การบ้าน อริยสัจ 4 (22/2564) [32:45]

640530 การบ้าน อริยสัจ 4 (22/2564)

นักศึกษาสถาบันวิชชารามส่งการบ้าน อริยสัจ 4 ประจำวันที่ 24-30 พฤษภาคม 2564 (อ่านที่มาและรายละเอียดเพิ่มเติมของการบ้าน)

สัปดาห์นี้มีผู้ส่งการบ้านรวม 32 ท่าน 45 เรื่อง

  1. นางสาวสันทนา ประวงศ์
  2. ชนกนันท์ ฉัตรทอง (น้อมแสงศีล) (2)
  3. ธัญมน หมวดเหมน(มั่นแสงธรรม)
  4. ณ้ฐพร คงประเสริฐ
  5. อรวิภา กริฟฟิธส์
  6. นปภา รัตนวงศา (5)
  7. นางพรรณทิวา เกตุกลม (2)
  8. น.ส.ลักขณา แซ่โซ้ว
  9. ปิ่น คำเพียงเพชร
  10. อัญชลี พุ่มแย้ม (เย็นแสงธรรม) (2)
  11. วิภาภรณ์ กอจรัญจิตต์ (เอ ใจพอแล้ว))
  12. น.ส จรรญา ชุมจีด (สร้างกลิ่นศีล) (2)
  13. น.ส ชรินรัตน์ ชุมจีด (น้ำน้อมศีล)
  14. สุมา ไชยช่วย (3)
  15. จิรานันท์ จำปานวน
  16. นวลนภา ยุคันตพรพงษ์
  17. สำรวม แก้วแกมจันทร์
  18. พรพิทย์ สามสี (2)
  19. รมิตา ซีบังเกิด
  20. นางสาวนาลี วิไลสัก (2)
  21. นางก้าน ไตรยสุทธิ์
  22. สุนทรา เอี่ยมสุข (ดีบุญ)
  23. พลัฏฐ์
  24. จิราภรณ์ ทองคู่ (2)
  25. มะลิ
  26. ชื่อ น้ำร่มศีล กฤตจารุภัทร์ (เอเอ)
  27. ภาคภูมิ ยอดปรีดา (สร้างแก่นศีล)
  28. Ruam ketklom
  29. นางสาวิตรี มโนวรณ์
  30. ประคอง เก็บนาค
  31. เสาวรี หวังประเสริฐ
  32. พรพรรณ เอ็ทสเลอร์

Tags:

44 thoughts on “การบ้าน อริยสัจ 4 (22/2564) [32:45]”

  1. นางสาวสันทนา ประวงศ์

    เรื่อง : อยากพูดทันทีทันใด ดั่งใจหมาย

    เหตุการณ์ : เกิดจากเหตุการณ์เดิม ที่ได้พูดตัดหน้าเพื่อน และเห็นอาการใจหมองลงทันที รู้สึกผิด เพราะทำผิดศีลที่ตั้งไว้ ทำผิดเบียดเบียนเพื่อน พูดตัดหน้าเพื่อน ได้สำนึกผิด และขอโทษเพื่อนแล้ว ใจก็คลายหายหมองแล้ว ได้ล้างกิเลสตัวผิดศีลจบ ใจหายหมองแล้ว ต่อไปจะมาล้างกิเลสตัวที่ ๒ ตัวอยากพูด อยากพูดทันทีทันใด ดั่งใจหมาย ที่ยังมีอยู่

    ย้อนทบทวนเหตุการณ์เดิม ในขณะที่เพื่อนกำลังพูดอยู่ เราก็พูดเรื่องของเราตัดหน้าเพื่อนทันที (เราตั้งศีลสังวร สำรวมระวังอยู่ว่า ถ้าคิดอยากจะพูด จะไม่พูดทันที ตามใจอยาก) พูดไปจนจบเรื่องแล้ว เห็นอาการใจหมองลงทันที เริ่มรู้สึกอึดอัดใจ มีพลังงานความร้อนผ่าวๆ เกิดขึ้นทั่วตัว รู้สึกร้อนที่ฝ่ามือมากกว่าส่วนอื่นๆ รู้สึกผิดที่ไปพูดตัดหน้าเพื่อน อ้าวเราผิดศีลแล้วนี่ เราคิดอยากจะพูดอะไร ก็พูดออกมาเลย ตามใจตนเองตลอด (จับได้ว่ามีกิเลส ๒ ตัว ตัวผิดศีล กับตัวอยากพูด)
    ๑. ตัวผิดศีล ให้ชื่อเรื่องว่า เห็นใจหมองทันที ที่ผิดศีล
    ๒. ตัวอยากพูด ให้ชื่อเรื่องว่า อยากพูดทันทีทันใด ดั่งใจหมาย

    ทุกข์ : ทุกข์ใจ ใจหมอง หดหู่ อึดอัด รู้สึกทุกข์ รู้สึกผิดที่ไปพูดตัดหน้าเพื่อน

    สมุทัย : เกิดจากตัณหาความอยาก อยากพูดทันทีทันใด ดั่งใจเราหมายเอาไว้ ถ้าคิดอยากจะพูด จะพูดทันที ตามใจอยาก ตามความต้องการ ได้พูดทันทีเราจะสุขใจ รอนานไปไม่ได้จะทุกข์ใจ
    อุปาทาน ความยึดมั่นถือมั่น เรายึดว่าเราต้องพูดทันที ได้พูดทันทีจะสุขใจ ไม่ได้พูดทันทีจะทุกข์ใจ เราใจร้อน เร่งรีบ รีบร้อนทำตามใจ ที่เราเคยทำมา เคยสะสมมาก่อน

    นิโรธ : ได้พูดทันทีหรือไม่ได้พูดทันที และไม่ได้พูดเลย ก็ไม่ทุกข์ใจ

    มรรค : เห็นโทษ เห็นทุกข์ของการมีกิเลส ความอยากพูดอยู่ในใจ ที่ไม่ได้พูดแล้ว มีอาการอึดอัด ไม่สงบสบาย กระวนกระวาย ดิ้นรน กระสับกระส่าย ไม่แล้วใจ อยากพูดให้ได้ดั่งใจหมาย นึกถึงคำตรัสของพระพุทธเจ้า ปรารถนาได้สิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น นั้นก็เป็นทุกข์ ความยึดมั่นถือมั่น อยากพูดทันที ดั่งใจเรา ตอนได้ก็สะสมความสุขใจไว้ สะสมความได้ดั่งใจไว้ จนติดใจอยากได้ทุกครั้งๆ ถ้าวันใดไม่ได้พูดสมใจ ก็ต้องทุกข์ใจอย่างแรง เราได้เห็นอาการทุกข์นั้นแล้ว เวลาไม่ได้พูด ลองคิดดูว่าถ้าเราขยับตัวไม่ได้ พูดไม่ได้ แล้วอยากพูดมากๆ จะทุกข์แรงขนาดไหน ดิ้นรนทุรนทุรายขนาดไหน เห็นว่าไม่มีกิเลสตัวอยากพูด สบายใจกว่า สงบกว่า อิสระกว่า จึงตั้งศีลสังวร สำรวมระวังอยู่ว่า ถ้าคิดอยากจะพูด จะไม่พูดทันที ตามใจอยาก เพียรพยายามทำอยู่อย่างมีสติเท่าที่สามารทำได้อย่างเบิกบาน สาธุค่ะ

  2. ชนกนันท์ ฉัตรทอง (น้อมแสงศีล)

    เรื่อง..ความ”อยาก”ช่วยเหลือ
    เห็นเพื่อนทำงานในฐานงานคนเดียว ดูเพื่อนทำงานไป ในแต่ละวันที่เพื่อนมึฉันทะและเอาภาระมากๆ ก็คิดเมตตาอยากจะเข้าไปช่วยเหลือและแบ่งเบาภาระเท่าที่เราจะทำได้ และได้เข้าไปช่วยเป็นบางวัน เติมเต็มสิ่งเล็กๆน้อยๆเป็นบางวัน เพราะตัวเราเองก็มีฐานงานที่จะต้องทำเช่นกัน
    ทุกข์..ใจที่เห็นเพื่อนทำงานคนเดียว
    สมุทัย..ชอบสภาพที่ทำงานเป็นหมู่ ชังสภาพที่ต้องทำงานคนเดียว
    นิโรธ..ไม่ชอบ ไม่ชัง จะเห็นเพื่อนทำงานคนเดียวโดยไม่มีใครช่วยก็สุขใจได้ ไม่ทายใจเพื่อน ช่วยได้ก็ช่วย ข่วยไม่ได้ก็วาง ตามเหตุปัจจัยที่ทำได้ โดยไม่เบียดเบียนตนเอง และผู้อื่นเพราะเรากำหนดเราได้ เราเปลี่ยนแปลงเราได้ แต่เรากำหนดคนอื่น/เปลี่ยนแปลงคนอื่นไม่ได้
    มรรค..ได้ฟังธรรมจาก อ.จ หมอเขียว ในหัวข้อเรื่อง..การล้างอัตตกิลมถะ ตัวอัตตามานะด้วยธรรมะ หมวดพรหมวิหารสี่ ได้แก่ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา และบททบทวนธรรมในข้อ๖, การกระทำเดียวกัน มีเหตุผลในการกระทำกว่าล้านเหตุผล ต้องระวัง”อคติ หรือ ความเข้าใจผิด จากการคาดเดาที่ผิดของเรา.. สาธุ

  3. ชนกนันท์ ฉัตรทอง (น้อมแสงศีล)

    เรื่อง…เหนื่อยมั้ย?
    ในฐานงานที่ทำอยู่ มีเพื่อนในฐานงานที่จะใช้เสียงที่ดังในการสั่งงานและพูดเสียงดังเป็นปกติ และทุกครั้งที่เสียงมากระทบ ทำให้เราคิดว่า เพื่อนคงใช้พลังในการพูดแบบนี้เป็นเรื่องปกติ และคิดว่าเพื่อนจะเหนื่อยมั้ย?ที่ต้องใช้เสียงที่ดังในการสื่อออกไป ทำไม?เพื่อนพูดโทนเสียงธรรมดาจะได้มั้ย?
    ทุกข์..ใจที่เพื่อนใช้เสียงดังในการพูด
    สมุทัย..ชอบสภาพที่เพื่อนพูดโทนเสียงธรรมดา ชังสภาพที่เห็นเพื่อนพูดเสียงดัง
    นิโรธ..ไม่ชอบ ไม่ชัง ทำใจในใจ เพื่อนจะพูดเสียงดัง หรือพูดโทนเสียงธรรมดา ก็ไม่ทุกข์ใจ นึกถึงวิบากกรรมที่มีพัสสะมากระทบเรื่องเสียง เป็นเพราะเราเคยไปทำความรำคาญให้กับเพื่อนบ้านในการจัดงานเลี้ยงฉลอง จัดงานปาร์ตี้ เปิดเพลงเสียงดังที่บ้านบ่อยมาก และเคยตระคอกเสียงดังใส่ยาย เคยตระคอกเสียงดังใส่แม่ เคยตระคอกเสียงดังใส่ลูก เเละเคยตระคอกเสียงดังใส่พ่อบ้าน เป็นประจำทุกครั้งที่ไม่ได้ดังใจตัวเอง
    มรรค..สำนึกผิด ยอมรับผิด ขอโทษ ขอขมากรรม กับสิ่งที่เราเคยทำมา เคยส่งเสริมมา รับเต็มๆ หมดเต็มๆรับเท่าไหร่หมดเท่านั้น และใช้บททบทวนธรรมมาใช้ในข้อที่๗,หลัก๕ข้อที่นำพาชีวิต พ้นจากนรกตลอดกาลนาน
    อย่าทายใจผู้อื่น
    อย่าใส่ร้ายผู้อื่น
    อย่าโกหกผู้อื่น
    อย่าชิงชังผู้อื่น
    อย่าเบียดเบียนผู้อื่น ..สาธุ

  4. ธัญมน หมวดเหมน(มั่นแสงธรรม)

    ชื่อเรื่อง:ขัดใจกิเลส
    เนื้อหา:วันนี้มีพี่น้องได้นำรถบรรจุปุ๋ยน้ำ(โฮมาซอยด์)มาจอดให้ที่ข้างแปลงจึงถือโอกาสปลีกตัวจากหมู่กลุ่มมารดแปลงมะเขือที่ปลูกไว้แต่ไม่ค่อยได้ดูแลบำรุงเขาเท่าที่ควร เพราะบางครั้งก็ไปร่วมบำเพ็ญกับหมู่กลุ่ม ขณะที่รดปุ๋ยน้ำอยู่นั้นก็เห็นอาการว้าวุ่นที่กวนอยู่ในใจ คือมีความอยากที่จะรดให้เสร็จเร็วๆเพราะใจเราไปตั้งอยู่ที่แปลงรากบัวหิมะที่ปลูกไว้เมื่อ2-3วันก่อน และเราก็มีความยินดีที่เห็นต้นเขาสดชื่นดี จึงคิดว่าอยากไปรดปุ๋ยให้เขาอีก มันเห็นความอยาก ความใจร้อนของตัวเองที่อยากจะไปให้ได้เร็วๆ จึงคุยกับ(กิเลส)ตัวเองว่าถ้าไม่ไปจะได้ไหม แล้วทำไมต้องรีบขนาดนั้น กิเลสก็บอกว่าอยากไปเห็นเขาหน่อย(ต้นบัวหิมะ)เพราะเขางามเร็วดี อยากไปรดน้ำใส่ปุ๋ยให้เขาหน่อย เสียงพุทธะก็บอกว่าอ้าวในเมื่อเขาก็งามดีสดชื่นดีอยู่แล้ว แล้วก็เพิ่งรดน้ำไปเมื่อวานนี้เองไม่ใช่หรือปล่อยเขาบ้างก็ได้ ถ้าวันนี้ไม่ไปตรงนั้นแล้วช่วยใส่ปุ๋ยให้แปลงผักที่พี่น้องปลูกไว้บริเวณเดียวกันนี้แทนได้ไหม เพราะดูเขาก็แห้งๆเฉาๆเพราะแดดค่อนข้างแรงดีกว่าไหม พอพูดความจริงกับกิเลส(ในใจตัวเอง)เขาจึงเถียงไม่ออก แม้จับได้ว่าเขายังมีความรู้สึกเสียดายอยู่นิดๆแต่ก็ตัดรอบไม่ไป และรดปุ๋ยแปลงผักที่อยู่รอบๆกันนั้นจนถึงเวลากินข้าว
    ทุกข์:ใจร้อน กระวนกระวายใจ
    สมุทัย:อยากทำอะไรตามใจตัวเอง อยากได้ดั่งใจ
    นิโรธ:จะได้ทำในสิ่งที่อยากทำหรือไม่ได้ทำ(ในตอนนั้นที่จับอาการได้ว่าตัวเองมีความอยาก อยากได้ดั่งใจ)ก็ไม่ทุกข์ เพราะเราเห็นแล้วว่านั่นเป็นกิเลสของเราที่ต้องล้าง
    มรรค:เมื่อจับอาการได้ว่าเรามีความอยากและผลคือทำให้ใจเราไม่สบาย ว้าวุ่นใจ สติไม่อยู่กับสิ่งที่ทำอยู่ในปัจจุบันก็รู้ว่ามันเป็นกิเลส ที่ทำให้ใจเราทุกข์ ไม่แช่มชื่น ก็รู้ว่าเราควรกำจัดเขาออกย่อมดีกว่า เพราะถ้าเราทำตามใจเขา(กิเลส)มากไปเขาก็จะเรียกร้องไม่มีที่สิ้นสุดเพราะได้ดั่งใจตลอด และวันหนึ่งที่เกิดไม่ได้ดั่งใจขึ้นมาเราก็คงสติแตกแน่เพราะเอาเขาไม่อยู่ เราจึงต้องคอยอ่านและกำจัดเขาออกด้วยการฝึกไม่ทำตามที่เขาอยากทุกครั้ง แต่ถ้าเขามีความอยากที่แรงมากเราก็ผ่อนให้เขาบ้างลดละไปตามกำลังตามฐานของเราที่จะสู้ได้ทีละเรื่องทีละตัว ที่สำคัญคือเราต้องมีสติในการคอยรักษาจิตของเราไม่ให้ทำตามความอยากของกิเลสด้วยการคิดถึงทุกข์ โทษ ภัยของเขา แล้วเพียรล้างออก

  5. ณ้ฐพร คงประเสริฐ

    ลูกใครกันแน่

    หลานไม่ยอมเข้าเรียนออนไลน์ วันนี้ทางโรงเรียนเตรียมซักซ้อมเข้าระบบออนไลน์กันก่อนเปิดเทอมจริง ในช่วงจะเปิดเทอมใหม่เร็ว ๆ นี้ หลานเป็นเด็กเรียนเก่ง สนใจเรียนมาตลอด แต่ที่ไม่เรียนเพราะเตรียมตัวเดินทางไปอยู่กับพ่อและแม่ที่ต่างประเทศ ในสองเดือนข้างหน้า แต่สถานการณ์การระบาดหนักของ COVID-19 ที่เกิดขึ้นทั่วโลก แต่ละประเทศก็ปรับเปลี่ยนนโยบายกันตลอด

    ทุกข์ : อึดอัดใจ ที่หลานไม่เข้าซ้อมออนไลน์เตรียมเรียนเปิดเทอมใหม่

    สมุทัย : เห็นความยึดในความไม่เที่ยง กลัวว่าจะมีอะไรเปลี่ยนแปลงไม่เป็นไปตามแผนก็ได้ หลานน่าจะเรียนไปก่อนจนกว่าจะถึงวันไปจริงค่อยลาออกจะสุขใจ หลานไม่ยอมเข้าเรียนจะทุกข์ใจ

    นิโรธ : หลานจะเรียน หรือไม่เรียน ในระหว่างรอเดินทาง เราก็สุขใจได้

    มรรค : ทุกชีวิตมีวิบากกรรมนำมาเกิด ชีวิตหลานก็เป็นของเขา เราจะไปทำหน้าที่แทนพ่อแม่เขาทำไม พ่อแม่เขาวางแผนให้ลูกคนเดียวของเขาอย่างเต็มที่ตามกำลังของเขาและลูกแล้ว เราไม่ควรไปยุ่งกับการตัดสินใจของเขาเลย หากเขาขอให้เราต้องทำสิ่งใดให้ เราทำได้เราก็ทำ ทุกชีวิตเป็นอิสระต่อกัน เห็นความผูกพันกับหลาน รู้สึกขอบคุณ หลานและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้เราได้เห็นกิเลสตัวนี้ จึงพิจารณาเห็นโทษภัยที่เราไปติดยึดในความผูกพันที่มันน่าเกลียดมาก ๆ ทำให้เราเบียดเบียนตัวเองก่อนเลย หากปล่อยไว้อาจหลงไปเบียดเบียนผู้อื่นได้ แม้จะอยู่ในความคิดที่เรากำลังพิจารณาอยู่ว่ามันทุกข์ อึดอัดใจ ไม่ได้ดั่งใจ อยากได้ตามกิเลส มันยังอึดอัดขนาดนี้ ถ้าไปทำกับผู้อื่นอีก กรรมใหม่ก็เกิดอีกไม่รู้จบ คิดแล้วรู้สึกเข็ดแล้ว ๆ พอแล้ว ๆ เมื่อพิจารณาดังนี้ ก็เลยหยุดการกระทำลงได้ ใจก็เบา สบาย คลายความอึดอัดไปสิ้นเกลี้ยง ในโลกนี้ ไม่มีอะไรสำคัญเท่า การดับทุกข์ใจ ให้ได้ อะไรจะเกิดก็เกิด ใจไม่ทุกข์ก็แล้วกัน

  6. อรวิภา กริฟฟิธส์

    เรื่อง ใครขโมย
    หลายวันมานี้ว่าจะทำแปลงปลูกผักแต่ก็ไม่ได้ทำ วันนี้เลยตั้งใจทำสวนทันทีหลังจากเสร็จภาระกิจในครัว ในขณะที่เตรียมแปลงผักยังไม่ทันไรเลย ฝนเริ่มตกปอย ๆ ลงมา เห็นใจห่อเหี่ยวไม่สดชื่น เริ่มมีอาการเพ่งเล็งอยากได้จากผู้อื่น คืออยากให้พ่อบ้านมาช่วย คิดไปว่าถ้าท่านมาช่วยจะทำให้งานเสร็จเร็วดั่งใจเราหมาย
    ทุกข์ ใจห่อเหี่ยวไม่สดชื่น
    สมุทัย อยากให้งานเสร็จเร็วดั่งใจหมาย ยึดว่าถ้างานเสร็จเร็วจะสุขใจชอบใจ งานเสร็จช้าจะทุกข์ใจไม่ชอบใจ
    นิโรธ งานจะเสร็จเร็วก็ได้เสร็จช้าก็ได้ไม่ทุกข์ใจ เบิกบานยินดีเท่าที่ทำได้
    มรรค พอจับอาการห่อเหี่ยวได้ ก็พิจารณาเห็นว่าเราอยากได้มากกว่าที่เราทำได้จริง พอตัวเองทำไม่ได้สมใจอยาก ก็เพ่งเล็งอยากได้จากผู้อื่น ประพฤติตัวเป็นขโมย ผิดศีล ข้อ 2 ไม่ยินดีในความสามารถที่เป็นไปได้จริงของตัวเอง พอคิดได้อย่างนี้ก็รีบสำนึกผิด หยุดสิ่งที่ไม่ดีคิดจะเอาจากผู้อื่น เห็นโทษภัยที่คิดตามกิเลส ขนาดอยู่ในความคิดยังมีโทษถึงเพียงนี้ ใจจึงคลายจากความยึดมั่นถือมั่นที่จะเอาจากพ่อบ้าน เห็นความไม่มีตัวตนของกิเลส พอเราจับอาการมันได้ มันสลายตัวไปเลย เราได้พลังพุทธะคือความสดชื่นเบิกบานกลับมา งานจะเสร็จเร็วก็ได้เสร็จช้าก็ได้ เสร็จตอนไหนช่างหัวมัน ก็ทำงานต่อด้วยใจที่เบิกบานยินดี ฝนที่ตกปอย ๆ ก็หยุดลง ทำงานอยู่ในสวน 3 ชั่วโมงกว่า ๆ ก็เข้าบ้านเตรียมตัวไปทำงาน สรุปงานเสร็จในส่วนที่เสร็จ ส่วนยังไม่เสร็จก็ยังไม่เสร็จ แต่ใจไร้ทุกข์ค่ะ
    บททบทวนธรรม ของอาจารย์ ดร.ใจเพชร กล้าจน ข้อที่ 78 ความสมบูรณ์หรือความสำเร็จของกิจกรรมการงานคือความลวง ลวงให้ยึด ลวงให้ทุกข์ ส่วนความสำเร็จของใจที่พ้นทุกข์ พ้นความยึดมั่นถือมั่นคือความจริง สาธุค่ะ

  7. นปภา รัตนวงศา

    เรื่อง เหนื่อยหอบพ่อ ล้างกิเลสลูก

    เหตุการณ์ พ่อท่านเป็นโรคถุงลมโป่งพอง รักษากับแพทย์แผนปัจจุบัน กินยา พ่นยาเมื่อมีอาการช่วงนี้นอนรพ.เกือบทุกเดือนๆละ 3-5วัน ใช้แพทย์วิธีธรรมบ้างเช่น ลดการกินอาหารเนื้อสัตว์ลง ดื่มน้ำสมุนไพรปรับสมดุลย์ แช่มือแช่เท้า สวนล้างลำไส้บ้าง
    สภาวะตัวเองเห็นได้ชัดจากการเป็นพรหม 3หน้าลดลง ทำหน้าที่ลูกของพ่อที่ไม่ยัดเยียด บังคับให้ใช้แพทย์วิธีธรรมเหมือนก่อน จะทำเมื่อท่านร้องขอให้ช่วยด้วยความเต็มใจในฐานะลูก ความตึงเครียดจึงลดลง อาการท่านก็ดีขึ้น ยืดการนอนรพ.เป็นหนึ่งเดือนครึ่งถึง 2เดือน
    แต่มีเหตุการณ์คือ ท่านมีอาการเหนื่อยมา 4-5วันแล้ว ตอนแรกพ่นยาตอนเช้าวันละครั้ง จนเพิ่มเรื่อยๆจนมาเป็น 3-4ครั้ง/วัน ท่านไม่ยอมไปรพ.กลัวถ้าไปแล้วจะต้องนอนรพ. กลัวติดเชื้ออื่นเพิ่ม

    ทุกข์ กังวลใจพ่อไม่ยอมไปรพ.กลัวจะเป็นหนัก

    สมุทัย ชอบใจถ้ามีอาการเหนื่อยหอบพ่อยอมไปรพ. ไม่ชอบใจถ้ามีอาการเหนื่อยหอบแล้วไม่ยอมไปรพ.

    นิโรธ พ่อจะยอมไปหรือไม่ยอมไปรพ.ก็ได้ ไม่ชอบไม่ชัง ใจไร้ทุกข์

    มรรค มาพิจารณาความจริงว่า ทุกชีวิตย่อมรักสุข เกลียดทุกข์ ย่อมรักชีวิตตนเองมากที่สุด หวงแหนชีวิตตัวเองที่สุด ท่านประเมินตัวท่านแล้วละว่า ท่านยังไหวยังไม่ต้องพึ่งหมอ พึ่งยาฉีดเพิ่ม ยาที่มีอยู่และวิธีการที่ใช้อยู่ยังใช้ได้ ยังเอาอยู่ มาดูลีลาความคิดของมารกันค่ะ
    มาร :ทำไมพ่อไม่ยอมไปรพ.นะ เหนื่อยมากแล้วเดี๋ยวเป็นหนัก พ่นยาไม่อยู่ต้องใส่ท่อช่วยหายใจแย่แน่ๆเลย
    เรา :สรุปว่าห่วงพ่อหรือห่วงตัวเอง อ้าว! ห่วงตัวเองมากกว่า ห่วงว่าถ้าเป็นมากต้องใส่ท่อช่วยหายใจต้องเป็นภาระที่ต้องดูแลหนักกว่าเดิม ต้องย้ายไปรพ.ที่ใหญ่กว่าแล้วตัวเองจะลำบาก มาคิดใหม่ ซึ่งถ้ามันเกิดเหตุการณ์ขั้นนั้นจริงๆก็ต้องยอมตามวิบากดีร้ายที่สังเคราะห์กัน แต่ตอนนี้จิตที่คิดฟุ้งซ่านไม่อยู่กับปัจจุบันกลับมาพิจารณาใจที่คิดฟุ้ง ที่ทุกข์ผิดทางแล้วมารหลอกแล้ว ให้มาคิดแบบพุทธะ ทุกอย่างจัดสรรมาแล้ว ตามการกระทำดีร้ายที่ทำมา หาที่ต้นที่สุดไม่ได้ ก็ยอมรับในวิบากดีวิบากร้ายด้วยความยินดี พอใจ เต็มใจ ในทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้น เต็มใจรับได้ในทุกสถานการณ์ มาปฎิบัติที่ตนเองไม่ใช่ที่พ่อ เพิ่มศีลลดกิเลสทำกุศลควบคู่กันไป ก็โล่งใจพอเราวางใจ ท่านก็ร้องขอให้พาไปรพ.
    ใช้บททบทวนธรรมข้อ 3 “นับ 1ที่เราเริ่มต้นที่เรา ทำความดีที่เรา นี่คือเส้นทางเพื่อการพึ่งตนและช่วยคนให้พ้นทุกข์”
    ข้อ 5 “ชีวิตที่ไม่ได้หยุดชั่ว ไม่ได้ทำดี ไม่ได้ทำจิตใจให้ผ่องใส คือชีวิตที่ผิดพลาด คือชีวิตที่ขาดทุน คือชีวิตที่สูญเปล่า”
    ต้องขอบคุณพ่อที่กระทุ้งกิเลสตัวนี้มาให้ได้ล้าง
    สรุป หลังพิจารณาใจก็โปร่งโล่ง เบา สบาย พ่อยินดีเต็มใจไปรพ.ด้วยใจที่ไม่กลัว ไม่กังวล รพ. พ่นยาเพิ่มไม่ต้องฉีดยา หมอก็อนุญาตให้กลับบ้านมาดูแลตัวเองได้..สาธุ

  8. นางพรรณทิวา เกตุกลม

    เรื่อง มารมาพร้อมเหนื่อย
    เหตุการณ์ : ช่วยกันปลูกแตงไทยที่สวนท่าชนะในตอนเย็นพ่อบ้านเป็นคนขุดหลุม ตัวเองปลูกต้นกล้าตามหลังทีละหลุมๆด้วยการนั่งๆลุกๆแรกๆสดชื่นเบิกบานดีแต่พอปลูกไปหลายๆต้นเริ่มเมื่อยขาเมื่อยแขนจากการยกถาดเพาะไปตามหลุมรู้สึกเหนื่อย มารจะมาพร้อมกับความหิว ความเหนื่อยเสมอ

    ทุกข์ : รู้สึกท้อใจ ที่ปลูกแตงไทยเสร็จช้า

    สมุทัย : ใจร้อน เร่งรีบมีตัณหาล้ำหน้าอยากปลูกให้เสร็จเร็วๆ ชอบถ้าปลูกเสร็จได้เร็ว ชังที่ปลูกได้ช้า

    นิโรธ : จะปลูกได้เร็ว หรือ ช้า ก็เบิกบานได้ ไม่ชอบ ไม่ชัง

    มรรค : เมื่อรู้ว่ามารมาพร้อมกับความเหนื่อย จนเกิดความไม่ยินดีเพราะเราไม่ได้อยู่กับปัจจุบันแต่ใจร้อนมีตัณหาล้ำหน้าอยากได้เกินความจริงที่เป็นไปได้จริงในขณะนั้นแถมแว็ปไปเพ่งโทษพ่อบ้านว่า เอามาเยอะจะปลูกไม่ทันมืดก่อนแน่ พอได้สติหันมาดูใจแล้วปรับใจใหม่หันมาสร้างความยินดี ฮึกเหิม ห้าวหาญ มีชีวิตชีวาขึ้นมาแล้วขจัดมารด้วยบททบทวนธรรมข้อที่ 76 ว่า”ความสำเร็จของงาน ไม่ใช่ความสำเร็จของงาน ความสำเร็จของใจ คือ ความสำเร็จของงาน ใจที่ไร้ทุกข์ ใจที่ยินดี ใจที่ไม่ยึดมั่นถือมั่นว่า งานจะสำเร็จหรือไม่สำเร็จ เมื่อเราได้พยายามทำเต็มที่แล้ว เพราะเข้าใจเรื่องกรรมอย่างแจ่มแจ้ง” หลังจากนั้นมารออกไป ใจก็เย็นลงแล้วมาตั้งใจปลูกแตงไทยด้วยความยินดีไปเรื่อยๆในที่สุดก็เสร็จด้วยใจเบิกบาน ผาสุก

  9. น.ส.ลักขณา แซ่โซ้ว

    เรื่องอยากกินแหนมขนุนทอด

    ที่ภูผาฟ้าน้ำ แม่ครัวนำขนุนมาทำเป็นอาหารได้หลากหลายเมนู หนึ่งในนั้นก็คือนำมาทำแหนม ซึ่งขณะที่เราได้ยินว่ามีแหนมขนุนก็ไม่ได้รู้สึกอยากกินมาก แต่พอไปเห็นว่ามีแหนมขนุนทอดอยู่ในตู้มันรู้สึกใจสั่นอยากจะกินขึ้นมาทันที (หายใจเร็วขึ้นและรู้สึกว่ามีความร้อนเกิดขึ้นในร่างกายด้วย) เราได้เห็นอาการทุกข์ทางใจและทุกข์ทางกายที่เกิดจากการมีความอยากของกิเลสอย่างชัดเจน และพยายามคุยต่อรองกับกิเลส พอต่อรองให้น้อยๆ ชิ้นอาการใจสั่นก็ยังไม่หายไป จนต้องเพิ่มจำนวนให้กิเลสหลายชิ้นขึ้น อาการใจสั่นจึงหายไป

    ทุกขอริยสัจ : มีอาการใจสั่นเมื่อได้เห็นแหนมขนุนทอด อยากกินแหนมขนุนทอด
    สมุทัย : มีกิเลสความอยากกิน(กามตัณหา) ชอบที่จะได้กินแหนมขนุนทอด ชังถ้าไม่ได้กินแหนมขนุนทอด
    นิโรธ : ดับอาการอยากภายในใจให้ได้ จะได้กินหรือไม่ได้กินแหนมขนุนทอดก็ไม่ทุกข์ใจเพราะล้างความชอบความชังได้
    มรรค : พิจารณาโทษของกามคุณ5 (การเสพรูปรสกลิ่นเสียงสัมผัส) คือกองทุกข์ทั้งมวลและวิบากร้าย ซึ่งตอนนี้ก็มีสภาวะจริงให้เห็นอยู่ชัดๆ เกิดขึ้นกับตัวเราเองว่า เวลามีความอยากกินมันทุกข์ขนาดไหน ทั้งทุกข์ทางใจและทุกข์ทางกายอย่างเห็นได้ชัด ถ้าเรายังมีกิเลสกามตัณหานี้ ครั้งหน้าเมื่อเราอยากกินอีกก็ต้องทุกข์แบบนี้อีก ต้องแสวงหาไม่รู้จักจบจักสิ้น สำหรับกามตัณหาในอาหาร เรายังติดอยู่หลายตัว กิเลสเยอะมาก ดังนั้นเราจึงต้องเรียงลำดับในการล้างกิเลสความชอบในอาหารเป็นชนิดๆ ไป เพราะเรายังไม่มีกำลังเพียงพอที่จะล้างได้หมดทุกตัว สำหรับตัวแหนมขนุนนี้ถือว่าอยู่ในระดับของการละ ดังนั้น เราจึงต่อรองกับกิเลสเท่าที่ทำได้ แล้วก็ดูอาการ อ่านเวทนาทางใจว่ากิเลสยอมหรือไม่ยอม คือถ้ากิเลสไม่ยอมอาการใจสั่นก็จะไม่หายไป อันนี้เป็นสัญญาณที่บอกว่าเป็นอัตตะกิลมถะ (ตึงไป) แต่ถ้าเรากินตามใจปากโดยไม่ต่อรองกับกิเลสเลยอันนั้นคือเป็นกามสุขลิกะ (หย่อนไป) เราจึงต้องประมาณกำลังของเราให้ดีว่าเราควรจะสู้ในระดับไหน ที่จะเป็นการล้างกิเลสอย่างเบิกบาน ไม่ทรมานจนเบิกบูด ไม่หย่อนยานจนย่ำแย่ เราจึงต้องหาขีดที่พอดีที่เป็นการปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมของเราเอง(มัชฌิมา) ซึ่งอาจจะเหมือนหรือไม่เหมือนคนอื่นก็ได้ แต่ตัวชี้วัดที่เราเห็นได้คือ ใจเรายังผ่องใสเบิกบานได้  และกิเลสความอยากกินก็ลดลงไปตามลำดับ แม้ว่าจะได้ทีละเล็กทีละน้อยก็พอใจ

  10. นปภา รัตนวงศา

    เรื่อง แตนต่อยล้างกิเลส

    เหตุการณ์ วันนี้ได้เข้าสวนคนเดียว ตั้งใจจะไปรดน้ำต้นไม้ ขณะรอสลับเปิดปิดน้ำก็จะถางหญ้าและช่วยเอาเพื่อนพืชออกจากโคนต้นไม้ ขณะที่ถางหญ้าไปรบกวนตัวแตนออกมาหลายสิบตัว รู้ว่าโดนต่อยที่จมูก และโดนไล่ตาม ค่อยๆหันหลังกลับ แล้วค่อยๆเดินออกมาจากต้นไม้

