640523 การบ้าน อริยสัจ 4 (21/2564)
นักศึกษาสถาบันวิชชารามส่งการบ้าน อริยสัจ 4 ประจำวันที่ 17-23 พฤษภาคม 2564 (อ่านที่มาและรายละเอียดเพิ่มเติมของการบ้าน)
สัปดาห์นี้มีผู้ส่งการบ้าน 40 ท่าน 64 เรื่อง
- จิรานันท์ จำปานวน (2)
- สุมา ไชยช่วย (4)
- พรพรรณ เอ็ทสเลอร์ (2)
- วิภาภรณ์ กอจรัญจิตต์ (เอ ใจพอแล้ว)) (2)
- นปภา รัตนวงศา (3)
- สมพงษ์ โขงรัมย์(สู่สวนสงบ) (2)
- พรนภา บูรณศิริ
- นางภัคเปมิกา อินหว่าง (3)
- นางสาวสันทนา ประวงศ์
- น.ส ชรินรัตน์ ชุมจีด (น้าน้อมศีล)
- ณ้ฐพร คงประเสริฐ
- รมิตา ซีบังเกิด (2)
- อัญชลี พุ่มแย้ม (เย็นแสงธรรม)
- นางสาวเสริมศรี ชวานิสากุล
- น.ส สำรวย รัตตนะ
- สาคร รอดรัตน์(ป้าหนุ่ย)เต็มตรง
- น.ส.ทิษฏยา โภชนา (นุ้ย)(ในสายธาร) (7)
- ปิ่น คำเพียงเพชร
- พิเชษฐ์ บุญย์วิรุฬห์ (2)
- นางก้าน ไตรยสุทธิ์ (ป้าก้าน) (2)
- ธัญมน หมวดเหมน(มั่นแสงธรรม)
- เรือนแก้ว สว่างวงษ์
- นางจิราภรณ์ ทองคู่
- พรพิทย์ สามสี
- น.ส.ลักขณา แซ่โซ้ว (2)
- ตรงพุทธ ทองไพบูลย์
- นางพรรณทิวา เกตุกลม
- อรวิภา กริฟฟิธส์
- นางสาวนาลี วิไลสัก
- ศิริกัญญา ศรีประสม (เก๋: สื่อสารศีล)
- สุนทรา เอี่ยมสุข (ดีบุญ)
- กิรณา (น้องสวน 2)
- อุ้ย พลัฏฐ์
- Ruam Ketklom
- นางสาวิตรี มโนวรณ์ (2)
- สำรวม แก้วแกมจันทร์
- จาริยา จันทร์ภักดี (2)
- ประคอง เก็บนาค
- Sureenart ratchapan สุรีนารถ ราชแป้น
- มาลิน จุ้ยทรัพย์เปี่ยม (เมฆ ลม ฟ้า)



แนะนำบทความที่มีเนื้อหาใกล้เคียง
Post Views: 227
เรื่อง : ไปรดน้ำกันเถอะ
เหตุการณ์ : วันพฤหัสบดีที่ผ่านมามีลมพัดแรง เมล็ดต้นเต็งก็ร่วงหล่นลงพื้น เราได้เก็บเมล็ดขึ้นไปปลูกไว้ ตอนแรกคิดว่าจะไม่ได้รดน้ำ คิดว่าฝนน่าจะตกเมล็ดคงงอกเองตามธรรมชาติ ที่ไหนได้ฝนไม่ตกเลย ตัวขี้เกียจเลยโผล่จ้า
ทุกข์ : ขี้เกียจไม่อยากไปรดน้ำ
สมุทัย : ชอบที่ไม่ต้องไปรดน้ำ ชังที่ต้องไปรดน้ำ
นิโรธ : ไปรดน้ำด้วยความยินดี เต็มใจ สบายใจ
มรรค : เมื่อมารมาบ่งการให้ขี้เกียจ อิดออด นั่นๆ โน่นๆ นี่ๆ ไม่มีความยินดีเลย แรงกายก็หล่นหายไป เลยต้องคุยกับมารก่อนค่ะ
มาร : ไม่ต้องไปรดน้ำหรอก งอกก็งอก ไม่งอกก็ไม่งอก
เรา : ยังไงกัน วันนั้นยังยินดีเอาขึ้นไปปลูกอยู่เลย จะทำทิ้งทำขว้างงั้นรึ
มาร : ทำไมมันเยอะจังล่ะ
เรา : ก็ใครล่ะที่เอาเมล็ดขึ้นไปปลูก
มาร : ฉันเอง ตอนแรกก็คิดว่าจะไม่ได้รดน้ำ จะอาศัยน้ำฝน แต่ฝนไม่ตกเลย
เรา : กล้าเอาไปปลูก ก็ต้องกล้าไปรดน้ำสิ จะมาขี้เกียจอะไรตอนนี้ ทีตอนปลูกไม่เห็นจะขี้เกียจ ฮ่าๆๆ ฝนไม่ตก เห็นหรือยังล่ะ ไม่มีอะไรเที่ยงเลย ไม่มีอะไรที่คาดหวังได้ อย่างนั้นก็ต้องรับผิดชอบสิ่งที่ตัวเองทำลงไปเท่าที่จะทำได้ ทำความยินดีสิ จะได้มีพลัง แล้วบททบทวนธรรม ข้อ 4 ก็เด้งขึ้นมา คือ ต้องกล้าในการทำสิ่งดี ละอาย และเกรงกลัวในการทำสิ่งชั่ว ชีวิตจึงจะพ้นทุกข์ได้
สรุป : พอมารมาคิดแบบพุทธะ ก็ได้ความสบายใจ ใจที่ยินดี กายก็มีแรงฟึบฟับกลับมา พร้อมแล้วที่จะไปรดน้ำ ในระหว่างที่รดน้ำ ก็ได้เล่าสภาวะกับพี่นาลีไปด้วย แถมได้ตากแดดไปด้วย มีแต่ประโยชน์เต็มไปหมดเลยค่ะ สาธุค่ะ
เรื่อง : กว่าจะไปยกไม้ไผ่
เหตุการณ์ : เรากำลังนั่งกินข้าวอยู่บ้านแม่ เห็นแม่เดินมาตัดไม้ไผ่ เมื่อตัดเสร็จก็เรียกน้องชาย ให้ช่วยยกไปให้แม่หน่อย จะเอาไปทำราวตากผ้าห่ม แต่น้องชายก็นั่งเล่นเกมต่อ และพูดออกมาว่า “ไหนบอกว่าไม่มีอะไรให้ทำแล้ว”
ทุกข์ : ขุ่นใจที่น้องชายไม่ไปยกไม้ไผ่ตามที่แม่บอก
สมุทัย : ชอบที่น้องชายไปยกไม้ไผ่ตามที่แม่บอก ชังที่น้องชายไม่ไปยกไม้ไผ่ตามที่แม่บอก
นิโรธ : น้องชายจะไปยกไม้ไผ่ตามที่แม่บอก หรือไม่ยก ก็สบายใจได้
มรรค : เมื่อเราอยู่ในเหตุการณ์ได้ฟัง ได้เห็นเช่นนั้นมารก็ออกมาทำให้ขุ่นใจ น้องก็ไม่สนใจยังคงนั่งเล่นเกมต่อ จนเราต้องหันมาคุยกับมารก่อนค่ะ
มาร : นั่นแม่นะ ทำไมน้องชายทำแบบนี้ แม่เรียกใช้ก็ต้องรีบไปสิ ผ้าห่มก็ผ้าห่มน้องชาย แม่อุตส่าห์ซักให้ ยังไม่ไปช่วยแม่อีก ไม่สงสารแม่เลยหรือไง
เรา : สงสารฉันก่อนไหมมาร ตอนนี้ใครกันที่กำลังทุกข์อยู่
มาร : ฉันเอง
เรา : จะไปชอบ ไปยึดว่าน้องต้องทำตามที่แม่บอกทุกครั้งไม่ได้นะ มันทุกข์ ทีตัวเองล่ะไม่เคยทำหรือไง
มาร : แต่ก่อนก็เคยเป็นเหมือนกัน ตอนที่กำลังอยู่หน้าคอมพิวเตอร์ หรือหน้าโทรศัพท์ ก็ไม่อยากให้ใครมาเรียกใช้เหมือนกัน มันขาดตอน มันขัดจังหวะ
เรา : ก็นั่นไงทีตัวเองยังทำได้เลย เข้าใจน้องชายหรือยังล่ะทีนี้
มาร : เข้าใจแล้ว
สรุป : พอมารมาคิดแบบพุทธะ ความสบายใจก็กลับมา ตกลงงั้นเราจะเป็นคนยกไม้ไผ่ไปให้แม่ล่ะกัน แต่ขอไปเข้าห้องน้ำก่อนแป๊บหนึ่ง พอเราออกมาจากห้องน้ำก็เห็นน้องกำลังจะยกไม้ไผ่ไปให้แม่ โอ้โหการวางใจได้ มันดีอย่างนี้นี่เอง ตรงกับ บทธ ข้อ 8 สิ่งที่เราได้รับ คือ สิ่งที่เราทำมา ไม่มีสิ่งใดที่เราได้รับ โดยที่เราไม่เคยทำมา สาธุค่ะ
เรื่อง ขยะล้างใจ
เหตุการณ์ ที่ล้างจานจะมีเศษอาหารหลงเหลืออยู่เป็นประจำ หลังจากล้างถ้วยล้างจานกัน บอกแล้วหลายครั้งมาก บอกครั้งหนึ่งก็สะอาดได้สองสามวัน หลังจากนั้นก็เป็นเหมือนเดิม
ทุกข์ ขุ่นใจเมื่อเห็นเศษอาหารในอ่างล้างจาน
สมุทัย ชอบถ้าไม่มีเศษอาหารหลงเหลืออยู่ในที่ล้างจาน ชังมีเศษอาหารหลงเหลืออยู่
นิโรธ จะมีเศษอาหารหลงเหลืออยู่หรือไม่มีเลยก็ไม่ทุกข์ใจ
มรรค เห็นเศษอาหารทีไรขุ่นใจขึ้นมาเพราะเราต้องเก็บไปทิ้งทุกที แล้วทำไมเราต้องเป็นคนเห็นด้วยน่ะ นึกถึงวิบากกรรมขึ้นมาทันทีสิ่งที่เราได้รับคือสิ่งที่เราทำมา ไม่มีใครดลบันดาลให้ได้นอกจากการกระทำของเราเองเท่านั้นเราเคยทำมา ไม่ว่าจะทิ้งขยะไม่เป็นที่เป็นทางหรืออื่นๆที่ทำให้เลอะเทอะ แล้วไม่ทำให้สะอาดคนอื่นต้องมาตามเช็ดตามล้างอยู่บ่อย ๆยินดีรับและล้างใจไปพร้อมๆกัน เมื่อรับแล้ว ร้ายก็หมดไปเราจะโชคดีขึ้น
บททบทวนธรรมข้อ๘
สิ่งที่เราได้รับคือสิ่งที่เราทำมา
ไม่มีสิ่งใดที่เราได้รับ โดยที่เราไม่เคยทำมา
สรุปวางใจได้อาการขุ่นใจก็หายไป
เรื่อง เห็ดไหม้แต่ใจไม่ไหม้
เหตุการณ์ ตั้งกะทะเคี่ยวเห็ดด้วยไฟออ่นๆแล้วออกไปดูผักที่ปลูกไว้ จนลืมว่าตั้งกะทะอยู่ นานจนรู้สึกหิวน้ำ จึงเข้าบ้านมาพอเปิดประตูได้กลิ่นไหม้จากกะทะ ตกใจรีบวิ่งไปปิดแก๊สทันทีปรากฏว่าน้ำแห้งจนเห็ดบางส่วนไหม้ติดกะทะ
ทุกข์ ตกใจเมื่อได้กลิ่นเหม็นไหม้จากกะทะที่เราเคี่ยวเห็ดไว้ จนเห็ดไหม้บางส่วน
สมุทัย ชอบถ้าเห็ดไม่ไหม้ ชังเห็ดไหม้
นิโรธ เห็ดจะไหม้หรือไม่ไหม้ก็ไม่ทุกข์ใจ
มรรค ดีที่มาตาลีมาเตือนให้เราหิวน้ำจึงได้เห็นอาการตกใจที่ได้กลิ่นเหม็นไหม้แล้วเหตุการณ์จึงไม่บานปลาย การที่มาตาลีมาเตือนนั่นคือวิบากดีของเราแต่วิบากร้ายที่ได้รับแค่กะทะกับเห็ดไหม้บางส่วนเท่านั้นเพราะเราต้องไปเผาหรือทำร้ายสัตว์หรือเบียดเบียนสัตว์อื่นมาอย่างแน่นอนเราต้องยอมรับวิบากกรรมชั่วที่ทำมา รับเต็มๆหมดเต็มๆทุกอย่างที่เกิดขึ้นไม่มีคำว่าบังเอิญ ทุกอย่างยุติธรรมเสมอ
ตรงกับบททบทวนธรรมข้อ82
จงฝึกอยู่กับความเป็นจริงของชีวิตที่พร่องอยู่เป็นนิตย์ อย่างผาสุกให้ได้
สรุปอาการตกใจก็หายทำให้เราต้องเพิ่มความระมัดระวังเพิ่มขึ้นอีก
อริยสัจ 4
เรื่อง อยากอุดหนุนเพื่อน
เมื่อวานตอนเย็นเพื่อนที่เมืองไทยส่งรูปสับปะรด ทั้งสด และแบบอบฝมาให้ดูทางไลน์ แล้วบอกว่ากำลังลองหัดทำสับปะรดอบขายเพื่อจะเพิ่มรายได้ เห็นใจตัวเองเต้นผิดจังหวะขึ้นมาทันที เกิดความรู้สึกว่าอยากจะช่วยอุดหนุนเพื่อน จึงเขียนบอกเพื่อนไปว่าสนใจอยากจะชิมจังเลยหากอบเสร็จแล้วส่งมาให้ตามที่อยู่นี้ด้วยนะจ้ะ เพื่อนบอกว่าวันอังคารหน้าคิดว่าคงจะพอส่งให้ได้
ทุกข์ : ห่วงเพื่อน
สมุทัย : อยากช่วยให้เพื่อนมีรายได้เสริม ถ้าได้ช่วยให้เพื่อนมีรายได้เพิ่มขึ้นจะสุขใจ
นิโรธ : ถึงแม้ว่าเพื่อนจะไม่มีรายได้เพิ่มก็จะไม่ทุกข์ใจ
มรรค : ท่านอาจารย์กล่าวว่าแต่ละคนมีวิบากและกรรมดีชั่วเป็นของตนเอง และในช่วงอปริหานิยธรรม เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม ท่านอาจารย์บรรยายว่า อะไรที่เราเป็นเจ้าของจะได้ใช้สิ่งนั้น ถ้าไม่ใช่เจ้าของจะไม่ได้ใช้สิ่งนั้น ไม่ใช่กุศลของเรา ก็ยังไม่ได้ใช้ กุศล อกุศล ที่ออกฤทธิ์ ณ วินาทีนั้น คือ สมบัติที่แท้จริง
เพื่อนก็คงจะอยู่ในสถานการณ์ที่ต้องได้รับวิบากกรรมในส่วนนี้ไปก่อน ส่วนตัวผู้เขียนเองก็จะช่วยส่งเสริมและอุดหนุนเพื่อนเท่าที่จะทำได้และจะทำตัวอย่างการมีชีวิตแบบพอเพียงให้เพื่อนได้เห็น ว่าการอยู่แบบพอเพียงก็สามารถมีชีวิตที่ดีได้เหมือนกัน ไม่ต้องดิ้นรนขนขวายทรัพย์ให้มากมายจนเกินไป เผื่อว่าจะเป็นแรงเหนี่ยวนำเพื่อนได้ ที่เหลือก็ปล่อยให้เป็นวิบากดีร้ายของเพื่อนเอง พอคิดได้อย่างนี้อาการของใจที่เต้นผิดจังหวะก็เบาลงและหายไปในที่สุด และทุกข์ใจที่มีอยู่ก็หายไปสิ้นเกลี้ยงค่ะ สาธุ
จะขอเป็นกำลังใจให้เพื่อนค่ะ
การบ้านอริยสัจ 4
วิภาภรณ์ กอจรัญจิตต์ (เอ ใจพอแล้ว)
ใครอยากกันแน่
วันก่อนเราไปทำธุระแล้วเจอกับเพื่อน เพื่อนพาเราเดินชมบ้านเค้า แล้วบอกเราว่าอยากได้อะไรก็บอกได้นะ เราก็ตอบขอบคุณและบอกว่าไม่เป็นไร พอถึงเวลาที่เราทำธุระเรียบร้อย กำลังจะกลับบ้าน เพื่อนก็เดินมาบอกให้เอาของในบ้านเค้าไปด้วย เอาอันโน้นไปด้วย เอาโน่นนี่นั่นไปด้วยนะ เราก็ตอบไปว่าของพวกนั้นที่บ้านเรามีเยอะแล้ว แต่เหมือนเพื่อนเราคนนั้นจะได้ยินแต่ไม่ได้ฟัง ก็ยังไปหยิบของพวกนั้นมากองให้เราเอากลับไปอยู่ดี พอเราปฏิเสธอีกครั้ง เพื่อนก็ยังคะยั้นคะยออยู่ดี
ทุกข์ – ลำบากใจมากที่จะต้องเอาของพวกนั้นกลับมา ที่บ้านเราก็มี เลยยิ่งอึดอัดใจที่เพื่อนไม่ได้ฟังสิ่งที่เราบอก อยากให้ในสิ่งที่เราไม่ได้อยากได้
สมุทัย – อยากได้ความเข้าใจของเค้า
ชอบถ้าเพื่อนจะเข้าใจในสิ่งที่เราบอก(ต้องการ)
ชังถ้าเพื่อนไม่เข้าใจในสิ่งที่เราบอก(ต้องการ)
นิโรธ – เพื่อนจะเข้าใจในสิ่งที่เราบอก(ต้องการ)หรือไม่ ก็ไม่ต้องชอบ
เพื่อนจะไม่เข้าใจในสิ่งที่เราบอก(ต้องการ)หรือไม่ ก็ไม่ต้องชัง
มรรค – กิเลสของเหตุการณ์นี้ คือ เราอยากได้ในสิ่งที่เพื่อนไม่ให้ คือความเข้าใจว่าเราไม่อยากได้สิ่งเหล่านั้น โทษของกิเลสตัวนี้สร้างความทุกข์ใจ ลำบากใจ อึดอัดใจให้เราอยู่ซักพักนึงเลย ยิ่งพอเห็นกองของที่เพื่อนเอามาให้ ทุกข์ก็บีบคั้นใจเรามากขึ้น และในเวลานั้นเราก็เห็นเลยว่าเฮ้ย นิสัยแบบนี้เหมือนใครนะ คุ้นมากมาก ทั้งบีบบังคับ ยัดเยียดดีให้คนอื่นโดยไม่ดูอะไรเลย พอเค้าไม่อยากได้ เราก็ทุกข์ เค้าเอาไปน้อยเราก็ทุกข์ เพราะต้องการให้เค้าเอาทุกอย่างที่เรา(ยัดเยียดดี)ให้ เราถึงจะพอใจ
เหตุการณ์นี้มาให้เราได้ชดใช้วิบากร้ายที่เราเคยทำกับคนอื่น มาให้เราเห็นกิเลสตัวนี้ที่ยังมีฤทธิ์ทำให้เราทุกข์ใจ แม้ว่าในเวลานั้นเราเห็นกิเลสและรู้เหตุแห่งทุกข์แล้ว แต่ยังสู้พลังกิเลสได้ไม่เต็มแรง การใคร่ครวญการล้างกิเลสทำได้ช้า ไม่มีแรงพอที่เราจะขจัดกิเลสตัวนั้น ทำได้แค่ลดความอึดอัดใจลง ยอมรับของกลับมาเพียงบางส่วน และยังล้างใจ ล้างกิเลสไม่สิ้นเกลี้ยง
พอกลับมาถึงบ้าน เราก็เริ่มใคร่ครวญเหตุการณ์นั้นอีกที พบว่าที่เรายังล้างกิเลสตัวนั้นไม่หมด เพราะเรายังมีกิเลสอัตตา เราเองก็ยึด อยากได้ดั่งใจตัวเองเหมือนกัน เมื่อคิดได้เช่นนั้น ก็ต้องขอบคุณวิบากกรรมที่ชักนำให้เพื่อนคนนั้นมาทดสอบเรา ให้เราเห็นว่าเรายังสังวรศีลได้ไม่พอ เราก็อยากขโมยดี(ความเข้าใจ)จากเพื่อนด้วยในเวลาเดียวกัน จากนี้เราก็จะพากเพียรล้างกิเลส รักษาศีล ต่อไป
สรุป – เหตุการณ์แบบนี้ไม่ได้เพิ่งเกิดขึ้นครั้งแรก เกิดขึ้นมาหลายครั้งแล้ว เพียงแต่ในครั้งนี้เราได้เห็นตัวเองในตัวเพื่อนชัดขึ้น เห็นเลยว่าการบังคับคนอื่นให้ได้ดั่งใจเรา(ในคำว่าหวังดี) หรืออยากได้ดีในสิ่งที่เค้าไม่ให้ มันสร้างทุกข์ให้คนอื่นได้มากขนาดนี้ วิบากนี้เราเคยทำมา อยากขโมยดี เมื่อถึงเวลาชดใช้วิบากที่เกิดขึ้น เราก็ยินดี เต็มใจ ยิ้มสู้กับอุปสรรคอย่างเบิกบาน ทุกข์ก็คลายไป
เรื่อง ตัดหญ้าตัดกิเลส
เนื้อเรื่อง เนื่องจากในวันหยุดทั้งครอบครัวมีโอกาสเข้าสวน ตัดหญ้า ซึ่งตอนนี้เพื่อนพืชเยอะมาก ได้ คุยกับพ่อบ้านถ้าเป็นไปได้ช่วยตัดตามแนวทางเดินให้ก่อนเพราะไปเปิด – ปิดน้ำลำบาก แต่เมื่อถึงสวนท่านก็ตัดหญ้าในส่วนที่ท่านเห็นสมควร ใจก็ขุ่นๆ อ้าว!ทำไมๆๆ
ทุกข์ ขุ่นใจที่พ่อบ้านไม่ตัดหญ้าตามที่ร้องขอ
สมทัย ชอบที่พ่อบ้านตัดหญ้าตามที่ร้องขอ ชังที่พ่อบ้านไม่ตัดหญ้าตามที่ร้องขอ
นิโรธ พ่อบ้านจะตัดหญ้าตามที่ร้องขอ หรือตัดหญ้าตามที่ท่านเห็นควรก็ไม่ชอบไม่ชัง ใจไร้ทุกข์
มรรค เมื่อเห็นเหตุการณ์ เห็นความยึดมั่นถือมั่นมารก็ออกมาให้เห็นทันทีจนต้องจับมารมาคุยกันก่อน
มาร :อ้าว!คุยกันแล้วไม่ใช่หรือ ทำไมไม่สงสารเราบ้างหญ้ารกจนจะเดินไม่ได้แล้ว
เรา :ใช่น่าสงสารอยู่หรอกนะ แต่ไม่ใช่เรื่องที่ไม่ช่วยตัดหญ้านะ น่าสงสารใจของเธอที่ทุกข์ไปได้ทุกเรื่อง ตัดทุกข์ที่เกิดอยู่ในใจก่อนไหม จะทุกข์ จะขุ่นใจให้โง่ทำไม แม้แค่นิดเดียว เสี้ยวเดียวก็ไม่ใช่พุทธะแล้ว กิเลสแม้น้อยนิดเดียวก็เหม็นมาก ร่างกายจะต้องใช้พลังเพื่อขับพิษออกอีก ไม่เอาแล้ว ไม่ขุ่นแล้วใช้บททบทวนธรรมข้อ 74 “ให้ตรวจดูว่าในชีวิตเรา ยังมีเรื่องอะไรที่เกิดขึ้นหรือเสียหายแล้วทำให้ใจเราเป็นทุกข์ได้ ถ้ามีอยู่แสดงว่ายังมีกิเลสเหตุแห่งทุกข์อยู่ให้กำจัดกิเลสความยึดมั่นถือมั่นนั้นเสีย”
ต้องขอบคุณที่พ่อบ้านขัดใจจึงเห็นทุกข์ตัวนี้อีกที่ยังไม่หมดเพราะทำมาหาที่ต้นที่สุดไม่ได้ ทำมาๆๆ เยอะมาก ท่านคือผู้ที่มีบุญคุณที่สุดในโลกจริงๆ ที่ทำให้เราได้เห็นทุกข์ ได้ล้างทุกข์ ได้พ้นทุกข์ และได้ใช้วิบากด้วย “คนนี้เท่านั้นจริงๆ” แล้วเธอไม่เคยขัดใจใครเลยหรือ?
