การบ้าน อริยสัจ 4 (24/2564) [31:37]

640613 การบ้าน อริยสัจ 4 (24/2564)

นักศึกษาสถาบันวิชชารามส่งการบ้าน อริยสัจ 4 ประจำวันที่ 7 – 13 มิถุนายน 2564 (อ่านที่มาและรายละเอียดเพิ่มเติมของการบ้าน)

สัปดาห์นี้มีผู้ส่งการบ้านทั้งหมด 31 ท่าน 37 เรื่อง

  1. พรพรรณ เอ็ทสเลอร์
  2. นางสาวสันทนา ประวงศ์
  3. นางภัคเปมิกา อินหว่าง
  4. ชวนชม คำท้วม (4)
  5. น.ส ชรินรัตน์ ชุมจีด (น้าน้อมศีล) (2)
  6. อรวิภา กริฟฟิธส์
  7. ธัญมน หมวดเหมน(มั่นแสงธรรม)
  8. นฤมล ยังแช่ม
  9. วิภาภรณ์ กอจรัญจิตต์ (เอ ใจพอแล้ว))
  10. นปภา รัตนวงศา
  11. มาลิน จุ้ยทรัพย์เปี่ยม (เมฆ ลม ฟ้า)
  12. นางพรรณทิวา เกตุกลม (2)
  13. นางสาวนิตยา สุเมธากุลวัฒน์
  14. พิเชษฐ์ บุญย์วิรุฬห์
  15. จรูญ สุยะ (ชาติพุทธ)
  16. สุมา ไชยช่วย (2)
  17. รมิตา ซีบังเกิด
  18. พิมพ์พศินา สิทธิประเสริฐ (น้าหมู-เพียรเย็นพุทธ)
  19. ปิ่น คำเพียงเพชร
  20. สำรวม แก้วแกมจันทร์
  21. นางจิราภรณ์ ทองคู่
  22. Sureenart ratchapan สุรีนารถ ราชแป้น
  23. นางสาวนาลี วิไลสัก
  24. นางสาวศิริรักษ์ พรมเล็ก
  25. ภาคภูมิ ยอดปรีดา (สร้างแก่นศีล)
  26. น.ส จรรญา ชุมจีด (สร้างกลิ่นศีล)
  27. ปริศนา อิรนพไพบูลย์ (ปางน้อม กล้าจน)
  28. Savitree manovorn
  29. พรพิทย์ สามสี
  30. Ruam Ketklom
  31. เสาวรี หวังประเสริฐ

Tags:

38 thoughts on “การบ้าน อริยสัจ 4 (24/2564) [31:37]”

  1. พรพรรณ เอ็ทสเลอร์

    อริยสัจ 4

    เรื่อง เป็นห่วงคุณแม่ของสามี (แม่ย่า)

    เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา คุณของสามีประสบอุบัติเหตุล้มในสวน ทำให้บาดเจ็บที่ขาด้านซ้าย ไม่สามารถเดินได้สะดวกและเกรงว่ากระดูกจะหัก จึงต้องเรียกรถพยาบาลมารับท่านไปโรงพยาบาลเพื่อเอกซเรย์ขาด้านซ้ายที่บาดเจ็บ

    ทุกข์ : กังวัลใจ

    สมุทัย : กังวลใจกลัวว่ากระดูกขาคุณแม่ย่าหัก ไม่อยากให้กระดูกขาคุณแม่ย่าหัก และอยากให้ท่านสามารถเดินเหินได้ตามปกติ

    นิโรธ : ถึงแม้ว่ากระดูกที่ขาคุณแม่ย่าจะหัก ตัวข้าพเจ้าก็ช่วยท่านไม่ได้ มีแต่คุณหมอที่จะช่วยเหลือและทำการรักษาท่านได้ ตัวข้าพเจ้าก็จะขอเป็นกำลังใจเคียงข้างให้กำลังใจท่านให้ท่านรู้สึกอุ่นใจขึ้น

    มรรค : การที่ตัวข้าพเจ้าเป็นทุกข์กังวลใจก็ไม่สามารถช่วยให้คุณแม่ย่าหายเป็นปกติได้ พอคิดได้เช่นนั้นเลยไม่กังวัล ไม่ขุ่นใจ ความทุกข์ที่มีก็หายไปเป็นปลิดทิ้ง และพิจารณาลงไปอีกว่าที่คุณแม่ย่าท่านประสบอุบัติเหตุในครั้งนี้เป็นเพราะท่านก็มีปัญหาเรื่อง เข่า และเท้าของท่านอยู่แล้วเลยทำให้ท่านทรงตัวอยู่ได้ไม่เต็ม 100 เปอร์เซ็นต์

    การล้มของแม่ย่าครั้งนี้ ก็เหมือนกับมาตลีเทพสารถีได้มาเตือนท่าน และท่านก็ได้พูดกับข้าพเจ้าว่าจะไม่ไปทำสวนอีกแล้ว เพราะกลัวจะโชคไม่ดีเหมือนครั้งนี้ ขออนุโมทนาบุญกับความไม่ดื้อและความแววไวของท่าน ถือว่าครั้งนี้เป็นเหตุการณ์สอนท่านเอง ณ เวลานี้ท่านรู้แล้วว่าสิ่งใดที่ท่านควรจะทำหรือไม่ควรทำ ขออนุโมทนาบุญกับคุณแม่ย่าและตัวเองที่ผ่านเหตุการณ์มาได้ด้วยดี ถือว่าพวกเรายังมีวิบากกรรมดีต่อกัน เลยไม่ต้องคุยและอธิบายใด ๆ มาก สาธุ

  2. นางสาวสันทนา ประวงศ์

    เรื่อง : เรามาเลิกอยากกันเถอะ! เลิกอยากทำดี

    เหตุการณ์ : เห็นความ ”อยาก” ในตัวเอง กับการทำงานวิชาการ ที่อยากทำดีให้ได้ดั่งใจเราหมาย หมายไว้หลายเรื่องมาก ที่อยากทำ อยากเขียน คิดชื่อเรื่อง คิดเนื้อหาออกหมดแล้ว ว่าจะเขียนแบบนี้ เชื่อมร้อยด้วยหลักธรรมนี้ แต่ทำไม่ได้ มีวิบากร้ายมาขวาง มาขัด ไม่ให้ทำ พอจะลงมือทำก็มีอาการมึนๆ งงๆ สับสนๆ จะเอาแบบไหนดี อย่างไหนดี เยอะไปหมด อยากไปหมด โอ๊ยมึนหัวแล้ว ทำให้เขียนไม่ได้ ทำดีไม่ได้ขึ้นมาสะอย่างนั้น

    ทุกข์ : อยากทำดี แล้วทำไม่ได้ มีอาการทุกข์ อาการดิ้นรนในใจ ดิ้นขลุกขลักๆ อยู่ในใจ อาการงึดๆ ทุกข์อยากทำ อยากเขียน มีอาการไม่แล้วใจ งุ่นง่าน ครุ่นคิด คิดวนไปมาอย่างกระสับกระส่าย จนแสดงออกมาที่ร่างกาย ผุดลุกผุดนั่ง เดินไปเดินมา

    สมุทัย : เกิดจากตัณหา ความอยาก ชอบ-ชัง อยากทำดี อยากได้ดี อุปาทานยึดมั่นถือมั่นว่า ทำดีได้สมใจ จะสุขใจ ทำดีไม่ได้สมใจ จะทุกข์ใจ

    นิโรธ : ถ้าทำดีได้ ให้อยากทำ ถ้าทำดีไม่ได้ ให้เลิกอยากทำ (ทำได้-อยาก ทำไม่ได้-เลิกอยาก ทำได้ก็ทำ ทำไม่ได้ก็ไม่ทำ เลิกอยากเลิกทุกข์ หยุดอยากหยุดทุกข์) ไม่ต้องอยาก ดีเกิดก็ได้ ดีไม่เกิดก็ได้ ก็ไม่ทุกข์ใจ

    มรรค : พิจารณาโทษ ได้เห็นว่าความอยากเป็นทุกข์ มีอาการดิ้นรนในใจ ดิ้นขลุกขลักๆ อยู่ในใจ อาการงึดๆ อาการไม่แล้วใจ งุ่นง่าน ครุ่นคิด คิดวนไปมาอย่างกระสับกระส่าย ผุดลุกผุดนั่ง เดินไปเดินมา เราเห็นอาการทุกข์ที่เป็นนี้ในตัวเราชัด อาการนี้มันทุกข์ ไม่อยากเป็น ไม่อยากได้ในตัวเรา ทำได้-อยาก ทำไม่ได้-เลิกอยาก อยากเพราะเห็นประโยชน์เห็นคุณค่า เลิกอยากเพราะเห็นทุกข์ เห็นโทษภัย เลิกทุกข์ เลิกอยาก หายทุกข์ ไม่มีความอยากเบาสบายกว่า สงบกว่า แจ่มใส เบิกบานกว่ากันเยอะเลย

    พิจารณาเรื่องกรรมและผลของกรรม (วิบากดี-วิบากร้าย) สิ่งดีนั้นจะเกิดก็ได้ ไม่เกิดก็ได้ ถ้ายังมีวิบากร้ายขวางอยู่ ก็แสดงว่ายังไม่ใช้กุศลของเราที่จะทำดีนั้น เพราะถ้าทำดีนั้นได้สำเร็จ อาจจะได้ผลร้ายมากกว่าผลดีก็ได้ เพราะเราทำดีด้วยความอยากของกิเลส ถ้าเราทำดีนั้นได้สำเร็จได้ดั่งใจมากขึ้นๆ กิเลสก็โต มีอัตตาตัวตน เพ่งโทษ ถือสา กร่าง ดูถูกคนอื่นมากขึ้นก็ได้ เราจึงต้องมาลดกิเลสตัวนี้ให้ได้ก่อน รู้สึกขอบคุณวิบากร้าย วิบากร้ายกลายเป็นดี ดีที่มาขวาง มากั้น ให้เราได้เห็นกิเลส ได้ล้างกิเลส ได้ทำความสะอาดในจิต ในใจเรา ที่มีแต่ความอยาก ความหมอง มีรอยคราบสกปรกอยู่ ให้สะอาดสิ้นเกลี้ยงไป รู้สึกยินดีกับวิบากที่มาขวาง มาคอยเตือนให้เราได้ทบทวนตัวเราให้บริสุทธิ์ยิ่งขึ้น ๆ และเห็นว่าความดีนั้น ก็เอามาเก็บมายึดไว้ไม่ได้ ไม่ใช่ตัวเราของเรา ขนาดตัวเรา ร่างกายของเรายังยึดเอาไว้ไม่ได้เลย สุดท้ายเราก็ไม่ได้ ไม่เป็น ไม่มีอะไร ชีวิตก็ต้องดับไป แล้วจะอยาก จะยึดไปทำอะไร เลิกอยากกันเถอะ

    ผล : ของการพิจารณา เรื่องอยากทำงานวิชาการ อยากทำดีในครั้งนี้ คือ ทำให้ใจเราโล่งขึ้น เบาสบายขึ้น ทำได้เท่าไหร่ก็เท่านั้น นึกออกก็ทำ นึกไม่ออก เขียนไม่ได้ ก็ไม่ต้องไปพยายามคิดให้ออก ก็พรากไปหาอะไรอย่างอื่นทำ ไปร่วมบำเพ็ญกับหมู่พี่น้องก่อน ได้เชื่อชัดเรื่องวิบากกรรมมากขึ้นไปอีก เก่งแค่ไหนว่าแน่ ก็แพ้วิบากร้าย ร้ายแค่ไหนว่าแน่ ก็แพ้วิบากดี วิบากดีที่แน่แท้ ที่ดีที่สุดคือ ใจไร้ทุกข์ ใจดีงาม ทำให้ความอยากลดหายไป เป็น ๐ % ในครั้งนี้กับเหตุการณ์นี้ สาธุค่ะ

  3. นางภัคเปมิกา อินหว่าง

    เรื่อง:เข้าใจผิด พาพ้นทุกข์
    เหตุการณ์:กลับจากทำงานในสวน
    ช่วงนั่งพักให้หายเหนื่อย ก่อนอาบน้ำ
    ได้คุยเสวนาธรรมกับพ่อบ้าน ถึงเรื่องวิบากกรรมดี วิบากกรรมร้าย

    ทุกข์:ขุ่นใจที่พ่อบ้านเข้าใจเราผิด

    สมุทัย:ชอบหากพ่อบ้านเข้าใจถูก
    ชังที่พ่อบ้านเข้าใจผิด

    นิโรธ: พ่อบ้านจะเข้าใจถูกหรือเข้าใจผิดก็ได้ไม่ชอบไม่ชัง

    มรรค:เมื่อเรากับพ่อบ้านคุยกันไปคุยกันมา ถึงการแยกแยะอาหารฤทธิ์ร้อน-เย็น
    ว่า”พ่อบ้านแยกไม่ค่อยออก อาหารหรือผักผลไม้ชนิดไหนร้อนชนิดไหนเย็น
    เพราะเขามีวิบากร้ายมากั้น จึงยังแยก
    ไม่ค่อยออก พอเราพูดถึงวิบากดีร้าย
    เป็นเรื่องเลย กลายเป็นเขาเข้าใจเราผิดเฉยเลย หาว่าเราไปกล่าวเพ็งโทษเขา
    เขาทำวิบากดีมาตั้งกว่า30ปี สวดมนต์
    ระลึกถึงคุณบิดา มารดา ก่อนนอนทุกคืน
    เราก็พยามอธิบาย ว่าคนเราทำชั่วมาหาที่ต้นที่สุดไม่ได้ เมื่อยามวิบากร้ายออกฤทธิ์
    ขึ้นมา เราก็พลาดได้ทุกขณะ เราจึงต้องทำความดีให้มากๆเพื่อจะให้ดีชิงออกฤทธิ์แทนร้ายที่เราเคยพลาดทำมาในชาตินี้หรือชาติก่อนๆ จะได้มีดีไว้ใช้ในปัจจุบันและอนาคต ในชาตินี้และชาติอื่นๆ สืบไป
    เราก็ไม่แน่ใจว่า ที่เราอธิบายไปเขาจะฟังเข้าใจได้ประมาณไหน
    เขาจะเข้าใจหรือไม่เราก้าไม่สุขไม่ทุกข์
    ตามบททบทวนธรรมข้อที่๒ เรื่องการเข้าใจผิดของเรากับผู้อื่น เราต้องระลึกรู้ว่า มันคือวิบากกรรมเขา วิบากกรรมเรา แก้ไขได้ด้วยการทำดี ไม่มีถือสาไปเรื่อยๆ แล้ววันใดวันหนึ่งข้างหน้า ในชาตินี้ หรือชาติหน้า หรือชาติอื่นๆ สืบไป ความเข้าใจผิดนี้น ก็จะหมดไปเอง
    และบททบทวนธรรมข้อที่๘ สิ่งที่เราได้รับคือ สิ่งที่เราทำมา ไม่มีสิ่งใดที่เราได้รับ โดยที่เราไม่เคยทำมา

  4. ชวนชม คำท้วม

    ส่งการบ้าน
    ชื่อ ชวนชม คำท้วม
    ชื่อทางธรรม สู่ร่มศีล
    จิตอาสา สวนป่านาบุญ 2
    ชื่อเรื่อง ได้กำลังจากพี่น้องมาก
    เหตุการณ์ นี้เป็นเรื่องที่ผ่านมาแล้ว อยากเล่าให้เพื่อนฟัง ตอนนั้นทุกข์ใจ สถานการณ์โควิด ทำให้ปฐมอโศกเลื่อนการเข้าค่ายคัดตัว เลยทำให้รร.เดิมลูกเรียกรายงานตัวด้วย เราก็หนักใจทำไงดี ถ้าไม่รายงานตัวให้ลูก เกิดเขาไม่ชอบ อยู่ปฐมอโศกไม่ได้แล้วจะทำอย่างไร ปฐมอโศกไม่ให้เล่นมือถือ กิน 2มื้อ กินมังสวิรัติ 3 ข้อหนักๆ ทำให้คิดว่าลูกเราจะอยู่ได้ไหมหน้อ
    ทุกข์ กังวลใจไม่รู้จะทำอย่างไรดี เรื่องโรงเรียนลูก
    สมุทัย ชอบที่เราคิดแล้วโล่ง เรื่องโรงเรียนลูก ชังที่เราทุกข์คิดแล้วทุกข์ ไม่โล่งเรื่องโรงเรียนลูก
    นิโรธ เราจะหาทางออกเรื่องโรงเรียนลูกได้ ใจก็ไร้กังวล ไร้ทุกข์
    มรรค 2 วันแล้วที่หาทางออกไม่เจอ ช่วงกลางคืนได้บอกพี่น้องสวน 2 พี่น้องช่วยกันให้ความคิดต่างๆ ว่าที่เราทุกข์อยู่มันผิด เราก็วางใจ ลูกจะเรียนที่ไหนก็ได้ ตามวิบากดีร้ายของเขา. พอฟังพี่น้องพูดจบ ใจเราหายทุกข์ โล่ง ไม่ทุกข์แล้ว รุ่งเช้าลูกชายมาบอก แม่ไม่ต้องไปรายงานตัวที่รร.เดิมแล้ว ไปโรงเรียนปฐมอโศกเลย นี่คืออานิสงส์เมื่อเราวางใจได้ ตอนนี้ลูกชายได้เรียนที่ปฐมอโศกแล้วค่ะตอนนี้ใจไร้ทุกข์ สาธุค่ะ

  5. ชวนชม คำท้วม

    ส่งการบ้าน
    ชื่อ นางชวนชม คำท้วม
    ชื่อทางธรรม สู่ร่มศีล
    จิตอาสา สวนป่านาบุญ 2
    ชื่อเรื่อง ห่างลูกแล้วทุกข์จัง
    เหตุการณ์ วันที่ 1ไปส่งลูกชายเพื่อไปเข้าค่ายเตรียมคัดตัวเพื่อเข้า ม.1 15 วัน ส่งตัวเด็กเราก็กลับบ้านเลย 15 วันที่ลูกอยู่ที่ปฐมอโศก เราก็ลุ้น ทุกข์ใจเบา ๆ กลัว กังวลเขาเขาจะอยู่ได้ไหมหน้อ ก็กังวลเข้าค่ายแบบสบายใจไหมหน้อ แล้วก็เหงา คิดถึงลูก
    ทุกข์ ทุกข์ใจมากเมื่อต้องห่างลูก
    สมุทัย ชอบที่เรา กับลูกได้อยู่ด้วยกัน ชังที่เรากับลูกไม่ได้อยู่ด้วยกัน
    นิโรธ ไม่ได้อยู่กับลูกก็ได้ใจไร้ทุกข์
    มรรค บอกกิเลส ฝีกพรากไว้ก่อนดีแล้ว บอกกิเลสลูกไปเรียน ไม่ได้ตายซะหน่อย มันก็ยังทุกข์อยู่ ลูกอยู่ในที่ที่ดีที่สุดแล้ว ยินดีกับลูก เราก็สบายใจขึ้น พอเวลาผ่านไปก็คลายความคืดถึงลง ตอนนี้สบายใจมาก ไม่ทุกข์แล้วค่ะ

