วิชา อริยสัจ 4 “รวมพลัง ภาคกลางสู้กิเลส” ครั้งที่ 5 l ห้องเรียนวิชชาราม

ห้องเรียนออนไลน์ ห้องเรียนวิชชาราม ตรวจการบ้าน วิชา อริยสัจ 4 “รวมพลัง ภาคกลางสู้กิเลส” ครั้งที่ 5 ในวันพุธที่ 26 พฤษภาคม 2564 เวลาประมาณ 19.00 น. – 21.00 น.

ตรวจการบ้านวิชาอริยสัจ 4

1.เรื่อง  “อยู่นาน ๆ ได้ไหม นาน ๆ จะได้บำเพ็ญสักที”

อุไร ขวัญเมือง

จากที่สถานการณ์โควิดกลับมาระบาดระบาดอีกครั้ง ทำให้ไม่สามารถไปบำเพ็ญกับพี่น้องหมู่มิตรดีมานาน แต่ล่าสุดอาจารย์หมอเขียวท่านเปิดโอกาสให้พี่น้องจิตอาสาเข้าศูนย์ที่ใกล้บ้าน จึงรีบสะสางภารกิจการงานที่คั่งค้างและฝากฝังให้คนที่อยู่ช่วยทำงานแทนให้เรียบร้อย ก่อนเดินทางไปหาหมู่มิตรดี โดยมีกำหนดไว้ว่าจะอยู่บำเพ็ญกับพี่น้อง เป็นเวลา9วัน แต่ขณะที่กำลังเดินทางเข้าศูนย์เพื่อบำเพ็ญ ก็มีโทรศัพท์ให้กลับไปเซ็นต์เอกสาร จึงทำให้เราต้องรีบกลับก่อนกำหนด จึงรู้สึกขัดเคืองใจ เพราะใจยังไม่อยากกลับ ยังอยากอยู่บำเพ็ญกับพี่น้องหมู่มิตรดีต่อ

เวลาจะเข้าศูนย์ อยากจะมาเข้าค่าย อยากมาหลายๆวัน ขับรถส่วนตัวจากเกาะล้าน พอมาถึงที่ศูนย์ก็มีเหตุให้ต้องกลับบ้าน เช่น ต้องกลับไปการเซ็นต์เอกสาร ธุรกรรม เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นซ้ำ ๆ 2 -3 ครั้ง

ทุกข์ : ทุกข์ใจ ขัดเคืองใจ อยากอยู่บำเพ็ญในค่ายตามกำหนดที่ตั้งใจไว้

ไม่อยากกลับ มีอาการชังสภาพที่ไม่ได้อยู่ค่ายตามกำหนดที่ตั้งใจไว้

ทุกข์เพราะมีเหตุการณ์มาทำให้ไม่สามารถอยู่บำเพ็ญที่สวน๙ ได้อย่างต่อเนื่องนานๆ

สมุทัย : ชอบ อยู่ตามกำหนดที่ตั้งใจไว้ / ชังถ้าไม่ได้อยู่นาน ยึดมั่นถือมั่นว่าอยากอยู่ค่ายครบตามกำหนดมันดีๆ

นิโรธ : ไม่ว่าจะมีอุปสรรค เราจะอยู่นานไม่นาน จะยินดี

มรรค : ทำที่ใจ วาง-ดับตัวความอยาก ความอยากเป็นตัวปัญหา+ยอมรับในกรรม ยอมรับในกุศล-อกุศลของเรา ยินดียอมรับสภาพนั้น คลายความยึดมั่นถือมั่นคือ บุญสูงสุด ความจริงความลวง อยู่ในค่ายสุขใจ เห็นความจริงตามความเป็นจริง ยอมรับว่าจะอยู่ตรงไหนก็ได้

 2. ชื่อเรื่อง : โควิดปลดแอก

ศิริพร คำวงษ์ศรี (มั่นผ่องพุทธ)