    ทุกข์ กลัวจะโดนแตนรุมต่อย กลัวแพ้พิษ

    สมุทัย ชังถ้ามีอาการแพ้ตัวแตน ชอบถ้าไม่มีอาการแพ้ตัวแตน

    นิโรธ จะมีอาการแพ้หรือไม่มีอาการแพ้ตัวแตนก็ไม่ชอบไม่ชัง ใจไร้ทุกข์

    มรรค เมื่อโดนแตนต่อยก็มาพิจารณาที่ใจเลยว่า “กลัว”ไหม ก็มีกลัวเพราะมาสวนคนเดียว ถ้าแพ้หรือมีอาการก็กังวลไม่มีใครช่วยเหลือ ไม่มีใครเห็น เมื่อกลัว กังวลแม้เพียงเล็กน้อยก็ไม่ใช่แล้ว คิดแบบมารผิดทางแล้ว ก็มาคิดใหม่คิดแบบพุทธะ ว่า โชคดีอีกแล้ว ร้ายหมดไปอีกแล้ว รับเต็มๆหมดเต็มๆ สิ่งที่เราได้รับคือสิ่งที่เราทำมา ในเมื่อทำผิดศีล ทำวิบากร้ายมาหาที่ต้นที่สุดไม่ได้ วิบากร้ายเข้ามาก็ต้องรับ รับแล้วก็หมดไปก็จะโชคดีขึัน ที่ได้รับยังน้อยกว่าที่ทำมาอีก ก็เต็มใจรับด้วยความยินดี เต็มใจ โชคดีแล้วที่โดนต่อยแค่ตัวเดียว ทั้งที่ออกมาทั้งรัง วิบากทำมาเยอะใช้ทั้งปาก ทั้งหน้าตา ทั้งกิริยาท่าทางที่ไปจิกไปต่อยผู้อื่นไว้ก็สำนึกผิดยอมรับผิด ขอโทษ ขออโหสิกรรม จะหยุดทำสิ่งไม่ดีอันนั้น จะทำดีให้มากๆจะลดกิเลสให้มากๆ หลังทำใจไม่กลัว ไม่กังวลก็มาดูแลร่างกาย โดยใช้น้ำปัสสาวะทาอาการเจ็บแปล๊บๆก็ค่อยๆหายไป ไม่มีอาการใจสั่น มึนหัว หรือแพ้เพิ่มเติม ก็ทำงานต่อจนเสร็จ
    ใช้บททบทวนธรรมข้อที่ 25 เมื่อเกิดทุกข์ใจ ทุกข์กายเรื่องร้ายเข้ามาในชีวิต เขามาเพื่อให้เราได้ชดใช้ ให้เราไม่ประมาท ให้เราเพิ่มอริยศีล ให้เราได้สำนึก ให้เราได้หมดวิบาก

    สรุป หลังพิจารณาเข้าใจเชื่อและชัดในข้อ ไม่มีอะไรสำคัญเท่า การดับทุกข์ใจให้ได้ เมื่อไม่ทุกข์ใจเรื่องอื่นก็แค่ฝุ่นปลายเล็บจริงๆ..สาธุ

  11. นปภา รัตนวงศา

    เรื่อง อย่ามาหลอกกันเลย

    เหตุการณ์ เหตุเกิดจากเมื่อวานที่โดนแตนต่อย หลังจากแก้ทุกข์ใจเรื่องไม่กลัว ไม่กังวล ไม่หวั่นไหว ยินดีรับวิบากด้วยใจที่เป็นสุขแล้ว ก็มาแก้ที่ร่างกาย ทาน้ำปัสสาวะ พอกด้วยผงถ่านกับน้ำมันเขียว แช่มือแช่เท้า ดีท็อกซ์ ก็ยังมีอาการบวมตึงที่จมูกเล็กน้อย เข้านอนก่อน 3ทุ่ม ตื่นมามีอาการปวดเมื่อยตัวมาก เหมือนจะมีไข้ เปิดฟังธรรมะ ทำโยคะท่านอน กิเลสบอกว่า วันนี้ขอพักไม่เข้าสวนนะรู้สึกไม่ค่อยสบาย ปวดเมื่อยตัว

    ทุกข์ ใจขุ่นๆรู้สึกปวดเมื่อยตัว ไม่ค่อยสบาย

    สมุทัย ชอบถ้าร่างกายปกติสบายดี ชังถ้าร่างกายปวดเมื่อย ไม่ค่อยสบาย

    นิโรธ ร่างกายจะปกติหรือจะปวดเมื่อยไม่สบายก็ไม่ชอบไม่ชัง ใจไร้ทุกข์

    มรรค พิจารณาความจริงตามความเป็นจริง กุศลาธัมมา อกุศลาธัมมา ชีวิตเราจะดีอย่างเดียวเป็นไปไม่ได้ หรือจะมีแต่ร้ายอย่างเดียวก็เป็นไปไม่ได้ ชีวิตต้องมีทั้งดีทั้งร้ายตามวิบากดีร้ายเป็นธรรมดาไล่ล่าชีวิตทุกชีวิตตลอดเวลา หาที่ต้นที่สุดไม่ได้ ในเมื่อวิบากร้ายเข้ามาก็เต็มใจรับ ยินดีรับด้วยใจที่เป็นสุข โชคดีแล้วที่ร่างกายไม่สบาย ปวดเมื่อยตัวก็ดีแล้วร่างกายปวดเกร็งเพื่อจะให้รู้ว่าร่างกายกำลังมีพิษ ร่างกายพยายามเกร็งตัวเพื่อระบายพิษออก พร้อมทั้งได้ใช้วิบากร้ายด้วย รับแล้วก็หมดไป ก็จะโชคดีขึ้น ก็ยินดีเต็มใจ แต่กิเลสมาหลอกให้หยุดพัก มาดูลีลามารกันค่ะ
    มาร :โอ้ย! ปวดเมื่อยทั้งตัวเลย รู้สึกไม่สบาย วันนี้ขอหยุดไม่เข้าสวนนะ จะนอนพัก
    เรา :แนะ!เจ้ามารร้าย จับตัวขี้เกียจได้แล้ว ไม่เห็นปวดอะไรมากมายเลย เมื่อเช้ายังโยคะท่านอนได้อยู่เลย อาจารย์ก็ย้ำแล้วย้ำอีก ตั้งอยู่บนความลำบากกุศลธรรมเจริญยิ่ง อย่ามาหลอกเลย จะไปเข้าสวนนะ มารจะอยู่บ้านก็อยู่เลย แต่เราจะไปสวน ดูสิว่าไม่สบาย ปวดเมื่อยตัวมากจริงไหม?
    มาร :อ้าว! ทำไมครั้งนี้ไม่เชื่อ ยอมๆ ไปๆสวนด้วยกันก็ได้
    ใช้บททบทวนธรรมข้อ 133 อุปสรรคและปัญหาคือชีวิตชีวา

    สรุป หลังพิจารณาก็ได้เข้าสวนด้วยใจที่เป็นสุข เบิกบานไม่มีอาการปวดเมื่อยตัว หรือไม่สบายให้เห็นเลย เชื่อชัดเลยว่า กิเลสแม้น้อยก็เหม็นมากจริงๆ..สาธุ

  12. อัญชลี พุ่มแย้ม (เย็นแสงธรรม)

    – [ ] อริยสัจ 4

    – [ ] เรื่อง: อยากกลับบ้านที่ กทม กลัว ลูกติดโควิท

    – [ ] เนื้อเรื่อง : รู้สึกเป็นห่วงลูกมากในช่วงนี้ เพราะเราไม่ได้กลับบ้านที่ กทม ไม่ได้เจอหน้าลูกมา 8 เดือนแล้วเพราะมาบำเพ็ญอยู่ที่ ภูผาฟ้าน้ำ โดยปกติก็ไม่รู้สึกอะไรเพราะลูกก็โตแล้ว ก็คงดูแลตัวเองดี แต่เมื่อคืนมีคนข้างบ้านที่ กทม ไลท์มาบอกว่า แถวบ้านมี คนติดโควิท 2 คนแม่ลูก ซึ่งบ้านนั้นห่างจากบ้านไป 8 หลังทำให้เราเกิดความกังวล เกิดความทุกข์ เป็นห่วงลูก อยากกลับ กทม ไปดูแลลูก

    – [ ] ทุกข์: เกิดความทุกข์ใจเพราะมีคนแถวบ้านติดโควิท กลัวลูกจะติดโควิท แล้วจะไม่ได้เจอหน้าลูก

    – [ ] สมุทัย: รู้สึกมีความกังวลใจและทุกข์ใจ เพราะมีคนแถวบ้านที่ กทม ติดโควิค มีความกลัวและกังวลว่าลูกจะติดโควิทจากคนแถวบ้าน ซึ่งจะติดหรือไม่ติดก็ได้

    – [ ] นิโรธ: คิดได้ว่าถึงแม้ว่าเราจะกลับบ้านที่ กทม เราก็ไม่สามารถจะช่วยอะไรลูกได้หากลูกจะต้องติดโควิทหรือไม่ติดโควิท และหากเราจะต้องกลับ กทม เราก็ต้องขับรถไปซึ่งก็จะเป็นการเสี่ยงต่อการต้องติดโควิทอีกเมื่อคิดแล้วก็วางใจไร้กังวล และไม่คิดกลับ กทม อีก

    – [ ] มรรค: เมื่อพิจารณาอย่างถ้วนถี่แล้ว เราเชื่อในเรื่องของกรรม และวิบากดีร้าย ถึงแม้ว่าเราจะกลับ กทม ก็ไม่สามารถที่จะไปห้ามไม่ให้ลูกของเราติดโควิทได้อยู่ดีเพราะสิ่งที่ทุกคนได้รับก็คือสิ่งที่ทุกคนทำมา เราจึงวางใจและทำใจได้ว่าทุกคนมีกรรมเป็นของๆตนต้องได้รับผลของกรรมนั้น และได้รับวิบากดีร้ายที่เค้าเคยทำมา ดังบททบทวนธรรมของท่าน อาจารย์

    – [ ] ข้อที่: 108. กรรม…คือความจริง
    – [ ] ความจริงคือ…กรรม
    เชื่อชัดเรื่อง…กรรม
    คือเชื่อชัดความจริง
    เชื่อชัดความจริง
    จึงจะหลุดพ้นจากทุกข์ได้
    ข้อที่: สิ่งที่สร้างผลทุกวินาทีให้กับชีวิตคือ…
    วิบากกรรม
    – [ ] ชื่อ นางสาวอัญชลี พุ่มแย้ม (เย็นแสงธรรม)
    – [ ]

  13. อัญชลี พุ่มแย้ม (เย็นแสงธรรม)

    อริยสัจ 4

    เรื่อง: ส่งการบ้านล่าช้าไม่ทันเพราะเน็ตไม่มี

    เนื้อเรื่อง: มีการบ้านที่ทำเสร็จแล้ว 2 วิชา ซึ่งเป็นวิชาที่ต้องพิมพ์ทั้ง 2 วิชาและอีกวิชาหนึ่งมีรูปถ่ายประกอบด้วย เมื่อทำภารกิจเรียบร้อยก็เข้าในแบบฟอร์มส่งการบ้านเราก็ส่งปกติแต่ส่งไป 3 ครั้งเน็ตก็ไม่มีปรากฎว่า ส่งครั้งที่ 3 ข้อมูลที่เราพิมพ์ส่งไปหายทั้งหมด เราก็หงุดหงิดทุกข์ใจว่าต้องกลับมาพิมพ์ใหม่อีกทำให้เสียเวลาอีกและยังทำให้เราต้องส่งการบ้านที่เราตั้งใจจะส่งล่าช้าไปอีก
    ทุกข์: ต้องเสียเวลามาพิมพ์ใหม่ และทำให้เราส่งการบ้านช้าไปอีก
    สมุทัย: ทำให้เราเสียเวลา กับการที่จะต้องมาพิมพ์การบ้านใหม่และส่งการบ้านล่าช้าไปอีกในใจก็คิดว่าถ้ามีเน็ตข้อความที่เราพิมพ์ก็จะไม่หายเราก็จะส่งการบ้านได้ดังที่เราต้องการ
    นิโรธ: ถึงแม้ว่าการบ้านที่เราพิมพ์ส่งจะหายไปหมด และทำให้เราต้องมาพิมพ์การบ้านใหม่ทั้งหมดนั้นจะทำให้เราต้องเสียเวลาและส่งการบ้านล่าช้าออกไปอีกเพราะไม่มีเน็ตนั้น เราก็วางไม่สุขใจทุกข์ใจเพราะคิดว่ายังไม่ถึงเวลาที่เราจะได้ส่งการบ้านตามที่เราต้องการ ณ วาลานั้น
    มรรค: เมื่อมานั่งทบทวนแล้วก็คิดได้ว่า เป็นวิบากของเรา ณ กาลเวลานั้น ไม่ถึงรอบที่เราจะได้ส่งการบ้านจึงทำให้ไม่มีเน็ต และการที่ข้อมูลที่เราทำต้องหายไปทั้งหมดนั้นเค้าต้องการให้เรามีความอดทนและมีฉันทะในการที่จะต้องพิมพ์การบ้านใหม่ ดังนั้นเราก็วางใจถึงจะไม่มีเน็ต ข้อมูลจะหาย ส่งการบ้านล่าช้าเราก็ไม่สุขไม่ทุกข์ใจ แล้วกลับมาพิมพ์การบ้านใหม่ด้วยใจที่เบิกบาน
    สรุป: ถึงจะไม่มีเน็ต ข้อมูลจะหาย ต้องพิมพ์ใหม่ ส่งการบ้านล่าช้า เราก็วางไม่สุขไม่ทุกข์ใจ.

    ชื่อ อัญชลี พุ่มแย้ม (เย็นแสงธรรม)

  14. วิภาภรณ์ กอจรัญจิตต์ (เอ ใจพอแล้ว))

    วิภาภรณ์ กอจรัญจิตต์ (เอ ใจพอแล้ว)
    เรื่อง เวลาของใคร ใครก็หวง(ไหม)

    วันก่อนได้รับโทรศัพท์จากเพื่อนว่าขอให้ช่วยเป็นพิธีกรรายการที่ปกติเพื่อนทำอยู่ เพื่อนให้เหตุผลว่าช่วงนี้ไม่สะดวก อยากขอพักบ้าง และขอให้เราช่วยทำหน้าที่แทน ปกติรายการนี้ของเพื่อน เราก็เข้าช่วยอยู่บ้างแล้ว แต่ไม่เต็มที่ พอเพื่อนมาบอก ใจก็มีความลังเลว่า เราเองก็ไม่ค่อยว่าง ช่วงเวลาว่างเราก็มีไม่มาก เราเลยรู้สึกหวงเวลานั้น เพราะช่วงเวลาบ่ายสองถึงสามโมงครึ่ง เป็นเวลาที่เรามักจะใช้สรุปงานที่คั่งค้าง ทำคลิปวีดีโอ แพ๊คสินค้า ทำคอนเทนต์เพจ เขียนบทความ หลังจากนั้นก็จะไปออกกำลังกาย ก่อนกลับมาเข้ารายการซูมกับพี่น้องอีกทีช่วงเย็น

    ทุกข์ รู้สึกเสียดายเวลาที่เราจะใช้เคลียร์งานในแต่ละวัน

    สมุทัย มีความยึดว่าถ้าเราได้ใช้เวลานั้นทำงานของเราจะสุขใจ ถ้าเราไม่ได้ใช้เวลานั้นทำงานของเราจะทุกข์ใจ

    นิโรธ จะได้ใช้เวลานั้นทำงานของเราก็ไม่ต้องชอบ จะไม่ได้ใช้เวลานั้นทำงานของเราก็ไม่ต้องชัง

    มรรค พิจารณาโทษของการยึด ใจเรายึดว่างานของเราก็มีเยอะถ้าเราเอาเวลานั้นไปทำงานเราให้เสร็จก่อนค่อยไปช่วยคนอื่นจะดีกว่าไหม นั่นคือเสียงของกิเลสความเห็นแก่ตัวเลย เพื่อนมาชวนให้เราบำเพ็ญในรายการที่ได้ช่วยเหลือคนอื่น ช่วยให้ผู้เข้ารายการได้ดับทุกข์ใจ ช่วยให้คนพ้นทุกข์ แต่เรากลับเห็นแต่งานตัวเอง งานเราสำเร็จแล้วได้อะไร ความสำเร็จที่แท้จริง คือ การได้ล้างความยึดมั่นถือมั่นของใจต่างหาก เพื่อนมาชวนให้เราได้บำเพ็ญ เราได้ประโยชน์สามทางเลย คือ ได้เห็นกิเลส ได้ล้างกิเลส และได้บำเพ็ญ (ได้ชดใช้วิบากกรรมในคราวเดียวกัน) เราจึงตกปากรับคำเพื่อนด้วยใจยินดี และพร้อมทำหน้าที่อย่างเต็มกำลัง

    สรุป สุดท้ายเราก็ไปเป็นพิธีกรให้เพื่อน (จนกว่าเพื่อนจะพร้อมกลับมาทำหน้าที่ตามเดิม) ประโยชน์ของการไม่มีกิเลสตัวยึด ประโยชน์ของการบำเพ็ญ ประโยชน์ของการยอม เราเสียเวลางานของเราไป 1 วัน แต่เราได้บำเพ็ญกับพี่น้อง นั่นแหละคือดี ดีที่สุด ตามบททบทวนธรรมข้อที่ 125 อย่าปล่อยเวลาชีวิตให้สูญเปล่า ด้วยการไม่ลดกิเลส

  15. น.ส จรรญา ชุมจีด (สร้างกลิ่นศีล)