  6. ชวนชม คำท้วม

    ส่งการบ้าน
    ชื่อ นางชวนชม คำท้วม
    ชื่อทางธรรม สู่ร่มศีล
    จิตอาสา สวนป่านาบุญ 2
    ชื่อเรื่อง ลูกจะอยู่ปฐมอโศกได้ไหม
    เหตุการณ์ ตอนที่ลูกไปเข้าค่ายเตรียมคัดตัว 15วัน ลุ้นมาก ไม่รู้เขาจะอยู่ได้ไหม
    ทุกข์ กังวลใจนิดหน่อยว่าลูกจะอยู่ปฐมอโศกได้ไหม
    สมุทัย ชอบที่อยู่ได้ที่ปฐมอโศก ชังที่ลูกอยู่ไม่ได้ปฐมอโศก
    นิโรธ ลูกอยู่ปฐมอโศกได้ หรือไม่ได้ ใจเราก็ไร้ทุกข์
    มรรค ตอนที่ลูกเข้าค่าย ก็กังวลเขาจะอยู่ได้ไหม ลูกก็ทำดีแล้ว ก็บอกกิเลส ลูกจะอยู่ที่ไหนก็ได้ตามวิบากเขา บอกลูกตอนที่เขาเข้าค่ายได้ 1 สัปดาห์ โทรคุยบอกเขา อยู่ไม่ได้ก็บอกนะ แม่ไปรับ บอกเขา เพื่อเขาจะได้ไม่เครียด เป็นการไม่กดดัน ไม่บังคับลูก ให้เขาคิดเอง เพราะที่นั่นเด็กต้องสมัครใจ ถ้าไม่สมัครใจอยู่ยาก ทรมานมาก พอครบ 15 วันตอนนี้แม่รู้แล้วว่าลูกอยู่ได้ คอยถามครูตลอด ว่าเขาจะอยู่ได้ไหม ลูกโทรมาบอก แม่ลูกผ่าน เขารับ เสียงเขาสดใส ดีใจ ฟังออกค่ะ ตรงกับบททบทวนธรรม สิ่งที่เราได้รับ คือสิ่งที่เราทำมา ไม่มีสิ่งใดที่เราได้รับโดยที่เราไม่เคยทำมา ใจแม่ไร้ทุกข์ สบายใจ ไร้กังวล สาธุค่ะ

  7. น.ส ชรินรัตน์ ชุมจีด (น้าน้อมศีล)

    ส่งการบ้านอริยสัจ4
    เรื่อง.ไม่ได้ไปใจไร้ทุกข์
    เหตุการณ์.เนื่องจากช่วงนี้ วันที่5-10 มิถุนายน
    เป็นงานอโศกรำลึก ปกติทุกครั้งที่ทะเลธรรมมีงานตัวเองจะไปร่วมงานเกือบทุกครั้ง แต่ครั้งนี้ไม่ได้ไป เนื่องจากสถานการณ์โรคระบาดโควิด19 ระบาดหนักที่จังหวัดตรัง และอีกอย่างเนื่องจากว่าถ้าจะไปทุกครั้งเราต้องฝากอาดูแลบ้านและลูกหมาให้อาดูแลให้ เราจึงได้คุยๆกับอาว่าจะไปร่วมงานวันอโศกรำลึก ที่ทะเลธรรมนะ แต่ครั้งนี้ท่านบอกว่า อย่าไปเลยมันเสี่ยงนะ เมื่อได้ฟังอาพูดอย่างนั้นก็เข้าใจในสถานการณ์ จึงตัดสินใจไม่ไปร่วมงานวันอโศกรำลึกที่ทะเลธรรมแต่ยังมีความอยากไปอยู่แต่เมื่อมาพิจารณาแล้วอาการความอยากก็ลดลงได้ค่ะ

    ทุกข์.ทุกข์ใจอยากไปร่วมงานวันอโศกรำลึกที่ทะเลธรรมแต่ไม่สามารถไปได้

    สมุทัย.อยากไปร่วมงานกับหมู่มิตรดีถ้าได้ไปจะชอบใจสุขใจเมื่อไม่ได้ไปจึงไม่ชอบใจทุกข์ใจ

    นิโรธ.จะได้ไปหรือไม่ได้ไปก็วางใจได้ไม่ชอบไม่ชังใจไร้ทุกข์

    มรรค.ตั้งศีลมาพิจารณาไตรลักษณ์ ความวิปลาส ความไม่เที่ยง ของอาการกิเลสที่ทำให้ทุกข์ใจ พิจารณาโทษของความยึดมั่นถือมั่นความชอบชัง ความอยากได้ดั่งใจของตัวเองที่ที่อยากได้ดั่งใจเมื่อไม่ได้ดั่งที่หวังไว้วางไว้จึงทำให้ทุกข์ใจ พิจารณาเห็นถึงประโยชน์ของการวางใจ ล้างความชอบชังความยึดมั่นถือมั่นได้ที่ทำให้ใจเราไร้ทุกข์ได้
    คิดได้ว่าไม่ได้ไปก็ไม่เป็นไร เราก็สามารถปฏิบัติบูชาพ่อครูอยู่บ้านก็ได้ และโชดดีที่ไม่ได้ไปแต่ได้เห็นกิเลส ได้ล้างกิเลสได้ล้างทุกข์ใจได้ทำให้ใจไร้ทุกข์ค่ะ
    สรุปว่าเมื่อพิจารณาได้ก็ทำให้คลายใจลงได้ค่ะ

  8. อรวิภา กริฟฟิธส์

    เรื่อง ถ้าต่อไม่จบ
    ตื่นขึ้นมาแล้วแปลกใจที่เห็นพ่อบ้านตื่นขึ้นแต่เช้า ปกติเราจะตื่นก่อน มาทราบทีหลังว่าท่านไม่ได้นอนเลยเมื่อคืนนี้ พ่อบ้านท่านมีปัญหาเรื่องการนอนไม่หลับมาเป็นปีแล้วแต่เป็นช่วง ๆ พอเห็นหน้าเราท่านก็รายงานว่าวันนี้ครบรอบ 1 ปี ที่ท่านเริ่มมีปัญหาเรื่องนอนไม่หลับ เราเห็นอาการกังวลใจหวั่นไหวของท่าน ก็อยากช่วยท่านเลยบอกท่านว่าต้องทำใจ ไม่กังวล หวั่นไหว ควรทำใจให้สบาย ๆ ร่างกายมันไม่เหนื่อยก็เลยไม่อยากพัก เราสังเกตเห็นว่าท่านกินอาหารที่ค่อนไปทางร้อน และชอบกินตอนกลางคืนด้วย ขณะที่อธิบายอยู่ท่านก็โบกมือบอกให้เราหยุดพูด เห็นใจเราขุ่นเล็กน้อยอยากพูดต่อ
    ทุกข์ ขุ่นใจเล็กน้อยเมื่อโดนตัดบท พูดยังไม่จบ
    สมุทัย อยากพูดต่อให้จบ ถ้าได้พูดจนจบจะสุขใจชอบใจ คิดว่าถ้าได้ให้ข้อมูลที่เต็มครบถ้วนจะเป็นประโยชน์ต่อท่านเอง
    นิโรธ จะได้พูดจบ หรือพูดไม่จบก็ไม่ทุกข์ใจ ยินดีได้
    มรรค พิจารณาโทษของความอยากได้ดั่งใจหมายของเรามันเป็นทุกข์ ได้สมใจก็เป็นสุขชั่วคราว การที่เราคิดว่าการได้ให้ข้อมูลเต็มที่มันก็ดีอยู่ แต่เราต้องไม่ยึดมั่นถือมั่น เราต้องพร้อมที่จะวางดีนั้นเสีย เข้าใจกุศลอกุศลของเราและคนที่เกี่ยวข้อง ก็เมื่อท่านไม่อยากฟังแล้วแสดงว่าไม่ใช่เวลาที่เราจะได้บำเพ็ญกับท่าน แม้สิ่งที่เราพูดจะเป็นประโยชน์จริง แต่เมื่อท่านไม่เปิดใจรับมันก็ไม่เป็นประโยชน์อะไรต่อท่านเลย ใจที่ขุ่นมัวก็หายไป มีความเบิกบานยินดีเข้ามาแทน ยินดีรับแต่ของที่เขาให้ เขาให้บำเพ็ญเท่านี้ก็ยินดีที่ได้บำเพ็ญ ยินดีที่เราไม่ได้ทำตามที่เราอยากทำ แต่เราทำตามเหตุปัจจัยที่เอื้อให้เราทำ ไม่ฝึดฝืนเกิน ไม่ลำบากเกินและไม่วิวาท ยินดีที่เห็นความจริงตามความเป็นจริง เมื่อท่านห้ามเราพูดเราก็หยุดพูด เป็นกุศลดีของเราแล้ว ไม่ต้องเหนื่อยอธิบาย ได้พลังแรงงานไปทำประโยชน์อย่างอื่น ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่นด้วย สาธุค่ะ

    1. อรวิภา กริฟฟิธส์

      เรื่อง ถ้าต่อไม่จบ (แก้ไข)
      ตื่นขึ้นมาแล้วแปลกใจที่เห็นพ่อบ้านตื่นขึ้นมาแต่เช้า ปกติเราจะตื่นก่อน มาทราบทีหลังว่าท่านไม่ได้นอนเลยเมื่อคืนนี้ พ่อบ้านท่านมีปัญหาเรื่องการนอนไม่หลับมาเป็นปีแล้วแต่เป็นช่วง ๆ พอเห็นหน้าเราท่านก็รายงานว่าวันนี้ครบรอบ 1 ปี ที่ท่านเริ่มมีปัญหาเรื่องนอนไม่หลับ เราเห็นอาการกังวลใจหวั่นไหวของท่าน ก็อยากช่วยท่านเลยบอกท่านว่าต้องทำใจ ไม่กังวล หวั่นไหว ควรทำใจให้สบาย ๆ ร่างกายมันไม่เหนื่อยก็เลยไม่อยากพัก เราสังเกตเห็นว่าท่านกินอาหารที่ค่อนไปทางร้อน และชอบกินตอนกลางคืนด้วย ขณะที่อธิบายอยู่ท่านก็โบกมือบอกให้เราหยุดพูด เห็นใจเราขุ่นเล็กน้อยอยากพูดต่อ
      ทุกข์ ขุ่นใจเล็กน้อยเมื่อโดนตัดบท พูดยังไม่จบ
      สมุทัย อยากพูดต่อให้จบ ถ้าได้พูดจนจบจะสุขใจชอบใจ คิดว่าถ้าได้ให้ข้อมูลที่เต็มครบถ้วนจะเป็นประโยชน์ต่อท่านเอง
      นิโรธ จะได้พูดจบ หรือพูดไม่จบก็ไม่ทุกข์ใจ ยินดีได้
      มรรค พิจารณาโทษของความอยากได้ดั่งใจหมายของเรามันเป็นทุกข์ ได้สมใจก็เป็นสุขชั่วคราว การที่เราคิดว่าการได้ให้ข้อมูลเต็มที่มันก็ดีอยู่ แต่เราต้องไม่ยึดมั่นถือมั่น เราต้องพร้อมที่จะวางดีนั้นเสีย เข้าใจกุศลอกุศลของเราและคนที่เกี่ยวข้อง ก็เมื่อท่านไม่อยากฟังแล้วแสดงว่าไม่ใช่เวลาที่เราจะได้บำเพ็ญกับท่าน แม้ว่าสิ่งที่เราพูดจะเป็นประโยชน์จริง แต่เมื่อท่านไม่เปิดใจรับมันก็ไม่เป็นประโยชน์อะไรต่อท่านเลย ใจที่ขุ่นมัวก็หายไป มีความเบิกบานยินดีเข้ามาแทน ยินดีรับแต่ของที่เขาให้ เขาให้บำเพ็ญเท่านี้ก็ยินดีที่ได้บำเพ็ญ ยินดีที่เราไม่ได้ทำตามที่เราอยากทำ แต่เราทำตามเหตุปัจจัยที่เอื้อให้เราทำ ไม่ฝึดฝืนเกิน ไม่ลำบากเกินและไม่วิวาท ยินดีที่เห็นความจริงตามความเป็นจริง ว่าสิ่งที่เราได้รับคือสิ่งที่เราทำมา ส่งเสริมมา เราเคยพูดตัดบทคนอื่นไม่ฟังคนอื่นมา ใจที่ขุ่นมัวก็เราทำเอง ไม่มีใครทำให้เราทุกข์ใจได้นอกจากใจของเราเอง ใจที่อยากได้มากกว่าที่เป็นไปได้จริง ใจที่ยึดมั่นถือมั่น เมื่อพิจารณาเรื่องกรรมอย่างแจ่มแจ้งเช่นนี้ เราก็สำนึกผิดยินดีรับโทษ เต็มใจรับโทษ ตั้งใจหยุดสิ่งที่ไม่ดี เรายินดีรับยินดีให้หมดไป แล้วเราก็จะโชคดีขึ้น เมื่อท่านห้ามเราพูดเราก็หยุดพูด เป็นกุศลดีของเราแล้ว ไม่ต้องเหนื่อยอธิบาย ได้พลังแรงงานไปทำประโยชน์อย่างอื่น ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่นด้วย สาธุค่ะ

  9. ธัญมน หมวดเหมน(มั่นแสงธรรม)

    ชื่อเรื่อง :สิ้นอยาก สิ้นทุกข์
    เนื้อหา:รู้สึกตัวเองว่าช่วงนี้ มีความหน่วงๆหนักๆอยู่ในใจ มันรู้สึกมึนๆเหมือนมีอะไรเต็มๆทึบๆอยู่ในหัว ไม่โปร่ง ไม่โล่ง ใจไม่แช่มชื่นเท่าที่ควร ตรวจดูก็จับไม่ได้ชัดว่าเกิดจากเรื่องอะไรแน่ แต่พอจับได้ว่าสิ่งที่ตัวเองคิดถึงหรือฟุ้งขึ้นมาในใจบ่อยๆช่วงนี้ คือ จะมีความกังวลในเรื่อง การเรียน ที่รู้สึกว่ามาช่วงหลังๆตัวเองเรียนไม่ทัน เพราะจัดสรรเรื่องเวลาเรียนไม่ค่อยลงตัว เพราะส่วนมากจะทำงานตามฐาน จึงมีทั้งงานที่ได้รับมาจากคุรุ ทั้งงานกลุ่มและเรื่องเรียนที่ไม่ค่อยได้เข้าเรียน และไม่ค่อยมีเวลาติดตามย้อนหลัง จึงรู้สึกว่ามันจะเป็นดินพอกหางหมูมากขึ้นเรื่อยๆ พอคิดว่าเราจะเรียนไม่ทันก็รู้สึกว่ามันเหนื่อยขึ้นมา ก็เลยตรวจดูว่าที่เรารู้สึกเหนื่อยเพราะอะไร ก็ได้คำตอบว่ากลัวเรียนไม่ทันแล้วสอบไม่ได้
    เพราะไม่ได้อ่านหรือทบทวนย้อนหลังในสิ่งที่เรียนมาเลย
    ก็ถามตัวเองอีกว่า กลัวสอบไม่ผ่านเหรอ ใช่กลัวคะแนนออกมาไม่ดีด้วย อ้อที่แท้ก็อยากสอบได้คะแนนดีๆ เออจริงด้วยทำไมเราต้องกลัวว่าจะสอบได้คะแนนน้อยหรือคะแนนไม่ดีล่ะ
    ในเมื่อทั้งท่านอาจารย์หมอเขียวและคุรุท่านก็บอกแต่แรกแล้วว่า เราไม่ต้องทุกข์กับเรื่องคะแนนมากหรอกว่าจะได้มากหรือน้อย เอาแค่พอผ่านก็ใช้ได้แล้ว สิ่งสำคัญคือเรียนด้วยใจไม่ทุกข์ได้นั่นแหละคือผ่านแล้ว ก็ไม่รู้สิ ไม่อยากให้คนอื่นคิดว่าเราทำไม่ได้ อ้ออยากได้รับการยอมรับจากผู้อื่นว่าเราก็ทำได้ เหมือนกัน อ้อ เธออยากได้การยอมรับ ถ้าคนอื่นยอมรับเธอถึงจะสุขใจถ้าคนอื่นไม่ยอมรับ เธอก็จะทุกข์ใจ อย่างนี้นี่เองเธออยู่ตรงนี้เอง กิเลส
    ทุกข์ :รู้สึกกังวลใจ ไม่สบายใจ
    สมุทัย: อยากได้ความรู้สึกดีๆจากผู้อื่น อยากได้การยอมรับ ไม่ชอบถ้าจะไม่ได้รับการยอมรับจากผู้อื่น
    นิโรธ :ใจเบา รู้สึกโล่งขึ้น เพราะคิดได้ว่า จะได้รับการยอมรับหรือไม่ยอมรับจากผู้อื่นก็จะไม่ทุกข์ใจ เพราะนั่นไม่ใช่แก่นสาระแท้ๆที่จะพาพ้นทุกข์
    มรรค:ทำใจปล่อยวางว่าเมื่อเราทำดีที่ทำได้ให้ดีที่สุดแล้ว ก็สุขใจได้แล้ว และคุยกับกิเลสว่า ขอบคุณนะที่มาให้เราได้เห็นทุกข์ และได้เรียนรู้เล่ห์เหลี่ยมของเธอในทุกแง่ทุกมุม ทำให้เห็นว่าแม้เราจะมีความตั้งใจมาดี(มาเรียนร้การลดละกิเลส)แต่พอเราเผลอใจ ขาดสติเธอก็จะเข้ามาแทรกและพาใจเราไปทุกข์ได้ทันที ขนาดเรามาเพื่อฝึกความปล่อยวาง ไม่ยึดมั่นถือมั่น มาฝึกลดละความมีตัวตนแท้ๆ เรายังหลงเข้าไปยึดอยากได้การยอมรับจากผู้อื่นอยู่เลย อาจารย์ก็พร่ำสอนว่า “ในโลกนี้ไม่มีอะไรสำคัญ นอกจากการทำใจให้ไร้ทุกข์” และในบททบทวนธรรม(ข.83)”ความยึดมั่นถือมั่น จะทำให้เกิดความพร่อง ความพลาด ความทุกข์”และ(ข.84)”ล้างความยึดมั่นถือมั่นของใจได้สำเร็จ คือ ความสำเร็จที่แท้จริง” สาธุค่ะ

  10. นฤมล ยังแช่ม

    ตั้งศีลสู้กิเลส

    ข้าวเหนียวเป็นอาหารที่ชอบกินมาก ได้เห็นความทุกข์ที่เกิดจากอาการอยากกินข้าวเหนียวนี้เป็นสภาพที่ไม่น่าได้ ไม่น่าเป็น ไม่น่ามี จึงตั้งศีลไม่กินข้าวเหนียวในวันนี้ กิเลสจึงออกอาการสร้างทุกข์ให้ทันที และยังมาหลอกขอกินข้าวหอมมะลิกับถั่วลิสงคั่วในต้อนท้ายมื้ออาหาร

