640509 การบ้าน อริยสัจ 4 (19/2564)
นักศึกษาสถาบันวิชชารามส่งการบ้าน อริยสัจ 4 ประจำวันที่ 3-9 พฤษภาคม 2564 (อ่านที่มาและรายละเอียดเพิ่มเติมของการบ้าน)
สรุปสัปดาห์นี้มีผู้ส่งทั้งหมด 46 ท่าน 59 เรื่อง
- กิตติมา พรมเล็ก (ขวัญน้ำคำ)
- พรพรรณ เอ็ทสเลอร์
- รมิตา ซีบังเกิด (2)
- นางสาวนิตยา สุเมธากุลวัฒน์
- อรวิภา กริฟฟิธส์
- สมปรารถนา กล้าจน (นึก จิตตรึงธรรม)
- อรอุมา ภูบังดาว
- นปภา รัตนวงศา (3)
- น.ส.ทิษฏยา โภชนา (นุ้ย)(ในสายธาร) (5)
- น.ส สำรวย รัตตนะ
- Ruam ketklom
- นางสาวสันทนา ประวงศ์
- ใจถึงศีล โพธิ์คำ
- พิเชษฐ์ บุญย์วิรุฬห์
- น.ส ชรินรัตน์ ชุมจีด (น้าน้อมศีล)
- นางจิราภรณ์ ทองคู่
- นส.พรเพียรพุทธ โพธิ์กลาง ทิพย์
- สรสิชา สายหยุดทอง (ตรงเติมศีล)
- ปริศนา อิรนพไพบูลย์ (ปางน้อม กล้าจน)
- ธัญมน หมวดเหมน(มั่นแสงธรรม)
- สุมา ไชยช่วย (2)
- ปิ่น คำเพียงเพชร (2)
- นางภัคเปมิกา อินหว่าง (2)
- นางพรรณทิวา เกตุกลม
- สำรวย เดชดี (รักศีล)
- นางสาวิตรี มโนวรณ์ (2)
- สมพงษ์ โขงรัมย์(สู่สวนสงบ)
- สมทรง นาคแสงทอง (ติ๋ม พ้นทุกข์)
- จิรานันท์ จำปานวน (3)
- วิภาภรณ์ กอจรัญจิตต์ (เอ ใจพอแล้ว))
- นางสาวนาลี วิไลสัก
- ณ้ฐพร คงประเสริฐ
- พรพิทย์ สามสี
- อัญชลี พุ่มแย้ม (เย็นแสงธรรม)
- กิ่งแก้ว ฉัตรมณีวัฒนา (เมย์ ประทีปบุญ)
- นางสาวเสริมศรี ชวานิสากุล
- แพรลายไม้ กล้าจน (จิ๊บ)
- พิมพ์พศินา สิทธิประเสริฐ (น้าหมู-เพียรเย็นพุทธ)
- นางก้าน ไตรยสุทธิ์
- ภาคภูมิ ยอดปรีดา (สร้างแก่นศีล)
- จีรวัลย์ วัฒสิน
- พวงบุปผา หนูรัก
- Sureenart ratchapan สุรีนารถ ราชแป้น
- จาริยา จันทร์ภักดี
- สำรวม แก้วแกมจันทร์
- เสาวรี หวังประเสริฐ



แนะนำบทความที่มีเนื้อหาใกล้เคียง
Post Views: 372
ชื่อเรื่อง. มดกัดใจ
เหตุการณ์. เมื่อเช้าไปช่วยพี่สาวถากหญ้า รดน้ำต้นไม้ที่สวนมะพร้าว
ไปสวนมาหลายวันแล้วก็ไม่เคยโดนมดกัด วันนี้ตั้งใจว่าจะถากหญ้าใต้โคนต้นมะพร้าวและต้นไม้อื่นที่ปลูกไว้สัก 4-5 ต้น แล้วจะใส่ปุ๋ย รดน้ำส่วนที่ถากไว้เมื่อวานด้วย แล้ววันนี้จะได้กลับบ้านไวหน่อย เพราะจะรีบกลับไปทำกับข้าว แต่ถากหญ้าไปได้ต้นที่ 2 เจอรังมดแดงมดดำตัวเล็กๆที่พื้นดิน มาขึ้นที่เท้า ที่ขา เราถากหญ้าไปโดนรังเขารึ รีบขอโทษขออโหสิกรรมแล้วเดินหนีไป เดินไปถากใต้ต้นมะพร้าวต้นต่อไปอีก ก็ไม่ได้เอ็ดใจอะไร ระวังแต่มดและสัตว์ที่พื้นดินกลัวจะไปถากโดนตัวเขา คราวนี้นั่งก้มๆถอนใต้โคนเจอใหญ่กว่าค่ะ เจอรังมดแดง โดนทั้งที่หัวและหลังค่ะ เกิดทุกข์ใจ ทุกข์กายแทบจะทอดเสื้อปัดเลยค่ะ
ทุกข์ : โกรธที่โดนมดกัด
สมุทัย :โกรธเมื่อถูกมดกัด เกิดทุกข์ใจ เราชอบถ้ามดไม่กัด
นิโรธ : มดจะกัด หรือไม่กัดเราก็ไม่ทุกข์
มรรค :มดตัวเล็ก กัดให้เราเจ็บเราแสบ แสดงว่าเราได้ใช้วิบาก ใช้แล้วหมดไป แล้วเราจะทุกข์ใจไปทำไม นึกถึงบททบทวนธรรม ที่ว่า “ เมื่อเกิดสิ่งเลวร้ายกับเรา ไม่มีอะไรบังเอิญ ทุกอย่างยุติธรรมเสมอ เพราะเราเคยทำเช่นนั้นมามากกว่านั้น เมื่อได้รับแล้วก็หมดไป เราก็จะโชคดีขึ้น “ แล้วความทุกข์ใจก็คลาย เมื่อใจไม่ทุกข์ กายที่โดนมดกัดก็แค่เป็นแผลแดงๆ ไม่บวมหรือปวดแสบปวดร้อนเหมือนครั้งก่อนๆ
บททบทวนธรรม ข้อที่ 10.
ส่งการบ้านอริยสัจ 4
ชื่อ. กิตติมา พรมเล็ก
ชื่อทางธรรม “ ขวัญน้ำคำ “
จิตอาสาพวธ. สังกัดสวนป่านาบุญ 2
อริยสัจ 4
เรื่อง ได้เวลาเล่าแล้วเหรอเพื่อน ?
เมื่อต้นปีนี้ลูกสาวเพื่อนหนีออกจากบ้าน เป็นครั้งที่ 2 เรื่องราวที่เกิดขึ้นเพื่อนไม่ได้เล่าให้ผู้เขียนฟัง แต่ผู้เขียนทราบเรื่องนี้จากเพื่อนอีกคนหนึ่ง จึงพอจะจับต้นสายปลายเหตุของเรื่องได้บ้างนิดหน่อยว่าทำไมลูกสาวเพื่อนท่านนี้จึงต้องหนีออกจากบ้าน เห็นอาการของใจหวิว ๆ เล็กน้อยเพราะสงสารเพื่อน
เวลาล่วงเลยมาตั้งแต่ต้นปีนี้จนถึงวันนี้ก็ 4 เดือนเต็ม ผู้เขียนมารู้อีกทีคือลูกสาวเพื่อนยื่นคำขาดไม่ยอมกลับบ้านอีกเลย จะขอไปอยู่สถานดูแลเด็กที่ทางรัฐบาลจัดไว้ให้ ตั้งแต่เกิดเรื่องเพื่อนซึ่งเป็นแม่ของเด็กคนนี้ก็ไม่เคยเล่าเรื่องที่เกิดขึ้นให้ผู้เขียนและเพื่อนคนอื่นฟังเลย (ที่ผู้เขียนทราบเรื่องเพราะสามีของเพื่อนไปเล่าต่อกับเพื่อนอีกคนหนึ่งแล้วเพื่อนท่านนั้นก็มาเล่าต่อผู้เขียน) จนมาสัปดาห์นี้เองเพื่อนคนนี้ก็มาหาและได้เล่าเรื่องทั้งหมดที่เกิดขึ้นกับครอบครัวของเธอให้ฟัง
ทุกข์ : สงสารเพื่อน
สมุทัย : ไม่อยากให้เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นกับครอบครัวของเพื่อน อยากให้ครอบครัวของเพื่อนมีความสุขเหมือนที่ผ่านมา
นิโรธ : ถึงแม้ว่าครอบครัวของเพื่อนจะเกิดเหตุการณ์ที่ลูกสาวหนีออกจากบ้านและไม่ขอกลับไปอยู่บ้านอีก ก็จะไม่ทุกข์ใจ
มรรค : พอผู้เขียนทราบเรื่อง สิ่งแรกที่ผู้เขียนได้ทำคือส่งกำลังใจให้เพื่อนท่านนี้และได้คิดถึงเรื่องของวิบากกรรมว่า เพื่อนท่านนี้อาจจะเคยไปทำเรื่องแบบนี้กับคนอื่น หรือกับพ่อแม่ของตัวเอง ทำให้คนที่มีพระคุณต้องทุกข์ มา ณ เวลานี้และชาตินี้ก็เลยต้องมาชดใช้กับสิ่งที่เคยทำเอาไว้ ในใจลึก ๆ ก็ดีใจแทนเพื่อนที่เพื่อนได้ชดใช้วิบากกรรมในเรื่องนี้ไปแล้ว มีเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเพื่อให้เพื่อนได้ชดใช้วิบากกรรมก็ดีเหมือนกัน “สิ่งที่เราได้รับคือสิ่งที่เราทำมาไม่มีสิ่งใดที่เราได้รับโดยที่เราไม่เคยทำมา” เหมือนคำสอนของท่านอาจารย์หมอเขียว ในหนังสือบททบทวนธรรมไม่มีผิด แต่ผู้เขียนไม่สามารถอธิบายอย่างที่รู้สึกได้นี้แก่เพื่อนได้ เพราะเห็นสภาพของเพื่อนแล้วคิดว่าฟ้าคงยังไม่เปิดให้พูด บำเพ็ญกับเพื่อนได้คือเป็นผู้นิ่งรับฟังที่ดี และ จะขอเป็นกำลังใจให้เพื่อน เมื่อชดใช้วิบากกรรมแล้วทุกสิ่งทุกอย่างก็คงจะดีขึ้น ส่วนทุกข์ใจที่เคยเกิดขึ้นก็หายไปไม่มีอะไรคาใจแล้วค่ะ ปล่อยทุกอย่างให้เป็นไปตามวิบากกรรม สาธุ ค่ะ
รมิตา ซีบังเกิด
เรื่อง ต้องโค่นยางพาราเร็วกว่ากำหนด
เหตุการณ์ : สวนยางพาราที่ปลูกไว้ จ้างเขามากรีดเป็นเวลา 18 ปี
แต่จำเป็นต้องโค่นเพื่อปลูกใหม่ ทั้งที่จริงแล้วสามารถเปิดกรีดต่อได้อีกหลายปี ถ้าเอาใจใส่ดูแลดีๆ ทั้งเจ้าของสวนและลูกจ้าง ที่ผ่านมาบกพร่องมาตลอด ทำให้ต้องเสียโอกาสในการเก็บผลประโยชน์อีกหลายปีอย่างน่าเสียดาย
ทุกข์ : เสียดายผลประโยชน์ที่จะได้รับจากสวนยางพารา
สมุทัย : ชอบใจที่ได้รับผลประโยชน์จากสวนยางพารา ชังที่ขาดผลประโยชน์ที่จะได้รับจากสวนยางพารา
นิโรธ : จะได้รับผลประโยชน์จากสวนยางพารามากหรือน้อยเท่าไหร่ก็ไม่ชอบ ไม่ชัง
มรรค : สวนยางพาราขณะนี้สภาพของต้นไม่สมบูรณ์แล้ว เพราะผ่านการใช้งานมาหลายปี ผ่านคนงานมาก็หลายคน จึงมีสภาพไม่ดีก็เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ทั้งนั้น สวนก็อยู่ไกลจากบ้าน การที่จะเข้าไปดูแลบ่อยๆเป็นเรื่องยาก โดยเฉพาะถนนทางเข้าสวนก็ลำบากมาก ยิ่งฤดูฝนด้วยแล้วยิ่งแย่เลย คนงานที่จ้างมาเขาก็คงทำงานเต็มที่ได้เท่านั้น แต่เราจะต้องการให้ผลงานออกมาดีดั่งใจหมายตามที่เราต้องการเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ เพราะงานนี้เราต้องจ้างคนงานทำเองไม่ได้ เราตั้งใจว่าจะต้องสามารถกรีดได้มากกว่านี้ ผลประโยชน์ก็จะได้รับอีกเท่านั้น ยิ่งคิดก็ยิ่งเป็นทุกข์ ยิ่งเสียดาย เลิกคิด เลิกทุกข์ ไม่ยึดมั่นถือมั่นให้ได้ดั่งใจตัวเอง เท่านี้ก็เป็นสุขแล้ว ตรงกับบททบทวนธรรมข้อที่ 56 ว่า ” ทุกเสี้ยววินาที ทุกอย่างไม่เที่ยง อย่ายึดมั่นถือมั่น ต้องพร้อมรับ พร้อมปรับ พร้อมเปลี่ยน ตลอดเวลา”
พิจารณาแล้วพบว่าเราจะไปเสียดายทำไม กรีดยางไม่ได้ก็โค่นขายไม้แล้วปลูกใหม่ ทำงานให้ดี ให้รอบครอบกว่าเดิม ผลงานก็จะดีกว่าเดิม ผลประโยชน์จะหายไปบ้างเราต้อง ” ยินดี พอใจ ไร้กังวล” ให้ได้
เรื่อง จัดทำไม
เหตุการณ์ : วันนี้มาประชุมที่ที่ทำงานจัดด้วยความไม่พอใจเนื่องจากอยู่ในสถานการณ์โควิด
ทุกข์ : ไม่พอใจที่ที่ทำงานจัดประชุมในสถานการณ์โควิด
สมุทัย : ชอบถ้าที่ทำงานไม่จัดประชุม ชังที่ที่ทำงานจัดประชุม
นิโรธ : ที่ทำงานจัดประชุมก็ไม่ชอบไม่ชัง
มรรค : ในสถานการณ์โควิด ควรหลีกเลี่ยงการรวมกลุ่มที่ไม่จำเป็นเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ โดยคิดว่าเรื่องที่ประชุมไม่น่าจะใช่เรื่องเร่งด่วน น่าจะสามารถเลื่อนหรือหาวิธีการอื่นได้ แต่ความคิดเห็นของท่านผู้จัดอาจเป็นอีกแบบหนึ่ง ซึ่งถ้าเราไม่เข้าใจผู้อื่นแสดงว่าเราไม่เข้าใจตัวเองตรงกับบทธ ข้อ 9 การที่เราหรือใครจะได้รับอะไร แสดงว่าผู้นั้นทำมา ดังนั้นไม่ว่าเราจะพอใจหรือไม่ก็ไม่มีประโยชน์ ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงเหตุการณ์ได้ สิ่งที่เราทำได้คือ ยินดี เต็มใจในทุกสถานการณ์ เต็มใจรับ เต็มใจให้หมดไป เราก็จะโชคดีขึ้น การที่เราได้พบกับเหตุการณ์ที่ไม่ถูกใจเรา ไม่ได้ดั่งใจเราเป็นสุดยอดแห่งเครื่องมืออันล้ำค่าที่ทำให้ได้ฝึกล้างกิเลส คือ ความหลงชิงชังรังเกียจ หลงยึดมั่นถือมั่นในใจเรา และทำให้ได้ล้างวิบากร้ายของเรา ตรงกับบทธ ข้อ 21
สรุป เมื่อพิจารณาแล้วใจลดความไม่พอใจลง และสำนึกผิดตามบทธ ข้อ 22 คือ ถ้าใครมีปัญหาหรือความเจ็บป่วยในชีวิต ให้ทำความดี 4 อย่างนี้ด้วยความยินดี จริงใจ จะช่วยให้ปัญหาหรือความเจ็บป่วยลดลงได้เร็ว
1. สำนึกผิดหรือยอมรับผิด
2. ขอรับโทษ เต็มใจรับโทษหรือขออโหสิกรรม
3. ตั้งจิตหยุดสิ่งที่ไม่ดีอันนั้น
4. ตั้งจิตทำความดีให้มากๆ คือลดกิเลสให้มากๆ เกื้อกูลผองชนและหมู่สัตว์ให้มากๆ เมื่อได้เห็นความตั้งใจของคณะผู้จัดรวมถึงท่านวิทยากร
เรื่อง กรรมตามทัน
เช้าวันนี้ เราเรียนภาษาอังกฤษ เราสอบร้องเพลงภาษาอังกฤษกัน พี่น่องร้องกันได้ดีเราก็ฟังพี่น้องไปจนเกือบหมด ใกล้เวลาจะต้องไปทำงานจึงขอสอบ ผลการสอบเราก็คงยังมีปํญหาอยู่ที่เดิมคือออกเสียง ตัว อาร์ และตัวแอล ไม่ถูก คุรุก็ให้เราไปฝึกออกเสียงให้ถูก ยอมรับว่าเราไม่ได้ตั้งใจฝึกเลย เราคิดว่าสนุก ๆ ก็พอ และก็รับปากคุรุไปว่าจะพากเพียร พอเรียนเสร็จ จะออกไปทำงานโดนพ่อบ้านแกล้งขับรถออกไปไม่รอเราอีก ทำให้ไปทำงานสายอีกยิ่งรีบ ๆ อยู่ ทำไมต้องมาเล่นตอนนี้ด้วยนะ
ทุกข์ หงุดหงิดใจที่พ่อบ้านแกล้ง
สมุทัย ไม่ชอบใจที่พ่อบ้านแกล้ง ในเวลาที่เรารีบเร่ง
นิโรธ ท่านจะแกล้งหรือไม่แกล้งในเวลาไหนก็ไม่ทุกข์ใจ
มรรค ไม่มีอะไรที่เราได้รับโดยที่เราไม่เคยทำมา เทพมาตาลีมาออกฤทธิ์ให้เราเห็นว่าพ่อบ้านแกล้งเรา เราว่าท่านเล่นเป็นเด็ก ๆ ไม่รู้จักเวลาไหนควรทำอะไร แต่ความจริงแล้วเราต่างหากที่เล่นเป็นเด็ก ๆ เราทำผิดศีล รู้สึกสำนึกผิด เห็นความจริงตามความเป็นจริงว่าพ่อบ้านไม่ได้แกล้งเรา แต่เป็นวิบากร้ายของเราที่ไม่ตั้งใจเรียน เราไม่พากเพียรทำผิด ซ้ำ ๆ อยู่ที่เดิม เราทำวิบากไม่ดี ทำให้คุรุต้องมาเสียเวลาเอาภาระกับเรา พอพิจารณาอย่างนี้แล้วใจก็ยินดีคลายความหงุดหงิดลง ขอเจริญอภัยคุรุด้วยนะคะ
กลัวกระเด็นออกจากหมู่
ทุกข์ : อยากอยู่กับหมู่มิตรดีแพทย์วิถีธรรมตลอดไป
สมุทัย : ญาติทางโลกชวนกลับบ้าน
นิโรธ : ได้อยู่ภายในหมู่ตลอดไปก็สุขใจไม่ได้อยู่ภายในตลอดไปก็สุขใจได้
มรรค : ชีวิตต้องฝึกตั้งศีลยินดียอม พร้อมรับพร้อมปรับพร้อมเปลี่ยนให้ได้ในทุกสถานการณ์ด้วยใจไร้ทุกข์ แต่กิเลสยังมีติ่งความกลัวว่าจะกระเด็นออกไปจากหมู่มิตรดี ไปอยู่กับญาติโดยไม่มีโอกาสกลับมาอยู่กับหมู่มิตรดี จะพากเพียงล้างกิเลสความกลัวกังวลระแวงหวั่นไหวเรื่องนี้ต่อไปค่ะ สาธุ
นับตั้งแต่เข้ามาอยู่ภายในหมู่มิตรดี ก็มีที่เคยเพ่งโทษถือสาพี่น้องที่กลับบ้านบ่อย ถึงเวลาที่วิบากจะให้เรียนรู้ให้ชัดให้ซาบซึ้งจะได้ไม่เพ่งโทษถือสาพี่น้องอีก ตั้งจิตสำนึกผิด ตั้งจิตยินดีรับโทษ เต็มใจรับโทษ ตั้งจิตขออโหสิกรรม ตั้งจิตหยุดสิ่งที่ไม่ดีอันนั้น ตั้งจิตทำความดีให้มาก ๆ ลดกิเลสให้มาก ๆ
แต่ยังอีก ติ่งกิเลสกลัววิบากร้ายเพ่งโทษอาริยะ 11 ประการ จะทำให้กระเด็นออกจากหมู่ไปอยู่กับญาติโดยไม่มีโอกาสกลับมาอยู่กับหมู่มิตรดี อาจจะตายในระหว่างเดินทาง อาจจะตายตอนอยู่กับญาติ อาจจะตายด้วยอุบัติเหตุ อาจจะตายเพราะโรคร้าย ตายไปโดยที่ไม่ได้กลับมาเข้าหมู่มิตรดี เติมปัญญาหลายมุม แต่ยังเหลือกิเลสความกลัวกังวลระแวงหวั่นไหว จะพากเพียรล้างกิเลสเรื่องนี้ต่อไปอีกค่ะ สาธุ
จากพื้นเดิมตนเองเป็นสายเจโต รอบนี้พากเพียรเติมปัญญาเพื่อล้างกิเลสให้สิ้นเกลี้ยงจากที่เคยกลับไปอยู่กับญาติแล้ว 2-3 รอบได้ไปแสดงกายธรรมให้ญาติได้สัมผัสได้รับพลังที่ตนเองบำเพ็ญ ในการประสานพลังหมู่มิตรดีแล้วเกิดพลังเย็นส่งผลให้ญาติรับกระแสเชื่อมการปฏิบัติได้ ทางกายก็ทำกิจกรรมการงานปกติแต่ทางใจเกิดการเปลี่ยนแปลงที่ สภาพความวุ่นวายความใจร้อนความเอาแต่ใจของสมาชิกในครอบครัวลดลง ได้สภาพจิตใจที่อยู่เย็นเป็นสุขจากการที่เราได้ไปอยู่ปฏิบัติศีลด้วยปัญญาที่ตั้งมั่น ปฏิบัติสมาธิลืมตา กินอาหารมังสวิรัติ ญาติก็รับ ปฏิบัติเท่าที่ฐานท่านทำได้ เท่าที่เห็น
ท่านอยากให้กลับไปอยู่ด้วยนาน ๆ หรือตลอดไป ตนเองได้กลับไปบำเพ็ญใน 2-3 รอบตรวจใจดูก็มีความสุขในแบบเจโต ยังไม่โปร่งโล่งกับการไป ๆ มา ๆ เห็นประโยชน์ กับการได้เชื่อมจิตวิญญาณญาติ ได้ปฏิบัติธรรมด้วยการแสดงกายธรรมให้ญาติ ในหมู่บ้านได้เรียนรู้ รับรู้สัมผัส เรื่องการปฏิบัติธรรมของพุทธะแท้ แต่ยังมีติ่งกิเลสอีก 1 เปอร์เซ็นต์ที่ยังค้าง ๆ คา ๆ ในจิตคือกิเลสความกลัวกังวลระแวงหวั่นไหว กลัวว่าตนเองจะกระเด็นออกไปจากหมู่ไปอยู่กับญาติแล้วไม่ได้กลับเข้าหมู่มิตรดีตลอดไป จะพากเพียรเติมปัญญาให้กิเลสสลายไปไม่วันใดก็วันหนึ่งค่ะสาธุ
ได้เติมปัญญาจากการฟังธรรมจากอาจารย์หมอเขียว เรื่องความพลาดความพร่อง ได้เติมปัญญาจากกลุ่มหมู่มิตรดีปลูกปัญญาพาพ้นทุกข์ เรื่องการกลับบ้านเป็นวิบากที่เราทำมา ต้องรับ ต้องล้าง พุทธะจึงจะเกิดอย่างจริงอย่างแท้ จึงต้องตั้งจิตไปเพื่อชดใช้ ตอบแทนพระคุณที่ท่านเลี้ยงดูอุปถัมภ์ชีวิตของเราตั้งแต่เกิด
ซึ่งเป็นคนไม่แข็งแรงสามวันดีสี่วันไข้ จะรอดแหล่ไม่รอดแหล่ แต่เดิมพี่ ๆ คิดว่าจะตายไปแล้วตั้งแต่แรกเกิด แต่ด้วยความรักของพ่อแม่พี่ ๆ ในชาตินี้ ท่านได้เสียสละเลี้ยงดูจนเราเติบโต ซึ่งในระหว่างนั้นการใช้ชีวิต… ก็ย่อมสร้างความพลาดความพร่อง เกิดจากการตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ ที่เราทำกับทุกท่านไว้ ซึ่งจะต้องกลับไปชดใช้ด้วยความยินดีเต็มใจให้ถึงจิต
และเมื่อถามตนเองดูว่าปัญญาแห่งธรรม เมื่อก่อนที่จะรู้จักแพทย์วิถีธรรม แล้วเทียบกับปัจจุบันปัญญาแห่งธรรมแกร่งขึ้นไหม จิตวิญญาณ อ๋อ จิตเจโตเมื่อได้รับปัญญามาเติมทันที การเข้าใจในปัญญาแห่งธรรมแทงตลอดไปถึงการที่จิตเข้ากระแสพุทธะแล้วไม่ว่าจะไปอยู่ที่ใด ตายที่ใดชาติใดเมื่อถึงเวลาเกิดอีกก็จะได้กลับมาเกิดในหมู่พุทธะเช่นเดิม จิตแสวงหาหมู่มิตรดีตลอดเวลาได้ปฏิบัติสานพลังตลอดเวลา
ได้เห็นตัวอย่างของพี่น้องที่จากไปก็หลายท่าน ทั้งจากเป็นทั้งจากตาย เมื่อเราเข้าใจเชื่อชัดเรื่องกรรมผลของกรรม วิบากกรรมดีร้ายที่ตัวเองได้ทำไว้ จิตวิญญาณมั่นใจในสัจจะนี้ และทันทีกิเลสความกลัวกังวลระแวงหวั่นไหว กลัวกระเด็นไปจากหมู่ กลัวไม่ได้กลับมาอยู่กับหมู่ ความยึดติดยึดหมู่ได้สลายสิ้นเกลี้ยงด้วยปัญญาแห่งธรรม จิตรโปร่งโล่งเบาสบาย พร้อมอยู่พร้อมไปด้วยความยินดีเต็มใจตามเหตุปัจจัย
แล้วเหตุปัจจัยก็จัดคิวให้ถึงเวลาวิบากเรื่องกลับบ้านชัดเจนขึ้น ตนเองยินดีเต็มใจกลับไปชดใช้ตอบแทนพระคุณญาติด้วยความเบิกบานแจ่มใสไร้กังวล ในเรื่องอยากอยู่ภายในหมู่ตลอดไป คือได้อยู่ภายในหมู่ก็สุขใจไม่ได้อยู่ในหมู่ก็สุขใจ หมดความกลัวกระเด็นออกจากหมู่เพราะมั่นใจว่าตายที่ไหน เกิดเมื่อไหร่ก็จะหาหมู่มิตรดีเจอ เมื่อจิตเข้ากระแสพุทธะ
การล้างกิเลสแต่ละเรื่องใช้เวลาไม่เท่ากัน แต่ล้วนต้องใช้อธิศีล อธิจิต อธิปัญญาอย่างยิ่งยวด เพื่อพาจิตวิญญาณไปสู่สภาวะสิ้นหวัง สิ้นอยาก และสิ้นทุกข์ได้อย่างถาวร ปัจจุบันอานึกอยู่บ้านได้อย่างสุขสบายใจ เบิกบานแจ่มใส ใจไร้ทุกข์ไร้กังวล และพร้อมสานพลังร่วมสู้วิกฤตโควิด 19 เราจะผ่านวิกฤตได้อย่างปลอดภัย ชนะไปด้วยกันนะคะสาธุ
นางสมปรารถนา กล้าจน (นึก-จิตตรึงธรรม)
สรุปกายใจ ประจำเดือนเมษายน 2564
รหัสนักศึกษา 59 11 005 006
ส่งการบ้าน
เรื่อง ใครถูกใครผิด
เหตุการณ์ : ในขณะที่นั่งทำงาน มีป้าธุรการ เดินถือแฟ้มมา แล้วมาบอกว่า เราเรียงเอกสารผิดแน่ๆ เลย ทำให้เค้าเรียงเอกสารเสนอแฟ้มผิดไปด้วย ทำให้แฟ้มโดนตีกลับ ในใจตอนนั้นคิดว่า เราอาจจะไม่ได้ เรียงผิดน่ะ ป้าเรียงผิดเองหรือเปล่า เลยมาโทษเรา ซึ่งปกติ เจ้าหน้าที่ธุรการมีหน้าที่ตรวจสอบแฟ้มว่าผิดหรือถูกก่อนเสนอผู้บริหารอยู่แล้ว ซึ่งครั้งนี้เป็นครั้งที่ 2 แล้ว ที่มาว่าเรา
ทุกข์ : ทุกข์ใจที่เขามาว่าเราผิด
สมุทัย : ทุกข์ใจที่เขามาว่าเราผิด จะสุขใจถ้าเขาไม่ว่าเราผิด
นิโรธ : เขาจะว่าเราผิด ก็ไม่เศร้าใจ ไม่ทุกข์ใจ
มรรค : ยินดีและเต็มใจรับผิด ไม่ว่าเราจะเป็นคนถูก หรือคนผิดก็ตาม โดยใช้บทบทวนธรรม ข้อที่ 1 เรื่องการเข้าใจผิดของเรากับผู้อื่น เราต้องระลึกรู้ว่ามันคือวิบากกรรมเขา วิบากกรรมเรา แก้ไขได้ด้วยการทำดี ไม่มีถือสาไปเรื่อยๆ แล้ววันใดวันหนึ่งข้างหน้า ในชาตินี้หรือชาติหน้า หรือชาติอื่นๆ สืบไป ความเข้าใจผิดนั้น ก็จะหมดไปเอง พอคิดได้ความทุกข์ก็คลายลงไป ยอมรับว่าเราทำผิดมาจริงแถมมากกว่านี้ด้วย เรารับแล้ววิบากร้ายก็หมดไป ใจเราจึงสบาย ไม่ทุกข์ใจ
เรื่อง ไฟโซล่าร์เซลล์ล้างกิเลส
เหตุการณ์ จากการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์มีปัญหาใช้ได้แค่ 4วัน สาเหตุเกิดจากแผงมือ2จะมีไฟรั่วมากกว่าปกติ เฉลี่ยต่อแผง 8โวลต์(DC) ซึ่งต่อไว้จำนวน 16 แผง เมื่อเกิน 100โวลต์ ไฟก็จะตัดใช้การไม่ได้ รู้สึกเสียดายลงทุนไปจะไม่ได้ใช้งาน หรือได้ใช้งานแต่ไม่คุ้มค่า น้องชายต้องลงมาช่วยดูแลให้อีกรอบ ครั้งนี้ใช้เวลา 3วันเพื่อหาวิธีแก้ไข ให้พอใช้การได้ สรุปใช้แผงแค่ 8แผงเพื่อไม่ให้ไฟรั่วเกิน พอใช้แทนไฟปกติตอนมีแดดไปก่อน
ทุกข์ ขุ่นใจเสียดายเงินที่ซื้อแผงโซล่าเซลล์แล้วใช้การได้น้อย
สมุทัย ชอบถ้าแผงโซล่าเซลล์ใช้งานได้ดี ชังถ้าแผงโซล่าเซลล์ใช้งานได้ไม่ดี
นิโรธ แผงโซล่าเซลล์จะใช้งานได้ดีหรือใช้งานไม่ได้ก็ไม่ชอบไม่ชัง
มรรค พิจารณาความจริงในเรื่องการยึดมั่นถือมั่นว่า สิ่งของที่มี จะดี จะใช้การได้ดีดั่งใจเราหมาย ไม่เสื่อม ไม่ชำรุด ไม่เสียหาย ซึ่งในความเป็นจริงเป็นไปไม่ได้ ทุกอย่างมีการเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา ตอนนี้ ณ.เวลานี้ได้ใช้ไฟโซล่าเซลล์แค่นี้ก็เกินพอแล้ว ยิ่งช่วงที่แสงแดดดีๆจะมีไฟบางส่วนที่เกินคืนให้การไฟฟ้าด้วย ก็ดีแล้วได้แบ่งปันสังคม แบ่งปันให้โลกบ้างก็ยินดี พอใจ เต็มใจ ส่วนแผงที่เหลือก็สามารถไปใช้งานต่อในจุดอื่นๆที่จำเป็นได้อีก ไม่มีอะไรที่น่าเสียดาย สุดคุ้มมากๆโดยเฉพาะใจที่ไม่เสียหาย
ใช้บททบทวนธรรมข้อที่ 90 “วัตถุไม่เที่ยง มีแต่ใจไร้ทุกข์เท่านั้นที่เที่ยง”
อีกอย่างโชคดีที่ได้ใช้วิบากที่เคยให้ของที่ไม่ดีแก่ผู้คนไปทั้งข้าวของ และยาเคมีที่เป็นอันตรายแก่คนไข้ไปหลายสิบปี ทั้งที่อันตรายแต่ก็ยังใช้ทั้งตนเอง และยัดเยียดให้คนอื่นอีก ก็สำนึกผิดยอมรับผิด ขอโทษ ขออโหสิกรรมที่ผิดพลาดไปเพราะไม่รู้ ตอนนี้เลิกแล้ว จะตั้งใจลดกิเลสให้มากๆ และช่วยเหลือผู้อื่นให้มากๆ
สรุป ไฟโซล่าเซลล์ก็ได้ใช้ ใจก็ไร้ทุกข์ ก็สุขที่สุดแล้ว..สาธุ
03/05/64
ชื่อ : น.ส.ทิษฏยา โภชนา
ชื่อทางธรรม : ในสายธรรม
จิตอาสาสังกัดสวนป่านาบุญ 2
เรื่อง : โมโหหิว
เหตุการณ์:กลับมาจากสวนช่วงประมาณเกือบ 11 โมง แต่ปรากฏว่าแม่ครัวที่บ้านยังทำอาหารไม่เสร็จ(เป็นที่รู้กันว่าคนที่อยู่บ้านจะต้องช่วยทำอาหาร) จึงไปทำภารกิจส่วนตัว และผ่านไปเกือบจะเป็นเวลา 12.30 น.แล้ว น้าที่อยู่บ้านเพิ่งจะเริ่มทำอาหาร ทำให้เกิดความรู้สึกโกรธน้ามาก ที่ไม่ยอมจัดลำดับความสำคัญของงาน ปล่อยให้สมาชิกที่ไปทำงานใช้แรงงานในสวนต้องคอยนาน ถึงเวลากินก็ไม่ได้กิน เกิดเป็นความโมโหหิวขึ้นมา
ทุกข์ : โกรธที่น้ายังทำอาหารไม่เสร็จ หิวจนตาลาย
สมุทัย : ชอบใจถ้าน้าจะทำอาหารให้เสร็จตรงเวลา ชังที่น้ามัวแต่ไปทำอย่างอื่นจนลืมว่ามีคนที่รอกินข้าว
นิโรธ : น้าจะทำอาหารเสร็จตอนไหนก็ได้ ใจไร้ทุกข์
มรรค : ปกติอาหารมื้อกลางวันซึ่งเป็นมื้อแรกของครอบครัวจะเสร็จประมาณ 11 โมง ช้าสุดก็ไม่เกินเที่ยงวัน แต่วันนี้เที่ยงกว่าแล้วน้าเพิ่งจะเริ่มลงมือทำครัว หิวจนตาลายแล้ว จึงเริ่มมีอาการไม่พอใจน้าขึ้นมา ที่ว่าอยู่บ้านประสาอะไร ทำไม่ถึงไม่ยอมทำอาหารให้เสร็จ (แต่ก็ยังเก็บไว้ในใจ) ทีแรกก็จะแก้ปัญหาด้วยการเดินไปเก็บผักจะมาลวกกินแก้หิวไปก่อน แต่ปรากฎว่าเตาไฟก็ถูกใช้หมดทุกเตา (แต่ละเมนูที่เขาทำก็จะต้องใช้เวลา) ความโกรธก็เลยพุ่งปรี๊ดขึ้นมา กิเลสมันก็เริ่มทำงานมันเริ่มโทษน้า
มาร : อยู่บ้านยังไงทำไมเพิ่งจะมาทำอาหาร นี่มันเที่ยงครึ่งแล้ว เพิ่งจะเริ่มตำเครื่องแกง ทำไมไม่รู้เวลากันบ้างเลย
คนทำงานมาเหนื่อย ๆ แทนที่กลับบ้านมาจะได้กินข้าว ทำไมไม่จัดลำดับความสำคัญของงานก่อน เวลานี้เป็นเวลาที่ต้องได้กินข้าวแล้ว แต่ยังต้องมานั่งรอ ว่าจะกินผักลวกง่าย ๆ แล้ว ว่าจะไม่บ่นแล้ว แต่ก็ต้องมาแย่งเตากันอีก โอ๊ย!!!เซ็ง
กิเลสมันชักจูงให้เราโกรธน้า ให้เพ่งโทษน้า เมื่อรู้ว่าทุกข์จึงไปนั่งคนเดียว เพื่อสงบสติอารมณ์ แต่ผ่านไปเป็นชั่วโมงมันก็ยังไม่ยอม พอคิดขึ้นมาก็โกรธ ขุ่นมัว มันไม่ยอมให้ผู้เขียนล้างทุกข์เลย ถูกมันลวงจนตามมันไม่ทัน จึงให้เวลามันสักพักใหญ่ แล้วก็พบว่ารู้สึกไม่ดีกับตัวเองที่ไปโกรธน้า รู้สึกผิดที่เราไปแสดงกิริยาอาการไม่ดีกับน้า จึงเริ่มสำนึกผิด และบอกกับกิเลสว่า
เรา : ได้โกรธน้าแล้วเป็นไง มีความสุขดีมั๊ย?
มาร : ไม่ดีเลย คิดว่าได้ระบายความโกรธออกมานึกว่าจะดี ที่แท้กลับทุกข์
เรา : เออ!!! คิดว่าตัวเองเป็นฝ่ายถูกอยู่ตั้งนาน ที่แท้ก็(ถูก)…หลอกให้..(โง่)
เมื่อรู้ว่าหิว แทนที่จะลงไปช่วยทำครัว จะได้กินเร็วๆ ก็กลับไปทำอย่างอื่น แล้วก็ไปโทษน้าเสียนี่
มัวแต่โทษคนอื่น แต่ไม่ยอมโทษตัวเอง คิดแต่จะเอาจากคนอื่นอย่างเดียว
โกรธคือโง่ โมโหคือบ้า คนที่แย่คือแกนั่นแหละมาร
ตรงกับบททบทวนธรรมข้อที่ 136 “ ชีวิตที่ลงตัวคือชีวิตที่มีแต่ความเสื่อม ชีวิตที่ไม่ลงตัวคือชีวิตที่มีแต่ความเจริญ “
เราไปยึดมั่นถือมั่นเอาเองว่าคนที่อยู่บ้านต้องทำอาหาร ถึงเวลาก็ต้องได้กิน แต่เราก็ลืมนึกไปว่าทุกคนต่างก็มีหน้าที่ เราไม่ช่วยทำแล้วยังไปสร้างปัญหาให้คนอื่น ไปคาดคั้นให้คนอื่นต้องทำให้เรา ได้ระบายความโกรธออกมาแทนที่จะรู้สึกดี แต่กลับรู้สึกผิดในใจ จึงตั้งจิตขอโหสิกรรมน้า
พิจารณาแบบนี้แล้ว ใจโล่งเบาสบายขึ้น
นางสาวสำรวย รัตตนะ
เรื่อง. จิตปรุง
เหตุการณ์. มีอาการผิดปรกติในหูและรอบๆบริเวณหู รู้สึกเจ็บๆ เมื่อมีอาการจิต
ก็ปรุงทันที เป็นฝีในหูเป็นก้อนเนื้อในสมองหรือเปล่าว่าแล้วก็คลำๆไปทั่วๆบนหัวและรอบๆหูว่ามีก้อนเนื้อหรือไม่ ใจก็เริ่มว้าวุ่นไม่สงบสุขขึ้นมาทันที หาโรคที่ร้ายๆเข้ามาใส่ตัวได้เป็นเรื่องเป็นราว พยายามจะให้มันมีขึ้นมาให้ได้
ทุกข์. มีอาการผิดปรกติในหู
สมุทัย. ชอบที่หูไม่มีอาการผิดปรกติ
ชังที่หูมีอาการผิดปรกติ
นิโรธ. หูจะมีอาการผิดปรกติหรือไม่มี
อาการผิดปรกติ ก็ไม่ชอบไม่ชัง
มรรค. มาพิจารณาดู ความกลัวระแวงหวั่นไหวในใจ ความเจ็บที่เกิดขึ้นกิเลสในจิตเราปรุงมากไปหรือเปล่ามันอาจจะไม่เลวร้ายอย่างที่เราคิดลองแก้ปัญหาตามที่ได้เรียนรู้มาดูก่อนหากมีอะไรเกิดขึ้นก็ยินดียอมรับจากการกระทำเพราะอาจเกิดจากวิบากกรรมที่เคยทำมาหาที่ต้นที่สุดไม่ได้เจ็บก็ให้มันเจ็บ ปวดก็ให้มันปวดเป็นไง
เป็นกันรับเท่าไหร่หมดเท่านั้นหายเมื่อไหร่ก็เมื่อนั้นหายตอนเป็นก็ได้หายตอนตายก็ได้ นำบททบทวนธรรมข้อที่ 28 มาดับทุกข์ใจ ความกลัว กังวล ระแวง หวั่นไหว ทำให้เป็นได้ทุกโรค ใจไร้ทุกข์ ใจดีงามเป็นสิ่งที่มีฤทธิ์มากที่สุดที่ทำให้หายหรือทุเลาจากโรค เป็นยารักษาโรคที่มีฤทธิ์เร็วและแรงที่สุดในโลกและข้อที่154 หมอที่ดีที่สุดในโลกคือ ตัวเราเอง
สรุป. เมื่อวางใจ ยอมรับ คลายกังวล
ก็เริ่มดูแลตัวเองอย่างเบิกบานใจ ด้วยการหยอดหู กัวซารอบๆหู และหัว ปรับสมดุลย์ร้อนเย็นไปเรื่อยๆอาการที่เจ็บก็ค่อยๆ ดีขึ้น หายภายใน1สัปดาห์
เรื่อง: ประมาทเกินไป
เหตุการณ์: ในวิชาภาษาอังกฤษ คุรุให้เลือกร้องเพลงคนละหนึ่งเพลง เราเองก็พยายามซ้อมพอสมควร คิดว่าน่าจะร้องได้ไม่ยาก ตั้งใจว่าจะร้องให้ดี แต่พอถึงเวลาร้องจริงกลับร้องได้ไม่ดี เนื่องจากเราประมาท ๆไปเพ่งโทษคนอื่นว่าร้องได้ไม่ดี เราฝึกมาดี ต้องร้องได้ดีแน่นอน แต่พอเราขึ้นร้อง กลับทำได้ไม่ดีตามที่หวัง(ตกม้าตาย) รู้สึกผิดหวัง
ทุกข์ :ไม่เบิกบานใจ ที่ร้องเพลงได้ไม่ดี
สมุทัย : ยึดมั่นถือมั่นว่าจะร้องเพลงได้ดี ชอบใจถ้าร้องเพลงได้ดี ชังที่ร้องเพลงออกมาไม่ดี
นิโรธ: จะร้องออกมาดีหรือไม่ เราก็สุขใจ ไม่ชอบไม่ชัง
มรรค : สำนึกผิด ยอมรับผิดที่ไปเพ่งโทษดูถูกคนอื่น ขออโหสิกรรม ยินดีเต็มใจรับโทษยอมรับความจริงที่เกิดขึ้น แล้วเริ่มต้นทำดีต่อไปด้วยความไม่ประมาท ด้วยใจที่เบิกบาน ด้วยใจที่ผาสุก ถ้าใจยังทุกข์อยู่ก็ยังถูกลวงอยู่ แต่ใจที่ไร้ทุกข์คือความจริง ตามบททบทวนธรรมข้อ78″ความสมบูรณ์ หรือความสำเร็จของกิจกรรมการงาน คือความลวง ลวงให้ยึด ลวงให้ทุกข์ ส่วนความสำเร็จของใจที่พ้นทุกข์ พ้นความยึดมั่นถือมั่น คือความจริง” เมื่อได้พิจารณาตามบททบธรรมดังกล่าวแล้ว ใจก็ไม่ยึดมั่นถือมั่น งานจะออกมาแบบไหน ใจก็เบิกบาน ไร้กังวลไม่ชอบไม่ชัง
เรื่อง : ตำนาน “ตำขนุน”
เหตุการณ์ : ครัวดอยฟ้าวันนี้ มีเมนู ตำขนุน เมื่อตากระทบรูป (เห็น) ตำขนุนที่อยู่ตรงหน้า คิดไปถึงตอนเรียนอยู่ปี ๑ ที่ ม.ใน ไปกินข้าวที่โภ (โภชนา) ร้านอาหารใน ม. สิ่งที่สั่งเป็นประจำคือ ตำขนุน จนมาเป็นจิตอาสา พวธ. ก็ยังไปติดรสชาติตำขนุนที่หัวหิน ตอนไปทำค่ายสุขภาพอีก คิดถึงหมู่มิตรพี่น้องที่ได้ร่วมรวมกันจัดค่าย ร่วมกันกินตำขนุนรสดี คิดถึงบรรยากาศเก่าๆ ฮ่า ฮ่า ฮ่า กิเลสเข้าสิงตอนไหนละเนี้ย น๊าน ๆ ไปละหลงคิดเคลิบเคลิ้มชอบบรรยากาศแบบนั้นแล้ว ตัวอยู่ศาลาดอยฟ้าเชียงใหม่ ใจไปสวน ๗ หัวหินโน้น กลับมา ๆ เห็นทุกข์สนุกดี มา ๆ มาดูทุกข์กันน่ะกิเลส
ทุกข์ : ทุกข์ใจ อยากได้บรรยากาศหมู่มิตรพี่น้องมาร่วมกันจัดค่าย กินตำขนุนรสดี พูดคุย สนุกสนานแบบนั้นอีก
สมุทัย : เกิดจากตัณหาความอยาก อยากได้รสชาติดีของตำขนุน และบรรยากาศเหตุการณ์ความสุขแบบนั้นอีก ในตอนนี้
กิเลสชอบ-ชัง ชอบถ้าได้รสดีของตำขนุนและมีเหตุการณ์แบบนั้นเกิดขึ้นอีก ไม่ชอบที่ไม่ได้รสดีของตำขนุนและไม่เกิดเหตุการณ์แบบนั้นอีก
อุปาทาน ความยึดมั่นถือมั่น ในรสชาติของตำขนุนและยึดว่าเหตุการณ์แบบนั้นมีความสุข
นิโรธ : อยากได้สิ่งใด ไม่ได้สิ่งนั้น นั้นก็เป็นทุกข์ ไม่อยาก ไม่ชอบไม่ชัง ไม่ยึดมั่นถือมั่น เราก็ไม่ทุกข์
มรรค : จับได้ว่ามีกิเลส ๒ เหลี่ยมมุม ในวัตถุอาหารรสชาติตำขนุน และกับเหตุการณ์บรรยากาศที่ชอบหมู่มิตรพี่น้องมาร่วมกันจัดค่าย กินตำขนุน พูดคุย สนุกสนาน ทำงานร่วมกัน
พิจารณาโทษของการมีกิเลส ประโยชน์ของการไม่มีกิเลส อยากได้ ในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ณ ตอนนี้ ขณะนี้ ก็ต้องเป็นทุกข์อย่างนี้ละ มีกิเลสความอยาก ความชอบ ความชังก็ทุกข์ ถ้าไม่อยากได้ ไม่ชอบไม่ชังไม่ทุกข์เลย เชื่อไหม เธอกิเลสลองคิดตามดูน่ะ ตอนนี่สถานการณ์โควิดระบาดอย่างนี้ จะมีบรรยากาศการรวมกันกับหมู่มิตรพี่น้องจัดค่ายได้ไหม? คิดหน่อยสิกิเลส คิดแต่จะอยากๆ จะเอาเกินจริง ที่เป็นไปไม่ได้จริงเลยน่ะเธอ หลงนั่งปั่นอากาศอยู่นั้นละ เลิกโง่สะทีเถอะ เรื่องยึดติดรสชาติที่เคยจำก็เท่านั้น ไม่เที่ยง เปลี่ยนแปลงได้ ดูอย่างกินตำขนุนวันนี้สิ รสชาติเหมือนเดิมไหม? อืม…ไม่เหมือนเดิม ไม่มีอะไรเหมือนเดิมเลย ทุกๆ อย่างเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ยึดมั่นถือมั่นอะไรไม่ได้ เพราะยึดแล้วไม่ได้ก็จะทุกข์ มีแต่ทุกข์กับทุกข์ แค่คิดน่ะเนี้ยยังทุกข์เลยเห็นไหม?
ต้องไม่ยึดมั่นถือมั่นให้ได้ จึงจะได้ ทำตามจริงที่เป็นไปได้จริง ชีวิตก็ไม่มีอะไรทุกข์ล่ะ สาธุค่ะ
เรื่อง :- ยินดี พอใจ กับสิ่ง(เงินรางวัลหรือทิพจากการส่งสินค้าอาหารให้ถึงลูกค้า) กิเลส
ที่อยากได้ในสิ่ง ในส่วนที่ไม่ได้เป็นของเรา หรือ สิ่งที่คนอื่นๆยังไม่ได้ให้เรา
อริยสัจ ๔ และ มรรค ๘ :-
***** เหตุการณ์ที่มี ก่อนที่จะได้มีการปฏิบัติธรรม ละบาป บำเพ็ญบุญ ตั้งศีล ตั้งอธิศีล
1-ทุกข์ ที่ใจ ที่ไม่ได้ดั่งใจ เนื่องมาจากการที่ไม่ได้รับเงินรางวัลหรือค่าตอบแทนดั่งที่
ต้องการและคาดการณ์เอาไว้ล่วงหน้าก่อนที่การส่งสินค้าอาหารให้ถึงมือลูกค้า
และเมื่อสินค้าอาหารถึงมือลูกค้าแล้ว ลูกค้าบางรายที่ไม่ให้ค่าตอบแทน ทำให้เกิด
ความไม่พึงพอใจ และวางตัวเฉยเมยต่อการขอบคุณลูกค้า แสดงสีหน้าปั้นปึ่ง ไม่
สนใจ ใส่ใจลูกค้า เดินหนี หลังจากที่ลูกค้าที่ได้รับสินค้าอาหารไปแล้ว
2. สมุทัย คือ สาเหตุแห่งทุกข์นั้น สืบเนื่องมาจากการไปส่งสินค้าอาหารให้กับลูกค้าที่สั่ง
อาหารออนไลน์หรือสั่งด้วยการโทรศัพท์เข้ามาที่ร้านหรือสั่งอาหารผ่านระบบ
การให้บริการผ่านโปรแกรมออนไลน์ เพราะลูกค้าบางรายให้ค่าตอบแทนที่ดี
บางรายให้ในระดับปานกลาง บางรายก็ให้น้อย
แต่ บางรายก็ไม่ให้ค่าตอบแทนดั่งที่คิดหรือคาดการณ์เอาไว้ล่วงหน้าว่าต้องได้
เมื่อไม่ได้ค่าตอบแทนก็จะไม่พอใจกับการไม่ได้รับสิ่งที่พึงพอใจ
ภายหลังที่ได้มีการปฏิบัติธรรม ละบาป บำเพ็ญบุญ ตั้งศีล ตั้งอธิศีล ตามคำสอบ คำบรรยาย
ของท่านอาจารย์หมอเขียว ด้วยการ
3. นิโรธ คือ ความไม่มีทุกข์ ความดับทุกข์ ยินดี พอใจ ไม่รังเกียจ ไม่แสดงอาการที่ไม่ดี
แต่ เคารพ นอบน้อม ใส่ใจ ต่อลูกค้าทุกๆระดับ ลูกค้าจะให้ค่าตอบแทนหรือไม่
เพราะการส่งสินค้าอาหารให้ถึงบ้าน ถึงมือลูกค้า คือการให้บริการของเรา เพื้อ
ให้ลูกค้าทุกๆคน ได้รับการบริการที่ดี พึงพอใจ ส่วนลูกค้าจะให้ค่าตอบแทนหรือ
ไม่ให้ ไม่ใช่หน้าที่ของเรา ไม่ใช่ของของเรา ไม่ใช่สิ่งลูกค้ายังไม่ได้ให้เรา
4. มรรค คือ หนทางแห่งการดับทุกข์ ที่เสริมหนุนให้ไม่ทุกข์ ไม่พึงพอใจ ไม่ชอบใจ ให้เรา
ได้คลายความทุกข์ทางใจ ที่เกิดจากความไม่ยินดี ไม่พอใจ รังเกียจ นั้น ให้
เราได้ค่อยๆประพฤติ ปฏิบัติ ต่อๆไป ซึ่งพระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า มรรคมีองค์ 8
หรือวิธีการดับทุกข์ทั้งปวงนั้นมีอยู่ 8 ประการนั่นเอง
มรรค 8 ประกอบด้วย :-
……….1. สัมมาทิฏฐิ คือความเข้าใจถูกต้อง ด้วยการวางใจว่า ค่าตอบแทนนั้น เมื่อลูกค้า
ยังไม่ได้ให้เรา เรายังไม่มีสิทธิที่จะไปคาดการณ์ หรือเดา หรือหมายมั่น ว่าลูกค้า
จะให้ค่าตอบแทนแก่เรา
……….2. สัมมาสังกัปปะ คือ ความใฝ่ใจถูกต้อง ด้วยการใส่ใจในการให้บริการลูกค้าทุกๆคน
ที่จะได้รับสินค้าอาหารจากการบริการของเรา อย่างเท่าเทียมกันทุกคน เพราะนั่น
คือการให้บริการของเรา
……….3. สัมมาวาจา คือ การพูดจาถูกต้อง ตั้งมั่นตั้งใจในการใช้วาจาที่ดี ที่เหมาะสม และ
ไม่ใช้วาจาที่ไม่สุภาพ น้อมแสดงความของคุณต่อลูกค้าที่สั่งสินค้าอาหาร เพื่อให้
เราได้มีอาชีพที่ดีต่อๆไป
……….4. สัมมากัมมันตะ คือ การกระทำถูกต้อง ด้วยการ ประพฤติ ปฏิบัติตัว ต่อลูกค้าทุกๆคน
ด้วยความ ยินดี พอใจ ไม่แสดงอากัปกิริยา ท่าทางที่ไม่เหมาะสม ไม่สมควร
……….5. สัมมาอาชีวะ คือ การดำรงชีพถูกต้อง ด้ยหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติตัว ทั้งต่อเจ้าของ
กิจการต่างๆที่ให้ค่าจ้าง ค่าแรง แก่ตัวเรา ตลิดจนลูกค้าที่สั่งสินค้าอาหาร เพื่อให้
เราได้ทำหน้าที่ในฐานะผู้ให้บริการ
……….6. สัมมาวายามะ คือ ความพากเพียรถูกต้อง ด้วยการ ตั้งมั่นประพฤติ ปฏิบัติ ตัวใน
อาชีพการส่งสินค้าอาหารและการให้บริการอื่นๆ กับทุกคนทั้งเจ้าของกิจการและ
ลูกค้า
……….7. สัมมาสติ คือ การระลึกประจำใจถูกต้องที่จะมีการปฏิบัติธรรม ละบาป บำเพ็ญบุญ
ตั้งศีล ตั้งอธิศีล ด้วยใจที่พึงพอใจ ยินดี เบิกบานแจ่มใส
……….8. สัมมาสมาธิ คือ การตั้งใจมั่นถูกต้อง ด้วยการกระทำตามที่ตั้งศีล ตั้งอธิศีลเอา อย่าง
มั่นคงสืบไป
ปรับสภาวธรรม ด้วยบททบทวนธรรมที่ประทับใจกับสภาวะของเรื่องนี้ คือ บททบทวนธรรม
ข้อที่ 21 การได้พบกับเหตุการณ์ที่ไม่ถูกใจเรา ไม่ได้ดั่งใจเรา เป็นสุดแห่งเครื่องมืออันล้ำค่า
ที่ทำให้ได้ฝึกล้างกิเลส คือ ความหลงชิงชังรังเกียจ หลงยึดมั่นถือมั่นในใจเรา และทำให้ได้
ล้างวิบากร้ายของเรา เพื่อน้อมนำมาล้างกิเลส ที่อยากได้ในสิ่ง ในส่วนที่ไม่ได้เป็นของเรา
หรือ สิ่งที่คนอื่นๆยังไม่ได้ให้เรา
สาระธรรม ได้ฝึกล้างกิเลส ล้างความไม่ชอบไม่ชัง ล้างความหลงยึดมั่นถือมั่นใจ ล้างอัตตา ฝึกยินดี พอใจ ทั้งสิ่งที่ได้และไม่ได้รับ ตรวจวัด ตรวจสอบระดับฉันทะ ๘ ระดับ
เรื่อง ทำไมต้องถูกคาดหวังในสิ่งที่ทำไม่ได้
โลกนี้เต็มไปด้วยกิเลส มีคนที่อยากได้สิ่งนั้นสิ่งนี้เต็มไปหมด แม้แต่สิ่งดี ๆ ที่เป็นความหวังดีต่าง ๆ นานาที่เขาอยากได้กัน ก็เป็นเหตุของการเบียดเบียนกัน บีบคั้นกัน กดดันกันได้สารพัดเรื่อง จึงเป็นธรรมดาที่เราย่อมถูกผู้อื่นคาดหวังให้เป็นหรือให้ทำในสิ่งนั้นสิ่งนี้บ้าง เขาอยากให้เราทำดีอย่างนั้นอย่างนี้บ้าง อยากให้เราเลิกทำชั่วอย่างนั้นอย่างนี้บ้าง เรื่องแบบนี้มันมีอยู่ตลอดเวลา
วันนี้เรารู้สึกว่ากำลังถูกคาดหวังให้ทำอะไรบางอย่างที่เราทำไม่ได้ ตรวจสอบดูเงื่อนไขต่าง ๆ ของเราแล้วเห็นชัดเจนว่ามันเป็นไปไม่ได้ แต่ผู้ที่คาดหวังให้เราทำสิ่งนั้นไม่ได้เห็นอย่างเรา เขาเห็นอีกอย่างหนึ่ง และคิดว่าเรื่องเล็กน้อยแค่นี้เราน่าจะทำได้ แม้ว่าเราจะแสดงอาการให้เห็นแล้วว่าเราลำบาก เรายากที่จะทำเช่นนั้น เขาก็ยังไม่สะดุด ไม่ฉุกคิด ยังคงคาดหวังให้เราทำสิ่งที่เขาเห็นว่าควรทำอยู่เช่นเดิม
ทุกข์ – อึดอัดใจที่ถูกคาดหวังให้ทำในสิ่งที่ทำไม่ได้
สมุทัย – อยากได้สภาพที่ไม่ถูกคาดหวัง มีความยึดมั่นถือมั่นว่า ถ้าถูกคาดหวังแล้วจะทุกข์ใจ ถ้าไม่ถูกคาดหวังแล้วจะสุขใจ
นิโรธ – ปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่นในใจ ไม่ต้องอยากได้สภาพที่ไม่ถูกคาดหวัง จะถูกคาดหวังหรือไม่ถูกคาดหวังก็ไม่ทุกข์ใจ
มรรค – พิจารณากรรมให้แจ่มแจ้งว่า การที่เราถูกคาดหวังในสิ่งที่เราทำไม่ได้นั้นเป็นเพราะวิบากกรรมของเราเอง เราเคยไปคาดหวังให้ผู้อื่นทำในสิ่งที่เขายังทำไม่ได้มาก่อน ทำให้เขาอึดอัดใจมาก่อน เคยบีบคั้น กดดันเขามาก่อน ทำมามากด้วย เคยอยากให้เขาทำสิ่งนั้นสิ่งนี้ทั้ง ๆ ที่เขายังไม่พร้อม ไม่อยู่ในฐานะที่จะทำได้ เราเคยทำมาทั้งนั้น ดังนั้น เมื่อมีคนมาคาดหวังให้เราทำในสิ่งที่เราทำไม่ได้ เราควรจะดีใจที่ได้ชดใช้วิบากกรรม ยอมรับด้วยความยินดี ยอมให้เขาคาดหวังแม้เราจะทำให้ไม่ได้ ล้างความชิงชังรังเกียจสภาพที่ถูกคาดหวังเสีย ไม่ต้องสุขไม่ต้องทุกข์กับเรื่องที่ถูกคาดหวังนั้น
นอกจากนี้ก็พิจารณาไตรลักษณ์ของกิเลส คือความยึดมั่นถือมั่นว่า ถ้าไม่ถูกคาดหวังจะสุขใจ ถ้าถูดคาดหวังจะทุกข์ใจ พิจารณาให้เห็นความจริงตามความเป็นจริงให้ได้ว่า แท้ที่จริงแล้วแม้จะถูกคาดหวังหรือไม่ถูกคาดหวัง หากเราไม่มีความยึดมั่นถือมั่นว่าต้องได้สภาพอย่างนั้นอย่างนี้จึงจะสุขใจ เราก็ไม่จำเป็นต้องทุกข์กับอะไรทั้งสิ้น ใครเขาจะคาดหวังอะไรกับเราก็เป็นเรื่องของเขา เรื่องของเราคือ อะไรที่เราทำได้ก็ทำให้เต็มที่ อะไรที่เราทำไม่ได้ก็ปล่อยวาง แล้วยินดีกับสภาพที่มันดีที่สุดแล้วที่เกิดขึ้นได้ ณ เวลานั้น
หลังจากเขียนการบ้านเรื่องนี้แล้ว เราก็ไม่มีอะไรคาใจอีกแล้ว ใครเขาจะมาคาดหวังอะไรกับเรา เราก็ยอมให้เขาคาดหวังไป เรายินดียอมรับความยากลำบากที่จะเกิดขึ้นได้อย่างสบายใจ แล้วทำหน้าที่ที่เราทำได้ให้เต็มที่ ทำเต็มที่แล้วก็สุขเต็มที่ได้แล้ว
ส่งการบ้านอริยสัจ๔
เรื่อง.ขายต้นไม้ได้เห็นทุกข์
เหตุการณ์. เนื่องจากที่บ้านได้ปลูกต้นเทียมไว้หลังบ้านแล้วตอนนี้มันต้นใหญ่จึงคิดที่จะให้เค้าโค่นออก จึงติดต่อคนซื้อมาดูเพื่อจะตีราคาซื้อขายกัน แล้ววันนี้คนซื้อก็มาดูต้นไม้ แล้วตีราคามา 1,000 บ. เค้าก็บอกสารพัดว่าต้นไม้เป็นตุ่มบ้างน่าจะผุบ้าง เค้าให้เต็มที่แล้ว แต่จับได้ว่ามันค้านอยู่ในใจเรา
ทุกข์.ไม่พอใจขุ่นใจคนซื้อให้ราคาน้อยกว่าความเป็นจริง
สมุทัย.ยึดว่าต้องได้ราคาดั่งใจเราคิดไว้จะสมใจจะสุขใจ เมื่อเค้าให้ราคาน้อยกว่าที่เราคิดไว้จึงไม่พอใจทุกข์ใจ
นิโรธ.วางใจทำใจในใจว่าเค้าจะให้ราคาเท่าไหร่จะน้อยจะมากกว่าที่เราวางไว้ก็สุขใจไม่ชอบไม่ชัง
มรรค.ตั้งศีลมาปฏิบัติให้เห็นถึงความจริงตามความเป็นจริง เห็นความวิปลาส ความไม่เที่ยง-ไม่มีอยู่จริง กับสิ่งที่เราไปหลงไปยึดไว้ ตามสมมุติโลก ว่าต้นไม้ต้นเท่านี้ต้องราคาเท่านี้ถึงจะใช่ จะสมใจ ทำให้เราโง่กว่ากิเลสตามกิเลสไม่ทัน จึงตั้งศีลมาพิจารณาล้างความชอบความชังล้างความยึดถือมั่นให้ได้ดั่งใจหมาย คิดว่า เราจะได้เท่าไหร่ส่วนนั้นก็เป็นกุศลของเรา เราต้องยินดีรับด้วยความเต็มใจ เท่านั้น คิดเสียว่าเค้ามาช่วยโค่นไม้ให้แถมยังได้ตังค์ คุ้มกว่าตั้งเยอะ และโชคดีขอบคุณคนที่มาซื้อต้นเทียมที่ทำให้ได้เจอผัสสะเรื่องนี้ เพราะจะได้เห็นว่าตัวเองยังติดยังยึดเรื่องลาภอยู่ จะได้ตั้งศีลมาล้างตัวนี้ต่อไป และวิธีคิดไม่ให้ใจทุกข์คือเปลี่ยนคำว่า เค้าให้แค่1,000บ.เปลี่ยนเป็นเค้าให้ตั้ง1,000บ.แนะ…
สรุปว่า เมื่อเราวางใจได้ต้นไม้จะได้โค่นหรือไม่ได้โค่น หรือเค้าจะซื้อราคาเท่าไหร่ก็ได้ เอาประโยชน์ที่สูงกว่าราคาต้นไม้ คือใจเราโล่ง
ใจเราไร้ทุกข์ได้ค่ะ
เรื่อง ธรรมะพาพ้นทุกข์
เนื้อเรื่อง มีอยู่วันหนึ่งซึ่งเป็นช่วงที่อาจารย์จะบรรยายธรรมะพาพ้นทุกข์แต่ไม่สามารถบรรยายได้เนื่องจากถูกรบกวนจากแมลงเม่าที่มาเล่นไฟ อาจารย์จึงเลื่อนการบรรยายออกไป โดยรอให้สว่างก่อนจึงบรรยายแมลงเม่าจึงจะไม่มารบกวน
ทุกข์ ผิดหวังที่ไม่ได้ฟังธรรมที่อาจารย์จะบรรยายตรงตามเวลา
สมุทัย มีความยึดมั่นถือมั่นว่าถ้าได้ฟังอาจารย์บรรยายธรรมะตรงเวลาจะสุขใจแต่ถ้าอาจารย์บรรยายไม่ตรงเวลาจะทุกข์ใจ