    เรื่อง เสียงดังรบกวนตอนสอบ
    เหตุการณ์ ตอนที่สอบ ว.บบบ.เราไม่ได้สอบพร้อมกับพี่น้องในตอนเย็นก็เลยต้องมาสอบตอนก่อนเที่ยงชึ่งเรามาสอบเป็นคนสุดท้ายพอเริ่มสอบก็มีการเปิดเสียงที่เป็นรายการดังขึ้นมาทำให้ไม่มีสมาธิใการสอบ
    ทุกข์ เสียงดังไม่มีสมาธิในการทำข้อสอบ
    สมุทัย ถ้ามีเสียงรบกวนเวลาทำข้อสอบเราจะทุกข์ใจ ถ้าไม่มีเสียงรบกวนเวลาทำข้อสอบเราจะสุขใจ
    นิโรธ จะมีเสียงรบกวนหรือไม่มีเสียงรบกวนในตอนทำข้อสอบเราก็ต้องสุขใจให้ได้
    มรรค อันดับแรกต้องรู้ว่าสื่งที่เราได้ร้บคือสี่งที่เราทำมาเราเยำเสียงรบกวนคนอื่นมาถ้าเราสามารถบอกได้ก็บอกบอกไม่ได้ก็วางใจยินดีรับยินดีใช้วิบาก

  16. น.ส จรรญา ชุมจีด (สร้างกลิ่นศีล)

    เรื่อง มีคนทำสกปรกบนพื้นครัว
    เหตุการณ์ ตอนที่จะมาทำอาหารที่ครัวตอนเช้า(ครัวอาจารย์)มาถึงก็เห็มีคนเทเสันวุ้นเส้นไว้บนพื้นเราก็คิดว่าอ๋อเราทำมาไม่โทษใครแต่มันชังความสกปรกอยู่

    ทุกข์ ไม่ชอบที่พื้นสกปรก
    สมุทัย ถ้าพื้นสะอาดเราจะสุขใจ ถ้าพื้นสกปรกเราจะทุกข์ใจ
    นิโรธ พื้นจะสะอาดหรือพื้นจะสกปรกเราก็ต้องสุขใจให้ได้
    มรรค ล้างความชอยชังในความสกปรกอยู่กับความสกปรกให้ได้อย่างสุขใจให้ได้สิ่งภายนอกเป็นสิ่งที่เราควบคุมไม่ได้มันเข้ามาเพื่อให้เราได้ใช้วิบากและล้างกิเลสตัวที่เรายังเหลืออยู่

  17. น.ส ชรินรัตน์ ชุมจีด (น้ำน้อมศีล)

    ส่งการบ้าน ทุกข์อริยสัจ

    เรื่อง. เสียค่าทำท่อประปาเกือบเสียท่ากิเลส

    เหตุการณ์. เนื่องจาก ได้ให้ช่างมาทำท่อประปาให้ที่สวน ทำเสร็จเรียบร้อยช่างคิดค่าทำ500 บ.เลยบอกกับช่างว่า แต่เราก็ช่วยด้วยนะ ตอนขุดหาท่อเราก็ขุดเองนะซึ่งมันยากมันลึกและก็เหนื่อยมาก แล้วคิดว่าถ้าเราไม่ขุดไว้ก่อนให้เค้าทำเองทั้งหมดแล้วเค้าจะไม่คิดเป็นพันเลยหรือ รู้เลยว่าตอนนั้นไม่ทันกิเลสจริงๆค่ะ แต่พอเมื่อตามรู้ทันก็ได้มาล้างกิเลสได้เบาใจลงตามลำดับค่ะ

    ทุกข์.ไม่พอใจที่ช่างคิดค่าทำประปาแพงเกิน
    สมุทัย.ยึดว่าถ้าช่างคิดค่าทำท่อประปาในราคาที่เราวางไว้ เราจะชอบใจจะสุขใจ เมื่อใจคิดว่าช่างคิดราคาแพงเกินที่คิดไว้จึงทุกข์ใจไม่ชอบใจ
    นิโรธ.วางใจ ช่างจะคิดราคาเท่าไรจะถูกหรือจะแพง จะตรงหรือไม่ตรงตามที่เราคิด ก็ไม่ชอบไม่ชังไม่ทุกข์ใจ
    มรรค. ตั้งศีลมาพิจารณาไตรลักษณ์ ความวิปลาส ความไม่เที่ยง เห็นความจริงตามความเป็นจริง เมื่อมีกิเลสที่ทำให้ทุกข์ใจ เมื่อมาพิจารณาก็เห็นถึงความยึดมั่นถือมั่นของความที่ใจอยากให้เป็นดั่งใจหมาย ที่เราหลงไปอุปทานไว้ ไปคิดว่าต้องเป็นดั่งใจเราหมายเราจะสุขใจ กิเลสก็หาข้ออ้างมาบอกเลยนะว่า เราก็ช่วยขุดด้วยนะมันลึกมากมันเหนื่อยมาก และก็เป็นญาติกันด้วยนะ ช่างไม่น่าจะคิดแพงไป คิดเหมือนจริง แต่คิดแล้วทุกข์ แสดงว่าคิดผิด เพราะช่างจะคิดแพงกว่านี้หรือถูกกว่านี้คิดเท่าไร่เราต้องเสียเท่าไหร่ ก็เป็นไปตามกุศลอกุศลของเรา เป็นสมบัติของเราที่เราต้องรับต้องใช้เราต้องยินดีเต็มใจรับเพราะก็เคยพลาดทำมามากกว่านั้น เมื่อรับแล้วก็หมดไปเราก็จะโชคดีขึ้น และโชคดีที่ได้เห็นกิเลส ได้เห็นทุกข์ ได้ล้างทุกข์ ได้ใช้วิบากกรรม
    ตั้งจิตสำนึกผิดยอมรับผิด ตั้งศีลหยุดทำสิ่งไม่ดีอันนั้น ทำสิ่งดีที่เป็นประโยชน์เท่าที่จะทำได้ตามฐานของตัวเอง ช่วยเหลือผู้อื่น
    เมื่อพิจารณาได้กิเลสก็เบาบางลงใจโล่งสบายขึ้น เมื่อเราวางใจได้ช่างก็ลดค่าทำท่อประปาให้ค่ะ

  18. สุมา ไชยช่วย

    เรื่อง ฟังเสียงธรรมพร้อมเสียงเพลง

    เหตุการณ์ เข้าห้องไลน์ฟังอปริหาริยธรรมอยู่ มีเสียงร้องเพลงคาราโอเกะแทรกดังมาก ทำให้ได้ยินเสียงธรรมไม่ค่อยได้ยิน

    ทุกข์ ไม่พอใจมีเสียงคาราโอเกะแทรกเสียงธรรมะดังมากทำให้ไม้ค่อยได้ยิน

    สมุทัย ชอบถ้าไม่มีเสียงเพลงคาราโอเกะแทรก ชังมีเสียงเพลงแทรกระหว่างฟังธรรม

    นิโรธ มีเสียงเพลงมาแทรกเสียงธรรมะหรือไม่มีก็ไม่ชอบไม่ชัง

    มรรค เมื่อได้ยินเสียงเพลงเกิดความไม่พอใจขึ้นมา
    มาร อะไรกันเนี่ยจะมาเปิดเพลงเสียงดังรบกวนชาวบ้านทำไมเนี่ย แล้วทำไมต้องมาเปิดตอนนี้ด้วยน่ะ
    เรา เสียงเพลงน่ะไม่เท่าไรแต่เสียงแกเนี่ยซิดังมากกว่า น่ารำคาญมากกว่าทุเรศมากกว่าอีก
    มาร อ้าวทำไมล่ะ
    เรา สิ่งที่เราได้รับคือสิ่งที่เราทำมา ไม่มีเหตุบังเอิญ เคยไหมล่ะทำเสียงรบกวนใครต่อใครน่ะ ยังมีหน้าไปว่าเขาอีก เต็มใจรับเต็มใจใช้วิบากจะได้เบาบางลง เข้าใจไหมล่ะ
    มาร เข้าใจ
    บททบทวนธรรมข้อ10
    เมื่อเกิดสิ่งเลวร้ายกับเรา
    ไม่มีอะไรบังเอิญ
    ทุกอย่างยุติธรรมเสมอ
    เพราะเราเคยทำเช่นนั้นมามากกว่านี้
    เมื่อได้รับแล้วก็หมดไป
    เราก็จะโชคดีขึ้น
    สรุปวางใจได้ความไม่พอใจก็หายไป

  19. สุมา ไชยช่วย

    เรื่อง ทุกข์เพราะยึดนี่เอง

    เหตุการณ์ เพื่อนลูกชายมายืมรถทั้งๆที่ตัวเขาก็มีแต่ทำไมมายืมรถลูกเราน่ะ

    ทุกข์ ไม่พอใจทำไมต้องมายืมรถ

    สมุทัย ชอบถ้าเขาไม่มายืมรถลูกเรา ชังมายืมรถลูกเรา

    นิโรธ เขามายืมหรือไม่ยืมรถก็ไม่ชอบไม่ชัง

    มรรค เมื่อรู้ว่ารถลูกโดนยืมเกิดความไม่พอใจ ว่ารถตัวเองก็มีทำไมไม่ใช้
    มาร อ้าวรถตัวเองก็มีทำไมไม่ใช้น่ะเมื่อวานยังเห็นใช้อยู่เลย
    เรา นั่นรถลูกเราไม่ใช่รถเราสักหน่อย
    มาร ก็นั่นแหละรถลูกเราก็เหมือนของเรานั่นแหละ
    เรา แล้วถ้าเขาไปยืมรถคนอื่นล่ะจะไม่พอใจไหมล่ะ
    มาร ก็ไม่น่ะ
    เรา ก็เพราะแกยึดไงว่าเป็นรถของๆลูกซึ่งของลูกก็เหมือนของแกใช่ไหมล่ะ จึงเกิดความหวงความไม่พอใจ ขึ้นมาแล้วทุกข์มากไหมล่ะ
    มาร ก็ทุกข์น่ะซิ
    เรา ต้องขอบคุณเพื่อนลูกชายที่ทำให้เห็นตัวยึดกับตัวหวง ต้องล้างความยึดมั่นถือมั่นและความหวง รถเป็นแค่วัตถุภายนอกเป็นวัตถุของโลกแบ่งปันกันใช้บางครั้งบางคราวก็ได้ เขาแค่ยืมไม่ได้ขอสักหน่อย ความยึดความหวงเป็นแรงเหนี่ยวนำให้คนทำตาม มันเป็นวิบากกรรม
    เพื่อนลูกอาจมีความจำเป็นก็ได้อย่าทายใจคนอื่นน่ะ เขาใจหรือยังล่ะ
    มาร เข้าใจแล้ว
    บททบทวนธรรม9
    ถ้าเรายังไม่เข้าใจคนอื่น
    แสดงว่า เรายังไม่เข้าใจตนเอง
    บททบทวนธรรมข้อ110
    ความเข้าใจ ความเชื่อ และ ชัด
    เรื่องกรรมเท่านั้น
    จึงจะคลายความยึดมั่นถือมั่นได้
    สรุปวางใจได้ความไม่พอใจความหวงคลายลงได้

  20. สุมา ไชยช่วย

    เรื่อง ผิดศีล

    เหตุการณ์ ข้างบ้านปลูกต้นกล้วยใบตองยื่นเข้ามาในเขตบ้านเรา เราเห็นว่ามีกล้วยน้ำหว้าสุกอยู่ที่บ้านก็เลยถือวิสาสะตัดใบตองที่ยื่นมาหนึ่งใบ เพื่อจะมาทำขนม (โดยครั้งก่อนต้นกล้วยโน้มมาบ้านเรามากเจ้าของเขาคงเกรงใจเลยมาตัดต้นกล้วยทิ้ง จนตอนนี้กล้วยโตขึ้นมา
    ใหม่เรากะว่าถ้าเจอเจ้าของ จะบอกว่าไม่ต้องตัดทิ้งนะเสียดายมันไม่ได้เกะกะบ้านเรา และจะบอกเขาว่าจะขอใช้ใบตอง แต่ยังไม่เจอเจ้าของสักที เลยยังไม่ได้บอก)ผลปรากฏตัดใบตองขาดปุ๊ป แขนไปเกี่ยวกับกิ่งมะม่วงหาวบ้านเราเป็นแผลยาวสามนิ้วเลือดไหลทันที

    ทุกข์ ตกใจแขนโดนกิ่งไม้เกี่ยวเลือดออก

    สมุทัย ชอบถ้าแขนไม่โดนกิ่งไม้เกี่ยวจนเป็นแผล ชังโดนกิ่งไม้เกี่ยว

    นิโรธ แขนจะโดนกิ่งไม้เกี่ยวหรือไม่โดนก็ไม่ชอบไม่ชัง

    มรรค ตกใจเมื่อโดนกิ่งไม้เกี่ยวจนเป็นแผลยาวสามนิ้วเลือดออกทันที รู้ทันทีเลยว่าผิดศีลลักขโมยของที่เจ้าของยังไม่อนุญาตให้ จึงตั้งจิตยอมรับผิด สารภาพผิด สำนึกผิดทันที การทีมีกิเลสอยากได้แม้น้อยนิดก็มีวิบากกรรมทันที
    วิบากกรรมมีจริง ทำอะไรย่อมได้รับผลกรรมนั้น
    อย่างแน่นอน เราต้องมีสติอยู่กับปัจจุบันให้มากๆ ส่วนเรื่องบาดแผลก็ใช้น้ำปัสสาวะทาหลายๆรอบเลือดก็หยุดไหล
    บททบทวนธรรมข้อ๑๔
    ไม่มีชีวิตใดหนีพ้น
    อำนาจแห่งกรรมไปได้
    ทำกรรมดีย่อมได้รับผลดี
    ทำกรรมชั่วย่อมได้รับผลชั่ว
    พิจราณาเรื่องวิบากกรรมมีจริงความตกใจก็หายไป

  21. นางพรรณทิวา เกตุกลม

    เรื่อง เล็งต้นไม้เห็นมาร
    เหตุการณ์ : วันนี้ช่วยกันปลูกต้นยางนาและมะฮอกกานีที่เคยปลูกแต่ตายจึงปลูกซ่อมตรงตำแหน่งเดิมตัวเองเป็นคนเล็งไปหาตำแหน่งที่พ่อบ้านรอขุดหลุมอยู่แต่เล็งเท่าไหร่เราก็เห็นว่ายังไม่ตรง ได้ยินพ่อบ้านพูดว่า เล็งอย่างนั้นได้อย่างไร ไม่ตรงหรอก

    ทุกข์ : เกิดหงุดหงิดในใจ

    สมุทัย : ยึดมั่นถือมั่นในตัวเอง อวดดี ไม่อยากให้ให้พ่อบ้านชี้แนะในการเล็งให้ต้นไม้ตรงกัน ชอบถ้าพ่อบ้านไม่ชี้แนะ ชังที่เขาชี้แนะ

    นิโรธ : ไม่ชอบ ไม่ชัง แม้พ่อบ้านจะชี้แนะ หรือไม่ ก็ได้ ใจเบิกบาน

    มรรค : พอจับ หงุดหงิดได้ รู้ว่าหลงเชื่อมารเข้าแล้วรีบสำนึกผิด ยอมรับผิด ล้างความหงุดหงิดออกไปหยุดทำสิ่งที่ไม่ดีจากการสวนพ่อบ้านว่า “ช่วยเล็งแล้วยังไม่ได้ ไม่ดี อย่างนี้ต้องทำคนเดียวแล้วหล่ะ” เนื่องจากพ่อบ้าน พูดก่อนว่า “เล็งอยู่แต่ยอดอย่างนั้น ไม่ตรงหรอก ต้องเล็งที่โคนโน่น แถมบ่นอีกว่า บอกแล้วมีอารมณ์”พอจบต่างคนต่างเงียบแต่ยังช่วยกันทำงานต่อจนเสร็จ ได้นึกถึงบททบทวนธรรมข้อที่10 ว่า”เมื่อเกิดสิ่งร้ายกับเรา ไม่มีอะไรบังเอิญ ทุกอย่างยุติธรรมเสมอ เพราะเราเคยทำเช่นนั้นมามากกว่านั้น เมื่อได้รับก็หมดไป เราก็จะโชคดีขึ้น”ร่วมกับข้อที่ 67ว่า”สิ่งที่ดีที่สุดในโลก คือ คบและเคารพมิตรดี ไม่โทษใคร ใจไร้ทุกข์ ทำดีเรื่อยไป ใจเย็นข้ามชาติ”มาขจัดมารให้สิ้นเกลี้ยง พิจารณาแล้วได้เห็นจริงตามนั้น เราเคยยึดดี ยึดความสมบูรณ์ เป็นระเบียบ ต้องตรง ไม่ตรงรื้อใหม่ ที่เราได้รับนี่น้อยกว่าที่เราทำมามากแต่เราโชคดีที่มีมิตรดีคือ พ่อบ้านที่ช่วยงัดมารร้ายในจิตเราออกมาให้เห็นชัดขึ้นว่าเรายังมีมารเหลืออยู่ เห็นแล้วรีบล้างมันออกไปได้
    จึงต้องขอบคุณพ่อบ้านเป็นที่สุด
    สุดท้าย เมื่อเจอมาร จับมารได้แล้วรีบขจัดมารออกไป ใจก็เบา โล่ง เบิกบาน ผ่องใส

  22. จิรานันท์ จำปานวน

    เรื่อง : กุญแจ ไขกิเลส

    เหตุการณ์ : เมื่อวานเข้าไปในหมู่บ้านพร้อมแม่ ต่างคนต่างแยกย้ายกันไปทำงาน แต่เราจะกลับมาก่อนไม่รอกลับพร้อมแม่ เดินมาดูมอเตอร์ไซค์ ปรากฏว่าไม่มีกุญแจ เดินไปดูในบ้านก็ไม่มี ถามพ่อพ่อก็บอกว่าไม่เห็นนะ เฮ้อ ต้องรอกลับพร้อมแม่อย่างนั้นรึ