มีสมาชิกในบ้านที่ป่วยเป็นโรค NCDs หลายท่าน ในช่วงเชื้อโควิด 19 ระบาด ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะติดง่าย แต่ก็จะมีกลุ่มบรรดาเครือญาติบางท่านที่ไม่เห็นแก่ส่วนรวม เช่น ทิ้งหน้ากากอนามัยไม่ถูกที่ พาบุคคลที่ไม่รู้จักเข้าออกบ้าง อ้างว่าตนเป็นคนสนิทบ้าง ไม่ดูแลตนเองบ้าง กิเลสติดดีติดถูกต้องของเราจึงทำงานหนัก เพ่งโทษว่าทำไมพวกเขาจึงประมาทและมักง่ายได้ขนาดนี้ เราตั้งหมายว่าต้องการป้องกันให้ผู้ป่วยในบ้านและตนเองปลอดภัย

ทุกข์ คือ ไม่พอใจ หงุดหงิด โกรธ ปวดหัว บางครั้งนอนหลับไม่สนิท

สมุทัย (เหตุแห่งทุกข์) คือ อยากให้ผู้อื่นเห็นแก่ส่วนรวม ไม่ปลดแอก เอาแต่แต่ความสะดวกของตนเอง

นิโรธ (สภาพดับทุกข์) คือ ไม่ชอบไม่ชัง ผู้อื่นจะประพฤติตนอย่างไร เราก็ไม่ทุกข์ใจ ยินดีให้เป็นไปตามวิบากดีร้ายของผู้ป่วยในบ้านและตัวเราเอง พอใจว่าเราได้ทำทุกอย่างดีที่สุดแล้ว ป้องกันตนเอง บอกกล่าวขอร้องผู้อื่นไปแล้ว ส่วนพวกเขาจะทำหรือไม่ ให้เป็นวิบากดีร้ายของเขา ไร้กังวลใจ ยอมรับว่าเป็นวิบากของเราและผู้เกี่ยวข้อง ให้ทุกอย่างเป็นไปตามธรรม

มรรค (ทางเดินสู่ความพ้นทุกข์) คือ พิจารณานิสัยเอาแต่ใจตนเองที่ทำมามากเหลือเกิน ในวันนี้ที่มีเหตุการณ์วิกฤตเกิดขึ้น จึงได้เรียนรู้ว่าการต้องเผชิญหน้ากับคนที่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนเท่านั้น มีความรู้สึกอย่างไร เราตั้งคำถาม “ทำไม” คำตอบ คือ “ทำมา” คนที่ผิด คือ ตัวเราเอง ไม่มีอื่นจากนี้ วิบากกรรมส่งมาไม่ผิดคน ตั้งจิตที่จะพากเพียรไม่เอาแต่ใจตนเอง ให้มากที่สุด เท่าที่จะทำได้ เราเคยปลดแอกและแสบมามากสุด ๆ ในปัจจุบันจึงเหนี่ยวนำให้ต้องพบเจอบุคคลเหล่านี้มาทำอย่างที่เราเคยทำ ไม่โทษใคร ใจไร้ทุกข์ ตั้งสติอยู่กับปัจจุบัน ตัดความคิดเพ่งโทษทิ้ง ไม่ว่าใครจะทำไม่ดีแค่ไหน เราก็ไม่มีสิทธิ์เพ่งโทษใคร พวกเขาทำไปด้วยความไม่รู้ถึงวิบากกรรมที่จะมาในภายหน้า ทุกท่านมีสิทธิ์เต็มที่ในการจะทำสิ่งใด ๆ มุ่งเหนี่ยวนำจิตที่เมตตาตนเองและผู้อื่นใหม่ ขอให้เขาคิดได้คิดดีในวันหนึ่ง เราไม่ใช่สัตบุรุษของเขา ยอมรับทุกการกระทำที่ไม่ดี วิบากเราก็หมดไปทุกวัน ยินดีเบิกบานไม่ว่าจะได้พบเรื่องดีหรือไม่ก็ตาม

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *