเลยวันเกิดอาจารย์มาได้ประมาณ 3- 4 วันท่านก็กลับไปแต่เราก็ไม่ได้คิดอะไร ก็พูดคุยกับท่านปกติตลอดช่วงที่ท่านอยู่บำเพ็ญ
และไม่ได้รู้สึกว่ากลัวจะติดโควิดหรืออะไร เพราะค่อนข้างเชื่อในความบริสุทธิ์ใจของท่าน แต่ก็ไม่ได้ล่าซ่าประมาทเกินไป เหตุเกิดคือก่อนท่านกลับเรารู้สึกปวดที่ท้ายทอยและต้นคอด้านหลังอยู่ 2-3 วันอาจเพราะวันหนึ่งผิดศีลไปเสพอาหารอร่อยตามใจกิเลสมากไป
ประจวบกับช่วงนั้นทำงานค่อนข้างหนักไป (นอนดึกด้วย)จึงทำให้ร่างกายประท้วง สิ่งที่ทำให้เกิดความกังวลคือพอท่านกลับไปแล้วอาการปวดต้นคอก็ย้ายมาเจ็บที่ใต้คางแทน (รู้สึกเจ็บตอนกลืนน้ำลาย) เอ๊ะ เราเป็นอะไรหรือเปล่า แล้วก็คิดเลยเถิดต่อไปอีกว่า หรือว่าจะติดโควิด เออ ถ้ายังไงเราป้องกันไว้ก่อนดีกว่า ว่าแล้วก็ลุกจากการทำการบ้าน จุดมุ่งหมายอยู่ที่ครัวเพื่อไปหากล้วยน้ำหว้าดิบหั่นคลุกเกลือเพื่อมาเคี้ยวเพื่อหยุดเชื้อ
โควิดก่อนที่จะลงไปสู่ปอดเหมือนที่ดูจากคลิปที่พี่น้องส่งมา(ป้องกันไว้ก่อน)
กำลังจะเดินไปครัว คำสอนของอาจารย์ เรื่องพพจ.ปางที่ท่านบำเพ็ญโพธิสัตว์อยู่ ท่านกล่าวไว้ว่า “เราตามรักษาศีลของเรา เราไม่ได้ตามรักษาชีวิตของเรา” ลอยมาเลย จึงลังเลหยุดคิดนิดหนึ่งแต่ก็บอกตัวเองว่าคงไม่เป็นไรหรอกมั้งเราไม่ได้คิดจะไปกินเพราะกิเลสนี่นา แค่ไปเคี้ยวกล้วยดิบเพื่อให้ยางเขามาเคลือบช่องปากไว้เป็นยาป้องกันโควิดเท่านั้นเอง ช่วงเดินลอดใต้ราวผ้า ลวดราวผ้าก็เกี่ยวดึงเข้าที่ผมค่อนข้างแรงทำให้เปลี่ยนใจไม่ลงไปที่ครัว(ประมาณ 3 ทุ่ม) บอกตัวเองว่า คงไม่เป็นไรหรอกถ้าใจเราไม่กลัวแล้ว พรุ่งนี้ก็คงดีขึ้น และคืนนั้นก็ยังนั่งทำการบ้านต่อค่อนข้างดึก แต่ตอนเช้าลุกไปฟังธรรมะจากอาจารย์ช่วงเช้าก็รู้สึกว่าคอที่เจ็บมีอาการดีขึ้นแล้ว และ 2-3 วันต่อมาก็หายเป็นปกติ
ทุกข์ :รู้สึกกังวลในใจ กลัวว่าจะติดโควิด
สมุทัย: กิเลสหลอกว่ากลัวตัวเองตาย เพราะยังไม่อยากตาย ยังสนุกกับการบำเพ็ญอยู่
นิโรธ : ทำใจปล่อยวาง คลายความกังวลลงเมื่อคิดว่าเราจะเป็นโควิดหรือไม่เป็นก็ขึ้นอยู่กับวิบากของเรานั่นแหละ และคิดว่าถ้าวิบากร้ายเข้าและถ้าศีลเราไม่ดี แม้ระวังมากแค่ไหน ป้องกันยังไงก็ไม่รอดหรอก
มรรค: นึกถึงคำสอนและบททบทวนของอาจารย์ที่ว่า เก่งแค่ไหนว่าแน่ ก็แพ้วิบากร้าย ร้ายแค่ไหนว่าแน่ก็แพ้วิบากดี วิบากดีที่แน่แท้ ที่ดีที่สุด คือใจ
ไร้ทุกข์ ใจดีงาม
โดดเดี่ยวแต่ไม่เดียวดายท่ามกลางหมู่มิตรดี
วิชาโภชนปฏิบัตินำเสนอรายงานการทำการบ้านกลุ่มด้วยความพร่องในทุกๆด้าน
ทุกข์ : เสียใจที่ผลงานออกมาไม่ดีดังใจหมาย
สมุทัย : สุขใจถ้าการนำเสนอออกมาดีไม่มีอุปสรรคใดๆ ทุกข์ใจที่การนำเสนอบกพร่องทุกประการ
นิโรธ : สุขใจได้ไม่ว่าผลงานจะออกมาเป็นอย่างไร ไม่ทุกข์ใจกับความไม่สมบูรณ์แบบ การวางใจ ไม่ยึด ไม่อยาก หมดทุกข์ได้ในปัจจุบัน
มรรค : หนทางดับทุกข์ สิ่งที่ผุดขึ้นมาในความคิดระหว่างที่นำเสนอแล้วเกิดความพร่องนานาประการคือถาพที่เคยเพ่งโทษถือสาผู้อื่นในความด้อยและพร่องของท่าน ทุกสิ่งอย่างเกิดขึ้นกับเราทั้งหมดจนรู้สึกสำนึกผิดณ.ตอนนั้นเพียงแค่ความคิดที่ผิดศีลแล้วนับประสาอะไรกับการผิดศีลที่ออกมาทั้งกาย วาจาส่งผลกรรมวิบากร้ายมาให้ได้ล้างเร็วถึงเพียงนี้ เมื่อเข้าใจเรื่องกรรมอย่างแจ่มแจ้งไม่ใช่แค่ภาษาแต่เป็นสภาวะที่เกิดขึ้นจริงทำให้เข้าว่า ต้องสังวรศีลสำรวมอินทรีย์ให้มากทั้งหยาบกลางละเอียดในทุกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ใช่เรื่องบังเอิญ เก็บเอาประโยชน์แม้แต่เหตุการณ์ร้าย ยิ่งเป็นบทเรียนที่ดีเพื่อให้ได้ล้างอุปาทานขันธ์5ที่นอนเนื่องอยู่ความเป็นตัวตนที่ขุดออกไม่ได้ถ้าไม่มีผัสสะมากระทบในทั้ง6อายตนะ ไม่มีหมู่กลุ่มไหนที่จะมาเสียเวลากับการขัดเกลากิเลสให้กันและกันเช่นนี้ เปิดโอกาสให้ได้ชดใช้วิบากร้ายที่เคยทำมา เมื่อสำนึกผิด เกิดกุศลได้ฉับพลันได้หมู่มิตรดีชี้แนะวิธีการใช้เครื่องมือสื่อสารกันสดๆได้ลงมือปฏิบัติจริงจนการรายงานสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี เป็นข้อพิสูจน์อจินไตยของญาณ7พระโสดาบันข้อที่4ได้อย่างขัดเจนเห็นผลทันตาในปัจจุบันขณะเลยเทียว
รวมทั้งได้รับพลังจากหมู่กลุ่มที่ให้โอกาสสอนวิธีใช้เครื่องมือสื่อสารจนสามารถดำเนินการนำเสนอจนจบ อดทนให้เวลาติดตามชมแม้เวลาจะดึกเพียงใด ก็ยังให้กำลังใจ ถ้าเป็นแต่ก่อนจะขอยกเลิกแล้วเลื่อนออกไปเมื่อพร้อม แต่เมื่อฝึกล้างกิเลสถือเป็นรางวัลและบทเรียนที่ดีเพราะความสำเร็จของงานไม่ใช่ความสำเร็จงาน ความสำเร็จของงานเป็นความสำเร็จของใจต่างหาก จึงยิ้มแย้มแจ่มใสด้วยใจไร้ทุกข์ “The Show Must Go On” ตัดความติดยึดในความต้องเป็นที่1 ล้างโลกธรรมอัตตา ความรู้สึกแบบมารที่เข้ามารุมเร้าว่าให้เลิกทำ ไม่สามารถกล้ำกลายได้ทั้งในปัจจุบันขณะ อดีต และอนาคตเพราะถ้าเป็นนวลนภาคนเดิมจะต้องอับอายขายหน้าโศกเศร้าเสียใจร้องไห้กับความบกพร่องของตัวเอง แต่เมื่อเป็นเย็นน้อมพุทธคนนี้มารไม่มีเข้าแทรกต่อสู้กับกิเลสตนที่จะดีงนิวรณ์5 มาครอบงำรวมทั้งได้พลังจากหมู่มิตรดีทั้งกลุ่มเดียวกันพี่ ป้าๆและจากระบบออนไลน์ทางซูมส่งแรงลุ้นเชียร์จนสัมผัสได้จนรายงานได้สำเร็จด้วยความยิ้มแย้มแจ่มใสโล่งใจสุขใจได้กับผลงานที่พร่องในทุกประการเช่นนี้
ไม่ยึด ไม่อยาก ไม่ทุกข์ สุขยั่งยืน
เย็นน้อมพุทธ
640616
เรื่อง โกงกรรม
เหตุการณ์ เช้านี้เพราะเพลิดเพลินกับการเตรียมอาหารเพื่อไปทานที่ที่ทำงานทำให้ไปทำงานสายซึ่งเกิดขึ้นเป็นประจำทั้งที่เคยพยายามปรับปรุงในเรื่องนี้แต่ก็ยังทำได้บ้าง ไม่ได้บ้าง ระหว่างเดินทางไปทำงานก็คิดว่าสายแน่ๆ เกิดใจหดหู่ เศร้าหมอง พิจารณาว่าเราได้สร้างวิบากใหม่แล้วต้องได้รับวิบากนี้ แต่เพราะมีความขี้โกงเกิดขึ้นในใจไม่อยากได้รับผลจากวิบากที่ตัวเองสร้างขึ้นมา ขณะเดินไปสแกนนิ้วมือเวลาทำงานเห็นเวลาที่เครื่องสแกนแล้วแอบแวบในใจว่าแค่ 5 นาทีเอง
ทุกข์ : ไม่อยากมีความคิดขี้โกงที่เป็นมิจฉาทิฐิคือ ไม่ยอมรับผลจากกรรมที่ตัวเองก่อจากการไปทำงานสาย
สมุทัย : ชอบถ้ามีสัมมาทิฐิคือ ความคิดถูกต้องถูกตรง ทำไม่ดีก็ต้องได้รับผลนั้น กล้าทำ กล้ารับ
ชังความขี้โกง กล้าทำ ไม่กล้ายอมรับผลของตัวเอง
นิโรธ : ยินดีที่ได้รู้ความขี้โกงของตัวเอง เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงแก้ไข
มรรค : พิจารณาเรื่องกรรมและวิบากกรรม ทำอะไรย่อมได้รับผลนั้นตามบททบทวนธรรมข้อที่ 14 “ไม่มีชีวิตใดหนีพ้นอำนาจแห่งกรรมไปได้ ทำกรรมดีย่อมได้รับผลดี ทำกรรมชั่วย่อมได้รับผลชั่ว” ไม่มีประโยชน์ที่คิดโกงไม่รับผลที่เราทำไว้เนื่องจากเป็นไปไม่ได้ และจากคำสอนของท่านอาจารย์หมอเขียว ดร.ใจเพชร กล้าจน ที่เมื่อเราได้ทำผิดศีลแล้วจะทำให้แตกตัวเกิดการทำผิดอื่นๆ เหนี่ยวนำให้ผู้อื่นทำตามเกิดวิบากร้ายทั้งกับตัวเราเองและผู้อื่น
สรุป ใจยินดีที่ได้เห็นความขี้โกง มิจฉาทิฐิของตัวเองเพื่อนำไปปรับแก้ให้เกิดความคิดเห็นที่ถูกต้อง ถูกตรง เป็นสัมมาทิฐิ พร้อมสำนึกผิด ยินดี เต็มใจรับโทษ ตั้งจิตหยุดสิ่งที่ไม่ดี ตั้งจิตทำความดีให้มากๆด้วยความเบิกบาน
เรื่อง เลี้ยงพ่อแม่ให้รู้จักตาย
เหตุการณ์ แม่เสียชีวิตไปเกือบ 3ปีแล้ว โดยได้ทำการเก็บศพไว้ น้องชายมาปรึกษาถึงเวลาจัดการเผาศพแม่ให้เรียบร้อยดีไหม เพราะน้องเชื่อว่าเก็บศพแบบนี้ทำให้แม่ทุกข์เหมือนโดนกักขัง
ทุกข์ ขุ่นใจเล็กๆที่คิดว่าน้องยังเชื่อทางผิด ไม่เชื่อทางพุทธะ
สมุทัย ชอบถ้าน้องเชื่อ หรือเห็นด้วยตามที่เราคิด ชังถ้าน้องไม่เชื่อ ไม่เห็นด้วยตามที่เราคิด
นิโรธ น้องจะเชื่อหรือไม่เชื่อ เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยตามที่เราคิดก็ไม่ชอบไม่ชัง ใจไร้ทุกข์
มรรค ตั้งศีลมาพิจารณาไตรลักษณ์ ความวิปลาส ความไม่เที่ยง ความไม่มีตัวตน ในอาการของกิเลสที่ทำให้ทุกข์ใจ ความเอาแต่ใจ ให้ได้ดั่งใจหมาย เมื่อใจทุกข์ผิดทางพุทธะแล้วปรับจิตคิดใหม่ พุทธะต้องสุข ไม่หมอง ไม่ทุกข์
ตั้งศีลมาพิจารณาเรื่องกรรมว่าน้องคิดแบบนั่นไม่ถูก แม่จะสุขจะทุกข์ก็เป็นไปตามวิบากกรรม กุศลอกุศลที่แม่ได้พากเพียรสะสมปฎิบัติมา วิบากกรรมบันทึกไว้ไม่ตกหล่นไม่ผิดพลาด ใครทำดีก็ได้รับผลดี ใครทำชั่วก็ได้รับผลชั่ว ไม่มีใครรับแทนหรือทำแทนให้กันได้
ตั้งศีลมาพิจารณาประโยชน์ของการวางใจ ในการยึดมั่นถือมั่นว่าน้องจะเชื่อแบบของน้องก็ได้ เพราะเขาก็ต้องมีฐานนี้ให้ได้อาศัย จะเชื่อแบบเราก็ได้ เรามีหน้าที่บอกกล่าวว่ายังมีความเชื่อตามพระพุทธเจ้าอยู่นะ วิญญาณไปได้ไกล ไปแต่ผู้เดียว ไม่มีรูปร่าง มีจิตเป็นที่อาศัย มองไม่เห็น ไม่มีที่สิ้นสุด แจ่มใสโดยประการทั้งปวง และพิจารณาโทษของความยึดมั่นถือมั่นว่าน้องต้องเชื่อแบบเรานะ ถ้าไม่เชื่อก็จะมีแต่ทุกข์ แล้วเราจะยึดไปทำไมให้ทุกข์ ให้โง่
แต่ก็ขอบคุณน้องที่เป็นเหตุเป็นปัจจัยดึงกิเลสตัวนี้ออกมาให้ได้ล้าง เชื่อและชัดเรื่องกรรมอย่างแจ่มแจ้งว่า นั่นนะเรา เราก็เคยคิดเคยทำแบบนั้นมาก่อน ก็ขอรับผิด ขอโทษ ขออโหสิกรรม