    ทุกข์ : ขุ่นใจที่ต้องรอกลับพร้อมแม่

    สมุทัย : ชอบที่ไม่ต้องรอกลับพร้อมแม่ ชังที่ต้องรอกลับพร้อมแม่

    นิโรธ : จะต้องรอกลับพร้อมแม่ หรือไม่ต้องรอกลับพร้อมแม่ ก็ไม่ชอบไม่ชัง

    มรรค : เมื่อเจอเหตุการณ์มารมันดิ้นใจขุ่นขึ้นมาทันทีเลย
    มาร : โอ้โห จะไปไหนก็ไม่เอากุญแจรถไว้ให้เรา รถก็รถเรา จะไปไหนก็ไม่ได้ไปดั่งใจหมายเลย อะไรกันเนี่ย
    เรา : จะมาอะไรกงอะไรกัน ไม่ได้ไปดั่งใจหมาย แล้วจะมาทวงนั่นทวงนี่งั้นรึ
    มาร : ก็อยากกลับตอนนี้ ไม่อยากรอ กว่าแม่จะมา
    เรา : จะรีบไปไหน รอนิดรอหน่อยไม่ได้หรือไง รีบมาทั้งชีวิต แล้วพ้นทุกข์ไหม
    มาร : ไม่พ้นโว๊ย แต่ไม่อยากรอแล้ว ไปไหนก็ต้องรอตลอด ไม่มีอิสระเลย
    เรา : ผิดทางแล้ว ถ้าคิดแบบนั้นมันก็ทุกข์น่ะสิ อิสระคืออิสระจากเธอนั่นแหละ ไม่มีกิเลสคืออิสระที่แท้จริง

    สรุป ใจที่ขุ่นก็คลายลง ขอบคุณแม่ที่ไม่ได้เสียบกุญแจไว้ที่รถ ไม่งั้นคงไม่เห็นกิเลส ตรงบททบทวนธรรมข้อ 114 คุกที่แท้จริง คือ กิเลส เป็นทุกข์ตัวแท้ ที่คอยกักขังความทุกข์ และความชั่วในใจ สาธุ

  23. นวลนภา ยุคันตพรพงษ์

    ด้ามรถเข็นข้าว เด้งดีดใส่กกหู

    เนื่องจากช่วง covid-19 ไม่มีการให้เข้าพื้นที่ จึงต้องนำสินค้าต่างๆหยิบยื่นให้เป็นการขายระยะห่าง เพื่อความไม่ประมาท โดยทั้งผู้ซื้อและผู้ขายสวมหน้ากาก ผลิตภัณฑ์อื่นๆหยิบยื่นให้ได้อย่างสบาย แต่ข้าวแม้จะเป็นถุง 2 กิโล แต่เมื่อต้อง เข็นแบบยกกระสอบ และ เพิ่งพึ่งตนด้วยตัวเอง เข็นข้าว 1 กระสอบเท่ากับ 20 กิโลกรัม ฝึกฝนจนข้อมือเริ่มแข็งแรงขึ้น วันแรกที่เห็นก็อย่างระมัดระวัง แต่พอเริ่มเคยชิน ก็ประมาท จนไม่ได้ระวังให้ดีพอ ทำให้ด้าม รถเข็น เด้งกลับมา ระหว่างที่กระสอบข้าว ขึ้นไปอยู่บนรถ

    ทุกข์ : จากการที่ด้ามรถเข็นข้าวเด้งตีใส่กกหูอย่างเร็วและแรง

    สมุทัย : สุขใจ ถ้าเข็นข้าวด้วยความราบรื่น ด้ามหูจับของรถเข็นไม่เด้งตีมาที่กกหู ทุกข์ใจกังวลว่าจะเจ็บปวดฟกช้ำจากการกระแทก

    นิโรธ : สุขใจ แม้ด้ามรถเข็นจะตีที่กกหูหรือไม่ตีก็ตาม ไม่ถูกใจกลัวกังวลว่าจะ เจ็บปวดทรมาน ความคิดแบบเนกขัมมะผุดขึ้นว่า โชคดีแล้ว เห็นภาพที่เคยไปดีดหูหมาสมัยเมื่อยังเป็นเด็กเลี้ยงสุนัขชอบไปดีดหลังใบหูเพื่อทำโทษเขา รู้สึกถึงความเจ็บปวดทรมานที่เขาได้รับ จากการคิดไม่เท่าทันของเราเมื่อสมัยยังเด็ก ดีแล้วที่มาได้ล้างวิบากแบบนี้ อาการ ที่คิดว่าน่าจะแย่และเจ็บปวด กลับมลายหายเป็นปลิดทิ้ง ไม่ฟกช้ำดำเขียวปวดบวมใดๆเลย และทำการเข็นข้าวต่อมาให้กับ ผู้ที่มาซื้ออย่างสบายใจ

    มรรค : หนทางที่เดินสู่ ความพ้นทุกข์ด้วยการ สำนึกผิด ยอมรับผิด ที่เคยทำวิบากกรรมกับสุนัขที่เคยเลี้ยงมาตลอด พิจารณาไตรลักษณ์ว่ามันจะไม่ได้เจ็บอย่างนี้ตลอด อีกทั้ง ใช้โพชฌงค์ 7 มีสติตั้งมั่นวา เราเป็นผู้ประมาทเอง ตามกฎโน้มถ่วงแห่งโลกเมื่อของมีน้ำหนักไปกระทบต่ออีกสิ่งหนึ่งย่อมเด้งดีดวัสดุเราเราเป็นผู้กระทำเอง มีใจยินดีกับวิบากร้ายที่เกิดจากการกระทำของตนเอง เกิดปิติที่ได้ชดใช้วิบาก แค่สำนึกผิดและยอมรับผิดขอโทษขออโหสิกรรมอย่างแรงกล้าไปยังสุนัขเลี้ยงที่เคยทำผิดต่อเขา ไม่น่าเชื่อว่าจะไม่เกิดอาการปวดหูใดๆเลย ประกอบกิจการการงานได้ต่อเนื่อง ด้วยความ ปิติมีสมาธิตั้งมั่นในการเข็นกระสอบข้าวและ ถ่ายทอดเรื่องให้กับผู้มาซื้อ ทำให้เขายังได้ นึกถึงว่าตอนเด็กๆ เคยทำเช่นนั้นมาก่อนเหมือนกัน ดาม บททบทวนธรรม ข้อที่ 8 สิ่งที่เราได้รับคือสิ่งที่เราทำมา ไม่มีสิ่งใดที่เราได้รับ โดยที่เราไม่เคยทำมา และบททบทวนธรรมข้อที่ 10 เมื่อเกิดสิ่งเลวร้ายกับเราไม่มีอะไรบังเอิญ ทุกอย่างยุติธรรมเสมอ เพราะเราเคยทำเช่นนั้นมามากกว่านั้นเมื่อได้รับแล้วก็หมดไป เราก็จะโชคดีขึ้น และเมื่อเรา เจริญสติ ธัมมวิจัยพิจารณา ด้วยวิริยะความเพียร เกิดปิติความอิ่มใจสงบ(ปัสสัทธิ)มีสมาธิจิตตั้งมั่นจนเป็นกลางอุเบกขาด้วยโพชฌงค์ 7 ( พระไตรปิฎกเล่มที่ 19 จักกวัตติสูตร ข้อ 505-507 ) เกิดความอิ่มใจ ปิติ ตัดไปจนถึงอุเบกขา ที่จะมีความยินดีในการทำงาน แม้จะเหนื่อยนะ แต่เมื่อทำจิตให้ปภัสรา ก็ผ่องใส แม้กายที่จะต้องบาดเจ็บก็ไม่เกิดอาการใดๆใจ เป็นสุข ได้กับทุกสถานการณ์

    เมื่อเกิดเรื่องร้าย หรือโรคร้าย สามารถดับได้ในเสี้ยววินาที เพราะจิตเป็นประธานของสิ่งทั้งปวง ไม่ได้ผิดศีล เดินโพชฌงค์ 7 สู่มรรคมีองค์ 8 คงสภาพในความเป็นอุเบกขา ทำดีเท่าที่ทำได้ ด้วยใจไร้ทุกข์ใจดีงาม แผ่ไปยังผู้ที่ มาเยือน ให้สุขสบายใจ ยิ้มหัวเราะไปด้วย ธาตุเนกขัมมะบังเกิดดังที่กล่าวในสนิททานสูตร (พระไตรปิฎกเล่มที่16/359/166)

    เย็นน้อมพุทธ
    640527

  24. สำรวม แก้วแกมจันทร์

    29/05/64
    ชื่อเล่น “ป้ารวม”
    ชื่อทางธรรม “ร้อยแสงศีล”
    จิตอาสา สวนป่านาบุญ 2

    เรื่อง “น้ำหวาน! พอแล้ว… ่”

    เหตุการณ์ เพื่อนโทรศัพท์มาขอดอกอัญชัน จึงเต็มใจเก็บดอกอัญชันได้เยอะมากให้เพื่อนทำน้ำอัญชัน เพื่อนำไปถวายพระผู้ใหญ่ เพื่อนมีน้ำใจเอาน้ำอัญชันมาให้ 6 ขวด (ขวดเล็ก) เขาตั้งใจเอามาให้ จึงกินน้ำหวานอัญชัน กิเลสบอกว่า “อร่อยดี” แต่ตัวเองว่าหวานจัดมาก หวานจนแสบคอเลย (ได้ตั้งศีล ลด ละ ขนมหวานและน้ำตาล 2-3 ปีแล้ว) ครั้งนี้กินน้ำอัญชัน ประมาณ 1/2 ขวด (ขวดเล็ก) มีอาการสำลัก ระคายคอ และไอทันที อย่างต่อเนื่อง 7-8 ครั้ง และไอเป็นระยะๆ 1-2 วัน ที่เป็นเช่นนี้เพราะร่างกายไม่ต้องการความหวานเพิ่มแล้ว จึงผลักโดยการไอเป็นการขับพิษ คือ ความหวานจากน้ำอัญชันเป็นพิษที่ร่างกายไม่ต้องการแล้ว จิตวิญญาณที่บริสุทธิ์ รับรู้ว่า “น้ำหวาน พอแล้ว”

    ทุกข์ : ชัง ที่มีอาการไอ

    สมุทัย : ถ้าไม่กินน้ำหวาน ไม่มีอาการไอ ชอบใจ พอใจ สุขใจ แต่พอกินน้ำหวาน ไอทันที จึงชัง ไม่พอใจ ทุกข์

    นิโรธ : กินหรือไม่กินน้ำหวาน ไอหรือไม่ไอ ก็พอใจกับทุกเหตุการณ์ได้ ไม่ชอบ-ไม่ขัง วางใจเป็นอุเบกขา เบิกบานได้ ไม่ทุกข์

    มรรค : ใช้สติตั้งมั่น สงบนิ่ง ทบทวนตัวเอง ถึงเหตุการณ์, วัตถุที่มากระทบ ผัสสะให้เห็น ให้รู้ตรวจถึงใจลึกๆ ด้วยเหตุที่เป็นโรคภูมิแพ้ เมื่อมีอะไรที่เป็นส่วนเกินเข้ามาในร่างกาย ที่ร่างกายไม่ต้องการ มีพลังงานที่มหัศจรรย์ของร่างกายขับออก ดันออก เป็นอัตโนมัติ ทันที เช่นครั้งนี้ ไม่รับน้ำอัญชันที่หวานจัด รีบขับออก ดันออก ด้วยอาการไอขับพิษออกทันที เพราะร่างกายไม่ต้องการความหวานแล้วปฏิเสธทันที แม้กิเลสบอกว่า กินเป็นวัคซีน กินเพื่อเรียนรู้ เมื่อกินเข้าไป ร่างกายไม่รับแล้วจึงผลักเร็ว ผลักทันที ผลักจริง

    ใช้ปัญญา พิจารณา ใคร่ครวญ ไตร่ตรองถึงคำสอนของอาจารย์หมอ ที่ว่า “กิเลสแม้น้อย ก็เหม็นมาก” ระลึกรู้แจ้งกิเลส แค่ “รู้แล้ว! ละ!.. ” ยังไม่พอ ควรต้องยินดี พอใจ ในการปฏิบัติให้ถึงการสงบใจจากกิเลส อย่างตั้งมั่นที่เป็น “อุเบกขา” ไม่ทุกข์ได้ ตรงกับบททบทวนธรรม บทที่ 25 “เมื่อเกิดทุกข์ใจ ทุกข์กาย เรื่องร้ายเข้ามาในชีวิต เขามาเพื่อให้เราได้ชดใช้ ให้เราไม่ประมาท ให้เราเพิ่มศีล ให้เราได้สำนึก ให้เราได้หมดวิบาก จึงตั้งอธิศีลเพิ่มว่า จะไม่ประมาทในการบริโภค จะประมาณในการกินให้ละเอียดมากยิ่งขึ้น” เป็นลำดับๆ จะได้หมดวิบาก คือ “ไอ!..หาย..” ได้จริง

    เมื่อเห็นกิเลสในความหวาน ก็วางใจว่า ไม่ชอบ-ไม่ชัง ในความหวาน ใจเบิกบานดี ไม่ทุกข์แล้ว

  25. พรพิทย์ สามสี

    เรื่อง : กังวลนิดๆว่ากลัวเพื่อนไม่ส่งเงิน
    ไปค้ำประกันให้เพื่อน ไปค้ำให้ตั้งแต่ยังไม่รู้จักแพทย์วิถีธรรม เป็นกลุ่มออมทรัพย์ประจำหมู่บ้าน เงินที่เพื่อนกู้ไป หลักแสนอยู่ เพื่อนให้เหตุผลว่า ลูกเรียนระดับสูง มีค่าใช้จ่ายเยอะ
    และอื่นๆอีก เกือบ 3 ปี แล้วที่เพื่อนไม่ได้ส่ง
    เงินต้น เลย เพื่อนบอกว่าขอเวลาอีก 2-3 ปี
    ทุกข์ : เจ็บถ้าไม่จ่าย
    สมุทัย : ชอบที่จะให้เพื่อนเอาเงินมาจ่ายเรื่อยๆ จนกว่าจะหมด ชังที่เพื่อนคิดไม่เป็น
    นิโรธ : เพื่อนจะเอาเงินมาจ่าย ไม่จ่าย ยอมรับวิบาก ว่าเราทำมา
    มรรค : มาร : ก็เขาคิดไม่เป็น ในเมื่อไม่มีเงินมากพอที่จะส่งลูก ก็ให้ลูกหยุดเรียนได้ไหม
    เรียนจบไปก็ไม่แน่ว่าจะมีงานทำไหม
    ศีลเด่นเป็นงาน ชาญวิชา จะดีกว่าไหม
    บทธบทวนธรรม ๑๐
    เมื่อเกิดสิ่งเลวร้ายกับเรา ไม่มีอะไรบังเอิญ
    ทุกอย่างยุติธรรมเสมอ เพราะเราเคยทำเช่นนั้นมามากกว่านั่น เมื่อรับแล้วก็หมดไป
    เราจะโชคดีขึ้น
    บท ๑๒ วิบากกรรมมีจริง ทำอะไร ได้ผลอะไร ก็เกิดจากการกระทำ
    ของเราเองทั้งหมด เจอเรื่องดีเพราะทำดีมา
    เจอเรื่องไม่ดีเพราะทำไม่ดีมา
    ทั่งป้จจุบันและอดีต
    สังเคราะห์กันอย่างละ ๑ ส่วน
    ก็เลยวางใจได้บ้าง แม้นไม่ได้เต็ม 100

  26. รมิตา ซีบังเกิด

    รมิตา ซีบังเกิด
    เรื่อง ซ่อมบ้านซ่อมใจ
    เหตุการณ์ :
    จ้างช่างมาซ่อมหลังคาบ้านที่รั่วและติดกันสาดใหม่กันฝนสาด ทำงานอยู่ 6 วันเต็ม หลังจากช่างกลับไปแล้วปรากฎว่าหลังคายังรั่ว และฝนยังสาด เหตุเพราะเราบอกให้ทำตามที่เราต้องการแต่เขาไม่ฟังบอกว่ารับประกันไม่รั่ว ไม่สาด โทรไปบอกช่าง เขาว่าจะมาซ่อมให้ใหม่
    ทุกข์ : ขัดใจที่ช่างไม่ซ่อมบ้านตามที่เราต้องการ
    สมุทัย : ชอบใจที่ช่างซ่อมบ้านตามที่เราต้องการ ชังที่ช่างไม่ซ่อมบ้านตามที่เราต้องการ
    นิโรธ : ช่างซ่อมบ้านตามที่เราต้องการหรือไม่ก็ไม่ชอบไม่ชัง
    มรรค : หลังจากเหตุการณ์ผ่านไปมาคิดทบทวนว่า เป็นเพราะอะไรที่ช่างไม่ทำตามที่เราต้องการ เพราะเราจ้างเขามาเราก็จ่ายเงินค่าแรงครบถ้วน และเลี้ยงข้าวกลางวันพร้อมขนมและน้ำทุกวัน จนงานเสร็จ ก็คิดได้ว่า “เมื่อมีเรื่องไม่ชอบใจ ไม่เข้าใจ แล้วเกิดคำถามว่า ทำไม ๆ ๆ ให้ตอบว่า ทำมา ๆ ๆ” ดังบททบทวนธรรมข้อที่ 47 หลังคาจะรั่ว ฝนจะสาด ก็ไม่เป็นไร ยังกินอิ่ม นอนอุ่น ไม่เห็นว่าจะทุกข์อะไร ช่างว่างวันไหนเขาคงมาซ่อมให้ใหม่ ถึงไม่ซ่อมก็ไม่เป็นไร “เย้ ๆ ๆ ดีใจจัง ไม่ได้ดั่งใจ” ถ้าช่างทำงานดีเราก็คงได้ดั่งใจเป็นการเพิ่มกิเลสตัวเองไปเรื่อยๆจะซวยแน่ๆ เป็นอย่างนี้ดีแล้วจะได้ไม่มีวิบาก
    หลังคาบ้านจะรั่ว ฝนจะสาดแต่ใจเราไม่ทุกข์มีความสุบ เบิกบานก็เพียงพอแล้ว