นิโรธ ไม่ยึดมั่นถือมั่นว่าอาจารย์จะบรรยายตรงเวลาหรือเลื่อนเวลาบรรยายออกไปก็ได้ เราก็ไม่ทุกข์ใจ
มรรค เชื่อเรื่องกรรมอย่างแจ่มแจ้งว่ามันเป็นกุศล อกุศลของเราและคนที่เกี่ยวข้องที่ทำให้อาจารย์บรรยายไม่ได้ในเวลานั้น ในชาติใดชาติหนึ่งเราและคนที่เกี่ยวข้องต้องไปรบกวนคนที่เขาอยากฟังธรรมแล้วไม่ได้ฟังธรรมเราจึงต้องมารับวิบากกรรมในครั้งนี้และการฟังธรรมในครั้งนี้มันไม่ใช่สมบัติของเราและผู้ที่เกี่ยวข้องไม่ต้องไปอยากได้ จิตก็ยินดีเกิดความพอใจและเบิกบานแจ่มใสในที่สุด
เรื่อง สำนึกผิด
เนื้อเรื่อง มีจิตอาสาท่านหนึ่งมาแนะนำให้ขอเบอร์โทรพ่อบ้านไปลงทะเบียนชุมชน เพื่อเวลาเกิดอะไรขึ้นจะได้ติต่อกับคนที่เกี่ยวข้องได้ กิเลสเราไม่ชอบที่จะต้องกลับไปเชื่อมกับเขาแล้ว เพราะคิดว่าเราเลิกกันแล้ว
ทุกข์ เห็นใจเต้นแรงผิดปกติ รู้สึกไม่สบาย รู้สึกอึดอัดคับแค้นใจ เมื่อได้ยินเสียง ที่บอกให้ใช้เบอร์โทรพ่อบ้านในการลงทะเบียนชุมชน เพื่อติดต่อคราวที่จำเป็น
สมุทัยเหตุแห่งทุกข์ ยึดว่าเราเลิกกันแล้วก็ไม่มีอะไร ที่ต้องเกี่ยวข้องกันอีก ชังที่ต้องกลับไปเชื่อมกับพ่อบ้าน ชอบถ้าไม่ได้กลับไปเชื่อมกับพ่อบ้าน
นิโรธ กลับไปเชื่อมกับพ่อบ้านก็สุขใจ ไม่ได้กลับไปเชื่อมกับพ่อบ้านก็สุขใจ
มรรค ขอบคุณเหตุการณ์ในครั้งนี้ทำให้ได้เห็นกิเลสตัวนี้ ทำให้สำนึกผิด ยอมรับผิดที่มีจิตที่คิดไม่ดี แล้วก็ตั้งจิตขอโทษขออโหสิกรรม กับพ่อบ้าน ขอบคุณพ่อบ้านที่ปล่อยเราได้มาบำเพ็ญ เขาเป็นผู้มีพระคุณที่ดูแลลูกให้เรา และไม่มาตามตัวเรากลับไป ขอบคุณจริง ๆ รักเขาแบบเพื่อน มีอะไรที่เกื้อกูลช่วยเหลือกันได้ก็ช่วย ช่วยไม่ได้ก็วาง ยินดีให้ได้ทุกสถานการณ์ แล้วใช้บททบทวนธรรมข้อที่ 84 คือ ล้างความยึดมั่นถือมั่น ของใจได้สำเสร็จ คือ ความสำเร็จที่แท้จริง ข้อ119 ชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ คือ ชนะโง่ ชนะชั่ว ชนะทุกข์ ในใจเรา ข้อ149 ความสุขแท้ คือไม่ทุกข์ใจไม่ว่าจะเกิดอะไร ในสถานการณ์ใด และข้อที่ 93 ในโลกนี้ ไม่มีอะไรสำคัญเท่าการดับทุกข์ใจ ให้ได้
เรื่อง เรื่องของกล้วยที่ไม่กล้วยเลย เพราะอยากกินกล้วยสุก
เหตุการณ์ อยากกินกล้วยสุก จึงไปดูที่ตู้กับข้าว ไม่มีกล้วยสุก ไม่แช่มชื่น เริ่มหงุดหงิด เพราะอยากกินกล้วยสุก จึงเดินไปดูที่โต๊ะบ่มกล้วย ก็ไม่มี คิดว่าถ้าไม่มีกล้วยสุก ได้ห่ามๆก็ยังดี จึงหาใหม่อีก2-3 รอบ มีแต่กล้วยดิบๆ
ทุกข์ อยากกินกล้วยสุก
สมุทัย ถ้าได้กินกล้วยสุกดั่งใจอยาก จะสุขใจ แช่มชื่น
ถ้าไม่ได้กิน จะทุกข์ใจ หงุดหงิด
นิโรธ จะได้กินหรือไม่ได้กินก็สุขใจ แช่มชื่นใจได้
ยินดีที่ไม่ได้กินตามที่อยาก ได้ใช้วิบาก ได้ล้างกิเลส
มรรค พิจารณาไตรลักษณ์ ความไม่เที่ยงของความอยาก โทษของการอยากได้ดั่งใจหมาย เป็นทุกข์ เป็นโทษ การหงุดหงิด เป็นการเบียดเบียนตนเอง ผิดศีล และเป็นการเหนี่ยวนำให้คนอื่นอยากและทุกข์อีกไม่สิ้นสุด ทำให้คลายลงได้ ตรงกับบททบทวนธรรมข้อที่58
เย่ๆๆ ดีใจจังไม่ได้ดั่งใจ
(วิบากหมด กิเลสตาย ได้กุศล)
แย่ๆๆซวยแน่เรา เอาแต่ใจ
(วิบากเพิ่ม กิเลสพอก งอกอกุศล)
ชื่อ : เห็นจิตตัวเองว่ายังเป็น ” หมาขี้เรื้อน “อยู่
เนื้อเรื่อง : เนื่องจากเรานอนเต็นท์ที่วางบนแคร่ ด้านบนของแคร่ปูด้วยไม้ไผ่ทำเป็นซี่เล็กๆ ตั้งแต่ได้แคร่จากผู้อื่นที่ไม่ใช้แล้วมา พื้นแคร่ก็ผุแล้ว เนื่องจากไม่มีให้เลือกเราจึงตัดสินใจใช้ไปก่อน ก็คิดว่าไม่ช้าหรือเร็วก็ต้องเปลี่ยน ช่วง ไม่กี่วันที่ผ่านมาเพื่อนจิตอาสาท่านหนึ่งได้มาปรึกษาว่าท่านจะเอาโต๊ะมาแทนแคร่ที่วางไว้ให้คนอ่านหนังสือที่ห้องหนังสือ(ห้องสมุด)จะดีไหม? เราเห็นดีด้วย เราจึงถือโอกาสขอแคร่นั้นมาใช้แทนอันเก่า ช่วงที่เราพร้อมจะย้าย พอดีตรงกับช่างที่ขอแรงบุญหมู่ในการช่วยยกโครงเหล็กไว้ก่อนแล้ว แต่เมื่อได้เวลายกปรากฏว่า โครงเหล็กนั้นได้ถูกยกเข้าที่ก่อนหน้านี้เรียบร้อยแล้ว เราจึงขอให้สื่อช่วยประกาศขอแรงบุญต่อ โดยขอแรงบุญ4 ท่านช่วยย้ายแคร่ให้ด้วย หลังจากที่ประกาศไปแล้วก็มีคนมาไม่กี่คน เมื่อเราเห็นคนมาน้อยซึ่งดูผ่านๆดูเหมือนจะเป็นพี่น้องผู้หญิงทั้งหมด เราเกิดความรู้สึกทุกข์ ขุ่นข้อง หมองใจ น้อยเนื้อต่ำใจผุดขึ้นมาทันที ในขณะที่ท่านเหล่านั้นกำลังเดินเข้ามาจะช่วยกันยกนั้น คิดว่าลำพังแรงจากพี่น้องผู้หญิงไม่น่าจะยกไหวเพราะแคร่ค่อนข้างหนัก ขณะนั้นเราก็เห็นพี่น้องผู้ชายท่านหนึ่ง ยืนอยู่บริเวณนั้น จึงได้ขอแรงบุญท่านด้วย ท่านก็ยินดี ในช่วงเวลาที่ไล่ๆกันนั้นเองพี่น้องท่านที่ได้ปรึกษากับเรามาก่อน ก็ได้เดินไปเรียกกลุ่มพี่น้องผู้ชายที่เราได้เอ่ยกับท่านไว้ ว่าอยากได้แรงบุญจากกลุ่มนี้เพราะท่านทำงานอยู่บริเวณนั้น ช่วงแรกท่านดังกล่าวก็มายืนดูในขณะที่แคร่กำลังถูกเคลื่อนไป ต่อมาท่านคงประเมินแล้วว่าจำนวนคนช่วยยกคงพอแล้วจึงไม่ได้เข้ามาร่วม แต่ในใจเรากำลังลุ้นให้ท่านเข้ามาร่วมด้วย ในขณะนั้นเองเราก็เห็นเด็กหนุ่มท่านหนึ่งวิ่งเข้ามาช่วยอย่างกุลีกุจอ ก็ได้แรงบุญผู้ชายเพิ่มอีกหนึ่งแรง ในที่สุดแคร่ก็ถูกยกไปวางตามที่หมายได้สำเร็จ ช่วงที่เหตุการณ์ ที่กำลังดำเนินไปเราก็ได้พิจารณาล้างทุกข์ในใจไปด้วย เขียน เป็นอริยสัจ4ได้ดังนี้
ทุกข์ : รู้สึกขุ่น หมองและน้อยเนื้อต่ำใจ ที่พี่น้องผู้ชายไม่ได้มาช่วยยกโดยเฉพาะกลุ่มที่เราไปกำหนดหมายไว้ในใจเอาเอง(แต่ไม่ทันได้บอกท่านไว้ก่อน)
สมุทัย : ยึดมั่นถือมั่นว่าถ้าพี่น้องผู้ชายกลุ่มที่เราคิดไว้ มาช่วยจะเป็นสุข(ชอบใจ) ถ้าไม่ได้มาช่วยจะเป็นทุกข์(ไม่ชอบใจ)
นิโรธ : ไม่ยึดมั่นถือมั่นว่าแม้พี่น้องผู้ชายกลุ่มนั้นจะมาช่วยหรือไม่ก็ไม่ทุกข์
มรรค : ทันทีที่รู้สึกว่าใจตัวเองเริ่มรู้สึกขุ่น หมอง +น้อยใจ จากการไม่ได้ดั่งใจหมายคือว่าคนที่มาช่วยยกเป็นผู้หญิงล้วนไม่มีผู้ชายเลยตอนแรกเราก็ได้พิจารณาเรื่องกรรมว่า “สิ่งที่เราได้รับคือสิ่งที่เราทำมา ” ก็ระลึกไปถึงว่าที่ผ่านๆมา เวลาหมู่ขอแรงบุญ บางครั้งเราสามารถไปช่วยได้ แต่เราก็ไม่ได้ขวนขวายที่จะไปช่วยเท่าที่ควร นี่คืออกุศลวิบากที่เราได้รับนั่นเอง สำนึกผิดยอมรับผิด ขอรับโทษ เต็มใจรับโทษ ตั้งจิตหยุดสิ่งไม่ดี ตั้งจิตทำความดี คือต่อไปจะพยายามขวนขวายให้มากขึ้นและ “อยากได้สิ่งใดจงคิด(พูด ทำ)สิ่งนั้นกับผู้อื่น” ปรากฏว่าความหมองใจยังไม่หมด ต่อมาอีกครู่หนึ่งนึกได้ว่า อ๋อ!นี่เราไป หลงตั้งจิตยึดว่าอยากได้แรงพี่น้องผู้ชายที่เราไปกำหนดเองว่าต้องเป็น
กลุ่มนั้นๆ นั่นเอง แท้จริงแล้วจะเป็นหญิง+ชายท่านใดก็ได้ สำคัญว่าถ้าสามารถช่วยกันยกแคร่เคลื่อนไปยังจุดหมายก็พอแล้ว แสดงว่าณ เวลานั้นท่านเหล่านั้นมีกุศลร่วมกับเรา นี่คือ” ความจริง ” พอรู้ว่าเป็นทุกข์ที่เกิดขึ้นจากเราทำมาและยังโง่ซ้อนที่ไปหลงหวัง อยาก ยึดว่าต้องเป็นกลุ่มนั้นๆด้วยนั่นเป็น
” ความลวง ” เห็นความหลงของตัวเองที่ไป หวัง อยาก ยึด จึงเป็นเหตุให้ ทุกข์ “โง่ “ไม่เกิดปัญญาที่แววไวพอที่จะพร้อมรับ พร้อมปรับ พร้อมเปลี่ยนได้ตามเหตุการณ์ที่เกิดจริง เป็นจริงได้ทัน เมื่อได้พิจารณามาถึงจุดนี้ใจจึงได้คลายความทุกข์หมองลงได้จริงๆ คราวต่อไปจะพยายามไม่ไปหลง หวัง อยาก ยึด แบบโง่ๆ ตามที่พ่อครูได้เคยพูดเปรียบเปรยไว้ว่าใครน้อยเนื้อต่ำใจเป็นหมาขี้เรื้อนนี้อีกเพราะ หวัง อยาก ยึด โง่ เป็นทุกข์ แต่ถ้าไม่หวัง ไม่อยาก ไม่ยึด ไม่โง่ ก็พ้นทุกข์
ชื่อเรื่อง:อ่านกิเลสตัวเอง
เนื้อหา:จากการที่คุรุวิชาภาษาอังกฤษได้มีการสอนทักษะการออกเสียงด้วยการให้ฝึกร้องเพลงทำให้ได้อ่านจิตตัวเองว่ามีกิเลสตัวไหนบ้างที่จะโผล่ออกมาให้เราเห็นและได้ล้าง ซึ่งตอนแรกที่เลือกเพลง(we are one)เห็นเลยว่าเลือกเพราะความชอบ ชอบในทำนองที่ไพเราะ
ลึกซึ้ง(ถูกใจ)ชอบในความหมายที่เป็นการให้กำลังใจต่อผู้คนในโลกที่กำลังเผชิญความลำบาก เดือดรัอนอยู่ทั่วโลกจึงมีความอยากที่จะร้องให้ไพเราะเหมือนคนร้องเพื่อถ่ายทอดความรู้สึกห่วงใยและกำลังใจไปสู่คนฟัง(กิเลสบอกเพราะความหลงชอบ ชังอยู่) แต่เราก็ระลึกได้ว่าจุดประสงค์และประโยชน์แท้ๆที่เราฝึกเพราะต้องการฝึกการอ่าน การออกเสียงให้ถูกต้องเท่านั้นเอง จึงทำให้เรามุ่งเน้นฝึกการออกเสียงให้ชัดเจนมากกว่าที่จะห่วงเรื่องความไพเราะ หรือเพราะรู้สึกเพลินไปกับการร้องนั้น มันเป็นสภาวะยินดีที่จะทำเพราะจะเอาประโยชน์มากกว่าความรู้สึกยินดีเพราะความเพลินในความชอบในความไพเราะของเพลงอีก
ทุกข์:กังวลใจ กลัวร้องไม่ดี
สมุทัย:เพราะมีความชอบและติดในความไพเราะในเพลงจึงคิดว่าตัวเองต้องร้องออกมาให้ไพเราะจึงจะพอใจ
ถูกใจ ได้ดั่งใจหมาย(ของกิเลส)
นิโรธ:ตัดความกังวล ไม่ทุกข์ใจไม่ว่าเราจะร้องเพลงออกมาได้ไพเราะหรือไม่ เพราะเรารู้ว่าประโยชน์แท้ที่เราควรเอาคืออะไร
มรรค:เมื่อเรากำจัดความชอบ ชังความยึดมั่นถือมั่นในเรื่องต่างๆได้ เราก็จะเข้าใจความจริงตามความเป็นจริงว่าสิ่งใดที่สำคัญและเป็นประโยชน์แท้ที่เราควรเอาคืออะไร เราก็จะตัดสิ่งที่ทำให้ใจเราเกิดความทุกข์ ความกังวลได้
เรื่อง ชั้นวางของในตู้เย็นหายไปไหน
เหตุการณ์ เปิดตู้เย็นอ้าวชั้นวางของหายไปชั้นหนึ่ง ทำให้ของมารวมกันหนาแน่นมาก ทำให้หยิบของลำบาก
ทุกข์ ขุ่นใจชั้นวางของในตู้เย็นหายไป
สมุทัย ชอบถ้าชั้นวางของในตู้เย็นอยู่ครบ ชังชั้นวางของหายไป
นิโรธ ชั้นวางของในตู้เย็นอยู่ครบหรือไม่ก็ไม่ทุกข์ใจ
มรรค เปิดตู้เย็นเห็นชั้นหายไปเกิดอาการขุ่นใจ หน้าร้อนๆขึ้นมา
มาร ใครเอาชั้นไปน่ะเอาไปไหนเอาไปทำอะไร
เรา จะโวยวายทำไม ทำอย่างกับตัวเองไม่เคย เปลี่ยนที่วางข้าววางของโดยไม่เคยบอกใครเหมือนกัน
มาร ก็จริงนะเราเคยทำอยู่บ่อยๆ
เรา ใจเย็นๆถามไถ่คนในบ้านก่อน ว่ามีใครเอาไปทำอะไรรึเปล่า ถามพ่อบ้านได้คำตอบว่าเป็นคนเอามาเอง จะเอามาวางของข้างนอก เราจึงอธิบายว่ามันอยู่ในตู้เย็นดีแล้ว เพราะขาดชั้นไปหนึ่งอัน ทำให้การวางของมันแน่นไปหาของลำบากด้วย พ่อบ้านเข้าใจ จึงนำกลับมาวางให้ที่เดิม ตรงกับบททบทวนธรรมข้อ 21
การได้พบกับเหตุการณ์ ที่ไม่ถูกใจเรา ไม่ได้ดั่งใจเรา เป็นสุดยอดแห่งเครื่องมืออันล้ำค่า ที่ทำให้ได้ฝึกล้างกิเลส คือความหลงชิงชังรังเกียจ หลงยึดมั่นถือมั่นในใจเรา และทำให้ได้ล้างวิบากร้ายของเรา
สรุปวางใจได้อาการขุ่นใจหน้าร้อนๆก็หายไป
เรื่อง ผิดศีล
เหตุการณ์ ก่อนตั้งศีลเลิกกินอาหารเจ ก็กินได้ตามปกติไม่มีอาการใดมาเตือนพักหลังกินแล้วมีอาการแสบท้องและปวดท้องจึง ตั้งศีลว่าจะไม่กินอาหารเจรสจัดแต่ก็พลาดเมื่อไปเห็นอาหารที่ชอบมากคือยำแหนมสดเจ และผัดสามเหม็น(คือวุ้นเส้นผัดใส่ชะอม กระเฉดและสะตอ) ก็อดไม่ได้ซื้อมากินยำแหนมสดตักมาแค่คำเดียวมาคลุกกับข้าวด้วยปรากฏว่าร้อนปากผล่าวๆมากเลย ซึ่งเมื่อก่อนกินเปล่าๆได้อย่างสบายๆเลย ก็หยุดกิน แต่ไม่สำนึกเอาผัดสามเหม็นมากินอีก โดยนำมาอุ่นใส่น้ำเยอะๆให้เดือดพอเดือด เทน้ำทิ้งเพราะหวังว่ารสชาดจะจืดลง และคงไม่เป็นพิษต่อร่างกายมาก อันนี้กินกับข้าวกินจนหมด ก็ไม่สำนึกผิดอีก จนมีอาการร้อนคอผล่าวๆและคันมากๆ
ทุกข์ กังวลใจคอร้อนผล่าวๆและคันมากจากการผิดศีล
สมุทัย ชอบถ้าตั้งศีลแล้วทำได้อย่างที่ตั้งไว้
ชังทำผิดศีล
นิโรธ ทำตามที่ตั้งศีลไว้ได้หรือไม่ได้ก็ไม่ชอบไม่ชัง
มรรค เมื่อรู้ตัวว่าผิดศีลเกิดอาการคอร้อนผล่าวๆและคันมากๆ จึงตั้งจิตสำนึกผิด สารภาพผิด ยอมรับผิด เต็มใจรับโทษขอโทษ
ขออโหสิกรรม ตั้งจิตทำสิ่งที่ดี คือลดกิเลสให้มากๆ ผลทางด้านร่างกายก็แก้ด้วยการพอกดูดพิษ ทาน้ำมันเขียวกัวซา และดีท็อกซ์ ดื่มน้ำสมุนไพรฤทธิ์เย็น อาการเริ่มทุเลาดีขึ้นเรื่อยๆนำบททบทวนธรรมข้อ95
การไม่ยอมรับผิด ไม่สารภาพผิด จะเพิ่มฤทธิ์
วิบากร้าย แต่การยอมรับผิด การสารภาพผิด
จะลดฤทธิ์วิบากร้าย และเพิ่มฤทธิ์วิบากดี
สรุปเมื่อสำนึกผิดใจที่กังวลต่ออาการทางด้านร่างกายก็เบาบางลง
ไม่รักเลยไม่ทุกข์เลย (แก้ไข)
ตั้งแต่ได้มาพบอาจารย์หมอเขียวได้ฟังธรรมะที่ถูกสัมมาทิฏฐิจากท่านในเรื่องต่าง ๆ รวมถึงเรื่องความรักความผูกพันแบบยึดมั่นถือมั่นด้วย ไม่ว่าจะเป็นกับเรื่องคนคู่ ครอบครัว ญาติพี่น้อง ฯ นั้นก็เช่นกัน ท่านว่ามันทำให้เราเป็นทุกข์ และท่านก็มักจะยกคำสอนที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสเอาไว้มาอธิบายให้จิตอาสาได้เรียนรู้ตามอยู่เสมอว่า มีรัก ๑ ทุกข์ ๑ มีรัก ๑๐ ทุกข์ ๑๐ มีรัก ๑๐๐ ทุกข์ ๑๐๐ ไม่รักเลย ไม่ทุกข์เลย ซึ่งเราก็เข้าใจและพยายามฝึกลดละล้างในส่วนของทั้งกับคนคู่ ครอบครัว ญาติพี่น้อง สิ่งของ และเพื่อนทางโลก มาได้โดยลำดับ ด้วยการพยายามเปลี่ยนจากความรักที่ยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นตัวเราของเรามาเป็นรักแบบปรารถนาให้เกิดสิ่งดีกับท่านแต่ไม่ยึดมั่นจนทำให้เราต้องเป็นทุกข์ตาม ส่วนกับพี่น้องทางธรรมก็เคยพิจารณาอยู่ประมาณหนึ่งเช่นกัน ซึ่งก็คิดว่าน่าจะวางใจได้ในระดับหนึ่ง จนมาเมื่อวานนี้ก็มีเหตุการณ์เข้ามาให้ได้เห็น ว่าเรายังมีทุกข์กับเรื่องนี้อยู่
และจากเหตุการณ์ในครั้งนี้ทำให้เห็นว่า ถ้าเรายังมีความรักความผูกพันกับใครอยู่เท่าไหร่ ก็จะทำให้เรายังต้องทุกข์ใจอยู่เท่านั้น ควรพากเพียรล้างกิเลสตัวนี้ให้หมดไปตามลำดับเท่าที่สามารถทำได้
ทุกข์ : หวั่นไหวเล็ก ๆ เมื่อทรายว่าพี่น้องหมู่มิตรดีท่านที่ได้คบคุ้นและบำเพ็ญร่วมกัน ขาดการติดต่อผิดไปจากปกติ
สมุทัย : ห่วงว่าท่านจะเจ็บป่วยไม่สบาย หรือเกิดเรื่องไม่ดีกับท่านหรือเปล่า ยึดว่าถ้าท่านสบายดี ไม่เจ็บป่วย หรือไม่เกิดเรื่องไม่ดีกับท่านจะดี
นิโรธ : หากท่านสบายดีและไม่เกิดเรื่องร้ายกับท่านเป็นเรื่องที่ดี แต่ถ้าท่านจะเจ็บป่วยหรือเกิดเรื่องไม่ดีกับท่าน เราก็ไม่ห่วงไม่หวั่นไหวไม่ทุกข์ใจ
มรรค : การปรถนาดีต่อพี่น้องเป็นเรื่องที่ดีเป็นจิตที่เป็นกุศล แต่ความห่วง ความหวั่นไหว และความยึดมั่นถือมั่นว่าท่านต้องสบายดี ต้องไม่เจ็บป่วยหรือเจอเรื่องร้ายนั้น ไม่ดี มันมิจฉาทิฏฐิ มันคือกิเลส ที่ทำให้เป็นทุกข์ ผิดศีลเบียดเบียนกายใจตัวเอง ความจริงก็คือ ชีวิตทุกชีวิตต่างก็มีกรรมเป็นของ ๆ ตน ดังนั้นการที่ท่านจะได้รับสิ่งดีร้ายใด จะมีร่างกายที่แข็งแรงหรือเจ็บป่วย ก็ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ แต่มันเกิดจากวิบากดีร้ายที่เกิดจากการกระทำทั้งในปัจจุบันและอดีตของท่านเอง ไม่ใช่เพราะเราห่วงหรือไม่ห่วงท่าน เมื่อพิจารณาดังนี้ ความทุกข์ใจในครั้งนี้ ก็คลายลง
สรุป หลังจากที่เราวางใจไปไม่นาน พี่น้องท่านที่เราห่วง ก็ติดต่อกลับมา แล้วท่านก็สบายดีไม่ได้เกิดเรื่องไม่ดีอะไร
เรื่อง: ขุดหลุมขุดกิเลส
เหตุการณ์:เตรียมขุดหลุมเพื่อปลูกพืชหลากหลายชนิด โดยจ้างขุดด้วยรถไถ
เพื่อให้ได้หลุมกว้างและลึก เพื่อจะได้หาเพื่อนพืชมาใส่รองหลุม ขุดเสร็จตอนเช้า
พอตกเย็นฝนตกหนัก น้ำไหลพาเอาดินมาถมหลุมที่ขุดไว้
ทุกข์ :กังวลที่ฝนตก น้ำไหลพาเอาดินมาถมลงในหลุม
สมุทัย: ชอบหากน้ำไม่พาดินมาถมหลุม ชังที่น้ำพาดินมาถมหลุม
นิโรธ: น้ำจะพาดินมาถมหลุมหรือไม่ ก็ไม่ชอบไม่ชัง
มรรค: วางแผนขุดหลุมปลูก เพื่อทำกสิกรรมไร้สารพิษ จึงต้องขุดหลุมให้กว้างและลึก พอที่จะหาเพื่อนพืชมาใส่รองก้นหลุมให้ได้มากๆ พอขุดเสร็จยังไม่ทันข้ามวัน ฝนก็ตกหนัก น้ำไหลพาดินมาถมหลุมที่ขุดเตรียมไว้ จำนวนหลายหลุม มารมันบ่นว่า ฝนตกหนักแบบนี้น้ำคงพาดินมาถมหลุมเยอะแน่ๆ เธอต้องเหนื่อยเพิ่มอีกแล้ว ที่ต้องโกยดินออกจากหลุม
เราบอกมารว่า ไม่เป็นไหรหรอก ดินมาถมเราก็โกยดินออก แค่นี้ไม่เห็นเป็นไรเลย
มารมันก็เถียงขึ้นมาอีกว่า ก็เธอจะต้องเสียเวลา ไปโกยดินออกอีก หากฝนไม่ตกหนัก ดินคงไม่มาถมหลุม เธอก็ไม่ต้องเสียเวลาไม่ต้องเหนื่อยเพิ่ม จะได้เอาเวลาไปทำอย่างอื่น ยังมีงานอีกเยอะแยะมากมายที่คอยอยู่ เราก็บอกมารไปว่า
เหนื่อยก็ให้มันเหนื่อย ยอมรับในสิ่งที่เกิดขึ้น เมื่อฝนมันตกหนัก น้ำก็ต้องไหลพาดินมาด้วย ดีเสียอีกเราจะได้ใช้วิบาก ตามบททบทวนธรรมข้อที่๒๑ การได้พบกับเหตุการณ์ที่ไม่ถูกใจเรา ไม่ได้ดั่งใจเราเป็นสุดยอดแห่งเครื่องมืออันล้ำค่า ที่ทำให้ได้ฝึกล้างกิเลส คือ ความหลงชิงชังรังเกียจ
หลงยึดมั่นถือมั่นในใจเรา และทำให้ได้ล้างวิบากร้ายของเรา และบททบทวนธรรมข้อที่๗๖ ความสำเร็จของงานไม่ใช่ความสำเร็จของงาน ความสำเร็จของใจคือ ความสำเร็จของงาน ใจที่ไร้ทุกข์ ใจที่ดียินดี ใจที่ไม่ยึดมั่นถือมั่นว่างานจะสำเร็จหรือไม่สำเร็จเมื่อเราได้พยายามทำเต็มที่แล้วเพราะเข้าใจเรื่องกรรมอย่างแจ่มแจ้ง
สรุปว่าเมื่อนำบททบทวนธรรมมาพิจารณามารก็หายไป ใจก็เป็นสุขได้