ตั้งศีลมาปฎิบัติที่เรา นับ1ที่เราเริ่มต้นที่เรา ทำตัวอย่างให้ดูทั้งในเรื่องความต่างในพิธีกรรมที่ต้องทำร่วมกัน และเรื่องการดูแลสุขภาพ อย่างน้อยน้องก็จะบันทึกไว้ในจิตวิญญาณแล้ว เขาจะปฎิบัติตามตอนไหนก็เรื่องของน้อง เพราะสุดท้ายทุกคนก็ต้องการพ้นทุกข์
สรุป เมื่อเจอผัสสะนี้ทำให้เข้าใจในวิบากกรรมมากขึ้น ถ้าเป็นเมื่อก่อนก็คงจะทุกข์เหมือนกับน้อง คิดเหมือนกับน้อง คงไม่คุยกัน ไม่เข้าใจกันอาจออกมาทางวาจาได้ แต่ครั้งนี้เข้าใจกันดี พูดคุยกันได้ ใจไม่ทุกข์ เบิกบาน แจ่มใสเพราะได้เรียนรู้ธรรมที่ถูกตรงและเชื่อชัดทางนี้ทางเดียวที่พาพ้นทุกข์..สาธุ
เรื่อง ใจวุ่นเห็นกิเลส
เหตุการณ์ วันที่ 12 มิถุนายน 2564 เป็นวันจิตอาสาแพทย์วิธีธรรม และครบรอบ 1ปีหมอเขียวทีวี มีพี่น้องส่งลิงก์ ให้เข้าร่วมรายการถ่ายทอดสดได้ตั้งแต่เวลา 05.00-15.00น โดยประมาณ
เมื่อเปิดเข้าไปเจอลิงก์ดังกล่าวก็พยายามเข้าเพื่อไปร่วมกิจกรรมดังกล่าว 4-5 ครั้ง แต่เข้าไม่ได้ ถึงกับส่งข้อความไปถามพี่น้องด้วยว่าเข้าลิงก์ได้ไหม ?เห็นอาการหงุดหงิดที่ไม่ได้ดั่งใจ
ทุกข์ หงุดหงิดที่เข้าลิงก์รายการไม่ได้
สมุทัย ชอบที่เข้าลิงก์รายการได้ ชังที่เข้าลิงก์รายการไม่ได้
นิโรธ จะเข้าลิงก์รายการได้หรือไม่ได้ก็ไม่ชอบไม่ชัง ใจไร้ทุกข์
มรรค ตั้งศีลมาพิจารณาไตรลักษณ์ ความวิปลาส ความไม่เที่ยง ความจริง ความลวง ของกิเลสที่ทำให้ทุกข์ใจ พิจารณาโทษของความอยากได้ดั่งใจ ที่ทำให้ทุกข์ใจ ความใจร้อน ความเอาแต่ใจ ให้ได้ดั่งใจหมาย ความลวงในช่วงเวลาที่ยังไม่ใช่เวลา เมื่อใจเริ่มหงุดหงิดก็กลับมาพิจารณาใหม่ กิเลสเข้ามาไม่ใช่พุทธะแล้วและยังมีพลังสันนิทานให้คนอื่นเป็นตาม และวิบากนั้นก็ต้องรับอย่างหลีกหนีไม่ได้ ก็คิดใหม่ไม่ทำตามกิเลสมาร
พิจารณาประโยชน์ของความไม่อยากได้ดั่งใจ ความจริงรู้สึกใจสุข สงบ ไม่วุ่นวาย รู้ว่าถ้าเข้าลิงค์ได้เข้าร่วมกับหมู่กลุ่มได้นั้นดี เพราะยึดว่าเป็นประโยชน์จะได้ร่วมกับหมู่มิตรดี ร่วมเข็ญกงล้อพระธรรมจักร แต่เมื่อเข้าไม่ได้ก็ดี ก็ได้มาล้างความอยากได้ดั่งใจหมาย ดีแล้วที่พุทธะมากั้นมิให้ได้ดั่งใจหมาย ยิ่งได้ยิ่งเพาะกิเลสให้โตขึ้นๆ ซวยแน่เราเอาแต่ใจ ดั่งบททบทวนธรรมท่านอาจารย์หมอเขียว ทุกอย่างขึ้นอยู่กับเวลาและวิบากดีร้ายของเราของหมู่ที่สังเคราะห์กันอย่างดีที่สุดแล้ว เข้าไม่ได้ก็ใช้เวลานั้นมาทำประโยชน์อย่างอื่นได้
เมื่อเชื่อชัดในวิบากดีร้ายก็วางใจ เข้าได้ก็ดี เข้าไม่ได้ก็ดี ก็สามารถเข้าลิงก์ร่วมกับหมู่กลุ่ม ร่วมทำกิจกรรมได้จนเสร็จรายการ
ใช้บททบทวนธรรมข้อที่ 21 การได้พบกับเหตุการณ์ที่ไม่ถูกใจเรา ไม่ได้ดั่งใจเราเป็นสุดยอดแห่งเครื่องมืออันล้ำค่าที่ทำให้ได้ฝึกล้างกิเลสคือความหลงชิงชังรังเกียจ หลงยึดมั่นถือมั่นในใจเรา และทำให้ได้ล้างวิบากร้ายของเรา
สรุป หลังมาพิจารณา เชื่อชัด ความใจร้อนที่ทำให้ทุกข์ใจ ที่หนักทั้งแผ่นดิน แต่เมื่อได้พากเพียรฝึกมาเรื่อยๆ อาการใจร้อนค่อยๆลดลงอย่างเห็นเป็นรูปธรรมชัดเจนขึ้น อีกทั้งทำให้ทุกข์กายและเหตุการณ์ดีตามมาด้วย ทำให้เชื่อชัดว่าเมื่อ”ไม่อยากไม่ทุกข์”จริงๆค่ะ..สาธุ
แก้ไขเมื่อ 16/6/64
เรื่อง ทรมานจากทำฟัน
โดยปกติ ฉันมักจะมีปัญหาเรื่องฟันบ่อยๆ ฟันผุบ้าง ที่อุดฟันหลุดบ้าง ทั้งที่ใช้ไหมขัดฟันมานานแล้ว แต่ไม่พิถีพิถันเท่าที่ควร ฉันพบหมอฟันประมาณปีละ 1-2 ครั้ง เมื่อปลายปีที่แล้วพบว่า มีฟันผุลึกเกินกว่าจะอุดฟันได้ หมอฟันแนะนำให้รักษารากฟัน 2 ซี่ มีซี่หนึ่งอาจต้องรักษาโรคเหงือกด้วย ซึ่งใช้เวลานาน แต่การรักษาไม่ต่อเนื่องเพราะสถานการณ์โควิด-19 คลีนิคปิดเป็นเวลานานมากจนถึงขณะนี้เป็นเวลาประมาณ 5 เดือนแล้วก็ยังไม่รู้ว่าจะทำฟันเสร็จเมื่อไหร่
ทุกข์ : เครียดจากความเจ็บปวดในการทำรากฟัน
สมุทัย : ชอบที่ไม่เจ็บปวดจากการทำฟัน ชังความเจ็บปวดจากการทำฟัน
นิโรธ : การทำฟันจะเจ็บปวดหรือไม่ก็ยินดีได้
มรรค : ได้พิจารณาทุกข์ สาเหตุส่วนหนึ่งเกิดจากการกินอาหารหลายมื้อ ทำให้ต้องทำความสะอาดฟันบ่อยและเมื่อต้องรีบร้อนในการทำความสะอาดก็ทำได้ไม่ดีพอ จึงตั้งศีลกินอาหารมื้อเดียว เพื่อลดการใช้ปากฟันในการกินอาหาร ลดภาระการทำความสะอาดช่องปากและเอาใจใส่การทำความสะอาดฟันให้ดีขึ้น หากดูแลสุขภาพฟันดี โอกาสที่จะมีปัญหาในช่องปากก็น่าจะลดลง ในอนาคตอาจไม่มีปัญหาเรื่องรากฟันอีก แม้บางวันก็อยากกินอาหารหลังจากหมดมื้อแล้ว แต่หลายครั้งก็จับได้ว่าไม่ใช่ความหิว มันเป็นกิเลส
เหตุการณ์ที่ถูกกิเลสลวง :
มาร : จะขอเพิ่มมื้ออาหาร
ฉัน : ที่ผ่านมายังไม่เข็ดอีกหรือ ทรมานจากการทำรากฟัน ทำให้เสียเวลาและค่าใช้จ่ายมากจะเอาอีกมั๊ย (พิจารณากรรม) มาร ก็หายไปทุกครั้ง
ฉัน ก็ไม่ได้โหยหา หรือพิรี้พิไรจะกินเพิ่มอีก เมื่อหมดมื้อแล้วการรักษาฟันครั้งนี้ฉันได้รับความเจ็บปวดและค่าใช้จ่ายสูงซึ่งมีสาเหตุมาจากการดูแลสุขภาพฟันไม่ดี ทำความสะอาดไม่ทั่วถึงจนถึงวันนี้ฉันกินอาหารมื้อเดียวต่อเนื่องเป็นเวลากว่า 3 เดือนแล้ว และเอาใส่ใจทำความสะอาดฟันมากขึ้น โอกาสที่จะมีปัญหารากฟันก็น่าจะไม่เกิดขึ้นอีก แม้มีโอกาสที่เป็นอีกก็น้อยมาก เพราะได้แก้ที่ต้นเหตุคือทำกรรมใหม่ที่ดีแล้ว
การบ้านอริยสัจ 4
เรื่อง ทุกข์ใจอยากให้งานเสร็จ ไม่เสร็จสักที
งานที่เอาภาระรับมาทำ เป็นงานทำคลิปวิดีโอ ถ่ายมาแล้ว จะลงมือตัดต่อทำ ก็มีเหตุการณ์ทางบ้านที่จะต้องรีบทำช่วงนี้บ่อยมาก เดี๋ยวจะต้องไปซื้อของ จะต้องไปส่งของ บางครั้งก็จะต้องไปช่วยดูแลหน้าร้านบ้าง ซ่อมแซมบ้าน น้ำรั่ว แอร์เสีย ไล่ปลวก ไล่นก ก็เป็นเหตุทำให้งานไม่เสร็จสักที ช่วงแรกก็มีความทุกข์ใจอยู่ ก็เลยตั้งสติ พิจารณา เหตุการณ์ที่เกิด ก็เลยเห็นทุกข์จึงได้ใช้อริยสัจ 4 มาพิจารณาทุกข์ที่เกิดขึ้น
ทุกข์ : ทุกข์ใจ หงุดหงิด ไม่สบายใจ ไม่ได้ดั่งใจ มีเหตุการณ์มาทำให้งานทำคลิปวิดีโอไม่เสร็จสักที
สมุทัย : เพราะเราไปยึดว่า งานที่ทำต้องเสร็จตามที่คาดหมาย ถ้าไม่เสร็จจะไม่ชอบใจ ถ้าทำเสร็จถึงจะชอบใจ จึงเกิดความอยากที่จะให้เสร็จ
นิโรธ : งานจะเสร็จหรืองานไม่เสร็จ ก็จะไม่ทุกข์ใจ งานจะเสร็จก็ได้ ไม่เสร็จก็ได้ ยินดี พอใจกับเหตุการณ์ที่จะเกิดตลอดเวลา
มรรค : จะต้องเชื่อชัดเรื่องกรรม คงเป็นวิบากที่เราเคยไปทำให้คนใดคนหนึ่งทำงานแล้วไม่เสร็จสักที หรือไปขัดขวางการทำงานของใครมาแน่ ๆ เลย จึงได้นำบททบทวนธรรมมาพิจารณาในการดับทุกข์กับเหตุการณ์นี้ด้วยบทข้อที่ 109 ความเข้าใจ เชื่อและชัดเรื่องกรรมอย่างแจ่มแจ้ง เป็นรหัส เป็นปัญญา ที่จำเป็นที่สุดในการคลายความยึดมั่นถือมั่น ในการเข้าสู่ความผาสุกที่แท้จริง วิบากต้องรับ กิเลสต้องล้าง พุทธะจึงจะเกิด
และบททบทวนธรรมข้อที่ 76 ความสำเร็จของงาน ไม่ใช่ความสำเร็จของงาน ความสำเร็จของใจ คือความสำเร็จของงาน ใจที่ไร้ทุกข์ ใจที่ยินดี ใจที่ไม่ยึดมั่นถือมั่นว่างานจะสำเร็จหรือไม่สำเร็จ เมื่อเราได้พยายามทำเต็มที่แล้ว เพราะเข้าใจเรื่องกรรมอย่างแจ่มแจ้ง
ความอยากให้งานเสร็จ ไม่เสร็จสักทีเมื่อรับวิบากแล้ว ก็ได้ล้างกิเลสความอยากจนสิ้นได้ด้วยใจที่ไร้ทุกข์ ใจที่ยินดี เบิกบาน ผาสุกและยั่งยื่น “เสร็จก็ได้ ไม่เสร็จก็ได้”
อยากให้ลูกไหว้
ลูกชายจะไปทำงานแล้วยกมือไหว้พ่อบ้าน. แต่ไม่ไหว้แม่. แว๊บหนึ่งรู้สึกน้อยใจ
ทุกข์: รู้สึกน้อยใจที่ลูกไม่ยอมยกมือไหว้ มีอาการไม่แช่มชื่น เบิกบาน แจ่มใส
สมุทัย: อยากให้ลูกยกมือไหว้ เพราะคิดว่าตัวเองเป็นแม่ก็สำคัญ สุขใจถ้าลูกยกมือไหว้ ทุกข์ใจถ้าลูกไม่ยกมือไหว้
นิโรธ: ลูกจะยกมือไหว้ หรือไม่ยกมือไหว้ ก็ไม่ทุกข์ใจ
มรรค: เพราะเราก็ทำอะไรให้ลูกทุกอย่าง ตื่นเช้ารีบทำน้ำผักผลไม้ปั่น. ทำกับข้าวรับใช้บริการ พ่อบ้านไม่เห็นทำอะไรเลย. ตอนนี้นะ มันเป็นเวรกรรมที่เมื่อก่อนเราไม่เคยทำอะไรเลย มีแต่พ่อบ้านทำดูแลลูก เราเพิ่งมาทำตอนนี้โวยวายซะแล้ว ! มันถูกต้องสมควรแล้วที่ลูกจะไม่ไหว หรือลืมไหว้ เพราะพ่อบ้านดูแลลูกมาตลอดตั้งแต่เกิดเป็นสมบัติของเขาที่ควรจะได้ เมื่อยอมรับความจริงตามความเป็นจริงแล้วรู้ว่า”เราถูกกิเลสมันหลอกให้เราทุกข์ การที่ลูกไม่ไหว้ ไม่ได้แปลว่าลูกไม่รัก เมื่อพิจารณาความทุกข์ก็ค่อยๆผ่อนคลายไปได้แล้วคิดได้ว่าลูกจะไหว้หรือไม่ไหว้ก็ไม่สำคัญ ตอนนี้เราได้ทำหน้าที่ของความเป็นแม่ ซึ่งไม่เคยทำมาก่อน เวลาที่เหลือเราจะทำให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ สิ่งที่ผ่านมาก็สำนึกผิด ยอมรับผิด ขออโหสิกรรมต่อจิตวิญญานตัวเองที่หลงเดินทางผิดเพราะความไม่รู้ แล้วจะทำกรรมใหม่ในปัจจุบันให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ เมื่อคิดได้ก็รู้สึกโล่งใจผ่อนคลายความน้อยใจที่ลูกไม่ยกมือไหว้ได้ 50%ใช้เวลา 3วัน แต่เมื่อมาในรายการพูดคุยโลกุตระ อริยสัจ 4 มาให้หมู่กลุ่มช่วยกัน สังเคราะห์ก็ทำให้รู้สึกเกิดความฮึกเหิมมีพลังมากขึ้นอีก มีความเบิกบานแจ่มใส่เพิ่มขึ้นอีก 30 % ที่เหลืออีก 20%ก็ยังต้องพากเพียรปฏิบัติต่อไป เพราะกิเลสบ่วงมารของความอยากยึดในตัวลูกยังมีอยู่
เทียบเคียงบททบทวนธรรมข้อที่ 61 “ให้ แล้วคิดที่จะไม่เอาอะไรจากใคร ให้ได้” พอระลึกถึงบทนี้ ก็คลายความทุกข์ได้
ส่งการบ้านอริยสัจ4
เรื่อง. เก็บตกกิเลส
เหตุการณ์.เนื่องจากได้ไปซื้อของที่ร้านค้า พอทำธุระของตัวเองเสร็จกำลังจะเดินออกจากร้านค้าพอดี หันไปเห็นพ่อค้าทำของตก เป็น
กระป๋องเม็ดบ๊วยเค็มหล่นร่วงเต็มพื้น ก็เห็นว่าพ่อค้าเก็บเม็ดลูกบ๊วยใส่กลับคืนไปในกระป๋องเดิม แล้วก็เอาขายให้ลูกค้าต่อเลย เมื่อเห็นพฤติกรรมแบบนั้นของพ่อค้าจึงไม่พอใจขุ่นใจ คิดว่าของตกลงพื้นมันสกปรกแล้ว ไม่น่าจะนำมาขายต่อ มันไม่เหมาะไม่ควร ถ้าเป็นเมื่อก่อนก็จะพูดบอกพ่อค้าเลยว่า นั่นมันตกพื้นแล้วนะคะ น่าจะทิ้งดีกว่ามั้ย แต่ตอนนี้วางใจว่าใครจะทำอะไร ใครจะได้อะไรก็เป็นกุศลอกุศลของผู้นั้นและคนที่เกี่ยวข้อง ส่วนเรามีกิเลสส่วนเหลือตรงไหนก็มาล้างของเราต่อไป
ทุกข์. ไม่พอใจขุ่นใจกับพฤติกรรมไม่ดีของพ่อค้า คิดว่าไม่ควรเอาของที่ตกลงพื้นมาขายต่อ ควรจะเอาไปทิ้ง
สมุทัย.อยากได้สภาพดีๆพฤติกรรมดีๆจากพ่อค้า ถ้าพ่อค้าไม่เก็บของที่ตกมาขายต่อ ของตกลงพื้นแล้วเก็บไปทิ้ง เราจะชอบใจจะสุขใจ เมื่อเห็นพ่อค้าทำพฤติกรรมไม่ดี ไม่ทำตามที่ใจเราคิดจึงไม่พอใจไม่ชอบใจ
นิโรธ.วางใจ ว่าพ่อค้าทำพฤติกรรมแบบไหนอย่างไร ก็ไม่ชอบไม่ชัง ปล่อยให้เป็นไปตามวิบากกรรม กุศลอกุศล ของคนที่เกี่ยวข้อง
มรรค. ตั้งศีลมาปฏิบัติพิจารณาเห็นไตรลักษณ์ ความวิปลาส ความไม่เที่ยง ไม่มีตัวตนของอาการกิเลส ที่ทำให้เราทุกข์ใจ เมื่อเกิดผัสสะก็มาพิจารณาอาการของกิเลส เห็นถึงความติดความยึด ติดคำว่าความควรไม่ควร ถ้าพ่อค้าเก็บของที่ตกลงพื้นไปทิ้งแล้วไม่เอามาขายต่อนะดี มันใช่มันควรน่าจะเป็นอย่างนั้น แต่ไม่จริงเพราะคิดเหมือนจริงแต่ยังทุกข์ แสดงว่าไม่ใช่ความจริง คือความลวงไม่ใช่พุทธะ ไม่ใช่สัจจะที่แท้จริง เพราะสัจจะความจริงมันต้องเป็นอย่างนั้น เพราะผัสสะที่เกิดขึ้นมันเป็นกุศลอกุศลของเราและคนที่เกี่ยวข้อง ส่วนของเรา เราก็ระลึกได้ว่าเมื่อก่อนตอนที่ยังไม่เจอพุทธะไม่เจออาจารย์เราก็เคยทำพฤติกรรมไม่ดีมาก่อน เห็นแก่ตัวอย่างนี้มาก่อน เคยขายพิซซ่าแล้วแผ่นพิซซ่าขึ้นรา เราก็ยังแกะส่วนไม่ดีออก แล้วเอามาทำต่อเอามาขายต่อเหมือนกัน ซึ่งเราไม่รู้เลยว่านั่นมันนั่นคือการทำผิดศีลครอ฿ูและเป็นแรงเหนี่ยวนำทำให้ผู้อื่นทำตาม อยากได้อยากเป็นอยากมี เมื่อเกิดความอยากได้ก็ไม่สิ้นสุด ต้องไปไคว่คว้าหามาเพื่อจะสนองกิลสความอยาก เมื่อต้องการได้ดั่งใจหมายเมื่อไม่ได้ก็ต้องไปปล้นไปชิงไปฆ่าคน เพื่อให้ได้มาอย่างที่ตัวเองต้องการ แล้วต้องไปเบียดเบียนชีวิตผู้คนอีกเท่าไหร่ๆ
จึงตั้งสำนึกผิด ยอมรับผิด ขอโทษ เต็มใจรับโทษ ตั้งจิตหยุดสิ่งไม่ดีอันนั้นตั้งจิตทำความดีให้มากช่วยเหลือผู้อื่น ส่วนพ่อค้าที่เค้าทำพฤติกรรมไม่ดีมันก็เป็นวิบากกรรมใหม่ของเค้า เค้าทำไม่ดีเค้าก็ต้องได้รับส่วนของเค้าไป เค้าไม่อยากทุกข์หรอกไแต่ไม่รู้ทางพ้นทุกข์ เราต้องเมตตาเค้าให้มากๆ ขอให้เค้าคิดดีคิดถูกได้เร็วๆนะ
สรุปว่า.เมื่อพิจารณาอาการของกิเลสไปเรื่อยๆ เมื่อชัดเรื่องกรรมอย่างแจ่มเจ้งก็ทำให้กิเลสจางคลายลงได้ตามลำดับใจก็ไร้ทุกข์ สิ้นอยาก สิ้นทุกข์ ผาสุก ยั่งยืน สาธุค่ะ
รมิตา ซีบังเกิด
เรื่อง : บ้านเสียหาย
เหตุการณ์ : ลูกสาวซื้อบ้านที่จ.น่าน เป็นบ้านจัดสรร เราก็เห็นด้วยเพราะไม่ต้องเสียค่าเช่าบ้าน และเขาก็สามารถเบิกค่าเช่าบ้านได้ด้วย ช่วงแรกๆต้องเพิ่มเติมในส่วนของอุปกรณ์ต่างๆหลายอย่าง ปัญหาคือลูกขาดประสบการณ์ในการติดต่อช่างและเลือกซื้อของ บางครั้งช่างที่ติดต่อมา ก็ทำบ้านเสียหายไปบางส่วน ลูกโทรมาปรึกษาใจเราก็อยากจะไปช่วยดูแต่อุปสรรคคือเรื่องของโรคระบาด
ทุกข์ : เสียดายบ้านลูกจะเสียหาย
สมุทัย : ชอบที่บ้านจะอยู่ในสภาพดี ชังที่บ้านจะเสียหายจากการกระทำของช่าง
นิโรธ : บ้านจะเสียหายหรือไม่ก็ไม่ชอบไม่ชัง
มรรค : พอได้ฟังเรื่องที่ลูกโทรมาปรึกษาว่าช่างที่ติดแอร์ติดไม่ดีทำวงกบหน้าต่างแตก บ้านที่ซื้อใหม่อยู่ในสภาพที่ดีพร้อมใช้งาน โครงสร้างทำด้วยปูน แต่การที่ช่างเจาะหรือตอกจนปูนแตก ปูนร้าว ความรู้สึกแรกคือเสียดายแทนลูก แต่กลับมาคิดใหม่ว่า เสียแล้วก็ซ่อมใหม่ได้เพราะช่างในโครงการก็มี ติดต่อให้เขามาช่วยทำให้ใหม่ ซึ่งสามารถปะใหม่ ทำใหม่ อาจจะมีตำหนิไปบ้างก็ไม่เป็นไร อย่ากังวล ช่วงนี้ก็ให้ลูกรอบคอบ ใจเย็นๆ ค่อยดู ค่อยทำไปอย่าใจร้อน ว่างแล้วจะขึ้นไปช่วยดูให้คงจะทันในวันที่เข้าอยู่แน่นอนซึ่งตรงกับททบทวนธรรมบทที่57ว่า”สมบูรณ์และทันใช้ ดีที่สุด พร่องแต่ทันการณ์ ดีกว่าสมบูรณ์แต่ไม่ทันใช้ สมบูรณ์แต่ไม่ทันใช้ ไม่มีประโยชน์อะไร” เราให้คำปรึกษาลูกแล้วก็กลับมาบอกตัวเองว่า ไม่ต้องเสียดายของนอกกาย ยังมีชีวิตอยู่ ก็ทำใหม่ได้ ทำใจให้ไร้ทุกข์ ไร้กังวลจะดีกว่า
สุดท้ายก็วางใจได้ดี ไม่เสียดายไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นก็ตาม ใจก็โล่ง โปร่ง สบายใจในที่สุด
เรื่อง ไม่เสร็จมาร
เหตุการณ์ วันนี้ทำงานตามปกติจนช่วงจะบ่ายมีงานหลายอย่าง ที่ยังทำไม่เสร็จ เกิดอาการกังวลว่าจะทำทันไหม
ทุกข์ กังวลว่างานที่วางไว้จะไม่เสร็จวันนี้
สมุทัย ชอบถ้างานเสร็จตามเวลา ชังงานไม่เสร็จ
นิโรธ งานเสร็จตามเวลาหรือไม่ก็ไม่ทุกข์ใจ
มรรค มาร วันนี้จะทำงานทันไหมเนี่ยบ่ายแล้ว
น่ะยังเหลืออีกหลายอย่างเลย
เรา วันนี้ไม่เสร็จพรุ่งนี้ทำต่อก็ได้ งานไม่เสร็จไม่สำคัญ แต่ฉันไม่เสร็จแกก็แล้วกัน การใจร้อนเร่งรีบร้อนรน เกินกำลังตนเป็นการเบียดเบียนตนเองเป็นการผิดศีล เป็นเป็นแรงเหนี่ยวนำให้คนอื่นใจร้อนตามเป็นวิบากร้ายทำตามที่ทำได้อย่างรู้เพียรรู้พักด้วยใจที่เป็นสุขก็พอแล้วงานจะเสร็จหรือไม่เสร็จก็ได้แต่ที่แน่ๆถ้ามีแกอยู่งานไม่เสร็จแน่ๆเลย
มาร อ้าวเพราะฉันเหรอ
บททบทวนธรรมข้อ121
โจทย์ทุกโจทย์
เหตุการณ์ทุกเหตุการณ์
เป็นเครื่องมือฝึกจิตของเรา
ให้เป็นสุขอย่างถูกต้องตามธรรม
สรุป
หลังจากนั้นก็ได้ทำงานอย่างสบายๆไม่รีบร้อนจนงานเสร็จก่อนเวลาอย่างใจสบายๆ
เรื่อง สั่งเมล็ดพันธ์ได้ล้างใจ
เหตุการณ์ เปิดเฟสเห็นเขาขายพันธ์ผักบุ้ง จึงทักไปเพื่อสั่ง แต่กลับไม่ได้คำตอบรออยู่นานก็ไม่ตอบ
ทุกข์ ขุ่นใจถามทำไมไม่ตอบสักที
สมุทัย ชอบถ้าถามแล้วตอบทันที ชังถามแล้วไม่ตอบสักที
นิโรธ ถามแล้วเขาจะตอบหรือไม่ตอบก็ไม่ทุกข์ใจ
มรรค ถามแล้วไม่ตอบสักทีจึงเกิดอาการขุ่นใจเล็กน้อย
มาร อ้าวถามแล้วไม่ตอบจะขายไหมเนี่ย
เรา ถ้าเขาตอบทันทีฉันจะเห็นแกเหรอ ต้องขอบคุณเขาที่เขาไม่รีบตอบจะรีบร้อนไปไหน รีบร้อนแล้วเป็นสุขหรือทุกข์ล่ะเคยไหมที่ใครเขาถามแกแล้วแกไม่ตอบทันทีน่ะ ทำแล้วกล้าๆรับหน่อยซิ เขาจะตอบเมื่อไรก็ได้ สิ่งที่เราได้รับคือสิ่งที่เราทำมาน่ะ วางใจซะ เขาตอบมาก็ได้ไม่ตอบก็ได้ตามวิบากของเราของเขาถ้าเขาตอบเราก็สั่งเขาไม่ตอบก็ไม่ต้องสั่ง ก็เท่านั้นเอง แต่ใจต้องไม่ทุกข์เท่านั้นพอ พอวางใจได้วัน รุ่งขึ้นเขาก็ตอบมา จึงได้สั่งซื้อไป
บททบทวนธรรม133
อุปสรรคและปัญหา
คือชีวิตชีวา
สรุปพอวางใจได้จริงเหตุการณ์ก็คลี่คลาย
เรื่อง ผิดเวลา
เหตุการณ์ : เช้ามืดได้รับโทรศัพท์จากคนส่งของแจ้งว่าเที่ยงจะเอาของมาส่ง จึงตัดสินใจอยู่รับทั้งๆที่ต้องไปทำธุระ พอได้เวลาเที่ยงไม่มา เลยไปจนบ่ายก็ไม่มา บ่ายค่อนข้างเย็นก็ยังไม่มา คราวนี้มารมาแทน รู้สึกหงุดหงิด ขึ้นมาเลย แถมคิดไปว่าผิดเวลามากแล้วนะนี่ ไม่ตรงเวลาตามที่บอกเลย
ทุกข์ : รู้สึกหงุดหงิด ที่คนส่งของไม่มาส่งตามเวลา
สมุทัย : หลงยึดมั่นถือมั่นว่าเขาต้องมาส่งตามเวลาที่แจ้งไว้ ชอบถ้าเขามาส่งของตรงเวลานัด แต่เขามาส่งผิดเวลาจึงชัง
นิโรธ : เขาจะมาส่งตามเวลา หรือ ผิดเวลาก็ได้ ใจเป็นสุขไม่ชอบ ไม่ชัง
มรรค : วางความยึดมั่นถือมั่นที่จะให้เขามาส่งตามเวลาเพราะเป็นความเห็นแก่ตัวของเรา อยากให้เขามาส่งตามที่แจ้ง จะเอาให้ได้ดั่งใจตัวเองนี่ ทำไมเราไม่เห็นใจ ไม่เข้าใจเขาบ้าง เขาอาจต้องส่งของให้ลูกค้ารายอื่นๆอีกหลายที่หลายแห่ง ลองย้อนดูตัวเองก็เคยนัดแล้วไปผิดเวลามาเหมือนกัน แล้วเรายังอยากจะเอาดีจากเขาอยู่ได้อย่างไรมันชั่วเกินไปแล้วเรา ที่สำคัญเราไม่มีสิทธิ์ไปกำหนดหรือควบคุมให้เขาทำตามความต้องการของเราคนเดียวได้ แต่เรากำหนดให้ใจเราไม่ทุกข์ได้ด้วยการเอาความรู้สึกหงุดหงิดออกไปจากใจ ซึ่งตรงกับบททบทวนธรรมข้อที่ 89 ว่า” ในโลกนี้ ไม่มีอะไรเที่ยง ไม่มีอะไรที่เราควบคุมได้ ไม่มีอะไรที่เรากำหนดได้ นอกจากใจที่ไม่ทุกข์ของเราเท่านั้น ที่เรากำหนดได้”
หลังจากได้พิจารณาดังกล่าวแล้วความรู้สึกหงุดหงิดหายไปจนหมดใจกลับมาไร้ทุกข์ดังเดิม จากนั้นก็อยู่อย่างเบิกบานใจ เขาจะมาส่งของเวลาไหน เมื่อไรก็ได้ และแล้วของก็มาถึงเกือบค่ำ
เรื่อง ลืมกุญแจ
เหตุการณ์ : หลังกลับจากทำธุระข้างนอก จะเข้าบ้านรอพ่อบ้านเปิดประตูแต่ยังไม่เปิดสักที สังเกตเห็นพ่อบ้านง่วนอยู่กับการค้นหาอะไรบางอย่าง สักพักได้ยินพ่อบ้านพูดว่า” แย่แล้วไม่ได้เอากุญแจบ้านออกมา” พอได้ฟังรู้ว่ามีอารมณ์ขัดใจนิดๆเข้ามาแว็บเดียวพร้อมทั้งพูดแค่คำเดียวว่า”อ้าว” ความรู้สึกนั้นก็หายไป
ทุกข์ : รู้สึกขัดใจนิดๆ ที่พ่อบ้านไม่เอากุญแจออกมาจากบ้าน
สมุทัย : ยึดดี อยากให้พ่อบ้านเอากุญแจติดตัวไว้ จะได้ไม่ลืม ชอบที่พ่อบ้านเอากุญแจออกมา พอพ่อบ้านลืมทำให้ไขประตูเข้าบ้านไม่ได้จึงชัง
นิโรธ : พ่อบ้านจะลืมกุญแจ หรือ ไม่ก็ได้ ใจเป็นสุข ไม่ชอบ ไม่ชัง