มาร :ก็เคย บ่อยด้วย
เรา :นั้นไง ดีแล้วละได้ใช้วิบาก รับแล้วจะได้หมดไปแล้วจะโชคดีขึ้น
สรุป พอมารมาคิดแบบพุทธะ ความสุขสบายใจก็กลับมาทันที พ่อบ้านก็เดินมาบอกว่าขอตัดที่ริมสระและทางเดินก่อนนะ ก็น้อมรับด้วยความยินดี พอใจ เต็มใจท่านตัดหญ้าให้ก็ดีมากแล้ว..สาธุ
เรื่อง
ตั้งศีล ขัดใจกิเลส วิ่งให้ได้มากที่สุด
เนื้อเรื่อง
ตื่นเช้ามาของทุกวันตั้งศีลว่าจะออกกำลังกายด้วยการ เดิน สลับวิ่ง แต่ก็ทำได้แค่สองรอบก็หายใจไม่สะดวก
ทุกข์
กลัวว่าจะเป็นลมชัก อาการทางกายหมดแรง เหตุการณ์ วิ่งได้ 2 รอบ
สมุทัยชอบที่ได้ออกกำลังกายหลายรอบ ชังที่ออกกำลังกายได้ 2 รอบ
นิโรธ จะออกกำลังกายได้น้อยได้มากก็ไม่ทุกข์ใจใจไร้ทุกข์ไร้กังวล
มรรค
จากการได้ตั้งศีลว่าจะออกกำลังกายเพื่อล้างอบายมุข 6 ตัวขี้เกียจออกกำลังกายทำให้เห็นกิเลสตัวไม่รับผิดชอบตัวเองคือคนทำลายศาสนา
มาร
พอวิ่งได้2รอบมารบ่น ทำไมร่างกายเรามันหนืดมันหนักมันเหนื่อย ชีวิตเราช่างลำบากเหลือเกินไปนอนสบายๆดีกว่าไปวิ่ง
เรา
มารหน้าโง่ก็ทำมาแล้วนอนเยอะๆจะทำอะไรเอาแบบสบายๆว่า จะทำโง่ ทำชั่วอีกรึอ ออกกำลังกายคือการเสียเหงื่อเสียกิเลสแต่สิ่งที่เราเสียคือเราได้เราได้กำไร ได้ฝึกที่จะสู้กับความขี้เกียจของเรา
มาร
คิดว่าจะไม่ออกกำลังกายหรอกเสียเวลาทำงานเป็นการคิดผิดรึอไม่รู้มาก่อน
เรา
ใช่แล้วมารคิดแบบพุทธะจะเบาสบายโล่งฝืนไว้ได้กำไร แต่ถ้าเราคิดแบบมารเราจะหนักใจ หนักกาย ตามใจขาดทุน เราต้องใช้วิบากก่อนเราถึงจะเบิกกุศล(สุขภาพดี)ของเรามาใช้ได้ เปรียบเทียบดูสิตอนเราคิดแบบมารเราจะไม่มีปัญญาออกจากทุกข์
พอคิดแบบพุทธะอยากจะเอาจริงในการออกกำลังกายล้างตัวขี้เกียจ(อบายมุข6) ก็ทำให้ยินดีพอใจห้าวหาญฮึกเหิมพร้อมที่จะสู้กับกิเลส อาการกลัวเป็นลมชักลดลง ออกกำลังกายได้ดีขึ้น มีพลังมีแรงมากขึ้น ก็เลยทำให้เข้าใจธรรมะว่าเกิดมาเพื่อฝึกให้อภัยตัวเอง
เรื่อง ลูกจะขายบ้านหลังแรก
เหตุการณ์ เหตุจากที่พ่อแม่ไม่มีบ้านของตนเองเราเลยคิดว่าจะมีบ้านให้แม่และน้องอยู่จึงสร้างบ้านหลังแรกด้วยลำแข้งของตนเอง จนมีบ้านต่อๆมาถึง9หลัง แต่ตอนนี้ลูกสาวซื้อบ้านของตนเองหลังที่7(9)ทำให้เขาคิดจะแยกทะเบียนบ้านและขายบ้านหลังแรก
ทุกข์ กลัวลูกจะขายบ้านหลังแรก
สมุทัย ชอบถ้าลูกไม่ขายบ้านหลังแรก ชังที่ลูกคิดจะขายบ้านหลังแรก
นิโรธ เขาจะขายบ้านหลังแรกหรือไม่ขายก็ไม่ทุกข์
มรรค .รู้สึกโล่งใจเมื่อเขตไม่เปิดจึงไม่ต้องขายบ้านแล้วแต่เป็นการที่เราได้ดังใจหวังตามกิเลสซึ่งไม่ใช่พุทธะแต่เป็นกิเลสมารที่เข้ามาทำให้เราคิดผิดต่อมาจึงได้สอบถามลูกสาวและลูเขยใหม่เขาบอกว่าจะขอแยกทะเบียนบ้านเพื่อขอเลขบ้านใหม่สำหรับไปขอมิเตอร์ไฟฟ้าแล้วทำเป็นบ้านเช่าต่อไปเพื่อที่จะมีรายได้จากค่าเช่าบ้านทำให้เราเข้าใจสิ่งที่ถูกต้องรู้สึกโล่งใจ เบาสบายไม่ทุกข์อีกต่อไป
เรื่อง คอยกิน
เหตุการณ์:เราลงงานในสวนแต่เช้า และได้บอกพ่อบ้านว่า ให้ทำแกงขนุนต้มกะทิด้วย เพราะเราได้เตรียมทำขนุนพร้อมแกง ไว้ในตู้เย็น แต่พ่อบ้านไม่ได้ทำแกงอะไรไว้เลย แม้แต่ต้มกะทิขนุน
ทุกข์: เคืองที่พ่อบ้านไม่ต้มกะทิขนุน
สมุทัย: ชอบที่พ่อบ้านจะแกงต้มกะทิขนุน
ชังที่พ่อบ้านไม่แกงต้มกะทิขนุน
นิโรธ: จะได้กินข้าวกับต้มกะทิขนุนหรือไม่ก็ได้ ไม่ชอบไม่ชัง
มรรค: ทำงานสวนจนเพลินได้เวลากินข้าว รู้สึกหิว ก็บอกตัวเองว่า ทำงานต่ออีกสักหน่อย ยังไม่เที่ยงเลย พอดีแหละเราขึ้นจากงานก็จะได้กินข้าวเลย บอกพ่อบ้านไว้แล้ว ว่าแกงขนุนไว้ด้วย
พอได้เวลาเราก็ขึ้นจากงาน หิวก็หิว
เตรียมจะกินข้าว แต่มองเห็นพ่อบ้านนั่งหั่นผัก เตรียมทำน้ำสมุนไพรฤทธิ์เย็น
เลยถามพ่อบ้านว่า ได้ทำแกงขนุนหรือไม่
พ่อบ้านตอบว่า ยังไม่ได้แกงอะไรเลย
มารมาไม่ทันตั้งตัว ปรี๊ดขึ้นในใจทันที่
อ้าวแล้วเติลทำอะไรอยู่ แล้วทำไมไม่ทำแกง หิวก็หิว มารบ่นไปทำแกงไป
บ่นได้สักพัก ก็สงบลง แล้วเราจะบ่นจะขุ่นข้องใจไปทำไม บ่นไปแล้วจะได้กินไม่ละเมื่อเขาไม่ทำแกงไว้ เราก็ทำแกงเองก็ได้ไม่ใช่หรือ. เออ ก็ใช่วะ ไม่กินแกงขนุนก็ดีแล้ว เพราะแกงขนุนเป็นฤทธิ์ร้อน.กินตอนอากาศร้อนๆก็มีแต่จะป่วยไม่ใช่หรือ
เราเลยตัดสินใจลวกผัก ผัดผักบุ้ง ผัดปลีกล้วย ได้กินผักฤทธิ์เย็น มันดีกว่าไม่ใช่หรือ อือ.ใช่ๆๆๆ ทั้งเป็นผักเย็น กินดีมีประโยชน์ กว่าต้มกะทิขนุนตั้งมากมาย
เราทำไปด้วยใจเบิกบาน กินด้วยใจเป็นสุข แค่นี้ก็จะไปทุกข์อะไร มีอะไรเกิดขึ้น จงท่องไว้” กู-เรา-ฉัน “ทำมา ตามบททบทวนธรรมข้อที่ ๔๖
ที่สุดเราเคยทำมามากกว่านั้น ได้รับแล้วก็หมดไปใจเป็นสุขกับการทำกับข้าว
เรื่อง : เห็นใจหมองลงทันที ที่ผิดศีล
เหตุการณ์ : ในขณะที่เพื่อนกำลังพูดอยู่ เราก็พูดเรื่องของเราตัดหน้าเพื่อนทันที (เราตั้งศีลสังวร สำรวมระวังอยู่ว่า ถ้าคิดอยากจะพูด จะไม่พูดทันที ตามใจอยาก) พูดไปจนจบเรื่องแล้ว เห็นอาการใจหมองลงทันที เริ่มรู้สึกอึดอัดใจ มีพลังงานความร้อนผ่าวๆ เกิดขึ้นทั่วตัว รู้สึกร้อนที่ฝ่ามือมากกว่าส่วนอื่นๆ รู้สึกผิดที่ไปพูดตัดหน้าเพื่อน อ้าวเราผิดศีลแล้วนี่ เราคิดอยากจะพูดอะไร ก็พูดออกมาเลย ตามใจตนเองตลอด (จับได้ว่ามีกิเลส ๒ ตัว ตัวผิดศีล กับตัวอยากพูด)
๑. ตัวผิดศีล ให้ชื่อเรื่องว่า เห็นใจหมองทันที ที่ผิดศีล
๒. ตัวอยากพูด ให้ชื่อเรื่องว่า อยากพูดทันทีทันใด ดั่งใจหมาย
จึงได้เขียนอริยสัจ ๔ เป็น ๒ เรื่อง ขอโอกาสล้างตัวผิดศีลก่อนค่ะ
ทุกข์ : ทุกข์ใจที่ผิดศีล พูดตัดหน้าเพื่อน อาการที่เห็น เห็นใจหมองลงทันที เริ่มรู้สึกอึดอัดใจ มีพลังงานความร้อนผ่าวๆ เกิดขึ้นทั่วตัว รู้สึกร้อนที่ฝ่ามือมากกว่าส่วนอื่นๆ รู้สึกผิดกับการกระทำนั้น รู้สึกว่าไม่ควรทำ ไม่ควรมีในเรา
สมุทัย : เหตุเกิดจากการผิดศีล ที่ตั้งไว้ว่า จะสังวร สำรวมระวัง ถ้าคิดอยากจะพูด จะไม่พูดทันที ตามใจอยาก ผิดศีลเพราะมีตัณหาความอยาก อยากพูดทันทีทันใด ดั่งใจหมาย ตามความต้องการ ความอยากพูดของเราทุกครั้ง
นิโรธ : รู้ตัวว่าผิดศีล ก็จะสังวร สำรวมระวังให้มากขึ้น ในครั้งต่อไป ไม่ทุกข์ใจ
มรรค : พิจารณาเห็นโทษของการผิดศีล มีอาการใจหมองลงอย่างเห็นได้ชัดเจน เห็นทุกข์ที่เริ่มรู้สึกอึดอัดใจ มีพลังงานความร้อนผ่าวๆ เกิดขึ้นทั่วตัว รู้สึกร้อนที่ฝ่ามือมากกว่าส่วนอื่นๆ มีทุกข์ใจรู้สึกผิดกับการกระทำที่ไม่ดีนั้น ขนาดได้พูดสมใจไปแล้ว ยังเกิดทุกข์ที่เห็นว่าใจหมองลงเลย และได้พูดสมใจก็สะสมความสมใจไว้ สะสมความได้ดั่งใจไว้ จนติดใจอยากได้ทุกครั้งๆ ถ้าวันใดไม่ได้พูดสมใจ ก็ต้องทุกข์ใจอย่างแรง เราได้เห็นอาการทุกข์นั้นแล้ว และเห็นว่าเราทำพฤติกรรมที่ไม่ดีนั้น ออกไปเบียดเบียนเพื่อนแล้วด้วย จะสังวร สำรวมระวังให้มากขึ้น ระวังไม่ทำอีก ไม่ให้เกิดขึ้นอีกเท่าที่สามารถจะทำได้ ได้เห็นโทษของการผิดศีล รู้สึกผิด ได้สำนึกผิด และได้พูดขอโทษเพื่อนต่อหน้าและพี่น้องหมู่มิตรดี ทำให้ใจที่หมองๆ นั้นคลายหายไปจนหมด สาธุค่ะ
เรื่อง ตื่นสายล้างกิเลสมาร
เหตุการณ์ เนื่องจากเป็นโรครูมาตอยด์จนร่างกายแข็งเกร็ง ปวดข้อมากหลังใช้ยา 9เม็ด อาการดีขึ้นเรื่อยๆ ก่อนนี้จะละเลยเม็ดที่ 6 คือกดจุด โยคะ กายบริหารจึงตั้งศีลตั้งใจจะทำข้อนี้พร้อมค่าย แต่ช่วงนี้จะมีกิจกรรมหลายอย่างให้ได้บำเพ็ญมีทั้งประโยชน์ตน ประโยชน์ท่านจนบางครั้งกว่าจะได้เข้านอนก็เลย 22.00น.ทำให้เกิดการเกเร ไม่ค่อยอยากตื่นมาทำกิจกรรมตอน 3.30น
ทุกข์ ใจขุ่นๆนอนตื่นสายทำกิจกรรมไม่ทัน
สมุทัย ชอบถ้าได้ทำกิจกรรมพร้อมในค่าย ชังถ้าพลาดไม่ได้ทำกิจกรรมพร้อมในค่าย
นิโรธ จะได้ทำหรือไม่ได้ทำกิจกรรมพร้อมในค่ายก็ไม่ชอบไม่ชัง ใจไร้ทุกข์
มรรค มาพิจารณาความจริง เมื่อรู้สึกว่าไม่ค่อยแช่มชื่น ไม่ค่อยกระปรี้กระเปร่าก็รู้แล้วละ มารเข้ามาอีกแล้ว มาคุยกันหน่อยมาร
มาร :เห็นไหมตื่นสายแล้ว อาจารย์ไปถึงไหนแล้วเนี่ย นอนมาตั้งหลายปีแล้ว จะนอนไปถึงไหนอาจารย์ไปกดจุดแขนแล้ว
เรา :ไม่เห็นเป็นไรเลย มาชชิ่ง กายบริหารไม่ทันก็ไม่เห็นเป็นไร ไม่เห็นทำให้เธอตายเลย ทั้งที่ไม่ทำตามมาตั้งหลายปี แต่นี้จะทำให้เธอตายถ้าเธอทำใจเธอให้ทุกข์ได้ในทุกเรื่อง จะทุกข์ใจ จะไม่แช่มชื่นไปทำไม จะโง่ ชั่ว บ้าไปถึงไหน ยินดีรับในสิ่งที่จัดสรรให้ ให้ได้ในทุกเรื่อง วันนี้เขาให้แค่นี้ก็ดีมากแล้ว ได้ตื่นมาทำกิจกรรมก็ดีมากแล้ว อย่าอยากได้ในสิ่งที่ไม่ได้ อย่ายึดมั่นถือมั่นว่าจะทำได้ดีทุกวัน เพราะทุกสิ่งเกิดจากการกระทำตามวิบากดีร้ายของเราที่จัดสรรมาถูกต้องแล้ว ใช้บททบทวนธรรมข้อ 102 “ทำตามจริงที่เป็นไปได้จริง ชีวิตก็ไม่มีอะไรทุกข์”
สรุป หลังพิจารณาใจก็แช่มชื่น เบิกบานทำกิจกรรมกดจุดโยคะกายบริหารไปพร้อมฟังธรรมะไปด้วย..สาธุ
เรื่อง:สั่งของออนไลน์
เหตุการณ์:สั่งของ แล้วร้านส่งของมาผิด
ไม่ได้ตามที่สั่ง
ทุกข์: หงุดหงิด ที่ทางร้านส่งของมาผิด
สมุทัย: ชอบใจหากร้านส่งของมาถูก
ชังที่ร้านส่งของมาผิด
นิโรธ:ร้านจะส่งของมาถูกหรือผิดก็ได้ ไม่ชอบ ไม่ชัง
มรรค: เมื่อเปิดดูสินค้าที่สั่งซื้อ มันไม่ใช่สินค้าที่เราได้สั่งไป เราจึงโทรหาทางร้านก็ไม่รับสาย โทรถึงสามครั้ง
คิดว่าคงโดนโกงแน่ๆ เราเคยโกงเขามาก่อน ชาตินี้เขาเลยมาทวงคืน ก็เลยวางใจ
พอวันรุ่งขึ้น เลยลองโทรอีกครั้ง โทรปุ๊บรับปั๊บ ทางร้านบอกว่ายินดีคืนเงินให้เรา
ภายใน 15วันทำการ จะได้เงินคืนหรือไม่เราก็ไม่สุขไม่ทุกข์ ได้ก็ได้ ไม่ได้ก็ได้
“ไม่มีประโยชน์อะไรที่จะทุกข์ใจ ความทุกข์ใจ ไม่ได้แก้ปัญหา มีแต่เพิ่มปัญหา สุดท้ายทุกสิ่งทุกอย่างก็ต้องดับไป
จะทุกข์ใจไปทำไม เบิกบาน…แจ่มใสดีกว่า “บททบทวนธรรมข้อที่๗๒
และข้อที่๘ สิ่งที่เราได้รับคือ สิ่งที่เราทำมา ไม่มีสิ่งใดที่เราได้รับโดยที่เราไม่เคยทำมา
เมื่อวางใจได้ ตามบททบทวนธรรม
ใจก็ไร้กังวล ได้ก็ได้ ไม่ได้ก็ได้
เรื่อง อยากกินมะม่วงเห็นกิเลส
เนื้อเรื่อง
ช่วงนี้มะม่วงสุกเยอะแต่ว่าเราอยากกินมะม่วงพื้นบ้านที่เม็ดใหญ่รสหวานเนื้อน้อย(มะม่วงกล้วย)แต่หากินยาก โหยหาอยากกินทุกวัน
ทุกข์
ไม่แช่มชื่นใจเวลาไม่ได้กินมะม่วง ที่ได้ตั้งงภพไว้
สมุทัย ชอบที่ได้กินมะม่วง ที่ตั้งภพไว้จะถูกใจจะชอบใจถ้าไม่ได้กินจะทุกข์ใจ
นิโรธ
จะได้กินมะม่วงแบบที่เราตั้งภพไว้ก็ไม่ชอบไม่ชังใจไร้ทุกข์ไร้กังวล
มรรค
กิเลสสั่งว่ามะม่วงแบบที่เรากินมีน้ำตาลน้อยมีพิษน้อยต้องหามากินให้ได้เดี๋ยวหมดฤดูกาลก็จะไม่มีกินจะหาด้วยวิธีใดก็ได้จะขโมยหรือทำยังไงก็ขอให้ได้กิน เยอะๆ
มาร
โอ้โห้ มะม่วงรสชาติดีมากหวานอร่อยต้องกินเยอะๆ รีบเสพเดี๋ยวหนอนจะมาแย่งกินเดี๋ยวเน่าหมดหมดฤดูกาลมะม่วงเราก็จะ
ไม่มีให้กินอีกแล้วนะ
เรา ไอ้มารหน้าโง่ สิ่งที่เธอคิดมันเป็นแรงเหนี่ยวนำให้กับคนอื่น(สมบัติชั่ว)อยากได้อะไรมากๆก็ทำชั่วได้ทุกเรื่องแค่เรื่องมะม่วงยังอยากได้ขนาดนี้เลยแล้วเรื่องใหญ่ๆเธอจะต้องทำชั่วทำร้ายเพื่อให้เอามาเป็นของตนให้ได้รีบสำนึกผิดซะความคิดนี้เป็นความคิดที่ ผิดศีล ไม่ใช่เฉพาะตัวเราเท่านั้นแต่ยังเป็นแรงเหนี่ยวนำให้กับคนที่ กำลังคิดจะทำชั่วเขาจะไม่ยับยั้งชั่งใจ เขาจะทำ ชั่วเพราะแรงเหนี่ยวนำจากความอยากได้อยากเป็นอยากมีของเรา
พอคิดแบบพุทธะทำให้เห็นความเบาสบายในการอยากกินมะม่วงมากๆต้องขอบคุณบททบทวนทำข้อที่ 4 ต้องกล้าในการทำ สิ่งดี
ละอายและเกรงกลัวในการทำสิ่งชั่ว ชีวิตจึงจะพ้นทุกข์ได้
สรุปพอรู้ว่าตัวเองมีความอยากแบบยึดมั่นถือมั่นในการอยากกินมะม่วง เป็นความคิดของกิเลสก็เปลี่ยนมาคิดแบบพุทธะทำให้คลายความอยากกินมะม่วงลงเพราะว่ากินอะไรก็แค่เอาไปเป็นธาตุอาหารเลี้ยงร่างกายเท่านั้นกินเพื่อล้างกิเลสกินเพื่อลดกิเลสกินเพื่อได้ทำกุศลสาธุขอบคุณมิตรดีครับ
ส่งการบ้าน อริยสัจ4
เรื่อง. มะม่วงกวน..กวนใจ
เหตุการณ์.ตอนเย็นเดินไปหาย่าที่บ้านอา
แล้วพอดีอากำลังแกะกล่องพัสดุที่เป็นของญาติพ่อบ้านอาส่งมาให้จากต่างจังหวัด เป็นมะม่วงกวน เมื่อย่าเห็นเราเดินไปจึงพูดว่า เอาไปกินสิมะม่วงกวน และบอกให้อาหยิบให้เราสักกล่องสิ แทมกินได้ เพราะท่านรู้ว่าเป็นขนมที่ไม่มีส่วนผสมของไข่ไก่ เราก็ตอบไปว่า ไม่เป็นไรค่ะ
เพราะหันไปเห็นหน้าของอา ว่าไม่พอใจย่าและอาก็พูดมาว่ามันเป็นของฝากเค้า ต้องเอาไปให้คนโน้นคนนี้อีก รู้สึกเหมือนเค้าหวงๆอยู่
หรืออาก็กำลังวุ่นๆอยู่ที่จะถ่ายรูปส่งกลับไปให้คนที่ส่งของมาให้ แต่เราไม่ได้รู้สึกอยากกินหรือไม่ได้รู้สึกดูดกับมะม่วงกวนหรอกค่ะ เพราะเราก็เคยกินมะม่วงกวนทุกครั้งแล้วปวดฟันทุกครั้ง แต่รู้สึกไม่พอใจอาที่ทำท่าทีไม่พอใจย่าที่ใช้ให้เราเอามะม่วงกวนมากิน เราจึงเดินกลับบ้าน ย่าก็พูดอีกว่าทำไมไม่รอเอามะม่วงกวนไปกินก่อน เราจึงตอบแค่ อือๆ แล้วก็เดินกลับบ้านมาล้างผัสสะค่ะ
ทุกข์.ไม่พอใจอาที่ทำอาการไม่พอใจย่า ที่ย่าใช้ให้เราเอามะม่วงกวนมากิน
สมุทัย.ยึดอยากได้สภาพดีๆจากอาถ้าอายินดีที่จะให้ของพูดดีๆกับย่าเราจะชอบใจจะสุขใจ เมื่อเห็นอาทำท่าทีไม่พอใจย่าพูดไม่ดีกับย่าจึงไม่ชอบใจทุกข์ใจ
นิโรธ.วางใจ อาจะทำลีลาอาการอย่างไร พูดดีหรือไม่ดีกับย่าก็ยินดีไม่ชอบไม่ชัง
มรรค.ตั้งศีลมาปฏิบัติพิจารณาไตรลักษณ์ เห็นอาการของกิเลส พิจารณาโทษของความชังเห็นความจริงตามความเป็นจริงที่กิเลสทำให้ใจเป็นทุกข์ พิจารณาเห็นประโยชน์ของการล้างความชัง มันทำให้ใจโล่งขึ้น และระลึกได้ว่าเราก็เคยทำพฤติกรรมไม่ดีมาเหมือนกันหวงของเหมือนกันนะ ถ้าคิดว่าของสิ่งนั้นมันมีความสำคัญกับเรา คือได้สับปะรดมา2ลูกแล้วอามาที่บ้าน ก็นึกได้ว่าทำไมเราไม่ให้อาสักลูกละ จับได้ว่าเรารู้สึกว่าตัวเองหวงของอยู่ เพราะคิดว่าเราจะเก็บไว้กินเอง ก็ได้สำนึกผิด ส่วนอาเราต้องไม่ไปโกรธไม่ไปพอใจท่าน ต้องเมตตาท่านให้มากๆ ขอให้ท่านคิดดีคิดถูกได้เร็วๆและขอบคุณส่วนดีของท่านที่มาให้ผัสสะกันเรา ยินดีกับผัสสะที่มากระทบให้เราได้เห็นกิเลส ได้เห็นทุกข์ ได้ล้างทุกข์ ได้ใช้วิบากกรรม ได้สำนึกผิด กับสิ่งที่เราเคยพลาดทำมา ตั้งจิตหยุดสิ่งไม่ดีอันนั้นตั้งจิตทำความดีให้มากช่วยเหลือผู้อื่น
สรุปว่า เมื่อเราวางใจได้ใจโล่งสบาย และ อาก็เดินเอามะม่วงกวนมาให้ที่บ้านค่ะ
เรื่อง ขอบพระคุณอาจารย์ที่เมตตา
เหตุการณ์ มีพี่น้องจิตอาสาที่อยู่นอกศูนย์ปรึกษากันเรื่องเคลื่อนเข้าศูนย์มีการพูดคุยปรึกษากันเรื่อง การจะขึ้นภูผาฟ้าน้ำ หรือเข้าศูนย์ฯไปรวมหมู่รวมกลุ่มหลังจากที่พวกเราได้ฟังคำบรรยายของอาจารย์ในเช้าวันหนึ่งที่อาจารย์เมตตาให้จิตอาสาที่พอจะมั่นใจว่าดูแลตนเอง ให้ปลอดภัยจากเชื้อ COVID-19 ได้ดีและจัดสรรองค์ประกอบของตนเองได้ เดินทางเข้าไปรวมพี่รวมน้องตามศูนย์ต่าง ๆ เพื่อช่วยกันปลูกอยู่ปลูกกินเนื่องจากเริ่มเข้าสู่ฤดูเพาะปลูกฝนเริ่มทยอยตกมาเรื่อย ๆ แล้ว และสถานการณ์ของโรคภายนอกก็ดูจะรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ท่านเป็นห่วงว่าจะอยู่กันอย่างไรให้ปลอดภัยและยั่งยืน
ทุกข์ : เกิดความอึดอัด ไม่โปร่งไม่โล่ง มีอาการถอนหายใจ เมื่อได้คุยปรึกษากันว่าจะเข้าศูนย์
สมุทัย : เกิดความอยากได้ เห็นความชอบสภาพที่อิสระ ในการไปไหนมาไหนได้เหมือนเดิม จะสุขใจ ทุกข์ใจชังกับสภาพที่ไม่อิสระในการจะไปไหนมาไหนจะต้องระมัดระวังตัว ในการไปพบปะผู้คน
นิโรธ : ดับความอยาก ล้างชอบชังในสภาพที่อิสระจะไปไหนมาไหนได้สมใจ เราจะมีอิสระหรือไม่มีอิสระ ในการไปไหนมาไหน เราก็ผาสุกใจได้ ( แท้จริงร่างกายที่ไม่เที่ยงอาจจะป่วยไปไหนมาไหนไม่ได้เลยก็เป็นได้ )
มรรค : การบำเพ็ญบุญกุศลของเรา จะอยู่จุดไหน ที่ไหนก็ได้ทั้งนั้น หรือจะไม่ได้บำเพ็ญกุศลร่วมกับหมู่เลยก็ได้ จะอยู่ที่บ้านเรา หรือไปรวมหมู่รวมกลุ่มกับพี่น้องตามศูนย์ฯต่างๆ หรือ บนภูผาฟ้าน้ำ ที่ไหนก็ได้ทั้งนั้น ตัวความอึดอัด ไม่โปร่ง ไม่โล่ง กังวลในใจ เป็นกิเลสตัณหาความอยาก ที่โผล่ขึ้นมาสั่งการ นั่นโน่นนี่ ทำให้เกิดความอึดอัด ไม่โปร่งไม่โล่งในใจ ลวงว่าไม่อิสระเหมือนเดิม มาหลอกให้เราหลงเชื่อไม่อยู่กับความเป็นจริง ไปหยิบเอาอดีตบางส่วนที่ไม่มีการระบาดของโรค มาเปรียบเทียบกับเหตุการณ์ในปัจจุบัน ทำให้ตีความผิดเพี้ยนไปจากความจริง
หากหลงกลไปเชื่อกิเลสเข้า การกระทำของเราอาจเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายต่อชีวิตมากขึ้นได้ เพราะประมาทไม่ดูแลตัวเองให้ดี ความประมาทเป็นความชั่ว เปิดทางให้วิบากร้ายเข้ามา เมื่อเราเห็นกิเลสแล้ว เราจึงกลับลำ มาคิดแบบพุทธะ พิจารณาอยู่กับปัจจุบัน มองเห็นความจริงตามความเป็นจริง เมื่อก่อนไม่มีการระบาดของ เชื้อโรค COVID-19 เราก็จึงไปไหนมาไหนได้อย่างอิสระ เมื่อเวลาเปลี่ยน ทุกอย่างไม่เที่ยง ต้องพร้อมรับ พร้อมปรับ พร้อมเปลี่ยนตลอดเวลา ผู้คนพากันเสพกิเลสมากมาย แม้ตอนนี้เราได้มาพบอาจารย์ ลดละเลิกกิเลสไปได้บ้างแล้วก็ตาม ผลในอดีตที่เราเองก็เคยพลาดทำชั่วเสพกิเลสมาก็มากหาที่ต้นที่สุดไม่ได้เช่นกัน เราก็ย่อมได้รับผลของการกระทำพลาดนั้น ๆ ไปด้วย เป็นวิบากหมู่ที่ต้องรับอย่างเลี่ยงไม่ได้ ถ้ามีโอกาสเลี่ยงได้ก็เลี่ยง ไม่มีโอกาสเลี่ยงก็ยินดีรับสภาพให้ได้ ยินดีในโชค 5 ชั้น คือ ได้เห็นทุกข์จริงสุขลวง ได้ล้างทุกข์ ได้สุขแท้ ได้ใช้วิบากร้าย วิบากร้ายก็หมดไป ก็จะได้โชคดีขึ้น
ได้มีโอกาสบำเพ็ญกุศลช่วยเหลือกิจกรรมการงานของหมู่กลุ่มทางออนไลน์ได้อยู่ เท่านี้ก็ดีมากแล้ว เราไม่ประมาท พยายามป้องกันเต็มที่เท่าที่จะทำได้ ดูแลตนเองด้วยยาเก้าเม็ด ถ้าจะเดินทางไปก็จะไปด้วยรถยนต์ส่วนตัว วางแผนการเดินทางอย่างดี พิจารณาเห็นความจริงตามความเป็นจริงแล้ว ตัวกิเลสกังวล อึดอัด ไม่โปร่งไม่โล่ง ก็หายไปทันที มีความโปร่งโล่งสบายใจ สดชื่นมีพลัง เบิกบานที่ได้ร่วมบำเพ็ญกุศลกับพี่น้องหมู่มิตรดี หากหมู่เห็นว่าจะไปรวมกันและมีมติอนุญาตให้เราเข้าศูนย์ หรือขึ้นภูผาฟ้าน้ำได้ ทางสะดวกให้ไปตรงไหนได้ก็ตามนั้น
และพิจารณาต่อว่าแม้เราจะได้ไปหรือไม่ได้ไป อยู่ตรงไหนก็ร่วมบำเพ็ญกับหมู่ได้เป็นอิสระที่ยิ่งใหญ่อยู่แล้ว งานให้บำเพ็ญมีมากมาย จะได้ไปก็ได้ ไม่ได้ไปก็ได้ สบายใจจริง ทำดีเต็มที่ทุกวัน ก็สุขใจเต็มที่ได้ทุกวันแล้ว
รมิตา ซีบังเกิด
เรื่อง : แมวทำร้ายนก
เหตุการณ์ : นกมาทำรังที่ต้นไม้ในรั้วบ้าน ออกลูกมา 2 ตัว ยังไม่โตไม่สามารถบินได้ จู่ๆมีแมวมากระโจนใส่จนรังและลูกนกตกลงมาอยู่ที่หญ้า เราจึงหาวัสดุมาทำรังให้ใหม่ นกปลอดภัยอยู่ได้ 2 วัน รุ่งเช้าเห็นรังตกลงมาอีกลูกนกตายไป 1 ตัวเหลือตัวเดียวเห็นสภาพตัวที่รอดเล็กนิดเดียว เราก็ทำรังให้ใหม่และไปผูกรังกับต้นไม้ต้นใหม่ที่สูงและปลอดภัยกว่าเดิม ในที่สุดลูกนกก็โตแล้วบินออกไปจากรังไปอยู่ในที่ๆเขาควรจะอยู่
ทุกข์ : รู้สึกหดหู่ใจที่เห็นนกถูกแมวทำร้าย
สมุทัย : ชอบใจที่เห็นนก อยู่รอดปลอดภัย ชังที่เห็นนกถูกแมวทำร้าย
นิโรธ : นกจะถูกทำร้ายหรือไม่ก็ไม่ชอบ ไม่ชัง
มรรค : จากเหตุการณ์ดังกล่าว
เห็นแล้วเกิดความหดหู่ใจ ทุกข์ใจที่นกต้องมาตายก่อนจะโต แต่นกและแมวเป็นสัตว์ เขาก็ต้องมีชีวิตตามธรรมชาติของเขา เราช่วยเต็มที่เพื่อให้เขามีชีวิตรอด ก็เป็นบุญกุศลของเราเอง เมื่อเราได้ทำเต็มที่แล้ว ช่วยในสิ่งที่สมควรช่วย ทำในสิ่งที่พึงทำ ทำดีที่สุดแล้ว ผลจะออกมาเป็นอย่างไร ก็ไม่ต้องทุกข์ใจ ความอยากได้ดั่งใจหมาย เป็นกิเลส มาหลอกให้เรายึด เราทุกข์ เราโง่ มันผิดศีล เหตุการณ์ แมวทำร้ายนกเราแก้ไขไม่ได้แล้ว แต่เราแก้ที่ใจเราไม่เชื่อกิเลสมาร ล้างมารออกจากใจ เสียก่อน จึงจะทำให้ หมดความทุกข์ใจ ซึ่งตรงกับบททบทวนธรรมข้อที่ 93 ว่า ” ในโลกนี้ ไม่มีอะไรสำคัญเท่า การดับทุกข์ใจ ให้ได้ ”
ถ้าเรายังหลงจะแก้ไขพฤติกรรมของสัตว์เราก็ทุกข์ใจเปล่า โง่ที่สุด เมื่อเราแก้ไข อะไรไม่ได้ก็ปล่อยวาง ใจก็โล่ง เบาสบายดี
อริยสัจ 4
เรื่อง: อยากกลับบ้านที่ กทม กลัว ลูกติดโควิท
เนื้อเรื่อง : รู้สึกเป็นห่วงลูกมากในช่วงนี้ เพราะเราไม่ได้กลับบ้านที่ กทม ไม่ได้เจอหน้าลูกมา 8 เดือนแล้วเพราะมาบำเพ็ญอยู่ที่ ภูผาฟ้าน้ำ โดยปกติก็ไม่รู้สึกอะไรเพราะลูกก็โตแล้ว ก็คงดูแลตัวเองดี แต่เมื่อคืนมีคนข้างบ้านที่ กทม ไลท์มาบอกว่า แถวบ้านมี คนติดโควิท 2 คนแม่ลูก ซึ่งบ้านนั้นห่างจากบ้านไป 8 หลังทำให้เราเกิดความกังวล เกิดความทุกข์ เป็นห่วงลูก อยากกลับ กทม ไปดูแลลูก
ทุกข์: เกิดความทุกข์ใจเพราะมีคนแถวบ้านติดโควิท กลัวลูกจะติดโควิท แล้วจะไม่ได้เจอหน้าลูก
สมุทัย: รู้สึกมีความกังวลใจและทุกข์ใจ เพราะมีคนแถวบ้านที่ กทม ติดโควิค มีความกลัวและกังวลว่าลูกจะติดโควิทจากคนแถวบ้าน ซึ่งจะติดหรือไม่ติดก็ได้
นิโรธ: คิดได้ว่าถึงแม้ว่าเราจะกลับบ้านที่ กทม เราก็ไม่สามารถจะช่วยอะไรลูกได้หากลูกจะต้องติดโควิทหรือไม่ติดโควิท และหากเราจะต้องกลับ กทม เราก็ต้องขับรถไปซึ่งก็จะเป็นการเสี่ยงต่อการต้องติดโควิทอีกเมื่อคิดแล้วก็วางใจไร้กังวล และไม่คิดกลับ กทม อีก
มรรค: เมื่อพิจารณาอย่างถ้วนถี่แล้ว เราเชื่อในเรื่องของกรรม และวิบากดีร้าย ถึงแม้ว่าเราจะกลับ กทม ก็ไม่สามารถที่จะไปห้ามไม่ให้ลูกของเราติดโควิทได้อยู่ดีเพราะสิ่งที่ทุกคนได้รับก็คือสิ่งที่ทุกคนทำมา เราจึงวางใจและทำใจได้ว่าทุกคนมีกรรมเป็นของๆตนต้องได้รับผลของกรรมนั้น และได้รับวิบากดีร้ายที่เค้าเคยทำมา ดังบททบทวนธรรมของท่าน อาจารย์
ข้อที่: 11. สิ่งที่สร้างผลทุกวินาทีให้กับชีวิต คือ วิบาก
กรรม
ข้อที่: 108. กรรม…คือความจริง
ความจริงคือ…กรรม
เชื่อชัดเรื่องกรรม
คือ…เชื่อชัดความจริง
เชื่อชัดความจริง
จึงจะหลุดพ้นจากทุกข์ได้
ชื่อ นางสาวอัญชลี พุ่มแย้ม (เย็นแสงธรรม)
เรื่อง อัตตาชอบฟันธง ยึดมั่นถือมั่นในความคิดตนเอง ๙-๑๗ พฤษภาคม ๒๕๖๔
เรามักจะตัดสินคนอื่นว่าเป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้จากสิ่งที่เราเห็นและได้ยินมา แล้วเราก็นำมาประมวล(ทำนาย/เดา)เป็นเรื่องราวอยู่ในหัวเรา เตรียมข้อมูลไว้หมดแล้วเพื่อสอน/บอก/อธิบายแก่เขาเมื่อมีโอกาส โดยไม่ได้ฟัง ไม่ได้ถามว่าเขาพร้อมที่จะรับฟังหรือไม่ เมื่อมีท่านใดๆ เข้ามาคุยกับเรา เราก็ยึดไปเลยว่าเราจะต้องเป็นผู้บอกผู้สอน ทั้งๆ ที่บางครั้งท่านอาจต้องการแค่เล่าเรื่องราวที่ท่านได้สภาวะอะไรบางอย่างให้ใครสักคนฟัง ไม่ได้ต้องการคำอธิบาย ความคิดเห็น การบอก การสอน แต่เมื่อเรามีอุปาทานอยู่ในจิตดังนี้เสียแล้ว เราจึงไม่ได้ฟังท่านจริงๆ หรอก โดยที่แม้ท่านจะยังไม่ได้ถามแค่เพียงท่านพูดจบ หรือแม้ในบางครั้งท่านยังเล่าไม่จบด้วยซ้ำ เราก็กล่าวสวนคำพูดท่านออกไปในสิ่งที่เราอยากสอน/อยากตอบ/อยากอธิบายไปในแบบที่เราคิดเตรียม(ทำนาย/เดา)ไว้ในใจออกไปทันที
ทุกข์ เรารู้สึกหมองๆ เมื่อพูด/ตอบ/แสดงความคิดเห็นต่อคู่สนทนา แล้วสังเกตเห็นอาการคู่สนทนาไม่เบิกบาน
สมุทัย ยึดว่าวิธีการของเราดีที่สุด อยากให้พี่น้องได้นำวิธีการที่เราได้เรียนรู้มาไปใช้ในการล้างกิเลสจะได้ล้างกิเลสได้เร็วเหมือนเรา
นิโรธ ท่านใดจะล้างกิเลสด้วยวิธีไหน เมื่อไร อย่างไร เราก็ยินดีกับทุกท่าน
มรรค จูงมือกิเลสมาให้เห็นสัจจะว่า การอ้างว่าเป็นห่วงใครจะล้างกิเลสไม่เป็น ใครล้างกิเลสช้า นั่นคือ “ความทุเรศที่สุดในแผ่นดินคือการหากินบนคำว่า ‘ช่วยเขา’ ” คือการใช้คำอ้างที่ทำให้ตัวเองดูดี ที่แท้มันคือการหลงพอกอัตตาของเรา สนองความ ‘อยาก’อวดเก่ง อวดดี ความ ‘อยาก’ให้คนอื่นได้ดีดั่งใจเราหมาย แอบเสพความรู้สึกดีๆ หลงว่าตนสำคัญ หลงว่าตัวเก่ง หลงว่าตัวฉลาด จากการได้เป็นผู้ให้ความช่วยเหลือผู้อื่น จึงไปอวดดี อวดเก่ง เพราะไม่รู้สัจจะว่าแท้จริงแล้ว สิ่งต่างๆ ที่ออกจากปากเราคือ วิบากดี-ร้ายของเราและของโลกสังเคราะห์กัน แล้วแค่อาศัยร่างของเราเป็นสื่อกลางในการถ่ายทอดสัจจะออกไปก็เท่านั้น ถ้าเราอยากช่วยใครจริงๆ ให้เราล้างกิเลสความยึดว่าความคิดของเราดีที่สุด และอยากอวดอยากบอกเล่าวิธีการของเราให้ผู้อื่นฟังก่อน เพราะเมื่อไรที่เรามีความอยากเราก็จะมีพลังงานแห่งความกดดัน บีบคั้น บีบบังคับ ที่ทำให้ผู้อื่นรู้สึกอึดอัด ไม่สบาย นี้คือการเบียดเบียน แต่ละท่านจะเจริญหรือเสื่อมก็อยู่ที่วิบากดี-ร้ายที่แต่ละท่านได้สั่งสมมา ดังนั้นไม่ต้องห่วงใครว่าท่านจะล้างกิเลสไม่ได้ แต่ละชีวิตจะได้เรียนรู้สิ่งใดจะเป็นไปตามธรรม ทุกอย่างจะมีเวลาของมัน ปล่อยให้สถานการณ์สุกงอมให้แต่ละชีวิตได้เรียนรู้ด้วยตัวท่านเอง เหมือนที่ตัวเราเคยเป็นมาคือต้องเห็นทุกข์จึงจะเห็นธรรม โดยที่ไม่ต้องเอาตัวเราไปเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา เพราะถ้าเราทำไปด้วยกิเลสความอยากให้ผู้อื่นได้ดีดังใจหมายของเรา นั่นเป็นการเบียดเบียน เป็นการทำร้ายจิตวิญญาณ เป็นการทำลายความศรัทธาในตนเองของท่านผู้นั้น
ผลจากการล้างกิเลสในครั้งนี้ รู้สึกเริ่มยินดีกับทุกชีวิตที่ได้เรียนรู้ไปตามลำดับของตนๆ เรามีหน้าที่แค่ฟัง แล้วถ้าท่านใดต้องการรับฟังเรา เราก็แค่บอกเล่าการเรียนรู้ของเรา ขอตั้งศีลพากเพียรเป็นผู้ฟังที่ดี ไม่ทำนาย ไม่เดา ทำให้เราสังวรเรื่องการสนทนา ให้เรามีสติในการฟังด้วยจิตวิญญาณ ให้เป็นไปเพื่อการไม่เบียดเบียนชีวิตใดๆ เพราะเราจะพากเพียรไปสู่การให้แต่ในสิ่งที่แต่ละชีวิตต้องการ ปล่อยให้ทุกอย่างดำเนินไปตามธรรม
นางสาวสำรวย รัตตนะ
เรื่อง . ขโมยดี
เหตุการณ์ . แม่อายุ 85 ปี แล้วแต่ขยันทำงานได้ตลอดเวลา ทำอาหาร กวาดบ้านถูบ้าน ซักผ้า กวาดบริเวณบ้าน ถากหญ้า ปลูกผักสารพัดอย่างที่จะทำ ลูกๆทุกคนอยากพาแม่มาดูแลเอง แต่แม่ไม่ยอมไปอยู่บ้านลูกคนไหนเลย เลือกที่จะอยู่บ้านเดิมของแม่ ตอนนี้ครอบครัวน้องชายได้ย้ายจากต่างจังหวัดมาอยู่ด้วยแต่แม่ก็ยังทำงานอยู่เหมือนเดิมลดลงแค่บางอย่าง ใจเราไม่อยากให้แม่ทำงานอยากให้แม่พักผ่อนอยู่กับบ้านสบายๆ ทุกครั้งที่เห็นแม่ทำงานจะรู้สึกไม่สบายใจมากๆ
ทุกข์ . ไม่สบายใจเมื่อเห็นแม่ทำงาน
สมุทัย . ชอบถ้าแม่ไม่ทำงาน
ชังถ้าแม่ทำงาน
นิโรธ . แม่จะทำงานก็ไม่ชอบไม่ชัง
มรรค . มาพิจารณาดู การที่แม่ทำงานก็เท่ากับแม่ได้ออกกำลังกายทำให้ไม่รู้สึกเบื่อแม่ก็เคยพูดเปรยๆ อยู่เฉยๆไม่ทำอะไรแม่อยู่ไม่ได้ถึงเวลาแม่ก็นอนพักเอง นี่ก็อาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้แม่สุขภาพดีแข็งแกร่งไม่มีโรคประจำตัวมีเพียงแค่ปวดเมื่อยบ้างก็เป็นเรื่องธรรมดาของคนสูงอายุที่ทำงาน ก็แก้ไขกดจุดกัวซาไป
มาดูใจตัวเองตามความเป็นจริง เราก็ไม่ได้ไปหาแม่ทุกวัน แม่จะทำอะไรก็เรื่องของแม่ นี่เราเริ่มขโมยดีจากแม่แล้วนะ เห็นแก่ตัวอยากให้แม่ทำตามกิเลสเราต่างหากมันเป็นความต้องการของเราแต่ไม่ใช่ความต้องการของแม่ และยังสร้างวิบากอีกต่างหากถ้าพูดไปแม่ก็ต้องไม่สบายใจและยังแว้บเพ่งโทษน้องชายอีกด้วยคิดในใจว่าทำไมยังให้แม่ทำงานอยู่อีก ที่จริงเขามาอยู่นอนเฝ้าแม่แทนเราก็ดีมากแล้ว เรานี่ดื้อ โง่อยากได้ดั่งใจหมาย ทุกคนเขาก็อยู่สบายๆไม่เห็นจะกังวลอะไรแต่ความไม่แช่มชื่นมันอยู่ที่ใจเรานี่เองวางๆต้องรีบวางเมื่อตามทันกิเลสได้ก็ นำบททบทวนธรรมข้อที่ 64 มาดับทุกข์ใจ ความสุขของชีวิตอยู่ที่ความพอ สุขอยู่ที่พอ พออยู่ที่ใจ
พอเมื่อไหร่….ก็สุขเมื่อนั้น ไม่พอเมื่อไหร่…. ก็ทุกข์เมื่อนั้น และข้อที่145 อย่าสร้างความสุขให้กับตน ด้วยการสร้างความทุกข์ให้กับผู้อื่น
สรุป . ยินดี พอใจ ไม่อยากไม่ทุกข์ พอเห็นแม่ทำงานก็เบิกบานใจได้
18/5/64
การบ้าน
สาคร รอดรัตน์ สังกัดสวนป่านาบุญ2
เรื่อง : ยุงกัด
เหตุการณ์ : ยุงที่สวน2กัดเจ็บมากและคันแพ้เป็นตุ่ม ช่วงตอนเย็นๆลงสวนเวลานั่งทำงานถ้าไม่ใส่หมวกมุ้งถุงมือรองเท้ากันยุ่งจะตามกัดที่หน้าที่ข้อมือ เท้า หัวเข่าทำให้ขุ่นใจทีตามกัดทุกวันบางตัวกัดแล้วเราแพ้เป็นตุ่มคันหลานวันกว่าจะหาย ตรวจใจวิบากร้ายคงตามมาเอาคืนแน่เลือดมันเป็นอาหารของเขานี้ เขาขอแบ่งปันบ้าง วางความขุนใจ เรามีสติป้องกันเองนี่ได้ ก็หายสบายใจสุขได้
ทุกข์ : ขุ่นใจที่ยุงมากัดเราได้ทุกๆวัน
สมุทัย: ชอบ ถ้ายุงไม่มากัด ชัง ที่ยุงมากัดหน้ากัดมือ เท้า หัวเข่า
นิโรธ : ยุงจะกัดเราก็ได้ ไม่กัดเราก็ได้ เราก็ไม่ชอบไม่ชัง
มรรค : เห็นอาการขุ่นใจรำคานที่ยุงมาตามกัดให้เราไม่สะดวกในการทำงาน คิดว่านี้คงเป็นวิบากกรรมของเราที่ต้องชดใช้ และเราต้องใช้ปัญญาป้องกันเองได้ ยุงตัวเล็กนิดเดียว จึงวางใจ เห็นว่าออใช่เลือดเรามันเป็นอาหารของเขานี่ เพื่อความอยู่รอดของเขาเขามาขอแบ่งส่วนบุญ ให้เขาไปซิเราสุขใจ เราต้องการสละลดกิเลสอยู่แล้ว เขาต้องการอาหาร จะไปชังเขาทำไม ความขุ่นใจ จากยุงกัด ก็หายไปไม่ชังเขากลับมีความเอ็นดู แบ่งปันกันไป เบิกบานใจดี รู้สึกโล่งโปร่งไม่ทุกข์ใจ
พยายามรักษาศีลข้อ1 ให้ดี /
ใช้บทบทวนธรรม ข้อที่ 54 วิธีตั้งอริยศีล คือ ให้เลิกในสิ่งที่ชอบ แบบยึดมั่นถือมั่น(ล้างชอบ)ให้ชอบในสิ่งที่ชัง แบบยึดมั่นถือมั่น(ล้างชัง) /สาธุ
16/05/64
ชื่อ : น.ส.ทิษฏยา โภชนา
ชื่อทางธรรม : ในสายธรรม
เหตุการณ์:จิตอาสาสังกัดสวนป่านาบุญ 2
เรื่อง : ความเศร้าหมองที่เกิดขึ้นในจิต
ตื่นเช้ามามีอาการไม่ค่อยแช่มชื่น เศร้าหมอง เพลียแรงตก รู้สึกไม่ชอบอาการที่เป็นอยู่นี้ จำคำที่อาจารย์หมอเขียวสอนได้ว่าถ้าเกิดเรื่องทุกข์ใจ ทุกข์กาย หรือเรื่องร้ายต่างๆ นั่นเพราะเราทำผิดศีลมา จึงเข้าไปค้นหาสาเหตุจึงพบว่า เราไปทำผิดศีลมา 3 เรื่อง คือ
1.ไปเพ่งโทษเพื่อน เห็นเพื่อนพูดเยอะก็รู้สึกรำคาญ
2.คิดจะเอาสารชีวภัณฑ์ไปกำจัดแมลงที่มากินผักที่ปลูกไว้ทำให้ผักเสียหายทั้งแปลง
3.ไปเสพชาเย็น ซึ่งเป็นอบายมุขชนิดหนึ่ง
ทุกข์ : มีอาการไม่สบายใจ ขุ่นมัว เศร้าหมองในจิต
สมุทัย : ชอบใจถ้าจิตของเรามีความโล่งโปร่งสบาย ชังความขุ่นมัว ความเศร้าหมองในจิต
นิโรธ : เห็นความขุ่น เศร้าหมองในใจจากความพลาดความพร่องที่ทำมา ก็ยินดี ไม่ชอบไม่ชัง ใจไร้ทุกข์
มรรค : เมื่อรู้เหตุแห่งทุกข์ว่าเราไปผิดศีลมาหลายเรื่อง จึงสำนึกผิด เริ่มจาก
1.ขออโหสิกรรมเพื่อนที่ทำให้เรารู้สึกรำคาญในใจ พิจารณาโทษของการเพ่งโทษคนอื่นจะเป็นเหตุให้ต้องได้รับวิบาก 11 ประการ
2. สำนึกผิดเรื่องที่คิดจะเอาสารชีวภัณฑ์ไปกำจัดแมลง เห็นความชั่วของตัวเองที่บอกว่าเป็นคนถือศีล แม้แต่แมลงตัวเล็ก ๆ ที่มาขอแบ่งปันพืชผักกิน ก็ยังไปชังถึงขั้นคิดจะกำจัดมันได้ พิจารณาว่าทุกชีวิตเขาก็รักชีวิตของตน เหมือนที่เราก็รักชีวิตเรา เราจึงก็ไม่ควรไปเป็นเหตุทำให้ชีวิตอื่นได้รับทุกข์เพราะเรา แมลงจะกินก็ให้กินไปถือว่าได้ใช้วิบาก
3.ตั้งศีลเลิกกินชาเย็น ( อันที่จริงก็ไม่ได้กินนาน) พิจารณาโทษของชาเย็นที่เป็นเหตุให้เกิดโรคร้ายหลายโรค เห็นได้ชัดจากครั้งนี้ที่เผลอไปเสพแล้วเกิดอาการไม่สบายกายไม่สบายใจขึ้นมา
ตรงกับบททบทวนธรรมข้อที่ 53 “ ศีล คือไม่เบียดเบียนตนเอง คนอื่น สัตว์อื่น เป็นประโยชน์ต่อตนเองคนอื่น สัตว์อื่น” ข้อที่145 “ อย่าสร้างความสุขให้กับตนด้วยการไปสร้างความทุกข์ให้กับผู้อื่น ” และข้อที่ 152 “ เสพกิเลสมีโทษคือทุกข์หนัก ทุกข์หนักมาก ทุกข์หนักที่สุด จะเสพไปทำไมให้ทุกข์”
พิจารณาแบบนี้แล้ว อาการความขุ่นมัวในจิตก็เบาบางลง
เรื่อง อยากเตือนเขาแต่เราทุกข์เสียเอง
วันหนึ่งแม่บ้านโทรศัพท์คุยกับเพื่อนที่ค่อนข้างสนิทกันคนหนึ่ง คุยกันสนุกสนาน ออกรสออกชาติ เรากำลังรดน้ำผักอยู่ข้างนอก แต่ก็ได้ยินเสียงพูดคุยอยู่แว่ว ๆ ด้วย ในระหว่างนั้นเอง พอพวกเธอเริ่มพูดคุยกันถึงบุคคลที่สาม เราก็นึกหวาดเสียวอยู่ในใจ กลัวว่าแม่บ้านจะเผลอพูดผิดศีลข้อ 4 อยากจะเดินไปบอกแม่บ้านให้สังวรระวังในการพูดถึงผู้อื่น แต่ก็ไม่มีช่องว่างให้เราเข้าไปขัดจังหวะการสนทนานั้นได้เลย รู้สึกลังเลใจอยู่พักหนึ่งว่าควรจะเข้าไปเตือนเขาดีหรือไม่ สักพักหนึ่งเราก็วางใจ ปล่อยให้เขาพูดคุยกันไป เราก็รดน้ำไปจนเสร็จ
ทุกข์ – มีความอึดอัดใจที่ได้ยินแม่บ้านคุยกับเพื่อนเรื่องของบุคคลที่สาม เป็นห่วง กลัวกังวลว่าแม่บ้านจะเผลอพูดผิดศีลข้อ 4
สมุทัย – มีตัณหาหรือความอยากแบบยึดมั่นถือมั่นว่า ถ้าได้เตือนแม่บ้านให้สังวรในศีลจะสุขใจ ถ้าไม่ได้เตือนแม่บ้านให้สังวรในศีลจะทุกข์ใจ
นิโรธ – ตัณหาดับ ไม่มีความอยาก ปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่นได้ จะได้เตือนแม่บ้านในเรื่องให้สังวรระวังการผิดศีลหรือไม่ ก็ไม่ทุกข์ใจ
มรรค – ในตอนแรกเราเห็นแต่กิเลสของผู้อื่น ไม่ชอบถ้าแม่บ้านจะเผลอพูดผิดศีลข้อ 4 ใจมันคิดอยากจะไปเตือนเขา คิดว่าเขาอาจจะไม่รู้ตัวว่ากำลังจะพูดผิดศีล แต่ระหว่างที่กำลังประมาณเหตุการณ์อยู่ว่าควรจะเข้าไปเตือนดีหรือไม่ เพราะเขากำลังคุยกันอยู่ ตอนนั้นก็คิดขึ้นมาได้ว่า เราเคยเตือนเขาไปมากแล้ว ถ้าเข้าไปเตือนตอนนี้มันจะไปขัดจังหวะการสนทนาของเขา และอาจทำให้เขาหงุดหงิดใจได้ จึงได้แต่ข่มความรู้สึกที่อยากจะไปเตือนเขาเอาไว้ แล้วพิจารณาเรื่องวิบากกรรมของเขาของเราว่า ถ้าแม่บ้านเผลอพูดผิดศีลไปมันก็จะเป็นวิบากของเขาเอง เขาจะได้รับทุกข์เอง และทุกข์นั่นแหละจะเตือนเขาได้ดีที่สุด ส่วนความอึดอัดใจที่เราได้รับจากการที่อยากเข้าไปเตือนเขาแต่ไม่ได้ไป ก็เป็นวิบากกรรมของเรา เราต้องยอมรับให้ได้ ตอนนั้นก็อาศัยความเชื่อเรื่องกรรมนี่แหละเป็นเครื่องช่วยให้เราข่มความอยากเข้าไปเตือนเขาไว้ได้
ในวันต่อมา ขณะที่เดินออกกำลังกายด้วยกัน เราได้เล่าให้แม่บ้านฟังถึงเรื่องนี้ ในระหว่างที่เล่าย้อนหลังนั้น จึงได้เห็นว่าอาการที่เราอยากจะไปเตือนเขานั้น มันเป็นกิเลส เป็นความยึดมั่นถือมั่นว่า ถ้าเห็นแม่บ้านกำลังจะทำผิดศีลแล้วได้เตือนเขาไว้ทันจะสุขใจ ถ้าเห็นแล้วไม่ได้เตือนจะทุกข์ใจ จะมีอาการอึดอัด กังวล หวั่นไหว ไม่สบายใจ ตอนนั้นเองเราถึงเพิ่งจะเห็นกิเลสในใจเรา มันครอบงำให้เราหลงคิดไปว่าจะต้องไปเตือนเขาถึงจะถูก ถึงจะดี ปล่อยให้เขาทำผิดศีลมันไม่ดี มันไม่ได้ พอเห็นอย่างนี้แล้วเราก็เข้าใจว่าได้เสียรู้กิเลสไปแล้ว ได้ถูกมันลวงให้หลงผิดไปแล้ว โง่จริง ๆ เลย ณ ตรงนั้นเองที่เราได้คลายจากความยึดมั่นถือมั่นนั้นได้ และได้ตั้งจิตเสียใหม่ว่า จะไม่ไปยึดมั่นถือมั่นในเรื่องนี้อีกแล้ว ต่อไปถ้าเห็นว่าแม่บ้านกำลังจะทำผิดศีล ถ้าเราเตือนได้ก็จะเตือน แต่ถ้าเตือนไม่ได้ก็จะไม่เตือน แต่ไม่ว่าเราจะเตือนได้หรือไม่ได้ เราก็ไม่สุขไม่ทุกข์อะไร เพราะเราไม่มีความยึดมั่นถือมั่นนั้นแล้ว
เมื่อพิจารณาดังนี้แล้ว ก็รู้สึกโล่งใจที่ได้เห็นกิเลส เห็นแล้วว่าถ้าปล่อยกิเลสเอาไว้มันก็มีแต่จะกดดันให้เราเป็นทุกข์ไปตลอดกาลไม่มีที่สิ้นสุด อันที่จริง ความปรารถนาดีที่จะเตือนเขาให้ระวังการทำผิดศีลก็เป็นเรื่องดี จะคิดอยากเตือนเขาก็ได้ แต่ต้องไม่ยึดมั่นถือมั่นว่าต้องได้เตือน หรือต้องเตือนให้ได้เท่านั้นจึงจะสบายใจ เพราะถ้ายังยึดแบบนี้อยู่มันก็จะมีแต่ทุกข์และทุกข์อยู่ตลอดไป
รมิตา ซีบังเกิด
เรื่อง : หุงข้าวสุก แบ่งปัน
เหตุการณ์ : เมื่อได้รับข้าวจากน้องจุกส่งมาจากในตัวเมือง เริ่มทำอาหารแบ่งปัน โดยทำกับข้าว ด้วยเพราะเห็นว่ามีข้าวน้อย จะแบ่งปันได้ไม่กี่วันก็หมด อาหารที่ปรุงเน้นมังสวิรัติ แต่เพิ่มรสชาติให้คนทั่วไปรับประทานได้โดยเราได้พูดให้คนที่มารับอาหารฟังว่าวันนี้ทำเมนูอะไร แต่มีผู้รับอาหารบางท่านเปิดกล่องดูว่าน่าทานหรือเปล่าแล้วถึงจะนำไป
ทุกข์ : ขัดเคืองใจผู้รับอาหารแกะกล่องอาหาร
สมุทัย : ชอบใจผู้รับอาหารไม่แกะกล่องอาหาร ชังผู้รับอาหารแกะกล่องอาหาร
นิโรธ : ผู้รับอาหารจะแกะกล่องอาหารหรือไม่ก็ไม่ชอบไม่ชัง
มรรค : ความรู้สึกที่เห็นผู้รับอาหารแกะกล่องอาหาร มีความรู้สึกขัดเคืองใจว่า อาหารจะไม่สะอาดนะ เราทำมาอย่างดีมาทำแบบนี้ได้ยังไง ทั้งๆที่เราก็บอกแล้วว่าทำอะไรมาแบ่งปัน แต่เขาเร็วมากแกะทันที ห้ามไม่ทันเลย โชคดีที่เขาชอบแล้วนำกลับไป เหตุการณ์นี้ถึงจะขัดเคืองใจ ไม่ได้ดั่งใจ แต่เราคิดได้ทันว่าเรามาทำงานเป็นจิตอาสาต้องทำด้วยความเต็มใจ ฝึกอยู่กับความพร่องอย่างผาสุกให้ได้และนำบททบทวนธรรมข้อที่ 63 ว่า “ยินดี พอใจ ไร้กังวล” ขึ้นมาใช้ทันท่วงทีคือไม่ต้องกังวลเกิดอะไรก็ยอมรับให้ได้
เมื่อรู้สึกตัวว่าคิดผิด คิดใหม่ มองในแง่ดีว่าเขาคงอยากเห็นว่าอาหารมังสวิรัติจะน่ากินหรือเปล่า พอเห็นว่าใช้ได้ก็รับไป เราก็ควรจะดีใจ ภูมิใจ ที่คนกินเนื้อสัตว์ทุกวันพอใจรับอาหารของเรา
ไม่ว่าจะเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นอีกจะพอใจ ไม่ทุกข์ใจให้เสียเวลาอีกเลย กลับมีความยินดี พอใจ สบายใจที่ได้ทำอาหารแบ่งปันเท่าที่ความสามารถจะทำได้
19/05/64
ชื่อ : น.ส.ทิษฏยา โภชนา
ชื่อทางธรรม : ในสายธรรม
จิตอาสาสังกัดสวนป่านาบุญ 2
เรื่อง : อยากหายมึนหัว
เหตุการณ์:ช่วงนี้มีอาการไม่สบายเป็นโน่นเป็นนี่บ่อย วันนี้ก็เช่นกันพอตื่นเช้าขึ้นมาแล้วมีอาการมึนหัวไม่โปร่งโล่งสบายตัวจึงทำให้เกิดอาการชังสภาพที่เป็น อยากให้หายจากสภาพนี้
ทุกข์ : อยากหายมึนหัว
สมุทัย : ชอบใจถ้ามีสภาพที่โปร่งโล่งสบายตัว ชังที่มีอาการมึนหัวไม่สบายตัว
นิโรธ : ไม่ชอบไม่ชังในทุกสภาพที่เป็น จะมึนหัวก็ได้ จะหายมึนหัวก็ได้ ใจไร้ทุกข์
มรรค : พอมีอาการไม่สบายตัวขึ้นมา กิเลสมันก็เริ่มทำงาน มันพาเราให้เข้าไปเผชิญกับสภาพกลัวกังวลระแวงหวั่นไหวว่าจะเป็นอะไรที่ร้ายแรง และมีความใจร้อนอยากหายจากสภาพที่เป็น ทั้ง ๆ ที่มันนั่นแหละที่เป็นคนชวนเราไปทำชั่ว จนมีสภาพทุกข์แบบนี้
มาร : เป็น หาย ๆ มาตั้งหลายวันแล้วเมื่อไหร่จะหายซะที ไม่ชอบเลยๆ
เอ๊ะ!!! หรือว่าเราจะเป็นโรคร้ายแรงรึป่าว
ถ้าหายแล้วจะได้ทำกิจกรรมการงานได้เต็มที่ไม่ต้องมากลัวกังวลกับสิ่งที่เป็น (มันเอาเรื่องงานมาอ้าง) ไม่ชอบที่ต้องฝืนทำงานทั้ง ๆ รู้สึกมึน ๆ
จึงตอบมันกลับไปว่า
เรา : อาการที่เป็นมันก็แค่มึนหัว ทำไมแกต้องมาชวนให้กลัวเหมือนกับว่าจะเป็นจะตาย
แกอยากเป็นอะไรก็เป็นไปคนเดียวเถอะมาร ฉันไม่เอาด้วยหรอก
ขยันทำทุกข์ทับถมอยู่แล้วนี่
จะหายตอนนี้ หรือจะหายตอนไหนแล้วมันจะเป็นยังไง ไม่หายตอนเป็นก็หายตอนตาย ป่วยก็ใช้วิบากไป ก็ปรับสมดุลย์ร่างกายไป จะหายตอนไหนก็ไม่ต้องเร่งรีบ ทีทำชั่วยังทำสะสมมาตั้งนาน แต่พอรับวิบากเข้าหน่อยก็ทำเป็นบ่น
ได้เจ็บป่วยก็ดีแล้ว… จะได้เห็นทุกข์ แล้วจะหยุดชั่ว จะได้หยุดเสพกิเสส และได้ชดใช้วิบากร้ายที่เคยพลาดทำมา รับแล้วก็หมดไป ไม่ดีรึไง
ต่อไปนี้จะไม่เชื่อตามแกอีกแล้วมาร จะเชื่อตามที่พุทธะสอน ใจไร้ทุกข์ ใจดีงาม ไม่กลัวไม่กังวลไม่หวั่นไหวต่อสถานการณ์ใด ๆ คือสิ่งที่ดีที่สุด
ตรงกับบททบทวนธรรมข้อที่ 144 “ ความกลัว กังวล ระแวง หวั่นไหว ทำให้เป็นโรคได้ทุกโรค ใจไร้ทุกข์ ใจดีงาม เป็นสิ่งที่มีฤทธิ์มากที่สุด ที่ทำให้หายหรือทุเลาจากโรค เป็นยารักษาโรคที่มีฤทธิ์เร็วและแรงที่สุดในโลก ข้อที่ 149 “ ความสุขที่แท้คือไม่ทุกข์ใจ ไม่ว่าจะเกิดอะไร ในสถานการณ์ใด”
พิจารณาแบบนี้แล้ว ความกลัวกังวล ความใจร้อนอยากหายก็ทุเลาลง
เรื่องตระหนี่
เนื้อเรื่อง ไปถางป่าส้มก็มีน้องไปช่วยทำ แต่มีคนๆหนึ่งขึ้นไปทำสวนของเขา ก็ถามน้องเขาสังขารไปแล้วว่าเขาคงชวนน้องไปช่วยงานแน่ๆ กลัวหวั่นไหว
ทุกข์. กลัวเพื่อนชวนเขาไปจากตัวเองหวงเขาเรายิ่งงานมากป่ากล้วยก็รก
สมุทัย. เขาไม่ได้ทำเหมือนเราคิด นี่คืออุปาทาน เราคิดเองนี่แหล่ะปั้นทุกข์ สร้างทุกข์ปั้นอากาศให้เป็นตัว กิเลสมันมาทำให้เรากลัวตามรู้ทันเห็นแล้วๆ
นิโรธ. หวงแหนไม่ดีโง่ๆ เขาจะชวนน้องไปก็สุขใจ เขาอยู่ก็สุขใจ กิเลส โลภ โกรธ หลง เป็นสิ่งที่คนโง่คนชั่วคนทุกข์คนบ้าหวงแหนที่สุดในโลก
มรรค. วิราคะวาง ยอมรับเต็มๆวิบากกรรมมีจริง จะพยายามพิจารณาให้มากๆ อัตตาคือความยึดกลัว ชั่ว ทุกข์คือโง่
เรื่อง: ผักปั่นเพื่อหั่นกิเลส
เหตุการณ์: วันนี้ตั้งใจกินอาหารปั่นสักวัน
ตื่นแต่เช้าเข้าสวน เหมือนทุกๆวัน ที่ผ่านมา
ทุกข์: คันหัวใจ ไม่ได้กินผักปั่น
สมุทัย: เว้าใจแหว่งใจ ที่ไม่ได้กินผักปั่นดั่งใจหมาย
นิโรธ:จะได้กินผักปั่นหรือไม่ ก็ไม่ชอบไม่ชัง
มรรค: ทำงานสวนไปเก็บผักไป เจอผักอะไรพอปั่นได้ก็เก็บแยกไว้
อย่างละเล็กละน้อยแล้วห่อใบตอง ตั้งไว้ และเก็บผักแบ่งปันให้พ่อด้วย ก็ห่อใบตองเช่นกันตั้งไว้ในตะกร้าเดียวกัน ได้เวลาหิวข้าว จึงขึ้นจากสวน แวะเอาผักให้พ่อห่อหนึ่ง
ครั้นมาถึงบ้านแกะห่อผักออกเพื่อจะล้างเตรียมปั่น..”ว้า “อดกินผักปั่นตามใจหมาย เลยเรา ตั้งใจกินอาหารปั่นเพื่อฆ่ากิเลส ดันหยิบห่อผักให้พ่อผิด
เรามีวิบากร้ายกั้นไม่ให้เราได้กินผักปั่นเพื่อหั่นกิเลส ทำดีไม่มากพอ วิบากดียังออกฤทธิ์ได้น้อย เลยต้องเจอมารพาไปลงนรก ชดใช้วิบากร้ายที่เคยทำมา “เมื่อเรามุ่งหมายและพยายามหยุดชั่ว มุ่งหมายให้เกิดดี และพยายามทำดีอย่างเต็มที่แล้ว ยอมหรือกล้าให้เกิดสิ่งเลวร้ายสุดๆทุกเรื่องให้ได้ ชีวิตก็จะไม่ทุกข์ใจ”บททบทวนธรรมข้อ๗๓.
ใช้วิบากต่อไป หมดเมื่อไหร่คงได้เจอวิบากดี “ไม่มีชีวิตใดหนีพ้นอำนาจแห่งกรรมไปได้ ทำกรรมดีย่อมได้รับผลดี ทำกรรมชั่วย่อมได้รับผลชั่ว
มาตลีเทพสารถี คือ วิบากดีร้ายของแต่ละชีวิต เราทำดี มาตลีเทพสารถี ก็จะพาไปสวรรค์คือ สุข สงบ เบา สบาย ได้สิ่งดี เราทำชั่ว มาตลีเทพสารถี ก็จะพาไปนรก คือ ทุกข์ เร่าร้อน เดือดเนื้อ ร้อนใจ ได้สิ่งร้าย
ผลที่ได้ คือ ยอมรับวิบากร้ายที่เราทำมา
พาไปนรกได้ ไม่สุขไม่ทุกข์
ชื่อเรื่อง:กิเลสไวยิ่งกว่าลิง
เนื้อหา:จากที่ได้ร่วมเรียนภ.อังกฤษพร้อมกับพี่น้องทั่วโลกผ่านทางซูมครั้งหลังสุด ขณะพี่น้องที่ภูผาคนหนึ่งกำลังตั้งใจอ่านประโยคที่คุรุเลือกให้อยู่นั้น ก็มีเสียงแทรกผ่านทางหน้าจอออกมาว่า คนที่อยู่ทางภูผาสงสัยต้องฝึกการจับไมใหม่หมดแล้วมั้ง เพราะรู้สึกว่าเสียงมีปัญหาเหลือเกิน(มันมีความรู้สึกว่าเป็นคำพูดที่เหมือนดูหมิ่นๆที่เราทำไม่ได้ดั่งใจท่านประมาณนั้น) พอเสียงนั้นมากระทบมันเห็นความขัดเคืองในใจที่มันปี้ดขึ้นมา มันไวมากไม่ถึงชั่ววินาที และสิ่งที่ไวพอๆกับความคิดคือคำพูดที่หลุดออกไป(ทั้งๆที่ตัวเองนั่งอยู่หลังกล้องซึ่งตั้งอยู่ห่างจากกลุ่มเพื่อนไปพอสมควร)บอกเพื่อนไปว่า บอกท่านไปซีว่าเราจับแต่จอบไม่ได้จับไม ซึ่งก็โชคดีที่เพื่อนไม่ได้ยินสิ่งที่เราพูด มันเห็นสภาวะจิตของตัวเองตอนที่คำพูดหลุดออกไปแล้ว ว่ามันพลิกจิตกลับเกือบจะทันทีบอกตัวเองว่าเธอคิดชั่วแล้ว เธอคิดตามมารแล้วสิ่งที่เธอพูดออกไปมันคืออัตตาของเธอเต็มๆ สิ่งที่ท่านบอกถูกต้องที่สุดแล้ว ว่าเราต้องฝึกในสิ่งที่เรายังทำได้ไม่ดี มันผิดตรงไหน พอระลึกได้ก็ตรวจหาว่าคำพูดใดที่ท่านพูดมาแล้วมันแทงถูกกิเลสตัวเองให้ปิ้ดขึ้นมาได้ จึงจับได้ว่าคำว่า “คนที่อยู่ทางภูผา” คำนี้เองที่ทำให้อุปาทานอันนอนเนื่องอยู่ของตัวเองกระโดดเหยงเลย
ทุกข์:ขัดเคืองใจ ไม่พอใจ
สมุทัย:เพราะความหลงเอาใจเข้าไปยึดว่าเป็นตัวเราของเรา
นิโรธ:เราต้องไม่ทุกข์ใจให้ได้ ไม่ว่ามีสิ่งใดมากระทบไม่ว่าจะเป็นคำพูดหรือพฤติกรรมใดๆที่ไม่ถูกใจเรา
มรรค:นึกถึงธรรมะที่ฟังอาจารย์สอนอยู่ทุกวันๆว่าอย่ายึดมั่นถือมั่นเพราะมันเป็นรากเหง้าแห่งทุกข์ทั้งปวง ก็ยังเผลอเอาใจเข้าไปยึดจนได้ ดีที่มีสติเห็นเขาได้เร็วจึงพลิกจิตที่คิดผิดให้คิดใหม่ให้ถูกตรงได้เร็วขึ้นแม้จะช้ากว่าคำพูดไปหน่อยแต่จิตที่ขุ่นมันกลับใสได้เร็วขึ้นในระยะเวลาที่สั้นลงเรื่อยๆ จริงๆแล้วถ้าเราเข้าใจและทำใจในใจได้ตามที่อาจารย์สอนว่าจริงๆแล้วไม่ว่าจะมีผัสสะอะไรมากระทบใจเราก็จะไม่สะดุ้ง สะเทือน หวั่นไหวอะไรเลย ถ้าเรารู้ว่าสิ่งที่เราต้องจัดการอันดับแรกคือใจเราเอง เราต้องวางใจให้เป็นอุเบกขาให้ได้ก่อน ก่อนที่จะละเมิดออกไปทางกาย และวาจาแล้วเราจะไม่เพ่งออกไปที่ผู้อื่นหรือผัสสะที่มากระทบเลย แต่เราจะมุ่งมาแก้ไขที่ใจเราก่อนคือต้องทำใจเป็นกลางจากความไม่ชอบไม่ชังให้ได้ และก็ได้ตั้งศีลที่จะพากเพียรในการทำใจให้เป็นอุเบกขาให้ได้เป็นลำดับไป จึงมีผัสสะมาทดสอบอยู่เรื่อยๆ
เรื่อง เผือกร้อน ๆ ไม่จำเป็นต้องเป็น “เผือกร้อน” เสมอไป
เวลาตีสามครึ่ง วันพฤหัสบดีที่ 20 พฤษภาคม 2564 ผมกำลังพยายามหาทางกู้คืนบัญชีแอป QQ ที่ใช้ติดต่อกับเพื่อนที่ประเทศจีนคนหนึ่ง เนื่องจากบัญชีนั้นเพิ่งถูกระงับการใช้งานเมื่อวานซืน โดยไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด ระบบของ QQ แจ้งมาเพียงแค่ว่ามีปัญหาเกี่ยวกับการหลอกลวงเท่านั้น นอกจากนี้ เมื่อวานผมได้ส่งอีเมล์ไปหาเพื่อนคนจีนคนนี้แล้วปรากฏว่าส่งไม่สำเร็จเพราะอีเมล์ของเขามีปัญหา สรุปว่าตอนนี้ผมยังติดต่องานกับเพื่อนคนนี้ไม่ได้เลย สุดท้ายแล้วอาจต้องใช้วิธีโทรศัพท์ทางไกลต่างประเทศคุยกัน ซึ่งคงไม่สะดวกนักเพราะมีเอกสารที่ต้องส่งให้ดูด้วย
ในขณะเดียวกัน ผมมีงานตัดต่อคลิปวิดีโอสารคดีชุมชนชาวอโศกแห่งหนึ่ง ที่ได้รับงานมาตั้งแต่สัปดาห์ก่อน และอาจจะยังไม่มีเวลาสะสางงานนี้ไปจนถึงสัปดาห์หน้า เพราะมีเรื่องเร่งด่วนเข้ามาแทรก อย่างเช่นวันนี้ ตอนเช้าต้องเอารถไปเข้าศูนย์เพื่อเช็คสภาพตามระยะเวลา เสร็จแล้วต้องกลับมาทำแป้งถั่วลูกไก่และอบเม็ดมะม่วงหิมพานต์ด้วย ยังไม่พูดถึงงานอื่น ๆ ที่ทยอยเข้ามาอีกเรื่อย ๆ
เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ทำให้รู้สึกว่าช่วงนี้ “งานเข้า” ค่อนข้างเยอะ ต้องใช้อิทธิบาทมากขึ้นกว่าปกติในการรับมือกับปัญหาต่าง ๆ มีความกังวลใจอยู่บ้างเหมือนกันว่าจะสะสางงานไม่ทัน แต่ก็ไม่ถึงกับทุกข์มาก อยากจะจัดการกับความกังวลใจเล็ก ๆ ที่เหลืออยู่นี้ให้สิ้นเกลี้ยงไปมากกว่า
ทุกข์ – มีความกังวลใจว่างานต่าง ๆ จะคั่งค้างสะสมนาน กลัวว่ามันจะกลายเป็นสภาพเรื่องนั้นก็ไม่เสร็จ เรื่องนี้ก็ยังไม่ได้ทำ เรื่องโน้นก็รอเราอยู่
สมุทัย – เหตุแห่งความกลัวกังวลน่าจะเกิดจากเรายังมีตัณหา หรือความอยากแบบยึดมั่นถือมั่นอยู่ แม้จะไม่ได้ยึดมากเหมือนเมื่อก่อน แต่ก็รู้ว่ามันยังมีส่วนที่ยังยึดอยู่ และยึดอยู่เท่าไหร่เราก็ทุกข์อยู่เท่านั้น เวลานี้เรายึดน้อย ๆ เราก็ทุกข์บ้างนิดหน่อย อาจจะฝืดฝืนลำบากบ้าง แต่ก็อยู่ในขีดที่พอรับได้
นิโรธ – สภาพที่ตัณหาดับ หมดความอยากแบบยึดมั่นถือมั่น สละ สละคืน ปล่อยไป ไม่พัวพัน มันจะมีงานเท่าไหร่ ๆ มีปัญหาโน่นนี่นั่นขนาดไหน ๆ เราก็ไม่ทุกข์เลย ไม่มีความรู้สึกกลัวกังวลหวั่นไหวเลยแม้แต่น้อย
มรรค – พิจารณาว่างานทุกงาน ปัญหาทุกปัญหาที่เกิดขึ้น ถ้ามันได้เกิดขึ้นกับเราก็แสดงว่ามันเป็นของของเรา สิ่งใดที่เรารู้ เราเห็น เราได้รับ เราได้เกี่ยวข้องสัมพันธ์ด้วย สิ่งนั้นเป็นของของเรา สิ่งใดที่เราไม่รู้ เราไม่เห็น เราไม่ได้รับ เราไม่ได้เกี่ยวข้องสัมพันธ์ด้วย สิ่งนั้นไม่ใช่ของของเรา ดังนั้น เมื่อมันได้เกิดขึ้นแล้ว เป็นของของเราแล้ว เราไม่จำเป็นต้องทุกข์กับมันเลยก็ได้
ผมอยากจะเปรียบเทียบให้เห็นเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนขึ้นว่า มันเหมือนเราได้รับของอะไรมาสักอย่าง สมมติว่าเป็นเผือกร้อน ๆ ก็แล้วกัน เมื่อเรารับมาแล้วมันก็กลายเป็นของของเราแล้ว เรามีสิทธิ์อย่างเต็มที่ที่จะทำอย่างไรกับเผือกร้อน ๆ นี้ก็ได้ เราไม่จำเป็นต้องรีบเอาเข้าปากให้ลิ้นพอง เราจะกินหรือไม่กินมันก็ได้ เราจะรอให้มันเย็นลงก่อนค่อยลองชิมดูก็ได้ หรือเราจะปล่อยทิ้งไว้ให้มันบูดเน่าไปเสียก็ได้ ถ้าเราไม่ถูกครอบงำด้วยกิเลส และมีปัญญามากพอ เราก็ไม่จำเป็นต้องทำให้เผือกร้อน ๆ นี้กลายเป็นเรื่อง “เผือกร้อน” สำหรับเรา ปัญหาและการงานต่าง ๆ ก็เช่นกัน เมื่อเราได้รับมาเป็นของของเราแล้ว ถ้าเราไม่ยอมให้กิเลสมาครอบงำ เราจะจัดการกับมันอย่างไรก็ได้ จะไม่จัดการก็ได้ จะรอให้มันคลี่คลายไประยะหนึ่งก่อนค่อยจัดการก็ได้ เรามีทางเลือกมากมายที่จะปฏิบัติกับปัญหาหรือการงานต่าง ๆ โดยไม่จำเป็นต้องทุกข์ใจเลย
แม้ว่าบางครั้งบางคราว ปัญหาต่าง ๆ มันดูเหมือนจะประดังประเดกันเข้ามามากกว่าปกติสักหน่อย ทำให้เราเหน็ดเหนื่อย ทำให้เรายาก ทำให้เราลำบากกว่าปกติบ้าง ความยากลำบากนั้นก็เป็นของของเราเหมือนกัน ถ้าเรายอมรับความยาก ความลำบากที่เกิดขึ้นได้ พิจารณาเรื่องกรรมให้แจ่มแจ้ง ยอมรับได้ว่าเราทำมา เราจะมีกำลังมากพอที่จะข่มใจเอาไว้ได้ เราจะไม่โอดโอย ไม่ตีโพยตีพาย เหนื่อยเราก็พัก หนักเราก็สู้ได้
ครั้งนี้ผมก็ยังล้างตัวยึดที่เหลืออยู่ได้ไม่เกลี้ยง ยังเหลือส่วนที่ยังยึดอยู่ แต่ก็เห็นอยู่ว่ามันน้อยลงกว่าแต่ก่อนมากแล้ว มันไม่ยึดมากจนรู้สึกทุกข์ทรมานใจแล้ว แค่หวั่นไหวนิดหน่อยเท่านั้น บอกไม่ได้ว่าเหลือกี่เปอร์เซ็นต์ แต่ไม่ว่ามันจะเหลืออยู่กี่เปอร์เซ็นต์ ผมก็เห็นชัดเจนแล้วว่า หน้าที่เราคือพยายามกำจัดมันให้เหลือศูนย์เท่านั้น มันเป็นศูนย์เมื่อไหร่เราก็พ้นทุกข์สิ้นเชิงเมื่อนั้น เอาหรือไม่เอาก็อยู่ที่เราเลือกเองนั่นแหละ
เรื่อง : โกรธตัวเองที่ตามกิเลสความโกรธไม่ทัน
เหตุการณ์ : ด้วยสถานะการณ์โควิดมีการแพร่ระบาด จึงมีมติหมู่ไม่ให้เราเข้าในสวนป่านาบุญ 9 เราก็ถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัดเพื่อความสบายใจของหมู่กลุ่ม วันหนึ่งเราต้องเอาของเข้าไปให้ ปกติจะโทรให้พี่น้องมารับของหน้าประตูรั้ว เวันแต่พี่น้องอนุญาต เสร็จธุระก็รีบออก เมื่อวันที่ 14 มีนาคม เราจะเอาของที่ต้องเตรียมแบ่งปันไปให้แต่ว่าโทรศัพท์แบตเตอรี่หมด พอดีไปถึงหน้าประตูพบพี่น้อง 2 ท่าน อยู่แถวนั้น เราจึงเรียกให้เอาของเข้าไปด้วย ระหว่างถ่ายของจากรถยังไม่หมด พี่น้องท่านมีธุระรีบไป ท่านจึงบอกกับเราว่าขับรถเข้าไปเลยเถอะ อย่างซีเรียสเลย จะได้เอาหม้อหุงข้าวเพื่อใช้ทำอาหารสำหรับแบ่งปันในวันรุ่งขึ้นจากโรงครัวไปด้วย เราเลยขับรถเข้าไป โดยแวะที่สวนไผ่เพื่อเอาของไปให้จิตอาสาท่านหนึ่งที่ท่านฝากซื้อ ก่อนไปที่โรงครัว เมื่อเอาของเรียบร้อยก็ขับรถออกทันที พอวันรุ่งขึ้นได้โทรนัดกับพี่น้องท่านหนึ่งล่วงหน้า เพื่อเข้าไปรับของที่จะเอาไปแบ่งปัน เมื่อไปถึงหน้าประตู รออยู่ประมาณ 15 นาที ยังไม่มีใครออกมาจึงโทรหาพี่น้องท่านที่เรานัดหมาย แจ้งว่าเรารออยู่หน้าประตูแล้ว ท่านก็พูดขึ้นว่า “วันก่อน (หมายถึงเมื่อวาน) ยังเห็นเข้าไปที่สวนไผ่นี่…วันนี้ก็เข้ามาเลยก็ได้มั๊ง” กิเลสความโกรธมาทันทีเลย โต้กลับไปทันทีว่า พูดแบบนี้หมายความว่ายังไง หาว่าเราแอบเข้าไปเหรอ แล้วก็อธิบายเหตุการณ์วันก่อนหน้าให้ฟังด้วยอารมณ์โกรธ พี่น้องท่านนั้นก็พยายามอธิบายว่า ที่พูดไม่ได้คิดอะไรแบบนั้นเลย แต่เราก็โต้กลับด้วยอารมณ์ว่า เขาไม่คิดแต่เราคิด เลยต้องอธิบายให้เข้าใจ เมื่อผ่านไปไม่ถึง 5 นาทีระหว่างขับรถออกมา เราก็มาพิจารณาว่าทำไมเราต้องโกรธ โกรธอะไรนักหนา มันเป็นกิเลสตัวไหน ก็จับได้ว่ามันเป็นกิเลสตัวยึดว่าคนต้องเข้าใจเราว่าเราพยายามทำตามมติหมู่ กลัวคนเข้าใจผิดว่าไม่ปฏิบัติตามมติหมู่ เมื่อจับกิเลสความโกรธได้หลังจากที่โกรธไปแล้ว ก็รู้สึกโกรธตัวเองที่ระงับความโกรธไม่ทัน ทั้งที่ได้ตั้งศีลไว้แล้วว่าจะไม่โกรธ
(หมายเหตุ : โปรดพิจารณาวิเคราะห์เฉพาะตัวกิเลส เหตุการณ์เป็นเพียงผัสสะที่ทำให้เราได้เห็นกิเลสของเรา)
ทุกข์ : โกรธตัวเอง เซ็งตัวเอง ที่จับอาการโกรธไม่ทันทำให้แสดงน้ำเสียง กิริยา ท่าทางออกมาเมื่อคิดว่าพี่น้องหาว่าเราแอบเข้าศูนย์ ไม่ทำตามมติหมู่
สมุหทัย : ถ้าเราจับอาการโกรธทันเราจะยินดีพอใจ เราจับอาการโกรธไม่ทันแสดงอาการโกรธออกมาเราจะไม่พอใจ เราจะโมโหตัวเอง เป็นการทำทุกข์ทับถมตนเอง
นิโรธ : เราจับอาการโกรธได้ทันก็สุขใจ จับอาการโกรธไม่ทันก็ต้องสุขใจให้ได้
มรรค : เข้าใจถึงกิเลสความโกรธมันต้องค่อย ๆ ล้างไปตามลำดับ การทำทุกข์ทับถมตนไม่ช่วยให้กิเลสลดลง เราต้องยินดีที่เราสามารถจับอาการโกรธได้ ถึงแม้ว่าจะโกรธไปแล้ว ต่อไปก็พากเพียรโดยหมั่นฟังธรรม หมั่นทบทวนธรรม มีสติรู้เท่าทันอารมณ์และตั้งศีลพากเพียรล้างกิเลสด้วยเหตุแห่งวิมุตติ 5 ประการต่อไป
อริยสัจสี่ ส่งช่วง 17-23พฤษภาคม 2564
(แก้ไข)
เรื่อง โดนแดดเผาก็ดีนะ
เนื้อเรื่อง ช่วงนี้แดดร้อนเร็ว จึงตั้งศีลกินอาหารวันละมื้อคือกินอาหารมื้อหลักช่วงพักกลางวันจะได้มีเวลาทำงานมากขึ้นและได้ทำงานแต่เช้าจะได้ไม่ร้อนมาก พอฟังธรรมะพาพ้นทุกข์ จากอาจารย์หมอเขียวเสร็จ ก็ไปลงฐานงาน ช่วยทำงานเกษตรและพบว่าการไม่เสียเวลาไปกินหลายมื้อสามารถทำประโยชน์ได้มากขึ้นและยังได้ทำงานก่อนที่แดดจะร้อนมาก
ทุกข์ ไม่ชอบใจถ้าแดดร้อนมาก
สมุทัย ถ้าแดดร้อนน้อยจะสุขใจ แต่ถ้าแดดร้อนมากจะทุกข์ใจ
นิโรธ แดดจะร้อนมากหรือแดดจะร้อนน้อยก็สุขใจ
มรรค เราเชื่อชัดเรื่องกรรมอย่างแจ่มแจ้งว่า การที่เราร้อนเมื่อถูกแดดเผานั้นเพราะเราทำมา เมื่อนึกย้อนหลังจะพบว่า ในอดีตเราเคยเผา ปิ้ง ย่าง อบ ทอด ต้ม นึ่งสัตว์และเนื้อสัตว์ต่าง ๆ มามากมาย การที่เราได้เนื้อ ได้ชีวิตเขามา เขาต้องตาย ซึ่งสัตว์ที่นำมาทำอาหารนั้นเขาก็คือญาติของเรา เราใจร้ายใจดำ โหดอำมหิตที่เอาชีวิตญาติตัวเองมากิน เขาต้องพลัดพรากจากลูก จากครอบครัวและญาติของเขา ทำไมเราจึงหลงขนาดนี้ การที่เราได้รับความร้อนจากแดดเผาเพียงเท่านี้มันเล็กน้อย และยังดีกว่าคนทีไม่มีโอกาสได้รับแสงแดดอย่างเรา การได้รับแสงแดดจะช่วยให้ร่างกายแข็งแรง เราร้อนมากหรือน้อยก็ขึ้นกับกุศลและอกุศลของเรา ณ เวลานั้น เราร้อนมากคนอื่นอาจรู้สึกสบาย ๆ ก็มี มันขึ้นกับกุศล อกุศลของแต่ละคน อาจารย์สอนเสมอว่าการตั้งตนอยู่บนความลำบากกุศลธรรมเจริญยิ่ง เราต้องการความเจริญ ต้องการความก้าวหน้าทางธรรม เราเพียรเต็มที่ก็สุขเต็มที่สิ ไม่มีอะไรต้องทุกข์ใจเลย เบิกบานแจ่มใสดีกว่าและยินดีที่ได้ใช้วิบากกรรม รับแล้วก็หมดไป รับเท่าไหร่หมดเท่านั้น จิตก็สงบ เบาสบาย เบิกบานแจ่มใสไร้กังวล
เรื่อง เปลี่ยนเบาะล้างกิเลส
เหตุการณ์ ขณะเข้าสวนได้เดินคุยกับลูกถามเรื่องรถมอเตอร์ไซค์ลูกได้เอารถไปร้านซ่อม ลูกไปซ่อมอะไร พ่อรู้เรื่องด้วยไหม ลูกบอกว่าพ่อรู้ ถ้าจะทำอะไรก็ให้ใช้เงินส่วนตัว ลูกไปทำเบาะ กับถังน้ำมันราคา 6000บาท ก็รู้สึกขุ่นใจ แพงจัง ทำไมไม่รู้จักเก็บสะสมเงิน ยิ่งช่วงโควิด รายได้ก็ไม่ค่อยมี แย่จังเลย
ทุกข์ ขุ่นใจลูกที่เอามอเตอร์ไซค์ไปเปลี่ยนในสิ่งที่ไม่จำเป็น
สมุทัย ชอบใจถ้าลูกใช้ของเดิม ชังถ้าลูกไปเปลี่ยนของใหม่ของรถมอเตอร์ไซค์
นิโรธ ลูกจะใช้ของเดิมหรือเปลี่ยนของใหม่ของรถมอเตอร์ไซค์ก็ไม่ชอบไม่ชัง ใจไร้ทุกข์
มรรค มาพิจารณาเรื่องขุ่นใจที่เกิดขึ้นแม้จะเพียงแค่นิดเดียวก็ไม่ใช่พุทธะแล้ว กิเลสมาแล้ว หมองแล้ว ผิดทางแล้ว นั่นมันเราชัดๆไม่ใช่ลูก หันกลับมานั้นทั้งเตารีด เครื่องปั่น ของอื่นๆอีกมากมาย ทั้งที่บางอย่างซื้อมายังไม่ได้เปิดกล่องใช้เลย ยังอยู่ในถุงอยู่เลย ยิ่งกว่าลูกชายอีก ความผิดตัวเองมองไม่เห็น ชัดแจ้งจริงๆตัวเองชัดๆ มาตลีมาเตือนอีกแล้วต้องเลื่อนฐานแล้ว จะยังวนอยู่กับการซื้อของที่ไม่จำเป็นไม่ได้แล้ว เลิก เลื่อนได้แล้วก็สำนึกผิดยอมรับผิดในสิ่งที่ทำผิดพลาดไป ขอยอมรับด้วยความยินดี รับแล้วก็จะหมดไป ก็จะโชคดีขึ้น ส่วนลูกชายก็เป็นวิบากใหม่ที่เขาต้องรับ ทั้งเรื่องเหนี่ยวนำให้คนอื่นทำตาม ทำให้โลกขาดแคลนเอามาเกินความจำเป็น แม่จะเตือนก็ไม่สมควรถ้าแม่ยังทำสิ่งนั้นอยู่ก็ต้องเพียรตั้งศีลเลิกซื้อของที่ไม่จำเป็น
ต้องขอบคุณที่ลูกชายที่เป็นผู้มีพระคุณช่วยกระทุ้งกิเลสแม่ตัวนี้ให้ออกมาอีก
ใช้บททบทวนธรรมข้อที่ 8″สิ่งที่เราได้รับ คือสิ่งที่เราทำมา ไม่มีสิ่งใดที่เราได้รับโดยที่เราไม่เคยทำมา”
ข้อที่ 9 “ถ้าเรายังไม่เข้าใจคนอื่นแสดงว่า เรายังไม่เข้าใจตนเอง”
สรุป หลังพิจารณาแล้วเข้าใจชัดในเรื่องวิบากกรรมมีจริง ทำอะไรไว้ก็ต้องได้รับ และต้องรับด้วยความยินดี ใจก็ผาสุก เบิกบานพูดคุยกับลูกด้วยใจไร้ทุกข์..สาธุ
20/05/64
ชื่อ : น.ส.ทิษฏยา โภชนา
ชื่อทางธรรม : ในสายธรรม
จิตอาสาสังกัดสวนป่านาบุญ 2
เรื่อง : ไม่อยากฟังธรรมที่ไม่ถูกตรง
แม่ของผู้เขียนก็เปิดเทศนาธรรมของพระนักเทศน์รูปหนึ่งที่มีชื่อเสียงโด่งดังอยู่ในโลกโซเชียล แม่บอกว่าฟังแล้วสนุกดี แต่ผู้เขียนกลับเถียงแม่ในใจว่า” ฟังอะไรก็ไม่รู้ พระอะไรเทศน์แนวตลก ๆ รู้สึกไม่สำรวม ไม่ชอบเลย เสียเวลาเปล่า ๆ เอาเวลาไปฟังธรรมจากอาจารย์ดีกว่า (แต่ก็ไม่ได้พูดออกไป) ไม่ได้ไม่พอใจแม่ แต่ไม่พอใจที่ว่าถ้าเราจะฟังธรรม เราก็ควรเลือกฟังธรรมที่ถูกตรงจากสัตบุรุษ ไม่ใช่ไปเสียเวลาฟังตามกระแส พอคิดไปแล้วก็นึกขึ้นมาได้ว่านี่เรากำลังไปเพ่งโทษพระนักเทศน์รูปนั้นอยู่
ทุกข์ : ไม่อยากฟังธรรมที่ไม่ถูกตรง
สมุทัย : ชอบใจถ้าได้ฟังธรรมที่ถูกตรงจากสัตบุรุษ ชังที่ต้องทนฟังธรรมจากพระที่เราไม่ศรัทธา
นิโรธ : จะได้ฟังธรรมจากสัตบุรุษหรือพระรูปไหนก็ได้ เลือกเอาประโยชน์ให้ได้จากสิ่งที่ฟัง ไม่ชอบไม่ชัง ใจไร้ทุกข์
มรรค : พิจารณาโดยการตั้งจิตขอขมากรรมที่คิดไม่ดีต่อพระนักเทศน์รูปนั้น แล้วหันกลับไปจัดการกิเลสในตัวเอง ที่ไปเพ่งโทษไปชังแนวการเทศน์ของท่านที่ไม่ถูกใจเรา ไปเพ่งโทษว่าครูบาอาจารย์ของเราดีกว่า ซึ่งมันเป็นความคิดที่ผิดที่เที่ยวไปดูถูกคนอื่น
พระท่านทำหน้าที่ของท่าน คนในโลกนี้จะมีสักกี่คนที่จะโชคดีที่ได้พบสัตบุรุษ ได้ฟังธรรมที่ถูกตรง เมื่อก่อนเราก็เที่ยวแสวงหาครูบาอาจารย์ไปตามฟังธรรมจากพระอื่น ๆ เหมือนกัน กว่าจะมาพบพ่อครูพบอาจารย์หมอเขียวก็ใช้เวลาหลทางอยู่หลายปี แล้วจะไปดูถูก ไปเพ่งโทษพระท่านและคนที่ฟังท่านทำไม แต่ละคนก็มีฐานจิตมีบารมีที่สะสมมาไม่เหมือนกัน ท่านก็บำเพ็ญไปตามฐานของท่าน เราควรจะยินดีที่ท่านได้ทำหน้าที่ ช่วยให้คนได้ฟังธรรม ก็ยังดีกว่าไปฟังเรื่องอื่นที่พาไปในทางเสื่อม
พิจารณาข้อดีของการฟังธรรมจากพระสำนักอื่น ๆ ก็เป็นสิ่งดีที่จะให้เราได้นำมาเปรียบเทียบคำสอนว่าสิ่งที่ฟังแล้วนำเอามาปฏิบัติตามแล้วเราพ้นทุกข์ได้จริงหรือไม่ เลือกเอาส่วนที่ดีมาใช้จะเสียหายอะไร
ตรงกับบททบทวนธรรมข้อที่ 82 “ ความยึดมั่นถือมั่น จะทำให้เกิดความพร่อง ความพลาด ความทุกข์ ” และข้อที่ 2 “ เราต้องรู้ว่าแต่ละคนมีฐานจิตแตกต่างกัน เราจึงควรประมาณการกระทำให้เหมาะสมกับฐานจิตของเราและฐานจิตของผู้อื่น คิดดี พูดดี ทำดีไว้ก่อน ดีที่สุด ”
พิจารณาแบบนี้แล้ว การคิดไม่ดีกับคนอื่นก็สลายไปเลย เลือกเอาประโยชน์ให้ได้กับทุกสิ่งทุกอย่าง
19/05/64
ชื่อ : นางศุทธินี พรมเล็ก (ป้าเนียร )
ชื่อทางธรรม : ขวัญน้ำฟ้า
จิตอาสาสังกัดสวนป่านาบุญ 2
เรื่อง : ความทุกข์ทรมานจากการคัน
มีผื่นคันขึ้นทั่วร่างกาย มันคันมากทำให้เราต้องเกา เกาเบาๆ มันไม่สะใจ ไม่หายคันสักที เกาจนเป็นแผลแสบไปหมด ยิ่งตอนอาบน้ำก็จะแสบมันทรมานมา เป็นอาการนี้มากว่า 5 เดือนแล้ว รู้สึกรำคาญอยากให้คันหายไว ๆ
ทุกข์ : รำคาญที่มีอาการคันไม่หายสักที
สมุทัย : ชอบใจถ้าไม่มีอาการคัน ชังที่มีอาการคันตามตัว ปวดแสบปวดร้อน
นิโรธ : จะคันหรือไม่คันก็ได้ จะหายตอนไหนก็ได้ ไม่ชอบไม่ชัง ใจไร้ทุกข์
มรรค : พิจารณาถึงความทรมานใจในอาการคัน เราได้ดูแลสุขภาพตามศาสตร์ของแพทย์วิถีธรรมแล้วก็ไม่หาย เมื่อคันมากจนทนไม่ไหวก็ได้ไปพบแพทย์แผนปัจจุบันแล้วเช่นกัน แต่อาการก็เพียงทุเลาลงไม่หายขาดสักที ใจเรารู้สึกกลัวว่าจะเป็นโรคร้าย และอยากให้หายไว ๆ ยิ่งคิดแบบนี้ก็ยิ่งทุกข์ อาการคันก็ยิ่งเพิ่ม จึงได้พิจารณาเรื่องวิบากกรรม เราได้เคยทำร้ายสัตว์อื่น เช่น เผามด เอายาไปพ่นรังปลวก หนอน ฯลฯ และเคยทำให้คนอื่นได้รับความวามเจ็บปวดใจจากคำพูดของเรามามาก จึงถึงเวลาที่เราต้องมารับวิบากร้ายอันนี้
จึงตั้งจิตสำนึกผิดและยอมรับผิด ขออโหสิกรรมต่อเหล่าสัตว์และผู้คนที่เราเคยพลาดเบียดเบียน พิจารณาข้อดีของการคัน เพราะร่างกายเรายังมีพลังในการขับพิษออกมาทางผิวหนัง ไม่เก็บไว้ในอวัยวะภายในร่างกายให้ต้องเป็นโรคร้าย อยู่ภายในตัวจะรักษายากกว่าที่ผิวหนัง และได้ตั้งศีลจะมีสติสำรวมระวังในการพูด ไม่พูดทำร้ายจิตใจ ให้ใครต้องทุกข์ใจเพราะเรา ยินดีในการรับวิบาก ตั้งจิตไม่เร่งผล ล้างความกลัวกังวล จะหายตอนไหนก็ได้ หายตอนเป็นก็ได้ หายตอนตายก็ได้
ตรงกับบททบทวนธรรมข้อที่ 8 “ ศีล สิ่งที่เราได้รับคือสิ่งที่เราทำมา ไม่มีสิ่งใดที่เราได้รับโดยที่เราไม่เคยทำมา” และข้อที่ 12 “ วิบากกรรมมีจริง ทำอะไรได้ผลอะไรก็เกิดจากการกระทำของเราเองทั้งหมด เจอเรื่องดีเพราะเราทำดีมา เจอเรื่องไม่ดีเพราะเราทำไม่ดีมาทั้งในปัจจุบันและอดีตสังเคราะห์กันอย่างละ 1 ส่วน”
พิจารณาแบบนี้แล้ว อาการความกลัวกังวลก็ค่อย ๆ จางคลาย โล่งใจ อาการคันที่เป็นจะหายหรือไม่หายก็ได้
เรื่อง : งานมีให้ทำทั้งวัน
ตั้งแต่ตื่นนอนมาก็มีความรู้สึกว่า วันๆหนึ่งมีงานให้ทำเยอะแยะ สุขภาพก็ดีไม่มาก อายุก็เยอะแล้ว งานบ้านเอ๋ย งานสวนเอ๋ย งานขายของเอ๋ย(ไม่ได้ขายทุกวัน) บ้านก็อยู่กันแค่สองคนกับพ่อบ้าน แต่ทำไมดูเหมือนทำงานไม่จบไม่สิ้นท่องได้ ความสำเร็จของงานไม่ใช่ความสำเร็จของงาน ความสำเร็จของใจคือ ความสำเร็จของงาน แต่พอเอาเข้าจริงๆเราก็แพ้ กิเลส
กิเลสลากเอาไปกิน จะเอาแต่งาน
ทุกข์ : งานมีมากมายหลายอย่าง
สมุทัย : ชอบที่จะไม่ให้มีงานทำมากมาย ชังมีงานทำมากเกิน
นิโรธ : งานมากก็สุขใจ ทำไปเรื่อยๆ ได้แค่ไหนเอาแค่นั้น ยินดีในความ ไม่ชอบไม่ชัง
มรรค : มาร : ต่อนี้เราจะไม่ฟังแกแล้วนะ แม้นงานจะเยอะมากแค่ไหน เราก็จะทำไปเรื่อยๆ งานจะสำเร็จก็ได้ ไม่สำเร็จก็ได้
แกบอกว่าเรา ทำงานเก่งมาก แต่ว่าเราเกือบเสร็จ เพราะเราเสียพลังไปกับการเร่งงานแต่ละงานให้เสร็จ ต่อไปนี้ เราจะขยันเหมือนเดิม เราจะมีพลังในการทำงานมากขึ้น เราจะไม่เชื่อแกอีกแล้วนะมาร งานมีมากแค่ไหน เราก็จะทำเท่าที่ทำได้ ว่าแล้ว มารก็ยอมฟังเราบ้าง
บทธบทวนธรรม ๑๑๘ ทุกอย่างล้มเลวได้
แต่ ใจ ล้มเลวไม่ได้
๑๓๙ งานล้มเลวหรือสลาย
แล้วอัตราสลายได้ ก็คุ้มเกินคุ้ม
เรื่อง : แปล๊บที่ใจ
ขณะที่เรานำผ้าที่ซักแล้วไปปั่นที่เครื่องซักผ้า (ฝนตก อากาศชื้น จึงต้องอาศัยเครืองปั่นผ้า เพื่อให้ผ้าแห้งเร็วขึ้น) เมื่อเรานำผ้าใส่ลงในถังแล้ว ก็มีน้ำเหลือติดก้นกะละมัง เราก็สาดน้ำทิ้งด้วยความเคยชิน ขณะที่น้ำกำลังเคลื่อนออกจากปากกะละมัง เราก็รู้สึกแปล๊บขึ้นมาในจิต (นี่คืออาการทุกขอริยสัจ) เป็นสัญญาณเตือนที่บอกให้เรารู้ว่าเมื่อกี๊เราผิดศีล ผิดศีลตรงไหน? ตรงใจร้อนไง (เสียงพุทธะตอบทันควัน) เมื่อเห็นตัวกิเลส ใจก็เบาโล่ง ใจกลับมาผ่องใสได้ทันทีเช่นกัน
ทุกขอริยสัจ : รู้สึกแปล๊บขึ้นมาในจิต ขณะสาดน้ำในกะละมังทิ้ง
สมุทัย : มีกิเลสตัวใจร้อน (อภิชัปปา) อยากจะสาดน้ำออกไปให้เร็วดั่งใจหมาย
นิโรธ : เมื่อดับกิเลสตัวใจร้อนได้ ใจก็จะผ่องใสเบิกบานได้เต็มที่ ใจจะนิ่งและมั่นคง
มรรค : เราตั้งศีล 3 ข้อ เป็นปกติทุกวันอยู่แล้ว คือ
1.ผ่อง คือ พากเพียรในการทำจิตใจให้ผ่องใสในทุกๆ เวลาเท่าที่จะสามารถทำได้
2.ใจ คือ ไม่เผลอใจ ไม่ห่างใจ
3.พุทธ คือ พากเพียรในการเรียนรู้สู่ความเป็นพุทธะ คือ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
เมื่อเราตั้งศีล ศีลก็คุ้มครองเรา เมื่อไหร่ที่เกิดความไม่ผ่องใสภายในจิต แม้เล็กแม้น้อย เพียงแค่อาการแปล๊บๆ หรือหมองๆ หรือไม่แช่มชื่น เราก็จะรู้ตัวได้เร็วว่านี่คืออาการทุกขอริยสัจ ซึ่งสมุทัยก็ต้องเกิดจากกิเลสตัวใดตัวหนึ่งหรือหลายตัวแน่ๆ ดังนั้นหน้าที่เราก็คือการหาตัวกิเลสให้เจอ ตามหาว่ากิเลสอยากได้อะไร (ตัณหา) หรือยึดอะไร (อุปาทาน) เมื่อจับกิเลสได้ ปัญญาพุทธะก็จะเข้าไปสลายกิเลสได้ทันที เพราะเราพิจารณามาเยอะแล้ว (เรื่องกรรม ไตรลักษณ์ ประโยชน์ของการไม่มีกิเลส โทษของการมีกิเลส แรงเหนี่ยวนำตามสนิทานสูตร) เมื่อกิเลสสลายไป จิตก็ผ่องใส เบิกบานเต็มที่ (เห็นทุกข์ สนุกดี) กิเลสที่มาแสดงอาการให้เห็นในครั้งนี้ บ่งบอกว่าเรายังมีตัวใจร้อนเหลืออยู่เยอะ ทำให้เราต้องพยายามสังวรณ์ให้มากขึ้น
ผลของการพิจารณา คือ ใจที่รู้สึกแปล๊บ (ทุกข์เล็กๆ) ลดลงจาก 100% เหลือ 0 (ผ่องใสเบิกบานเต็มที่)
เรื่อง : ซ่อมซิปเต็นท์ด้วยอุเบกขา
เมื่อซิปเต็นท์เสีย รูดไม่ได้ ก่อนที่เราจะไปซ่อมซิป เราก็ตรวจใจตัวเองดูก่อนว่าซิปเสียแล้วทุกข์มั้ย คำตอบคือไม่ทุกข์มาก แต่ถ้ามีซิปจะสุขมากกว่า เราได้เห็นอาการของจิตที่ไม่เท่ากันระหว่างการที่ซิปดี (รูดได้) กับซิปเสีย (รูดไม่ได้) แสดงว่าจิตเรายังไม่เป็นอุเบกขา ยังมีกิเลสอยู่ ดังนั้นหน้าที่อับดับแรกที่เราต้องทำก็คือการล้างกิเลส ไม่ใช่ซ่อมซิป เราต้องเรียงลำดับความสำคัญให้ถูก ไม่งั้นเราจะหลงประเด็น โดนกิเลสลากเข้ารกเข้าพงษ์ เมื่อคิดดังนี้ เราก็มาพิจารณาดูว่า ทำไมเราจึงต้องอยากให้ซิปรูดได้ ก็ได้คำตอบว่า เรากลัวแมลงและสัตว์เลื้อยคลานจะเข้าไปในเต็นท์ โดยเฉพาะสัตว์มีพิษเช่นงู จินตนาการไปว่าถ้างูเข้ามานอนอยู่กับเราในเต็นท์เราจะทำยังไง ขณะที่กำลังคิดเรื่องนี้ ก็มีเสียงจากในจิตดังขึ้นว่า “รักตัวกลัวตายนี่หว่า” เสียงนี้ทำให้เรารู้สึกสะดุดและฉุกคิดขึ้นมาได้ว่า “ใจที่กลัวเป็นทุกข์ที่สุดในโลก” “ความกลัวของเรานี่แหละที่เป็นคลื่นดูดดึงสิ่งร้ายเข้ามาหาเรา ไม่มีใครทำสิ่งร้ายให้เราได้ มีแต่เราทำตัวเองทั้งนั้น” “ถ้าเรามีวิบากที่ต้องโดนงูกัด ก็ยอมรับที่จะต้องโดนงูกัด ถ้าเรามีวิบากที่ต้องตาย ก็ยอมรับที่จะต้องตาย จะวิ่งหนีไปไหน หนีวิบากหนียังไงก็ไม่พ้น แค่ยอมรับก็ไม่ต้องทุกข์ ถ้าไม่ยอมรับก็ทุกข์ต่อไป” เมื่อพิจารณาดังนี้ ความกลัวในใจก็ลดลงไป ทำให้สามารถนอนหลับได้อย่างสบายใจแม้ว่าซิปจะยังรูดไม่ได้ และยังหาวิธีซ่อมยังไม่ได้ เมื่อพิจารณาไปเรื่อยๆ ทุกวัน ใจก็วางเรื่องที่อยากจะซ่อมซิปได้อย่างสนิทเป็นอุเบกขา แต่อาการกลัวงูยังมีบ้าง ยังไม่หายสนิทเด็ดขาดแต่น้อยลงมาก มากพอที่เราจะสามารถอยู่กับเต๊นท์ที่รูดซิปไม่ได้อยู่นานเป็นเดือน หลังจากผ่านไปประมาณ 1 เดือน เราลองรูปซิปเต็นท์ดูอีกที เผื่อเค้าจะหายได้เอง ผลคือซิปกลับมารูดได้เป็นปกติ ทำให้เราได้เรียนรู้ว่า “ทำจิตให้เป็นอุเบกขาให้ได้เถอะ แล้วทุกอย่างจะดีเอง (ดีสุดเท่าที่เป็นไปได้จริง)”
ทุกขอริยสัจ : ไม่ชอบที่ซิปเต็นท์รูดไม่ได้
สมุทัย : อยากให้ซิปเต็นท์รูดได้ ถ้ารูดได้จะเป็นสุข ถ้ารูดไม่ได้จะเป็นทุกข์
นิโรธ : ซิปเต็นท์จะรูดได้ หรือรูดไม่ได้ ใจก็เป็นสุข
มรรค : พิจารณาเรื่องกรรม ไตรลักษณ์ ประโยชน์ของการไม่มีกิเลส โทษของการมีกิเลส แรงเหนี่ยวนำของใจที่กลัวกังวลระแวงหวั่นไหวที่ส่งออกไปให้ผู้อื่นเป็นตาม (สัมมาทิฏฐิ, สัมมาสังกัปปะ, สัมมาวายามะ,สัมมาสติ, สัมมาสมาธิ) ผลคือสามารถวางใจให้เป็นอุเบกขาได้ ใจไร้ทุกข์ ใจมีความยินดี เบิกบาน ผ่องใส แม้ว่าซิปเต็นท์จะยังไม่ได้ซ่อมและยังซ่อมไม่ได้ ผลพลอยได้จากการล้างกิเลส คือซิปกลับมาดีได้เองโดยไม่ต้องซ่อม ทำให้เราได้เรียนรู้ในเรื่องของ “พลังอุเบกขา” ได้อย่างชัดเจน
เรื่อง กิเลสสะดุ้งเมื่อได้ยินเสียงถ่มน้ำลาย
เหตุการณ์ ข้างบ้านมาปลูกบ้านใหม่แล้วยกบ้านสูงมาก ชั้นหนึ่งบ้านเขาสูงกว่าชั้นหนึ่งบ้านเราเกือบครึ่ง บ้านเราก็ปลูกต้นไม้รอบบ้านจะได้ยินเสียงเขาถ่มน้ำลายประจำ ลุกไม่ทันไปดูสักทีว่าถ่มน้ำลายลงผักที่เราปลูกรึเปล่า
ทุกข์ ขุ่นใจว่าเขาจะถ่มน้ำลายและขากเสลดใส่ต้นไม้เรา
สมุทัย ชอบถ้าเขาไม่ถ่มน้ำลายและขากเสลดมาที่ต้นไม้เรา ชังถ้าเขาถ่มน้ำลายและขากเสลดมาที่ต้นไม้เรา
นิโรธ เขาจะถ่มน้ำลายหรือขากเสลดมาที่ต้นไม้เราหรือไม่ก็ไม่ชอบไม่ชัง
มรรค ได้ยินเสียงถ่มน้ำลายและขากเสลดเกิดอาการขุ่นใจทุกที
มาร เอ๊ะจะถ่มน้ำลายและขากเสลดอะไรกันนักกันหนาเนี่ย ไม่รู้ถ่มน้ำลายมาใส่ผักเรารึเปลาเนี่ย
เรา ระแวงอีกแล้วทุกข์อีกแล้วใช่ไหม ทั้งๆที่ยังไม่เห็นเลยว่าโดนผักเรารึเปล่า ชอบคิดไปเองแล้วก็ทุกข์ซะเอง การที่เขามีเสลดแล้วถ่มน้ำลายๆบ่อยๆแสดงว่าเขา ไม่สบายเขามีวิบากของเขาเราต้องเห็นใจ ไม่มีใครอยู่ดีๆจะถ่มน้ำลายขากเสลดหรอกมันทุกข์น่ะ เขากำลังขับของเสียออกจากร่างกาย เพื่อให้ร่างกายสบายถ้าเรารังเกียจเขาเดี๋ยวจะเป็นเอง อยากเป็นแบบเขาไหมล่ะ จะได้รู้ว่ามันเป็นอย่างไร จะได้เข้าใจเขา
มาร ไม่เอาไม่อยากเป็นน่ะ
เรา งั้นอย่าโง่ไปรังเกียจเขาหรือเพ่งโทษเด็ดขาดเลยน่ะ
มาร งั้นเรามาช่วยกันยกกระถางไปไว้ทางอื่นดีกว่าเนอะ จะได้ไม่ต้องทุกข์อีก
เรา ดีมาก
บททบทวนธรรม9
ถ้าเรายังไม่เข้าใจคนอื่น
แสดงว่าเรายังไม่เข้าใจตนเอง
สรุปวางใจได้อาการขุ่นใจก็หายไป
เรื่อง น้ำท่วมกิเลสลด
เหตุการณ์ ลูกกรอกน้ำใส่ขวดแล้วชอบเปิดน้ำกรองใส่ตุ่มไว้ทุกครั้งแล้วก็ลืมปิดน้ำเราตื่นมาตอนตีสามเห็นน้ำนองพื้น
ทุกข์ ขุ่นใจเมื่อเห็นน้ำนองพื้น
สมุทัย ชอบถ้าลูกเปิดน้ำแล้วปิด ชังเปิดน้ำแล้วไม่ปิด
นิโรธ ลูกจะปิดน้ำหรือไม่ปิดน้ำก็ไม่ทุกข์ใจ
มรรค เมื่อเห็นน้ำนองเกิดอาการขุ่นใจเอาอีกแล้วแทนที่จะลุกมาเข้าห้องน้ำแล้วนอนต่อกลับต้องมานั่งเช็ดน้ำ เช็ดน้ำไปก็บ่นในใจไปวิบากร้ายมาให้ชดใช้อีกแล้ว ไหนต้องเช็ดน้ำให้แห้งไหนจะไม่ได้นอน ยังไงเช็ดน้ำเสร็จก็นอนไม่หลับอยู่ดี เหตุการณ์นี้ได้ชดใช้วิบากร้ายสองเรื่องเลย วิบากต้องรับกิเลสต้องล้างพุทธะจึงจะเกิด รับร้ายแล้วก็หมดไปเราจะโชคดีขึ้น เช็ดน้ำเสร็จนอนไม่หลับก็ไม่เป็นไร เราก็สร้างวิบากดีให้ตัวเองโดยฟังธรรมะไปเรื่อยๆ
บททบทวนธรรมข้อ108
กรรมคือ ความจริง
ความจริงคือ กรรม
เชื่อชัดเรื่องกรรม
คือ เชื่อชัดความจริง
เชื่อชัดความจริง
จึงจะหลุดพ้นจากทุกข์ได้
สรุปเชื่อชัดในวิบากกรรมอาการขุ่นใจก็หายไป
21/05/64
ชื่อ : น.ส.ทิษฏยา โภชนา
ชื่อทางธรรม : ในสายธรรม
จิตอาสาสังกัดสวนป่านาบุญ 2
เรื่อง : กลัวว่าอาการมึนหัวจะกลับมาอีก
เมื่อ 2 วันก่อนผู้เขียนมีอาการมึนหัวไม่โปร่งโล่งสบายตัว ทำให้ผู้เขียนรู้สึกทุกข์ใจมาก คิดไปไกลว่าจะเป็นโรคร้ายแรง ซึ่งก็ได้ล้างกิเลสไปแล้วบางส่วนทำให้อาการดีขึ้นเป็นลำดับ จนกระทั่งถึงวันนี้อาการมึนหัวนั่นหายไปแล้ว แต่กลับมีความกลัวว่าอาการนั้นจะกลับมาอีก กิเลสมันจะหลอกให้กลัว มันจะเข้ามาเป็นระยะ ๆ เวลาเผลอ
ทุกข์ : กลัวกังวลว่าอาการมึนหัว ไม่โปร่งโล่งสบายที่หายไปแล้วจะกลับมาเป็นอีก
สมุทัย : ชอบใจถ้าได้สภาพที่โปร่งโล่งสบาย ชังถ้าอาการมึนหัวจะกลับมาอีก
นิโรธ : จะได้สภาพโปร่งโล่งสบายหรือสภาพไหนก็ได้ ไม่ชอบไม่ชัง ใจไร้ทุกข์
มรรค : พิจารณาว่านี่คือความคิดของกิเลสที่ชิงชังรังเกียจสภาพทุกข์ อยากได้สภาพดี ๆ และก็กลัวว่าเมื่อหายแล้วอาการเจ็บป่วยนั้นก็จะกลับมาอีก จึงบอกกับกิเลสไปว่า
เรา : ความเจ็บป่วยมันไม่ได้น่ากลัว มีแต่แกนี่แหละมาร…ที่น่ากลัว
ถ้าแกกลัว แล้วทำไมถึงได้ขยันคิดถึงความเจ็บป่วยมันจังเลยมาร
ขยันคิดเรื่อย ๆ เหมือนอยากป่วยอีกเลยมาร คิดแบบนี้แล้วยิ่งทุกข์ยิ่งใช่มั๊ย…มาร?
ความกลัวคือ ทุกข์ที่แรงที่สุด จะดึงเรื่องร้ายเข้ามาในชีวิต
ต่อไปนี้ฉันจะไม่กลัวกังวลเรื่องอะไรอีกต่อไปแล้ว จะไม่เชื่อแกอีกแล้วนะมาร
เชื่อพุทธะแล้วจะไม่กลัว จะไม่ทุกข์ ใจไร้ทุกข์คือสภาพที่ดีที่สุด
และได้ตั้งศีลขึ้นมาเพื่อล้างความกลัว
ตรงกับบททบทวนธรรมข้อที่ 122 “ สิ่งใดที่เมือนจริง แต่คิดพูดทำแล้วทุกข์ แสดงว่าสิ่งนั้นไม่จริง แต่สิ่งใดที่เหมือนไม่จริง เมื่อคิดพูดทำตามแล้วพ้นทุกข์แสดงว่าสิ่งนั้นจริง”
พิจารณาแบบนี้แล้ว ความกลัวกังวลว่าอาการป่วยจะกลับมาอีก ก็ค่อยๆ ลดลงไปเรื่อย ๆ ความถี่ในการที่กิเลสจะเข้ามาหลอกเราเรื่องนี้ เริ่มลดลง
เรื่อง ไม่เชื่อมาร
เหตุการณ์ : ได้ช่วยกันปลูกต้นปาล์มที่สวนท่าชนะตั้งแต่เช้าอากาศสดชื่นสบายๆพอสายๆ เริ่มร้อนจากแสงแดดยิ่งใกล้เที่ยงยิ่งร้อนจัด จนเมื่อยล้า หมดเรี่ยวหมดแรงแถมต้องขนต้นปาล์มเดินขึ้นเขาเพื่อลงปลูกตามหลุมที่พ่อบ้านขุดรอไว้ทำเอาแทบยกเท้าไม่ขึ้นจากพื้น แต่พ่อบ้านยังทำงานเฉยอยู่ รู้สึกหงุดหงิด ที่พ่อบ้านไม่พักสักทีแต่เราอยากพักแล้ว
ทุกข์ : รู้สึกหงุดหงิด ที่พ่อบ้านไม่ยอมพาหยุดพัก
สมุทัย : อยากให้พ่อบ้านหยุดพักก่อนเพราะแดดร้อนมาก ชอบถ้าพ่อบ้านพักเราจะได้พักด้วย แต่พ่อบ้านไม่ยอมพักสักทีจึงชัง
นิโรธ : พ่อบ้านหยุดพัก หรือ ทำงานต่อ ก็ได้ ใจไร้ทุกข์ ไม่ชอบ ไม่ชัง
มรรค : เมื่อรู้สึกหงุดหงิด หันดูพ่อบ้านในใจคิดว่า เมื่อไหร่จะพักสักที มารกระซิบทันทีว่า อยากพักมากเลย แดดร้อนจัดมาก ทรมานตัวเองเกินไปแล้ว เดี๋ยวก็เป็นลมหรอก แต่เถียงมารว่า เราไม่เชื่อเจ้าหรอกมาร อย่าหลอกเราเลย เราเชื่อตามที่อาจารย์สอนว่าทำงานกลางแดดร้อนจัดๆ ต้องยินดี ฮึกเหิม ห้าวหาญ จะมีพลัง มีชีวิตชีวา การทำงานกลางแสงแดด ทำให้เซลล์ร่างกายแข็งแรง จิตใจเข้มแข็ง เป็นความจริงที่พิสูจน์ได้ เมื่อเราได้ทำตามก็ปรากฏว่าเป็นความจริงตามนั้นยิ่งทำงานหนักเท่าที่ไม่ทรมานเกิน ทำให้มีกำลัง ร่างกายแข็งแรง มารเห็นความจริงว่าหลอกเราไม่ได้ รีบออกไปพร้อมความรู้สึกหงุดหงิดแล้วกำลังก็กลับมาเต็มจนทำงานกลางแดดได้ด้วยความยินดี เบิกบานใจ อย่างมีชีวิตชีวาดังเดิมซึ่งเป็นจริงตามคำคมที่อาจารย์(ดร.ใจเพชร กล้าจน)ให้ว่า”พลังชีวิต คือ ยินดี ฮึกเหิม ห้าวหาญ คึกคัก มีชีวิตชีวา ในทุกสถานการณ์อย่างถูกต้องตามธรรม เป็นประโยชน์ที่สุดต่อชีวิต”
สุดท้าย เมื่อเราไม่เชื่อมาร ไม่ทำตามมารแต่เชื่อพุทธะตามที่อาจารย์สอนผ่านคำคม ความหงุดหงิดออกไปใจกลับมาเบิกบาน ไร้ทุกข์ ดังเดิม
เรื่อง ไร้สาระ
ขณะที่กำลังล้างจานเก็บทำความสะอาดอยู่ในครัว พ่อบ้านก็เข้ามาช่วย เช็ดจาน ก็รู้สึกยินดีอนุโมทนาที่ท่านมาช่วยโดยไม่ต้องบอก แต่ในขณะที่ท่านรอจานที่เรากำลังล้างอยู่ท่านก็พูดขึ้นว่า ฉันว่าผ้าล้างจานอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ฉันผายลม ผ้าล้างจานควรเปลี่ยนบ่อย ๆ ฉันเห็นเธอใช้มาตั้งนานไม่เปลี่ยนสักที พอได้ยินอย่างนี้เราก็เห็นอาการความไม่พอใจของเรา เรารู้สึกว่าทำไมท่านพูดเรื่องไร้สาระ เพราะผ้าล้างจานใช้เสร็จก็ล้างตากทุกวัน แล้วมันเกี่ยวอะไรกับที่ทำให้ท่านผายลม ซึ่งมันน่าจะเป็นอาหารที่ท่านรับประทานมากกว่า
ทุกข์ ขุ่นใจ ไม่ชอบใจ
สมุทัย ไม่อยากให้พ่อบ้านพูดไร้สาระ อยากให้ท่านพูดมีสาระน่ารับฟัง
นิโรธ พ่อบ้านจะพูดมีสาระหรือไร้สาระก็ไม่ทุกข์ใจ ยินดีรับฟังได้
มรรค พิจารณาว่าที่จริงน่ะเรานะที่พูดจาไร้สาระ พ่อบ้านเป็นแต่เพียงสื่อมาสะท้อนให้เราเห็นว่าเราเคยเป็นเช่นนี้มาเคยส่งเสริมมา ความขุนใจไม่ชอบใจเป็นความผิดของเราเพราะอะไรที่เราพูดตาม ทำตามแล้วทุกข์ นี่แหละกิเลส เป็นเรื่องที่ไร้สาระที่สุด ควรกำจัดไปไม่ให้มี เราควรยินดีแก้ไข พอพิจารณาเห็นความจริงอย่างนี้ใจก็เบิกบาน ส่วนตัวพ่อบ้านก็เป็นวิบากของท่าน ท่านจะแก้ไขหรือไม่ก็เป็นเรื่องของท่าน
เรื่อง : ผิดศีลกินนอกมื้อจนกัดปากตัวเอง
เนื้อเรื่อง : คำว่า “แม่” ยิ่งใหญ่นักนอกจากจะให้กำเนิดเราแล้ว ท่านยังคอยเป็นห่วงเป็นใยเราทุกก้าวย่าง เมื่อแม่รู้ว่าเรากินมื้อเดียว ท่านก็เป็นห่วงและมักจะปรุงอาหารเจอร่อยมาแบ่งให้ (ยั่วให้กินมื้อเย็น) บ่อยครั้งแต่เราก็ไม่กิน เพราะมันมีรสจัด พอช่วงหลังๆ แม่ทราบว่ากับข้าวที่แบ่งไปนั้นเราไม่กิน มีแต่เด็กๆ กินเอง ทีนี้แม่ก็เลยทำอาหารสุขภาพ (แกงหน่อไม้) มาให้ เราก็กินแกงหน่อไม้จนกัดปากตัวเอง
ทุกข์ : ตกใจที่ไปกัดปากตัวเอง ทั้งปวดทั้งแสบ
สมุทัย : ชอบที่ได้เสพแกงหน่อไม้ และไม่กัดปากตัวเอง ชังที่ไปผิดศีลแล้วกัดปากตัวเอง
นิโรธ : ในเมื่อเราผิดศีลก็ต้องยินดีในการใช้วิบาก แบบไม่ชอบไม่ชัง
มรรค : พิจารณาที่โดนวิบากซัด เพราะถูกมารลวง
มาร : เห็นแกงหน่อไม้ก็กลืนน้ำลาย อึกหนึ่ง แล้วยังอ้างเหตุผลว่า โอ้โห แม่ไม่เคยทำอาหารสุขภาพเลย แต่วันนี้แม่อุตส่าห์ทำมาให้เราก็ต้องกินสิ แกงหน่อไม้สดๆ น่ากินจังเลย
เรา : ไม่ได้หิวจะกินให้แน่นท้องทำไม
มาร : ก็เราไปทำงานหนักทั้งวัน ช่วงเย็นแบบนี้ก็น่าจะกินอะไรบ้าง (บางวัน) เพื่อเติมธาตุอาหารให้ร่างกาย และกินเพื่อไม่ให้แม่เสียน้ำใจด้วย
เรา : ตอนนั้นพลังปัญญาเราไม่มากพอ ก็เลยยอมกินแกงหน่อไม้ (กินมื้อเย็น) ในขณะที่กินนั้นก็ได้สังเกตเห็นว่ามารมันกินแบบเสพ รีบเคี้ยว รีบกลืนเร็วๆ จนกัดปากตัวเองจนสะดุ้ง
มาร : อุ๊ย! ทำไมจึงกัดปาก ยังอยากอร่อยอยู่เลย แต่ปวดก็ปวด แสบก็แสบ
เรา : สมน้ำหน้า มารยังมีหน้ามาถามว่าทำไม ก็แก เสพอาหารนอกมื้อ ผิดศีลมา ก็ต้องได้รับวิบากร้ายแบบนี้ จะได้สำนึกบ้าง
มาร : อ๋อ วิบากมาเร็วจังเลยเนาะ ก็ดี รับแล้วก็หมดไป จะได้โชคดีขึ้น
ต้องขอบพระคุณในน้ำใจของแม่ที่ทำให้ได้เห็นลีลาของกิเลสตัวนี้ และได้คลังปัญญาเพิ่ม ได้ใช้วิบากด้วย ตรงกับ บทธ ข้อ 41 สุขจากกิเลส คือ ทุกข์ที่บรรเทาชั่วคราว เหมือนได้เกาขี้กลาก บวก วิบากร้าย ไม่สิ้นสุด เลิกซะ !!!
สรุป : เมื่อเราสำนึกผิดยอมรับผิดอาการปวดก็ลดลง ใจก็เบาสบาย สาธุค่ะ
เรื่อง: เอาทุกข์ของแม่มาเป็นทุกข์ของตน
เหตุการณ์:
เนื่องจากเราทำงานอยู่ประเทศฮ่องกง มียายป่วยเป็นอัลไซเมอร์จำเป็นต้องมีคนดูแล เพราะแม่อายุ 74 ปีแล้ว น้องชายทำงานอยู่ต่างจังหวัด และการดูแลคนที่นอนติดเตียงไม่ใช่งานง่าย ๆ จึงได้หาคนมาดูแลยาย ซึ่งที่ผ่านมา คนดูแลก็ทำงานได้พอสมควร แต่หลัง ๆ คนดูแลเริ่มไม่ใส่ใจ ต้องให้แม่เตือนอยู่บ่อยครั้ง แล้วแม่ก็เป็นคนไม่ชอบพูด ส่วนมากจะเก็บความไม่พอใจไว้ ซึ่งเวลาแม่มาเล่ารึบ่นให้ฟัง เราก็พยายามบอกให้แม่คุยกับคนดูแล เพราะไม่งั้น ปัญหาที่มีจะไม่ได้รับการแก้ไข แถมพอกพูนให้รำคาญใจอีก เมื่อก่อน เราจะคอยคุยกับคนดูแลคนเก่า ๆ ที่เคยอยู่ให้แก้ไข แต่ตอนหลัง เรารู้สึกว่า มันไม่ใช่วิธีที่แก้ไขปัญหาที่ดี เพราะแม่เป็นคนที่อยู่กับเค้า ต้องเรียนรู้ปรับเปลี่ยนที่จะอยู่อย่างผาสุกกับคนดูแลให้ได้ เมื่อสองอาทิตย์ก่อน คนดูแลส่งข้อความเสียงมาทางไลน์ว่า อย่าโกรธเค้านะ เค้าจะขอลาออก เราเลยรีบโทรไปคุยกับแม่ ปรากฏเรื่องที่เกิดขึ้น แค่แม่จะใช้ปากกา แต่พอหยิบขึ้นมา ตัวปลายปากกามันหลุดหายไป ทำให้เขียนไม่ได้ แม่ก็ถามคนดูแลว่า เห็นชิ้นส่วนปากกาไหม แล้วปักใจเชื่อว่า คนดูแลทำปากกาเสียหาย ก็เริ่มบ่นว่า เป็นเหตุให้ทะเลาะกัน ส่วนคนดูแลก็ไม่เบา เถียงเสียดัง แถมเถียงอย่างเอาเป็นเอาตาย เราเองนั่งฟังอยู่ ก็ถามถึงสาเหตุ และในขณะเดียวกันก็คุยด้วยเหตุด้วยผล ไกล่เกลี่ยเป็นชั่วโมง ๆ ท้ายสุดก็ให้เค้าทั้งสองคนพิจารณาเอาเองว่าจะอยู่ด้วยกันได้อีกไหม แต่ขอให้หายอาการโมโหก่อนที่จะตัดสินใจ หลังจากนั้น เราก็ปล่อยเวลาผ่านไปวันสองวัน ถึงไปสอบถามแม่ว่าจะเอายังไงต่อ แม่ก็บอกว่าอยู่ที่คนดูแล ว่าจะอยู่หรือจะไป ล่าสุด คนดูแลว่าจะรอลาออกตอนสิ้นปี
ทุกข์ :
ทุกครั้งที่ได้ยินเรื่องลักษณะนี้ จะหนักใจทันที ทุกข์ใจ กลัวและกังวลว่า จะไม่มีคนดูแลยาย แล้วแม่ต้องมาดูแลยาย จะเหนื่อย จะไม่ไหว เพราะเคยมีช่วงที่หาคนดูแลยายไม่ได้ แล้วเราทำงานอยู่ต่างประเทศ กลับไปไม่ได้ ก็จะเป็นช่วยเหนื่อยของแม่ แต่พอหาคนดูแลได้ แม่ก็จะบ่นเรื่องของค่าใช้จ่าย บ่นเรื่องขี้เกียจ หรือความไม่ใส่ใจ ความไม่เป็นส่วนตัว และอื่น ๆ อีกมากมาย และจะบอกเสมอ ๆ ว่า จริง ๆ เค้าทำได้ และยายก็ไม่ได้ดูแลยาก เหมือนช่วงที่ป่วยแรก ๆ แล้ว เพราะตอนนี้นอนติดเตียงเต็มรูปแบบ แต่ตามประสบการณ์ของเราเอง ที่เวลากลับไปเมืองไทยได้ (ก่อนสถานการณ์โควิด เราจะกลับบ้านเดือนละสองหรือสามครั้ง เพราะทำงานสายการบิน พอมีวันหยุดเกินสามวัน ก็จะกลับกรุงเทพ วิ่งไปช่วยแม่ดูแลยายที่บ้าน แล้วก็กลับมาบ้านตัวเองกับแฟน หรืออาจไม่กลับบ้านตัวเองเลย ขึ้นอยู่กับเหตุการณ์) การดูแลคนติดเตียงไม่ใช่งานง่าย ๆ ขนาดเราอายุน้อยกว่าแม่ถึงยี่สิบปี ยังเหนื่อยเลย
สมุทัย :
ความอยากเป็นเหตุ อยากให้ได้ดั่งใจ อยากให้ยายมีคนดูแล อยากให้แม่ไม่เหนื่อย อยากได้สภาพดี ๆ อยากสบายใจ
นิโรธ :
หลังจากพิจารณาใคร่ครวญกับเหตุการณ์นี้ และ หลาย ๆ ความทุกข์ใจในความอยากได้ดั่งใจในทุก ๆ เรื่อง เริ่มเห็นตัวเองว่า ศึกษาและทำงานเรื่องธรรมะมาหลายปี เคยปฏิบัติตามรูปแบบอย่างเข้มข้น เคยบวช เคยนั่งสมาธิหลาย ๆ ชั่วโมงโดยไม่ขยับเขยื้อน อ่านหนังสือธรรมะมานับไม่ถ้วน ฟังธรรมมาตั้งมากตั้งมาย ทำไมความทุกข์ทางใจถึงไม่ได้ลดน้อยลงเท่าที่น่าจะเป็น ถึงมองเห็นว่า เราเข้าใจแค่ภาษา แต่ไม่ได้เข้าถึงสภาวะ เวลามีเรื่องไม่ได้ดั่งใจ ก็ชิงชัง ไม่ชอบใจ ไม่พอใจ โดยไม่นำเรื่อง หรือ เหตุการณ์นั้น ๆ มาเป็นครู ศึกษาสภาพสภาวะตามความเป็นจริง ไม่ยอมรับและเชื่อเรื่องกรรมอย่างแจ่มแจ้งถึงได้ทุกข์ใจอยู่ กับเหตุการณ์นี้ เราได้ทำอย่างเต็มที่เท่าที่เราจะทำได้แล้ว ส่วนแม่ ยาย กับคนดูแล เค้ามีวิบากร่วมกัน จะอยู่ด้วยกันได้หรือไม่ได้ เราก็สุขใจ ยอมรับกับทุกสภาพสภาวะที่เกิดขึ้น ไม่ใช่แค่ยินดีกับเรื่องที่ได้ดั่งใจ หรือชิงชังกับเรื่องที่ไม่ได้ดั่งใจ จะพัฒนาทางจิตวิญญาณได้อย่างไร
มรรค :
สุขใจ ยินดี พอใจกับทุกเหตุการณ์ให้ได้ เพราะสิ่งที่ได้รับคือสิ่งที่เราทำมาแน่นอน ถึงแม้จะเกิดเหตุการณ์อะไร ก็ไม่หวั่นไหว เราจะทำดีต่อ จนกว่าชีวิตนี้จะดับไป ก็ไปต่อชาติหน้าสืบไป เพราะท้ายสุดไม่มีอะไรเป็นของใคร พิจารณาได้ตามนี้ ใจมันก็เบาได้ ยิ้มได้ เริ่มเข้าสู่สภาวะที่ไม่ได้ดั่งใจ แต่ยินดี พอใจ และวางใจกับเหตุการณ์ได้
วิภาภรณ์ กอจรัญจิตต์ (เอ ใจพอแล้ว)
เรื่อง ก็แค่ยอม ก็แค่นั้น
เหตุการณ์ คือ มีเพื่อนมาขอความช่วยเหลือ เพื่อนคนนี้จริงๆ แล้ว เราไม่ค่อยสนิท ก็ไม่ค่อยอยากจะยุ่งด้วยมาก เพราะเค้าเป็นคนวุ่นวายและโวยวาย บางครั้งเวลาเค้ามาขอความช่วยเหลือ เราก็จะรู้สึกอึดอัดใจถึงแม้ว่าเรื่องที่เค้าขอความช่วยเหลือ เราจะทำได้ และทำได้ไม่ยาก แต่พอช่วยแล้วทีไร เค้าก็จะติ จะบ่น จะตื้อ จะเอาเพิ่ม ทำให้เรารำคาญใจนั่นเอง ครั้งนี้ก็เช่นกัน เพื่อนคนนี้ก็มาขอความช่วยเหลือจากเราอีกครั้ง ในคำขอความช่วยเหลือ เค้าก็บอกมายืดยาว ว่าอยากจะให้เราช่วยอะไร สรุปสุดท้ายว่า ฝากด้วยนะ
ทุกข์ – ขุ่นใจ อึดอัดใจที่เพื่อนมาขอความช่วยเหลือจากเรา เราไม่ค่อยอยากจะยุ่งกับเพื่อนคนนี้
สมุทัย – ชอบถ้าเพื่อนไม่มาขอความช่วยเหลือจากเรา ชังถ้าเพื่อนมาขอความช่วยเหลือจากเรา
นิโรธ – เพื่อนจะมาขอความช่วยเหลือจากเราก็ไม่ต้องชัง เพื่อนจะไม่มาขอความช่วยเหลือจากเราก็ไม่ต้องชอบ
มรรค – เริ่มจากพิจารณาโทษของกิเลสตัวชัง พอเพื่อนมาขอความช่วยเหลือจากเรา ใจที่เราชังเขาก็เริ่มอึดอัด เมื่อก่อนกิเลสจะหลอกให้เราหงุดหงิด บ่นคุ้ยเรื่องไม่ดีของเพื่อนมาคิดซ้ำๆ บางทีไม่ได้แค่คิด ยังเอาไปบ่นกับคนอื่นต่อด้วย ส่งเสริมกิเลสชังให้แพร่กระจายไปเหมือนเชื้อร้าย
เมื่อเราเห็นโทษ(ฤทธิ์)ของกิเลสตัวชังแล้ว ครั้งนี้เราตอบตัวเองได้เลยว่าเราจะช่วยเพื่อน และช่วยแบบยินดี พอใจ ไร้กังวล เราจะไม่ยอมให้กิเลสชังมาปิดกั้นการบำเพ็ญ มาทำให้เราโง่ มาทำให้เราทุกข์อีกแล้ว เพื่อนคนนี้มาช่วยให้เราเห็นกิเลส มาให้เราได้ชดใช้วิบากร้าย ได้ทำวิบากดี ได้ล้างกิเลสในใจเรา แล้วเรายังจะใจดำ จะชังเค้าได้อีกเหรอ เราต้องขอบใจเค้าต่างหาก ตอนนี้เรารู้แล้วว่า ยิ่งชัง ยิ่งโง่ ยิ่งทุกข์ ไม่มีประโยชน์อะไรนอกจากบั่นทอนพลังและจิตใจเรา เลิกซะที เมื่อเราเห็นประโยชน์ของการไม่มีกิเลสตัวนี้ เราก็คลายใจลงได้ สบายใจ และทำงานอย่างเต็มที่
สรุป – เหตุการณ์นี้ทำให้เราเห็นตัวเองชัดขึ้น เห็นความชังที่เรามีต่อคนที่ไม่ได้ดั่งใจเรา พอเราชังเค้า อะไรอะไรที่มาจากคนที่เราชังก็ไม่ถูกใจไปหมด แต่พอเรามาพิจารณาตามหลักอริยสัจ 4 เราจึงเห็นว่าทุกข์ใจที่เกิดขึ้น เกิดจากเราปรุง อยาก ยึด ชังเองทั้งนั้น ชังไปก็มีแต่ทุกข์ใจ แล้วจะชังไปให้โง่ทำไม วิธีพ้นทุกข์ก็แค่ยอมแบบไม่มีข้อแม้ ใจก็คลาย ง่ายๆ แบบนั้นเอง ตอนนี้เราก็เริ่มทำงานให้เพื่อนอย่างสบายใจ
เรื่องกลัวสวนไม่สอาด
เนื้อเรื่อง
ชวนน้องจิตอาสา.ไปถ่างป่ากล้วยด้วยกันอยู่ๆก็มีเพื่อนอีกคนมาชวนน้องไปช่วยงาน. ขณะที่เขาคุยกับน้อง.กิเลสเราก็สังขารไปเรียบร้อยว่าชวนน้องไปทำงานด้วยแน่าเลย
ทุกข์.กลัวเขาชวนน้องไปด้วย สวนเรายิ่งรกๆอยู่
สมุทัย.สภาพดับทุกข์
พ่อแม่.พาทำสวนสะอาดเราชอบ. เพื่อนไม่ได้ชวนน้องไปเหมือนเราคิดเลย.เราผิดเอง.อุปทานไปเองเพราะสวนกล้วยรก ได้ทำใจมากๆคนก็ไม่ค่อยมีพอที่จะมาช่วยเรา.พื้นที่ที่เรารับผิดชอบมากอัตตาเรายึดมากแต่ก่อน.เดี๋ยวนี่เบาแล้วทำได้เท่านี่ก็ดีมากแล้ว
นิโรธ.สภาพดับทุกข์
เขาชวนน้องไปเราก็ไม่ทุกข์ใจ.เขาไม่ชวนก็สุขใจๆถ้าเราชื่อชัดเรื่องกรรมจะเอาทุกข์มาแต่ไหน.เราเคยทำมาแน่ๆจึงกลัวคิดชั่วไม่ดีๆสอนตัวเองว่าทำคนเดียว
ก็ได้ใจไร้กังวล
มรรค.วางวิธีดับทุกข์
อุปทาน ปั้นอากาศให้เป็นตัว.สร้างทุกข์.ให้เราโง่.เลยพิจารณ.อ๋อ.เธอเป็นแขกจรมาอีกแล้วๆ.เลยทำความยินดี.หายไปในเวลาไม่นาน.จะตามรู้ให้ทัน
ต่อไปคือพุทธะค่ะ
22/05/64
ชื่อ : น.ส.ทิษฏยา โภชนา
ชื่อทางธรรม : ในสายธรรม
จิตอาสาสังกัดสวนป่านาบุญ 2
เรื่อง : รู้สึกผิดที่ทำผิดศีล
ผู้เขียนตั้งศีลขึ้นมาว่าจะไม่กินมื้อเย็น (หลังบ่าย 2 โมงเป็นต้นไปจะดื่มเฉพาะน้ำเปล่า) ซึ่งก็ทำมาได้ระยะหนึ่งแล้ว ช่วงแรก ๆ กิเลสก็มีมาหลอกให้อยากกินอาหารบ้าง แต่ก็ผ่านมันไปได้โดยไม่ยากไม่ลำบากอะไร ไม่เคยผิดศีลเลย ทำให้หลงตัวเองคิดว่าเราน่าจะทำได้แล้ว จนกระทั่งวันนี้ที่ต้องไปทำธุระนอกบ้านในช่วงเย็น ซึ่งต้องขับรถผ่านตลาดโต้รุ้งที่สมัยก่อนเราเคยแวะซื้ออาหารเย็นกินประจำ และครั้งนี้ก็ได้แวะให้ญาติลงไปซื้อของ ในระหว่างรออยู่ในรถ ก็เห็นกิเลสดิ้นอยู่ในใจ มันเห็นอาหารจ้าวประจำหลาย ๆ ร้านที่เราเคยซื้อกิน ซึ่งก็มาตรวจใจดูแล้วว่าถ้าเป็นอาหารประเภทที่ต้องเคี้ยวก็ไม่ได้รู้สึกหวั่นไหวอะไรเท่าไดนัก แต่เมื่อหันไปเจอร้านครื่องดื่มเข้า กิเลสมันก็เริ่มออกอาการมันเข้ามารบกวนให้ผู้เขียนรู้สึกหวั่นไหวอยู่เป็นระยะ ๆ ได้ต่อสู้กับมันอยู่พักใหญ่ แต่สุดท้ายก็ไม่สำเร็จ ต้องไปทำผิดศีลดื่มน้ำหวานจนได้
ทุกข์ : รู้สึกผิดที่พลาดไปดื่มน้ำหวาน ผิดศีลที่ตั้งไว้
สมุทัย : ชอบใจถ้าไม่ต้องผิดศีล ชังที่ทำผิดศีลที่ตั้งไว้
นิโรธ : เมื่อไดพลาดผิดศีลแล้ว ไม่ตีตนเอง ยินดีที่ได้เห็นทุกข์ ได้แก้ไขทุกข์ ไม่ชอบไม่ชัง
มรรค : ในขณะที่ดื่มน้ำหวานซึ่งก็ได้สมใจกิเลส แต่ภายในใจกลับก็รู้สึกผิดว่าเราไม่น่าทำพลาดเลย อุตส่าห์ทำได้ตั้งหลายวันแล้ว จึงพิจารณาว่าเมื่อเราพลาดแล้วก็ไม่ควรไปตีตัวเองซ้ำ พิจารณาต่อว่าครั้งนี้ดูเหมือนว่าเราจะพลาด แต่ก็ไม่ได้พลาดไปเสียทีเดียว เหตุการณ์นี้มันก็ทำให้เราได้รู้ว่าเรื่องนี้เราต่อสู้กับมารได้ระดับไหน ถ้าเราได้สู้กับกิเลสแล้วแต่กำลังเราสู้ไม่ไหวก็ให้ยอมกิเลสไปก่อน แสดงว่าที่ผ่านมาเรายังทำได้เพียงแค่กดข่ม ดังนั้นเมื่อพลาดแล้วก็ต้องเพิ่มอธิศีลให้มากขึ้นไปเพื่อมาจัดการกับกิเลสให้ได้เป็นลำดับ ๆ ต่อไป
ตรงกับบททบทวนธรรมข้อที่ 69 “ พร้อมสู้อุปสรรคอย่างเบิกบาน ไม่ทรมานอย่างเบิกบูด ไม่หย่อนยานจนย่ำแย่ ”
พิจารณาแบบนี้แล้ว ความรู้สึกผิดที่ไปผิดศีลก็ค่อย ๆคลายลง ส่วนในด้านร่างกายหลังจากดื่มน้ำหวานไปแล้วก็ได้รับวิบาก คือ รู้สึกร้อนไปทั้งตัว มีอาการมึนหัวเข้ามาด้วย จึงทำให้เห็นแล้วว่านี่แหละคือโทษทุกข์ของการเสพกิเลส กิเลสแม้เพียงน้อยนิดก็เน่าเหม็น
22/05/64
ชื่อ : นางศุทธินี พรมเล็ก (ป้าเนียร )
ชื่อทางธรรม : ขวัญน้ำฟ้า
จิตอาสาสังกัดสวนป่านาบุญ 2
เรื่อง : เพ่งโทษพี่สาว
ตื่นเช้ามาเห็นขยะกองใบไม้อยู่รอบบ้าน หันไปดูก็เห็นว่าพี่สาวกำลังกวาดขยะอยู่ กวาดยังไม่ทันเสร็จ เขาก็ไปล้างจาน ล้างจานยังไม่ทันเสร็จอีก เขาก็จะเดินไปพูดคุยกับคนโน้นทีคนนี้ที ทำงานค้างไว้ไม่เสร็จสักอย่าง จึงเกิดความไม่พอใจในการกระทำของพี่สาวขึ้นมาทันที เพราะพฤติกรรมเช่นนี้เขาจะทำอยู่เป็นประจำ เคยเตือนเขาหลายครั้งแล้วแต่เขาก็ไม่เคยแก้ไข
ทุกข์ : ไม่พอใจที่พี่สาวไม่ทำตามที่เราบอก
สมุทัย : ชอบใจถ้าพี่สาวทำตามที่เราบอก ชังที่พี่สาวไม่ทำตาม
นิโรธ : พี่สาวจะทำตามหรือไม่ทำตามที่เราบอกก็ได้ ไม่ชอบไม่ชัง ใจไร้ทุกข์
มรรค : พิจารณาว่าเรื่องที่ทำให้เราไม่พอใจพี่สาวนั้นเป็นวิบากกรรมที่เราเคยทำมา จะไปขุ่นเคืองใจ ไปเพ่งโทษเขาทำไม ความขุ่นข้องหมองใจไม่ใช่พุทธะ เรากำลังเดินทางผิด นั่นไม่ใช่พี่สาว แต่เป็นตัวเรา แล้วจะไปชังเขาทำไม
ตรงกับบททบทวนธรรมข้อที่ 120 “ ปัญหาไม่เคยหมดไปจากชีวิตเรา มีแต่ทุกข์เท่านั้นที่หมดไปจากใจเรา” และข้อที่ 121 “ โจทย์ทุกโจทย์ เหตุการณ์ทุกเหตุการณ์เป็นเครื่องมือฝึกจิตเราให้เป็นสุข อย่างถูกต้องตามธรรม ”
พิจารณาแบบนี้หลาย ๆ ครั้งแล้ว ความชิงชังความขุ่นข้องหมองใจที่มีต่อพี่สาวก็ค่อย ๆ จางคลายไป
(แก้ไข)
เรื่องกลัวสวนไม่สอาด
เนื้อเรื่อง
ชวนน้องจิตอาสา.ไปถ่างป่ากล้วยด้วยกันอยู่ๆก็มีเพื่อนอีกคนมาชวนน้องไปช่วยงาน. ขณะที่เขาคุยกับน้อง.กิเลสเราก็สังขารไปเรียบร้อยว่าชวนน้องไปทำงานด้วยแน่าเลย
ทุกข์.กลัวเขาชวนน้องไปด้วย สวนเรายิ่งรกๆอยู่
สมุทัย.สภาพดับทุกข์
พ่อแม่.พาทำสวนสะอาดเราชอบ. เพื่อนไม่ได้ชวนน้องไปเหมือนเราคิดเลย.เราผิดเอง.อุปทานไปเองเพราะสวนกล้วยรก ได้ทำใจมากๆคนก็ไม่ค่อยมีพอที่จะมาช่วยเรา.พื้นที่ที่เรารับผิดชอบมากอัตตาเรายึดมากแต่ก่อน.เดี๋ยวนี่เบาแล้วทำได้เท่านี่ก็ดีมากแล้ว
นิโรธ.สภาพดับทุกข์
เขาชวนน้องไปเราก็ไม่ทุกข์ใจ.เขาไม่ชวนก็สุขใจๆถ้าเราชื่อชัดเรื่องกรรมจะเอาทุกข์มาแต่ไหน.เราเคยทำมาแน่ๆจึงกลัวคิดชั่วไม่ดีๆสอนตัวเองว่าทำคนเดียว
ก็ได้ใจไร้กังวล
มรรค.วางวิธีดับทุกข์
อุปทาน ปั้นอากาศให้เป็นตัว.สร้างทุกข์.ให้เราโง่.เลยพิจารณ.อ๋อ.เธอเป็นแขกจรมาอีกแล้วๆ.เลยทำความยินดี.หายไปในเวลาไม่นาน.จะตามรู้ให้ทัน
ต่อไปคือพุทธะค่ะ
ทุกข์ : เรื่องความกังวลใจ
สมุทัย : เกิดจากการคิดถึงลูก ๆ แต่ละคน ลึกๆในใจหนักๆไม่สบายใจ นึกเป็นห่วง ทั้งวันนี้วันหน้า ซึ่งแต่ละคนเขาก็มีชีวิตของเขา ทำมาหากินของเขา แต่เราไป คิดแทนเขาว่ามันน่าจะดีกว่านี้ คิดวนไปวนมา บางครั้งพาให้หลับยาก ปกติเป็นคนหลับง่าย เกิดจากยึดดี
นิโรธ : จากการได้เรียนได้ฟังธรรมมะมาหลายปี ก็เข้าใจว่าเราเกิดทุกข์ในใจได้เพราะมันเข้ามาทางใจ เมื่อกระทบใจก็สังขาร ไปถึงอดีต อนาคต ซึ่งเป็นเรื่องที่ปั้นหรือปรุงแต่งเอง ก็รีบวางๆๆๆได้เป็นคราวๆ ยกจิตขึ้นให้อยู่กับปัจุบัน
มรรค : ความรู้ วิธีการ การกำหนดหมาย ของการกำจัดกิเลส เครื่องเศร้าหมองในจิต เป็นเรื่องที่ต้องทำทุกขณะจิตจริงๆ คือทุกลมหายใจเข้าออกต้อง ตื่นๆๆรู้ ๆๆแบบมีสติตื่นเต็มจริงๆ ขณะใดเมื่อเราหรี่ๆ หรือปล่อยสบายๆจะขาดสัมมาสติจริงๆเลย คงต้องฝึกตื่นเต็มให้มากๆ เตะกิเลสออกให้ไวๆ บ่อยๆ มากๆ จนชำนาญขึ้นจริงๆ
ปล.กิเลสมันเยอะจริง ๆ เปลี่ยนรูปแบบหน้าตา สถานที่ เวลาเข้ามาได้ทุกขณะ ถ้าเราเผลอใจห่างใจ เมื่อใด ม ค ป ด ทุกที เหตุเพราะปึก (โง่)จะพยายาม ฟังให้มากและทำให้มากจ้า
เรื่อง อยากได้ดั่งใจ
เรื่องมีอยู่ว่าเรากวาดพื้นทรายในศาลาแล้วมีลุงขับรถเข้ามาในศาลา เราเห็นก็ยืนดูแบบงงแตในใจร้อง เห้ย ขับเข้ามาได้ยังงัยหน้าเวทีนะกำลังคิดเพ่งโทษก็หยุดไม่เอา ไม่เพ่งโทษแล้วจะเป็นวิบากร้ายมาดูจิตในจิตลึกว่าอยากได้อะไรในเหตุการณ์นี้ที่มีอาการขัดใจไม่ได้ดั่งใจอยู่ ก็เห็นกิเลสช้อนหลายตัวแต่เราไม่คิดตามกิเลสแตล้างไปทีละตัวจนกิเลสยอมสุดท้ายลึกๆคือแค่ลุงทำตามเราคิดคือไม่ขับรถเข้ามาก็สุขใจได้ดั่งใจแต่ลุงขับเข้ามาไม่ถูกใจไม่ได้ดั่งใจก็วางใจเบาโล่งสบายใจดีที่เห็นกิเลสตัวเดิมที่เล็กลงคะทำเต็มที่สุขเต็มที่เราไม่สามารถเปลี่ยนใครได้นอกจากเปลี่ยนใจตนเองคะขอบพระคุณอาจารย์และหมู่มิตรที่ดีคะสาธุคะ
ทุกข์ : อยากได้ดั่งใจ
สมุทัย :ชอบถ้าลุงไม่ขับรถเข้ามาในศาลาชังลุงขับรถเข้ามาในศาลา
นิโรธ : ลุงจะขับเข้ามาในศาลาหรือไม่ขับเข้ามาก็ได้สบายใจไม่ทุกข์
มรรค : เชื่อชัดเรื่องกรรมใครทำอะไรมาก็ได้สิ่งนั้นทุกคนรู้ว่าอะไรควรทำหรือไม่ควรทำแค่คิดจะเพ่งโทษก็หยุดเพราะกลัววิบากร้ายไม่เอาแม้ในใจคะมพิจารณาเห็นกิเลสตัวเองซอ้นอยู่หลายตัวถ้าเป็นเมื่อก่อนทำตามกิเลสหมดเลยก็ได้วิบากร้ายเพิ่มแถมทุกข์ใจทุกข์กาย จึงพิจารณาดูในใจจึงเห็นกิเลสตัวอยากคือไม่ได้ดั่งใจที่เราแล้วแต่ยังไม่หมดตัวเล็กลงเราเปลี่ยนความคิดคนอื่นไม่ได้แต่เปลี่ยนใจเราไม่ทุกข์เพราะอยากก็พอคะสาธุคะ
ทุกข์:โกรธที่โดนคนหยุดรถกระทันหันแกล้ง
สมุทัย:ชอบให้ใครๆขับรถให้ได้ดั่งใจต้องการตัวเอง
นิโรธ: อย่ามีจิตใจที่ชอบให้ใครๆขับรถอย่างที่ตัวเองหวังเจอใครขับรถอย่างใดจะได้ไม่มีกิเลสใดๆเกิดขึ้น
มรรค: ใช้ปัญญาพิจารณาล้างความต้องการให้ใครๆขับรถดังใจหวังว่าเป็นเหตุให้เกิดกิเลสและทำให้เกิดทุกข์
เรื่อง กำลังใจ
เหตุการณ์: ได้ไปปลูกปาล์มที่สวนท่าชนะ ช่วงเช้าอากาศสบายๆแดดไม่ร้อนเกิน แต่พอสายๆแดดร้อนจัดมาก ทำให้เกิดอาการอ่อนเพลียเร็วกว่าปกติ ทำให้ไม่ได้ดั่งใจ เกิดอาการท้อแท้แว๊บขึ้นมาในใจ
ทุกข์ : ท้อแท้ใจ
สมุทัย : ยึดมั่นถือมั่นว่า ชอบใจถ้าอากาศไม่ร้อนจัด ชังที่อากาศร้อนจัด
นิโรธ : แดดจะร้อนจัดหรือไม่ เราก็ไม่ชอบไม่ชัง
มรรค : ปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่น แล้วลงมือทำปัจจุบันให้ดีที่สุดอย่างรู้เพียรรู้พัก ส่วนแดดจะร้อนหรือไม่ มันก็เป็นไปตามกฎของธรรมชาติ เพราะธรรมชาติของโลกใบนี้ก็มีร้อนมีเย็น ในร่างกายของเราเองก็มีร้อนมีเย็น การทำงานท่ามกลางแดดร้อนจัด ทำให้เราได้ฝึกอดทนต่อสู้กับความร้อน ทำให้เซลล์ของร่างกายแข็งแรง จิตใจเข้มแข็ง อาการท้อแท้คืออาการของมารที่ไม่สมหวัง ไม่เป็นไปตามที่หวัง ส่วนพุทธะจะสมหวังหรือไม่ ก็ไม่ชอบไม่ชัง พระพุทธเจ้าตรัสว่าตั้งตนบนความลำบาก กุศลธรรมเจริญยิ่ง ส่วนการตั้งตนบนความสบาย อกุศลธรรมเจริญยิ่ง อย่าเผลอใจ อย่าห่างใจ จงอยู่กับความจริงของชีวิตให้ได้ ตามบททบทวนธรรมข้อ 82 ที่ว่า “จงฝึกอยู่กับความเป็นจริงของชีวิต ที่พร่องอยู่เป็นนิตย์ อย่างผาสุกให้ได้” เมื่อได้พิจารณาตามนี้ อาการท้อแท้หายไป ใจกลับมาฮึกเหิม ห้าวหาญ คึกคัก มีชีวิตชีวา พร้อมทั้งมีแรงกายและกำลังใจ ทำงานต่อได้ด้วยความสดชื่น เบิกบาน แจ่มใส ตามปกติ
21 พฤษถาคม 2564
ชื่อ นางสาวิตรี มโนวรณ์
ผู้บำเพ็ญคบคุ้นสวนป่านาบุญ 2
เรื่อง ลูกไม่รับโทรศัพท์
กลับจากที่ทำงาน ถึงหน้าบ้าน โทรศัพท์หาลูกคนโต เพื่อให้ออกมาเปิดประตู ลูกไม่รับสาย ขุ่นใจ มัวทำอะไรกันอยู่ถึงไม่รับโทรศัพท์ โทรหาลูกคนเล็ก ก็ไม่รับสายอีก
ทุกข์ ขุ่นใจ ลูกไม่รับโทรศัพท์
สมุทัย ชอบ ถ้าลูกรับโทรศัพท์เร็ว ๆ ชัง ลูกไม่ได้รับโทรศัพท์
นิโรธ ลูกจะรับโทรศัพท์ หรือไม่รับโทรศัพท์ ใจก็ไม่ทุกข์ ไม่ชอบไม่ชัง
มรรค เมื่อโทรศัพท์หาลูกคนโต ลูกไม่รับสาย สังเกตเห็นว่าเริ่มมีอาการขุ่นใจเล็ก ๆ ขึ้นมา
มาร : มัวทำอะไรอยู่นะ ไม่รู้บ้างเหรอว่า เวลานี้เราจะกลับถึงบ้าน
เรา : มาร พอแล้ว เราเหนื่อยกับเธอมามากแล้ว ลูกจะรับโทรศัพท์หรือไม่รับก็ไม่ได้เป็นปัญหาเลย ประตูด้านหลังก็มี เดินแค่นิดหน่อย แต่ใจเรายังเบิกบานได้ ถ้าไม่มีเธอมาบงการให้เราทำชั่วเหมือนที่ผ่านมาอีก
มาร : สลายไปทันที
หลังจากนั้น ได้โทรศัพท์หาลูกคนเล็ก ก็ไม่รับโทรศัพท์อีก ได้เฝ้าสังเกตอาการว่ามารจะมาปรากฏตัวอีกหรือไม่ ก็ไม่ปรากฏอาการว่ามารจะกลับมาอีก โทรครั้งที่ 3 คิดว่าครั้งนี้ถ้าไม่มีใครรับโทรศัพท์ ก็ไม่เป็นไร เดินนิดหน่อยไปทางประตูหลังบ้าน ไม่ลำบากอะไรเลย ถ้าไม่มีมารมาร่วมทางด้วย โทรครั้งที่ 3 จึงมีผู้รับโทรศัพท์มาเปิดประตูบ้านให้ โดยเราไม่มีอาการขุ่นใจใครเลย (ตรงกับบททบทวนธรรมข้อที่ 125 อย่าปล่อยเวลาชีวิตให้สูญเปล่า ด้วยการไม่ลดกิเลส)
เหตุการณ์ครั้งนี้ ได้นำมาเปรียบเทียบว่า ถ้าเป็นเมื่อก่อน โทรหาลูกทั้งสองคนแล้วไม่มีใครรับสาย เราจะหัวเสียมาก แต่เมื่อได้ฝึกล้างกิเลส ชีวิตก็เบาคลายจากความทุกข์ลงได้จริง ๆ
21 พฤษถาคม 2564
ชื่อ นางสาวิตรี มโนวรณ์
ผู้บำเพ็ญคบคุ้นสวนป่านาบุญ 2
เรื่อง อายเพื่อนร่วมงาน
วันนี้ในที่ประชุม ที่ทำงานให้แต่ละคนบรรยายสรุปงานที่ตัวเองรับผิดชอบ เราได้พูดเป็นคนแรก เตรียมตัวมาก็ไม่ดี ในการพูดจึงมีอาการประหม่า เสียงสั่น ระหว่างพูดก็เหนื่อยมาก พูดไม่ค่อยออก จึงเกิดความรู้สึกอายเพื่อนร่วมงานที่ตัวเองพูดออกมาลักษณะนี้
ทุกข์ อายเพื่อนร่วมงาน ที่พูดได้ไม่ดี
สมุทัย ชอบ ถ้าพูดได้ดี น้ำเสียงไม่ประหม่า ชัง น้ำเสียงประหม่า พูดจาไม่กระชับ
นิโรธ จะพูดดี น้ำเสียงไม่ประหม่า หรือพูดได้ไม่ดี ใจก็ไร้ทุกข์ ไม่ชอบไม่ชัง
มรรค ในระหว่างพูด เห็นอาการทุกข์ทั้งทางร่างกาย และจิตใจ เพราะมีอาการเหนื่อยหอบ จนต้องไอกระแอม อยู่เป็นระยะ ๆ แถมใจก็เกิดความชังที่เห็นตัวเองพูดออกมาลักษณะนี้ จนทำให้เกิดความรู้สึกอายเพื่อนร่วมงาน
รู้สึกตัวเมื่อมารตัวใหญ่โตมากแล้ว รวบรวมกำลังคุยกับมารว่า อะไรของเธอมาร เธอจะขยันทุกข์ไปทำไมนักหนา เหตุการณ์เมื่อกี๊ มันดีเท่าที่มันจะเป็นไปได้จริง แต่จะดีได้มากกว่านี้ ถ้าไม่มีเธอ แต่มารก็ยังไม่ลดกำลังลง จึงได้คุยกับมารซ้ำ ๆ หลาย ๆ รอบ สุดท้ายจึงบอกว่า เธอจะอายก็อายไปเลยมาร แต่เราไม่อาย วันนี้เราทำได้ดีมาก เราภูมิใจที่เราทำได้ขนาดนี้ เราไม่โง่ไปกับเธอแล้ว เหตุการณ์มันจบแล้ว เธอจะมาฟุ้งซ่านหาอะไรอีกมาร
ได้พิจารณาคุยกับมารเกือบ 2 ชั่วโมง มารจึงได้ลดกำลังลงกว่า 70 % (ตรงกับบททบทวนธรรมข้อที่ 99 ยึดมั่นถือมั่น ทำให้ “ใจเป็นทุกข์” จะมีวิบากร้ายมาทำลาย ทำให้ไม่สำเร็จหรือสำเร็จช้า หรือสำเร็จเร็ว แต่มีเรื่องร้าย เป็นบาป มีวิบากร้ายเจือ ผลไม่สมบูรณ์ จะสำเร็จความผาสุกทางจิตวิญญาณที่ยอดเยี่ยมยั่งยืน ช้าที่สุด ทำให้เกิดการบาดเจ็บปวดร้าวทางจิตวิญญาณได้มากที่สุด และเป็นพลังที่ทำให้ตนหรือผู้อื่นทำชั่วได้ทุกเรื่อง)
เหตุการณ์ครั้งนี้ ได้เห็นว่าเพราะติดโลกธรรมมาก จึงเกิดความรู้สึกอายมาก ทุกข์มาก แต่เมื่อได้รวบรวมกำลังคุยกับมาร ใช้เวลาพิจารณาประมาณเกือบ 2 ชั่วโมง ทำให้ทุกข์ลดลงได้กว่า 70 % เทียบกับเมื่อก่อน ถ้าเหตุการณ์เป็นอย่างวันนี้ ตัวเองจะทุกข์อยู่ประมาณ 2 – 3 วัน
23/05/64
ชื่อเล่น “ป้ารวม”
ชื่อทางธรรม “ร้อยแสงศีล”
จิตอาสา สวนป่านาบุญ 2
เรื่อง “คิดจะขโมยไ่ข่ไ่ก่”
เหตุการณ์
ขณะที่เดินเก็บชะอมอยู่ข้างต้นสัก เห็นใบสักหล่นอยู่เกลื่อนกราด มีใบสักใบหนึ่งคว่ำอยู่ เป็นใบที่ใหญ่มาก เดืนไปดูใกล้ๆ มองเข้าไปใต้ใบสัก เห็นไข่ไก่ 5 ฟอง คิดทันทีว่าจะทำอย่างไรกับไข่กองนี้ เพราะ ตัวเองไม่เลึ้ยงสัตว์ทุกชนิดมานานแล้ว แต่ลูกยังเลี้ยงไก่แบบปล่อยตามธรรมชาติคือ ปล่อยให้ไก่หากินเอง นอนบนต้นไม้ เวลาออกไข่ก็เข้าไปหาที่ไข่ในพงหญ้ารกๆ ทุกคนในบ้านไม่กินไก่ ไม่กินไข่่ ไม่ฆ่า่ ไม่ขาย (ไก่ที่เลี้ยงเอง) เขาเลี้ยงไก่มา กว่า 35 ปี เคยถามลูกว่าควรทำอย่างไรกับไข่ไก่ ลูกบอกว่า “ปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติของมัน” มีอยู่ครั้งหนึ่งเก็บไข่ไก่ไปให้คนข้างบ้าน เขาเอาไข่ไก่ไปฟักกับไฟฟ้า ครั้งนี้คิดว่าจะเก็บไข่ไก่ไปให้เพื่อนบ้านเอาไปทำประโยชน์ แต่ถ้าเราเก็บไข่ไก่เอาไป ก็เป็นการขโมยไข่ของแม่ เมื่อแม่กลับมาจะไม่เจอไข่ แม่ไก่จะทุกข์หนักแค่ไหน คิดแล้วก็ไม่สบายใจ เพราะการขโมยนั้น ผิดศีล ไข่ไก่มีขีวิต เป็นที่รัก เป็นที่ห่วงใยของแม่ไก่ คิดแล้วทุกข์
ทุกข์ : คิดที่จะขโมยไข่ไก่ ่
สมุทัย : ถ้าปล่อยให้แม่ไก่ฟักไข่ตามธรรมชาติ ก็พอใจ สุขใจ แต่คิดจะขโมยไข่ไก่ไปให้คนอื่น จึงทุกข์
นิโรธ : เรารู้-เห็น หรือไม่รู้-ไม่เห็นว่า แม่ไก่ไข่-ฟักไข่ ที่ไหน อย่างไร ก็ยอม วางใจให้เป็นไปตามธรรมชาติของไก่ สงบนิ่งอย่างเบิกบาน ใจไม่ทุกข์
มรรค : ทบทวนไตร่ตรอง ใคร่ครวญถาม-ตอบ ตัวเอง ทำใจในใจว่า เราไม่เลี้ยงสัตว์ ไม่เบียดเบียนตัวเองและสัตว์อื่น จึงได้คุยกับกิเลส ดังนี้
เหตุผลตัวเอง : เจตนาว่า เอาไข่ไก่ไปให้คนอื่นทำประโยชน์
เหตุผลกิเลส : ไข่ไก่จะเน่า เพราะถูกแดด-ถูกฝน
เหตุผลตัวเอง :ปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติของสัตว์ (ไก่)
กิเลสเถียง : เสียดาย ไข่ไก่จะเน่าเสียหาย ต้องหยิบเอาไปให้คนอื่น
ตัวเอง : ยอม ปล่อยวาง ให้เป็นไปตามธรรมชาติชีวิตของไก่ ไข่จะเน่า-เสีย หรือไม่เน่า -ไม่เสียก็ได้ เราจะไม่ขโมยไข่ไก่
อธิษฐานจิตตั้งศีลในใจว่า จะไม่เบียดเบียนตนเอง คนอื่น สัตว์อื่น ได้ใช้ปัญญาพิจารณาแล้ว ซึ่งตรงกับบททบทวนธรรม คือ
บทที่ 53 “ศีล คือ ไม่เบียดเบียนตนเอง คนอื่น สัตว์่อื่น เป็นประโยชน์ ต่อตนเอง ต่อคนอื่น ต่อสัตว์อื่น”
บทที่ 77 “ระวังกิเลส มักจะหลอก ให้ยึดมั่นถือมั่น ในสิ่งที่สำคัญยิ่งๆ ขึ้นไป”
มีความเขื่อมั่นและศรัทธาในการปฏิบัติศีลอย่างตั้งมั่น ขอบคุณเพื่อนที่มาเป็นมาตลีเทพสารถี มาช่วยงัดกิเลสตัวคิดชั่ว ที่คิดจะขโมย ออกมาให้เห็นกันชัดๆ ช่วยให้เราไม่ต้องผิดศีลในครั้งนี้ และเชื่อชัดเรื่องวิบากกรรมมีจริง ยอมไม่คิดตามกิเลสมารร้ายที่มันตามหลอก วางใจว่าให้เป็นไปตามธรรมชาติของสัตว์ เราไม่เบียดเบียนตนเอง คนอื่น สัตว์อื่น ด้วยความยินดี พอใจ เบิกบาน ไม่ทุกข์
ส่งการบ้านอริยสัจ4
นส.จาริยา จันทร์ภักดี
จิตอาสาพวธ.สังกัดสวนป่านาบุญ2 อ. ชะอวด จ.นครฯ
เรื่อง เข้าสอบไม่ทัน
เหตุการณ์ : ตื่นเช้ามาฟังธรรมโอสถเสร็จลงกสิกรรม สายๆ ขึ้นกินอาหารแล้วลงลุยงานต่อจนค่ำ พอเสร็จงานมาอ่านไลน์มีการสอบแต่เข้าไม่ทัน จึงสอบด้วยกูเกิ้ลฟอร์ม
ทุกข์ : ไม่สบายใจ ที่เข้าสอบไม่ทัน
สมุทัย : ชอบถ้าได้เข้าสอบทันเวลา ชัง ที่เข้าสอบไม่ทัน
นิโรธ : จะเข้าสอบทัน หรือไม่ ก็ไม่เป็นไร ไม่ชอบ ไม่ชัง
มรรค: เมื่อรู้ว่าไม่สบายใจที่เข้าสอบไม่ทัน เป็นเพราะเรายึดมั่นถือมั่นว่าต้องเข้าสอบทันเวลาแต่ไม่ทัน เรายังเข้าสอบทางกูเกิ้ลฟอร์มได้แล้วเราจะทุกข์ให้ โง่ ทำไม เราต้องสบายใจในทุกสถานการณ์ให้ได้ จึงปรับใจด้วยบททบทวนธรรมข้อที่ 89 ว่า”ในโลกนี้ ไม่มีอะไรเที่ยง ไม่มีอะไรที่เราควบคุมได้ ไม่มีอะไรที่เรากำหนดได้ นอกจากใจที่ไม่ทุกข์ของเราเท่านั้น ที่เรากำหนดได้” เมื่อได้พิจารณาแล้วความไม่สบายใจก็หายไปใจเบา สบาย ไร้ทุกข์
ส่งการบ้านอาริยสัจ4
นส.จาริยา จันทร์ภักดี
จิตอาสาพวธ.สังกัดสวนป่านาบุญ 2 อ.ชะอวด จ.นครฯ
เรื่อง คัดกรองกลุ่มเสี่ยง
ที่รพ.ทางเจ้าหน้าที่ฝ่ายโรงอาหาร นัดคัดกรองโควิด19 เหตุที่แม่ค้าในรพ.ติดโควิด ดิฉันเป็นแม่ค้ามีชื่ออยู่ที่นั้นด้วยค่ะ เป็นแม่ค้าน้ำผลไม้ปั่นตัวเองได้หยุดเชื้อเพื่อชาติอยู่บ้าน มา 17 วันแล้ว มีวิบากเจ็บเท้าเลยบอกแจ้งไปว่าไม่สะดวกจะไปคัดกรอง
ทุกข์ : กลัวโดนแหย่จมูก
สมุทัย : ชังถ้าเขาตรวจแหย่จมูกกลัวเจ็บ
ชอบ ถ้าเขาตรวจแหย่จมูกแล้วไม่เจ็บไม่ระคายเคือง
นิโรธ : ถึงเขาจะแหย่จมูกเพื่อตรวจก็ไม่เป็นไรจะแหย่ก็ได้ไม่แหย่ก็ได้ก็ไม่กังวลใจ
มรรค : ตัดสินใจไปคัดกรอง เพื่อเป็นประโยชน์ได้สร้างความมั่นใจให้ชาวบ้าน ในเขตที่ดินฉันเป็นอสม.ได้ความมั่นใจได้พิจรณาด้วยบททบทวนธรรมข้อที่ 67 “สิ่งที่ดีที่สุดในโลก คือ คบมิตรดีเคารพ มิตรดี ไม่โทษใคร ใจไร้ทุกข์ ทำดีเรื่อยไป ใจเย็นข้ามชาติ”เลยคิดถึงพี่น้องจิตอาสาที่เป็นพญาบาลเพื่อถามว่า ตอนที่เขาตรวจแหย่จมูกจะเจ็บหรือเปล่าพี่พยาบาลบอกว่าไม่เจ็บเลย นี่แหละที่ได้คบมิตรดีก็ได้ความกระจ่างจากพี่น้องใจก็คลายกังวล ความกลัวก็หายไปใจเบิกบานไร้กังวล วันรุ่งขึ้นไปคัดกรอง พกความมั่นใจเกิดความยินดีสาธุค่ะ
เรื่อง : วิบากใคร
เนื้อเรื่อง : ลูกชายมีอาการป่วยที่ฝ่าเท้า ซึ่งเป็นอาการที่เป็นเรื้อรังมาร่วมสามเดือนแล้ว เดิมทีก็ปรึกษาพี่พยาบาลที่เป็นญาติกัน ท่านเปิดคลีนิคเล็ก ๆ ในหมู่บ้าน ท่านก็ได้ให้ยามาทา ซึ่งแรก ๆ อาการก็ดีขึ้น ต่อมาลูกชายก็ไม่ได้สนใจ ใส่ใจที่จะดูแลรักษา ทั้งยังทำพฤติกรรมเดิม ๆ คือไม่ทายาและดูแลอย่างต่อเนื่อง และพยายามหลบเลี่ยงการตอบคำถามเกี่ยวกับอาการที่เป็นอยู่เรื่อยมา จนมาถึงสัปดาห์นี้สังเกตเห็นว่าเขาเริ่มเดินกระเผลก เดินไม่เต็มเท้าเหมือนมีอาการเจ็บที่ฝ่าเท้า จึงได้ขอดูและได้เห็นว่าอาการที่เป็นลุกลามจนมเลือดซึมออกมาแล้ว คงต้องถึงเวลาที่จะต้องไปหาหมอเฉพาะทางเกี่ยวกับโรคผิวหนังกันเสียที…
ทุกข์ : ขุ่นใจที่ลูกชายไม่ดูแลรักษาอาการป่วยของตนเองอย่างต่อเนื่อง
สมุทัย : อยากให้ลูกชายดูแล เอาใจใส่อาการป่วยของเขาเองมากกว่านี้
นิโรธ : ลูกชายจะดูแลเอาใจใส่อาการป่วยของเขาหรือไม่ เราก็ไม่ทุกข์ใจ
มรรค : พิจารณาเห็นอาการขุ่นในใจ ไม่พอใจที่เกิดขึ้น ทำไมเขาถึงไม่ดูแล เอาใจใส่อาการป่วยของเขาเองบ้างนะ เห็นไหมว่าอาการลุกลามจนต้องไปหาหมอเฉพาะทางโรคผิวหนังแล้วนะ ถ้าลูกดูแลเอาใจใส่ตัวเองดีกว่านี้ ลูกก็ไม่ต้องมาเจ็บตัวแบบนี้หรอกนะ…พิจารณาเห็นความห่วงกังวล ไม่อยากให้ลูกเจ็บป่วยที่เกิดซ้อนขึ้นมา ก็ได้พิจารณาต่อว่า มันเป็นเรื่องวิบากกรรมของแต่ละคน ลูกชายก็มีกรรมที่เคยใช้เท้าไปทำสิ่งที่ไม่ดีมา ตอนนี้เขากำลังรับวิบากนั้นอยู่ อีกอย่างวิบากของแต่ละคนก็มีหนักเบา เร็วช้า แตกต่างกัน แล้วเราจะไปเร่งให้วิบากของลูกชายหมดไปเร็ว ๆ ได้อย่างไร..เราก็เคยแนะนำเรื่องการดูแลรักษาอาการป่วยด้วยเทคนิคการดูแลตัวเองของแพทย์วิถีธรรมแล้ว แต่ลูกชายเขาก็ไม่ได้วางใจที่จะยอมรับ นั่นก็เป็นวิบากของเขาอีกเรื่องหนึ่ง กุศลเขายังไม่เปิดรับแนวทางนี้ ทั้งท่านอาจารย์หมอเขียว ก็ได้เคยสั่งสอนพวกเราจิตอาสามาตลอดว่า จะช่วยใครให้ดูทิศทางลมก่อน หากเขาไม่ได้ศรัทธาพวกเราก็อย่าเป็นพรหมสามหน้า วางอุเบกขาให้ดี วิบากใครก็วิบากเขา ไม่มีใครรับวิบากแทนใครได้ ..แม้วันหนึ่งเมื่อลูกชายหมดวิบากนี้ อาการเจ็บป่วยเขาก็จะหายไปเอง…การเชื่อและชัดเรื่องวิบากกรรมของแต่ละคน เป็นคำตอบได้ในทุก ๆ เรื่อง อย่ายึดดี อย่าอยากให้เกิดดีในคนอื่น จงคิดดี ทำดีที่เราเอง อย่าแบกวิบากกรรมคนอื่น…พอพิจารณามาถึงตรงนี้ ใจก็คลายลงได้ และร่วมแสดงความคิดเห็นกับบุคคลในครอบครัวเรื่องการดูแลลูกชายต่อไปด้วยวาจาและใจที่ไม่ขุ่นมัว…
การบ้านอริยสัจ4
ชื่อ :สุรีนารถ ราชแป้น จิตอาสาสวนป่านาบุญ2 จังหวัดนครศรีธรรมราช
ชื่อเรื่อง: จะให้หรือจะเอากันแน่
เหตุการณ์: จากการที่ได้ดูแลพ่อที่ป่วยเป็นเนื้อร้ายที่ปอดมาหลายเดือน
ซึ่งอาการของพ่อปัจจุบันคือกลืนอาหารทางปากไม่ได้เลย กลืนไม่ลง ได้ใส่สายอาหารทางกระเพาะอาหาร และผอมมาก แต่พ่อยังพอช่วยเหลือตัวเองได้ค่อนข้างมากและยังรู้สึกตัวดี พ่อได้พยายามกินอาหารทางปากหลายครั้ง เพราะพ่ออยากกินเอง และยังมีอาการอยากกินของที่เคยชอบๆอยู่ แต่จากประสบการณ์ที่ผ่านมาทุกครั้งที่พยายามกินทางปากจะมีปัญหาตามมาทุกครั้ง เช่น อาหารลงไปค้างอยู่เกิดการติดเชื้อ เป็นไข้ หรือไม่ก็ต้องพยายามขาก บ้วนทิ้งบางครั้งก็บ้วนออกมาเป็นเลือด ตัวเองก็ได้คุย อธิบายให้พ่อฟังและรับรู้มาตลอด แต่บางครั้งพ่อก็ยังอยากกินอยู่ ครั้งนี้ก็เหมือนกัน พ่อก็พึมพำให้ฟัง ว่าอยากกินทางปากบ้าง นอน ไม่ได้กินอะไรเลย ใจหนึ่งก็สงสารพ่อ แต่ใจหนึ่งก็นึกถึงถ้าพ่อกินทางปากจะเกิดปัญหาตามมาอีกตัวเองก็คิดว่าไม่เป็นผลดีกับพ่อเลยมีแต่ผลเสียไม่มีประโยชน์อะไร ก็ได้อ้างเหตุผลให้พ่อฟังไป ไม่อยากให้พ่อกินทางปาก ก็เลยเกิดความไม่แช่มชื่น ไม่เบิกบานขึ้นมา
ทุกข์:รู้สึกไม่แช่มชื่น ไม่เบิกบาน จะให้พ่อกินตามที่พ่อขอ ก็กลัวจะมีปัญหาตามมาอีก จะไม่ไห้ก็สงสารพ่อ พ่อก็จะไม่แช่มชื่นเหมือนกัน
สมุทัย:เพราะความยึดมั่นถือมั่น จากประสบการณ์ที่เคยเกิดอาการไม่ดีจากการที่พ่อกินทางปากที่ผ่านมา หลายๆครั้งเลยทำให้
ชอบใจถูกใจถ้าไม่ให้พ่อกินทางปาก พ่อจะอยู่แบบสบายดีไม่มีปัญหาแทรกซ้อน
ชังที่พ่อยังอยากกินทางปาก
นิโรธ: วางความยึดมั่น ถือมั่น แม้พ่อจะกินอาหารทางปากแล้วมีภาวะแทรกซ้อนบ้าง ก็ไม่ชัง ค่อยแก้ปัญหากันไป
มรรค: มาพิจรณาความไม่แช่มชื่น ไม่
เบิกบาน ถึงแม้มันจะไม่มาก มันก็เป็นกิเลสของเราที่มารมันมาหลอกเราว่า เราดูแลพ่ออย่างดีนะ เรารักพ่อ เราไม่อยากให้พ่อมีภาวะแรกซ้อนต่างๆ เหมือนที่เคยเป็น เราอยากได้สภาพดีๆทางด้านร่างกายของพ่อ อยากได้ตามความต้องการของเรา อยากได้ความได้ดั่งใจของเรา โดยไม่ได้ดูที่ใจพ่อเราคิดว่าเราบอกพ่อมาหลายครั้งแล้วว่าจะเกิดอะไรบ้างแต่พ่อยังต้องการกินอยู่ ต้องกลับมามองที่เรา ในเมื่อเรายังอยากได้จากพ่ออยูเลย เรายังจะเอาแต่ใจตัวเองเหมือนกัน มันเป็นกิเลสของเราทั้งนั้น การดูแลคนป่วยเราต้องดูแลทั้งกายและใจ ตัวเราจะเอาความแช่มชื่น แล้วโยนความไม่แช่มชื่นให้พ่ออย่างนั้นหรือ เราเห็นแก่ตัวชัดๆเลย เมื่อเห็นกิเลสของตัวเอง จึงมาพิจรณา ไตรลักษณ์ และพิจารณาโทษ ของกิเลส ความยึดมั่นถือมั่น โดยใช้บททบทวนธรรมข้อที่ 141 ความผิดความถูกอยู่ที่การยึดหรือไม่ยึด ถ้ายึดคือผิด ถ้าไม่ยึดคือถูก ผิดถูกไม่ได้อยู่ที่เหตุผล ใครเลิศยอดกว่าใคร ผิดถูกมันอยู่ที่ยึดหรือไม่ยึด ยึดคือผิด ถ้าไม่ยึดคือถูก ยึดคือ ยึดมั่นถือมั่นตามความคืดของเรา เอาดีแบบเราหมายจึงจะสุขใจ ไม่เอาดีแบบเราหมาย จะทุกข์ใจ นี่แหละยึด นี่แหละกิเลสนี่แหละบาป
และข้อที่142 ยึดที่ไม่ผิด คือยึดความไม่ยึดมั่น ถือมั่น
เมื่อได้พิจารณาถึงโทษของกิเลส เป็นบาป จึงได้วางความยึดมั่นถือมั่น วางความคิดที่ว่าเราถูก ลง ใจก็คลายลงทำตามคำขอของพ่ออย่างเต็มใจ เบิกบาน
สุดท้ายเมื่อเราวางดีลง ยอมพ่อ หลังจากที่พ่อได้กินครั้งนี้แล้วพ่อก็รู้ว่า พ่อกลืนไม่ได้แล้วจริงๆ แล้วก็บอกว่า พ่อยอม พ่อไม่กินแล้ว เบิกบานทั้งสองฝ่าย
อริยสัจ 4
เรื่อง รถยนต์หมดสภาพแล้ว
เมื่อวันจันทร์สัปดาห์ที่ผ่านมาได้นำรถยนต์ไปเข้าอู่เพื่อตรวจสภาพประจำทุก 2 ปี วันต่อมาช่างที่อู่ดังกล่าวได้โทรมาแจ้งว่า รถของข้าพเจ้าระบบสูบฉีดของเครื่องยนต์เกี่ยวกับสูบน้ำมันท่อไอเสียหมดสภาพ ไม่ผ่านเกณฑ์เช็คระบบ และรถไม่สามารถขับต่อได้ ถือว่าเป็นรถที่หมดสภาพแล้ว ข้าพเจ้าได้ยินก็ตกใจและถามข่างซ้ำเป็นครั้งที่ 2 ว่า “คุณว่าอะไรนะค่ะ ! ”
ทุกข์ : เสียดายรถยนต์ที่ขับมาตั้ง เกือบ 17 ปี สภาพก็ยังดี ๆ อยู่เลยมาพังเสียแล้ว
สมุทัย : ไม่อยากให้รถยนต์หมดสภาพเลย อยากให้รถยนต์คันนี้อยู่กับข้าพเจ้าไปนาน ๆ กว่านี้ อีกสัก 2-3 ปีก็ยังดี ไม่ชอบที่รถยนต์มาพังตอนนี้
นิโรธ : ถึงรถยนต์จะพักตอนนี้ก็สุขใจได้ รถยนต์ก็เหมือนมนุษย์เรา จะตายหรือเจ็บป่วยช่วงเวลาใดก็ไม่มีใครสามารถบอกได้ ถึงจะแข็งแรง ๆ อยู่ก็เถอะ
มรรค : เห็นอาการของใจที่เสียดายรถยนต์อยู่ประมาณ 2 วัน หลังจากนั้นอาการก็ค่อย ๆ หายไป เพราะรถคันนี้อยู่กับข้าพเจ้ามาแล้วตั้ง 17 ปี ถึงดูภายนอกสภาพทุกอย่างดีหมด แต่ข้างในคือตัวเครื่องไม่สามารถบอกได้ว่าผิดปกติหรือชำรุดส่วนใดบ้าง ดั่งคำสอนของพระพุทธเจ้า ท่านพ่อครู ซึ่งท่านอาจารย์หมอเขียว ได้นำมาถ่ายทอดสั่งสอนอยู่ทุก ๆ วันว่าเหมือนมนุษย์เรา มีเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นธรรมดา ทุกสิ่งทุกอย่างที่คิดว่าเป็นของของเราสุดท้ายแล้วก็ไม่มีอะไรเป็นของใคร แม้กระทั่งชีวิตของเราเอง รถยนต์ก็คงถึงเวลาที่จะต้องกลับไปเป็นดิน น้ำ ลม ไฟ เหมือนมนุษย์เราเช่นกัน สิ่งที่ข้าพเจ้าได้ในเวลานี้จะยอมรับเพราะมันเป็นของที่จะได้ ณ เวลานี้จะไม่รับก็ไม่ได้จะขอ เต็มใจรับเต็มใจให้หมดไป พอพิจารณามาเรื่อย ๆ ใจก็เบาลง ๆ ความทุกข์ที่มีอยู่ก็ค่อย ๆ หายไปและหมดไปในที่สุด ค่ะ สาธุ
เรื่อง ปลูกผักสลัด 23 เมย. 64
ช่วงสถานการณ์แบบนี้ เลยคิดวางแผนจะปลูกผักไว้กินเอง เพราะเป็นคนที่ไม่มีพื้นฐานเรื่องการปลูกผัก แม้ว่าจะหาข้อมูลทางเน็ตแต่ก็ยังไม่เข้าใจ คนไม่พื้นฐาน ฟังแล้วนึกภาพไม่ออก ไปไม่เป็น เลยอยากได้ความร่วมมือการปลูกผักจากพ่อบ้าน อยากจะให้ช่วยทำ
ทุกข์ : ทุกข์ใจ ห่อเหี่ยวใจที่พ่อบ้านไม่ให้ความช่วยเหลือ ไม่สนใจช่วยทำ
สมุทัย : อยากได้ความร่วมมือจากคนอื่น อยากได้สภาพที่ช่วยกันทำ ไม่ใช่ทำคนเดียว อุปาทานว่าของเราดี ความคิดเราดี คนอื่นต้องเห็นดีด้วย ต้องร่วมมือทำด้วย ชอบ ถ้าพ่อบ้านมาร่วมปลูกผักสลัดด้วย ชัง ที่ต้องทำคนเดียว
นิโรธ : จะทำคนเดียวก็สุขใจ คนอื่นจะไม่มาร่วมทำก็ไม่ทุกข์ใจ
มรรค : ระลึกไว้ว่าตนเป็นที่พึ่งแห่งตนเอง พิจารณาเราจะเอาไปทำไม หาข้อมูลเองก็หาได้ ทำเองก็ทดลองทำได้ ลองดู ทำที่ตนเอง ไปบังคับให้คนอื่นสนใจสิ่งที่เราทำ ทั้งๆที่เขาไม่ได้สนใจ จริตใครก็ของคนนั้น
Comments are closed.