    ทุกข์ ทุกข์ใจที่ไม่ได้กินข้าวเหนียวทุกวัน

    สมุทัย สุขใจที่ได้กินข้าวเหนียวทุกวัน ทุกข์ใจที่ไม่ได้กินข้าวเหนียวทุกวัน

    นิโรธ ได้กินข้าวเหนียวทุกวันก็สุขใจ ไม่ได้กินข้าวเหนียวทุกวันก็สุขใจได้

    มรรค พิจารณาโทษของการกินข้าวเหนียวทุกวัน เป็นการตามใจกิเลส ทำให้กิเลสตัวโตขึ้น ถ้าเราไม่เลิกกินในวันนี้ แล้วถ้าข้าวเหนียวสูญไปจากโลกนี้ เราจะอยู่ได้ไหม เราไปสร้างความทุกข์จากการไม่ได้กินข้าวเหนียวขึ้นมาเอง ข้าวเหนียวก็เป็นข้าวเหนียว มีประโยชน์ก็มีประโยชน์ มีโทษก็เป็นของเขาอย่างนั้น เราหลงสร้างความขอบชังให้ตัวเองทุกข์ เป็นวิบากร้ายใหม่ที่เราทำขึ้นในปัจจุบัน เราจะต้องรับผลในชาตินี้ และชาติอื่น ๆ สืบไป พิจารณาประโบชน์ของการไม่ต้องอยากกินข้าวหนียวทุกวัน ไม่อยาก ก็ไม่ทุกข์ สุขก็เกิดขึ้น เป็นแรงเหนี่ยวนำที่ดีในการคิด พูด ทำ ประกอบกิจกรรมการงานต่าง ๆ

  11. วิภาภรณ์ กอจรัญจิตต์ (เอ ใจพอแล้ว))

    การบ้านอริยสัจ 4
    วิภาภรณ์ กอจรัญจิตต์ (เอ ใจพอแล้ว)

    เรื่อง เอาภาระแบบใจไร้ทุกข์
    เหตุการณ์ คือ มีนัดอัดรายการกับพี่น้องจิตอาสาช่วงเช้าวันหนึ่ง แต่เพราะช่วงนี้มีงานเยอะมากจนลืมไป พอเพื่อนมาเตือนว่าพรุ่งนี้เรามีคิวต้องพูดด้วยอย่าลืมนะ แต่พอเช้าขึ้นมาเรามีอาการปวดหัว ปวดตา เพราะเมื่อคืนนอนหลับไม่สนิท หลับๆ ตื่นๆ ทำให้รู้สึกร่างกายไม่พร้อม สมองไม่ปลอดโปร่ง จิตก็เริ่มคิดว่า เราจะขอถอนตัวจากรายการวันนี้ดีไหม ทั้งรายการขาดเราไปหนึ่งคนคงไม่เป็นไร

    ทุกข์ – ลังเลใจ ไม่อยากเข้าร่วมรายการ เพราะร่างกายไม่พร้อมปวดหัว ปวดตา มีอาการมึนๆ

    สมุทัย – ถ้าไม่ต้องเข้าร่วมรายการ ได้ไปพักผ่อน จะชอบใจ ถ้าต้องเข้าร่วมรายการ ไม่ได้พักผ่อน จะทุกข์ใจ

    นิโรธ – จะเข้าร่วมรายการหรือไม่เข้าร่วมรายการ ก็ไม่ชอบ ไม่ชัง ไม่ทุกข์ใจ

    มรรค – พิจารณาโทษของกิเลสความเกียจคร้าน การที่เราถอนตัวออกมา ทำตัวเป็นคนไม่เอาภาระ ไม่เอาภาระในสิ่งที่เป็นประโยชน์ ไม่เอาภาระในสิ่งที่ช่วยให้คนอื่นลดทุกข์ กิเลสหลอกให้เราทำตัวเป็นภาระของพี่น้องท่านอื่นๆ แทน หลอกให้เราไปสร้างวิบากร้ายนั่นเอง ทุกข์กายจากการปวดหัว ปวดตา หลังอัดรายการเสร็จเราก็ยังไปพักผ่อน ปรับสมดุลได้ แต่ทุกข์ใจจากการไม่อยากบำเพ็ญ ยิ่งเร่งอาการปวดหัวให้ดูเหมือนจะแย่กว่าความเป็นจริง ทั้งๆ ที่จริงๆ แล้วเราก็ยังมีแรงไปทำโน่น ทำนี่ได้อยู่

    พอเราเห็นลีลากิเลสที่พยายามหลอก มีวิบากดีมาถึงหน้าให้บำเพ็ญกลับไม่อยากทำ มีโอกาสได้ทำดีกลับทำเฉย พอคิดได้ถึงตรงนี้ เราจึงเปลี่ยนไปมองหาอีกด้านหนึ่งที่กิเลสปกปิดไว้หรือประโยชน์ของการไม่มีกิเลสนั่นเอง การไม่มีกิเลสตัวเกียจคร้าน คือ เราได้ร่วมบำเพ็ญกับหมู่มิตรดี ได้ฝึกตั้งตนในความลำบาก ได้สร้างประโยชน์ให้ผู้ชมรายการ อีกอย่างเราจำได้ว่า อาจารย์หมอเขียวเคยไม่สบายเจ็บคอ อาจารย์ยังขึ้นบรรยายทุกวัน บรรยายด้วยความยินดี และบรรยายจนหายเจ็บคอ เมื่อคิดได้ตามนี้ เราจึงมีความยินดี เต็มใจที่จะเอาภาระแบบใจไร้ทุกข์เช่นกัน ตามบททบทวนธรรมข้อที่ 125 อย่าปล่อยเวลาชีวิตให้สูญเปล่าด้วยการไม่ลดกิเลส

    สรุป – หลังจากเดินมรรคพิจารณาประโยชน์ของการไม่มีกิเลสตัวนี้แล้ว รายการนี้ใช้เวลาอัดรายการประมาณ 1.30 ชั่วโมง เวลาก็ไม่ได้นานอะไร อาจารย์เคยกล่าวไว้ว่า การตั้งต้นอยู่บนความลำบาก กุศลธรรมเจริญยิ่ง ลำบากเราเพียงแค่ 1.30 ชั่วโมง เราได้ล้างกิเลส พี่น้องและผู้ฟังได้ประโยชน์อีกมากมายแค่นี้ ก็คุ้มแล้ว เราก็ปลอดโปร่งโล่งใจ ไม่ลังเลใจอีก อาการปวดหัว ปวดตาก็ลดลง และก็เข้าร่วมรายการอย่างใจไร้ทุกข์

  12. นปภา รัตนวงศา

    เรื่อง กินแน่นเกินเห็นกิเลส

    เหตุการณ์ ตอนนี้รับประทานอาหารมื้อเดียวส่วนใหญ่จะเป็นอาหารปั่นมาได้ระยะหนึ่งแล้ว แต่มีปัญหาในการประมาณการกินที่ยังพลาดอยู่ ได้พยายามพากเพียรให้พอดีแต่ส่วนใหญ่ก็ยังกินเกิน ในวันนี้ก็เช่นกันที่ประมาณพลาดกินอาหารปั่นไป 2ถ้วยใหญ่เริ่มอิ่ม แต่มีเหลือในถ้วย 3ช้อนและในโถอีก 1/2 ถ้วย ในโถตัดใจทิ้งเป็นปุ๋ยได้ แต่ในถ้วยกิเลสมันเสียดาย แพ้กิเลสกินไปหมด มีอาการ อึดอัด จุก แน่นท้อง ต้องปลดสายรัดกางเกง ขอเข้าห้องน้ำไปถ่ายออก มีผะอืดผะอมจะอาเจียน โชคดีที่มีโทรศัพท์อปริหาธรรมในกลุ่มสวน 2 จึงเอาเรื่องเข้าปรึกษาหมู่กลุ่ม

    ทุกข์ ขุ่นใจจากร่างกายที่มีอาการอึดอัด จุก แน่นท้อง จากการกินเกิน

    สมุทัย ชอบถ้าร่างกายไม่มีอาการ อึดอัด จุก แน่นท้อง ชังถ้าร่างกายมีอาการ อึดอัด จุก แน่นท้องจากการกินเกิน

    นิโรธ ร่างกายจะมีอาการหรือไม่มีอาการอึดอัด จุก แน่นท้องจากอาการกินเกินก็ไม่ชอบไม่ชัง ใจไร้ทุกข์

    มรรค ตั้งศีลมาพิจารณาไตรลักษณ์ ความวิปลาส ความทุกข์จากการชอบที่ร่างกายสบาย ชังที่ร่างกายไม่สบาย ซึ่งอาการทางกายมันอยู่ที่ร่างกายสามารถแก้ไขได้ง่าย แต่อาการขุ่นใจที่ไม่สบายนั้นหนักและแรงทำให้ทุกข์ทั้งแผ่นดิน ที่จะออกจากทุกข์ได้ยากกว่า ก็มาแก้ที่ทุกข์ใจก่อน จะทุกข์ใจไปทำไมในเมื่อทุกคนไม่มีใครไม่พลาด พลาดแล้วได้ใช้วิบาก ใช้แล้วก็หมดไปก็จะโชคดีขึ้น โชคดีอีกแล้วร้ายหมดไปอีกแล้ว
    จากการประมาณการกินที่เกิน ในช่วงเวลาที่ผ่านมาไม่มีที่กินไม่พอ ส่วนใหญ่กินเกิน มีน้อยมากที่กินได้พอดี เมื่อมีอาการแน่นท้องมาก จุก อึดอัดมาดูลีลากิเลสมารกันค่ะ
    มาร :โอ้ย: ปวดท้อง แน่นท้อง จุก อึดอัดจังเข้าห้องน้ำไปถ่ายก็ดีนะ หรือถ้าได้อาเจียนก็อาจจะดีขึ้น
    เรา :ไม่ ยังไม่เข้าห้องน้ำ มา มานั่งคุยกันก่อนก็เกิดเหตุแบบนี้มากี่ครั้งแล้ว กินมากแล้วแน่นท้อง อึดอัด ก็ไม่เคยเข็ดหลาบ ไม่เคยจำ เป็นไงละ ทุกข์ละสิ ดีแล้วที่ทุกข์ เห็นทุกข์จึงเห็นธรรมไง จำไว้แล้วไม่ต้องมาบ่นเลยนะ แน่นท้อง จุก อึดอัด เมื่อยตัว ตัวแข็งเกร็งค้าง ใครทำมาละ ก็ทำตัวเองใช่ไหม?
    มาร :ใช่ๆ ทำมาเอง ยอมแล้ว ไม่เอาแล้ว คราวหน้าจะพิจารณาให้ดี พอเริ่มอิ่มก็จะหยุดกิน ส่วนที่เหลือจะไม่เสียดายอีกแล้ว
    เรา :ดีแล้ว เมื่อใจไม่ทุกข์แล้ว เข้าห้องน้ำได้ เห็นโทษของการกินเกินแล้วนะที่นำทุกข์มาให้ และยังมีโทษหนักที่เป็นพลังเหนี่ยวนำที่ไม่ดีให้คนอื่นทำตาม กินเกินทำให้โลกเดือดร้อน โลกขาดแคลน เขาไม่มีกิน แต่เขาต้องกินเขาอาจไปปล้น ไปจี้ ไปฆ่า ไปข่มขืนหรือทำให้โลกเกิดภัยพิบัติได้ทั้งหมดและวิบากนั้นก็เป็นของเราทั้งหมด ที่เราต้องรับก็ขอสำนึกผิด ยอมรับผิด ขอโทษ ขออโหสิกรรม ต่อไปจะตั้งใจปฎิบัติศีลข้อนี้ให้ดีขึ้น และขอบคุณที่กินเกินทำให้เห็นกิเลสตัวนี้ชัดเจนมากในวันนี้ และขอบคุณคุรุและหมู่มิตรดีที่ให้ปัญญาทำให้ได้ล้างเหลี่ยมมุมของกิเลสตัวนี้
    ใช้บททบทวนธรรมข้อที่ 53 “ศีลคือไม่เบียดเบียนตนเอง คนอื่น สัตว์อื่น เป็นประโยชน์ต่อตนเอง ต่อคนอื่น ต่อสัตว์อื่น ข้อที่ 55 “อย่าดื้อต่อศีล ดื้อต่อศีลทำให้ทุกข์หนัก ทุกข์หนักมาก ทุกข์หนักที่สุด”

    สรุป หลังจากได้ปัญญาจากคุรุและหมู่กลุ่มร่วมกับการพิจารณาอาการขุ่นใจก็คลายลง เบาลง จนค่อยๆหายไป เบิกบานได้ ส่วนร่างกายหลังจากได้ถ่ายอุจจาระก็ดีขึ้นอาการแน่นท้อง จุก อึดอัดก็หายไป ..สาธุ

  13. มาลิน จุ้ยทรัพย์เปี่ยม (เมฆ ลม ฟ้า)

    เรื่อง โดนอีกแล้ว

    เหตุการณ์ มีประชุมตอนเช้าวันที่ 8 มิย. 64 กับที่ทำงานเพื่อเตรียมความพร้อม แหล่งทุนต่างประเทศจะซูมมาคุยเรื่องสถานการณ์โควิดในประเทศไทย ระหว่างที่ประชุมก็ได้มีการสอบถามเรื่องการเงิน-รายงานการเงินซึ่งตัวเองรับผิดชอบอยู่ ไป ๆ มา ๆ วิบากเข้า มีพี่ท่านหนึ่งพูดวิพากษ์เรืองที่เกี่ยวกับตัวเองรับผิดชอบอยู่ อ่านอาการได้ว่า อยากจะพูดชี้แจง

    ทุกข์ : ทุกข์ใจจากการเข้าใจผิด มีอาการตัวสั่น กระสับกระส่าย ใจเต้นแรงจนสัมผัสได้ มีจิตต้องการจะพูดเพื่อเอาชนะ เพื่อแก้ต่าง ในระหว่างที่นั่งฟัง พออ่านอาการทางกายได้ ที่ใจสั่น ปากสั่น อยากจะเถียง เลยหยุดหายใจลึก ๆ หลับตา เอามือจับชีพจรตัวเอง ดูอาการตัวเอง เห็นว่ามันดิ้นจนออกทางกายชัดเจน

    สมุทัย : อยากให้คนอื่นเข้าใจเราถูก ชังที่คนอื่นจะเข้าใจผิดจากคำพูดตำหนิ

    นิโรธ : คนจะเข้าใจผิดก็ไม่ทุกข์ใจ

    มรรค : การที่มีจิตกลัว กลัวจะโดน เป็นพลังเหนี่ยวนำทำให้โดนจริง ๆ นั่งหลับตา เห็นว่ามันดิ้นจนออกทางกายชัดเจนพอดีนึก ถึงบททบทวนธรรมคือยอมให้คนอื่นเข้าใจผิดให้ได้ ร่วมกับพิจารณาความอยากจะเอา จะเอาความเข้าใจจากคนอื่น ถ้าได้แล้วถึงจะโอเค สมใจเรา เราไปวิ่งตามให้คนอื่นเข้าใจเราทั้งหมดไม่ได้ แม้ว่าเราจะพยายามทำให้ดีที่สุดแล้ว ผลก็ไม่ได้จะออกมา ว่าเขาจะเข้าใจเรา หรือแม้แต่เรื่องงาน คนโลก ๆ ต้องการงานที่สมบูรณ์แบบ 100% ซึ่งทางธรรม มันเป็นไปไม่ได้ แต่ถ้าเราพูดออกไป จะเหมือนการแก้ตัว เลยประมาณการพูด ดูท่าจะไม่เข้าใจ ไม่พูดดีกว่า พิจารณาโทษ ความอยากจะเอาทำให้เหนื่อย ทุกข์และไม่อิสระ เหมือนเราเอาความสุขเราไปแขวนไว้กับคนอื่น พอนั่งหลับตา ฟังเฉย ๆ ก็มีอจินไตยมีพี่ท่านหนึ่งพูดแทน สรุปสุดท้าย ก็ยอมไม่พูด ยอมให้เขาเข้าใจผิดไป

  14. นางพรรณทิวา เกตุกลม

    เรื่อง เศร้าทำไม
    เหตุการณ์ : เดือนนี้เป็นเดือนเกิดของพ่อทางจิตวิญญาณคือพ่อครูสมณะโพธิรักษ์และอาจารย์(ดร.ใจเพชร กล้าจน)หวนนึกถึงพ่อทางสายเลือดซึ่งได้จากไปแล้วประจวบกับน้องคนกรีดยางเล่าว่าฝันเห็นพ่อบอกว่าน้ำเข้าบ้าน จะซ่อมบ้าน

    ทุกข์ : รู้สึก เศร้า ลึกๆอยู่ในใจ ไม่สดชื่น

    สมุทัย : หลงฟุ้งไปตามคำบอกเล่า ถ้าเขาไม่เล่าให้ฟังจะสุขใจ พอได้ฟังที่เขาเล่าจึงเกิดทุกข์ใจ เศร้าใจ

    นิโรธ : จะได้ฟังเรื่องที่น้องเขาเล่า หรือไม่ก็ได้ ไม่สุข ไม่ทุกข์

    มรรค : พิจารณาใจว่าอะไรเป็นเหตุให้เศร้า ไม่สดชื่น พบว่า เราไปยึดในสิ่งที่น้องเขาเล่าให้ฟังเหมือนพ่อเป็นห่วงบ้านเป็นเรื่องจริง เป็นเพียงความฝันเท่านั้นไม่ใช่ความจริงเราฟุ้งซ่านไปเอง เราต้องอยู่กับความเป็นจริงในปัจจุบันซึ่งพ่อได้จากเราไปแล้วถึงเราเศร้า ทุกข์ปานใดพ่อก็มิอาจกลับมาและทำตามที่น้องเขาเล่าได้อีก เมื่อเป็นอย่างนี้เราจมและยึดให้เศร้า ให้ทุกข์ ทำร้ายตัวเองทำไม เพราะตอนที่พ่อยังมีชีวิตเราก็ได้ทำหน้าที่ลูกเต็มที่ที่สุดแล้ว อาจารย์บอกว่าเราต้องทำดี ล้างกิเลสจนพ้นทุกข์แล้วเราจะช่วยคนที่เรารักและเคารพได้ ซึ่งตรงกับบททบทวนธรรมข้อที่ 108 ว่า ” กรรมคือ…ความจริง ความจริงคือ…กรรม เชื่อชัดเรื่องกรรม คือ…เชื่อชัดความจริง เชื่อชัดความจริง จึงจะหลุดพ้นจากทุกข์ได้ ” เมื่อได้พิจารณาดังกล่าวแล้ว ความรู้สึกเศร้า จางคลายแล้วหายไป ใจกลับสดชื่น
    สรุป ความรู้สึกเศร้าที่หลงฟุ้งซ่านไปกับเรื่องเล่าที่ได้ฟังพอหันมาอยู่กับความจริงในปัจจุบันและเข้าใจชัดเรื่องกรรม ใจจึงเบา โล่ง เบิกบาน สดชื่น เหมือนเดิม

  15. นางสาวนิตยา สุเมธากุลวัฒน์

    เรื่อง ไหนว่าเป็นคนดี
    เหตุการณ์ ทุกข์ใจจากการเพ่งโทษ ถือสา ดูถูกของตัวเองถึงแม้ได้พยายามตั้งศีลเรื่องนี้แต่ก็ยังไม่สามารถทำได้

    ทุกข์ : อยากได้ความไม่เพ่งโทษ ถือสา ดูถูก คิด เดาใจผู้อื่นในแง่ร้าย

    สมุทัย : ชอบถ้าไม่เพ่งโทษ ถือสา ดูถูก คิด เดาใจผู้อื่นในแง่ร้าย ชังเมื่อมีความคิดเพ่งโทษ ถือสา ดูถูก คิด เดาใจผู้อื่นในแง่ร้าย

    นิโรธ : ไม่ชอบ ไม่ชัง ไม่ทำทุกข์ทบถมตน ยินดี พอใจที่ได้เห็นใจที่คิดไม่ดี ไปเพ่งโทษ สำนึกผิด เต็มใจรับโทษ เมื่อคิดเพ่งโทษ ถือสา ดูถูก เดาใจผู้อื่นในแง่ร้าย จะได้แก้ไขให้ถูกพุทธ

    มรรค : พิจารณาด้วยความยินดีว่าทำได้เท่านี้ก็ดีมากแล้ว ได้เห็นว่าการไปทำไม่ดีแล้วส่งผลให้เกิดทุกข์ สร้างวิบากใหม่เองก็ต้องรับผลที่เกิดเองตามบททบทวนธรรมข้อที่ 13 “ไม่มีใครทำดีกับเราได้นอกจากตัวเราเอง ไม่มีใครทำร้ายเราได้ นอกจากตัวเราเอง เราเป็นทายาทของกรรม เรามีกรรมเป็นกำเนิด เรามีกรรมเป็นเผ่าพันธ์ุ เรามีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย เราจักทำกรรมอันใดไว้ ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม เราจักได้รับผลของกรรมนั้นอย่างแน่นอน ไม่มีอะไรดลบันดาลสิ่งดีสิ่งร้ายให้เราได้นอกจากวิบกดีร้ายของเราเท่านั้นที่ดลบันดาลสิ่งดีสิ่งร้ายให้เราได้ เราทำดีก็ได้รับผลดี เราทำชั่วก็ได้รับผลชั่ว” ไม่ไปเร่งผล ค่อยๆทำไปเป็นลำดับ อย่าไปอยากได้ดีที่ยังไม่สามารถทำให้เกิดได้จริงในเมื่อเราเคยติดชั่วมามาก แต่ไม่ยอมรับ ยึดว่าตัวเองเป็นคนดีเพราะไม่ได้พิจารณาความจริงตามความเป็นจริง และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือใจที่ไร้ทุกข์ตามบททบทวนธรรมข้อที่ 72 “ไม่มีประโยชน์อะไรที่ทุกข์ใจ ความทุกข์ใจ ไม่ได้แก้ปัญหา มีแต่เพิ่มปัญหา สุดท้ายทุกสิ่งทุกอย่างก็ต้องดับไป จะทุกข์ใจไปทำไม เบิกบาน…แจ่มใสดีกว่า”
    สรุปใจที่ทุกข์ร้อน เร่งผล ก็คลายลง

  16. พิเชษฐ์ บุญย์วิรุฬห์

    เรื่อง สิ้นอยากสิ้นทุกข์

    ช่วงปลายเดือนพฤษภาคมถึงต้นเดือนมิถุนายนผมไม่ได้ส่งการบ้านอริยสัจสี่เลย เพราะมีงานเร่งด่วนหลายเรื่องที่ต้องสะสาง ระหว่างที่พยายามสะสางงานต่าง ๆ อยู่นั้น ในใจก็คิดว่าอยากจะหาเวลามานั่งเขียนการบ้านสักเรื่อง ช่วงนั้นรู้สึกได้ถึงความหวั่นไหว กังวลใจอยู่บ้างที่ไม่ได้ส่งการบ้านประจำสัปดาห์

    ทุกข์ – มีความหวั่นไหวในใจที่ไม่ได้ส่งการบ้านประจำสัปดาห์

    สมุทัย – มีความอยากส่งการบ้านให้ได้ทุกสัปดาห์ มีเศษของความยึดมั่นถือมั่นด้วยว่า ถ้าได้ส่งการบ้านทุกสัปดาห์จะสบายใจ ถ้าไม่ได้ส่งการบ้านทุกสัปดาห์จะไม่สบายใจ

    นิโรธ – สภาพตัณหาดับโดยไม่เหลือ หรือสิ้นอยาก หรืออยากก็ได้แต่ไม่เหลือเศษของความยึดมั่นถือมั่นเลย จะได้ส่งหรือไม่ได้ส่งการบ้านก็สบายใจไร้กังวล

    มรรค – พิจารณาความอยากในเรื่องนี้ของเราว่า แท้ที่จริงแล้วมันไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน มันเป็นเรื่องที่เราสร้างขึ้นมาเอง ที่ผ่าน ๆ มาเราทำได้สมอยากเราจึงพอใจกับการมีมันไว้ แต่พอมาเจอเหตุการณ์ที่ไม่สามารถทำให้ได้สมอยาก ความไม่พอใจมันจึงเกิดขึ้น ทุกข์ใจจึงเกิดขึ้น ดังนั้น เพียงแค่เราไม่ต้องไปอยาก ทิ้งความอยากนั้นไปเลย มันก็หายทุกข์ ง่าย ๆ แค่นี้เอง

    พอผ่านพ้นช่วงที่ต้องเร่งสะสางงานด่วนไปแล้ว เริ่มมีเวลาในแต่ละวันกลับมาเป็นปกติเหมือนเดิม เราจะกลับไปอยากอีกก็ได้ถ้าเราทำได้ แต่สิ่งสำคัญก็คือ ต้องไม่ยึดมั่นถือมั่น ต้องทิ้งเศษของความยึดมั่นถือมั่นที่เหลืออยู่ไปให้เกลี้ยง ต้องพร้อมที่จะปล่อยวางทันทีหากมีเรื่องที่สำคัญกว่าต้องทำ

    สรุปว่า สิ้นอยากก็สิ้นทุกข์ อยากมากก็ทุกข์มาก อยากน้อยก็ทุกข์น้อย ไม่อยากเลยก็ไม่ทุกข์เลย พอหายทุกข์แล้วจะกลับไปอยากอีกก็ได้ แต่ต้องไม่ยึดมั่นถือมั่น เป็นอยากแต่ไม่ยึด ถ้ายังเหลือยึดอยู่ก็ยังเหลือทุกข์อยู่ หลังจากพิจารณาเรื่องนี้จนชัดเจนในใจแล้วจึงได้มานั่งเขียนการบ้านในตอนเช้าตรู่วันที่ 11 มิถุนายน 2564 และได้ส่งการบ้านใหม่อย่างสบายใจ

  17. จรูญ สุยะ (ชาติพุทธ)

    ใครดื้อ

    อยากขึ้นภูผาใจแทบจะขาด เนื่องในวันสำคัญของครูบาอาจารย์ วางแผนไว้และติดต่อฝ่ายตรวจสอบก่อนล่วงหน้า 20 วัน วันที่จะขึ้นภูผา แจ้งไว้คือ 9-13 มิ.ย.นี้
    พอดีช่วงก่อนขึ้นโควิด 19 ระบาดหนักสายพันธุ์ใหม่เข้ามามากมาย
    ทางฝ่ายตรวจสอบก็ขอไทไลน์ 14 วัน พอเราตรวจสอบตัวเองแล้วเราเองยังคงไปขายพวงมาลัยตลาดในอำเภออยู่ทุกวัน ตรวจสอบตัวเองแล้วว่าไม่ผ่าน เลยส่งไลน์หาฝ่ายตรวจสอบว่าขอยกเลิกการเดินทางขึ้นภูผา แต่ใจลึกๆก็เกิดอาการทุกข์ใจขึ้นมาทันที วันสำคัญิย่างนี้เราจะพลาดได้อย่างไร ถ้าขึ้นภูผาเราก็ผิดศีล พอวันที่ 3 มิ.ย.ใจมันไม่ยอมก็ส่งไลน์ไปหาทีมตรวจสอบอีกว่าขอขึ้นภูผาวันเดียวได้ไหม ไปเช้าเย็นกลับก็ได้ สวมแมสเว้นระยะห่างก็ได้ ในใจก็ยังลุ้นรอคำตอบกลับคอยเช็คแต่ไลน์ ทีมตรวจสอบได้อ่านไลน์เราแล้วแต่ยังไม่ตอบกลับ ขณะที่รอคำตอบ ก็คิดทบทวนตัวเอง เรามันเก็นแก่ตัวเอาแต่ใจตัวเอง ดื้อมากๆ ยอมผิดศีลเลยหรือนี่ ทั้งๆที่รู้ว่าตัวเองมันเสี่ยงต่อครูบาอาจารย์และหมู่มิตรดีอันเป็นที่รักของเรา เราจะยอมผิดศีลไม่ได้นะสอนตัวเอง เลยตัดสินใจส่งไลน์ไปขอยกเลิกอีกครั้งว่า ขอตัดรอบการเดินทางครับ สุดท้ายฝ่ายตรวจสอบก็ส่งข้อความมาว่า ขึ้นภูผาได้นะแต่กักตัวอยู่ด้านล่าง สวมแมสเว้นระยะห่าง ส่งไทไลน์ 14 วัน สุดท้ายเรายอมแพ้เราซื่อสัตย์ต่อศีลดีกว่า เรานี่ดื้อจริงๆ

    ทุกข์
    อยากขึ้นภูผามากจึงทุกข์

    สมุทัย
    ได้ขึ้นภูผาจึงสุขใจ ไม่ได้ขึ้นภูผาจึงทุกข์ใจ

    สมุทัย
    ได้ขึ้นภูผาก็สุขใจ ไม่ได้ขึ้นภูผาก็ไม่ทุกข์ใจ

    มรรค
    อยู่ที่ไหน ตรงไหน ก็ปฎิบัติธรรมได้ อาจารย์เคยสอนอยู่เสมอว่า แม้อยู่ไกลถ้าปฎิบัติธรรมได้ดีก็เหมือนอยู่ใกล้ ถ้าเราอยู่ใกล้แต่ไม่ปฎิบัติธรรมและผิดศีลอยู่เรื่อยไปก็เหมือนอยู่ไกล พอคิดถึงคำอาจารย์สอน ทุกข์ที่อยู่ในใจ ก็จางคลายมลายหายไปพอไปอ่านบททวนธรรมข้อที่ 82 จงฝึกอยู่กับ ความจริงของชีวิต ที่พร่องอยู่เป็นนิตย์ อย่างผาสุขให้ได้ แค่นี้แหละก็สบายใจไร้กังวล สาธุครับ

  18. สุมา ไชยช่วย

    เรื่อง ตั้งศีลล้างกิเลส

    เหตุการณ์ ชอบกินแหนมเห็ดอย่างมาก ธรรมดาก็กินได้และไม่เคยมีอาการใดๆเลยเวลากินก็ไม่เคยพิจารณากินตามใจกิเลสแบบมีความสุขมากๆ จนมาเมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมาได้กินแหนมเห็ดอีก วันแรกกินเสร็จก็รู้สึกคันคอนิดหน่อย ก็ไม่คิดว่ามาจากการกินแหนมเห็ด จนวันที่สองกินอีก คราวนี้แหละคันคอและคันท้องอย่างมากเลย

    ทุกข์ กังวลเมื่อเกิดการคัน

    สมุทัย ชอบถ้ากินแหนมเห็ดแล้วไม่เกิดอาการคัน ชังกินแล้วเกิดอาการคัน

    นิโรธ เกิดอาการคันหรือไม่คันก็ไม่ทุกข์

    มรรค เมื่อเกิดอาการคันเกิดความกังวลขึ้นมาทำไมเมื่อก่อนกินแล้วไม่เห็นเป็นอะไรเลย แล้วตอนนี้ทำไมมาคันน่ะ แสดงว่ามาตาลีมาเตือนตั้งแต่กินวันแรกแล้ว ก็ยังไม่หยุดจนวันที่สองเลยโดนเต็มๆเลยคันคอคันท้องอย่างมาก เพราะชอบแหนมเห็ดมาก ติดมาก ถึงเวลาที่ต้องเลิกเสพในสิ่งที่ชอบมากๆได้แล้ว จึงตั้งศีลเลิกการกินแหนมเห็ด การมีกิเลสทำให้ทุกข์หนักมากทุกข์ทั้งใจทุกข์ทั้งกาย ผลของการไม่เชื่อเสียงพุทธะ แต่ดันไปเชื่อเสียงมาร เลยต้องรับวิบาก เต็มใจรับ ส่วนทางร่างกายก็ปรับสมดุลย์ ดีท้อกซ์ พอกสมุนไพร ทาปัสสาวะเก่าผสมสาบเสือสด อาการคันเริ่มลดลงตามลำดับวิบากต้องรับ กิเลสต้องล้าง พุทธะจึงเกิด
    บททบทวนธรรมข้อ25
    เมื่อเกิดทุกข์ใจ ทุกข์กาย
    เรื่องร้ายเข้ามาในชีวิต
    เขามาเพื่อ ให้เราได้ชดใช้
    ให้เราไม่ประมาท ให้เราเพิ่มอริยศีล
    ให้เราได้สำนึก ให้เราได้หมดวิบาก
    สรุปความคันความกังวลก็คลายลง

  19. น.ส ชรินรัตน์ ชุมจีด (น้ำน้อมศีล)

    ส่งการบ้านอริยสัจ4

    เรื่อง.ได้เห็นกิเลสเพราะมีกิเลส

    เหตุการณ์.เนื่องจากไปสวนแล้วได้หน่อไม้ไผ่หวานมา กิเลสเลยสั่งการทันทีว่า เราน่าจะแกงกะทินะ เพราะกิเลสไปปรุงตามภพเดิมว่าหน่อไม้แกงกะทิใส่เห็ดแคลงใส่ยอดชะอม นี่มันอร่อยดีนะ ก็เลยไปซื้อมะพร้าว เมื่อก่อนพ่อค้าขายเป็นลูกขูดให้เรียบร้อย ซึ่งปกติถ้าขายแบบไม่ชั่งกิโลราคาประมาณลูกละ 20-25บาท แต่ครั้งนี้เค้าขายแบบขูดเสร็จแล้วเอามาชั่งกิโลอีกครั้งนึง พ่อค้าบอกราคาว่า 35บาท เมื่อพ่อค้าบอกราคา แว้บแรกที่คิดคือ แพงจัง แล้วก็เดินถือมะพร้าวมาแบบขุ่นๆมาพิจารณาล้างใจที่บ้านค่ะ

    ทุกข์.ขุ่นใจ เพราะคิดว่าทำไมพ่อค้าขายของแพงไปสำหรับความคิดของเรา

    สมุทัย.อยากให้พ่อค้าขายในราคาที่ไม่แพงราคาที่เราคิดว่าราคาเท่านี้น่าจะเหมาะสม แล้วเราจะสมใจสุขใจ เมื่อพ่อค้าขายตามราคาความจริงแต่กิเลสเราไม่ยอมเลยไม่ชอบใจทุกข์ใจ

    นิโรธ.พ่อค้าจะขายมะพร้าวแบบไหนราคาเท่าไหร่ เราก็ยินดีพอใจได้ไม่ชอบไม่ชัง

    มรรค.ตั้งศีลมาพิจารณาไตรลักษณ์ ความวิปลาส ความไม่เที่ยง ไม่เที่ยงเป็นทุกข์ ความไม่มีตัวตนแท้ของกิเลส ที่เราไปหลงยึดไว้ ที่ทำให้ทุกข์ใจ แล้วมาพิจารณาล้างความชอบชัง ความยึดมั่นถือมั่นว่าถ้าพ่อค้าขายราคาเท่านี้แล้วเราจะสมใจ แต่เมื่อผัสสะมากระทบเมื่อพ่อค้าบอกว่า 35บาทจึงทำให้เราได้เห็นอาการของกิเลสว่าเรายังอยากยังยึดอยู่ และได้มาพิจารณาเห็นความจริงตามความเป็นจริงว่าพ่อค้าจะขายราคาเท่าไหร่หรือเราจะได้ซื้อราคาเท่าไหร่มันก็เป็นไปตามกุศลอกุศลของเราและคนที่เกี่ยวข้อง เพราะราคาที่เค้าตั้งขึ้นมาเป็นสมมุติโลก ที่ทำให้เราได้เห็นกิเลสตัวที่ยังเหลือยังติดอยู่ เราจะได้ซื้อราคาเท่านั้นมันยุติธรรมที่สุดแล้ว แล้วเราก็ได้ตั้งจิตสำนึกผิด ยอมรับผิด เต็มใจรับ เพราะเราเคยทำเช่นนั้นมามากกว่านั้น เมื่อก่อนเราก็เคยขายของที่ทำให้คนอื่นรู้สึกถูกรู้สึกแพงมาก่อน ขายของที่ทำให้เค้ารู้สึกลำบากใจที่จะซื้อแต่จำเป็นต้องซื้อ และโชคดีที่เจอเหตุการณ์นี้ทำให้ได้เห็นกิเลสได้ล้างทุกข์ได้ใช้วิบากกรรม ที่เราเคยพลาดทำมา

    สรุปว่า เมื่อพิจารณาไปเรื่อยๆใจก็โล่งลงได้ตามลำดับ เปรียบเทียบจากเมื่อก่อนเมื่อเจอผัสสะแล้วทุกข์จะอยู่กับเรานาน แต่ตอนนี้สามารถล้างใจได้ในเวลาไม่กี่นาที คลายทุกข์ลงได้ ทำให้ใจไร้ทุกข์ได้ค่ะ และจะพากเพียรเรียนรู้ ลดละเลิกกิเลสเท่าที่จะทำได้ตามฐานของตัวเองต่อไปค่ะ

  20. นางพรรณทิวา เกตุกลม

    เรื่อง เห็นภาพแต่ไร้เสียง
    เหตุการณ์ : วันพฤหัสบดีรีบเข้าซูมรายการอริยสัจขจัดมาร เข้าได้เห็นภาพแต่ไม่มีเสียง พยายามกดแล้วกดอีกหลายครั้งมากเสียงก็ยังไม่มา รู้สึกหงุดหงิด แต่พยายามทำตามที่เคยได้รับคำแนะนำมาจากครั้งก่อนซึ่งเคยทำได้ ครั้งนี้กดออกแล้วเข้าใหม่ 3-4 ครั้งก็ยังคงไม่มีเสียง

    ทุกข์ : รู้สึกหงุดหงิด

    สมุทัย : ยึดว่าเข้าแล้วต้องเป็นปกติคือได้ยินทั้งเสียงและเห็นภาพ ชอบถ้าเห็นภาพแล้วมีเสียงด้วย ชังที่เห็นแต่ภาพไม่มีเสียง

    นิโรธ : จะได้ยินเสียง หรือ ไม่ได้ยิน ใจก็เป็นสุข ไม่ชอบ ไม่ชัง

    มรรค : รีบหันมาดูใจเมื่อรู้ตัวว่าความรู้สึกหงุดหงิดเกิด เนื่องมาจาก เรายึด อยากได้ยินเสียงพร้อมภาพตามปกติ เมื่อไม่ได้ดั่งใจหมาย จึงหงุดหงิดแล้วเราจะยอมให้มันอยู่กับเราหรือ ไม่นะ ต้องรีบเอาความรู้สึกนี้ออกจากใจให้เร็วที่สุดด้วยการใช้คำคมที่อาจารย์(ดร.ใจเพชร กล้าจน)ให้ไว้เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2564 ว่า “ยึด อยาก ทุกข์ ไม่ยึด ไม่อยาก ไม่ทุกข์” มาพิจารณาเสร็จแล้วได้เข้าใจว่าที่หงุดหงิดเพราะเรายึด เราอยาก นี่เอง พอมาปรับใจว่าจะหงุดหงิดให้ทุกข์ทำไม แค่ได้เข้าร่วมเห็นหน้าพี่น้องก็ได้พลังแล้ว ได้ยินเสียงหรือไม่ก็ได้เราก็ยินดี พอเรา ไม่ยึดไม่อยากความรู้สึกหงุดหงิดก็หายไป ใจกลับมาโล่ง โปร่ง เป็นสุข พร้อมทั้งอยู่ร่วมรายการที่เห็นแต่ภาพไม่ได้ยินเสียงได้ด้วยใจที่ไม่ทุกข์จนจบรายการ
    สรุป ความรู้สึกหงุดหงิด เพราะ ยึด อยาก จึงทุกข์ พอเราไม่ยึด ไม่อยาก ก็ไม่ทุกข์ ใจก็เป็นสุข

  21. รมิตา ซีบังเกิด

    รมิตา ซีบังเกิด
    เรื่อง : อยากได้กินผักที่ปลูกเอง
    เหตุการณ์ : ช่วงนี้ฝนตกเกือบทุกวัน ผักที่ปลูกเน่าบ้าง ถูกแมลงกัดกินบ้าง เหตุเพราะแปลงเกษตรแถวบ้าน เขาใช้สารเคมีไล่แมลงๆเลยมาแปลงผักของเรามากมาย ปลูกอะไรก็สู้แมลงไม่ได้ เลยไม่ได้ปลูกเพิ่มก็ต้องซื้อผักตลาดมาเป็นส่วนมาก
    ทุกข์ : ขัดใจที่ต้องซื้อผักจากตลาดกิน เพราะไม่ใช่ผักไร้สารพิษ
    สมุทัย : ชอบใจ สบายใจที่ได้กินผักไร้สารพิษที่เราปลูกเอง
    : ชัง ไม่สบายใจ ทุกข์ใจ ที่ต้องซื้อผักจากตลาด กิน
    นิโรธ :วางความยึดมั่นถือมั่นว่าต้องกินผักที่ปลูกเองเท่านั้น แม้จะเป็นผักที่ซื้อจากตลาดก็กินได้โดยไม่ชอบไม่ชัง
    มรรค : ปีนี้ฝนตกมากกว่าทุกปี สภาพอากาศแปรปรวน เกษตรกรในท้องถิ่นนิยมปลูกผลไม้กันเพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะทุเรียน ดังนั้นเขาต้องใช้สารเคมีจำนวนมาก แมลงซึ่งไม่เคยมีมากขนาดนี้ กลับมีอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ดังนั้นต้องรอให้พ้นระยะนี้ไปก่อนเพราะใกล้เก็บทุเรียนได้แล้ว เราก็จะได้เริ่มปลูกผักไว้กินเอง เมื่อเราเข้าใจสถาพที่เกิดขึ้น ก็เลยวางใจได้ว่าช่วงนี้เราซื้อผักตลาดมากินก่อน ก็ได้ แต่เราก็มีวิธีทำให้ผักลดสารเคมีได้ระดับหนึ่ง ไม่ต้องยึดมั่นถือมั่นว่าต้องกินผักที่ปลูกเองก็ได้ ได้พิจารณาความจริงตามความเป็นจริง พิจารณาถึงไตรลักษณ์ ทุกอย่างไม่เที่ยง ความยึดมั่น ถือมั่น และความอยากได้ดั่งใจหมาย มันเป็นกิเลส ผิดศีล ทำให้เป็นโทษเป็นภัย ทำให้ไม่แช่มชื่น ทุกข์กาย ทุกข์ใจ เหนี่ยวนำให้สิ่งๆอื่นเป็นตาม ต้องคิดแบบพุทธะ เลิกอยากได้ดั่งใจหมาย วางความยึดมั่นถือมั่นเสีย ล้างกิเลส มาร ด้วยทบทวนธรรมข้อที่ 35ว่า”ยึดอาศัย”ดี” ที่สามารถทำให้เกิดขึ้นได้จริง “นั้นดี” แต่ยึดมั่นถือมั่นว่า ต้องเกิด”ดี” ดั่งใจหมาย ทั้งที่องค์ประกอบเหตุปัจจัย ณ เวลานั้น”ไม่สามารถทำให้ดีนั้นเกิดขึ้นได้จริง”นั้นไม่ดี”
    หลังจากพิจารณาความเป็นจริงว่าการกินผักมีสารพิษ แต่ใจไม่กังวล ไม่หวั่นไหวถึงแม้จะเกิดอะไรขึ้นก็ยินดี พอใจ เต็มใจ ดังคำสอนของอ.หมอเขียวให้ไว้ว่า “ในโลกนี้ ไม่มีอะไรสำคัญเท่าการดับทุกข์ใจ ให้ได้” ความขัดใจ กังวลใจก็หมดไป เมื่อเวลา และโอกาสมาถึงเราก็ค่อยปลูกใหม่ก็ได้

  22. สุมา ไชยช่วย

    เรื่อง ใช้วิบากที่สร้างไว้

    เหตุการณ์ ตอนที่แม่มีชีวิตอยู่ อายุ70กว่าหูเริ่มไม่ค่อยดีตามอายุ เราพูดด้วยแกก็จะตอบว่า อะไรน่ะๆๆอยู่ประจำ แต่เรากลับรำคาญแม่ คิดในใจว่าแกแกล้งแน่ๆเลยบ่อยครั้งมาก เพราะไม่เข้าใจตามความเป็นจริง ปัจจุบันแกเสียชีวิตแล้ว จนมาปัจจุบันผลกรรมนี้จึงมาตกที่เรา เวลาพูดกับพ่อบ้านหรือลูก มันได้ยินไม่ชัดเจนเลย จนพวกเขาเกิดความรำคาญเราเหมือนที่เรารำคาญแม่ เราก็ย้อนกลับมาดูที่ตัวเองว่าวิบากกรรมมาให้ชดใช้แล้ว

    ทุกข์ ไม่ชอบใจได้ยินเสียงไม่ชัด

    สมุทัย ชอบถ้าใครพูดแล้วเราได้ยินเสียงชัดเจน ชังได้ยินเสียงไม่ชัดเจน

    นิโรธ เวลามีใครพูดเราได้ยินเสียงชัดเจนหรือไม่ชัดเจนก็ไม่ทุกข์ใจ

    มรรค เมื่อได้ยินเสียงไม่ชัดเจนเกิดอาการไม่ชอบใจ โทษเขาว่าเขาพูดไม่ชัด แท้จริงเป็นวิบากของเรามาให้ชดใช้แล้ว นึกถึงเหตุการณ์ที่เราคิดว่าแม่แกล้งไม่ได้ยิน จึงเข้าใจแม่เลย จึงตั้งจิต สำนึกผิด ยอมรับผิด ขอโทษขออโหสิกรรม สิ่งที่เรากระทำลงไป และยินดีชดใช้วิบากกรรมนี้ด้วยความเต็มใจ ส่วนด้านร่างกายก็หยอดหูด้วยน้ำกลั่นย่านาง น้ำปัสสาวะ ถ้าเรายังไม่เข้าใจคนอื่น แสดงว่าเรายังไม่เข้าใจตนเอง
    บททบทวนธรรมข้อ12
    วิบากกรรมมีจริง
    ทำอะไร ได้ผลอะไร
    ก็เกิดจากการกระทำ
    ของเราเองทั้งหมด
    เจอเรื่องดีเพราะทำดีมา
    เจอเรื่องไม่ดี เพราะทำไม่ดีมา
    ทั้งในปัจจุบันและอดีค
    สังเคราะห์กันอย่างละ ๑ ส่วน
    สรุปเชื่อชัดเรื่องวิบากกรรมอาการไม่ชอบใจก็คลายลง

  23. พิมพ์พศินา สิทธิประเสริฐ (น้าหมู-เพียรเย็นพุทธ)

    ความเป็นอยู่ในครอบครัว : (เตรียมนำเสนอ)

    เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2564 ที่ผ่านมา ได้เข้าออฟฟิศทำงาน ทำสต๊อกของตลอดทั้งวัน ก็มีหลานชายและหลานสาวทั้งสองคน มาเล่นด้วยที่บ้านปู่กับย่า (น้าหมู) เขาก็เล่นของเขาอยู่ดีดีนะ ไม่ทราบว่าวิบากร้ายจะมาเยือน มันเป็นวิบากร่วมในครอบครัว ขณะนั้นปู่ของหลานก็อยู่ด้วยกันนะคะ เห็นหลานนั่งเล่นก็อยากจะซื้อขนมให้หลานกินด้วยความรักและหวังดีแบบทางโลก ก็ได้ให้พี่เลี้ยงพาหลานไปซื้อขนม แต่หลานชายบอกว่าไม่ต้องซื้อหรอกปู่เขาไม่หิวแต่ปู่ก็ไม่ฟังต้องการที่จะซื้อให้ น้าหมูก็นั่งฟังอยู่ เพราะน้าหมูนั่งทำสต๊อกอยู่ ก็เปรยว่าอย่าซื้อให้เขาเลยหลานไม่ต้องการ การไปซื้อขนมให้เขากิน ไม่มีประโยชน์อะไรเลย น้าหมูก็เตือนพ่อบ้านว่า อากาศร้อนแบบนี้หลานกินจะทำให้เขาไม่สบาย แต่ด้วยความรักหลานของปู่ ก็ยังดื้อซื้ออยู่เหมือนเดิม ซึ่งน้าหมูไม่เคยโทษพ่อบ้านในข้อนี้ ภพก่อนน้าหมูก็ดื้อแบบนี้ บอกไม่ฟังเช่นกัน ขนมที่หลานไปซื้อกับพี่เลี้ยงก็มี KFC อมยิ้ม ไอศกรีม ซึ่งเป็นขนมที่เด็กชอบ เพราะเขาเดินไปซื้อเอง พี่เลี้ยงเป็นแค่คนพาไปไม่มีใครห้ามใคร ซึ่งมันเป็นเหตุที่ทำให้เขาไม่สบายจริง ๆ

    ปรากฏว่ายังไม่ทันข้ามคืน เมื่อเวลาประมาณ 2 ทุ่มกว่า ๆ ของวันนั้น พ่อแม่ของหลานซึ่งอยู่บ้านอีกหลังหนึ่ง ก็แจ้งมาว่าหลานไม่สบาย มีอาการปวดหัวตัวร้อนท้องเสีย และอ้วก พอรู้ว่าเด็กไม่สบาย น้าหมูก็รู้ได้ทันทีเลยว่า วิบากร้ายมันมาแล้ว เรื่องขนมเป็นพิษแน่ ๆ จนถึงขั้นเข้าโรงพยาบาลเลย ใจน้าหมูเห็นเขาแล้วเป็นทุกข์ เด็กไม่สบายน่าสงสารมาก ไม่ใช่ว่าแต่หลานของเราเท่านั้น เวลาเห็นเด็กคนอื่น ๆ ไม่สบายก็น่าสงสารมาก ๆ เช่นกัน เราไม่รู้หรอกว่าความเจ็บป่วยของเขามีมากน้อยขนาดไหน น่าสงสารจริง ๆ หลานชายอายุ 5 ขวบ น้องสาว 4 ขวบ หลานทั้งสองคนเขาก็กินด้วยกันค่ะ ผู้ป่วยเป็นพี่ ส่วนน้องไม่เป็นอะไรเลย ทำให้น้าหมูต้องทุกข์ใจ ไม่สบายใจ เป็นห่วงหลานไม่แช่มชื่น เป็นกังวล

    ทุกข์ : อยากให้พ่อบ้านฟังความคิดเห็นของเรา

    สมุทัย : ถ้าพ่อบ้านฟังความคิดเห็นของเรา เราจะสุขใจหลานก็จะไม่ป่วย ถ้าเขาไม่ฟังความคิดเห็นของเรา เราจะทุกข์ใจ

    นฺโรธ : เขาจะฟังความคิดเห็นของเราหรือไม่ฟังความคิดเห็นของเรา เราก็สุขใจ

    มรรค : พิจารณาบททบทวนธรรม ข้อที่ 2 เราต้องรู้ว่าแต่ละคนมีฐานจิตแตกต่างกัน เราจึงควรประมาณ การกระทำให้เหมาะสมกับฐานจิตของเราและฐานจิตของผู้อื่น คิดดี พูดดี ทำดีไว้ก่อนดีที่สุด มันเป็นวิบากและเหตุการณ์ของหลานทั้งสองคน หลานคนหนึ่งวิบากดีออกฤทธิ์ก็ไม่เจ็บป่วย แต่หลานอีกคนหนึ่งวิบากร้ายออกฤทธิ์จึงเจ็บป่วยถึงขั้นเข้าโรงพยาบาล เมื่อเราเข้าใจเรื่องกรรมอย่างแจ่มแจ้งเช่นนี้ เราก็สุขใจเพราะสัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ของแต่ละคน จิตของเราจึงไม่ทุกข์ เบิกบานแจ่มใส ยินดีรับได้ทุกสถานการณ์ สาธุ เจริญธรรมสำนึกดีมีใจไร้ทุกข์

    พิพม์พศินา สิทธิประเสริฐ
    (เพียรเย็นพุทธ-น้าหมูยโสธร)
    รหัสนักศึกษา 591 10040 06

  24. ปิ่น คำเพียงเพชร

    ตัดกิเลสถวายพ่อครู (ฉบับทบทวนซ้ำ)

    จากที่ได้ต่อสู้แล้วล้างกิเลสเรื่องละครในมุมที่ชอบพระเอกเป็นคนดีเป็นสุภาพบุรุษและมุมอื่น ด้วยหลักอริยสัจ 4 มาก่อนหน้านี้ ก็ทำให้หยุดดูละครมาสักพักใหญ่ แต่ช่วงหลัง ๆ มานี้ ก่อนนอนก็จะกลับมาเปิดดูละครในยูทูปอีก แต่คราวนี้เป็นการดูผ่าน ๆ แบบไม่กำหนดว่าจะต้องดูเรื่องนั้นเรื่องนี้ คือดูไปเรื่อย ๆ แต่จะเป็นเพียงคลิปสั้น ๆ ที่ไม่ได้คิดว่าจะต้องตามไปดูจนจบเรื่อง แต่มันก็ทำให้ไหลไปเรื่อย ๆ คลิปต่อคลิปจนทำให้นอนดึกตื่นสายเป็นประจำ ส่งผลให้เสียสุขภาพปวดศีรษะนอนหลับไม่สนิท ส่งผลให้สมองไม่ปลอดโปร่งและเวลาในการบำเพ็ญกิจกรรมการงานที่เป็นประโยชน์กับหมู่มิตรดี จริง ๆ ก็รู้ว่าเรากำลังหลงไปตามกิเลสอีกแล้วและตั้งใจว่าจะหยุดพฤติกรรมนี้ แต่ไม่มีพลังมากพอ คิดว่าจะตั้งศีลนอนเร็วขึ้น เพื่อแก้ปัญหาจะได้ไม่ต้องดูเลย กิเลสมันก็ยังไม่ยอม ก็เลยยังทำไม่ได้เสียที

    จนเมื่อเร็ว ๆ นี้ได้ฟังธรรมพอครูสมณะโพธิรักษ์ ท่านเทศเรื่องกาม ว่าถ้ากามหยาบเรายังล้างไม่ได้ ก็ไม่มีทางที่เราจะล้างกามล้างกิเลสตัวละเอียดยิ่งขึ้นได้หรอก ดังนั้นเนื่องในโอกาสวันคล้ายวันเกิดย่างเข้า ๘๘ พรรษาของ “พ่อครูสมณะโพธิรักษ์” ในปีนี้ ข้าพเจ้าจึงถือโอกาสนี้มาเป็นพลังในการกระชากตัวเองขึ้นมา และขอหักดิบกิเลสด้วยการตั้งศีลว่าจะไม่ดูละครแล้ว เพื่อเป็นการปฏิบัติบูชาถวายท่าน และจะพยายามอ่านอาการกิเลสอาการทุกข์ใจและฝึกล้างด้วยหลักอริยสัจ 4 ไปตามภูมิ ซึ่งขณะที่ตั้งศีลก็มีละครเรื่องหนึ่งที่แว๊บขึ้นมากวนให้รู้สึกเสียดาย ๆ อยู่

    ทุกข์ : เห็นอาการกิเลสมันดิ้นดุ๊กดิ๊ก ๆ เสียดาย ๆ อยู่ ขณะตั้งศีลว่าจะไม่ดูละครแล้ว (แม้แต่ฉอดสั้น ๆ ก็ตาม )

    สมุทัย : ยังชอบยังพอใจและเพลิดเพลินกับการที่จะได้ดูละครอยู่ ยึดว่าละครเรื่องนี้มีสาระน่าดูน่าติดตาม สนุกและเบาสมองดี

    นิโรธ : ไม่ว่าเรื่องราวในละครจะมีสาระน่าดูน่าติดตามและสนุกแค่ไหน เราก็จะไม่หลงไปเสพเพลิดเพลินตกเป็นทาสมัน จะไม่ดูละครด้วยใจที่เป็นสุขให้ได้

    มรรค : พิจารณาเห็นความจริงว่า ละครก็คือละคร คือเรื่องไม่จริงที่เขาแต่งขึ้นมาเพื่อหลอกให้คนโง่ ๆ อย่างเรานี่แหละ หลงติดหลงยึดตาม การที่เราไปหลงเสพหลงเพลิดเพลินกับการดูละครอยู่แบบนี้นี่ เรากำลังใช้ชีวิตประมาทอยู่นะ นี่เรากำลังตกเป็นทาสกิเลสกามที่ทั้งหยาบและใหญ่มากอยู่นะ ได้ดูก็สุขใจแว๊บหนึ่ง พอไม่ได้ดูก็ทุกข์ใจอยู่อย่างนี้ แล้วยังทำให้เสียสุขภาพ เสียเวลาแรงกายแรงใจในการบำเพ็ญการงานที่เป็นประโยชน์กับครูบาอาจารย์และหมูมิตรดี แถมยังมีต้องรับวิบากจากการเป็นแรงเหนี่ยวนำที่ทำให้คนอยากเสพกิเลสตามอีกด้วย ถ้าเราไม่มีกิเลสตัวนี้ เราก็จะเป็นอิสระจากมัน ไม่ต้องมาตกเป็นทาสมัน จะได้ดูหรือไม่ได้ดูก็ไม่ต้องทุกข์ใจ ไม่ต้องมาหลงเพลิดเพลิน ไม่ต้องเสียเวลาแรงกายแรงใจกับเรื่องไร้สาระที่ไม่เป็นไปเพื่อการพ้นทุกข์ แล้วก็ไม่ต้องรับวิบากจากการเป็นแรงเหนี่ยวนำให้คนอยากเสพกิเลสตามอีกด้วย

    มีโอกาสเกิดมาเป็นคน มีโอกาสได้พบพระโพธิสัตว์ได้พบ สัตบุรุษ และหมู่มิตรดีทั้งที กลับไม่เห็นคุณค่า กลับมาใช้ชีวิตอย่างประมาท มาเสียเวลาแรงกายแรงใจกับเรื่องไร้สาระที่นอกจากไม่เป็นไปเพื่อการพ้นทุกข์แล้ว ยังเพิ่มกิเลส ความติดความยึดความหลงเข้าไปอีก โง่สิ้นดี ไม่ว่าเรื่องราวในละครจะมีสาระน่าดูน่าติดตามและสนุกแค่ไหนมันก็แค่เรื่องที่เขาแต่งเขาปั้นขึ้นมาเท่านั้น มันเทียบไม่ได้เลยกับเรื่องราวชีวิตจริงตัวจริงเป็น ๆ ของพระโพธิสัตว์ สัตบุรุษ และหมู่มิตรดี เรื่องราวชีวิตจริงของพระโพธิสัตว์ สัตบุรุษ และหมู่มิตรดีนี่แหละมีสาระน่าดูน่าติดตามที่สุดสนุกที่สุดแล้ว