มรรค : วางใจตัวเองก่อน ที่จะเห็นแก่ตัวด้วยเอาดีจากพ่อบ้าน ยอมรับความจริงในขณะนั้นว่าพ่อบ้านลืมจริงๆ ไม่โทษ ไม่ถือสาเขา เพราะไม่มีใครเลยที่ไม่เคยทำพลาดทำผิดมา เราเองก็เคยทำผิดผลาดมา เคยลืมโน่น นี่ นั่นมาเหมือนกัน เมื่อได้พิจารณาตามความจริงดังนี้เราก็เข้าใจพ่อบ้าน เขาไม่มีเจตนาลืมหรอกแต่เนื่องจากรีบร้อนไปทำธุระ เพื่อจะได้กลับมาเร็วเพราะต้องไปทำภารกิจที่ท่าชนะอีก เมื่อคิดได้ดังนี้ความรู้สึกที่ขัดใจนิดๆหายไปทันที ใจกลับมาเบิกบานเป็นสุขอย่างเคยได้ตรงตามบททบทวนธรรมข้อ149 ที่ว่า”ความสุขแท้ คือไม่ทุกข์ใจ ไม่ว่าจะเกิดอะไร ในสถานการณ์ใด” และในขณะนั้นก็ช่วยกันหาวิธีเอากุญแจออกมาจากบ้านแล้วไขประตูเข้าบ้านได้สำเร็จ
สรุป พอเราวางดีไม่เอาดีจากพ่อบ้าน( ซึ่งแต่ก่อนถ้าเกิดเรื่องแบบนี้ต้องบานปลายใหญ่โตแน่ๆคิดแต่จะโทษพ่อบ้านแล้วบ่นไม่เลิกจนมีปากเสียงกัน)พ่อบ้านก็เช่นกัน ต่างคนต่างวางความยึดดี ความอยากเอาดีจากกันและกัน ปัญญาจึงเกิดแล้วช่วยกันหาทางเอากุญแจออกมาได้และไขประตูเข้าบ้านได้สำเร็จ
17/06/64
ชื่อ นางสำรวม แก้วแกมจันทร์
ชื่อเล่น “ป้ารวม”
ชื่อทางธรรม “ร้อยแสงศีล”
จิตอาสา สวนป่านาบุญ 2
เรื่อง “ขอบคุณมาตลีเทพ ที่มาช่วยล้างกิเลส”
เหตุการณ์
เทศบาลประกาศให้ไปรับ “อุปกรณ์ป้องกันโควิด” ลูกไปรับแต่ไม่ได้ของ เจ้าหน้าที่บอกว่ามีคนรับแทน เซ็นชื่อไว้แล้ว ลูกไม่รู้จัก เราก็ไม่รู้ว่าใคร ทำไมเขาต้องรับแทน ไม่พอใจไม่ชอบ ทุกข์อยู่หลายวัน ถึงวันพฤหัสที่ 10 มิถุนายน มีตลาดนัด เรานำผักไร้สารพิษไปแบ่งปันผักร่วมกับเทศบาล ได้เจอคนที่รับแทนโดยบังเอิญ เขาดีใจที่เจอเรา รีบบอกว่า รับของมาแทนไปให้ที่บ้าน แต่ไม่เจอใคร วันนี้เอาของมาให้แล้ว บอกเขาไปว่า ขอบคุณมากที่อุตส่าห์ รับมาให้ วินาทีนั้น ความไม่พอใจ ไม่ชอบใร หายไปสิ้น เกิดปาฏิหาริย์ได้จริง “ขอบคุณ มาตลีเทพ ที่มาช่วยล้างกิเลสตัวไม่ชอบ อัตตาตัวยึด ให้ออกไปได้
ทุกข์ : ไม่พอใจ ไม่ชอบ ที่มีคนมารับของแทน
สมุทัย : ใจยังยึดว่า ถ้าได้รับของด้วยตัวเอง พอใจ ชอบ สุขใจ แต่มีคนรับแทน ไม่พอใจ ไม่ชอบ ทุกข์
นิโรธ : จะรับของด้วยตัวเองหรือมีคนมารับของแทน ก็ยินดี พอใจ สุขใจ เบิกบาน ไม่ทุกข์
มรรค : ทบทวนใคร่ครวญตัวเอง พิจารณาถึงคำสอนของพุทธะ ด้วยที่ตัวเองเป็นคนกิเลสหนา อัตตาโต ติดมาหลายภพหลายชาติ จึงตั้งสติมั่น ระลึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้า คำสอนของอาจารย์หมอ พบว่ายังทำพฤติกรรมที่ผิดศีล ละอายที่พร่องในศีล ยังเบียดเบียนตัวเอง ไม่ซื่อสัตย์ต่อตัวเอง ทุกข์ ที่ปฏิบัติตามคำสอนยังไม่ดีพอ สำนึกผิดแล้ว ขอใช้ปัญญาของพุทธะ ทำใจในใจ ถามกิเลสว่า ทำไมไม่ชอบ ไม่พอใจคนที่รับของแทน ออ! เพราะเราเคยทำมามากกว่านั้น ยึดแล้วโง่ ไม่เบิกบาน ทุกข์ เพราะชั่วช้า หนักนาน จึงโง่ดักดาน ต่อนี้ไปต้องปฏิบัติศีลอย่างมีสติ ให้สมาธิตั้งมั่น ใช้ปัญญาญาณของพุทธะ ดับทุกข์ ให้ลดลงๆ เป็นลำดับๆ นำบทททธ. มาพิจารณา ล้างกิเลสตัวไม่ชอบ ล้างอัตตาตัวยึด ซึ่งตรงกับบทททธ.
บทที่ 1 “เรื่องการเข้าใจผิดของเรากับผู้อื่น มันเป็นวิบากกรรมเขา วิบากกรรมเรา แก้ไขด้วยการทำดีไม่มีถือสา ไปเรื่อยๆ วันใดวันหนึ่ง ในชาตินี้ หรือชาติหน้า หรือชาติอื่นๆ สืบไป ความเข้าใจผิดนั้น ก็จะหมดไปเอง” จากเหตุการณ์ ที่ทำให้เกิดความเข้าผิดกัน เชื่อและชัดเรื่องวิบากกรรม จึงเข้าใจตัวเอง ให้อภัยตัวเอง ไม่โทษตัวเอง ไม่ซ้ำเติมตัวเอง ไม่เบียนเบียนตัวเอง จึงเข้าใจคนที่รับของแทน ให้อภัย ไม่ถือสา เมตตา ยินดีด้วยใจบริสุทธิ์ เบิกบาน ไม่ทุกข์
บทททธ. ที่ 16 “มาตลีเทพคือ วิบากดีร้ายที่สร้างสิ่งดีร้ายให้ชีวิต เป็นสิ่งเตือน บอกว่า อะไรเป็นกิเลสเป็นโทษ ให้ลด ละ เลิก อะไรเป็นบุญกุศล เป็นประโยชน์ ให้เข้าถึง อะไรเป็นโทษ ให้เว้นเสีย”
เมื่อวิบากกรรมตามทัน โง่ ชั่ว ทุกข์ แต่พอมาตลีเทพมาเตือน จึงยอมได้ ทุกอย่างง่าย ไม่ยึดแล้ว ยอมแล้ว วางแล้ว จะรับของด้วยตัวเองเองหรือมีคนมารับแทน ก็ยินดี พอใจ สุขใจ เบิกบาน ไม่ทุกข์
ขอขอบคุณมาตลีเทพสารถี ที่มาช่วยรับของแทน กิเลสบางลง อัตตาเล็กลง หายชั่ว หายโง่ เห็นความไม่เที่ยง ช่วยดันวิบากร้าย ให้ชีวิตหายทุกข์ ขอบคุณมาตลีเทพสารถี สาธุ
17/06/64
ชื่อ : น.ส.ทิษฏยา โภชนา
ชื่อทางธรรม : ในสายธรรม
จิตอาสาสังกัดสวนป่านาบุญ 2
เรื่อง: ขี้เกียจล้างรถ แต่ได้ล้างใจ
เหตุการณ์.ได้เวลาที่จะต้องล้างรถ หลังจากที่ผลัดวันประกันพรุ่งมานาน แต่พอกำลังจะเริ่มล้างก็เกิดความลังเลใจว่าจะล้างเองดี หรือว่าจะส่งไปล้างที่คาร์แคร์ดี กิเลสมันให้เหตุผลว่า รถมันสกปรกมากถ้าส่งไปล้างนี่จะคุ้มแน่ ๆ ในขณะที่ลังเลใจแต่ก็ตัดใจที่จะล้างเอง จากนั้นก็ได้เปิดรถเพื่อดึงจะเอาพรมออกมาทำความสะอาด กิเลสตัวขี้เกียจมันก็เข้ามาแทรกอีก มันให้เหตุผลว่า สกปรกขนาดนี้ส่งล้างดีกว่า ล้างเองไม่ไหวหรอก ล้างหมดนี่เหนื่อยแย่เลย พร้อมกับความรู้สึกเหนื่อยหมดแรงเหมือนกับทำงานหนักมากนาน (มันเหนื่อยซะตั้งแต่ยังไม่ทันได้เริ่มล้างรถเลย) พอได้สติรู้ว่ากิเลสมันเริ่มหลอกเราอีกแล้ว จึงใช้ปัญญาเข้าไปพิจารณา
ทุกข์ : ขี้เกียจล้างรถเอง รู้สึกว่ารถสกปรกมากจนไม่อยากล้างเอง
สมุทัย : ชอบใจถ้าไม่ต้องล้างรถเอง ชังที่ต้องล้างรถเอง
นิโรธ : จะต้องล้างรถเองก็ไม่ทุกข์ใจ
มรรค : เมื่อกิเลสมันสั่งการให้เราไม่อยากล้างรถเอง โดยให้เหตุผลว่า ส่งล้างสะดวกกว่า จะต้องเสียเวลามาล้างเองให้เหนื่อยทำไม จึงเข้าไปพิจารณาทำตรงกันข้ามกับที่กิเลสสั่ง คือ บอกกับมันว่า
เรา : ฉันเป็นคนใช้รถเอง ฉันก็จะล้างเอง
ฉันจะล้างทั้งรถ ล้างทั้งแกเลยมาร
มาชวนให้ขี้เกียจดีนัก…ต้องล้างให้สิ้นเกลี้ยง
เป็นลูกหลานพระพุทธเจ้าต้องรู้จักประหยัด เรียบง่าย พึ่งตนให้ได้ ไม่ใช่ไปใช้ชีวิตฟุ่มเฟือย
ล้างรถแค่นี้ยังล้างไม่ได้ แล้วจะไปทำงานที่ยิ่งใหญ่กว่านี้ได้ไง
ตรงกับบททบทวนธรรมข้อที่ 161 “ ชีวิตต้องฝึกอยู่อย่างประหยัด เรียบง่ายให้ได้ ประหยัดคือกินน้อยใช้น้อยในขีดที่แข็งแรงที่สุด ไม่ทรมานตน ไม่เสียหาย จำเป็นจึงใช้ ไม่จำเป็นไม่ใช้ เป็นประโยชน์จึงใช้ เป็นโทษไม่ใช้ เพื่อก้าวไปสู่ชีวิตที่พอเพียงเรียบง่าย ร่างกายแข็งแรง จิตใจดีงาม จิตใจเป็นสุข”
บทสรุป เมื่อพิจารณาแบบนี้ไปแล้วความขี้เกียจที่จะล้างรถเองก็สลายไป จึงไปล้างรถด้วยความเบิกบานใจ ไม่ได้เหนื่อย ไม่ได้ล้างยากเหมือนที่คิดไว้ตอนแรก เมื่อใจสะอาดจากกิเลส เราก็ได้รถคันเดิมที่สะอาดขึ้นด้วยไม่ต้องสิ้นเปลืองเงินทองโดยไม่จำเป็น
ส่งการบ้านอริยสัจ4
June 19, 2021 at5;57am
ชื่อสมศรี ศิริสุวรรณรัตน์
ชื่อทางธรรม; เก็บแก่นศีล
ชื่อเรื่อง; ทุกข์ใจที่เห็นสัตว์ถูกทำร้ายและถูกทอดทิ้ง
สมุทัย; ทุกข์เมื่อเห็นสัตว์ถูกฆ่าถูกทอดทิ้งต้องทรมานโหยหิวและกลายเป็นสัตว์จรจัด
ชีวิตที่ถูกทอดทิ้งเราเข้าใจดี,พ่อไปทางแม่ไปทางบ้านแตกตั้งแต่เราอายุ7ขวบเลยเข้าใจ
ถึงการถูกทอดทิ้งมันทุกข์ทรมานแค่ไหน,เห็นรถบรรทุกสัตว์บนถนนใจมันก็บอกอีก
ว่าเขาจะเอาไปฆ่าใจมันก็สั่งว่าชื้อเอาไปเลี้ยงเลยได้แต่คิดแต่มันเป็นไปไม่ได้,พอช่วย
ไม่ได้ดั่งใจก็ทุกข์หนักชืมเศร้าใจหมองใจไม่สงบทุรนทุราย,สุดท้ายกายป่วยใจก็ป่วย
พอเห็นสัตว์หมาแมวที่ไหนก็จะเก็บมาเลี้ยงจนตอนนี้ที่บ้านมีสัตว์อยู่หลายร้อยชีวิต
นิโรธ; แต่พอได้มาเจออาจารย์ได้ฟังธรรมคำสั่งสอนจากท่านและได้มาปฎิบัติและได้บำเพ็ญ
คบคุ้นตอนนี้จิตใจดีขื้นได้เข้าใจถึงวิบากดีร้ายของแต่ละชีวิตล้วนทำมาจากในอดีตทุกอย่างล้วน
แล้วแต่ทำมาทั้งสิ้นเป็นผลของกรรมดีและร้ายที่ทุกชีวิตได้พลาดทำมา,เลยทำให้วางใจลงได้
ท่านอาจารย์เคยสอนว่าชีวิตคนเราสั้นนักให้เร่งทำความดีช่วยเหลือผู้คนเกื้อกูลผองชนยามที่ชีวิตเรามีเหลืออยู่ให้เก็บแต่แก่นศีลถ้าไม่จำเป็นก็อย่าไปเก็บสัตว์มาอีกปล่อยให้เขาเป็นไปตามวิบากดีร้ายของเขาเอง,ตอนนี้ก็เลยวางใจลงได้,มั่นทำความดีฟังธรรมให้มากๆทำความดีให้มากๆจิตใจก็สงบขื้น
มรรค; ตอนนี้ชีวิตดีขื้นจิตใจสงบรับฟังคนอื่นได้มากขื้นโดยมิได้โต้แย้ง,แต่ก่อนได้เคยล่วงเกินอาจารย์โดยตั้งคำถามกับท่านว่า;ถ้าเป็นท่านอาจารย์เห็นหมาโดนรถชนอาจารย์จะช่วยไหม?อาจารย์ตอบว่าช่วยชิอาจารย์ก็จะช่วยรักษาเขาให้หายแล้วก็นำเขาไปไว้ที่เดิมเพื่อที่เขาจะได้ใช้วิบากดีร้ายของเขาต่อไป(ตอนนั้นฟังคำตอบแล้วไม่ชอบใจเลยแอบคิดในใจว่าท่านใจดำ)ต่อมาได้ฟังธรรมคำสั่งสอนของอาจาย์ได้มาปฎิบัติได้รู้แจ้งเห็นจริงเริ่มเห็นในสัจธรรมก็เข้าใจแจ่มแจ้งจิตใจแจ่มใส;เลยขอโอกาสนี้ขอโทษขออโหสิกรรมต่อท่านอาจารย์ที่เครพบูชาอย่างสูงมา,ณโอกาสนี้ด้วยนะคะ,สาธุ
เรื่อง : เจออัตรากับคนคู่
พ่อบ้านช่วงนี้เป็นคนขยัน ทำการทำงานมาก
โดยเฉพาะงานสวนจะขยัน เอามากๆ ขยันทำแต่ทำแบบใจร้อน จะให้งานเสร็จไวๆ ส่วนเราก็ช่วยเขาทำสวนเหมือนกัน แต่แรงเขาจะทำได้ยอะกว่าแรงเรา เขาก็ชอบใส่ อารมณ์หงุดหงิด กับเราอยู่บ่อยครั้ง
ทุกข์ : กับคนหัวร้อน
สมุทัย : ถ้าเขาทำงานแบบไม่ใจร้อน เราจะเป็นสุข
นิโรธ : เขาจะใจร้อน ไม่ใจร้อนใส่เรา ยินดี
เต็มใจ ยอมรับ วิบาก เราทำมา
มรรค : โอ๊ยเหนื่อยใจจัง วันๆหนึ่ง มีแต่เร่งร้อนเร่งรีบ จะเอายังไง ฐานะ ความเป็นอยู่