เรื่อง ส่งของผิดที่แต่กิเลสได้ล้าง
เหตุการณ์ ตอนนี้ลูกชายเพิ่งเปิดร้านใหม่ทำสกรีนบนเสื้อ หมวก แก้ว แมส รองเท้า ก่อนหน้านี้ลูกสั่งของแล้วไม่ได้อย่างที่ต้องการ เพื่อนหญิงของลูกขอสั่งของให้แทน วันนี้ลูกแจ้งว่า ต้องไปเอาของที่บ้านเพื่อนหญิงเพราะ ของส่งผิดที่ ของต้องใช้ มิฉะนั้นงานจะมีปัญหา
เราก็เริ่มขุ่นใจ จงใจส่งผิดที่ไหม
ทุกข์ ขุ่นใจเพื่อนลูกส่งของผิดที่
สมุทัย ชอบถ้าเพื่อนลูกส่งของได้ถูกที่ ชังถ้าเพื่อนลูกส่งของผิดที่
นิโรธ เพื่อนลูกจะส่งของถูกหรือผิดที่ก็ไม่ชอบไม่ชัง
มรรค ตั้งศีลมาปฎิบัติให้เห็นถึงความจริงตามความเป็นจริง เห็นความวิปลาส ความไม่เที่ยง ความไม่มีอยู่จริงกับสิ่งที่เราไปหลงยึดไว้ว่า การสั่งของต้องรู้สิว่าต้องส่งของปลายทางที่ไหน ไม่น่าจะผิดพลาด มาดูลีลากิเลสมารกันค่ะ
มาร :เป็นไปได้อย่างไง สั่งของก็ให้ยืนยันอีกรอบ ไม่น่าพลาด จงใจหรือเปล่าเนี่ย
เรา :เฮ้ย!ผิดทางไหมอย่ามองออกไปนอกตัวสิ มองกลับมาข้างใน ใจจะขุ่นทำไม ถ้ามีทุกข์ผิดทางพุทธะแล้ว เปลี่ยนมาชอบให้ได้สิ มายินดีกับสิ่งที่เกิดขึ้น นั่นคือเงาของเราเลยนะ ในชีวิตเราไม่เคยทำอะไรผิดพลาดเลยเหรอก็ทำผิดพลาดเยอะมาก
ที่หนักๆ เราเคยหนีพ่อแม่เที่ยวทะเล ในช่วงที่คลื่นแรง ไปเรือลำเล็ก ไม่มีชูชีพ แถมว่ายน้ำก็ไม่เป็น
หรือหนีเที่ยวไปสวนผลไม้บนภูเขากับเพื่อนๆนักเรียนพยาบาลจนเกือบถูกทำร้าย วุ่นวายพี่ๆพยาบาล ตำรวจ พ่อแม่ ทั้งที่บ้านตัวเองก็มีผลไม้กิน
นั่นมันถึงตายเลยนะ นี่แค่สั่งของลงผิดที่เรื่องเล็กนิดเดียว ก็ขุ่นใจแล้ว จะวิปลาสไปถึงไหน ยังไปเพ่งโทษเพื่อนหญิงลูกอีก
มาร :เขาจงใจจะให้ลูกเราไปหาหรือเปล่า ทั้งที่ช่วงนี้เขาให้อยู่บ้าน
เรา :ถามจริงๆแล้วเราไม่เคยลักลอบเจอกันเหรอ ก็เคยมีแถมไม่บอกทางบ้านด้วย ลูกยังดียังบอกจะไปไหน อีกอย่างถามลูกหรือยัง ลูกเราอาจเต็มใจด้วยก็ได้ มันก็แล้วแต่วิบากของเรา ของลูก ของโลกถ้าเขาจัดสรรแล้วก็ยอมรับในวิบากกรรมนั้น ทุกอย่างที่เกิดขึ้นดีที่สุดแล้ว ถ้าลูกออกไปแล้วรับเชื้อมาก็ต้องยอมรับด้วยความเต็มใจ ยินดีให้ได้ แต่ตอนนี้แค่ลูกออกไปเอาของยังไม่มีอะไรเกิดขึ้นเลย อย่าวิปลาส อย่าฟุ้งซ่าน อยู่กับปัจจุบัน
ต้องขอบคุณเพื่อนหญิงลูกที่ช่วยกระทุ้งกิเลสตัวนี้ออกมาให้ได้ล้าง และขอโทษ ขออโหสิกรรมที่ไปเพ่งโทษว่าจงใจส่งของผิดที่ ไม่มีใครที่อยากพลาดอยากผิดในโลกใบนี้ หรือถ้าเขารวมทั้งลูกจงใจก็เป็นวิบากใหม่ที่ต้องรับ ตอนนี้วิบากหนักและรุนแรงอย่ามัวชักช้า อย่าห่วงใคร มาฝึกฝนหนักที่ตน ยอมรับว่าตัวเองทำสิ่งนี้มาแน่ๆ ก็เต็มใจรับด้วยใจเป็นสุข ใช้บททบทวนธรรมข้อที่ 46 “เกิดอะไร จงท่องไว้ กู-เรา-ฉัน ทำมา”
สรุป หลังพิจารณาความขุ่นก็หายไป จิตใจก็เบิกบาน แจ่มใส..สาธุ
เรื่อง รถไถกล้วยพบกิเลส
เหตุการณ์ : ตั้งใจไปเตรียมพื้นที่ในสวนท่าชนะเพื่อปลูกไม้ยืนต้น เมื่อสำรวจพื้นที่พบว่าสภาพหญ้าหนาและรกเกินกว่ากำลังตัวเองจะช่วยกันทำได้ แต่ยังพอเห็นกล้วยและไม้อย่างอื่นที่ปลูกไว้อยู่บ้าง จึงตัดสินใจจ้างรถไถมาปรับพื้นที่ ขณะที่รถไถกล้วยรู้สึกแปล๊บที่ใจนึกเสียดายขึ้นมา
ทุกข์: รู้สึก หดหู่ใจ ที่กล้วยถูกไถ
สมุทัย : ยึดมั่นถือมั่นว่า ถ้ากล้วยไม่ถูกไถจะสุขใจ พอรถไถกล้วยจึงหดหู่ใจ ทุกข์ใจ
นิโรธ : กล้วยจะถูกไถหรือไม่ ก็ได้ ไม่สุข ไม่ทุกข์
นิโรธ : เมื่อใจรู้สึกหดหู่ที่กล้วยถูกไถ รีบดูใจก่อนว่าเราจะยึดให้ทุกข์ทำไม นึกถึงคำตรัสของพระพุทธเจ้าว่า สิ่งใดที่เราเข้าไปยึดมั่นถือมั่นจะไม่ทุกข์เป็นไม่มี แล้วปรับใจด้วยบททบทวนธรรมข้อที่ 83 ว่า”ความยึดมั่นถือมั่นจะทำให้เกิด ความพร่อง ความพลาด ความทุกข์”หลังจากพิจารณาได้เข้าใจว่าที่หดหู่ใจ เพราะเสียดายกล้วยที่ยังมีผลผลิตออกแบ่งปันพี่น้องหมู่กลุ่มได้ดีอยู่แต่ต้องทำใจ วางใจหากไม่เอาออกรถก็ไถพื้นที่ไม่ได้เมื่อพิจารณาได้ดังนี้ ความรู้สึกหดหู่ใจได้หายไปใจกลับมา เบิกบาน ไร้ทุกข์ เหมือนเดิม
รมิตา ซีบังเกิด
เรื่อง : คนงานทำเครื่องสูบน้ำเสีย
เหตุการณ์ : จ้างคนทำงานในสวน ต้องใช้เครื่องสูบน้ำ โดยให้เขาเข้าไปสวนทำงานก่อน เราเข้าไปทีหลัง เมื่อไปดูที่เครื่องสูบน้ำปรากฎว่าน้ำไม่ขึ้น พบว่าคนงานปล่อยให้หัวสูบจมดินทำให้ดินเข้าไปติดในเครื่อง จึงต้องนำไปซ่อมต่างอำเภอ จนสามารถใช้งานได้ตามปกติ
ทุกข์ : ไม่ชอบใจที่คนงานไม่ดูแลเครื่องสูบน้ำทำให้เสียใช้งานไม่ได้
สมุทัย : ชอบใจที่คนงานดูแลเครื่องสูบน้ำดีใช้งานได้ ชังที่คนงานดูแลเครื่องเครื่องสูบน้ำไม่ดีใช้งานไม่ได้
นิโรธ : คนงานจะดูแลเครื่องสูบน้ำให้ใช้งานได้หรือไม่ก็ไม่ชอบไม่ชัง
มรรค : เมื่อพบว่าคนงานทำเครื่องสูบน้ำเสีย ตอนแรกคิดตำหนิ ไม่ชอบใจว่า ทำไมไม่รู้จักระวัง จ้างมาทำงานหลายครั้งแล้ว ทำไมวันนี้ไม่ดูแลให้ดี เมื่อทำงานในสวนเสร็จ นำเครื่องไปซ่อมต่างอำเภอ ตอนช่างกำลังซ่อมใจก็ยังคิดแต่เรื่องคนงานไม่ดูแลเครื่องสูบน้ำ ใจก็วนเวียนอยู่แต่คำว่า” ทำไมๆๆ” ซึ่งตรงกับบทบทวนธรรมข้อที่ 47 ว่า ” เมื่อมีเรื่องไม่ชอบใจ ไม่เข้าใจ แล้วเกิดคำถามว่า ทำไม ๆๆ ให้ตอบว่า ทำมาๆๆ”
เมื่อพิจารณาว่าเรื่องที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องที่เราเคยทำมา ใจก็คลายความวิตกกังวล ไม่ยึดติดความไม่ชอบ ไม่ชังในใจลงได้ มีความเบิกบาน ยินดี และให้อภัยในความผิดพลาดของคนงาน
เรื่อง ทุกข์ที่ต้องเขียนการบ้านอริยสัจ4 : สำรวย เดชดี (รักศีล)
ฉันเป็นนักเรียนวิชาราม ฉันมีหน้าที่ต้องทำการบ้านส่งไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไรดี เห็นพี่น้องหลายท่านเขียนกันได้ดีและดีมากเช่นน้องนารีที่อยู่สปป. ลาว ขนาดเขายังไม่ได้เป็นจิตอาสาเขายังเขียนและสื่อสารสภาวะได้ดีเห็นความจริงใจและความตั้งใจของเขา เขาเป็นครู เป็นตัวอย่างให้เราได้ดี ฉันจะสื่อสภาวะอย่างไรดีให้ได้มากที่สุดจึงเกิดทุกข์ อึดอัดใจ กังวลใจ หวั่นไหวเพราะยังไม่ชัดในสภาวะของตนเองเท่าไหร่ จึงเกิดความทุกข์มาตลอดแล้วยังไม่กล้าเขียน แต่ได้เห็นตัวอย่างและได้ฟังคำแนะนำจากพี่น้องกำลังใจที่จะเขียนและพยายามจะเขียนให้ได้ดีนึกถึงคำสอนที่ว่าตัวอย่างที่ดีมีค่ากว่าคำสอนด้วยค่ะ
ทุกข์ : เรื่องทำการบ้านส่ง ไม่อยากเขียนการบ้านอริยสัจส่งเพราะกลัวว่าจะเขียนไม่ได้ดี มีอาการอึดอัด กังวลใจ ลังเล สงสัยว่าจะเขียนดีหรือไม่
สมุทัย : เพราะกลัวว่าจะเขียนไม่เข้าประเด็น (ย่อไม่ค่อยเป็น) กลัวเขาไม่เข้าใจ
ชอบที่จะเขียนให้เข้าประเด็นและให้เขาเข้าใจได้ง่าย
นิโรธ : จึงมีกำลังใจ พลังใจที่จะเขียนและมีตัวอย่างจากพี่น้องที่แนะนำช่วยพาเขียนที่ดีจึงปล่อยวาง
จะเข้าประเด็นก็ได้ ไม่เข้าประเด็นก็ได้ จะมากก็ได้ จะน้อยก็ได้ เราก็ไม่ทุกข์ใจ
มรรค : จึงลงมือเขียนอย่างยินดีเต็มใจ เอาใจพาเขียนอย่างตั้งใจตามสภาวะที่รู้ที่เห็นอยู่จริง เท่าที่ทำได้งานเขียนจึงสำเร็จได้อย่างมีความสุขเพราะเราได้ทำอย่างเต็มที่และดีที่สุดแล้วและได้ระลึกถึงคำสอนของครูหมอที่ว่า
“จงทำเต็มที่ เหนื่อยเต็มที่ สุขเต็มที่”
“ไม่มีอะไรคาใจไม่เอาอะไรคือสุดยอดแห่งความอิ่มเอิบเบิกบานแจ่มใส”
“ทีทำชั่วยังมีเวลาทำ ที่ทำดีทำไมไม่มีเวลาทำ”
“ยินดีในความไม่ชอบไม่ชังได้พลังสุดๆ”
“ยินดีในความชอบ-ชังเสียพลังสุดๆ”
“อย่ากลัว อย่ากังวลอย่าระแวง อย่าหวั่นไหว ทำดีที่ทำได้อยากรู้เพียรรู้พักล้างความยึดมั่นให้ถึงที่สุดใจร้ายถูกใจดีงามเป็นสิ่งที่มีฤทธิ์มากที่สุด”
***** ฉบับปรับเปลี่ยนแลแก้ไข
สภาวธรรมอริยสัจ ขจัดมาร ด้วยอริยสัจ ๔
เรื่อง :- ไม่ยินดี ไม่พอใจ กับสิ่งที่ไม่ได้รับ ยินดี พอใจ กับสิ่งที่ได้รับ
เนื้อเรื่อง การมีอาชีพ ขับยานพาหนะ(รถยนต์) ส่งสินค้าอาหาร ให้บริการ จะได้รับรายได้
สองทาง คือ
1.ค่าจ้างประจำจาการเป็นพนักงานจากเจ้าของกิจการ
2.ค่าตอบแทน(ทิพ) ที่ได้รับจากลูกค้าโดยตรง
ซึ่งทำให้พนักงานขับรถเกิดความหวังว่า เมื่อไปส่งสินค้าอาหารให้กับลูกค้าแล้ว
ต้องได้ทิพจากลูกค้า หากลูกค้ารายใดให้ทิพดี ก็มีลักษณะอาการยินดี พอใจ ลำเอียง
ในการที่จะไปส่งสินค้าอาหารให้กับลูกค้ารายนั้นๆ หากลูกค้ารายใด ให้ทิพน้อย หรือบาง
รายไม่ให้หรือไม่เคยให้ ก็จะลักษณะอาการที่จะกลั่นแกล้ง หน่วงเหนี่ยว หรือ หากมี สินค้า
อาหารในเที่ยวนั้นๆ สอง หรือ สาม หรือสี่ ขึ้นไป ก็จะเกิดการละเอียง เลือกที่รัก มักที่ชัง
ไปส่งสินค้าอาหารให้กับลูกค้าที่ให้ทิพดีๆ และไปส่งให้กับลูกค้าที่ให้ทิพไม่ค่อยดีหรือไม่ให้
ที่หลัง หรือ ไม่ทำการส่งสินค้าอาหารให้กับลูกค้าตามความเหมาะสมกับสถานการณ์
ก่อนและหลัง ตามระยะทางในการขับรถยนต์ เพื่อความสะดวกและไม่เป็นการขับรถยนต์
ย้อนไป ย้อนมา ทำให้เสียเวลาในการขับรถยนต์ ตลอดจนสิ้นเปลองเชื้อเพลิง
อริยสัจ ๔ และ มรรค ๘ :-
***** เหตุการณ์ที่มีก่อนได้มีการปฏิบัติธรรม ละบาป บำเพ็ญบุญ ตั้งศีล ตั้งอธิศีล
ในฐานะจิตอาสาแพทย์วิถีธรรม
1-ทุกข์ มีลักษณะอาการ ไม่พึงพอใจ ไม่ได้ดั่งใจ เนื่องมาจากการที่ไม่ได้รับเงินรางวัลหรือ
ค่าตอบแทนดั่งที่องการและคาดการณ์เอาไว้ล่วงหน้าก่อนที่การส่งสินค้าอาหารให้ถึง
มือลูกค้าและเมื่อสินค้าอาหารถึงมือลูกค้าแล้ว ลูกค้าบางรายที่ไม่ให้ค่าตอบแทน ทำ
ให้เกิดความไม่พึงพอใจ และวางตัวเฉยเมยต่อการขอบคุณลูกค้า แสดงสีหน้าปั้นปึ่ง
ไม่สนใจ ใส่ใจลูกค้า เดินหนี หลังจากที่ลูกค้าที่ได้รับสินค้าอาหารไปแล้ว
2. สมุทัย คือ ยึดมั่นถือมั่นว่าลูกค้าจะต้องให้ทิป ถ้าลูกค้าให้ทิปดังใจหมายจะสุขใจ จะชอบ
ใจ ชังและไม่ชอบใจถ้าลูกค้าไม่ให้ทิปดั่งใจหมาย
สืบเนื่องมาจากการไปส่งสินค้าอาหารให้กับลูกค้าที่สั่งอาหารออนไลน์หรือสั่ง
ด้วยการโทรศัพท์เข้ามาที่ร้านหรือสั่งอาหารผ่านระบบการให้บริการผ่าน
โปรแกรมออนไลน์ เพราะลูกค้าบางรายให้ค่าตอบแทนที่ดี บางรายให้ในระดับ
ปานกลาง บางรายก็ให้น้อย แต่ บางรายก็ไม่ให้ค่าตอบแทนดั่งที่คิดหรือ
คาดการณ์เอาไว้ล่วงหน้าว่าต้องได้ เมื่อไม่ได้ค่าตอบแทนก็จะไม่พอใจกับการ
ไม่ได้รับสิ่งที่พึงพอใจ
*****ภายหลังที่ได้มีการปฏิบัติธรรม ละบาป บำเพ็ญบุญ ตั้งศีล ตั้งอธิศีล ในฐานะจิตอาสา
แพทย์วิถีธรรม ตามแนวทาง ตามคำสอน คำบรรยาย ของท่านอาจารย์หมอเขียว(ดร.ใจ
เพชร กล้าจน) ด้วย:-
3. นิโรธ คือ ยินดี พอใจ สุขใจ โดยไม่หวังว่าจะได้สิ่งตอบแทน
ไม่รังเกียจ ไม่แสดงอาการที่ไม่ดี แต่ เคารพ นอบน้อม ใส่ใจต่อลูกค้าทุกๆระดับ
ลูกค้าจะให้ค่าตอบแทนหรือไม่ เพราะการส่งสินค้าอาหาร ให้ถึงบ้าน ถึงมือ
ลูกค้า คือการให้บริการของเรา เพื่อให้ลูกค้าทุกๆคน ได้รับการบริการที่ดี พึง
พอใจ ส่วนลูกค้าจะให้ค่าตอบแทนหรือไม่ให้ ไม่ใช่หน้าที่ของเรา ไม่ใช่ของ
ของเรา ไม่ใช่สิ่งลูกค้ายังไม่ได้ให้เรา
4. มรรค คือ หนทางแห่งการดับทุกข์ ที่เสริมหนุนให้ไม่ทุกข์ ไม่พึงพอใจ ไม่ชอบใจ ให้เรา
ได้คลายความทุกข์ทางใจ ที่เกิดจากความไม่ยินดี ไม่พอใจ รังเกียจ นั้น ให้
เราได้ค่อยๆประพฤติ ปฏิบัติ ต่อๆไป ซึ่งพระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า มรรคมีองค์ 8
หรือวิธีการดับทุกข์ทั้งปวงนั้นมีอยู่ 8 ประการนั่นเอง
มรรค 8 ประกอบด้วย :-
……….1. สัมมาทิฏฐิ คือความเข้าใจถูกต้อง ด้วยการวางใจว่า ค่าตอบแทนนั้น เมื่อลูกค้า
ยังไม่ได้ให้เรา เรายังไม่มีสิทธิที่จะไปคาดการณ์ หรือเดา หรือหมายมั่น ว่าลูกค้า
จะให้ค่าตอบแทนแก่เรา
……….2. สัมมาสังกัปปะ คือ ความใฝ่ใจถูกต้อง ด้วยการใส่ใจในการให้บริการลูกค้าทุกๆคน
ที่จะได้รับสินค้าอาหารจากการบริการของเรา อย่างเท่าเทียมกันทุกคน เพราะนั่น
คือการให้บริการของเรา
……….3. สัมมาวาจา คือ การพูดจาถูกต้อง ตั้งมั่นตั้งใจในการใช้วาจาที่ดี ที่เหมาะสม และ
ไม่ใช้วาจาที่ไม่สุภาพ น้อมแสดงความของคุณต่อลูกค้าที่สั่งสินค้าอาหาร เพื่อให้
เราได้มีอาชีพที่ดีต่อๆไป
……….4. สัมมากัมมันตะ คือ การกระทำถูกต้อง ด้วยการ ประพฤติ ปฏิบัติตัว ต่อลูกค้าทุกๆคน
ด้วยความ ยินดี พอใจ ไม่แสดงอากัปกิริยา ท่าทางที่ไม่เหมาะสม ไม่สมควร
……….5. สัมมาอาชีวะ คือ การดำรงชีพถูกต้อง ด้ยหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติตัว ทั้งต่อเจ้าของ
กิจการต่างๆที่ให้ค่าจ้าง ค่าแรง แก่ตัวเรา ตลอดจนลูกค้าที่สั่งสินค้าอาหาร เพื่อให้
เราได้ทำหน้าที่ในฐานะผู้ให้บริการ
……….6. สัมมาวายามะ คือ ความพากเพียรถูกต้อง ด้วยการ ตั้งมั่นประพฤติ ปฏิบัติ ตัวใน
อาชีพการส่งสินค้าอาหารและการให้บริการอื่นๆ กับทุกคนทั้งเจ้าของกิจการและ
ลูกค้า
……….7. สัมมาสติ คือ การระลึกประจำใจถูกต้องที่จะมีการปฏิบัติธรรม ละบาป บำเพ็ญบุญ
ตั้งศีล ตั้งอธิศีล ด้วยใจที่พึงพอใจ ยินดี เบิกบานแจ่มใส
……….8. สัมมาสมาธิ คือ การตั้งใจมั่นถูกต้อง ด้วยการกระทำตามที่ตั้งศีล ตั้งอธิศีลเอา อย่าง
มั่นคงสืบไป
ปรับสภาวธรรม ด้วยบททบทวนธรรมที่ประทับใจกับสภาวะของเรื่องนี้ คือ บททบทวน
ธรรมข้อที่ 21 การได้พบกับเหตุการณ์ที่ไม่ถูกใจเรา ไม่ได้ดั่งใจเรา เป็นสุดแห่งเครื่องมืออัน
ล้ำค่าที่ทำให้ได้ฝึกล้างกิเลส คือ ความหลงชิงชังรังเกียจ หลงยึดมั่นถือมั่นในใจเรา และทำ
ให้ได้ล้างวิบากร้ายของเรา เพื่อน้อมนำมาล้างกิเลส ที่อยากได้ในสิ่ง ในส่วนที่ไม่ได้เป็น
ของเราหรือ สิ่งที่คนอื่นๆยังไม่ได้ให้เรา
สาระธรรม ได้ฝึกล้างกิเลส ล้างความไม่ชอบไม่ชัง ล้างความหลงยึดมั่นถือมั่นในใจ
ล้างอัตตา ล้างตัวตน ฝึกยินดี พอใจ ทั้งสิ่งที่ได้และไม่ได้รับ ตรวจวัด ตรวจสอบระดับ
ฉันทะ ๘ ระดับ
6 พฤษภาคม 2564
ชื่อ นางสาวิตรี มโนวรณ์
ผู้บำเพ็ญคบคุ้นสวนป่านาบุญ 2
เรื่อง พลาด เพื่อไม่พลาด
เมิ่อคืนกลับจากที่ทำงาน ถึงบ้าน 2 ทุ่มกว่า ทำภารกิจส่วนตัวเสร็จ มาเช็คโทรศัพท์ตอน 3 ทุ่มกว่า เห็นข้อความ “การโทรกลุ่มไลน์สิ้นสุดลงแล้ว” ใจฝ่อทันที พลาดอีกแล้วเรา ไม่น่าเลย
ทุกข์ เสียดาย ไม่ได้เข้าร่วมโทรกลุ่มไลน์กับหมู่มิตรดี
สมุทัย ชอบ ถ้าได้เข้าร่วมโทร กลุ่มไลน์กับหมู่มิตรดี ชัง ไม่ได้เข้าร่วมโทรกลุ่มไลน์กับหมู่มิตรดี
นิโรธ จะได้เข้าร่วม หรือไม่ได้เข้าร่วมโทรกลุ่มไลน์กับหมู่มิตรดี ใจก็ไร้ทุกข์ ไม่ชอบ ไม่ชัง
มรรค มารบอกว่า พลาดอีกแล้วเรา ไม่น่าเลย เสียดาย แล้วมารก็พาไปตรวจเหตุการณ์ข้างนอกว่า ช่วงที่มีการโทรตั้งแต่กี่โมง ถึงกี่โมง เรามัวไปทำอะไรอยู่นะ จนลืมว่า สิ่งที่ต้องเข้าไปตรวจดูอันดับแรกคือใจ
เมื่อได้เห็นอาการของมาร พิจารณาว่า ที่ไม่ได้เข้าร่วมโทรกลุ่มไลน์นั้น มันไม่ได้พลาดหรอก แต่มันพลาดตรงที่ทุกข์ใจเพราะเสียดาย และตีตัวเองนี่แหละ จะมีประโยชน์อะไร ถ้าได้เข้าร่วมโทรกลุ่มไลน์ทุกครั้ง แต่ไม่นำปัญญา
ที่ได้รับจากคุรุและหมู่มิตรดี มาใช้แก้ทุกข์ในสถานการณ์จริง
(ใช้บททบทวนธรรมข้อที่ 93 ในโลกนี้…ไม่มีอะไรสำคัญเท่า “การดับทุกข์ใจ…ให้ได้” )
พิจารณาอย่างนี้แล้ว ใจที่เสียดายก็สลายไป ได้ใจที่ปลอดโปร่ง โล่ง สบาย แทน
เรื่องอยากพูดแทรก
เนื้อเรื่อง
ได้เข้าห้องไลน์และได้ร่วมกิจกรรมฟังสภาวธรรมของหมู่ ทำให้อยากเสริมหรือเพิ่มเติมเต็ม แสดงสิ่งที่ตนเองปฏิบัติมาพออยากพูดมากๆ เก็บข้อมูล เยอะต้องระบายพิษออก แต่จิตคิดหนักว่าจะพูดคำไหนดี ก็กลัวกังวลหวั่นไหวว่าจะพูดตอนไหนดีมือก็กดไปที่รูปไม โครโฟน แล้วขออนุญาตหมู่พูดตั้งหลายครั้ง แต่หมู่ก็ไม่ได้ยิน
พอคิดแบบใจไร้ทุกข์ว่าจะได้พูดก็ได้เป็นการทำบุญคือทำดีถูกด่าให้ได้พอคิดแบบพุทธะ โอกาสก็เปิดช่องให้ได้พูดพอดี เพราะเราปล่อยวางได้(ไม่เอาแต่ใจ)
ทุกข์ อยากพูดแทรกหมู่ ในห้องไลน์
สมุทัย
ชอบถ้าได้พูดแทรกหมู่ในห้องไลน์
ชังถ้าไม่ได้พูดแทรกหมู่ในห้องไลน์
นิโรธ
ไม่ชอบไม่ชังหมู่จะอนุญาตให้พูดหรือไม่ให้พูดก็ได้ใจไร้ทุกข์ไร้กังวล
มรรค
เหตุการณ์หมู่กำลังสนทนาสภาวะธรรมอยู่ก็อยากจะเพิ่มเติมในสิ่งที่เราคิดว่าดี ที่เรารู้มาฝึกมาได้บ้างเพื่อหมู่จะได้รู้ว่าเราทำอยู่ถูกต้องหมู่จะได้วิจารณ์ได้ถูก
มาร มันก็มาบอกว่าพูดไปแล้วกลัวกังวลจะผิดศีล
ร่างกายหัวใจเต้นแรง
มาร
อยากจะพูดเร็วๆทำไมหมู่ไม่อนุญาตให้เราพูดสักที
เรา
ถ้าเราได้พูดเราก็จะพูดเพื่อล้างกิเลสคือการทำบุญพูดไปแล้วถูกด่ากลับมาก็ได้ถูกเข้าใจผิดก็ได้ถูกชมก็ได้เพราะเรามายอมหมู่มาเอากิเลสออกเตรียมใจรอ
มาร
กลัวคำพูดเราพูดออกไปแล้วเขาจะรับไม่ได้กังวลระแวงหวั่นไหวไปหมดเวลาจะพูด คำพูดเราแรงไปไปเสียบไปจิ้มไปแทงกิเลสคนอื่นหรือเปล่า
เรา