    สรุป เมื่อพิจารณาทบทวนซ้ำไปมาดังนี้หลาย ๆ รอบ ก็ทำให้กิเลสตัวนี้สลายไปตามลำดับจนหมดลงไปได้ต่อหน้าต่อตาอย่างน่าอัศจรรย์ใจจริง ๆ ครั้งนี้ทำให้ได้เห็นไตรลักณ์ของกิเลส คือได้เห็นตั้งแต่ขณะที่กิเลสมันกำลังดิ้นสู้ดู๊กดิ๊ก ๆ อยู่ และแรงดิ้นของกิเลสมันก็ลดลง ๆ ไปได้ตามลำดับ และสุดท้ายมันก็สลายไปต่อหน้าต่อตาเลย ที่สำคัญคือหลังจากที่กิเลสตัวนี้มันสลายไป ก็กลับสัมผัสได้ถึงพลังพุทธะในตัวที่เพิ่มขึ้น ทำให้มีกำลังที่จะสู้กับกิเลสตัวอื่นต่อได้อย่างไม่ยากไม่ลำบากอีกด้วย ทำให้นึกถึงคำสอนของอาจารย์หมอเขียว ดร.ใจเพชร กล้าจน ที่ท่านว่า ถ้าเราล้างกิเลสได้จริงเราจะได้พลังกลับมาเป็นของเรานั้นสภาวะเป็นอย่างไร ทำให้ข้าพเจ้าชัดเจนยิ่งขึ้นว่า อานุภาพของอริยสัจ 4 นี่มันสุดยอดที่สุดเลย วิชาไหน ๆ ในโลกก็ไม่สู้วิชาอริสัจ 4 ตามที่อาจารย์ว่าจริง ๆ

  25. ชวนชม คำท้วม

    ส่งการบ้าน
    ชื่อ นางชวนชม คำท้วม
    ชื่อทางธรรม สู่ร่มศีล
    จิตอาสาสวนป่านาบุญ 2
    ชื่อเรื่อง จะรีบกลับไปไหน
    เหตุการณ์ ได้จองกลับจากภูผาฟ้าน้ำ ทางเครื่องบิน วันที่ 14 นี้ โดนสายการบินยกเลิกเพราะสถานการณ์โควิด เลยต้องหาวิธีการกลับใหม่ และในวันที่ 20 มีจิตอาสาใต้กลับด้วย เลยบอกพี่เขาว่าเรากลับด้วย เพราะเห็นว่าสะดวก กิเลสมาเลยโอ้ยหลายวันจัง อยากกลับแล้ว ไปรถไฟก็ได้ รีบกลับเร็ว เราผิดนัดกับพ่อบ้านนะ บอกกิเลสออกไปจากที่นี่ลำบาก แล้วรถไฟก็ไม่รู้เวลาออก ไม่สะดวก บอกกิเลส
    ทุกข์ รู้สึกไม่โปร่ง ทุกข์ใจที่ไม่ได้กลับตามที่ได้บอกพ่อบ้านไว้
    สมุทัย รู้สึกชอบใจหากได้กลับตรงตามที่ได้บอกกับพ่อบ้านไว้ ชังที่ไม่ได้กลับตามตรงตามทีีบอกกับพ่อบ้าน
    นิโรธ กลับบ้านไม่ตรงตามที่บอกพ่อบ้านไว้ก็ไดั ใจเราไร้ทุกข์
    มรรค กิเลสบอก เธอต้องทำตามสัญญาที่บอกพ่อบ้านไว้ เพราะมันเยอะแล้ว 18 วันแล้วนะ นี่ถ้ากลับพร้อมพี่เขา กว่าถึงบ้านเกือบเดือนเลยนะ ทุกข์ใจกิเลสบอกต้องกลับให้ตรง หรือช้านิดหน่อยได้ ต้องกลับรถไฟ โอ๊ยบอกมัน ลำบากในการการออกไป กลับพร้อมพี่นี่แหละสบายแล้ว ไม่ได้รีบกลับเลย บอกกิเลสกลัวโควิดโว้ย กลับพร้อมพี่เขานี่แหละสะดวก รอบนี้ มีของเยอะมาก ของฝาก บอกกิเลสไม่สะดวกเลย กิเลสมาอีกรีบกลับบ้านให้ไวกลับพร้อมพี่เขาตรงกันวันจันทร์-อังคาร เดี๋ยวไม่ได้เข้าเรียนป.โทนะ โอ้ยบอกกิเลสมัน นั่งฟังเรียนในรถไปก็ได้ มันบอกไม่ได้เดี๋ยวพี่เขาพูดกัน เรียนออนไลน์ไม่ได้หรอก บอกกิเลสอยู่นี่แหละ โชคดีที่ไม่ได้บิน ได้อยู่ต่ออีก เป็นอาทิตย์ ดีจะตาย ฝึกอยู่ให้นานๆ เดี๋ยวต่อไปหมดโควิด ก็ต้องมาอยู่นานๆ เพราะมาเรียนป โทที่เชียงใหม่ เราต้องตั้งใจอยู่ ตั้งใจบำเพ็ญ ณ ขณะนี้ เพื่อให้มีอานิสงส์ ต่อไปจะได้มาสะดวกๆ กิเลสมึงไปไกลเลย ก็ได้บอกพ่อบ้านไว้แล้ว พ่อบ้านก็โอเคแล้ว กิเลสมึงยังจะรีบกลับ อยู่นี่แหละได้อานิสงส์เยอะ ได้พลังหมู่มิตรดี ดีจะตายกิเลสเอ๋ย ไปเลยไปไม่ต้องมาก่อกวนใจอีกนะ อยู่นี่ดีมากยุคโควิด ปลอดภัย รีบกลับไปหาโควิดหรือ ไม่รู้หรือพ่อบ้านกลัวโควิด ไม่เอาโควิดไปฝากเขาหรอก กลับพร้อมพี่ก็สะดวกมาก ใจไร้ทุกข์หลังจากเดินมรรคค่ะ

  26. สำรวม แก้วแกมจันทร์

    13/06/64
    ชื่อ นางสำรวม แก้วแกมจันทร์
    ชื่อเล่น “ป้ารวม”
    ชื่อทางธรรม “ร้อยแสงศีล”
    จิตอาสา สวนป่านาบุญ 2

    เรื่อง ถึงเวลาได้ล้างอยากให้ “สิ้นอยาก”

    เหตุการณ์
    สืบเนื่องเรื่อง “ตาป่วย… ” จากสัปดาห์ที่แล้ว ตอนนี้ ตาที่เป็นต้อเนื้อทั้งสองข้างมีเนื้องอกเพิ่มหนา เห็นชัดขึ้น ตาแดงบ่อย ร้อนในตา แสบตา เคืองตา มีขี้ตา เพราะใช้สายตาทำงานหนักมากมานาน และมีพฤติกรรมการกินที่ผิด อยากกิน อยากเสพ ติดชอบ ติดอร่อย ของหวาน ของมัน ของทอด ล้วนมีฤทธิ์ร้อน มีพิษร้อน กินผิด กินพิษ กินเกิน ร่างกายจิตใจไม่สมดุล พิษถูกดันออกทางตา ตาร้อน ตาป่วย แม้ว่าได้ตั้งศีลสู้กิเลสแล้ว “กินรสจืด ไม่กินรสจัด” แต่ก็ยังล้มแล้วล้มอีก ครั้งนี้ตั้งอธิศีลว่า “กินสูตรพลังพุทธ” อย่างน้อย 1 วัน ถ้าทำได้ก็จะกินสูตรพลังพุทธ ถึงวันที่ 11 มิถุนายน (วันคล้ายวันเกิดอาจารย์หมอ) เมื่อถึงวันที่ 10 มิถุนายน ทำได้ประมาณ 75 % กิเลสตัวอยาก มันยังอยู่-มันยังดิ้นอยู่ วันนี้มันยัง “อยากกินผักลวกใส่กะทิ” ทั้งๆ ที่ ร่างกายพอแล้ว ผลักแล้ว แต่ใจของกิเลสมันยังอยากกินผักลวกใส่กะทิ มันยังดิ้น มันไม่ยอม ส่งผลให้ทั้งร่างกายและใจต้องเสียพลังต่อสู้กับกิเลส จนเหนื่อย แรงตก ต่อสู้กันนาน ทุกข์อยู่ประมาณ 4-5 ชั่วโมง พอวิบากร้ายหมด วิบากดีก็ออกฤทธิ์ดันวิบากร้ายออกไป ได้ระลึกถึงคำสอนของอาจารย์หมอ “สิ้นอยาก สิ้นทุกข์” พอได้สติ พลังพุทธะเกิด มีปัญญาญาณ มีกำลังใจต่อสู้กับกิเลส “ตัวอยาก” เต็มใจสู้ ด้วยความยินดี พอใจ จึงได้สู้กับกิเลสต่อ อย่างเบิกบาน บอกกับกิเลสดีๆ ว่า ณ กาละนี้ ฉันไม่อยากกินผักลวกใส่กะทิอีกแล้ว ฉันพอใจ กินข้าวโรยเกลือกับผักลวก ไม่อยากกินอร่อยแล้ว กินสูตรพลังพุทธ รสจืด รสไม่จัด เพราะว่า ถึงเวลาแล้วที่ต้องจริงจังกับการเปลี่ยนพฤติกรรมการกินให้ถูกต้อง เพื่อดูแลรักษาตาให้หายป่วย ให้มีสมรรถภาพ ใช้งานได้ดีเป็นปกติ กิเลสต้องยอมจำนน สงบนิ่ง และ เงียบลง หยุดดิ้น พอเราจริงจังกับมัน จิตวิญญาณพุทธแท้เกิด กิเลสมารร้ายตัวอยากก็ “สิ้นอยาก” ทันที เมื่อจับตัว“อยาก” ที่ติดในรสอร่อยได้สำเร็จ เกิดปรากฏการณ์ใหม่เหมือนปาฏิหาริย์ ณ วินาทีนั้น รู้สึกปิติ อิ่มเอม ซาบซ่านหัวใจ กำลังใจเต็ม ร่างกายเบา โล่ง สบาย เบิกบาน ความอยากหายไปทันที

    ทุกข์ : อยากกินอาหารอร่อย แต่ ไม่ได้กิน ไม่พอใจ ไม่ชอบ-ชัง

    สมุทัย : ถ้าได้กินอาหารที่อยาก-ชอบ-อร่อย พอใจ สุขใจ แต่ไม่ได้กินตามที่อยาก ชัง-ไม่อร่อย ไม่พอใจ ทุกข์

    นิโรธ : รสชาติอาหาร อร่อย-ไม่อร่อย ก็ไม่ชอบ-ไม่ชัง เพราะกินอาหารเป็นยา กินกันหิว กินกันตาย กินฆ่ากิเลส กินด้วยความยินดี พอใจ เบิกบาน ในรสชาติอาหารตามธรรมชาติ ไม่อยาก ไม่ทุกข์

    มรรค : ทำใจในใจ พิจารณา ใคร่ครวญอย่างละเอียด พบว่า ตัวเองได้สะสมวิบากกรรมเรื่องพฤติกรรมการกินผิด กินพิษ ไว้มาก และยังอยากกินอาหารที่อยาก-ชอบ-อร่อย ชัง-ไม่ชอบ ถ้าไม่อร่อย ไม่ชอบ ไม่พอใจ พอได้สติ เกิดปัญญาญาณของพุทธะ ทบทวนว่า ตาเป็นต้อเนื้อมานาน ตอนนี้ตาป่วยหนัก เพราะที่ผ่านมาเรายังไม่เด็ดขาดกับกิเลส ตัวอยาก-ชอบ-ชัง อร่อย-ไม่อร่อย ถึงเวลาต้องทำหน้าที่ดูแลรักษาสุขภาพของตา เพื่อให้ตาอยู่ในสภาพทีดี ใช้งานได้ดี ดังนั้นต้องจริงจังในการตัดกิเลส ด้วยการขอตั้งอริยศีลต่อสู้กับกิเลส ที่ติดกามในเรื่องการกินคือ ตัวอยาก ชอบ อร่อย ถ้าได้ดั่งใจ สมใจ กิเลสจะพอใจ สุขใจ แต่ถ้าไม่ชอบ ไม่อร่อย กิเลสจะชัง ไม่พอใจ ทุกข์ จึงถึงเวลาที่ต้องจับกิเลส เด็ดหัวกิเลสให้ขาดคามือ จิตวิญญาณบริสุทธิ์แท้ของพุทธะ ได้ชวนกิเลสคุยกันดีๆ ดังนี้

    พุทธะ : อธิษฐานจิตตั้งอธิศีล “กินสูตรพลังพุทธ” กินอาหารที่ไม่ปรุง-ปรุงน้อย กินรสจืด ไม่กินรสจัด กินรสชาติธรรมชาติ

    กิเลส : ไม่อยากกิน ไม่ชอบ ไม่อร่อย ชอบของทอด ของหวาน ของมัน ชอบๆๆ อร่อยๆๆ

    พุทธะ : พอแล้ว กินมานาน ติดมานาน กินผิด กินพิษร้อน กินพิษเกิน จนตาป่วยเป็นต้อเนื้อ

    กิเลส : อยากกิน-ชอบกินอาหารอร่อย ไม่ชอบถ้าไม่อร่อย

    พุทธะ : อาหารอร่อย มีฤทธิ์ร้อน พิษร้อน กินผิด กินพิษ กินเกิน ร่างกายสู้ไม่ไหว พอแล้วไม่รับแล้ว ตาป่วยหนักมาก พอแล้ว

    กิเลส : วันนี้ขอกินผักลวกกะทิ อีกสักมื้อ

    พุทธะ : พอแล้ว ร่างกายผลักแล้ว ไม่เอาแล้ว ตาป่วยหนักมากแล้ว วันนี้กินข้าวโรยเกลือกับผักลวก ไม่กินอร่อย ไม่ใส่กะทิ

    กิเลส : ดิ้น ไม่ยอมๆ

    พุทธะ : อาจารย์หมอสอนว่า “สิ้นอยาก สิ้นทุกข์” วิบากร้ายหมด วิบากกรรมกามตัวอยากหมด ยอมรับผิด ขอโทษ ขออโหสิกรรม ที่โง่กว่ากิเลส ณ กาลนี้ ฉันมีหน้าที่ดูแลรักษาสุขภาพตาให้อยู่ในสภาพทีดี สายตาสามารถใช้งานได้ดีเป็นปกติ

    กิเลส : ยอมแล้วๆ ไม่อยากแล้ว “สิ้นอยาก” ใจของกิเลส นิ่ง สงบ เงียบ แล้วหายไป

    สรุปว่า เมื่อตั้งอธิจิต อธืศีลว่า ขอกินสูตรพลังพุทธ ด้วยความยินดีพอใจ กิเลสยอมจำนน นิ่งได้ สงบได้ เกิดปิติทันที อิ่มเอมใจ มีกำลังใจเต็ม รู้สึกโล่ง เบากาย สบายใจ เบิกบาน ใจไม่ทุกข์ ได้จริง

  27. นางจิราภรณ์ ทองคู่

    เรื่อง ขุ่นใจแล้วมีประโยชน์ตรงไหน

    เนื้อเรื่อง เช้าวันนี้มีเพื่อนจิตอาสาสองท่านมาชวนไปช่วยทำงาน ท่านแรกชวนไปแยกกล้ามะลอกอท่านที่สองชวนไปปลูกข้าวโพด เราจึงตัดสินใจว่า ท่านไหนชวนก่อนก็ไปช่วยท่านนั้นก่อน แล้วเราก็ได้นัดหมายกันและเข้าใจตรงกัน และได้ตกลงกันว่าใครเสร็จภาระก่อนก็ไปก่อน ใครเสร็จทีหลังก็ตามไปและเจอกันที่จุดนัดหมาย เราเสร็จก่อน จึงล่วงหน้าไปก่อน รออยู่นานประมาณ 45 นาที เพื่อนก็ไม่มาสักที ชักจะขุ่นใจ
    กิเลส : มาหลอกเราไหนบอกว่าจะตามมาทำไมเขาไม่มาสักที ยิ่งสายยิ่งร้อนนะเพราะต้องทำงานกลางแดด
    เรา : ได้บอกกิเลสไปว่าเขาอาจติดธุระอยู่ก็ได้นะ เขาจะมาตอนไหนก็ได้
    กิเลส : มันนานเกินรอแล้วนะ ออกกำลังกายจนเสร็จก็ยังไม่มา
    เรา : งั้นก็ไปช่วยงานเพื่อนอีกท่านหนึ่งปลูกข้าวโพดนะ เราก็ได้บำเพ็ญเหมือนกัน
    กิเลส : ยอม อือ ไปก็ได้
    ในที่สุดก็ไปช่วยเพื่อนอีกท่านหนึ่งปลูกข้าวโพด พอไปถึงเพื่อนบอกว่าได้ประกาศขอแรงบุญพี่น้องไปแล้วแต่ไม่มีคนมาช่วยปลูก งั้นเราไปเอาหญ้าออกจากแปลงแตงกวาก็แล้วกันนะ เราทำงานไป และสอนกิเลสไปว่านี่นะถ้าเรามีจิตเป็นกุศลและประสงค์ที่จะบำเพ็ญประโยชน์อะไร ที่ไหน ก็สุขใจได้ ทำงานไปจนถึงเวลาพัก คืนประมาณ 11 นาฬิกา ก็มาพัก เพื่อนอีกคนก็ตามมา ซึ่งเวลาได้ผ่านไปประมาณ 2 ชั่วโมง กับ 15 นาที เขามาขอโทษเรา เขาบอกว่าเขามาไม่เจอเราจึงตามมาที่นี่ และได้บอกสาเหตุที่ต้องมาช้า เราบอกเขาไปว่าไม่เป็นไร ทั้งหมดทั้งมวลไม่ใช่เธอมันเป็นเรา เราทำมาทั้งนั้น เราไม่โกรธไม่ขุ่นใจอะไรทั้งนั้นเราต่างก็เป็นมิตรที่ดีต่อกัน เหตุการณ์ร้ายจึงไม่เกิด

    ทุกข์ ขุ่นใจที่เพื่อนมาช้า ทั้งที่บอกว่าจะตามมา

    สมุทัย ถ้าเพื่อนมาช้าจะทุกข์ใจ ขุ่นใจ ถ้าเพื่อนมาเร็วจะสุขใจ

    นิโรธ เพื่อนจะมาช้าหรือเพื่อนจะมาเร็วก็สุขใจ

    มรรค เราเชื่อชัดเรื่องกรรมอย่างแจ่มแจ้งว่าเราทำชั่วมามากหาที่ต้นที่สุดไม่ได้ การที่เพื่อนมาช้าในครั้งนี้ก็จะเป็นใครเสียอีกก็เราทำมาทั้งนั้น นี่มันยังน้อยอยู่นะ รับแล้วก็หมดไปเราจะโชคดีขึ้น และโชคดีที่ได้ใช้วิบากกรรม จิตก็เบิกบานแจ่มใส ไร้ทุกข์ ไร้ความขุ่นใจ โปร่ง โล่ง เบาสบาย