ณ ตอนนี้ก็พอมี พอกิน ไม่ใช่ลำบากมากที บอกเขาหลายทีแล้วว่า ทำไปเรื่อยๆ อย่าใจร้อน ไม่ได้ดั่งใจอะไรก็มาลงที่เรา กิเลส : ก็ภาพแกเห็นทุกวันนี้ ที่เขาทำกับแกนะ ไม่ใช่เขาแกนั่นแหละเคยทำมา เขาคือมาตาลี ของแก จะพูดอะไรมากไม่ได้ในตอนนี้ ฟ้ายังไม่เปิด
เขาคือ มาตาลี ของแก อดทน เต็มใจ ใช้วิบาก อย่างอิ่มเอิบ เบิกบาน แจ่มใส่
บทธบทวนธรรม ๑๖๒ การดำรงชีวิต
มันไม่ได้มีอะไรมากมาย อย่าเสียเวลาไปไขว่คว้า หาสิ่งที่เกินความจำเป็นของชีวิต
สิ่งจำเป็นของชีวิต คือ ปัจจัย ๔
(อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค )
มิตรดี ความดี คือสมบัติที่แท้จริง
สิ่งจำเป็นในชีวิตมีเพียงเท่านี้
อยากได้มากกว่านี้
วันหยุดกิจกรรมที่ได้ทำร่วมกับคุณพ่อบ้านคือการเดินสูดอากาศ เดินสั้น -ยาวแล้วแต่ท่านอยากจะเดิน วันหยุดที่ผ่านมาก็ทำเหมือนเคยขณะที่เดินไปท่านถามว่าหลังจากเดินเสร็จเธอจะทำอะไรต่อก็ตอบท่านว่าจะไปTest Corona ต่อจากนั้นจะไปรดน้ำผักในสวน ซึ่งเรากำลังเดินผ่านสวนท่านก็เปลี่ยนโปรแกรมบอกว่างั้นไปรดน้ำผักเลยแล้วกันก็ได้สูดอากาศไปในตัวเดี๋ยวฉันจะรดให้ เธอจะทำอะไรก็ไปทำเห็นความดีใจที่ท่านจะช่วยเพราะมีอะไรหลายที่ต้องทำในสวนแต่เนื่องจากมีเวลาทำน้อยจึงทำเท่าที่ทำได้ พ่อบ้านฉีดสายยางรดน้ำผัก -ผลไม้
ทำงานอยู่ด้านหลังไม่นานเดินออกมาเห็นคุณพ่อบ้านรดน้ำเปียกแต่บนๆข้างล่างไม่เปียกเลยเพราะแดดแรงดินแห้งมาก คุณพ่อบ้านรดเกือบจะเสร็จแล้วพูดกับตัวเองทำไมรีบเสร็จจัง เห็นความขุ่นใจ ไม่แช่มชื่น บอกใจตัวเองว่าท่านเมตตาช่วยก็ดีแล้วจะเอาอะไรอีก แต่ใจก็ไม่ยอมอยากได้มากกว่านี้ ใจก็ปรุงอีกมาช่วยแล้วน่าจะรดให้ชุ่มๆหน่อยก็ดีน้า สักครู่ท่านบอกเสร็จแล้วกลับเถอะเห็นใจตัวเองยังไม่อยากกลับ แต่ก็ถึงเวลาไปtestโควิดด้วยตาแอบมองทั่วสวนไม่เปียกเลยเดี๋ยวพรุ่งนี้เช้ามารดใหม่ก็ได้ไม่เห็นต้องทุกข์ใจเลย ความขุ่นใจ ไม่แช่มชื่น ค่อยๆคลายลง
ทุกข์ : ขุ่นใจ ไม่แช่มชื่น ที่พืชผักน้ำเปียกแต่ใบบนไม่ลงถึงข้างล่าง
สมุทัย : อยากได้มากกว่าที่ท่านให้ ชอบ-ที่ให้พ่อบ้านรดน้ำเปียกให้ทั่วถึงดินจะสุขใจ ชัง-ที่พ่อบ้านรดน้ำเปียกแต่ใบบนๆไม่ชอบใจ
นิโรธ : แม้คุณพ่อบ้านจะไม่มาช่วยรดน้ำเลยหรือรดน้ำลงไม่ถึงดินก็ไม่ทุกข์ใจ
มรรค :พิจารณา ความคิดแบบนี้ไม่ใช่ความคิดของเรามันเป็นความคิดของมาร มันขัดขวางทำให้มีความขุ่นใจ ไม่แช่มชื่น ต้องขอบคุณ คุณพ่อบ้านสละเดินมาช่วยแบ่งเบางานรดน้ำผักและเราก็ไม่ต้องวิ่งกลับมาสวนอีกรอบจะยังเอาอะไรอีกท่านทำให้ก็ดีที่สุดแล้วเรานี่โลภมากจริง”หยุดคิดไม่ดี”เสียเวลา เสียพลังท่านให้เท่านี้จะเอามากกว่าดีกว่าไม่ได้รดเลย ทำผิดศีลข้อ2รับแต่ของที่เขาให้นะ และจะ”ยอม”คนใกล้ตัวแล้วทำไมมาโง่ทุกข์กับเรื่องเล็กน้อยแค่นี้ กิเลสนี่มันหลอกเก่งจริงหลอกให้หลงทุกข์ตั้งหลายนาที กราบสาธุค่ะ
เรื่อง ผีในใจ (อคติ)
เหตุการณ์คือ มีผีเสื้อตัวน้อยเข้ามาในเต๊นท์ แว๊ปแรกที่เห็น เกิดความรู้สึกว่า ผีเสื้อตัวน้อยน่ารักจัง สีขาวสลับสีทองแซมเล็กน้อย มองด้วยความชื่นชมในความน่ารักน่าเอ็นดู
มีความคิดว่าควรจะต้องจับไปปล่อยนอกเต๊นท์เพราะว่าถ้าอยู่ในนี้อาจไม่ปลอดภัย อาจได้รับอันตรายได้ ก็พยายามจับเขา แต่ก็จับเขาไม่ได้ เขาบินหนีหายไป พยายามหาตัวเขาแต่ก็หาไม่เจอ ถึงเวลานอนแล้ว แต่ยังหาผีเสื้อไม่เจอ มีความห่วงผีเสื้อตัวน้อย แต่ก็ต้องจำนนด้วยเวลา จะทำอย่างไรได้ในเมื่อสุดวิสัยแล้วหาไม่เจอจริงๆ ตัดสินใจเอนกายลงนอนหลับไป พอตื่นมาตอนเช้ามีใจนึกถึง ผีเสื้อตัวน้อยนั้นขึ้นมาอีก พยายามมองหาอย่างมีความหวังว่าเค้าจะมีชีวิตอยู่รอดปลอดภัยดี มีความกลัว กังวลเกิดขึ้นในใจ อ้าวนี่ทุกข์ใจเกิดขึ้นแล้ว ทำใจในใจว่าทุกอย่างที่เกิดขึ้นดีที่สุดแล้วตามกุศล อกุศล ของแต่ละชีวิต เราปรารถนาดีให้เขามีชีวิตอยู่รอดปลอดภัย ส่วนเขาจะรอดหรือต้องตาย ก็เป็นไปตามวิบากดีร้ายของผีเสื้อน้อยตัวนั้น ยอมรับความจริงกับสิ่งที่เกิดขึ้น พอทำใจคิดได้อย่างนี้ อยู่ดีๆผีเสื้อก็บินออกมาจากไหนไม่รู้ ให้เราเห็นเขา ก็เลยใช้ผ้าค่อยๆจับเขาแล้วเอาไปปล่อยนอกเต๊นท์ ก็มาตรวจใจตัวเองกับเหตุการณ์ในครั้งนี้ว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้างเห็นว่าสิ่งที่เรากระทบรูป (ผีเสื้อ)แล้วเกิดหลงไหลในรูปที่น่ารัก เกิดความลำเอียงในใจ (อคติ) มีความเป็นห่วง กลัวว่าเขาจะได้รับอันตราย เกิดวิปลาสขึ้น จิตที่ไม่ซื่อสัตย์ต่อกรรม การเกิดเป็นทุกข์ การมีใจไปข้องแวะชื่นชอบในสิ่งนั้นๆ แม้แค่แว๊ปเดียวก็พาให้ เกิดความห่วงใยในสิ่งนั้นขึ้นมาในใจ พอเกิดอาการดังกล่าวมา ทำให้เห็นความทุกข์เกิดตามมาทันที ความทุกข์ใจ กลัว กังวล เป็นห่วง เป็นความลวงของกิเลสหลอกให้คิดตาม ทำตาม ผลคือทุกข์ใจ ไม่สบายใจ เปลี่ยนความคิดผิดมาฝึกคิดใหม่
คิดตามพุทธะ สอนให้เชื่อชัดเรื่องกรรม รู้ความจริงตามความเป็นจริงอย่างแจ่มแจ้งว่าความรักความผูกพันที่เกิดขึ้นในใจแม้เล็กแม้น้อยก็ไม่ควรมี ไม่ควรเหลือไว้ในจิตเลย ด้วยการพิจารณาเรื่องกรรมอย่างแจ่มแจ้ง ปล่อยวางให้เป็นไปตามวิบากดี ร้ายของแต่ละชีวิต เมื่อเราได้พยายามช่วยแล้วปรารถนาให้เขาอยู่รอดปลอดภัยน่ะดีแล้ว แต่อย่ามี อคติในใจ มีความลำเอียงในใจอยากให้เขามีชีวิตอยู่รอดดั่งใจหมาย(เจตนา แต่อย่าอยาก)
ทุกข์: อยากให้ผีเสื้อมีชีวิต. อยู่รอดปลอดภัย (เป็นห่วง กลัว กังวลใจ)
สมุทัย: หลงยึดมั่นถือมั่นตามความคิดตัวเองว่า ผีเสื้อต้องมีชีวิตอยู่รอดปลอดภัยเท่านั้นจึงจะสุขใจ
นิโรธ: ผีเสื้อจะมีชีวิตอยู่หรือตายก็ไม่ทุกข์ ทุกสรรสิ่งเกิด-ดับ เป็นธรรมดา เราหรือใครๆจะได้รับสิ่งใด ยุติธรรมที่สุดแล้วที่เป็นไปได้จริง ตามกุศล อกุศลของแต่ละชีวิต
มรรค: สำนึกผิดยอมรับผิด ขอรับโทษ เต็มใจรับโทษ เราเคยเหนี่ยวนำ ทำเรื่องไม่เหมาะไม่ควรมา ซื่อสัตย์ต่อกรรมยินดียอมรับความจริงกับสิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนั้นๆ
ความลวงของกิเลสลวงให้หลง ให้ทุกข์ กลัว กังวลโดยใช้ความมีน้ำใจ ความเมตตา ความห่วงใย รักใคร่ปรารถนาดีมาหลอกให้เกิดทุกข์ใจเหตุผลเหมือนจริงแต่พอคิดตามทำตามแล้วเกิดผลทุกข์ใจแสดงว่าคิดผิด คิดผิดคิดใหม่คิดตามพุทธะดีกว่า เราหรือใครได้รับอะไรเกิดจากเราทำมาทั้งนั้นทำดีได้รับสิ่งดี ทำไม่ดีได้รับสิ่งไม่ดี วิบากกรรมเขา วิบากกรรมเรา
เจตนาแต่อยาก จงพากเพียรให้เต็มบริสุทธิ์เพราะความบริสุทธิ์เท่านั้นที่จะชนะทุกสิ่งทั้งโลก
ขอบคุณผีเสื้อที่มาทำให้เห็นผีกิเลสในใจตัวเอง ได้เรียนรู้ภาวะภายในใจได้ให้ชัดเจนยิ่งขึ้นว่ายังมีเศษส่วนความเหลือของพลังงานหลงในกามคุณห้าอยู่ เพื่อจะได้พากเพียรทำพลังงานหลงนั้นเปลี่ยนให้มารู้ความจริงตามความเป็นจริงอย่างแจ่มแจ้ง พุทธะสอนให้เชื่อชัดเรื่องกรรม
“กรรมคือความจริง
ความจริงคือกรรม
เชื่อชัดเรื่องกรรม
คือเชื่อชัดความจริง
เชื่อชัดความจริง
จึงจะหลุดพ้นจากทุกข์ได้”
“เราจะทำกรรมอันใดไว้ดีก็ตามชั่วก็ตามเราจะเป็นผู้ได้รับผลนั้นอย่างแน่นอน”
ไม่โทษใคร ในโลกใบนี้
กราบอนุโมทนา สาธุค่ะ
วิภาภรณ์ กอจรัญจิตต์ (เอ ใจพอแล้ว)
เรื่อง มหกรรมน้ำพริกล้างชัง
เหตุการณ์ คือ ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา พี่น้องได้ตื่นตัวและตื่นเต้นในการส่งน้ำพริกแบบต่างๆ เข้าประกวด โดยจุดประสงค์ที่พี่น้องหลายท่านเข้าร่วม คือ ได้มีสัมมาอาชีพในการทำน้ำพริกขาย สร้างสีสันในรายการประกวด เป็นกุศโลบายให้พี่น้องหรือคนที่อยากลดละเลิกเนื้อสัตว์ได้มีวิธีทานผักมากขึ้น ซึ่งทุกเหตุผลล้วนมีประโยชน์ทั้งนั้น แต่สำหรับเราเอง ไม่ได้เป็นคนชอบทานน้ำพริกอยู่แล้ว จึงไม่ได้ให้ความสนใจเท่าไหร่ แต่เมื่อพี่น้องเริ่มส่งงานน้ำพริกกันเข้ามา ก็มีการลงสูตรต่างๆ เข้ามา พอเราได้มาอ่านสูตรวิธีทำของแต่ละน้ำพริกก็จับกิเลสความชังขึ้นมาได้ตัวหนึ่งทันที
ทุกข์ รู้สึกไม่ดี หงุดหงิดในใจเล็กๆ ที่เห็นสูตรน้ำพริกใช้น้ำมันเยอะ มีแต่ฤทธิ์ร้อน ดูไม่ค่อยดีต่อสุขภาพเท่าที่ควร
สมุทัย ชอบถ้าน้ำพริกจะไม่ใช้น้ำมันเยอะ ไม่ใช้วัตถุดิบฤทธิ์ร้อนเยอะ ชังถ้าน้ำพริกใช้น้ำมันเยอะ ใช้วัตถุดิบฤทธิ์ร้อนเยอะ
นิโรธ ไม่ต้องไปยึดว่าน้ำพริก/อาหารต้องเป็นไปตามแบบที่เราชอบ/อยากให้เป็น จะเป็นแบบที่เราชอบหรือไม่ชอบก็ไม่ทุกข์ใจ
มรรค เราจับอาการชังอาหารที่ใช้น้ำมันเยอะ อาหารฤทธิ์ร้อนได้ แวบนั้นเราก็คิดขึ้นมาว่า เมื่อก่อนเราเองก็ชอบกินของทอดที่ใช้น้ำมันเยอะ กินของฤทธิ์ร้อน เช่นพวกกระเทียม หอม หรือขิง แต่พอเราลดละเลิกมาตามลำดับได้ และหันมาชอบกินอาหารฤทธิ์เย็นมากขึ้น แต่กลับไปคิดชังอาหารฤทธิ์ร้อน ทำให้นึกถึงคำสอนของอาจารย์ว่า พอเราเลิกอะไรได้ เราก็จะคิดชังของสิ่งนั้น มันเป็นกิเลสตัวยึดดีนั่นเอง