  27. นางสาวนาลี วิไลสัก

    29/5/2564
    ชื่อ : นางสาวนาลี วิไลสัก
    เป็นผู้คบคุ้นสวนป่านาบุญ2
    เรื่อง : โพชฌงค์7 รักษาโรค
    เหตุการณ์ : เมื่อวานปวดเอวมาก(มีรอบเดือน)ในขณะที่กำลังทำกสิกรรมก้มๆเงยๆจะรู้สึกลำบากมาก มารก็พยายามเข้ามาคุยด้วย
    ทุกข์ : ไม่เบิกบาน รู้สึกปวดเอวมาก
    สมุทัย : ชอบถ้าไม่ปวดเอวเวลามีรอบเดือน ชังที่มีอาการปวดเอว จะทำงานลำบาก
    นิโรธ : จะปวดเอว หรือ ไม่ปวดเอว ก็ไม่ชอบไม่ชัง
    มรรค : มาพิจารณาว่าเราชังอะไรในอาการปวดเอว
    มาร:บ่นๆ…ทำไม่ต้องปวดเอวด้วยว่ะ จะก้มทำงานก็ลำบากๆ
    เรา : อย่าบ่นเลยมาร เมื่อก่อนเคยเอาไม้ไปฟาดเอวหมูและฟาดเอวหมา จนหมาตกบันไดด้วย เขาเอามาให้เราแค่ปวดเอว ก็โชคดีอีกแล้ว ร้ายหมดอีกแล้ว ได้ใช้วิบากและได้ขับพิษดออกจากร่างกายด้วย
    มาร:โชคดีตรงไหนว่ะ ปวกจนทำงานลำบากขนาดนี้ ไปพักผ่อนเถอะ ไม่ไหวแล้ว
    เรา:นึกถึงพี่จิตอาสา บอกว่าเราอย่าไปให้ความสำคัญกับอาการเจ็บปวด งั้นตัวเองก็ต้องทำตวามความยินดีกับมัน ด้วยการนึกถึงที่อาจารย์หมอเขียว บอกว่าแม้แต่ผมอยู่หัวแท้ๆก็ยังไม่ไช่ผมเราและท่านสมณะเทศว่าแม้แต่ผิวหนังก็ไม่ไช่ของเรา เมื่อหนังมันแก่ก็จะกลายเป็นขี้ไคร งั้นเอวก็ไม่ไช่เอวเรา มันจะเจ็บจะปวดมากน้อยแค่ไหนก็ปล่อยไปตามวิบากดีร้าย เราไม่สนใจมันเพราะมันไม่ไช่เอวเราจะหายไม่หายช่างมัน ส่วนเราจะทำงานของเราแบบเพลินๆไปเรื่อยๆ ตรงกับ บทธ ข้อที่ 75 ถ้าเราดับทุกข์ใจได้ ก็ไม่มีทุกข์อะไรที่ดับไม่ได้
    สรุปพอเราไม่สนใจว่ามันเป็นเอวของเรา เราก็มุ่งแต่กับงานด้วยใจที่เบิกบานจนเพลิน พอมารู้ตัวอีกทีอาการปวดเอวก็หาย แต่ไม่รู้ว่าหายตอนไหน จนมาถึงวันนี้อาการปวดเอวก็ไม่ปรากฎอีแล้วค่ะ

  28. นางก้าน ไตรยสุทธิ์

    ก้านไตรยสุทธิ์.
    (แก้ไข)
    เรื่องชอบชัง

    เนื้อเรื่อง มีอยู่ว่าวันหนึ่งเรารอน้องจะไปช่วยงานสวน เขาก็กินข้าวเช้าแล้วก็คุยกันไปเรื่อย ๆ ไม่รีบไปทำงาน เราเลยบอกให้เขาตัดรอบ แต่เขายังชอบคุยและฟังแบบใจเย็น ตอนนี้แดดร้อนแล้วก็ยังไม่สนใจเรา เลยได้แต่อดทนรอคอย เขาคุยกันสนุกเลยไม่รู้ว่าแดดร้อน แล้วยังเสียเวลามานั่งกินเล่นกินหัว เขาเคยบอกว่าเวลาเป็นของเขา เอ้ะ ! เราจะเอาอะไร เราทำใจไม่ได้เอง ตามรู้กิเลสชอบอะไรชังอะไรดีกว่า

    ทุกข์ ไม่พอใจ ไม่ยินดี ที่น้องไม่รีบไปทำสวน

    สมุทัย (เหตุแห่งทุกข์) ชอบถ้าเขาไม่คุยกันแล้วรีบไปทำสวน ชังที่เขาคุยกันแล้วไม่รีบไปทำสวน

    นิโรธ (สภาพดับทุกข์) เขาคุยกันแล้วไม่รีบไปทำสวนก็ไม่ทุกข์ใจ

    มรรค (วิธีดับทุกข์) อ๋อ ! เราใจร้อนเอง จะรีบไปไหน เลยชังคนมานั่งคุยกัน เลยปลี่ยนความคิดมาชอบเขา จึงอ่านใจเอางานใน ใจทุกข์ผิดแล้ว ๆ
    โง่ไปอีกแล้ว เขาคุยกันสิดี อาจารย์หมอเขียวบอกให้คุยกัน เอางานใน เขาคุยก็ไม่ทุกข์ใจ เขาไม่คุยก็ไม่ทุกข์ใจ เห็นแล้วก็เห็นใจเขานะมีน้องโทรมาขอความคิดเห็นเรื่องเพื่อน เราก็ได้พูดกับน้องเขาด้วยแต่มองไม่เห็นความยินดีของเราเลย พอวางใจ พิจารณาว่าสละไปไม่พัวพัน จริงเหมือนพระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่าเหมือนตัดพวงมะม่วงแตกกระจาย เบ็ดเสร็จเด็ดขาด สมุทเฉจจบที่เรา เข้าใจคนอื่นจะเข้าใจตัวเอง สุขใจไร้กังวล เบาสบายๆ

  29. สุนทรา เอี่ยมสุข (ดีบุญ)

    การบ้านอริยะสัจจสี่
    “ความรำคาญ”
    ☆ทุกข์
    ความรำคาญ
    ☆สมุทัยการเห็นบ้านรก
    ☆นิโรธ ดึงสติกลับมาได้ทัน เดินมรรคได้เร็ว
    ☆มรรค ทำใจในใจได้ทันเร็วจาก สติปัฏฐาน 4 พิจารณาความจริงตามความเป็นจริง นิสัยเหตุผลต่างของแต่ละคน รีบวางใจ นิ่งสงบ สันติน แค่นี้ก็ไม่มี วิวาทะ ไชโย
    ¤ รู้เร็ว รู้เขารู้เรา รบกี่ครั้ง ก็ชนะ ไม่ชนะก็รบใหม่¤

  30. พลัฏฐ์

    เรื่องดีที่ไม่ได้พกปืนเหมือนเมื่อก่อน
    (เรื่องเดิมแก้ไขปรับปรุงใหม่)

    ทุกข์:โกรธที่โดนแกล้งหยุดรถกระทันหันใส่

    สมุทัย:เจอคนกวนขับรถไม่เป็นอย่างที่เราอยาก

    นิโรธ:อย่าอยากให้ใครๆขับรถให้ได้ดังใจเขาจะขับยังไงก็ไม่โกรธ

    มรรค:ใช้ปัญญาพิจารณาว่าความอยากให้ได้ดังใจหมายเป็นเหตุให้เกิดทุกข์

  31. จิราภรณ์ ทองคู่

    เรื่อง โดนแดดเผาก็ดีนะ (แก้ไข)

    เนื้อเรื่อง ช่วงนี้แดดร้อนเร็ว จึงตั้งศีลกินอาหารวันละมื้อคือกินอาหารมื้อหลักช่วงพักกลางวันจะได้มีเวลาทำงานมากขึ้นและได้ทำงานแต่เช้าจะได้ไม่ร้อนมาก พอฟังธรรมะพาพ้นทุกข์ จากอาจารย์หมอเขียวเสร็จ ก็ไปลงฐานงาน ช่วยทำงานเกษตรและพบว่าการไม่เสียเวลาไปกินหลายมื้อสามารถทำประโยชน์ได้มากขึ้นและยังได้ทำงานก่อนที่แดดจะร้อนมาก

    ทุกข์ ไม่ชอบใจถ้าแดดร้อนมาก

    สมุทัย ถ้าแดดร้อนน้อยจะสุขใจ แต่ถ้าแดดร้อนมากจะทุกข์ใจ

    นิโรธ แดดจะร้อนมากหรือแดดจะร้อนน้อยก็สุขใจ

    มรรค เราเชื่อชัดเรื่องกรรมอย่างแจ่มแจ้งว่า การที่เราร้อนเมื่อถูกแดดเผานั้นเพราะเราทำมา เมื่อนึกย้อนหลังจะพบว่า ในอดีตเราเคยเผา ปิ้ง ย่าง อบ ทอด ต้ม นึ่งสัตว์และเนื้อสัตว์ต่าง ๆ มามากมาย การที่เราได้เนื้อ ได้ชีวิตเขามา เขาต้องตาย ซึ่งสัตว์ที่นำมาทำอาหารนั้นเขาก็คือญาติของเรา เราใจร้ายใจดำ โหดอำมหิตที่เอาชีวิตญาติตัวเองมากิน เขาต้องพลัดพรากจากลูก จากครอบครัวและญาติของเขา ทำไมเราจึงหลงขนาดนี้ การที่เราได้รับความร้อนจากแดดเผาเพียงเท่านี้มันเล็กน้อย และยังดีกว่าคนทีไม่มีโอกาสได้รับแสงแดดอย่างเรา การได้รับแสงแดดจะช่วยให้ร่างกายแข็งแรง เราร้อนมากหรือน้อยก็ขึ้นกับกุศลและอกุศลของเรา ณ เวลานั้น เราร้อนมากคนอื่นอาจรู้สึกสบาย ๆ ก็มี มันขึ้นกับกุศล อกุศลของแต่ละคน อาจารย์สอนเสมอว่าการตั้งตนอยู่บนความลำบากกุศลธรรมเจริญยิ่ง เราต้องการความเจริญ ต้องการความก้าวหน้าทางธรรม เราเพียรเต็มที่ก็สุขเต็มที่สิ ไม่มีอะไรต้องทุกข์ใจเลย เบิกบานแจ่มใสดีกว่าและยินดีที่ได้ใช้วิบากกรรม รับแล้วก็หมดไป รับเท่าไหร่หมดเท่านั้น จิตก็สงบ เบาสบาย เบิกบานแจ่มใสไร้กังวล
    จิราภรณ์

  32. ชื่อ เรื่อง หลุมพราง (หลุมพัง)
    ทุกข์อาริยสัจ

    ปีที่แล้วมะลิติดโควิดหายแล้ว แจ้งอาจารย์กับหมู่ หลังจากนี้ตอนอาจารย์บรรยาย อาจารย์เริ่มบอกว่าคนติดโควิดในประเทศไทยเป็นคนชั่ว เป็นคนไม่มีศีล เราแทบไม่มีใครติด จิตอาสาเราไม่มีใครติด สองอาทิตย์แรกมะลิก็คิดในใจว่าใช่ๆๆ เคยผิดศีลมาเยอะๆๆๆ มันเป็นอดีตไปแล้ว ยอมรับค่ะอาจารย์ แต่หนึ่งเดือนผ่านมา อาจารย์ก็ยังพูดสิ่งนี้เกือบทุกวัน มาวันนึงมะลินั่งเศร้าหมอง คิดว่าอาจารย์ไม่รับมะลิแล้ว ผิดศีลมาเยอะก็ต้องรับวิบาก โอ้คิดถึงหมู่ทุกคน คิดถึงอาจารย์ คิดถึงจังเลย คิดถึงคนที่ประเสริฐที่สุดในชีวิตมะลิ นั่งเศร้าสุดๆประมาณ 15 นาที

    สมุทัย
    แล้วก็กลับมาคิดได้ว่า อันนี้ไม่ใช่ลูกศิษย์อาจารย์แล้ว ถ้าเป็นลูกศิษย์อาจารย์จริง จะไม่เศร้าหมองแบบนี้ ใช้วิบากเต็มที่ ยินดีที่เคยมีโอกาสอยู่กับอาจารย์และหมู่ อยู่ที่ไหนก็ปฏิบัติศีลได้ ตอนนั้นเลิกเศร้าแล้ว

    นิโรธ
    อาจารย์ก็ยังพูดเรื่องเดิมหลายวันต่อมา แต่มะลิไม่ทุกข์แล้ว ทีนี้รู้ว่าสิ่งที่จะทำให้มะลิทุกข์มากที่สุดในชีวิต คือ อาจารย์ด่ามะลิ ก็เลยเริ่มพิจารณาทุกวันว่าจะโดนหนักแค่ไหน ต้องยินดีให้ได้ ยินดีและเบิกบาน คิดเรื่องนี้ทุกวัน เห็นสายตาลีลาของตัวเองหน้าอาจารย์ทุกวัน และเห็นอาจารย์ด่า สร้างภาพตัวเองยิ้มที่ได้รับวิบาก

    มรรค
    ตอนมาภูผามาเจอของจริง
    มีวันนึงตอนค่ำ อาจารย์กับพี่น้องขุดหลุมใหญ่ๆ มะลิทำหน้าที่อื่น พอเสร็จแล้วตามไปช่วย แต่ผีเข้าไปช่วยแบบโง่ๆ ไม่ถามใครว่าช่วยได้มั้ย เข้าในหลุมจับจอบ ทำให้งานพัง อาจารย์บอก โห้ๆพังหมดแล้ววว จะเสร็จแล้วพอดี รู้ว่าอาจารย์พูดถึงมะลิ เห็นความโง่แล้ว จะออกจากหลุม แต่พอขยายออกอาจารย์ก็บอกว่าโอ้อันนี้พังยิ่งกว่าเดิมอีก มะลิอยู่ในหลุมก็พัง พยายามออกก็พัง อาจารย์ก็พูดต่อ โอ้พังแล้วๆๆๆๆ มะลิก็เลยคิดว่าผ่านแล้วๆ สิ่งที่ตัวเองเคยคิดว่าต้องรับด้วยจิตใจที่เบิกบานเกิดแล้ว ออกจากหลุมซะพังก็พังโดนก็โดนยอมรับเต็มที่ เห็นตาสัปปะรดของหมู่ทุกคน และเห็นความเมตตาของทุกคน ก็ยอมพลาด ให้อภัยตัวเองทันที เป็นคนใหม่แล้ว

    เห็นคุณค่าที่โดนคนประเสริฐที่สุดในโลกด่าเรา สักพักอาจารย์บอกว่า เขาทำให้งานพังด้วยเจตนาดีไม่เป็นไรๆ มะลิรู้ว่าวิบากหมดแล้ว ตั้งแต่วันนั้นก็รู้สึกโชคดี รับวิบากทุกวันแล้วก็หมดไปทันที

  33. ชื่อ น้ำร่มศีล กฤตจารุภัทร์ (เอเอ)

    เรื่อง เห็นธรรมเพราะกะทิชาวเกาะ

    ครั้งแรกที่มาอยู่ภูผา ตั้งศีลว่าจะไม่กินขนมข้างนอก กิเลสมาออกกับข้าวเหนียวกะทิใส่น้ำตาล
    ทำให้ต้องกินทุกวัน วันนึงกะทิหมด ตอนนั้นมีอาท่านนึงพูดถึงคนที่กินกะทิหมด ทีนี้ผีเข้าในใจเรา ชังสุดๆที่เขามาว่าเรา เขามาว่าเราทำไมเราเพิ่งเลิกกินขนม รู้มั้ยมันยากขนาดไหน รู้มั้ยเราต้องสู้กับอะไรบ้าง คิดไปคิดมาก็โมโหใหญ่ เลย ไประบายพิษออกกับพี่ๆ พูดวาจาดีมากมึงอย่างนั้นกูอย่างนี้ ทำลีลาท่าทางนักเลงสุดๆ แต่เราก็ได้ขอโทษต่อหน้าหมู่กลุ่มในวันถัดมา เหตุการณ์นี้ก็ผ่านไป

    มาครั้งที่สองที่มาภูผาอีกครั้ง ก็เจอปัญหา มีคนนึงที่เขาพูดจาหยาบคายทำลีลาไม่สุภาพสุดๆถึงจิตอาสาที่เราเคารพมาก ทำให้รู้สึกเกลียดชังสุดๆๆมากๆ เป็นแบบนั้นอยู่นานจนเราทุกข์ที่เกลียดเขาโกรธเขาในใจ

    เวลาผ่านไปมีความคิดขึ้นมาว่าเขาพูดสุภาพเหมือนเรานี่หว่า กระจกแท้ๆของเราเอง ตอนนั้นเกลียดไม่ลงแล้ว โกรธไม่ลงแล้ว นี่มันเรานี่หว่า ยอมเลย เปลี่ยนเป็นกราบขอบคุณเขาแทน ทำให้เราทำกิริยาแบบนี้กับใครไม่ลงอีกเลย

    อาริยสัจ ๔
    ทุกข์(รู้แจ้งทุกข์)
    -ทุกข์เพราะเข้าไม่เข้าใจเรา

    สมุทัย(รู้แจ้งเหตุให้เกิดทุกข์)
    -ไม่เข้าใจเรื่องกรรม

    นิโรธ(รู้แจ้งความดับทุกข์)
    -อยู่ดีดีก็คิดได้

    มรรค(รู้แจ้งข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์)
    -ยังไม่ถึง (แต่ทุกวันนี้ไม่มีผีเข้าก็พอใจแล้ว)

  34. นางจิราภรณ์ ทองคู่

    อริยสัจช่วง 24-30 พฤษภาคม2564

    เรื่อง ทำไมต้องมาคุยกันเวลานี้นะ

    เนื้อเรื่อง วันหนึ่งกำลังเรียนภาษาอังกฤษ มีพี่น้องสองท่านคุยกันเกี่ยวกับเรื่องที่คุรุกำลังสอน แต่เรารู้สึกว่าเป็นการรบกวนสมาธิ ครั้นจะบอกท่านทั้งสองก็กะไรอยู่จึงข่มใจ ไม่แสดงอาการอะไรออกมา จึงแก้ปัญหานี้โดยการทำสมาธิจนสามารถนั่งเรียนได้กระทั่งหมดเวลาและท่านที่คุยกันก็เลิกคุยในที่สุด