ก็เรามาฝึกกับหมู่มิตรดีถ้าเราไม่ฝึกขออนุญาตก่อนพูดเวลาจะพูดก็พูดให้น้อยลง หรือให้หมู่ตอบโต้สอบถามมาได้ว่าที่พูดหมายถึงอะไรเพื่อเคลียร์ใจว่าเราปรารถนาดีตามภูมิ ตรงกับทบทวนธรรมข้อ 4 ต้องกล้าในการทำสิ่งดีละอายและเกรงกลัวในการทำสิ่งชั่วชีวิตจึงจะพ้นทุกข์ได้
พอคิดแบบพุทธะทำให้เข้าใจว่าถ้าเราจะพูดก็ยินดีเต็มใจที่จะถูกวิจารณ์ได้พูดอย่างอ่อนน้อมถ่อมตน
พอพิจารณาแบบนี้ทำให้อาการที่หัวใจเต้นแรงกลัวกังวลลดลงถ้าหมู่จะไม่ให้พูดเราก็ยินดีเต็มใจที่จะฟังหมู่ หรือเตรียมตัวเตรียมใจว่าเราถูกวิจารณ์ได้ไหมถูกขัดใจได้ไหม แล้วเราก็ไม่ได้เอาแต่ใจ การคบและเคารพหมู่มิตรดีก็ดีแบบนี้แหละครับ
เรื่อง เกรงใจพี่น้อง
ความเจ็บป่วยเกิดจากมีตัวไรอ่อนมากัดที่คอจึงทำให้เป็นไข้ป่าอย่างฉับพลัน (ข้อมูลนี้ได้จากโรงพยาบาลเชียงใหม่ในระหว่างที่ย้ายเข้ารักษาพยาบาลนานถึง1สัปดาห์ เหตุการณ์ต่อไปจะขอเล่าต่อจากข้อมูลที่ได้ใหม่ จากพี่น้องจิตอาสาที่กรุณาเล่าให้ฟังแม้เพียงบางส่วนก็เป็นประโยชน์มาก กว่า3สัปดาห์ที่นอนป่วยเป็นไข้ป่าหนัก ไข้หนักร่างกายทรุดลงอย่างเร็ว ไม่มีแรง ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ แม้แต่ใครทำอะไรให้ก็ไม่รู้สึก ไม่ทุกข์ไม่สุขอะไร เหมือนว่าตัวเองนอนหลับอยู่แต่ขณะหลับก็หลับไม่สนิท เหมือนว่าหลับๆตื่นๆ มี2ช่วงที่จำได้ว่าอาจารย์ท่านมาให้ธรรมะถึง2ครั้งพอจะจำได้ว่ามีความอิ่มใจเมื่อได้ยินเสียงของอาจารย์ท่านให้ธรรมะ แต่น่าเสียดายสมองไม่ได้บันทึกความจำเลย ที่จำได้และมีพลังก็คือ คำว่า (วันหน้าไม่รู้ วันนี้สู้ไม่ถอย)ได้ยินแล้วมีพลังจริงๆ ส่วน ที่นอนเจ็บป่วยช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ พี่น้องต้องมาคอยดูแลช่วยเหลือป้อนข้าวป้อนน้ำ คิดแล้วรู้สึกไม่ดีเลยที่ตัวเองเป็นเช่นนี้ ทำให้พี่น้องหลายๆคนต้องมาลำบากเพราะเรา ต้องมาเดือดร้อนเพราะเรา ต้องมาเสียเวลาเพราะเรา ตั้งกว่า3สัปดาห์คิดดูแล้วไม่ง่ายเลย ที่จะมีใครมาคอยดูแลช่วยเหลือตลอดเวลาแต่คิดมุมกลับกัน ก็คงเป็นกุศลร่วมกันที่ต้องมาช่วยเหลือเกื้อกูลกัน อย่างไรก็ตามก็เป็นการทำทุกข์ให้พี่น้องอยู่ดี ในความรู้สึกลึกๆ
ทุกข์ : ทุกข์ที่ใจ ไม่เบิกบานที่มีพี่น้องหลายท่านต้องมาเดือดร้อนเพราะเรา มาลำบากเพราะเรา มาเสียเวลาเพราะเรา
เราก็ไม่ชอบใจ แต่ถ้าพี่น้องไม่มาเดือดร้อนเพราะเรา ไม่มาลำบากเพราะเรา ไม่มาเสียเวลาเพราะเรา เราก็จะชอบใจ
สมุทัย เหตุแห่งทุกข์ : อยากพึ่งตัวเองได้ อยากให้พี่น้องไม่ต้องมาเดือดร้อนเพราะเรา ไม่ต้องมาลำบากเพราะเรา แต่ส่วนประกอบต่างๆเราช่วยเหลือตัวเองไม่ได้เมื่อเป็นเช่นนั้นเราก็ต้องอุเบกขา ยินดีเข้าใจในกุศลร่วมกันได้อาศัย
นิโรธสภาพความดับทุกข์ : อุเบกขา ยินดีในความไม่ชอบ ไม่ชัง ไม่สุข ไม่ทุกข์ อะไรแล้ว ด้วยความยินดีในกุศลร่วมกันที่เกี่ยวข้องกันที่ต้องอาศัย
มรรค หนทางเดินสู่ความพ้นทุกข์ : ไม่อยากได้อะไร ยินดีที่จะไม่อยากได้อะไร เป็นอุเบกขาไปหมดแล้ว ไม่ว่าอะไรจะเกิดจะด้านดีก็ตาม ด้านไม่ดีก็ตามเอาประโยชน์ให้ได้ ไม่ว่าจะเกิดอะไรเอาประโยชน์ให้ได้นี้คือหนทางสู่ความพ้นทุกข์
เรื่อง : เก็บตะกร้า เก็บกิเลส
เหตุการณ์ : เราปั่นจักรยานไปบ้านแม่ เดินเข้าไปบริเวณครัว มองเห็นตะกร้ามะม่วงหล่นอยู่พื้น กิเลสมันก็สงสัยว่าทำไมไม่มีใครเก็บตะกร้าไว้ที่เดิม
ทุกข์ : ขุ่นใจที่ไม่มีใครเก็บตะกร้าไว้ที่เดิม
สมุทัย : ชอบถ้ามีใครเก็บตะกร้าไว้ที่เดิม ชังถ้าไม่มีใครเก็บตะกร้าไว้ที่เดิม
นิโรธ : จะมีใครเก็บตะกร้าไว้ที่เดิมหรือไม่มี ก็สบายใจได้
มรรค : เมื่อตามองเห็นตะกร้าที่หล่นอยู่พื้น ใจขุ่น เสียพลังงานเพ่งมาที่หน้าผาก คิ้วมาชนกันนิดๆ มาตรวจใจกันค่ะ
มาร : ใครกัน ทำตะกร้าหล่น ทำไมไม่ยอมเก็บ
เรา : ถามหาคนทำตะกร้าหล่นทำไม ได้ประโยชน์อะไรไหม
มาร : ทำแล้วต้องรู้จักเก็บสิ ไม่รู้จักรับผิดชอบเลย จะรอให้เรามาเก็บให้อย่างนั้นรึ
เรา : ใช่แล้วมาร ดูสิจะไปถามหาคนที่ทำตะกร้าหล่นให้เปลืองพลังงานทำไม ง่ายๆ เลย แค่เดินไปเก็บขึ้น แค่นี้จบ ไม่ต้องเปลืองพลังงาน ไม่ต้องเสียเวลามาถามหาว่าใครทำ เราทำมาแน่ๆ ที่ต้องรับ ต้องเจอ ก็รับซะสิง่ายกว่าไหม
มาร : จริงด้วย
สรุป พอคุยกับมารเข้าใจ ใจสบาย ได้พลังงานกลับมา คิ้วก็ไม่ชนกันแล้ว เราก็เดินไปเก็บตะกร้ามะม่วงขึ้นไว้ที่เดิม เหตุการณ์นี้ก็ได้นึกทบทวนตัวเองแต่ก่อนจะหาว่าใครทำ แล้วเราก็ทุกข์เอง แต่ครั้งนี้รู้แล้วไม่ต้องถามหา เราทำมาเอง ตรงกับ บทธ ข้อ 8 สิ่งที่เราได้รับ คือ สิ่งที่เราทำมา ไม่มีสิ่งใดที่เราได้รับ โดยที่เราไม่เคยทำมา สาธุค่ะ
เรื่อง โชคดีที่ไม่ช่วย
เหตุการณ์ ช่วงนี้ที่บ้านจะอยู่ด้วยกัน 3คน มีลูกชาย พ่อบ้าน ซึ่งยังไม่ได้กินอาหารแบบพวธ.หลังฟังธรรมะ กิจกรรมอื่นเสร็จก็เข้าครัวทำกับข้าว ต้องทำ 2ชุด ของเราง่ายแค่ ผักสด กับผักลวก รอเที่ยงก็ปั่นกินได้ แต่อีกชุดต้องใช้เวลา ถึงเวลากินข้าวลูกก็เตรียมอาหารไปวางบนโต๊ะ เตรียมกิน เราเตรียมผัดผักบุ้งให้ รู้สึกหงุดหงิดผักเครื่องเคียงยังไม่ได้เตรียม ทำไมลูกไม่คิดจะช่วยแม่เลย
ทุกข์ ขุ่นใจลูกไม่ช่วยในครัวบ้าง รอกินอย่างเดียว
สมุทัย ชอบถ้าลูกช่วยงานในครัวบ้าง ชังถ้าลูกไม่ช่วยงานครัว
นิโรธ ลูกจะช่วยงานครัวหรือไม่ช่วยงานครัวก็ไม่ทุกข์ใจ
มรรค ตั้งศีลมาปฎิบัติให้เห็นถึงความจริงตามความเป็นจริง เห็นความวิปลาส ความไม่เที่ยง ความไม่มีอยู่จริงกับสิ่งที่เราไปหลงไปยึดไว้ตามความคิดว่า ลูกว่างต้องมาช่วยเราบ้างสิ มาดูลีลามารกันค่ะ
มาร :ทำอะไรบ้างเนี่ย ตั้งแต่ตื่นมา ไม่ช่วยอะไรบ้างเลย ถึงเวลาไม่รู้ละ หิวจะกินแล้ว แย่จังเลย
เรา : เฮ้ย! มารใจเริ่มขุ่นแล้ว ไม่ใช่พุทธะแล้ว ผิดทางแล้ว นั่นมันใคร นั่นมันตัวเราชัดๆ เงาเราชัดๆ ลีลานี้เราทำมาก่อน ไม่ใช่ลูกแต่ก่อนก็ไม่เคยช่วยเหลือแม่ รอกินอย่างเดียวเหมือนกันเลย ก็ลูกมีงานต้องทำก็เขาทำถูกแล้ว
มาร :รู้ว่ามีงาน ก็ช่วยกันบ้างได้ไหม เตรียมผักก็ไม่เห็นจะยาก
เรา :ใช่มันไม่ยาก คราวหลังก็บอกลูกสิว่าจะให้ช่วยทำอะไร อย่าไปทายใจ
ท่านอาจารย์ก็สอนอยู่ไม่ใช่หรือว่า คนที่ทำให้เราทุกข์ใจได้ คือคนที่มีบุญคุณที่สุดในโลก ทำให้เราได้เห็นทุกข์ ได้ล้างทุกข์ ให้เราพ้นทุกข์ ได้ใช้วิบากด้วย ทำให้เราเกิดปัญญาสูงที่สุดในโลก”คนนี้เท่านั้น” ให้เห็นคุณค่าที่เขาทำให้เราทุกข์ใจได้ เขามีคุณค่าสูงที่สุดในโลก จำไว้ในกระดองใจ ได้เห็นอริยสัจสี่นี่แหละมีค่ามากที่สุดในโลก จากการไม่ได้ดั่งใจหมาย
มาร :ดีอย่างนั้นเลยเหรอ ต้องขอบคุณลูกนะ
เรา :ใช่สิ โชคดีแล้วที่ลูกมาช่วยแม่อีกครั้งแล้ว ขอบคุณลูกที่ช่วยกระทุ้งกิเลสตัวนี้ให้ได้ล้าง มิฉะนั้นยิ่งหนายิ่งแน่น เพราะสะสมไว้เยอะ และสำนึกผิดยอมรับผิดที่ไปเพ่งโทษลูกด้วย
ใช้บททบทวนธรรมข้อที่123 “เจอผัสสะไม่ดีได้โชค3ชั้นคือ ได้เห็นทุกข์ ได้ล้างทุกข์ และได้ใช้วิบาก ได้ใช้วิบากกรรมที่ไม่ดี ร้ายนั้นก็จะหมดไปดีก็จะออกฤทธิ์ได้มากขึ้น”
สรุป หลังพิจารณาเชื่อและชัดเรื่องวิบากกรรมอย่างแจ่มแจ้ง ชัดจริงนั่นมัน “เรา”นั่นเอง โชคดีที่ลูกช่วยด้วยการไม่ช่วย ใจก็สุข สงบ เบิกบาน..สาธุ
7 พฤษภาคม 2564
ชื่อ นางสาวิตรี มโนวรณ์
ผู้บำเพ็ญคบคุ้นสวนป่านาบุญ 2
เรื่อง รำคาญย่า
ผู้มีอายุยาวที่บ้าน (แม่ของพ่อบ้าน แต่เราเรียกท่านว่า ย่า) ตอนที่ท่านยังแข็งแรง ท่านดูแลเรื่องอาหารให้กับสมาชิกทุกคนในบ้าน ตอนนี้ท่านชรามากแล้ว จึงยุติภารกิจนี้ ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของเรา แต่ท่านก็จะนั่งอยู่บริเวณครัวตลอดวัน คอยสังเกต และพูดให้ทำอย่างนั้นอย่างนี้ ถามโน่นนี่ อันนั้นทำยัง อันนี้ทำยัง พูดสั่งการมาแบบลอย ๆ ให้เราได้ยิน จนเรารู้สึกอึดอัด เหมือนมีคนนั่งจับผิดอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะถามว่า “วันนี้ลูก ๆ ของเราจะกินอะไร ” ประโยคนี้ ถามได้แทบทุกวัน สร้างความรู้สึกหงุดหงิด รำคาญให้เรามานานแล้ว
ทุกข์ หงุดหงิด รำคาญย่า
สมุทัย ชอบ ถ้าย่าไม่พูด ไม่ถาม ไม่มานั่งจับผิดให้รำคาญใจ ชัง ย่ามาพูด มาถาม มานั่งจับผิดอยู่ได้
นิโรธ ย่าจะพูด จะถาม หรือจะทำอะไร เราก็ไม่ทุกข์ใจ ไม่ชอบ ไม่ชัง
มรรค ได้ยินย่า ถามประโยคนี้ซ้ำ ๆ แทบทุกวันว่า ลูกคนโต และลูกคนเล็กของเรามีอะไรกินล่ะวันนี้ มารตัวโต มาปรากฎทันที
มาร : โอ้โห ถามอะไรทุกวัน รำคาญจริง ๆ ไม่เห็นมั่งรึงัย เราทำกับข้าวหน้าดำหน้าแดงอยู่นี่ สงสัยเมนูวันนี้แกคงไม่ชอบอีกละสิ ถึงพูดเหมือนกับไม่มีอะไรจะกิน พอตัวเองไม่ชอบก็เลยคิดว่าคนอื่นไม่ชอบเหมือนกัน จะทำยังงัยกับแกดีนะ ปัญหานี้ (มารบ่นอย่างหงุดหงิด)
เรา : เขาถามแค่นี้ แกทำไมถึงหงุดหงิดเขาจัง ไม่คิดบ้างเหรอว่า เขาสะท้อนตัวตนของแกออกมานะ
มาร : ไม่รู้สิ นึกไม่ออกว่าเราเป็นคนแบบนั้นตอนไหน (ยังไม่รู้สึกว่าเคยทำมา และยังไม่หายหงุดหงิด)
เรา : ยังนึกไม่ออกก็กลัวบาปกรรมบ้างเถอะ เขาเป็นผู้ใหญ่ เป็นผู้มีพระคุณของครอบครัว ไปคิดไม่ดีกับเขาขนาดนั้น
มาร : รู้ ว่าเป็นผู้ใหญ่ เป็นผู้มีพระคุณ จริง ๆ ก็สงสารอยู่หรอก แต่มันน่ารำคาญมั้ยล่ะ มานั่งจับผิด สังเกตโน่นนี่อยู่ได้ กดดันเราอยู่ลึก ๆ แล้วไม่คิดมั่งรึงัยว่า คนที่แกห่วงนะ ลูกเรา เราต้องดูแลอยู่แล้ว
เรา : เอ๊ะ แล้วนี่ ตกลงใครจับผิดใคร แกก็เห็นท่านทุกอิริยาบถเลยเหมือนกันนะ
มาร : (นิ่งเงียบ ไม่ตอบ)
เรา : แต่ว่า แกคุ้น ๆ มั้ยมาร ลีลานี้ ชอบห่วงชอบกังวล ในเรื่องหรือเหตุการณ์ ว่าเดี๋ยวมันจะเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ แล้วก็คอยบอกคอยชี้ให้คนอื่นเตรียมการณ์ไว้ ทั้ง ๆ ที่ไม่ใช่เรื่อง ไม่ใช่หน้าที่ของตัวเอง พูดจนหลายครั้งถูกเบรค ถึงจะรู้สึกตัว แล้วก็หลงภูมิใจว่าตัวเองรอบคอบ แถมไปเหนี่ยวนำให้คนใกล้ชิดพลอยทำนิสัยแบบนี้ไปด้วย แกคุ้นขึ้นบ้างมั้ยมาร
มาร : (ได้ฟังอย่างนี้แล้วก็นิ่งเงียบใช้ความคิดอยู่พักนึง แล้วก็ตอบเสียงอ่อย ๆ ว่า) เออจริงแฮะ ถ้าแบบนี้เราชอบทำ หลงคิดว่าตัวเองดี ที่แท้เป็นการกดดันคนอื่นจนเขาอึดอัดเหมือนกัน ไม่น่าเชื่อเลยนะว่า สิ่งที่เราได้รับอยู่ตอนนี้ คือภาพสะท้อนสิ่งที่เราทำเอาไว้ เพิ่งรู้ชัดวันนี้เองว่าเราเป็นคนแบบนี้ด้วย ย่าคือเรา เราคือย่า ขอสำนึกผิด ยอมรับผิดต่อย่า ที่ไปเพ่งโทษ คิดไม่ดีกับท่าน (ตรงกับบททบทวนธรรมข้อที่ 8 สิ่งที่เราได้รับคือสิ่งที่เราทำมา ไม่มีสิ่งใดที่เราได้รับโดยที่เราไม่เคยทำมา และ บททบทวนธรรมข้อที่ 12 วิบากกรรมมีจริง ทำอะไรได้ผลอะไร ก็เกิดจากการกระทำของเราเองทั้งหมด เจอเรื่องดี…เพราะทำดีมา เจอเรื่องไม่ดี …เพราะทำไม่ดีมา ทั้งในปัจจุบันและอดีต สังเคราะห์กันอย่างละ 1ส่วน และบททบทวนธรรมข้อที่ 22 ถ้าใครมีปัญหา หรือความเจ็บป่วยในชีวิต ให้ทำความดี 4 อย่างนี้ ด้วยความยินดี จริงใจ จะช่วยให้ปัญหา หรือความเจ็บป่วย ลดลงได้เร็ว
1 ) สำนึกผิดหรือยอมรับผิด
2) ขอรับโทษ เต็มใจรับโทษหรือขออโหสิกรรม
3) ตั้งจิตหยุดสิ่งที่ไม่ดีอันนั้น
4) ตั้งจิตทำความดีให้มาก ๆ คือ ลดกิเลสให้มาก ๆ เกื้อกูลผองชนและหมู่สัตว์ให้มาก ๆ)
ได้พิจารณาอย่างนี้ อาการหงุดหงิด รำคาญ ย่าก็หายไป แต่รู้สึกขอบคุณย่าจริง ๆ ที่เสียสละมาเป็นผัสสะให้เราได้เห็นตัวตนของเรา จะได้ล้างกิเลสตัวนี้ออกไป จนกว่ามันจะสิ้นเกลี้ยง
วิภาภรณ์ กอจรัญจิตต์ (เอ ใจพอแล้ว)
เรื่อง อย่ามัดใจให้ทุกข์
เหตุการณ์คือเพื่อนต้องการให้เราช่วยงาน ส่วนมากเค้ามักจะพูดว่าฝากเราทำเรื่องนี้ด้วยเลยนะ ซึ่งเหตุการณ์นี้ไม่ได้เกิดขึ้นครั้งแรกกับเพื่อนคนนี้ แต่เกิดขึ้นหลายครั้งแล้ว ในบางครั้งถ้าเราสะดวก เราก็ช่วยเต็มที่ แต่ถ้าครั้งไหนเราไม่สะดวก เราก็บอกเค้าว่าเราไม่สะดวก แต่พอเราปฏิเสธ เค้าก็จะพยายามพูดยกข้อดีโน่นนี่นั่นมาบอกเรา เพื่อให้เราช่วยงานนั้นให้ได้ และล่าสุดเหตุการณ์แบบเดิมก็วนกลับมาอีก ครั้งนี้เราไม่สะดวกที่จะทำ เราก็ได้บอกเค้าไปแล้ว และเค้าก็ทำพฤติกรรมเหมือนเดิม
ทุกข์ หงุดหงิด ไม่พอใจที่เพื่อนจะให้เราช่วยงานเค้าทั้งๆ ที่เราไม่สะดวก
สมุทัย ยึดมั่นถือมั่นว่าถ้าเค้าเข้าใจว่าเราไม่สะดวกจะสุขใจ ถ้าเค้าไม่เข้าใจว่าเราไม่สะดวกจะทุกข์ใจ
นิโรธ เค้าจะเข้าใจเราก็ไม่ต้องชอบใจ เค้าจะไม่เข้าใจเราก็ไม่ต้องชัง
มรรค ในวันนั้นพอเราปฏิเสธเค้าไปว่าเราไม่สะดวก และเค้าก็เริ่มพูดหว่านล้อมเหมือนเดิม ตอนนั้นเราก็คิดขึ้นมาได้เลยว่าท่าทางคำพูดของเพื่อนคนนั้นทำให้เรานึกย้อนไปถึงอากัปกริยาของเราที่เคยพูดแกมบังคับให้ลูกน้องให้ทำงานอย่างที่เราต้องการ เพื่อนเค้ายิ่งพูดมากขึ้น เราก็เห็นตัวเองในอดีตชัดเลยว่า นั่นเราเลย เราเคยทำแบบเดียวกันเลย สมัยก่อนเราก็ทำอะไรน่าเกลียดมาแบบนี้เลย อยากได้ดั่งใจตัวเองขนาดหาเหตุผลมาหว่านล้อมกดดันคนอื่นขนาดนี้เลย พอคิดได้ถึงตรงนั้นเราก็ตอบตัวเองได้ว่า เพื่อนคนนี้ดีนะ มาให้เราเห็นตัวเองชัดขนาดนี้ มาให้เราเห็นทุกข์ มาให้เราได้ล้างทุกข์ และมาให้เราได้ชดใช้
ยิ่งกว่านี้ เราต้องขอบใจเพื่อนคนนี้นะ เพราะถ้าเค้าฟังเรา เข้าใจเราว่าเราไม่สะดวก แล้วไม่พูดหว่านล้อมให้เรารู้สึกกดดัน เราก็จะไม่เห็นกิเลสตัวอยากได้ดั่งใจ อยากให้คนอื่นมาเข้าใจเรา ทั้งๆ ที่เราก็ยังมองไม่เห็นกิเลสตัวเอง และสิ่งที่เราเห็นว่ามันสำคัญที่สุดจากเหตุการณ์นี้ คือ การเรียนรู้ที่จะไม่กดดันคนอื่นและไม่กดดันตัวเอง ไม่กดดันคนอื่นตามความยึดมั่นถือมั่นอยากได้ดั่งใจของเรา ไม่กดดันตัวเองว่าต้องทำตามที่เพื่อนอยากได้โดยไม่ประมาณกำลังตัวเอง เพราะถ้าเราทำแบบนั้น ก็เท่ากับเราก็สร้างทุกข์ใจให้ตัวเองเช่นกัน
สรุป จากเหตุการณ์นี้แม้จะเกิดมาหลายครั้ง แล้วเราก็หงุดหงิดใจทุกครั้ง สาเหตุมาจากเราล้างทุกข์ใจผิดวิธี มองไม่เห็นกิเลสที่แท้จริง ไม่มองความอยากของเราว่าอยากให้เพื่อนเข้าใจ มองเห็นแต่ความอยากได้อย่างใจของเพื่อน ดั้งนั้นที่ผ่านมาเราใช้วิธีกดข่มให้มันผ่านๆ ไป ทำให้ทุกข์ไม่เคยสลายไปจริง แต่เมื่อได้เรียนรู้จากครูบาอาจารย์และพี่น้อง แม้เหตุการณที่เกิดขึ้นในครั้งนี้จะเหมือนเดิม แต่ทุกข์ใจเราลดลงอย่างมาก เพราะเราไม่เอาใจไปมัดกับทุกข์อีกแล้ว
เรื่อง : แม่อย่าเร่งหนูได้ไหม
เหตุการณ์ : มาถึงหน้าฝนตัวเองก็มีแผนจะปลูกพืชเพิ่มอีกหลายชนิด หนึ่งในนั้นก็มีถั่วลิสงด้วย แต่เราไม่มีแนวพันธุ์ถั่วลิสง ก็เลยไปถามแม่
เรา : แม่…แนวพันธุ์ถั่วลิสงยังเหลืออยู่ไหม หนูอยากได้ไปปลูก
แม่ : ยังมีอยู่ จะปลูกก็เอาไปปลูกได้
เรา : ขอบคุณค่ะแม่ เดี๋ยววันหยุดนี้หนูจะทำแปลงปลูกจ๊ะ
แม่ : จะรอให้ถึงวันหยุดทำไม เอาไปปลูกวันนี้เลย จะได้งอกเร็วๆ
เรา : ช่วงนี้งานที่โรงเรียนหนักค่ะแม่ หนูยังไม่สะดวกที่จะปลูก
แม่ : จะปลูกอะไรก็รีบๆ ปลูกสิ มีฝนแล้ว
เรา : พอฟังแม่พูดถึงตรงนี้กิเลสก็ขึ้นเลย อยากสวนกลับไปที่แม่ แต่ก็พยายามกดข่มไว้ “อย่าพูดๆ”
ทุกข์ : รู้สึกหงุดหงิดอยู่ข้างใน หัวใจเต้นเร็ว แม่จะให้เรารีบไปถึงไหนวะ
สมุทัย : ชอบถ้าได้ปลูกพืชตามเวลาที่เราจัดสรรได้พอเหมาะ ชังที่แม่มาเร่งให้เราต้องรีบปลูกพืช ขณะที่เรายังติดภารกิจอย่างอื่น
นิโรธ : เราจะได้ปลูกพืชตอนไหนก็ได้ แม่เร่งให้ปลูกตอนไหนก็สบายๆ ไม่ยึดมั่นถือมั่น เอาตามเหตุปัจจัยที่เราสามารถทำได้จริง แบบไม่ชอบไม่ชัง
มรรค : หันมาตรวจใจดู แม่พูดแค่นี้มารก็ทำให้เราทุกข์ใจ
มาร : อะไรของแม่วะ พอรู้ว่าเราจะทำอะไร ก็มาเร่งให้เราทำเร็วๆ อย่างที่ท่านต้องการ ถ้าเราไม่ทำตามก็มักจะบ่นแล้วบ่นอีก หลายรอบ แม่จะให้เรารีบไปถึงไหนวะ ร่างกายของคนเราก็มีแรงแค่นี้ ก็ทำตามเหตุปัจจัยที่เป็นไปได้จริง เพราะเราไม่ใช่เครื่องจักรกล
เรา : แหม่!!! ไอ้มาร(ลูกอกตัญญู)ความผิดของคนอื่นเห็นชัด(ใหญ่เท่าภูเขา)ที่ตัวเองบ่นแม่ไปเมื่อกี้ เกือบมองไม่เห็นเลย(เห็นเท่าเมล็ดงา)ถ้าแกตาดีกว่านี้ แก…จะเห็นว่าแม่ คือ ผู้เสียสละที่ยิ่งใหญ่ที่สุด นอกจากให้กำเนิดเราแล้ว แม่ยังยอมเอาร่างของท่าน มาเป็นผัสสะในการขัดเกลากิเลสเรามาตลอด ช่วยให้ลูกเจริญขึ้น มาร…ไม่สงสารแม่บ้างรึ ที่ท่านเป็นผัสสะให้เราแล้ว ท่านก็ต้องไปรับวิบากนั้นเอง ต้องขอบพระคุณแม่ที่เอาภาระเราอย่างยิ่ง พยายามพัฒนาจิตวิญญาณเรา ให้ได้เลื่อนฐานทีละนิด ทีละนิด สิ่งที่แม่พูดวันนี้ถ้าฟังด้วยหูพุทธะ มันจะไม่มีอะไรผิด ไม่มีอะไรน่าเจ็บปวดเลย เป็นประโยชน์ทั้งนั้น คำพูดของท่านแสดงถึงความหวังดีทุกคำเลย ตรงกับ บทธ ข้อ 140 ใครเขาจะยึดหรือไม่ยึดไม่สำคัญ ใครเขาจะคิดกับเราอย่างไรไม่สำคัญ สิ่งที่สำคัญคือเราต้องไม่ยึดมั่นถือมั่น จิตเราต้องสูงก่อน จึงจะดึงจิตคนอื่นสูงขึ้นได้
สรุป เรื่องนี้ใช้เวลาในการพิจารณา 1 วัน 1 คืน จนมารกลายเป็นพุทธะ(ลูกกตัญญู)ใจก็โปร่งโล่งเลย ความหงุดหงิดก็สงบลง สาธุค่ะ
เรื่อง : ปล่อยอึ่งอ่าง ปล่อยกิเลส
เหตุการณ์ : ช่วงนี้ฝนตกคนในหมู่บ้านก็พากันไปไต้อึ่งอ่างมาขาย พ่อไปซื้ออึ่งอ่างมา 2 กิโลกรัม จำนวน 400 บาท แล้วนำมาปล่อยที่บริเวณป่าที่ปลูกไว้ พ่อเอาเงินไปซื้อโดยที่เรากับแม่ไม่รู้เรื่องเลย เรากับแม่รู้เรื่องจากแม่ค้าที่ขายอึ่งอ่างให้พ่อ เพราะแม่ค้าถามว่า “แซ่บบ่…ต้มอึ่ง” แม่ก็เลยถามต่อ จนรู้เรื่องว่าพ่อซื้ออึ่งอ่างมาปล่อย
ทุกข์ : ขุ่นใจที่พ่อเอาเงินไปซื้ออึ่งอ่าง
สมุทัย : ชอบถ้าพ่อไม่เอาเงินไปซื้ออึ่งอ่าง ชังที่พ่อเอาเงินไปซื้ออึ่งอ่าง
นิโรธ : พ่อจะเอาเงินไปซื้ออึ่งอ่าง หรือไม่ซื้อ ก็สบายใจได้
มรรค : เมื่อคิดแบบมารก็ขุ่นใจ สงสัยพ่ออยู่นั่นแหละ หัวตื้อๆ งง ไม่เข้าใจสิ่งที่พ่อทำ จนต้องหันกลับมาตรวจใจตัวเองค่ะ
มาร : งงจังเลย พ่อจะซื้ออึ่งอ่างไปปล่อยทำไมเนี่ย
เรา : จะงงให้เปลืองพลังงานทำไม ใช่เรื่องของเราไหม
มาร : ซื้อไปปล่อย คนก็เข้าไปไต้อึ่งอ่างอีกเหมือนเดิม เปลืองเงินเปล่าๆ
เรา : เอาแล้วมาร ไปเพ่งพ่อแล้วนะ เงินก็เงินพ่อ พ่อจะซื้ออะไรก็เรื่องของพ่อสิ ไปยุ่งอะไรด้วยเนี่ย
มาร : แต่ว่า…น่าจะเอาไปซื้ออะไรที่เป็นประโยชน์กว่านี้เนาะ
เรา : เธอไม่เคยเอาเงินไปซื้ออะไรที่ไม่เป็นประโยชน์อย่างนั้นรึ
มาร : ฮ่าๆๆ เคยสิ ทำไมจะไม่เคยล่ะ ยิ่งหมดเยอะกว่าพ่อซื้ออึ่งอ่างอีก ตอนซื้อก็ไม่ได้บอกใครๆ เลย อยากซื้อก็ซื้อเลย ก็เข้าใจว่าเงินเราจะใช้จ่ายอย่างไรก็ได้
เรา : นั่นไงเห็นไหม ทีตัวเองยังซื้อได้เลย จะใจดำไปถึงไหนที่ จะไม่ให้พ่อซื้ออะไรตามที่ท่านอยากซื้อ ให้อิสระกันบ้างสิ
มาร : เข้าใจแล้ว
สรุป ใจสบายไม่ขุ่นแล้ว คุยกับมารเข้าใจ ก็เข้าใจพ่อไปด้วย หายหัวตื้อ หายงงแล้ว พ่อบอกว่าที่ซื้ออึ่งอ่างมาปล่อย เพราะอยากสร้างระบบนิเวศที่หลากหลาย ตรงกับ บทธ ข้อ 9 ถ้าเรายังไม่เข้าใจคนอื่น แสดงว่า เรายังไม่เข้าใจตนเอง สาธุค่ะ
เรื่อง : เตาเผาถ่าน เผากิเลส
เหตุการณ์ : เราตั้งใจไว้ว่าถ้ามีเวลา มีโอกาสเหมาะ อุปกรณ์พร้อม จะลองทำเตาเผาถ่านไว้ใช้ ประจวบเหมาะกับน้องปิดเทอม น้องได้พูดคุยกับแม่ว่าอยากมีรายได้พิเศษ แม่เลยแนะนำให้น้องเผาถ่าน น้องก็เลยมาชวนเราทำ
ทุกข์ : ไม่มั่นใจว่าจะทำเตาเผาถ่านได้สำเร็จ
สมุทัย : ชอบถ้าทำเตาเผาถ่านได้สำเร็จ ชังถ้าทำเตาเผาถ่านไม่สำเร็จ
นิโรธ : เตาเผาถ่านจะสำเร็จหรือไม่สำเร็จ ก็สบายใจได้
มรรค : พอคิดแบบมาร ไม่มั่นใจ ทำให้เสียพลังคิดไปคิดมา แล้วก็ไม่ได้คำตอบอะไร ไม่มีอะไรดีขึ้น มีแต่อาการกั๊กๆ กั๊กทั้งใจกั๊กทั้งกาย เลยต้องมาตรวจใจดูก่อนล่ะกัน
มาร : เอ…เราจะทำเตาเผาถ่านได้สำเร็จจริงรึ เกินตัว เกินแรงไปหรือเปล่า
เรา : ลองดูไหมล่ะ น้องก็พร้อม แม่ก็พร้อมช่วยทำ อยากได้แรงก็ต้องออกแรงสิ
มาร : แต่ว่า…ถ้าทำแล้วไม่สำเร็จ เผาถ่านไม่ได้ จะไม่เสียแรง เสียเวลา เสียเงินเปล่าๆ รึ
เรา : ไม่หรอก จะเสียอะไรกัน มีแต่คุ้มเกินคุ้ม ถ้ามัวแต่คิดแล้วไม่ลงมือทำจะรู้ได้อย่างไรกัน ยิ่งคิดยิ่งเสียพลัง งงไปกันใหญ่ เวลาก็จะผ่านไปเฉยๆ
มาร : แล้วแม่กับน้องจะว่าเราไหม ถ้าทำไม่สำเร็จ
เรา : ว่าก็ว่าเลยสิ เราก็บอกแม่กับน้องแล้วว่าเราก็ทำไม่เป็นนะ ศึกษาทางยูทูปเท่าที่เข้าใจ จะขอเรียนรู้และลงมือทำไปด้วย แก้ไขไปด้วย ที่แน่ๆ เราต้องทำใจให้สำเร็จที่เอาชนะความไม่มั่นใจนี่แหละสำคัญกว่า ไอ้ตัวไม่มั่นใจ ไม่เห็นจะมีประโยชน์อะไรเลย มีแต่ทำให้เสียพลัง เสียแรง เสียเวลา มากกว่านะ
มาร : ไปลองทำดู
สรุป ใจสบาย มั่นใจ พร้อมลุย พร้อมลงมือทำอย่างเต็มใจ เต็มแรง เหตุการณ์นี้ได้ประโยชน์มากมายเลยค่ะ ตัวเราได้ใจที่สบาย มั่นใจ ทำเตาถ่านออกมาเป็นรูปเป็นร่างแล้ว รอให้เตาแห้งและทดลองเผาถ่านในวันถัดไป ส่วนน้องบอกว่าโอ้โหผมได้ใช้เวลาคุ้มค่ามากเลยวันนี้ ได้ออกกำลัง ได้ตากแดด สดชื่นกว่าเล่นโทรศัพท์ ตรงกับ บทธ ข้อ 76 ความสำเร็จของงานไม่ใช่ความสำเร็จของงาน ความสำเร็จของใจ คือ ความสำเร็จของงาน ใจที่ไร้ทุกข์ ใจที่ยินดี ใจที่ไม่ยึดมั่นถือมั่นว่า งานจะสำเร็จหรือไม่สำเร็จ เมื่อเราได้พยายามทำเต็มที่แล้ว เพราะเข้าใจเรื่องกรรมอย่างแจ่มแจ้ง สาธุค่ะ
เรื่อง ถึงเวลานัดหมาย แล้วนะ
เนื้อเรื่อง ทำงานร่วมกับหมู่มิตรดีสักพักใหญ่ ๆ ได้เห็นกิเลส ได้ล้างกิเลส ได้ใช้วิบากดีร้าย ชัดว่าไม่คบไม่เคารพมิตรดีไม่มีทางพ้นทุกข์ เรื่องมีอยู่ว่าเรานัดหมายมาพบกันชั่วโมงครึ่ง เพื่อพูดคุยงานกันทุกสัปดาห์ ๆ ละครั้ง ตามเวลานัดหมายประจำ แต่คราวนี้ เราก็มาพบกันตามเวลานัดหมาย เวลาผ่านไปเกือบครึ่งชั่วโมงยังไม่ได้เข้าประเด็นที่เกี่ยวข้อง
ทุกข์ : รู้สึกขุ่นใจขึ้น พลังตก ข่วงที่เวลานัดหมายเลยมาจะครึ่งชั่วโมงแล้ว ยังเป็นประเด็นพูดคุยต่อเนื่องจากรายการก่อนหน้า
สมุทัย : เห็นตัวยึดมั่นถือมั่นว่าถ้าได้พูดคุยในเรื่องตามเวลานัดหมายหรือไม่เลทมากจะสุขใจ แต่ถ้าไม่ตรงเวลามามากจะทุกข์ใจ ได้ยินเสียงกิเลสกำลังบงการอยู่ว่า ถึงเวลานัดหมาย แล้วนะ…
นิโรธ : ใจยินดี ใจไร้ทุกข์ ไม่ยึดมั่นถือมั่นเอาเวลานัดหมายในอดีตมาเป็นกำหนดปัจจุบัน ใจยินดี ใจไร้ทุกข์ได้ทุกสถานการณ์
มรรค : เวลาที่พร้อมในขณะปัจจุบันนั่นแหละ คือเวลานัดหมายตัวจริง ดังนั้นเวลานัดหมายจริง จะเป็นเวลาใดก็ได้ ตามกุศลอกุศล ของค่ารวมของหมู่ ณ เวลานั้น พอเห็นอาการขุ่นใจที่เกิดขึ้นในใจ ก็พยายามตั้งสติ สงบกาย วาจา ตัดการรับผัสสะเพิ่ม มาดูที่ใจตรวจอาการที่เกิดเป็นสายเหมือน ตัวสายพานที่กำลังเคลื่อนอยู่ถูกลักลอบลำเลียงเสบียงพลังออกจากคลังแสง ขณะนั้นทบทวนคุยกับกิเลส ว่าเขาจะเอาอะไร เห็นตัวยึดมั่นถือมั่น ว่าต้องเป็นไปตามเวลาที่นัดหมายไว้เลทบ้างก็นิดหน่อย เขาหาเหตุผลมาหลอกเราอยู่ มาป้อยอ ยกตัวยกตนให้เรามีตัวมีตน ว่าเราสำคัญ นั่นโน่นนี่ จึงต้องซัดกลับกิเลสทันที
โดยพิจารณาว่า เราไม่ต้องไปอยากได้อะไร กุศลอกุศลของเราและผู้ที่เกี่ยวข้อง เขาจะจัดมาสรรมาให้ตามจริง เรามีหน้าที่ทำเต็มที่ เหนื่อยเต็มที่ ไม่มีอะไรคาใจ ไม่เอาอะไร คือสุดยอดแห่งความอิ่มเอิบเบิกบานแจ่มใส และ ได้ใช้ บททบทวนธรรม ข้อ 72 ร่วมด้วย ที่ว่าไม่มีประโยชน์อะไรที่จะขุ่นใจ ทุกข์ใจ ความทุกข์ใจ ไม่ได้แก้ปัญหา มีแต่เพิ่มปัญหา สุดท้ายทุกสิ่งทุกอย่างก็ต้องดับไป จะทุกข์ใจไปทำไม เบิกบานแจ่มใสดีกว่า
ส่งผลให้ พิจารณาหักลำกิเลสได้ง่ายดายทันที กิเลสพ่ายแพ้ พลังพุทธะ ไปได้ในที่สุด จิตก็ยินดีเกิดความพอใจ และเบิกบานแจ่มใสขึ้นมาทันที เข้าสู่โหมดปกติ โปร่ง โล่ง สบาย ใจที่ผาสุก และมีพลังกลับมาเต็มเหมือนเดิม
เรื่อง : ไม่ค่อยชอบ
ชาวพุทธเราเป็นส่วนมาก ยังไม่เข้าเรื่องทำบุญ
ทำกุศล แถบที่เราอยู่เขาชอบจัดงาน มีหลายรูปแบบ เช่นอทิ งานโกฐิ คือ พี่น้องที่ชอบจัดงานคิดและเข้าใจว่า เมื่อญาติของเราที่ล่วงลับไปเป็นปี สองปี ก็เอากระดูก มาจัดงานโกฐิ
จุดประสงค์คือต้องการทำบุญอุทิศให้คนตาย
ตามความคิดของพวกเขา ประเพณีนี้จัดกันมานมนาน โดยบอกแขกพี่น้องมาในงาน ให้พี่น้องกินข้าวกินปลา แล้วนิมนต์พระมาสวดเพื่อหวังว่าจะให้พระส่งบุญให้คนตายที่ล่วงลับไป พอพระสวดเสร็จก็ใส่ซองให้พระด้วย(ชาวบ้านที่พอจะมีเงินอยู่บ้างก็ชอบจัดงาน แบบนี้กันเยอะมาก)
ชาวบ้านที่เขาบอกไปงาน ส่วนมากเขาจะไปแบบเกรงใจ ไปแบบเสียไม่ได้ ไปแล้วต้องใส่ซองให้เขา ชาวบ้านก็บ่นให้ฟัง หลายๆงานก็หลายซอง เท่าที่เห็นทำกันอย่างนี้อยู่ซ้ำซาก
ไม่รู้บางงานจะเป็น พุทธพาณิชย์ หรือเปล่า
เขาไม่รู้จัก คำว่าลดกิเลส พอเรามาเจอแพทย์วิถีธรรม เราเข้าใจได้เลยว่าทางนี้ใช่เลย เป็นทางที่ถูกต้องถูกต้อง เป็นทางที่จะสามารถลดกิเลสลงได้ตามลำดับ และเป็นทางที่จะพาเราพ้นทุกข์ได้
ทุกข์ : เวลาใครบอกไปงานแบบนั้น
สมุทัย : ชอบที่ไม่มีใครมาบอกไปงาน ชังถ้ามาบอก
นิโรธ : จะมาบอกไปก็ได้ ไม่บอกไปก็ได้ ยินดีในความไม่ชอบไม่ชัง
มรรค : กิเลส บอกว่าโอ๊ยเบื่อ ไอ้พวกนี้ไม่เข้าใจการทำบุญเสียจริง เอาเงิน ไปแลกบุญ
เรา : บอกกิเลสว่า เมื่อก่อนแกก็เคยทำมาใช่ไหม ที่แกได้ยินเรื่องแบบนี้ นั่นคือเงาของแก
เราไม่มีหน้าที่บอกใคร ให้เป็นไปตามฐานจิต
ของแต่ละคน ไม่ใช่เวลาดีที่จะพาเขาออก
งานไหนไม่มีความจำเป็นเราก็ไม่ไป งานไหนจำเป็นเกี่ยวข้องกันก็ ต้องไปตามโลกสมมุติ
บทธบทวนธรรม ๓ นับหนึ่งที่เรา เริ่มต้นที่เรา
นี่คือหนทางเพื่อการพึ่งตน
และช่วงคนให้พ้นทุกข์
บท ๘๒ จงฝึกอยู่กับ ความเป็นจริงของชีวิต
ที่พร่องอยู่เป็นนิตย์ อย่างผาสุขให้ได้
เรื่อง : ไม่พอใจในคำพูดของเพื่อน
เนื้อเรื่อง : ตอนค่ำ ๆ เราปิดเต๊นท์กำลังล้างแผลอยู่ เด็กอายุ 8 ขวบที่อยู่เต๊นท์ติดกันก็ยืนอยู่หน้าเต๊นท์เรียกยาย ๆ คุรุคนหนึ่งว่าป้าเล็ก ว่าป้าเล็กกินยานอนหลับ ป้าเล็กเป็นบ้า เรารู้สึกตกใจ ขัดใจขึันมาทันทีว่า คุรุทำไมถึงบอกกับเด็กมาแบบนั้น และเราก็คิดต่อไปอีกว่าคนกินยานอนหลับโดยการดูแลของแพทย์เป็นอย่างดีต้องเป็นคนบ้าด้วยหรือ และการที่ไม่รู้ความจริงเอามาพูดว่าคนนั้นเป็นบ้าคนนี้เป็นบ้าไม่ถูกต้อง โดยเฉพาะพูดกับเด็ก ทำให้เราชิงชังคำพูดนั้นทันที
ทุกข์ : มีอาการทุกข์ใจและชิงชังในคำพูดของคุรุท่านนั้นทันทีที่พูดกับเด็กมาแบบนั้น
สมุทัย : ชังมากในคำพูดของคุรุท่านนั้นที่พูดมากับเด็กแบบนั้น
นิโรธ : ไม่ว่าคุรุท่านนั้นจะพูดกับเด็กมาว่าเรากินยานอนหลับเป็นคนบ้าเราก็ไม่ทุกข์ใจไม่ชังในคำพูดนั้น เพราะเค้าไม่รู้ข้อเท็จจริง
มรรค : วางใจในคำพูดของคุรุท่านนั้นเพราะ ท่านไม่ได้รู้ความจริง และที่สำคัญท่านอาจารย์สอนเสมอว่าสิ่งที่เราได้รับคือสิ่งที่เราทำมา ในตอนไหน ๆ ในชาตินี้หรือชาติก่อน ๆ เราก็คงเคยไปพูดแบบนี้มา เค้าจึงส่งคุรุท่านนั้นมาเป็นผัสสะให้เราได้ชดใช้ เราจึงตั้งจิตสำนึกผิด ขอโทษและขออโหสิกรรม ในคำพูดที่เราได้พูดแบบนั้นกับคนอื่นให้ทุกข์ใจ ดังบททบทวนธรรมของ อาจารย์หมอเขียว ดร.ใจเพชร กล้าจน
ข้อที่ 103
“ทุกข์ย่อมไม่ตกถึงผู้ที่เชื่อและชัดเรื่องกรรมอย่างแจ่มแจ้ง”
และบททบทวนธรรมข้อที่ 104
“ผู้ที่เข้าใจเชื่อและชัดเรื่องกรรมอย่างแจ่มแจ้งจะเอาทุกข์มาแต่ไหน”
สรุป เมื่อพิจารณาได้ดังนี้แล้วทำให้ทุกข์ลดลง 90%
ชื่อ อัญชลี พุ่มแย้ม (เล็ก) เย็นแสงธรรม
วันที่ 8 พค 64
เรื่อง : คลิปนี้แพงมาก
เรื่อง เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2564 ผู้เขียนได้มีโอกาส เป็นผู้ดำเนินรายการ “ภาคกลาง รวมพลังสู้กิเลส” ในขณะจัดรายการผู้เขียนฟังเรื่องราวของจิตอาสาท่านหนึ่งแล้วก็นึกขำและหัวเราะพูดไปหัวเราะไปแล้วเสียงพูดก็ดังมากเนื่องจากวางโทรศัพท์ไว้ใกล้ ๆ ตัว เพราะทั้งเสียงที่ดังมากน้ำเสียง ลีลาที่ล่าซ่ามากเลย โดยในวันนั้นท่านอาจารย์หมอเขียวได้เข้ารายการมาตอบปัญหาพี่น้องด้วย และในวันที่ 22 เมษายน ผู้เขียนได้มีโอกาส ดูรายการที่จัดไว้เมื่อวาน รู้สึกอายมาก คลิปนี้แพงมากจริง ๆ เพราะมันแลกมาด้วยความน่าอายของผู้เขียนรู้สึกรับตัวเองไม่ได้ อายมาก เสียหน้า เสียความมั่นใจ
ทุกข์ : เสียใจที่ทำพฤติกรรมล่าซ่า พฤติกรรมไม่ดี มีอาการทุกข์ใจอาย เสียความมั่นใจ
สมุทัย : ชอบ ถ้าดำเนินรายการแล้วดูดี จะสุขใจ ชัง ถ้าดำเนินรายการออกมาไม่ดี จะทุกข์ใจ อุปาทาน ตัวโลกธรรม สักกายะต้องดูดี
นิโรธ : จะดำเนินรายการออกมาดี มีพฤติกรรมดีไม่ดี ก็ไม่ทุกข์ใจ
มรรค : พิจารณาถึงเหตุเกิดจากการเตรียมตัวไม่ดีและเพ่งโทษผู้อื่นเคยฟังเพื่อนรายงานอาจารย์ไปหัวเราะไปรู้สึกไม่ชอบ จิตคิดรายงานเฉยๆจะดูดีกว่า ครั้งนี้ทำให้เห็นว่าแม้นมโนกรรมก็มีผลมาก การเพ่งโทษผู้อื่นดูจากเป็น ปรมัตถ์ของผู้เขียนจะได้เพ่งโทษท่านใดเลย เหตุการณ์จะมาเกิดกับตนทันที เป็นความโชคดีในเหตุการณ์ครั้งนี้ได้ พิจารณาพฤติกรรมที่ไม่ดี ความล่าซ่ามีของเดิมเป็นพิธีกรสันทนาการ ละลายพฤติกรรม ตั้งศีล สังวรศีล สำรวมอินทรีย์ อยากปรับปรุงตัว พิจารณาเหตุการณ์นี้ ทำให้เราได้ประโยชน์ จะได้ปรับปรุงตัวเอง ระลึกได้ว่าเคยเพ่งโทษเพื่อนที่พูดไป หัวเราะไป ตั้งจะไม่เพ่งโทษผู้อื่น + ใช้อุเบกขาเบิกบาน ผาสุกให้ได้ในความบกพร่องที่ผ่านมาแล้วไม่มีประโยชน์อะไรที่จะตีตัวเอง ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นกับเรา เหมาะสมที่สุดแล้วดีที่สุดแล้ว
เรื่อง เพราะผูกพันจึงกลัวการพลัดพรากของครอบครัวทางธรรม ๖ พฤษภาคม ๒๕๖๔
หลังจากได้ล้างความกลัวการพลัดพรากจากความตายของครอบครัวทางโลกมาได้ระดับหนึ่ง เมื่อมาอยู่ในทางธรรม ทั้งๆ ที่สังวรอยู่ตลอดว่าการปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนสหธรรมิกนั้นควรเป็นไปเพียงเพื่อสัมพันธ์แต่ไม่ผูกพัน แต่แล้วเราก็ไปยินดีกับการได้ร่วมสนทนาธรรมขัดเกลากิเลสกับหมู่มิตรดีอยู่ เพราะเราสามารถช่วยกันหาแง่มุมต่างๆ ในกิเลสตัวละเอียดได้ถึงเหตุอย่างชัดแจ้ง จึงเกิดความรู้สึกอบอุ่น มั่นใจ เกิดความศรัทธาในหมู่กลุ่ม เมื่อเราเสพความได้ดังใจจนเรารู้สึกว่าถ้าวันใดพี่น้องท่านใดต้องตายจากเราไปเราจะทุกข์หรือไม่ จึงได้รับคำตอบจากการเตือนของมาตาลีเทพสารถีให้เราเกิดความรู้สึกหมองเมื่อผุดสภาวะการพลัดพรากจากหมู่มิตรดีถึง ๓ ครั้ง นี่คงถึงเวลาที่เราต้องถอนความผูกพัน/ล้างกิเลสนี้เสีย จึงทำการอริยสัจขจัดมาร
ทุกข์ อาการที่ทำให้รู้สึกถึงความทุกข์คือ ครั้งแรกแค่ผุดว่าถ้าหมู่มิตรดีท่านใดต้องตายจากไป ก็มีอาการน้ำตารื้นขึ้นมา ครั้งที่ ๒ สัปดาห์ต่อมาผุดสภาวะการพลัดพรากของหมู่กลุ่มอีกก็ รู้สึกได้ถึงลูกสะอื้นในอึดใจขึ้นมา จนครั้งที่ ๓ เกิดอาการหมองๆ แม้หมู่มิตรดีจะบอกว่าให้พึ่งอาศัยการสนทนาธรรมไปก่อน เพราะเป็นกิเลสตัวละเอียด แต่ให้ไปล้างกิเลสตัวอื่นๆ มาตามลำดับ ที่จริงก็ยังยินดีอยู่มากที่ยังจะได้อาศัยสิ่งดีนี้ แต่ในใจลึกๆ ยังรู้สึกหมองๆ เพราะรู้ว่าถ้าเราได้ล้างกิเลสเราจะไม่ต้องมีความหมอง ความกังวลว่าใครจะตายจากเราไป
สมุทัย อยากได้รับการขัดเกลากิเลสจากหมู่กลุ่มตลอดไป เพราะยึดว่าต้องได้รับการขัดเกลาจากหมู่กลุ่มจึงจะทำให้ชัดแจ้งในหลายแง่มุมของเหตุแห่งทุกข์ จึงกลัวการพลัดพรากของหมู่มิตรดี
นิโรธ การได้ร่วมขัดเกลากิเลสกับหมู่กลุ่มเป็นสิ่งที่ประเสริฐ แต่เราก็ยึดไม่ได้ เราจะได้ร่วมล้างกิเลสกับหมู่หรือต้องล้างกิเลสคนเดียวเราก็ไม่ต้องทุกข์
มรรค ถึงเวลาเผชิญหน้ากับกิเลส ด้วยการจูงมือกิเลสมาเห็นความจริงไปพร้อมกันว่าการได้ร่วมขัดเกลากับหมู่กลุ่มนั้นเป็นสิ่งที่ดี แต่เราจะได้ร่วมบุญ-กุศลกันได้นานเท่าไร อยู่ที่วิบากดี-ร้ายที่เราได้เคยสั่งสมร่วมกันมา ที่สำคัญในขณะที่เรายังมีโอกาสได้อยู่ร่วมกับเพื่อนสหธรรมิก เราต้องพากเพียรสร้างเกาะให้เราสามารถพึ่งตนในการล้างกิเลสในตนให้เต็มกำลัง เมื่อเราทำเหตุให้ดีที่สุดดังนี้ ณ ทุกปัจจุบันขณะ เราก็จะมั่นใจได้แล้วว่า อดีตไม่มีอะไรต้องเสียดาย และเราก็ไม่หวั่นไหวไม่ว่าจะเกิดอะไรในอนาคต เพราะเข้าใจเรื่องกรรมอย่างแจ่มแจ้งว่าสิ่งที่เราจะได้รับคือสิ่งที่เราได้สั่งสมมาแล้วในอดีตทั้งสิ้น
ผลจากการล้างกิเลส ในครั้งนี้ทำให้เกิดความโล่ง สูดหายใจได้เต็มปอด พร้อมเผชิญการพลัดพรากด้วยใจที่มั่นคงมากขึ้น
อยากทำการบ้านให้เสร็จ
ทุกข์ : (ทางใจ) อึดอัด ขัดใจ ไม่ได้ดั่งใจ (ทางกาย)มีอาการบีบ ๆ หน่วง ๆ ที่หัวใจ หายใจถี่ ๆ ใจร้อน
สมุทัย : อยากทำการบ้านให้เสร็จเร็ว ๆ จะได้ไปทำอย่างอื่น เวลาเรามีค่า จะทำการบ้านแล้วหา กูเกิลฟอร์มที่จะกรอก ในเว็บไม่เจอ ทำไมมีแต่ที่คนอื่น เขียนมา แล้วไอ้ลิงก์ที่ว่ามันหายไปไหน
นิโรธ : หาลิงก์ไม่เจอก็ไม่เป็นไรช่างมันเถอะ ส่งแบบพิมพ์เอาก็ได้ ไม่ส่งก็ได้ วางใจได้ว่ามันอาจจะไม่ใช่เวลาของเรา เอาเท่าที่ได้ ใจก็สบาย ฟ้าเปิดก็ค่อยทำใหม่ อาการทางใจมันลงแล้ว ใช้เวลาประมาณ 5 นาที ในการคิดวิเคราะห์สังเคราะห์ ทางกาย อัตราการเต้นของหัวใจใจมันยังไม่ปกติ เดี๋ยวมันก็ปกติเองแหละ ก็ช่างมันเถอะ อย่าไปเสียเวลาจับอาการมัน
มรรค : คิดว่า เพราะวิบากเธอที่เคยไม่ให้ความสำคัญ ไม่ใส่ใจ ส่งการบ้านมาก่อน ธุระไม่ใช่ ขี้เกียจทำ เสียเวลาเอาเวลาไปทำอย่างอื่นดีกว่า และยังจะมาฟาดงวงหาดงา ถามหาว่าทำไมมันเข้ายากจังเลยวะ ไอ้เจ้าลิงก์นี้ โทรไปด่าดีไหม ทำระบบแบบนี้ นักศึกษาคนอื่น ๆ จะทำอย่างไร ขนาดฉันพอรู้เทคโนโลยียังเข้าไม่ได้หาไม่เจอ คิดวางใจเลย เข้าได้ไม่ได้อย่างไร ก็ค่อยว่ากัน เอาแบบบ้าน ๆ ไปก่อน พิมพ์ส่งแบบนี้ไปนี่แหละ ใครจะว่าเราโง่ แค่นี้ไม่รู้ก็ช่างเถอะ ถ้ามาตาลีเตือน ยังเข้าไม่ได้อีก ก็วางเถอะ ค่อยทำ หรือ ถ้าไม่ได้จริง ๆ ก็ช่างมันอีก ค่อยว่ากัน ไม่เสร็จไม่ได้ส่งก็ช่างมัน ก่อนหน้านี้ก็ไม่เห็นจะเป็นไร ก็อยู่มาได้ โดยไม่ทำ จะมาเดือดร้อนอะไรตอนนี้ อายเหรอ ใช่นิดหน่อยเอง เป็นคุรุ มันต้องฉลาดทุกเรื่องหรือไง โง่บ้างก็ได้ จะทำไม จะได้ชัดว่าอย่าไปตีทิ้งอะไร อย่าไปดูถูก เหยียดหยามใครอีก ไม่มีใครอยากทุกข์อยากโง่หรอก ก็มันไม่รู้มาก่อนนี่ ให้กำลังใจตัวเอง แหมแค่เธอคิดตั้งใจ จะทำก็ดีมากแล้ว จากเมื่อก่อนไม่สนใจด้วยซ้ำว่าเขาเรียนเขาทำอะไรกัน ตอนนี้ดูซิเอาภาระตั้งเยอะ ตอนนี้เข้าไม่ได้ทำไปเรื่อย ๆ เดี๋ยวก็เข้าได้เองแหละ แทนที่จะโทรไปโวยวาย ก็แค่ถามว่าทำอย่างไร ยอมโง่มั่งสิ แค่นี้เอง ตอนนี้เข้าไม่ได้ก็วางไปก่อน จะอะไรกันนักกันหนา ตัดรอบได้แล้ว เอาเท่าที่ได้ ต่อไปก็จงพากเพียรในเรื่องการเขียนการบ้านให้มากกว่าเดิม เป็นตัวอย่างที่ดีให้คนอื่น อาจารย์ให้ความสำคัญกับการเห็นทุกข์และล้างทุกข์ให้ได้ เพื่อใครก็เพื่อเราจะได้พ้นทุกข์เร็ว ๆ พระพุทธเจ้าก็สอน คนจะล่วงทุกข์ได้ด้วยความเพียร ถ้าเราใส่ใจเพียรล้างกิเลสทุกเรื่อง ด้วยปัญญาแท้ ก็จะไม่สะดุ้งสะเทือน หรือกระเพื่อมไหว ได้ดีขึ้นเรื่อย ๆ ดูสิเสียพลังไปให้กิเลสตั้งหลายนาที พอลงแล้วทางกายก็ต้องใช้เวลาอีก ขอบคุณผัสสะนี้ ครั้งต่อไปจะแพ้น้อยลง
เรื่อง : โควิด 19
เนื้องเรื่อง : ปกติห้างทองจะเปิดทำการเวลา 08:30 น. – 17.30 น. แต่วันนี้ (วันอาทิตย์ที่ 2 พ.ค 64) พ่อบ้านปิดร้านเร็วกว่าปกติซึ่งทุกวันที่ร้านก็จะมีพ่อบ้านและลูกสาวคนโตเป็นคนดูแล เห็นพ่อบ้านเข้าบ้านก่อนเวลา ช่วงบ่าย 3 โมง เศษ ๆ เลยโทรถามหาลูกว่าไปไหนไม่เห็นเข้าบ้านพร้อมป๋า ลูกสาวก็ตอบว่าขอป๋าแล้วไปทำธุระกับเพื่อนที่อุบล ตอนนี้ลูกกำลังขับรถกลับบ้านค่ะแม่ ตอนนั้นใจน้าหมูไม่แช่มชื่นไม่เบิกบาน เป็นทุกข์ และสวมวิญญาณพรหม 3 หน้า (ยึดดี) ทันที ขึ้นเสียงดัง เมื่อเห็นลูกขับรถเข้าบ้านโดยไม่ถามเหตุผล จัดหนักทันทีว่า ลูกอยากตายหรือไงลูกตายคนเดียวไม่พอทำให้คนในครอบครัวพลอยตายด้วยกันไปหมด ติดเชื้อกันไปหมด เดือดร้อนกันไปหมด ลูกก็รู้อยู่แล้วว่ามันมีความเสี่ยงและอันตรายมากแค่ไหน มันไม่คุ้มกับลูกออกไปทำธุระของลูกเลยมันไร้สาระมาก ในยามนี้เก็บชีวิตตนเองไว้ก่อนดีไหม
รู้ทั้งรู้ว่าระยะนี้จะไปไหนมาไหนไม่ได้ถ้าไม่จำเป็นจริง ๆ มันอันตราย คนในจังหวัดยโสธรติดเชื้อมันแพร่กระจายกันไม่รู้ว่าใครเป็นใครติดกันอ่วมเลย น้าหมูได้เตือนสมาชิกทุกคนในครอบครัวแล้วว่าหลังเลิกงานให้เข้าบ้านทันที ลูกเขาก็รู้แต่ก็ยังไปอุบลราชธานี แต่ลูกก็ตอบว่าจ้า ๆ ๆ ยอมรับผิด ไม่ทำแล้วแม่ เหตุผลน้าหมูคือให้ทุกคนอยู่ในบ้านห้ามออกไปไหนเด็ดขาดไม่ว่าระยะใกล้หรือไกล คิดถึงใครให้ใช้ Line เอา ให้ทำกิจกรรมในบ้านเอา จะทำอะไรก็ทำไปตามที่เราสะดวกและถนัด พอได้ขึ้นเสียงดังกับลูกแล้วใจก็เป็นห่วง
ทุกข์ : เป็นห่วงไม่อยากให้ลูกไปต่างจังหวัด เพราะมันเสี่ยงติด covid 19
สมุทัย : ไม่อยากให้ลูกไปไหน ถ้าเขาไม่ไปเราก็สุขใจ ถ้าเขาจะไปเราก็ทุกข์ใจ ยึดมั่นถือมั่นว่าถ้าลูกอยู่บ้านจะสุขใจ ถ้าลูกออกนอกบ้านเราจะทุกข์ใจ
นิโรธ : ไม่ยึดมั่นถือมั่นว่าลูกจะอยู่บ้านหรือไม่อยู่บ้านเราก็มีความสุขได้
มรรค : เราเชื่อและชัดเรื่องกรรมอย่างแจ่มแจ้งว่าเราเคยเป็นเช่นนี้ คือ ดื้อ โง่ ชั่ว ทุกข์ มาก่อนไม่ว่าชาตินี้หรือชาติก่อน ๆ เราทำมา ๆ ๆ เราจึงมารับผลในครั้งนี้ เมื่อพิจารณาดังนี้ใจก็เบิกบานแจ่มใส
และโดนใจในบททบทวนธรรมของ อาจารย์หมอเขียว ดร.ใจเพชร กล้าจน
ข้อที่ 111
“ความไม่เข้าใจไม่เชื่อไม่ชัดเรื่องกรรมทำให้ยึดมั่นถือมั่นทำให้เป็นทุกข์ ส่วนความเข้าใจเชื่อและชัดเรื่องกรรมทำให้ไม่ยึดมั่นถือมั่น ทำให้เป็นสุข” สาธุค่ะ
Namoo111158@gmail.com
นางก้าน ไตรยสุทธิ์ เรื่อง ไปยุ่งเรื่องคนอื่น เนื่อเรื่อง ไปยุ่งเรื่องคนอื่น มากมายเลยยังคิดว่าไปช่วยเขาแต่กิเลสบอกว่าถูกนะเลยถามเขาแบบอยากรู้ว่า ทำไมไม่เอาเบอร์โทรศัพท์พ่อบ้านเขาบอกว่า ไม่ยุ่งกันแล้วอยู่ใครอยู่มันจบแล้วกับคนคนนี้ แต่กิเลสเราไม่จบแล้วก็บอกเขาไปว่าทำไมทำไมไม่เอาเหมือนฉันฉันก็ยังเอาเบอร์พ่อบ้านบ้านเลย ก็เลยไปทำให้เขาไม่ชอบ เขาจึงด่าเราแบบสะใจเลยที่เราไปเบียดเบียนเขา เราจะไปเอากิเลสเขา มาเปรียบเทียบกับกิเลสเราไม่ได้ เราก็ยอมรับผิดในเวลานั้น
ทุกข์ เพราะเพื่อนไม่เข้าใจในความปรารถนาดีของเรา
สมุทัย เราหวังดีต่อเขาแต่อัตตาเราซ้อนอยากได้ดีนั้น เลวที่สุดในแผ่นดินคือคำว่าหากินในคำว่าช่วยเขา
นิโรธ ได้นำบททบทวนธรรมมาพิจารณาซึ่งตรงกับข้อที่ 143 ทำดีถูกด่าให้ได้ให้ได้ถูกแกล้งให้ได้ ถูกนินทาให้ได้ ถูกว่าให้ได้ ถูกเข้าใจผิดให้ได้ ถูกทำสารพัดเรื่องให้ได้ เพราะเราทำมาทั้งนั้น ฟังเสียงเขาหน่อยจะพยายามพิจารณาให้มากๆก่อนจะทำอะไรลงไป
มรรค สละ ๆ ไปไม่พัวพันวางใจ ยอม ๆซึ่งตรงกับบททบทวน
ธรรม ข้อที่ 81 เนื้อความเก่งคือวิบากร้าย ร้ายแค่ไหนว่าแน่ก็แพ้วิบากดี วิบากดีที่แน่แท้ที่ดีที่สุดคือใจไร้ทุกข์ใจดีงาม สุขใจสบ๊ายสบาย
แจ้งหมู่ก่อนสิดี
เนื่องจากเวลาเห็นพี่น้องจิตอาสาท่านที่พากเพียรบำเพ็ญทั้งงานนอกและงานใน คือในท่านที่มีศีลดีตั้งใจปฏิบัติลดละล้างกิเลส เราก็จะรู้สึกอนุโมทนาและเคารพ และยินดีบำเพ็ญสนับหนุนท่านเวลาที่ท่านขาดเหลือของใช้จำเป็นต่าง ๆ เท่าที่สามารถทำได้ จึงได้ปวารณาเอาไว้ โดยที่ไม่เคยคิดถึงมุมอื่น ๆ เลย เช่น หากเราบำเพ็ญเฉพาะกับท่านนั้น แล้วพี่น้องท่านอื่นจะรู้สึกหรือจะมองท่านอย่างไร เพราะพี่น้องท่านอื่นก็จิตอาสา 0 บาทเช่นกัน จนล่าสุดท่านก็ถามมาว่าสะดวกบำเพ็ญไหมที่จะซื้อของบางอย่างที่ท่านจำเป็นต้องใช้ให้ ซึ่งเราก็ยินดี แต่เนื่องจากว่าช่วงนี้ตั้งอธิศีลว่าเวลาจะทำอะไรก็จะปรึกษาหมู่มิตรดีก่อน จะไม่ทำอะไรโดยพละการ พอได้ปรึกษาหมู่มิตรดี ท่านก็ให้คำแนะนำและให้ข้อมูลอีกมุมว่า ถ้าท่านปรึกษาหมู่ใหญ่ก่อนก็ดีกว่าจะทำให้ป้องกันไม่ให้เกิดการเพ่งโทษถือสาในหมู่ได้ทั้งท่านและเรา ซึ่งเราฟังแล้วก็รู้สึกเห็นด้วย แต่ไม่รู้จะบอกท่านท่านอย่างไรดี ถ้าซื้อก็ห่วงว่าท่านและเราจะถูกเพ่งเลง ถ้าไม่ซื้อก็ไม่กล้าบอกท่านตรง ๆ
ทุกข์ : ลังเลใจ เกรงใจ ไม่กล้าบอกท่านตรง ๆ ว่าเราไม่สบายใจที่จะบำเพ็ญในครั้งนี้ ถ้าท่านไม่ได้แจ้งหมู่ก่อน
สมุทัย : กลัวว่าท่านจะไม่เข้าใจ อยากให้ท่านเข้าใจ และแจ้งหมู่ก่อน ยึดว่าถ้าบอกไปตามตรงแล้วท่านเข้าใจ และแจ้งหมู่ก่อนจะดีเราจะสบายใจ ถ้าท่านไม่เข้าใจและไม่แจ้งหมู่ก่อนไม่ดี เราจะไม่สบายใจ ไม่อยากให้ท่านและเราถูกเพ่งเล็งหรือถูกเพ่งโทษถือสา
นิโรธ : บอกท่านไปตามตรงด้วยความจริงใจ ท่านจะเข้าใจหรือไม่ ท่านจะแจ้งหมู่หรือไม่ เมื่อพิจารณาแล้วว่าเห็นควรบำเพ็ญ ไม่ว่าเราและท่านจะถูกเพ่งเล็งหรือถูกเพ่งโทษถือสาหรือไม่ เราก็ไม่ทุกข์ใจ ยินดีรับผลด้วยความเต็มใจและสบายใจได้
มรรค : การที่ท่านเข้าใจหรือท่านแจ้งหมู่ก่อนเป็นเรื่องดี แต่ความยึดมั่นถือมั่นของเราว่าท่านต้องเข้าใจหรือท่านต้องแจ้งหมู่ก่อนนี้ไม่ดี มันคือกิเลสซึ่งเป็นเหตุที่ทำให้เราเป็นทุกข์ ดังคำที่พระพุทธเจ้าท่านทรงตรัสเอาไว้ว่า “อยากได้สิ่งไหนไม่ได้สิ่งนั้นเป็นทุกข์” ยึดมั่นถือมั่นอยู่เท่าไหร่ก็ทุกข์อยู่เท่านั้น ไม่ยึดมั่นถือมั่นเลยก็ไม่ทุกข์เลย ไม่ว่าท่านจะไม่เข้าใจหรือไม่ ท่านจะแจ้งหมู่ก่อนหรือไม่เราก็ไม่ควรทุกข์ใจ
จากนั้นก็ตัดสินใจบอกท่านไปตามตรงด้วยความจริงใจว่าช่วงนี้เราตั้งศีลว่าจะปรึกษาหมู่มิตรดีก่อนตัดสินใจทำอะไร และตอนนี้เรากำลังมีกิเลสเรื่องนี้อยู่ คือเรายังไม่สบายใจที่จะบำเพ็ญ ถ้าท่านไม่แจ้งหมู่ก่อน จึงขอเวลาคิดทบทวนและล้างกิเลสตัวนี้ให้ได้ก่อน เมื่อล้างกิเลสได้แล้ว ไม่ว่าท่านจะแจ้งหมู่หรือไม่ ท่านและเราจะถูกเพ่งเล็งหรือไม่ ถ้าพิจารณาแล้ว ปรึกษาพี่น้องหมู่มิตรดีแล้ว เห็นว่าควรบำเพ็ญเราก็จะบำเพ็ญ และพร้อมรับผลด้วยความยินดีเต็มใจ
สรุป เมื่อพิจารณาได้ดังนี้ ความทุกจ์ความไม่สบายใจในครั้งนี้ก็คลายลงได้หมด
#ย่าฆ่าหนู
ประมาณ 1 เดือนก่อนหน้านี้มีหนูเข้ามากัดแทะสิ่งของต่างๆ ในบ้านของผม และพอแม่รู้เรื่องนี้ ตั้งแต่คืนวันนั้นเป็นต้นมา แม่ก็เริ่มวางยาฆ่าหนูตามบริเวณต่างๆ ของบ้าน ซึ่งโดยส่วนตัวผมรู้ว่าการที่แม่วางยาฆาหนูจะทำให้แม่ได้รับวิบากกรรมที่ไม่ดี ผมก็เลยเสนอวิธีวางกับดักเพื่อที่จะไม่ทำให้หนูตาย แล้วถ้าหนูเข้ามาติดก็ค่อยนำหนูไปปล่อยที่อื่น แต่แม่ก็ยังเลือกที่จะใช้การวางยา และในกรณีนี้ผมก็พอที่จะรู้ว่าถ้าพูดอะไรไปมากกว่านั้นก็จะเกิดการวิวาทะกับแม่ขึ้นมาได้ ผมก็เลยเลือกที่จะวางดี แต่ภายในใจก็ยังสามารถจับอาการทุกข์ไรๆ ได้อยู่ จากการไม่ได้ดั่งใจที่แม่ไม่ยอมเลือกวิธีที่ผมแนะนำ
ทุกข์ : รู้สึกทุกข์ใจเพราะรู้สึกไม่ได้ดั่งใจที่แม่ไม่ยอมเลือกวิธีที่ผมแนะนำ
สมุทัย : จะรู้สึกทุกข์ใจถ้าแม่ไม่ทำตามที่ผมแนะนำ แต่จะสุขใจถ้าแม่ทำตามที่ผมแนะนำ
นิโรธ : สามารถผาสุกใจได้ไม่ว่าแม่จะเลือกทำตามวิธีที่ผมแนะนำหรือไม่
มรรค : ในกรณีนี้ผมเดินมรรคโดยนำเรื่อง “พรหม 3 หน้า 4 หน้า” มาพิจารณา โดยพิจารณาว่า สิ่งที่ผมสามารถทำได้คือ แนะนำเท่านั้น ส่วนเมื่อแนะนำไปแล้วแม่จะเชื่อหรือไม่เชื่อจะทำตามหรือไม่ทำตามก็เป็นสิทธิในการตัดสินใจของแม่แต่เพียงผู้เดียว
และผมก็ยังได้นำเรื่อง “แรงเหนี่ยวนำ” มาพิจารณา โดยพิจารณาว่า เมื่อสถานการณีเป็นแบบนี้สิ่งที่ผมจะสามารถช่วยแม่ได้คือ กลับมาทำที่ตัวเองให้เป็นตัวอย่างที่ดีเพื่อที่จะสร้างแรงเหนี่ยวนำที่ดีให้เกิดมากขึ้นเรื่อยๆ
โดยบททบทวนธรรมที่ผมนำมาร่วมพิจารณาในกรณีนี้คือ ข้อที่ 3 “นับ ๑ ที่เรา เริ่มต้นที่เรา ทำความดีที่เรา นี่คือ เส้นทางเพื่อการพึ่งตนและช่วยคนให้พ้นทุกข์”
และจากการเดินมรรคด้วยวิธีดังกล่าวส่งผลให้ความรู้สึกทุกข์ใจลดลงไปมากกว่า 70% ครับ
เรื่อง คอยฝน
เหตุการณ์ :หลังจากฝนตกได้ปลูกไม้ผลไว้หลากหลายชนิด มีความปลื้มปิติและวาดฝันไว้ในอนาคตข้างหน้า ในสวนของเราจะมีผลไม้หลากหลายชนิดไว้กินในอนาคต รอมาสี่ห้าวันฝนก็ตกเล็กน้อย และบางวันไม่ตกเลย
ทุกข์: เศร้าใจที่ฝนไม่ตก ต้นไม่เหี่ยวเฉา บางต้นก็ตาย
สมุทัย:ชอบหากฝนตกต้นไม้สดชื่น ชังที่ฝนไม่ตก ต้นไม้เหี่ยวเฉาและตาย
นิโรธ:ฝนจะตกหรือไม่ ต้นไม้จะเหี่ยวเฉาหรือสดชื่น ก็ไม่ชอบไม่ชัง
มรรค: ปลูกไม้ผลแทนไม้ยางพาราที่โค่นทิ้งไป เพื่อทำกสิกรรมไร้สารพิษ แต่เรายังไม่ได้วางระบบน้ำ คิดว่าปลูกไม้ผลให้แล้วเสร็จค่อยเดินระบบน้ำและอีกอย่างฝนก็ตกทุกวันเราเลยไว้ใจฝน หลังฝนตกก็ลงไม้ผลหลากหลายชนิด รวมทั้งปลูกพืชผักไว้กินในภายภาคหน้า หลังจากปลูกเสร็จฝนก็ตกแค่เล็กน้อย และบางวันก็ไม่ตกเลย จนต้นไม่เหี่ยวเฉาและบางต้นก็ตายไป เราต้องหิ้วถังน้ำเดินรดที่ละต้นจำนวนร้อยกว่าต้น มันเหนื่อยและเดินไม่ไหว เกิดอาการเหนื่อยและชังฝน ชังไปถึงพ่อบ้าน มารเลยเกิดขึ้นยิบยับขณะที่หิ้วถังน้ำ มารบ่นไปทำไป”ว่า”ทำไมฝนไม่ตกให้เต็มอิ่มสักที่ รอเธออยู่นะเจ้าฝน ส่วนพ่อบ้านทำไมไม่มาช่วยรดปล่อยให้เราหิ้วรดอยู่คนเดียว อาการชังมากขึ้น ทำให้เราเสียพลังหมดแรงที่จะเดิน หิวก็หิว เราเลยคิดใหม่ ว่า งั้นพอเถอะหยุดพักเถอะ ฝนจะตกแดดจะออกหรือไม่ พ่อบ้านจะมาช่วยหรือไม่ต้นไม้จะเหี่ยวเฉาตายหรือไม่ ก็ได้ ฝนไม่ตกก็ไม่เป็นไร ต้นไม้ตายก็ปลูกใหม่ได้ หากกิเลสตายเราก็พ้นทุกข์
แล้วจะเอาอย่างไหนละ มีให้เลือก
เมื่อได้พิจารณาบททบทวนธรรมข้อที่๗๕ ถ้าเราดับทุกข์ใจได้ ก็ไม่มีทุกข์อะไรที่ดับไม่ได้และข้อที่๗๘ ความสมบูรณ์หรือความสำเร็จของกิจกรรมการงาน คือ ความลวง ลวงให้ยึด ลวงให้ทุกข์ ส่วนความสำเร็จของใจที่พ้นทุกข์ พ้นความยึดมั่นถือมั่น คือ ความจริง
สรุปว่า เมื่อได้พิจารณาดับทุกข์ใจได้
เราก็พ้นทุกข์ ไม่ชอบไม่ชัง
การบ้าน 9/5/64
นางจีรวัลย์ วัฒนสิน
เรื่อง ไม่ได้ดั่งใจ
เหตุการณ์ ช่วงเช้าได้สั่งสติ๊กเกอร์เพื่อใช้ติดสินค้าในวันพรุ่งนี้ ขอรับของในตอนเย็นทางร้านก็ตกลงและจะไปส่งให้ที่ทำงานของลูกซึ่งอยู่ใกล้กับทางร้าน ปรากฏว่าตอนค่ำลูกมาถึงบ้านแม่ก็ถามหาสติ๊กเกอร์เพราะคอยอยู่ ลูกบอกว่าไม่มีใครเอาสติ๊กเกอร์มาฝากเลย ณ เวลานั้นมารก็เข้ามาทันทีอะไรกันรับปากกันแล้วว่าทำทันไม่รักษาคำพูดกันนี่พรุ่งนี้ก็ต้องส่งสินค้าให้ลูกค้าตอนเช้าด้วยอารมณ์ไม่ได้ดั่งใจเข้ามาทันทีปรุงไปเรื่อย ทุกข์ต้องส่งสินค้าให้ลูกค้าไม่สมบูรณ์ ในที่สุดก็มาคิดได้ว่าจะทุกข์ไปทำไมในเมื่อเหตุการณ์ผ่านไปแล้ว ก็วางใจ
ทุกข์ ร้านค้าไม่ส่งสติ๊กเกอร์ตามนัด
สมุทัย ชอบถ้าร้านค้าส่งสติ๊กเกอร์ตามนัด ชังที่ร้านค้าไม่ส่งสติ๊กเกอร์ตามนัด
นิโรธ ร้านค้าจะส่งสินค้าตามนัดหรือไม่ตามนัดก็ได้ไม่ชอบไม่ชัง
มรรค มาพิจารณาว่าจะทุกข์ไปทำไมปัญหามีไว้ให้แก้ โลกนี้พร่องอยู่เป็นนิด ตามบททบทวนธรรมข้อที่ 82 จงฝึกอยู่กับความเป็นจริงของชีวิต ที่พร่องอยู่เป็นนิตย์ อย่างผาสุกให้ได้
สรุป เมื่อวางใจได้แล้วก็เบิกบานใจไร้ทุกข์
พวงบุปผา หนูรัก (ผักบุ้ง – สู่แดนฝัน)
วันที่ 2 พฤษภาคม 2564
ทุกข์ใจ เพราะมีอาการคล้ายป่วยโดวิด
เนื่องจากช่วงนี้กระแสการระบาดของโรคโควิด -19 ค่อนข้างรุนแรงกว่าที่เคยเป็นมา ตัวเองก็มีความเสี่ยงอยู่บ้างแต่ไม่มาก เช่น ต้องพบลูกค้าบ้าง แต่ได้ถามทามไลน์กันเรียบร้อยแล้วปลอดภัยดี หรือเดินทางไปทำงานโดยรถสาธารณะบ้าง ใช้เวลาไม่เกิน 20 นาที และเป็นรถร้อน คนก็น้อย อันที่จริงก็แทบจะไม่เสียงเลย แต่มีอาการบางอย่างเกิดขึ้นช่วงนี้ เช่น มีอยู่คืนหนึ่งนอนหลับไปได้สักพักแล้วแต่อยู่ ๆ ก็ต้องตื่นขึ้นมาเพราะหายใจลำบากแน่นหน้าอก ในใจก็คิดว่าใช่อาการโควิด หรือปล่าว ว่าแล้วก็ ลุกขึ้นไปดื่มน้ำปัสสาวะเลย อาการก็ดีขึ้นแล้วก็นอนหลับต่อถึงเช้า ตื่นมาก็ปกติดี แล้วอีกวันอยู่ที่ทำงาน คนก็น้อยเพราะสลับกันทำงานที่บ้าน และแอร์ต่อนข้างเย็น ก็รู้สึกแน่นหน้าอกอีก และไม่ยอมหาย ในใจก็สงสัยว่าเป็นโควิดอีก แต่ไม่กล้าบอกใคร และกลับบ้านตั้งแต่ยังไม่ถึงเวลาเลิกงาน เพราะกลัวติดเพื่อนและจะกลับไปดื่มนำปัสสาวะ กลับถึงบ้านก็รีบดื่มเลย อาการป่วยก็หายไปอีก ทุกข์ใจก็ลดลง แต่ก็ยังหาสาเหตุที่แท้จริงไม่เจอ และสังเกตตัวเองว่าเมื่อกลับถึงบ้านเปลี่ยนเสื้อผ้าจากชุดทำงาน เป็นชุดสบาย ๆ อาการก็ลดลงทันที และรูสึกว่าบริเวณลำตัวมีเนื้อหนาขึ้นเพราะไม่ได้ออกกำลังกาย แต่ก็ยังใส่เสื้อผ้าชุดเดิม ๆ เสื้อผ้าอาจจะคับเกินไปแล้ว ทำให้ห่ายใจลำบาก สาธุค่ะ
ทุกช์กาย เพราะอาการแน่นหน้าอกและหายใจลำบาก ทุกข์ใจ อาการที่เป็นคล้ายอาการโควิดเลยกลัวเป็นโควิด
สมุทัย ถ้าอาการที่เป็นนั้นเป็นอาการโควิด ถ้าเป็นจริง ๆ มันจะเป็นเรื่องใหญ่ เพราะต้องเกี่ยวข้องกับคนที่สำนักงาน คนที่บ้าน และทามไลน์อื่น ๆ อีก มันก็จะยุ่งไปกันใหญ่ ก็เลยทำให้ทุกข์ใจ
นิโรธ เมื่อรู้ว่าอาการที่เป็นนั้น ไม่ใช่เป็นอาการโควิด ความทุกข์ก็คลายลง
มรรค อาการที่เป็นคือหายใจลำบาก คงเป็นเพราะ มีน้ำหนักเพิ่ม วิธีแก้คือต้องออกกำลังกาย เพราะเรื่องอาหารก็ทำได้ดีแล้ว และช่วงนี้ก็เป็นช่วงที่ มีคำสั่งให้ทำงานที่บ้าน ก็แก้ปัญหาได้โดยการไม่ต้องเดินทางไปทำงาน ไม่ต้องไปเจอกับเพื่อนที่ทำงาน ไม่ต้องขึ้นรถสาธารณะ ถ้าจะออกกำลังกายก็ต้องไปในที่ที่มีคนน้อย ๆ หรือไม่ก็โยคะที่บ้านตัวเอง จนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย บททบทวนธรรมข้อที่ 25 เมื่อเกิดทุกข์ใจ ทุกข์กาย เรื่องร้ายเข้ามาในชีวิต เขามาเพื่อให้เราได้ชดใช้ ให้เราไม่ประมาท ให้เราเพิ่มอริยศีล ให้เราได้สำนึก ให้เราได้หมดวิบาก สาธุค่ะ
การบ้านอริยสัจ4
ชื่อ สุรีนารถ ราชแป้น จิตอาสาสวนป่านาบุญ2 จังหวัดนครศรีธรรมราช
ชื่อเรื่อง: ระแวง หวั่นไหว
เหตุการณ์: วันหนึ่งในที่ทำงาน อยู่ดีๆก็มีอาการ จามหลายครั้ง และมีน้ำมูกใสๆไหลด้วย มีอาการอยู่นานเกือบ6 ชั่วโมง จึงเกิดอาการหวั่นไหว เพราะ สถาณการณ์ ระบาดของโรค โควิด 19 ที่กำลังเพิ่มขึ้น กลัวว่าจะได้รับเชื้อโควิด 19 เพราะอยู่ในพื้นที่เสี่ยง มีจำนวนผู้ป่วยมาโรงพยาบาลเป็นจำนวนมาก
ทุกข์: ระแวง หวั่นไหว ว่าจะมีอาการจากการรับเชื้อโควิด19
สมุทัย: ถ้าไม่ติดเชื้อโควิด 19 จะชอบ สุขใจ ถ้าติดเชื้อโควิด19 จะไม่ชอบ ทุกข์ใจ