พอมองเห็นกิเลสตัวยึดดีตัวนี้ เราเห็นเลยว่ากิเลสกำลังหลอกเราให้ไปยึดมั่นว่า อาหารฤทธิ์เย็นหรือร้อนน้อยนั้นดีกว่า วิธีคิดแบบนั้นเป็นการเสริมแรงกิเลสว่าเราถูก คนอื่นผิดมากยิ่งขึ้น ยิ่งเรายึด ยิ่งสร้างวิบากร้าย ยิ่งยึด ยิ่งผิดศีล ยิ่งเบียดเบียนตัวเอง เราล้างกิเลสตัวนี้ตามหลักพรหมวิหาร 4 – ข้ออุเบกขา วางใจเฉยเมื่อได้ทำดีนั้นแล้ว เราทำได้แล้ว ถึงคนอื่นยังทำไม่ได้ เราไม่ต้องไปชังเค้า เพราะเราเองก็เคยเป็นมา ให้เมตตาเค้า เหมือนคนอื่นเคยเมตตาเรา ให้เวลาเราพัฒนามาถึงจุดที่เราลดละเลิกได้ เราก็ให้เวลาคนอื่นเช่นกัน ด้วยการใช้บททบทวนข้อที่ 35 ยึดอาศัย “ดี” ที่สามารถทำให้เกิดขึ้นได้จริงนั้น “ดี” แต่ยึดมั่นถือมั่นว่าต้องเกิด “ดี” ดั่งใจหมาย ทั้งๆ ที่องค์ประกอบเหตุปัจจัย ณ เวลานั้น ไม่สามารถทำให้ดีนั้นเกิดขึ้นได้จริงนั้น “ไม่ดี” และข้อที่ 42 ยินดีในความไม่ชอบไม่ชัง ได้พลังสุดๆ ได้สุขสุดๆ ยินดีในความชอบชัง เสียพลังสุดๆ ได้ทุกข์สุดๆ
สรุป พอจับตัวกิเลสยึดได้ เห็นประโยชน์ของการไม่ยึด เห็นความไม่เที่ยงของการยึด เห็นความจริงตามความเป็นจริงแล้ว จิตใจก็ปลอดโปร่ง โล่งขึ้น อาการชังนั้นก็สลายไป ล้างความยึดมั่นถือมั่นของใจได้สำเร็จ นั่นแหละคือ ความสำเร็จที่แท้จริง
เรื่อง : น้าจะเสียใจว่าเราไม่ได้ลงไปอยู่เป็น
เพื่อน
เนื้อเรื่อง: ทุกครั้งก่อนที่เราจะขึ้นมาบำเพ็ญที่ภูผาเราก็จะมีการคุยกับน้าๆก็จะไม่อยากให้เราขึ้นมา ส่วนหนึ่งก็เป็นห่วงเราเพราะร่างกายเราไม่ค่อยแข็งแรง อีกส่วนหนึ่งท่านก็จะเหงาในตอนกลางวันเพราะน้องไปทำงาน ท่านต้องอยู่บ้านคนเดียว กว่าน้องจะกลับก็เย็น บางครั้งก็มืด เราก็เลยมีข้อตกลงกับน้าว่าเราขึ้นมาบำเพ็ญ 1 เดือน และจะกลับไปอยู่กับท่าน 2 อาทิตย์ แต่เรามาบำเพ็ญครั้งนี้ เกิดโควิทระบาดรอบที่ 3 ทำให้เราไม่สามารถลงไปได้ตามที่ตกลงกับท่านไว้ เราจึงโทรบอกท่านว่าครั้งนี้เราต้องอยู่นานนะคะเพราะท่านอาจารย์หมอเขียวบอกว่าตอนนี้ที่เชียงใหม่โควิทระบาดมากท่านจึงให้จิตอาสาที่บำเพ็ญอยู่ ให้อยู่ประจำที่ตัวเองอยู่ ไม่สามารถลงไปได้ ท่านก็ฟังแล้วก็ถามว่าเมื่อไหร่ถึงจะได้ลงเราก็ตอบท่านไปว่า ต้องรอโควิทซาก่อน ท่านก็ตอบกลับมาแบบงอนๆว่าอยู่ที่นั่นเลยก็ได้ แล้วเสียงท่านก็เครือๆถามเราว่ามีไรอีกไหมเราก็ตอบว่าไม่มี แล้วท่านก็วางสายไปทำให้เรารู้สึกผิดว่าเราผิดคำพูด
ทุกข์: น้าท่านต้องเสียใจและน้อยใจว่าเราไม่ไปอยู่เป็นเพื่อนท่านตามคำพูด
สมุทัย: น้าท่านจะเสียใจหรือน้อยใจก็ได้
นิโรธ: ถึงน้าท่านจะเสียใจหรือน้อยใจกับการที่เราไม่ได้กลับไปตามที่บอกท่านไว้เราก็วางไม่ทุกข์ใจ
มรรค: เราเชื่อชัดในเรื่องของวิบากดีร้ายของแต่ละบุคคลหากเราและน้ามีวิบากดีโควิทก็จะซาเร็ว ท่าน อาจารย์ ก็จะอนุญาตให้ลงกลับบ้านไปตามที่คุยกันหากเราและน้ามีวิบากร้ายเราก็ยังไม่สามารถกลับบ้านไปอยู่เป็นเพื่อนท่านได้ เมื่อเราคิดได้เราก็วางใจ ว่าท่านจะเสียใจหรือน้อยใจเราก็วางใจ ดังบททบทวนธรรมของท่านอาจารย์ ข้อที่ 71: ปัญหาและอุปสรรคไม่เคยหมดไปจากโลก มีอต่ทุกข์ใจเท่านั้นที่หมดไปจากเรา
สรุป: เมื่อเราและน้ามีวิบากดีเราก็จะได้ลงไปอยู่กับท่านหากวิบากดียังมาไม่ถึงเราก็จะยังไม่ได้ลงไปอยู่กับท่านถึงท่านจะเสียใจน้อยใจเราก็ไม่ทุกข์ใจ วางใจลงได้
เรื่อง : หาจนเจอเจ้าตัวอยาก
เนื้อเรื่อง : หลังจากที่ส่งการบ้านอริยสัจสี่ไปได้รับคำชี้แจงจากหมู่มิตรและอาจารย์ก็มาพิจารณาหาว่าตัวอยากของเรามันอยู่ตรงไหน แต่ก่อนก็ไม่ได้คิดว่าไม่ได้อยากนะเขามาทำเขาเองเราไม่ได้อยากอะไรใครจะไปอยากให้ใครๆมาทำเรื่องโน่นนี่ใส่ค่อยๆพิจารณาอาการตัวเองในเรื่องราวต่างๆที่ผ่านมาในการดำเนินชีวิตแต่ละวันค่อยมาพบว่ามันหลบอยู่ตรงการที่เราเจอเหตุการณ์ที่ไม่ได้ดั่งใจหมายนี่เองเลยเจอเต็มไปหมดเลยคราวนี้
ทุกข์ : สารพัด
สมุทัย : สารพัดอยาก
นิโรธ : ไม่ทุกข์
มรรค : ไม่อยาก
รมิตา ซีบังเกิด
เรื่อง : จะเข้าไปได้ไหม
เหตุการณ์ : ในวันที่ 1 ก.ค. จะเดินทางไปจ.น่าน โดยรถยนต์ส่วนตัว แวะรับพี่สาวสองคนที่กทม.เรากับพ่อบ้านฉีดวัคซีน
ไวรัสแล้ว แต่พี่ทั้งสองยังไม่ถึงวันนัดฉีด ช่วงนี้จ.น่านคุมเข้มคนเดินทางเข้าพื้นที่ จะมีปัญหาหรือไม่ยังไม่รู้เลย แต่ต้องไปเพราะลูกสาวทำบุญขึ้นบ้านใหม่ พี่สาวอีกคนจองตั๋วเครื่องบินกลับกทม.ไว้แล้วด้วย ถ้าเข้าพื้นที่ไม่ได้ก็ค่อยคิดใหม่ว่าจะทำอย่างไรต่อไป
ทุกข์ : กลัวพี่สาวจะไม่ได้เข้าพื้นที่จ.น่าน
สมุทัย : ชอบถ้าพี่สาวจะเข้าพื้นที่จ.น่านได้ ชังถ้าพี่สาวเข้าพื้นที่จ.น่านไม่ได้
นิโรธ : พี่สาวจะได้เข้าพื้นที่จ.น่านได้หรือไม่ก็ไม่ชอบไม่ชัง
มรรค : เมื่อไปถึงจ.น่านแล้วมีปัญหาว่าพี่สาวไม่สามารถเข้าพื้นที่ได้ เราก็ช่วยกันแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นให้ผ่านไปได้แน่นอน ไม่ว่าทางใดทางหนึ่ง จึงไม่ควรกลัวหรือวิตกกังวลไปก่อน เพราะเรื่องยังมาไม่ถึงเลย ทำใจให้สบายดีกว่า ดังบททบทวนธรรมข้อที่ 119 ว่า “ปัญหา คือ เครื่องมือฝึกใจที่ดีที่สุดในโลก”
เวลาที่เสียไปกับการเดินทาง เงินที่ต้องจ่ายไปกับค่าใช้จ่าย ไม่สำคัญเท่ากับใจของเราที่มั่นคง อะไรจะเกิดก็ให้เป็นไปตามกรรม ไม่ต้องหวั่นไหว ไม่ต้องกลัว ไม่ต้องกังวล ทำใจให้สบายเบิกบาน แจ่มใส ดีกว่าดีที่สุด รับเต็มๆ หมดเต็มๆ เป็นไงเป็นกัน
เรื่อง ผิดหวัง
น้องสาวโทรมาปรึกษาว่าด้วยสถานการณ์ของโควิด ไม่อย่ากให้ลูกไปโรงเรียน แต่ทางโรงเรียนบอกเรียนออนไลน์อยู่บ้านก็ได้ แต่ต้องเสียค่าใช้จ่ายต่าง ๆ รวมทั้งค่าอาหารและค่ารถรับส่งด้วย ซึ่งน้องสาวรู้สึกว่าโดนเอาเปรียบ ตัวเองก็เลยบอกน้องสาวว่าจะเป็นไรไปก็มาเรียนวิชชารามสิ ไม่มีค่าใช้จ่ายอะไร เพียงแต่ฝึกลดกิเลสของตัวเองในชีวิตประจำวันเท่านั้นเอง เราก็นำเรื่องนี้ไปปรึกษากับพี่น้องหมู่มิตรดีบางท่าน แต่ก็ยังไม่มีโอกาสได้รายงานอาจารย์กับพี่น้องหมู่ใหญ่ จนวันพุธที่ 16 มิถุนายน 2564 ได้มีโอกาสรายงานเรื่องนี้กับอาจารย์และพี่น้องหมู่ใหญ่ อาจารย์และพี่น้องก็อนุมัติให้ทดลองเรียนดู ก็ได้นำข่าวดีไปบอกกับน้องสาว แต่น้องแสดงอาการลังเลใจ เราก็บอกน้องไปว่าจะเป็นไรออกมาเรียนสักปี เรียนทางโลกเรียนเมื่อไหร่ก็ไม่สายหรอก แต่ต้องผิดหวังเล็กน้อย เมื่อน้องสาวบอกว่าจะขอเรียนควบคู่กันไปทั้งสองโรงเรียน กลัวลูกจะทำไม่ได้ และกลัวตัวเองจะพาลูกทำไม่ได้
ทุกข์ รู้สึกผิดหวัง ห่อเหี่ยวใจเล็กน้อย
สมุทัย อยากให้น้องสาวเห็นด้วย คือพาลูกลาออกจากโรงเรียนเก่า แล้วมาเรียนวิชชารามอย่างเดียวอย่างน้อยสักหนึ่งปี
นิโรธ น้องจะเห็นด้วยหรือไม่ก็ไม่ทุกข์ใจ ยินดีได้ตามความเป็นจริง
มรรค เมื่อจับอาการรู้สึกผิดหวัง ห่อเหี่ยวใจเล็กน้อยของตัวเองได้ ก็ได้หาสาเหตุของทุกข์นั้น พบว่าเรามีความอยากให้ดีเกิด มากกว่าที่เป็นไปได้จริง ก็ได้พิจารณาโทษของความอยาก ที่ทำให้เรากำลังทำผิด คือผิดหวัง ห่อเหี่ยวใจ ทำตัวเป็นขโมย จะเอาจากน้องและคนที่เกี่ยวข้อง มากกว่าที่วิบากดีร้ายของเราและคนที่เกี่ยวข้องสังเคราะห์กันแล้วให้ผล ณ เวลานั้น คิดถึงคำพูดของอาจารย์หมอเขียว (ดร.ใจเพชร กล้าจน) ที่ว่า ถ้าดีไหนที่เกิดไม่ได้ก็ให้วางดีนั้นเสีย เพราะนั่นไม่ใช่กุศลของเราและคนที่เกี่ยวข้อง เราจึงได้หยุดความคิดที่ผิดคือตัดความอยากนั้นเสีย เห็นจิตของเราคลายความยึดมั่นถือมั่นลง และได้พิจารณาเห็นความเป็นไตรลักษณ์ของกิเลสว่ามันไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่มีตัวตน พอเราคิดถูกก็เห็นกิเลสมันจางคลายหายไป แล้วเราก็พูดคุยกับน้องสาวและลูกหลาน ด้วยอาการที่ผ่อนคลาย อนุโมทนากับพวกเขาด้วย และให้กำลังใจว่าทำเท่าที่ทำได้ ได้เท่าไหร่ก็เท่านั้น
เรื่อง : เวลาเข้าซูมอยากทำฉากหลังได้เหมือนคนอื่น
ความเป็นมา ช่วงแรกของสถานการณ์โควิดตัวเองอยู่บนภูผาตลอดไม่เคยเข้าซูม
เลย แต่หลังทำงานทันตกรรมต้องขึ้นลงระหว่างภูผา สวน 9 และที่บ้าน ทำให้มีเวลาอยู่บ้านนานขึ้น ได้เข้าซูมที่มีฉากหลังแชร์ให้ในกลุ่มครัวหมอเขียวแต่เราทำไม่ได้ ภาพที่ออกมาจึงดูแปลกกว่าคนอื่น จึงเป็นที่มาของทุกข์
ทุกข์ : อยากมีฉากหลังแบบคนอื่นบ้างดูสวยดี
สมุทัย : เห็นคนอื่นทำได้ก็อยากทำบ้าง
นิโรธ : จะทำฉากหลังได้หรือไม่ก็ไม่ทุกข์ เพราะคนที่ทำได้มีไม่ถึง 10 เปอร์เซ็นต์เลย และเราก็ยังเข้าซูมได้ตามปกติ
มรรค ความอยากทุกชนิดเป็นกิเลสถ้าเราหมดอยากก็หมดทุกข์ สาระสำคัญของการเข้าซูมสำคัญที่สุดฉากหลังเป็นแค่องค์ประกอบเล็กๆน้อยๆมีก็ได้ไม่มีก็ได้ หลังจากได้พยายามทำเต็มที่แล้วก็ปล่อยวาง หายทุกข์ไปเป็นลำดับๆจนหมดทุกข์
ตรงกับบททบทวนธรรมข้อที่
38.กิเลส โลภ โกรธ หลง เป็นสิ่งที่คนโง่ คนชั่ว คนบ้าหวงแหนที่สุดในโลก
39.วิธีการแก้ปัญหาทุกปัญหาในโลกคือ
ลดกิเลส เหตุแห่งทุกข์ทั้งปวง
ลดกิเลส ลดทุกปัญหา
เพิ่มกิเลส เพิ่มทุกปัญหา
82. จงฝึกอยู่กับความเป็นจริงของชีวิตที่พร่องอยู่เป็นนิตย์อย่างผาสุขให้ได้
ทุกอริยสัจ 4
เรื่องเน็ตมีปัญหา
เนื้อเรื่องมีอยู่ว่าที่ผ่านมาได้สอบเข้าสอบเวลา 19:45 น. ในห้องทบทวนทำก็มีวิบาก ไลน์เข้ามารู้แล้วว่ามันไม่ใช่เรื่องบังเอิญแน่นอนมันบอกว่าเย้ดีใจจังเธอไม่ได้สอบแน่ยังไงใจทุกข์ไหมมันมันพูดใจไม่แช่มชื่นอยู่นะแต่คิดทันว่าไม่เป็นไรสอบก็ได้ไม่สอบก็ได้คิดแบบพุทธพระสอบวันนี้ไม่ได้ไม่เป็นไรอาจารย์ให้โอกาสสอบอยู่แล้ว
ไม่ถูกใจเลยแต่ขณะที่เราจะได้สอบในเวลานั้นเราก็จะได้พลังหมู่พลังผู้รู้พลังมิตรดีแต่วางใจตอนนั้นสัญญาณเน็ตก็มาบ้างไม่มาบ้างเป็นติดติดดับดับแต่ก็ได้ทำข้อสอบไปทีละน้อยๆข้อจนทำเสร็จคือเน็ตมาเป็นรอบรอบใจยังคิดว่าเรายังมีวิบากดีมาช่วยคือข้อสอบไม่เยอะมีปรนัย 10 ข้ออัตนัยห้าข้อท่านให้ข้อสอบมาไม่มากถ้าทันให้มาเยอะกว่านี้คงไม่เสร็จภายในชั่วโมงเรียนแน่แต่ก็ไม่หวั่นไหวในการสอบเรามีโอกาสข้อสอบใหม่ได้อยู่แล้ว มารมันบอกว่าถ้าไม่มีโอกาสสอบแหละใจคิดอย่างไร ก็บอกว่าไม่เป็นไรก็ไม่ต้องสอบรับสูญไปเลยด้วยความเบิกบาน
ทุกข์ เอาดีมาล่อไม่สบายใจไม่ได้สอบพร้อมเพื่อน
นิโรธ ได้สอบก็ได้ไม่สอบก็ได้ใจมีความสุขไม่ชอบไม่ช่างไม่ยินดียินร้ายในการสอบ
มรรค ได้พิจารณาเรื่องกรรมการทำข้อสอบได้จนเสร็จแต่นั่นเราเคยไปเบียดเบียนคนอื่นมาพิจารณาความยึดมั่นถือมั่นความชอบช้างเหตุการณ์จะมามากน้อยเราก็ได้เรียนรู้อริยสัจสี่ต้องพิจารณาโทษเรื่องกรรมที่เราทำมาพบก่อนชาติก่อนเป็นคนไม่ดีไปขัดขวางคนทำความดีส่งเสริมทำไม่ดีมาหาที่ต้นที่สุดไม่ได้โดนใจในบททบทวน ทำข้อที่สองคือ 1.สำนึกผิดหรือยอมรับผิด
2. ขอรับโทษเต็มใจไม่รับโทษหรือขออโหสิกรรม
3.ตั้งจิตหยุดสิ่งที่ทำไม่ดีอันนั้น
4.ตั้งจิตทำความดีให้มากๆคือลดกิเลสให้มากๆ
เกื้อกูลเพื่อนผองชนและหมู่สัตว์ให้มากๆไม่ชอบไม่ช่างไม่ยึดมั่นถือมั่นในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
นางพิมพ์พศินา สิทธิประเสริฐ
น้าหมู เพียรเย็นพุทธ จ.ยโสธร
เรื่อง ยาหมดก่อนนัด
แพทย์นัดตรวจซ้ำให้ยาโรคจิตเวชมาไม่ครบถึงนัด จึงได้สอบถามทางโรงพยาบาลให้ทางโรงพยาบาลส่งยามาที่บ้านจึงได้ติดต่อทางโรงพยาบาลบ่อยครั้งเพราะกลัวขาดยา วางใจว่าจะได้ยามาทันยาหมดก่อนก็ได้ จึงได้รับยาทันยาหมดพอดี ซึ่งทางโรงพยาบาลส่งอีเอ็มเอสมาให้
ทุกข์ : กระวนกระวายใจเรื่องการส่งยาจะไม่ทันยาหมดก่อน
สมุทัย : ถ้ายามาทันจะสุขใจ ยามาไม่ทันจะทุกข์ใจ
ถ้ายาหมดก่อนกลัวว่าจะเครียด นอนไม่หลับ กลัวการไปโรงพยาบาล
นิโรธ : ถ้ายามาทันเวลาก็สุขใจไม่ทันเวลาก็สุขใจ
มรรค : พิจารณาเรื่องวิบากกรรม ความอยากเป็นทุกข์ความไม่เที่ยงเกิดขึ้นและหายไป ถ้าเรารู้ตัวว่า
ความกระวนกระวายใจมันเป็นความลวงไม่ตอบสนองให้ได้ดั่งใจ
เรื่อง หาซูมไม่เจอ แต่เจอกิเลส
เหตุการณ์ ได้พูดคุยกับพี่น้องเพื่อแลกเปลี่ยนสภาวะธรรมกันนานพอสมควร จนน้องแจ้งมีซูมประชุมอปริหานิยธรรมแล้ว ก็วางสายเพื่อจะเข้าประชุม แต่หาซูมที่จะเข้ากลุ่มไม่เจอ
ทุกข์ ขุ่นใจเล็กๆ ที่ไม่เห็นซูมทำให้ไม่ได้เข้าประชุมอปริหานิยธรรม
สมุทัย ชอบถ้าได้เข้าประชุมอปริหานิยธรรม ชังถ้าไม่ได้เข้าประชุมอปริหานิยธรรม
นิโรธ จะได้เข้าประชุมหรือไม่ได้เข้าประชุมอปริหานิยธรรมก็ไม่ชอบ ไม่ชัง ใจไร้ทุกข์
มรรค ตั้งศีลมาพิจารณาไตรลักษณ์ ความไม่เที่ยง ความทุกข์ ความไม่ใช่ตัวตน ความวิปลาส สภาพไม่เที่ยงว่าเที่ยง เป็นทุกข์ว่าสุข ไม่ใช่อัตตาว่าเป็นอัตตา ไม่ดีงามว่าดีงาม ชอบอยากได้สภาพดีๆ ซึ่งเป็นความคิดที่ไม่จริง เพราะถ้าได้มันสุขใจ ไม่ได้มันทุกข์ใจ ว่าถ้าได้เข้าประชุมจะดีจะได้รู้ความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นในพวธ ถ้าไม่ได้เข้าก็จะพลาดโอกาสดีๆที่ท่านอาจารย์หรือหมู่กลุ่มแจ้งข่าวคราว มารมาแล้ว มาทำให้ขุ่นใจเล็กๆ ผิดทางพุทธะแล้ว เมื่อรู้ว่าเป็นกิเลสก็หักลำกิเลส ได้เข้าประชุมหรือไม่ได้เข้าประชุมก็สุขใจได้ แม้ไม่ได้เข้าด้วยตัวเองก็สามารถสอบถามจากหมู่มิตรดีได้ หรือเราไม่ต้องรู้ทุกเรื่องก็ได้ ถ้าวิบากดีร้าย กุศลอกุศลสังเคราะห์กันแล้ว ว่าเราสมควรจะรับรู้ข่าวสาร ก็จะมีช่องทางจัดสรรมาให้ตามเหตุปัจจัย ที่วิบากจัดสรรให้ในช่วงเวลานี้ดีที่สุดแล้ว ได้มีเวลาฟังธรรมะท่านอาจารย์ ของพ่อครูสมณะโพธิรักษ์ จะได้เข้าร่วมประชุมก็ดี ไม่ได้ร่วมประชุมก็ดี พิจารณาประโยชน์และโทษได้เช่นนั้นแล้วก็วางใจ ไม่อยากได้ เอาแต่ของที่เขาให้ รับแต่ของที่เขาให้ เมื่อวางใจ เลยนึกขึ้นได้ว่า เห็นลิงก์นี้ส่งมาก่อนหน้านี้แล้ว ก็กลับขึ้นไปดูแล้วสามารถเข้าร่วมประชุมได้ถึงแม้จะช้าไปบ้าง
ใช้บททบทวนธรรมข้อที่ 84 ล้างความยึดมั่นถือมั่นของใจได้สำเร็จ คือความสำเร็จที่แท้จริง
สรุป หลังพิจารณาแล้วก็วางใจ โล่งใจ มีวิบากดีที่ทำให้ได้เข้าร่วมประชุม ซึ่งจะเห็นความต่างจากอดีตเมื่อเจอผัสสะจะวุ่นวาย หงุดหงิด กังวลมาก ปัจจุบันก็ยังเห็นความอยากได้ดั่งใจอยู่ ถึงแม้จะเล็กลงมากแต่ก็ยังมี ก็จะขอพากเพียรต่อไป ด้วยใจไร้ทุกข์ “ไม่อยากไม่ทุกข์”..สาธุ
เรื่อง ยินดีรับ
เหตุการณ์ : โดนหนามอินทผลัมร่วงใส่และแทงเข้าที่แขน มีอาการปวดอย่างแรง แขนไม่มีกำลัง อ่อนแรง ทำงานหลายอย่างไม่ได้เหมือนเดิม
ทุกข์ : ไม่ได้ดั่งใจ ที่ทำงานไม่ได้เหมือนเดิม
สมุทัย : ยึดมั่นถือมั่นว่า ชอบใจถ้าทำงานได้ตามปกติ ชังที่ทำงานไม่ได้เหมือนเดิม
นิโรธ : จะทำงานได้เหมือนเดิม หรือไม่ ก็ได้ ไม่ชอบ ไม่ชัง
มรรค : ปล่อยวางใจไม่ยึดมั่นถือมั่น จะทำงานได้มากหรือน้อยหรือทำไม่ได้ ก็ไม่กังวลใจ ยอมรับความจริงที่เกิดขึ้นในปัจจุบันให้ได้ ส่วนจะทำงานได้หรือไม่ได้ ก็ไม่สำคัญเท่ากับใจที่ไร้ทุกข์ ลงมือทำให้ดีที่สุดเท่าที่ทำได้ บนพื้นฐานของการประมาณให้พอดีไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น อะไรที่เรายังทำไม่ได้ แสดงว่ายังไม่ถึงรอบที่เราจะได้ เราก็ต้องวางเพื่อไปเอาสิ่งที่ดีกว่า คือหันมาดูแลสุขภาพกายและสุขภาพใจตามบททบทวนธรรมข้อที่ 35 “ยึดอาศัย “ดี” ที่สามารถทำให้เกิดขึ้นได้จริง “นั้นดี”แต่ยึดมั่นถือมั่นว่า ต้องเกิด”ดี” ดั่งใจหมายทั้งๆ ที่องค์ประกอบเหตุปัจจัย ณ เวลานั้น “ไม่สามารถทำให้ดีนั้นเกิดขึ้นได้จริง”นั้นไม่ดี”และบททบทวนทำข้อที่36″จงทำดีเต็มที่ เหนื่อยเต็มที่ สุขเต็มที่ไม่มีอะไรคาใจ ไม่เอาอะไร คือ สุดยอดแห่ง “ความอิ่มเอิบ เบิกบาน แจ่มใส” เมื่อได้พิจารณาบททบทวนธรรมดังกล่าวแล้ว อาการของความที่อยากทำงานให้ได้ดั่งใจก็ลดลง และหายไปใจกลับมาเบิกบาน ไร้ทุกข์ตามปกติ
20/6/2564
ชื่อ : นางสาวนาลี วิไลสัก
เป็นผู้คบคุ้นสวนป่านาบุญ2
เรื่อง : โง่ทางโลกช่างมัน ขอฉลาดทางธรรม
เหตุการณ์ : เนื่องจากวันนั้นตัวเองได้เข้าซูมร่วมกับหมู่เสร็จ ก็เข้าร่วมการโทรไลน์กลุ่ม ซึ่งเป็นการเข้าร่วมกิจกรรมกับหมู่มิตรดี และได้พูดคุยสนทนากันด้วยภาษาไทยเป็นเวลาต่อเนื่องกันหลายชั่วโมง แล้วน้องชายก็สังเกตเห็นเราทำแบบนั้นบ่อยๆ ครั้ง หลังจากคุยกับหมู่เสร็จ น้องชายก็เดินมาว่า “คนที่เขาฉลาด เขาไม่ทำแบบนี้หรอก วันๆ เอาแต่ พูดคุยภาษาไทย ไม่อายบ้านอายเมืองหรือไง คนอื่นๆ เขามุ่งหาเงินทองมาสร้างสาพัฒนาตนเองให้ร่ำรวยขึ้นทุกวันๆ ทำไมไม่แหกตาดู และทำอย่างชาวบ้านบ้างล่ะ ที่พี่ทำแบบนั้นไม่มีใครว่าพี่ฉลาดหรอก มีแต่คนโง่เท่านั้นที่ทำแบบพี่ พี่ลองมาทำแบบฉลาดบ้างสิ ให้คนอื่นเห็นว่าเราเป็นคนฉลาด ที่พี่ทำมานั้นมันทำให้พวกเราเสียหน้า” ในขณะที่ฟังน้องชายเราก็เงียบไม่พูด ไม่ตอบโต้แม้แต่คำเดียว แต่กิเลสบ่นอยู่ข้างในระเบิดระเบ้อเลย
ทุกข์ : คันหัวใจ อยากสวนกลับไป ที่น้องชาย ไม่พอใจที่เขาด่าเรา
สมุทัย : ชอบถ้าน้องชายเข้าใจแนวทางการปฏิบัติของเรา ชังที่น้องชายไม่เข้าใจและมาด่าเราแรงๆ
นิโรธ : น้องชายจะเข้าใจแนวทางการปฏิบัติของเรา หรือไม่เข้าใจ และมาด่าเราก็ไม่ชอบไม่ชัง
มรรค : หันมาตรวจใจดูที่คันหัวใจ มารมันคิดอะไร
มาร : หือ…แกเป็นน้องทำไม กล้าดีจังเลย กล้าด่าฉันขนาดนี้เลยรึ ฉันไม่เคยพูดสักคำว่าฉันฉลาด แต่ฉันกำลังเดินตามแนวทางของสัตบุรุษ(คนฉลาด)นะเว้ย แต่เท่าที่รู้คนที่กำลังดิ้นรนหาเงิน และกอบโกยเยอะๆ คือ คนฉลาดแกมโกง…
เรา : โอ้โหโชคดีอีกแล้ว โอกาสทองนะนี่ รีบรับเลย เดี๋ยวก็หมดไปไม่มีอะไรยั่งยืน เมื่อก่อนเราเคยไปด่าคนอื่นไว้เยอะ และเคยว่าน้องถนอม(ลูกของตัวเอง)โง่ด้วย ทั้งหมดนั้นเป็นสมบัติของเรา เตรียมตัวไว้รอรับมือเลย กล้าทำ กล้ารับ ได้ใช้วิบาก ร้ายหมดอีกแล้ว มีแต่คนโง่เท่านั้นที่รำริ รำไร เก็บเอาคำพูดของคนอื่น มาคิดเพื่อหาวิธีทำให้ตนเองทุกข์ใจ ทุกลีลา และคำพูดของน้องชาย คือ นอมินี (Nominee) ของเราทั้งนั้น ตรงกับ บทธ ข้อที่ 46 เกิดอะไร จงท่องไว้ “กู-เรา-ฉัน” ทำมา
สรุป พอเราพลิกจากมาร มาเป็นจิตพุทธะ อาการคันหัวใจก็ค่อยๆ เบาลง พอพิจารณาต่อไป ในที่สุดอาการคันหัวใจก็สงบลง ต้องขอบคุณน้องชายที่มาเป็นผัสสะให้ได้เห็นกิเลส และได้ล้างกิเลสตัวนี้ สาธุค่ะ
เรื่อง พูดไม่หยุดฉุดกิเลส
เหตุการณ์ ไปทำเกษตรกับพี่น้องหลายท่านทำไปเรื่อยๆสบายๆ แล้วซักพักก็มีพี่น้องอีกกลุ่มมาสมทบ พอมาถึงหนึ่งในพี่น้องที่พึ่งมาก็เริ่มพูดบ้างร้องเพลงบ้างอยู่อย่างนั้นไม่หยุด(เสียงดังด้วยเป็นคนไม่ชอบเสียงดัง)
ในใจเราก็คิดว่าพูดไม่หยุดเลยเว้ยอยากให้
หยุดพูดบ้าง
ทุกข์ รู้สึกรำคาญที่เพื่อนพูดไม่หยุดและเสียงดัง
สมุทัย ไม่ชอบที่เพื่อนพูดไม่หยุดและเสียงดัง
ชอบถ้าเพื่อนหยุดพูดบ้างและเเสียงไม่ดังเราจะชอบใจ
นิโรธ เพื่อนจะพูดมากพูดน้อยเสียงจะดังหรือไม่ดัง เราก็ไม่ชอบไม่ชังไม่รำคาญเพื่อนให้ได้
มรรค ตั้งศีลมาปฏิบัติให้เห็นกิเลสเห็นทุกข์ที่เกิดจากความชอบชัง ความอยากให้เป็นอย่างใจเราหมาย แล้วล้างความชอบชังในใจเรา เข้าใจเรื่องกรรมวิบากกรรมที่เคยทำมายินดีรับในสิ่งที่เราเคยทำมา