  28. Sureenart ratchapan สุรีนารถ ราชแป้น

    การบ้านอริยสัจ4

    ชื่อ สุรีนารถ ราชแป้น จิตอาสาสวนป่านาบุญ2 จังหวัดนครศรีธรรมราช

    ชื่อเรื่อง : ส่งต่อให้ทีนะ

    เหตุการณ์ : มีอยู่วันหนึ่งได้เปิดไลน์กลุ่มเพื่อนสนิท ได้อ่านข้อความที่เพื่อนส่งมาในไลน์ พอได้อ่าน เกิดกิเลสขึ้นมาเล็กน้อย ประมาณนึกในใจว่า ยังมีการส่งข้อความแบบนี้กันอยู่อีกหรือ ไม่น่าส่งกันเลย เราก็ไม่อยากได้นะ ซึ่งข้อความนี้ คือ “ ส่งต่อให้ทีนะ วันเกิดหลวงพ่อเงิน บอกต่อๆ 9 คนจะโชคดี บ. 369=69 ล. 49 ( ส่งต่อห้ามเก็บ )

    ทุกข์ : อยากได้ในดี

    สมุทัย: ชอบที่ได้อ่านข้อความที่ดีมีประโยชน์ไม่เหนี่ยวนำไปในทางผิดศีล
    ชังที่ได้ร้บข้อความในลักษณะลูกโซ่ ให้ส่งต่อ ในข้อความที่ไม่มีสาระ

    นิโรธ: จะได้อ่านหรือได้รับข้อความแบบไหน ก็อ่านได้ หมดอยาก ในชั่ว ในดี ใจไร้ทุกข์

    มรรค : ได้มาพิจารณาถึงใจขณะที่ได้อ่านข้อความ พอได้อ่านก็เกิดอาการขึ้นมาทันทีความไม่ถูกใจ เล็กน้อย ในข้อความไลน์ จึงถามใจตัวเองว่า เพราะ อะไรหรือ ได้คำตอบว่า ประการแรก พบว่า ความคิดที่เป็นมาร เคยมีอคติกับจดหมายลูกโซ่เมื่อนานมาแล้ว ยังติดอยู่ลึกๆในใจ เมื่อมีผัสสะใหม่กระทบจึง มีอาการขึ้นมาทันที และประการที่สอง ชี้นำให้ส่งต่อ9คนจะโชคดี ห้ามเก็บ และเหมือนการบอกหวยคือเป็นเลข บน และ ล่าง มารหลอกเราว่า ข้อความนี้สื่อไปทางอบายมุข หวังลาภ อยู่ ผิดศีลนะ เชื่อมาร เลยเกิดชัง อยากได้ในสิ่งดีๆ เกิดอาการคิดไม่ดี อยู่ไม่นานก็รู้ตัวว่าเราเชื่อมาร โดนมารหลอกแล้ว จึงหันมาคิดแบบพุทธะ ทุกอย่างไม่เที่ยง จัดการกับกิเลสมาร นึกถึงคำสอนของ อาจรย์หมอเขียวที่ได้ฟังทุกเช้า โดยใช้ประโยคว่า ถ้ายังอยากอยู่ไม่ว่าอยากได้ในชั่วหรือในดี ก็ยังทุกข์ ท่องซำ้ๆสิ้นอยาก สิ้นทุกข์ หยุดอยาก หยุดทุกข์ เป็นสุขยั่งยืน คิด พูด ทำตาม อยากผิดศีล การคิดไม่ดี เพ่งโทษผู้อื่น ผิดศีล สร้างวิบากใหม่ และหน้า อาจรารย์ตอนบรรยายลอยเข้ามา ความคิดแบบมาร สลายในทันที
    พิจจารณาในอดีตเราเคยทำแบบนี้มามากมาย ก็เลยมีผัสสะมาให้เราได้ชดใช้วิบาก ก็ขอโทษ ขออภัย ขออโหสิกรรม ในสิ่งทำผิดพลาดมา ใช้แล้วก็หมดไป
    ขอบคุณเพื่อน แทนที่จะไปตำหนิเขา ที่ทำให้เห็น ผัสสะ ให้รู้ว่าเรายังมีกิเลสตัวนี้อยู่ ทำให้ได้ล้างกิเลส และขออโหสิกรรมที่ไปเพ่งโทษเขา เพราะเมื่อก่อน ก่อนที่เรายังไม่ได้มาปฎิบัติธรรม เราก็ยังเคยโลภ ซื้อหวยเหมือนกัน
    สรุปว่า ใช้คำสอนที่อาจารย์ สอนให้รู้จักทุกข์อริยสัจ มาทำให้ล้างทุกข์ได้ในเวลาไม่นานนัก อาการชังในไลน์ลูกโช่ได้หายไป เบิกบาน แจ่มใส

  29. นางสาวนาลี วิไลสัก

    13/6/2564
    ชื่อ : นางสาวนาลี วิไลสัก
    เป็นผู้คบคุ้นสวนป่านาบุญ2

    เรื่อง : ถ้าเราเอาจริงกิเลสจะยอม

    เหตุการณ์ : วันก่อนตัวเองติดภารกิจที่จะต้องดูแลแม่จนสาย จึงได้ออกไปโรงเรียนตอนสิบโมง ก่อนจะออกจากบ้านก็รู้สึกหิว กิเลสก็บอกให้เราทานข้าวก่อนจะไปโรงเรียน แต่เราไม่ทานเพราะปกติเราทานข้าวตอนเที่ยงวัน

    ทุกข์ : เหนื่อย เพลีย ล้า หิว ใจกระวนกระวาย อยากทานข้าวเร็วๆ กว่าปกติ

    สมุทัย : ชอบถ้าได้ทานข้าวทันทีในขณะที่หิว ชังที่ต้องรอทานข้าวตามเวลาปกติ

    นิโรธ : จะทานข้าวในขณะที่หิว หรือ ต้องรอทานตามเวลาปกติก็ไม่ชอบไม่ชัง

    มรรค : มาดูลีลามารมาหลอก

    มาร : วันนี้ไปโรงเรียนสาย ก่อนจะออกจากบ้านทานข้าวก่อน ก็ดีนะ รู้สึกหิวแล้ว

    เรา : เรื่องอะไรจะทำตามมารล่ะ ช่วงนี้ท่านอาจารย์เทศน์ เรื่อง”อยากปุ๊บ ทุกข์ปั๊บ ยิ่งทำตามมาร ยิ่งทุกข์ไปใหญ่” วันนี้ทำตามมารไม่ลงจริงๆ หว่ะ เพราะรู้สึกละอายอาจารย์

    มาร : ถ้าไม่ทานข้าว งั้นก็ทานมะม่วงสุก สักลูกเถอะ

    เรา : ไม่เอา แต่ฉันจะดื่มน้ำสมุนไพรผสมน้ำปัสสาวะ 1 แก้ว แก้อาการหิวก่อน

    ในขณะที่ไปสอนนักเรียนเดินขึ้นบันได มารก็เข้ามาอีกรอบ
    มาร : เห็นไหมหิวข้าวจนเดินขึ้นบันได รู้สึกเหนื่อยๆ เพลียๆ สั่นๆ ขนาดนี้ ยังไม่ยอมทานข้าวเลย

    เรา : ไม่จริง ฉันยังไม่ได้อดข้าวถึง 1 วัน ซะหน่อย เดี๋ยวเลิกเรียน เที่ยงฉันจะกลับไปกิน มาร…แกอย่ามาหลอกฉันให้เหนื่อยเลย ขนาดเด็กติดถ้ำ ไม่ได้ทานข้าว 10 กว่าวัน ก็ยังไม่ตายเลย ที่ฉันมีอาการเพลียๆ สั่นๆ อยู่นี้ก็เพราะแกหลอกเอาพลังฉันไปกินไง ฉันเลยเสียพลังให้แก อาการนี้เป็นความอยากของแก ไม่ใช่หิว ฉันยังแข็งแรงอยู่
    ตอนนั้นตัวเองได้ระเบิดความแข็งแกร่งออกมา เดินขึ้นบันไดแบบฮึกเหิม ห้าวหัน จนมารละอาย สลายแบบฉับพลันเลย ตรงกับ บทธ ข้อที่ 117 ตอนหน้าไม่รู้ ตอนนี้สู้ไม่ถอย สู้กิเลสอย่างรู้เพียรรู้พัก

    สรุป พอเราพิจารณาว่า ถ้าทำตามมารแล้ว มารจะแตกตัว ทุกข์หนักกว่าเดิม พอเราหักลำมาร ปรากฏว่า ความเหนื่อย เพลีย ล้า และความหิวไม่มีจริง ก็เหลือแต่ความแข็งแรง เบาสบาย สาธุค่ะ

  30. นางสาวศิริรักษ์ พรมเล็ก

    ส่งการบ้าน อริยสัจ 4
    13 มิถุนายน 2564
    ชื่อ นางสาวศิริรักษ์ พรมเล็ก ชื่อเล่น ป้าแต๋ว
    ชื่อทางธรรม เกษตรศิลป์
    จิตอาสาสวนป่านาบุญ 2
    เรื่อง ความเห็นต่างในครอบครัว
    โรคโควิด-19 ระบาดไปทั่วโลก ไม่เว้นแม้แต่ในประเทศไทย และที่สำคัญในหมู่บ้านที่เขตแดนติดกับหมู่บ้านข้าพเจ้า ก็มีผู้ติดเชื้อไม่น้อยกว่า 20 คน ทางหน่วยงานรัฐบาลและเอกชนระดมกำลังกันเข้ามาช่วย ส่วนผู้ที่มีจิตเมตตาก็ส่งอาหารและของใช้ที่จำเป็นมาร่วมบริจาค ในสภาพเหตุการณ์ดังกล่าว ทางผู้นำชุมชนได้ประสานไปยังหมู่บ้านใกล้เคียงช่วยกันดูแลไม่ให้คนในหมู่บ้านที่มีผู้ติดเชื้อโควิดออกนอกบ้าน และทางตลาดก็ขอความร่วมมือไม่ให้ออกไปซื้อของ บังเอิญข้าพเจ้ามีธุระต้องขับรถผ่านไปหมู่บ้านดังกล่าว ทางถนนสายหลักของหมู่บ้าน ก็ได้พบว่าภายในหมู่บ้านเงียบเหมือนไร้ผู้คน บ้านแต่ละหลังปิดไม่ให้ใครเข้าออก ไม่มีรถสัญจรผ่านไปมาเหมือนเมื่อก่อน เห็นแล้วทั้งเศร้าใจและหดหู่ใจในเหตุการณ์ดังกล่าว
    ก่อนที่เชื้อจะมาแพร่ในหมู่บ้านดังกล่าว ครอบครัวของข้าพเจ้าเคยนำอาหารไปแจกมาหลายครั้ง ตามโครงการรวมพลังแบ่งปันด้วยใจที่บริสุทธิ์ ข้าววิถีธรรม (หมอเขียว) ข้าวหุงสุก ท่านอาจารย์ได้เมตตาให้มีการช่วยเหลือกัน แต่เมื่อเหตุการณ์โรคระบาดร้ายแรงมาถึงระดับนี้ ทางครอบครัวมีความคิดเห็นแยกเป็น 2 ฝ่าย ฝ่ายหนึ่งให้หยุดการทำอาหารแจกไว้ก่อน เพราะเมื่อมีกิจกรรมนี้ จะมีญาติ ๆ ในละแวกใกล้เคียง ที่ไม่ใช่สมาชิกในบ้าน มารวมตัวกันเพื่อช่วยกันทำอาหาร ส่วนอีกฝ่ายอยากให้ทำแต่ไม่ต้องไปแจก เพียงให้มีการประสานกันกับผู้นำชุมชนมารับไปแจกแทน ซึ่งข้าพเจ้าเป็นคนหนึ่งที่อยากให้ทำอาหาร โดยผ่านผู้นำชุมชนไปแจกแทน อีกอย่างข้าพเจ้าดูทีวีมีครัวพระราชทานเป็นตัวอย่างทีดี เวลาเพื่อนบ้านมีความทุกข์ ถ้าเรามีโอกาสช่วยเหลือก็น่าจะดีกว่าอยู่เฉย ๆ โรคระบาดทางลมหายใจ ถ้าเราป้องกันตามที่ทางราชการแนะนำ เราก็จะยังทำประโยชน์ในการเข้าไปช่วยเหลือสังคมได้ ถ้ามีความกลัวทำให้ใจเป็นทุกข์ ดังนั้นเมื่อมีความเห็นต่างกัน จึงทำให้เกิดความรู้สึกไม่ได้ดั่งใจที่สมาชิกในบ้านมีความเห็นไม่ไปในทางเดียวกัน

    ทุกข์ ไม่ได้ดั่งใจ ที่สมาชิกในครอบครัวมีความคิดเห็นไม่เป็นไปในทางเดียวกัน

    สมุทัย ชอบ ถ้าในครอบครัวมีความคิดเห็นไปในทางเดียวกัน ชัง ในครอบครัวมีความคิดเห็นต่างกัน

    นิโรธ ในครอบครัวจะมีความคิดเห็นไปในทางเดียวกัน หรือเห็นต่างกันก็ได้ ไม่ชอบไม่ชัง ใจไม่เป็นทุกข์

    มรรค : พิจารณาว่า เหตุผลของแต่ละฝ่ายก็สำคัญไม่น้อยกว่ากัน ความเห็นต่างเป็นเรื่องปกติธรรมดาของการอยู่ร่วมกัน ข้าพเจ้าก็วางใจยอมรับ ครอบครัวจะมีความเห็นเหมือนกันหรือต่างกันก็ได้ ด้วยใจที่ไม่ทุกข์ ไม่ยึดมั่นถือมั่น (ตรงกับบททบทวนธรรมข้อที่ 101 ต้องไม่ยึดมั่นถือมั่นให้ได้ “จึงจะได้”
    ได้พิจารณาอย่างนี้ สุดท้ายในครอบครัวได้ข้อสรุปกันว่า จะหยุดทำอาหารแจกในช่วงนี้ไปก่อน ก็วางใจได้ และไม่มีอาการขุ่นเคืองใจ หรือไม่ได้ดั่งใจ แต่อย่างใด

  31. ภาคภูมิ ยอดปรีดา (สร้างแก่นศีล)

    #กลัวผลแล็บ

    เนื่องจากวันที่ 21 ก.ค. ผมมีนัดตรวจติดตามผลโรคมะเร็ง และก่อนตรวจผมก็ต้องไปเจาะเลือดเพื่อหาผลแล็บตัวหนึ่ง โดยผลแล็บรอบที่ผ่านมาก็ออกมาแบบที่ถ้าประเมินทางโลกก็ต้องบอกว่าแย่ลงไปมากกว่าเดิม ด้วยเหตุดังกล่าวจึงทำให้ผมทุกข์ใจเพราะกลัว กังวล ระแวง หวั่นไหวว่าผลแล็บคราวนี้จะออกมาแย่ลงไปกว่าเดิมอีก

    ทุกข์ : รู้สึกทุกข์ใจเพราะรู้สึกกลัว กังวล ระแวง หวั่นไหว ว่าผลแล็บคราวนี้จะออกมาแย่ลงไปกว่าเดิม

    สมุทัย : จะรู้สึกทุกข์ใจถ้าผลแล็บคราวนี้ออกมาแย่ลงไปกว่าเดิม แต่จะสุขใจถ้าผลแล็บคราวนี้ออกมาดีขึ้นกว่าเดิมหรือไม่แย่ลงไปกว่าเดิม

    นิโรธ : สามารถผาสุกใจได้ไม่ว่าผลแล็บคราวนี้จะออกมาอย่างไร

    มรรค : กรณีนี้ผมเดินมรรคโดยนำเรื่องวิบากกรรมและความยินดีมาพิจารณาร่วมกัน โดยผมพิจารณาว่า ถ้าวิบากกรรมชุดนี้เป็นของผมไม่ว่าผมจะหนียังไงมันก็หนีไม่พ้นอยู่ดี เพราะไม่เร็วก็ช้าอย่างไรแล้ววิบากกรรมชุดนี้ก็จะสามารถจัดสรรเหตุปัจจัยให้ผมต้องได้รับวิบากกรรมในชุดนี้อยู่ดี ดังนั้นสู้ผมกล้าที่ยอมรับวิบากกรรมชุดนี้ด้วยความยินดีและความเชื่อและชัดเรื่องกรรมอย่างแจ่มแจ้งไปเลยจะไม่ดีกว่าหรือ

    ทั้งนี้ผมได้นำบททบทวนธรรมมาร่วมพิจารณา โดยบททบทวนธรรมที่นำมาพิจารณา เช่น บทที่ 95 ที่มีเนื้อหาว่า “การไม่ยอมรับผิด ไม่สารภาพผิด จะเพิ่มฤทธิ์วิบากร้าย แต่การยอมรับผิด การสารภาพผิด จะลดฤทธิ์วิบากร้าย และเพิ่มฤทธิ์วิบากดี”

  32. น.ส จรรญา ชุมจีด (สร้างกลิ่นศีล)

    เรื่อง ความพอดีเป็นทุกข์
    เหตุการณ์ มีคนเอาของมามอบให้ท่านอาจารย์แต่มันมีจำนวนมากท่านเอาทาวางไว้ทั้งบนและใต้โต๊ะที่ใช้ทำอาหาร เราจึงบอกกับอาท่าหนึ่งไปว่าวางไว้ไม่ต้องเยอะเพราะท่านอาจารย์ใช้ไม่หมดเดี๋ยวก็ต้องแบ่งไปเก็บที่ครัวกลางอยู่ดี วางไว้แต่พอดีไม่ตัองเยอะ แต่ท่านบอกว่าเอาวางไว้ทั้งหมดนี่แหละคนที่เอามามีความตั้งใจจะเอามามอบให้แล้วก็วางไว้ทั้งหมด
    เราเลยรู้สึกไม่ชอบใจเพราะคิดว่าเอาวางไว้เดี๋ยวก็ต้องยกออกไปอยู่ดีเพราะโต๊ะมีไวัสำหรับทำอาหาร
    ทุกข์ รู้สึกไม่ชอบใจทีท่านไม่วางไว้แต่พอดีอย่างใจเราหมาย
    สมุทัย ถ้าท่านวางไว้ให้พอดีอย่างใจเราหมายเราจะชอบใจ ถ้าท่านไม่วางไว้ให้พอดีอย่างใจเราหมายเราจะไม่ชอบใจ
    นิโรธ ท่านจะวางไว้เท่าไหร่เราก็ไม่ชอบไม่ชังยินดีได้
    มรรค ตั้งศีลมาปฏิบัติให้เห็นความวิปลาสของกิเลสเห็นความทุกข์จากความยึดมั่นถือมั่นความให้ได้ดีดังใจหมายว่าถ้าเป็นอย่างที่เราคิดเราจะสุขใจถ้าไม่เป็นอย่างที่เราคิดเราจะทุกข์ใจ เห็นว่าเหตุการณ์ภายนอกที่เข้ามาทำให้เราเห็นกิเลสส่วนเหลือที่เรายังมีอยู่ทำให้เราเข้าใจคนอื่นมากขึ้นว่าเราเองก็เคยเป็นเช่นนั้นมา เราก็ไม่โทษใครเต็มใจรับในสิ่งที่เข้ามาทั้งดีและร้ายด้วยความยินดี
    สรุป เมื่อเราได้เห็นความจริงตามความเป็นจริงแล้วว่าทุกข์เกิดจากความยึดมั่นถือมั่นยึดดีของเราเองเป็นกิเลสส่วนเหลือที่เรายังมีอยู่ก็กำจัดออกไปทำให้เข้าใจคนอื่นมากขึ้นไม่โทษใครใจก็ไม่ทุกข์