    ทุกข์ รำคาญใจที่เพื่อนคุยกันรบกวนสมาธิเวลาเรียนภาษาอังกฤษ

    สมุทัย ถ้าเพื่อนไม่คุยกันเวลาเรียนจะสุขใจ แต่ถ้าเพื่อนคุยกันเวลาเรียนจะทุกข์ใจ

    นิโรธ เวลาเรียนภาษาอังกฤษเพื่อนจะคุยกันหรือไม่คุยกันเราก็สุขใจ

    มรรค เมื่อทบทวนคำสอนของอาจารย์ ก็พบว่าผัสสะที่มากระทบไม่ใช่เขา เรา ๆ ทำมาทั้งนั้น อย่ามัวโง่ไปหลงคิดตามกิเลส ถ้าเชื่อชัดเรื่องกรรมอย่างแจ่มแจ้งจะเอาทุกข์มาจากไหน พร้อมกับนำบททบทวนธรรมมาพิจารณาพบว่า สิ่งที่เราได้รับคือสิ่งที่เราทำมา ไม่มีสิ่งใดที่เราได้รับโดยที่เราไม่เคยทำมา เราแสบสุด ๆ มันก็ต้องรับสุด ๆ ยินดีรับยินดีให้หมดไปแล้วจะโชคดีขึ้น กิเลสได้ฟังก็สลายเทพลังให้พุทธะ จิตก็เข้าสู่อุเบกขา โปร่ง โล่ง เบาสบาย เบิกบานแจ่มใส

  35. นปภา รัตนวงศา

    เรื่อง แบ่งปันไม่จริง

    เหตุการณ์ เนื่องจากช่วงนี้ตั้งศีลที่จะแบ่งปัน โดยเฉพาะเสื้อผ้าที่มีจำนวนมาก โดยจะแบ่งปันน้องๆที่รพ.บ้าง น้องๆที่บ้านบ้าง อีกส่วนส่งให้น้องจิตอาสาทำการแจกที่พุทธสถานบ้าง แต่ขณะคัดเลือกเสื้อผ้าจะมีอาการหวงๆ ดึงเข้าดึงออก ยังไม่โปร่งไม่โล่งด้วยใจเต็ม100

    ทุกข์ ใจทุกข์ยังหวงเสื้อผ้าบางตัว ไม่โปร่งไม่โล่ง

    สมุทัย ชอบใจถ้าสละเสื้อผ้าด้วยความเต็มใจ สุขใจ ไม่ชอบใจถ้าสละเสื้อผ้าด้วยความไม่ชอบใจ ไม่สุขใจ

    นิโรธ ไม่ว่าเสื้อผ้าตัวไหนสามารถสละได้ด้วยความเต็มใจ เบิกบาน ไม่ชอบไม่ชัง

    มรรค พิจารณาความจริงในกฎของวิปลาส4 สภาพไม่เที่ยงว่าเที่ยง สภาพเห็นทุกข์ว่าเป็นสุข ของที่เรามีมากเกินความจำเป็น ทำให้คนทั้งโลกขาดแคลน เกิดการแย่งชิง เกิดการฆ่ากันเพราะเราเป็นต้นเหตุ เป็นพลังสันนิทานสูตรที่ทำให้โลกเดือดร้อน และทุกข์นั้นเราก็ต้องรับเพราะเราทำมาและทำมามากหาที่ต้นที่สุดไม่ได้ นี่ขนาดเสื้อผ้าของนอกตัวแท้ๆ ยังตัดขาดจากสิ่งนี้ไม่ได้ แล้วถ้าเกิดกับชีวิตตัวเองจะเป็นอย่างไร ไม่ทุกข์หนักแย่เลยหรือ
    ปากก็บอกว่าเป็นลูกศิษย์พ่อครู เป็นลูกศิษย์อาจารย์หมอเขียว พุทธะต้องเอาออกมิใช่เอาเข้า ให้มีน้อยใช้น้อย ไม่เก็บสะสมไว้ให้เป็นภาระให้หนัก ให้เมื่อยที่ต้องดูแลรักษา ใช้แต่ของที่จำเป็นคือปัจจัย 4 เท่านั้น ไม่สะสมเป็นคนวรรณะ9 แต่กำลังกระทำตัวตรงกันข้ามกับพุทธะทั้งหมด ไม่ใช่แล้ว ผิดทางแล้ว มารตัวนี้หลอกมานานแล้ว ก็คิดใหม่ทำใหม่ จะแบ่งปันให้มากที่สุด เหลือไว้แต่ที่จำเป็นต้องใช้ จะให้แล้วคิดที่จะไม่เอาอะไรจากใครให้ได้ และที่สำคัญใจต้องบริสุทธิ์ จะพาเพียรปฎิบัติต่อไป
    ใช้บททบทวนธรรมข้อ 157 “การให้ หรือการแบ่งปันเป็นที่พึ่งแท้ของโลก” ข้อ 160 “การให้หรือการแบ่งปันด้วยใจที่บริสุทธิ์ คือความเจริญของจิตวิญญาณที่งดงามมีคุณค่า และผาสุขที่สุดในโลก”

    สรุป เมื่อพิจารณาไปใจก็สดชื่น เบิกบาน คิดที่จะแบ่งปันด้วยใจที่บริสุทธิ์ ใจที่ผาสุก..สาธุ

  36. นางสาวนาลี วิไลสัก

    ชื่อ : นางสาวนาลี วิไลสัก
    เป็นผู้คบคุ้นสวนป่านาบุญ2

    เรื่อง : ไม่อยากรับงานเกินฐานตัวเอง

    เหตุการณ์ : หลังประเทศลาวมีการล็อกดาวน์โควิดได้เดือนกว่า ก็มีการคลายล็อกดาวน์บางส่วนและทาง โรงเรียน เราก็เปิดเรียนเฉพาะชั้นเรียน (ม.4,ม.7) เท่านั้น ปกติตัวเองไม่ได้สอนสองชั้นเรียนนี้ แต่พอมาเปิดเรียนหลังคลายล็อกดาวน์ปรากฏว่าเขาจัดให้เราช่วยสอน (ม.4,ม.7) ด้วย สำหรับชั้น ม.4 เราพร้อมที่จะสอนเพราะเราเป็นครูชั้นม.ต้น ปกติตัวเองเป็นคนที่ไม่ชอบรับงานเกินฐานตัวเอง เพราะมันรู้สึกกดดันตัวเอง ทีนี้มารก็เข้ามาหลอก เราเลยรีบสอนมารก่อนที่จะไปสอนนักเรียน

    ทุกข์ : รู้สึกหนักหัว อึดอัดใจ ที่จะรับงานเกินฐานตัวเอง

    สมุทัย : ชอบถ้าได้รับงานตามฐานของตัวเอง ชังที่ได้รับงานเกินฐานของตัว

    นิโรธ : จะได้รับงานตามฐาน หรึอ เกินฐานของตัวเอง ก็สบายๆไม่ชอบไม่ชัง

    มรรค : พิจารณาว่า ทุกอย่างยุติธรรมเสมอ ไม่มีอะไรบังเอิญ แต่ที่บังเอิญก็เพราะมีมารเข้ามาชังในจิตเรานี้และทำให้ลืมไปว่าเราก็เคยมอบงานเกินฐานให้คนอี่นทำ พอเขาทำไม่ได้ดังใจเราก็ไปเพ่งเขา ทีนี้เขาแค่เอางานนี้มาคืนให้เราได้สำนึกบ้าง วิบากดีร้ายวิเคราะห์กัน บวก ลบ คูน หาร ออกมาตามฐานของวิบากเราให้ได้ชดใช้ ก็โชคดีอีกแล้วร้ายหมดอีกแล้ว ไม่มีอะไรเกิน ไม่มีอะไรขาด ทุกอย่างจะถูกจัดสรรมาให้พอเหมาะกับที่เราเคยทำมานั่นแหละ ตรงกับ บทธ ข้อที่ 121 โจทย์ทุกโจทย์ เหตุการณ์ทุกเหตุการณ์ เป็นเครื่องมือฝึกจิตของเรา ให้เป็นสุขอย่างถูกต้องตามธรรม
    สรุป พอเราพิจารณาแบบนี้แล้วใจก็เบาสบาย หัวเบาสมองโล่ง ต้องขอบคุณเหตุการณ์นี้ที่ทำให้เห็นกิเลสและได้เชือดคอมันไปแล้ว ส่วนเรื่องการสอนนักเรียนไม่มีปัญหาเพราะเราเลิกแบกโลกธรรมแล้ว เราทำเท่าที่ได้ตามความสามารถที่มีได้แค่ไหนเอาแค่นั้น แบบสบายๆ

  37. ภาคภูมิ ยอดปรีดา (สร้างแก่นศีล)

    #โจรขึ้นบ้าน

    เมื่อช่วงเช้าตรู่วันพฤหัสฯ ที่ผ่านมา มีโจรขึ้นมาขโมยของในห้องนอนแม่ขณะที่แม่กำลังนอนหลับอยู่ ซึ่งโจรก็สามารถขโมยของไปได้บางส่วน และเมื่อทราบเหตุการณ์และจัดการอะไรบางอย่างในเบื้องตนเสร็จเรียบร้อย ผมก็ลองตรวจใจดูว่ามีความทุกข์จากกรณีนี้ในเรื่องใดบ้าง ซึ่งความทุกข์ที่ตรวจเจอคือ มีความกลัว กังวล ระแวง หวั่นไหว ในเรื่องความปลอดภัยของแม่จากการที่มีโจรมาขึ้นบ้าน

    ทุกข์ : รู้สึกทุกข์ใจเพราะรู้สึกกลัว กังวล ระแวง หวั่นไหว ในเรื่องความปลอดภัยของแม่จากการที่มีโจรมาขึ้นบ้าน

    สมุทัย : จะรู้สึกทุกข์ใจถ้าโจรมามาขึ้นบ้าน แต่จะสุขใจถ้าโจรไม่มาขึ้นบ้าน

    นิโรธ : สามารถผาสุกใจได้ไม่ว่าโจรจะมาขึ้นบ้านหรือไม่ ถ้าได้พยายามทำการป้องกันให้ดีที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้แล้ว

    มรรค : จากกรณีนี้ผมเดินมรรคโดยนำคำสอนของ อ. หมอเขียว ในเรื่อง “จงหาประโยชน์จากทุกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตให้ได้” โดยหนึ่งในประโยชน์ที่ผมหาเจอจากเหตุการณ์ในครั้งนี้คือ การที่ผมได้ชดใช้วิบากกรรมไม่ดีให้หมดไปอีกชุดหนึ่ง ส่วนโจรคนนั้นเขาก็ต้องได้รับผลจากการกระทำของเขาเองในครั้งนี้

    และผมก็พิจารณาในเรื่องของ “วิบากกรรม” โดยพิจารณาว่า การที่โจรมาขึ้นบ้านผมเหตุผลก็เกิดมาจากวิบากกรรมที่ไม่ดีที่ทั้งผมและแม่เคยทำมาในอดีตที่ไปส่งผลให้โจรเลือกที่ตัดสินใจมาขึ้นบ้านผม

    ตลอดจนผมก็ได้นำบททบทวนธรรมบางบทมาร่วมพิจารณาเช่น บทที่ 103 ที่มีเนื้อหาว่า “ทุกข์ย่อมไม่ตกถึงผู้ที่เข้าใจ เชื่อ และชัดเรื่องกรรมอย่างแจ่มแจ้ง

  38. เรื่อง ไม่ได้ดั่งใจ
    เหตุการณ์ : ร่วมกันปลูกต้นไม้กับแม่บ้าน มีช่วงหนึ่งบอกให้แม่บ้านเล็งแถวต้นไม้ให้หน่อย แม่บ้านเล็งแล้วบอกให้เราขยับทางนั้นทางนี้หลายรอบ จึงพูดขึ้นว่าเล็งแบบนั้นไม่ตรง ให้เล็งที่โคน ในขณะนั้นได้ยินแม่บ้านพูดสวนกลับเป็นเชิงว่า ช่วยแล้วยังไม่ดี อย่างนี้ก็ต้องทำคนเดียวแหละ
    ทุกข์ : ไม่เบิกบานใจ
    สมุทัย : ยึดมั่นถือมั่นว่า ชอบใจถ้าแม่บ้านไม่พูดตอบโต้ ชังที่แม่บ้านพูดตอบโต้
    นิโรธ : แม่บ้านจะพูดตอบโต้หรือไม่พูดตอบโต้ เราก็ไม่ชอบไม่ชัง
    มรรค : ปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่น แม่บ้านจะพูดตอบโต้ก็ได้ หรือไม่พูดตอบโต้ก็ได้ เราก็ต้องทำความเบิกบานใจให้ได้ไม่ถือสา ต้องขอบคุณแม่บ้านที่ช่วยกระทุ้งมารที่กบดานอยู่ในใจเรา ทำไมต้องถือสา ทำไมต้องไม่เบิกบานใจ อ๋อเพราะว่าเราจะเอาดีจากแม่บ้าน ทั้งๆที่รอบนี้เราต้องชดใช้วิบากที่เคยทำไม่ดีมา พระพุทธเจ้าตรัสว่าทุกคนจะต้องได้รับผลกรรมที่ตนทำมา ได้รับในชาตินี้ ชาติหน้า หรือชาติอื่นๆสืบไป ไม่มีใครหนีพ้น เหตุการณ์ที่เราได้เจอ ก็คือสิ่งที่เราทำมา เราก็ต้องชดใช้ ในเมื่อเรามอบหมายให้เขาเป็นคนเล็งแล้ว งานจะออกมาอย่างไร หรือแม่บ้านจะพูดอย่างไร เราก็ต้องยอมรับ เราก็ต้องเชื่อใจเขา จะถูกใจเราหรือไม่ มันก็ดีที่สุดแล้วณเวลานั้นๆ วิบากกรรมให้ได้รับแค่นี้ก็พอแล้ว ในส่วนที่ดีกว่านี้ เราก็ต้องเพิ่มอริยศีล ฝึกลดกิเลสให้มากๆ ตามบททบทวนธรรมข้อ25 ” เมื่อเกิดทุกข์ใจ ทุกข์กาย เรื่องร้ายเข้ามาในชีวิต เขามาเพื่อ…ให้เราได้ชดใช้ ให้เราไม่ประมาท ให้เราเพิ่มอริยศีล ให้เราได้สำนึก ให้เราได้หมดวิบาก”และข้อ24’การกระทำทางกายวาจาใจที่ดีงาม คือกำแพงความดีที่คุ้มครองชีวิตเรา ทั้งในชาตินี้ ชาติหน้า และชาติอื่นๆสืบไป” เมื่อได้พิจารณาข้อความดังกล่าวแล้ว อาการถือสา อาการไม่เบิกบานใจ ก็ค่อยๆลดลง ใจก็กลับมาเบิกบาน แจ่มใส ผาสุกเหมือนเดิม

  39. นางสาวิตรี มโนวรณ์

    30 พฤษภาคม 2564
    ชื่อ นางสาวิตรี  มโนวรณ์
    ผู้บำเพ็ญคบคุ้นสวนป่านาบุญ 2

    เรื่อง   ขวางทางเดิน

            ทำกับข้าวอยู่ในครัว พอจะเดินไปทางไหน ก็พบย่า ซึ่งท่านเดินช้าและเดินลำบาก มือไม้ก็จับโต๊ะ  จับเค้าท์เตอร์ไปทั่ว  ทำให้การจะเดินไปตรงส่วนไหนของครัว  ต้องรอให้ย่าถึงเป้าหมายก่อน ถึงจะเดินต่อได้  สร้างความอึดอัดขัดใจให้มาร

    ทุกข์    อึดอัด ขัดใจ ย่าเดินขวางทางในครัว

    สมุทัย  ชอบ  ถ้าย่าไม่เดินขวางทาง  ชัง  ย่าเดินขวางทางตลอด

    นิโรธ  ย่าจะเดินขวางทางหรือไม่  เราก็ไม่ชอบไม่ชัง

    มรรค   เห็นมารอึดอัด ขัดเคือง เพราะจะเดินไปทางไหนในครัว ก็เจอ ย่าเดินขวางทางตลอด  มารจึงบ่น

    มาร  :   เอ๊ะย่านี่ยังงัย  เดินลำบากแล้วยังขยันเดินทั้งวัน 
    ขวางทางเดินเราไปหมด
    รู้มั้ยเรารีบ

    เรา  : เธอต่างหากมารที่เกะกะขวางทางตลอดทั้งวัน  เธอใจร้อน เอาแต่ใจ  เธอนั่นแหละที่ขัดขวางความสุข ความก้าวหน้าในธรรมของชีวิต  ไม่ใช่ย่า

    มาร  :    เงียบ แล้วก็สลายไป

    (ตรงกับบททบทวนธรรมข้อที่ 37  ปัญหาทั้งหมดในโลก เกิดจาก คน…โง่กว่ากิเลส

     ได้พิจารณาอย่างนี้    และได้ตั้งจิตสำนึกผิดและขอโทษขออโหสิกรรมที่ทำไม่ดีกับย่า อาการอัดอัด ขัดเคืองและเพ่งโทษย่า ก็สลายไป  ย่าจะเดินไปทางไหน เราก็มีทางออก…จัดการที่ใจเราเอง

  40. นปภา รัตนวงศา

    เรื่อง ยกมือล้างกิเลส

    เหตุการณ์ เนื่องจากมีการบันทึกรายการ “แบ่งปันด้วยใจที่บริสุทธิ์” พูดเรื่องการแบ่งปันในรูปแบบต่างๆที่พี่น้องจิตอาสาร่วมกันบำเพ็ญ ก็บันทึกมาเรื่อยๆ ตัวเองก็ยกมือที่จะพูดด้วย แต่น้องที่ดำเนินรายการ และพี่น้องมองไม่เห็น เลยไม่ได้พูด