นิโรธ: จะติดเชื้อ หรือไม่ติดเชื้อ โควิด 19 มีใจไร้ทุกข์
มรรค: เมื่อตัวเองมีอาการ จามหลายครั้ง มีน้ำมูกใสๆไหลมามาก เป็นอยู่หลายชั่วโมง เสียงเริ่มเปลี่ยนนิดๆ ใจก็คิดถึงว่าตนเองแพ้ น้ำหอมคนอื่นที่ใส่มาหรือเปล่า แต่ก็อดคิดไม่ได้ว่าเรารับเชื่อโควิด 19 มาจากไหน หรือสัมผัสผู้ที่มีเชื้อโดยที่เราไม่รู้หรือเปล่า จับได้ว่า ใจเริ่ม ระแวง หวั่นไหว ขึ้นมานิดๆ ก็เริ่มปรุงไปอีกว่าถ้าเราเป็น คนในบ้าน รวมถึงพ่อ และ แม่ที่อยู่ด้วย ซึ่งป่วยอยู่ทั้งคู่คงลำบากแน่ๆ ซึ่งในขณะนั้นเกิดขึ้นในที่ทำงาน ก็ได้แยกตัวเองออกจากเพื่อนร่วมงาน ใช้เวลาไม่นานก็รู้ว่าเราโดนกิเลส มาร หลอกให้หวั่นไหว รู้ตัวว่าโง่อีกแล้ว จึงหยิบคาถามาปราบมาร คือการใช้ บททบทวนธรรม ข้อที่ 28 “ความกลัว กังวล ระแวง หวั่นไหว ทำให้เป็นได้ทุกโรค ใจไร้ทุกข์ ใจดีงาม เป็นสิ่งที่มีฤทธิ์มากที่สุด ที่ทำให้หายหรือทุเลาจากโรค เป็นยารักษาโรคที่มีฤทธิ์เร็วและแรงที่สุดในโลก” เมื่อได้พิจารณาดั่งนี้ ยอมรับความจริงตามความเป็นจริง จะเกิดอะไรก็ได้ ถ้าเรารับเชื้อจริง หรือไม่รับเชื้อ ก็ขึ้นกับวิบากดีร้ายของเรา ถ้าเป็นจริงก็ได้ใช้วิบากร้ายไป ความทุกข์ใจไม่ได้ช่วยอะไรให้ดีขึ้น มีแต่เลวลง จึงวางใจ มารก็ได้สลาย ใจโล่ง โปร่งสบาย
ส่วนการแก้ไขอาการป่วยทางกายนั้น ก็ได้ปรับสมดุลร่างกาย ดื่มน้ำสมุนไพรฤทธิ์เย็น ปรับสมดุล อาหาร กัวซา บริเวณ ใบหน้า ใต้คาง และลำคอ ล้างจมูก ด้วยน้ำปัสสาวะ และพักผ่อน หลังจากเลิกงาน 16 นาฬิกา กลับบ้าน อยู่ในบ้านไม่ต้องใส่ mask อาการที่เป็นก็หายไป แต่ก็สังเกตุอาการอีก1วัน ลางานพักอยู่บ้าน เพื่อป้องกันเพื่อนร่วมงาน ถ้าเราเป็นมาจริงๆ
สรุป อาการทุกข์ใจ หายด้วย บททบทวนธรรม เมื่อใจสบายอาการทางกายก็แก้ไขได้ไม่ยากด้วยการนำยา9เม็ดมาใช้ ต้องขอบคุณอาการป่วยที่กระชากกิเลสออกมาให้ได้ล้าง
ส่งการบ้านอริยสัจ 4
นส จาริยา จันทร์ภักดี
รหัสนศ.6012007003
จิตอาสาพวธ.สังกัดสวนป่านาบุญ 2 อ.ชะอวด จ.นครฯ
เรื่อง. ทบทวนธรรม นำมาทำให้ใจไร้ทุกข์
เหตุการณ์.ตอน2ทุ่มเข้าห้องทบทวนธรรมคุรุได้ให้คิว
ทบทวนธรรมข้อที่ 35 มีพี่น้องจิตอาสาเริ่มอ่านข้อที่22 เวลาผ่านครึ่งทางมือเด้งข้อมูลเกินเลยกดออกไปก่อนเพื่อจะลบข้อมูลเก่า พอกดเข้าห้องอีกครั้งเข้าไม่ได้ทำให้ว้าวุ่นพยายามกดเข้าไปใหม่ ได้เลยเวลาพี่น้องอ่านจบแล้ว
เลยวางใจเรามาอ่านทบทวนธรรมเพื่อนำชีวิตผาสุก
ทุกข์ : ว้าวุ่นใจที่เข้าห้องซูมไม่ทันเวลา
สมุทัย : ชังที่มือถือข้อมูลเกินทำให้เข้าห้องไม่ทันคิวที่รับมอบหมายอ่านทบทวนธรรม
ชอบถ้ามือถือใช้งานปกติได้อ่านบททบทวนธรรมตามที่ได้รับคิวอ่านไว้
นิโรธ : มือถือข้อมูลเกินหรือจะไม่เกินก็จะไม่ทุุกข์ไม่ว้าวุ่นใจ
มรรค : แก้ปัญหาโดยกดออก เพื่อลบข้อมูลขยะแล้ว กดเข้าไปอีกครั้งใช้เวลานานมาก
เลยวางใจ
ไม่ใช่เวลาที่จะอ่านได้คิวข้อที่ 35ในวันนั้นได้พิจรณา บททบทวนธรรม ข้อที่ 56 ทุกเสี้ยววินาทีทุกอย่างไม่เที่ยง อย่ายึดมั่นถือมั่น ต้องพร้อมรับ พร้อมปรับ
พร้อมเปลี่ยน ตลอดเวลา ความว้าวุ่นใจเริ่มจางและคลายลงได้ความยินดีเบิกบานกลับมาสาธุค่ะ
06/05/64
ชื่อ : น.ส.ทิษฏยา โภชนา
ชื่อทางธรรม : ในสายธรรม
จิตอาสาสังกัดสวนป่านาบุญ 2
เรื่อง : ไปเยี่ยมญาติผู้ใหญ่
เหตุการณ์:วันนี้ต้องไปทำธุระนอกบ้าน จึงถือโอกาสเอาผักไร้สารพิษที่ปลูกเองไปฝากญาติผู้ใหญ่ที่เคารพ เนื่องจากท่านเป็นผู้สูงอายุ 2 คนสามีภรรยา อายุเลย 85 ปีแล้วทั้ง 2 ท่าน ต้องอยู่ด้วยกันตามลำพัง เพราะลูก ๆ ต่างมีหน้าที่ต้องไปทำงานอยู่ต่างจังหวัดกันหมด ในช่วงโควิดนี่ท่านต้องเก็บตัวอยู่บ้านไม่ได้ออกไปไหนเพราะสุขภาพไม่ค่อยจะดีสักเท่าไหร่จึงต้องระวังตัวเป็นพิเศษ เมื่อผู้เขียนได้พบหน้าท่านก็รู้สึกหดหู่ใจมาก เพราะดูท่านแก่ชราลงไปมาก สีหน้าท่านเหงาเศร้าหมองไม่ค่อยสดชื่นเหมือนเมื่อก่อนที่เคยพบเจอ ผู้เขียนกับแม่จะแวะไปเยี่ยมท่านอยู่บ่อยครั้ง เมื่อพบหน้ากันครั้งนี้ดูท่านดีใจมากที่พวกเราไปเยี่ยม แต่ก็ไม่ได้คุยกันมากเพราะต้องรักษาระยะห่าง
ทุกข์ : หดหู่ใจที่เห็นญาติผู้ใหญ่แก่ชรา เศร้าหมอง
สมุทัย : ชอบใจถ้าญาติจะดูสดชื่นสุขภาพดี ชังที่เห็นญาติผู้ใหญ่ดูแก่ชราลงไปมาก เศร้าหมองไม่มีลูกหลานคอยดูแลใกล้ชิด
นิโรธ : ญาติผู้ใหญ่จะดูสุขภาพดีสดชื่น หรือจะเศร้าหมองก็ได้ ใจไร้ทุกข์
มรรค : เมื่อเห็นว่าคุณลุงคุณป้าที่เคารพดูเศร้าหมอง ดูสุขภาพไม่ดี ไม่มีลูกหลานคอยดูแลใกล้ชิด เพราะแต่ละคนก็ไปตั้งรกรากอยู่อาศัยในที่ไกล ๆ กันทั้งนั้น ถึงแม้ว่าจะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันลงมาเยี่ยมเยียนบุพการีบ้าง แต่ก็คงไม่ดีเท่ากับการที่ได้ลงมาดูแลใกล้ชิดในยามที่พ่อแม่แก่ชรา เมื่อเห็นสภาพแบบนี้กิเลสมันก็เริ่มทำงาน
มาร : คุณลุงคุณป้า ดูแกแก่ลงไปมา ดูสุขภาพไม่ค่อยดี น่าสงสารจัง
อยู่กัน 2 คนตายาย คงจะเหงา ลูก ๆ ก็ไม่ได้กลับมาดูแล ถ้าเราแก่ตัวไปแล้วจะเป็นแบบนี้มั๊ยหนอ คิดแล้วเศร้าจัง
เมื่อเห็นว่ากิเลสเริ่มนำพาให้เราหดหู่ จึงเขาไปสนทนากับกิเลสว่า
เรา : มารแกจะไปกลัวอะไรกับความแก่ชรา ลุงกับป้าท่านมาแสดงธรรมให้เห็นว่าวันนึงแกก็ต้องเป็นแบบนี้ สังขารมันต้องเสื่อมไปเป็นธรรมดา ถ้าไม่ตายไปก่อนวัยอันควร มันก็ต้องแก่กันทุกคน
ใจที่ไร้ทุกข์ ใจที่ดีงามต่างหากที่แม้สังขารจะต้องเสื่อมแต่ก็จะทำอะไรเราไม่ได้
ถ้ากลัวทุกข์ กลัวเศร้า กลัวแก่แล้วไม่มีคนดูแล ก็ให้เร่งลดกิเลส บำเพ็ญกุศล ทำชีวิตให้เป็นประโยชน์ แล้วก็ไม่ต้องไปกังวลอะไรกับอนาคตที่ยังมาไม่ถึง
ให้เชื่อมั่นว่าทำเหตุปัจจัยให้ดี แล้วผลมันต้องดีตามแน่นอน
ตรงกับบททบทวนธรรมข้อที่ 89 “ ในโลกนี้ไม่มีอะไรเที่ยง ไม่มีอะไรที่เราควบคุมได้ ไม่มีอะไรที่เรากำหนดได้ นอกจากใจที่ไม่ทุกข์ของเราเท่านั้นที่เรากำหนดได้”
พิจารณาแบบนี้แล้วก็รู้สึกโล่งขึ้น วางใจได้ว่า เกิด แก่ เจ็บ ตายเป็นทุกข์ที่เลี่ยงไม่ได้ ต้องเจอกันทุกคน วิบากดี และใจไร้ทุกข์ใจดีงามเท่านั้น ที่คุ้มครองเราไปจนวาระสุดท้ายของชีวิต
07/05/64
ชื่อ : น.ส.ทิษฏยา โภชนา
ชื่อทางธรรม : ในสายธรรม
จิตอาสาสังกัดสวนป่านาบุญ 2
เรื่อง : เพ่งโทษเขา แต่เราก็ได้ล้างกิเลส
เหตุการณ์:ไปช่วยงานศพญาติตั้งแต่เช้า พอถวายภัตตาหารเช้าเสร็จ ก็ไปตักอาหารที่เขาทำไว้เลี้ยงแขกจะเอาไปให้ป้าที่พาท่านมาดูแลที่บ้าน พอจัดการอาหารให้ป้าเสร็จ จึงกลับมาที่งานศพอีกรอบ ปรากฏว่าเจอญาติ(ที่เป็นลูกของป้า)กำลังนั่งรับประทานอาหารอย่างสบายใจ ในใจก็รู้สึกไม่พอใจขึ้นมาที่เขาไม่เอาภาระดูแลแม่ กลับไปนั่งกินข้าวอย่างสบายใจ
ทุกข์ : ยึดมั่นถือมั่นว่าลูกที่ดีต้องดูแลแม่ ไม่พอใจที่ญาติไม่ดูแลแม่
สมุทัย : ชอบใจถ้าญาติจะดูแลเอาใจใส่แม่ของเขาให้ดีกว่านี้ ชังที่ญาติไม่เอาภาระดูแลแม่
นิโรธ : ญาติจะดูแลเอาใจใส่แม่ของเขาหรือไม่ยังไงก็ได้ ใจไร้ทุกข
มรรค : เมื่อเห็นญาติ(ลูกของป้า)นั่งกินข้าวและพูดคุยกับคนอื่นอย่างสบายใจ ไม่มีทีท่าจะสำนึกได้ว่านี่เป็นเวลาอาหารเช้าของแม่(ซึ่งแก่ชรามากแล้วและช่วยเหลือตัวเองไม่ได้) แทนที่เขาจะไปดูว่าแม่มีอาหารรับประทานแล้วรึยัง แต่ตัวเองกลับมานั่งกินข้าวอย่างสบายใจ ก็ทำให้รู้สึกหมั่นไส้เขาขึ้นมา ในใจไปเพ่งโทษที่เขาไม่เอาภาระดูแลเอาใจใส่แม่ของตัวเอง แต่กลับต้องเป็นเราซึ่งเป็นเพียงหลานที่รู้สึกเป็นห่วงเป็นใยป้ากลัวป้าจะหิว ซึ่งที่เราทุกข์เพราะเราไปยึดมั่นถือมั่นว่าหน้าที่นี้ควรจะเป็นลูกแท้ ๆ ที่ต้องดูแลพ่อแม่ให้ดูเมื่อเห็นว่ากิเลสมันเริ่มไปเพ่งโทษญาติ ก็ได้กลับไปพิจารณาว่า ความยึดมั่นถือมั่นนั้นมันทำให้ใจเราเป็นทุกข์ เราไปเดาใจว่าญาติเขาไม่มีสำนึก ว่าเขาไม่เป็นห่วงแม่ของเขา เขาจะคิดได้/คิดไม่ได้ ยังไงก็ไม่รู้ เพราะการกระทำเดียวกันมีเหตุผลกว่าล้านเหตุผล แต่ตอนนี้เราสำนึกได้ว่าเมื่อก่อนป้าก็ให้ความรักและดูแลเราเหมือนลูกแท้ ๆ การดูแลท่านมันก็เป็นหน้าที่ของเรามันก็ถูกต้องแล้ว เราควรจะดีใจที่เราได้มีโอกาสตอบแทนผู้มีพระคุณ ทำดีให้เต็มที่ทุกวันเท่าที่มีโอกาส เพราะเขาคงจะอยู่กับเราอีกไม่นานแล้ว การที่ญาติไม่ดูแลแม่จึงเป็นโอกาสที่ดีที่ให้เราได้บำเพ็ญมันคือโอกาสทองที่จะได้ดูแลป้า เราจึงควรจะขอบคุณเขาที่ทำให้เราได้ล้างกิเลสความยึดมั่นถือมั่นในใจเรา และได้ตอบแทนบุญคุณป้า ดีกว่าไปโทษเขาจนเราต้องเป็นทุกข์ใจ
ตรงกับบททบทวนธรรมข้อที่ 83 “ความยึดมั่นถือมั่นจะทำให้เกิดความพร่อง ความพลาด ความทุกข์”
พิจารณาแบบนี้แล้ว รู้สึกโล่งขึ้น เบาใจที่ไม่ล้างทุกข์ตัวเพ่งโทษเขา เมื่อพอกับญาติคนนี้อีกหลาย ๆ ครั้ง อาการชิงชังรังเกียรติเขาที่เคยมีแม้ยังไม่หมด แต่ก็สังเกตได้ว่าลดลงไปมากแล้ว
08/05/64
ชื่อ : น.ส.ทิษฏยา โภชนา
ชื่อทางธรรม : ในสายธรรม
จิตอาสาสังกัดสวนป่านาบุญ 2
เรื่อง : ไปพูดพาดพิงคนอื่นจนกลัวผิดศีล
เหตุการณ์:ผู้เขียนตั้งศีลไว้ว่าจะสำรวมระวังเรื่องคำพูด จะพูดแต่เรื่องที่เป็นประโยชน์ จะพยายามพูดพาดพิงคนอื่นให้น้อยลง วันนี้มีเหตุการณ์ที่ได้คุยสอบถามสารทุกข์สุกดิบกับเพื่อนทางโทรศัพท์ ซึ่งพอคุยกันได้สักพักหนึ่ง ก็ได้พูดถึงบุคคลที่ 3 ขึ้นมา แม้จะไม่ได้พูดนินทาให้ร้ายให้เขาเสียหายแต่อย่างไร แต่ก็เห็นทันว่าตอนนี้เรากำลังพูดถึงเขาซึ่งไม่ได้อยู่ในการสนทนาครั้งนี้ และถ้าพูดไปเรื่อย ๆ ก็อาจจะมีพลาดพลั้งไปพูดถึงเขาในทางลบก็อาจเป็นได้ พอเห็นตรงนี้ก็มีความรู้สึกผิดว่าตนเองกำลังจะทำผิดศีลที่ตั้งไว้
ทุกข์ : กลัวว่าถ้าพูดพาดพิงถึงคนอื่นแล้วจะทำผิดศีลที่ตั้งไว้
สมุทัย : ชอบใจถ้าจะไม่พูดพาดพิงถึงคนอื่น ชังที่ไปพูดถึงคนอื่นจนกลัวว่าจะผิดศีลที่ตั้งไว้
นิโรธ : เมื่อได้พลาดพูดพาดพิงคนอื่นไปแล้วก็ไม่ชอบไม่ชัง ใจไร้ทุกข์
มรรค : พอมีสติเห็นว่าตนเองกำลังจะพูดพาดพิงคนอื่นจึงเปลี่ยนประเด็นไปพูดเรื่องอื่น ในขณะเดียวกันก็พิจารณากิเลสว่า เราสำรวมระวังในศีลก็ดีแล้ว แต่อย่าไปเคร่งเครียด ระมัดระวังคำพูดมากเกินไปจนเป็นการกดดันตัวเองซึ่งก็จะเป็นการผิดศีลได้ด้วยเช่นกัน
บางครั้งบางเหตุการณ์เราก็อาจจะต้องพาดพิงคนอื่นบ้างถ้าเป็นสิ่งที่ควรทำก็ต้องทำ ผิดศีล/ไม่ผิดศีล มันวัดกันที่เจตนา ถ้าเราไม่ได้มีเจตนาร้ายแอบแฝง พูดให้ร้าย นินทา…นั่นคือถูกศีล ต้องดูว่าการพูดพาดพิงคนอื่นแต่ละครั้งนั้นมันเป็นประโยชน์หรือเป็นโทษกับตนเอง คนอื่น สัตว์อื่น อย่างไร ถ้าพูดแล้วเป็นโทษนั่นคือผิดศีล แต่ถ้าพูดแล้วเป็นประโยชน์นั่นคือถูกศีล ก็ต้องประมาณให้ถูกว่ากาละไหนควรพูดหรือไม่ควรพูดอย่างรา
ตรงกับบททบทวนธรรมข้อที่ 53 “ ศีลคือไม่เบียดเบียนตนเอง คนอื่น สัตว์อื่น เป็นประโยชน์ต่อตนเอง คนอื่น สัตว์อื่น”
พิจารณาแบบนี้แล้วก็คลายความรู้สึกผิด คลายความกังวลใจว่าจะผิดศีลลงไปได้เลย
9/05/64
ชื่อเล่น “ป้ารวม”
ชื่อทางธรรม “ร้อยแสงศีล”
จิตอาสา สวนป่านาบุญ 2
เรื่อง “คีบอร์ดเสีย…ใจไม่เสีย…”
เหตุการณ์
ช่วงนี้ฝนตกทุกวัน ขณะที่กำลังเตรียมผักอยู่หลังบ้านเพื่อทำกับข้าว ได้เปิดยูทูปจากโน๊ตบุ๊คฟังธรรมะของอาจารย์ด้วย ลมฝนก็พัดสาดเข้ามาโดนโน๊ตบุ๊ค ไม่ทันระวัง ทำให้หน้าจอและคีบอร์ด เปียกบางส่วน จึงรีบเช็ดเท่าที่ทำได้ ลูกช่วยตรวจเช็ค สรุปว่า ตัวอักษรหลายตัวบนคีบอร์ดใช้ไม่ได้ จะพิมพ์การบ้านอริยสัจ ก็ทำส่งไม่ได้ ต้องรอ หาคีบอร์ดใหม่ ลูกบอกว่า เมื่อถึงเวลา “เสียก็ต้องเสีย” จึงยอมได้ และวางใจได้เร็ว ไม่โทษตัวเอง “คีบอร์ดเสีย แต่ใจไม่เสีย” วันนี้ลูกได้ช่วยให้แม่ยอมและวางใจได้เร็วขึ้น
ทุกข์ : คีบอร์ดเสีย พิมพ์การบ้านไม่ได้
สมุทัย : ยึดมั่นว่า ถ้าได้พิมพ์การบ้านส่ง ตามปกติจะพอใจ แต่คีบอร์ดเสีย จึงไม่พอใจ ทุกข์
นิโรธ : จะได้พิมพ์การบ้านส่งหรือไม่ได้พิมพ์ส่ง ก็ยอมและวางใจได้ ด้วยใจที่ไม่ทุกข์
มรรค : ตอนที่กำลังเช็ดเครื่องโน๊ตบุ๊ค ได้ถามลูกว่า : ถ้าเครื่องเสีย จะทำอย่างไร
ลูกบอกว่า : เมื่อถึงเวลา “เสียก็ต้องเสีย”
เราก็ยอมรับ ยอมวาง ด้วยความยินดี ว่า : เครื่ิองเสียได้ วางใจได้ ยอมได้ ไม่ต้องยึด ว่าจะ ได้ส่งการบ้านหรือไม่ได้ส่งก็ได้ ตรงกับบททบทวนธรรม
บทที่ 56 “ทุกเสี้ยววินาที ทุกอย่างไม่เที่ยง อย่ายึดมั่นถือมั่น…..”
บทที่ 83 “ความยึดมั่นถือมั่น จะทะให้เกิดความพร่อง ความพลาด ความทุกข์”
บมมี่ 90 “วัตถุไม่ที่ยงมีแต่ใจไร้ทุกข์เท่านั้นที่เที่ยง”
บทที่ 139 “งานล้มเหลวหรือสลาย แล้วอัตตาสลายได้ ก็คุ้มเกืนคุ้ม”
“คีบอร์ดเสียหาย แตใจไม่เสีย่”
ยอมวางสิ่งที่ยึดได้ ด้วยความยินดี ใจก็ไม่ทุกข์
เรื่อง อึดอัดใจ
ทุกเช้าจะเดินออกกำลังกายกับสามีที่บ้านวันนี้ก็เช่นกันเมื่อเดินได้สักระยะหนึ่งสามีก็พูดถึงเพื่อนว่าควรจะพัฒนารูปแบบการค้าขาย น่าจะไปเรียนรู้เพิ่มเติมเมื่อฟังแล้วรู้สึกอึดอัดไม่อยากฟังเรื่องแบบนี้
ทุกข์ : ฟังสามีพูดติเตียนคนอื่นชังที่ต้องทนฟัง
สมุทัย : เหตุแห่งทุกข์ ชังที่สามีพูดติเตียนคนอื่น อยากให้สามีพูดถึงคนอื่นในแง่มุมที่ดี
นิโรธ : สภาพดับทุกข์ ไม่ชอบไม่ชังเมื่อสามีพูดเรื่องคนอื่นให้ฟังฟังได้ด้วยใจที่ไม่ทุกข์
มรรค : พิจารณาถึงโทษของความอึดอัดขัดข้องใจเมื่อสามีพูดถึงคนอื่นในแง่ไม่ดี ใช้บททบทวนธรรมบทที่89ที่ว่าในโลกนี้ไม่มีอะไรเที่ยง ไม่มีอะไรที่เราควบคุมได้ไม่มีอะไรที่เรากำหนดได้นอกจากใจที่ไม่ทุกข์ของเราเท่านั้นที่เรากำหนดได้ พิจารณาให้เห็นความจริงตามความเป็นจริงก็ทำให้สามารถฟังเรื่องราวที่สามีพูดได้ด้วยใจที่ไม่ชอบไม่ชังไม่ยึดดีว่าสามีต้องพูดแต่เรื่องดีๆเท่านั้น
09/05/64
ชื่อ : น.ส.ทิษฏยา โภชนา
ชื่อทางธรรม : ในสายธรรม
จิตอาสาสังกัดสวนป่านาบุญ 2
เรื่อง : ไม่พอใจที่ป้ามาชี้นิ้วสั่ง
เหตุการณ์:ทำงานยุ่งตั้งแต่เช้า แต่พอเดินผ่านหน้าป้าซึ่งกำลังนั่งคุยอยู่กับเพื่อนบ้าน ท่านก็ชี้นิ้วสั่งให้ผู้เขียนไปหยิบโน่นหยิบนี่ให้ ทำให้ผู้เขียนรู้สึกไม่พอใจขึ้นมา
ทุกข์ : ไม่พอใจที่ป้ามาชี้นิ้วสั่งให้ไปหยิบของให้
สมุทัย : ชอบใจถ้าป้าจะไม่ชี้นิ้วสั่ง ชังที่ป้าเอาแต่ชี้นิ้วสั่ง ไม่ยอมไปทำเอง
นิโรธ : ป้าจะชี้นิ้วสั่งหรือไม่ชี้นิ้วสั่งก็ได้ ใจไร้ทุกข์
มรรค : กิเลสของผู้เขียนจะไม่ค่อยชอบพฤติกรรมแบบนี้ของป้าที่มักจะชี้นิ้วสั่งให้ไปหยิบของหรือทำอะไรให้ ทั้ง ๆ ที่ตนเองนั่งอยู่เฉย ๆ และคนอื่นเขาก็ทำงานกันมาเหนื่อย ๆ เมื่ออัตตามันขึ้นเกิดความขุ่นมัวขึ้นมาในใจ ผู้เขียนจึงไม่ได้ทำตามที่ป้าสั่ง แต่ก็เห็นความทุกข์จากการที่ไม่พอใจป้าในครั้งนี้ จึงเข้าไปพิจารณาเรื่องอัตตาความยึดมั่นถือมั่นที่ไปชิงชังไปเพ่งโทษป้า ทั้ง ๆ ที่ป้าเป็นผู้มีพระคุณสำหรับเราที่มาให้เราเห็นทุกข์ ทำให้เราได้ล้างกิเลส
ตรงกับบททบทวนธรรมข้อที่ 21 “ การได้พบกัเหตุการณ์ที่ไม่ถูกใจเรา ไม่ได้ดั่งใจเราเป็นสุดยอดแห่งเครื่องมืออันล้ำค่า ที่ทำให้ได้ฝึกล้างกิเลส คือความหลงชิงชังรังเกียจ หลงยึดมั่นถือมั่นในใจเรา และทำให้ได้ล้างวิบากร้ายของเรา ”
พิจารณาแบบนี้แล้ว ความขุ่นมัวความทุกข์ในใจสลายลง สบายใจขึ้น
อริยสัจสี่ ช่วง 3-9พ.ค.64
(แก้ไข)
เรื่อง ธรรมะพาพ้นทุกข์
เนื้อเรื่อง มีอยู่วันหนึ่งซึ่งเป็นช่วงที่อาจารย์จะบรรยายธรรมะพาพ้นทุกข์แต่ไม่สามารถบรรยายได้เนื่องจากถูกรบกวนจากแมลงเม่าที่มาเล่นไฟ อาจารย์จึงเลื่อนการบรรยายออกไป โดยรอให้สว่างก่อนจึงบรรยายแมลงเม่าจึงจะไม่มารบกวน
ทุกข์ ผิดหวังที่ไม่ได้ฟังธรรมที่อาจารย์จะบรรยายตรงตามเวลา
สมุทัย มีความยึดมั่นถือมั่นว่าถ้าได้ฟังอาจารย์บรรยายธรรมะตรงเวลาจะสุขใจแต่ถ้าอาจารย์บรรยายไม่ตรงเวลาจะทุกข์ใจ
นิโรธ ไม่ยึดมั่นถือมั่นว่าอาจารย์จะบรรยายตรงเวลาหรือไม่ตรงเวลา ดับความอยากได้เราก็จะไม่ทุกข์ใจ
มรรค เชื่อเรื่องกรรมอย่างแจ่มแจ้งว่ามันเป็นกุศล อกุศลของเราและคนที่เกี่ยวข้องที่ทำให้อาจารย์บรรยายไม่ได้ในเวลานั้น เพราะในชาติใดชาติหนึ่งเราและคนที่เกี่ยวข้องเคยไปรบกวนคนที่เขาอยากฟังธรรมแล้วไม่ได้ฟังธรรม เราจึงต้องมารับวิบากกรรมในครั้งนี้และการฟังธรรมในครั้งนี้มันไม่ใช่สมบัติของเรากับผู้ที่เกี่ยวข้องไม่ต้องไปอยากได้ ดีเสียอีกสิ่งที่อาจารย์พาทำ ทำให้เราได้การเรียนรู้ เมื่อเหตุการณ์ไม่เหมาะที่จะบรรยายเราก็ได้พัก อีกอย่างคือเรามีความโลภที่จะได้ฟ้งเราจึงผิดหวัง เพราะฉะนั้นครั้งต่อไปถ้ามีเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นอีกก็อย่าไปโลภ ดับความโลภได้ จิตก็ยินดีเกิดความพอใจและเบิกบานแจ่มใสในที่สุด
Comments are closed.