  33. ปริศนา อิรนพไพบูลย์ (ปางน้อม กล้าจน)

    ชื่อ : “ก่อนจะสิ้นอยาก สิ้นยึด สิ้นทุกข์ ผาสุก ถาวร”
    เนื้อเรื่อง : เนื่องจากตั้งแต่เกิดโรคระบาดโควิด 19 ทางชุมชนภูผาฟ้าน้ำได้มีนโยบาย ล็อคดาว จากการที่เราได้รับมอบหมายให้เป็น 1 ใน 3 ของคณะกรรมการพิจารณาผู้ที่จะเข้ามาร่วมบำเพ็ญที่ชุมชนภูผาฟ้าน้ำ ในเร็วๆนี้ ต่อมาก็มีพี่น้องกลุ่มหนึ่งได้เดินทางขึ้นมาจนถึงที่ ปรากฏว่าเราไม่ได้ร่วมรับรู้ในการพิจารณาเลย รับทราบแต่เพียงว่ากำลังเดินทางมาแต่จะถึงเวลาไหนไม่ทราบ จึงรู้สึกไม่ค่อยสบายใจที่ไม่ได้ทำหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย เขียนเป็นอริยสัจ4ได้ดังนี้:-

    ทุกข์ : รู้สึกไม่สบายใจ (ทุกข์)เมื่อพี่น้องที่เป็นกรรมการไม่ได้บอกให้เราได้ร่วมรับรู้จึงไม่ได้ทำหน้าที่

    สมุทัย : อยากให้เพื่อนบอกจะสบายใจ (ชอบ,สุขใจ) แต่ถ้าไม่บอกจะไม่สบายใจ (ชัง,ทุกข์ใจ)

    นิโรธ : ไม่มีความอยากให้เพื่อนบอกหรือไม่บอก เมื่อไม่อยาก เราจึงไม่ทุกข์

    มรรค : เมื่อเรารู้สึกว่าทุกข์ใจบอกกับตัวเองว่า ไม่ถูกแล้ว ก่อนอื่นก็ต้องพิจารณาเพื่อให้จิตคลายทุกข์จากการยึดมั่นถือมั่นที่ผิด โดยพิจารณาว่า @ ” ความสำเร็จของงานไม่ใช่ความสำเร็จของงาน ใจที่ไม่ทุกข์ต่างหากคือความสำเร็จของงานที่แท้จริง” (จากบททบทวนธรรมที่ 76) พอเรามีโอกาสเจอกับ 1 ในคณะกรรมการนั้น ก็ได้พูดกับท่านไปว่า” ไม่เห็นได้บอกเรื่องที่คนจะขึ้นมาให้เราได้รู้เลย ” เมื่อท่านนั้นได้ยินเราพูดก็ดูท่าทางจะงงๆแล้วก็พูดว่า ก็อีกท่านหนึ่งได้ส่งไลน์มาให้พิจารณา แล้วก็เดินจากไป ก่อนหน้าที่เราจะได้มาพิจารณาเรื่องทุกข์ใจแล้ววางใจได้แล้วนั้น เราก็ได้มาปรึกษากับเพื่อนเพื่อให้ช่วยคลายทุกข์ใจที่เหลือ โดยพิจารณาว่า
    @ เมื่อเรามีเจตนาที่จะทำดีแล้วยอมให้คนอื่นเข้าใจผิดได้ไหม? เพราะจากบททบทวนธรรมข้อที่73 ว่า” เมื่อเรามุ่งหมายให้เกิดดีและพยายามทำดีอย่างเต็มที่แล้วยอมหรือกล้าให้เกิดสิ่งเลวร้ายสุดๆให้ได้ ชีวิตก็ไม่มีอะไรต้องทุกข์ ” @ การทำงานใดก็ตามถ้าอกุศลวิบากของเราออกฤทธิ์ ก็จะมีเหตุมาขวางกั้นไม่ให้เราได้ทำ หน้าที่เราก็คือวางใจเพราะไม่ใช่สิ่งที่เราควรทำณเวลานั้น รอเหตุปัจจัยวิ่งชนนั่นแหละเป็นสิ่งที่ควรทำเพราะนั่นเป็นกุศลของเราแล้ว เมื่อพิจารณามาถึงตรงนี้แล้วได้เห็นโทษของการยึดมั่นถือมั่นว่า เมื่อยึด>ก็อยาก>เมื่ออยาก>ก็ทุกข์>เมื่อทุกข์ก็โง่ เมื่อโง่>ปัญญาก็ดับและ>เมื่อปัญญาดับ>ก็ย่อมไม่สามารถรู้ ความจริงตามความเป็นจริงและเมื่อใจเป็นทุกข์ก็เกิดเป็นการผิดศีลทั้ง5ข้อไปแล้ว ดังนี้ผิดศีล
    ข้อที่ 1)เมื่อทุกข์ใจก็เบียดเบียน ตนเองแล้ว
    ข้อที่ 2) ขโมยสิ่งที่เขาไม่ได้ให้ ข้อที่ 3) ยังหลงในสุขลวงว่า
    “ถ้าได้ดั่งใจหมายจะเป็นสุข” ข้อที่ 4)ยังโกหกว่าจะพยายามทำตนให้ผาสุกในทุกสถานการณ์แต่กลับทำให้ตัวเองทุกข์
    ข้อที่ 5) อภิชา : โลภเกินกว่าที่ตนมีได้จริง พยาบาท : ไม่ได้ก็โกรธ และมิจฉาทิฏฐิ คือยังไม่เชื่อไม่ชัดเรื่องกรรมอย่างแจ่มแจ้ง ดังนั้นก็จะจมลงอยู่กับความลวง ความหลอก ความหลง อยู่กับทุกข์หรือขุมนรกนั้น จะออกจากทุกข์นี้ไม่ได้เลย เห็นประโยชน์ของการวางใจจากการยึดมั่นในความคิดเดิมของตนลงเปลี่ยนจากคิดผิด(มิจฉาทิฏฐิ)มาเป็นคิดถูก(สัมมาทิฏฐิ) ทำให้รู้สึกคลายจากทุกข์ลง ก็ระลึกได้ว่า เราก็เคยแสดงพฤติกรรมนี้กับเพื่อนมาก่อน นี่ไงเป็นสิ่งที่ยืนยันว่า ” สิ่งที่เราได้รับนี้คือสิ่งที่เราทำมา แน่ๆ ไม่มีสิ่งใดที่เราได้รับโดยที่เราไม่เคยทำมา ” (บททบทวนธรรมข้อที่ 8) เราจึงได้ชดใช้วิบากร้ายเดิมไปแล้ว รับแล้วก็หมดไป ได้เปิดโอกาสให้วิบากดีเกิด คิดมาถึงตอนนี้ใจก็วางได้โดยดุษฎี ยอมปล่อยให้มันเป็นในสิ่งที่มันจะเป็น ปล่อยให้มันเกิดในสิ่งที่มันจะเกิด เมื่อวางใจได้ก็รู้สึกเบา โล่ง โปร่ง สบายใจ วันถัดมาหลังจากเราวางใจไม่ทุกข์ได้แล้วปรากฏว่าก็มีจิตอาสาท่านหนึ่งขึ้นมาบำเพ็ญ เรามีโอกาสเจอทั้งจิตอาสาท่านนี้ กับ กรรมการที่เราเคยบอกท่านไว้นั้น ท่านก็ได้เล่าถึงปัญหาว่า จิตอาสาท่านนี้ได้ระมัดระวัง ดูแลตัวเองอย่างดีว่า ตั้งแต่อยู่ที่บ้านก็อยู่คนเดียวและอยู่ในสวน ไม่ได้พบปะใครเลยและตอนที่ขึ้นมานี่ก็ขับรถมาเองโดยไม่ได้แวะที่ไหน จึงขอที่จะไม่นอนพักค้างที่ข้างล่างกับเพื่อนที่ได้เข้าไปทำธุระในเมืองมาเพราะท่านก็กลัวเหมือนกัน กรณีนี้จึงเป็นเงื่อนไขพิเศษให้เราต้องได้พิจารณากันเพราะโดยปกติคนที่เข้าเมือง หรือได้พบปะกับผู้คนหลากหลายมาก็จะให้พักอยู่ข้างล่างแยกออกไปเป็นเวลา 14 วัน นี่คือกฎระเบียบที่ อาจารย์และหมู่กลุ่มได้ตั้งเป็น หลักปฏิบัติทั่วไป กับท่านที่จะเข้ามาในชุมชนของเรา ซึ่งเมื่อกรรมการและเราได้ปรึกษากันแล้ว มีความเห็นพ้องต้องกันว่ากรณีนี้เป็นกรณีพิเศษจึงได้อนุมัติไป จากนั้นกรรมการท่านนั้นก็หันมาถามเราว่านอกจาก 2 คนเดิมแล้วคนที่ 3 คือใคร เราตอบว่า”เราไง” ตกลงเรื่องก็เป็นอันกระจ่างว่าที่กรรมการท่านนั้นไม่ได้บอกเราเพราะท่านไม่ทราบว่าเราเป็น
    กรรมการคนหนึ่งที่อาจารย์มอบหมายนี่เอง
    สรุปเหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้เราได้เรียนรู้ว่า ” ต้องไม่ยึดมั่นถือมั่นให้ได้จึงจะได้”
    (บททบทวนธรรมข้อที่ 101) และ” ทำตามจริงที่เป็นไปได้จริง ชีวิตก็ไม่มีอะไรทุกข์ ”
    (บททบทวนธรรมข้อที่102)

  34. Savitree manovorn

    13 มิถุนายน 2564
    ชื่อ นางสาวิตรี มโนวรณ์
    ผู้บำเพ็ญคบคุ้นสวนป่านาบุญ 2
    เรื่อง หาของไม่เจอ แต่หากิเลสเจอ
    บนโต๊ะทำงาน มีเอกสารหลายอย่างวางอยู่ หนึ่งในนั้นเป็นซองเงินที่เพื่อนที่ทำงานร่วมกันบริจาคให้กับ รปภ.ที่เสียชีวิตจากการปฏิบัติหน้าที่ พอจะหาซองเงินดังกล่าว กลับไม่เจอ มารเกิดความกังวลและใจร้อน อยากให้เจอซองเงินเร็ว ๆ ไม่อยากต้องหาอะไรอีกแล้วช่วงนี้ หาของไม่เจอบ่อย จนเสียพลังไปมาก
    ทุกข์ ใจร้อน อยากหาของให้เจอเร็ว ๆ
    สมุทัย ชอบ ถ้าหาของเจอเร็ว ๆ ชัง หาของไม่เจอซะที
    นิโรธ จะหาของเจอเร็ว เจอช้า หรือไม่เจอ ใจก็ไร้ทุกข์ ไม่ชอบ ไม่ชัง
    มรรค เห็นอาการลนลาน เมื่อไม่เห็นซองเงินที่วางอยู่บนโต๊ะ มารอยากหาให้เจอเร็ว ๆ
    มาร : ไปไหนอีกแล้ว วางอยู่เมื่อกี๊นี่เอง เหนื่อยแล้วนะกับการหาของ วันก่อนก็ทีนึงแล้ว
    เรา : หาของไม่เจอก็ไม่เป็นไร แต่เราหาเธอเจอแล้วมาร ใจร้อน อยากได้เร็ว ๆ ไปซะทุกเรื่อง แล้วเป็นยังงัยบ้างล่ะ สุขดีมั้ยกับความอยากได้เร็ว ๆ ๆ ๆๆๆ
    มาร : ไม่สุขเลย ทุกข์ เหนื่อย เสียพลังมากด้วย มารบ่น เพราะเหนื่อยและเพลียเต็มทีแล้วกับสภาพที่เป็นอยู่ และยอมรับว่าความอยากทำให้เป็นทุกข์ มารจึงลดกำลังลง
    เมื่อมารได้คลายความอยากที่จะหาของให้เจอเร็ว ๆ ลงไป ใจที่หนัก เหนื่อย อึดอัด ลนลาน ก็จางคลายลง และได้หันไปเห็นซองเงินวางอยู่ใกล้ ๆ มือนั่นเอง (ตรงกับบททบทวนธรรรมข้อที่ 83 ความยึดมั่นถือมั่น จะทำให้เกิดความพร่อง ความพลาด ความทุกข์)

  35. พรพิทย์ สามสี

    เรื่อง : กินคนละแบบ
    ที่บ้านอยู่กันสองคน เราไม่กินอาหารเนื้อสัตว์
    กินอาหาร มังสวิรัติ ส่วนพ่อบ้านก็กิน อาหารเนื้อสัตว์ หน้าที่ซื้ออาหาร เนื้อสัตว์ และหน้าที่ปรุงอาหาร เนื้อสัตว์ ก็คือเรา ที่บ้านเราทำกับข้าว กินกันคนละอย่าง สองอย่าง แต่มันก็เป็นภาระอยู่ เพราะต้องทำทั้ง อาหารเนื้อสัตว์
    และอาหารมังสวิรัติ ปรุงอาหารเนื้อสัตว์จะใช้เวลานานมากกว่า การปรุงอาหารมังสวิรัติ
    ทุกข์ : ต้องปรุงอาหารคนละอย่าง คนละหม้อ
    สมุทัย : ชอบที่จะให้พ่อบ้านมากินอาหารมังสวิรัติเหมือนกันกับเรา ชังที่ต้องทำอาหารคนละอย่าง คนละหม้อ
    นิโรธ : พ่อบ้านจะกินเนื้อสัตว์ ไม่กินเนื้อสัตว์
    กินแบบไหนก็ได้ ยินดีในความไม่ชอบไม่ชัง
    มรรค : ช่วงนี้ กิเลส มันก็บ่นเกือบทุกวัน
    ตื่นเช้าขึ้นมาก็ต้องทำอาหาร เนื้อสัตว์ ให้พ่อบ้าน กินก่อนไปทำสวน บางวันก็ห่อไปกินที่สวน
    พอทำให้เขาเสร็จ ก็ทำอาหารของเรา เสร็จภาระกิจพอประมาณ ก็ตามเขาไปสวน
    เราบอกกิเลสว่า แกจะเอาอะไรอีก ถ้าวันไหน
    มีตลาดนัด พ่อบ้านจะเป็นภาระไปส่งของที่ตลาดให้เรา แต่วันไหนไม่มีตลาด พ่อบ้านก็จะลงสวนแต่เช้า เขาขยัน ขนาดนี้แล้ว แกจะเอาอะไรอีก แค่ทำกับข้าวคนละอย่างก็บ่น บ่นให้เราเสียพลัง จะให้เขามากินเหมือนเรา ตอนนี้ยังไม่ได้ อดทน รอคอย วางใจ เมื่อไหร่ก็เมื่อนั้น ทบทวนธรรม ๓๕ ยึดอาศัย ดี
    ที่สามารถทำให้เกิดขึ้นได้จริง นั้นดี
    แต่ยึดมั่นถือมั่นว่า ต้องเกิด ดี ดั่งใจหมาย
    ทั้งๆ ที่องค์ประกอบเหตุปัจจัย ณ เวลานั้น
    ไม่สามารถทำให้ดีนั้นเกิดขึ้นได้จริง นั้นไม่ดี

  36. เรื่อง ต้องวางที่เรา
    เหตุการณ์: มีจิตอาสาท่านหนึ่งมาพูดให้ฟังว่า พ่อครูดีทุกอย่างแต่เขาไม่เห็นด้วยที่ท่านไปว่าคนอื่น ซึ่งเราก็ได้อธิบายว่าที่พ่อครูเทศน์ความจริงที่ต่างจากอีกฝ่ายต่างหาก พ่อครูต้องการช่วยลูกศิษย์ของอีกฝ่ายที่ยังหลงทางอยู่ แต่เขายังไม่เข้าใจมีความเห็นแย้งอย่างเดิม

    ทุกข์ : รู้สึกขัดใจ

    สมุทัย : อยากให้จิตอาสาท่านท่านนั้นเข้าใจตามที่พ่อครูเทศน์ ชอบถ้าเขาเข้าใจถูก ชังที่เขาเข้าใจผิด

    นิโรธ : เขาจะเข้าใจตามที่พ่อครูเทศน์ว่าถูก หรือ เข้าใจผิด ก็ได้ ไม่ชอบ ไม่ชัง

    มรรค : วางความอยาก ความยึดว่าเขาต้องเข้าใจสิ่งที่พ่อครูเทศน์อย่างที่เราเข้าใจ ที่จริงเขาจะเข้าใจหรือไม่ก็ได้ ในเมื่อเราได้บอกเจตนาดีของพ่อครูให้เขาได้ทราบแล้ว ส่วนเขาจะเอาตามที่เราพูดหรือไม่ก็เป็นเรื่องของเขา เป็นการเสนอดีสลายอัตตาของเรา สละออกไปไม่พัวพัน ต้องไม่ไปร่วมวิบากกับเขา ตามบททบทวนธรรมข้อ18″เราทำดี ด้วยการช่วยไม่ให้คนอื่นทำผิดได้ “ก็ช่วย” แล้ว “วาง” ให้เป็นไปตามวิบากดีของเขา “ช่วยไม่ได้” ก็ “วาง” ให้เป็นไปตามวิบากร้ายของเขา เมื่อเขาเห็นทุกข์จนเกินทน จึงจะเห็นธรรม แล้วจะปฏิบัติธรรมสู่ความพ้นทุกข์” เมื่อได้พิจารณาตามบททบทวนความดังกล่าวแล้ว อาการรู้สึกขัดใจก็หายไปจิตใจก็กลับมาเบิกบาน แจ่มใสเหมือนเดิม

  37. เสาวรี หวังประเสริฐ

    เรื่อง งานที่ทำไม่เสร็จ
    ช่วงโควิดระบาดมีงานหลายอย่างเพิ่มเข้ามาจนงานประจำที่ทำอยู่ไม่ก้าวหน้าซึ่งขณะเดียวกันนั้นเวลาที่กำหนดไว้ จึงไม่ตรงตามแผน ทำให้เกิดอาการกังวลหวั่นไหวว่า จะทำอย่างไรดีกับสถานการณ์เช่นนี้
    ทุกข์:อยากทำงานประจำให้เสร็จทันเวลา
    สมุทัย: เหตุแห่งทุกข์ชอบที่จะทำงานให้เสร็จตามเวลาที่กำหนดชังที่งานไม่เสร็จ
    นิโรธ: สภาพดับทุกข์แม้จะทำงานเสร็จหรือไม่เสร็จตามเวลาที่กำหนดก็ไม่ชอบไม่ชัง ไม่กังวล
    มรรค:วิธีดับทุกข์พิจารณาจากเหตุการณ์ว่างานที่เราทำเป็นงานเร่งด่วนต้องทำก่อนงานประจำ การที่ทำงานประจำไม่ได้ตามกำหนดเวลานั้นต้องทำใจยอมรับและแก้ไขเท่าที่จะทำได้ พิจารณาบททบทวนธรรมสิ่งที่เราได้รับคือสิ่งที่เราทำมาไม่มีสิ่งใดที่เราได้รับโดยที่เราไม่เคยทำมา
    วางใจว่าเราทำเต็มที่เหนื่อยเต็มที่ไม่มีอะไรคาใจไม่เอาอะไรคือสุดยอดแห่งความอิ่มเอิบเบิกบานแจ่มใส เมื่อพิจารณาซ้ำๆก็ทำให้คลายทุกข์กังวล ลงได้แม้จะยังไม่ทั้งหมด

Comments are closed.