    ทุกข์ ขุ่นใจเล็กๆทำไมไม่มีใครเห็นเรายกมือ

    สมุทัย ชอบใจถ้าได้พูดแชร์ประสบการณ์ ชังถ้าไม่ได้พูดแชร์ประสบการณ์

    นิโรธ จะได้พูดหรือไม่ได้พูดแชร์ประสบการณ์ก็ไม่ชอบไม่ชัง ใจไร้ทุกข์

    มรรค ตั้งศีลมาปฎิบัติเพื่อล้างตัวจะเอาแต่ใจ จะเอาให้ได้ดั่งใจในสิ่งที่ไม่ใช่เวลา ไม่ใช่สมบัติณ.เวลานั้น ก็มาพิจารณาที่ใจก่อนว่า ทุกข์ใจหรือไม่ ก็ไม่ได้ทุกข์ใจอะไร ก็ดีแล้วที่ไม่ได้พูด ไม่ได้แชร์ประสบการณ์ โชคดีอีกแล้วร้ายหมดไปอีกแล้ว ก็เคยพูดไม่ดี พูดส่อเสียด พูดเพ้อเจ้อมามาก รับแล้วก็หมดไป จะได้โชคดีขึ้น โชคดีมากแล้วที่ได้ฟัง ที่ได้เข้าร่วมกับหมู่กลุ่มก็มีพลังมากที่สุดแล้ว ยินดีพอใจแล้ว ก็ในเมื่อในชาตินี้ยังแบ่งปันไม่มากพอ ยังไม่มีของอะไรที่จะแบ่งมากมาย ส่วนใหญ่แบ่งปันความรู้ที่ตัวเองปฎิบัติได้บ้างแล้ว ก็มี ประสบการณ์เรื่องโรค เรื่องการดูแลสุขภาพ การปฎิบัติตัวในชีวิตประจำวัน ยา9เม็ด ที่พอจะแบ่งปันได้ ซึ่งก็ดีมากแล้ว ยินดีมากแล้ว ท่านอาจารย์หมอเขียวย้ำเสมอว่า การแบ่งปันเป็นที่พึ่งแท้ของโลก การแบ่งปันความรู้นั่นละดีที่สุดแล้ว ถึงแม้จะไม่ได้พูดแต่สิ่งสำคัญคือใจที่ไม่ทุกข์ ก็สุขที่สุดในโลกแล้ว
    ใช้บททบทวนธรรมข้อ 160 “การให้หรือการแบ่งปันด้วยใจที่บริสุทธิ์ คือความเจริญของจิตวิญญาณที่งดงามมีคุณค่า และผาสุกที่สุดในโลก

    สรุป เมื่อพิจารณาแล้ว ใจก็ผาสุก ดีใจที่ไม่ได้พูดดีใจที่ได้ล้างกิเลสตัวที่อยากได้ดั่งใจอีกมุม..สาธุ

  41. พรพิทย์ สามสี

    เรื่อง : ที่ดิน
    เมื่อหลายปีก่อน พ่อบ้านได้ไปยื่นเรื่องต่อ ราชพัสดุ ขอเป็นผู้ถือสิทธิ์ ในที่ดินของ บรรพบุรุษเมื่อ 2-3 วันที่ผ่านมา ราชพัสดุก็นัดจะมาปักเขตแดน เราก็ไปเพื่อน จริงๆแล้วไม่อยากได้ที่ตรงนี้เลย แต่คิดไว้ในใจว่าถ้าพ่อบ้านยังอยากจะเอาอยู่ก็ขอว่าให้เอาสักนิดก็พอ พอปักเขตมาถึงตอนท้ายๆ เขตก็จะติดกับ ศาลาอเนกประสงค์ ของหมู่บ้าน เราบอกพ่อบ้านว่าให้ถอยร่นออกไปอีก จะได้เพิ่มที่ให้ ศาลาอเนกประสงค์ (พ่อบ้านปักเขต ปักกับเจ้าหน้าที่ ราชพัสดุ พ่อบ้านปักเขตไม่ได้คิดโกงแต่ปักตามที่ บรรพบุรุษ บอกเอาไว้ แต่ใจเราอยากให้ แถมที่ให้ศาลาอเนกอีก) ขั้นต่อไปเจ้าหน้าที่ต้องไปตรวจสอบ กับ ที่ดิน แปลงเก่าด้วย ว่าถูกต้องไหม ก่อนมา รางวัด เรานี่คิดในใจอยากให้พ่อบ้านเปลี่ยนใจ เอาที่ดินผืนนี้ให้น้อยที่สุด ให้ศาลาอเนกประสงค์ได้เยอะกว่า
    ทุกข์ : พ่อบ้านไม่ทำตาม
    สมุทัย : ชอบให้พ่อบ้านเอาที่น้อยลง ชังที่ พ่อบ้าน ไม่ทำตาม
    นิโรธ : พ่อบ้านจะทำตามเราก็ได้ ไม่ตามก็ได้
    เราต้องวางใจ
    มรรค : เมื่อมาพิจารณาดูแล้ว สมัยก่อน ตอนที่เรายังไม่พบ แพทย์วิถีธรรม เราก็โลภเรื่องที่ดิน สมัยนั้น เขามาขอที่ดิน ทำทางเดิน เข้าบ้าน เรายังไม่ให้เลย การที่เราเข้าไปตรงนั้นด้วย ชาวบ้านก็มองเราแบบในแง่ไม่ดี
    บททบทวนธรรม บท ๑
    เรื่องการเข้าใจผิดของเรากับผู้อื่น
    เราต้องระลึกรู้ว่า มันคือวิบากกรรมเขา วิบากกรรมเรา แก้ไขได้ด้วยการทำดี
    ไม่มีถือสาไปเรื่อยๆ แล้ววันใดวันหนึ่งข้างหน้า
    ในชาตินี้ หรือชาตืหน้า หรือชาตือื่นๆสืบไป
    ความ้ข้าใจผิดนั่นจะหมดไปเอง
    เรื่องที่เกิดขึ้น ทำให้เราต้องทุกข์ใจมาก เป็นทุกข์อยู่ 3 วันแล้ว ทำไมต้องทุกข์ใจขนาดนี้
    ตอบเองว่าเพราะทำมาๆๆๆ หาที่ต้นที่สุดไม่ได้
    มาร : ตอนแรกก็โทษพ่อบ้าน ว่าทำไมเป็นคนอย่างนี้นะ เรา : บอกมารแกนั่นแหละ นั่นคือเงาของแก แกทำมา แม้นจะเจ็บปวดปานใด
    ก็เต็มใจ รับโทษ ขออโหสิกรรม
    แล้วความทุกข์ ความกังวล ความไม่สบายใจ
    ก็คลายลงบ้าง แม้นจะยังไม่หมดไปเสียทีเดียว
    ก็จะพยายามพากเพียรล้างต่อไป

  42. ประคอง เก็บนาค

    เรื่อง : สอบไม่ทัน

    เนื้อเรื่อง : ในการเรียนวิชาหนึ่งของสถาบันวิชชารามที่ตนเองได้เรียนอยู่ มีการสอบกลางภาคซึ่งคุรุท่านกำหนดให้นักศึกษาสามารถเข้าไปทำข้อสอบในระบบกูเกิลฟอร์ม และมีกำหนดระยะเวลาไว้ด้วย แต่เมื่อถึงเวลาที่กำหนดไว้ เรากลับลืมเข้าไปทำข้อสอบ มารู้ตัวอีกทีก็ตอนที่ท่านคุรุพูดว่า ขอตัวออกจากการประชุมเพื่อไปตรวจข้อสอบก่อนนะ ..นั่นแหละเราจึงพึ่งนึกออก

    ทุกข์ : เสียดายที่ไม่ได้เข้าไปทำข้อสอบ

    สมุทัย : ถ้าได้เข้าไปทำข้อสอบจะสุขใจ สบายใจ

    นิโรธ : เราจะได้เข้าไปทำข้อสอบหรือไม่ เราก็ไม่ควรทุกข์ใจ

    มรรค : พิจารณาเห็นอาการตกใจเมื่อรู้ตัวว่าลืมเข้าไปทำข้อสอบ มีความรู้สึกเสียดายที่ไม่ได้ทำข้อสอบ แม้พี่น้องหมู่กลุ่มจะให้กำลังใจและมีมติให้เราหยุดกิจกรรมการตรวจสอบผลงานของหมู่กลุ่มในรอบสัปดาห์ที่กำลังทำกันอยู่ และให้เราออกจากการประชุมเพื่อไปทำข้อสอบ…พิจารณาเห็นสาเหตุของการที่ไม่ได้เข้าไปทำข้อสอบ ซึ่งสัปดาห์นี้ก็มีทั้งงานประจำ งานร่วมบำเพ็ญกับพี่น้อง และการเข้าชั้นเรียนทั้งของสถาบันวิชชารามและวิทยาลัยชุมชนฯ ซึ่งนับว่ามีความเข้มข้นและต้องทุ่มเทเวลา แรงกาย แรงใจในการจัดสรรเวลาเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ กันพอสมควรเลยทีเเดียว..แต่นั่นก็ไม่ใช่เหตุที่จะนำมาอ้างในการไม่ได้เข้าไปทำข้อสอบ เพราะเป็นเพียงสถานการณ์ภายนอกที่เราไม่สามารถกำหนดได้..เมื่อพิจารณาลึกลงไปจึงเห็นว่า เหตุเกิดจากที่เราไม่เอาใจใส่ ประมาทในการจัดสรรเวลา พร่องในการจัดลำดับความสำคัญของกิจกรรมต่าง ๆ เองต่างหาก…หากเราไปสอบตามที่พี่น้องเมตตา ก็จะทำให้พี่น้องได้รับวิบากไปด้วย เพราะเป็นมติที่บอกให้เราทำผิดกติกา สัญญาของหมู่กลุ่มใหญ่…เมื่อความผิดพลาดนี้เกิดขึ้นจากตัวของเราเอง เราก็ควรที่จะต้องรับผิดชอบตัวเราเอง..จึงพิจารณาวางใจว่า ไม่เป็นไรหรอกนะ ไม่ทันสอบในครั้งนี้ก็ไม่เป็นไร เดี๋ยวค่อยไปสอบปลายภาคเอาก็ได้ คะแนนจะได้เท่าใดก็ไม่ใช่สิ่งสำคัญ สำคัญที่ใจเราเองต่างหาก เราควรมีสัญชาตญาณของคนตรง ไม่ทำในสิ่งที่รู้อยู่ภายในใจว่าไม่ถูกต้อง…เมื่อพิจารณามาถึงตรงนี้ใจก็เบาโล่งขึ้น ร่วมการประชุมทางออนไลน์ตรวจสอบงานกลุ่มกับพี่น้องต่อไป…สักพักสังเกตเห็นข้อความในกลุ่มไลน์วิชาที่เรียนนั้น ท่านคุรุแจ้งมาว่า นักศึกษาที่ยังไม่ได้สอบยังสามารถสอบได้อยู่นะ ท่านจะเลื่อนการตรวจข้อสอบไปเป็นสัปดาห์ต่อไป…โฮ้ เห็นใจที่ฟู พอง ขึ้นมา เมื่อเราวางใจได้จริง ๆ กุศลดี ๆ ก็ออกฤทธิ์ ทำให้เราและพี่น้องท่านอื่น ๆ ที่ยังไม่ได้เข้าสอบได้รับโอกาสนั้นอีกครั้งหนึ่ง ขอบพระคุณท่านคุรุที่ท่านเมตตาพวกเราจริง ๆ ค่ะ

  43. เสาวรี หวังประเสริฐ

    เรื่อง กลัวจะไม่ได้ทำดี
    ช่วงการทำงานร่วมกับเพื่อนสมาชิกในที่ทำงานเรามักจะเร่งรีบที่จะทำงานให้ดีกลัวทำงานไม่ได้ดีคือไม่สำเร็จดั่งใจหมายก็จะชิงทำงานตัดหน้าคนอื่นใจร้อน จนบางครั้งทำให้เพื่อนๆรู้สึกไม่ดีกับเรา
    ทุกข์ :อยากทำงานให้ให้สำเร็จดั่งใจ
    สมุทัย: เหตุแห่งทุกข์ชอบที่ทำงานสำเร็จดั่งใจชังที่ทำงานไม่สำเร็จ
    นิโรธ: สภาพดับทุกข์ไม่ชอบไม่ชังไม่ว่างานที่ทำจะสำเร็จหรือไม่ก็ตาม ทำงานทุกอย่างด้วยใจที่เบิกบาน ไรก็ทุกข์์ไร้กังวล
    มรรค: วิธีปฏิบัติเพื่อความดับทุกข์พิจารณาความกลัวจะทำงานไม่ได้ดีไม่สำเร็จเป็นความอยากเป็นกิเลสในใจเราที่ทำให้เราเป็นทุกข์ ทบทวนบททบทวนธรรมที่ว่า “จงทำดีเต็มที่เหนื่อยเต็มที่ไม่มีอะไรคาใจไม่เอาอะไรคือสุดยอดแห่งความอิ่มเอิบเบิกบานแจ่มใส”ฝึกทำใจไม่ยึดติดกับความสำเร็จขิงงานพิจารณาตามเหตุปัจจัยในการทำงานแต่ละครั้งเข้าใจเรื่องกรรมว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่ทุกคนได้รับล้วนเกิดจากการกระทำของตนเองเท่านั้น
    เมื่อพิจารณาซ้ำๆก็ทำให้ใจเราคลายทุกข์ว่าจะต้องทำงานทุกชิ้นให้ได้ดีให้สำเร็จดั่งใจ สามารถทำงานร่วมกับเพื่อนด้วยใจที่เป็นสุขขึ้น

  44. พรพรรณ เอ็ทสเลอร์

    อริยสัจ 4

    เรื่อง ห่วงพี่สาวหรือห่วงตัวเอง

    แม่เล่าให้ฟังว่า พี่สาวไปจ้างคนให้มาฉีดยาฆ่าหญ้าในพื้นที่นาและสวน เห็นความรู้สึกตัวเองไม่พอใจ ก็เคยคุยกันเรื่องผลเสียของหญ้าฆ่าหญ้าแล้ว นึกว่าจะเข้าใจตรงกันแล้วยังไงไปยังไปฉีดอีก

    ทุกข์ : โกรธที่พี่สาวฉีดยาฆ่าหญ้า

    สมุทัย : ไม่อยากให้พี่สาวฉีดยาฆ่าหญ้า ถ้าพี่สาวใช้วิธีตัดหญ้าแทนการฉีดจะพอใจชอบใจ

    นิโรธ : ถึงแม้พี่สาวจะฉีดยาฆ่าหญ้าก็จะไม่ทุกข์ใจ

    มรรค : ใจที่กำลังเต้นรัว ๆ และอาการหน้าร้อนผ่าว บ่งบอกได้ถึงความโกรธที่มีต่อพี่สาว แต่เมื่อพิจารณาไปเรื่อย ๆ ก็พบว่าที่ตัวเองโกรธ เพราะ ไม่พอใจที่พี่สาวไม่เชื่อว่ายาฆ่าหญ้ามีโทษภัยมหันต์ กลัวพี่สาวไม่สบายและตายจากไปก่อนแม่ แม่ก็จะอยู่คนเดียว

    เอ้า ! จริง ๆ แล้วตัวเองก็ห่วงตัวเองมากกว่า นั่นเอง เพราะเมื่อแม่อยู่คนเดียวก็จะเป็นทุกข์ไม่สบายใจต้องหาคนมาอยู่เป็นเพื่อนแม่ ตัวเองก็อยู่ต่างประเทศ ยังไม่สามารถกลับไปอยู่กับแม่ได้ในเวลานี้ จากที่กำลังโกรธพี่สาวก็หายเป็นปลิดทิ้งเลย แสดงว่าเราเห็นแก่ตัวนี่ ไม่ได้ห่วงพี่สาวจริง ๆ จากทุกข์ที่มีในใจและอาการอึดอัด แน่น ๆ ในใจ ความโกรธ ไม่พอใจพี่สาวนั้นก็หายไปทันที รีบขอโทษขออโหสิกรรมตัวเองและพี่สาวทันที

    ถึงแม้ว่าจะได้คุยกันกับพี่สาวเรื่องโทษของยาฆ่าหญ้าแล้วหลายครั้ง และเรื่องการเจ็บป่วยเรื้อรังของพี่สาวที่เป็นมานานไม่หายสักทีก็น่าจะมีสาเหตุมาจากการใช้สารเคมีในการทำนาและทำสวน ในเวลาที่คุยกันนั้นเหมือนพี่สาวจะเข้าใจก็ตาม แต่อาจจะเป็นเพราะความมักง่ายของพี่สาวเอง และเป็นวิบากกรรมของท่านที่ปิดกั้นไม่ให้เห็นโทษของสิ่งที่กำลังทำอยู่ ก็เหมือนกับตัวข้าพเจ้าที่ไม่เชื่อฟังพี่สาวสมัยเป็นวัยรุ่น พี่สาวเคยสั่งสอน แต่ก็ไม่เชื่อฟังพี่สาวเอาแต่ใจตัวเอง จนทำให้พี่สาวทุกข์ นี่ก็คือผลของวิบากกรรมที่ได้ทำไว้กับพี่สาว และนึกถึงคำสอนของท่านอาจารย์หมอเขียวว่า “เก่งแค่ไหนที่ว่าแน่ก็แพ้วิบากร้าย ร้ายแค่ไหนที่ว่าแน่ก็แพ้ วิบากดี” งานนี้ต้องปล่อยไปตามวิบากกรรมก็แล้วกัน ไม่มีใครบอกสอนท่านได้ ให้ทุกข์สอนท่าน หากกุศลผลบุญท่านยังมี สักวันหนึ่งในชาตินี้หรือชาติอื่น ๆ สืบไปท่านก็คงจะเข้าใจสักวัน สาธุ

Comments are closed.