สรุป เมื่อล้างความอยากในใจเราได้และเข้าใจ
เรื่องกรรมว่าเราเคยทำมาและทำมามากกว่านั้นมากยินดีชดใช้ไปคิดได้อย่างนั้นเราก็ทำงานได้อย่างสบายใจ
#ควันบุหรี่
เมื่อวานนี้ (19/4/64) มีทีมช่างทั้งหมด 3 คน มาติดกล้องวงจรติดที่บ้านผม และมีช่างหนึ่งคนที่สูบบุหรี่ เวลาที่เขาสูบบุหรี่เขาก็จะออกไปสูบนอกบ้าน แต่อย่างไรก็ตามควันบุหรี่ที่เขาสูบก็ยังลอยเข้ามาในบ้านผมอยู่ดี ด้วยสาเหตุดังกล่าว ผมจึงทุกข์ใจเพราะรู้สึกไม่ชอบใจที่ช่างคนนี้ยังสูบบุหรี่และควันบุหรี่ที่เขาสูบก็ลอยเข้ามาในบ้านผม
ทุกข์ : ทุกข์ใจเพราะรู้สึกไม่ชอบใจที่ช่างคนนี้ยังสูบบุหรี่และควันบุหรี่ที่เขาสูบก็ลอยเข้ามาในบ้าน
สมุทัย : จะรู้สึกทุกข์ใจถ้าช่างคนนี้สูบบุหรี่และควันบุหรี่ที่เขาสูบก็ลอยเข้ามาในบ้าน แต่จะสุขใจถ้าช่างคนนี้ไม่สูบบุหรี่หรือถ้าเขาสูบแต่ควันบุหรี่ไม่ลอยเข้ามาในบ้าน
นิโรธ : สามารถผาสุกใจได้ไม่ว่าช่างคนนี้จะสูบบุหรี่หรือไม่และไม่ว่าควันบุหรี่จะลอยเข้ามาในบ้านหรือไม่
มรรค : กรณีนี้ผมเดินมรรคโดยนำเรื่องวิบากกรรมมาพิจารณาเพียงเรื่องเดียว โดยพิจารณาว่า ในอดีตที่ผมยังเคยสูบบุหรี่อยู่บ้าง เวลาที่ผมสูบก็มีเป็นบางครั้งที่ผมจะแกล้งเพื่อนผมคนที่ไม่สูบบุหรี่ ด้วยการพ่นควันบุหรี่ใกล้ๆ หน้าเขา หรือแม้แต่การที่ผมพ่นควันบุหรี่มาแต่ละครั้ง ไม่ว่าตอนนั้นผมจะอยู่ที่ใดอยู่กับใคร ควันบุหรี่ที่ผมพ่นออกมาก็ต้องลอยไปทำร้ายทั้งคน สัตว์อื่นๆ ตลอดจนโลกใบนี้อยู่ดี
ดังนั้นเหตุการณ์ที่ผมเจอมาเมื่อวานนี้มันก็เหมาะสมแล้วที่ผมจะต้องได้เจอ และถ้าคิดดูดีๆ เมื่อเทียบกับพฤติกรรมที่ผมเคยทำนั่น ก็ถือได้ว่าสิ่งที่ผมได้รับนั้นเบามากแล้ว
ทั้งนี้ผมก็ยังใช้บททบทวนธรรมบางบทมาร่วมพิจารณาด้วย เช่น บทที่ 8 ที่มีเนื้อหาว่า “สิ่งที่เราได้รับ คือ สิ่งที่เราทำมา ไม่มีสิ่งใดที่เราได้รับ โดยที่เราไม่เคยทำมา”
ส่งการบ้าน อริยสัจ 4
20 มิถุนายน 2564
ชื่อ นางสาวศิริรักษ์ พรมเล็ก ชื่อเล่น ป้าแต๋ว
ชื่อทางธรรม เกษตรศิลป์
จิตอาสาสวนป่านาบุญ 2
เรื่อง คนไปปล่อยวัวในสวนยางพารา
ที่ทำกินเป็นสวนยางพารา ตอนปลูกใหม่ ๆ ก็ทำรั้วกั้น กันวัวเข้าไปกินต้นอ่อนของยางพารา พอโตขึ้น เจ้าของวัวก็เอาวัวไปเลี้ยงในสวน เวลากรีดยาง จึงได้น้ำยางน้อย เพราะวัวไปเหยียบถ้วยน้ำยาง และรากฝอยของต้นยาง ถูกเหยียบบ่อย ๆ ทำให้รากฝอยขาด ไม่สามารถส่งอาหารไปเลี้ยงลำต้นได้ ต้นยางเลยไม่สมบูรณ์ทำให้น้ำยางออกน้อยกว่าปกติ เมื่อเหตุการณ์เกิดขึ้นใหม่ ๆ ก็มีความรู้สึกโกรธเจ้าของวัวมาก แต่ก็ต้องทำใจเพราะเจ้าของวัวไม่ได้เปลี่ยนพฤติกรรม ยังเอาวัวไปปล่อยในสวนเหมือนเดิม ต่อมาเมื่อได้มาศึกษาธรรมะ ความไม่พอใจต่อเจ้าของวัวจึงได้ลดลง เหลือเพียงเล็กน้อย
ทุกข์ ไม่พอใจที่ชาวบ้านพาวัวไปเลี้ยงในสวนยางพาราของเรา
สมุทัย ชอบ ถ้าชาวบ้านไม่พาวัวไปเลี้ยงในสวนของเรา ชัง ชาวบ้านพาวัวไปเลี้ยงในสวนของเรา
นิโรธ ชาวบ้านจะพาวัวไปเลี้ยงในสวนของเรา หรือไม่พาไปเลี้ยงในสวนของเรา ก็ได้ เราไม่ทุกข์ใจ
มรรค : จนมาวันหนึ่งได้ฟังเรื่องราวของน้องจากประเทศลาว (นาลี) ได้เล่าสภาวธรรมที่มีแพะมากินพืชผักที่น้องเขาปลูกไว้เกือบหมด แต่น้องเขาบอกว่า ก็เขาเคยกินเนื้อแพะแล้วแพะมากินพืชผักที่เขาปลูกไว้ น้องเขาไม่โกรธแพะและเจ้าของ ที่ปล่อยให้มากินของของเขาเสียหาย เมื่อได้ฟังน้องเขาเล่าเรื่องราวเช่นนั้น ก็เข้าใจว่าทำไมวัวถึงมาอยู่ในสวนยางเรา ก็ในอดีตเราชอบนักหนากับการกินเนื้อวัว คราวนี้เขาเลยปล่อยวัวมาทำร้ายจิตใจเรา นี่ถ้าน้องเขาไม่เล่าสภาวธรรมของเขาให้พี่น้องเราได้ฟัง เราก็คงยังนึกไม่ออกและมีคำถามว่า ทำไม และทำไมอยู่เหมือนเดิม
เราจึงรู้สึกดี ที่เราได้ชดใช้กรรมที่เราเคยพลาดทำมา กว่าจะรู้ว่าเราทำมา ก็ไม่พอใจเจ้าของวัวเสียหลายปี ตอนนี้ได้รู้ว่ารับวิบากอยู่ หมดเมื่อไหร่ก็เมื่อนั้น พ่อครูเคยกล่าวว่า ทุกอย่างมี 2 เสมอ แล้วท่านก็ยกตัวอย่างกระดาษ จะให้มีหน้าเดียวไม่ได้ ต้องมี 2 หน้า ถ้าเช่นนั้น เราก็มองหน้าที่ดีของการที่เขาเอาวัวมาปล่อยในสวนของเราว่า เราไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการตัดหญ้าในส่วนยางบ่อย เพราะวัวช่วยกินหญ้าให้ แถมยังขี้และเยี่ยวให้อีก ได้ปุ๋ย โดยไม่ต้องซื้อ (ใช้บททบทวนธรรมข้อที่ 14 ไม่มีชีวิตใดหนีพ้นอำนาจแห่งกรรมไปได้ ทำกรรมดี ย่อมได้รับผลดี ทำกรรมชั่ว ย่อมได้รับผลชั่ว)
ได้พิจารณาอย่างนี้ จึงรู้สึกสบายใจ อาการที่เคยไม่พอใจเจ้าของวัว ก็สลายไป
เรื่อง กลัวการเรียนรู้เทคโนโลยี
เหตุการณ์ คุรุนัดไปเรียนทำPower point ผ่าน Zoom เพื่อมาทำการบ้าน ซึ่งเป็นงานกลุ่ม รู้สึกเริ่มกลัว กังวลว่าจะเรียนไม่รู้เรื่อง ความกลัวกังวลยิ่งเพิ่มขึ้นเมื่อ ยังไม่เห็นสมาชิกในกลุ่มมา เพราะคิดว่าคนอื่นคงรู้เรื่องกันหมดแล้ว และจะเรียนตามคนอื่นไม่ทัน จึงเริ่มตั้งสติพิจารณาดูกิเลสคือความกลัวที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนเหงื่อเริ่มซึม
ทุกข์ กลัว กังวล การเรียนรู้เทคโนโลยี และจะเรียนตามคนอื่นไม่ทัน
สมุทัย ถ้าเรียนรู้เรื่อง และเรียนทันคนอื่น ก็จะสุขใจ
ถ้าเรียนไม่รู้เรื่อง และเรียนตามคนอื่นไม่ทัน ก็จะทุกข์ใจ
นิโรธ เรียนรู้เรื่อง หรือไม่รู้เรื่อง เรียนตามคนอื่นทันหรือไม่ทันก็สุขใจได้
มรรค พิจารณาว่าเราทำวิบากร้ายมาแน่ๆ คงไปข่มขู่ใครให้กลัวถึงมีความกลัวเกิดขึ้นขนาดนี้ วิบากร้ายมาก็ต้องชำระชดใช้ไป ยินดีที่ได้ชำระวิบากร้าย ยินดีที่ได้มาเรียนได้ทำตรงข้ามกับความกลัว เมื่อคลายความกลัวลงได้บ้าง ก็นึกถึงคำว่า ปรโตโฆสะ คือให้รับฟังความคิดคนอื่น ซึ่งเป็นจังหวะที่คุรุกำลังติดตั้งZoom และบอกทุกคนว่า “ถ้ามีฉันทะที่จะเรียนรู้ก็ไม่ยาก” พอได้รู้ถึงเนื้อหาและประโยชน์ในเรื่องที่จะเรียน ก็รู้สึกว่าน่าสนใจ น่าสนุก หลายๆคนยังไม่เคยเรียน จึงคลายความกลัวลงได้ และเริ่มขำตัวเองว่ากลัวได้ขนาดนี้เลย ตรงกับบททบทวนธรรมข้อที่ 121 โจทย์ทุกโจทย์ เหตุการณ์ทุกเหตุการณ์ เป็นเครื่องมือฝึกจิตของเราให้เป็นสุขอย่างถูกต้องตามธรรม
สรุป ตรงกับที่อาจารย์สอนว่า วิบากร้ายมาก็รับ รับเพื่อจะได้หมดไป จะได้โชคดีขึ้น
เรื่อง อยากทำงานในสถานที่ที่ดี
สัปห์ดาที่ผ่านมามีกิจกรรมที่ต้องทำงานร่วมกันภาระกิจที่ได้รับคือคัดกรองก่อนการได้รับวัคซีน ซึ่งต้องนั่งบริเวณเต็นด้านล่างอาการร้อนไม่มีแอร์เหมือนด้านบน
เกิดความรู้สึกไม่ชอบกิจกรรมที่ทำ
ทุกข์: อยากได้ทำกิจกรรมที่อยู่ในบริเวณที่สะดวกสบาย
สมุทัย: เหตุแห่งทุกข์ชอบที่จะได้ทำงานในบริเวณที่สะดวกสะบายชังที่ทำงานในสถานที่อากาศร้อน
นิโรธ: สภาพดับทุกข์นั่งทำงานในสถานที่ที่อากาศร้อนด้วยใจเบิกบานไม่ชอบไม่ชัง
มรรค:วิธีดับทุกข์ พิจารณาถึงโทษของการทำงานด้วยใจที่เป็นทุกข์ไม่มีความสุขจากอากาศร้อน ทบทวนธรรมให้เห็นความจริงที่ว่า “ในโลกนี้ไม่มีอะไรเที่ยงไม่มีอะไรที่เราควบคุมได้นอกจากใจที่ไม่ทุกข์ของเราเท่านั้นที่เรากำหนดได้”ทำให้สามารถลดทุกข์ใจจากการนั่งทำงานในที่ที่อากาศร้อนต่อไปได้จนงานเสร็จด้วยดี
ยืนหยัดและสู้ต่อ
จากที่ได้โอกาสร่วมบำเพ็ญกับทีมคุรุวิชาอริยสัจ 4 มาสักระยะ ขณะบำเพ็ญไปก็มีเรื่องให้พลาดให้พร่องมาอยู่เรื่อย ๆ ตามกิเลสความยึดความอยากที่เราสั่งสมมา ก็ได้พยายามล้างใจล้างกิเลสและพยายามปรับปรุงแก้ไขตัวเองไปเท่าที่สามารถทำได้มาอยู่เรื่อย ๆ และล่าสุดก็ยังมีข้อพลาดมีพร่องอยู่อีกทั้ง ๆ ที่คิดว่าเราก็ได้พยายามทำดีที่สุดแล้ว
ทุกข์ : ท้อใจ อัดอั้นใจ ที่ทั้ง ๆ ที่ได้พยายามทำเต็มที่แล้วแต่ก็ยังทำได้ไม่ดี ยังพลาด ซ้ำ ๆ อีก จึงคิดจะถอยด้วยการขอถอนตัวออกจากทีม
.
สมุทัย : ยึดว่า ถ้าทำงานออกมาแล้วไม่พลาดไม่พร่องจะดี ถ้าพลาดถ้าพร่องไม่ดี ยึดต่อไปอีกว่า ในเมื่อทำได้ไม่ดีก็ควรถอยออกมาจะดีกว่า
นิโรธ : เมื่อได้พยายามทำอย่างเต็มที่แล้ว แม้ยังจะพลาดจะพร่องอยู่ก็ไม่เป็นไร ยังไงก็จะพยายามปรับปรุงแก้ไขและยืนหยัดสู้ต่อไปโดยไม่ทุกข์ไม่ท้อใจ
มรรค : พิจารณาเห็นความจริงว่า ความท้อใจ อัดอั้นใจ ความยึด ว่าถ้าทำงานออกมาแล้วไม่พลาดไม่พร่องจะดี ถ้าพลาดถ้าพร่องไม่ดี และคิดจะถอยออกมาแบบนี้นี่มันไม่ดี มันคือความคิดของกิเลสอัตตาของเรา ถ้าเราถอยเราถอนตัวออกมาก็เท่ากับว่าเรายอมทำตามกิเลสนะสิ แบบนี้เราจะไปได้ลดกิเลสอะไรล่ะ ไม่ลดกิเลสไม่ลดอัตตา กิเลสอัตตาก็โต กิเลสโตอัตตาโตก็ยิ่งจะทุกข์มากยิ่งขึ้นน่ะสิ นี่ขนาดพยายามลดกิเลสอยู่พยายามสู้อยู่ก็ยังทุกข์ขนาดนี้ ถ้าถอยถ้าไม่สู้ ถ้าไม่ลดกิเลสแล้วมันจะทุกข์ขนาดไหน นอกจากกิเลสจะโตและทุกข์มากแล้ว มันก็ยังตัดหนทางที่จะเจริญในธรรมของเราอีกด้วย
ตราบใดที่เรายังมีกิเลสอยู่ ความพร่องความพลาดก็ย่อมเกิดขึ้นได้อยู่แล้วเป็นธรรมดา สำคัญคือเมื่อเราได้พยายามทำดีเต็มที่ตามภูมิแล้วยังพลาดยังพร่องอยู่ เราก็ไม่ทุกข์ใจ และพร้อมน้อมนำมาปรับปรุงแก้ไขเท่าที่สามารถทำได้นี่สิดี คือหนทางในการเจริญในธรรมของเรา
สรุป เมื่อพิจารณาดังนี้ ความทุกข์ใจในครั้งนี้ก็คลายลง และ มีพลังที่จะยืนหยัดในการสู้กิเลสต่อไปได้ขึ้นมาอีก
Comments are closed.